The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นายภาคภูมิ ชูประสูตร ม.๕/๒ เลขที่ ๑๐

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 09732, 2022-12-06 10:21:46

มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี

นายภาคภูมิ ชูประสูตร ม.๕/๒ เลขที่ ๑๐

มหาเวสสันดรชาดก
ตอน กัณฑ์มัทรี













จัดทำโดย

นายภาคภูมิ ชูประสูตร ม.๕/๒
เลขที่ ๑๐

ประวัติผู้แต่ง

เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เป็นบุตร
เจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน และ

ถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๔๘

ผลงาน
แต่งในสมัยกรุงธนบุรี
- ลิลิตเพชรมงกุฎ
- อิเหนาคำฉันท์
แต่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- สามก๊ก (เป็นผู้อำนวยการแปล)
- ราชาธิราช (เป็นผู้อำนวยการแปล)
- กากีกลอนสุภาพ
- ร่ายยาวมหาชาติ กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
- ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
- โคลงสุภาษิต
- กลอนและร่ายจารึกเรื่องสร้างภูเขาที่วัดราชคฤห์
- ลิลิตศรีวิชัยชาดก
- สมบัติอมรินทร์คำกลอน

ที่มาของเรื่อง

มาจากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก โดยกล่าวถึงเรื่องราวของพระ
โพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี ต่อมามีการ
แปลเป็นภาษาไทยในสมัยกรุงสุโขทัย
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าฯให้ปราชญ์ราชบัณฑิตแต่ง
มหาชาติคำหลวง ซึ่งเป็นมหาชาติสำนวนแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สวด

ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าให้แต่งกาพย์มหาชาติ เพื่อใช้
สำหรับเทศน์ แต่เนื้อความในกาพย์มหาชาติค่อนข้างยาว ไม่สามารถเทศน์ให้จบ
ภายใน ๑ วัน จึงเกิดมหาชาติขึ้นใหม่อีกหลายสำนวน เพื่อให้เทศน์จบภายใน ๑ วัน
มหาชาติสำนวนใหม่นี้เรียกว่า มหาชาติกลอนเทศน์ หรือ ร่ายยาวมหาเวสสันดร
ชาดก

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯโปรดเกล้าฯให้มีการ
ชำระและรวบรวมมหาชาติกลอนเทศสำนวนต่าง ๆ แล้วคัดเลือกสำนวนที่ดีที่สุด
ของแต่ละกัณฑ์ นำมาจัดพิมพ์เป็นฉบับของหลวง ๒ ฉบับ คือ ฉบับหอพระสมุด
วชิรญาณ และ ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ

จุดประสงค์ในการแต่ง

เพื่อเทศน์ให้ประชาชนฟัง มหาเวสสันดรชาดก แต่งขึ้นเพื่อใช้
เทศน์มหาชาติ เนื่องจากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกเป็นชาดกเรื่อง
ใหญ่ที่สุด เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเสสันดรซึ่งเป็น
พระชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเสด็จออก
ผนวชกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเรื่องราวในพระ
ชาติที่เป็นพระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญทศบารมี ครบทั้ง ๑๐ ประการ
โดนเฉพาะอย่างยิ่ง ทานบารมี ซึ่งทรงบริจาคบุตรทารทาน คือ บริจาค
พระชาลี พระกัณหา และพระนางมัทรี จึงเป็นชาติที่สำคัญและยิ่งใหญ่
เรียกว่า “มหาชาติ” หรือ “มหาเสสันดรชาดก”

เนื้อเรื่องย่อ

พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระเวสสันดรทำนาย
ฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบายพระทัย ก่อนเข้าป่า พระนางฝากพระโอรส
กับพระธิดากับพระเวสสันดรให้ช่วยดูแล หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จ
เข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร ขณะที่อยู่ในป่า
พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมีผลก็
กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก ต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับ
กลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่ถึง ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้
รู้สึกหวั่นหวาดเป็นอย่างยิ่ง ไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า
ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดา
เทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า หากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็วและ
ทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน ก็จะต้องออก
ติดตามพระกุมารทั้งสองคืนจากชูชก พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร 3 องค์
ให้แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย 3 ตัว คือราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ขวาง
ทางไม่ให้เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ

เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีกทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม เมื่อ
พระนางเสด็จกลับถึงอาศรมไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย เที่ยว
ตามหาและร้องไห้คร่ำครวญ พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก จึง
หาวิธีตัดความทุกข์โศกด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่าคิดนอกใจคบหากับ
ชายอื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึก เพราะทรงเกรงว่าถ้าบอกความ
จริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนักและกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็น
อันตรายได้ ในที่สุดพระนางมัทรีทรงคร่ำครวญหาลูกจนสิ้นสติไป ครั้นเมื่อ
ฟื้นขึ้น พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า พระองค์ได้ประทานกุมารทั้ง
สองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญทานบารมี พระนางมัทรีจึง
ทรงค่อยหายโศกเศร้าและทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของพระ
เวสสันดรด้วย

ลักษณะคำประพันธ์

มหาเวสสันดรชาดกเป็นมหาชาติกลอนเทศน์ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นร่าย
ยาวที่มีคาถาบาลีนำ



ร่ายยาว บทหนึ่งไม่จำกัดจำนวนวรรค แต่ที่นิยมคือตั้งแต่ ๕ วรรค
ขึ้นไป และแต่ละวรรคก็ไม่จำกัดจำนวนคำเช่นกัน แต่ไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ
ซึ่งคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะส่งสัมผัสไปวรรคหลังคำใดก้ได้ แต่เว้นคำ
สุดท้ายของวรรคอาจจบลงด้วย “คำสร้อย” (คำสร้อย เช่น ฉะนี้ ดังนี้ นั้น

เกิด นั้นแล แล้วแล ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้น)

ถอดคำประพันธ์

คืนก่อนที่พระนางมัทรีจะออกจากอาศรมไปเก็บผลไม้ในป่า พระกุมารทั้งสองฝัน
ร้าย ทำให้พระนางหวั่นวิตกนึกถึงลูกตลอดเวลาจนน้ำตาอาบแก้มทั้งสองข้าง พลาง
สังเกตเห็นว่าต้นที่มีผลไม้กลับกลายเป็นดอกไม้ ส่วนต้นที่มีดอกไม้กลับกลายเป็นผลไม้ขึ้น
แทน ส่วนดอกไม้ที่เคยเก็บไปร้อยให้ลูกก็ถูกลมพัดปลิวร่วงลงมา เมื่อมองไปรอบทิศก็
มืดมัวทุกหนแห่ง ท้องฟ้ากลับกลายเป็นสีแดงคล้ายกับลางบอกเหตุร้าย สายตาของ
พระนางก็เริ่มพร่ามัว ตัวสั่นใจสั่น ของที่ถือก็หลุดจากมือ คานที่หาบไว้ก็ร่วงลงจากบ่า
ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยิ่งพระนางคิดเท่าไร ก็ยิ่งทุกข์ใจมากขึ้นเท่านั้น

ด้วยความหวั่นใจเรื่องลูก พระนางจึงรีบเก็บผลไม้เพื่อจะได้รีบกลับไปหาลูกที่
อาศรม แต่ระหว่างทางกลับเจอ สิงโต เสือเหลือง และเสือโคร่ง ขวางทางไว้ นางกลัวจน
ใจสั่นร่ำไห้ คิดไปว่าเป็นกรรมของตนเอง นางจะหนีไปทางไหนก็ไม่ได้เพราะถูกสัตว์ทั้ง
สามกั้นไว้ทุกทิศทางจนฟ้ามืด พระนางมัทรีไม่รู้จะทำอย่างไร จึงยกมือไหว้อ้อนวอนขอ
ให้สัตว์หิมพานต์ทั้งสามเปิดทางให้ตน โดยกล่าวว่า พระนางคือพระนางมัทรีเป็นภรรยา
ของพระเวสสันดร ตามมาอยู่ที่อาศรมในป่าด้วยความบริสุทธิ์ใจและกตัญญูต่อสามี นี่ก็
เวลาย่ำค่ำแล้วลูกคงหิวนม โปรดเปิดทางให้พระนางกลับไปที่อาศรมแล้วตนจะแบ่งผล
ไม้ให้ จากนั้นไม่นานสัตว์หิมพานต์ทั้งสามจึงยอมเปิดทางให้ พระนางมัทรีก็รีบวิ่งกลับไป

ที่อาศรมด้วยแก้มที่อาบน้ำตา
เมื่อถึงที่พักพระนางมัทรีก็ตกใจไม่เห็นลูกอยู่ในอาศรม ร้องเรียกหาเท่าไรก็ไม่มี
ใครตอบ ทั้งที่ก่อนหน้านี้จะออกมาหาแม่กันพร้อมหน้า ทั้งกัณหาขอกินนม ส่วนชาลีจะขอ
กินผลไม้ พระนางมัทรีเสียใจมาก พร่ำบอกว่าที่ผ่านมาก็ดูแลลูกอย่างดีแบบยุงไม่ให้ไต่
ไรไม่ให้ตอม หวังจะกลับมาพบลูกให้ชื่นใจ ก่อนหน้านี้ยังได้ยินเสียงลูกเล่นกันอยู่แถวนี้ นั่น
ก็รอยเท้าชาลี นี่ก็ของเล่นกัณหา แต่เมื่อลูกหายไปอาศรมกลับดูเงียบเหงาเศร้าหม่น นาง
จึงไปถามพระเวสสันดรว่าลูกหายไปไหน เหตุใดจึงปล่อยให้คลาดสายตา หากมีสัตว์ป่า

จับไปจะ

ทำอย่างไร แต่พระเวสสันดรกลับไม่ตอบอะไร ทำให้นางกลุ้มใจยิ่งไปว่าเก่า
ด้วยความกลุ้มใจ ตัวก็ร้อน น้ำตาก็ไหล กระวนกระวายพลางบอกว่า ไม่เคยมีครั้งใดที่
นางรู้สึกแค้นเคืองใจขนาดนี้ เพราะนางออกจากเมืองมาก็หวังว่าอย่างน้อยจะได้สุขใจ
เพราะอยู่พร้อมหน้ากับลูกและสามี แต่เมื่อลูกหายตัวไป ความหวังนั้นก็คล้ายจะดับสิ้น
พระนางมัทรีอ้อนวอนขอให้พระเวสสันดรตรัสกับนางบ้าง เพราะการนั่งนิ่งเหมือนโกรธ
เคืองพระนางมัทรีนั้นยิ่งทำให้ปวดใจราวกับมีคนเอาเหล็กรนไฟมาแทงที่หัวใจ หรือเป็น
คนไข้ที่หมอนำยาพิษมาให้ดื่ม อีกไม่กี่วันคงสิ้นชีวิตอย่างแน่นอน

เมื่อพระเวสสันดรได้ยินพระนางมัทรีดังนั้น ก็คิดว่าหากใช้ความหึงหวงคงเป็นวิธี
คลายความโศกให้พระนางได้ จึงตรัสว่า ในป่าหิมพานต์แห่งนี้มีทั้งพระดาบสและนาย
พรานจำนวนมาก เจ้าออกไปเก็บผลไม้ตั้งแต่เช้าจนย่ำค่ำ หากไปทำอะไรในป่าแห่งนี้ก็
คงจะไม่มีใครรู้เห็น เหตุใดจึงทิ้งลูกหนีเข้าไปในป่านานถึงเพียงนี้ พอกลับมายังห่วงแต่ลูก
ไม่ห่วงสามีแต่อย่างใด หรือหากไม่นึกถึงสามีก็ไม่ควรหายเข้าไปในป่านานถึงเพียงนี้ จะ
ให้เราเข้าใจได้อย่างไร

เมื่อพระนางมัทรีได้ยินดังนั้น จึงกราบทูลว่า เหตุใดพระองค์จึงไม่ได้ยินเสียงของ
ราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง เพราะสัตว์ทั้งสามนี้ทำให้ทำให้พระนางไม่สามารถกลับ
อาศรมได้ ทั้งยังเกิดเหตุร้ายหลายประการขณะที่นางเข้าไปในป่า ทั้งของที่ถือก็หลุดจาก
มือ คานที่หาบไว้ก็ร่วงลงจากบ่า ต้นไม้ที่เคยผลิดอกก็ออกผล ต้นไม้ที่เคยออกผลก็ผลิ
ดอกออกมา ชวนให้หวาดกลัวจนตัวสั่น อธิษฐานภาวนาให้ลูกและสามีปลอดภัย แล้วรีบ
กลับมายังอาศรมแต่ถูกสัตว์ร้ายทั้งสามตัวนอนขวางทางเอาไว้ จึงต้องกราบอ้อนวอน
สัตว์ทั้งสามให้เปิดทางให้จนพระอาทิตย์ตกดินสัตว์ทั้งสามจึงหลีกทาง แล้วพระนางมัทรี
ก็รีบวิ่งกลับมายังอาศรมนี้ มิได้ไปทำสิ่งใดที่ไม่เหมาะไม่ควรแต่อย่างใด

ฝ่ายพระเวสสันดรเมื่อฟังคำตอบของพระนามัทรีก็เอาแต่นิ่งเงียบทั้งคืน จน
กระทั่งรุ่งเช้า ระหว่างนั้นพระนางมัทรีโศกเศร้าร่ำไห้ คร่ำครวญว่าตนปฏิบัติต่อสามีดั่ง
ศิษย์ปฏิบัติต่อครู ดูแลลูกทั้งสองแบบยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ทั้งบดขมิ้นไว้ให้อาบน้ำ
จัดหาอาหารมาให้มิได้ขาด แล้วอ้อนวอนให้สามีเรียกลูกมากินอาหารที่ตนหามา ถามว่า
ลูกอยู่แห่งหนใดเหตุใดจึงยังไม่ยอมออกมา แต่ไม่ว่าจะร้องขออ้อนวอนอย่างไรสามีก็นิ่ง
เฉยไม่เอ่ยสิ่งใดออกมา พระนางจึงถวายบังคมลาออกไปตามหาลูกทั้งสองในป่า
หิมพานต์

เมื่อออกตามหาจนทั่วแล้วไม่พบจึงกลับมาที่อาศรมพบว่าพระเวสสันดรยังคงนั่ง
นิ่งอยู่เหมือนก่อนหน้านี้ไม่มีผิด พระนางจึงตัดพ้อว่า เหตุใดพระเวสสันดรจึงยังนั่งนิ่งอยู่
ไม่ลุกมาผ่าฝืน ตัดน้ำใส่บ่อ หรือก่อไฟไว้อย่างที่เคยทำเป็นประจำทุกวัน พร้อมกับบอกว่า
พระเวสสันดรนั้นเป็นที่รักของพระนางมัทรีอย่างยิ่ง เมื่อกลับมาจากป่าเห็นพระพักตร์
ของพระองค์และได้เห็นลูกทั้งสองวิ่งเล่น ก็คลายความเหนื่อยล้าเป็นปลิดทิ้ง แต่วันนี้กลับ
กลายเป็นความทุกข์ร้อน เศร้าโศก เพราะพระองค์ไม่ยอมตรัสสิ่งใดกับพระนาง แม้พระ
นางมัทรีจะได้ออกตามหาพระกัณหาและพระชาลีไปทั่วป่า ทั้งราตรี แล้วกลับมาหาพระ
เวสสันดรอย่างไรพระองค์ก็ไม่ยอมตรัสสิ่งใดอยู่เช่นเดิม นางมัทรีสะอื้นไห้จนหมดสติล้ม
ลงกับพื้น

พระเวสสันดรบรรพชาเป็นดาบสมากว่า 7 เดือน ไม่เคยได้แตะต้องตัวพระนางมัท
รี แต่วันนี้ด้วยความเศร้าโศกและตระหนกตกใจเกรงว่าพระนางจะเป็นอะไรไป พระ
เวสสันดรจึงเข้าไปตรวจชีพจรดูแลนางจนได้สติตื่นฟื้นขึ้นมา ฝ่ายพระนางมัทรีเมื่อฟื้น
ขึ้นมาก็ทูลถามอีกครั้งว่าลูกทั้งสองอยู่แห่งหนใด กลับมาแล้วหรือไม่ พระเวสสันดรจึง
ตอบว่าตนได้ยกพระกัณหากับพระชาลีให้กับชูชกไปแล้ว แต่พระองค์มิได้บอกกับพระนา
งมัทรีตั้งแต่ต้นเกรงว่าพระนางจะเศร้าโศกเสียใจ เมื่อได้รู้ความจริงแล้ว พระนางมัทรี
จึงคลายความทุกข์เศร้าลงแล้วอนุโมทนาบุญกับบุตรทานที่พระเวสสันดรได้ปฏิบัติในครั้ง
นี้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

๑. ความรักของแม่ที่มีต่อลูกนั้นยิ่งใหญ่นัก แนวคิด พระนางมัทรีมีความรักในสองกุมาร
ยิ่งนัก พระนางทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังสติปัญญาที่มีเพื่อค้นหาสองกุมารจนหมดสิ้น
เรี่ยวแรง และสิ้นเสียงที่ร่ำร้องเรียกหา พระนางมัทรีดั้นด้นตามหาสองกุมารในป่าโดย
มิได้พรั่นกลัวต่อภยันตรายเลยถึง ๓ รอบ จนกระทั่งหมดกำลังและสิ้นสติไปในที่สุด

๒. ผู้ที่ปรารถนาสิ่งต่างๆ อันยิ่งใหญ่จะต้องทำด้วยความอดทนและเสียสละอันยิ่งใหญ่
ด้วย แนวคิด เฉกเช่นพระเวสสันดรที่ทรงปรารถนาพระโพธิญาณ จึงต้องทรงบำเพ็ญ
บุตรทานที่ถือว่าเป็นทานที่สูงส่ง พระองค์ต้องทรงตัดความอาลัยรักที่มีต่อพระลูกรักทั้ง
สอง ทั้งยังทรงต้องตัดความรักความสงสารที่มีต่อพระมเหสีมัทรีด้วย ทั้งๆที่ในพระทัย
นั้นต้องเจ็บปวดยิ่งนักเพราะไหนจะทรงห่วงใยพระลูกรัก และยังต้องเสแสร้งแกล้งทำ
เป็นตัดพ้อต่อว่าพระนางมัทรีด้วยการกล่าวบริภาษที่รุนแรง และยังต้องทรงทนทำ
เฉยเมยไม่แยแสกับการตัดพ้อต่อว่าคร่ำครวญของพระนางมัทรีด้วย

๓. ความซื่อสัตย์ระหว่างสามีภรรยาทำให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข แนวคิด เฉกเช่นพระนา
งมัทรีมีความจงรักภักดีต่อพระเวสสันดรยิ่งนัก ไม่ว่าพระเวสสันดรจะทรงกล่าวบริภาษ
พระนางอย่างรุนแรงก็ตาม อาทิ หาว่าพระนางคบชู้สู่ชาย แม้จะสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจแก่
พระนางยิ่งนัก แต่พระนางมัทรีก็มิได้ทรงถือโกรธ ทั้งยังกล่าวชี้แจงเหตุผลตามความเป็น
จริงอีกด้วย

๔. ผู้มีปัญญาย่อมแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ดี แนวคิด เห็นได้จากพระเวสสันดรที่ทรงมี
ปฏิภาณไหวพริบเป็นเยี่ยมในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะเมื่อทรงเห็นว่าพระนางมัทรี
กำลังมีแต่ความทุกข์เศร้าโศกที่ตามหาสองกุมารไม่พบ พระองค์จึงทรงเบี่ยงเบนความคิด
และอารมณ์ทุกข์โศกของพระนางด้วยการทำเป็นตัดพ้อต่อว่าด่าทอที่พระนางมัทรีกลับมา
ถึงพระอาศรมค่ำๆ มืดๆ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อนซึ่งก็ทำให้พระนางมัทรีบรรเทาความทุกข์
โศกลง เพราะความน้อยเนื้อต่ำใจที่ถูกต่อว่าทั้งๆ ที่ไม่มีความผิด ทั้งยังต้องคิดถ้อยคำ
กราบทูลถึงเหตุผลที่แท้จริงให้พระสวามีทรงทราบอีกด้วยและครั้นพระเวสสันดรทรงเห็น
พระนางสร่างโศกแล้วจึงทรงเล่าความจริงให้ฟัง

๕. การบริจาคบุตรทานงบารมีเป็นสิ่งที่ยากยิ่งที่ใครจะกระทำได้ง่ายๆ แนวคิด เฉกเช่นพระ
เวสสันดรที่ทรงกระทำด้วยการให้บุตรทั้งสองแก่ชูชกทั้งๆ ที่ทรงรู้ว่าชูชกจะนำไปเป็นข้ารับ
ใช้ พระองค์ก็ยังมีพระทัยอันแน่วแน่ที่จะทรงกระทำ และอีกทั้งพระนางมัทรีเมื่อทรงทราบว่า
พระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญทานดังกล่าว พระนางก็ยังทรงยินดีร่วมอนุโมทนาด้วยอีก

คุณค่าที่ได้จากเรื่อง

๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑.๑ ใช้ถ้อยคาไพเราะ มีการเล่นคำ เล่นสัมผัสอักษร มีการใช้โวหารภาพพจน์

และการพรรณนาให้เกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน รวมทั้งเกิดจินตภาพชัดเจน
๑.๒ เนื้อหาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับอารมณ์ความรู้สึก

ของตัวละครได้อย่างชัดเจน จะเห็นได้จากตอนที่เกิดเรื่องร้ายแก่พระนางมัทรีขณะที่หา
ผลาหารอยู่ในป่า
๒. คุณค่าด้านสังคม

๒.๑ สะท้อนให้เห็นค่านิยมแนวโลกุตตรธรรมของประชาชนว่า มีความปรารถนา
จะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ

๒.๒ เรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก เป็นวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
ตอนต้น จึงเป็นภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และค่านิยมของคนในยุคนั้น
ๆได้ดีว่า มีการซื้อขายบุคคลเป็นทาส นิยมการบริจาคทานเพื่อหวังบรรลุนิพพาน มี
ความเชื่อเรื่องลางบอกเหตุ เชื่อเรื่องอำนาจของเทพยดาฟ้าดินต่าง ๆ นอกจากนี้ ยัง
แสดงภาพชีวิตในชนบทเกี่ยวกับการละเล่นและการเล่นซ่อนหาของเด็ก ๆ

๒.๓ ให้แง่คิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงในฐานะที่เป็นแม่และเป็นภรรยาที่ดี
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด

๒.๔ มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี สะท้อนแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับความรักของแม่
ที่มีต่อลูกอย่างสุดชีวิต

๒.๕ ข้อคิด คติธรรม ที่สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันของทุกคนได้ เกี่ยวกับ
การเป็นคู่สามีภรรยาที่ดี การเสียสละ เป็นคุณธรรมที่น่ายกย่อง และการบริจาคทาน
เป็นการกระทาที่สมควรได้รับการอนุโมทนา


Click to View FlipBook Version