The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการบริหารงานวิชาการ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by พรพนา สมัยรัฐ, 2022-01-05 20:28:26

คู่มือการบริหารงานวิชาการ

คู่มือการบริหารงานวิชาการ

คำนำ

คู่มือการบริหารงานวิชาการ จัดทาข้ึนเพ่ือประกอบการปฏิบัติหน้าท่ีใหค้ รบถ้วนสมบูรณ์ตาม
ขอบข่ายของกลุ่มงาน เพ่ือให้การดาเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานขอบข่ายของงานวิชาการ
ประกอบดว้ ย 1) งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) งานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ใน
สถานศึกษา 3) งานจัดหา พัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ 4) งานแนะแนวและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
5) งานทะเบียนวัด และประเมินผล 6) งานวิจัย งานพัฒนาส่ือ นวัตกรรม 7) งานพัฒนาระบบ
ประกันคณุ ภาพ 8) งานนิเทศภายใน PLC 9) งานภาคเี ครือข่ายดา้ นวิชาการ

เอกสารเล่มน้ีคงจะมีประโยชน์สาหรับคณะครู และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานกลุ่ม
บริหารบริหารวิชาการต่อไป

กลมุ่ บรหิ ารวชิ าการ

สำรบญั

บทนำ

พระราชบัญญัติการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และทีแ่ ก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบั ที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
และ (ฉบับท่ี ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ไดก้ าหนดสาระสาคัญใหก้ ระทรวงศกึ ษาธิการกระจายอานาจการบริหาร
และ การจดั การศกึ ษา ท้ังด้านวชิ าการ งบประมาณ การบรหิ ารงานบคุ คล และการบริหารทั่วไป ไปยัง
คณะกรรมการ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาโดยตรง เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไป
เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมี
ความสุข มาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้กาหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาข้ันพื้นฐานมี
สถานะเป็น “นิติบุคคล” เพื่อให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง คล่องตัว และสามารถบริหารจัดการได้
อย่างเป็นอิสระ แต่สถานศึกษา นิติบุคคลในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ไม่มี
พระราชบัญญัติจัดต้ัง และไม่มีกลไก ทางกฎหมายที่กาหนดให้ดาเนินการโดยเฉพาะ เพียงแต่อาศัย
อานาจจากผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป มอบอานาจให้สถานศึกษา ทาให้กระบวนการบริหาร
จัดการยังคงอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ท่ีกาหนดโดย กระทรวงศึกษาธิการ และสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือต้องผ่านความเห็นชอบ หรือการอนุมัติของคณะกรรมการเขตพื้นท่ี
การศึกษา ตามเง่ือนไขที่มีการมอบอานาจ จึงเป็นเหตุให้สถานศึกษา ไม่มีอานาจในการตัดสินใจได้
ด้วยตนเองโดยอิสระ นอกจากน้ีจากรายงานสรุปผลความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษายัง
พบว่า ขาดการรับรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ความเป็นอิสระแล้ว กฎระเบียบ ข้อบังคับเก่ียวกับการ
บริหารสถานศึกษานิติบุคคลท่ีมีอยู่มิได้เอ้ือต่อความเป็นอิสระ กฎระเบียบที่วางไว้ ขาดความยืดหยุ่น
ไมเ่ พยี งพอ ไมเ่ หมาะสม ซึ่งเป็นอปุ สรรคของการบริหารสถานศึกษานิติบคุ คล อย่างชดั เจน

เม่ือพิจารณาจากกฎหมายท่ีมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ที่เก่ียวกับการบริหารจัดการ
การศึกษา โดยสถานศึกษานิติบุคคลในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานนั้นพบว่า
นอกเหนือจาก หลักเกณฑ์การบริหารจัดการการศึกษาตามกฎหมายหลัก ซ่ึงได้แก่ พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับท่ี ๓) พ.ศ.
๒๕๕๓ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไข
เพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติระเบยี บบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่
แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ และท่ี
แก้ไขเพมิ่ เติม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้ว การบรหิ ารจดั การการศกึ ษาของสถานศึกษานิตบิ ุคคล ยงั
อยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายลาดับรอง อีกหลายฉบับ เช่น กฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์ และ
วิธีการกระจายอานาจการบริหารและการจดั การศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศสานกั งานคณะกรรมการ
การศึกษาข้ันพ้ืนฐานเร่ืองการกระจายอานาจการบริหาร และการจัดการศึกษาของเลขาธิการ
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐานไปยังคณะกรรมการ สานักงานเขตพื้นท่ี การศึกษา และ
สถานศึกษาในสังกดั สานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๐

2

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการ และขอบเขตการปฏิบัตหิ น้าท่ีของสถานศึกษา
ขั้นพ้ืนฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกดั เขตพ้ืนท่ีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซ่งึ กฎหมายและระเบยี บข้อบังคับ
เหล่าน้ี ถูกตราขึ้นเพ่ือเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคล
ทง้ั ส้ิน แตส่ ถานศึกษาก็ยังคงไม่สามารถบริหารได้อย่างเป็นอสิ ระ คล่องตวั เพราะกฎหมายต่าง ๆ มิได้
กาหนดกลไก เพื่อรองรับอานาจหน้าที่ในฐานะนิติบุคคลของสถานศึกษาไว้ มีเพียงบัญญัติรองรับ
สถานะทางกฎหมาย ให้สถานศึกษาเป็นนิตบิ ุคคลเท่านั้น สถานศึกษาไม่มีอานาจการบริหารและการ
จัดการศึกษาด้วยตนเอง ยังคงต้องบริหารงานภายใต้อานาจท่ีรับมอบจากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
และเลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ตามที่กฎหมายกาหนดเท่านั้น และเม่ือพิจารณา
จากความหลากหลายของสถานศึกษา ที่มีความแตกต่างกันทั้งขนาดของสถานศึกษา จานวนนักเรยี น
จานวนครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนลักษณะภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถ่ิน
ทาให้สถานศึกษาเกิดความไม่คล่องตวั ในการบริหาร ส่งผลต่อคณุ ภาพในการจัดการศกึ ษาอีกด้วย

นอกจากน้ีเมื่อพิจารณาอานาจหน้าที่ท่ีสถานศึกษาข้ันพื้นฐานได้รับมอบหมายใน ปัจจุบัน
ตามกฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอานาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.
๒๕๕๐ ระเบียบ และคาสั่งต่าง ๆ สถานศึกษายังคงมีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการท้ัง ๔
ด้าน ดังนี้

ด้านการบริหารวิชาการ มีปัญหาการจัดทาและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซ่ึงขึ้นกับ
ศักยภาพ ของครูในโรงเรียน และยังขาดการพัฒนา/จัดหลักสูตรเฉพาะทางท่ีหลากหลายเพื่อส่งเสริม
ผู้เรียนที่มีความเป็นเลิศให้เทียบเคียง ระดับนานาชาติ รวมถึงปัญหาด้านการบริหารและการจัด
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การนานักเรียนไป ทัศนศึกษานอกสถานท่ี การนิเทศการศึกษา การ
แนะแนว ปัญหาด้านมาตรฐานและคุณภาพการจัดการศึกษา ปัญหาด้านการวัดผล ประเมินผล และ
ดาเนินการเทยี บโอนผลการเรยี น

ด้านการบริหารงบประมาณ มีปัญหาการจัดสรรงบประมาณ ในปัจจุบันไม่เพียงพอ ไม่สอด
คล่อง กับความเป็นจริง และไม่เอ้ือต่อการจัดห้องเรียนที่เปิดสอนตามโครงการพิเศษ การได้รับ
งบประมาณสาหรับ การปรับปรุงอาคาร การซอ่ มแซมวัสดทุ ช่ี ารดุ เสียหายมคี วามล่าช้า งบประมาณใน
ส่วนค่าสาธารณูปโภค ท่ีได้รับไม่ตรงกับความเป็นจริง ปัญหาด้านการจัดหาพัสดุ ซึ่งอยู่ภายใต้เง่ือนไข
ของกฎหมายหลายฉบับ ขาดความคล่องตัวในการดาเนินการจัดหาพัสดุครุภัณฑ์ท่ีเหมาะสมและ
รวดเร็ว การกาหนดเกณฑ์มาตรฐาน คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุครุภัณฑ์ไม่สอดคล่องต่อความ
ต้องการของสถานศึกษา

ดา้ นการบรหิ ารงานบคุ คล มปี ัญหาการกาหนดอตั รากาลงั การสรรหา การบรรจุ แตง่ ตัง้ การ
โยกย้าย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การพิจารณาด้านศักยภาพของ ข้าราชการครูไม่
สอดคล่องกับ ความต้องการและความจาเป็นของโรงเรียน การเปล่ียนตาแหน่งให้สูงขึ้น การประเมิน
วิทยฐานะของข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนขาดบุคลากรท่ีทาหน้าท่ีสนับสนุน
การจัดการศกึ ษา เช่น เจ้าหน้าที่ แนะแนว เจ้าหน้าท่กี ารเงนิ และพัสดุ ฯลฯ

ด้านการบริหารท่ัวไป มีปัญหาด้านการดาเนินการพื้นฐาน การรับนักเรียน การกาหนด
ระยะเวลา การเปิด-ปิดภาคเรียน การเปิดห้องเรียนพิเศษ การระดมทรัพยากรเพ่ือการศึกษา ไม่
สอดคล้องกบั บริบท ของโรงเรยี น ไม่เป็นอสิ ระและคล่องตวั การกาหนดสัดส่วนและองค์ประกอบของ
คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพ้ืนฐาน การเชิญบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเป็นกรรมการ
สถานศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน และอานาจหนา้ ท่ี ทีเ่ หมาะสมของคณะกรรมการสถานศึกษาข้นั พื้นฐาน

3

สภาพปัญหาอุปสรรคดังกล่าว สอดคล้องกับผลการวิจัยของสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๒ : ก-ธ) พบว่า การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนในกากับของรัฐตาม
รูปแบบ โรงเรียนนิติบุคคล ควรดาเนินการในโรงเรียนนาร่องในลักษณะของการวิจัยและพัฒนาจาก
โรงเรียน ท่ีมีความพร้อม เพ่ือทดลองรูปแบบและใช้มาตรการเชิงรุก เร่งดาเนินการเผยแพร่แนวคิด
และรว่ มผลักดนั ให้เกิดการเปล่ียนแปลงระบบการจดั การศึกษาที่ส่งเสรมิ การกระจายอานาจทช่ี ัดเจน
ในเร่ืองวิชาการ บุคคล บริหารทั่วไป และงบประมาณไปยังระดับสถานศึกษา โดยให้มีความสมดุล
ระหว่างการได้รับอานาจอิสระ ในการบริหารท่ีแท้จริง และการมีระบบการแสดงความรับผิดชอบที่
ตรวจสอบได้ โดยรัฐควรเปิดโอกาส และให้ความสนใจในการออกกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง ปรับ
กฎระเบียบที่เอื้อต่อการจัดหาทรัพยากรจากแหล่งอ่ืน นอกเหนือจากงบประมาณท่ีรัฐจัดสรรให้
เพื่อให้หน่วยปฏิบัติได้มีอานาจอย่างอิสระอย่างแท้จริง และมี การให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้
คาปรึกษาจากผู้ทรงคุณวฒุ ิในด้านการร่างและพิจารณากฎหมายท่ีเก่ียวข้อง ตลอดจนการกากับดแู ล
ให้มีระบบการตรวจสอบที่สามารถขับเคล่อื นการดาเนินการบริหารจัดการศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพ
และประสทิ ธผิ ลตามวัตถุประสงค์

การกาหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล มีจุดมุ่งหมายสาคัญที่จะทาให้สถานศึกษามีอิสระ มี
ความ เข้มแข็งในการบริหาร เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็วและสอด คล้องกับ
ความตอ้ งการ ของผู้เรยี น สถานศกึ ษา ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม โดยให้มีการกระจาย
อานาจการบริหาร จัดการศึกษาทางด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหาร
ท่ัวไป ไปยังคณะกรรมการ สานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง การจัดองค์กรที่มี
สถานะเปน็ นิติบุคคลตามกฎหมาย มหาชน ที่จดั บรกิ ารสาธารณะย่อมจะมีอสิ ระในการบรหิ ารทั้งด้าน
ทรัพยากรบุคคลและอานาจหน้าที่ ในกรอบท่ีกฎหมายกาหนดไว้ แต่จากสภาพปัญหาและอุปสรรค
ของการบริหารจัดการสถานศึกษานิติบุคคล ที่ยังไม่เป็นนิติบุคคลอย่างแท้จริง สานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานจึงได้คัดเลือกโรงเรียน ระดับประถมศึกษา จานวน ๕๗ โรงเรียน
ระดบั มัธยมศึกษา จานวน ๕๗ โรงเรียน เพ่อื เข้าโครงการ พัฒนาการบรหิ ารรูปแบบนิติบุคคล และให้
เป็นต้นแบบของโรงเรียนในสังกัดสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการพัฒนาการ
บริหารโรงเรียนให้สามารถบริหารจัดการในรูปแบบของโรงเรียน นิติบุคคลได้อย่างสมบูรณ์ มีความ
รบั ผดิ ชอบ มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสงู สดุ

4

โครงสรำ้ งกำรบรหิ ำรงำนโรงเรยี นบำ้ นหยงสตำร์

ผ้อู ำนวยกำรสถำนศกึ ษำ
หัวหนำ้ กลุ่มงำน

กลุ่มงำนกำรบรหิ ำรวชิ ำกำร
1. งานพฒั นาหลักสูตรสถานศกึ ษาฯ
2. งานพฒั นากระบวนการเรียนรใู้ นสถานศึกษา
3. งานจัดหา พฒั นาส่ือและแหล่งเรียนรู้
4. งานแนะแนวและกิจกรรมพฒั นาผู้เรียน
5. งานทะเบียน วัดผล และประเมนิ ผล
6. งานวจิ ยั งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรม
7. งานพัฒนาระบบประกันคณุ ภาพ
8. งานนิเทศภายใน PLC
9. งานภาคีเครือข่ายดา้ นวชิ าการ

5

แนวทำงกำรบริหำรงำนวิชำกำร
ควำมเปน็ มำ

การปฏริ ูปการศึกษามีจดุ มุ่งหมายทีจ่ ะจัดการศึกษาเพ่ือพฒั นาคนไทยให้เป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์
เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข การดาเนินการให้บรรลุเป่าหมาย อย่างมีพลังและมี
ประสิทธิภาพ จาเป็นที่จะต้องมีการกระจายอานาจ โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ซ่ึงสอดคล้องกับ
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และเป็นไปตามหลักการของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งให้มี
การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการ จัดการศึกษาของไทยมีเอกภาพเชิงนโยบาย และมีความ
หลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอานาจ ไปสู่เขตพ้ืนท่ีการศึกษาและสถานศึกษา
พระราชบญั ญัตริ ะเบียบบรหิ ารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพ่มิ เติม พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๓๕ กาหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน มีสถานะเป็นนิติบุคคล ก็เพื่อท่ีจะให้
สถานศึกษามีความเข้มแข็ง คล่องตัว และสามารถบริหารจัดการศึกษา ได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ดีเมื่อ
พิจารณากฎหมาย ตลอดจนการบริหารจัดการสถานศึกษานิติบุคคล สังกัดสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาข้ันพื้นฐานในปัจจุบัน พบว่า แม้สถานศึกษาจะมีความเป็นนิติบุคคล แต่เนื่องจาก
กระบวนการบริหารจัดการยังคงอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กาหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือต้อง
ผ่านความเห็นชอบหรือการอนุมัติของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามเง่ือนไขที่มีการมอบ
อานาจ จึงเป็นเหตุให้สถานศึกษาไม่มีอานาจในการตัดสินใจได้ด้วยตนเองโดยอิสระ เป็นปัญหาและ
อุปสรรคในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นอย่างมาก ขาดความคล่องตัวและไม่สามารถบริหารจัดการ
การศึกษาที่สอดคล้อง กับศักยภาพของสถานศึกษาได้ อันส่งผลต่อคุณภาพในการจัดการศึกษา การ
บริหารงานวิชาการเป็นงานหลักของสถานศึกษา มีความสาคัญอย่างย่ิงยวดต่อการจัด การศึกษาให้
บรรลุเป้าหมายตามท่ีกาหนดไว้ มาตรฐานคุณภาพการศึกษาจะปรากฏเด่นชัดเม่ือการ บริหารงาน
วิชาการประสบผลสาเร็จ การบรหิ ารงานวชิ าการจึงนบั ว่ามีบทบาทสูงสุดต้อความสาเร็จหรือล้มเหลว
ของการบริหารสถานศึกษาให้ได้คุณภาพ(บุญทิพย์ สุริยวงศ์, ๒๕๔๔ : ๖๕) งานวิชาการ
เป็นภารกิจหลัก ของสถานศึกษา ที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไข
เพ่ิมเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มุ่งให้กระจายอานาจในการบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้
มากท่ีสุด ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษา ดาเนินการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้อง
กบั ความตอ้ งการของผู้เรียน สถานศกึ ษา ชุมชน ท้องถ่ิน และการมีส่วนร่วมจากผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียทุก
ฝ่าย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสาคัญทาให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง ในการบริหาร และการจัดการสามารถ
พัฒนาหลกั สตู รและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนการวดั ผล ประเมินผล รวมทงั้ การจัดปัจจยั เก้ือหนุน
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนชุมชนและ ท้องถ่ิน ได้อย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ
(กระทรวงศกึ ษาธิการ, ๒๕๔๖ : ๓๓)

เพ่ือแก้ปัญหาดังกล่าว กลุ่มสถานศึกษานิติบคุ คลภายใต้การสนับสนุนของสภาการศึกษา ได้
เสนอแนวคิดในการปรับระบบบริหารจัดการของสถานศึกษาด้านการบริหารวิชาการให้มีอิสระ และ
คล่องตวั ย่งิ ขึ้น โดยมีวัตถปุ ระสงค์ ดงั นี้

๑. เพื่อให้สถานศึกษาบริหารงานด้านวิชาการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว และสอดคล้อง
กบั ความตอ้ งการของผู้เรียน สถานศกึ ษา ชมุ ชน และท้องถ่ิน

6

๒. เพ่ือให้การบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมนิ คุณภาพภายใน เพื่อพัฒนาตนเอง และ
การประเมนิ จาก หนว่ ยงานภายนอก

๓. เพื่อให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนจัดปัจจัยเกื้อหนุน
การพัฒนาการเรียนรู้ที่สนองตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น โดยยึดผู้เรียนเป็น
สาคัญ ไดอ้ ย่างมีคณุ ภาพและประสิทธภิ าพ

๔. เพ่ือให้สถานศึกษาได้ประสานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
สถานศกึ ษา และของบคุ คล ครอบครวั องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง

หลักกำรและแนวคิด

๑. ให้สถานศึกษาจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาเป็นไปตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ข้ันพน้ื ฐาน สอดคล้องกบั สภาพปัญหา ความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง โดยได้รบั ความ
เหน็ ชอบ จากคณะกรรมการสถานศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน

๒. มงุ่ ส่งเสรมิ สถานศึกษาให้จดั กระบวนการเรยี นรู้โดยยึดผู้เรยี นเป็นสาคัญ
๓. มงุ่ ส่งเสรมิ ให้ชุมชนและสงั คมมีส่วนร่วมในการกาหนดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้รวมท้ัง
เป็นเครือขา่ ยและแหล่งการเรียนรู้
๔. มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีดัชนีช้ีวัดคุณภาพการจัดหลักสูตร
และกระบวนการเรยี นรู้ สามารถตรวจสอบคณุ ภาพการจัดการศกึ ษาได้ทุกช้ัน
๕. มุ่งส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเป็นเครือข่าย เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพ
ประสิทธผิ ล ในการจดั และพฒั นาคุณภาพการศึกษา

ขอบข่ำย/ภำรกิจกำรบริหำรวชิ ำกำร

1. งานพฒั นาหลักสูตรสถานศึกษาและพัฒนาหลักสตู รท้องถิ่น
2. งานพัฒนากระบวนการเรยี นรใู้ นสถานศึกษา
3. งานจดั หาพฒั นาส่อื หนังสือแบบเรียน และแหลง่ เรยี นรู้
4. งานแนะแนวและกจิ กรรมพัฒนาผเู้ รยี น
5. งานทะเบยี นวดั และประเมนิ ผล
6. งานวจิ ัย งานพัฒนาส่อื นวัตกรรม
7. งานพฒั นาระบบประกนั คณุ ภาพ
8. งานนิเทศภายใน PLC
9. งานประสานความรว่ มมือกบั ภาคีเครือขา่ ยด้านวิชาการ

กำรวำงแผนงำนดำ้ นวชิ ำกำร

๑. วางแผนงานด้านวิชาการโดยการรวบรวมข้อมูลและกากับดูแล นิเทศ และติดตาม
เก่ียวกับงานวิชาการ ได้แก้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การวัดผล
ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน การประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การ
พัฒนา และใช้ส่ือและเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การวิจัยเพื่อ
พัฒนาคุณภาพ การศกึ ษา และการส่งเสรมิ ชุมชนให้มีความเข้มแขง็ ทางวชิ าการ

๒. ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษาอนุมตั โิ ดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศกึ ษา ข้ันพนื้ ฐาน

7

ขอบขำ่ ยงำนบรหิ ำรวชิ ำกำร มดี ังนี้
1. งำนพฒั นำหลกั สตู รสถำนศึกษำและพัฒนำหลักสูตรท้องถิ่น

1. จดั ทาหลกั สตู รสถานศึกษาเปน็ ของตนเอง
1.1 จัดใหม้ กี ารวิจัยและพัฒนาหลกั สตู รข้นึ ใช้เองให้ทันกับการเปลีย่ นแปลงทางด้าน

เศรษฐกิจและสังคม จัดทาหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ท้ัง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้และคุณธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้อย่างมีความสุข
จัดให้มีวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ข อง
กระทรวงศึกษาธิการ

1.2 วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาเพ่ือกาหนดจุดเน้นหรือประเด็นที่สถานศึกษาให้
ความสาคัญ

1.3 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาและชุมชนเพื่อนามาเป็น
ข้อมูลจัดทาสาระการเรียนรทู้ ้องถน่ิ ของสถานศึกษาใหส้ มบูรณ์ยิง่ ขึ้น

1.4 จัดให้มีการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น วิเคราะห์กรอบสาระการเรียนรู้
ท้องถิ่นท่ีสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทาไว้หรือจัดทากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
เพิ่มเติมตามบริบทของสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พน้ื ฐาน

1.5 เพิ่มเติมเน้ือหาสาระของรายวิชาท่ีสอดคล้องกับสภาพปัญญา ความต้องการ
ของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม และมุ่งสู่ความเป็นสากล และให้เหมาะสมกับ
ความสามารถของนักเรียนตามกลุ่มเป้าหมายพิเศษ โดยความร่วมมือของสานักงานเขตพ้ืนท่ี
การศกึ ษาและเครือขา่ ยสถานศกึ ษา

1.6 คณะกรรมการสถานศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐานให้ความเห็นชอบหลักสูตรสถานศึกษา
1.7 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุง หลักสูตรสถานศึกษา และรายงานผล
ให้สานักงานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษารับทราบ

2. งำนพฒั นำกระบวนกำรเรยี นรใู้ นสถำนศกึ ษำ

2.1 จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดย
คานึงถงึ ความแตกต่างระหว่างบคุ คล

2.2 จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยความร่วมมอของเครือข่าย
สถานศึกษา

2.3 ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้
มาใช้เพื่อปอ้ งกนั และแก้ไขปัญหา

2.4 จัดกิจกรรมให้ผู้เรยี นได้เรยี นรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏบิ ัตใิ ห้ทาได้ คดิ เปน็ ทา
เป็น รกั การอา่ น และเกดิ การใฝ่รู้อย่างตอ่ เนอ่ื ง

2.5 จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทงั้ ปลกู ฝังคุณธรรม ค่านยิ มทด่ี งี าม และคณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงค์ไว้ในทุกวิชา

2.6 ส่งเสริม สนบั สนนุ ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สือ่ การเรียน การสอน
และอานวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมท้ังสามารถใช้การวิจัย

8

เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ท้ังน้ีผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากส่ือการเรียน
การสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ

2.7 จัดการเรียนรู้ให้เกิดข้ึนได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับ บิดา
มารดา และบคุ คลในชมุ ชนทกุ ฝ่าย เพื่อร่วมกนั พัฒนาผู้เรียนตามศกั ยภาพ

2.8 ศึกษาคน้ คว้าพฒั นารูปแบบหรือการออกแบบกระบวนการเรยี นร้ทู ่ีกา้ วหน้าเพือ่ เป็นผู้นา
การจดั กระบวนการเรยี นรู้ เพอ่ื เป็นต้นแบบให้กบั สถานศกึ ษาอื่น

2.9 ส่งเสริมการพัฒนาความเป็นเลิศของนักเรียนและช่วยเหลือนักเรียนพิการด้อยโอกาส
และมคี วามสามารถพิเศษ

3. งำนจดั หำ พฒั นำส่ือและแหล่งเรียนรู้

3.1 จดั ให้มกี ารร่วมกันกาหนดนโยบาย วางแผนในเร่ืองการจัดหาและพัฒนาสื่อ การเรียนรู้
และเทคโนโลยเี พอื่ การศกึ ษาของสถานศึกษา

3.๒ พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาส่ือการเรียนรู้และ เทคโนโลยี
เพ่ือการศึกษา พร้อมท้ังให้มีการจัดต้ังเครือข่ายทางวิชาการ ชมรมวิชาการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ของ
สถานศกึ ษา

3.๓ พัฒนาและใช้ส่ือและเทคโนโลยที างการศึกษาโดยมุ่งเน้นการพัฒนาส่ือและ เทคโนโลยี
ทางการศึกษาท่ีให้ข้อเท็จจริง เพ่ือสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดข้ึน โดยเฉพาะหาแหล่งส่ือที่เสริม
การจดั การศึกษาของสถานศกึ ษาให้มปี ระสทิ ธิภาพ

3.๔ พัฒนาห้องสมดุ ของสถานศึกษาให้เป็นแหล่งการเรยี นรู้ของสถานศึกษาและชมุ ชน
3.5 ศึกษาวิเคราะห์ คัดเลือกหนังสือเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ท่ีมีคุณภาพ
สอดคล้องกบั หลักสูตรสถานศกึ ษา เพ่อื เป็นหนงั สือ แบบเรียนเพ่ือใช้ในการจัดการเรยี นการสอน
3.6 จัดทาหนังสือเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสืออ่านประกอบแบบฝึกหัด ใบงาน
ใบความรู้ เพอื่ ใช้ประกอบการเรยี นการสอน
3.7 ตรวจพิจารณาคุณภาพหนังสือเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสือ อ่านประกอบ
แบบฝึกหัด ใบงาน ใบความรู้ เพ่อื ใช้ประกอบการเรียนการสอน
3.8 นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในการจัดหาผลิตใช้ และ
พัฒนาส่อื และเทคโนโลยีทางการศึกษา

4. งำนแนะแนวและกิจกรรมพัฒนำผู้เรียน

4.๑ กาหนดนโยบายการจดั การศึกษาท่ีมีการแนะแนวเป็นองค์ประกอบสาคัญ โดยให้ทุกคน
ในสถานศกึ ษาตระหนกั ถงึ การมสี ่วนร่วมในกระบวนการแนะแนวและการดูแลช่วยเหลอื ผู้เรียน

4.๒ จัดระบบงานและโครงสร้างงานแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ของ
สถานศึกษาให้ชัดเจน

4.๓ ส่งเสริมให้ครูทกุ คนมีบทบาทและเห็นคุณค่าของการแนะแนวและดแู ลช่วยเหลือ ผู้เรียน
4.๔ ส่งเสรมิ และพฒั นาให้ครูไดร้ บั ความรู้เพ่ิมเติมในเรื่องจิตวิทยาและการแนะแนว และดูแล
ชว่ ยเหลอื ผู้เรยี นเพื่อให้สามารถบูรณาการในการจัดการเรียนรู้และเช่อื มโยงสู่การดารงชวี ติ ประจาวัน
4.๕ คัดเลือกบุคลากรท่ีมีความรู้ ความสามารถ และบุคลิกภาพท่ีเหมาะสมทาหน้าที่ ครูแนะ
แนว ครทู ่ีปรกึ ษา ครปู ระจาชน้ั และคณะอนุกรรมการแนะแนว

9

4.๖ ดูแล นิเทศ กากับ ติดตาม และสนับสนุนการดาเนินงานแนะแนวและดูแล ช่วยเหลือ
ผู้เรยี นอย่างเปน็ ระบบ

4.๗ ส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจอันดรี ะหว่างครู ผู้ปกครอง และชมุ ชน
4.๘ ประสานงานด้านการแนะแนวระหว่างสถานศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน บ้าน
ศาสนสถาน ชมุ ชน ในลักษณะเครือข่ายการแนะแนว
4.๙ เชื่อมโยงงานแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพ่ือการพัฒนาศักยภาพ ของ
ผู้เรยี น
4.10 วางแผนการนานกั เรยี นไปทัศนศกึ ษานอกสถานที่
4.11 ดาเนนิ การนานกั เรยี นไปทศั นศึกษานอกสถานศึกษา ตามหลักเกณฑแ์ ละวิธที ี่กาหนด

5. งำนทะเบียน วัดผล และประเมนิ ผล

5.๑ กาหนดระเบยี บการวดั และประเมนิ ผลของสถานศึกษาตามหลกั สตู รสถานศึกษา โดยให้
สอดคล้องกบั นโยบายระดบั ประเทศ

5.๒ จัดทาเอกสารหลักฐานการศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบการวัดและประเมินผลของ
สถานศกึ ษา

5.๓ วดั ผล ประเมนิ ผล เทยี บโอนประสบการณ์ผลการเรยี น และอนุมตั ผิ ลการเรียน
5.๔ จัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ช่วงชั้น และจัดให้มีการซ่อมเสริมกรณีท่ีมีผู้เรียน
ไมผ่ ่านเกณฑก์ ารประเมนิ
5.๕ จัดให้มีการพัฒนาเครอ่ื งมือในการวดั และประเมินผล
5.๖ จดั ระบบสารสนเทศด้านการวัดผล ประเมนิ ผล และการเทยี บโอนผลการเรยี น เพ่อื ใช้ใน
การอ้างอิง ตรวจสอบ และใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรยี นการสอน
5.๗ ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติการประเมินการเรียนด้านต่าง ๆ รายปี/รายภาคและตัดสิน
ผลการเรียนการสอนผ่านช่วงชนั้ และจบการศึกษาข้นั พื้นฐาน
5.๘ การเทียบโอนผลการเรียนเป็นอานาจของสถานศึกษาท่ีจะแต่งตั้งคณะกรรมการ
ดาเนินการเพ่ือกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ได้แก่ คณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาทั้งในระบบ
นอกระบบ และตามอัธยาศัย คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน และเสนอคณะกรรมการบริหาร
หลักสตู รและวชิ าการ พร้อมทั้งให้ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษาอนมุ ัตกิ ารเทียบโอน
5.9 ศึกษาและวิเคราะห์ระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของ สถานศึกษา
เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวขอ้ งทุกฝ่ายรับรู้และถอื ปฏบิ ัติเป็นแนวเดียวกนั
5.10 จัดทาร่างระเบียบและแนวปฏิบัติเก่ียวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา เพ่ือให้ผู้ท่ี
เก่ยี วขอ้ งทุกฝ่ายรับรู้และถอื ปฏบิ ตั ิเป้นแนวเดยี วกนั
5.11 นาระเบียบและแนวปฏิบตั ิเกี่ยวกับงานด้านวชิ าการของสถานศกึ ษาไปสู่การปฏบิ ัติ
5.12 ตรวจสอบและประเมนิ ผลการใช้ระเบยี บและแนวปฏบิ ัตเิ ก่ียวกบั งานด้านวิชาการ ของ
สถานศกึ ษา และนาไปแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป

10

6. งำนวิจยั งำนพฒั นำสอื่ นวตั กรรม

6.๑ กาหนดนโยบายและแนวทางการใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และ
กระบวนการทางานของผู้เรียน ครู และผู้เกย่ี วขอ้ งกับการศึกษา

6.๒ พัฒนาครูและผู้เรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
เป็นสาคัญ ในการเรียนรู้ที่ซับซ้อนข้ึนทาให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิด การจัดการ การหาเหตุผลในการตอบ
ปัญหา การผสมผสานความรู้แบบสหวทิ ยาการ และการเรียนรู้ในปัญหาทต่ี นสนใจ

6.๓ พัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษาดว้ ยกระบวนการวิจยั
6.๔ รวบรวมและเผยแพร่ผลการวิจัยเพ่ือการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้ง
สนับสนุนให้ครูนาผลการวิจัยมาใช้ เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
สถานศกึ ษา

7. งำนพัฒนำระบบประกันคณุ ภำพ

7.๑ กาหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาท่ีสอดคล้องตามมาตรฐาน การศึกษาชาติ
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาขั้นพ้ืนฐานที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้
พร้อมท้ังกาหนดค่าเป้าหมายความสาเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งช้ี และประกาศ ให้ผู้ท่ีเก่ียว
ข้องได้รบั ทราบ

7.๒ จัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (แผนพัฒนาการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษา) ท่ีมุ่งเน้นคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ที่ผ่านการวิเคราะห์ สภาพ
ปัญหา ความต้องการจาเป็นของสถานศึกษา และระบุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ความสาเร็จ
ของการพัฒนา วิธีการดาเนินงานท่ีมีหลักวิชาและผลการวิจัยรองรับ งบประมาณ และทรัพยากร
รวมทั้ง แหล่งวิทยาการจากภายนอกที่ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน โดยมีบุคลากรของสถานศึกษา
และผู้เรียน เป็นผู้รับผิดชอบและจดั ทาแผนปฏิบัติการประจาปีเพอ่ื รองรับและดาเนนิ การ ทง้ั นี้โดยการ
มีส่วนร่วม ของผู้ปกครองและชุมชนโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน

7.๓ จัดระบบบริหารงานที่มีโครงสร้างที่ชัดเจนและเอื้อต่อการพัฒนาระบบ การประกัน
คุณภาพภายใน และจัดทาระบบสารสนเทศท่ีมีฐานข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันอย่างครบถ้วน
ถูกต้อง และเพยี งพอ และสามารถเข้าถึงไดอ้ ย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภยั

7.๔ ผู้รับผิดชอบและผู้ท่ีเกี่ยวข้องทุกฝ่ายดาเนินการตามแผนปฏิบัติการสู่การปฏบิ ัติ อย่างมี
ประสิทธภิ าพและเกิดประสทิ ธผิ ลสูงสดุ

7.๕ จัดให้มกี ารตดิ ตามตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษา เพื่อทราบความก้าวหน้า ของการปฏิบัติ
ตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และรายงานผลพร้อมข้อเสนอแนะการเร่งรัด
การพัฒนาคุณภาพการศกึ ษาให้ผู้ท่ีรบั ผดิ ชอบและผู้ทีเ่ ก่ียวข้องนาไปประกอบการปรับปรุงพฒั นา และ
พร้อมรบั การตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสงั กัด

7.๖ จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยมี
คณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคณุ วุฒิท่ีได้รับการข้ึนทะเบยี นจากหน่วยงานต้นสังกดั อย่างน้อย ๑
คน โดยใช้วิธีการและเคร่ืองมือท่ีหลากหลาย และพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายในจากหน่วยงาน
ต้นสังกัด

7.๗ จัดทารายงานประจาปี (SAR) เพื่อสะท้อนคุณภาพผู้เรียนและการบริหาร จัดการศึกษา
ของผู้รับผิดชอบและผู้ท่ีเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่นาไปสู่เป้าหมายที่สถานศึกษากาหนดไว้ในรอบปี เสนอ

11

ต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยผ่านความเห็นชอบของ
คณะกรรมการสถานศึกษาข้นั พนื้ ฐาน

7.๘ ส่งเสรมิ ให้ครูและบุคลากรของสถานศกึ ษามีความรู้ ความเขา้ ใจ และนาไปปฏบิ ัติ ในการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร และนาผลการประเมินคุณภาพ ทั้ง
ภายในและภายนอกไปใช้ในการวางแผนพฒั นาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

8. งำนนเิ ทศภำยใน PLC

8.๑ สร้างความตระหนักให้แก่ครูและผู้เก่ียวข้องให้เข้าใจกระบวนการนิเทศภายในว่า เป็น
กระบวนการทางานร่วมกันท่ีใช้เหตผุ ลการนิเทศเป็นการพัฒนาปรบั ปรุงวิธกี ารทางานของแต่ละบุคคล
ให้มีคุณภาพ การนิเทศเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร เพ่ือให้ทุกคนเกิดความเช่ือม่ันว่าได้
ปฏิบตั ิถกู ต้อง ก้าวหน้า และเกดิ ประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรยี นและตัวครเู อง

8.๒ จัดการนิเทศภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพทั่วถึงและต่อเน่ืองเป็นระบบและ
กระบวนการ

8.๓ จัดระบบนิเทศภายในสถานศึกษาให้เช่ือมโยงกับระบบนิเทศการศึกษาของ สานักงาน
เขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษา

9. งำนภำคเี ครอื ขำ่ ยดำ้ นวชิ ำกำร

9.๑ ส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถ่ิน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และ
สถาบนั อน่ื

9.๒ ส่งเสรมิ ความเข็มแข็งของชมุ ชนโดยการจดั กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน
9.๓ ส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมลู ขา่ วสาร และรู้จัก
เลอื กสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ
9.๔ พัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกบั สภาพปัญหาและความต้องการ รวมทัง้ หาวิธี การสนับสนุน
ให้มกี ารแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชุมชน
9.5 ประสานความร่วมมือวทิ ยากรภายนอกและภมู ิปัญญาท้องถ่ิน เพ่ือพัฒนาศักยภาพ ของ
ผู้เรียนทุกด้าน รวมทง้ั สืบสานจารตี ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของท้องถ่ิน
9.6 เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชมุ ชน ตลอดจนประสานงาน กับองค์กร
ภาครัฐและเอกชน เพ่ือให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนในการพัฒนาชุมชน
และท้องถิน่
9.7 จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางวิชาการและวัฒนธรรม การสร้าง
ความสัมพันธ์อันดีกับศิษย์เก่า การประชุมผู้ปกครองผู้เรียน การปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน การร่วม
กิจกรรมกบั สถาบนั การศึกษาอนื่ ๆ เป็นต้น
9.8 ทาบนั ทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวชิ าการกบั สถานศึกษาและองค์กรอืน่ ทงั้ ในประเทศ
และตา่ งประเทศ
9.9 ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจต้อบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และ
สถาบันสงั คมอนื่ ในเร่อื งเกยี่ วกบั สิทธิในการจดั การศึกษาขั้นพืน้ ฐาน การศกึ ษาทเ่ี ป็นจุดเน้นเฉพาะ

12

9.10 จัดให้มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การเพิ่มความพร้อมให้กับบุคคล ครอบครัว
ชมุ ชน องคก์ รชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน เอกชน องคก์ รเอกชน องคก์ รวิชาชพี สถาบนั ศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบนั สงั คมอ่นื ท่รี ่วมจัดการศึกษา

9.11 ร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอ่ืนจัดการศึกษา
และใช้ ทรพั ยากรร่วมกนั ให้เกิดประโยชน์สงู สดุ แก่ผู้เรียน

9.12 ส่งเสรมิ สนับสนนุ ให้มีการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้รว่ มกันระหว่างสถานศกึ ษา กับบุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบนั ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสงั คมอื่น

9.13 ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครอง ส่วน
ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคม
อืน่ ไดร้ ับความช่วยเหลือทางด้านวชิ าการตามความเหมาะสมและจาเป็น

9.14 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ท้งั ดา้ นคณุ ภาพและปรมิ าณเพื่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต
อย่างมีประสทิ ธภิ าพ

13

ภำคผนวก

14

การพฒั นาหลกั สตู รสถานศกึ ษา

15

16

จดั ทาตารางสอน/ตารางเรียน

17

จัดทาแผนนเิ ทศภายใน

18

การจัดทาแผนนเิ ทศภายใน (ตวั อยา่ งคาส่งั มอบหมายการปฏิบัติงานฝ่ายวิชาการ)

การจัดทาแผนนเิ ทศภายใน (ใช้ แพลตฟอร์ม กลุม่ ไลนโ์ รงเรียน กเู กิลฟอรฺม กเู กิลชตี และกูเกิลมที และ e-
school)

19

การจัดทาแผนนิเทศภายใน (ใช้ กระบวนการ PLC และเยย่ี มช้ันเรียน แลกเปลี่ยนเรยี นรู้)

ครูจัดเตรียมห้องเรียน/โต๊ะ/เก้าอเ้ี รยี น/สอื่ การสอน
ไดเ้ หมาะสมกบั บรรยากาศการจดั การเรยี นการสอนที่เหมาะสมตามวยั

20

วางแผนการดาเนนิ งานธุรการประจาช้นั เรียน ไดแก่
เอกสารทางการเรยี น แบบบนั ทึก ตา่ ง ๆ เปน็ ต้น

21

จัดทาแผนการจัดการเรยี นรสู้ อนของครทู ุกคน

22

ประกนั คุณภาพการศึกษา

จดั การเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี 21 (ทักษะทจ่ี าเป็น 3Rs8Cs)

23

จัดการเรยี นร้ใู นศตวรรษท่ี 21 (ทักษะท่จี าเปน็ 3Rs8Cs)

24

พฒั นาการอ่านออกเขยี นได้

จัดการเรยี นรู้เชงิ รุก (Active learning)

25


Click to View FlipBook Version