The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปโครการ e-book ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by aaf99, 2021-12-27 02:59:44

สรุปโครการ e-book ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง

สรุปโครการ e-book ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง

รายงานสรุปผลการดำเนนิ โครงการยกระดบั เศรษฐกจิ และ
สังคมรายตำบลแบบบรู ณาการ

(มหาวิทยาลัยส่ตู ำบล สรา้ งรากแกว้ ใหป้ ระเทศ: U2T)

ตำบลหว้ ยโป่ง อำเภอเมืองแมฮ่ ่องสอน จังหวัดแมฮ่ ่องสอน
มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชียงใหม่ วทิ ยาเขตแม่ฮอ่ งสอน
ธันวาคม พ.ศ. 2564

คำนำ

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2563 ไดอนุมัติใหสํานักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร วิจัย และนวัตกรรม (อว.) รวมกับสถาบันอุดมศึกษา ดําเนินโครงการยกระดับ เศรษฐกิจและสังคม
รายตําบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสูตําบล สรางรากแกวใหประเทศ : U2T) มีวัตถุประสงคเพื่อยกระดับ
เศรษฐกิจและสังคมในระดับตําบล ใหเกิดการจางงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม และนักศึกษาใหมีงานทํา
โดยตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็น 1 ในตำบลที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
วทิ ยาเขตแม่ฮอ่ งสอน ได้รว่ มขบั เคลื่อนโครงการซงึ่ มีระยะเวลาดำเนินการ รวม 11 เดือน โดยเริ่มปฏบิ ัติงาน ตั้งแต
เดือนกุมภาพันธ ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 เปนตนมา ในการดําเนินงานโครงการดังกลาว มีการจ้างงานกลุ่ม
บณั ฑติ จบใหม่ กลุ่มนกั ศกึ ษา และประชาชนทั่วไป ทไ่ี ดร้ บั ผลกระทบจากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดต่อ
เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด 19 เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม โดยครอบคลุม
ประเด็นปญั หา และความต้องการของชุมชน

อนึ่ง คณะทํางาน U2T ตำบลห้วยโป่ง ไดรับความรวมมือเปนอยางดียิ่ง จากประชาชน องคกร ภาคี
เครือขายทั้งระดับจังหวัด สวนราชการระดับทองที่ และทองถิ่น ไดแก ที่ทําการปกครองอําเภอ องคการบริหาร
สว่ นตำบลหว้ ยโป่ง และหนวยงานอ่นื ในพื้นท่ี บัดน้ี คณะทํางาน U2T ตำบลห้วยโปง่ ไดดาํ เนนิ โครงการมาแลว 11
เดือน จึงจัดทํารายงานสรุปผลการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ: U2T) ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ขึ้น ทางคณะทํางานมีความมุงม่ันตั้งใจที่จะดาํ เนินโครงการเพื่อใหเกดิ ผลสัมฤทธิ์ตามทีว่ างไวภายใตการมีสวนรวม
ของภาคเี ครอื ขายทกุ ภาคสวน เพ่ือใหเกิดประโยชนตอการพฒั นาทองถนิ่ ตอไป

คณะทํางาน U2T ตำบลห้วยโป่ง

ธันวาคม 2564

สารบัญ

หน้า

เร่ือง

องคค์ วามรู้ ความรูท้ สี่ ามารถนำไปเปน็ “ต้นแบบ” การบรหิ ารจดั การในการพัฒนาระบบภูมภิ าค 1
กจิ กรรมการพัฒนาสมั มาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับสนิ คา้ OTOP 5
กิจกรรมสง่ เสริมทักษะการพฒั นาผลติ ภณั ฑผ์ า้ ทอกะเหรี่ยงใหก้ ับนกั เรยี น
7
การสรา้ งและพฒั นา Creative Economy (การยกระดบั การท่องเที่ยว) 10
12
การนำองคค์ วามรู้ไปชว่ ยบริการชมุ ชน Health Care เทคโนโลยีดา้ นตา่ ง ๆ
กจิ กรรมอบรมให้ความรสู้ าธารณะสุขชุมชน และกจิ กรรม COVID WEEK 14
กจิ กรรมอบรมการตลาดดจิ ิทลั เบ้ืองต้น (digital marketing platform) 17
การสง่ เสรมิ ดา้ นสงิ่ แวดล้อม Circular Economy การเพิ่มรายได้หมนุ เวยี นให้แก่ชุมชน 18
ปจั จยั ทเี่ อื้อสูค่ วามสำเรจ็ 20
การดำเนนิ งานในตำบลในอนาคต 23
แนวทางการเช่ือมโยงผลการดำเนนิ งาน
23
ขอ้ เสนอแนะต่อการปรับปรงุ การเรียนการสอน/หลกั สูตร 23

1

1. องค์ความรู้ ความรทู้ ี่สามารถนำไปเปน็ “ต้นแบบ” การบรหิ ารจัดการในการพฒั นาระบบภูมิภาค

ขอ้ มลู พน้ื ฐานทว่ั ไป
ตำบลห้วยโป่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากอำเภอเมืองระยะทางประมาณ 33

กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดนิ ทางประมาณ 40 นาที
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญเ่ ป็นพน้ื ท่ีภเู ขาสูง เป็นภูเขาลอ้ มรอบ มีพ้นื ทร่ี าบเพียงเล็กนอ้ ย
ลกั ษณะของไม้และป่าไม้ สภาพโดยท่วั ไปมีพ้ืนที่ป่าทึบและป่าโปร่ง ตามสภาพเป็นปา่ เบญจพรรณในพ้ืนท่ี

โซลา่ ง และป่าดงดบิ เขาในพืน้ ที่โซนดอย
ตำบลห้วยโป่ง ประกอบด้วย 15 หมู่บ้าน จำนวนประชากรรวม 7,421 คน จำนวนครัวเรือนรวม 2,459

ครวั เรือน

2

สภาพเศรษฐกจิ และสภาพสงั คม
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นอาชีพหลัก เช่น ปลูกข้าว การปลูกกระเทียม

สม้ เขียวหวาน ข้าวโพดเลีย้ งสตั ว์ ปลกู ผกั ถวั่ เหลือง และถั่วลสิ ง และมีการเลยี้ งปศสุ ัตว์ในระดับครัวเรือน เช่น การ
เลยี้ งไก่ เป็ด โค กระบอื และสกุ ร

3

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่าประชากรบางสว่ นออกนอกพื้นที่เพื่อทำงานรับจ้าง เช่น พื้นท่ีเมืองที่มี
โรงงานอตุ สาหกรรม บริษทั ห้างรา้ นใหญ่ ๆ เพราะในพื้นที่ไมม่ ีโรงงานอตุ สาหกรรมท่ีมกี ารจ้างแรงงาน

ตำบลห้วยโป่งมแี หล่งท่องเที่ยวท่นี ่าสนใจใน ได้แก่ อ่างกบ็ น้ำหนองเขยี ว นำ้ ตกไม้ซางหนาม ซง่ึ ประชาชน
ในเขตตำบลห้วยโป่งได้มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำเครื่องจักสานใช้ในครัวเรือน และการทอผ้า
กะเหรีย่ ง

4

จากการสำรวจความต้องการของชุมชน พบว่าชุมชนต้องการ พัฒนาระบบการผลิตภาคการเกษตร
ผลิตภัณฑ์ OTOP และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนผ่านการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย
สินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน และเกิดการจ้างงาน ส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับประชาชน บัณฑิตและ
นักศกึ ษาในทอ้ งถนิ่

5

ดงั น้ัน U2T ตำบลหว้ ยโป่งจึงจดั กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน และศกั ยภาพของพ้ืนที่เป็น
หลัก โดยมีกจิ กรรมดังนี้

1. กิจกรรม การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับสินค้า OTOP โดยแบ่งเป็น 2
กิจกรรม คือ

กิจกรรมแปรรูปส้มห้วยโป่ง ซึ่งส้มห้วยโป่งเป็นส้มสายน้ำผึ้ง ที่มีชื่อเสียงที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื่องจาก มีความผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อ หนึ่งผลิตภัณฑ์ มาจากน้ำโป่งหรือที่เรา เรียกว่า บ่อน้ำร้อน เป็น
น้ำแร่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองในหมู่บ้าน ทำให้ส้มที่นี่มีรสชาติดีเป็นพิเศษ เปลือกแกะง่าย ผิวส้มบาง เนื้อไม่เหนียว
และเนอ้ื ในหวานฉำ่ อมเปรย้ี ว

6

ปัจจุบันสม้ หว้ ยโปง่ เปน็ สม้ ท่มี ีชอ่ื เสยี งในตำบลห้วยโปง่ มากทสี่ ุด มีการส่งออกไปยังจงั หวดั อ่นื ๆ แตบ่ างครง้ั
เกิดปัญหาราคาส้มตก สม้ ท่ตี กเกรดถูกคัดและนำไปท้ิง

ทาง U2T ตำบลห้วยโปง่ เลง็ เห็นถงึ ปัญหาน้ี จึงนำส้มมาแปรรปู เปน็ แยมสม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กบั สนิ ค้า โดย
จดั ทำแพ็คเกจ ตลอดจนสง่ เสรมิ ช่องทางการจัดจำหนา่ ยออนไลนใ์ ห้กับผลิตภณั ฑ์

7

กิจกรรมส่งเสริมทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงให้กับนักเรียน พื้นที่ตำบลห้วยโป่งมี
ประชาชนท่ีเป็นชาตพิ ันธุ์กระเหรยี่ งอาศัยกระจายท่ัวทกุ หมู่บ้าน ดงั น้นั ชาวบา้ นส่วนใหญ่จะทอผ้าใช้เป็นเคร่ืองแต่ง
กาย เครือ่ งนุ่งห่ม ซ่งึ เปน็ เอกลกั ษณ์ของคนในชนเผ่าทม่ี ีมาต้ังแต่บรรพบุรษุ การทอผ้าของชาวกะเหรย่ี งเป็นการทอ
ผ้าแบบวิถีดั้งเดิมหรอื การทอโดยใช้ "กี่เอว" ที่เรียกว่า "ทอแบบห้างหลัง" ชาวกะเหรี่ยงมักจะทอเสื้อผ้าไวใ้ ส่เองใน
ชีวติ ประจำวนั ทัง้ ของตนเองและสมาชกิ ในครอบครัวหรือทอเกบ็ ไวใ้ ชเ้ องในงานพิธสี ำคัญของชาวกะเหร่ยี ง

8

นอกจากนีช้ าวบ้านยงั มีการทอผ้าแบบจำหน่าย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง และครอบครัว จากการสำรวจ
พืน้ ที่พบว่า โรงเรยี นบ้านหนองเขยี วได้มกี ิจกรรมสนับสนุนให้นักเรียนทอผ้ากระเหรย่ี ง และจำหนา่ ยผลิตภัณฑ์
ผา้ ทอ ซง่ึ รปู แบบผลิตภณั ฑ์ยังขาดความนา่ สนใจ

9

จากปญั หาดงั กลา่ ว ทางทีม U2T ตำบลหว้ ยโปง่ ได้เลง็ เห็นถึงความสำคญั และศักยภาพของชมุ ชนท่ีพร้อม
สนับสนุนให้เด็กรุ่นใหม่ได้มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า
ทอกะเหรี่ยง เป็นการออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีการนำผ้าทอกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมมาประยุกต์กับลวดลาย
ใหม่ ให้สวยงาม และเป็นไปในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น พวงกุญแจ กระเป๋าใบเล็ก ย่าม เสื้อกระเหรี่ยงปกั
ลาย

10

2. การสรา้ งและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเทย่ี ว)
สำหรับด้านการส่งเสริมการทอ่ งเท่ยี วในตำบลห้วยโปง่ จากการลงพื้นทีส่ ำรวจข้อมูลพบวา่ หมูบ่ า้ น
หนองเขยี วมศี กั ยภาพในการพัฒนาให้เปน็ แหลง่ ทอ่ งเทยี่ ว สามารถจดั กิจกรรมทห่ี ลากหลาย เชน่ การตัง้ แคมป์
ชมวิวทิวทัศน์หนองน้ำ ชมทะเลหมอก ดูพระอาทิตย์ตกดิน กิจกรรมศึกษาเส้นทางธรรมชาติ และชมควายน้ำหน่ึง
เดยี วของจังหวดั แม่ฮอ่ งสอน

11

นอกจากนี้หมู่บ้านหนองเขียวมีอากาศหนาวเย็นเหมาะแก่การท่องเที่ยวตลอดทั้งปีทั้งยังเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวท่ีสามารถเชื่อมโยงไปยังทุ่งบัวตอง อำเภอขุนยวมอีกด้วย ทาง U2T ตำบลห้วยโป่งจึงได้ดำเนินการ
ประชุมวางแผนร่วมกับผูน้ ำชุมชนและชาวบา้ น เพ่อื แลกเปลีย่ นข้อมลู ในการจัดทำแผนพฒั นาหม่บู ้านหนองเขียวให้
เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ผ่านการจัดกิจกรรมอบรมทำความเข้าใจให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน
กบั ชาวบ้านทสี่ นใจ

12

3. การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน Health Care เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 3
กิจกรรม คอื

กิจกรรมการผลิตสือ่ การเรียนการสอนเพอื่ การศึกษาระดับปฐมวัย
กิจกรรมผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาระดับปฐมวัย โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือ
จากสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
แม่ฮ่องสอน เขต 1 ในตำบลหว้ ยโปง่ มีจำนวนโรงเรยี นท่เี ข้ารว่ มกจิ กรรมรวมถงึ 12 โรงเรียน การจัดอบรมการผลิต
ส่อื ดว้ ยผ้าสักหลาดแบ่งเปน็ 2 สอ่ื การเรยี นรู้ ดงั นี้
1. สื่อการเรยี นรชู้ ดุ ผ้ากันเป้ือนหรรษา

13

2. สอื่ การเรยี นรู้ชดุ หนงั สือผา้ พาเพลิน

การผลิตสื่อการเรียนการสอนเป็นการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย และทดลองการ
ใช้สื่อและนวัตกรรมโดยบูรณาการกับการเรียนการสอน นับว่าเป็นกิจกรรมท่ีช่วยเพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะให้กับ
คุณครูที่เข้าร่วมการอบรม เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนซ่ึงเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
นกั เรยี นระดบั ปฐมวยั ในโรงเรยี นของตนเอง

14

กจิ กรรมอบรมใหค้ วามรู้สาธารณะสุขชมุ ชน และกิจกรรม COVID WEEK
ปัจจุบันการแพร่ระบาดขงอโควิด-19 มีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ทีม U2T
ตำบลห้วยโป่งได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของประชาชนในตำบล เพื่อลดความเสี่ยงของประชาชนต่อการสัมผัส
เชื้อโรค และป้องกันไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อสขุ ภาพ จึงต้องให้ความสําคัญตั้งแตก่ ารรักษาสุขวิทยาส่วน
บุคคลของประชาชน โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ทั้งผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจําตัว และการจัดการด้าน
อนามัยสงิ่ แวดล้อมอยา่ งถกู สุขลักษณะ และเหมาะสมในทกุ พ้ืนที่ โดยเฉพาะพื้นทสี่ าธารณะ

15

ดังนั้นทีม U2T ตำบลห้วยโป่งจึงจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันเชื้อโควิด-19 การรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
ให้กับประชาชนตำบลห้วยโปง่ ผา่ นกจิ กรรม COVID WEEK

16

นอกจากน้ีจากการสำรวจความตอ้ งการพบว่าในพื้นท่ียังพบปัญหาการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกที่
มักจะเกดิ ข้นึ ในชว่ งฤดูฝน จึงมกี ารจดั อบรมใหค้ วามรู้เก่ียวกับการป้องกันโรคไข้เลอื ดออกการป้องกัน ควบคมุ และ
รักษาโรค การอบรมให้ความรู้เร่ืองการจัดสภาพแวดลอ้ ม เพ่อื การมสี ขุ อนามยั ในบา้ นและในชมุ ชนท่ีดีอีกด้วย

17

กจิ กรรมอบรมการตลาดดิจิทัลเบื้องตน้ (digital marketing platform)
ในส่วนของการนำองค์ความรู้เกีย่ วกับเทคโนโลยีดา้ นต่าง ๆ ไปช่วยบริการชุมชน ทีม U2T ตำบลห้วยโปง่
ได้จัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการตลาดออนไลน์ และกิจกรรมอบรมใหค้ วามรู้เร่ืองการถ่ายภาพสนิ คา้
สำหรับธรุ กิจรา้ นค้าออนไลน์ให้นา่ สนใจ เนือ่ งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำใหพ้ ฤติกรรมของผู้บริโภคมีการ
เปลีย่ นแปลงไปจากเดมิ ปจั จุบันกลุม่ วิสาหกจิ ชมชนผู้ประกอบการหรอื ประชาชนในตำบล จำเปน็ ตอ้ งมคี วามร้เู ร่ือง
หลักการตลาดออนไลน์ เพอื่ ทจี่ ะสามารถปรับตวั ไปใช้ช่องทางการขายออนไลน์ให้ทนั กับพฤติกรรม ของผู้บริโภคที่
เปลย่ี นไปในยคุ ปจั จบุ นั

18

4. การส่งเสริมดา้ นสิง่ แวดลอ้ ม Circular Economy การเพ่มิ รายไดห้ มุนเวียนใหแ้ กช่ ุมชน
ด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลห้วยโป่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ใน
การทำเกษตรกรรมเพื่อใหม้ ีผลผลติ ที่มากขึน้ และลดเวลาในการทำเกษตรชาวบ้านส่วนใหญ่จึงหนั ไปใช้การเกษตร
แบบเคมีเพื่อลดเวลา เนื่องด้วยการใช้สารเคมีในการทำเกษตรนั้นเป็นอันตรายต่อพื้นท่ีทำให้เกิดสารตกค้างในดิน
ระยะยาว และยังส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของตัวเกษตรกร และผู้บริโภค เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมท่ีดี
และการเพิม่ ช่องทางรายได้หมนุ เวยี นให้แกช่ ุมชน

19

ทีม U2T ตำบลหว้ ยโปง่ จงึ จดั กิจกรรมอบรมส่งเสรมิ ให้พ้ืนทห่ี นั มาใหค้ วามสำคัญเกีย่ วกับการลดใช้สารเคมี
โดยการนำเศษอาหารเหลือทิ้ง มูลโค และมูลกระบือ ที่มีมากในพื้นที่ นำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ นำมา
เป็นอาหารสำหรับเพาะเล้ียงไส้เดือนดนิ และส่งเสริมแนวทางการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อการค้า ให้กับชาวบ้าน
และผู้ที่สนใจในชุมชนได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้กับพ้ืนท่ีการเกษตรของตนเอง โดยจัดให้พื้นที่โรงเรียน
บา้ นหนองเขยี วเป็นพนื้ ทีต่ น้ แบบในการขยายผลไปยงั หมู่บ้านอ่นื ๆ ตอ่ ไป

20

2. ปัจจยั ที่เอ้อื สู่ความสำเรจ็
2.1 มีการวางแผนด้านการสื่อสาร การชี้แจงรายละเอยี ดการดำเนินงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ สามารถ

เข้าใจง่าย เปน็ ไปในทิศทางเดยี วกนั

2.2 การประชมุ รว่ มกับผู้นำชมุ ชน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เพ่อื ชี้แจงวตั ถปุ ระสงค์ และลักษณะ
การดำเนนิ งานของโครงการ เพือ่ ใหเ้ กิดความเขา้ ใจ และสรา้ งความรว่ มมือ

21

2.3 ทีม U2T ตำบลห้วยโป่งมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การลงพื้นที่เก็บข้อมูล สำรวจประเด็นปัญหาและ
ความต้องการของประชาชนตำบลห้วยโป่ง เพื่อนำข้อมูลมาการกำหนดกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะ
อาชีพ การจัดอบรมให้ความรู้ การจัดวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มาถ่ายทอด
ให้กับประชาชนในตำบล

22

2.4 ทาง U2T ตำบลห้วยโป่งได้รับการสนับสนุนจากผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ซง่ึ ประชาชนในตำบลให้ความรว่ มมอื เปน็ อยา่ งดี

2.5 ผู้ปฏบิ ัตงิ านในโครงการมีความตั้งใจในการทำงานตามตำแหนง่ ท่ีหน้าท่ี ทไ่ี ด้รับมอบหมายเป็นอย่างดี
โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชน คอยสนับสนุนข้อมูล แนะนำการทำงาน ทำให้การทำงานประสบ
ผลสำเรจ็

23

3. การดำเนินงานในตำบลในอนาคต
3.1 เน้นการพัฒนา และต่อยอดจากกิจกรรมเดิมที่เคยจัดขึ้น เน้นให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง

ความยั่งยืนในชมุ ชน
3.2 เน้นการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาพัฒนาชุมชนให้เกิดการพัฒนาที่มี

ประสทิ ธิภาพ

4. แนวทางการเชอ่ื มโยงผลการดำเนนิ งาน
การจัดประชุมรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือการบริการประเภทเดียวกันโดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

ระหว่างตำบลใกล้เคยี งหรือกล่มุ ระดบั จังหวดั เพอื่ สร้างศกั ยภาพในการพัฒนาทอ้ งถ่ินให้เกิดความย่ังยนื

5. ขอ้ เสนอแนะต่อการปรบั ปรงุ การเรียนการสอน/หลักสูตร
เนื่องจากพ้นื ที่ตำบลห้วยโปง่ ประกอบไปดว้ ยภูเขาสลับซบั ซ้อนในบางพ้ืนทเ่ี ป็นพื้นท่ีห่างไกล ไม่มีสัญญาณ

อินเตอร์เน็ต และความไม่พร้อมของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเคร่ืองมืออิเลก็ ทรอนิคทำให้การเข้าสูร่ ะบบหรือการ
ลงทะเบียนเรยี นเป็นไปด้วยความยากลำบาก

24

วีดีโอสรปุ ผลการดำเนินงาน

25


Click to View FlipBook Version