แผนการสอนประจำสัปดาห์ท่ี 6
ตายแล้วไปไหนตามแนวพระพุทธศาสนา
Where do you go after death according to Buddhism?
พระครวู นิ ัยธรสญั ชยั ญาณวโี ร (ทพิ ย์โอสถ), ดร.1
15/07/2565
รายละเอยี ดบทนำ
ความกลัวเป็นอารมณ์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ เช่น ศาสนา ลัทธิ
นักปราชญต์ ั้งแต่สมยั โบราณมาจนกระทงั่ บัดนกี้ ย็ อมรับในประเดน็ นี้ นกั ปรชั ญากรีกสำนักเอบคี ิวเรียน
กวีชาวโรมันก็มี ลเู ครเซยี ส ลว้ นเชื่อว่า ศาสนาเกิดจากความกลวั ท้ังสิ้น คนสมยั ก่อนย่อมดำรงชีวิตอยู่
ด้วยความกลัวมากกว่าคนสมัยนี้ เพราะว่าในสมัยโน้นมีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ
นอ้ ยมาก ทุกสิ่งดูเปน็ สงิ่ ลึกลับ มีอันตรายและน่ากลวั มนุษย์ไมเ่ ขา้ ใจธรรมชาติมีพลังต่อสกู้ บั ธรรมชาติ
น้อยมาก ไม่ว่าเหตุการณ์ใดทางธรรมชาติมนุษย์จะตกเป็นเบี้ยล่าง ยิ่งกว่านั้นโลกสมัยดึกดำบรรพ์คง
น่ากลัวมากกว่าปัจจุบันนี้ เพราะมนุษย์มีจำนวนน้อย ธรรมชาติป่าเขายังหนาทึบเต็มไปด้วยสัตว์ป่า
จำนวนมาก มนุษย์จึงรู้สึกว่าตนไม่มีทางสู้รบปรบมือกับภัยธรรมชาติใด ๆ ได้เลย ดังนั้น จึงอยู่ด้วย
ความหวาดกลวั แล้วมนุษย์กลัวอะไรบ้าง 1) กลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ร้ายแรงซึ่งตนควบคุมไม่ได้
เชน่ แผน่ ดินไหว ภเู ขาไฟระเบิด พายุใหญ่ น้ำทว่ ม ฝนแล้ง แผ่นดินถลม่ 2) กลวั โรคภัยไข้เจ็บ 3) กลัว
สัตว์ร้าย 4) กลัวภัยจากมนุษย์กลุ่มอื่นเผ่าอื่น 5) กลัวความอดอยากขาดแคลน 6) กลัวการสูญเสีย
ทรัพย์ บุตร ภรรยา สามี ญาติ มิตร 7) กลัวความตาย 8) กลัวสิ่งที่ตนไม่รู้ (Fear of the unknown)
เช่น กลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่างที่ตนอธิบายไม่ได้ กลัวอำนาจลึกลับของเวทมนตร์
คาถาอาคมและของบุคคลบางประเภท เช่น พ่อมด หมอผี กลัวภูตผีปีศาจ ตลอดถึงกลัวความมืด
เพราะไม่ร้วู ่าในความมืดนน้ั มอี ะไรแอบแฝงอยบู่ า้ ง
ปฏิกิริยาทีเ่ กิดจากความกลวั คนเราเมื่อเกิดความกลัวขึ้นมาแล้ว มักจะแสดงปฏิกิริยาต่าง ๆ
ออกมา ดังต่อไปนี้
1) หนีเอาตัวรอด (Escape) การหลบหนีสิ่งที่ตนกลัวเป็นปฏิกิริยาอันแรกที่สุดเกิดขึ้นโดย
อัตโนมัติในสตั ว์ทั้งหลาย เพราะความกลัวกับสัญชาตญาณการหนีภัยมักจะเกิดขึ้นด้วยกันเสมอแมแ้ ต่
นกั รบผู้กลา้ หาญทส่ี ุดเมื่อตกตื่นหรือว่ากลวั ก็ยงั มีการผงะ น่นั ก็เป็นปฏกิ ริ ิยาแห่งการหลบหนี จะเห็น
ปฏิกิริยาแห่งการหลบหนีได้ชัดในสัตว์เดรัจฉานทุกชนิด ธรรมชาติได้สร้างอุปกรณ์การหลบหนีไว้ให้
สัตว์ชนิดต่าง ๆ อย่างเหมาะสม สัตว์บางส่วนมีฝีเท้าเร็ว สัตว์บางชนิดมีฝีเท้าช้า ธรรมชาติก็ให้เกราะ
1 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา BU 5003 พระไตรปฎิ กศึกษา 2 (Tipitaka Studies 2)
[email protected]
2
ประจำกายสำหรับหลบเข้าไปอยู่ข้างใน เมื่อตกใจกลัวสัตว์บางชนิดก็มีความสามารถพิเศษในการ
กระทำหรือกระโดดไกล ๆ ในการ ดำน้ำนาน ๆ ในการขุดฝังตัวเองอย่างรวดเร็วและในการพรางศตั รู
ด้วยการเปลย่ี นสขี องตนเองให้ดูกลมกลนื กับส่งิ แวดล้อม
2) การต่อสู้ (Fight) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อนี้ไม่พ้นสำหรับมนุษย์ที่มีปัญญามากการต่อสู้
จะมีทุกรูปแบบตั้งแต่การใช้กำลังกายโดยตรงไปจนถึงการใช้อุปกรณ์และกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน
ซับซอ้ นต่าง ๆ การตอ่ สู้ในสัตว์เดรัจฉานมักจะเป็นการใช้กำลงั กายโดยตรงธรรมชาตไิ ด้ให้อุปกรณ์การ
ต่อส้ปู ระจำสัตว์ตา่ ง ๆ ไวเ้ ช่นให้เขามาเค้ยี วเล็บเงีย่ ง เหลก็ ในแหลมคมเปน็ ตน้ สตั ว์เล็ก ๆ บางชนิดก็มี
ผิดร้ายแรงสามารถทำให้ศัตรูที่ใหญ่กว่าถึงตายหรือหมดกำลังได้ สัตว์ที่อยู่ในวังจะได้เช่นพวกตัวผู้ตัว
หนอนและผีเสื้อธรรมชาติใช้สื่อสารและรูปร่างหลอก ๆ สิ่งที่น่ากลัวไว้เช่น สัตว์บางตัวจะมีตาหลอก
ขนาดใหญ่ติดอยู่ที่หัว ดูน่าเกรงขามคล้ายกับมังกรตัวใหญ่ ๆ ผีเสื้อบางชนิดเวลาการปิดจับอยู่นิ่ง ๆ
จะเห็นลวดลายบนปีกตัวคล้ายกับหน้ายักษ์หน้ามารที่น่ากลัว ความคิดที่จะต่อสู้กับธรรมชาตินี่เอง
เป็นต้นกำเนิดของวิทยาศาสตร์เพราะมนุษย์เป็นสัตว์มีปัญญาเมื่อจะต่อสู้กับสิ่งใดมักจะทำการศึกษา
ค้นคว้าอย่างนั้นก่อน การศึกษาทำให้รู้ความจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งนั้น ในที่สุดวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีตา่ ง ๆ กเ็ กดิ ข้ึน
3) การยอมแพ้ (Surrender) เป็นปฏิกิริยาสุดท้ายที่เกิดขึน้ เมื่อต่อสู้ทีส่ ุดแล้วก็ไม่สามารถจะ
เอาชนะได้แม้แต่มนุษย์ซึ่งมีสติปญั ญาความสามารถและความหยิง่ ในศักดิ์ศรีสูงมามาก ต่อสู้ไม่ไหวใน
ชีวิตก็ยอมแพ้ ทั้ง ๆ ที่การต่อสู้หรือขณะกำลังต่อสู้มีประกาศอย่างแข็งกร้าว ว่าจะสู้จนกระทั่งคน
สุดท้ายจะไม่ยอมแพ้อย่างเด็ดขาดการยอมแพ้เป็นวิธีการเอาตัวรอดที่มีประสิทธิภาพที่สุดอ ย่างหน่ึง
เมื่อคู่ต่อสูย้ อมแพเ้ สียแล้วศัตรูกจ็ ะรูส้ กึ ว่าตนบรรลุเป้าหมายแลว้ ไม่มีความจำเปน็ ที่จะทำร้ายผู้ต่อสู้อีก
ต่อไป ดงั น้ัน สตั ว์ทอ่ี อ่ นแอบางอย่างจงึ ใช้วิธียอมแพก้ ่อน วธิ อี ่นื แมลงบางชนิด ถา้ เราไม่แตะตอ้ งตัวมัน
มันจะนอนนิ่งเฉย ในลักษณะยอมแพ้อย่างราบคาบทันที สุนัขที่เดนิ ทางไกลจะตอ้ งผ่านแดดแดนสุนัข
มนั จะยอมแพต้ ้งั แต่เริ่มออกเดนิ ทาง โดยรถห่างลงมาสอดเข้าไปใต้ท้องเวลาวิง่ จะทำรังงอ ๆ ลดหางลง
ตำ่ สว่ นมากสว่ นใหญ่มกั จะปลอ่ ยใหผ้ ่านไปไม่ทำร้าย ถ้ายงั มีสนุ ขั บางตัวที่ยังจะทำร้ายสุนัขอ่อนแอตัว
น้ันกจ็ ะนอนแผ่ลงไปกบั พน้ื นิ่งเฉยคลา้ ย ๆ กับเชื้อเชิญใหศ้ ัตรเู ลอื กกนั เอาไดต้ ามใจชอบ ถึงขั้นนี้แม้แต่
สุนัขทด่ี ทุ ี่สุดกจ็ ะใจออ่ นดม ๆ ดนู ่งิ หนอ่ ยแลว้ กจ็ ะเดินจากไป (แสง จันทร์งาม, 2542, น.201-202) แต่
ความตายต้องยอมแพเ้ พราะยังหายาแก้ไมไ่ ดใ้ นปจั จบุ นั
ดังนั้นเรื่องความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ยังเอาชนะไม่ได้ แนวคิดเรื่องการพยายามเอาชนะความ
ตายยังเป็นเรื่องที่ศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ อียิปต์โบราณมีการทำมัมมี่ เช่ือว่าจะกลับพื้นคืน
ชีพอีกครั้ง มีการฝังข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ รอตอนที่ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง ในประเทศจีนก็มี จักรพรรดิ
องคห์ นึง่ จนี ท่ีทำเช่นนัน้ จน้ิ ซีฮ่องเตท้ ่ีได้สรา้ งสุสานของตนเองเพื่อเตรียมกลับมาคืนชีพใหม่อีกคร้ัง ใน
ทุกวันนี้จักรพรรดิทุกองค์ท่ีวา่ สร้างสุสานรอวนั กลบั มาอีกคร้ังทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีใครกลับมาบอกเลยว่า
3
ตายแล้วไปไหน สุสานบางแห่งก็ถูกผู้คนขุดคุ้ยเอาสมบัติไปขาย หรือศาสนิกของศาสนาบางศาสนาก็
ยงั รอวนั พิพากษาจากพระเจ้า ทา่ นใดทีต่ ายไปแลว้ สร้างสสุ านรอการคืนชพี กย็ งั รอจนปัจจบุ ันน้ี
คำถามท่วี า่ “ตายแลว้ ไปไหน วิญญาณมจี รงิ ไหม” เป็นคำถามที่รอคำตอบ เพราะคนที่ตายไป
แล้วก็ไม่ได้กลับมาบอกวา่ ไปไหน ตายแล้วท่านไปอยู่ที่ไหน มอง 2 มุมมอง ในแง่ศาสนาก็ว่าเปน็ ผี ถ้า
วิญญาณยังไม่ได้ไปเกิด เป็นสัมภเวสี วิญณาณเร่ร่อน ในมุมมองวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการทาง
ชีววิทยา และเป็นเรื่องของสสารหรือฟิสิกส์ วิญญาณเป็นสสารชนิดหนึ่ง ล้วนไปแปรเปล่ียนไปตาม
กาลเวลา
ตามความคิดของผู้เรียบเรียงคิดว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่ว่าตายแล้วไป
ไหน เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา ต้องเวียนว่ายตาย-เกิด นรก-สวรรค์ หรือตายแล้วสูญ พระพุทธศาสนามี
ทัศนะเกีย่ วกับเรือ่ งนี้ โลกและชีวิตในสมยั น้นั ได้เป็นไปอยา่ งกว้างขวางมาก ไดม้ ีการถกเถียงปัญหาทาง
อภิปรัชญา(metaphysics) อย่างเอาจริงเอาจัง เอาแพ้เอาชนะกันจริงๆ ใครถือทิฏฐิอย่างใดก็ยึดม่ัน
ในทิฏฐิอย่างนั้น และสั่งสอนชักจูงผู้อื่นให้มีความเห็นและปฏิบัติเช่นนั้นด้วย ตั้งเป็นคณะเป็นสำนัก
ขึ้นมา จนถึงสมัยพุทธกาลก็ยังมีเจ้าสำนักอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อจะกล่าวโดยสรุปก็พอรวมได้เปน็
6 ประเภท หรือ 6 ลทั ธิ ดังนี้
1. อกิริยทิฏฐิ –ความเห็นว่า “ทำก็ไม่ชื่อว่าทำ” เช่น การทำบุญทำบาปก็ไม่ชื่อว่าทำบุญทำ
บาป บญุ บาปไมม่ ี ความดีความชว่ั ไม่มี เจ้าลทั ธินี้ คือ ปูรณะ กสั สปะ
2. อเหตุกทิฏฐิ –ความเห็นวา่ “ไม่มเี หตุ ไมม่ ีปัจจยั ” สตั ว์ทงั้ หลายจะได้ดีได้ชัว่ ได้สุขหรือทุกข์
กไ็ ด้เอง ไมใ่ ช่ได้ดเี พราะทำเหตุดี หรอื ได้ช่ัวเพราะทำเหตุชัว่ อนง่ึ สัตว์ทง้ั หลายหลังจากทอ่ งเที่ยวไปใน
สังสารวัฏแล้วก็บริสุทธิ์ได้เอง หลักลัทธินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังสารสุทธิกวาทะ” เจ้าลัทธินี้ คือ
มกั ขลิ โคศาล
3. นัตถิกทิฏฐิ –(รวมทัง้ อุจเฉททิฏฐดิ ้วย) –ความเห็นวา่ “ไม่มีผล” คอื การทำบุญทำทานไม่มี
ผล การบชู าไมม่ ีผล เจา้ ลัทธิน้ี คอื อชติ ะ เกสกัมพล ท่านผู้นี้สอนเรอ่ื งอุจเฉททฏิ ฐิด้วย คอื เห็นว่าสัตว์
ท้งั หลายตายแลว้ สูญ
4. สัสสตทิฏฐิ-ความเห็นว่า “เที่ยง” สิ่งทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืนอยู่อย่างนั้น เช่น โลกเที่ยง จิต
เทยี่ ง สัตวท์ ัง้ หลายเกดิ เป็นอยา่ งไรก็เป็นอย่างน้ันต่อไปตลอดไป ดนิ นำ้ ลม ไฟ เปน็ ของเที่ยง เจา้ ลัทธิ
นี้ คือ ปกุทธะ กัจจายนะ ท่านผู้นี้เห็นว่าไม่มีใครฆ่าใคร ไม่มีใครทำลายใคร เพียงแต่เอาศัสตราสอด
เขา้ ไปในธาตุ ซ่งึ ย่ังยืนไม่มอี ะไรทำลายได้
5. อมราวิกเขปิกกาทิฏฐิ-ความเห็นท่ี “ไม่แน่นอน ซัดส่าย ไหลลื่นเหมือนปลาไหล” เพราะ
เหตุหลายอย่าง เช่น 1) เพราะเกรงจะพูดปด จึงปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ 2) เพราะเกรงจะเป็นการ
ยึดถือ จึงปฏิเสธแบบข้อ 1. 3) เพราะเกรงจะถูกซักถาม จึงปฏิเสธแบบข้อ 1. 4) เพราะโง่เขลา จึง
4
ปฏิเสธแบบข้อ 1. ไม่ยอมรับ และไม่ยืนยันอะไรทั้งหมด เจ้าของลัทธินี้ คือ สัญชัย เวลัฏฐบุตร
(อาจารย์เดิมของพระสารบี ุตร และพระมหาโมคคัลลานะน่ันเอง)
6. อัตตกิลมถานุโยคและอเนกานตวาทะ –ลัทธิที่ถือการทรมานกายเป็นทางไปสู่ความพ้น
ทุกข์ มคี วามเป็นอยู่เขม้ งวดกวดขันตอ่ รา่ งกาย อดขา้ ว อดนำ้ ตากแดด ตากลม ไมน่ งุ่ หม่ ผ้า เชน่ พวก
นิครนถ์ ตัวอย่างเจ้าลัทธินี้ คือ นิครนถ์ นาฏบุตร2 ท่านผู้นี้ยังมีหลักคำสอนแบบ “อเนกานตวาทะ”
อีกด้วย คือ เห็นว่าความจริงมีหลายเง่ือนหลายแง่ เช่น เรื่องหนึ่งเหตุการณ์หนึ่ง เมื่อพิจารณาในแง่นี้
อาจจริงหรือถูก แต่เมื่อพิจารณาในอีกแง่หนึ่งก็ไม่จริงไม่ถูก เป็นต้น ลัทธิ ทั้ง 6 นี้เป็นศาสนายั่งยืนมา
จนถึงบัดนี้ มีเพียงลัทธิเดียว คือ ลัทธิของนิครนถ์ นาฏบุตร ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันว่าศาสนาเชน ยังมีผู้
นับถืออยู่ในอินเดียหลายล้านคน อยู่ในฐานะเป็นศาสนาหนึ่งของอินเดีย แต่แพร่ออกจากอินเดียไม่ได้
กล่าวกันว่า เพราะเคร่งครดั เกินไป นกั บวชจะขน้ึ รถลงเรือก็ไม่ได้
ว่ากันตามความจริงแล้ว ลัทธิอีก 5 ลัทธิ มีลักษณะของปูรณะ กัสสปะ เป็นต้นนั้น แม้จะไม่
อยู่ในฐานะเป็นศาสนาเชนก็จริง แต่คนที่มีความเชื่อถือในลัทธิทั้ง 5 นั้น ก็มีอยู่ประปรายอยู่ทั่วโลก
และมจี ำนวนไม่นอ้ ยทเี ดยี ว
รวมความในเรื่องทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตของคนในสมัยนั้นว่า ใครมีความเห็นอย่างไร
เลื่อมใสในลัทธิใด ก็ดำเนินไปตามลัทธิความเชื่อถือนั้น (เช่นเดียวกับคนในสมัยนี้) การได้เป็นเจ้าของ
ลัทธิในสมัยนั้นถือเป็นศักดิ์สูงเทียบด้วยพระเจ้าแผ่นดิน (ราชา) หรือยิ่งกว่า จึงเป็นที่กระหยิ่มของ
นักปราชญ์ทั้งหลายที่ได้เป็นเจ้าของลัทธิประกาศตนเป็นผู้นำหมู่ชนในวิถีชีวิตและจิตใจ (แสง จันทร์
งาม, 2553, น.485-486)
ดงั น้ันการศกึ ษาเร่ือง ตายแลว้ ไปไหน เป็นการศกึ ษาเพือ่ ใหเ้ กิดความเขา้ ใจเก่ยี วกับเรื่องความ
ตายในมุมมองหรือทัศนะของพระพุทธศาสนา จะปฏิบัติตนอย่างไรเกี่ยวกับความตาย เข้าใจเรื่อง
วิญญาณ (ผี) (Ghost) มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาตายแล้วไปไหนตามแนวพระพุทธศาสนา 2. เพื่อ
วเิ คราะห์ตายแล้วไปไหนตามแนวพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ ตายแล้วไปไหน, พระพุทธศาสนา
เนื้อเรื่อง ตายแล้วไปไหนตามแนวพระพุทธศาสนา (ความเห็นผิดเรื่องวิญญาณเวียนว่ายตาย-เกิด
นรก-สวรรค์)
ความตายในทางพระพุทธศาสนา ที่แตกต่างจากคนท่ัวไป ความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัว นี่คือสิ่ง
ที่คนทั่วไปคิด หลายคนไม่อยากตาย อยากมีชวี ิตที่ยนื ยาว พยายามย้ือชีวิตของตัวเองให้ยาวนานที่สุด
แต่ทางพระพุทธศาสนา นั้นกลับตรงข้าม พระพุทธเจ้าไม่เกรงกลัวต่อความตาย ซ้ำยังเป็นผู้กำหนด
2นคิ รนถ์ นาฏบุตร เปน็ องคเ์ ดยี วกบั ศาสดาของศาสนาเชน คอื มหาวรี ะ (ศาสดาองค์ท่ี 24 ) สาวกของลัทธิน้ี เรยี กวา่
“นิครนถ์”
5
ความตายดว้ ยพระองค์เองเลยทเี ดียว นค่ี อื การตายอย่างพุทธ อยา่ งผู้รู้ ผ้ตู ่นื ผูเ้ บิกบาน โดยแทจ้ ริง มา
ดกู นั วา่ ความตายในทางพระพทุ ธศาสนา เป็นอยา่ งไร ถอื วา่ ความตายเปน็ ส่วนหนงึ่ ของชีวติ
จุดเริ่มต้นของมนุษย์คือความเกิด ในระหว่างทางคือความเป็น และปลายทางก็คือความตาย
นี่คือการมองความตายว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ได้แยกต่างหากจากชีวิต ท่าทีนี้สำคัญมาก เพราะ
ถ้าเรามองความตายว่าเป็นส่วนหนึง่ ของชวี ติ ความกลัวตายจะหายไป เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งอยู่แลว้
จะกลัวทำไม อลั เบริ ์ต ไอน์สไตน์ ไดก้ ลา่ วว่า
“ความกลัวตายเป็นความกลัวทีไ่ ร้เหตผุ ลที่สดุ เพราะความตายนั้นมาพร้อมความเกดิ อย่แู ล้ว
ในคมั ภีร์วิสทุ ธิมรรคกลา่ วเอาไว้ดีมาก ท่านบอกว่า ความตายนน้ั มาพรอ้ มความเกิด อปุ มา ดังหน่ึงเม่ือ
เหด็ ดอกหน่งึ ชำแรกผิวดนิ ออกมา กจ็ ะมผี ลคลีธุลีดนิ ตดิ อยู่ทดี่ อกเหด็ โดยอัตโนมัติความข้อน้ฉี นั ใด เมื่อ
เราทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็มีความตายสืบเนื่องกับชีวิตมาเป็นเนื้อเดียวกันฉันนัน้ อุปมาดังหนึ่งเหมือน
เรายกหน้ามือขน้ึ หลังมือก็ตามมา หากชวี ติ คอื หน้ามือ ความตายก็คือหลังมือ ท้ังชีวิตหรือท้ังเกิดและ
ความตายก็คือสองดา้ นของฝา่ มือเดยี วกนั เพราะฉะนน้ั เราจงึ ไม่ควรกลัวตาย”
ความตายนั้นเป็นธรรมชาติ พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรามองว่า ความตายนั้นเป็นธรรมชาติ
อันเป็นธรรมดา ในบทอภณิ หปจั จเวกขณ์ 5 แปลวา่ บทที่เราควรพจิ ารณาเนื่อง ๆ ทกุ ๆ วนั 5 ประการ
พระพุทธองค์ไดต้ ักเตอื นเอาไวว้ า่
เราควรพิจารณาเนื่อง ๆ ถึงธรรมดาของชวี ติ 5 ประการ 1) เรามีความแก่เปน็ ธรรมดา 2) เรา
มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา 3) เรามีความตายเป็นธรรมดา 4) เรามีความพลัดพรากเป็นธรรมดา 5)
เรามกี รรมทีต่ ้องรบั ผลแห่งกรรมเปน็ ธรรมดา
พระองค์ใช้คำว่าธรรมดา ไม่ได้คิดว่าเป็นของแปลกประหลาด ทัศนคตินี้สำคัญมากๆ ท่ี
ยอมรบั ว่าความตายนั้นเปน็ สิ่งสามัญธรรมดาของสิ่งมีชวี ิตท้ังปวง
มองความตายว่าเป็นการศึกษา ขณะที่คนทั่วไปมองความตายว่าเป็นสิ่งน่ากลัว เป็นสิ่งที่ไม่
เป็นมงคล เป็นสิ่งที่ชวนให้ขนพองสยองเกล้า แต่พระพุทธองค์กลับมองว่าความตายเป็นสิ่งน่าศึกษา
มาก พระพุทธองค์นั้นทรงเชื้อเชิญให้เราทั้งหลาย ศึกษาชีวิตลงไปที่ตัวชีวิตด้วยชีวิตเพื่อเข้าใจชีวิต
และสุดท้ายกบ็ รรลุถงึ ประโยชน์สูงสดุ ท่ีชวี ติ ควรจะไดค้ วรจะถึง เปน็ ระบบต้ังแตเ่ กดิ จนตาย และลึกลง
ไปในศักยภาพของชีวิตว่า ชีวิตหน่ึงน้ันมีววิ ัฒนาการสูงสดุ อยตู่ รงไหน
สอนให้เราตายอย่างถูกวิธี ข้อนี้สำคัญที่สุดกว่าทุกๆ ข้อที่กล่าวมา พูดสั้นๆ ว่าพระพุทธองค์
สอนให้เราอยู่อย่างไทยและตายอย่างสันติ ความตายนั้นเป็นสัจธรรมที่จะต้องรู้ ความไม่ประมาท
เป็นจรยิ ธรรมทีจ่ ะต้องปฏบิ ัติ
ปฏบิ ตั อิ ย่างไร พระองค์ทรงสอนเอาไว้ว่า วันหนงึ่ เราทุกคนจะตายกนั หมด เพราะฉะน้ันตอน
ทเี่ รายังมีชีวิตอยู่ เราต้องทำประโยชน์จากชวี ิตน้ีให้ถึงที่สุด ทำอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์จากชีวิตนี้ จง
ดำรงชีวติ ด้วยความไมป่ ระมาท อยู่อยา่ งไรจงึ จะเปน็ การอยูอ่ ย่างดที ีส่ ุด ก็จงอยู่ดงั หนึ่งว่า ทกุ ๆ วันเป็น
6
วันสุดท้าย (นิตตารา. (2561). ความตายในทางพระพุทธศาสนา ที่แตกต่างจากคนทั่วไป. [ออนไลน์])
สอดคล้องกับงานวิจัยของ พระสิริปัญญาคุณ (2562) เรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติต่อความ
ตายในคมั ภรี พ์ ระพุทธศาสนาเถรวาท” ความตายในคมั ภีร์พระพทุ ธศาสนาเถรวาท ความตายเป็นส่ิงที่
ทกุ คนจะต้องเผชิญอยา่ งหลีกเลย่ี งไมไ่ ด้ ไมม่ ีใครท่จี ะสามารถล่วงพ้นความตายไปได้ แตถ่ งึ กระนนั้ เมอื่
ความตายกำลังเข้ามาถึง มนุษย์ทุกคนกลับสะดุ้งกลัวต่อความตายเกิดความหวาดหวั่น เศร้าโศก เม่ือ
ต้องประสบกับความพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รักของตนส่ิงที่ได้สร้างสั่งสมไว้ระหว่างมีชีวิต หาก
มนุษย์รู้และเข้าใจความหมายที่แท้จริง ความตายเป็นปรากฎการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติของชีวิต
สัตว์โลกที่ยังมีกิเลสอันเป็นประดุจยางเหนียวในเมล็ดพืช ซึ่งมีอวิชชาเป็นต้นเค้าอยู่นั้น ยังต้องเวียน
ว่ายตายเกิดอยู่ในภพชาตินั้น ๆ ตามแรงเหวี่ยงของกรรมดี กรรมชั่ว ที่ได้ทำไว้ ส่งผลให้ไปเกิดภพนน้ั
ๆ กล่าวคือ ภูมิ หมายถึง ชั้นของจิต ระดับชีวิต ภพ ที่สัตว์โลกต้องเวียนว่ายตายเกิด ถ้ากล่าวถึงชั้น
ของจติ มี 4 ภมู ิ คือ กามภมู ิ รปู ภูมิ อรปู ภูมิ และโลกตุ ตรภมู ิ
การศึกษาเรือ่ งความตายในสมัยพทุ ธกาลก็มีกล่าวไว้ในพระสูตรเช่นเดยี วกัน พระเจ้าปายาสิ
ผู้ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า3 คราวหนึ่ง พระกุมารกัสสปะ (สาวกองค์หนึ่งของพระพุทธองค์) จาริกไปใน
แคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป ลุถึงเสตัพยนครซึ่งอยู่ในแคว้นโกศลนั้นเอง
เขา้ พักอยู่ ณ ป่าไม้สีเสียดด้านเหนอื ของเสตัพยนคร
เจ้าผคู้ รองนคร พระนามว่า ปายาสิ ทรงมคี วามเหน็ ว่าโลกหน้าไม่มี สัตวโ์ อปปาติกะ ไม่มี ผล
ของกรรมดีกรรมชั่วไมม่ ี เปน็ ตน้
ชาวเสตพั ยนคร ทราบว่าพระกมุ ารกัสสปะมาพักอยู่ทป่ี ่าไม้สีเสียด และได้สดบั เกียรติศัพท์อัน
งามของพระกมุ ารกสั สปะว่าเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม เปน็ บณั ฑิต มปี ัญญา เปน็ พหูสูต มถี อ้ ยคำไพเราะ
มีปฏิภาณดี ทงั้ เป็นพระอรหันตด์ ว้ ย จึงพากันไปหา
พระเจ้าปายาสทิ รงทราบเร่ืองน้ี กไ็ ด้เสด็จไปด้วยและแสดงความคดิ เหน็ เร่ืองโลกหน้า ผลแห่ง
กรรมดีกรรมช่วั เปน็ ต้น วา่ ไมม่ ี
ต่อไปนี้เป็นคำสนทนาของท่านทั้งสองโดยถือเอาสาระสำคัญ พอให้เห็นว่าท่านโต้ตอบกัน
อยา่ งไร
ปายาสิ : โลกหน้าไม่มี สัตว์โอปปาตกิ ะไมม่ ี ผลแห่งกรรมดีกรรมชว่ั ไม่มี
กมุ ารกสั สปะ : ดวงจันทร์ ดวงอาทติ ย์ อยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่นมิใช่โลกนี้
ปายาสิ : เมื่อมิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหติ ของขา้ พเจ้าป่วยหนักจวนตาย ข้าพเจ้าขอรอ้ ง
วา่ เมื่อตายแลว้ ถา้ ไปเกดิ ท่ีใดให้กลับมาบอกด้วย แตไ่ มม่ ีใครกลบั มาบอกเลย
3 ปายาสิราชัญญสูตร ในทีฆนกิ าย มหาวรรค พระไตรปฎิ กภาษาบาลี เล่ม 10 (พระไตรปิฎกสำหรบั ผเู้ ริ่มศกึ ษา เล่ม 6)
7
กุมารกัสสปะ : คนทำชั่วแล้วถูกจับขังคุก เขาจะออกมาบอกญาติพี่น้องได้หรือไม่ คนที่ตาย
แลว้ ไปตกนรกเป็นตน้ ก็ไม่อาจมาบอกได้เชน่ เดยี วกัน สว่ นคนที่ทำดี ตายแล้วไปสวรรค์ เวลาในสวรรค์
เพียงครเู่ ดียวก็เทา่ กับเวลาในมนุษยห์ ลายสบิ ปี เพราะ 100 ปใี นมนุษยเ์ ทา่ กับวันหนง่ึ คืนหน่ึงในสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ เทวดาที่ไปเกิดใหม่คิดว่าอีก 2-3 วันจะไปบอกพี่น้อง ท่านเหล่านั้นก็ตายหมดแล้ว อนึ่ง
มนุษยโ์ ลกมีกลิ่นเหม็นสำหรับเทวดา เปรยี บเหมือนการที่ตกลงไปในหลุมอุจจาระ จมอุจจาระจนท่วม
หัว ต่อมามีคนมาช่วยยกขึ้นแล้วอาบน้ำลูบไล้ของหอมอย่างดี เขาย่อมไม่ต้องการตกไปอยู่ในหลุม
อจุ จาระอีก ฉนั ใด ผทู้ ่ไี ปเกิดเป็นเทวดาแล้วก็ฉนั นนั้ ยอ่ มไม่ตอ้ งการลงมาในโลกมนุษย์นอกจากจำเป็น
จริงๆ
ปายาสิ : ใครบอกความข้อนแ้ี กท่ ่านพระกุมารกัสสปะ
กุมารกัสสปะ : เปรียบเหมือนคนที่ตาบอดแต่กำเนิด ย่อมไม่เห็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็น
ตน้ ไมเ่ หน็ ดวงจนั ทร์ ดวงอาทิตย์ แมส้ ่งิ เหล่านน้ั จะมีอยู่กต็ าม ฉนั ใด พระเจ้าปายาสกิ ็ฉันนั้น อันท่ีจริง
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนได้ทิพยจักษุ เห็นโลกหน้า เห็นสัตว์โอปปาติกะก็มีอยู่ สมณ
พราหมณ์เหล่านั้นก็บอกอยู่ว่าโลกหน้ามี สัตว์โอปปาติกะมี แต่พระเจ้าปายาสิก็หาเชื่อไม่ เหมือนคน
ตาบอดแตก่ ำเนิด เมอ่ื สีตา่ ง ๆ มีอยู่ ผู้ชีใ้ ห้ดกู ม็ อี ยู่ แต่หาเหน็ ไม่
ปายาสิ : ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์บางพวกมีศีลดี มีธรรมงาม ถ้าโลกหน้ามีจริง ผลแห่ง
กรรมดีกรรมชัว่ มีจริง เขาย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์สบายกวา่ ที่จะอยู่เป็นมนุษย์ ทำไมเขาจึงไม่
ทำลายชวี ิต (ฆา่ ตวั ตาย) เสีย
กุมารกัสสปะ : สมณพราหมณ์ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ย่อมไม่ชิงสุกก่อนห่าม ชีวิตของท่านย่ิง
อยู่นานก็ยิ่งได้บุญมาก และก่อให้เกิดบุญแก่ผู้อื่นอีกด้วย ท่านอยู่เพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ผู้มี
ปัญญาย่อมแสวงหาโลกหน้าด้วยวิธีที่แยบคาย ถา้ ไมแ่ ยบคาย จะเปน็ เหมือนเด็กน้อยท่ีอยากได้สมบัติ
แล้วทำลายครรภ์ของมารดาเสีย มหาบพิตรเปรียบเหมอื นพราหมณ์คนหนึ่งมีภรรยา 2 คน ภรรยาคน
หนึ่งมีบุตรอายุประมาณ 10 ขวบหรือ 12 ขวบ พราหมณ์ผู้เป็นบิดาเสยี ชีวิตลง เด็กน้อยอายุ 10 ขวบ
จงึ รอ้ งขอมรดกกบั แม่เลยี้ งว่า ทรพั ยส์ มบัติเป็นของเขาเพียงผู้เดียว แมเ่ ลย้ี งขอร้องวา่ ขอให้น้องคลอด
เสียกอ่ นเถิด ถ้าเปน็ หญิงก็ตกเปน็ สมบตั ิของเจ้าหรืออาจเปน็ ภรรยาของเจา้ ถ้าเป็นชายเขาก็ได้มรดก
สว่ นหนึ่ง
แต่เด็กน้อยก็อ้อนวอนครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดแม่เลี้ยงทนไม่ไหว จึงเข้าห้องผ่าท้องตนเอง
เพ่อื ดวู ่าลกู ในท้องของตนเปน็ หญิงหรือชาย แมเ่ ลี้ยงได้ทำลายชีวติ ตน ครรภ์ และทรัพย์สมบัติทั้งหมด
เพราะความเขลาของตนและลกู
ปายาสิ : ขา้ พเจา้ เคยใหเ้ อาโจรผู้ทีจ่ ะต้องถูกประหารชวี ติ มาทดลอง โดยใหเ้ อาใส่หม้อทงั้ เป็น เอา
หนังรัด เอาดินเหนียวพอก แล้วตั้งไฟ พอรู้ว่าเขาคงตายแล้ว ก็กระเพาะดินออก แก้ออกดู ก็ไม่เห็นชีวะ
ของเขาเลย (คอื ไม่เห็นวิญญาณของเขาออกไปจากร่าง เพราะฉะนน้ั จึงเห็นวา่ ตายแลว้ สูญ)
8
กุมารกัสสปะ : คนนอนหลับกลางวัน แม้มีคนอื่นเฝ้าอยู่ ผู้หลับฝันถึงอะไรต่างๆ ก็หามีใคร
เห็นชีวะหรือวญิ ญาณของเขาไม่ แม้คนเป็นๆอยู่ยังไมเ่ ห็น จะเหน็ วิญญาณของคนทต่ี ายแลว้ ไดอ้ ย่างไร
ปายาสิ : ข้าพเจ้าจับโจรได้แล้ว ลองให้ชั่งน้ำหนักดู รู้น้ำหนักแล้วให้เชือกรัดคอจนตาย แล้ว
ใหช้ ่ังนำ้ หนักดูอีก เม่ือตายแล้วนำ้ หนกั กลบั มากกว่า แสดงวา่ ไมม่ อี ะไรนอกจากตัวเขาไปเลย
กุมารกัสสปะ : เหล็กที่ร้อน น้ำหนักเบากว่าเหล็กทีเ่ ย็น ฉันใด มนุษย์ก็ฉันนั้น เมื่อยังมีไออุ่น
ยงั มีอายุ ยงั มวี ิญญาณ ย่อมเบากว่าอ่อนกว่าเม่ือไมม่ ีอายุไมม่ ีไออุ่นและไม่มีวญิ ญาณ
ปายาสิ : เคยใหฆ้ ่าโจรโดยมิใหผ้ ิวหนงั เนือ้ เอน็ กระดูก เยอ่ื ในกระดูก ชอกชำ้ เมอ่ื เขาจวนตายได้
ผลักให้นอนหงาย นอนตะแคง คร่ำหน้า ฯลฯ เพอ่ื วา่ จะได้เหน็ ชีวะของเขาออกจากร่างบา้ ง กไ็ มเ่ หน็
กุมารกัสสปะ : ชายคนหนึ่ง เป่าสังข์เสียงไพเราะ ชาวบ้านมามงุ กันดู เขาก็หยุดเป่า วางสังข์
ไว้กบั พ้ืน ชาวบา้ นถามว่าเปน็ เสยี งอะไร เขาบอกว่าเปน็ เสียงสังข์ ชาวบา้ นจึงจับสังข์ให้หงายแล้วบอก
ให้เปล่งเสียง สังข์ก็เงียบ จับสังข์ควำ่ ให้ตะแคง เอาไม้เคาะ เอามือทุบ ทำอย่างไรๆสังข์กไ็ ม่เปล่งเสียง
เพราะทำไม่ถกู วธิ ี คนเป่าสงั ข์เหน็ ว่าคนพวกน้โี ง่ ไม่รวู้ ิธีใหส้ ังขเ์ ปล่งเสียง จึงหยบิ สังขข์ ้นึ มาเป่า 3 คร้ัง
แล้วถอื สงั ข์ไป ฉันใด พระเจา้ ปายาสิก็เหมือนชาวบา้ นท่ไี ม่รูว้ ธิ ีใหส้ ังข์เปลง่ เสียงน่ันแหละ ทรงแสวงหา
โลกหน้าโดยวิธีอนั ไม่ถูกต้อง
ปายาสิ : เคยใหเ้ ฉยผิวหนัง เชือดเน้อื ตัดเลบ็ ตัดเอน็ กระดกู เย่อื ในกระดูกของโจร เพ่ือจะ
หาวิญญาณ แตก่ ็หาพบสง่ิ ใดไม่ ด้วยเหตนุ ้เี ชือ่ ว่าวญิ ญาณไม่มี
กุมารกัสสปะ : การกระทำของพระเจ้าปายาสิเหมือนเด็กที่ใช้ไม้สีไฟไม่เป็น ทำอย่างไรๆก็หา
ทำให้ไฟติดขึ้นไม่ เรื่องเคยมีมาบ้างแล้ว ชฎิลผู้บำเรอไฟหรือบูชาไฟคนหนึ่งเลี้ยงเด็กชายคนหนึ่งไว้
เม่อื เขามีอายุ 10-12 ขวบ ชฎลิ มีธุระตอ้ งไปทำทอ่ี ืน่ วนั สองวัน ไดส้ ัง่ เด็กวา่ ใหพ้ ยายามบชู าไฟบำเรอไฟ
อย่าให้ไฟดับ ถ้าไฟดับ นี้ไฟ นี้มีด เจ้าจงก่อไฟแล้วบูชาไฟต่อไป เมื่อชฎิลนั้นจากไปแล้ว เด็กน้อยมัว
เพลิดเพลินกับการเล่นอยู่ ไฟดับ เด็กน้อยระลึกถึงคำของชฎิล จึงเริ่มจะก่อไฟขึ้นใหม่ เขาเอามีดถาก
ไฟสีไฟกแ็ ล้ว ผา่ ไฟสีไฟก็แลว้ ผา่ ออกเป็นซกี เล็กๆถึง 20 ซีกก็แลว้ โขลกในครกกแ็ ล้ว โปรยให้ลมพัดก็
แล้ว ก็ไม่สามารถให้ไฟติดได้ เพราะเด็กนั้นเขลาไม่รู้วิธีใช้ไม้สีไฟ ฉันใด พระเจ้าปายาสิก็ฉันนั้น หา
ปรโลกด้วยวิธอี นั ไมถ่ กู ต้อง จึงไมพ่ บปรโลก
พระเจ้าปายาสิจำนนด้วยเหตุผลของพระกุมารกัสสปะ ไม่อาจหาอะไรมาแยง้ ไดอ้ ีก แต่ก็ตรสั
วา่ ใครๆกร็ กู้ ันหมดแลว้ พระเจา้ ปเสนทิโกศลหรือพระราชาอน่ื ๆ ก็ทรงรู้วา่ พระเจ้าปายาสิมีความเห็น
ว่าโลกหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี เพราะฉะนั้นพระองค์จะต้องถือทิฏฐิอันนี้
ต่อไป ถา้ ละทฏิ ฐอิ ันนีเ้ สยี คนทงั้ หลายก็จะเยาะเย้ยว่าเป็นคนเขลา
พระกุมารกัสสปะขอร้องใหพ้ ระเจา้ ปายาสิทรงละทิฏฐิน้ันเสีย เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร
เลย นอกจากพระองค์เองจะต้องประสบความเสื่อมแล้วยงั ทำให้ผู้ดำเนินตามประสบความพินาศดว้ ย
ไดน้ ำอุปมา 4 มาชีแ้ จงให้ทรงทราบดงั น้ี
9
1. นายกองเกวียน 2 คน คุมเกวียนคนละ 500 เล่มไปค้าขาย คิดว่าถ้าไปพร้อมกันจะลำบาก
ด้วยหญ้า น้ำ เป็นต้น จึงตกลงไปคนละคราว นายกองเกวียนที่ไปกอ่ นถูกหลอกให้ท้ิงหญ้าและน้ำเสีย
กลางทาง บอกว่าเพื่อให้เกวียนเบาและไปถึงเร็ว โคจะได้ไม่หนัก ข้างหน้ามีน้ำและหญ้าบริบูรณ์ ฝน
ตกหนัก นายกองเกวียนเชื่อตามเขา จึงให้ทิ้งน้ำและหญ้าเสียหมด เดินทางไปเท่าไรก็ไม่เจอน้ำและ
หญา้ พากนั หมด เปน็ เหยื่อของยักษ์ น่ีกเ็ พราะผนู้ ำโงเ่ ขลา พาลูกนอ้ งไปพินาศ ส่วนนายกองเกวยี นคน
ทีไ่ ปทหี ลังไม่เชื่อคำหลอกลวง จงึ ปลอดภยั
2. ชายคนหนึ่งเลี้ยงหมู วันหนึ่งเดินทางไปหมู่บ้านอื่น เห็นขี้หมูแห้งเกลื่อนกลาดอยู่ที่ลาน
บา้ น จึงคิดว่า นค่ี อื อาหารหมูของเรา เอาผ้าหอ่ ขห้ี มแู ล้วทูนเหนือศีรษะเดินกลับบ้าน ระหว่างทางฝน
ตก น้ำขี้หมูไหลลงมาเปื้อนเปรอะไปทั่วตัว คนทั้งหลายเห็นเข้าบอกว่า ชายคนนี้บ้าแบกขี้หมูอยู่ เขา
กลบั วา่ คนอ่ืนบา้ ทไ่ี ม่รจู้ ักอาหารหมู
3. ชาย 2 คนเล่นสกากัน คนหนึ่งชอบอมสกาไว้ในปากบ่อยๆ เป็นทำนองขี้โกง ต่อมาอีกคน
หนึ่งขอลูกสกามาไว้ที่ตนชั่วคราว แอบเอาสกาทายาพิษ เมื่อเล่นกันอีก คนที่ชอบอมสกาก็ถึงตาย
เพราะยาพษิ
4. ชาย 2 คนเดินทางออกจากบา้ นไปที่อ่ืน ไดพ้ บสงิ่ ของต่าง ๆ มากมาย เชน่ เชอื กปา่ น, ดา้ ย
, ผ้า, เปลอื กไม้, ผา้ ฝา้ ย, เหล็ก, โลหะ, ดบี กุ , ตะกว่ั , เงนิ และทอง โดยลำดับ คนหน่งึ ไดเ้ ชือกป่านแล้ว
พอใจ เมื่อพบของที่ดีกว่าก็ไม่ยอมทิ้งป่าน เพราะถือว่าผูกมัดไว้ดีแล้ว ถือมานานแล้ว ส่วนอีกคนหนึ่ง
เมื่อเจอของที่ดีกว่าก็ทิง้ ของเก่า ถือเอาของใหม่ที่ดีกว่ามีราคามากกว่า เมื่อกลับมาถึงบ้าน คนหนึ่งได้
แต่ป่านมา ไม่เป็นที่ชื่นชมยินดีของบุตรและภรรยา ส่วนอีกคนหนึ่งได้ทองมามาก เป็นที่ชื่นชมยินดี
ของบุตรและภรรยา
ด้วยเหตุนี้ขอให้พระเจ้าปายาสิละทิฏฐิที่ไม่ดีเสีย สมาทานทิฏฐิที่ดีที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ในที่สุด
พระเจา้ ปายาสิ ก็ยอมละทิฏฐนิ ั้น เล่ือมใสพระกุมารกัสสปะ ขอถึงพระรตั นตรยั เป็นสมณะเป็นอุบาสก
ตลอดชีวิต ตรัสถึงวิธีบูชายัญ พระกุมารกัสสปะแนะนำว่า ถ้าจะบูชายัญ อย่าให้ใช้ชีวิตสัตว์บูชา
เพราะเป็นโทษ เหมือนหว่านข้าวที่ไม่ดลี งในนาที่ไม่ดีและฝนก็ไม่ตก ควรบูชายัญด้วยการบริจาคทาน
ให้ผู้รบั ท่ีมศี ีลธรรม ซงึ่ จะมีผลมาก มีอานสิ งคไ์ พศาล เหมอื นหว่านพืชพันธ์ดีลงในนาดฉี ะนน้ั
หลังจากนับถือพระรัตนตรัยแล้ว พระเจ้าปายาสิก็เริ่มบำเพ็ญทาน แต่ของที่ทรงให้นั้นเป็น
ของเลว ๆ ทัง้ อาหารผา้ นุ่งผ้าห่ม มาณพคนหนง่ึ ชื่อ อุตตระ เป็นเจา้ หน้าทใ่ี นทานนั้นทำไปอธิษฐานไป
ว่า ชาติขออย่าได้เจออย่าได้อยู่ร่วมกับพระเจ้าปายาสิอีกเลย พระเจ้าปายาสิทรงทราบเรื่องนี้จึงตรัส
ถามว่าจริงอย่างนั้นหรือ อัตตรมาณพทูลตอบว่าจริง เพราะพระองค์ทรงให้ของเลว อาหารก็เป็น
อาหารชนดิ ทพ่ี ระองคไ์ ม่เสวย ผ้ากเ็ ป็นผา้ ท่ีไม่ทรงปรารถนาแมถ้ ูกต้องด้วยพระบาท
พระเจ้าปายาสิจึงรับสั่งให้ให้ทานด้วยของอย่างเดียวกับท่ีทรงใช้สอยเอง อุตตรมาณพนั้นให้
ของด้วยความเตม็ ใจ ใหด้ ว้ ยความเคารพ
10
เมื่อสิ้นชีพแล้ว อุตตรมาณพไปเกิดเป็นเทพชั้นดาวดึงส์ ส่วนพระเจ้าปายาสิไปเกิดในหมู่เทพ
ชั้นจาตุมหาราชิกา (ต่ำกว่าชั้นดาวดึงส์) ในเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า เพราะให้ทานอย่างไม่เคารพ ให้
ของเลว
วนั หน่ึงไดพ้ บกับพระควัมปติทีเ่ สรีสกวิมาน เทพบตุ รปายาสไิ ด้ขอร้องพระควมั ปตวิ า่ เม่ือมาสู่
โลกมนุษย์ ขอให้บอกแก่พวกมนุษย์ด้วยวา่ จงให้ทานโดยเคารพนอบน้อม อย่าใหโ้ ดยไมเ่ คารพหรือให้
อย่างไม่เตม็ ใจ ให้อยา่ ทิง้ ขว้าง เป็นต้น (แสง จันทร์งามและคณะ, 2553, น.600-605)
ตามหลักการพุทธศาสนาว่าเมื่อคนตายแล้วจะมีทางไปอยู่ ทางไปนรก ทางไปเปรตและ
อสุรกาย ทางไปเดรัจฉาน ทางไปมนุษย์ ทางไปสวรรค์ ทางไปพรหมโลก ทางไปนิพพาน เมื่อพูดถึง
ความตาย ไม่ค่อยมีใครอยากฟัง พอถามว่า ระหว่างสุคติกับทุคติจะเอาอันไหน ทุกคนต่างเอาสุคติ
ทั้งนั้น นั่นคือทุกคนชอบสุคติ แต่ไม่ค่อยชอบทำสุคติ กลับไปทำทุคติตามกระแสนิยม โดยเฉพาะงาน
ศพ ทุกคนในงานต่างอธิษฐานขอให้จิตวญิ ญาณผู้ล่วงลับไปสู่สุคติในสัมปรายิกภพ (ภพหน้า) ด้วยเถดิ
(ไพรตั น์ แยม้ โกสุม. (2559). ตายแล้วไปไหน. [ออนไลน์].)
สุคติ คอื ทางไปสู่ความดี มีมนษุ ย์ เทวดา พรหม นิพพาน
ทคุ ติ คอื ทางไปส่คู วามชัว่ มีเดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก
สคุ ติ และทุคติ เหตอุ ยใู่ นภพนี้ ผลอยใู่ นภพน้ี และภพหน้า
ดว้ ยการกระทำ หรอื กรรมของตนเอง ตายแลว้ ไปไหน “ตาย” เปน็ องค์หน่งึ ในส่ีองค์ของชีวิต
นั่นคือ “เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย” ทกุ คนหนไี ม่พ้น เพราะเราเปน็ คน เมือ่ ประสบแตล่ ะองค์ ก็จงอุเบกขาเถิด
อย่าแสดงอาการหลง โง่ ซ้ำเติมตัวเองเลย “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอ
เตือนเธอทง้ั หลายให้จำมั่นไวว้ า่ สง่ิ ทงั้ ปวงมคี วามเสื่อมและความสิน้ ไปเป็นธรรมดา เธอทัง้ หลายจงอยู่
ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า... “ไม่ว่าพาลหรือบัณฑิต ไม่ว่ากษัตริย์ พราหมณ์ ไวทยะ ศูทร
หรอื จณั ฑาล ในทสี่ ุดกต็ ้องบ่ายหน้าไปสู่ความตายเหมือนภาชนะ ไม่วา่ เลก็ หรือใหญ่ ในท่ีสุดก็ต้องแตก
สลายเหมือนกันหมด”
ในท่สี ุดแม้พระพุทธองค์ก็ต้องประสบอวสานเหมอื นคนทั้งหลาย พระธรรมทพ่ี ระองค์เคยพร่ำ
สอนมาตลอดพระชนมชีพว่า สัตว์ทั้งหลาย มีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่
พระองคเ์ อง
เรือ่ งทัง้ หลายท้ังปวง ต่างก็มาจบลงด้วยสัจธรรมท่ีพระองค์ทรงพร่ำสอนอยู่เสมอว่า...สิ่งใดส่ิง
หนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะมีเหตุเกิด สิ่ง
นั้นยอ่ มดับไปเมอื่ มเี หตดุ บั สิง่ ทั้งหลายเกดิ ขน้ึ ในเบ้ืองตน้ ต้งั อยใู่ นทา่ มกลาง และดับไปในท่สี ดุ
11
บัดนี้ พระพุทธองค์ดับแล้ว ดับอย่างหมดเชื้อ ทิ้งวิบากขันธ์ และกิเลสานุสัยทั้งปวง ประดุจ
กองไฟดับลงแล้ว เพราะหมอเชื้อ ฉะนั้น...(วศิน อินทสระ, พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
สำนักพิมพ์ธรรมดา)
ตายแล้วไปไหน? ยงั เป็นข้อสงสัยไม่มีทีส่ ิน้ สุด ความคดิ ความเช่ือของผู้คนกแ็ ตกต่างกันไปต่าง
ๆ นานา ตายแลว้ ก็ไปเกดิ นะซิ ตราบทีย่ งั มีเชื้อ หรือยังไมส่ นิ้ กเิ ลสโดยเดด็ ขาด
ก็ไปเกิดใหม่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า...โยนิ 4 (กําเนิด, แบบหรือชนิดของการเกิด — Yoni:
ways or kinds of birth; modes of generation) การเกิดนัน้ มี 4 ประเภท...
1. ชลาพุชะ (สัตว์เกิดในครรภ์ คือ คลอดออกมาเป็นตัว เช่น คน โค สุนัข แมว เป็นต้น —
Jalàbuja: the viviparous; womb-born creatures)
2. อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่ คือ ออกไข่เป็นฟองก้อนแล้วจึงฟักเป็นตัว เช่น นก เป็ด ไก่ เป็น
ต้น— Aõóaja: the oviparous; egg-born creatures)
3. สงั เสทชะ (สัตว์เกดิ ในไคล คือ เกิดในของช้นื แฉะหมักหมมเน่าเป่ือย ขยายแพร่ออกไปเอง
เช่น กมิ ชิ าติบางชนดิ — Sa§sedaja: putrescence-born creatures; moisture-borncreatures)
4. โอปปาตกิ ะ (สตั ว์เกดิ ผดุ ขนึ้ คอื เกดิ ผุดเต็มตวั ในทันใด ได้แก่ เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บาง
พ ว ก แ ล ะ เ ป ร ต บ า ง พ ว ก ท่ า น ว่ า เ ก ิ ด แ ล ะ ต า ย ไ ม่ ต้ อ ง ม ี เ ช ื ้ อ ห ร ื อ ซ า ก ป รา ก ฏ —
Opapàtika:spontaneously born creatures; the apparitional) (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ.
ปยตฺโต), 2559, น.133-134)
ในมิตอิ ืน่ ทซี่ ้อนกันอยู่ หรอื ในภพภูมิอืน่ นอกเหนอื จากมนุษย์ และสตั ว์เดรจั ฉานแล้ว ยังมีภพ
ภูมิของพรหม เทวดา เปรต อสุรกาย และสัตว์นรกซึ่งผุดเกิดแล้ว เติบโตทันที การเกิดแบบนี้เรียกว่า
“โอปปาตกิ ะ”
อาจารย์ดร.บรรจบ บรรณรุจิ กล่าวว่า... “โอปปาติกะ คือชีวิตหลังความตายของสัตว์โลกท่ี
เกิดโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยแต่อดีตกรรมเพียงอย่างเดียว เกิดจากใจของตัวเองที่ยังอยากมีชีวติ
อยู่ แต่การเกิดใหม่นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วแบบผุดโผล่ข้ึน เกิดแล้วมีตัวตนสมบูรณ์ มีอวัยวะครบถ้วน
เหมอื นตอนก่อนตายนัน่ เอง
ลองหลับตานึกถึงที่ว่างสักแห่งหนึ่ง นึกภาพว่า จู่ ๆ ก็มี “ใครสักคน” หรือ “อะไรสักอย่าง”
ปรากฏเปน็ รูปร่างข้นึ โดยไมม่ ีท่ีมาทไ่ี ป น่ีเองคอื การปรากฏขึน้ ของโอปปาติกะ
ในอภิธรรมอธิบายไว้ว่า ขณะคนกำลังจะตาย ใจย่อมตกอยู่ในภวังค์ คือหมดความรู้สึกทาง
รา่ งกาย แตร่ บั รู้อยู่ในภวงั ค์
จิตทต่ี กภวงั ค์ขณะนนั้ เรียกว่า “จตุ ิจติ ” เพราะเปน็ จิตทด่ี ับแลว้ ชีวติ ก็ดับดว้ ย
แต่เนื่องจากจิตที่ดับนั้น ได้ทิ้งปัจจัยแห่งการเกิดใหม่ คือ กิเลสกรรม และผลของกรรมไว้ให้
จติ ขณะใหมร่ ับเสพ จนปรุงแตง่ ชวี ติ ใหส้ ืบตอ่ ขึ้นมาใหม่
12
ภวังคจิตที่เกิดต่อจากนั้น เรียกว่า “ปฏิสนธิจิต” เพราะเป็นจิตที่ทำให้ชีวิตกลับมาต่อติดได้
ใหมห่ ลังตาย และดำเนนิ ต่อไปในกายทิพย์
เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นรวดเร็วเพียงชั่วขณะจิตเดียว คือชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น หรือช่ัว
กะพริบตา ซึ่งหากจะพูดให้ชัดๆ ก็ว่า ช่วงเวลาระหว่าง “ตาย” ถึง “เกิดหลังตาย” ห่างกันแค่
พรบิ ตาเดยี ว
น่ันหมายความว่า คนหรือสตั วท์ ี่ตายจากโลกมนษุ ย์แล้ว จะเกิดเป็นโอปปาติกะ (มีตัวตนใหม่)
ทันที โดยมีรา่ งกาย ประกอบดว้ ยอวยั วะตา่ งๆ รับรู้และเคลื่อนไหวไปตามท่ีจิตหรอื วิญญาณสัง่ เหมอื น
เมื่อตอนเป็นมนุษย์ แต่อยู่ในสภาพกายทิพย์ อาจเป็นเทวดา มนุษย์บางจำพวก สัตว์นรก เปรตบาง
จำพวก อสรุ กาย
โอปปาตกิ ะ จึงมีทง้ั ในสุคติภมู ิ และทุคตภิ ูมิ และได้รบั ผลกรรมทสี่ มควรแกก่ รรม ซ่ึงไดท้ ำมา
โอปปาติกะ หรือชีวิตหลังความตายน้ัน อยู่ในสภาพทิพย์ เป็นเทวดาบ้าง สัตว์นรกบ้าง เปรต
บ้าง อสุรกายบ้าง แต่เรามักเรียก 3 ประเภทหลังว่า “ผี”...(โอปปาติกะ ชีวิตหลังความตาย โดยดร.
บรรจบ บรรณรจุ ิ สำนกั พมิ พอ์ มรินทรธ์ รรม)
คณุ หมอทันตแพทย์สม สจุ รี า กล่าวว่า...โดยปกติรูปและนาม จะทำงานผสมกลมกลืนกันเป็น
หนึ่งเดียวอย่างแยกไม่ออก จนเมื่อใกล้รูปจะแตกสลาย ส่วนของนามก็พร้อมที่จะแยกตัวออกมา ส่วน
ของนามซึ่งทั้งหมดเป็นประสบการณ์อันเกี่ยวข้องกับผลกรรม จะถูกนำมาเก็บไว้ที่ภวังคจิต และ
ภวงั คจติ จะถา่ ยทอดส่วนของนามทง้ั หมดไปสู่จุตจิ ิต เพ่อื นำไปสู่ปฏิสนธิจติ เขา้ รวมกับรูปใหม่ที่ไปเกิด
ในชาติภพตอ่ ไป
ภพภูมิของการจะไปเกิดในจักรวาลนี้ มีได้ทั้งหมด 31 ภพ มนุษย์อยู่ในชั้นที่ 5 ก่อนหน้าน้ัน
ชนั้ ตำ่ สุดจะเปน็ ช้นั ของสัตว์นรก ช้นั ท่ี 2 เปน็ ภพของอสรุ กาย ชัน้ ที่ 3 เป็นเปรต และชนั้ ที่ 4 เป็นสัตว์
เดรจั ฉาน
ดงั นัน้ มนษุ ย์ส่วนใหญม่ ีโอกาสที่จะตกจากชัน้ ท่ี 5 ไปเกิดในช้นั ท่ีต่ำกว่าสูงมาก เพราะการลง
สู่ที่ต่ำง่ายกว่าการพยายามที่จะขึ้นสู่ที่สูง แม้องค์พระโพธิสัตว์ก็เคยมีช่วงหนึ่งที่ต้องไปเกิดเป็น สัตว์
เดรัจฉานอย่างนับชาติไม่ถ้วน...(เกิดเพราะกรรมหรือความซวย โดยทพ.สม สุจีรา สำนักพิมพ์
อมรนิ ทร์)
ตามเหตุปจั จยั คณุ หมอทพ.สม สุจีรา (เล่มเดยี วกัน) กลา่ วต่อไปวา่ ... “จติ สุดทา้ ยของร่างกาย
ซ่งึ จะนำไปส่กู ารเกิด...
ถ้ามีส่วนของนามที่เต็มไปด้วย “โทสะ” ปฏิสนธิจิตก็จะลงไปรวมกับรูปที่ชั้นของสัตว์นรก
และอสรุ กาย
ถ้าจิตนน้ั เต็มไปดว้ ย “โลภะ” ปฏสิ นธจิ ติ กจ็ ะดงิ่ ลงไปรวมกับรปู ในชน้ั ของเปรต
ถา้ จติ นั้นเต็มไปด้วย “โมหะ” ก็จะลงไปเกิดในรปู ของสัตวเ์ ดรัจฉาน
13
ดงั นั้น ถ้าตลอดชวี ิตของเราเต็มไปดว้ ยโทสะ โมหะ โลภะ ภพภูมิต่อไปจะลงไปต่ำกว่าชั้นของ
มนุษย์อย่างแนน่ อน
หรือว่าไดเ้ กิดเป็นมนุษย์อีกคร้ัง ก็ไม่แน่ว่าจะไดเ้ กดิ
บนโลกใบเดิม เพราะในพระไตรปิฎกกล่าวอย่างชัดเจนว่า
ในจักรวาลมีดวงดาวที่มีมนุษย์เหมือนกับโลกของเรานี้อีก 3
แหง่ ”
อีกปัจจัยหนึ่งที่รู้จักกันดี ที่จะนำเราไปเกิดใหม่ใน
ภพใหม่ คือ “ทาง 7 สายของมนุษยท์ ั้งหลาย” ได้แก่...
1. ทางไปนรก ไดแ้ ก่ โทสะ
2. ทางไปเปรตและอสรุ กาย ไดแ้ ก่ โลภะ
3. ทางไปเดรัจฉาน ได้แก่ โมหะ
4. ทางไปมนุษย์ ไดแ้ ก่ ศลี 5 และกศุ ลกรรมบถ 10
5. ทางไปสวรรค์ ไดแ้ ก่ มหากุศล 8
6. ทางไปพรหมโลก ได้แก่ สมถกรรมฐาน
7. ทางไปนิพพาน ไดแ้ ก่ วิปัสสนากรรมฐาน
เหตุปัจจัยและผลง่ายๆ สั้นๆ 7 ข้อนี้ เป็นกระจกส่องตน และสังคมได้อย่างวิเศษ หาก
ยกตวั อยา่ งให้ดชู ัดๆ กลวั เพ่ือนมนุษย์ท้ังหลายจะหนาวสั่น เม่ือเหน็ พฤติกรรมอัน ทุ ทุ ของตน ปล่อย
ใหเ้ ป็น... “กมฺมนุ า วตฺตตี โลโก สัตวโ์ ลกย่อมเป็นไปตามกรรม” ดีกว่า
ที่ใจสั่งสม วิบากกรรมที่ตดิ มากบั ปฏิสนธจิ ิต คือข้อมูลส่วนนามอืน่ ๆ ทั้งหมดที่ถูกเก็บไว้ เพ่ือ
แสดงผลในชาติภพต่อไป แม้ว่าจิตสุดท้ายก่อนเสียชีวิต จะเป็นตัวนำไปสู่การเกิดในภพภูมิต่างๆ แต่
โลกของในภพภมู นิ ั้น กจ็ ะมีความแตกต่างกนั ระหวา่ งผลของนาม
ยกตัวอย่างเช่น ในสัตว์เดรัจฉาน ก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก สัตว์บางชนิดมีชีวิต
ความเป็นอยูท่ ีด่ ีกว่ามนุษย์เสียอีก บางชนิดถูกเลี้ยงไว้เพื่อฆา่ นั่นเป็นเพราะผลของวบิ ากกรรมเก่า ใน
สัตว์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน หรือในสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น สุนัข แม้จะมีรูปพรรณเหมือนกันทุกประการ
แต่นามธรรมที่ตา่ งกันทำให้ชีวิตของสนุ ขั แตล่ ะตวั ดำเนนิ ไปตามวถิ แี หง่ กรรมทม่ี ีอยู่
กฎแห่งกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ได้เป็นที่ยอมรับของนักจิตวิทยาผู้มีช่ือเสียงของโลก
คือคาร์ล จุง (Carl Jung) กล่าวว่า “จิตทำหน้าที่เก็บสะสมกรรม ทั้งดี ทั้งชั่ว เมล็ดแห่งกรรม สะสม
พลังงานของจิตไว้ ตราบใดที่จิตทำหน้าที่สะสมกรรม และความปรารถนาที่จะมีชีวิตยังคงมีอยู่ในจิต
การเกิดใหม่ก็จะมีขึ้น ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ความจริงย่อมเป็นความจริง ธาตุขันธ์ฝ่ายรูปอาจ
แตกสลายหรือดับสูญไป แต่พลังงานของจติ (วิญญาณ) ทีม่ ี “ความอยากเกิด” ผสมอยู่ ก็จะถูกส่งผ่าน
14
ไปกับวิญญาณ (พลังจิต) สู่การปฏิสนธิ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ชีวิตใหม่อันมีผลกรรมที่สะสมไว้ในจิตก็จะ
เกิดขน้ึ
นามทีอ่ อกไปเกดิ ใหม่ ไมใ่ ชด่ วงวิญญาณอยา่ งท่เี ขา้ ใจกนั เรื่องของวิญญาณที่ล่องลอยออจาก
ร่าง แล้วไปหาที่เกิดใหม่ เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งในยุคหลังๆ มีการนำมาปะปนกับ
ศาสนาพุทธจนแยกไมอ่ อก ท้ังรูปแบบความคิด ทัง้ พธิ กี รรม
ความจริงแลว้ ในทางพทุ ธศาสนา ไม่มอี ะไรคงอยู่ตลอดไป ท้ังรูปทงั้ นาม เมอ่ื รูปดับ นามก็ดับ
ด้วย แต่เมื่อมีเชื้อที่กระตุ้นให้เกิดอีก ส่วนของรูปและนามใหม่ ก็เกิดขึ้นเป็นกายใหม่ จิตดวงใหม่ ซึ่ง
บรรจุข้อมูลแห่งกรรมเก่าไว้ทั้งหมด ประหนึ่งดังการโคลนนิ่งซึ่งเป็นการนำข้อมูลดีเอ็นเอ (DNA) เก่า
มาทำให้เปน็ รูปธรรมใหม่
เช่นเดียวกับข้อมูลของจิตที่ถูกโคลนนิ่งจากจิตดวงเก่าที่ดับไป และถ่ายทอดสู่จิตดวงใหม่ท่ี
เกิดขนึ้ ใหมใ่ นทันที
จากภวังคจิต จุติจิต ปฏิสนธิจิต เพียงแต่ข้อมูลในส่วนที่เป็นนาม เราไม่เรียกว่า ดีเอ็นเอ
เหมือนในส่วนที่เป็นรูปธรรม หลังจากเสียชีวิตมีแต่ปฏิสนธิดวงใหม่เท่านั้นที่เกิดขึ้น โดยมีข้อมูลแห่ง
กรรมถา่ ยทอดมาด้วย และจะเกดิ ใหมใ่ นทันที ไมม่ เี วลาใดๆ มาค่ัน
ดังนั้น สภาวะที่เรียกว่าตายแล้วฟื้น สามารถกลับมาเล่าว่า ได้ไปสวรรค์ นรก หรือท่องเที่ยว
ในภพภูมติ ่างๆ มา ลว้ นแล้วเป็นสภาวะที่ไม่ตายจริง ถา้ ตายจริง จุตจิ ติ ดับ และเกิดปฏิสนธิจิตดวงใหม่
ขึ้นมา กระบวนการนี้ จะย้อนกลับไม่ได้”...(เกิดเพราะกรรมหรือความซวย โดย ทพ.สม สุจีรา
สนพ.อมรนิ ทร)์
“ความตายเป็นสัจธรรมขอ้ หนึง่ เป็นมรณานุสสติ ที่พระพุทธเจ้าทรงให้ระลึกถึงความตายอยู่
เสมอ เมื่อรู้จักความตาย เข้าใจความตาย และตีสนิทกับความตายไปแล้ว ตัวเราจะเป็นผู้ตอบได้ว่า
ตายแล้วไปไหน และหากวันตายของเรามาถึง เราจะเลือกได้ว่า เราจะไปไหน ตายแล้วไปไหน เรา
เลือกได้ ไม่ได้เลอื กในวันตาย แต่ต้องเลอื กตัง้ แตว่ ันนี้ วันท่ียังมีชวี ิตอยู่ วนั ทช่ี วี ิตยงั เป็นของเรา” (ตาย
แลว้ ไปไหน เราเลอื กได้ โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม สนพ.อมรินทรธ์ รรมะ)
อย่าลมื ตรวจสอบห้องใจอย่เู สมอ วา่ ส่ังสมอะไรไว้บ้าง อะไรเป็นเหตุปจั จัยให้ไปทุคติ ก็เลิกละ
อะไรเปน็ เหตุปจั จยั ใหไ้ ปสุคติ ก็รีบทำเอา ไมม่ ีอะไรทำแทนไดห้ รอก
สัมภเวสี แปลว่า ผู้แสวงหาที่เกิด หมายถึงวิญญาณมนุษย์ที่เที่ยวแสวงหาที่ผุดที่เกิด
(พจนานกุ รมฯ วา่ ไวอ้ ยา่ งน้นั )
บางคนเขา้ ใจว่า เม่อื ตายวิญญาณจะออกจากร่างล่องลอยหาที่เกดิ ใหม่ แตผ่ มเห็นวา่ วิญญาณ
หมายถึง “จิตใจ” ของมนุษย์ที่แสวงหาสิ่งที่ดีกว่าให้กับตนเอง ตั้งแต่ระดับพื้น ๆ จนถึงระดับสูงสุด
ขณะมีชวี ติ อยู่ หรอื จะเรยี กวา่ แสวงหาทเ่ี กดิ ใหม่ ขณะยังมีชีวิตอยูก่ ไ็ ด้
15
ตายแล้วเกิดทันที แล้วจะเอาอะไรไปเที่ยวแสวงหาอะไรอีกล่ะ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
กล่าววา่ สัมภเวสี คือสัตวก์ ำลงั แสวงหาที่เกดิ เพ่ือจะเกดิ หมายถึงจิตปุถชุ นคนธรรมดา ในเวลาท่ียังไม่
มตี ณั หาอุปาทานยึดมน่ั ถือม่ัน เปน็ ตัวเป็นตน น้เี ปน็ สัมภเวสี ถ้ามีอปุ าทานยึดมนั่ ถือมั่น เป็นตัวกู ของ
กู นน่ั เป็นภตู า คือสตั ว์ที่เกดิ แล้ว...(โอสาเรตพั พธรรม หนา้ 395)
สัมภเวสีของท่านอาจารย์ ลึกซึ้งยิ่งนัก กิเลสหมด ก็ไม่เกิด เช่น พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า
เปน็ ต้น กเิ ลสมีก็เกดิ อกี เกิดใหมเ่ ป็นผลมาจากเกิดเก่า หรือโลกใหม่ เป็นผลมาจากโลกเก่า ๆ นั่นแล
ตัวเองทำเอง ได้เอง (ดังทาง 7 สายของมนุษย์) นั่นคือของจริงของแท้ ไม่มีเรื่องบังเอิญหรือ
ปาฏิหาริยอ์ ะไรหรอก การหลอกกัน (คนโกหกไม่ทำบาป ไม่มี) มันผิดศีล 5 หมดสิทธิความเป็นมนษุ ย์
และลดฐานะตัวเองจากสุคติไปสู่ทุคติ เป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก อย่างใดอย่างหน่ึง
หรอื ทั้งหมดอย่างแน่นอน “ตายแล้วไปไหน กไ็ ปเกดิ ใหม่ ตามเหตุปจั จยั ทใ่ี จส่งั สม”
พึงระวัง “คิด พูด ทำ” ทุกสิ่งทุกอย่างถูกบันทึก หรือสั่งสมไว้หมดในจิตใจของเรา กายตาย
แต่ใจไม่ตาย ใจพาเราไปเกิดใหม่ในภพต่างๆ เรื่อย ๆ ไป ตราบเท่าที่ยังมีเชื้อหรือยังมีกิเลส เหตุแห่ง
ทกุ ขด์ ำรงอยู่ หากไม่อยากเกดิ อกี กด็ บั มนั ซะ ตถตา เช่นน้ันเอง
ใจความย่อของวัฏฏะ 3 หรือ ไตรวัฏฏ์ (วน, วงเวียน, องค์ประกอบที่หมุนเวียน ต่อเนื่องกัน
ของภวจักร หรือสังสารจักร — the triple round; cycle) (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,
2550, น.53)
1. กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน — round of
defilements)
2. กรรมวฏั ฏ์ (วงจรกรรม ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ — round of Karma)
3. วิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซ่ึง
แสดงออกในรปู ปรากฏท่เี รยี กว่า อปุ ปตั ติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นตน้ — round of results)
สามอย่างนี้ ประกอบเขา้ เป็นวงจรใหญแ่ หง่ ปจั จยาการ เรยี กว่า ภวจักร หรือ สงั สารจกั ร ตาม
หลกั ปฏิจจสมุปบาท เป็นปจั จัยทำให้เกดิ กระบวนการเกิดใหม่เสมอ
กิเลส
วฏั ฏะ
วิบาก กมั ม
วฏั ฏะ วฏั ฏะ
16
องคค์ วามรู้ทีไ่ ดจ้ ากการศึกษา
ทำใหเ้ กิดความไม่ประมาทในชวี ิต เขา้ ใจวา่ สักวันหน่ึงเราจะต้องจากโลกนี้ไป ทุกอย่างในโลก
นี้ ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นของธรรมดา สิ่งสำคัญที่สุดคือการสั่งสม สิ่งใดที่เป็นบุญให้รีบสั่ง
สม ความแน่นอน คอื ความไมแ่ น่นอน ความไมแ่ นน่ อนคือความแนน่ อน
บทสรปุ
ตายแล้วไปไหนตามแนวพระพุทธศาสนา มีทางไปอยู่ 7 ทางด้วยกันคือ ทางไปนรก ได้แก่
โทสะ ทางไปเปรตและอสุรกาย ได้แก่ โลภะ ทางไปเดรัจฉาน ได้แก่ โมหะ ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5
และกุศลกรรมบถ 10 ทางไปสวรรค์ ได้แก่ มหากศุ ล 8 ทางไปพรหมโลก ได้แก่ สมถกรรมฐาน ทางไป
นิพพาน ได้แก่ วิปัสสนากรรมฐาน จากสูงสุดคืนสู่สามัญ ตราบใดที่ยังวนเวียนอยูใ่ นวัฏฏสงสารตราบ
นนั้ กม็ สี ทิ ธิ์ขึ้นสูงก็ได้ ล่วงลงตำ่ สดุ ก็ได้ อย่ทู ีก่ ารกระทำของคนน้ัน ดงั นั้นตายแลว้ ไปไหนก็ไปตามจิตท่ี
ตนเองสั่งสมเอาไว้ตามกระแสจิตที่ตนเองบำเพ็ญสั่งสมเอาไว้ตอนมีชีวิตอยู่น่ันเอง สั่งสมอะไรได้อย่าง
นนั้ เปรยี บดงั การส่ังสมน้ำดำ ๆ ใสไ่ วใ้ นขวดแกว้ น้ำในขวดแกว้ กด็ ำ สั่งสมน้ำบริสุทธ์ิไว้เยอะ ๆ น้ำใน
ขวดแก้วกใ็ สบริสุทธิ์ สรุปได้ ตายแล้วไปไหนมที ีไ่ ปแนน่ อนอยจู่ ติ ของผนู้ น้ั
จำนวนช่วั โมงท่ีสอน 3 ชัว่ โมง
กจิ กรรมการเรียนการสอน
1. ทำแบบประเมินผลก่อนเรียน
2. นำเข้าส่บู ทเรยี น บรรยาย ซักถาม
3. สรปุ ผลการเรียน ทำแบบประเมินผลหลังเรียน
ส่ือการสอน
1. เอกการประกอบการสอน
2. Power Point
3. แบบประเมนิ ผลกอ่ นเรียน - หลงั เรยี น
การประเมินผลการเรียน
1. ประเมนิ ผลจากแบบประเมนิ ตนเองก่อนเรียนและหลงั เรียน
2. ประเมินจากการมสี ่วนรว่ มในหอ้ งเรียน
3. ประเมินจากการชกั ถาม
เน้อื หาท่ีจะสอน
1. ตายแล้วไปไหน
2. ตายแล้วไปไหนตามแนวพระพุทธศาสนา
3. กำเนดิ 4 อย่าง
17
คำถามท้ายบท
1. ตายแลว้ ไปไหน มีทไ่ี ปไหมอย่าง
2. ตายแล้วไปไหนตามแนวพระพุทธศาสนา กลา่ วไวอ้ ยา่ งไรบ้าง
3. กำเนิด 4 อยา่ ง ตามแนวพระพทุ ธศาสนาเทยี บกับความเปน็ จรงิ กบั สาขาวิชาใดบ้าง
เอกสารอา้ งอิง บทท่ี 6
นิตตารา. (2018). ความตายในทางพระพุทธศาสนาที่แตกต่างจากคนทั่วไป. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 11 กรกฎาคม 2565. จากแหล่งที่มา. https://goodlifeupdate.com/healthy-
mind/118939.html.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบบประมวลธรรม
(Dictionary of Buddhism). กรุงเทพฯ : มูลนิธกิ ารศึกษาเพ่ือสนั ติภาพ.
ไพรัตน์ แย้มโกสุม. (2559). ตายแล้วไปไหน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2565. จาก
แหล่งทมี่ า. https://mgronline.com/daily/detail/9590000011755.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2550). หนังสือเรียนรวมทุกวิชาหลักสูตรนักธรรมชั้นโท.
กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พส์ ำนกั งานพระพทุ ธศาสนาแห่งชาต.ิ
แสง จนั ทรง์ าม. (2542). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานชิ .
แสง จันทร์งามและคณะ. (2553). พระไตรปิฎกสำหรับผู้บวชใหม่และชาวพุทธทั่วไป. กรงเทพฯ :
เจริญวทิ ย์การพิมพ์.