The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิชาการ2566 (สัญชัย ทิพย์โอสถ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sunchait65, 2022-12-13 10:56:43

บทความวิชาการ2566 (สัญชัย ทิพย์โอสถ)

บทความวิชาการ2566 (สัญชัย ทิพย์โอสถ

หลักอริยสัจส่ีกบั การนำไปใช้ในแก้ปญั หาชวี ติ
The Fourth noble truth to solve problems in life

พระครวู นิ ัยธร สญั ชยั ทิพย์โอสถ,1
ดร.สมิตไธร อภวิ ฒั นอมรกลุ 2
ดร.มนตรี วชิ ยั วงษ3์

บทคัดย่อ
หลักอริยสัจสี่กับการนำไปใช้ในแก้ปัญหาชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ทุกข์ คือ ความไม่

สบายกายและใจ สมุทัย เหตุเกิดของทุกข์มาจากความอยาก นิโรธ ความดับทุกข์ มรรค ทางที่จะ
นำไปสู่ความดับทุกข์น่ันคือมรรค 8 การดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญา ซึ่งจะ
นำพาใหพ้ น้ จากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่สนั ติสุข การมองโลกในแง่ตามความ
เป็นจริงด้วยปัญญาทำให้เราคิดเป็นเมื่อคิดเป็นเราก็เป็นสขุ ไม่มีที่ทำให้เศร้าเพราะมันเป็นเช่นน้ันเอง
ไม่มีอะไรให้ล้มละลายและขาดทุนในอารมณ์ เพราะทุกอย่างมีเหตุปัจจัยของมัน โดยหลักของสมมติ
สัจจะ ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจยั และไปสู่ปรมัตถสัจจะ ทุกอย่างไม่วา่ จะได้ จะเสีย จะดี จะมี จะ
เป็น ก็เกิดข้ึน ต้ังอยู่ และดบั ไป ไม่มีอะไรคงทถี่ าวรตลอดกาลตลอดสมัย มองอยา่ งน้ีจะทำให้เข้าใจถึง
สรรพสง่ิ ในการดำรงชวี ติ ไมต่ กเป็นทาสของความได้ ความมี ความเสีย ความเป็น เพราะเป็นตถตา

คำสำคญั ; หลักอริยสจั ส,่ี การนำไปใช้ในแกป้ ญั หาชีวิต
Abstract

The fourth noble truth to solve problem life have to objective the suffering in
the concept of Buddhism to study Dukkha: suffering; unsatisfactoriness, Dukkha-
samudaya: the cause of suffering, Dukkha-nirodha: the cessation of suffering, Dukkha-
nirodhagàminã pañipadà: the path leading to the cessation of suffering, try to
concentrate with precept, meditations, and wisdom lead to peaceful. knowing and
seeing things as they are, with wisdom. It is to understand the situation, everything has

a causal condition, that is the conventional truth, t h e absolute truth, to loss and
gain, has arisen depend and annihilations, impermanent. This view is to

1 อาจารย์ประจำหลักสตู รศลิ ปศาสตรบณั ฑติ สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพอ่ื การพฒั นา มมร วิทยาเขตล้านนา
2 อาจารยป์ ระจำหลักสูตรศลิ ปศาสตรบณั ฑติ สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพฒั นา มมร วิทยาเขตล้านนา
3 อาจารย์ประจำมหาวทิ ยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลยั วิทยาเขตล้านนา

2

understand what to use in our lives, and uncontrol the being losing to have
to be something because of objectivity.

Keywords; The Fourth noble truth, to solve problems in life
1. บทนำ

วงจรชีวิตมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ชีวิตเป็นสิ่งไม่ซับซ้อนก็ใช่ ไม่ซับซ้อนก็ใช่ มุมมอง
ของชีวิตในทางพระพุทธศาสนามองว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่เปราะบาง แตกสลายได้ง่าย เกิดมาต้องดิ้นรน
ต่อสู้เพื่อให้อยู่รอด ท่ามกลางการแข่งขันกัน ความเจริญของโลกรุ่งเรืองขึ้นด้วยวัตถุเพียงใด สุขและ
ทุกขข์ องมนุษย์เจรญิ ตามข้นึ เพยี งน้ัน แต่สุขของโลกนน้ั ย่อมมีทุกขเ์ จือปนอยู่ดว้ ยทุกกรณี ถึงแม้ว่าเรา
มีความยินดใี นการเกดิ เราก็มีความทกุ ขใ์ นการตาย ความเกดิ ขึ้นมาพร้อมกับความตาย (หลวงปริญญา
โยควิบลู ย์, 2509)

ดงั พทุ ธศาสนสุภาษติ ทีว่ ่า “เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จติ ตฺ ํ ราชรถปู มํ ยตฺถ พาลา วสิ ที นฺติ นตฺถิ สงโฺ ค
วิชานตํ” "สทู ัง้ หลาย จงมาดโู ลกน้ี อันตระการ ดจุ ราชรถ ท่พี วกคนเขลาหมกอยู่ แตพ่ วกผู้รู้หาข้องอยู่
ไม่" คำว่า โลกมีทั้งโดยตรง ได้แก่ แผ่นดินเป็นที่อยูอ่ าศัย โลกโดยอ้อม ได้แก่ สัตว์ผู้อาศัย และโลกมี
ลักษณะ 3 ประการ คือ 1) สิ่งที่ให้โทษโดยสว่ นเดียว เปรียบด้วยยาพิษ 2) เป็นสิ่งที่ให้โทษในเมื่อเกิน
พอดี เปรียบด้วยของมึนเมา 3) สงิ่ ที่เป็นอุปการะ เปรียบด้วยอาหารและเภสชั ถ้าใชใ้ นทางผดิ อาจเป็น
โทษได้ ผู้หมกอยู่ในโลก คือ คนผู้ไร้พิจารณา ไม่หยั่งเห็นโลกโดยถ่องแท้ อาการที่หมกอยู่ในโลก
เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ ระเริงจนเกินพอดี ในสิ่งอันอาจให้โทษ ติดในสิ่งที่เป็นอุปการะ โทษของ
การหมกอยใู่ นโลกจนเกินไป ย่อมไดท้ ุกขบ์ ้าง สขุ บา้ ง แมส้ ขุ กส็ ุขเพียงสามสิ สุข มีเหย่อื เจอด้วยของล่อ
ใจเป็นเหตใุ ห้ติดอยู่ ดุจเหยอื่ คือ เน้อื ทเ่ี บ็ดเก่ียวไว้ เปน็ ผูจ้ ะพงึ ถกู จงู ไปได้ด้วยตามปรารถนา ผู้ไม่ข้อง
อยู่ในโลก บัณฑิตพิจารณาเห็นความเป็นจริงแห่งสิ่งนั้น ๆ ว่าอย่างอย่างไร ไม่ข้อง ไม่พัวพันในสิ่งอัน
ล่อใจใหใ้ คร ๆ ไมอ่ าจย่ัวใหต้ ดิ ด้วยประการใดประการหนึ่ง ย่อมเปน็ อสิ ระแก่ตน

ด้วยที่ว่าโลกนี้วิจิตรตระการตาเปรียบด้วยราชรถโบราณที่ประดับด้วยเครื่องอลั งการอย่าง
สวยสดงดงาม มิใช่เพื่อให้หลงชม ดุจดูละคร เห็นแก่สนุก แต่เพื่อให้หยั่งเหน็ ลงในถึงคุณและโทษแหง่
สิ่งนั้น จะได้ไม่ตื่นเต้นไม่ติดในสิ่งนั้น (กองพุทธศาสนศึกษา, 2555, น.34-35) โลกได้พัฒนานวัตตก
รรมเพื่ออำนวยความสะดวก เทคโนโลยีก็สามารถกลับมาทำลายเราได้ในเวลาอันรวดเร็วโลกได้
เพลิดเพลินไปกับวัตถุจนคิดทำนวัตกรรมหุ่นยนต์ใช้แทนมนุษย์ได้แต่มนุษย์พากันลืมเรื่องน้ำใจและ
กำลงั ใจท่ีมใี ห้กันผลท่เี กิดข้ึนก็คือความไมม่ ีสขุ เพราะว่าไปหลงไหลในวตั ถนุ ยิ มจนเกนิ ไป เพราะว่าโลก
น้ีเตม็ ไปด้วยกันแก่งแย่งแขง่ ขัน รบราฆา่ ฟนั กันไปทกุ บา้ นทุกเมือง

3

ดงั นั้น จึงทำใหผ้ มมผี ู้มีสติปญั ญาคิดวา่ ทางนี้เป็นทางตัน เพราะเราลืมศีลธรรมของมนุษย์หรือ
ว่าศาสนาไปหรือเปล่าเมื่อกลับมาคิดด้วยเหตุผลก็พบแต่ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่งที่จะนำ
ความสุขกลบั มาใหม้ นษุ ยโ์ ลกได้การศึกษาพระพุทธศาสนาช่วยนำมาชว่ ยโลกให้เป็นสุขจะเห็นได้ว่าแต่
กอ่ นไมเ่ คยมีชาวตะวันตกทสี่ นใจในพุทธศาสนาปัจจุบันมีคนตะวันตกสนใจพระพุทธศาสนามากข้ึนสิ่ง
ที่สำคัญก็คือบทความหรือว่าหนังสือที่ช่วยอธิบายความรู้ความเข้าใจในการศึกษาพระพุทธศาสนา
คำถามที่สำคัญที่คนสว่ นใหญ่จะถาม คือ 1) พระพุทธศาสนานั้นเปน็ ปรัชญาหรือศาสนาอะไร 2) เป็น
จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา 3) พระพุทธเจ้ามีองค์เดียวหรือถือวา่ เป็นพระเจ้า 4) การเวียน
ว่ายตายเกดิ 5) พระพุทธศาสนาผิดกับศาสนาอืน่ อย่างไร เป็นปัญหาท่ีคนต้องการถาม คำตอบคือเพื่อ
ร้เู ทา่ น้นั

แต่คำถามที่ต้องการคำตอบมากที่สุดคือ คำสอนใดบ้างจะทำให้ชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร จะช่วย
แก้ปัญหาชีวิตได้อย่างไร ปัญหาอันดับแรกของมนุษย์คือ ความหิว มนุษย์แย่งชิงกันเพราะความหิว
เบียดเบียนกันก็เพราะความหิว รังแกผู้ที่อ่อนแอกว่าตนเอง ตามทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วินที่ว่า กลไก
การเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตท่ีเขาคิดวา่ สิ่งมีชีวิตมคี วามหลากหลายตามธรรมชาติ และปัจจัยทาง
ธรรมชาติ เช่น ปริมาณอาหารและน้ำที่จำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตตัวที่เหมาะสมเท่านั้นที่จะมีชีวิตอยู่รอด
(survival of the fittest) และถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นไปสู่ลูกหลาน
แนวคิดของดาร์วินดัง กล่าว เรียกว่า ทฤษฏีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (theory of natural
selection) การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในระบบนิเวศวิทยาของชีวิตบางครั้งจำเป็นเบียดเบียน
ผู้อื่นเพื่อความอยู่รอด เพื่ออยู่ท่ามกลางการแข่งขันให้รอด พระพุทธเจ้าตรัสว่า การเกิดก็เป็นทุกข์
ทุกข์เพราะดิ้นรน ตามความอยากที่เป็นสัญชาตญาณมาตั้งแต่เกิด (Instinct) ตามแนวคิดทางพุทธ
กล่าวได้ว่าเกิดมาพร้อมกับทุกข์ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับปัญหาและแนวทางที่แก้ดว้ ยการนำหลักธรรม
มาแก้ให้ไดแ้ ละอยา่ งไร

ดังนัน้ การศึกษาเรือ่ ง หลักอรยิ สจั สก่ี ับการนำไปใช้ในแกป้ ัญหาชีวิต มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พ่ือศึกษา
หลักอรยิ สัจสี่กับการนำไปใชใ้ นแกป้ ัญหาชีวิต เปน็ แนวทางในการนำไปหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิต
ด้วยการ Learning by doing เรียนแล้วต้องนำไปใช้เมื่อเจอปัญหา จะทำอย่างไร และจะแก้ปัญหา
หาทางออกอยา่ งไร

คำสำคัญ หลักอรยิ สจั สก่ี ับการนำไปใช้ในแก้ปญั หาชวี ติ
2. เนื้อเรื่อง หลักอรยิ สจั ส่ีกับการนำไปใชใ้ นแก้ปัญหาชีวิต

4

เมือ่ เกดิ ขนึ้ มาเปน็ มนุษย์แล้วกต็ ้องยอมรับสภาพของชีวิต องค์ประกอบของชีวิตประกอบด้วย
การเกิดขึ้นมามีชีวิต ปัญหาของการมีชีวิตคือการดำรงชีวิตอย่างไรให้ราบรื่น ในพระพุทธศาสนามี
หลักการที่สืบสาวหาต้นตอของปัญหา ด้วยหลักอริยสัจส่ี ในปัจจุบันสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตคนเราคอื
การศึกษาเพื่อเข้าใจในสรรพสิ่งและไมย่ ึดติดจนเกินไป คาดหวงั สงู ไปกเ็ จ็บปวด ไมค่ าดหวังเลยก็เฉ่ือย
ชา การศึกษาเป็นกระบวนการสำคญั ทจี่ ะพัฒนาคนให้มคี วามคดิ รู้จกั สงิ่ ใดควรไม่ควรกระทำ อรยิ สจั 4
เปน็ หลักธรรมที่ครอบคลุมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ฐานะและความสำคัญของอริยสจั 4 พุทธองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การรู้การเห็นของเราตามเป็นจริง ครบ 3 ปริวัฏ 12 อาการ ในอริยสัจ 4
เหล่านี้ ยังไม่บริสุทธิ์แจ่มชัด ตราบใด ตราบนั้น เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่าเราบรรลอุ นุตรสัมมา-สมั โพธิ
ญาณ...” (ธัมมจักกัปปวตั ตนสูตร, วินย.4/16/21 และ สํ.ม.19/1670/530) “ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่
ตรสั รู้ ไม่เขา้ ใจอริยสจั 4 ทงั้ เรา และเธอ จึงไดว้ ิง่ แลน่ เร่รอ่ นไป (ในชาติทั้งหลาย) ส้ินกาลนานอย่างน้ี”
(ท.ี ม.10/86/107) “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ที่เที่ยวไปบนผืนแผ่นดินทั้งสิ้นทั้ง
ปวง ย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างนั้น กล่าวได้ว่า เป็นยอดเยี่ยม ในบรรดารอยเท้า
เหล่านั้น โดยความมีขนาดใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งสิ้นทั้งปวง ก็สงเคราะห์ลงในอริยสัจ 4 ฉันนั้น”
(ม.มู.12/340/349) “บุคคลครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) อยู่กับพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อการรู้ การ
เห็น การบรรลุ การทำให้แจ้ง การเข้าถึง สิ่งที่ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่บรรลุ ยังไม่กระทําให้แจ้ง ยังไม่
เข้าถึง (กล่าวคือข้อที่ว่า) นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ( องฺ.นวก.
23/217/399)

ลักษณะคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ การสอนความจริงที่เป็นประโยชน์ ความจริงท่ี
นำมาใชใ้ หเ้ ป็นประโยชน์แกช่ ีวิตได้ ส่วนสิ่งท่ไี มเ่ ปน็ ประโยชน์แม้ความจริงไมส่ อน พระพุทธเจ้าไม่ทรง
สนพระทัย และไมย่ อมเสยี เวลาไปกับการถกเถียงปัญหาทางอภิปรัชญาต่าง ๆ ดงั พทุ ธพจนท์ ี่ว่าดังน้ี

“ถึงบุคคลผู้ใดจะกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงพยากรณ์ (ตอบปัญหา) แก่เราว่า “โลก
เที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีทีส่ ดุ ชีวะอันนั้น สรีระก็อันนัน้ หรือชีวะก็อยา่ งสรรี ะก็
อยา่ ง สตั วห์ ลังจากตายมีอยู่ หรือไมม่ อี ยู่ สตั ว์หลงั จากตาย จะวา่ มีอยู่ก็ใช่ จะวา่ ไมม่ ีอยู่กใ็ ชห่ รอื ว่าสัตว์
หลังจากตาย จะว่ามีอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่” ดังนี้ ตราบใด ข้าพเจ้าก็จะไม่ครองชีวิตประเสริฐ
(พรหมจรรย)์ ในพระผู้มีพระภาค ตราบนั้น ตถาคตก็จะไม่พยากรณ์ความข้อนั้นเลยและบุคคลน้ันก็คง
ตายไปเสีย (ก่อน) เปน็ แน่

“เปรยี บเหมอื นบุรษุ ถกู ยงิ ดว้ ยลูกศรอาบยาพิษท่ีอาบยาไว้อยา่ งหนา มิตรสหาย ญาตสิ าโลหิต
ของเขา ไปหาศัลยแพทย์ผู้ชํานาญมาผ่า บุรุษผู้ต้องศรนัน้ พงึ กล่าวว่า ‘ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักคน

5

ที่ยิงข้าพเจ้า ว่าเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือเป็นศูทร มีชื่อว่าอย่างนี้มีโคตรว่าอย่างนี้
ร่างสูง เตี้ย หรือปานกลาง ดำ ขาว หรือคล้ำ อยู่บ้าน นิคม หรือนครโน้นข้าพเจ้าจะยังไม่ยอมให้เอา
ลกู ศรนีอ้ อก ตราบนนั้ ; ตราบใด ข้าพเจา้ ยังไม่รู้ว่า ธนทู ่ีใช้ยงิ ขา้ พเจ้านั้น เป็นชนิดมีแล่ง หรือชนิดเป็น
เกาทัณฑ์ สายที่ใช้ยิงนั้น ทำด้วยปอ ด้วยผิวไม้ไผ่ ด้วยเอ็นด้วยป่าน หรือด้วยเยื่อไม้ ลูกธนูที่ใช้ยิงน้นั
ทำด้วยไม้เกดิ เอง หรอื ไม้ปลูก หางเกาทณั ฑ์ เขาเสยี บด้วยขนปีกแร้ง หรือนกตะกรมุ หรอื เหยยี่ ว หรือ
นกยูง หรอื นกสถิ ลิ หนุ เกาทัณฑ์นั้น เขาพันดว้ ยเอน็ ววั เอน็ ควาย เอ็นค่าง หรือเอ็นลงิ ลกู ธนูทีใ่ ช้ยิงเรา
นั้น เป็นชนิดไร ข้าพเจ้าจะไม่ยอมใหเ้ อาลูกศรออก ตราบน้ัน’ “บุรษุ นั้น ยงั ไม่ทนั ไดร้ คู้ วามทีว่ ่าน้ันเลย
กจ็ ะต้องตายไปเสยี โดยแนแ่ ท้ ฉนั ใด...บคุ คลนน้ั กฉ็ ันนั้น”

“แน่ะมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฎฐิว่า โลกเที่ยง แล้วจะมีการครองชีวิตประเสรฐิ (ขึ้นมา) ก็หาไม่
เมอื่ มีทิฏฐิวา่ โลกไม่เท่ยี ง แล้วจะมีการครองชวี ติ ประเสริฐ (ข้ึนมา) ก็หาไม่ เม่ือมีทฏิ ฐิวา่ โลกเที่ยง หรือ
ว่าโลกไม่เที่ยง ก็ตาม ชาติก็ยังคงมอี ยู่ ชราก็ยังคงมีอยู่ มรณะก็ยังคงมีอยู่ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อปุ ายาส กย็ ังคงมอี ยู่ ซ่ึง (ความทกุ ข์เหลา่ นีแ้ หละ) เป็นส่ิงท่ีเราบญั ญัติใหก้ ําจดั เสยี ในปจั จุบันทีเดียว”

“ฉะนั้น เธอทั้งหลาย จงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ ว่าเป็นปัญหาที่ไม่พยากรณ์ และจงจำ
ปัญหาที่เราพยากรณ์ ว่าเป็นปัญหาที่พยากรณ์เถิด อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ (คือ) ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง
โลกไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะเหตุไรเราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่เปน็ หลกั
เบื้องต้นแห่งชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ (คือ) ข้อว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ น้ี
ทกุ ขนโิ รธคามินปี ฏิปทา เพราะเหตุไรเราจึงพยากรณ์ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เป็นหลักเบื้องต้น
แห่งชีวิตประเสริฐ เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรสั รู้ เพื่อนิพพาน” (ม.ม.13/150-152/147-153)

สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มีมากมาย แต่ทรงนำมาสอนเพียงเล็กน้อย เหตุผลที่ทรงทำเช่นน้ัน
ทรงสอนเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ใช้แก้ปัญหาได้ และสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ใช้แก้ปัญหาได้ คือ
อริยสัจ 4 ดังข้อความพุทธพจนท์ ่ีว่า “ สมยั หน่งึ พระพทุ ธเจา้ ประทบั อยู่ ณ ปา่ สีสปาวนั ใกล้พระนคร
โกสัมพี คร้งั นั้น พระพทุ ธเจ้าทรงหยิบใบประด่ลู ายจำนวนเล็กน้อย ถอื ไวด้ ้วยฝา่ พระหัตถ์ แล้วตรัสกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายสำคัญว่าอย่างไร ใบประดู่ลายเล็กน้อย ที่เราถือไว้ด้วย
ฝ่ามือกับใบที่อยู่บนต้นทั้งป่าสีสปาวัน ไหนจะมากกว่ากัน? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย
จำนวนเล็กน้อย ที่พระผู้มีพระภาคทรงถือไว้ด้วยฝ่าพระหัตถ์ มีประมาณน้อย ส่วนที่อยู่บนต้น ใน
สีสปาวนั นั่นแล มากกว่าโดยแท้

6

“ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้ยิ่งแล้ว มิได้บอกแก่เธอทั้งหลาย มีมากมายกว่า;
เพราะเหตุไรเราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งน้ันไมป่ ระกอบด้วยประโยชน์ มิใช่หลกั เบ้ืองต้นแห่งพรหมจรรย์
ไมเ่ ปน็ ไปเพือ่ นิพพทิ า เพื่อวริ าคะ เพ่ือนิโรธ เพ่ือความสงบ เพื่อความรู้ย่ิง เพอื่ นพิ พาน

“ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่เราบอก เราบอกว่า นี้ทุกข์ เราบอกว่า นี้ทุกขสมุทัย เราบอกว่า นี้
ทุกขนโิ รธ เราบอกวา่ นีท้ กุ ขนโิ รธคามนิ ีปฏปิ ทา; เพราะเหตอุ ะไรเราจงึ บอก ก็เพราะขอ้ น้ปี ระกอบด้วย
ประโยชน์ ข้อนี้เป็นหลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ข้อนี้เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพ่ือ
ความสงบ เพอ่ื ความรูย้ ง่ิ เพื่อนพิ พาน ฉะน้นั เราจงึ บอก;

“เพราะฉะนัน้ แล ภิกษทุ ง้ั หลาย เธอพึงกระทำความเพียร เพอื่ รู้ตามเป็นจรงิ ว่า นี้ทุกข์ น้ีทุกข
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”(สํ.ม.19/1712-3/548-9) อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรม
จำเป็น ทั้งสำหรับบรรพชิต และคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าจึงทรงย้ำ ใหภิกษุทั้งหลาย สอนให้ชาวบ้านรู้
เข้าใจอริยสัจ ดังบาลีว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าหนึง่ เหล่าใด ที่พวกเธอพึงอนุเคราะห์ ก็ดี เหล่าชนท่ี
พอจะรับฟังคาํ สอน ก็ดี ไม่ว่าเปน็ มิตร เปน็ ผูร้ ว่ มงาน เปน็ ญาติ เปน็ สาโลหิต ก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน
พึงสอนให้ดำรงอยู่ ให้ประดิษฐานอยู่ ในการตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ 4 ประการ” (สํ.ม.
19/1706/544)

ความหมายของอริยสจั “ภิกษทุ งั้ หลาย อรยิ สจั 4 ประการเหลา่ น้แี ล เป็นของแทอ้ ยา่ งนนั้ ไม่
คลาดเคลื่อนไปได้ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ...“ภิกษุท้ังหลาย ตถาคตเป็นอริยะ
ในโลก พร้อมทัง้ เทวะ ทัง้ มาร ทง้ั พรหม ในหมู่ประชาพร้อมทงั้ สมณะและพราหมณ์ พร้อมท้งั เทวะและ
มนุษย์ ฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสจั (เพราะเป็นสิง่ ท่ีตถาคต ผู้เป็นอริยะ ได้ตรัสรู้ และได้แสดงไว้)” (สํ.ม.
19/1707-8/545 (ความในวงเล็บ เป็นไขความของอรรถกถา – ส.ํ อ.3/411)

“ภิกษุทัง้ หลาย เพราะได้ตรัสรู้อรยิ สจั 4 นต้ี ามเปน็ จริง พระตถาคตอรหันตสมั มาสัมพทุ ธ-เจ้า
จึงได้นาม เรียกว่าเป็น อริยะ” (สํ.ม.19/1703/543 (นี้ถือตามท่ีอ้างใน วิสุทฺธิ.3/78 แต่ในบาลีฉบับ
อักษรไทย ไม่มีคําวา “อริย” จึงตองแปลวา “เพราะได้ตรัสรูอริยสัจ 4 นี้ ตามเป็นจริง ตถาคต จึงได้
นาม เรียกวา่ เปน็ อรหนั ตสมั มาสัมพทุ ธะ”)

คมั ภรี วสิ ทุ ธมิ คั ค์ อา้ งความในบาลีมาแสดงความหมายของอริยสัจ สรุปไดว้ ่า (วสิ ทุ ฺธิ.3/78 (วิ
สุทธิมัคค์ “ภิกษุทั้งหลาย พระอริยะทั้งหลาย ย่อมแทงตลอดซึ่งสัจจะเหลานี้ เหตุนั้น จึงเรียกวา
อริยสัจ” แต่บาลีนี้ หาไม่พบในพระไตรปิฎกที่มีอยู่ “อริยะ” ว่าประเสริฐจึงแปลอริยสัจว่า ความจริง
อยา่ งประเสริฐ หรือความจริงอนั ประเสริฐ แตข่ องทา่ นแปลตรงตามพุทธพจนวา่ ความจริงทแ่ี ท)้

7

สำหรับความหมายของอริยสจั แต่ละขอ พงึ ทราบตามบาลี ดังนี้ “ภิกษุทง้ั หลาย ข้อนีแ้ ล เป็น
ทุกขอริยสัจ คือ ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์ ชรา (ความแก่) ก็เป็นทุกข์ พยาธิ (ความเจ็บไข้) ก็เป็น
ทุกข์ มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รกั ก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจาก
สิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ (โดยใจความ) อุปาทานขันธ์ 5
เป็นทุกข์ “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา อันนําให้มีภพใหม่ประกอบด้วย
นันทิราคะ ซ่ึงคร่นุ ใครใ่ ฝห่ าในอารมณ์ตา่ งๆ ไดแ้ ก่ กามตัณหา ภวตัณหา วภิ วตัณหา

“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ การที่ตัณหานั้นแลดับไปได้ ด้วยการสำรอก
ออกหมดไมม่ ีเหลอื การสละเสยี ได้ สลัดออก พ้นไปได้ ไม่หนว่ งเหนี่ยวพัวพัน “ภิกษทุ ้งั หลาย ข้อนีเ้ ป็น
ทกุ ขนิโรธคามนิ ีปฏปิ ทาอรยิ สจั คอื อริยมรรคมอี งค์ 8 นแี้ หละ ได้แก่ สัมมาทฏิ ฐิ ฯลฯ สมั มาสมาธิ (1)
ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) เจรจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชวี ติ ชอบ (6) ความเพียร
ชอบ (7) ความระลกึ ชอบ (8) ความตงั้ จติ มั่นชอบ” (เชน ในธัมมจักกัปปวัตตนสตู ร; วนิ ย.4/14/18; ส.ํ
ม.19/1665/528; และที่ ข.ุ ปฏิ.31/598-601/506-510; อภ.ิ ว.ิ 35/145-162/127-136 เปน็ ต้น)

ขยายความออกไปอกี เลก็ นอ้ ย ดังนี้
1. ทกุ ข์ แปลวา่ ความทุกข์ หรือสภาพทที่ นไดย้ าก ไดแ้ ก่ปัญหาตา่ ง ๆ ของมนษุ ย์ กลา่ วให้ลึก
ลงไปอีก หมายถึง สภาวะของสิ่งทั้งหลาย ที่ตกอยู่ในกฎธรรมดา แห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ขัดข้อง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง
ขาดแก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่จะก่อปัญหา สร้าง
ความทุกข์ขึ้นมาได้เสมอ ทั้งที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้ว และที่อาจเกิดเป็นปัญหาขึ้นมา เมื่อใดเมื่อหน่ึง
ในรูปใดรูปหนึง่ แก่ผูท้ ่ยี ดึ ติดถือม่นั ไวด้ ว้ ยอปุ าทาน
2. ทุกขสมุทัย เรียกสั้น ๆ ว่า สมุทัย แปลว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุให้ทุกข์เกิดข้ึน
ได้แก่ ความอยาก ที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเรา ซึ่งจะเสพ ที่จะได้ จะเป็น จะไม่เป็น
อยา่ งน้ันอยา่ งน้ี ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร้าร้อน รา่ นรน กระวนกระวาย ความหวงแหน เกลียด
ชัง หวั่นกลัว หวาดระแวง ความเบือ่ หน่าย หรอื ความคบั ขอ้ งตดิ ขัด ในรูปใดรปู หน่ึง อยู่ตลอดเวลา ไม่
อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่นเบิกบานได้ อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง ไม่รู้จักความสุข ชนิดท่ี
เรยี กวา่ ไรไ้ ฝฝา่ และไมอ่ ดื เฟอ้
3. ทุกขนิโรธ เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธ แปลวา่ ความดับทุกข์ ได้แก่ภาวะทเ่ี ข้าถึง เมอ่ื กําจัดอวิชชา
สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจ หรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวนกระวาย

8

ความเบื่อหน่ายหรือความคับข้องติดขัดอย่างใด ๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ
ปลอดโปรง่ โลง้ เบา ผ่องใสเบกิ บาน เรียกสนั้ ๆ ว่านิพพาน

4. ทกุ ขนิโรธคามนิ ีปฏปิ ทา เรียกสัน้ ๆ วา่ มรรค แปลวา่ ปฏปิ ทาที่นําไปสคู่ วามดับทุกข์ หรือ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือทางประเสริฐ มีองค์ประกอบ 8 คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) เจรจาชอบ (4) การงานชอบ
(5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (8) ความตั้งจิตมั่นชอบ ที่เรียกว่า
มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีท่ีจะให้ถงึ นโิ รธ โดยไม่ติดข้องหรือเอียงไป
หาที่สุดสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ความหมกหมุ่นในกามสุข และอัตตกิลมถานุโยค การ
ประกอบความลาํ บากแกต่ น คือ บีบค้นั ทรมานตนเองให้เดือดร้อน

หลักอริยสัจสี่กับการนำไปใช้ในแก้ปัญหาชีวิต การถือกำเนิดขึ้นมามีชีวิตแล้วก็ต้องยอมรับ
สภาพการมีชีวิต การมีชีวิตประกอบด้วยองคาพยพหลายอย่าง ดำเนินชีวิตเพื่อให้ตอบสนองความ
ต้องการ ถ้าแบ่งความต้องการของคนตามลำดับอาชีพหรือสถานภาพ (Status) แต่ละคนมีความ
ต้องการ ความสุข ความทกุ ขต์ า่ งกนั ปัญหาของคนที่มีฐานะร่ำรวย ปญั หาของ คนทีม่ ีฐานะปานกลาง
ปัญหาของคนทมี่ ีฐานะยากจนหรอื ธรรมดา ตามสถานภาพและการเรียนรู้ แตป่ ัญหาของมนษุ ย์ไม่มีวัน
สิ้นสุด เพราะรากฐานของปัญหามาจากตัณหาความต้องการของมนุษย์ โลภ โกรธ หลง สมดังพุทธ
ศาสนสุภาษิตที่ว่า “นตฺถิ ตณฺหา สมา นที” แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี หลักการในอริยสัจ 4 เป็น
หลกั การท่ชี ่วยแกป้ ญั หาชีวิตไดเ้ ปน็ ทางออกของชีวิต

ในโกฏิคามสัจจกถา ว่าด้วยทรงแสดงอริยสัจที่โกฏิคาม มีพระพุทธพจน์ที่ตรัสสอนให้เห็น
สาเหตุแห่งการเร่ร่อนในวัฏฏสงสาร เพราะไม่ตรัสรู้และแทงตลอดอริยสัจ 4 ดังใจความว่า ครั้งน้ัน
พระผู้มีพระภาคเสด็จไปประทับอยู่ที่โกฏิคาม ทรงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายในโกฏิคามว่า “ภิกษุ
ท้งั หลาย เราและพวกเธอเรร่ ่อนไปตลอดเวลานานถึงเพียงนี้เพราะไมต่ รัสรู้และไมแ่ ทงตลอดอริยสัจ 4
ได้แก่ เราและพวกเธอเร่ร่อนไปตลอดเวลานานถึงเพียงนีเ้ พราะไม่ตรัสรูแ้ ละไม่แทงตลอดทุกขอริยสจั
ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย
แต่บัดน้ี ทุกขอริยสัจ ทกุ ขสมุทยอรยิ สจั ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนโิ รธคามินี ปฏปิ ทาอรยิ สัจ อนั เราและ
พวกเธอได้ตรัสรู้และแทงตลอดแล้ว เราและพวกเธอตัดตัณหาในภพได้เด็ดขาด ตัณหาทจะนําไปเกิด
สนแล้ว บัดนี้จึงไม่มีการเกิดอีกต่อไป" เพราะไม่เห็นอริยสัจ 4 ตามเป็นจริง เราและพวกเธอจึงต้อง
ท่องเที่ยวไปในชาตินั้น ๆ ตลอดเวลานาน แต่เพราะได้เห็นอริยสัจ 4 เราและพวกเธอจึงถอนตัณหาท่ี

9

จะนําไปเกิดได้ตัดรากแห่งทุกข์ได้เด็ดขาด บัดนี้จึงไม่มีการเกิดอีกต่อไป (วิ.มหา. (ไทย) 5/287/103-
104)

นายแสวง แสนบุตร (2556, น.บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง “การอธิบายอริยสัจ 4 ในคัมภีร์
พระพุทธศาสนา” ผลการวิจัยพบว่า การอธิบายอริยสัจในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นการอธิบายไป
ตามวงจรแห่งอรยิ สัจ 4 ซ่ึงประกอบด้วยองคป์ ระกอบสำคญั 4 ประการ ไดแ้ ก่ คอื ทุกข์ใช้การกำหนด
รู้สาเหตุแห่งทุกข์คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ใช้การละ ความดับทุกข์สิ้นเชิงถึงภาวะ
แหง่ ความสขุ ที่ยอดเยย่ี ม สขุ ทส่ี ัมบรู ณ์เพราะเปน็ อิสระอย่างแท้จรงิ ความสิ้นทุกขน์ ี้ตอ้ งทำให้ประจักษ์
แจ้งและอริยมรรคมีองค์8 ย่อเป็น 3 ระดับในนามของไตรสิกขา ต้องทำให้เจริญ ทำให้เกิดมีการ
เปรียบเทียบการอธิบายอริยสัจ 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาพบว่า การอธิบายอริยสัจที่ปรากฏทั้งใน
พระไตรปิฎกและในคัมภีร์อรรถกถามีความเหมือนกันในโครงสร้าง แต่มีความต่างกันในรายละเอียด
ความเหมือนกันในโครงสร้างของกระบวนการอธิบายอริยสัจ 4 เป็นผลมาจากความเป็นคัมภีร์ท่ี
ต่อเนื่องกันในฐานะเป็นคัมภีร์หลักและคัมภีร์รอง แต่ความแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเนื้อหาน้ัน
เปน็ ผลมาจากความเข้าใจและการตีความสภาวะธรรมของพระอรรถกถาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์ท่ีอิงอยู่กับ
ภาษาของผู้คนในยุคที่ท่านรจนาคัมภีร์นั้น ความแตกต่างในคำอธิบายเป็นพัฒนาการที่สำคัญยิ่งของ
อริยสัจ

และงานของ กฤษณ ธาดาบดินทร์ (2565, น. 249) ศึกษาเรื่อง อริยสัจกับการแก้ปัญหาใน
สงั คมไทย ผลการศกึ ษาพบว่า การแก้ปญั หาสังคมไทยจำเป็นจะต้องใช้อริยสจั เข้ามามสี ่วนช่วยในการ
แก้ปัญหา โดยใช้ไตรสิกขาที่อยู่ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจซึ่งเป็นรูปแบบย่อของอริยมรรคมี
องค์ 8 และการที่จะแก้ปัญหาได้นั้น ต้องนำกิจหรือหน้าท่ีในอริยสจั ทั้ง สัจญาณ กิจญาณกตญาณเขา้
มาร่วมด้วยการปฏิบัติตามไตรสิกขาคือ การฝึกอบรมทางด้านพฤติกรรมหรือศีล ให้มีศีล 5ไม่ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดคำหยาบ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ ไม่ดื่มสุราและเมรัย ฝึกอบรมทางด้าน
สมาธิหรือจิตใจ ให้มีจิตใจที่เป็นสมาธิ ตั้งใจมั่น เป็นจิตใจที่เหมาะแก่การทำงาน และการฝึกกอบรม
ทางด้านปัญญา ให้มีปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เมื่อกระทำได้ตามไตรสิกขาแล้ว ปัญหา
สังคมไทยกจ็ ะหมดลงไป

และในบทความวิชาการของ สมชัย ศรีนอก กล่าวไว้ว่า พระพุทธศาสนาได้เสนอเส้นทางที่
ถูกต้องขวี ิต หลกั คำสอนมีลกั ษณะทีโ่ ดดเดน่ เปน็ กลางและสามารถประยุกต์ใชก้ บั ทกุ เหตุการณ์ ดังนั้น
หลักคำสอนจึงครอบคลุมทั้งด้านความรู้และศาสตร์ สันตภิ าพในชีวติ ของมนษุ ย์ พระพทุ ธเจ้าทรงสอน

10

ให้ศาสนสาวกตั้งใจแสวงหาทางแห่งสันติภาพ แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางความไม่สะดวกต่างๆ ก็มี
เป้าหมายคอื การแสวงหาสันตภิ าพ (Somchai Srinok, 2018, p.38)

ในบทความวิชาการของ Jeff Wilson (2014) เรื่อง Mediating Mindfulness: How Does
Mindfulness Reach America? สรุปได้ว่า การปฏิบัติทางศาสนาของต่างประเทศจะต้องถูกสื่อผ่าน
ช่องทางต่างๆ เพื่อเข้าถึงและส่งผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา ความเฉพาะเจาะจงของช่องทางเหล่านี้
สง่ ผลต่อวิธีการทำความเข้าใจ การเผยแพร่ และการนำไปใช้ สตกิ ลายเปน็ คำแปลท่ีต้องการสำหรับคำ
ภาษาบาลวี า่ สติ หลังจากหลายทศวรรษของการสนทนาและการต้ังคา่ อ่ืน ๆ โดยนกั แปล ในศตวรรษ
ที่ 20 เครือข่ายพระสงฆ์ชาวเอเชยี และยุโรป พร้อมด้วยนักแปลชาวตะวนั ออกตะวันตก ค่อยๆ นำคำ
สอนทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับสติมาสู่โลกตะวันตก พัฒนาการใหม่ๆ ของการทำสมาธิแบบฆราวาสใน
เอเชยี ดึงดูดนักเรยี นชาวอเมริกนั จำนวนน้อยแต่มีความมุ่งมน่ั ซง่ึ กลบั มายังอเมริกาเหนือและเริ่มสอน
เรื่องสติแก่ผู้ชมทั่วไป ในที่สุด สติปัฏฐานก็กลายเป็นเรื่องยอดนิยมสำหรับนักประพันธ์ประเภทต่างๆ
ซึ่งหลายคนไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ (Jeff Wilson. (2014). Mediating Mindfulness: How Does
Mindfulness Reach America. [Online])

และในบทความวชิ าการของ Tapas Kumar Aich (2013) เร่อื ง Buddha philosophy and
western psychology สรุปได้ว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ชีวิต
เป็นทุกข์ (ทุกข์) ทุกข์มีเป็นเหตุ (ทุกขสมุทัย) ดับทุกข์ได้ (ดับคานิโรธ) มีหนทาง เพื่อดับทุกข์ (ทุกขนิ
โรธสมาบัติ) มรรคมีองค์แปด (อสังขตะ-มรรค) ที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำเพื่อเป็นทางดับทุกข์ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สมั มาสติ สัมมาสมาธิ

กลางศตวรรษที่ 20 การทำงานร่วมกันระหว่างนักจิตวิเคราะห์และนักวิชาการทางพุทธ
ศาสนาจำนวนมากเป็นการพบกันระหวา่ ง "พลังที่ทรงพลังท่ีสุดสองอย่าง" ที่ปฏิบัติการอยู่ในความคิด
ของชาวตะวันตก พุทธศาสนาและจติ วิทยาตะวนั ตกทบั ซ้อนกนั ในทางทฤษฎแี ละในทางปฏิบัติ ในช่วง
ศตวรรษที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญได้เขียนเกี่ยวกับความคล้ายคลึงกันหลายอย่างระหว่างพุทธศาสนากับ
สาขาต่างๆ ของจติ วิทยาตะวนั ตกสมัยใหม่ เชน่ จิตวทิ ยาปรากฏการณว์ ทิ ยา จิตวิเคราะห์เชงิ วเิ คราะห์
จิตวิทยามนุษยนิยม จิตวิทยาการรับรู้ และจิตวิทยาอัตถิภาวนิยม นักตะวันออก Alan Watts เขียน
ว่า 'หากเรามองลึกเข้าไปในวิถีชีวิตเช่นพุทธศาสนา เราจะไม่พบทั้งปรัชญาหรือศาสนาอย่างที่เข้าใจ
กันในตะวันตก เราพบบางสิ่งที่เกือบจะคล้ายกับจิตบำบัด พระพุทธเจ้าเป็นนักจิตบำบัดที่ไม่เหมือน
ใคร วิธีการรักษาของเขาช่วยผู้คนนับล้านตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา บทความนี้เป็นเพียงการ

11

แสดงออกถึงสิ่งที่ผู้เขียนในปัจจุบันมีความเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับปรัชญาของพระพุทธเจ้า และเป็น
โอกาสที่จะได้แสดงความเคารพต่อหนึ่งในนักจิตอายุรเวทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่โลกเคยสร้างมา (Tapas
Kumar Aich. (2013). Buddha philosophy and western psychology. [Online])
3. องคค์ วามรทู้ ไ่ี ดจ้ ากการศึกษา

การมองโลกตามความเป็นจริงนั้นต้องมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่คงที่ เกิดขึ้นในเบื้องต้น
แปรปรวนในทา่ มกลาง และแตกสลายในทสี่ ุด เปน็ การมองด้วยปญั ญา เห็นทกุ อย่างตามความเป็นจริง
ว่าทุกสิ่งเป็นไปดังเหตุปัจจัยที่มีองค์ประกอบแล้วจึงเกิดผล อย่าไปมองโลกในแง่ลบว่ามันเลวมันแย่
เพราะมันต้องมีส่วนดีบ้าง แล้วก็อย่ามองว่ามันดีสูงสุดจนกระทั่งเราไว้ใจมัน วางใจมัน แล้วก็ตกเป็น
ทาสของมนั เพราะในท่ีสุดสิง่ ทไี่ วใ้ จวาง ใจอาจกลายเป็นปฏิปักษต์ ่อเรากไ็ ด้

แต่จงมองโลกในแง่ของความเป็นจรงิ คอื ไว้ใจก็ไม่ได้ วางใจก็ไม่ได้ แลว้ ทำใจเป็นกลางๆ คน
ทม่ี องโลกแบบนี้เปรียบเหมือนคนยนื ดูของในที่สงู ซง่ึ จะเห็นความเป็นไปทุกอย่างเมื่อเรามองโลกตาม
ความเป็นจริงแล้ว ไม่มีอะไรที่เราจะไมเ่ ข้าใจ

คนที่มองโลกตามความเป็นจริง จะรู้จักใช้ทุกเรื่องให้เป็นประโยชน์ แต่คนที่มองโลกไม่ตาม
ความเป็นจริง คือมองตามอารมณ์ บางครั้งทำให้คนดีๆ ข้างเราก็กลายเป็นศัตรู คนที่เป็นมิตร มาชั่ว
ชีวติ กก็ ลายเป็นคนทีเ่ ราคิดไมด่ ี ต่อเขา สว่ นคนทเ่ี ปน็ ศัตรูของเราก็ไป มองวา่ เป็นคนดไี ป มองโลกด้วย
อารมณอ์ ยา่ งนีไ้ มด่ ี ต้องมองโลกด้วย ปัญญา

ถ้าเรามองโลกในแง่ตามความเป็น จรงิ กจ็ ะไม่มีอะไรใหเ้ ราซึมเศร้า ไมม่ ีอะไรใหเ้ ราล้มละลาย
และขาดทุนในอารมณ์ เพราะทุกอย่างมีเหตุปัจจัยของมัน โดยหลักของสมมติสัจจะ คือ ทุกอย่าง
เป็นไปตามเหตุปจั จยั และไป ส่ปู รมตั ถสัจจะคือทกุ อยา่ งไมว่ า่ จะได้ จะเสีย จะดี จะมี จะเป็น ก็เกดิ ขึ้น
ตัง้ อยู่ และดบั ไป ไมม่ อี ะไรคงที่ถาวรตลอดกาลตลอดสมยั

มองอย่างนี้จะทำให้เราเข้าใจถึงสรรพสิ่งในการดำรงชีวติ ไม่ตกเป็นทาสของความได้ ความมี
ความเสีย ความเป็น ฯลฯการมองโลกตามความเป็นจริงด้วย ปัญญา ทำให้เราคิดเปน็ เมื่อคิดเป็นเราก็
เปน็ สุข
4. บทสรปุ

มีความจรงิ อยู่ 4 ประการคอื การมอี ยู่ของทกุ ข์ เหตแุ หง่ ทกุ ข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่
ความดับทุกข์ ความจริงเหลา่ น้ีเรยี กวา่ อรยิ สจั 4

1. ทกุ ข์ คอื การมีอยู่ของทุกข์ เกดิ แก่ เจบ็ และตายล้วนเป็นทกุ ข์ ความเศรา้ โศก ความโกรธ
ความอจิ ฉารษิ ยา ความวติ กกังวล ความกลวั และความผิดหวังลว้ นเปน็ ทกุ ข์ การพลดั พรากจากของที่

12

รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วน
เป็นทกุ ข์

2. สมุทยั คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผคู้ นจงึ ไม่สามารถเหน็ ความจริงของชวี ติ พวกเขาตก
อยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว
และความผดิ หวัง

3. นโิ รธ คือ ความดบั ทกุ ข์ การเข้าใจความจริงของชวี ิตนำไปสู่การดบั ความเศรา้ โศกท้ังมวล
อนั ยงั ให้เกดิ ความสงบและความเบกิ บาน

4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วย
การดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และ
ความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทาง
พวกเราไปตามหนทางแหง่ ความรู้แจ้งนี้

เอกสารอ้างอิง
หลวงปริญญาโยควิบูลย.์ (2509). หลกั พระพุทธศาสนาโดยยอ่ . กรุงเทพฯ : สมั มาชีวศลิ ปมูลนิธิ.
กองพทุ ธศาสนศกึ ษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาต.ิ (2555). คู่มอื ธรรมศกึ ษาช้นั เอก. กรุงเทพฯ

: โรงพมิ พ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (มปป). แนวคิดเกี่ยวกับ

วิวัฒนาการของดาร์วิน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565. จากแหล่งที่มา.
https://il.mahidol.ac.th/e-media/150charles-darwin/Less3_2_6.html.
นายแสวง แสนบุตร. (2556). การอธิบายอริยสัจ 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. สารนิพนธ์ หลักสูตร
ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย
มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย.
บรรณาธิการ. (2548). บทบรรณาธิการ : มองโลกตามความจริง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันท่ี 29
พฤศจิกายน 2565. จากแหลง่ ทีม่ า.
https://mgronline.com/dhamma/detail/9480000011667.
Somchai Srinok. (2018). The Teaching on the Four Noble Truths and the Problem of
Peace. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism
Vol. 2 No. 1 January – June 2018. p.38.

13

Jeff Wilson. (2014). Mediating Mindfulness: How Does Mindfulness Reach America?.
[Online]. Retrieved on December 1, 2022. From the source.
https://academic.oup.com/book/25638/chapter-
abstract/193050960?redirectedFrom=fulltext

Tapas Kumar Aich. (2013 ). Buddha philosophy and western psychology. [ Online] .
Retrieved on December 1, 2022. From the source.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3705677/


Click to View FlipBook Version