การนับเวลา
แบบไทย
ประเทศไทยเรานอกจากจะใช้วิธีการบอกเวลาแบบสากลแล้ว ก็ยังมี
การบอกเวลาที่มีลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะประเทศเราไทยเราเฉพาะ
อย่างการนับเวลาด้วยการใช้ โมง-ทุ่ม-ตี-ยาม นั่นเอง
โมง / ทุ่ม / ตี
คนไทยสมัยก่อนใช้การตีฆ้องและตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณบอกเวลา คำ โมง จึง
เป็นคำที่เลียนเสียงฆ้อง ส่วนคำ ทุ่ม เลียนมาจากเสียงกลองนั่นเอง พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้อธิบายคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการนับเวลาของ
ไทยไว้ดังนี้
โมง หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน
ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยม
เรียกว่า เที่ยงวัน ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง
ถึง บ่าย ๕ โมง ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า
ทุ่ม หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙
นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม
ตี หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖
นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖ แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง
ยาม เป็นการนับเวลากลางคืนในประเทศไทยสมัยโบราณ และพบในการพากย์ภาพยนตร์
จีนที่เรียกว่า ชั่วยาม โดยในจีนแบ่ง ๑ วันเป็น ๑๒ ชั่วยามตามที่บอกไว้ในธงชาติ
สาธารณรัฐจีน ขณะที่หนึ่งยามของไทยมีค่าประมาณ ๓ ชั่วโมง
คำว่า “ยาม” ที่เรานับกันตามแบบไทย ๆ กับ “ยาม” ของแขก
ตามที่ปรากฏในบาลีนั้นแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะคืนหนึ่งเรา
แบ่งเป็น ๔ ยาม ยามละ ๓ ชั่วโมง
ตั้งแต่ย่ำค่ำ คือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๓ ทุ่ม (๒๑ นาฬิกา) เป็นยามที่ ๑
หลังจาก ๒๑ นาฬิกา หรือ ๓ ทุ่ม ไปถึง ๒๔ นาฬิกา หรือ เที่ยงคืน
เราเรียกว่า ยาม ๒ หรือ ๒ ยาม
หลัง ๒๔ นาฬิกา ไปถึงตี ๓ (๓ นาฬิกา) เราเรียกว่า ยาม ๓
และหลังจากตี ๓ ไปจนย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา
เราเรียกว่า ยาม ๔ ซึ่งเป็นยามสุดท้ายของคืน
ยามตามคติบาลี
ในวรรณคดีไทยถือตามคติสันสกฤตว่า คืนหนึ่งมี ๔ ยาม ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง แต่คติที่ปรากฏใน
วรรณคดีบาลีรวมถึงวรรณคดีบาลีที่แปลแต่งเป็นภาษาไทยว่าไว้ต่างกัน คือกำหนดว่า คืนหนึ่งมี ๓ ยาม
ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกยามทั้ง ๓ ช่วงนี้ตามลำดับว่า ปฐมยาม (อ่านว่า ปะ -ถม-มะ -ยาม) ทุติยยาม
(อ่านว่า ทุ -ติ-ยะ -ยาม) และปัจฉิมยาม (อ่านว่า ปัด-ฉิม-มะ -ยาม) ตามลำดับ
ปฐมยาม หรือ ยามแรก ได้แก่ช่วงเวลา ๑๘.๐๐-๒๒.๐๐ น.
ทุติยยาม หรือ ยามที่ 2 ได้แก่ช่วงเวลา ๒๒.๐๐-๐๒.๐๐ น.
ปัจฉิมยาม หรือ ยามสุดท้าย ได้แก่ช่วงเวลา ๐๒.๐๐-๐๖.๐๐ น.
ยามตามคตินี้ปรากฏในเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ
ราชนิพนธ์จากมงคลสูตรและอรรถกถามงคลสูตร ความตอนหนึ่งกล่าวถึงเทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้า
หลังพ้นปฐมยามหรือพ้นเวลา ๒๒.๐๐ น. ไปแล้ว เพื่อทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สิ่งใดเป็นมงคล
เเบ่งการนับช่วงเวลาออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ
เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ซึ่งเมื่อดวงจันทร์
รอบโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม วันทางจันทรคติจึงเรียกว่า วันขึ้น
วันแรม โดยดูจากลักษณะของดวงจันทร์
ข้างขึ้น คือ ช่วงเวลาหลังจากดวงจันทร์มืดสนิท และค่อย ๆ มองเห็นดวงจันทร์สว่าง
ขึ้น จนมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งกินเวลา 15 วัน โดยนับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึง
วันขึ้น 15 ค่ำ
ข้างแรม คือ ช่วงเวลาหลังจากดวงจันทร์เต็มดวง และค่อย ๆ มองเห็นดวงจันทร์มืดลง
จนมองเห็นดวงจันทร์มืดจนหมดดวง ซึ่งกินเวลา 15 วัน โดยนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ ไป
จนถึงวันแรม 15 ค่ำ
การนับเดือน จะเรียกชื่อเดือนแบบง่าย ๆ ดังนี้ เดือนอ้าย (เดือนหนึ่ง) เดือนยี่ (เดือนสอง)
เดือนสาม เดือนสี่ เรื่อยไป จนถึงเดือนสิบสอง
2. การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ
เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ซึ่งกิน
เวลาทั้งสิ้นประมาณ 365 วัน หรือ 1 ปี และใน 1 ปี มี 12 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน
มกราคมจนถึงเดือนธันวาคม การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ เป็นการนับเวลา
ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน
การนับวัน มีจำนวนทั้งหมด 7 วัน หรือเรียกอีกอย่างว่า 1 สัปดาห์
คือ วันอาทิตย์,วันจันทร์,วันอังคาร,วันพุธ,วันพฤหัสบดี,วันศุกร์,วันเสาร์
การนับเดือน มี 12 เดือน กรกฎาคม
มกราคม สิงหาคม
กุมภาพันธ์ กันยายน
มีนาคม ตุลาคม
เมษายน พฤศจิกายน
พฤษภาคม ธันวาคม
มิถุนายน
** เดือนที่ลงท้ายด้วย (คม) มี 31 วัน เดือนที่ลงท้ายด้วย (ยน) มี 30 วัน
เดือนกุมภาพันธ์มีเพียง 28 วัน แต่ทุก 4 ปี จะมี 29 วัน
เช่น - วันขึ้นปีใหม่ของปี พ.ศ. 2561 ตรงกับวันจันทร์ที่ 1 มกราคม
- ในปี พ.ศ. 2561 วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม
สมาชิก
นางสาวจิราพร เกตุแก้ว เลขที่ 5
นางสาวณัฐชยา เทพมณฑา เลขที่ 6
นางสาวอริสรา ผลประทุม เลขที่ 29
นางสาวมาริษา ปราบมาก เลขที่ 37
นางสาวสุภาวดี ไชยณรงค์ เลขที่ 38