ส่วนประกอบของดอก
จัดทำโดย
น.ส.ณกุล ลิ้มสมานพันธ์ ชั้น ม.5 ห้อง 335 เลขที่ 4
แผนการเรียน คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
ส่ง
ครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตำแหน่งครูชำนาญการ (คศ.2)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
ประกอบรายวิชาชีววิทยา 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
คำนำ
แม็กกาซีนเล่มนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาองค์ประกอบภายในของดอกบัวหลวง โดย
ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย มี
จุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอและให้ความรู้แก่ผู้ที่เข้ามารับชม ได้รับความรู้เรื่ององค์ประกอบ
ของดอกบัวหลวงนี้นำไปพัฒนาความรู้ต่อไป
error arsenior
น.ส.ณกุล ลิ้มสมานพันธ์
( ผู้จัดทำ )
ลงวันที่ 17/11/2022
สารบัญ
สารบัญ
เนื้อหา หน้าที่
ข้อมูลทั่วไปของดอกบัวหลวง 1
ข้อมูลเบื้องต้นของโครงสร้างของดอกบัวหลวง 2
ข้อมูลด้านพฤกษศาตร์ของดอกบัวหลวง 3
ภาพประกอบข้อมูลทางพฤกษศาตร์ 4-5
ภาพถ่ายโครงสร้างโดยรวมทั้งหมดของสัณฐานภายนอก 6
ภาพถ่ายให้เห็นโครงสร้างโดยรวมทั้งหมดของกายวิภาคภายใน 7
บรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิง 8-10
หน้าที่ 1
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nelumbo nucifera
ชื่อสามัญ: Sacred lotus, บัวหลวง
ประเภทพืชและแหล่งที่พบ : บัวหลวงหรือบัวปทุมชาติเป็นพืชน้ำ มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย เช่น
จีน อินเดียและไทย
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ
ต้น : เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า (Rhizome) ไหล (Stolon) หน่อ
(Sprout) และหัว (Bulb)
ราก : ส่วนของลำต้นใต้ดิน (Rhizome, Corm) ทำหน้าที่สะสมสารอาหาร โดยลำต้นจะ
เจริญเติบโตตามแนวนอน มีลักษณะเป็นสายยาวต่อกัน
ฝัก/ผล : ตรงใจกลางดอกมีรูปร่างคล้ายกรวย สีเหลืองนวล หรือที่เรียกกันว่า ฝักบัว ตรง
กลางที่ฝาเมล็ดบัวประกบกัน จะมีดีบัวสีเขียวเข้ม มีขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง
ส่วนของบัวหลวงมีการนำมาบริโภค เช่น ทำน้ำรากบัวแก้ร้อนใน ยำกลีบบัวหรือยำเกสรบัวหลวง
เป็นต้น นอกจากนี้บัวหลวงยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ทั้งเกสร
กลีบดอก เมล็ด ดีบัว ใบ ราก และเหง้า คนไทยสมัยโบราณใช้เกสรบัวหลวงเข้าเครื่องยาไทยใน
พิกัดเกสรทั้งห้า เกสรทั้งเจ็ด และเกสรทั้งเก้า และนิยมใช้กันจนมาถึงปัจจุบัน
สรรพคุณแผนโบราณ ดอกบัวและเกสรบัวหลวงใช้บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน แก้อ่อนเพลีย ขับโลหิต
ขับเสมหะ แก้จุกเสียด และแก้ท้องเสีย เป็นต้น
หน้าที่ 2
ดอกบัวหลวง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ครบส่วน ดอกเดี่ยว
สมมาตรรัศมี มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
L
สมมาตรรัศมี ( actinomorphic symmetry ): สามารถ
แบ่งออกเป็นภาคที่เหมือนกันได้ 3 ส่วนขึ้นไปซึ่งสัมพันธ์กัน
โดยการหมุนรอบศูนย์กลางของดอกไม้
ดอกเดี่ยว ( single flower) : ดอกไม้ที่มีดอกอยู่
เพียงดอกเดียวบนก้านชูดอกเพียงก้านเดียว
ดอกสมบูรณ์ ( complete flower ) : ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน
ดอกสมบูรณ์เพศ ( perfect flower ) : มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอกเดียวกัน
ดอกที่ส่วนต่างๆอยู่ใต้รังไข่ (hypogynous) รังไข่ของดอกในกลุ่มนี้อยู่เหนือส่วนอื่นๆทั้งหมด
และอยู่บนฐานดอก เรียกว่ารังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary)
หน้าที่ 3
- ก้านดอก
- ฐานรองดอก ( receptacle) มีการขยายตัวออกเป็น torus
- กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะไม่ต่างกัน เรียกรวมว่า กลีบรวม ( tepal )
“วงกลีบรวม” (Perianth) ที่ปรากฏขึ้นในพืชซึ่งวงของกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายคลึงกันจนแยก
ไม่ออก
- Androecium หรือวงเกสรเพศผู้ ประกอบด้วย เกสรเพศผู้ (Stamen) ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
ซึ่งในพืชส่วนใหญ่มักมีจำนวนมากและเรียงตัวเป็นวง
- ก้านชูเกสรเพศผู้ (Filament) คือ ส่วนโครงสร้างที่ทำหน้าที่ชูอับเรณู มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้น อยู่รวม
กันเป็นกลุ่ม
- Gynecium หรือวงเกสรเพศเมีย ประกอบด้วย เกสรเพศเมีย (Pistil) อยู่ด้านในสุดของดอก สร้างเซลล์
สืบพันธุ์เพศเมีย
• ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) คือ ส่วนที่มีลักษณะโปร่งพองออกมาเป็นตุ่มแผ่แบนเป็นแฉก ๆ เป็นพู
และมีน้ำหวานเหนียวค้นหรือขนคอยจับละอองเรณูที่ลอยมาติด
• ก้านชูเกสรเพศเมีย (Style) คือ ส่วนที่มีลักษณะเป็นก้านขนาดเล็กที่เชื่อมต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงสู่
รังไข่ เพื่อเป็นเส้นทางให้สเปิร์มเคลื่อนตัวเข้ามาปฏิสนธิกับไข่
• รังไข่ (Ovary) คือ ส่วนของกระเปาะพองโต ซึ่งภายในประกอบด้วยออวุล (Ovule) ที่มีหน้าที่สร้างไข่
(Egg) บรรจุอยู่
หน้าที่ 4
ภาพองค์ประกอบของดอกบัวหลวง
D ⑭
ก้านดอก ฐานรองดอก
กลีบรวม ( กลีบเลี้ยงและกลีบดอกลักษณะคล้ายกัน )
หน้าที่ 5
ภาพองค์ประกอบของดอกบัวหลวง
เกสรตัวผู้
กลีบดอก ( กลีบรวม )
เกสรตัวเมีย
หน้าที่ 6
โครงสร้างโดยรวมทั้งหมดของสัณฐานภายนอก
ก้านดอก
⑬
t
tepal
หน้าที่ 7
ภาพโครงสร้างโดยรวมของบัวหลวง
receptacle B เกสรเพศผู้
( ฐานรองดอก ) appendage ⑭ anther
# filament
ก้านดอก stigma
A
⑭ My
A เกสรเพศเมีย
th style torus
tepal B
กลีบรวม ovule
ovary
⑭
หน้าที่ 8
บรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิง
- https://www.nanagarden.com/topic/3583
- https://www.scientia.in.th/
- https://il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/
interactive_key/key/describ/bualuang.htm
- http://www.agri.ubu.ac.th/~kitti/part1/flower.html
ข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์ทั่วไปของดอกบัวหลวง หน้า 1-3
- http://www.sc.chula.ac.th/thaiplants/flowers/pdf/
webFLOWER_N_Lotus.pdf
ข้อมูลด้านกายภาพและรูปภาพของดอกบัวหลวง หน้า 4-7
หน้าที่ 9
ภาคผนวก
คลิปวิดีโอขณะทำการศึกษาโครงสร้างของดอกบัวหลวง
URL : https://youtu.be/QIeAPWrbYFU
หน้าที่ 10
ภาคผนวก
ขณะแกะกลีบรวม
แกะกลีบรวมเพื่อ
ศึกษาเกสรเพศผู้
โครงสร้างเกสรเพศเมีย โครงสร้างเกสรเพศผู้