หมู่เกาะเภตรา มหศัจรรยเ ์ ขตข ้ ามเวลา Petra Islands Guide Book
ก คํานํา “หมูเกาะเภตรามหัศจรรยเขตขามกาลเวลา” เลมนี้กลาวถึงมนตเสนหแหงหมูเกาะเภตรา ที่มีทั้งความมหัศจรรยของพื้นที่ ภูมิประเทศ ภูมิศาสตร ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ใหเห็นยุคหินสองยุค ที่เขาโตะหวาย ซากฟอสซิลเมื่อหลายลานปที่พบบริเวณหมูเกาะเภตรา เชน สโตรมาโทไลต โทรโอไบท แกรปโตไวท เปนตน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล หวังเปนอยางยิ่งวา “หนังสือหมูเกาะ เภตรามหัศจรรยเขตขามกาลเวลา” เลมนี้จะเปนหนังสือสำหรับอานเพิ่มเติมใหกับนักเรียนและ ผูเกี่ยวของในเรื่องแหลงเรียนรูทางประวัติศาสตร การทองเที่ยว ไมมากก็นอย ขอขอบคุณทานผูอำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล และ ผูเกี่ยวของทุกทานที่ไดอนุเคราะหขอมูล และทำใหหนังสือเลมนี้เสร็จสมบูรณ คณะผูจัดทำ
1 หมู่เกาะเภตรา มหัศจรรย์เขตข้ามกาลเวลา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนัก บริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) มีลักษณะข้อมูลพื้นฐานทั่วไปดังนี้ มนตร์เสน่ห์แห่งเภตรา “หมู่เกาะเภตรา” เป็นชื่อเรียกหมู่เกาะใหญ่น้อยที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งในเขตจังหวัดตรังและ สตูล ด้วยสภาพธรรมชาติที่เป็นเกาะแก่ง หาดทรายชายทะเล ในบริเวณช่องแคบมะละกา เขตจังหวัดสตูล ยังมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติจึงเห็นควรว่าเหมาะ กับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล ในปีพ.ศ. 2525 กองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลบริเวณ หมู่เกาะเภตรา พบว่า มีสภาพเป็นเกาะใหญ่น้อยหลายเกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่อยู่ 2 เกาะ คือ เกาะเภตราและเกาะเขาใหญ่ สภาพป่าสมบูรณ์ทิวทัศน์ทางทะเลสวยงาม มีปะการัง หาดทรายขาวสะอาด มีโขดหิน หน้าผา ถ้ำ และเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา ทั้งเป็นที่วางไข่ และอยู่อาศัยของเต่าทะเล หลายชนิด เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
2 กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุม เมื่อวันที่15 มีนาคม 2526 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และหมู่เกาะใกล้เคียงในพื้นที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า ตำบลแหลมสน และตำบลปากน้ำ อำเภอละงูจังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 101 ตอนที่ 200 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 นับเป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 49 ของประเทศไทย ที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 298 หมู่ที่ 4 บ้านตะโละใส ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัสตูล อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ จด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง , ท้องที่ตำบลเกาะลิบง อำเภอ กันตัง และตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ทิศใต้ จด อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ทิศตะวันออก จด ท้องที่ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า และตำบลแหลมสน , ตำบลปากน้ำ อำเภอละงูจังหวัดสตูล ทิศตะวันตก จด ช่องแคบมะละกา
3 ขนาดพื้นที่จำนวนเกาะ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรามีเนื้อที่ประมาณ 308,987 ไร่ ประกอบด้วยเกาะมากกว่า 22 เกาะ ที่เรียงรายกระจัดกระจายตั้งแต่ เขตอำเภอละงูอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จนจรดอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลและเกาะน้อยใหญ่ โดยมีเกาะที่สำคัญเรียงจากทิศเหนือไป ทิศใต้คือ เกาะเหลาเหลียงเหนือ เกาะเหลาเหลียงใต้เกาะเบ็ง เกาะตากใบ เกาะกล้วย เกาะตุงกู เกาะละมะ เกาะบุโหลนขี้นก เกาะบุโหลนใหญ่ เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เกาะเขาใหญ่ และเกาะลิดีเป็น ต้น พื้นที่บางส่วนกันออกจากเขตอุทยานแห่งชาติเช่น หมู่บ้านบ่อเจ็ดลูก และบางส่วนที่กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้พื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีภูเขา และหย่อมภูเขาเป็นหัวแหลมตามขอบชายฝั่ง พื้นที่ชายฝั่งทะเลประกอบด้วยชายฝั่งหินหน้าผา ที่ราบน้ำท่วมถึงและสันทรายชายหาด ความยาวแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 50 กม. มีเกาะเขาใหญ่เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มียอดเขาของเกาะสูงสุดที่ระดับ 272เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง รองลงมา ได้แก่ เกาะบุโหลนเล (เกาะบุโหลนใหญ่) เกาะลิดีใหญ่และเกาะเภตรา ตามลำดับ เกาะส่วนใหญ่เป็นหินปูน มีความลาดชันสูง มีโพรง ถ้ำหลุมยุบ และหน้าผาสูงชัน เมื่อน้ำทะเลลดลงจะเห็นเป็นชะง่อนผาตั้ง ทั้งนี้เกิดจากการ กัดเซาะพังทลายของ คลื่น ลม และน้ำขึ้นน้ำลง ส่วนที่ราบบนเกาะ มีเพียงเล็กน้อยในบริเวณหุบ เขาและเป็นหาดทรายแคบๆ สั้นๆ อยู่ตามหัวแหลมของเกาะและอ่าว
4 โดยส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านเดียวกับชายฝั่งทะเล หรือทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ เช่น เกาะเลี้ยงเหนือ (เกาะเหลาเหลียงเหนือ) เกาะเลี้ยงใต้ (เกาะเหลาเหลียงใต้) เกาะเขาใหญ่ และ เกาะลิดีเล็ก เป็นต้น ลักษณะภูมิอากาศ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จังหวัดสตูล ตั้งอยู่บนภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย มีลักษณะเป็นคาบสมุทรขนาบด้วยทะเลทั้ง 2 ข้าง มีเทือกเขาที่สำคัญ คือ เทือกเขาตะนาวศรีและ เทือกเขาภูเก็ต มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Tropical Monsoon climate) ได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ต้นเดือนตุลาคม ลมนี้มีความชื้นสูงทำให้ในช่วงนี้ พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันมีฝนตกชุก และในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคมได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งลมนี้มีแหล่งกำเนิดจากประเทศจีนที่มีสภาพภูมิอากาศแห้งและเย็น และ ลมปะทะกับภูเขาทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้จึงทำให้สภาพภูมิอากาศในช่วงนี้มีฝนตกไม่มากนัก จากอิทธิพลของลมมรสุมและสภาพพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ในบริเวณนี้จึงมีเพียง 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เมษายนและฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม
5 ธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งปากคลอง สาขาของคลองละงูที่ออก ทะเลบริเวณหัวแหลมเขาขมิ้น เขาตางน้ำเค็ม เขาท่าเข็ด และที่ราบน้ำขึ้นถึงซึ่งปกคลุมด้วยป่าชายเลน สองฝั่งคลอง พื้นน้ำทะเล และ เกาะต่างๆกว่า 22 เกาะ ขอบชายฝั่งจะนับแต่แนวหาดทรายฝั่งทิศใต้ ของปากคลองบุโบยผ่านบริเวณปากคลองสำคัญ 2 คลอง คือ คลองบ่อเจ็ดลูกและคลองปากบารา ซึ่งกระจายตะกอนสะสมตัวจากการขึ้นลงของน้ำทะเล ตะกอนส่วนมากเป็นทรายแป้ง ดินเคลย์ หรือดินเหนียว และทรายเม็ดละเอียดที่แขวนลอยมากับน้ำขึ้นน้ำลง แต่ในการประกาศอุทยาน แห่งชาติไม่ครอบคลุมถึงป่าชายเลนที่อยู่ถัดเข้าไปในแผ่นดิน
6 มหัศจรรย์เขตข้ามกาลเวลา ต้องมนตราทางธรณี อุทยานธรณีสตูล เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย อุทยานธรณี(Geopark) พื้นที่ที่มีความสำคัญและโดดเด่นทางธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา และวัฒนธรรม มีเรื่องราวที่ เชื่อมโยงคุณค่าของผืนแผ่นดินกับวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน โดยการอนุรักษ์ การถ่ายทอดความรู้ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่ และมีการค้นพบ ซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศให้ “อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) เป็น“อุทยานธรณีโลก”(UNESCO Global Geopark)แห่งแรกของเมืองไทย เป็นลำดับที่ 5 ในอาเซียน
7 เขาโต๊ะหงาย เขาโต๊ะหงายเป็นภูเขาลูกโดด ๆ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 600×300 ตารางเมตร ด้านเหนือ จรดพื้นที่ราบส่วนด้านใต้เป็นลักษณะของหัวแหลมผาชันยื่นออกไปในทะเล ด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอ่าวที่เป็นหาดทรายโค้งเว้าเข้าไปในแผ่นดินและเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หลังมีลักษณะเป็นผาชันติดทะเลทางด้านตะวันตก ด้านใต้ และด้าน ตะวันออก มีสะพานเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราเลียบไปตามชายฝั่งผาชัน ด้านตะวันออก แล้วโค้งไปทางตะวันตกผ่านเขตรอยต่อระหว่างหินปูนสีเทากับหินทรายสีแดง แม้จะไม่มีหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ แต่จากการเปรียบเทียบลำดับชั้นหินนั้นกล่าวได้ว่า หินปูนสีเทานั้นเป็นหินปูนกลุ่มหินทุ่งสูงยุคออร์โดวิเชียน ส่วนหินทรายสีแดงนั้นเป็นหินทรายกลุ่ม หินตะรุเตายุคแคมเบรียน โดยระนาบสัมผัสระหว่างกลุ่มหินทั้งสองนั้นเป็นระนาบรอยเลื่อนที่มีการ วางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันออก และจากการที่ชั้นหินทรายสีแดงมีการวางตัวไปทาง ตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุมเอียงเท 22 องศาแล้วค่อยๆเพิ่มการเอียงเทมากขึ้น ๆ จนอยู่ใน แนวตั้งฉากที่บริเวณด้านใต้ของระนาบรอยเลื่อนนั้น ทำให้กล่าวได้ว่าเป็นรอยเลื่อนปกติ และหาก นักท่องเที่ยวเดินบนสะพานจากด้านหินปูนสีเทาข้ามระนาบรอยเลื่อนไปยังด้านหินทรายสีแดง ถือได้ว่ากำลังมีอายุมากขึ้นจากยุคออร์โดวิเชียนไปเป็นยุคแคมเบรียนโดยผ่านระนาบรอยเลื่อนที่ถือ ว่าเป็น “เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย” “เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย เพียงย่างกรายก็เปลี่ยนยุค”
8 ตื่นตาฟอลซิลแลนด์ แดนสโตย คำว่า "สตูล" มาจากคำภาษามาลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อน อันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่เมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็น ภาษามาลายูว่า "นครสโตยมำบัง สการา (Negeri Setoi Mumbang Segara)" หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทร เทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้ แผ่นดินสตูล ได้สมญานามว่าฟอสซิลแลนด์ เพราะก้อนหินแทบทุกพื้นที่ในเขตอำเภอทุ่งหว้า ที่เป็นหินปูน หินดินดาน จะพบเห็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์โบราณในยุคสมัยนั้น เช่น ไทรโลไบต์ นอติลอยด์ แอมโมนอยต์ แกรปโตไลต์ แบรคิโอพอด สโตรมาโตไลต์ ฯลฯ แท้จริงแล้วการได้เป็น มรดกโลกทางธรณีของอุทยานธรณีสตูลมีจุดเริ่มต้นจากการที่ชาวบ้านไปจับกุ้งในถ้ำ แล้วพบกับ วัตถุประหลาด ลักษณะคล้ายฟันกรามของช้างอยู่บนลานทรายในถ้ำ จึงนำออกมา ส่งให้ นักวิชาการกรมทรัพยากรธรณีตรวจสอบ พบว่านั่นคือ ฟันกรามของช้างสเตโกดอน ที่มีอายุอยู่ ในช่วงสมัยไมโอซีน ในยุคเทอร์เชียรี ของมหายุคซีโนโซอิก เป็นช้างโบราณที่ในปัจจุบันนี้ได้ สูญพันธุ์ไปแล้ว นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าดินแดนที่เป็นจังหวัดสตูลในปัจจุบันนี้อย่างน้อยเคยมี ช้างสเตโกดอนอยู่อาศัยเมื่อหลายล้านปีก่อน
9 จากการสำรวจของนักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณีที่ได้ลงมาสำรวจพื้นที่แห่งนี้ อย่างจริงจังทำให้ได้ข้อมูลว่า พื้นที่ของจังหวัดสตูลและพื้นที่ใกล้เคียงนั้นมีอายุกว่า 500 ล้านปี มีอายุเก่าแก่ในตารางธรณีกาล เป็นแผ่นดินที่เคลื่อนตัวขึ้นมาจากใต้ทะเล โดยถูกปรากฏการณ์ ของเปลือกโลกนำพาให้พื้นดินที่เคยอยู่ในทะเลลึกได้ขึ้นมาพบกับอากาศ กลายเป็นพื้นดินใน ปัจจุบัน พื้นดินของจังหวัดสตูลเป็นแผ่นดินที่เคยอยู่ใต้ทะเล เดิมสัตว์น้ำโบราณและสาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงินที่เคยครองท้องทะเลในโลกยุคเริ่มแรกเกิดขึ้น เจริญเติบโต แล้วตายทับถมกัน มีตะกอน ดินทรายมาอัดทับกันเป็นเวลานับร้อย ๆ ล้านปี จนเกิดปรากฏการณ์ของแผ่นเปลือกโลกที่ เปลี่ยนแปลง จนทำให้พื้นดินที่เคยจมอยู่ในน้ำโผล่ขึ้นมาเหนือระดับน้ำ บางส่วนกลายเป็นภูเขา
10 ฟอสซลิน่ารู้ ย่ิงดูย่ิงหลงใหล ย้อนยุคไปวันวาน เน่นินานหลายล้านปี ฟอสซิลสำคัญ ที่พบในจังหวัดสตูล สโตรมาโตไลต์ ชาวสตูลเรียกลักษณะของหิน ดังกล่าวว่า “หินสาหร่าย” ซึ่งเป็นหิน ธรรมดาที่มีลักษณะการเกิดที่เฉพาะ พบได้ ไม่มากนักบนผิวโลกเกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาด เล็ก ไฟลัมไซยาโนแบคทีเรีย ซึ่งเป็น สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สาหร่ายสโตรมาไตไลท์ เป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์แสงได้ คล้าย สาหร่าย ปัจจุบันเหลืออยู่ที่เดียวในโลกที่ อ่าวชาร์ก ทางภาคตะวันตกของประเทศ ออสเตรเลีย สาหร่ายสโตรมาไตไลท์ มีความสำคัญต่อการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคือ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ส่งต่อแก๊สออกซิเจนให้กับสิ่งมีชีวิต แรกเริ่มในยุคพรีแคมเบรียน โดยยุคก่อนหน้านั้นไม่มีออกซิเจนอิสระอยู่เลย และทำให้เกิด วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนในที่สุด
11 ไทรโลไบท์ หรือฟอสซิลแมงดาทะเลโบราณ มีมากกว่า 20,000 สปีชีส์ซากไทรโลไบต์ร่วมกับผู้ล่า และเหยื่อของมันที่เหลืออยู่ ในชั้นหินบอกถึงสภาพทะเลที่หลากหลายในอดีต ตั้งแต่ยุคแคมเบรียน ถึงยุคเพอร์เมียน จากรายงานการสํารวจธรณีวิทยาในปัจจุบัน พบว่า จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่พบไทรโลไบต์จํานวนมาก และ หลากหลายสายพันธุ์ที่สุด แกรปโตไลท์ “รอยเขียนบนหิน” เป็นสัตว์ทะเลขนาดเล็กกึ่งมีกระดูกสันหลังเป็นสัตว์ ทะเลขนาดเล็กที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มดำรงชีพโดยการลอยอยู่ใน น้ำทะเลและกรองกินแพลงก์ตอนด้วยขนเล็กโบกพัดให้อาหาร เข้าสู่ปาก ลำตัวของแกรปโตไลท์แต่ละตัว อยู่ในปลอกท่อสั้นๆ และเชื่อมติดเป็นแกนยาว มีทุ่นช่วยในการลอยตัวใกล้ผิวน้ำ แกรปโตไลต์เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคแคมเบรียนตอนกลาง และ สูญพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส การสูญพันธุ์ ของแกรปโตไลต์ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
12 แบรคิโอพอด หรือ ฟอสซิลหอยตะเกียง มีลักษณะคล้ายหอยกาบคู่ โดยมีส่วน ของรยางค์ที่ติดกับฝาประกบทั้งสองของ เปลือก ยื่นออกมายึดติดกับเลนโคลน ใต้ทะเล สามารถยืดหดเพื่อหลบหนีภัยได้ และกินอาหารโดยใช้ตะแกรงกรองอาหาร มีเปลือกที่สมมาตรด้านข้าง แบรคิโอพอด เริ่มพบตั้งแต่ยุคแคมเบรียน โดยมีจํานวน และความหลากหลายมากตลอดช่วงมหายุค พาลีโอโซอิก แบรคิโอพอด จํานวนมากสูญ พันธุ์ในเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุด ของโลกที่เกิดในปลายยุคเพอร์เมียน แต่มันสามารถปรับตัว และคงเหลืออยู่รอด ปัจจุบันพบลิง กูไลท์ (แบรคิโอพอด) ที่ยังคงลักษณะเดิม จัดเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนโลกยาวนานที่สุดประมาณ 500 ล้านปี
13 นอติลอยด์ หรือ ฟอสซิลปลาหมึกทะเลโบราณ ต้นตระกูลของปลาหมึกทะเลโบราณ มีลำตัวอ่อนนิ่ม แต่ได้ พัฒนาส่วนหัวให้มีเปลือกหุ้มลำตัว โผล่แต่ส่วนหนวดออกมา ภายใน ส่วนท้ายของลำตัวเป็นห้องอับเฉาโดยมีท่อสูบฉีดน้ำ ช่วยควบคุมการ ดันน้ำเข้าเหมือนเรือดำน้ำ จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่พบฟอสซิลนอติลอยด์มาก เนื่องจากมีหินปูนยุคออร์โดวิเชียนโผล่กระจายตัวอยู่ทั่วไป แอมโมนอยด์ หรือฟอสซิลปลาหมึกทะเลโบราณคล้ายหอย เป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการต่อมาจากปลาหมึกทะเลโบราณ ซึ่งวิวัฒนาการ เปลือกแตกแขนงเป็น 2 แบบ คือลดการมีเปลือกจนเป็นหมึกปัจจุบัน และ สร้างเปลือกคล้ายหอยให้ม้วนงอเป็นวงจนมีรูปร่างเหมือนหอย ซึ่ง วิวัฒนาการในแบบที่ 2 เรียกว่า แอมโมนอยด์มีการสูบฉีดน้ำ ช่วยควบคุม ความดันน้ำใช้ในการเคลื่อนที่ ปัจจุบันคือ หอยงวงช้าง แอมโมนอยด์ เกิดจากนอติลอยด์ในยุคดีโวเนียน โดยมีวิวัฒนาการอย่างช้าๆ จนกระทั่ง เพิ่มความหลากหลายและจำนวนในยุคต่อมา แอมโมนอยด์ในมหายุค พาลีโอโซอิก มีขนาดเล็กขนาดไม่เกินผลมังคุด ในปลายยุคเพอร์เมียน แอมโมนอยด์เกือบจะสูญพันธุ์ เหลือรอดจำนวนไม่กี่ชนิด แต่ในมหายุคมีโซโซอิก แอมโมนอยด์มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว กลับมาเพิ่มชนิด และจำนวนที่หลากหลาย มักเรียกกลุ่มสัตว์ทะเลในมหายุคมีโซโซอิก นี้ว่า “แอมโมไนต์” ฟอสซิลแอมโมไนต์ ขนาดใหญ่พบได้ทั่วโลก และในปลายมหายุคมีโซโซอิก แอมโมนอยด์สูญพันธุ์หมดไปจากโลก
14 ทรัพยากรธรรมชาติ ชนิดป่าที่ปรากฏในพื้นที่ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา นับเป็นแนวเขาหินปูนแนวสุดท้ายที่อยู่บนคาบสมุทรไทย บริเวณเขาหินปูนแถบนี้พบพืชเฉพาะถิ่นหลายชนิดที่น่าสนใจ ได้แก่ กล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล และประดับหินสตูล โดยเฉพาะประดับหินสตูลนี้ปัจจุบันมีรายงานพบที่เขาโต๊ะหงายซึ่งเป็นเขาหินปูน ชายฝั่งในอุทยานแห่งชาติหมู่ เกาะเภตราเป็นที่เดียวในประเทศไทยและอยู่ในสถานะพืชหายากอีกด้วย ทรัพยากรสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammals) จากรายงานข้อมูลพื้นฐานโครงการจัดทำแผนแม่บทการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะเภตรา จังหวัดตรัง-สตูล กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รายงานชนิดสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมที่ พบ 15 ชนิด และจากแผนแม่บทการจัดการพื้นแหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน กรมอุทยาน แห่งชาติสัตว์ป่า และ พันธุ์พืช พบ 18 ชนิด ซึ่งเป็นชนิดที่เป็นเพิ่มจากเดิม 5 ชนิด เป็นสัตว์ที่อยู่ใน สถานภาพกลุ่มที่ใกล้ถูกคุกคาม 1 ชนิด คือ ลิงแสม และอยู่ในสถานภาพกลุ่มที่เป็นที่กังวลน้อย ที่สุด 19 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สำคัญในพื้นที่ บริเวณนี้เช่น ค้างคาวแม่ไก่เกาะและค่างแว่น ถิ่นใต้
15 นก (Birds) พบนกทั้งหมด 120 ชนิด เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราประกอบด้วยพื้นที่ ชายฝั่ง และเกาะนอกชายฝั่ง มีการสัมปทานรังนก นกที่พบส่วนใหญ่จึงอยู่ในกลุ่มนกน้ำ นกชายเลน แต่ชนิด นกไม่ได้โดดเด่นนัก ชนิดที่พบบ่อย เช่น นกยางโทนน้อย นกหัวโตทรายเล็ก นกอีก๋อย นก บั้งรอกใหญ่ และนกนางแอ่นบ้าน เป็นต้น นกที่มีสถานภาพทางการอนุรักษ์ได้แก่ นกชาปีไหน นก ออก นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ และนกกาฮัง เป็นต้น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน (Ampibians & Reptiles) ด้วยสภาพที่เป็นเกาะที่อยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งมากนักและคาดว่าได้รับอิทธิพลจากระดับน้ำทะเลที่ ลดลงเมื่อประมาณ 15,000 ปีก่อน ในช่วงเวลานั้นระดับน้ำทะเลลดลงจนเชื่อมเกาะต่างๆใน ปัจจุบันให้ติด เป็นแผ่นดินเดียวกันกับแผ่นดินใหญ่ ทำสัตว์ที่มีการแพร่กระจายอยู่บนแผ่นดินใหญ่ในช่วงเวลา นั้น เดินทางไปอาศัยในพื้นที่ว่าง ภายหลังเมื่อระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจึงตัดขาดหมู่เกาะต่างกับแผ่นดินใหญ่ สัตว์ที่ เดินทางไปในช่วงเวลานั้นจึงตกค้างอยู่บนเกาะและได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่พบใน เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรานี้เป็นพวกที่ทนความแห้งแล้งได้ดีและมีการแพร่กระจายที่กว้างมาก คือคางคกบ้าน และปาดบ้าน นอกจากนี้ยัง พบ กบน้ำเค็ม บริเวณที่น้ำจืดจากบนเกาะไหลลงสู่ทะเล กบน้ำเค็ม เป็นกบชนิดเดียวที่มีความสามารถทนทานต่อความเค็มได้จึงสามารถพบกบน้ำเค็มในบริเวณ ที่มีน้ำเค็ม หรือน้ำกร่อยได้และกบน้ำเค็มสามารถอาศัยอยู่แหล่งน้ำจืดได้ดีอีกด้วย นับว่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบกที่ปรับตัวได้ให้สามารถอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี
16 ทรัพยากรทางทะเล แนวปะการัง พื้นที่แนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา พบได้ในบริเวณเกาะเลี้ยงเหนือ เกาะเลี้ยงใต้เกาะหินแบวะ เกาะหินจังกาบ เกาะเภตรา เกาะตะลุ้ย เกาะตาใบ เกาะหลัก เกาะตุ้งกู เกาะละมะ เกาะบุโล้นดอน เกาะบุโล้นไม้ไผ่ เกาะบุโล้นเล เกาะกล้วย เกาะลิดีและเกาะลินัน (บุหลัน) ปะการังที่พบมาก ได้แก่ ปะการังโขด ปะการังเขากวาง ปะการังโต๊ะ ปะการังช่องเล็กแบบ แผ่นปนเคลือบ ปะการังเขากวางทรงพุ่มพาน ปะการังโต๊ะ ปะการังสมองร่องใหญ่ ปะการังสมอง ร่องสั้น ปะการังดาวใหญ่ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังเขากวาง ปะการังเขากวางทรงพุ่มพาน ปะการังจาน ปะการังอ่อนต้นวุ้น และปะการังลายกลีบดอกไม้กลีบซ้อน หญ้าทะเล อุทยานหมู่เกาะเภตรา สามารถพบหญ้าทะเลได้ทั้งหมด 10 ชนิด คือ หญ้าคาทะเล หญ้าชะเงาเต่า หญ้าใบมะกรูด หญ้าเงาใบเล็ก หญ้าเงาแคระ หญ้าต้นหอมทะเล หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้ากุยช่าย เข็มหญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย และหญ้าชะเงาใบมน
17 สัตว์น้ำ ยังไม่มีข้อมูลการสำรวจ แต่จากการตรวจเอกสารพบทากเปลือย 1 ชนิด คือ ทากเปลือย ขอบย่น กุ้ง 1 ชนิด คือ กุ้งฝอยลายพาด กั้งตั๊กแตน 6 ชนิด และปลา จำนวน 144 ชนิดเช่น ปลาขี้ตังเบ็ด ปลาผีเสื้อ ปลานกขุนทอง ปลากะรัง หิน 5 สี ในส่วนของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ที่เขาโต๊ะหงาย บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีบริเวณ ที่เรียกว่าเขตข้ามกาลเวลา ที่หินสองยุคซึ่งมีอายุ ต่างกันนับล้าน ๆ ปี มาประกบกันกลายเป็นภูเขา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่หาไม่ได้ง่ายในทางธรณีวิทยา อีกทั้งใกล้เคียงกันนั้นมีชายหาดที่มีหินทรงกลม สีต่าง ๆ ถึง 5 สี อยู่บนหาดเดียวกัน จึงตั้งชื่อว่า หาดห้าสี จึงเห็นหินสีต่าง ๆ บนชายหาดอย่าง ชัดเจนและสวยงาม (นักท่องเที่ยวควรเดินทางไป ในช่วงน้ำลง โดยต้องติดต่อไปตรวจสอบระดับน้ำกับทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราเพื่อ ขอทราบข้อมูลล่วงหน้า)
18 เที่ยวสุขใจ ในเภตรา กิจกรรมการท่องเที่ยว ด้วยความที่อุทยานฯ หมู่เกาะเภตรา มีเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะเภตราและเกาะเขาใหญ่ เป็นศูนย์กลางในการท่องเที่ยวเกาะบริวารอีก 22 เกาะ การมาเที่ยวที่อุทยานฯแห่งนี้นักท่องเที่ยว จะได้ผจญภัยไปกับการล่องเรือไปชมวิวสวยของหาดทรายขาว น้ำทะเลใส เที่ยวถ้ำงาม ชมเต่าทะเล ที่ขึ้นมาวางไข่บนเกาะและได้เพลิดเพลินไปกับความงามใต้ท้องทะเลอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ยังเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานธรณีโลก ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้รับความรู้ ด้านธรณีวิทยาอีกด้วย แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ อ่าวนุ่น เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานหมู่เกาะเภตรา ที่อ่าวนุ่นไม่ได้มีเพียงสิ่งอำนวยความ สะดวกครบครันที่สุดเท่านั้น ยังมีแนวหาดทรายโค้งเป็นเวิ้งอ่าว สวยงาม ยังมี“สะพานข้ามกาลเวลา”ซึ่งทอดยาว เลียบเชิงเขาให้คุณเดินศึกษาธรรมชาติและ ลักษณะสำคัญทางธรณีวิทยาซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างกลุ่มหินสองยุคในอดีตกาลและข้ามไปชม ความงามของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ภต.1 (เขาโต๊ะหงาย) ได้ด้วย เกาะลิดีเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ภต.2 (เกาะลิดี) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 5 กิโลเมตร มีแนวหาดทรายขาวเป็นเวิ้งอ่าวยื่นเข้าไปในตัวเกาะสวยงาม และยังมีถ้ำที่ เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่นด้วย นอกจากนั้นยังมี เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เกาะเภตรา เกาะเหลาเหลียง เกาะเขาใหญ่ ที่พร้อม ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่รักการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเข้ามาเยี่ยมชม
19 การเดินทาง การเดินทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราโดยทางรถยนต์จากกรุงเทพมหานครไปตาม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพร จากนั้นไป ตามทางหลวง หมายเลข 41 ผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง จากจังหวัดพัทลุงไป ตามทางหลวงหมายเลข 4 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 406 ผ่านอำเภอรัตภูมิจังหวัด สงขลา เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวง หมายเลข 4137 ผ่านอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล จากนั้นเลี้ยว ขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 416 เมื่อถึง บริเวณ กม.ที่ 6-7 แยกซ้ายไปตามถนนคอนกรีตสาย บ้านตะโล๊ะใส ซึ่งก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย (สต3002) เป็นระยะทาง ประมาณ 1.4 กม. จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณอ่าวนุ่น หมู่ที่ 4 บ้านตะโล๊ะใส ตำบลปากน้ำ อำเภอละงูจังหวัดสตูล ห่างจากอำเภอละงูประมาณ 7 กม. และห่าง จากจังหวัดสตูลประมาณ 56 กม. อีกเส้นทางหนึ่งจากทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้ว แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข403 และทางหมายเลข 4 เข้าสู่จังหวัดตรัง ผ่านอำเภอย่านตาขาว ไปตามทางหลวงหมายเลข 404 และก่อนถึงอำเภอปะเหลียนเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 416 ถึงที่ทำการ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
20 จากที่ทำการอุทยานฯ หมู่เกาะเภตราสามารถเช่าเรือไปเที่ยวหรือพักแรมบนเกาะลิดีได้ด้วย เกาะแห่งนี้นอกจากมีชายหาด ป่าชายเลน ยังมีแนวหินก้อนกลมเล็ก ๆ ที่โผล่ขึ้นมาเชื่อมต่อไปยัง เกาะหว้าหิน เกาะเล็ก ๆ ที่บนเกาะมีปรากฏการณ์หินลักษณะเป็นตารางหมากรุก หากไปทางท่าเรือปากบารา (ทางลงเรือไปยังเกาะหลีเป๊ะ) ที่บ้านบ่อเจ็ดลูก มีกิจกรรมนั่งเรือเที่ยวชม หมู่เกาะต่าง ๆ ย่านบ่อเจ็ดลูก เช่น ปราสาทหินพันยอด หาดหินงาม หินตา-ยาย หาดพบรัก ฯลฯ แม้จะเป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา แต่ก็มีการมอบหมายให้ชุมชนสามารถจัดการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้การกำกับดูแลของอุทยานแห่งชาติ
21 เอกสารอ้างอิง กรมทรัพยากรธรณี.(2556).คู่มือผู้เล่าเรื่องธรณี ฟอสซิลแลนด์แดนสตูล. กลุ่มงานวิชาการส านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช). (2561). รายงานการส ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จังหวัดสตูล พ.ศ.2561. คมฉาน ตะวันฉาย. (2562,มีนาคม). อุทยานธรณีสตูล. https://thai.tourismthailand.org/Articles ภาพประกอบ นายอดุลย์ ไกรรักษ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนรัตภูมิวิทยา นายมิลินทร์ อินทวงศ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา คอมพิวเตอรก ์ ราฟิก นายพนมยงค์ นวลพรหม รองผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
หมู่เกาะเภตรา มหัศจรรย์เขตข้ามเวลา Petra Islands Guide Book