การจัดการข้อมูล
เเละสารสนเทศ
การรวบรวมข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะ
เป็นข้อมูลตัวเลข ข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียง
ข้อมูลปฐมภูมิ
ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูล
ที่ผู้ใช้เก็บ
รวบรวมด้วยตนเอง ทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความ
ต้องการมากที่สุด
1)การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล
เป็นการสื่อสารต่อหน้า และเป็นการส
ื่อสารแบบสองทาง ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ตอบ
2) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
เป็นการ รวบรวมข้อมูลที่มีความสะดวกและง่ายต่อ การเข้าถึงผู้ให้ข้อมูล
3) การใช้แบบสอบถาม
เป็นการ รวบรวมข้อมูลที่ผู้ตอบกรอกข้อมูลด้วยตนเอง โดยถือเป็นการรวบรวมข้อมูลที่มี
ความนิยม เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน เเบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
1. แบบสอบถามแบบปลายเปิด
เป็นเเบบสอบถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ ผู้ตอบ แบบสอบถามสามารถเขียน ความคิดเห็นได้อย่
อิสระ
2. แบบสอบถามแบบปลายปิด
เป็นเเบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อคำถามและตัวเลือกให้ผู้ตอบ
4) การสังเกต
เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นทางเลือกสุดท้ายในกรณีที่ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลด้วย
วิธีอื่นได้ แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี
- การสังเกตโดยตรง
- การสังเกตแบบอ้อม
ข้อมูลทุติยภูมิ
เป็นข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้แล้วโดยผู้อื่น การนำข้อมูลทุติยภูมิมาใช้จะต้องตรวจสอบ
คุณภาพของข้อมูลก่อน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ง่าย
ข้อเสีย
ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้แล้ว อาจไม่ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ
การประมวลผลข้อมูล
เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการคำนวณหรือการเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ เเบ่งออก
เป็น 3 ประเภท
- การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ
เป็นวิธีการประมวลผลที่ใช้มาตั้งแต่ในอดีต อุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล เช่น กระดาษ ลูกคิด
เป็นต้น
- การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล
เป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลที่อาศัยแรงงานมนุษย์ร่วมกับเครื่องจักรกล
การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
เป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากมีความถูกต้องและรวดเร็ว
ลำดับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ มี 3 ขั้นตอน
- การนำข้อมูลเข้า เป็นขั้นตอนการรับข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยผ่านทางหน่วย รับ
ข้อมูล
- การประมวลผล เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนการนำเข้ามา จัดการโดยผ่าน
กระบวนการต่าง ๆ
- การแสดงผล เป็นการนำสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลไปใช้แสดงผล
วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
เป็นการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์นั้นต้องผ่านการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ ซึ่งมีวิธีการแบ่ง
เป็น 2 วิธี ดังนี้
การประมวลผลแบบแบตช์
เป็นการประมวลผลโดยรวบรวมข้อมูล ก่อนนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผล
การประมวลผลแบบอินเทอร์แอ็กทิฟ
เป็นการประมวลผลที่รับเข้ามาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยตรง
การประมวลผลแบบทันที
เป็นการประมวลผลที่มีวัตถุในการให้ผลลัพธ์ในลักษณะทันทีทันใด นิยมใช้ร่วมกับการ
ประมวลผลแบบออนไลน์
กรรมวิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
การคำนวณ เป็นการนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่สามารถคำนวณได้ มาผ่านกระบวนการทาง
คณิตศาสตร์
การจัดเรียงข้อมูล เป็นการเรียงข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด
การจัดกลุ่มข้อมูล เป็นการจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่ม ประเภทหรือเงื่อนไขที่กำหนด
การสืบค้นข้อมูล เป็นการค้นหาและนำข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งเก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้
ประโยชน์
การรวมข้อมูล เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป มารวมกันเป็นชุดเดียว
การสรุปผล เป็นการสรุปส่วนต่างๆ ของข้อมูล เพื่อแสดงเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
การทำรายงาน เป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาจัดพิมพ์ในรูปแบบรายงานต่างๆ
การบันทึก เป็นการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ลงสื่อหรืออุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูล
การปรับปรุงข้อมูล เป็นกระบวนการที่ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและมีความทันสมัย
การสำเนาข้อมูล เป็นการคัดลอกข้อมูลจากข้อมูลฉบับต้น เพื่อไปบันทึกเป็นข้อมูลอีกชุด
หนึ่งที่เหมือนกัน
การสำรองข้อมูล เป็นการทำสำเนาข้อมูลลงในสื่อหรืออุปกรณ์จักเก็บข้อมูล
การกู้ข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่เสียหายหรือถูกทำลายให้กลับมาในสภาพที่ใช้ประโยชน์ได้
เหมือนเดิม
การสื่อสารข้อมูล เป็นการรับส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยผ่านตัวกลางกลาง
สื่อสาร
การบีบอัดข้อมูล เป็นการลดขนาดข้อมูลเพื่อประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.ขั้นตอนการเตรียมเพื่อนำเข้าข้อมูล เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ใน
ลักษณะที่เหมาะสม มี 4 ขั้นตอน
การลงรหัส เป็นการใช้รหัสแทนข้อมูลจริง ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สะดวกรวดเร็ว
การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล เป็นกระบวนการที่ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง
การแยกประเภทข้อมูล เป็นการแยกประเภทข้อมูลออกตามลักษณะข้อมูล
การบันทึกข้อมูลลงสื่อ เป็นการจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปของสื่อ
2.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการจัดการกับข้อมูล เพื่อให้ได้เป็นสารสนเทศ
3.ขั้นตอนการนำไปใช้ประโยชน์และแสดงผลลัพธ์ เป็นการนำไปใช้และแสดงผลลัพธ์เป็นขั้นตอน
หลังจากผ่านกระบวนการประมวลผล
การประมวลผลข้อมูลการเรียนของนักเรียนม.3 จำนวน3 ห้อง
1.ขั้นตอนการเตรียมเพื่อนำเข้าข้อมูล
ขั้นตอนที่2 การประมวลผล
ประมวลผลข้อมูลโดยการคำนวณหาผลเฉลื่ยของนักเรียนในแต่ละห้อง ดังนี้
ขั้นตอนที่3การนำไปใช้ประโยชน์เเละแสดงผลลัพธ์
นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยการแสดงผลลัพธ์ ในรูปแบบแผ่นภิมูแท่ง ดังนี้
คณะผู้จัดทำ
ด.ช.ภูวิศ สุวรรณสุนทร ม.3/4 เลขที่ 9 (หัวหน้า)
ด.ญ.ณิชาภัทร สิงหลสาย ม.3/4 เลขที่ 27 (รองหัวหน้า)
ด.ญ.สิริรัตน์ ล้อสุวรรณรัตน์ ม.3/4 เลขที่ 17
ด.ช.สมสุวรรณ ตระกูลไตรตรึง ม.3/4 เลขที่ 22
ด.ช.ชยธร โพธิ์น้อยงาม ม.3/4 เลขที่ 32
ด.ช.ณิวัฒครินทร์ พิสุทธิ์พงศานนท์ ม3/4 เลขที่ 34
ด.ช.พงศ์ปณต ไทรฟัก ม3/4 เลขที่ 5 (เลขา)