กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอด 8 ชั้นตอน
1. Engagement 2. Descent
3. Flexion 4. Internal rotation
5. Extention 6. Restitution
7. External rotation 8. Expulsion
ขั้นตอนที่ 1 ENGAGEMENT
เริ่มจากทารกอยู่ในท่า LOA ส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะทารก (Biparietal)
ผ่านเข้าก็สู่ช่องเชิงกราน โดยเอาแนว Sagittal suture ขนานกับเส้นขวางของช่องเข้า
ขั้นตอนที่ 2 DESCENT
หลังจากชั้นศีรษะทารกจะค่อยๆ เคลื่อนต่ำลงมา ประกอบด้ายแรง
+ มดลูกหดรัดตัว Uterine contraction
+ แรงดันภายในถุงน้ำคร่ำ Hydrostatic pressure
+ แรงเบ่งของคุณแม่ Maternal force
+ แรงจากการยึดเหยียดลำตัวของทารก Fetal asix pressure
ขั้นตอนที่ 3 FLEXION
ส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมาเรื่อยๆ ก็จะมาชนกับพื้นที่บริเวณเชิงกราน หลังจากนั้นมีการ
เปลี่ยนทรง ก้มหน้า คางชิดอก Complete flexion ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ
ศีรษะทารกเปลี่ยนจาก OF ซึ่งก่อนหน้านี้ยาว 11.5 cm เป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง S0B
ซึ่งมีความยาว 9.5 cm ทำให้การคลอดง่ายขึ้น ทารกไม่สามารถเคลื่อนต่ำไปได้
มากกว่านี้แล้ว
ขั้นตอนที่ 4 Internal Rotation
เมื่อศีรษะของทารกชนกับ ischial spine จะเกิดการหมุนภายในเพื่อให้รอยต่อแสกกลาง
อยู่ในแนวหน้าหลังของช่องออกเชิงกรานแต่ไหล่และหลังยังอยู่ท่าเดิม
ทารกที่มีท่าท้ายทอยอยู่ด้านซ้ายของเชิงกราน LOA หมุน 45 องศา ทวนเข็มนาฬิกา
เพื่ออยู่ในแนว AP เมื่อ Sagittal suture อยู่ในแนว AP ทารกจะพร้อมที่จะคลอดออกมา
ขั้นตอนที่ 5 EXTENSION
ทารกค่อยๆเงยหน้าผ่านช่องทางคลอดออกมาสู่โลกภายนอก
โดยมีการใช้ส่วน S0B เป็นจุดหมุนยันกับใต้รอยต่อกระดูกหัวเหน่า
ศีรษะทารกจะคลอดโดยการเงยหน้า หน้าผาก จมูก ปาก คาง
และส่วนของศีรษะทั้งหมดออกมา
ขั้นตอนที่ 6 RESTITUTION
เมื่อมีการคลอดศีรษะออกมาทารกจะเกิดการสะบัดกลับศีรษะ เพื่อให้รอยต่อแสกกลาง
(Sagittal suture) ตั้งฉากกับไหล่ ในท่าทารกรอยต่อแสกกลางอยู่ในแนว LOA
อยู่ในตำแหน่งเดียวกับหลังหรือท่าเมื่อผ่านเข้าช่องเชิงกราน โดยจะหมุน 45 องศา เสมอ
ขั้นตอนที่ 7 EXTERNAL ROTATION
เป็นการช่วยหมุนศรีษะภายนอกโดยผู้ทำคลอด ผู้ช่วยคลอดต้องช่วยหมุนภายนอก
45 องศา ตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้ความกว้างของไหล่อยู่ในแนวหน้า-หลังของช่อง
คลอด
จากนั้นไหล่ของทารกจะโผล่ออกมาใต้โค้งกระดูกหัวเหน่า
ขั้นตอนที่ 8 EXPULSION
เมื่อไหล่บนของทารกโผล่ออกมาใต้โค้งกระดูกหัวเหน่า ผู้ช่วยคลอดจับบริเวณขมับทั้งสองข้าง
ของทารกแล้วโน้มศรีษะทารกลงล่าง จนเห็นซอกรักแร้ หลังจากนั้นโน้มศีรษะทารกขึ้น
45 องศา เป็นการช่วยทำลอด ศีรษะ ลำตัว แขน และขา
จัดทำโดย
63170006 นางสาวไข่มุก วารุรัง 63170023 นางสาวทิพอักษร สุวรรณโพธิ์ศรี
63170024 นางสาวทิพารัตน์ แขนสันเทียะ 63170026 นางสาวธิดาศรี วงค์ศรีชา
63170036 นางสาวแพรวพรรณ สุพลไทย 63170043 นางสาววราภรณ์ นิลพัฒน์
63170049 นางสาวสุจิรา ปิดตาระตัง 63170052 นางสาวสุภาวรรณ สาขา
63170104 นางสาวพรณิภา เสามะรี 63170112 นางสาวนาเดีย โต๊ะเส็น