หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การผสมเทียมโค
แผนกวิชาสัตวศาสตร์
จัดทำโดย
นางสาววริษฐา อุกฤษ รหัส 054
นายนพดล โรจน์บุญถึง รหัส 055
นายก้องภพ ศริพันธุ์ รหัส 056
การผสมเทียม
บทที่ 1
ความสำคัญของการผสมเทียม
การผสมเทียม (Artificial insemination)
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึง การผสมพันธุ์ด้วยวิธีฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าที่
อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมียโดยไม่ได้ร่วมสัมพันธ์กันทางเพศ นอกจากนี้การผสมเทียมยังหมายถึง การ
ขยายพันธุ์สัตว์ ด้วยเทคนิคที่สามารถป้องกันการแพร่โรคทางการสืบพันธุ์การผสมเทียมเป็นการปฏิบัติ
ที่คล้ายการทำหน้าที่ของพ่อพันธุ์ตาธรรมชาติต่างกันเพียงที่ปริมาณน้ำเชื้อที่ใช้ผสมน้อยกว่าปริมาณ
น้ำเชื้อจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติมากแต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ผสมติด ตำแหน่งที่ปล่อยน้ำเชื้อ
ก็ต่างกันพ่อพันธุ์จะปล่อยน้ำเชื้อในช่องคลอดแต่การผสมเทียมปัจจุบันจะปล่อยน้ำเชื้อที่ตำแหน่งคอ
มดลูกเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้น้ำเชื้อที่ใช้ผสมเทียมยังผสมด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้ออันเกิด
จากการสืบพันธุ์อีกด้วย
ภาพที่ 1 การผสมเทียม
ที่มา: กองผสมเทียม กรมปศุสัตว์ (2554)
การผสมเทียม
บทที่ 1
ความสำคัญของการผสมเทียม
ประวัติการผสมเทียม
การผสมเทียมได้เริ่มกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1865 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอาหรับ ได้ทำการผสมเทียม
ม้าเป็นผลสำเร็จ โดยใช้น้ำเชื้อม้าที่ติดที่หนังหุ้มลึงค์ นำมาผสมให้กับแม่ม้าที่กำลังเป็นสัด ทำให้แม่ม้า
ตั้งท้องและคลอด
การผสมเทียมในประเทศไทยเริ่มขึ้นโดย ในปี พ.ศ.2496 ศาสตราจารย์นีลล์ ลาเกอร์ลอฟ
ชาวสวีเดน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากเอฟ.เอ.โอ. ได้เดินทางมาสำรวจการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทย โดย
ทุนของ เอฟ.เอ.โอ. จากนั้นได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย
โครงการผลิตโคนมลูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียมในประเทศไทยซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการฯคือ เพื่อ
ให้ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำนมได้เองภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากต่าง
ประเทศ
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2497 กรมปศุสัตว์ได้ส่งข้าราชการ 2 นายคือ นายสัตวแพทย์ทศพร
สุทธิคำ และนายสัตวแพทย์อุทัย สาลิคุปต์ ไปศึกษาอบรมนานาชาติ ณ ราชวิทยาลัยสัตวแพทย์
กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อศึกษาสำเร็จได้เดินทางกลับประเทศไทยท่านได้เริ่มต้นด้วยการ
พยายามก่อตั้งสถานีผสมเทียมเพื่ อให้บริการผสมเทียมแก่ปศุสัตว์ของเกษตรกรด้วยความมุ่งมั่นและ
ตั้งใจจริง จนในปี พ.ศ. 2499 กรมปศุสัตว์จึง ได้เปิดสถานีผสมเทียมแห่งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ และ
ได้มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าสถานีผสมเทียม
ภาพที่ 2 นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ
ที่มา: วัตสัน เดชไพศาล (2557)
การผสมเทียม
บทที่ 1
ความสำคัญของการผสมเทียม
ประโยชน์ของการผสมเทียม
1. การปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์ที่ดีได้รวดเร็วในเวลาสั้น (Genetic gain)
2. การใช้จ่ายเพื่อการผสมพันธุ์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Cost effectiveness)
3. ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีดเก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้งสามารถนำมาละลายน้ำเชื้อ
แล้วแบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำนวนมาก
4. สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์
5. ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์
6. ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งพ่อพันธุ์ไปผสม เพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกล ๆ
7. จัดการสัตว์ให้ตกลูกได้ตามฤดูกาล คือเลือกระยะเวลาผสมให้ตกลูกตามระยะที่ต้องการ
8. แก้ปัญหาการผสมติดยาก เช่น กรณีปากมดลูกกดหรือตีบช่องคลอดผิดปกติ เป็นต้น
9. ป้องกันโรคติดต่อและโรคระบาด เพราะใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ปราศจากโรคและเครื่องมือใช้ในการผสม
ได้รับการฆ่าเชื้อโรคเป็นอย่างดีและใช้ผสมเฉพาะตัว
ข้อจำกัดของการผสมเทียม
1. ต้องใช้คนที่มีความรู้ ความชำนาญ และมีประสบการณ์ เป็นอย่างดี
2. หากไม่มีการศึกษาลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของยีนบางโรค เช่น โรคถุง
น้ำในรังไข่ การใช้การผสมเทียมย่อมทำให้โรคเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว
3. การไม่ทำบันทึก หรือทำแบบไม่เป็นระบบ ทำให้แผนการผสมพันธุ์สับสนไม่เป็นระเบียบ อาจจะเกิด
การผสมแบบเลือดชิดได้
4. ต้องตรวจเช็คสัตว์ที่เป็นสัดอย่างแม่นยำ และผสมเทียมในเวลาที่เหมาะสม
การผสมเทียม
บทที่ 2
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สัตว์โค
ร่างกายของสัตว์เปรียบได้กับเครื่องจักกลที่มีการ
ทำงานที่ซับซ้อนโดยการศึกษากายวิภาคและสรีรวิทยา
ทำให้ทราบถึงส่วนประกอบและระบบการทำงานของ
ระบบอวัยวะต่างๆ
กายวิภาคศาสตร์ของระบบสืบพันธุ์เพศผู้
(male reproductive system)
ประกอบด้วย
1. ถุงหุ้มอัณฑะ (scrotum)
2. ลูกอัณฑะ (testis)
3. ท่อเก็บตัวอสุจิ (epididymis)
4. ท่อนำส่งอสุจิ (vas deferens)
5. ท่อปัสสาวะ (urethra)
6. ลึงค์ (penis)
ภาพที่ 3 ระบบสืบพันธุ์เพศผู้ของโค
ที่มา: Hamilton (2007)
การผสมเทียม
บทที่ 2
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สัตว์โค
ร่างกายของสัตว์เปรียบได้กับเครื่องจักกลที่มีการ
ทำงานที่ซับซ้อนโดยการศึกษากายวิภาคและสรีรวิทยา
ทำให้ทราบถึงส่วนประกอบและระบบการทำงานของ
ระบบอวัยวะต่างๆ
กายวิภาคศาสตร์ของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย
(female reproductive system)
ประกอบด้วย
1. รังไข่ (ovary)
2. ท่อนำไข่ (oviduct)
3. มดลูก (uterus)
4. ปีกมดลูก (uterine horns)
5. คอมดลูก (cervix)
6. ช่องคลอด (vagina)
7. ปากช่องคลอด (vulva)
8. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (external genitalia) ภาพที่ 4 ระบบสืบพันธุ์เพศเมียของโค
ที่มา: Kadhim (2004)
การผสมเทียม
บทที่ 3
ฮอร์โมนและการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
ฮอร์โมน (hormone)
ฮอร์โมน คือสารเคมีที่ถูกสร้างและหลั่งมาจากเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากจะถูกสร้างและหลั่งมาจาก
ต่อมไร้ท่อ(endocrine)และถูกลำเลียงไปยังเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมายอย่างจำเพาะเจาะจง ผ่าน
ทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลือง โดยมีตำแหน่งตัวรับเฉพาะ (specific receptor) ที่เซลล์หรือ
อวัยวะเป้าหมายโดยฮอร์โมนไปเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่หรือคุณสมบัติบางประการของเซลล์หรือ
อวัยวะและเซลล์ใดที่ไม่มีตัวรับที่จำเพาะเจาะจงกับฮอร์โมนนั้นๆจะไม่ได้รับผลที่เกิดขึ้นโดยฮอร์โมนนั้น
ฮอร์โมนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามโครงสร้าง ดังนี้
1. เอมีนฮอร์โมน (amine hormone)
2. เพฟไทด์ฮอร์โมน (peptide hormone)
3. สเตรอยด์ฮอร์โมน (steroid hormone)
ฮอร์โมนเพศผู้ประกอบด้วย ฮอร์โมนเพศเมียประกอบด้วย
1.gonadotropin releasing hormone (GnRH) 1.gonadotropin releasing hormone (GnRH)
2.follicle stimulating hormone (FSH) 2.follicle stimulating hormone (FSH)
3.luteinizing hormone (LH) 3.luteinizing hormone (LH)
4. androgen 4. estrogen
5. progesterone
6. prostaglandin
7. prolactin
8. oxytocin
การผสมเทียม
บทที่ 3
ฮอร์โมนและการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
ฮอร์โมนเพศผู้ประกอบด้วย
1.gonadotropin releasing hormone (GnRH)
2.follicle stimulating hormone (FSH)
3.luteinizing hormone (LH)
4. androgen
โครงสร้าง GnRH โครงสร้าง FSH
โครงสร้าง LH โครงสร้าง Androgen
การผสมเทียม
บทที่ 3
ฮอร์โมนและการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
ฮอร์โมนเพศเมียประกอบด้วย
1.gonadotropin releasing hormone (GnRH) 5. progesterone
2.follicle stimulating hormone (FSH) 6. prostaglandin
3.luteinizing hormone (LH) 7. prolactin
4. estrogen 8. oxytocin
โครงสร้าง GnRH โครงสร้าง FSH
โครงสร้าง LH โครงสร้าง Estrogen
การผสมเทียม
บทที่ 3
ฮอร์โมนและการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
ฮอร์โมนเพศเมียประกอบด้วย
1.gonadotropin releasing hormone (GnRH) 5. progesterone
2.follicle stimulating hormone (FSH) 6. prostaglandin
3.luteinizing hormone (LH) 7. prolactin
4. estrogen 8. oxytocin
โครงสร้าง Progesterone โครงสร้าง Prostaglandin
โครงสร้าง Prolactin โครงสร้าง Oxytocin
การผสมเทียม
บทที่ 3
ฮอร์โมนและการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
การเหนี่ยวนำการเป็นสัด (estrus synchronization)
การเหนี่ยวนำการเป็นสัดเป็นการจัดการให้สัตว์หนึ่งตัวหรือหลายตัวเป็นสัดพร้อมกันหรือ
เป็นสัดในช่วงเวลาที่ต้องการด้วยการให้ฮอร์โมนสังเคราะห์หรือฮอร์โมนสกัดจากธรรมชาติโดยมี
วัตถุประสงค์ในการเลียนแบบการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการเป็นสัดตาม
ธรรมชาติ
ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากเมื่อใช้ร่วมกับการผสมเทียมแบบกำหนดเวลา (fixed-time AI)
โดยที่ไม่ต้องมีการสังเกตการเป็นสัด
ภาพที่ 5 โปรแกรมเหนี่ยวนำการเป็นสัด
ที่มา: Johnston (2015)
การผสมเทียม
บทที่ 4
อุปกรณ์ผสมเทียมสัตว์
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมเทียมโค
ในการผสมเทียมมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ มากพอสมควร อุปกรณ์แต่ละชนิดหากบำรุงรักษาไม่ดี
หรือใช้งานไม่ถูกวิธีจะทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้นสั้นลงหรืออาจก่อให้เกิดปัญหาผสมติดยาก
ตามมา อุปกรณ์การผสมเทียมประกอบด้วย
ภาพที่ 6 ปืนผสมเทียมโค ภาพที่ 7 พลาสติกชีท ภาพที่ 8 แซนิทารี่ชีท
ภาพที่ 9 กรรไกรตัดหลอดน้ำเชื้อ ภาพที่ 10 ปากคีบ ภาพที่ 11 กระติกน้ำร้อน
การผสมเทียม
บทที่ 4
อุปกรณ์ผสมเทียมสัตว์
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมเทียมโค
ในการผสมเทียมมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ มากพอสมควร อุปกรณ์แต่ละชนิดหากบำรุงรักษาไม่ดี
หรือใช้งานไม่ถูกวิธีจะทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้นสั้นลงหรืออาจก่อให้เกิดปัญหาผสมติดยาก
ตามมา อุปกรณ์การผสมเทียมประกอบด้วย
ภาพที่ 12 เทอร์โมมิเตอร์ ภาพที่ 13 ถุงมือล้วงผสมเทียม ภาพที่ 14 ถังน้ำเชื้อ
การผสมเทียม
บทที่ 5
การเป็นสัดและการผสมเทียม
การเป็นสัดของโค
การเป็นสัดของสัตว์จะเริ่มต้นเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ วงรอบการเป็นสัดจะแตกต่าง
กันออกไปตามชนิด พันธุ์ และสิ่งแวดล้อมที่สัตว์ได้รับ โดยในสัตว์เพศเมียจะมีฮอร์โมน
มาควบคุมระบบสืบพันธุ์ของร่างกายให้ทำให้เกิดวงรอบการเป็นสัดขึ้น
ภาพที่ 15 วงรอบและการจับสัด
ที่มา : วัวยิ้มแย้ม
การผสมเทียม
บทที่ 5
การเป็นสัดและการผสมเทียม
วงรอบการเป็นสัดของโค
วงจรการเป็นสัด หมายถึงช่วงเวลาระหว่างการเป็นสัดครั้งหนึ่งถึงการเป็นสัดครั้ง
ต่อไป เมื่อสัตว์เพศเมียไม่ได้อยู่ระหว่างช่วงการตั้งท้อง โดยวงรอบการเป็นสัดแบ่งออก
เป็น 4 ระยะ ดังนี้
1.1 ระยะก่อนการเป็นสัด (proestrus)
1.2 ระยะเป็นสัด (estrus)
1.3 ระยะหลังเป็นสัด (metestrus)
1.4 ระยะไม่เป็นสัด หรือระยะสงบ (diestrus)
ภาพที่ 16 ฮอร์โมนในวงรอบการเป็นสัด
ที่มา : วัวยิ้มแย้ม
การผสมเทียม
บทที่ 5
การเป็นสัดและการผสมเทียม
พฤติกรรมการเป็นสัดของโค
โคสาวจะเป็นสัดเมื่ออายุประมาณ 12-18 เดือน ปกติโคมีวงรอบการเป็นสัดเฉลี่ย
21 วัน เมื่อโคเริ่มเป็นสัดจะแสดงอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้อง ไล่ขี่ตัวอื่น กินอาหาร
น้อยลง อวัยวะเพศบวมแดงและมีเมือกใสไหลออกมา ท้ายที่สุดจะยืนนิ่งให้ตัวอื่นขี่ ซึ่งเป็น
ระยะสำคัญที่ต้องสังเกต เนื่องจากเป็นระยะตกไข่ ดังนั้นควรทำการผสมหลังโคยืนนิ่ง
12-18 ชั่วโมง
ภาพที่ 16 อาการกระวนกระวาย ภาพที่ 17 ไล่ขี่ตัวอื่น ภาพที่ 18 เมือกใส
ที่มา : Deyana Robova (2019) ที่มา : Tonia Simms (2022) ที่มา : Perez-Marin (2010)
ภาพที่ 19 โคที่เป็นสัดจะยืนนิ่งให้ตัวอื่นขี่
ที่มา : Kastelic (2018)
การผสมเทียม
บทที่ 5
การเป็นสัดและการผสมเทียม
การผสมเทียม
การผสมเทียม คือ การรีดน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะของสัตว์เพศเมียที่
แสดงอาการของการเป็นสัดซึ่งทำให้สัตว์เพศเมียเกิดการตั้งท้องแล้วคลอดออกมาตามปกติการ
ผสมเทียม เป็นการปฏิบัติงานที่คล้ายการทำหน้าที่ของพ่อพันธุ์ตามธรรมชาติต่างกันเพียงปริมาณน้ำ
เชื้อที่ใช้ผสมเทียมน้อยกว่าปริมาณน้ำเชื้อจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติมากแต่ก็เพียงพอที่จะทำให้
ผสมติดตำแหน่งที่น้ำเชื้อก็ต่างกัน โดยพ่อพันธุ์จะปล่อยน้ำเชื้อที่ช่องคลอด (Vagina) แต่การ
ผสมเทียมจะปล่อยน้ำเชื้อที่ตำแหน่งตัวมดลูก (body of uterus) เป็นส่วนใหญ่ โดยการผสมเทียม
จะมีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดของสัตว์
ภาพที่ 20 การผสมเทัยมโค
ที่มา : Webmaster (2019)
การผสมเทียม
บทที่ 5
การเป็นสัดและการผสมเทียม
การผสมเทียมโค กระบือ
การผสมเทียมโค กระบือ เป็นการนำน้ำเชื้อแช่แข็งมาละลาย ในอุณหภูมิและ
เวลาที่เหมาะสม (37 องศาเซลเซียส เวลา 30 วินาที) และนำไปผสมกับแม่โค
กระบือที่เป็นสัด อยู่ในระยะพร้อมผสมพันธุ์
น้ำเชื้อแช่แข็งถูกเก็บไว้ไนโตรเจนเหลว
ที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส
ภาพที่ 21 น้ำเชื้อแช่แข็ง
ที่มา : Neil Lyons (2021)
การผสมเทียม
บทที่ 5
การเป็นสัดและการผสมเทียม
ขั้นตอนการผสมเทียมโค
ภาพที่ 22 โคแสดงพฤติกรรมเป็นสัด ภาพที่ 23 หยิบหลอดน้ำเชื้อออกจากถังเก็บน้ำเชื้อ
ที่มา : Karin Lindquist (2022) ที่มา : Karin Lindquist (2022)
ภาพที่ 24 ละลายน้ำเชื้อที่ในน้ำ 37°C เวลา 30 วินาที ภาพที่ 25 ตัดปลายหลอดน้ำเชื้อ
ที่มา : Karin Lindquist (2022) ที่มา : Karin Lindquist (2022)
การผสมเทียม
บทที่ 5
การเป็นสัดและการผสมเทียม
ขั้นตอนการผสมเทียมโค
ภาพที่ 26 ประกอบหลอดน้ำเชื้อเข้าปืนผสมเทียม ภาพที่ 27 เช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศโค
ที่มา : Karin Lindquist (2022) ที่มา : Karin Lindquist (2022)
ภาพที่ 28 สอดปืนผสมเทียมที่ช่องคลอดไปยังคอมดลูก ภาพที่ 29 สอดปืนผสมเทียมผ่านคอมดลูก
ที่มา : Karin Lindquist (2022) ที่มา : Karin Lindquist (2022)
การผสมเทียม
บทที่ 5
การเป็นสัดและการผสมเทียม
ขั้นตอนการผสมเทียมโค
ภาพที่ 30 ปืนผสมเทียมถึงตัวมดลูกทำการปล่อยน้ำเชื้อ ภาพที่ 31 ถอดปืนผสมเทียมจากช่องคลอด
ที่มา : Karin Lindquist (2022) ที่มา : Karin Lindquist (2022)
ภาพที่ 32 ถอดถุงมือและเก็บอุปกรณ์ ภาพที่ 33 จดบันทึกการผสมเทียม
ที่มา : Karin Lindquist (2022) ที่มา : Karin Lindquist (2022)
การผสมเทียม
บทที่ 6
การเจริญของตัวอ่อน
และการตรวจการตั้งท้อง
การเจริญของตัวอ่อน
ภาพที่ 34 ตัวอ่อนของโค
ที่มา : Solomon Tucker (2018)
การผสมเทียม
บทที่ 6
การเจริญของตัวอ่อน
และการตรวจการตั้งท้อง
การตรวจการตั้งท้อง
การตรวจการตั้งท้องเป็นวิธีการประเมินการตั้งท้องของสัตว์หลักจากได้รับการผสมพันธุ์
หรือผสมเทียมและเป็นการประเมินประสิทธิภาพการผสมเทียม ซึ่งจะมีวิธีการตรวจการตั้งท้อง
ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิดสัตว์ เช่น ในโค และกระบือ ใช้การล้วงตรวจการตั้งท้องผ่านทวาร
หนักแต่ไม่สามารถนำมาใช้ในแพะแกะได้ เนื่องจากแพะแกะมีขนาดเล็ก การตรวจการตั้งท้องใน
แพะแกะจึงมักต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่นการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ หรือ การตรวจฮอร์โมน
เป็นต้น
ภาพที่ 35 การล้วงตรวจการตั้งท้องผ่านทวารหนัก
ที่มา : Warittha (2020)
ภาพที่ 36 ตัวอ่อนของโค
ที่มา : Warittha (2020)
การผสมเทียม
บทที่ 7
การจดบันทึกข้อมูล
การจดบันทึกข้อมูล
การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มอย่างเป็นระบบระเบียบนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ
และจำเป็นมากสำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดบันทึกประวัติการผสมพันธุ์ หรือ
การผสมเทียมของสัตว์เลี้ยงภายในฟาร์ม ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ อีกทั้ง
ยังสามารถบ่งบอกสถานะของสัตว์ที่เลี้ยงได้ เช่น ต้องท้อง ท้องว่าง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับ
ระบบสืบพันธุ์ ทำให้สามารวางแผน หรือปรับปรงการจัดการเพื่อพัฒนาภายในฟาร์มเป็นไปได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูล รายตัวของสัตว์ที่เลี้ยงประกอบ
ภาพที่ 37 บัตรบันทึกการผสมเทียม (ผท.9)
ที่มา : กรมปศุสัตว์ (2010)
การผสมเทียม
บทที่ 8
โรคทางระบบสืบพันธุ์
โรคทางระบบสืบพันธุ์
ปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ในประเทศไทย ถือเป็นปัญหาหลักของระบบการผลิต
ปศุสัตว์ เช่นสัตว์ไม่แสดงพฤติกรรมการเป็นสัดได้ตามวงรอบ ไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อถึง
อายุ เป็นสัดเงียบ แท้ง นอกจากสาเหตุดังกล่าว โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ และสภาพดิน
ฟ้าอากาศยังมีผลโดยตรง
โรคสำคัญๆ ที่มีผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ โค กระบือ และสุกร เช่น
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis)
โรคบีวีดี (Bovine Viral Diarrhea; BVD)
โรคมดลูกอักเสบ (Metritis)
การผสมเทียม
บทที่ 8
โรคทางระบบสืบพันธุ์
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis)
โรคแท้งติดต่อมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย “บรูเซลลา” (Brucella spp.)
สามารถทำให้สัตว์หลายชนิดรวมทั้งคนป่วยได้ โดยทั่วไปจะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของสัตว์
และทำให้เกิดไข้ขึ้นๆ ลงๆ ข้ออักเสบ หรือเต้านมอักเสบได้
โรคแท้งติดต่อทำให้เกิดอาการทางระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ (แท้ง ลูกตายก่อนคลอด ผสม
ไม่ติด) อาจมีอาการอื่น เช่น ข้ออักเสบในโคและสุกร เต้านมอักเสบ และขากะเผลกในแพะ
ภาพที่ 37 Brucella abortus
ที่มา : Schmidt (1901)
ภาพที่ 38 การแท้งของโค
ที่มา : Mohsen Alrodhan (2013)
การผสมเทียม
บทที่ 8
โรคทางระบบสืบพันธุ์
โรคบีวีดี (Bovine Viral Diarrhea; BVD)
ไวรัสโบวายไวรัลไดอะเรีย (Bovine Viral Diarrhea Virus, BVDV) เป็นไวรัสที่ก่อโรคโบ
วายไวรัล ไดอะเรีย (Bovine Viral Diarrhea, BVD) ในโค พบระบาดในหลายประเทศทั่วโลก
โรคนี้จะมีอัตราการตายต่ำแต่อัตราการเกิดโรคสูงซึ่งส่งผลกระทบกับธุรกิจฟาร์มโคนมสัตว์
ที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการ จนถึงแสดง อาการรุนแรงในหลายระบบ เช่น ระบบหายใจ
ระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น แม่โคอาจพบการ แท้ง รวมถึงเกิดปัญหาการผสม
ไม่ติด ปริมาณน้ำนมลดลง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดต่อสามารถติดต่อผ่านการสัมผัส
สัตว์ ที่ติดเชื้อโดยตรง การติดเชื้อผ่านน้ำเชื้อและติดต่อผ่านรก สัตว์ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
เสี่ยงต่อการติดโรค มากกว่า
ภาพที่ 39 Bovine Viral Diarrhea Virus ภาพที่ 40 อาการของโรค BVD
ที่มา : Paton (2000) ที่มา : Paton (2000)
การผสมเทียม
บทที่ 8
โรคทางระบบสืบพันธุ์
โรคมดลูกอักเสบ (Metritis)
มดลูกอักเสบ คือ การติดเชื้อของมดลูก (Uterine infection) ทำให้เกิดการอักเสบของ
มดลูก (Metritis) จนอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อรุนแรงจนมีหนองสะสมอยู่เต็มมดลูกเกิดเป็น
ภาวะมดลูกอักเสบ (Pyometra)
ภาพที่ 42 อาการของโรคมดลูกอักเสบ
ที่มา : Paton (2000)
ภาพที่ 41 Endometritis
ที่มา : Sherin Rouby (2018)
การผสมเทียม
บทที่ 8
โรคทางระบบสืบพันธุ์
สิ้นสุดบทเรียน