การพฒั นาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใชช้ ุดการเรียนสำเร็จรูป
วชิ าภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense
ชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ 5 โรงเรยี นศรสี งครามวทิ ยา
นางสาวขวัญเรอื น ประจวบมอญ
ตำแหนง่ ครู
กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาต่างประเทศ
โรงเรียนศรสี งครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
สำนกั งานเขตพ้นื ท่กี ารศึกษามัธยมศกึ ษาเลย หนองบัวลำภู
สารบญั
บทท่ี 1 บทนำ
ภมู ิหลงั
ความมงุ่ หมายของการศกึ ษาค้นควา้
ความสำคญั ของการศึกษาคน้ ควา้
ขอบเขตของการศกึ ษาคน้ คว้า
ระยะเวลาในการทดลอง
นยิ ามคำศัพทเ์ ฉพาะ
สมมตฐิ านของการวจิ ัย
บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกยี่ วข้อง
เอกสารที่เก่ียวกบั หลกั การวิจัยและพฒั นาทางการศึกษา
การวิจัยและพฒั นาทางการศึกษา
การดำเนินการวจิ ัยและพัฒนา
เอกสารท่เี กี่ยวข้องกับชดุ การเรียน
ความหมายของชุดการเรยี น
องคป์ ระกอบของชุดการเรียน
หลักในการสร้างชดุ การเรยี น
หลักการและทฤษฎที ่เี กี่ยวกับชดุ การเรียน
งานวจิ ัยทเี่ กย่ี วข้องชุดการเรียน
งานวจิ ยั ในประเทศ
งานวิจัยต่างประเทศ
เอกสารที่เกี่ยวกบั การเรียนร้ดู ้วยตนเอง
ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ความสำคญั ของการเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง
ลักษณะของการเรียนรู้ดว้ ยตนเอง
สารบัญ (ต่อ)
หลักการเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง
องค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การสง่ เสริมให้ผูเ้ รยี นมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เอกสารเก่ยี วกบั การสอนไวยากรณ์
หลักการและเทคนิคการสอนไวยากรณต์ ามแนวการสอนเพ่ือการส่ือสาร
ความสำคัญของไวยากรณ์ในการสอื่ สาร
บทท่ี 3 วิธีดำเนินการศึกษาคน้ คว้า
ประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง
ประชากร
กลมุ่ ตัวอย่าง
ระยะเวลาในการทดลอง
เนือ้ หาทใ่ี ช้ในการศึกษาค้นคว้า
เครอ่ื งมือที่ใช้ในการศกึ ษาคน้ คว้า
การสร้างเคร่ืองมือท่ใี ชใ้ นการวจิ ัย
การเก็บรวบรวมข้อมลู
การจัดทำข้อมลู และการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล
สญั ลักษณใ์ นการใช้ในการวเิ คราะหข์ ้อมูล
ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล
บทท่ี 5 สรุปผล อภปิ ราย และข้อเสนอแนะ
ความมุง่ หมายของการศกึ ษาค้นคว้า
สมมติฐานของการวจิ ยั
ขอบเขตของการศกึ ษาคน้ ควา้
สารบญั (ตอ่ )
วิธีดำเนนิ การวิจัย
การวิเคราะห์ขอ้ มูล
สรปุ ผลการวิจยั
อภปิ รายผล
ขอ้ สงั เกตในงานวิจยั
ปญั หาทพี่ บในการทำวจิ ัย
เสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก ชดุ การเรยี นสำเร็จรปู วิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense
ภาคผนวก ข แบบทดสอบก่อนและหลังการทดลองเพ่ือวดั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นวชิ า
ภาษาองั กฤษเร่ือง Present Simple Tens
ภาคผนวก ค แบบสอบถามแสดงความคดิ เห็นของนักเรยี นทม่ี ตี ่อการเรยี นวชิ าภาษาอังกฤษ
เรื่อง present simple tense หลังการทดลอง
บทที่ 1
บทนำ
ภูมหิ ลงั
ในยุคแห่งความเจริญของเทคโนโลยีสารสนเทศคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารอย่างไร้พรมแดน ใน
การติดต่อสื่อสารกนั น้ันภาษาเปน็ สิ่งท่จี ำเปน็ เนอ่ื งจากเคร่ืองมือในการสื่อสารของมนษุ ย์น้นั คือภาษา และเป็น
เครื่องมือของสังคมสำหรับใช้เป็นสื่อกลางในการตกลงบอกกล่าว ทำความเข้าใจระหว่างบุคคล (เสาวลักษณ์
รัตนวิชช์. 2531:9; อ้างอิงจาก Flectcher. 1961:85) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้เป็น
ภาษาสากลท่ัวโลก
ปัจจุบันสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้เกิดกระแสใหมข่ องโลก (New World Order)
หรอื การเคล่อื นเขา้ ส่ภู าวะการเป็นโลกเดียวกนั (One World Order) ประชาคมโลกได้รบั ผลกระทบอย่างมาก
จากการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันจะมีสารสนเทศมหาศาลเข้ามายังประเทศไทย
สารสนเทศเหลา่ นสี้ ว่ นใหญเ่ ป็นภาษาองั กฤษซง่ึ เป็นภาษาสากล
สำหรบั ในประเทศไทยภาษาอังกฤษจดั ว่าเปน็ ภาษาตา่ งประเทศท่สี ำคัญและใช้ในการตดิ ต่อส่ือสารกับ
ชาวตา่ งชาติมากทีส่ ุดภาษาหนึ่ง ปัจจุบนั นภ้ี าษาอังกฤษมบี ทบาทในทุกๆ วงการ ไม่ว่าจะเปน็ ทางด้านการเมือง
สังคม เศรษฐกิจ และในวงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาระดับสงู ทั้งในและต่างประเทศตอ้ งอาศยั
ความรู้ภาษาอังกฤษในการศึกษา ค้นคว้าตำราทางวิชาการขั้นสูง ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงมีความ
จำเป็นอย่างมากตอ่ การพัฒนาประเทศ หน่วยงานที่ตอ้ งรับผิดชอบตอ่ การจดั การศึกษาของประเทศ จงึ ไดบ้ รรจุ
วิชาภาษาอังกฤษไวใ้ นหลักสตู ร การเรียนการสอนทุกระดับขั้นของการศึกษา ( สมุ ติ รา อังวัฒนากูล. 2539 : 1;
กาญจนา นาคสกุล. 2539 : 33-37 )
กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญ และปัญหาของการพัฒนาความสามารถทาง
ภาษาอังกฤษของคนไทย พยายามที่จะปรับปรุงให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ อย่างต่อเนื่องตลอด
แนวทางตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับขั้นมัธยมศึกษา ได้มอบหมายให้กรมวิชาการพัฒนาหลักสูตร
ภาษาอังกฤษ พุทธศักราช 2539 ขึ้น โดยกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคู้ความเข้าใจ
สารสนเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถเลือกสรรสารสนเทศมา ก่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนา ความรู้
ความคิดของตนในบริบทโลกได้ อันยะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด ซึ่งนโยบายการจัดการเรียนการสอน
อย่างต่อเนื่องความหลักสูตรภาษาอังกฤษพุทธศักราช 2539 มุ่งเน้นระดับความสามารถทางภาษาของผู้เรียน
เน้นรากฐาน ทำให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เมื่อพ้นจากการศึกษาในระบบออกไป
ประกอบอาชีพ ก็มีความสามารถเหมาะกับระดับการศึกษาหรือเมื่อกลับเข้ามาศึกษาในระบบอีกก็จะศึกษาได้
อย่างราบรื่น เพราะสามารถตรวจสอบและประเมินผลมาตรฐานในแต่ละ ระดับ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้
ผู้เรยี นได้พฒั นาความสามารถของตนเอง เตม็ ตามศกั ยภาพ ความถนดั และความสนใจไดอ้ ยา่ งแทจ้ ริง
ภาษาองั กฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่ใชก้ ันแพร่หลายทั่วโลกประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางด้าน
อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อคมนาคม จึงมีความ
จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารด้านตา่ งๆ ยิ่งทำให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก
ข้ึน ดังนั้นการเรียนจึงมีความสำคัญตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยนั้น นักเรียนไทยไม่ได้ใช้
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จำเป็นต้องมีการเรียนโครงสร้างไวยากรณ์ เป็นพื้นฐานใรการเรียนภาษา เพราะถ้า
ผู้เรียนขาดความรู้ทางไวยากรณ์ ผูเ้ รียนกจ็ ะไม่สามารถสร้างประโยคที่สื่อความหมายอย่างถูกต้องและไม่เข้าใจ
ประโยคในภาษาได้
การสอนไวยาการณ์ภาษาอังกฤษในสมัยก่อนใช้วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปล ( TheGrammar-
translation Method) ผู้สอนมุ่งเน้นการสอนโครงสร้าง โดยอธิบายกูฏไวยากรณ์และข้อยกเว้นต่างๆให้
ผเู้ รียนทราบ พร้อมยกตัวอยา่ งประกอบ ขณะเดยี วกนั ผเู้ รยี นต้องท่องจำชนิดของคำศพั ท์ การเปล่ยี นคำกริยา
และเปลี่ยนรูปคำ ท่องจำคำศัพท์และนำไปแต่งประโยค หรือแปลข้อความภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาของตัว
ของตนเอง หรือแปลภาษาของตนเองเป็นภาษาอังกฤษที่เรียน (สุมิตา อังวัฒนกุล. 2537:42) การเรียน
ไวยากรณ์ด้วยวิธีสอนแบบนี้ ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Teacher-centered) โดยผู้สอนเป็นผู้ควบคุมชั้นเรียน
และให้ความรู้แก่ผู้เรียน รวมทั้งเป็นแบบในการฝึกกระสวนประโยคตา่ งๆ การเรียนการสอนในห้องเรียนจะใช้
ภาษาของผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่ทำให้การสอนในภาพรวมมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว (One Way
Communication) ขาดความสนใจ การท่องจำต่างๆเป็นงานหนักและน่าเบ่ือสำหรับผู้เรยี นเพราะผู้เรียนไม่
มีส่วนร่วมในกิจกรรม ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ไม่ สามารถนำ
ความรู้ไวยากรณืไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จรงิ ได้ อีกทั้งก่อให้เกิดข้อผิดพลาด และความล้มเหลวในการใช้
ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ซงึ่ นำไปสูก่ ารมีทัศนคติท่ีไม่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ
( ทวีพงษ์ สบื วฒั นะ. 2544:1)
แต่จากการศึกษางานวิจัยของนักการศึกษาและนักวิชาการหลายท่าน พบว่า สภาพการเรยี นการสอน
ภาษาอังกฤษระดับมัธยมศกึ ษาในปัจจุบันยังไม่ประสบผลเท่าที่ควร และจากรายงานการประเมินคุณภาพทาง
การศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความสามารถในวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ 37.74 (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2540:9) และจากผลการสอบมาตรฐานของฝ่ายการศึกษา
ในโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีการศึกษา 2539 พบว่า คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของนักเรียนในสังกัดทั้ง 38 โรงเรียนเท่ากับ 21.5492 คะแนน จากคะแนนเต็ม
50 คะแนน (ฝ่ายการศึกษาฯ. 2539)สภาพปัญหาเช่นนี้มีสาเหตุจากปัญหาซึ่งอาจพิจารณาได้หลายประเด็น
ดังน้ี
1. กจิ กรรมการเรยี นการสอน
การที่นักเรียนมีผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ เนื่องจากครูไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนให้เหมาะสมบรรลุจุดประสงค์ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้ อีกทั้งกระบวนการเรียนการสอนไม่
สอดคล้องกับหลักภาษาศาสตร์ ไม่เป็นไปตามธรรมชาติครูส่วนใหญ่ยังยึดวิธสอนแบบเดิม คือครูสอนโดยวิธี
บรรยายด้วยภาษาไทย ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลางทำให้นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน (กรม
วชิ าการ.2532:80)
2. จำนวนนกั เรยี นในช้ันเรียน
ปัญหารที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนประเด็นหนึ่ง คือ จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนมากเกินไป
ห้องเรียนที่มีขาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาการจัดสภาพการเรียนการสอนที่จะอำนวยต่อการสอนตามเอกัตภาพ
ครูผูส้ อนมส่ ามารถดูแลนกั เรียนไดท้ วั่ ถึง บรรยายกาศในห้องเรยี นไม่เออ้ื อำนวยต่อการเรยี นการสอน นกั เรยี น
มีการส่งเสยี งดังและพูดภาษาแม่ อีกทั้งเนื้อที่ภายในห้องมีไม่พอสำหรับจัดกิจกรรม นอกจากนี้ความสัมพันธ์
ระหว่างครูกับนกั เรียนไม่ดีเท่าที่ควรและครูไม่รูจ้ ักเด็กเป็นรายบุคคลจึงไม่รู้ปญั หาของนักเรียนแต่ละคน (กรม
สามัญศกึ ษา 2524-2526; ศนู ยก์ ารพฒั นาหลักสูตร.2528:147)
3. สอ่ื และอปุ กรณก์ ารเรียนการสอน
ครูส่วนใหญ่มีช่ัวโมงสอนมากเกินไปทำให้มเี วลาเตรียมการสอนนอ้ ยไม่มีโอกาสพัฒนาสื่อและอุปกรณ์
ผลของการเรียนการสอนจึงไม่บรรลุจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะใน
การใชภ้ าษาอังกฤษ( ลำพนู มณฑล. 2544: 1-7)
4. ผเู้ รยี น
ในส่วนของตัวผู้เรียนที่ไม่สนใจเรียนภาษาอังกฤษเท่าที่ควร อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากขาดแรงจูงใจ
และไม่เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ เนื่องจากไม่มโี อกาสใช้ในชวี ิตจรงิ ( ลำพนู มณฑล. 2544: 1-7) อีก
ท้งั กจิ กรรมการเรยี นการสอนไม่ดงึ ดดู ความสนใจกระบวนการเรยี นการสอนในปัจจุบนั มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อมและการใช้เวลาเพื่อการศึกษา การเรียนรู้ด้วยตนเอง
เป็นการเรียนรู้วิธีหนึ่งคือเป็นรูปแบบการเรียนรายบุคคลที่ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน เป็นผู้นำตนเองและเป็น
กระบวนการมุ่งเน้นคุณค่าของคน คือการตัดสินใจ การตัดสินคุณค่าและการกระทำด้วยตนเอง ซึ่งทำให้เกิด
ความมั่นใจและภูมิใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองจะไม่จำกัดเวลาเรียน ผู้เรียนสามารถใช้เวลาเรียนได้ตาม
ความสามารถของตนเอง มีการจัดหน่วยการเรียน กระทำอย่างเป็นระบบ มีการใช้สื่อการเรียนที่หลากหลาย
และเป็นการประเมินรายบุคคลเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ชุดการเรียนเป็นนวัตกรรมทาง
การศึกษาทีส่ ำคัญรูปแบบหนึ่งท่ีสามารถนำมาใช้ในการเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ไม่มีวิธีการใดท่ีใช้ในการ
เรียนการสอนท่ีดีที่สุดเท่ากับการสอนที่ให้นักเรียนปฏิบัติด้วยตัวเองและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำ
กจิ กรรมเพ่อื การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเองนั้นก็คอื การให้นักเรียนเรยี นจากชุดการเรียน
จากสภาพปัญหาและแนวคิดดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาค้นคว้าสนใจที่พั ฒนาชุดการเรียนสำเร็จรูปวิชา
ภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense เพื่อแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลและเป็นแนวทางใน
การพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
ความมุง่ หมายของการศึกษาค้นควา้
1. เพื่อพฒั นาผเู้ รียนในการเรียนไวยากรณ์วชิ าภาษาอังกฤษเรอ่ื ง Present Simple Tense
2. เพ่ือพัฒนาและหาประสิทธภิ าพของผเู้ รยี นโดยการใชช้ ุดการเรยี นสำเรจ็ รปู วชิ า
ภาษาองั กฤษ เรือ่ ง Present Simple Tense ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพตามเกณฑ์ 85/85
ความสำคัญของการศึกษาคน้ ควา้
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ชุดการเรียนสำเร็จรูปวิชา
ภาษาอังกฤษ เรอื่ ง Present Simple Tense ทมี่ ปี ระสทิ ธิภาพในการเรยี นไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตอ่ ไป
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะ
พุง จังหวดั เลย ปกี ารศกึ ษา 2565 จำนวน 252 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอ
วังสะพงุ จงั หวัดเลย ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2565 จำนวน 26 คน ด้วยวธิ กี ารส่มุ แบบเจาะจง (Purposive
Sampling)
3. เน้อื หาที่ใช้ในการศึกษาคน้ ควา้
เปน็ เนอ้ื หาวิชาภาษาองั กฤษ เรื่อง Present Simple Tense ระดบั ช้นั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 5
ระยะเวลาในการทดลอง
ระยะเวลาในการทำวจิ ัยในคร้งั น้ี 4 สัปดาหๆ์ ละ 2 คร้ัง รวมทั้งหมด 8 คาบ
นยิ ามคำศัพทเ์ ฉพาะ
1. ชุดการเรียนสำเรจ็ รูป หมายถงึ รปู แบบของการให้ความรู้ทีย่ ดึ ผู้เรียนเป็นศนู ย์กลาง
ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการใช้สื่อต่างๆ ในชุดการเรียนเพื่อศึกษาด้วยตนเอง ภายในชุดการเรียน ด้วยตนเอง
ประกอบด้วย คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง ใบคำสั่ง เนื้อหา แบบฝึกหัด แบบเฉลย
แบบทดสอบ และแบบเฉลยแบบทดสอบ เพื่อให้ผู้เรยี นได้ศกึ ษาเน้ือหา ทำแบบฝึกหัดทีร่ ะบไุ ว้ในชุดการเรยี น
ด้วยตนเองตามความสามารถของผเู้ รียน
2. การพัฒนาชุดการเรยี นสำเร็จรูป หมายถงึ การสรา้ งและปรับปรุงชดุ การเรยี นดว้ ย
ตนเองให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยการนำชุดการเรียนด้วยตนเองที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นไป
ทดลองและปรับปรุงแกไ้ ขให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ท่ีต้ังไว้
3. ประสิทธิภาพของการเรียนโดยใช้ชดุ การเรยี นสำเรจ็ รูป หมายถึง ความสามารถของ
นกั เรียนจากการเรยี นโดยใช้ชุดการเรยี นด้วยตนเองไม่ตำ่ กว่า 85/85
4. ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี น หมายถึง ความรู้ ความจำ และความเขา้ ใจทีว่ ดั ได้จาก
ความสามารถในการทำแบบทดสอบหลังเรียนจากชุดการเรียนสำเร็จรูป โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสั มฤทธ์ิ
ทางการเรยี นทผี่ ศู้ ึกษาค้นควา้ สรา้ งข้ึน
สมมติฐานของการวจิ ยั
นกั เรียนกลุ่มตวั อย่างมคี วามสามารถในการใช้โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษภายหลังการใช้ชุดการ
เรยี นสำเร็จรปู วชิ าภาษาองั กฤษเรอ่ื ง Present Simple Tense หลังเรียนสงู กวา่ ก่อนเรียน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ยี วข้อง
ในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องนี้เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้าและเขา้ ใจง่ายยิ่งขึ้น ผู้
ศกึ ษาคน้ ควา้ ไดแ้ บ่งเอกสารและงานวจิ ัยออกเป็นหวั ข้อต่างๆ ดังนี้
1. เอกสารทีเ่ ก่ียวกบั หลักการวจิ ัยและพฒั นาทางการศึกษา
1.1 การวจิ ยั และพัฒนาทางการศกึ ษา
1.2 การดำเนินการวจิ ยั และพัฒนา
2. เอกสารที่เกีย่ วขอ้ งกบั ชุดการเรยี น
2.1 ความหมายของชุดการเรยี น
2.2 องค์ประกอบของชุดการเรยี น
2.3 หลกั ในการสร้างชุดการเรยี น
2.4 หลักการและทฤษฎที ่ีเกีย่ วกับชุดการเรียน
3. งานวจิ ัยทเี่ กี่ยวข้องชดุ การเรียน
3.1 งานวิจยั ในประเทศ
3.2 งานวจิ ยั ตา่ งประเทศ
4. เอกสารที่เก่ียวกับการเรยี นรูด้ ว้ ยตนเอง
4.1 ความหมายของการเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง
4.2 ความสำคญั ของการเรยี นรูด้ ้วยตนเอง
4.3 ลักษณะของการเรยี นรูด้ ้วยตนเอง
4.4 หลกั การเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.5 องคป์ ระกอบของการเรยี นรดู้ ้วยตนเอง
4.6 การสง่ เสริมใหผ้ เู้ รียนมีการเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง
4.7 บทบาทของผู้เรยี นในการเรียนรู้ดว้ ยตนเอง
5. เอกสารเกี่ยวกบั การสอนไวยากรณ์
5.1 หลักการและเทคนคิ การสอนไวยากรณต์ ามแนวการสอนเพ่อื การส่อื สาร
5.2 ความสำคัญของไวยากรณ์ในการสื่อสาร
1. เอกสารทีเ่ กี่ยวกับหลักการวิจัยและพฒั นาทางการศกึ ษา
1.1 การวจิ ยั และการพฒั นาทางการศึกษา
การวจิ ัยและการพฒั นาทางการศกึ ษาแตกต่างจากการวิจัยทางการศึกษา 2 ประการ คือ
1. เปา้ ประสงค์ (Goal) การวิจยั ทางการศกึ ษามุ่งค้นคว้าหาความรใู้ หม่โดยการวิจยั
พื้นฐาน หรือมุ่งหาคำตอบเก่ียวกับการปฏิบัติงานโดยการวิจัยประยุกต์ แต่การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษา
มุ่งพัฒนา และตรวจสอบคุณภาพผลผลิตทางการศึกษา แม้ว่าการวิจัยทางการศึกษาหลายโครงการก็มีการ
พัฒนาผลผลิตทางการศึกษา เชน่ การวิจยั เพ่ือเปรียบเทยี บประสิทธิผลของวิธีสอนหรืออปุ กรณก์ ารสอน ผู้วิจัย
อาจพัฒนาสื่อ หรือผลผลิตทางการศึกษาสำหรับการสอนแต่ละแบบแต่ละผลผลิตเหล่านี้ ได้ใช้สำหรับการ
ทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยแต่ละครัง้ เท่านน้ั ไม่ได้พัฒนาไปสกู่ ารใชส้ ำหรบั โรงเรยี นท่วั ไป
2. การนำไปใช้ การวจิ ยั การศกึ ษามีช่องวา่ งระหวา่ งผลการวจิ ยั กับการนำไปใช้จริงอย่าง
กว้างขวาง กล่าวคือ ผลการวิจัยทางการศึกษาจำนวนมากอยูใ่ นตู้ ไม่ได้รับการพิจารณานำไปใช้ นักการศึกษา
และนกั วจิ ัยจงึ พยายามหาทางลดชอ่ งว่างดังกลา่ วโดยวิธที ี่เรียกวา่ การวจิ ยั และพัฒนา
1.2 การดำเนินการวจิ ยั และพฒั นา
ขัน้ ตอนสำคัญของการวจิ ยั และพัฒนามี 10 ข้ัน คอื
ข้ันท่ี 1 กำหนดผลผลิตทางการศึกษาท่จี ะทำการพฒั นา
ขน้ั ตอนแรกที่จำเปน็ ที่สุดคือ ต้องกำหนดให้ชัดวา่ ผลผลติ ทางการศึกษาทีจ่ ะวิจัยและพัฒนา
คืออะไร โดยตอ้ งกำหนด
1. ลักษณะทวั่ ไป
2. รายละเอียดของการใช้
3. วัตถปุ ระสงคข์ องการใช้
เกณฑ์ในการเลอื กกำหนดผลผลิตการศกึ ษาทจ่ี ะวิจัยและพฒั นาอาจมี 4 ขอ้ คอื
1. ตรงกบั ความต้องการทีจ่ ำเป็นหรอื ไม่
2. ความกา้ วหน้าทางวิชาการมีพอเพียง ในการทีจ่ ะพฒั นาผลผลิตทกี่ ำหนดหรือไม่
3. บุคลากรที่มีอยู่ มีทักษะความรู้และประสบการณ์จำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนานั้น
หรือไม่
4. ผลผลิตนนั้ จะพัฒนาขน้ึ ในเวลาอนั สมควรไดห้ รอื ไม่
ขน้ั ที่ 2 รวบรวมข้อมูลและงานวจิ ัยท่ีเกยี่ วข้อง
คือ การศึกษาทฤษฎีและงานวิจัย การสังเกตภาคสนามซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ผลผลิต
การศกึ ษาที่กำหนด ถา้ มคี วามจำเป็นผทู้ ำการวจิ ัยและพฒั นาอาจต้องทำการศึกษาวิจัยขนาดเล็ก เพื่อ
หาคำตอบซ่ึงงานวิจัยและทฤษฎีที่มอี ยู่ม่สามารถตอบได้ ก่อนทีจ่ ะเรม่ิ ทำการพัฒนาตอ่ ไป
ขนั้ ที่ 3 วางแผนการวิจยั และพัฒนา ประกอบด้วย
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการใชผ้ ลผลิต
2. ประมาณการค่าใชจ้ า่ ยกำลังคนและระยะเวลาท่ีต้องใช้เพือ่ ศึกษาความเป็นไปได้
ขน้ั ที่ 4 พัฒนารปู แบบขั้นตอนของผลผลติ
ขนั้ น้ีเป็นขัน้ การออกแบบและจดั ทำผลผลิตการศึกษาตามที่วางไว้ เชน่ ถ้าเปน็ โครงการวิจัย
และพฒั นาหลักสตู รฝึกอบระยะสั้นก็จะตอ้ งออกแบบหลักสูตร เตรยี มวัสดุ
คู่มอื ผฝู้ ึกอบรม เอกสารในการฝกึ อบรมและเคร่อื งมอื การประเมิน
ขน้ั ท่ี 5 ทดลองหรอื ทดสอบผลผลิตครั้งท่ี 1
โดยนำผลผลิตทอ่ี อกแบบและจดั เตรียมไว้ในขั้นท่ี 4 ไปทดลองใช้เพอ่ื ทดลอง
คณุ ภาพข้นั ต้นของผลผลติ ในโรงเรียน จำนวน 1-3 โรงเรียน ใชก้ ลมุ่ ตัวอย่างกลมุ่ เล็ก
6-12 คน ประเมนิ ผลโดยการใชแ้ บบสอบถาม การสงั เกต และการสัมภาษณ์ แล้ว
รวบรวมข้อมูลมาวเิ คราะห์
ขน้ั ท่ี 6 ปรับปรุงผลผลติ คร้ังท่ี 1
นำขอ้ มลู และผลจากการทดลองใชข้ ั้นตอนท่ี 5 มาพจิ ารณาปรบั ปรงุ
ขั้นที่ 7 ทดลองหรอื ทดสอบผลผลติ ครง้ั ท่ี 2
ขั้นนี้นำผลผลิตปรับปรุงไปทดลองเพื่อทดสอบคณุ ภาพผลผลติ ตามวัตถปุ รรสงค์ของโรงเรยี น
จำนวน 5-15 โรงเรียน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 30-100 คน ประเมินผลเชิงปริมาณในลักษณะ Pre-test
กับ Post-test นำผลไปเปรยี บเทียบกับวตั ถุประสงคข์ องการใชผ้ ลผลิต อาจมีกล่มุ ควบคุม กลุ่มการ
ทดลองถ้าจำเปน็
ขัน้ ท่ี 8 ปรบั ปรงุ ผลผลิตครงั้ ท่ี 2
นำขอ้ มลู และผลจากการทดลองใช้ขัน้ ตอนที่ 7 มาพจิ ารณาปรบั ปรุง
ข้นั ที่ 9 ทดลองหรอื ทดสอบผลผลิตคร้งั ที่ 3
ข้ันนนี้ ำผลิตภัณฑท์ ่ีปรบั ปรงุ ไปทดลองเพือ่ ทดสอบคณุ ภาพการใชง้ านของผลผลิต
โดยใช้ตามลำพังในโรงเรียน 10-30 โรงเรียน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 40-200 คน ประเมินผลโดยการใช้
แบบสอบถาม การสังเกตและการสมั ภาษณ์ แลว้ รวบรวมขอ้ มูลมาวเิ คราะห์
ข้นั ที่ 10 ปรบั ปรงุ ผลผลิตครง้ั ที่ 3
นำข้อมูลและผลจากการทดลองใช้ขั้นตอนที่ 7 มาพิจารณาปรับปรุงเพื่อผลิตและเผยแพร่
ตอ่ ไป
หลงั จากน้ไี ป กจ็ ะนำออกไปเผยแพร่โดยเสนอรายงานเกี่ยวกบั ผลการวิจยั และพฒั นาผลผลิต
ในที่ประชุม สัมมนาทางวิชาการหรือวิชาชีพ ส่งไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการและติดต่อกับ
หน่วยงานทางการศึกษา เพื่อจัดทำผลผลิตทางการศึกษาเผยแพร่ไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ หรือติดต่อ
บริษัทเพอื่ ผลติ จำหนา่ ยตอ่ ไป
2. เอกสารทเี่ กี่ยวข้องกับชดุ การเรยี น
2.1 ความหมายของชุดการเรียน
ยพุ ิน พิพธิ กุล และ อรพรรณ ตันบรรจง (2531:181) ได้กล่าวถงึ ความหมายของชดุ การ
เรียนว่า ชุดการเรยี นการสอนรายบคุ คล เป็นชดุ การเรียนการสอนท่ใี หผ้ ้เู รยี นเรยี นดว้ ยตนเอง โดย
ในชุดการเรียนการสอนจะประกอบด้วย บัตรคำสั่ง บัตรกิจกรรม บัตรเนื้อหา บัตรแบบฝึกหัดหรือใบงาน
พรอ้ มเฉลย เพือ่ ใหผ้ ู้เรียนไดใ้ ชป้ ระกอบการเรียนเรื่องนั้นๆ
กรองกาณจน์ อรุณรัตน์ (2536:256) กล่าวว่า ชุดการเรียนหมายถึง ชุดของโปรแกรมสื่อประสมท่ี
มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรมการเรียนให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเองตาม
ความสามารถและรูปแบบการเรียนของผู้เรยี นแตล่ ะคน
ฟิลปิ และแคพเฟอร์ (Philip and Kapfer. 1972:3-10) ไดก้ ล่าวถงึ ชุดการเรียนว่าเป็นรูปแบบของการ
สื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยคำนำที่ให้นักเรียนทำกิจกรรมจนบรรลุพฤติกรรมที่เป็นผลของ
การเรียนรู้ เนื้อหาที่นำมาสร้างเป็นชุดการเรียนนั้นได้มาจากขอบข่ายความรู้ที่หลักสูตรต้องการให้ผู้เรียนได้
เรยี นรู้
สมิท (Smith. 1973:24-25) ไดอ้ ธิบายเกยี่ วกับชดุ การเรยี นว่าในการใช้ชดุ การเรียนเราจะต้องยอมให้
นักเรียนได้มีโอกาสเรียนข้ามขั้นชุดการเรียนในบางหน่วยได้ เมื่อนักเรียนมีมีพื้นฐานความรู้หรือสอบได้ตาม
เกณฑม์ าตรฐานทกี่ ำหนดไว้ และจะตอ้ งยอมใหน้ ักเรียนได้มโี อกาสตรวจผลความกา้ วหน้าของตนเองก่อนท่ีจะ
วัดผล ในการจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนนั้นจะต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและหาวิธีการต่างๆให้แก่
นักเรยี นด้วย เพ่อื ทีจ่ ะให้การเรยี นนน้ั ได้บรรลุเป้าหมาย เช่น
1. ใช้ส่ือหลายๆอยา่ ง เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประสบการณท์ างการเรียนดีขึน้
2. หาวธิ กี ารหลายๆรปู แบบโดยมจี ดุ ประสงคแ์ ละกระบวนการหลายอยา่ ง เช่น
อาจจะจัดใหเ้ ป็นไปตามขนาดของกล่มุ และจดั หาวิธกี ารท่ีเหมาะสมเฉพาะแต่ละกลุ่มด้วย
3. แบ่งเนือ้ หาออกเปน็ ขั้นตอนตามลำดบั ความยากง่าย
4. จัดหากจิ กรรมหลายๆอย่างให้นักเรียนได้เลือกและมีสว่ นร่วมในบทเรียน
นอกจากนี้ สมิท ยังไดอ้ ธบิ ายเพิ่มเตมิ อีกว่า ชุดการเรยี นท่ีดนี ัน้ จะต้องมีส่งิ ดึงดูดความ
สนใจของผู้เรยี น เช่น มีสีสันต่างๆ มีภาพประกอบตามความจำเป็น รวบรวมสื่อและเร่ืองราวต่างๆ ใส่กล่อง
เลก็ ๆทเ่ี หมาะสม จะทำให้เกิดความสะดวกสะบายในการเกบ็ รกั ษาและการนำเอามาใช้
อกี ดว้ ย
ดวน (Duane. 1973:169) กลา่ วถงึ ชุดการเรยี นว่า เป็นการเรียนรายบุคคล (Individual Instruction)
อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนตามเป้าหมาย นักเรียนจะเรียนไปตามอัตรา
ความสามารถ และความต้องการ
เวบเบอร์ (Webber. 1977:329) กล่าวว่า การเรียนจากชุดการเรียนด้วยตนเองนั้นนักเรียนจะต้อง
เปน็ ผ้ลู งมอื ทำกิจกรรมในการเรียนด้วนตนเองตลอดเวลา ดงั นั้นถา้ นกั เรยี นยังเปน็ เด็กเลก็ ทีไ่ มม่ ีวฒุ ภิ าวะลัวินัย
ในตนเองเพียงพอแล้ว ย่อมทำให้การเรียนไร้ประสิทธิภาพทั้งนี้เพราะเด็กอาจจะไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ในการ
เรียน ไม่เข้าใจงานที่สั่งให้ทำหรือขาดการมีส่วนร่วมอย่างแข็งแรงในการเรียน เพราะมีช่วงความสนใจสั้นจึง
เกดิ ความน่าเบอื่ หน่ายในการเรียน
สรุปได้ว่าชุดการเรียนหมายถึง วิธีการจัดการเรียนโดยอาศัยระบบสื่อประสม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ได้ โดยวิธีการศึกษาด้วยตนเองตามความสามารถและรูปแบบการเรียนของ
ผูเ้ รยี นแต่ละบุคคล
2.2 องคป์ ระกอบของชุดการเรยี น
บญุ เกือ้ ควรหาเวช (2530:71) ไดก้ ล่าวถงึ องค์ประกอบของชุดการเรยี นว่าสามารถจำแนก
ได้ 4 สว่ นดว้ ยกนั คอื
1. คู่มือ เป็นคูม่ ือสำหรับผู้เรียน ภายในจะมีคำชี้แจงถงึ วิธีการใช้ชุดการเรียนอย่างละเอียด อาจทำ
เป็นเลม่ หรอื เปน็ แผ่นพับกไ็ ด้
2. บัตรคำสั่งหรือคำแนะนำ จะเป็นส่วนที่บอกให้ผู้เรียนดำเนินการเรียน หรือประกอบกิจกรรมแต่
ละอย่างตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย คำอธิบายเรื่องที่จะศึกษา คำสั่งให้ผู้เรียนดำเนนิ
กจิ กรรม และการสรปุ บทเรียน น้ีนิยมใชก้ ระดาษแข็งตัดเปน็ บัตรขนาด 6x8 นวิ้
3. เนื้อหาสาระและสื่อ จะบรรจุไว้ในรูปของสื่อการสอนต่างๆ อาจจะประกอบด้วย บทเรียน
โปรแกรม สไลด์ แผ่นภาพ ห่นุ จำลอง ฯลฯ ผู้เรยี นจะศึกษาจากสื่อการสอนต่างๆที่บรรจุอยู่ในชุด
การเรียน ตามบตั รคำสง่ั ท่กี ำหนดไว้
4. แบบประเมินผล ผู้เรียนจะทำการประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองก่อนและหลังเรียน แบบ
ประเมินผลอาจเป็นแบบฝึกหัดให้เติมลงในช่องว่าง เลือกคำตอบที่ถูก จับคู่ดูผลจากการทดลอง
หรอื การทำกิจกรรม
กดิ านันท์ มะลทิ อง (2531:181) ได้กลา่ วถึงองคป์ ระกอบของชดุ การเรยี นไว้ดงั น้ี
1. คมู่ อื สำหรบั ผู้สอนในการใชช้ ุดการเรยี นและสำหรบั ผเู้ รียนในชุดการเรยี น
2. คำสงั่ เพอื่ กำหนดแนวทางในการเรียน
3. เน้อื หาสาระบทเรียน จะจัดอยู่ในรูปของส่อื ต่างๆ เช่น สไลด์ เทป ฯลฯ
4. กิจกรรมการเรียน เป็นการกำหนดกิจกรรมให้ผ้เู รยี นทำรายงาน หรอื คน้ ควา้ ต่อจากทเี่ รียนไปแล้ว
5. การประเมินผลเปน็ แบบทดสอบท่ีเก่ียวกับเนอื้ หาของบทเรยี นน้ัน
ฮสุ ตัน และคนอื่นๆ (วาสนา ชาวนา. 2525:140; อ้างองิ จาก Houston and other.1972) ได้
ให้ส่วนประกอบของชดุ การเรยี นไว้ ดงั น้ี
1. คำช้ีแจง (Prospectus) ในส่วนน้ีจะอธบิ ายถึงความสำคัญของจดุ มงุ่ หมายขอบขา่ ยของ
ชุดการเรียน สิ่งที่ผู้เรียนต้องมีความรู้ก่อนเรียน และขอบข่ายของกระบวนการท้ังหมดในชดุ การ
เรยี น
2. จดุ มงุ่ หมาย (Objectives) คือขอ้ ความที่แจม่ ชดั ไมก่ ำกวม ท่ีกำหนดว่าผเู้ รียนจะ
ประสบความสำเรจ็ อะไร หลังจากเรยี นแล้ว
3. การประเมินผลเบื้องตน้ (Pre-Assessment) มจี ุดประสงค์ 2 ประการ คือ เพ่อื ให้ทราบ
ว่าผูเ้ รียนอยู่ในระดับใดในการเรยี นนัน้ และเพื่อดูวา่ เขาไดผ้ ลสัมฤทธิ์ตามความมงุ่ หมายเพยี งไร
4. การกำหนดกิจกรรม (Enabling Activities) คือการกำหนดแนวทางและวิธีเพือ่ ไปสูจ่ ุด
มงุ่ หมายทต่ี ั้งไว้ โดยผูเ้ รยี นมีสว่ นร่วมในกจิ กรรมนน้ั ดว้ ย
5. การประเมินผลคร้ังสดุ ท้าย (Post- Assessment)เปน็ ขอ้ สอบทวี่ ัดผลหลังจากทีเ่ รียนแลว้
สรุปได้วา่ องคป์ ระกอบของชุดการเรยี น สิ่งทจี่ ำเปน็ ตอ้ งมี คือ คำชแี้ จง เปา้ หมาย
วตั ถปุ ระสงค์ เน้ือหา กิจกรรม สอ่ื และแบบทดสอบ
2.3 หลกั ในการสร้างชดุ การเรยี น
วชิ ยั วงษใ์ หญ่ (2530:75) ได้กำหนดวธิ ีการออกแบบการสรา้ งชดุ การเรยี นด้วยตนเองไว้
เปน็ ลำดบั ดงั นี้
1. การออกแบบชดุ การเรยี นด้วยตนเอง
2. ขัน้ ตอนการสร้างชดุ การเรียนดว้ ยตนเอง ซง่ึ มีข้นั ตอนดังต่อไปนี้
2.1 ศึกษาหลกั สตู รท้ังด้านจุดประสงคแ์ ละเนอ้ื หา
2.2 ศึกษากลุม่ เป้าหมายว่าผเู้ รียนเปน็ ใคร
2.3 เขยี นจดุ ประสงค์ของแต่ละหนว่ ยการเรยี น
2.4 สรา้ งแบบประเมนิ ผลหรอื แบบทดสอบ
2.5 เลอื กวิธีการเรยี นหรือกิจกรรมใหส้ อดคล้องกบั จุดประสงค์และเน้ือหา
2.6 สร้าง จดั หา รวบรวมส่ือการเรียนให้สอดคลอ้ งกับกจิ กรรมทกี่ ำหนด
2.7 ผลิตต้นแบบของชุดการเรยี นด้วยตนเอง
2.8 การตรวจสอบคุณภาพของชดุ การเรยี นเบ้ืองต้น โดยการตรวจสอบจากผู้เช่ียวชาญและนำไป
ทดลองใช้กับกลุ่มเล็กๆประมาณ 3-5 คน เพื่อตรวจสอบลักษณะการใช้ภาษาและความยาก
ง่ายของเนือ้ หา
2.9 การทดลองหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนด้วยตนเอง โดยการนำไปทดลองกับ
กลมุ่ เปา้ หมายประมาณ 30 คน และปรบั ปรุงแก้ไขตามข้อคน้ พบ
3. การวางแผนการใชช้ ดุ การเรียนดว้ ยตนเอง
4. การตดิ ตามการเรยี นด้วยตนเอง
2.4 หลกั การและทฤษฎีท่ีเก่ียวกับชดุ การเรียน
ไชยยศ เรอื งสุวรรณ (2536:199) ไดก้ ล่าวถึงหลกั การและทฤษฎที ่ีเก่ยี วข้องกับชดุ
การเรียนไวด้ งั น้ี
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ชุดการเรียนที่เป็นสื่อกิจกรรมการเรียน จัดทำข้ึน
เพ่ือสนองความสามารถ ความสนใจและความต้องการของผเู้ รยี นเป็นสำคญั ทฤษฎีที่วา่ ด้วยความ
แตกตา่ งระหวา่ งบุคคลจงึ นำมาใชเ้ ป็นทฤษฎีพ้นื ฐานในการจดั ทำและการใชช้ ุดการเรียน
2. หลักการเก่ียวกับสื่อประสม ชุดการเรียนเป็นสื่อประสม ซึ่งหมายถึงการใช้สื่อหลายๆ อย่างท่ี
เสริมซึ่งกันและกันอย่างมีระบบ มาใช้เป็นแนวทางการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียน ทำให้ผู้เรยี น
ได้เรียนรจู้ ากส่ือได้อยา่ งเหมาะสม
3. ทฤษฎกี ารเรยี นรู้ ชุดการเรียนเปน็ สื่อการเรียนทีม่ ุ่งให้ผู้เรยี นได้มีส่วนรว่ มในการเรยี นอยา่ งแข็งขัน
และได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน อีกทั้งได้รับแระสบการณ์แห่งความสำเร็จหรือการ
เสริมแรง มีการเรียนเป็นขั้นๆ ตามรวมสามารถของผู้เรียน ดังนั้นชุดการเรียนจึงทำขึ้นมาโดย
อาศัยทฤษฎีการเรยี นรู้
4. หลักในการวิเคราะห์ระบบ ชุดการเรียนจัดทำขึ้นมาโดยอาศัยวิธีวิเคราะห์ระบบมีการทดลอง
ปรับปรุงแก้ไขจนเป็นที่เชื่อถือได้ จึงนำออกใช้และเผยแพร่ กิจกรรม การเรียนการสอนโดยใชช้ ดุ
การเรีนได้อาศัยวิธีระบบเป็นหลักทั้งสิ้น ท้ังนี้เพื่อให้กิจกรรมมการเรียนการสอนนั้นดำเนินไปได้
อยา่ งสัมพนั ธ์กนั ทุกขัน้ ตอน
3.งานวิจัยทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั ชุดการเรียน
3.1งานวจิ ยั ในประเทศ
อุษา คำประกอบ (2530 : 97) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทาง
วิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผล ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการเรียนด้วย
ตนเองกบั การสอนตามคมู่ ือครู พบวา่ ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนแตกต่างกนั อย่างไมม่ ีนยั สำคัญ ทางสถติ ิ
สุดารัตน์ จินดาวงษ์ (3531 : 104) ได้ทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์และมโนภาพแห่งตนทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรีย
กับท่ีเรยี นโดยครูสอน ผลการศกึ ษาพบว่า นกั เรยี นลกมุ่ ทเ่ี รียนโดยใช้ชุดการเรียนมผี ลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์แตกต่างกับกลุ่มที่เรียนโดยครูสอนอย่างมีนนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่ม
ทดลองมมี โนภาพหา้ งตนทางวทิ ยาศาสตร์แตกตา่ งจากกล่มุ ควบคุมอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติท่รี ะดับ.01
บรรจง แกว้ วิเศษกลุ (2533 : 47 - 48) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการพฒนาและประเมินผล
ชดุ การเรยี นการสอนซ่อมเสริมทักษะการอ่าน สำหรับนกั เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า ชุดการ
เรียนการสอนท้งั 4 ชดุ มปี ระสิทธภิ าพ
บรรจงลกั ษณ์ แจ่มพมุ่ (2533 : 95 - 97) ไดท้ ดลองใช้ชุดการเรยี นดว้ ยตนเองกับนักเรยี น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มี
นยั สำคัญทางสถิติ แต่ความคิดสร้างสรรค์ของกล่มุ ทดลองและกลมุ่ ควบคมุ แตกต่างกนั อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ทร่ี ะดบั .01
กรแก้ว อัจนวัจน์ (2537 : 120) ได้ทำการพัฒนาชุดการเรียนรายบุคคลเพื่อเสริมสร้าง
สมรรถภาพเลขานุการในสังคมสารสนเทศ ผลการศึกษาหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนหลังการทดลองคร้ัง
สุดท้ายได้เท่ากับ 94/92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 90/90 และค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบหลังการใช้สูง
กวา่ คะแนนทดสอบก่อนการใชช้ ดุ การเรยี นรายบุคคลอย่างมีนัยสำคญั ทางสถติ ิท่ีระดับ .05 แสดงวา่ ผู้เรยี นเกิด
การเรยี นรู้จากชดุ การเรยี นรายบคุ คลทสี่ ร้างขน้ึ มีความนำเช่อื ถอื ได้ รอ้ ยละ 95
เยาวมาลย์ ไสวรรณ (2537 : 95 -97) ไดท้ ำการวจิ ัยและพฒั นาเกี่ยวกบั การพฒนาชุดการ
เรียนดว้ ยตนเองเพือ่ ฝึกทกั ษะทางคณิตศาสตร์ในระดบั ชัน้ ประถมศึกษปีท่ี 3 ผลการวิจยั พบวา่
1. คะแนนทีไ่ ด้จาการทำแบบฝึกหัดกับคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภายหลังการฝึกของกลุ่ม
ทดลองมีความสัมพันธ์กันในระดับ .92 และมีนยั สำคญั ทางสถิตทิ ี่ระดับ .01 แสดงว่ากลู่มอด
ลองทำคะแนนแบบฝกึ หัดสูงคะนนผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนกจ็ ะสูงตาม
2. ผลต่างของคะแนนหลังฝึกกับก่อนฝึกของกลุ่มอดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มี
นยั สำคญั ทางสถติ ิที่ระดับ .05
3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนความคงทนในการเรียนรู้ของกลุ่มทดลองไม่
แตกต่างกัน
มนตรี เพชรอนิ ทร์ (2538 : 58 - 59) ได้ทำการวจิ ยั พัฒนาชดุ การเรยี นเพ่ือฝกึ ทักษะเร่ือง
การผลิตแผ่นภาพโปร่งใสสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าชุดการเรียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 90/90 การประเมินของผู้เชี่ยวชาญเป็นร้อยละ 91.37 เมื่อทดลองกับครูวิทยาศาสตร์มี
ประสิทธภิ าพ 100.00/91.86 และการใช้ชุดการเรียนทำให้ครวู ิทยาศาสตร์มีความรู้สงู กว่าการอบรมตามปกติอ
ยางมีนยั สำคัญทางสถติ ิท่รี ะดบั .01
3.2 งานวิจยั ต่างประเทศ
แมค โดนอลด์ (Mc Donald. 1971 : 432 - A) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาและ
ประเมินผลชุดการเรียนการสอนส่ือประสม แบบกิจกรรมรายบุคคล สำหรบั ใช้สอนซ่อมเสริมในวิทยาลัยชุมชน
ชานเมือง ผลการวิจัยพบว่า คะแนนสอบหลังการสอนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและเจตคติ
บรูซ (Bruce. 1972 : 429 - A) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบวิธีสอนโดยใช้ชุดการเรียน
การสอนกับการสอนแบบธรรมดา ที่มหาวิทยาลัยไอโอวา พบว่า การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนได้ผล
ดกี ว่าการสอนแบบธรรมดา
บรอว์เลย์ (Brawley. 1975 : 4280 - A) ได้ทำการวิจัยเก่ยี วกบั ประสทิ ธภิ าพของชุดการ
เรยี นแบบสื่อประสม สอนเร่ืองการบวกเวลาสำหรบั เด็กเรียนชา้ กลุม่ ตัวอยา่ งได้จากการสุ่มเด็กทเี่ รียนช้าโดยใช้
แบบทดสอบ Time Appreciation Test, Stanford Achievement Test Primary มาใช้ Pre - test และ
Post - test ผลปรากฎว่ากลุ่มทดลองที่ใช้ชุดการเรียนบอกเวลาต่อเนื่องบรอว์เล ย์ (Brawley’s
Experimental Sequence on Time Telling) มผี ลการเรียนดกี ว่ากล่มุ ควบคุมทไ่ี ม่ใชช้ ดุ การเรยี น
คูตนี (Cudney. 1975 : 26) ได้ศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะการ
พยาบาลจำนวน 25 คนโดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเองให้เรียนนอกเวลาสัปดาห์ละ 4 วันเป็นเวลา 56 ชั่วโมง
ประกฎวา่ ผลการเรียนโดยใชช้ ดุ การเรียนด้วยตนเองใหผ้ ลดีเทา่ กบั การเรยี นตามปกติเป็นเวลา 2 ภาคเรยี น
เอดเวิดส์ (Edwards. 1975 : 43) ได้กล่าวถึงการวิจัยของมหาวิทยาลัยอิลลนิ อยส์ ทำการ
เปรียบเทียบผลการเรยี นในเรอ่ื ง “ประสบการณใ์ นการสอนแบบจลุ ภาค” โดยใชช้ ุดการเรียนด้วยตนเองและได้
คำแนะนำจากครู กับการใช้ชุดการเรียนด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้แนะนำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาของ
มหาวิทยาลัยจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 25 คน ผลการทดลองปรากฎว่าทั้ง 2 กลุ่มมีผลการเรียนไม่
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการเรียนด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้
แนะนำ ถ้าชุดการเรยี นนั้นได้สร้างขึ้นอยา่ งถูกต้องตตามกรกะบวนการแล้ว ผู้เรยี นจะสามารถเรียนด้วยตนเอง
ได้ผลดเี ชน่ กัน
จากการศกึ ษาเอกสรและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องกบั ชุดการเรียนดว้ ยตนเอง พอสรปุ ได้ว่าชุดการ
เรียนด้วยตนเองสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน และแพร่หลายในวงการศึกษาไทยระดับชั้นต่างๆ
ผลการวิจัยพบว่าการสอน โดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเองส่วนมากช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง
และชุดการเรยี นดว้ ยตนเองกส็ ามารถนำมาใช้ในการพฒั นาครผู ู้สอนให้มีทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ได้
อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ
4.เอกสารท่ีเกยี่ วกับการเรียนรดู้ ว้ ยตนแอง
4.1 ความหมายของการเรยี นร้ดู ว้ ยตนเอง
การเรียนรู้ดว้ ยตนเองได้มผี ใู้ ห้ความหมายไวต้ ่างๆ กนั ดังน้ี
โนลล์ (Knowles.1975:18) นักศึกษาผู้ใหญ่ผู้เริ่มใช้คำนี้เป็นครั้งแรกได้ให้ความหมายของ
การเรียนร้ดู ว้ นตนเองไวว้ า่ เปน็ กระบวนการท่ีบุคคลใช้สร้างความต้องการในการเรยี นรู้ การต้ังจดุ มุ่งหมายใน
การเรยี นรู้ การทำกจิ กรรมเพื่อคน้ หาความรู้ เชน่ การค้นควา้ ช่วยเหลือจากผูอ้ ืน่ ก็ตาม
ทัฟ (Tough. 1979:114) ผู้ที่ทำการศึกษาอย่างจริงจัง ได้กำหนดหน่วยในการวัดปริมาณ
การเรียนรู้ด้วยตนเองออกเป็นโครงการเรียน (Learning Project) โดยกำหนดค่าเปรียบเทียบว่า การเรียน
ด้วยตนเองเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใช้เวลารวมกันตั้งแต่ 7 ชั่วโมงขึ้นไปถือว่าเป็นหนึ่งในโครงการเรียน และเมื่อ
ผู้เรยี นไดใ้ ชก้ ระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองแลว้ ผูเ้ รียนควรจะได้รบั รู้ เกดิ เจตคติ ไดร้ ับทักษะ หรอื สามารถท่ี
ก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อันเป็นผลมาจากการเรียนรู้นั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้บทเรียนสำเร็จรปู การศึกษาด้วยตนเอง เช่น การอ่านเอง คิดเอง ทดลองหรือ
ปฏิบัติหรือค้นคว้าด้วยตนเอง
กรฟิ ฟิน (Griffin. 1983 : 153) อธิบายว่า การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง เปน็ การจดุ ประสบการณ์
การเรียนรู้เฉพาะของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยมีเปาหมายไปสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตน และ
ความสามารถในการวางแผนปฏบิ ัติติการ แลประเมนิ ผลการเรยี นรู้การจัดการเรียนรู้เป็นเฉพาะบคุ คล
บรูคฟิลด์ (Brookfield. 1984 : 59 - 71) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้ด้วยตนเอง
หมายถึง การเป็นตัวของตัวเอง ควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง มีความเป็นอิสระโดยอาศัยความช่วยเหลือจาก
แหลง่ ภายนอกนอ้ ยท่ีสดุ
จากความหมายทน่ี ักวชิ าการหลายทา่ นได้ให้ไว้นัน้ พอสรปุ ได้วา่ การเรยี นรู้ด้วยตนเองเป็น
กระบวนการ ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนมีความคิดริเริ่มด้วยตนเอง โดยผู้เรียนวิเคราะห์ความต้องการที่จะเรียนรู้ของ
ตนเอง กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ แยกแยะ แจกแจงแหล่งข้อมูลในการเรียนรู้ มีความสามารถในการ
วางแผนปฏิบัตติ ิการ และประเมินผลการเรียนร้ดู ว้ ยตนเอง
4.2 ความสำคญั ของการเรยี นรดู้ ้วยตนเอง
ทฟั (Tough. 1979 : 116 - 117) กลา่ วถึงความสำคัญเกยี่ วกับการเรยี นดว้ ยตนเองไว้ว่า
กิจกรรมการเรียนรู้ หรือโครงการที่ผู้เรียนเกี่ยวข้อง (Learning Project) มาจากการวางแผนด้วยตนเอง ทัฟ
เน้นว่า กิจกรรมการเรียนเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการเป็นตัวของตัวเองและแนะนำ
ตนเองในการเรยี นรู้
โนลล์ (Knowles. 1975 : 15- 17) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนดว้ ยตนเองไว้ ดงั น้ี
1. คนทเ่ี รียนรู้ดว้ ยการริเริ่มของตนเองจะเรียนไดม้ ากกว่า ดีกว่าคนทเ่ี ป็นเพียงผู้รับหรือรอให้
ครถู า่ ยทอดวชิ าความร้ใู ห้เทา่ นั้น คนที่เรยี นด้วยตนเองจะเรยี นอย่างต้ังใจ มีจุดมงุ่ หมายและมแี รงจงู ใจ สามารถ
ใช้ประโยชนจ์ ากการเรียนรู้ไดด้ กี วา่ และนานกว่าบุคคลทรี่ อรบั คำสอนแตเ่ พียงอยา่ งเดยี ว
2. การเรียนด้วยตนเองสอดคลอ้ งกับพัฒนาการทางจิตวิทยา และกระบวนการทางธรรมชาติ
มากกว่า คอื เมื่อตอนเด็กเป็นธรรมชาติทจ่ี ะตอ้ งพงึ่ พงิ ผู้อน่ื ตอ้ งการผู้ปกครองปกป้องเล้ยี งดู และตดั สินใจแทน
ให้ เมื่อเติบโตมีพัฒนาการขึ้นก็ค่อยๆ พัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพิงครู ผู้ปกครอง และผู้อ่ืน
การพัฒนาเป็นไปในสภาพทเ่ี พิม่ ความเปน็ ตวั ของตวั เอง และชนี้ ำตนเองได้มากขึน้
3. พัฒนาการใหม่ๆ ทางการศึกษา มีหลักสูตรใหม่ ห้องเรียนแบบเปิด ศูนย์บริการทาง
วิชาการ การศึกษาอย่างอิสระ โปรแกรมการเรียนที่จัดแก่บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยเปิด และอื่นๆ อีก
มากมายรปู แบบการศกึ ษาเหล่านีล้ ว้ นผลักภาระรับผิดชอบไปทผี่ ้เู รียนเพ่ือให้ผู้เรียนเรียนรดู้ ว้ ยตนเอง
4. การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นความอยู่รอดของชีวิตในฐานะที่เป็นบุคคลและเผ่าพันธุ์มนุษย์
เนื่องจากโลกปัจจุบนั เป็นโลกใหม่ที่แปลกไปกว่าเดมิ ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ และข้อเท็จริง
เช่นนี้เป็นเหตุผลไปสู่ความจำเป็นทางการศึกษาและการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นกระบวนการ
ตอ่ เน่อื งตลอดชีวติ
4.3 ลกั ษณะของการเรียนรดู้ ้วยตนเอง
สมคดิ อสิ ระวฒั น์ (2532 : 76) ได้กล่าวถึงลกั ษณะของการเรยี นรดู้ ว้ ยตนเองไว้ดังนี้ คอื
1. สมัครใจท่ีจะเรยี นดว้ ยตนเอง (Voluntarily to learn) มิไดเ้ กิดจากการบังคับแต่มีเจตนา
ท่จี ะเรยี นด้วยความอยากรู้
2. ตนเองเป็นแหล่งข้อมูลของตนเอง (Self Resourceful) นั่นคือ ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่า
สิ่งที่ตนเรียนคืออะไร รู้ว่าทักษะและข้อมูลที่ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง สามารถกำหนดเป้าหมาย
วธิ ีรวบรวมข้อมูลทตี่ ้องการ และวธิ ปี ระเมนิ ผลการเรียนรู้ผ้เู รียต้องเป็นผู้จัดการเก่ยี วกับการเปล่ียนแปลงต่างๆ
ด้วยตนเอง (Manager of Change) ผู้เยนต้องมีความตระหนกั ในความสามารถของตนเองว่า สามรถตัดสินใจ
ได้ มีความรบั ผิดชอบต่อหนา้ ท่ี และบทบาทในการเปน็ ผู้เรียนทีด่ ี
3. ผู้เรียนต้องรู้ “วิธีการจะเรียน” (Know how to learn) นั่นคือ ผู้เรียนควรทราบขั้นตอน
การเรียนรขู้ องตนเอง รู้ว่าเขาไปสู่จุดท่ีทำใหเ้ กิดการเรยี นรูไ้ ด้อย่างไร
สเคเจอร์ (Skager. 1978:24-25) ได้อธิบายคุณลักษณะของผู้เรียนรู้ด้วยตนเองคสรมี
ลกั ษณะ 7 ประการ ดังนี้
1. เป็นผู้ยอมรับตนเอง (Self Accectance) หมายถงึ มีทศั นคตติ ่อตนเองในด้านการเป็น
ผเู้ รียน
2. มีความสามารถในด้านการวางแผนการเรยี น (Planfulness) ซง่ึ มลี ักษณะท่สี ำคัญ คือ
1. สามารถวินิจฉยั ความตอ้ งการในการเรยี นรู้ของตนเอง
2. วางจุดม่งุ หมายท่เี หมาะสมกับตนเองให้สอดคล้องกบั ความต้องการทีต่ ง้ั ไว้
3. มคี วามสามารถในการใช้กลยุทธเ์ พือ่ ให้บรรลวุ ัตถปุ ระสงคข์ องการเรียน
3. มแี รงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) เปน็ ผเู้ รยี นทีม่ แี รงจูงใจในการเรยี นอยใู่ น
ตนเอง จะสามารถเรียนรู้โดยปราศจากสิ่งที่ควบคุมภายนอก เช่น การถูกลงโทษหรือเรียนเพื่อวุฒิบัตรหรือ
ตำแหน่ง
4. มีการประเมินตนเอง (Internalized Evaluation) สามารถทจี่ ะประเมนิ ตนเองได้วา่ จะ
เรียนได้ดีแค่ไหน ซึ่งอาจจะขอให้ผู้อื่นประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองก็ได้ โดยผู้เรียนจะต้องยอมรับการ
ประเมนิ ผลภายนอกวา่ ถกู ต้องก็ต่อเม่ือ ผู้ประเมินมคี วามคิดอยา่ งอสิ ระ และการประเมินต้องสอดคล้องกับสิ่ง
ตา่ งๆ ท่ีปรากฏเปน็ จรงิ อยู่ในขณะนนั้
5. การเปิดกว้างตอ่ ประสบการณ์ (Openness to Experience) ผเู้ รยี นท่นี ำประสบการณ์
เขา้ มาในกิจกรรมชนิดใหม่ๆ อาจจะสะทอ้ นการเรยี นร้หู รือการจดั วางเป้าหมายโดยจะมเี หตผุ ลหรือไม่ก็ได้ ใน
การที่จะเข้าไปทำกิจกรรมใหม่ๆ ความใคร่รู้ ความอดทนต่อปัญหารที่ยังสงสัย การชอบในสิ่งที่ยุ่งยากสับสน
และการเรียนอย่างสนุก จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมใหม่ๆ และทำให้เกิดประสบการ ณ์ใหม่ๆอีก
ดว้ ย
6. มีความยืดหยนุ่ (Flexibility) มีความยดื หย่นุ ในการเรียนรู้ มคี วามเต็มใจท่จี ะ
เปล่ยี นแปลงเปา้ หมายหรือวธิ ีการเรียน และใช้ระบบการเขา้ ถงึ ปัญหา โดยใชท้ กั ษะการสำรวจการลองผิดลอง
ถูก ซงึ่ ไมแ่ สดงถึงการขาดความตงั้ ใจท่จี ะเรียนรู้ ความล้มเหลวท่ีจะได้รบั การนำมาปรบั ปรงุ แกไ้ ขมากกว่าที่จะ
ยอมแพ้หรือยกเลกิ
7. การเป็นตัวของตวั เอง (Autonomy) ผู้เรียนทีด่ แู ลตนเองได้ เลือกทจ่ี ะผกู พันกบั
รูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่ง ผู้เรียนสามารถจดั การกับปัญหาตามเวลาที่กำหนด โดยพิจารณาถึงสิ่งที่
ตอ้ งการว่าลักษณะการเรยี นแบบใดมคี ุณค่าและเปน็ ทีย่ อมรบั ได้
กล่าวโดยสรุปคือ ลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองมีจุดเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีผู้เรียนเป็นผู้
กำหนดแนวการเรียน เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการของตัวเอง การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียน
การวางแผนการเรียน การแสวงหาแหล่งวทิ ยาการ การประเมนิ ผล โดยอาศัยการช่วยเหลือจากครูหรือเพื่อน
ตามสมควร
4.4 หลักการเรยี นรดู้ ้วยตนเอง
กิบบอนส์ (Gibbons. 1980:41-46) ได้ศึกษาชีวประวัติของผเู้ ช่ียวชาญทม่ี ีชอื่ เสยี งทางดา้ น
การแสดง นักประดิษฐ์ นักสำรวจ นักอักษรศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และฟผู้บริหารจำนวน 20 คน ซ่ึง
ไม่ได้รับการศึกษาตามชั้นเรียนปกติสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยศึกษาลักษณะการเรียนรู้ด้วย
ตนเองของบคุ คลดงั กลา่ วแล้วนำมาประมวลเป็นหลกั การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง ดงั นี้
1. ในการศึกษาด้วยตนเอง ผู้ศึกษาเป็นผู้ควบคุมตนเอง ในขณะที่การศึกษาอย่างเป็นทางการ
(Formal Education) จดุ ควบคมุ อย่ทู ี่สถาบันการศึกษา ตวั แทน หรือส่ิงกำกบั การสอนเพื่อให้
การศึกษาด้วยตนเองช่วยนักศึกษาใหร้ ้จู ักควบคุมส่ิงทอ่ี ยู่ภายในตนเองเพื่อการเรยี นรขู้ องตน
2. การศึกษาด้วยตนเอง มักจะเป็นความพยายามที่แน่วแน่ในความรู้เฉพาะด้านอย่างใดอย่างหนึ่ง
มากกว่าการศึกษาหลายๆแขนงวิชา การสอนให้รู้จักศึกษาด้วยตนเองจะช่วยให้นักศึกษา
แยกแยะ และมคี วามชำนาญในกิจกรรมบางอย่าง หรือหลายอยา่ งทจี่ ำเป็นตอ่ ชีวติ
3. การศกึ ษาดว้ ยตนเอง มักจะเป็นประยุกต์การศึกษา คอื การเรยี นรเู้ พือ่ การนำไปใช้กบั งาน การ
สอนการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการฝึกฝนทางเทคนิค
และการนำไปดดั แปลงใชอ้ ย่างเหมาะสม
4. ผศู้ ึกษาด้วยตนเอง เป็นตนท่ีเรียนรูด้ ว้ ยแรงจงู ใจของตนเอง นนั่ คือ การผกู พันตนเองกับเนื้อหา
ที่วิชาที่ตนเลือก แม้จะพบว่ามีอุปสรรคก็ตาม การศึกษาด้วยตนเองช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึง
ความต้องการของตนเอง และมเี ป้าหมายของตนเองมากกว่าที่จะใหผ้ ้อู ืน่ มาวางเป้าหมายให้
5. สิ่งจูงใจสำหรับการศึกษาด้วยตนเอง ได้แก่ ความสำเร็จซึ่งเป็นรางวัลที่ประเมินคุณค่าได้โดย
ตนเอง การสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นการให้ประสบการณ์ดำเนินเพื่อไปสู่
เป้าหมายทีต่ อ้ งการ รูจ้ ักวางแผน และใชว้ ธิ กี ารที่มปี ระสทิ ธภิ าพ เพือ่ จะทำงานนั้นสำเร็จ
6. ผู้ศึกษาด้วยตนเอง มักจะตัดสินใจใช้รูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการและวิธี
เฉพาะตน ซึ่งสามารถเรียนรู้ด้วนตนเองอย่างดีท่ีสุด ซึ่งข้อสรุปอาจจะใช้ได้จากการศึกษา การ
สังเกต ประสบการณ์ การเข้าเรยี นในบางวิชา การฝึกอบรม การสนทนา การฝึกหดั ลองผิดลอง
ถกู การฝกึ กิจกรรมทีใ่ ห้ผลดี การประสานระหว่างกลุ่ม เหตุการณ์และโครงการ
7. การเรียนรู้ด้วนตนเอง เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความเชื่อ โดยปกติจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ
บุคลิกลักษณะของคน การประสานสัมพันธ์ ความมีระเบียบวินัยในตนเอง ความบากบั่นขยัน
ขนั แข็ง ไม่เห็นแกต่ ัว ความรสู้ ึกเกรงใจผอู้ นื่ และการมีหลกั การอยา่ งเข้มแขง็
8. ผู้ที่เรียนด้วยตนเอง จะมีแรงขับ (Drive) ความคิดอิสระ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด การสอน
การศึกษาด้วยตนเองเกี่ยวข้องกับการเสริมแรงขับ ความกระตือรือร้น โดยรวมความคิดอิสระไม่
ขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ความเป็นผู้ริเริ่มมากกว่าที่จะประพฤติตามผู้อื่น และมักจะทำ
อะไรเปน็ แบบของตนเองมากกว่าทำคล้ายๆผอู้ ืน่
9. ผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง มักจะใช้การอ่าน และกระบวนการทักษะอื่นๆในการเข้าถึงข้อมูลและ
คำแนะนำทเ่ี ขาตอ้ งการเพื่อโครงการเหลา่ น้นั การสอนเพอ่ื การศึกษาด้วยตนเองเกี่ยวข้องกับการ
ฝึกฝนทักษะ เช่น การอ่านและจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่นักศึกษามีความต้องการอย่าง
เตม็ ท่ใี นการเข้าถงึ ขอ้ สนเทศ
10. การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นท่วงทีที่เกิดจากประสบการณ์สำคัญหลายประการตั้งแต่วัยเด็ก
ประสบการณ์และการพัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นจุดการเลือกในชีวิตของคน การสอนเพื่อ
การศึกษาด้วยตนเองจึงเป็นการช่วยเหลือผู้เรียนที่จะจำแนกท่วงทีแนวทางที่เกิดขึ้นในชีวิต เพื่อ
กำหนดวถี ที างทีต่ นเลอื กและสรา้ งวิถใี หมท่ ต่ี นปรารถนา
11. การเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดในสิ่งแวดล้อมของการทำงานที่อบอุ่น มีลักษณะของ
การสนับสนุน มีบรรยายกาศที่กระฉับกระเฉง ซึ่งกิจกรรมการศึกษาด้วยตนเองนี้จะได้รับการ
สนับสนุนอย่างอบอุ่นและมีโอกาสหลายด้านที่จะสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานที่ใกล้ชิดให้
เกิดข้ึน
12. ผ้ทู เี่ รยี นรดู้ ้วยตนเอง จะชอบผู้อ่นื พอกบั ท่จี ะทำใหผ้ ู้อ่ืนชนื่ ชอบตน บุคคลเหล่าน้ีมีสุขภาพจิตท่ีดี
มีเจตคติที่ดีทั้งกายและใจ การสอนให้ศึกษาด้วยตนเองจึงสนับสนุนการเรียนรู้โดยผู้เรียนไม่
เพียงแต่เรียนร้วู ิชาการทักษะเทา่ นนั้ แต่เขาไดย้ ังพัฒนาจติ ใจของตนเองและผอู้ ื่นอกี ดว้ ย
4.5 องคป์ ระกอบของการเรยี นรูด้ ้วยตนเอง
การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเองประกอบด้วยองค์ประกอบทสี่ ำคัญ ดงั น้ี
ไพฑรู ย์ สินลารตั น์ (2526:50) กลา่ ววา่ แหลง่ สะสมความร้ขู องมนษุ ย์ อาจแบง่ ได้ 3
ประเภท ดงั นี้
1. ในตัวมนุษย์เอง คือ สมองเป็นสิ่งที่อ่านได้ยาก เพราะเป็นระบบที่ลึกซึ้งมากจะอ่านได้ก็ต้องให้
มนุษยน์ ัน้ สอ่ื ออกมาดว้ ยคำพดู และแสดงทา่ ทาง หรอื ภาษาสตั วลกั ษณซ์ ง่ึ เขา้ ใจร่วมกัน
2. ในสิ่งต่างๆ คือ ธรรมชาติและวัตถุต่างๆ เป็นความรู้ที่อ่านได้ แต่ต้องมีความรู้ความสามารถอื่นๆ
ประกอบอีกด้วย เช่น นักโบราณคดีอ่านกระดูก นักภูมิศาสตร์อ่านชั้นดินเป็นต้น ความรู้
พื้นฐานในการอ่านสิ่งเหล่านี้แต่เดิมก็ได้รับการถ่ายทอดกันมาจากการฝึกฝนแต่ต่อมาก็มี
ตำรบั ตำราใหศ้ กึ ษากนั ได้ แตต่ อ้ งอาศัยประสบการณ์ประกอบดว้ ย
3. ในสิ่งต่างๆที่บันทึกไว้ นับได้ว่าเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษาค้นคว้าของมนษุ ย์ ได้แก่
รหัสและตวั อกั ษรต่างๆ ซ่งึ ส่วนใหญบ่ นั ทกึ ไว้ในหนงั สอื และวสั ดุการอ่านน่นั เอง
โนลล์ (Knowles. 1976:40-47) กล่าวถงึ องคป์ ระกอบทส่ี ำคัญในการเรียนด้วยตนเอง
ดงั น้ี
1. การวิเคราะหค์ วามต้องการของตนเอง จะเริ่มจากการใหผ้ ูเ้ รียนบอกความต้องการและความสนใจ
ของตนเองในการเรยี น
2. การกำหนดจุดมุง่ หมายในการเรียน
3. การวางแผนในการเรียน โดยใหผ้ ูเ้ รียนกำหนดวัตถปุ ระสงค์ของวิชา
4. การแสวงหาแหล่งวทิ ยาการ
5. การประเมินผล
4.6 การสง่ เสริมให้ผูเ้ รยี นมกี ารเรียนรู้ด้วยตนเอง
ชดิ ชงค์ ส. นนั ทนาเนตร (2534:1) เสนอเกย่ี วกับเคร่อื งมือท่ีช่วยสง่ เสรมิ ใหผ้ เู้ รียนมีการ
เรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ด้วยวิธีการตอ่ ไปนี้
1. สัญญาการเรียน (Learning Contract) เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เป็นการ
สอนแบบรายบคุ คลเพ่อื ใหผ้ เู้ รียนมีความรับผิดชอบ มีระเบยี บวินัยในตนเอง
2. การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อน (Peer Learning Group) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเพื่อน คือประสบการณ์ที่
ต่างคนต่างนำมาแลกเปล่ยี น
3. ทัศนะเกี่ยวกับเวลา (Time Commitment) การกำหนดระยะเวลาตายตัวกับกิจกรรมต่างๆ จะ
ช่วยใหผ้ ูเ้ รยี นตระหนกั ถงึ คณุ คา่ ของเวลาท่ีจะเรียนรู้ส่ิงต่างๆ
4. ประโยชน์ของการเรียนรู้ (Perceived Benefits) ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีมากขึ้น หาก
การเรยี นรเู้ ป็นการแก้ปัญหา มใิ ช่การจดจำเนอ้ื หา การจดั โปรแกรมการเรียน จงึ จำเปน็ ตอ้ งสนอง
ความต้องการของผู้เรียนเป็นการให้ความรู้ ทักษะที่จำเป็นและทันต่อเหตุการณ์สถานการณ์ท่ี
เปน็ อยู่
5. ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Preparation of Self-Directed Learning) ผู้เรียนต้องมี
ความสมัครใจ เต็มใจที่จะเรียนด้วยตนเอง เพราะการเรียนรู้ด้วยตนเองนี้เป็นเรื่องภายในจิตใต้
สำนกึ ของผู้เรียน เป็นการเปล่ยี นแปลงที่อยภู่ ายใตต้ ัวของผเู้ รยี นมากกว่าการจดั การภายนอก
เมซิโรว์ (Mezirow. 1981:1) เสนอวิธกี ารทจ่ี ะสง่ เสรมิ ให้ผเู้ รียนมรการเรียนรดู้ ว้ ยตนเอง
ตอ้ งดำเนินการดงั น้ี
1. ลดการให้ผเู้ รยี นพึง่ พาผู้สอนหรือผู้อำนวยความสะดวก
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการใช้แหล่งวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์จากผู้อื่น
รวมทง้ั ครหู รือผูอ้ ำนวยความสะดวก ซึ่งใชค้ วามสัมพนั ธ์อันดีต่อกัน
3. ช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึง ความจำเป็นในการเรียนรู้เนื่องจากการรับรู้ความต้องการของตนเ อง
อนั เป็นผลมาจากวฒั นธรรม สภาพแวดล้อมที่เปลีย่ นแปลงไป
บทบาทของผู้เรยี นในการเรียนรู้ดว้ ยตนเองนัน้ ผเู้ รียนจะต้องลงมอื กระทำในการ
วิเคราะห์ของเน้ือหา กำหนดจดุ มงุ่ หมาย วางแผนการเรียน และประเมนิ ผลการเรียนด้วยตนเอง
6. เอกสารเกี่ยวกบั การสอนไวยากรณ์
6.1 หลักการและเทคนิคการสอนไวยากรณ์ตามแนวการสอนเพอ่ื การส่ือสาร
จุดมุง่ หมายของการเรียนการสอนภาษาส่วนใหญ่ มงุ่ เนน้ ให้ผเู้ รียนสามารถใชภ้ าษาทเ่ี รียน
ในการสื่อสารได้ ซึ่งจากการสอนแต่เดิมที่มุ่งเน้นให้ผูเ้ รียนได้เรยี นรู้เฉพาะโครงสร้างของภาษา หรือไวยากรณ์
ก่อน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด และการสร้างแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสารขึน้ ซึ่งมี
นักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักการสอนเหล่านี้ไว้มากมาย อาทิ มอร์โรว์
(Morrow. 1981:59-66) บรัมฟิต(Brumfit. 1981) และฟินอกเชียโร(Finocchiaro. 1983) โดยยึดหลักที่ว่า
การจัดการเรียนการสอนภาษา ผู้สอนต้องบอกให้ผู้เรียน ทราบถึง ความมุ่งหมายของการเรียน และการฝึกใช้
ภาษา ให้ผู้เรียนรู้ว่า กำลังทำอะไร เพื่ออะไร เมื่อเรียนแล้วสามารถทำบางสิ่งบางอย่างเพิ่มขึ้นได้ กล่าวคือ
สามารถสื่อสารไดต้ ามทตี่ อ้ งการ การสอนภาษาเปน็ ลักษณะบรู ณาการ ไม่แยกสอนเป็นส่วนๆในขณะเดียวกัน
ก็ให้ความสำคัญกับรูปแบบของภาษา โดยเน้นการสอนภาษาให้มีความสอดคล้องกับกระบวนการที่เกิดขึ้นใน
การส่อื สารจริง การเรยี นภาษาควรให้ผูเ้ รียนไดร้ ับข้อมลู ทางภาษาท่สี ามารถเข้าใจไดใ้ หม้ ากทส่ี ุด และ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์จริงให้มากที่สุด ควรมีการแก้คำผิดให้น้อยที่สุด เพื่อท่ี การ
สื่อสารจะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และในชั้นเรียนควรให้ผู้เรียนทำเฉพาะกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการสื่อสาร (
Krashen , & Terrell. 1983)
การสอนไวยากรณ์ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ด้านกฎเกณฑ์ภาษา
มาชว่ ยในการใชภ้ าษา เพอื่ ให้เกดิ ความเข้าใจภาษาและผลติ ภาษาเพื่อการสื่อสารได้
เทคนิคการสอนไวยากรณ์ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไวยากรณ์ผ่าน
กระบวนการสื่อสาร ในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารต่างๆ เช่น เกมทางภาษา กิจกรรมช่องว่าง
ระหว่างข้อมูล กิจกรรมบทบาทสมมติ กิจกรรมชิ้นงาน กิจกรรมการอภิปรายจากการศึกษาถึงผลของการนำ
กิจกรรมเหล่านี้มาใช้สอนไวยากรณ์ของนักการศึกษาและนักวิจัยหลายๆท่าน เช่น แม็คโคมิช (McComish.
1987:1-26) กานัทโซ(Ganatsou. 1988:32-33) ซตอร์ทติ (Storti. 1990:31-32)โฟโตส และเอลลิส(Fotos,
& Ellis. 1991:605-628) และเออร์(Ur. 1993) ผลงานวิจัยพบว่า กิจกรรมเหล่านี้มีส่วนร่วมให้ผู้เรียนเข้าใจ
และใชโ้ ครงสรา้ งไวยากรณ์อยา่ งถูกต้อง สามารถสอื่ สารและสนกุ สนานกับการเรียนมากขึ้น
6.2 ความสำคัญของไวยากรณ์ในการสื่อสาร
นกั การศกึ ษาได้กลา่ วถงึ ความสำคญั ของไวยากรณใ์ นการสอื่ สารไว้ ดังนี้
วิลกินส์ (Wilkins. 1978:2529) ไดก้ ล่าววา่ ไวยากรณ์มีบทบาทสำคัญมากในภาษาเพราะ
ช่วยให้เรียนภาษาได้ดีและสะดวกยิ่งขึ้น แม้ความคิดสมัยใหม่จะให้ความสำคัญแก่ไวยากรณ์ไม่มากเท่าที่เคย
เป็นมาในอดีต แต่ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าไวยากรณ์ยังมีความสำคัญอยู่ ในการเรียนภาษานั้น เรื่อง ของคำและ
การนำคำเข้าประโยคเป็นเร่อื งที่จะตอ้ งไดร้ บั ความสนใจ และการพิจารณาควบคู่กันไป
ริชาร์ดส์ (Richards. 1984:7) กล่าวถึงบทบาทของไวยากรณ์ในหลักสูตรการสอนภาษาว่า ไวยากรณ์
เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของการสื่อสาร ความสำคัญของไวยากรณ์จะแตกต่างกัน ไปตามประเภทของ
กิจกรรมในการสื่อสารและตามระดับความสามารถของผู้เรียน ทักษะทางด้านไวยากรณ์จะสัมพันธ์กับทักษะ
อ่ืนๆของภาษา และเปน็ ตัวชี้วา่ ผเู้ รยี นมคี วามสามารถอยู่ในระดับใด
จากความคิดเหน็ ดังกล่าว สรุปได้ว่า ในการสอ่ื สารนั้นผู้ใช้ภาษาจะต้องมีความรู้ในเร่ืองไวยากรณ์ท้ัง
ทางด้านโครงสร้างและความหมาย รวมทั้งการใช้ภาษาอย่างถูกต้องเหมาะสมกับบริบท ดังนั้นในการสอน
ไวยากรณ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาศในการใช้รูปแบบหรือ
โครงสร้างทางไวยากรณ์ เพ่ือสื่อความหมายไดอ้ ย่างเหมาะสม
บทท่ี 3
วิธดี ำเนินการศกึ ษาค้นคว้า
ผู้ศึกษาคน้ คว้าได้ทำการศึกษาค้นคว้าตามลำดับขน้ั ตอนดงั น้ี
1. ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง
2. เนอื้ หาทใี่ ชใ้ นการศึกษาคน้ คว้า
3. เครอ่ื งมอื ท่ีใช้ในการศึกษาคน้ ควา้
4. การสรา้ งเครื่องมือทีใ่ ช้ในการวิจัย
5. การเก็บรวบรวมข้อมลู
6. การจดั ทำข้อมูลและการวเิ คราะหข์ ้อมลู
1.ประชากรและกลมุ่ ตัวอยา่ ง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง
จงั หวดั เลย ปกี ารศกึ ษา 2565 จำนวน 252 คน
กลุ่มตวั อยา่ ง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะ
พุง จังหวัดเลย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive
Sampling)
ระยะเวลาในการทดลอง
ระยะเวลาในการทำวจิ ัยในคร้ังน้ี 4 สปั ดาหๆ์ ละ 2 ครง้ั รวมท้ังหมด 8 คาบ
2.เนื้อหาทใี่ ช้ในการศกึ ษาค้นคว้า
เนื้อหาทใี่ ช้ในการทดลองครงั้ น้ี เป็นเนอ้ื หาวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน เรือ่ ง Present
Simple Tense ระดับชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี ตามหลกั สตู รมธั ยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบบั
ปรับปรงุ พ.ศ. 2533) แบง่ เป็นหวั ข้อ ดังน้ี
1. verb to be
2. กฏการเติม s , es
3. ประโยคบอกเล่า
4. ประโยคคำถาม
5. ประโยคปฏเิ สธ
3. เครื่องมือท่ใี ชใ้ นการศึกษาคน้ ควา้
เครอื่ งมอื ท่ีใชใ้ นการศึกษาคน้ ควา้ คร้งั นีป้ ระกอบดว้ ย
1. ชุดการเรียนดว้ ยตนเองวชิ าภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense
2. แบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียน
4. การสร้างเคร่อื งมือทใี่ ช้ในการวจิ ยั
เครือ่ งมือที่ใช้ในการวจิ ยั ในครั้งนปี้ ระกอบดว้ ย
1. ชดุ การเรียนสำเร็จรปู เรือ่ ง Present Simple Tense จำนวน 5 เรื่อง
2. แบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นวชิ าภาษาอังกฤษเร่อื ง Present Simple Tense
ใช้ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง
3. แบบถามความคดิ เห็นที่มีต่อการเรยี นไวยากรณภ์ าษาอังกฤษ จำนวน 10 ข้อ ซงึ่ ใชส้ อบ
ถามในคาบสุดท้ายหลงั การทดลอง
5. การเกบ็ รวบรวมข้อมลู
1. แบบแผนการทดลอง
การวจิ ัยคร้ังนเ้ี ปน็ วจิ ัยเชิงทดลอง ( Experimental Research) ซึง่ ผวู้ จิ ยั ดำเนนิ การทดลองโดยใช้
แผนการทดลองแบบ Pretest-Posttest ซ่งึ มีแบบแผนการทดลองดงั น้ี
ตาราง 1 แบบแผนการทดลอง
สอบก่อน ทดลอง สอบหลงั
T1 X T2
ความหมายของสัญลักษณ์
T1 แทน การสอบกอ่ นทำการทดลอง
T2 แทน การสอบหลังทำการทดลอง
X แทน การใช้ชดุ การเรยี นรู้ด้วยตนเอง
2. วธิ ดี ำเนนิ การทดลอง
2.1 ผวู้ จิ ยั คดั เลอื กกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุม่ อย่างงา่ ย (Simple Random Sampling)
2.2 จดั ปฐมนิเทศเพื่อทำความเข้าใจกับนักเรยี นเกย่ี วกับชุดการเรียนสำเร็จรปู
2.3 ทำการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กับนักเรียนกลุม่ ตวั อย่างด้วยแบบแบบทดสอบวัดผล
สมั ฤทธิ์
2.4 ดำเนนิ การใช้ชดุ การเรียนสำเรจ็ รูปเป็นระยะเวลา 8 คาบ ซ่งึ จะเปน็ การนำเสนอเน้ือหาเรือ่ ง
Present Simple Tense
2.5 ทำการเกบ็ ขอ้ มูลในฝกึ ปฏบิ ตั ิกิจกรรมในชดุ การเรยี นสำเร็จรูป
2.6 ทำการทดสอบหลงั การทดลอง (Posttest) ด้วยแบบทดสอบฉบับเดิมและดำเนินการประเมินผล
จากการตรวจใหค้ ะแนนแบบทดสอบดงั กล่าว และนักเรยี นแสดงความคิดเห็นตอ่ การเรียนเรอื่ ง
Present Simple Tense
2.7 นำผลคะแนนที่ไดจ้ ากการทดลองมาวเิ คราะหห์ าค่าทางสถติ ิ
2.8 สรปุ ผลและอภปิ รายผลการทดลอง
6. การจัดทำขอ้ มูลและการวิเคราะห์ขอ้ มูล
การจดั กระทำและวิเคราะห์ข้อมลู มวี ธิ ีการดำเนินการดังนี้
1. เปรียบเทยี บความสามารถของกลมุ่ ตวั อยา่ งในการทำแบบทดสอบก่อนเรยี นและหลัง
เรยี นโดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples
2. วิเคราะหห์ าคา่ คะแนนเฉลี่ย (Mean) ของแบบสอบถามแสดงความคดิ เห็นของนกั เรียน
ทม่ี ีตอ่ การเรียนวชิ าภาษาอังกฤษเรอื่ ง Present Simple Tense
บทท่ี 4
ผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู
การวิจัยคร้ังนเี้ ป็นการศกึ ษาผลการใช้ชุดการเรยี นสำเรจ็ รูปวชิ าภาษาองั กฤษเรื่อง present simple
tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จากกลุ่ม
ตัวอย่างนกั เรยี นจำนวน 26 คน ใช้ระยะเวลาการทดลองเรยี นชุดการเรยี นสำเรจ็ รูป 6 คาบ ใช้เวลาทดสอบ
กอ่ นการทดลอง 1 คาบ และทดสอบหลังการทดลอง 1 คาบ รวมทัง้ หมด 8 คาบ
สัญลักษณ์ในการใช้ในการวิเคราะหข์ ้อมลู
N แทน จำนวนนกั เรยี นกลุ่มตวั อย่าง
X แทน ค่าเฉล่ยี ของคะแนน
S.D. แทน คา่ ความเบ่ียงเบนมาตรฐาน
D แทน ผลรวมของคะแนนแตล่ ะคู่
D แทน ผลรวมของคะแนนแตล่ ะคยู่ กกำลงั สอง
t แทน คา่ สถติ ิที่ใช้พิจารณาของการแจกแจงแบบที
** แทน ความมนี ยั สำคญั ทางสถิตทิ ีร่ ะดบั .05
ผลการวเิ คราะหข์ ้อมูล
1. เปรยี บเทียบความสามารถในการเรียนวิชาภาษาองั กฤษเร่ือง present simple tense ของ
นกั เรยี นช้ันมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 5 ซึง่ เปน็ กลุ่มตวั อยา่ งระหว่างก่อนและหลังการทดลอง
เมื่อนำผลคะแนนความสามารถในการเรยี นวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense ของ
นักเรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นกลมุ่ ตัวอย่างระหว่างก่อนและหลงั การทดลองมาเปรียบเทยี บโดยใช้ t-
test แบบ Dependent Samples จากแบบทดสอบวกั ผลสมั ฤทธฉิ์ บบั เดยี วกัน โดยแสดงผังในตาราง 1 ดังน้ี
ตาราง 1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรื่อง present simple
tense ของนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศึกษาปีที่ 5 ซง่ึ เป็นกลมุ่ ตวั อย่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง
ความสามารถในการ N X S.D. D D
เรียนวิชาภาษาองั กฤษ 26
t 11.19 2.20
เรอ่ื ง present simple 675 17913 33.56**
Tense
37.15 4.67
ก่อนการทดลอง
หลังการทดลอง 26
จากตาราง 1 ปรากฏว่า หลงั การทดลองนักเรยี นมีความสามารถในการเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรื่อง
present simple tense หลังการทดลองสงู กวา่ ก่อนการทดลองอย่างมนี ัยสำคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ .05 โดย
คะแนนเฉล่ยี ก่อนและหลงั ทดลองเปน็ 11.19 และ 37.15 ตามลำดับ มีคะแนนเฉล่ยี เพ่ิมขึน้ 25.96 เม่ือ
พจิ ารณาเป็นรายบุคคล พบว่านกั เรียนมีความสามารถในการเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเร่ือง present simple
tense เพม่ิ ขึ้นโดยจากคะแนนเฉลี่ยเพมิ่ ขึน้ ตำ่ สุดและสูงสุดเป็น 18.00 และ 31.00 ตามลำดับ ดงั ตาราง 2
ตาราง 2 คะแนนความสามารถในการเรียนวิชาภาษาองั กฤษเรอ่ื ง present simple tense กอ่ นและหลงั
การทดลอง
ลำดับที่ คะแนนก่อนการทดลอง คะแนนหลงั การทดลอง ผลต่าง
ผลตา่ ง (50 คะแนน) (50 คะแนน) D
ของนักเรยี น 12 38 26
D 16 44 28
11 35 24
1 13 39 26
676 11 40 29
10 37 27
2 10 39 29
784 13 44 31
8 29 21
3 11 30 19
576
4
676
5
841
6
729
7
841
8
961
9
441
10
361
ลำดับที่ คะแนนก่อนการทดลอง คะแนนหลังการทดลอง ผลตา่ ง ผลต่าง
ของนักเรยี น (50 คะแนน) (50 คะแนน) D
D
9 39 30
11
900 12 43 31
12 11 29 18
961
8 39 31
13
324 13 37 24
14 14 43 29
961
10 41 31
15
576 14 39 25
16 11 39 28
841
14 39 25
17
961 8 29 21
18 12 35 23
625
13 40 27
19
784 8 33 25
20 8 36 28
625
11 30 19
21
441 291 966 D = 675 D = 17913
22
529
23
729
24
625
25
784
26
361
รวม
ค่าเฉลี่ย 11.19 37.15 25.96
2. วิเคราะหค์ ่าคะแนนเฉลยี่ (Mean) ของแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนกั เรียนท่ีมตี อ่ การ
เรยี นวิชาภาษาอังกฤษเร่ือง present simple tense
ผลการวเิ คราะห์ค่าคะแนนเฉลย่ี (Mean) ของแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนักเรียนทม่ี ตี ่อการ
เรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรื่อง present simple tense จากคะแนนรวม 50 คะแนน นำมาหาค่าเฉลีย่ 5
ระดับ ตามการแปลผลของ พวงรตั น์ ทวีรัตน์ (2543:107-108) เป็นดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 แปลความวา่ มีความคดิ เห็นท่ีดีตอ่ การเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเร่ือง
ค่าเฉลยี่ 3.51-.4.50 แปลความวา่ present simple tense มากทสี่ ุด
คา่ เฉล่ยี 2.51-3.50 แปลความวา่
ค่าเฉล่ยี 1.51-2.50 แปลความวา่ มีความคดิ เหน็ ท่ีดีต่อการเรยี นวชิ าภาษาองั กฤษเรือ่ ง
คา่ เฉลี่ย 1.00-1.50 แปลความวา่ present simple tense มาก
มคี วามคดิ เหน็ ท่ดี ีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเร่ือง
present simple tense ปานกลาง
มคี วามคิดเหน็ ท่ดี ีต่อการเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรื่อง
present simple tense นอ้ ย
มคี วามคดิ เห็นที่ดีตอ่ การเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรื่อง
present simple tense นอ้ ยทส่ี ุด
ผลการวเิ คราะหค์ า่ คะแนนเฉลีย่ (Mean) ของแบบสอบถามแสดงความคดิ เห็นของนักเรียนทีม่ ีตอ่ การ
เรียนวิชาภาษาองั กฤษเร่ือง present simple tense ปรากฏผลดังตาราง 3 ดังนี้
ตาราง 3 ค่าสถติ ิพนื้ ฐานของแบบสอบถามแสดงความคดิ เห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวชิ าภาษาองั กฤษ
เรือ่ ง present simple tense หลังการทดลอง
ข้อ ข้อความ X S.D.
แปลผล 4.19 0.56
4.38 0.69
1. การเรยี นวชิ าภาษาองั กฤษเรอ่ื ง present simple 4.34 0.56
tense มขี นั้ ตอนทเี่ ข้าใจง่ายและสามารถปฏบิ ตั ไิ ด้ 4.30 0.61
4.46 0.50
มาก
2. บรรยากาศการเรียนวชิ าภาษาอังกฤษเรื่อง present 4.65 0.56
4.76 0.42
simple tense สนกุ ไม่เครียดมาก
3. การเรียนวชิ าภาษาองั กฤษเรอ่ื ง present simple 4.30 0.54
tense ชว่ ยให้นักเรียนรู้จักคดิ แบบวิเคราะห์ มาก 4.38 0.69
4. การเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรอื่ ง present simple
4.42 0.64
tense ทำใหน้ กั เรยี นร้สู กึ ว่าภาษาองั กฤษมปี ระโยชน์ 4.41 0.57
มาก
5. การเรียนวิชาภาษาองั กฤษเรื่อง present simple
tense ชว่ ยใหน้ กั เรียนเข้าใจบทเรยี นดขี น้ึ
มาก
6. การเรียนวชิ าภาษาอังกฤษเรอ่ื ง present simple
tense เปดิ โอกาศใหน้ ักเรียนได้แสดงความคดิ เหน็
ไดเ้ ต็มที่
มากทส่ี ดุ
7. การเรียนวชิ าภาษาองั กฤษเร่ือง present simple
tense มงุ่ ใหน้ กั เรยี นมสี ว่ นร่วม
มากท่สี ดุ
8. ผลจากการเรียนวชิ าภาษาอังกฤษเรื่อง present
simple tense ชว่ ยให้นกั เรยี นไดเ้ รียนรู้ไวยากรณ์
ภาษาองั กฤษมากขึ้น
มาก
9. ผลจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present
simple tense ชว่ ยให้นกั เรียนไดเ้ รียนรู้การใช้คำ
คำกรยิ าไดถ้ ูกต้อง
มาก
10.ผลจากการเรยี นวิชาภาษาอังกฤษเร่ือง present
simple tense ช่วยใหน้ กั เรยี นเขยี นประโยคทเี่ ป็น
present simple tense ได้ถกู ต้องตามหลักไวยากรณ์
มาก
รวม
จากตาราง 3 พบว่า นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple
tense โดยมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense อยู่ในระดับมาก
โดยมีคา่ เฉลี่ย 4.41 และเม่ือพิจารณาเปน็ รายข้อ พบว่า ข้อความถามความคิดเหน็ ท่ีมีคะแนนเฉล่ียอยู่ในระดับ
มากที่สุด 2 ข้อความ คือการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense เปิดโอกาสให้นักเรียน
ได้แสดงความคิดเห็น ได้เต็มที่ และการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเร่ือง present simple tense มุ่งให้นักเรยี น
มีส่วนร่วม โดยมีค่าเฉลี่ย 4.76 และ 4.56 ตามลำดับ สำหรับข้อความที่คะแนนความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ
การเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense มีขั้นตอนที่เข้าใจง่ายและสามารถปฏิบัติได้โดยมี
ค่าเฉลี่ย 4.19 แตย่ งั อย่ใู นระดบั มาก
บทท่ี 5
สรุปผล อภปิ ราย และข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาอังกฤษ
เรื่อง present simple tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะ
พุง จังหวัดเลย จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 26 คน สามารถสรุปสาระสำคัญ อภิปรายผลการวิจัย
และขอ้ เสนอแนะดงั น้ี
ความม่งุ หมายของการศึกษาค้นควา้
1. เพ่ือพฒั นาผู้เรียนในการเรียนไวยากรณ์วชิ าภาษาอังกฤษเร่ือง Present Simple Tense
4. เพือ่ พฒั นาและหาประสทิ ธภิ าพของผู้เรยี นโดยการใช้ชดุ การเรียนสำเร็จรปู วชิ า
ภาษาอังกฤษ เรอื่ ง Present Simple Tense ให้มีประสิทธภิ าพตามเกณฑ์ 85/85
สมมติฐานของการวิจัย
นกั เรียนกลุ่มตวั อย่างมีความสามารถในการใช้โครงสรา้ งไวยากรณ์ภาษาอังกฤษภายหลงั การใช้ชุดการ
เรียนสำเรจ็ รปู วชิ าภาษาองั กฤษเร่ือง Present Simple Tense หลงั เรียนสงู กวา่ กอ่ นเรยี น
ขอบเขตของการศกึ ษาคน้ ควา้
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะ
พุง จงั หวัดเลย ปกี ารศกึ ษา 2565 จำนวน 252 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอ
วงั สะพงุ จงั หวัดเลย ภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2565 จำนวน 26 คน ดว้ ยวธิ ีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive
Sampling)
3. เนือ้ หาทีใ่ ช้ในการศกึ ษาค้นคว้า
เป็นเน้ือหาวชิ าภาษาองั กฤษ เร่อื ง Present Simple Tense ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาปีที่ 5
วธิ ดี ำเนนิ การวจิ ยั
เครื่องมือทีใ่ ชใ้ นการวจิ ัย
เคร่อื งมอื ท่ใี ชใ้ นการวิจัยในครง้ั นป้ี ระกอบด้วย
1. ชดุ การเรยี นสำเร็จรูปเรื่อง Present Simple Tense จำนวน 5 เรอื่ ง
2. แบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรือ่ ง Present Simple Tense
ใชท้ ดสอบกอ่ นและหลังการทดลอง
3. แบบถามความคิดเห็นที่มตี อ่ การเรียนไวยากรณ์ภาษาองั กฤษ จำนวน 10 ขอ้ ซงึ่ ใชส้ อบ
ถามในคาบสุดทา้ ยหลงั การทดลอง
วิธีดำเนนิ การทดลอง
1. ผ้วู จิ ัยคดั เลอื กกลมุ่ ตัวอย่างดว้ ยการสุ่มอยา่ งงา่ ย (Simple Random Sampling)
2. จัดปฐมนิเทศเพ่อื ทำความเข้าใจกบั นักเรียนเก่ียวกับชดุ การเรยี นสำเรจ็ รูป
3. ทำการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กบั นักเรียนกลมุ่ ตัวอยา่ งดว้ ยแบบแบบทดสอบ
วัดผลสมั ฤทธิ์
4. ดำเนนิ การใชช้ ุดการเรียนสำเรจ็ รูปเปน็ ระยะเวลา 8 คาบ ซง่ึ จะเปน็ การนำเสนอเนอื้ หา
เรอื่ ง Present Simple Tense
5. ทำการเกบ็ ขอ้ มลู ในฝกึ ปฏิบัตกิ จิ กรรมในชดุ การเรียนสำเร็จรปู
6. ทำการทดสอบหลงั การทดลอง (Posttest) ดว้ ยแบบทดสอบฉบบั เดิมและดำเนนิ การ
ประเมนิ ผลจากการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบดังกลา่ ว และนักเรยี นแสดงความ
คิดเห็นตอ่ การเรียนเรอื่ ง Present Simple Tense
7. นำผลคะแนนที่ไดจ้ ากการทดลองมาวเิ คราะห์หาค่าทางสถิติ
8. สรปุ ผลและอภิปรายผลการทดลอง
การวเิ คราะหข์ อ้ มูล
4. เปรียบเทยี บความสามารถของกล่มุ ตัวอย่างในการทำแบบทดสอบก่อนเรยี นและหลงั
เรียนโดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples
5. วเิ คราะห์หาคา่ คะแนนเฉลี่ย (Mean) ของแบบสอบถามแสดงความคิดเหน็ ของนักเรียน
ท่ีมีตอ่ การเรียนวชิ าภาษาอังกฤษเรอ่ื ง Present Simple Tense
สรปุ ผลการวจิ ัย
จากการศึกษาผลการใชก้ ารใช้ชุดการเรียนสำเรจ็ รูปวชิ าภาษาองั กฤษเรื่อง present simple tense
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จาก จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนจำนวน 26 คน สรปุ ผลได้ดังน้ี
1. หลังการทดลองนักเรียนมีความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple
tense หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อน
และหลังทดลองเป็น 11.19 และ 37.15 ตามลำดับ มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 25.96 เมื่อพิจารณาเป็น
รายบุคคล พบว่านกั เรียนมคี วามสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเร่ือง present simple tense เพิ่มข้ึน
โดยจากคะแนนเฉล่ียเพิ่มขนึ้ ตำ่ สดุ และสูงสุดเปน็ 18.00 และ 31.00 ตามลำดับ
2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense โดยมีความ
คิดเห็นท่ีดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.41
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อความถามความคิดเห็นที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2
ข้อความ คือการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense เปิดโอกาศให้นักเรียนได้แสดงความ
คิดเห็น ได้เต็มที่ และการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense มุ่งให้นักเรียนมีส่วนร่วม
โดยมีค่าเฉล่ยี 4.76 และ 4.56 ตามลำดบั สำหรบั ขอ้ ความท่ีคะแนนความคิดเหน็ น้อยท่สี ุด คอื การเรียนวิชา
ภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense มีขั้นตอนที่เข้าใจง่ายและสามารถปฏิบัตไิ ด้โดยมีค่าเฉลยี่
4.19 แตย่ ังอยู่ในระดบั มาก
อภิปรายผล
จากการศกึ ษาผลการใชก้ ารใช้ชดุ การเรียนสำเร็จรปู วชิ าภาษาองั กฤษเร่ือง present simple tense
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จากกลุ่มตัวอย่าง
นกั เรยี นจำนวน 26 อภปิ รายผลได้ดังน้ี
1. ผลคะแนนความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองมาเปรียบเทียบโดยใช้ t-
test แบบ Dependent Samples จากแบบทดสอบวักผลสัมฤทธิ์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังทดลองเป็น 11.19 และ 37.15
ตามลำดับ มคี ะแนนเฉลย่ี เพิ่มข้นึ 25.96 เมอ่ื พจิ ารณาเป็นรายบคุ คล พบว่านกั เรยี นมีความสามารถในการเรียน
วิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense เพิ่มขึ้นโดยจากคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่ำสุดและสูงสุดเป็น
18.00 และ 31.00 ตามลำดบั
การสอนไวยากรณ์ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ด้านกฏเกณฑ์ภาษา
มาชว่ ยในการใช้ภาษา เพือ่ ให้เกดิ ความเข้าใจภาษาและผลิตภาษาเพื่อการส่อื สารได้
เทคนิคการสอนไวยากรณ์ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไวยากรณ์ผ่าน
กระบวนการสื่อสาร ในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารต่างๆ เช่น เกมทางภาษา กิจกรรมช่องว่าง
ระหว่างข้อมูล กิจกรรมบทบาทสมมติ กิจกรรมชิ้นงาน กิจกรรมการอภิปรายจากการศึกษาถึงผลของการนำ
กิจกรรมเหล่านี้มาใช้สอนไวยากรณ์ของนักการศึกษาและนักวิจัยหลายๆท่าน เช่น แม็คโคมิช (McComish.
1987:1-26) กานัทโซ(Ganatsou. 1988:32-33) ซตอร์ทติ (Storti. 1990:31-32)โฟโตส และเอลลิส(Fotos,
& Ellis. 1991:605-628) และเออร์(Ur. 1993) ผลงานวิจัยพบว่า กิจกรรมเหล่านี้มีส่วนร่วมให้ผู้เรียนเข้าใจ
และใช้โครงสรา้ งไวยากรณ์อย่างถกู ต้อง สามารถสอื่ สารและสนกุ สนานกับการเรียนมากขน้ึ
ในการสื่อสารนั้นผู้ใช้ภาษาจะต้องมีความรู้ในเรื่องไวยากรณ์ทั้งทางด้านโครงสร้างและความหมาย
รวมทงั้ การใชภ้ าษาอย่างถูกตอ้ งเหมาะสมกบั บรบิ ท ดังนั้นในการสอนไวยากรณ์ จงึ จำเป็นอย่างยง่ิ ที่ครจู ะต้อง
จัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาศในการใช้รูปแบบหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ เพื่อสื่อความหมายได้
อย่างเหมาะสม
2. นักเรียนทไี่ ด้รบั การเรียนการสอนวชิ าภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense โดยมีความ
คิดเห็นที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.41
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อความถามความคิดเห็นที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2
ข้อความ คือการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense เปิดโอกาศให้นักเรียนได้แสดงความ
คิดเห็น ได้เต็มที่ และการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense มุ่งให้นักเรียนมีส่วนร่วม
โดยมีคา่ เฉลี่ย 4.76 และ 4.56 ตามลำดบั สำหรับขอ้ ความท่ีคะแนนความคิดเห็นน้อยทสี่ ุด คือ การเรียนวิชา
ภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense มีขั้นตอนที่เข้าใจง่ายและสามารถปฏิบัติได้โดยมีค่าเฉลี่ย
4.19 แต่ยังอยู่ในระดับมาก โดยผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ของแบบสอบถามแสดงความ
คิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense จากคะแนนรวม 50
คะแนน นำมาหาค่าเฉลี่ย 5 ระดับ ตามการแปลผลของ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2543:107-108) นอกจาก
นักเรียนจะสามารถเรียนรไู้ วยากรณภ์ าษาอังกฤษด้วยตนเองแล้ว ทำให้นักเรยี นเกิดความม่นั ใจและกล้าซักถาม
เมอ่ื เกดิ ขอ้ สงสงั หรือไมเ่ ขา้ ใจบทเรยี น
ขอ้ สังเกตในงานวิจัย
1. ผูว้ จิ ัยคดั เลอื กกล่มุ ตวั อยา่ งดว้ ยการสมุ่ อย่างง่าย (Simple Random Sampling)
2. จดั ปฐมนิเทศเพือ่ ทำความเขา้ ใจกบั นักเรยี นเกี่ยวกับชุดการเรียนสำเร็จรปู
3. ทำการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบแบบทดสอบวัดผล
สมั ฤทธ์ิ
4 . ดำเนินการใช้ชุดการเรียนสำเร็จรูปเป็นระยะเวลา 8 คาบ ซึ่งจะเป็นการนำเสนอเนื้อหาเรื่อง
Present Simple Tense
5. ทำการเกบ็ ข้อมูลในฝกึ ปฏิบตั กิ จิ กรรมในชดุ การเรียนสำเรจ็ รปู
6. ทำการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) ด้วยแบบทดสอบฉบับเดิมและดำเนินการประเมินผล
จากการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบดังกล่าว และนักเรียนแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนเรื่อง
Present Simple Tense
7. นำผลคะแนนที่ไดจ้ ากการทดลองมาวิเคราะห์หาคา่ ทางสถติ ิ
8. สรุปผลและอภปิ รายผลการทดลอง
ปัญหาท่ีพบในการทำวิจัย
1.ในระยะแรกของการทดลอง ผู้วิจัยพบว่า นักเรียนยังไม่คุ้นเคยกับวิธีการเรียนแบบใช้ชุดการเรียน
สำเร็จรปู จงึ ใหค้ วามรว่ มมอื ไม่ดีเท่าทีค่ วร
2. การวิจัยครัง้ นี้มขี ้อจำกัดในเรื่องของเวลาในการทดลอง ทำให้ไม่สามารถเห็นพัฒนาการของผู้เรยี น
ไดช้ ดั เจนเท่าท่ีควร การเรียนไวยากรณ์เป็นเรยี นที่ค่อนขา้ งยากและจะต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ดังน้ันนักเรียน
ควรจะได้รบั การฝึกอยา่ งต่อเนื่อง
ขอ้ เสนอแนะ
ขอ้ เสนอแนะทั่วไป
1. การศกึ ษาคน้ ควา้ ครงั้ นี้ กลุ่มตวั อย่างเป็นนกั เรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปที ี่ 5 เนือ้ หา
สอดคล้องกับหนังสือเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หากนำกิจกรรมที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปใช้กับ
นักเรียนระดบั อื่นๆควรมีการปรับเน้อื หาและระดบั ภาษาที่เหมาะสมกบั ความสามารถของผ้เู รยี น
2. ในการเรียนร้ภู าษาอังกฤษในห้องเรียนควรเปิดโอกาศใหน้ ักเรยี นได้ฝึกฟัง-พูด
ภาษาอังกฤษ และเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนอย่างคล่องแคล่วในการสนทนา
โตต้ อบกับครแู ละเพื่อน
3. ครูควรสร้างบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน หาบรรยากาศในห้องเรียนเป็นกันเองและสนุกจะทำให้
ผู้เรียนไม่เครยี ด และกล้าท่ีจะใช้ภาษาโดยไมต่ ้องกลวั การพดู ผิด
ข้อเสนอแนะในการทำวจิ ัยคร้ังต่อไป
1. ควรมกี ารนำวิธีการสอนไวยากรณโ์ ดยใช้การเรยี นสำเรจ็ รูปวิชาภาษาองั กฤษ ไปใช้
สอนเพ่ือพฒั นาความสามารถทางภาษาองั กฤษในทักษะอืน่ ๆ เชน่ ทกั ษะการ ฟงั พูด อา่ น และเขียน
แบบสอบถามแสดงความคดิ เหน็ ของนกั เรยี นท่ีมตี อ่ การเรยี นวชิ าภาษาอังกฤษ
เร่อื ง present simple tense หลงั การทดลอง
ขอ้ ความ น้อย นอ้ ย ปาน มาก มาก
ทส่ี ุด กลาง ท่สี ดุ
1. การเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรอ่ื ง present simple tense มีขน้ั ตอนที่
เข้าใจง่ายและสามารถปฏิบัติได้
2. บรรยากาศการเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรื่อง present simple tense
สนกุ ไม่เครยี ด
3. การเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเรอ่ื ง present simple tense ช่วยให้
นกั เรียนรจู้ กั คดิ แบบวเิ คราะห์
4. การเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense ทำให้
นักเรยี นรู้สกึ ว่าภาษาอังกฤษมีประโยชน์
5. การเรยี นวชิ าภาษาอังกฤษเร่อื ง present simple tense ช่วยให้
นักเรยี นเข้าใจบทเรยี นดขี นึ้
6. การเรียนวิชาภาษาองั กฤษเรอ่ื ง present simple tense เปิดโอกาศ
ให้นักเรียนได้แสดงความคดิ เห็นไดเ้ ตม็ ท่ี
7. การเรียนวิชาภาษาองั กฤษเรอ่ื ง present simple tense ม่งุ ให้
นักเรยี นมีสว่ นรว่ ม
8. ผลจากการเรยี นวิชาภาษาองั กฤษเร่ือง present simple tense ชว่ ย
ใหน้ กั เรียนไดเ้ รยี นรู้ไวยากรณ์ภาษาองั กฤษมากขึ้น
9. ผลจากการเรยี นวชิ าภาษาอังกฤษเรื่อง present simple tense ช่วย
ให้นกั เรยี นไดเ้ รียนรู้การใชค้ ำคำกรยิ าไดถ้ ูกต้อง
10.ผลจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเร่ือง present simple tense ช่วย
ใหน้ ักเรียนเขียนประโยคทเี่ ป็นpresent simple tense ไดถ้ ูกต้องตาม
หลักไวยากรณ์
ข้อเสนอแนะ
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________