แผนการสอนประจำสัปดาห์ท่ี 5
เร่อื ง หลกั เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในกูฏทันตสูตรกบั การนำมาใช้ในยคุ ปจั จบุ ัน
พระครูวินยั ธร สญั ชัย ทพิ ย์โอสถ, ดร.1
13 ธันวาคม 2565
1. รายละเอยี ดบทนำ
ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา. “ความหวิ เป็นโรคอย่างยง่ิ ” (ข.ุ ธ. (ไทย) ๒๕/๔๒) ความหวิ คือสภาพท่ี
บีบคน้ั ใหต้ ้องหาสิง่ มาตอบสนองปรนเปรอ ความหวิ ทางกาย เช่น หวิ นำ้ หิวขา้ ว จำเป็นอย่างยิ่งท่ีต้อง
หาน้ำหาอาหารมาบรรเทาความหิว ให้ความหิวหายไป โรคทั้งหลายบรรดามีในโลกมนุษยน์ ้ี บางทีก็มี
มาเบยี ดเบียนเรา บางทีกไ็ ม่มี หรือนาน ๆ มีโรคภัยไขเ้ จ็บเหลา่ นั้นมาเบยี ดเบียนเราทีหนึ่ง แต่ความหิว
นี้เบียดเบียนเราอยู่ทุกวี่ทุกวัน หิวตอนเช้า หาอาหารกินก็หายไป พอเที่ยงมาก็หิวอีก หาอาหารกินก็
หายไป ตกเย็นมาก็หิวอกี เป็นอยอู่ ยา่ งนที้ ุกวนั เรียกได้ว่า ความหิวนนั้ เบยี ดเบียนเราอยตู่ ลอดเวลา ไม่
มีวันไหนเลยที่ความหิวไม่เบียดเบียนเรา ดังนั้น ความหิวจึงจัดว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุด ร้ายแรงกว่า
โรคทั้งหลายทั้งปวงบรรดามีเลยทีเดียวถ้าตอ้ งการกำจัดความหิวอย่างถาวร มีอยู่ทางเดียวคือ ไม่ต้อง
เกดิ อกี และวธิ ที ่จี ะไม่ต้องเกิดอีก ก็มอี ยทู่ างเดยี ว คือ การปฏบิ ัติวิปัสสนากรรมฐาน จนสามารถเข้าถึง
ความเป็นพระอรหันตไ์ ด้ จึงจะสามารถทำลายภพชาติ ไม่ต้องเกิดอีก ประการสุดท้ายเป็นสิ่งท่ียากไป
สำหรับคนธรรมดาที่บารมียังไม่แก่กล้า และยังมีความต้องการ ถ้าไปไม่สุดทางอาจจะต้องกลับมานับ
หนึ่งใหม่ ถามว่าสามารถแก้ปัญหาสังคมได้ไหม แก้ได้ เหมือนกับการก่อปราสาททราย ก่อสำเร็จรูป
แล้ว พอเจอคลื่นใหม่มากระทบก็ล้มอีก มันเป็นวงจรอย่างน้ี แต่ก็ต้องแก้ไขต่อไปไม่มีส้ินสุด สิ่งที่ต้อง
แกไ้ ขใหร้ ะบบสังคมท่ีดคี ือ การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ถา้ เศรษฐกจิ ดที ุกอยา่ งจะดตี ามมาเอง ประเทศ
ไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น (Road map) ในการพัฒนาประเทศ สรุปแผน
ท้ังหมด 12 แผนได้ดงั นี้
ฉบับที่ 1 พ.ศ.2504-2509 -เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนใน
สิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปแบบของระบบคมนาคมและ ขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและ
พลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปเพื่อการปู พื้นฐานให้มีการลงทุนในด้าน
เอกชนเปน็ หลกั
ฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514 -ยึดแนวทางแผน 1 โดยขยายขอบเขตของแผนให้ครอบคลุม ถึง
การพัฒนาของรัฐ โดยสมบูรณ์กระจายให้บังเกิดผลไปทั่ว ประเทศ เน้นเขตทุรกันดารและห่างไกล
1 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา PH 1005
2
ความเจริญ และมีโครงการพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เช่น
โครงการพฒั นาภาค โครงการเรง่ รดั พัฒนาชนบทและโครงการชว่ ยเหลอื ชาวนา ฯลฯ
ฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519 -รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยรักษาอัตราการขยายตัวของ
ปริมาณเงินตรา, รักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ, รักษาเสถียรภาพทางการเงิน
ระหว่างประเทศ, สง่ เสรมิ การส่งออก, ปรับปรงุ โครงสร้างการนำเขา้ -ปรับปรงุ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
และยกระดับการผลิต เร่งรดั การสง่ ออกและทดแทนสนิ คา้ นำเข้า ปรับงบลงทุนในโครงการก่อสร้างมา
สนับสนุนการลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ -กระจายรายได้และบริการทาง
สังคม โดยลดอัตราการเพิ่มประชากร กระจายบริการเศรษฐกิจและสังคมสู่ชนบท ปรับปรุงสถาบัน
และองคก์ รทางดา้ นเกษตรและสินเชอ่ื รกั ษาระดบั ราคาสนิ ค้าเกษตร
ฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524 -เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งขยายการผลิต สาขา
เกษตร, ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่ง ออก, กระจายรายได้และการมีงานทำใน
ภมู ิภาค, มาตรการ กระต้นุ อุตสาหกรรมท่ีซบเซา, รักษาดุลการชำระเงินและการขาดดุลงบประมาณ -
เร่งบูรณะและปรับปรุงการบรหิ ารทรัพยากรหลักของชาติ รวมทงั้ การนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้
โดยเฉพาะที่ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้และแหล่งแร่, เร่งรัดการปฏิรูปที่ดิน, จัดสรร แหล่งน้ำในประเทศ,
อนรุ ักษท์ ะเลหลวง, สำรวจและพฒั นา แหล่งพลงั งานในอ่าวไทยและภาคใต้ฝ่งั ตะวนั ออก
ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529 -ยึดพื้นที่เป็นหลักในการวางแผน กำหนดแผนงานและโครงการ
ให้มีผลทางปฏิบัติท้ังภาครัฐและภาคเอกชน เช่น พื้นที่ เป้าหมายเพื่อพัฒนาชนบท พื้นที่ชายฝัง่ ทะเล
ตะวันออก พื้น ที่เมืองหลัก ฯลฯ -เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ เป็น
พิเศษโดยการเรง่ ระดมเงินออม, สร้างวนิ ยั ทางเศรษฐกจิ การเงนิ และการปรบั โครงสรา้ งเศรษฐกิจต่าง
ๆ เช่น ปรับโครงสร้างการเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่ง ออกและกระจาย
อุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค, ปรับโครง สร้างการค้าต่างประเทศ และบริการ, ปรับโครงสร้างการ
ผลิต และการใช้พลังงาน ฯลฯ - เน้นความสมดุลในการแก้ไขปญั หาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ
-เน้นการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง กำหนดพื้นที่ เป้าหมาย 286 อำเภอและกิ่งอำเภอ -
เน้นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเช่นมีระบบการบริหารการพัฒนาชนบทแนวใหม่ประกาศใช้ พ.ศ.
2527 -เนน้ บทบาทและการระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน
ฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534 -เน้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษา
เสถียรภาพของการเงินการคลัง โดยเน้นการระดมเงินออมในประเทศ เน้นการใช้จ่ายภาครัฐอย่าง
ประหยัดและมีประสิทธิภาพ และเน้นบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนา -เน้นการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3
และคุณภาพชีวิต -เน้นการเพิ่มบทบาทองค์กรประชาชนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม -เริ่มแผนหลักการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี -ทบทวนบทบาทรัฐในการ
พฒั นาประเทศ – มีแผนพฒั นารัฐวิสาหกิจ – มงุ่ ปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาดของประเทศให้
กระจายตัวมากขึ้น -เน้นการนำบริการพืน้ ฐานทีม่ ีอยู่แลว้ มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มท่ี -พัฒนาเมืองและ
พ้นื ท่ีเฉพาะ กระจายความเจริญสภู่ ูมิภาค - ขยายขอบเขตพัฒนาชนบทครอบคลุมทั่วประเทศ เขตล้า
หลัง 5,787 หมู่บ้าน เขตปานกลาง 35,514 หมบู่ ้าน และเขตกา้ วหนา้ 11,612 หมู่บา้ น
ฉบับท่ี 7 พ.ศ.2535-2539 -เนน้ การรกั ษาอัตราการเตบิ โตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมี
เสถยี รภาพ -เน้นการกระจายรายได้ และการพฒั นาไปสูภ่ ูมภิ าคและชนบท - เน้นการพัฒนาทรพั ยากร
มนุษย์ คุณภาพชวี ิต และส่งิ แวดลอ้ ม - เนน้ การพฒั นากฎหมาย รฐั วิสาหกจิ และระบบราชการ
ฉบับที่ 8 พ.ศ.2540-2544 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้
ความสำคญั กบั การมีสว่ นรว่ มของทุกภาคสว่ นในสงั คม และมงุ่ ให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพฒั นา” และ
ใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมทั้ง ปรับเปลี่ยน
วิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนา
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในปีแรกของแผนฯ ประเทศไทยต้อง ประสบวิกฤต
เศรษฐกิจอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อคนและสังคมเปน็ อย่างมาก จึงต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกจิ ให้มี
เสถียรภาพมั่นคง และลดผลกระทบจากวิกฤตที่ก่อให้เกิดปญั หาการว่างงานและความยากจนเพิ่มขึน้
อยา่ งรวดเร็ว -การพัฒนาศักยภาพของคน – การพฒั นาสภาพแวดล้อมของสังคมใหเ้ อื้อต่อการพัฒนา
คน -การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนอย่างทั่วถึง - การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนา คนและคุณภาพ
ชวี ติ -การจัดหาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม -การพฒั นาประชารฐั เปน็ การพัฒนาภาครัฐให้มี
สมรรถนะ และพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะ ของคนและมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาประเทศ -การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาฯไปดำเนินการ ให้เกิดผลในทางปฏบิ ัติ
ด้วยแนวทางการแปลงแผนไปสกู่ ารปฏบิ ัติ
ฉบบั ที่ 9 พ.ศ. 2545 – 2549 - เป็นแผนที่ไดอ้ ญั เชิญแนวปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ตาม
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหาร
ประเทศ ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหาร
ประเทศ ควบคู่ไปกับกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลาง
การพฒั นา” ต่อเนือ่ งจากแผนพฒั นาฯ ฉบับที่ 8 โดยยึดหลกั ทางสายกลาง เพ่ือใหป้ ระเทศรอดพ้นจาก
4
วิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้
กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลท้ัง
ด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ย่ังยืนและความอยู่ดีมีสขุ ของคน
ไทย ผลการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สรุปได้ว่า ประสบความสำเร็จที่น่าพอใจ
เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี เสถียรภาพทาง
เศรษฐกจิ ปรับตวั ส่คู วามมัน่ คง ความยากจนลดลง ขณะเดยี วกันระดับคณุ ภาพชวี ติ ของประชาชนดีขึ้น
มาก อันเนื่องมาจากการดำเนินการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยการมีหลักประกันสุขภาพที่มีการ
ปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ และการลดลงของ
ปัญหายาเสพตดิ
วตั ถุประสงค์ (1) เพอ่ื ฟนื้ ฟูเศรษฐกจิ ให้มีเสถยี รภาพและมีภูมคิ ุ้มกัน (2) เพ่ือวางรากฐานการ
พัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก (3) เพื่อให้เกิดการบริหาร
จัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ (4) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคน
ไทยในการพงึ่ พาตนเอง ลำดบั ความสำคัญของการพฒั นา
1. การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
และมีเสถียรภาพ
2. การสรา้ งความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
3. การบรรเทาปัญหาสงั คม
4. การแก้ปญั หาความยากจน
ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554 - ประเทศไทยยงั คงต้องเผชิญกบั การเปล่ียนแปลงท่ีสำคัญใน
หลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของ
คนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ
“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบรู ณาการเป็นองค์รวมท่ีมี “คน
เป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และให้
ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการใน ทุกขั้นตอนของแผนฯ
พร้อมทัง้ สรา้ งเครือข่ายการขบั เคล่ือนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ
ผลการดำเนนิ งานตามแผนอยา่ งต่อเนือ่ ง
ฉบบั ที่ 11 พ.ศ.2555-2559 - ตามวสิ ยั ทัศน์ 3 พนั ธกิจ 3 วัตถปุ ระสงค์ 4 เป้าหมายหลัก และ
7 ยุทธศาสตร์ ตามการศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามของประเทศ
5
ไทย วสิ ัยทศั น์ "ประเทศมีความมนั่ คงเป็นธรรม และมภี มู คิ มุ้ กันต่อการเปล่ียนแปลง" 3 พนั ธกิจ ได้แก่
การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
สังคม และสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์ 3 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดม
สมบูรณอ์ ยา่ งยงั่ ยืน คนไทยอยรู่ ว่ มกันอย่างสนั ตสิ ุข และพรอ้ มเชญิ กับการเปล่ยี นแปลงไดอ้ ย่างเป็นสุข
4 เป้าหมายหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น มี
หลกั ประกนั สงั คมที่ท่วั ถึง และสังคมไทยมคี วามสขุ อย่างมีธรรมาภบิ าล 7 ยทุ ธศาสตร์ ได้แก่ การสร้าง
ฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต
การค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคม มั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอ้ือ
อาทร เน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร และ
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะเห็นได้ว่า แผนฉบับที่ 11 นั้น เน้นการ "ตั้งรับ"
มากกว่า "รุก" โดยเน้นการป้องกันปัญหาจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเราเพิ่งผ่าน
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก และวิกฤตการณท์ างการเมืองภายในประเทศมาหมาดๆ
การเนน้ "ภมู คิ ุ้มกนั " นน้ั เป็นเพยี งเป้าหมายข้นั ต่ำเหมือนคนที่ปลอดโรค เพราะมีภูมิต้านทาน
โรค แต่ไม่ได้บอกว่าสุขภาพแข็งแรงมีกำลังวังชาดีเพียงไร เชื่อว่าพวกเราไม่ได้ต้องการเพียงให้
ประชาชนพอมีกินประชาชนควรจะ "กินดีอยู่ดี" และมี "คุณภาพชีวิต" ที่ดีขึ้นกว่าเดิม อีกนัยหนึ่ง ผล
โดยรวมประเทศไม่ควรมีสถานะเพยี งเกณฑ์เฉล่ียของประเทศอาเซียนดว้ ยกันหรือเพียงแต่ดีกว่า พม่า
ลาว กัมพูชา บ้าง แต่เราควรจะตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความ "มั่งคั่ง" อยู่ในชั้นแนวหน้าของ
อาเซยี น ท่ีจะแข่งขันกับประเทศ อินโดนีเซยี มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ และตวั อยา่ งท่ีดๆี ของประเทศ
นอกอาเซียนอืน่ ๆ เช่น เกาหลี และจีน เป็นตน้
ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จะยึดหลกั
“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อนหน้า ได้กำหนดเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ซึ่งจะเป็นแผนที่มีความสำคัญในการ
วางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สอดคล้องตาม
ยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี ท่เี ปน็ กรอบการพฒั นาประเทศในระยะยาว
รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
รวมทั้งเร่งสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในระยะยาว
ครอบคลุมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความ
6
มั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศจะต้องมีทิศทางและ
เป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจน โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อ
ผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการปฏิรูปประเทศที่มุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งค่ัง
และยงั่ ยืน” ในอนาคต เนน้ ให้ “คนเปน็ ศูนยก์ ลางการพฒั นา” สรา้ งความมนั่ คงของชาติ พฒั นาคนทุก
วัยให้เป็น คนดี คนเก่ง (ครูพิเชษฐ์ ใจปวน โรงเรียนวชิรป่าซาง. (มปป). สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 1-12. [ออนไลน์].)
ดงั นั้น การศกึ ษาเรอ่ื ง หลกั เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในกูฏทันตสูตรในการนำมาใช้ในยุคปัจจุบัน
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในกูฏทันตสูตรในการนำมาใช้ในยุคปัจจุบัน
เปน็ แนวทางในการนำไปหลักธรรมไปประยุกต์ใชใ้ นชีวติ ดว้ ยการ Learning by doing เรยี นแล้วต้อง
นำไปใช้เมือ่ เจอปญั หา จะทำอยา่ งไร และจะแกห้ าทางออกอย่างไรไดบ้ า้ ง
คำสำคัญ หลักเศรษฐศาสตรเ์ ชิงพุทธในกูฏทันตสตู รในการนำมาใช้ในยุคปัจจบุ นั
2. เน้อื เร่อื ง หลักเศรษฐศาสตรเ์ ชิงพทุ ธในกฏู ทันตสตู รในการนำมาใชใ้ นยุคปัจจุบนั
ทกุ คนต้องการลงทุนน้อยแตไ่ ด้ผลมาก ตราบใดทยี่ ังเกิดเป็นมนุษย์ไม่มสี ิ้นสุดของคำว่าปัญหา
เพราะการเกิดเป็นทุกข์ พระพุทธองค์ตรัสบอกในธรรมจักกัปปวัตตนสูตรว่า ในส่วนของ "ทุกข์" นั้น
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ดังที่ปรากฎในบทสวด ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรว่า "อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว
ทุกขัง อริยสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นทุกข์อย่างแท้จริง) คือ ..ชาติปิ ทุกขา (ความเกิดก็
เป็นทกุ ข์) ชราปี ทกุ ขา (ความแก่กเ็ ป็นทุกข์) มรณมั ปิ ทุกขัง (ความตายก็เปน็ ทุกข์) โสกปริเทวทุกขะ
โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา (ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์โทมนัส และความคับแค้นใจ
ก็เป็นทุกข์) อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข (ความประสบกับสิ่ง ที่ไม่เป็นที่รักทั้งหลายก็เป็นทุกข์) ปิเยหิ
วิปปะโย.โค ทุกโข (ความพลัดพราก จากสิ่งที่รักทัง้ หลาย ก็เป็นทุกข์) ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุก
ขัง (ปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์) สังขิตเตน ปัญจุปา ทานักขันธา ทุกขา (โดยย่อแล้ว
อุปาทาน หรือความยดึ มั่นในขันห้า (ตัวเรา) ล้วนเป็นทุกข์)" เมื่อเกิดมาแล้วจะทำอย่างไรให้เป็นสุขได้
ละเมื่ออยู่ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน จากการที่ศึกษาพูดคุยกับหลาย ๆ คนที่มีประสบการณ์บอกว่า
พยายามที่จะเรียนรู้ พยายามที่เข้าใจ และไม่ไปตัดสิอะไร เกิดมาแล้วต้องเจอทั้งสุขและทุกข์ บางคน
คาดหวงั ในสงิ่ ทหี่ วงั ผิดหวังในส่ิงทห่ี วงั คนทหี่ วงั ดีแก่กนั และกันมันมีน้อยจริง ๆ ตอ้ งศกึ ษาดี ๆ มีพระ
สูตรหนึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า การทำความดีที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก (แสง จันทร์งามและคณะ,
2553. น.506-511) ครั้งหน่งึ พระพุทธองค์เสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมดว้ ยภิกษุสงฆ์หม่ใู หญ่ ได้
เสดจ็ ถึงหมบู่ ้านพราหมณ์ ช่อื ขานุมัตตะ ประทับ ณ สวนอัมพลัฏฐิกา (สวนมะม่วงหนุ่ม) ใกล้หมู่บ้าน
ขานมุ ัตตะนน่ั เอง ซง่ึ หมู่บ้านนี้พระเจ้าพิมพสิ ารได้พระราชทานให้พราหมณ์กุฏทนั ตะเปน็ ผคู้ รอบครอง
7
ครั้งนั้น พราหมณ์กุฏทันตะกำลังเตรียมบูชามหายัญ โดยการจับโคผู้ 700 ลูกโคเมีย 700
แพะ 700 รวม 3,500 ตวั ไปผูกไว้กบั หลกั เพื่อบุชายัญ สว่ นพราหมณแ์ ละคหบดีชาวขานมุ ตั ตะได้สดับ
ข่าวว่า บัดนี้พระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จมาประทับ ณ สวนอัมพลัฏฐิกาแล้ว พระองค์ทรงมีพระเกียรติ
คุณระบือไปว่าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ จึงชวนกันไปเฝ้า เดินกันไปเป็นหมู่ ๆ
พราหมณ์กูฏทันตะพักกลางวันอยู่บนปราสาท (บ้าน 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น) ชันบน ได้เห็นพราหมณ์และ
คหบดีกำลังเดินกันไปเป็นกลุ่มๆ จึงถามคนใกล้ชิด (ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้วในเรื่องโสณทัณฑ
พราหมณ)์
พราหมณ์กูฏทันตะคิดว่าพระสมณะโคดมคงจะทราบมหายัญ 3 ประการ พร้อมด้วยบริขาร
16 เราควรไปถามพระสมณะโคดม เขาจงึ ไปกับชาวบ้านเหล่าน้ัน เวลานน้ั มพี ราหมณ์หลายร้อยคนมา
พักอยู่ที่หมู่บานขานุมตั ตะด้วยหวังวา่ จะบริโภคมหายัญของกูฏทันตะพราหมณ์ ได้พากันห้ามมิให้เข้า
เฝ้าพระพุทธองค์ด้วยเหตุผลเดียวกับที่พราหมณ์พวกหนึ่งได้ห้ามโสณทัณฑะพราหมณ์ (ในเรื่องก่อน)
และกูฏทันตะก็ตอบทำนองเดียวกันกับที่ทัณฑะพราหมณ์ตอบ ตกลงว่าพราหมณ์กูฏทันตะได้ไปเฝ้า
พระพุทธองค์ ขอให้ทรงแสดงธรรมเก่ยี วกับเร่ืองยัญญสมบตั ิ 3 ประการ ซึ่งมีบรขิ าร 16
พระพทุ ธองค์ทรงเลา่ เรื่องพระเจ้ามหาวชิ ิตราช (กษตั ริยใ์ นอดีต) ใหฟ้ งั ว่า ทรงมงั่ ค่ังมาก ทรง
ปรารภจะบชู ายญั เพ่ือให้ได้บุญกุศลอันเป็นเหตใุ ห้สมบัติของพระองคย์ ่ังยืนเป็นประโยชน์และความสุข
แก่พระองค์ตลอดไป จงึ ตรสั เรยี กพราหมณ์ปโุ รหติ (พราหมณผ์ สู้ อนธรรมในราชสำนัก) มาตรัสถามว่า
จะทำอยา่ งไร
พราหมณ์ปุโรหติ ทลู ว่า ให้กำจัดเส้ียนหนามของบ้านเมอื งเสียก่อน คือ ปราบโจรผู้ร้าย แต่วิธี
ปราบนั้นให้ปราบที่ต้นเหตุ คือจัดการเศรษฐกิจให้ดี ให้ทุกคนมีพอกินพอใช้ตามสมควร ไม่ขาดแคลน
ปัจจัยพื้นฐานอันเป็นสิ่งจำเปน็ สำหรบั ชวี ติ มอบข้าวเปลือก หรือพันธ์ุข้าวที่ดีแก่กสิกรผู้ขยัน มอบทุน
แก่พอ่ ค้าวานิช และปูนบำเหนจ็ แกข่ า้ ราชการตามโอกาสอนั ควร
พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงให้ทำตามคำแนะนำของพราหมณ์ ปรากฏว่าได้ผลดี ประชาชนอยู่
เยน็ เป็นสุข ทกุ คนขวนขวายประกอบการงานตามหน้าท่ีของตน ไมม่ กี ารเบยี ดเบียนกัน บ้านเมืองไม่มี
เส้ียนหนาม ทรงปรกึ ษาพราหมณ์ปุโรหิตวา่ จะให้ทำอยา่ งไรต่อไป พราหมณท์ ลู แนะให้ปรกึ ษาหารือขอ
ความร่วมมือในกิจการต่างๆ คือ จะทำสิ่งใด ก็ปรึกษาหารือขอความยินยอมจากกษัตริย์ผู้น้อย
(อนุยนตกษัตริย์) อำมาตย์ พราหมณ์ ผู้ครองเมืองเล็กเมืองน้อยอยู่ (รวมทั้งคหบดีผู้มั่งคั่ง) เพ่ือความ
สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เมื่อบุคคลเหล่านั้นเห็นด้วยแล้วจึงค่อยทรงกระทำ ทั้ง 4 พวกนี้ เรียก
รวมวา่ “ฝ่ายอนมุ ตั ิ 4” จดั เปน็ บรขิ ารหรือบรวิ ารของยญั
องค์พระเจา้ มหาวชิ ติ ราชเอง ทรงประกอบด้วยพระคุณสมบตั ิ 8 ประการ คือ
1.อุภโตสุชาต
2.ทรงมรี ปู งาม
8
3.ทรงมัง่ คง่ั
4.ทรงมีกำลังคน คอื สมบรู ณ์ด้วยเสนาทง้ั 4 เหลา่ ซง่ึ อยูใ่ นวินัยคอยปฏิบัตติ ามพระราชบัญชา
เสนา 4 เหลา่ นัน้ คือ กองทัพช้าง กองทัพมา้ กองทพั รถ และพลเดินเท้า (ทหารราบ)
5.ทรงมีพระราชศรัทธา หมั่นบริจาค เป็นประดุจบ่อ เป็นที่ดื่มของสมณพราหมณ์ คนกำพร้า
คนเดนิ ทาง วณพิ ก (คนขอทานพกิ าร) ยาจก (คนขอทานยากจน)
6.ทรงเปน็ พหสู ตู (มกี ารศึกษามาก)
7.ทรงทราบความหมายข้อความทท่ี รงศกึ ษานั้นวา่ ข้อน้ีมีความหมายอย่างนี้
8.ทรงเป็นบณั ฑติ เฉยี บแหลม
นีก่ ็เปน็ บรขิ ารหรอื บริวารของยัญ (รวมเป็น 12)
ฝ่ายพราหมณ์ปโุ รหิตประกอบดว้ ยคณุ สมบัติ 4 ประการ คอื
1.เปน็ อภุ โตสชุ าต
2.เปน็ ผมู้ กี ารศกึ ษาดี จำมนต์ได้ จบไตรเพท
3.เป็นผูม้ ศี ีล มีความประพฤติดี
4.เปน็ ผู้มปี ญั ญา
นี่ก็เป็นบริขารหรือบรวิ ารของยัญ 4 ประการ (รวมเป็น 16)
ยญั ญสมั ปทา คือ ความสมบรู ณแ์ หง่ ยัญ 3 ประการ คือ เมื่อทรงทำมหายัญอยู่ มิได้เดือดร้อน
พระทยั วา่ ทรพั ย์สมบตั ิของเรา (1) จกั หมดเปลืองไป (2) กำลังหมดเปลอื งไป (3) ไดห้ มดเปลอื งไปแล้ว
นีค่ ือยัญญสมั ปทา 3 ประการ ประกอบดว้ ยบริขาร 16 ประการ ดงั กลา่ วมา พราหมณ์ปุโรหิต
ไดแ้ สดงธรรมเพื่อกำจดั ความเดือดร้อนพระทัยของพระเจ้ามหาวิชิตราช (หากพงึ มี) ต่อไปวา่
คนที่มาสู่ยัญญพิธีของพระเจ้ามหาวิชิตราชย่อมมีทั้งคนมีศีลธรรม และคนไม่มีศีลธรรม ใน
การน้ีขอให้พระราชาทรงคำนงึ ถงึ แตผ่ มู้ ีศีลธรรมเท่านนั้ สว่ นผทู้ ีไ่ มม่ ศี ีลธรรมจกั ได้รบั ผลแห่งกรรมของ
เขาเอง เพอ่ื ความสบายพระทยั ของพระราชาในการทำมหายัญ
เรื่องนี้เป็นตัวอย่างอันดี สำหรับผู้บริจาคซึ่งรู้สึกตะขิดตะขวงใจในผู้รับว่าจะเป็นผู้มีศีลธรรม
หรือไม่
พระพุทธองค์ตรัสกับกฏู ทันตพราหมณต์ ่อไปว่า พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้ามหาวิชิตราชได้
ทูลพระราชาว่า เมื่อทรงบำเพ็ญมหายัญ 3 ประการ ซึ่งมีบริขาร 16 ดังกล่าวนี้แล้ว ย่อมไม่มีใครติ
เตียนได้ในกรณีต่าง ๆ เช่น ทรงทำมหายัญเพียงผู้เดียว มิได้ชักชวนอนุยนตกษัตริย์ เป็นต้น และติ
เตียนไมไ่ ด้ในคุณสมบัติสว่ นพระองค์ และแมใ้ นคุณสมบัตขิ องปโุ รหติ ของพระองค์
พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า ในยัญนั้นไม่ต้องฆ่าสัตว์ชนิดใดๆเลย ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำเป็น
หลกั ยญั เปน็ ตน้ ไมต่ อ้ งมีอาชญาคุกคามต่อทาสกรรมกร ไม่ตอ้ งทำใหเ้ ขามีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้
ทำการงานที่เขามาปรารถนาจะทำ เพราะยัญนั้นสำเร็จได้ด้วยวัตถุเพียงเนยใส น้ำมัน เนยข้น เปรียง
9
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น พวกอนุยนตกษัตริย์ อำมาตย์ พราหมณ์ และคหบดีผู้มั่งคั่งก็ยินดีบริจาคทาน
ตามอยา่ งพระเจา้ มหาวชิ ิตราช
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว พวกพราหมณ์บริวารของกูฏทันตะก็ส่งเสียงอื้ออึงขึ้นด้วย
ความยินดี ชื่นชมพระดำรัสของพระพุทธองค์ ส่วนกูฏทันตพราหมณ์น่ังนิ่งเสีย เมื่อถูกเพื่อนพราหมณ์
ถามถึงอาการที่นั่งเฉยนั้นว่าไม่ยินดีหรืออย่างไร เขาตอบว่ายินดีมาก แต่กำลังคิดอยู่ว่า พระเจ้ามหา
วิชิตราชหรือพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์ในครั้งนั้น คนใดคนหนึ่ง คือ พระสมณะโคดมในบัดนี้ใช่
หรือไม่ เขาทูลถามพระพุทธองค์ถึงข้อสงสัยนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้า
มหาวชิ ิตราชในครงั้ นั้นคอื พระองค์เองในปจั จุบัน
กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามต่อไปว่า ยัญอย่างอื่นที่ใช้ทรัพย์น้อยกว่ามีการตระเตรียมน้อยแต่มี
ผลมากกว่ายัญญสมบตั ทิ ั้ง 3 ประการ ซึ่งมีบรขิ าร 16 นีม้ อี ยู่หรอื ไม่
1.การให้ทานเปน็ นิตย์ อุทิศทา่ นผู้มีศีล เปน็ อนกุ ุลยัญ คอื รกั ษาธรรมเนยี มของตระกูลไว้ ยัญ
เชน่ น้ไม่มีการฆา่ ไม่มกี ารเบยี ดเบยี น พระอรหนั ตย์ อ่ มเขา้ ไปในยญั เช่นนี้
2.การสร้างวหิ ารทาน คอื ท่อี ยูอ่ าศยั ถวายอุทศิ สงฆ์ท่จี รมาจาก 4 ทศิ
3.การถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ (ไตรสรณคมน์) ว่าเป็นที่พึ่งเป็นที่ระลึก หรือ
เป็นแสงสว่างนำทางชีวิต เป็นการนำชีวิตเข้าสู่ทิศทางอันถูกต้อง ซึ่งจะก้าวเดินไปได้อีกไกลในวิธีทาง
แห่งชวี ติ อนั ถูกตอ้ งนัน้
4.การรกั ษาศีล 5 ให้บริสทุ ธ์ิบรบิ ูรณ์
5.การออกบวชด้วยศรทั ธา เป็นผู้สมบูรณ์ดว้ ยศลี ของบรรพชติ
ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้แสดงจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ฌาน 4 และวิชชา 8
ตามลำดบั (โดยนัยทก่ี ลา่ วแล้วในพระสูตรกอ่ น)
กูฏทันตพราหมณ์ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาว่าแจ่มแจ้งเหมือนหงายของที่คว่ำ เป็นต้น
ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเปน็ สรณะตลอดชวี ิต สั่งให้ปลิอยสัตว์ชนดิ ต่างๆ ที่นำมาผูกไว้
เพ่อื บชู ายัญทัง้ หมด
พระพทุ ธองค์ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ คือ บพุ พิถา 5 อัน ได้แก่ ทาน ศีล สวรรค์ (ผลของ
ทานและศีล) กามาทีนพ (โทษของกาม) และเนกขัมมานสิ งส์ (ผลดีของการออกจากกาม) ให้พราหมณ์
มีจิตใจอ่อนโยนพอสมควรแล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจจ์ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่
ทกุ ข์ สมทุ ัย (เหตใุ หเ้ กดิ ทุกข์) นิโรธ (ความดบั ทกุ ข์) มรรค (ขอ้ ปฏิบตั ิซ่ึงนำไปสู่ความดบั ทกุ ข์)
พราหมณ์ฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาบันปัตติผลเป็นโสดาบัน สิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในคุณ
พระรัตนตรัย ไม่ต้องมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในคำสอนของพระศาสดา (คือ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเหมือนก่อน
เพราะได้เห็นด้วนตนเองแล้ว) ทูลอาราธนาพระพุทธองค์เพื่อเสวยภัตตาหารที่นิเวศน์ของตนใน
วันรุง่ ขนึ้ พระพุทธองคท์ รงรบั อาราธนาโดยอาการดษุ ณี
10
วนั รงุ่ ขึน้ เสด็จพร้อมด้วยภกิ ษุสงฆไ์ ปเสวยท่ีนิเวศน์ของกฏู ทันตพราหมณ์ เสด็จแล้วทรงแสดง
ธรรมพราหมณแ์ ละบริวารสมาทาน อาจหาญรา่ เริงในการปฏิบตั ธิ รรมยง่ิ ๆขึ้นไป แลว้ เสดจ็ กลบั
ดังนั้น ความยากจนและความเหลื่อมล้ำมีอยู่ทุกสังคมทั่วโลก และเป็นปัญหาใหญ่ของโลก
ดังที่ UN ประกาศเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ไว้หลาย
เรื่อง แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นอันดับแรก คือ ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ สำหรับประเทศ
ไทย มีตัวเลขจาก World Bank ชี้ชัดการเพิ่มขึ้นของความยากจนถึง 2 เท่า ในปี 2016 และ 2018
คือตัวเลขคนยากจนเพิ่มจาก 4.85 ล้านคน เป็น 6.7 ล้านคน และปรากฏอยู่ในภาคกลาง-อีสาน ที่
ตัวเลขคนยากจนเพ่ิมมากข้ึนมากกว่าคร่ึงล้านในปี 2016, 2018 และในปี 2017 เป็นครั้งแรกที่พบวา่
ภาคใต้ อัตราความยากจนสูงที่สุด ในปี 2018 ความยากจนขยายตัวในทุกภูมิภาค ครอบคลุม 61
จังหวัด จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ (ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2565). การลดความยากจนและความ
เหลอ่ื มล้ำทางการศึกษา. [ออนไลน]์ .)
ความยากจนล้วนเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมทางสังคม คือ ปี 2019 ไทย
เป็นหนึ่งในประเทศที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตกต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค East Asia +
Pacific จากความแหง้ แลง้ ทก่ี ระทบกับการใช้ชีวติ ของเกษตรกร ซึง่ เปน็ กลุ่มคนทจี่ นท่สี ดุ
เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำข้ามภูมิภาค ส่งผลให้กระทบต่อการส่งออก ซึ่งพึ่งภาควัตถุดิบทาง
การเกษตรความเปลยี่ นแปลงท่เี กดิ ขน้ึ คือ รายได้ตอ่ ครวั เรือนสง่ ผลต่อความยากจนที่เปล่ียนไปที่แย่ลง
สภาพการดำรงชีพท่ีต่ำลงกว่าเดิม เหล่านี้กลายเป็นแหล่งความยากจนที่ขยายตัวสูงข้ึน ทำให้ความไม่
เสมอภาคมากขึ้น และความเหล่อื มลำ้ ยงั เป็นประเดน็ ใหญข่ องประเทศไทย รายงานของ World Bank
จึงเรียกร้องให้มีการลงทุนและการปฏิบัติเพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่าน ในระยะสั้น ที่ต้องการ safety
net ความปลอดภัยเนื่องด้วยประชากรที่อ่อนแอ ไม่มีความมั่นคง เขาต้องการการแก้ปัญหาที่ฉับไว
คือการสร้างงานที่ดีขึ้นให้กับครัวเรือนที่ยากจน เพื่อให้ทันกาลกับเศรษฐกิจท่ีเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเรว็ ในระยะยาว การลงทนุ เรื่องความยุตธิ รรมในคนรุ่นหน้า จะเปน็ เรอ่ื งหลกั (Key) ดว้ ยเหตุท่ีคน
รุ่นหนา้ (Next Generation) จะมจี ำนวนน้อยลง เพราะการเปล่ยี นแปลงทางประชากรศาสตร์ เด็กทุก
ๆ คน ต้องการความยุติธรรม ความเท่าเทียม ที่จะได้รับในการดูแลทั้งสุขภาพ และโอกาสทางการ
ศึกษาที่ไปให้ถึงศักยภาพของแต่ละคน ด้วยช่องทางนี้จะช่วยให้แต่ละครัวเรือนไม่ตกบ่วงของความ
ยากจนจากรุ่นสู่รุ่นได้ และจะทำให้สามารถช่วยดูแลคนสูงอายุได้ด้วย พร้อมๆ กับการทำให้ประเทศ
ไทยมีการเตบิ โตในโฉมหนา้ ใหมด่ ว้ ย
การขจดั ความยากจนคอื เป้าหมายแรกของการศึกษา องคก์ ร UNESCO พดู เร่อื งนไี้ ว้นานแล้ว
ว่า การขจัดความยากจนหรือการลดความยากจนถือเป็นเป้าหมายแรกของการศึกษา และต้องเป็น
การศึกษาที่มีคุณภาพที่จะให้ความรู้และวิชาการ วิชาชีพ ให้ทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพนั้นไปทำมา
หากิน ไปรบกบั ความยากจน เพราะฉะน้ันการศึกษาทีม่ ีคุณภาพจึงจำเป็นอยา่ งมาก
11
องค์การ UNESCO ไดใ้ หก้ รอบความสำคัญเร่ืองการศึกษาไวว้ ่า การศกึ ษาท่ีมีคุณภาพจะช่วย
ขจัดความยากจน นำไปสู่สุขภาพที่ดี สนับสนุนประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล และรักษาธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม (ทิพย์พาพร ตันติสนุ ทร. (2565). การลดความยากจนและความเหล่ือมล้ำทางการศึกษา.
[ออนไลน]์ .)
คนที่เข้าถึงการศึกษาคุณภาพจึงสามารถสร้างการเปลี่ยนตัวเองได้ คือ เป็นอิสระจากการ
พ่ึงพาผ้อู นื่ เพราะสามารถสร้างงาน สรา้ งอาชพี มรี ายได้ทจ่ี ะสร้างคณุ ภาพชีวติ ให้ดีข้ึนได้ การศึกษาท่ีดี
มีคุณภาพ จึงไม่เพียงสรา้ งความสามารถของปจั เจกให้บรรลุถงึ ศักยภาพทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่หาก
ต้องให้เขามีความรู้และวิจารณญาณที่เพียงพอจะเข้าร่วมในการตัดสินใจในประเด็นปัญหาทางสังคม
และการเมืองได้อีกดว้ ย การศึกษาจึงเป็นพืน้ ฐานสำคัญที่ทุกคนจะต้องมีและรัฐจะต้องเป็นธุระจัดการ
ให้แก่ประชาชนทุกคน เพราะการศึกษาจะเป็นเครื่องชี้วัดของคุณภาพคนของรัฐ ที่จะไปขับเคลื่อน
ภาคการผลิตทางเศรษฐกจิ และสรา้ งเสถยี รภาพทางการเมือง โดยเฉพาะการเมืองแบบประชาธิปไตย
ที่ต้องการให้สมาชิกของสังคมเป็นผู้มีส่วนร่วมกับชะตากรรมของบ้านเมือง คือการมีส่วนร่วมในทาง
การเมือง เศรษฐกิจและสังคม การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือของทุกรัฐในการขัดเกลาให้คนในสังคมเป็น
พลเมืองที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง และแบกรับภารกิจของสังคมประเทศชาติด้วยความ
รับผิดชอบในฐานะเจ้าของสงั คมและประเทศ
การศึกษาที่มีคุณภาพ จึงเปลี่ยนทั้งคน เปลี่ยนสังคม เปลี่ยนเศรษฐกิจ และเปลี่ยนการเมือง
ไดค้ รบทุกมติ ิ
การศึกษามีผลทางเศรษฐกิจ “แต่ระบบเศรษฐกิจที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งที่ไม่ต้องโกงก็
สามารถที่จะรวยได้อย่างเหลือล้น ขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศจนได้อย่างเหลือเชื่อโดยไม่เกียจ
คร้าน” ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล • คนไทย 10% ที่มีรายได้สูงสุดและต่ำสุดห่างกันถึง 22 เท่า • คน
ไทยมากว่า 75% ไมม่ ที ่ดี นิ เป็นของตนเอง • โฉนดถงึ 61% อยใู่ นมือคนเพยี ง 10% • การพฒั นาที่เน้น
แต่ GDP ขาดการพัฒนา “คน” คนในแต่ละพื้นทีไ่ ม่ได้รบั ประโยชน์จากการพัฒนา ผลจากการพัฒนา
ทำให้เศรษฐกิจยิ่งโต ผู้มีทุนมากยิ่งได้เปรียบ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และเป็นต้นตอไปสู่ความ
ขัดแย้ง เพราะความเป็นอยู่ที่แตกตา่ งกันมาก ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการแยง่ ชิงทรพั ยากร จึงยากที่จะ
ทำใหส้ ังคมอยู่ร่วมกนั เปน็ สขุ และขาดเสถียรภาพในสังคมในทีส่ ดุ
ภาพใหญ่ คอื การลดการกระจกุ ตวั ของทรัพยากรในที่ใดทหี่ นง่ึ จงั หวดั ใดจงั หวดั หนึง่ และทำ
ให้คนไทยเชื่อได้ว่าชีวิตจะดีขึ้น จะสามารถก้าวพ้นความยากจนได้ ในช่วงชีวิตที่ได้ร่ำเรียน ได้ทำงาน
อย่างสุจริต นค่ี ือโจทย์ของการกระจายอำนาจไปให้คนในท้องถิ่นใหเ้ ขาคิดพัฒนาดว้ ยตวั เขาเองโดยไม่
ต้องผ่านหวั คิวจากสว่ นกลาง เพราะที่ผา่ นมาเปน็ การพฒั นาจากสว่ นกลางสทู่ ้องถิน่ ทไ่ี ม่คบื หน้า ไมเ่ กิด
ความม่ันคงในแงข่ องบุคคลและของสังคม
12
โลกยุคโลกาภวิ ัตน์ (Globalization) เปล่ียน ประเทศพัฒนาแล้วตา่ งพลกิ ตวั ไปท่ีการศึกษาให้
ทนั โลก คนคดิ เปน็ รจู้ ักดดั แปลง และปรบั ตวั ได้ สำหรับประเทศไทยยงั อยู่ทเ่ี ดิม แมจ้ ะปฏิรปู การเมือง
และปฏิรูปการศึกษาโดยมี พ.ร.บ.การศึกษาปี 2542 ซึ่งมุ่งเน้นที่ปรับปรุงโครงสร้างอำนาจของ
กระทรวง แต่ไม่ได้ลงสู่การปรับเปลี่ยนเรื่องแนวคิด (Mindset) ของทั้งผู้บริหาร ครู จนถึงตัวเด็ก ใน
เร่อื งการศึกษาใหท้ นั โลก เป็นพลเมืองคดิ เป็น คดิ เก่ง รับผดิ ชอบต่อตนเองและสงั คม และเคา้ โครงของ
ตวั พ.ร.บ. ที่กำลังทำอยูใ่ นปัจจุบัน ก็มไิ ด้เปลี่ยนแปลงในสาระสำคญั นีเ้ ชน่ กัน
การพัฒนาของรัฐไทยจึงเน้นที่การเจริญเติบโตทางวัตถุ การพัฒนาเศรษฐกิจรุดหน้า แต่ไม่
สัมพันธก์ ับการศึกษาทีย่ งั อยู่กับที่โดยละทิ้งการพฒั นาดา้ นศักยภาพของมนุษย์ การพัฒนาเช่นนีจ้ งึ ทำ
ให้รัฐเข้มแข็ง แต่ประชาชนอ่อนแอ ทั้งในแง่ทัศนคติและแง่การเป็นพลเมือง ประชาชนมีวัฒนธรรม
ทางการเมอื งท่คี อยพง่ึ พงิ รัฐ
ชุมชนอ่อนแอ เพราะการวางแผน การจัดการ และการแก้ไขปัญหามาจากภายนอก ดังนั้น
การพัฒนาจึงเป็นการพัฒนาด้านวัตถุ จิตใจที่เป็นจิตอาสา ความร่วมมือซึ่งกันและกันจากภายในจึง
เกดิ ยาก เป้าหมาย ของการพัฒนาของรฐั จงึ ควรอยูท่ ีท่ ำให้คนเขม้ แข็ง จัดการตนเองได้ ไมใ่ ช่การทอน
พลังประชาชน จนพึ่งตนเองไม่ได้แม้ในทางเศรษฐกิจท่ีจะรักษาปัจจัย 4 พื้นฐานของชีวิตไว้ได้
เศรษฐกิจ และ การศึกษา มีผลต่อกันตรงที่หากประชาชนโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงการศึกษาอย่าง
ต่อเนื่อง กระทั่งสามารถที่จะอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เท่านี้ ก็ทำให้เพิ่มอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจได้แล้ว ซึ่งมีรายงานวิจัยของ UN ระบุว่า การศึกษาเป็นตัวเพิ่มรายได้ และแม้เข้ารับ
การศึกษา 1 ปี ก็จะช่วยเพิ่ม 10% ของรายได้ การศึกษาจึงส่งผลใหเ้ กิดทรัพยากรมนุษย์ที่เปน็ ปัจจยั
การผลักดันการผลติ เพ่อื การแข่งขันท่ีสำคญั
การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และรู้วิทยาศาสตร์
เป็นพื้นฐาน มีข้อยืนยันทางบวกมานานแล้วว่า มีผลต่อการเพิ่มรายได้ของประชากร และเพิ่มอัตรา
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การศึกษาจึงเป็นการลงทุนในมนุษย์ (Human capital) ที่จำเป็นของ
ทุกรัฐ เพื่อที่จะให้มั่นใจว่า มนุษย์จะสามารถมีความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการบรรลุ
ความสำเร็จของตน การศึกษาโดยพื้นฐานเช่นนี้ จึงเป็นช่องทางลดปัญหาทางสังคมในหลายๆ เรื่อง
คอื
1. เดก็ ทอ่ี อกจากโรงเรียน และสามารถอ่านออก เขยี นได้ คิดเลขเป็นโดยพ้ืนฐาน จะไม่ตกอยู่
ในสภาพทยี่ ากจน และจะลดทอนความยากจนได้มากถงึ 30% จากการเรยี นรทู้ ี่พฒั นา การศึกษาช่วย
ชะลอความยากจน
2. การศกึ ษาเปน็ ชอ่ งทางการหยดุ ยงั้ การถา่ ยทอดความยากจนจากรุน่ พอ่ แม่ สรู่ นุ่ ลกู หลานได้
3. การศกึ ษาชว่ ยส่งผลดีต่อสขุ ภาพและส่ิงแวดลอ้ ม
4. การศกึ ษาสรา้ งความม่ันคงทางอาหาร เพราะชว่ ยใหม้ งี านทำ มเี ศรษฐกจิ ดี
13
5. การศกึ ษาเปน็ ตวั ชว่ ยในการสร้างสำนกึ รบั ผดิ ชอบต่อตนเองและสังคม
6. การศึกษาลดความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ คือ หากมีคนทำงานที่มาจากความรวยและ
จน แต่ได้รับการศึกษาที่เหมือนกัน ไม่แตกต่างกันอย่างเสมอหน้า ก็จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้
ถึง 30% การศึกษาเช่นนี้ ในทางเศรษฐกิจ ถือว่ามีบทบาทในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ
การศึกษาไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แต่การศึกษาก็มีมิติด้านสังคม
และการเมอื งรวมอยูด่ ว้ ย ซง่ึ การศึกษากเ็ ปน็ ตวั สะท้อนความมีหรือไมม่ ีเสถยี รภาพทางสงั คมในทุกด้าน
อยู่ด้วยอย่างที่ไม่อาจแยกส่วนใดๆ ได้ เพราะคนเป็นผลผลิตทางการศึกษาที่เข้าไปแทรกตัวอยู่ในทุก
มติ ิของสังคม
อีกทั้ง ด้วยภาวะเศรษฐกิจมั่งคั่งที่กระจุกตัว ยังผลทำให้อำนาจทางการเมืองก็มีลักษณะ
กระจกุ ตวั คนมัง่ มสี ามารถใช้อำนาจทางการเมืองท่เี กิดจากการควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกจิ ความ
เหลื่อมล้ำต่ำสูงทางเศรษฐกิจ เป็นส่ิงกีดขวางการก่อตัวของโครงสร้างทางการเมืองประชาธิปไตย ที่
ตอ้ งการส่งเสริมอิสรภาพ เสมอภาค และยุติธรรมให้ปรากฏแก่พลเมอื งของสังคม
การจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จึงอยู่ใน
อำนาจของทุกรฐั และเปน็ ความปรารถนาทจ่ี ะไปส่จู ุดน้ัน
การศึกษา จึงเป็นทั้งเป้าหมายหลักและที่มั่นสุดท้าย ก็คือ ตัวสังคมที่เข้มแข็ง เป็นสังคมท่ี
มั่นคง (Security) มีอิสระ ปลอดจากการครอบงำของธุรกจิ หรือการเมอื ง หรือของประเทศใด ๆ และ
จะมนั่ คงไดต้ ้องมีเอกภาพ
รฐั จงึ เปน็ ผูอ้ อกแบบและกำหนดกฎ กติกา ระเบยี บทงั้ หลายใหป้ รากฏเป็นทิศทาง และปฏิบัติ
ได้ในการสร้าง “คน” หรือ “พลเมือง” ของรัฐตามที่ต้องการ ซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ และ
พระราชบัญญัติของทกุ รัฐรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งปรากฏในรัฐธรรมนญู ฉบับปัจจุบันที่ใช้ในปี 2560 ก็
ระบไุ ว้ในหมวด 5 หนา้ ทข่ี องรัฐ มาตรา 54 คือ
หมวด 5 หนา้ ทขี่ องรฐั มาตรา 54
• รฐั ต้องดำเนินการใหก้ ารศกึ ษาภาคบงั คบั กบั เดก็ ทุกคนโดยไม่เสียคา่ ใชจ้ า่ ย
• รฐั ตอ้ งดำเนินการส่งเสริม สนับสนนุ การศึกษาให้แก่ประชาชนตามความต้องการในระบบ
ต่าง ๆ และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ ต่างประเทศ และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุก
ระดับ โดยให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจใน
ชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ
รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ไดร้ ับการสนับสนนุ คา่ ใช้จ่ายตามความถนัดของตน
ให้จัดตั้งกองทนุ เพื่อช่วยเหลอื ผ้ขู าดแคลนทนุ ทรพั ย์เพ่ือลดความเหลอ่ื มลำ้ ในการศกึ ษา
14
หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 257 (2) สังคมมีความสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอัน
ทัดเทียมกัน เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ (3) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมใน
การพัฒนาประเทศ และการปกครองในระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั ริยท์ รงเป็นประมุข
มาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา • ให้ดำเนินการตามมาตรา 54 วรรคสอง เด็กเล็กต้องได้รับ
การดูแล • ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือด้านการศึกษาตามมาตรา 54 วรรคหก • ปรับปรุงการเรียน
การสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด • ใหม้ กี ลไกและระบบการผลิตครู เพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพ
การเรียนการสอน
การศึกษา คือ โอกาสท่เี ทา่ เทยี มระหว่างเมืองและระหวา่ งภมู ิภาค แมว้ า่ รฐั จะระบุใหม้ ีการจัด
การศึกษา และการจัดกองทุนเพื่อช่วยเหลือทางการศึกษาในรูปแบบตา่ ง ๆ ด้วยงบประมาณที่สูงท่ีสุด
เปน็ อนั ดบั ต้นๆ มาอยา่ งต่อเนื่องหลายรัฐบาลแลว้ แต่การบรหิ ารการศึกษาที่มงุ่ เน้นในส่วนกลาง และ
ให้ความสำคัญกับเมอื งหลวง เมืองใหญ่เป็นสำคัญ นี่จึงเป็นประเด็นของการรวมศูนยอ์ ำนาจในการใช้
ทรัพยากรทั้งหมดของประเทศอันเป็นปัญหารากฐานในการแบ่งสรรทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ
ที่ได้สร้างความยากจนและเหลื่อมล้ำมาตั้งแต่แรกเริ่มแผนพัฒนาชาติ ซึ่งมีการนำเอาทรัพยากรของ
ประเทศส่วนใหญ่ไปลงที่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ทั้งในการเงินและทรัพยากรคน ในระบบ
การศึกษาก็เป็นไปเพื่อผลิตคนรับใช้ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาคราชการเป็นหลักใหญ่ ฉะนั้น
ระบบการศึกษาของไทยก็เท่ากับว่าเอาทรัพยากรคนในชนบท ดึงเอาส่วนที่ดีที่สุดมา แทนที่จะสร้าง
ส่วนที่ดีที่สุดเพื่อรับใช้ชนบท ก็เอามารับใช้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและราชการมากกว่า ทำให้ชนบท
เสียเปรียบและถกู ละเลยในการพฒั นาทำใหภ้ าคชนบทอ่อนแอ เพราะทรพั ยากรถูกแบ่งมาท่ีเมือง และ
ทุ่มไปท่อี ุตสาหกรรม ไม่ใช่ภาคเกษตรและชนบท คนในชนบทจงึ ไม่มีอำนาจต่อรอง ภาคชนบทจึงขาด
ทรัพยากรคนที่มีความรู้และความสามารถ ทำให้ภาคชนบทและภาคเกษตรกลายเป็นภาคของคน
ยากจน
การศกึ ษาจึงต้องออกแบบเพื่อแกป้ ัญหาความยากจนในพ้ืนทีน่ อกเมอื งหลวงและเมืองใหญ่ ที่
อยู่ในภาคเกษตรและแรงงานในอุตสาหกรรมที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆ โดยจัดและออกแบบให้เป็นระบบ
การศึกษาที่สนองความต้องการของส่วนภูมิภาคและภาคชนบท เป็นการศึกษาที่สร้างคนให้สามารถ
ทำงานในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ในชนบท โดยการศึกษาต้องมีเป้าหมายที่จะมุ่งเป็นการศึกษา
สำหรบั สว่ นภูมภิ าคอย่างแท้จริง เพราะแตล่ ะภูมิภาคมีความแตกต่างกัน ระบบการศกึ ษาของประเทศ
จะต้องมีความแตกต่างหลากหลายกันไปตามสภาพภูมิประเทศ และทรัพยากร-ธรรมชาติ รวมทั้ง
วัฒนธรรมต่าง ๆ ของแต่ละภูมิภาคซึ่งไม่เหมือนกัน เพื่อให้การศึกษาเป็นองค์รวมของการพัฒนาให้
ชุมชนแต่ละพื้นที่สามารถที่จะมีฐานของความสามารถในการพึ่งตนเองอย่างแท้จริง การพึ่งตนเองได้
ของคนชนบทจะทำให้เขาเป็นอสิ ระในทางเศรษฐกิจและปลอดจากการครอบงำและถูกเอาเปรียบจาก
คนภายนอกโดยเฉพาะ การถูกครอบงำจากเมืองใหญ่ หรือเป็นอาณานิคมของเมืองใหญ่ การจัดการ
15
ศึกษาจึงมุ่งที่ลดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองอีกด้วย คือ การศึกษาที่มุ่งสร้าง
โอกาสทเี่ ทา่ เทียมระหว่างเมืองและระหว่างภมู ิภาค การจดั การศึกษาแบบใหม่จึงควรนำเอาเทคโนโลยี
วทิ ยาศาสตร์ และคนจากเมืองใหญ่ได้มีส่วนไปชว่ ยคนชนบทพฒั นา จากความรู้ทแ่ี ตกตา่ งเพื่อเป็นการ
พัฒนาชาติให้ไปด้วยกัน จะทำให้คนในทุกภูมิภาคมีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองในการสร้างงาน
และพึ่งตนเอง ทำให้ชนบทสามารถรักษาระบบครอบครัวของตนเองได้ รักษาชุมชนท้องถิ่นตัวเองได้
ไม่ต้องแยกย้าย อพยพหรือทิ้งบ้านทิ้งเรือนไปเหมือนที่เป็นอยู่ปัจจุบัน หากทำได้เช่นนี้ ชนบทที่กล้า
แกร่งก็จะมีกำลังเงินซื้อ การพัฒนาชนบท ชุมชนท้องถิ่น ก็จะเป็นฐานที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้
พัฒนากา้ วหนา้ พ่ึงตนเอง เพราะสามารถพึ่งตลาดภายในประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยไม่สร้าง
คนในชุมชนท้องถิ่น จึงทำให้เราต้องพึ่งตลาดภายนอก เน้นการส่งออก เพราะกำลังซื้อภายในมันขาด
การพัฒนาในชุมชนท้องถ่นิ จะเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อตุ สาหกรรมครัวเรอื นมากขนึ้ ซึ่ง
เปน็ ทิศทางในการสร้างผูป้ ระกอบการใหม่ ให้กระจายและขยายตัวให้มากและเรว็ ขึน้ และจะเป็นการ
เพิ่มผู้ประกอบการในระดับฐานรากชุมชนท้องถิ่น มากกว่าจะเป็นการจัดการศึกษาทีม่ ุ่งสร้างคนไป
เป็นแรงงานราคาถกู ซง่ึ ประชากรส่วนใหญจ่ ากภาคเกษตรก็จะกลายเป็นผูใ้ ช้แรงงานไปหมด ไมว่ ่าจะ
ถูกจ้างในเมืองหรือในท้องถิ่น สร้างสภาพความเหลื่อมล้ำและยากจนไม่จบสิ้น เข็มมุ่งของการจัด
การศึกษา จึงควรเป็นไปในทิศทางของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ที่จะปลดปล่อยให้หลุดพ้น
จากการครอบงำทางความรู้และทางเศรษฐกิจเพื่อให้มนุษย์ได้ดำรงชีพอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและ
คณุ คา่ ของความเป็นมนุษย์ไม่ใช่การศกึ ษาท่ลี ดทอนความเปน็ มนษุ ย์
แนวทางการจัดการศึกษา ขจัดความยากจนและลดความเหล่อื มล้ำ
1. การจัดการศึกษาบนหลักแห่งการกระทำที่ทัดเทียมกัน (Equalization System) หรือ
เสมอภาคกัน เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคน หรือพื้นที่ที่ยังอ่อนแอ หรือล้าหลังให้ตั้งตัว ตั้งไข่เพื่อคงอยู่และ
แข่งขันได้ หรือพัฒนาขึ้นมาให้ทัดเทียมกับกลุ่มคนหรือพื้นที่อื่นๆ ได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการลดความ
เหลื่อมลำ้ โดยนัยนี้ รวมถึงความเจริญก้าวหน้าหรือความเจริญของเมืองให้ใกล้เคียงกนั โดยมิให้เมือง
ต่าง ๆ เกิดความเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นขนาดของเมือง ทั้งในแง่การพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐาน ถนนหนทาง การคมนาคม ไฟฟ้า ประชากร ความเป็นอยู่ รายได้ และการพัฒนาเศรษฐกิจ
สงั คม เปน็ ตน้ การพฒั นาเมืองในแนวทางน้จี ะเอื้อต่อการจัดการศึกษาในระดบั ภูมิภาคหรือท้องถิ่นให้
มีระดับทัดเทยี มแต่ละเมือง ไม่เกิดชอ่ งว่างทางการศึกษาและเศรษฐกิจ
2. การศึกษาฟรี มีคุณภาพถ้วนหน้าสำหรับเด็กทุกคน คือ การสร้างกลไกเพื่อเอื้ออำนว ย
ความสะดวกในการเข้าถึงการศกึ ษาทมี่ ีคณุ ภาพสำหรบั เดก็ ทุกคน ไมว่ า่ จะเปน็ เดก็ ปกติ เด็กพกิ าร เด็ก
พิเศษ รัฐต้องทุ่มเทจริงจงั ใหเ้ ด็กทุกคนได้รับความสะดวกและให้ความพร้อมที่จะอย่ใู นระบบการศึกษา
ให้นานทส่ี ุด เพอ่ื เสรมิ สรา้ งสมรรถนะ ความสามารถ และวฒุ ิภาวะทจี่ ะพึ่งพาตนเองและรบั ผิดชอบต่อ
สังคมได้ เด็กทุกคนต้องได้เรียนฟรใี นทุกโอกาส และสถานที่ทีเ่ ด็กอยูเ่ ป็นการเรียนฟรีที่มีคุณภาพตาม
16
รฐั ธรรมนูญท่รี บั รองไว้ แต่ในความเปน็ จริง เดก็ หลุดจากระบบการศึกษาจำนวนมาก เพราะการศึกษา
ไม่ฟรีจริง ซ้ำยังขาดคุณภาพ ซึ่งผู้ยากจน ด้อยโอกาส ขาดความพร้อม เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน การ
เดินทาง และอาหาร เป็นต้น
3. การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) เป็นเครื่องมือในการปฏิรูปคนให้มีความ
เป็นพลเมือง ที่มีค่านิยมเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค และความยุติธรรม ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิ
มนุษยชนและประชาธปิ ไตย การศึกษาเพอื่ สร้างพลเมืองน้จี ะช่วยทำใหผ้ เู้ รียนมีความรู้ มที กั ษะ และมี
ความรับผิดชอบที่พร้อมพอสำหรับการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทุกมิติของสงั คม
ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง อย่างรู้เท่าทันต่อระบบการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการ
ยกระดับคุณภาพคนให้มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม มีความรู้และเข้าใจในสังคมของตน และความเป็นไป
ของโลก เพอ่ื การปรับตวั ต่อการเปลีย่ นแปลงที่อาจเกดิ ขนึ้ ในอนาคต การศกึ ษาเพื่อสร้างพลเมืองจึงยึด
โยงอยู่กับผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลักก่อนส่วนตน การศึกษาในแนวนี้จะทำให้คนมีสำนึกใน
ความเป็นเจ้าของท้องถิ่นตนและประเทศชาติที่พร้อมจะปกป้อง และเนื่องด้วยการศึกษานี้เน้นการ
ปลดปล่อยจากการครอบงำและชี้นำ ทั้งจากอำนาจรัฐและกระแสสังคม ก็จะช่วยเป็นช่องทางให้
ผู้เรยี นได้แสวงหาความคดิ การคน้ คว้า การประดษิ ฐ์คิดคน้ เพื่อใหเ้ กิดปัญญาในการพึ่งตนเอง จึงเป็น
การส่งเสริมเสรีภาพที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ซึ่งจะทำให้สร้างประโยชน์ในระดบั ชมุ ชน
ท้องถิ่น จนถึงระดับชาติได้ เพราะคนเหล่านี้จะสามารถรังสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งทาง
เศรษฐกิจ สงั คม และการเมืองได้อย่างต่อเนือ่ ง ทำใหล้ ดความยากจนและความเหล่ือมล้ำลงไปได้มาก
จากความสามารถของพลเมอื งเอง
4. การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ใน
ระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่นเป็นสำคัญ การจัดการศึกษาจึงต้องการการออกแบบที่สนองตอบต่อความ
ต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ คือ การศึกษาเพื่อท้องถิ่นสำหรับแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกัน เพื่อ
ตระหนักในศักดิ์ศรี คุณค่า และอัตลักษณ์ของความเป็นมนุษย์ในทุกพื้นที่ที่จะทำให้คนในทุก ๆ ที่ได้
บรรลุถึงศักยภาพ และความสามารถที่จะปกครองตนเอง และจัดการตนเองได้ การศึกษาจึงควร
เป็นไปตามสภาพภูมิประเทศและทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้คนในชุมชนท้องถิ่นได้มีสถานที่เรียนท่ี
เพียงพอ และได้เรียนตามภูมิสังคมของตนเอง และยึดโยงกับชุมชนของตน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการ
พัฒนาความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นต่อไปได้ การศึกษาเช่นนี้จึงรักษาภูมิปัญญา อัตลักษณ์ และความ
แข็งแกรง่ ของพื้นท่ชี มุ ชนทว่ั ประเทศไวไ้ ด้ โดยทค่ี นในทอ้ งถิน่ ต่าง ๆ ไมต่ ้องอพยพไปเรียนในเมืองใหญ่
ที่ห่างไกล และยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรส่วนตนมากขึ้น และทำให้เสี่ยงต่อการเข้าไม่ถึง
การศึกษา หรือ ไม่สามารถที่จะอยู่ในการศึกษาอย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งจะยิ่งตอกย้ำความยากจนและ
ความเหลื่อมล้ำมากขึ้น การศึกษาเพื่อท้องถิ่น ยังเป็นการรักษาความเป็นมาของท้องถิ่นที่มีที่มาทาง
ประวัตศิ าสตร์ วฒั นธรรม อตั ลักษณ์ และภมู ศิ าสตรท์ มี่ ่ันคง มีทนุ ทางสังคมทม่ี คี วามต่อเนื่อง คอื มีการ
17
พัฒนาและปรบั ตัวในท้องถิน่ (Localization) ไม่ถูกกลืนสลายหายไปกับโลกสมยั ใหม่ทีเ่ รยี กวา่ โลกาภิ
วตั น์ (Globalization)
5. การปฏริ ปู ครู คอื การปฏิรปู การศกึ ษาในการผลิตสร้างครูทั้งระบบ เนือ่ งจากครูคือต้นทาง
และตัวแบบ (Role Model) ของเด็กๆ และเยาวชนในระบบการศึกษา ที่รัฐมอบบทบาทให้ทำการ
กลอ่ มเกลาเยาวชนของชาติ ผา่ นกระทรวงศึกษาธิการดว้ ยงบประมาณท่สี งู และบคุ ลากรจำนวนมากท่ี
ทำหน้าที่สนับสนุน กำกับ และควบคุมทิศทางการศึกษาที่ส่งลงไปที่ตัวเด็กในสถานศึกษาทั่วประเทศ
ซึง่ จะส่งผลตอ่ ความคิดและพฤติกรรมของเด็กว่ามคี ุณภาพมากน้อยเพียงใด เพราะเด็กและคนไทย คือ
ผลผลิตทางการศึกษาทีร่ ัฐจัดทำ ดว้ ยเหตผุ ลนี้ จำเป็นทจ่ี ะต้องปฏิรปู ที่ตวั หลักสูตร การเรียนการสอน
ของครู เพื่อสร้างครูที่มีคุณภาพ เพื่อไปสร้างเด็กที่มีคุณภาพ สร้างการศึกษาที่มีคุณภาพให้เยาวชน
สามารถที่จะมีความคิดริเริ่ม กล้าสร้างสรรค์ มีความรับผดิ ชอบ และปรับตัวแกป้ ญั หาร่วมกับสังคมได้
ไมใ่ ชก่ ารศกึ ษาในแบบเดิมท่ีต้องจำตามครูบอก คอื สอนใหจ้ ำแล้วนำไปสอบ แต่เปล่ยี นไปทางคุณภาพ
คือ สอนให้ทำ นำให้คิด รู้จักดัดแปลงจึงจะปลดปล่อยทั้งครูและเด็กไทยให้หลุดจากการจองจำของ
ระบบการศึกษาที่ผ่านมาและเป็นอยู่ ซึ่งเป็นระบบเผด็จการและอำนาจนิยมที่แฝงฝังอยู่ในการศึกษา
ไทย การปฏิรูปครูจึงเป็นการปลดปล่อย (decolonize) อาณานิคมทางจิตวิญญาณของครูที่เคยเกิด
ขึ้นกับระบบความคิดเดมิ แต่ระบบการศกึ ษาต้องการความเป็นอิสระ และเป็นที่ฝึกฝนการใชเ้ สรีภาพ
ในการแสดงออก การใชค้ วามคดิ อยา่ งมีวจิ ารณญาณ มเี หตุผล จนเป็นวัฒนธรรมของสงั คม
6. การพัฒนาการเรียนการสอนเสริมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ของผู้เรียน
นอกจากการสอนในแบบปกติ (Offline) ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบการสอนผ่าน TV ทางไกล การ
สอนผ่าน Online อันเนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ห่างไกล ครูขาดแคลน หรือเนื่องจาก
สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ตา่ ง ๆ เหลา่ น้ี ไมเ่ ป็นขอ้ ปิดก้ันโอกาส และสทิ ธขิ องเด็กที่จะได้รับ
การศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเสมอภาคกัน โดยเฉพาะเมื่อจำนวนเด็กลดลง ทั้งจากโดยการเกิด และ
การย้ายถิ่นของพ่อแม่ รัฐก็มีหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาให้ถึงเด็กทุกคนถ้วน
หน้า แม้ในพื้นที่ห่างไกล โดยไม่จำเป็นต้องยุบโรงเรียนในชุมชนหมู่บ้าน (แต่ตอนนี้ยุบไปแล้วบาง
โรงเรียน) เพราะโรงเรียนเป็นสัญลักษณ์ของการศึกษาที่ทำให้คนเจริญงอกงาม (Education is
Growth) การยุบโรงเรียนคอื การลดทอนความสำคัญการศึกษาของท้องถ่ิน รวมทั้งคุณค่าและศักดิศ์ รี
ความเปน็ มนุษย์ทอี่ ยใู่ นท้องถ่นิ นั้น ๆ ด้วย
การสร้างการศึกษาในแนวทางที่จะลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาท่ี มี
คุณภาพ สร้างคนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถที่จะพึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ และร่วม
รับผิดชอบกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมืองอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องลงทุนไม่เพียงด้วย
งบประมาณ หากแตต่ ้องลงแรงด้วยเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) ร่วมดว้ ยเป็นสำคัญ เราจึง
จะเหน็ การพงึ่ ตนเองและเป็นอิสระได้ท้งั ทางเศรษฐกิจและการเมือง
18
3. องค์ความรูท้ ไี่ ด้จากการศกึ ษา
กรณีศึกษาเกร็ดความรู้ในบทความของ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า “การที่รัฐบาลใดๆ ก็
ตาม มอมเมาประชาชนด้วยนโยบายประชานิยมสารพัดชนิด แล้วอ้างว่านโยบายนี้ต้องการช่วยเหลอื
ประชาชนใหส้ ามารถลืมตาอ้าปากและดำรงชีวติ อยู่ตอ่ ไปได้ คนทีร่ ู้ทนั แผนชัว่ รา้ ยของรฐั บาลเช่นน้ีต่าง
ลงความเห็นตรงกันว่า นั่นคือคำแก้ตัวที่ไม่มีมูลความจริงแม้แต่น้อย แล้วก็ไม่เคยมีประเทศใดที่
เจรญิ รงุ่ เรอื งขน้ึ มาได้ดว้ ยนโยบายประชานยิ ม”
สว่ นหน่ึงจากบทบรรณาธกิ าร นสพ.แนวหน้า เมือ่ วนั ท่ี 23 พ.ย. 2561 ในหัวขอ้ ที่ว่า “เสพติด
ประชานิยม ความล่มจมจะตามมา” เป็นที่มาของชื่อเรื่องของคอลัมน์นี้ในวันนี้ที่ว่า “นักการเมืองให้
ปลา พระราชาใหเ้ บ็ด” ใครกต็ ามทีเ่ ข้ามามอี ำนาจหน้าที่ในการบรหิ ารบา้ นเมือง จะเป็นนกั การเมืองท่ี
เขา้ มาตามระบบเลือกตั้งหรือเข้ามาในระบบดว้ ยการปฏวิ ัติรัฐประหาร ถ้าใช้วธิ ีการบริหารแกไ้ ขปัญหา
ความเป็นอยู่ของผู้คนท่ีไม่มีอะไรจะกนิ ดว้ ยการให้โนน่ ให้น่ี ไม่มีเงนิ ทองใช้กเ็ อาเงินไปแจก (ส่วนใหญ่
หรือแทบทั้งหมดเป็นเงินหลวง) และไม่เคยที่จะแกไ้ ขปัญหาดังกล่าวที่ต้นเหตุ ซึ่งจะทำใหเ้ ขายืนอยูไ่ ด้
ทำมาหากินได้ดว้ ยตนเอง วธิ กี ารแบบนี้เปน็ วธิ กี ารทีเ่ รียกว่า “ใหป้ ลา”
ปลาหมดเมื่อไรก็ไม่มีอะไรจะกิน ทำมาหากินก็ไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของตนเอง
แม้กระทงั่ ทท่ี ำกินก็ไม่มี ตรงข้ามกบั “ศาสตร์พระราชา” ท่ี “ให้เบ็ด” ชาวบา้ นได้เบ็ดกจ็ ะใชเ้ บด็ นัน้ ไป
หาปลากินได้ทุกเมื่อ บ้านเมืองขณะนี้กำลังเป็นบ้านเมืองที่มีผู้บริหารใช้อำนาจในการบริหารแบบ
“นโยบายประชานิยม” ที่เคยปรากฏให้เห็นมาแล้วในสมัยของเจ้านักโทษหนีคุกคนนั้น ที่สร้างความ
นิยมให้กับตนเองและพรรคพวกด้วย “นโยบายประชานิยม” จนประเทศชาติเจ๊งกะบ๊งให้เห็นมาแล้ว
หมาดๆ ไม่ร้จู ักจดจกั จำ
ทุกวันนเ้ี ปน็ อย่างไรในเร่ืองนี้กเ็ ห็นกันอยู่ เขา้ ไปในวงการไหนมีแตเ่ สียงด่าเสียงว่าในเรื่องการ
บริหารบ้านเมืองที่ไม่เข้าท่าเข้าทาง ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศยังตกอยู่ในสภาพความเป็นอยู่ที่
ยากลำบากในการทำมาหากิน จะทำอะไรก็ถูกจำกัดอิริยาบถที่เคยปฏิบัติ หรือรับฟังแต่เรื่องที่ขัดต่อ
ความรูส้ กึ ของตน
ต้องจำเจอยู่กับวาทะต่างๆ ของผู้มีอำนาจ แม้กระทั่งกิริยาท่าทางและคำพูดที่เหมือนคนเมา
ในอำนาจ มีกิริยาแทงตา วาจาแยงหู มีนิสัยแสลงใจ เป็นเหตุแห่งความเสื่อมศรัทธาของผู้คนใน
บ้านเมือง และส่งผลกระทบไปถึงความวิกฤติเสื่อมโทรมของบ้านเมืองในมิติต่างๆ ตามมาแทบครบ
วงจร ทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านความสงบสุขที่ไม่มีความแตกแยก
ของผคู้ นในชาติ ตลอดจนความอยเู่ ย็นเปน็ สุขในชีวิตของผ้คู นส่วนใหญ่ในประเทศขณะน้ี
19
สังคมเป็นผลผลิตจากการบริหารจัดการทางการเมืองการปกครองของผู้มีอำนาจหน้าที่
รับผิดชอบ และในความเป็นจริงทีก่ ำลงั เปน็ อยูใ่ นขณะน้ี สงั คมไดถ้ ูกกดั กร่อนให้เปราะบางหลายอย่าง
ซึ่งกำลังนำไปสู่ความเปราะบางและความอ่อนแอของประเทศ อนาคตข้างหน้าของประเทศจะอยู่ใน
ภาวะอันตราย ความอยดู่ กี นิ ดขี องประชาชนส่วนใหญค่ งไปไม่ถงึ เพราะประชาชนถกู กล่อมให้พึงพอใจ
อยู่กับเงินทองที่มาจากภาษีของประชาชนเอง โยนเข้าไปตามหมู่บ้านต่างๆในรูปแบบหรือชื่อเรียก
อยา่ งโน้นอยา่ งนี้ ไมผ่ ดิ อะไรกบั การใช้นโยบายประชานิยมสมัยหนึง่ ท่ีผ่านมา
บางครั้งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก็เป็นเรื่องดีในการนำเงินไปช่วยชาวบ้านในระยะเฉพาะ
หน้าที่มีปัญหา แต่ในระยะยาวแล้วต้องรู้จักคิดให้เป็นด้วย คือต้องคิดถึงการสร้างความมั่นคงแบบ
ยั่งยืนในวถิ ีชวี ิตของคนเหล่านดี้ ้วย วา่ จะสามารถยืนต่อไปได้ดว้ ยตนเอง
โดยเฉพาะในเร่ือง “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” ตามทพ่ี ระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัวรัชกาลท่ี 9
พระราชทานไว้ ซึ่งสมควรนำมาใช้ในการแก้ปัญหาระยะยาว อันจะช่วยสร้างความเป็นตัวของตัวเอง
บนพืน้ ฐานของความสามารถพึง่ พาตนเองไดใ้ นวนั ข้างหน้า
นอกจากเรื่องต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแลว้ ภาพสะท้อนของสังคมไทยขณะนี้ยังปรากฏออกมาให้
เห็นในเรื่องความตกต่ำเสื่อมโทรมทางคุณธรรม ศีลธรรม ในระดับต่างๆ แม้กระทั่งในวงการของผู้มี
อำนาจหน้าที่ในการบริหารปกครองประเทศแทบทุกระดับในขณะนี้ ที่ดูจะมีปัญหาและบกพร่องใน
เรื่องดังกล่าวมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทุจริตคดโกง ฉ้อราษฎร์บังหลวงที่แตะลงไปที่
วงการไหนก็พบแทบทุกวงการในขณะน้ี เสยี งของคนหวังดีต่อบ้านเมืองจึงค่อย ๆ ดังขนึ้ เรื่อยๆในเร่ือง
ต่างๆดังกล่าวนี้ ทั้งการผ่านสื่อประเภทต่างๆ หรือจากการพบปะ นัดหมายประชุมกันในที่ต่างๆ เพ่ือ
แสดงออกถึงความร้สู กึ ห่วงใย ความรู้สึกไมพ่ อใจต่อคนมีอำนาจหนา้ ที่ที่รับผดิ ชอบในขณะนี้ (ประสงค์
สุ่นศิริ. (2561). นักการเมืองให้ปลา พระราชาให้เบ็ด. [ออนไลน์]) น่าคิดต่อว่าหลักธรรมสำหรับ
ผู้นำที่จะมาบริหารประเทศต่อไปจึงสำคัญอย่างมาก เพื่อควบคุมกิเลสไม่ได้เกิดความโลภเมื่อ
ผลประโยชน์มหาศาลมาอยู่ตรงหน้า มุ่งเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก โดยไม่สนใจใน
ผลประโยชน์ส่วนตน การพัฒนาที่สำคัญคือต้องพัฒนาคนให้มีการศึกษาเสียก่อนจากนั้นค่อยพัฒนา
อยา่ งอืน่ ต่อไป
4. บทสรปุ
พระสูตรนี้ สรุปได้ว่า สาระสำคัญของการปฏิบัติที่ถูกต้องดีงามหลายอย่าง ทั้งทางโลกและ
ทางธรรม เชน่
1. การกำจัดเสี้ยนหนามของบ้านเมือง ต้องกำจัดที่ต้นเหตุ เช่น จัดเศรษฐกิจให้ดี ให้ทุกคนมี
งานทำ และใหค้ นมศี ลี ธรรมประจำใจ เป็นการกำจัดโจรผู้ร้ายในสงั คม
20
2. ผู้ใหญ่จะทำอะไร ควรปรึกษาหารือขอคำยินยอมจากผู้น้อยด้วย เพื่อเขาจะได้ร่วมมือด้วย
ความเตม็ ใจ
3. ผเู้ ปน็ ใหญ่ควรมคี ุณสมบตั ิของผใู้ หญ่ มีคุณลักษณะท่ีดเี ป็นที่ยกย่องยอมรบั ของผนู้ ้อย
4. ท่ปี รกึ ษาใกล้ชดิ ของผใู้ หญ่ ควรเป็นคนมศี ลี ธรรมและมีปัญญา มีบคุ ลกิ ลกั ษณะนา่ นิยมนบั ถือ
5. การบำเพ็ญคุณงามความดีน้ัน แม้มีทรัพย์น้อยแตก่ ็อาจทำได้มาก ถ้าตั้งใจให้ดแี ละทำเป็น
ไม่ต้องมีทรัพย์เลยก็สามารถบำเพ็ญคุณงามความดีได้สูงกว่าผู้มีทรัพย์เสียอีก ผู้ขัดสนจนทรัพย์จึงไม่
ควรท้อถอยและสนิ้ กำลังในการทำคณุ งามความดี
เนื้อหาท่จี ะสอน
1. หลกั เศรษฐศาสตรเ์ ชิงพุทธในกูฏทนั ตสูตรกับการนำมาใชใ้ นยคุ ปจั จุบัน
คำถามทา้ ยบท
1. หลักเศรษฐศาสตรเ์ ชิงพุทธในกฏู ทนั ตสตู รกับการนำมาใชใ้ นยคุ ปัจจุบนั
เอกสารอ้างองิ บทท่ี 4
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2565). การลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา. [ออนไลน์].
สบื ค้นเมื่อวนั ที่ 13 ธันวาคม 2565 แหล่งทม่ี าจาก
https://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1606779289.news.
แสง จันทรง์ ามและคณะ. (2553). พระไตรปฎิ กสำหรับผู้บวชใหมแ่ ละชาวพุทธทวั่ ไป. กรงเทพฯ : เจริญวิทย์
การพมิ พ์.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลยั .
ครูพิเชษฐ์ ใจปวน โรงเรียนวชิรป่าซาง. (มปป). สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี
1-12. [ออนไลน]์ .สบื คน้ เมอื่ วันที่ 13 ธันวาคม 2565 แหล่งทม่ี าจาก
SOCIAL STUDIES By KruPichet Jaipuan
https://sites.google.com/site/socialstudiesbykrupichet/srup-phaen-phathna-
sersthkic-laea-sangkhm-haeng-chati-chbab-thi-1-12
ประสงค์ สุ่นศิริ. (2561). นักการเมืองให้ปลา พระราชาให้เบ็ด. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 13
ธนั วาคม 2565 แหลง่ ที่มาจาก https://www.naewna.com/politic/columnist/38120