The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jeerawan1901, 2022-02-01 13:01:31

ขุนช้างขุนแผน

ขุนช้างขุนแผน

สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย



รหัสวิชา ท32102 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา



ครูจีรวรรณ์ เข็มกลัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ขุนช้างขุนแผน

ผู้แต่ง

ไม่ปรากฏนามผู้แต่งตอนขุนช้างถวายฎีกาแต่ได้รับการยกย่องจาก
วรรณคดีสโมสรว่าแต่งดีเยี่ยมโดยเฉพาะ กระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์
สะเทือนใจ(เป็น ๑ ใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่อง) ในตอนขุนแผนขึ้น
เรือนขุนช้างและตอนขุนแผนพานางวันทองหนีเป็นพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนขุนช้างขอนางพิมและขุน
ช้างตามนางวันทองเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว ตอนกำเนิดพลายงามเป็นสำนวนของสุนทรภู่

ที่มาของเรื่อง

(1) เรื่องนี้เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจริงในสมัยสมเด็จพระพันวษา แห่งกรุงศรีอยุธยา
- ตำนวนเดิมเล่าเพียงว่า มีนายทหารผู้มีฝีมือนายหนึ่ง มีตำแหน่ง

เป็นขุนแผน ได้ถวายดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา
(2) ต่อมามีการนำเรื่อง ขุนช้างขุนแผน มาแต่งเป็นกลอนสุภาพและใช้ บทขับ

เสภา โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบมีทั้งหมด 43 ตอนด้วยกัน
- บทขับเสภาที่นิยมมากที่สุดคือเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ซึ่งได้รับการ

ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของกลอนสุภาพที่มีความไพเราะ ดีเลิศทั้ง
เนื้อเรื่องและกระบวนกลอน

ที่มาของเรื่อง

(3) บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน มีกวีเอกหลายท่านร่วมกันแต่ง สันนิษฐานว่าแต่ง
ตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า
*ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง และตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี

เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
*ตอนขุนช้างขอนางพิม และ ตอนขุนช้างตามนางวันทอง เป็นพระราช

นิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งยังดำรงพระ อิสริยยศเป็น กรม
หมื่นเจษฎาบดินทร์)

*ตอน กำเนิดพลายงาม เป็นสำนวนของสุนทรภู่

ที่มาของเรื่อง

(4) ตอน ขุนช้างถวายฎีกานี้ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ตอนที่นำมาเป็นบทเรียนนี้
คือตอนที่ 35 แต่เป็นหนึ่งใน 8 ตอนที่ได้รับการยกย่องจากสมาคมวรรณคดี (สมัย ร.7)
ว่าแต่งดีเป็นเยี่ยม โดยเฉพาะกระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์สะเทือนใจ

ความสำคัญ
ของเรื่อง

เรื่องขุนช้าง ขุนแผน เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็น
ยอดของวรรณคดีประเภทกลอนสุภาพ ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน น่าติดตามตลอดทั้งเรื่อง เพียบพร้อมด้วยรสวรรณคดี
ครบถ้วนทุกรสกระบวนกลอนดี อ่านเข้าใจง่าย
2. เนื้อเรื่องมีความสมจริงสมจัง สมเหตุสมผล ตัวละครมีชีวิตชีวา เป็นไปเหมือน
ชีวิตจริง มีรัก โลภ โกรธ หลง ฯลฯ ตามความเป็นไปแห่งปุถุชนทั้งหลาย

ความสำคัญ
ของเรื่อง

3. แม้ว่าจะมีผู้แต่งหลายคน แต่เนื้อเรื่องมีความสัมพันธ์กัน ไม่สับสน บุคลิกและ
ลักษณะนิสัยสม่ำเสมอ คงเส้นคงวา
4. ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและ
วัฒนธรรมในสมัยก่อนเป็นอย่างดี

ขุนช้างขุนแผน
ตอนขุนช้างถวายฎีกา

เนื้อเรื่องย่อ

กล่าวฝ่ายขุนแผนนอนอยู่ในเรือนกับนางแก้ว
กิริยาและนางลาวทองอย่างมีความสุข ครั้นสองนาง
หลับ ขุนแผนก็คิดถึงนางวันทองที่พลายงามไปนำตัว
มาไว้ที่บ้าน จึงออกจากห้องย่องไปหานางวันทองหวัง
จะร่วมหลับนอนกัน แต่นางปฏิเสธแล้วพากันหลับไป
แต่พอตกตึกนางวันทองก็เกิด

ฝันร้ายตกใจตื่นเล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง
ขุนแผนฟังความฝันของนางก็รู้ทันทีว่าเป็นเรื่องร้าย
อันตรายถึงชีวิตแน่นอน แต่ก็แกล้งทำนายไปในทางดี
เสีย เพื่อนางจะได้สบายใจ

ขุนช้างขุนแผน
ตอนขุนช้างถวายฎีกา

เนื้อเรื่องย่อ

ฝ่ายสมเด็จพระพันวษา ครั้นทรงอ่านคำฟ้องของ
ขุนช้างก็ทรงกริ้วยิ่งนัก ให้ทหารไปตามตัวนางวันทอง
ขุนแผนและพระไวยมาเฝ้าทันที ขุนแผนเกรงว่านาง
วันทองจะมีภัย จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้นางวันทองทา
ปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตา แล้วจึงพานางเข้าเฝ้า
เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ใจอ่อนเอ็นดู ตรัสถาม
เรื่องราวที่เป็นมาจากนางวันทองว่า ตอนชนะคดีให้ไป
อยู่กับขุนแผนแล้วทำไมจึงไปอยู่กับขุนช้างนางวันทอง
ก็กราบทูลด้วยความกลัวไปตามจริงว่า ขุนแผนถูก
จองจำ

ขุนช้างขุนแผน
ตอนขุนช้างถวายฎีกา

เนื้อเรื่องย่อ

ขุนช้างเอาพระโองการไปอ้างให้ฉุดนางไปอยู่ด้วย
เพื่อนบ้านเห็นเหตุการณ์ก็ไม่กล้าเข้าช่วยเพราะกลัวผิด
พระโองการ สมเด็จพระพันวษาฟังความทรงกริ้วขุน
ช้างมาก ทรงถามนางวันทองอีกว่าขุนช้างไปฉุดให้อยู่
ด้วยกันมาตั้ง 18 ปี แล้วคราวนี้หนีมาหรือมี ใครไปรับ
มาอยู่กับขุนแผน นางวันทองก็กราบทูลไปตามจริงว่า
พระไวยเป็นผู้ไปรับมาเวลาสองยาม ขุนช้างจึงหาความ
ว่า หลบหนี สมเด็จพระพันวษา ทรงกริ้วพระไวยที่ทำ
อะไรตามใจตน นึกจะขึ้นบ้านใครก็ขึ้น ทำเหมือนบ้าน
เมืองไม่มีขื่อมีแป และว่าขุนแผนรู้เห็นเป็นใจ

ขุนช้างขุนแผน
ตอนขุนช้างถวายฎีกา

เนื้อเรื่องย่อ

สมเด็จพระพันวษาทรงคิดว่า สาเหตุของความวุ่นวาย
ทั้งหมดนี้เกิดจากนางวันทองจึงให้นางวันทองตัดสินใจ
ว่าจะอยู่กับใคร นางวันทองตกใจประหม่า อีกทั้งจะ
หมดอายุขัยจึงบันดาลให้พูดไม่ออกบอกไม่ถูกว่าจะอยู่
กับใคร นางให้เหตุผลว่า นางรักขุนแผน แต่ขุนช้างก็ดี
กับนาง ส่วนพลายงามก็เป็นลูกรัก ทำให้สมเด็จพระ
พันวษากริ้วมาก เห็นว่านางวันทองเป็นคนหลายใจ
เป็นหญิงแพศยา จึงให้ประหารชีวิตนางวันทองเพื่อมิ
ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป



คำศัพท์สำคัญ

จตุบททวิบาท หมายถึง สัตว์สี่เท้าและสัตว์สองเท้า
ทักทิน หมายถึง วันอันชั่วร้าย
ลิ่ม หมายถึง ไม้หรือเหล็กสำหรับขัดให้แน่น
ดาล หมายถึง กลอนประตูที่ทำด้วยไม้สำหรับขัดบานประตู
อัฒจันทร์ หมายถึง ที่นั่งเป็นชั้นๆสำหรับดูการแสดงในที่นี้หมายถึง
ชั้นที่วางเครื่องแก้ว
ษมา หมายถึง กล่าวคำขอโทษ
มินหม้อ หมายถึง เขม่าดำที่ติดก้นหม้อ
ยาเข้าปรอท หมายถึง ยาที่ประสมสารปรอท

ของวิเศษ
ของขุนแผน

กุมารทอง
ตำรากุมารทองเป็นไสยศาสตร์ในยุคที่เรียกว่ากรรมฐานนิพานสูตร
อันมีอยู่ในสมุดข่อยสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำราแบ่งเป็นสองประเภทคือ 1 กุมารทอง
ใช้งาน 2.กุมารทองทำร้าย แต่วิธีเบื้องต้นในการสร้างคล้ายกันคือการนำวิญญาณ
ใช้ประโยชน์แบบเตภูมิ 4 อัน ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ของวิเศษ
ของขุนแผน

ม้าสีหมอก
สีหมอก เป็นม้าแสนรู้พาหนะประจำตัวของขุนแผน แม่เป็นม้าเทศชื่อ
อีเหลือง พ่อเป็นม้าน้ำ คลอดจากท้องแม่เมื่อวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ ตัวสีหมอก ตาสีดำ
หลวงศรีวรข่านได้รับคำสั่งจากสมเด็จพระพันวษาให้ไปซื้อม้าที่เมืองมะริด ประเทศ
อินเดีย สีหมอกซึ่งเป็นลูกม้ารุ่นหนุ่มก็ติดตามแม่มาด้วย แต่ความซุกซนทำให้เที่ยว
ไล่กัดม้าตัวอื่นๆอยู่เสมอ ต้องตามตำราจึงเข้าไปขอซื้อ แล้วเสกหญ้าให้กิน

สีหมอกก็ติดตามขุนแผนไปโดยดี

ของวิเศษ
ของขุนแผน

ดาบฟ้าฟื้น
ดาบฟ้าฟื้นเกิดจากการเอาเหล็กรวมทั้งโลหะอื่นแล้วก็นำมาหล่อรวม
กัน พอฤกษ์งามยามดีก็ตั้งศาลเพียงตา แล้วให้ช่างตีเหล็กบรรจงแต่งตามรูปที่
ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วมีสีเขียวแมลงทับ จากนั้นก็เจาะไม้ชัยพฤกษ์เอาผมผีพราย
ตัวร้าย ๆ ใส่เข้าไปแล้วเอาชันกรอกทับเป็นด้าม เมื่อขุนแผนลองแกว่งดูก็เกิดเมฆลม
พัดตลบอบอวลฟ้าผ่าดังเปรี้ยงปร้าง แล้วเอาไม้สรรพยามาทำฝักแต่งเติมเสริม

ความงามจนพอใจจึงตั้งชื่อว่า ดาบฟ้าฟื้น

คำศัพท์สำคัญ

สาระแน หมายถึง ชอบเข้าไปยุ่งในเรื่องของคนอื่น
การนุ่งผ้าหยักรั้งขึ้นไปจนพ้นหัวเข่า
ถกเขมร หมายถึง ปัจจุบัน
กระดานที่ทำด้วยหินชนวนใช้เขียนหนังสือ
ประจุบัน หมายถึง เที่ยวไปทางเรือในฤดูน้ำหลาก
ผู้คอยให้จังหวะในการพายเรือ
กระดานชนวน หมายถึง พระวิสูตร หมายถึง ม่าน
หมากที่มีเวทมนตร์คาถา
ประพาสบัว หมายถึง

บโทนอันต้นกัญญา หมายถึง

พระสูตร หมายถึง

หมากเวทย์ หมายถึง

คำศัพท์สำคัญ

น้ำมันพราย หมายถึง น้ำมันที่ได้จากการลนปลายคางหญิงที่ตายทั้งกลม
น้ำมันจันทน์ หมายถึง น้ำมันที่กลั่นจากไม้จันทน์ มีกลิ่นหอม
สิงหนาท หมายถึง เสียงตวาดที่เหมือนกับเสียงของราชสีห์
ตราสิน หมายถึง แจ้งความ
ปรับไหม หมายถึง การชำระเงินทดแทนความผิด
อุธัจ หมายถึง ประหม่า
จู่ลู่ หมายถึง หุนหันพลันแล่น

คุณค่าของเรื่อง

1. ด้านวัฒนธรรมประเพณี เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ให้
คุณค่าด้านวัฒนธรรมประเพณีหลายประการ เช่น
1.1 ด้านชีวิตความเป็นอยู่ จากคำประพันธ์ในเรื่อง สะท้อนให้เห็นสภาพชี
วิตความเปนอยู่ ของคนสมัยนั้นว่า บ้านเศรษฐีมีเงินจะมีข้าทาสบริวารมาก เห็นได้จาก
คำประพันธ์ต่อไปนี้
พลางเรียกหาข้าไทอยู่ว้าวุ่น อีอุ่นอีอิ่มอีฉิมอีสอน
อีมีอีมาอีสาคร นิ่งนอนไยหวามาหากู

คุณค่าของเรื่อง

1.2 ด้านลักษณะบ้านเรือน สะท้อนให้เห็นลักษณะบ้านเรือนที่มีกลอนประตูแบบ
ขัดดาลและมีการปลูกไม้ดอกที่ชานบ้าน ดังคำประพันธ์ว่า
สะเดาะดาลกลอนบานหน้าต่างกาง ย่างเท้าก้าวขึ้นร้านดอกไม้
1.3 ด้านความเชื่อ เรื่องขุนช้าง ขุนแผนตอนนี้ สะท้อนให้เห็นความเชื่อหลาย
ประการ ดังนี้
1.3.1 ความเชื่อด้านโหราศาสตร์ เกี่ยวกับการใช้เวทมนตร์คาถา อิทธิฤทธิ์
ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ การทำเสน่ห์เล่ห์กล เช่น ตอนที่พลายงามลอบขึ้นเรือนขุนช้าง
เป่ามนตร์เบื้องบนชอุ่มมัว พรายยั่วยวนใจให้ไคลคลา
และตอนที่ขุนแผน จมึ่นไวยวรนาถและวันทอง จะเข้าเฝ้าสมเด็จพระพันวษาตามรับสั่ง
ขุนแผนได้ใช้เวทมนตร์คาถาดังนี้
สีขึ้ผึ้งปากกินหมากเวทย์ ซึ่งวิเศษสารพัดแก้ขัดสน
น้ำมันพรายน้ำมันจันทน์สรรเสกปน เคยคุ้มขังบังตนแต่ไรมา

คุณค่าของเรื่อง

เช่น 1.3.2 ความเชื่อเกี่ยวกับความฝัน และการแก้ฝันเพื่อที่จะทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี

ครานั้นขุนแผนแสนสนิท ฟังความตามนิมิตก็ใจหาย
ครั้งนี้น่าจะมีอันตราย ฝันร้ายสาหัสตัดตำรา
พรุ่งนี้พี่จะแก้เสนียดฝัน แล้วทำมิ่งสิ่งขวัญให้เป็นสุข
1.3.3 ความเชื่อเกี่ยวกับลางสังหรณ์ โดยเชื่อว่าสัตว์บางชนิดสามารถบอกเหตุหรือบาง
ลางร้ายได้จากการแสดงอาการผิดปกติ เช่น
ใต้เตียงเสียงหนูก็กุกกุก แมงมุมทุ่มอกที่ริมฝา

คุณค่าของเรื่อง

1.4 ด้านค่านิยม เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นค่านิยมด้านสังคม กล่าวคือ ผู้ชายมีเมียได้
หลายคนโดยไม่ถูกตำหนิ แต่ผู้หญิงจะถูกตำหนิทันทีว่าเป็นคนสองใจ เห็นได้จากขุนแผนมีเมีย
ถึง 5 คน คือ นางวันทอง นางลาวทอง นางสายทอง นางบัวคลี่ นางแก้วกิริยา แต่นางวัน
ทองถึงแม้จำใจต้องไปอยู่กับขุนช้าง ก็ถูกกล่าวหาว่าสองใจ
1.5 ด้านการแต่งกาย เห็นลักษณะการนุ่งผ้าหยักรั้งขึ้นไปจนเหนือหัวเข่า ที่เรียกว่า
ถกเขมร ดังนี้
ลุกถกเขมรร้องเกนไป ทุดอ้ายไพร่ขี้ครอกหลอกผู้ดี

คุณค่าของเรื่อง

1.6 ด้านบทบาทของพระเจ้าแผ่นดิน ขากเรื่องสะท้อนให้เห็น พระราชอำนาจของ
พระเจ้า-แผ่นดินในการลงโทษ การตั้งพระราชกฤษฎีกา และการตัดสินคดีความ ดังคำ
ประพันธ์
เฮ้ยใครรับฟ้องของมันที ตีเสียสามสิบทีจึงปล่อยไป
ลงพระราชอาญาตามว่าไว้ พระจึงให้ตั้งกฤษฎีกา
ครานั้นพระองค์ทรงธรณินทร์ หาได้ยินวันทองทูลขึ้นไม่
พระตรัสความถามซักไปทันใด ฤามึงไม่รักใครก็ว่ามา

คุณค่าของเรื่อง

2. ด้านความไพเราะ ความงามทางภาษา
2.1 การพรรณนาที่ไพเราะ โดยเฉพาะการพรรณนาธรรมชาติ ทำให้ผู้อ่านเกิด

จินตภาพ เช่น
เงียบสัตว์จัตุบททวิบาท ดาวดาษเดือนสว่างกระจ่างไข

น้ำค้างตกกระเซ็นเย็นเยือกใจ สงัดเสียงคนใครไม่พูดจา

2.2 การเปรียบเทียบแบบอุปมา โดยมีคำว่า “เหมือน” หรือคำอื่นๆที่มีความหมาย
ว่า “เหมือน” เช่น
ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ ฟังจบแค้นคั่งดังเพลิงไหม้
เหมือนดินประสิวปลิวติดกับเปลวไฟ ดูดู๋เป็นได้อีวันทอง
ดังทองคำทำเลี่ยมปากกะลา หน้าตาดำเหมือนมินหม้อมอม
เหมือนแมลงวันว่อนเคล้าที่เน่าชั่ว มาเกลือกกลั้วปทุมมาลย์ที่หวานหอม

คุณค่าของเรื่อง

2.3 การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ เช่น
รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม
2.4 ลีลากลอนที่แสดงอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างสมจริงสมจัง ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์
คล้อยตามได้ เช่น
อารมณ์ขัน
ยายจันงันงกยกมือไหว้ นั่นพ่อจะไปไหนพ่อทูนหัว
ไม่นุ่งผ่อนนุ่งผ้าดูน่ากลัว ขุนช้างมองดูตัวก็ตกใจ

คุณค่าของเรื่อง

อารมณ์โกรธ เร่งเร็วเหวยพระยายมราช ไปฟันฟาดเสียให้มันเป็นผี
อารมณ์รัก อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู
เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่
ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย
จะฟูมฟักเหมือนเมื่ออยู่ในกลางเถื่อน
จะเป็นตายง่ายยากไม่จากรัก เจ้าเพื่อนเสน่หาจงอาลัย
ขอโทษทีพี่ผิดอย่างบิดเบือน

คุณค่าของเรื่อง

3. ด้านข้อคิดและคติสอนใจ เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ให้ข้อคิดและคติสอนใจ
หลายประการ ดังนี้
3.1 การตัดสินใจใดๆ ควรใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนและต้องตัดสินใจให้เด็ดขาด
การที่นางวันทองต้องถูกลงโทษประหารชีวิตนั้นเพราะนางมีจิตใจไม่แน่นอนกับสามี
คนแรกคือขุนแผน นางก็รักมากมาย เพราะเคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานาน ส่วนขุนช้างนั้นน่าเห็นใจ
เพราะรักนางมาก ทำให้นางไม่กล้าตัดสินใจใดๆ จึงกราบทูลเป็นกลางๆ ทำให้สมเด็จพระพันวษา
โกรธเป็นอย่างยิ่ง ดังคำประพันธ์
มึงนี่ถ่อยยิ่งกว่าถ่อยอีท้ายเมือง จะเอาเรื่องไม่ได้สักสิ่งสรรพ์
ละโมบมากตัณหาตาเป็นมัน สักร้อยพันให้มึงไม่ถึงใจ
ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว หาตามตอมกันเกรียวเหมือนมึงไม่
หนักแผ่นดินกูจะอยู่ไย อ้ายไวมึงอย่านับว่ามารดา

คุณค่าของเรื่อง

3.2 แม่ย่อมรักและห่วงใยลูกเสมอ
จะเห็นได้จากตอนที่จมื่นไวยลอบขึ้นเรือนขุนช้าง สะกดให้ผู้คนหลับ แล้วจะพานางวันทอง

ออกไปกับตน การกระทำของจมื่นไวยนั้น วันทองไม่เห็นด้วยเลย เพราะเป็นการกระทำที่ผิด แต่เมื่อ
เห็นลูกดื้อดึงดันจะให้มารดาไปด้วยให้ได้ ในที่สุดนางก็ยินยอม

3.3 การกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกาลเทศะมักเกิดโทษ
การที่ขุนช้างถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวยต่อสมเด็จพระพันวษาขณะที่พระองค์เสด็จ

ประพาสบัวโดยการ “ลอยคอชูหนังสือดื้อเข้ามาผุดโผล่โงหน้ายึดแคมเรือ” นั้นทำให้สมเด็จพระพัน
วษาโกรธ ถึงกับมีรับสั่งให้ลงโทษขุนช้าง “เฮ้ยใครรับฟ้องของมันที ตีเสียสามสิบจึงปล่อยไป”

คุณค่าของเรื่อง

3.4 เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
หากพิจารณาถึงสาเหตุที่นางวันทองต้องถูกลงโทษประหารชีวิตนั้น จะเห็นได้ว่ามาจาก

ความเคียดแค้นจองเวรกันระหว่างขุนช้างและจมื่นไวย เพราะจมื่นไวยไปลักนางวันทองมาจากขุน
ช้าง ทำให้ขุนช้างเป็นเดือดเป็นแค้น ถึงกับถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวย สมเด็จพระพันวษาจึงโปรด
เกล้าฯ ให้มีการตัดสินคดีดังกล่าว ซึ่งหากไม่มีการอาฆาตจองเวรกัน เรื่องที่นางวันทองถูกประหาร
ชีวิต
คงไม่เกิดขึ้น

3.5 ผู้หญิงเป็นเพศที่เสียเปรียบเสมอ
ข้อคิดข้อนี้เห็นได้ชัดจากนางวันทอง ตัวละครที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเพศตรงข้ามตลอดมา
แม้ว่าผู้ชายแต่ละคนมีความรักให้นาง แต่นางก็ต้องตกเป็นเบี้ยล่างโดยไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องใดๆ
นับแต่แต่งงานกับขุนแผนได้เพียงไม่กี่วัน ก็ถูกขุนช้างหลอกไปเป็นเมีย เมื่อขุนแผนกลับมาก็มีผู้
หญิงอื่นตามมาด้วย นอกจากนี้นางยังต้องรับกรรมในการแย่งยื้อกันไปมาระหว่างขุนช้างและ
ขุนแผน ตลอดทั้งเรื่อง ทั้งๆที่นางไม่มีความผิด ในที่สุดนางก็ต้องถูกประหารชีวิต

สวัสดีค่ะ


Click to View FlipBook Version