The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยในชั้นเรียน 1-63

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 0207, 2021-04-29 03:57:32

วิจัยในชั้นเรียน 1-63

วิจัยในชั้นเรียน 1-63

วจิ ัยในช้นั เรยี น

การพัฒนาทกั ษะการอ่านอย่างมวี ิจารณญาณ
ของนักเรียนช้นั มัธยมศกึ ษาปีที่ 1 โรงเรยี นมัธยมวัดสงิ ห์

ดว้ ยชุดแบบฝกึ เสริมทกั ษะ

ชนิฎา เตะ๊ ล๊ะ
ตำแหน่ง ครูผู้ชว่ ย

โรงเรยี นมัธยมวัดสิงห์
สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศึกษามัธยมศกึ ษา เขต 1
สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

วจิ ัยในช้นั เรยี น

การพัฒนาทกั ษะการอ่านอย่างมวี ิจารณญาณ
ของนักเรียนช้นั มัธยมศกึ ษาปีที่ 1 โรงเรยี นมัธยมวัดสงิ ห์

ดว้ ยชุดแบบฝกึ เสริมทกั ษะ

ชนิฎา เตะ๊ ล๊ะ
ตำแหน่ง ครูผู้ชว่ ย

โรงเรยี นมัธยมวัดสิงห์
สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศึกษามัธยมศกึ ษา เขต 1
สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ



หัวขอ้ วิจยั การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปที ่ี 1 โรงเรยี นมัธยมวดั สงิ ห์ ดว้ ยชุดแบบฝึกเสรมิ ทักษะ
ชือ่ – สกลุ นางสาวชนิฎา เต๊ะล๊ะ
ปกี ารศึกษา 2563

บทคดั ย่อ

วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษะ มีวัตถุประสงค์เพ่ือ
1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน
มัธยมวัดสิงห์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษะ
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 45 คน ได้มาจากการเลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบฝึกทักษะภาษาไทยเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของ สมจิตร ศุภษร
สถิติที่ใชใ้ นการวเิ คราะห์ขอ้ มูลได้แก่การทดสอบค่าสถติ ิ t – test แบบ Dependent Samples

ผลการวิจยั พบว่า นกั เรียนท่เี รยี นดว้ ยแบบฝึกทกั ษะการอา่ นอยา่ งมีวจิ ารณญาณ มผี ลสมั ฤทธ์ิ
ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ สูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ .05 ซงึ่ เป็นไปตามสมตฐิ านทต่ี ้งั ไว้

คำสำคญั : การอ่านอยา่ งมีวิจารณญาณ



กติ ติกรรมประกาศ

วิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ สำเร็จลลุ ่วงได้ด้วยความกรุณา ความช่วยเหลืออย่างดีย่ิง จากคณะครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ที่ได้กรุณาเสียสละเวลาอันมีค่าในการ
ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ ข้อมูล ข้อคิดและข้อเสนอแนะ ตลอดจนตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ
ด้วยความเอาใจใสเ่ ป็นอย่างดี ผวู้ จิ ัยรู้สกึ ซาบซึง้ และขอกราบขอบพระคุณเปน็ อย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้

ขอกราบขอบพระคุณบดิ า มารดา และครอบครวั ผูใ้ หก้ ารส่งเสรมิ สนับสนุน และให้กำลังใจ
เป็นอย่างดเี สมอมา

คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากการศึกษาวิจัยนี้ ผู้วิจัยขอน้อมบูชาพระคุณบิดามารดา
และบูรพาจารย์ทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้และให้ความเมตตาแก่ผู้วิจัยมาโดยตลอด
ได้ชว่ ยเหลือและเป็นกำลงั ใจสำคญั ที่ทำให้วจิ ัยในช้ันเรยี นฉบบั นสี้ ำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ผวู้ ิจยั รู้สึกซาบซึ้ง
ในความกรุณาและความปรารถนาดีของทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบขอบพระคุณและขอบคุณไว้
ในโอกาสนี้

ชนิฎา เตะ๊ ละ๊



สารบัญ

บทคัดยอ่ ……………………………………………………………………………………………………….. หน้า
กติ ตกิ รรมประกาศ………………………………………………………………………………………….. ก
สารบัญ………………………………………………………………………………………………………….. ข
สารบญั ตาราง………………………………………………………………………………………………… ค
สารบญั ภาพ…………………………………………………………………………………………………… ง


บทที่ 1 บทนำ………………………………………………………………………………………………… 1
ความเป็นมาและความสำคญั ของปัญหา………………………………………………… 1
วตั ถุประสงค์ของการวจิ ยั …………………………………………………………………….. 3
สมมตฐิ านการวจิ ยั ………………………………………………………………………………. 3
ขอบเขตการวจิ ยั …………………………………………………………………………………. 3
ประโยชนท์ ค่ี าดวา่ จะไดร้ ับ…………………………………………………………………… 3
นยิ ามศพั ท์เฉพาะ……………………………………………………………………………….. 4
กรอบแนวคิดการวิจยั ………………………………………………………………………….. 4

บทท่ี 2 เอกสารและงานวจิ ัยทเี่ กย่ี วขอ้ ง…………………………………………………………… 5
หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551……………………… 6
เอกสารทเี่ ก่ียวข้องกับการอ่าน……………………………………………………………… 11
เอกสารท่เี ก่ียวข้องกับการอา่ นอย่างมวี จิ ารณญาณ…………………………………. 15
เอกสารทเ่ี กีย่ วขอ้ งกับแบบฝกึ ………………………………………………………………. 18
งานวิจยั ทเี่ กย่ี วขอ้ ง……………………………………………………………………………… 22

บทที่ 3 วิธีดำเนนิ การวจิ ัย……………………………………………………………………………..… 26
ประชากรและกลมุ่ ตวั อยา่ ง………………………………………………………………….. 26
เครอ่ื งมอื ที่ใชใ้ นการวจิ ัย………………………………………………………………………. 26
การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู …………………………………………………………………………. 27
การวเิ คราะหข์ ้อมลู ……………………………………………………………………………… 28
สถติ ิท่ใี ช้ในการวเิ คราะห์ข้อมลู ……………………………………………………………… 28

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู ………………………………………………………………………… 30
สญั ลกั ษณท์ ีใ่ ช้ในการวเิ คราะห์ข้อมลู …………………………………………………….. 30
ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล…………………………………………………………………………. 31

สารบัญ (ตอ่ ) 34
35
บทท่ี 5 สรปุ ผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ………………………………………………… 35
สรปุ ผลการวิจัย………………………………………………………………………………….. 36
อภิปรายผลการศกึ ษาคน้ คว้า………………………………………………………………..
ข้อเสนอแนะ…………………………………………………………………………………….... 37

บรรณานกุ รม…………………………………………………………………………………………………. 42
43
ภาคผนวก……………………………………………………………………………………………...…...... 44
ภาคผนวก ก……………………………………………………………………………...….......
แบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธกิ์ ่อนและหลงั เรียน……………………………………… 70

ประวัติผูว้ ิจัย………………………………………………………………………………………………..…



สารบญั ตาราง

ตาราง หน้า
1. คะแนนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1/5 31
33
โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
อย่างมีวจิ ารณญาณ………………………………………………………………………………….......

2. แสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ก่อนและหลังเรียนด้วย
แบบฝึกเสริมทกั ษะการอา่ นอย่างมวี จิ ารณญาณ……………………………………………….



สารบัญภาพ

ภาพประกอบ หนา้

1. กรอบแนวคดิ ในการวิจัย…………………………………………………………………. 4

บทที่ 1
บทนำ

ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา
ภาษาไทยนอกจากจะเป็นภาษาประจำชาติแลว้ ภาษาไทยยงั มคี วามจำเปน็ และมสี ำคัญมาก

ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของคนในชาติ ดังที่
ดวงใจ ไทยอบุ ุญ (2552 : 1) กล่าวไว้วา่ ภาษาไทยเปน็ สมบัตอิ ันลำ้ ค่าที่แสดงความเป็นชาติไทย โดยใช้
ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร แสดงความรู้ ความคิดและประสบการณ์ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรม
ที่มีลักษณะเด่น ภาษาเป็นสิ่งช่วยให้คนเรามีโอกาสแสวงหาความรู้และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ
ในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เป็นสื่อกลางเปรียบเสมือนหัวใจ
ของการติดต่อส่ือสาร ภาษาไทยจงึ มีเอกลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจ อนั ควรแกก่ ารทำนุบำรุง ส่งเสริม
อนรุ ักษ์และสบื ทอดใหค้ งอยู่คชู่ าติไทยตลอดไป ซง่ึ สอดคลอ้ งกับกระแสพระราชดำรชั พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยหู่ วั ภูมพิ ลอดลุ ยเดช (2539 : 8 อ้างถึงใน ชาญชัย หมันประสงค,์ 2556 : 1) ความว่า

“...ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์
ชนิดหนึ่ง คือเป็นแนวทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น
ในวรรณคดี เปน็ ต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี เราน้โี ชคดีท่ีมภี าษาของตนเองแตโ่ บราณกาล
จึงสมควรอยา่ งยิ่งท่ีจะรกั ษาไว้”

ดังนั้น ภาษาไทยจึงมีความจำเป็นเพราะถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของคนในชาติ จึงต้อง
ศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นการอา่ น การเขียน การพูด การฟัง และการดูสื่อต่าง ๆ รวมท้ัง
ต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษาเพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพและใช้อย่างคล่องแคล่ว
มวี จิ ารณญาณ และมคี ณุ ธรรม

การอ่านถือได้ว่ามีความสำคัญต่อมนุษย์ เพราะการอ่านมีความจำเป็นและเป็นประโ ยชน์
อย่างมากต่อการพัฒนาการศึกษา ตลอดจนการใช้ชีวิต ดังที่ เสาวลักษณ์ รัตนวิชญ์ ( 2531 : 4)
ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการอ่านไว้ว่าเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สิ่งต่าง ๆ และเป็นรากฐานในการเรียนแต่ละสาขาวิชา ซึ่งสอดคล้องกับ สนิท ตั้งทวี (2529 : 278)
กล่าวไว้ว่า การรู้จักอ่านหนังสือมีส่วนช่วยสร้างความสำเร็จในการดำเนินชีวิตของบุคคลได้มาก
ผู้มีความสามารถพิเศษในการอ่าน มักจะได้รับความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีความรุ่งเรือง
กว่าผู้ที่ไม่ค่อยมีนิสัยรักการอ่าน ผู้ที่อยู่ในสถานศึกษา จะต้องอ่านหนังสือให้มากกว่าบุคคล
ประเภทอื่น เพราะการอ่านหนังสือเป็นชีวิต และเป็นสิ่งจำเป็นแก่บุคคลประเภทนี้อย่างยิ่ง ด้วยเหตุ
ที่ว่าผู้ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางวิชาการอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ
ดังนั้นการอ่านจึงช่วยเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์และความสามารถของแต่ละบุคคล ช่วยพัฒนา
คุณภาพชีวิต ความรู้สึกนึกคิด นอกจากนี้ การอ่านยังช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาด้านอื่น ๆ อีกด้วย
กล่าวคอื เมือ่ ทกั ษะการอ่านดี ทกั ษะการฟงั ทกั ษะการพดู และทกั ษะการเขียนก็จะพัฒนาตามไปดว้ ย

ปัจจุบันพบว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยมีปัญหาด้านการอ่าน ดังที่ ยศ พนัสสรณ์
(2538 : 10 อ้างถึงใน สมจิตร ศุภษร, 2551 : 4) ปัจจุบันเด็กขาดวิจารณญาณในการอ่านหนังสือ
อาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันประเทศไทยกำลังล้าหลังทางด้านการอ่านหนังสือ และยังกล่าวถึง

2

ปัญหาการอ่านว่า เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือเพราะมีสื่ออื่น ๆ ที่สามารถสื่อสารและรับรู้กันได้รวดเร็ว
กวา่ การอ่าน เปน็ ปญั หาท่สี ง่ ผลใหค้ นไทยส่วนใหญไ่ ม่มีนิสัยรกั การอา่ น ดังที่ เกศรนิ ทร์ หาญดำรงรักษ์
(2555 : 3) ไดก้ ลา่ วไวเ้ ชน่ กันว่า ปจั จุบนั การอา่ นอย่างมวี ิจารณญาณยังคงเป็นปญั หาสำคัญอย่างหน่ึง
ในการศึกษา เนื่องจากนักเรียนยังขาดการฝึกฝนทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จึงทำให้
ไม่สามารถไตร่ตรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสิ่งที่อ่านได้ หากนักเรียนมีความสามารถ
ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จะช่วยใหน้ ักเรยี นเขา้ ใจเน้ือหาวิชาท่ีเรียน เข้าใจในสิ่งท่ีอ่าน มีเหตุผล
และมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกรับสาร รวมทั้งนักเรียนจะประสบผลสำเร็จในการเรียนทกุ ๆ
วิชา การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นทักษะการอ่านขั้นสูงที่ต้องใช้ปัญญาและเหตุผลในการอ่าน
เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการอ่านได้อย่างถูกต้อง และเจือจันทร์ ไหวพริบ (2542 : 10 อ้างถึงใน
เตือนใจ คดดี, 2554 : 1) ยังได้กล่าวไว้อีกว่า “การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่านที่ต้องใช้
ความคิด สติปัญญา ความรู้ ประสบการณ์ อย่างรอบคอบเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและประเมินค่าสิ่งที่
อ่านได้ โดยอาศัยหลักความเป็นจริง และเหตุผลประกอบในการพิจารณา พร้องทั้งนำประโยชน์
จากสารไปใช้ได้”

แบบฝึกทักษะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้เกิดการเรียนรู้
แก่ผู้เรียนได้ ดังที่ สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 47) กล่าวว่า แบบฝึกทักษะ
เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องจากการศึกษาเนื้อหา เพราะการฝึกฝน
หรือการฝึกหัดนั้น จะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและรู้ผล
ความก้าวหน้าของตนเอง และวิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2545 : 130 – 134) ยังกล่าวไว้อีกว่า แบบฝึก
ทักษะ แบบฝึกหัดหรือแบบฝึกเสรมิ ทักษะ เป็นสื่อการเรียนประเภทหนึ่งที่เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริม
สำหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่หนังสือเรียน
จะมีแบบฝึกหัดอยู่ท้ายบทเรียนในบางวิชา แบบฝึกหัดจะมีลักษณะเป็นแบบปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับ
ศรญั ญา บญุ ทนั ตา (2553 : 32) ท่ีกลา่ วไวว้ า่ แบบฝกึ หดั หมายถึง กิจกรรม หรือส่ือการสอนชนิดหน่ึง
ที่ครไู ดส้ รา้ งข้นึ เพือ่ เปน็ แนวทางในการฝึกทักษะใหแ้ ก่นักเรียน ซ่งึ มีลักษณะเป็นกจิ กรรมท่ีหลากหลาย
ให้นักเรียนฝึกฝน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญและแม่นยำ
จนกระทง่ั นกั เรียนมคี วามรูค้ วามเข้าใจในบทเรยี นไดด้ ยี ่ิงขนึ้

ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอน และทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
เมื่อจัดการเรียนการสอนแล้วพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ในรายวิชาภาษาไทยที่ต่ำลง เป็นผลพวงมาจากการขาดทักษะด้านการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน
จับใจความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
เปน็ ผลทำใหน้ กั เรยี นไมป่ ระสบผลสำเร็จในด้านการอา่ น ขาดทักษะในการเรยี นรทู้ ด่ี ี

จากเหตุผลและสภาพปัญหาดังที่กล่าวมา ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนในเรื่องของอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ท่ีนำนิทาน บทความ ข่าว และโฆษณา มาสร้างแบบฝึก เพราะเป็นสิ่งที่นักเรียนพบเห็นและได้อ่าน
เป็นประจำในชีวิตประจำวัน มีเน้ือหาที่น่าสนใจ และทันสมัย ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นความสนใจ

3

อันจะนำไปสู่การใช้ภาษาไทยได้ดีขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษาไทยให้สูงขึ้น
ต่อไป

วตั ถปุ ระสงคข์ องการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน

มธั ยมวัดสิงห์
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 โรงเรยี นมัธยมวดั สิงห์ ก่อนและหลังเรยี นด้วยชุดแบบฝกึ เสรมิ ทกั ษะ

สมมตฐิ านการวิจยั
ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน

มัธยมวัดสงิ ห์ ที่เรยี นดว้ ยชดุ แบบฝึกเสริมทักษะหลังเรยี นสงู กวา่ ก่อนเรียน

ขอบเขตการวจิ ัย
1. ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง
1.1 ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

ปกี ารศกึ ษา 2563 จำนวน 4 ห้อง รวมทง้ั สนิ้ 146 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยม

วัดสิงห์ ปีการศกึ ษา 2563 จำนวน 45 คน ไดม้ าจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2. ตัวแปรทีใ่ ช้ในการวจิ ยั
2.1 ตวั แปรต้น ไดแ้ ก่ แบบฝึกเสริมทกั ษะเรือ่ ง การอ่านอยา่ งมีวิจารณญาณ
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

ช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
ระยะเวลาในการดำเนนิ การวจิ ัย
ระยะเวลาในการทำวจิ ยั ในภาคเรียนที่ 1 ปกี ารศกึ ษา 2563

ประโยชน์ท่ีคาดวา่ จะไดร้ ับ
1. นกั เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นเร่อื งการอา่ นอยา่ งมีวจิ ารณญาณสูงขน้ึ
2. นักเรียนมีทักษะการอ่านอยา่ งมีจารณญาณเพมิ่ ขน้ึ

4

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. นักเรียน หมายถึง ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียน

มธั ยมวัดสงิ ห์
2. การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การอ่านที่นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญ

แยกแยะขอ้ เท็จจริง ข้อคิดเห็น วเิ คราะห์ วิจารณแ์ ละประเมนิ คณุ ค่าหรือตัดสินเรือ่ งทอ่ี ่านได้
3. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง เอกสารสื่อการสอน

เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับฝึกทักษะนักเรียน
เพ่อื ให้มที ักษะในการอ่านอยา่ งมีวจิ ารณญาณ

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ เรื่องการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกเสริม
ทักษะเรอ่ื งการอ่านอยา่ งมวี จิ ารณญาณ ทผ่ี วู้ ิจัยสรา้ งขน้ึ

กรอบแนวคิดการวจิ ัย
ผวู้ ิจยั ได้กำหนดกรอบแนวคดิ ท่ีใชใ้ นการวิจยั ดงั นี้

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

แบบฝึกเสรมิ ทักษะเรอื่ ง ผลสมั ฤทธิ์การอา่ นอยา่ งมวี ิจารณญาณ
การอา่ นอยา่ งมีวจิ ารณญาณ ของนักเรียนช้นั มธั ยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรยี นมธั ยมวดั สงิ ห์

ภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดที่ใชใ้ นการวจิ ยั

บทที่ 2
วรรณกรรมทเ่ี กย่ี วข้อง

งานวิจยั เรอื่ ง การพัฒนาทักษะการอ่านอยา่ งมวี ิจารณญาณของนักเรยี นช้ันมธั ยมศกึ ษาปีที่ 1
โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เพอ่ื ใชเ้ ป็นแนวทางในการวิจัย ดงั น้ี

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย

2. เอกสารทเ่ี กี่ยวขอ้ งกบั การอา่ น
2.1 ความหมายของการอ่าน
2.2 ความสำคญั ของการอา่ น
2.3 ระดบั การอา่ น

3. เอกสารทีเ่ กี่ยวขอ้ งกบั การอา่ นอย่างมีวิจารณญาณ
3.1 ความหมายของการอ่านอย่างมีวจิ ารณญาณ
3.2 ความสำคญั ของการอ่านอย่างมวี ิจารณญาณ
3.3 หลกั การอ่านอย่างมวี จิ ารณญาณ
3.4 ประโยชน์ของการอา่ นอยา่ งมวี ิจารณญาณ

4. เอกสารท่ีเก่ียวข้องกบั แบบฝกึ
4.1 ความหมายของแบบฝกึ
4.2 ความสำคญั ของแบบฝกึ
4.3 ลักษณะของแบบฝึกท่ีดี
4.4 ประโยชนข์ องแบบฝึก

5. งานวิจัยท่ีเกีย่ วข้อง
หัวข้อต่าง ๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ผวู้ จิ ยั ไดใ้ หร้ ายละเอียดในเอกสารการศกึ ษา ดังต่อไปนี้

6

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลุม่ สาระการเรยี นรูภ้ าษาไทย

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เปลี่ยนแปลงมาจากหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคณุ ภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี
มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตดี มีความสามารถในการแข่งขันเวทีโลก ให้สถานศึกษามีส่วนร่วม
ในการพฒั นาหลักสูตร
วสิ ยั ทศั น์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติ
ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย
และเป็นพลโลก ยดึ มั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีความรแู้ ละทักษะพืน้ ฐาน รวมทัง้ เจตคติ ที่จำเป็นตอ่ การศึกษา ตอ่ การประกอบอาชีพและการศึกษา
ตลอดชวี ิต โดยมงุ่ เน้นผเู้ รียนเป็นสำคัญบนพ้ืนฐานความเช่ือวา่ ทกุ คนสามารถเรียนรู้และพฒั นาตนเอง
ไดเ้ ตม็ ศักยภาพ
หลกั การ

1. เปน็ หลักสตู รการศึกษาเพื่อความเปน็ เอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน
ของความเป็นไทยควบคกู่ ับความเป็นสากล

2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา
อย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

3. เป็นหลกั สตู รการศึกษาท่สี นองการกระจายอำนาจ ใหส้ งั คมมสี ว่ นร่วมในการจัดการศึกษา
ให้สอดคล้องกบั สภาพและความตอ้ งการของท้องถนิ่

4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการ
เรียนรู้

5. เป็นหลกั สตู รการศกึ ษาที่เนน้ ผเู้ รยี นเป็นสำคญั
6. เปน็ หลักสูตรการศกึ ษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุม
ทุกกลมุ่ เปา้ หมาย สามารถเทยี บโอนผลการเรยี นรแู้ ละประสบการณ์
จดุ หมาย
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข
มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบ
การศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐาน ดังน้ี

7

1. มคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม และค่านยิ มท่พี ึงประสงค์ เห็นคณุ คา่ ของตนเอง มวี นิ ยั และปฏบิ ัตติ น
ตามหลักธรรมของพระพทุ ธศาสนา หรือศาสนาทตี่ นนับถอื ยึดหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

2. มคี วามรู้ ความสามารถในการส่อื สาร การคดิ การแก้ปญั หา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะ
ชีวติ

3. มีสขุ ภาพกายและสขุ ภาพจิตทด่ี ี มสี ขุ นสิ ัย และรักการออกกำลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต
และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นทรงประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปญั ญาไทย การอนรุ ักษแ์ ละพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มีจิตสาธารณะทม่ี งุ่ ทำประโยชน์และสร้างสง่ิ ทด่ี ีงามในสงั คม และอยรู่ ว่ มกันในสังคมอย่างมคี วามสุข
สมรรถนะสำคัญของผู้เรยี น
สมรรถสำคัญของผู้เรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
มุ่งให้ผเู้ รยี นเกดิ สมรรถนะสำคญั 5 ประการ ดังน้ี
1. ความสามารถในการส่ือสาร เป็นความสามารถในการรับและสง่ สาร มีวัฒนธรรมในการใช้
ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารและประสบการณ์อันจะเปน็ ประโยชนต์ ่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาตอ่ รอง
เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล
และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบ
ที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด
อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้
หรอื สารสนเทศเพื่อการตดั สนิ ใจเกยี่ วกบั ตนเองและสังคมไดอ้ ย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ
เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์
ความรู้มาใชใ้ นการป้องกันและแกไ้ ขปัญหา และมีการตดั สินใจท่มี ีประสทิ ธภิ าพโดยคำนึงถึงผลกระทบ
ทเี่ กดิ ข้ึนต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดลอ้ ม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้
ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่
ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและ
ความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและ
สภาพแวดล้อม และการรูจ้ กั หลกี เลยี่ งพฤตกิ รรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อืน่

8

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยี
ด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้าน
การเรียนรู้ การส่อื สาร การทำงาน การแกป้ ัญหาอย่างสรา้ งสรรค์ ถกู ต้องเหมาะสม และมคี ณุ ธรรม
คณุ ลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพ่อื ใหส้ ามารถอยู่ร่วมกับผู้อืน่ ในสงั คมได้อยา่ งมีความสขุ ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้

1. รกั ชาติ ศาสน์ กษตั ริย์
2. ซ่อื สัตย์สุจรติ
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยอู่ ย่างพอเพยี ง
6. มงุ่ มน่ั ในการทำงาน
7. รักความเปน็ ไทย
8. มจี ิตสาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้อง
ตามบริบทและจุดเนน้ ของตนเอง
มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา
หลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน จึงกำหนดให้ผูเ้ รยี น เรยี นรู้ 8 กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ ดังนี้
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
5. สุขศกึ ษาและพลศกึ ษา
6. ศิลปะ
7. การงานอาชพี และเทคโนโลยี
8. ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการ
พัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม
และค่านิยมที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไก
สำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่า

9

ต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ
เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพ
ภายนอก ซึ่งรวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการ
ตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถ
พัฒนาผเู้ รียนใหม้ คี ณุ ภาพตามท่มี าตรฐานการเรยี นรู้กำหนดเพยี งใด

กล่มุ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน
และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสขุ และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์
และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ
แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่า ควรแก่การ
เรยี นรู้ อนรุ กั ษ์ และสืบสานใหค้ งอยู่คู่ชาตไิ ทยตลอดไป
ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
การเรียนรู้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ และเพอ่ื นำไปใช้ในชีวิตจริง
- การอ่าน การออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว คำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ
การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน เพื่อนำไป
ปรบั ใช้ในชวี ิตประจำวัน
- การเขียน การเขียนสะกดคำตามอักขระวิธี การเขียนสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ
การเขียนเรียงความ ย่อความ เขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า เขียนตามจินตนาการ
เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และเขียนเชงิ สรา้ งสรรค์
- การฟัง การดู และการพูด การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดงความคิดเห็น
ความรู้สึก พูดลำดับเรื่องราวต่าง ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล การพูดในโอกาสต่าง ๆ ทั้งเป็นทางการ
และไม่เป็นทางการ และการพูดเพอ่ื โนม้ นา้ วใจ
- หลักการใช้ภาษาไทย ศึกษาธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ถูกต้อง
เหมาะสมกับโอกาสและบคุ คล การแตง่ บทประพนั ธ์ประเภทต่าง ๆ และอิทธพิ ลของภาษาต่างประเทศ
ในภาษาไทย
- วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์วรรคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด
คุณค่าของงานประพันธ์ และเพื่อความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความเข้า ใจบทเห่

10

บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย ซ่ึงได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต และความงดงามของภาษา เพื่อให้เกิด
ความซาบซงึ้ และภมู ิใจในบรรพบุรษุ ท่ไี ดส้ ่ังสมสืบทอดมาจนถงึ ปจั จุบนั
สาระและมาตรฐานการเรยี นรู้

สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ

แกป้ ญั หาในการดำเนนิ ชิต และมนี ิสยั รกั การอา่ น
สาระท่ี 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียน

เรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ

สาระที่ 3 การฟงั การดู และการพดู
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้

ความคิด และความรู้สกึ ในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสรา้ งสรรค์
สาระท่ี 4 หลักภาษาไทย
มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลง

ของภาษาและพลังของภาษา ภมู ิปญั ญาทางภาษา และรกั ษาภาษาไทยเปน็ สมบตั ขิ องชาติ
สาระท่ี 5 วรรณคดแี ละวรรณกรรม
มาตรฐาน ท 5.1 เขา้ ใจและแสดงความคดิ เหน็ วจิ ารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย

อยา่ งเห็นคุณค่า และนำมาประยุกตใ์ ชใ้ นชวี ิตจรงิ
คุณภาพผู้เรียนจบชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 3

อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง เข้าใจความหมาย
โดยตรง และความหมายโดยนัย จับใจความสำคัญและรายละเอียดของสิ่งที่อ่าน แสดงความคิดเห็น
และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด ย่อความ เขียนรายงาน
จากสิ่งที่อ่านได้ วิเคราะห์ วิจารณ์ อย่างมีเหตุผล ลำดับความอย่างมีขั้นตอนและความเป็นไปได้
ของเร่อื งท่ีอา่ น รวมทั้งประเมนิ ความถูกต้องของข้อมลู ท่ีใชส้ นับสนุนจากเร่ืองทีอ่ า่ น

เขียนสื่อสารด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจน ใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับภาษา
เขียนคำขวัญ คำคม คำอวยพรในโอกาสต่าง ๆ โฆษณา คติพจน์ สุนทรพจน์ ชีวประวัติ อัตชีวประวัติ
และประสบการณต์ ่าง ๆ เขียนยอ่ ความ จดหมายกิจธรุ ะ แบบกรอกสมัครงาน เขยี นวเิ คราะห์ วิจารณ์
และแสดงความรู้ความคิดหรือโต้แย้งอย่างมีเหตุผล ตลอดจนเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
และเขียนโครงงาน

11

พูดแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินสิ่งที่ได้จากการฟังและดู นำข้อคิด
ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชีวติ ประจำวัน พดู รายงานเรื่องหรอื ประเด็นทไี่ ด้จากการศึกษาคน้ คว้าอยา่ งเป็นระบบ
มีศิลปะในการพูด พูดในโอกาสต่าง ๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และพูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล
นา่ เชือ่ ถอื รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง ดู และพดู

เข้าใจและใช้คำราชาศัพท์ คำบาลีสันสกฤต คำภาษาต่างประเทศอื่น ๆ คำทับศัพท์
ศัพท์บัญญัติในภาษาไทย วิเคราะห์ความแตกต่างในภาษาพูด ภาษาเขียน โครงสร้างของประโยครวม
ประโยคซ้อน ลักษณะภาษาที่เป็นทางการ กึ่งทางการและไม่เป็นทางการ และแต่งบทร้อยกรอง
ประเภทกลอนสภุ าพ กาพย์ และโคลงสส่ี ุภาพ

สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน วิเคราะห์ตัวละครสำคัญ วิถีชีวิตไทย และคุณค่า
ที่ได้รับจากวรรณคดีวรรณกรรมและบทอาขยาน พร้อมทั้งสรุปความรู้ข้อคิดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
ในชีวติ จริง

2. เอกสารท่ีเกี่ยวข้องกับการอา่ น
2.1 ความหมายของการอ่าน
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคณะ (2553 : 7) ได้กล่าวว่า การอ่านเป็นกระบวนการถ่ายถอด

ความหมายของตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ออกมาในรูปของความคิดและความเข้าใจ ซึ่งการอ่านไม่ใช่
แค่อ่านสะกดตัวถูกและรู้เท่าที่อ่านเท่านั้น แต่ต้องสามารถวินิจฉัย พินิจพิจารณาความหมายที่ได้
จากการอา่ นไดอ้ ย่างลึกซ้งึ สามารถนำความคิดจากการอา่ นไปใชใ้ หเ้ ปน็ ประโยชน์ในชีวิตประจำวนั

วสุณี รักษาจันทร์ (2531 : 2) ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่าน คือ การรับเอา
ตัวอักษรที่ปรากฏแก่สายตานั้นมาแปลออกเป็นความหมายซึ่งความหมายที่ผู้อ่านแปลออกมาได้นั้น
ควรตรงกนั กับความหมายทผ่ี ู้เขียนตั้งเอาไว้ จึงจะเป็นการอ่านทีด่ แี ละถูกต้อง

สมพร มันตระสูตร แพ่งพิพัฒน์ (2534 : 8) ได้กล่าวว่า การอ่านคือการรับรู้ความหมาย
จากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์ หรือหนังสือ โดยผู้อ่านรับรู้ว่าผู้เขียนได้ส่งสารอะไรมายังผู้อ่าน
ทั้งในด้านความคิด ความรู้ ความหมาย ความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ว่าผู้เขียนตั้งใจจะแสดงความคิด
อยา่ งไร ซึ่งผูอ้ า่ นตอ้ งทำความเขา้ ใจไปทีละตอนเปน็ ลำดับ

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551 : 141) สรุปความหมาย
การอ่านไว้ว่า การอ่าน หมายถึงพฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่งที่ผู้อ่านพยายามทำความเข้าใจสาร
ทั้งวัจนสาร (สารที่สื่อด้วยคำพูด) และอวัจนสาร (สารที่สื่อด้วยสัญลักษณ์อย่างอื่น) จากนั้นผู้อ่าน
เกดิ ความคิด ความเขา้ ใจแลว้ สามารถนำความคิด ความเขา้ ใจน้ันไปใชใ้ ห้เกิดประโยชนไ์ ด้

12

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554 : 1405) ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า
การอ่าน คือ ว่าตามตัวหนังสือ ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง ถ้าไม่อ่านออกเสียง เรียกว่า
อ่านในใจ สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านในใจ ตีความ
เชน่ อา่ นรหสั อ่านลายแทง คิด นับ

จากการให้ความหมายของการอ่าน สรุปได้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการรับรู้สาร
โดยการถอดความหมายของตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ออกมาในรูปแบบของความคิด เพื่อรับรู้
และเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อออกมา และใช้เป็นเครื่องมือในการหาความรู้ เพื่อนำมา
ปรับใช้ในชวี ติ ประจำวนั

2.2 ความสำคญั ของการอา่ น
สนทิ ตัง้ ทวี (2529 : 278) กลา่ ววา่ การอา่ นหนังสอื มสี ว่ นช่วยสร้างความสำเร็จในการดำเนิน
ชีวิตของบุคคลได้อย่างมาก ผู้ที่มีความสามารถพิเศษในการอ่าน มักจะได้รับความเจริญก้าวหน้า
รวดเรว็ และมคี วามร่งุ เรืองกวา่ ผทู้ ่ีไม่ค่อยมนี ิสยั รักการอา่ น
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551 : 142) กล่าวไว้ว่า ปัจจุบัน
เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารซึ่งแพร่หลายในรูปของสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ทักษะการอ่าน
มีความสำคญั มากขนึ้ ดงั น้ี
1. การอ่านหนังสือทำให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเป็นผู้ที่ทันต่อ
เหตุการณ์ ทันความคิด ความก้าวหน้าของโลกได้เช่นเดียวกับการรับสารจากส่ือชนดิ ตา่ ง ๆ เช่น วิทยุ
โทรทัศน์ และส่อื อีเลก็ ทรอนิกส์อ่นื ๆ
2. หนังสือเป็นสื่อที่ดีที่สุด ใช้ง่ายที่สุด และมีราคาถูกที่สุด ที่บุคคลทั่วไปใช้เพื่อศึกษา
หาความรูแ้ ละเพลดิ เพลิน
3. การอ่านหนังสือเป็นการฝึกให้สมองได้คิด และเกิดสมาธิด้วย ฉะนั้น หากมีการฝึก
อย่างตอ่ เนอื่ ง จะทำใหท้ ักษะด้านนพี้ ัฒนาและเกิดผลสมั ฤทธ์สิ งู
4. ผู้อ่านหนังสือสามารถสร้างความคิดและจินตนาการได้เอง ในขณะที่สื่ออื่น ๆ เช่น วิทยุ
โทรทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะจำกัดความคิดของผู้อ่านมากกว่า ฉะนั้น การอ่านหนังสือ
จึงทำใหผ้ ู้อา่ นมีอิสระทางความคดิ ไดด้ ีกว่าการใชส้ ื่อชนิดอ่ืน
5. การอ่านเป็นกระบวนการสำคัญในการแสว งหาความรู้ของมนุษย์ ปัจจุบัน
ความเจริญก้าวหน้าในการพิมพ์และเทคนิคอื่น ๆ ทำให้วิทยาการต่าง ๆ เผยแพร่ออกมาในรูปของ
สิ่งพิมพ์เป็นส่วนมาก ผู้ที่ใฝ่ใจในการเรียนรู้จึงต้องรู้จักหลักของการอ่าน และจะต้องฝึกฝนทักษะ
การอ่านอยเู่ สมอ จึงจะได้รับประโยชน์จากการอ่านอยา่ งเต็มที่

13

วสุณี รักษาจันทร์ (2531 : 1) กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านว่า ในบรรดาทักษะทั้ง 4
ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษา อันประกอบไปด้วยการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนนั้น การอ่านนับว่า
เป็นทักษะหน่ึงที่มบี ทบาทสำคญั ในชวี ิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เพราะเราต้องพบกับตัวอักษร
ซึ่งจะบอกให้เรารู้ถึงความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้ และนั่นจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความคิดเหน็
ความเข้าใจในสิง่ ตา่ ง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประสบการณ์อันสำคญั ยิ่งที่จะทำให้เราได้ยึดเป็นแนวทาง
ไปสกู่ ารพิจารณา ตัดสินปญั หาต่าง ๆ ในชวี ิตประจำวนั ไดอ้ ย่างถกู ตอ้ งและมเี หตผุ ล

ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคณะ (2553 : 8) ได้สรุปความสำคัญของการอ่านไว้ว่า การอ่าน
เป็นทักษะที่มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ต่าง ๆ
เพื่อทำให้ผู้อ่านฉลาด รอบรู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้
อยา่ งมีประสิทธภิ าพ

สรุปได้ว่า การอ่านมีความสำคัญและเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากในการดำเนินชีวิต
ของทุกคน เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเพิ่มพูนความรู้ ความคิด และประสบการณ์
ทำใหผ้ อู้ ่านได้รับความรูท้ ่ีเปน็ ประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาตนเองต่อไปได้

2.3 ระดบั การอา่ น
เปลือ้ ง ณ นคร (2538 : 37 - 38) ไดแ้ ยกระดับของการอา่ นเปน็ 4 ระดับ ดงั นี้

ระดับแรก นับเป็นพื้นฐานของการอ่าน ตรงกับอ่านออกและอ่านแตก คือ
เมื่อเห็นตัวหนังสือก็อ่านออกเสียงหรืออ่านในใจได้ เป็นการอ่านที่เราสอนกันในชั้นประถม
เมื่ออ่านหนังสือออกแล้วนั้นถ้าอ่านอย่างที่เห็นตัวหนังสือเป็นแถว ๆ ก็ไม่ได้เรื่องราวอะไร จะต้องรู้
เร่อื งทอี่ ่านดว้ ย ซงึ่ เรียกว่า อ่านเอาเรอื่ ง

ระดับสอง เรียกว่า อ่านตรวจตรา คือทำความรู้จักกับหนงั สือที่อ่าน ในชีวิตการงาน
หรือการเรียน จำเป็นต้องอ่านหนังสือประกอบมากมายสิบเล่ม หรืออาจเป็นจำนวนร้อยเล่ม
คงไม่มีเวลาอ่านให้ละเอียดได้ทุกเล่ม จึงจำเป็นต้องตรวจหรือทำความรู้จักกับหนังสือเสียก่อน
เพ่อื ไม่ตอ้ งเสยี เวลาอา่ นตลอดเลม่

ระดับสาม การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โบราณเรียกว่า อ่านเป็น ในระดับนี้ผู้อ่าน
จะต้องเข้าใจหนังสือที่อ่านเป็นอย่างดี เป็นการอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ และให้เกิด
สตปิ ัญญา

ระดับสี่ เป็นการอ่านอย่างค้นคว้าเพื่อความรอบรู้ อ่านค้นคว้าเปรียบเทียบว่า
ในเรื่องนั้น ๆ เขียนไว้อย่างไร ผู้ที่อ่านถึงระดับนี้ต้องเป็นคนอ่านหนังสือมาก อ่านหนังสือเร็ว
สามารถพิจารณาหาข้อเทจ็ จรงิ จากหนงั สอื ได้

14

ผกาศรี เย็นบุตรและคณะ (2558 : 67) ได้กล่าวว่า การอ่านแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
อ่านได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการอ่าน เป็นการรับรู้ข่าวสารผ่านตัวอักษร ต่อมาจึงพัฒนาเป็น
อ่านเป็น ซึ่งเป็นการอ่านอย่างเข้าใจเนื้อหา สามารถจับใจความสำคัญ แสดงความคิดเห็น
และประเมินคา่ เรือ่ งทอ่ี า่ นได้วา่ ดีหรือไม่ดีอย่างไร

กรรณกิ าร์ ฤทธ์ิเดชและคณะ (2553 : 41) ได้กล่าวถงึ ระดบั ของการอา่ นไวว้ ่า
1. การอ่าน เป็นการแปลสัญลักษณ์ออกมาเป็นคำพูด โดยการผสมเสียงเพื่อใช้ในการ
ออกเสียงให้ตรงกับคำพูด การอ่านแบบนี้มุ่งให้ตัวสะกดตัวอักษรอ่านเป็นคำ ๆ ไม่สามารถสื่อความ
โดยการฟังไดท้ ันที เป็นการอ่านเพอ่ื การอ่านออก ม่งุ ใหอ้ ่านหนังสอื แตกฉานเทา่ น้ัน
2. การอ่าน เป็นการใช้ความสามารถในการผสมผสานตัวอักษร ออกเสียงเป็นคำ
หรือเป็นประโยค ทำให้เข้าใจความหมายของคำในการสื่อสารโดยการอ่าน หรือฟังผู้อ่านแล้วรู้เรื่อง
เรียกว่า การอ่านได้ ซ่งึ เปน็ การอา่ นแล้วรู้เรอื่ งสง่ิ ที่อา่ น
3. การอ่าน เป็นการเข้าใจความหมายที่ถ่ายโยงความคิด ความรู้ จากผู้เขียนถึงผู้อ่าน
การอ่านลักษณะนี้เรียกว่า การอ่านเป็น ผู้อ่านย่อมเข้าใจถึงความรู้สึกนกึ คิดของผู้เขียน โดยอ่านแล้ว
สามารถประเมนิ ผลสิง่ ทอี่ ่านได้
4. การอ่าน เป็นการพัฒนาความคิด โดยที่ผู้อ่านใช้ความสามารถหลาย ๆ ด้าน
เช่น ใช้การสังเกต จำรูปคำ สติปัญญา และประสบการณ์เดิมในการแปลความหมาย หรือถอดความ
ให้เกิดความเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดี วิธีการดังนี้ต้องดำเนินตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการ
อาจต้องใช้ความหมายของการอ่านทั้งสามข้อข้างต้น แล้วสามารถเข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่าน
และนำผลของสิ่งทีไ่ ด้จากการอา่ นมาเปน็ แนวปฏิบตั ิได้ เรยี กวา่ การอ่านเป็น
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551 : 141) ได้แบ่งระดับของการ
อา่ นเป็น 2 ระดบั คือ
1. ระดับอ่านได้ หมายถึงการรับรู้สารผ่านตัวอักษร อาจจะรู้เรื่องบ้าง แต่ยังไม่ถึงกับเข้าใจ
ไม่สามารถจับใจความสำคัญได้ ทั้งยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือประเมินค่าสารที่อ่านนั้นได้
มงุ่ เฉพาะให้อ่านออกพอรเู้ รื่องเทา่ นนั้
2. ระดับอ่านเป็น หมายถึงการอ่านที่เข้าใจเรื่องราวของสารที่อ่านได้เป็นอย่างดี สามารถ
จับใจความสำคัญหรือแนวคิดของเรื่องได้ แสดงความคิดเห็น และสามารถที่จะประเมินค่าของสาร
ทอ่ี า่ นได้
สรุปได้ว่า การอ่าน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับแรกหรือระดับการอ่านออก อ่านได้
หมายถึงการอ่านที่สามารถอ่านไดท้ ุกตัวอักษร แต่ไมส่ ามารถเข้าใจในคำหรือประโยคนั้น ระดับที่สอง
หรือระดบั อ่านเป็น หมายถงึ การอ่านทผี่ ู้อ่านสามารถอ่านได้และเข้าใจความหมายของคำหรือประโยค
และผอู้ ่านสามารถประเมินคา่ สง่ิ ทอ่ี ่านได้

15

3. เอกสารทเ่ี ก่ียวข้องกบั การอา่ นอยา่ งมีวจิ ารณญาณ
3.1 ความหมายของการอา่ นอยา่ งมวี ิจารณญาณ
ขวัญชนก นัยเจริญ (2551 : 28) ให้ความหมายเกี่ยวกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณว่า

เป็นการอ่านในระดับขั้นสูงของรูปแบบการอ่าน โดยผู้อ่านต้องอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์
การแยกแยะความคิดเห็น และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเรื่องที่ได้อ่าน โดยอาศัยประสบการณ์
และความรู้ที่มีอยู่เดิมทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวมถึงการประเมินค่าในเรื่องที่ตนอ่าน
อย่างละเอียดครบถว้ น มเี หตผุ ลสนบั สนนุ ในเน้อื หาหรอื ประเด็นเรื่องท่ีอา่ น

จุรีพันธ์ ภาษี (2550 : 15) ให้ความหมายเกี่ยวกับการอา่ นอย่างมีวิจารณญาณไวว้ ่า การอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณเป็นกระบวนการอ่านที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการไตร่ตรองสิ่งที่อ่านอย่างถี่ถ้วน
เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล การอ่านอย่างมีวิจารณญาณจึงเป็นการอ่านที่มีคุณค่า
และเปน็ เครอ่ื งมือสำคัญในสงั คมยคุ ข้อมูลข่าวสาร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2554 : 687) ให้ความหมายของ วิจารณญาณ หมายถึง
ปญั ญาทส่ี ามารถเข้าใจ รับรหู้ รอื ให้เหตผุ ลที่ถูกตอ้ งได้

ชาญชัย หมันประสงค์ (2556 : 29) กล่าวว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่าน
ระดับสูงที่ผู้อ่านต้องใช้สติปัญญา ในการวิเคราะห์ วินิจฉัยในสิ่งที่อ่านว่าถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่
ซึ่งประกอบไปด้วย การจับใจความสำคัญ การตีความ แยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น วิเคราะห์
วิจารณ์ และประเมนิ คุณค่าเรื่องทอ่ี ่านได้

สรุปได้ว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การอ่านในระดับสูง ผู้อ่านต้องมี
ประสบการณ์ในการอ่านเป็นพื้นฐาน ผู้อ่านต้องสามารถพิจารณา จับใจความสำคัญ ตีความ
แยกข้อเท็จจรงิ ขอ้ คดิ เห็นวิจารณ์และประเมินคุณค่าหรอื ตัดสนิ เร่ืองราวตา่ ง ๆ ท่อี า่ นได้

3.2 ความสำคญั ของการอ่านอยา่ งมวี จิ ารณญาณ
อรอนงค์ ตง้ั ก่อเกยี รติ (2542 : 148) ได้กล่าว ถงึ ความสำคัญของการอ่านอยา่ งมวี ิจารณญาณ
ไว้ว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณช่วยพัฒนาปัญญาของผู้รับสารให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับสารที่ได้อ่าน สามารถแยกแยะส่วนต่าง ๆ และมองเห็นความสัมพันธ์ของทุกส่วน
ที่มาประกอบกัน ฝึกให้รับผู้รับสารมีกระบวนการคิดท่ีลึกซึ้งและสร้างสรรค์ รู้จักใช้วิจารณญาณ
ไตร่ตรอง ไม่เป็นคนหลงเชื่อง่ายหรือตกเป็นเหยื่อคำโฆษณาที่เกินจริงมีทักษะในการแยกแยะ
และหาแนวทางแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เป็นผู้รอบคอบและมีเหตุผลยิ่งขึ้น ช่วยให้มีความรู้
ที่กว้างขวาง และเปน็ แนวทางให้ร้จู ักแสวงหาความรเู้ พ่ิมเตมิ

16

เตือนใจ คดดี (2554 : 23) กล่าวว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญ
เพราะเป็นการอ่านที่พัฒนาความคิดให้รู้จักพิจารณาวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ประเมินค่าตัดสินข้อมูล
ข่าวสาร รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าควรเชื่อถือสิ่งใ ดและสิ่งใดไม่ควรเช่ือ
โดยใชเ้ หตุผลประกอบการตัดสินใจทกุ คร้งั

ผกาศรี เย็นบุตร (2526 : 70) ได้แสดงความคิดไว้ว่า การฝึกอ่านอย่างมมีวิจารณญาณ
อยเู่ สมอ จะทำใหผ้ อู้ ่านมจี ติ ใจกว้าง มองโลกในแง่ดีและเปน็ คนมีเหตผุ ล

บันลือ พฤกษะวัน (2534 : 42) กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณว่า
ความรู้ทีไ่ ดจ้ ากการอา่ นจะไมท่ ำใหห้ ลงผิดก่อนหาทางพสิ ูจนค์ วามจริง

สรุปได้ว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันอย่างมาก
เพราะในปจั จุบันมีช่องทางทช่ี ่วยให้การรับข้อมูลข่าวสารไดง้ ่าย จากส่ือทหี่ ลากหลาย การอ่านอย่างมี
วิจารณญาณจะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักคิดแยกแยะโดยใช้เหตุผลเข้ามาประกอบการประเมินข้อมูลที่ได้รับ
ว่ามีความน่าเช่ือถือมากนอ้ ยเพียงใด

3.3 หลักการอา่ นอยา่ งมีวจิ ารณญาณ
สุขุม เฉลยทรัพย์ (2531 : 196 -197, อ้างถึงใน วรินทร จรูญกิจธรรม, 2554 : 30) ได้เสนอ
หลักการอา่ นอยา่ งมีวจิ ารณญาณพอสรปุ ไดด้ ังน้ี
1. พินิจดคู วามถูกตอ้ งของภาษาท่อี ่าน
2. พินจิ ดคู วามต่อเน่อื งของประโยค
3. พินิจดูความตอ่ เนื่องของความหมาย
4. แยกความรอู้ อกจากความคดิ เหน็ และความร้สู ึก
5. ดคู วามสมั พนั ธ์ของหลกั การและตวั อยา่ ง
6. ประเมินความสำคัญของความจริง อันได้แก่ ความรู้ ความคิด และความรู้สึก วิเคราะห์
ความเปน็ ไปไดใ้ นความคิดของผู้แตง่ กบั ความคิดเห็นสว่ นตัวของผอู้ ่าน
ดนยา วงศ์ธนะชัย (2542 : 180) ได้เสนอแนะหลักในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณไว้ 3 ข้อ
คอื
1. แยกข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น และความรู้สึกของผู้แต่ง เพื่อช่วยให้การพิจารณา
ขอ้ เขยี นนัน้ ทำไดถ้ ูกต้องใกลเ้ คียงความเป็นจรงิ มากทสี่ ดุ
2. พิจารณาความสัมพันธ์ของหลักการและตัวอย่าง โดยทั่วไปแล้วข้อความที่เป็นเหตุการณ์
หรือเรื่องที่ค้นพบใหม่ ถ้าผู้เขียนอ้างอิง หรือยกตัวอย่างมาให้เห็นด้วย จะเป็นการเพิ่มน้ำหนัก
ของความนา่ เช่อื ถอื ไดม้ ากขึน้
3. ประเด็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็นและความรู้สึก วิเคราะห์ความเป็นไปในความคิด
ของผู้เขยี นกับความคิดเห็นสว่ นตัว ผลลพั ธแ์ หง่ การประเมินนน้ั จะกอ่ เป็นความคิดสรา้ งสรรคห์ รอื ไม่

17

เอมอร เนียมน้อย (2551 : 16) ได้กล่าวว่า ผู้อ่านอย่างมีวิจารณญาณต้องมีความสามารถสูง
ในการวิเคราะห์หาเหตุผลที่เสนอผ่านออกมาทางตัวหนังสือเพื่อจะนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์
ประเมินคา่ ตดั สนิ เรื่องทีอ่ ่านไดถ้ กู ต้อง ซ่ึงจะปรากฏออกมาในพฤติกรรมต่อไปน้ี

1. จำแนกประเภทของงานเขียนได้
2. สามารถแยกแยะส่วนทเ่ี ปน็ ข้อเทจ็ จริงขอ้ คิดเหน็ ได้
3. สามารถอธิบายความหมายของศพั ท์ สำนวน อปุ มา
4. ตัดสนิ ว่าสิ่งใดถูก สง่ิ ใดผิด
5. บอกจุดประสงค์ของผู้เขียนได้
6. จับแนวคิดหลกั ได้
7. จบั น้ำเสียง ความรู้สกึ ของผเู้ ขยี นได้
8. บอกโครงเรอื่ งหรอื สรปุ เรอ่ื งได้
9. ประเมนิ คณุ ค่าของเรือ่ งท่ีอา่ นได้
นอกจากนี้ ณชิ าพฒั น์ ไชยเสนบดินทร์ (2557 : 37) ได้สรปุ หลักการอา่ นอยา่ งมีวิจารณญาณ
ไว้ว่า หลักการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ผู้อ่านต้องวิเคราะห์สาระสำคัญของเรื่อง เรียงลำดับเรื่อง
แยกแยะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็น บอกวัตถุประสงค์และทัศนคติของผู้เขียน ตัดสินและประเมิน
คุณคา่ ของเรอื่ งทอ่ี ่านได้
สรุปได้วา่ หลักการอา่ นอยา่ งมีวิจารณญาณ ผอู้ ่านต้องอา่ นเรื่องให้ละเอียด อ่านหลาย ๆ คร้ัง
เพื่อทำความเข้าใจเรื่อง เมื่อเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่านแล้วจากนั้นจึงจับประเด็นความคิดหลัก แล้วนำมา
วิเคราะห์แยกขอ้ เทจ็ จริง ข้อคิดเหน็ ประเมนิ ค่าเร่ืองทอี่ า่ น
3.4 ประโยชนข์ องการอ่านอยา่ งมีวิจารณญาณ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณถือได้ว่าเป็นทักษะที่มีประโยชน์ต่อการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร
ในปจั จุบันอยา่ งย่งิ ดังทีน่ ักวชิ าการหลายท่านไดก้ ล่าวไว้ ดังนี้
สุทธินันท์ ศิริไทย (2551 : 63 - 64) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ไว้ว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพราะเป็นการอ่านโดยใช้เหตุผลทำให้เกิด
ความรู้ และมีความคิดรอบคอบวนิ ิจฉยั เร่ืองที่อ่าน เพือ่ สรปุ ประเมนิ คา่ และสามารถนำประโยชน์ท่ีได้
จากการอา่ นมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชวี ติ ประจำวนั ได้อย่างมีประสิทธภิ าพ
ศุภวรรณ์ เล็กวไิ ล (1551 : 119) ไดก้ ลา่ วถึงประโยชนข์ องการอา่ นอยา่ งมวี ิจารณญาณไวว้ ่า
1. ช่วยใหส้ ามารถแยกแยะความแตกตา่ งระหวา่ งความรู้ ความจริง และความคิดเหน็
2. ร้จู กั ประมวลข้อมลู ความคิด
3. รูจ้ ักลำดับขอ้ มลู
4. รู้จกั สรปุ เหตุผล ข้อมูลหรอื ประเดน็ ต่าง ๆ

18

5. มองเห็นส่งิ ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
6. รู้จกั แสวงหาทางเลือกท่ีหลากหลายมากขน้ึ
7. รู้จกั ตงั้ เปา้ หมาย
8. รจู้ กั วางแผนล่วงหนา้
9. ตดั สินใจได้ดี แมน่ ยำ มหี ลักเกณฑ์
10. สามารถแก้ไขปัญหาตา่ ง ๆ ไดด้ ี
11. รูจ้ ักเปิดใจกวา้ ง ฟงั ความรอบดา้ น ไมด่ ่วนตัดสินใจโดยขาดข้อมลู
12. มกี ารคาดการณไ์ ดด้ ขี น้ึ
เตือนใจ คดดี (2554 : 29) ได้กล่าวว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณนั้นมีประโยชน์คือ
ทำให้ผู้อ่านมคี วามรู้และความรอบคอบเปน็ เหตเุ ป็นผลทีจ่ ะนำไปสู่การประเมนิ ข้อความได้
สริ ินาถ ธารา (2557 : 39) ได้กลา่ วว่า การอ่านอย่างมีวจิ ารณญาณนนั้ มปี ระโยชน์ทำให้ผู้อ่าน
รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้อ่านเกิดปัญญา มีความรู้กว้างขวาง เข้าใจตนเอง สามารถรับรู้ข้อมูล
ที่ไดอ้ ยา่ งถูกต้องและมปี ระสทิ ธภิ าพ
จากข้างต้นสรุปได้ว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีประโยชน์ช่วยให้ผู้อ่านเกิดกระบวน
การคิดและการตัดสินใจที่มีการใช้เหตุผลเข้ามาประกอบในการรับข้อมูล ทำให้สามารถนำข้อมูล
จากสารท่ไี ด้รับไปใช้ในการดำเนนิ ชวี ิตได้อย่างถกู ต้องและเหมาะสม

4. เอกสารทเี่ กี่ยวข้องกับแบบฝกึ
4.1 ความหมายของแบบฝกึ
นกั การศึกษาหลายท่านได้เสนอความหมายของแบบฝึกไว้ ดังน้ี
สุวิทย์ มูลคำ และ สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 47) ได้ให้ความหมายของแบบฝกึ ทักษะ

ไว้ว่า แบบฝกึ ทักษะคือสิ่งสำคัญท่ชี ว่ ยให้นักศึกษาเกิดการเรยี นรู้ได้อย่างต่อเนื่องจากการศึกษาเนื้อหา
เพราะการฝึกฝนหรือการฝึกหัดนั้น จะทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้เกิดการเรียนรู้
ดว้ ยตนเองและร้ผู ลความก้าวหนา้ ของตนเอง

ราชบัณฑิตยสถาน (2554 : 678) ได้ให้ความหมายของแบบฝึกไว้ว่า แบบฝึก หมายถึง
แบบตวั อยา่ งปญั หาหรอื คำสัง่ ท่ีตง้ั ข้ึนเพือ่ ใหน้ กั เรียนฝึกตอบเป็น

นิตยา เมืองมิ่ง (2550) ได้กลา่ วว่า แบบฝกึ หมายถึง ชดุ เสรมิ การเรียนรู้ ทค่ี รูสร้างขึ้นเพื่อฝึก
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทบทวนเนื้อหาที่เรียนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนที่ได้เรียนรู้
มาแลว้ ซงึ่ เป็นการฝกึ ทกั ษะและเสริมความชำนาญและฝึกกระบวนการคิดมากขึ้น

19

สุรีรัตน์ พิมพ์เขต (2557 : 46) กล่าวว่าแบบฝึก หมายถึง สื่อการเรียนประเภทหน่ึง
หรือชุดเสริมการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น สำหรับให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เพื่อเป็นการทบทวน
เนื้อหาท่ีเรียนมา ทำให้เกดิ ความรู้ ความเข้าใจ และมที กั ษะเพิ่มขึ้น

เอมอร ลายคราม (2557 : 21) ได้สรุปความหมายของแบบฝึกไว้ว่า แบบฝึก หมายถึง
งานที่ครูสร้างขึ้นโดยมรี ูปแบบกิจกรรมท่ีหลากหลาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อทบทวนบทเรียน หรือทดสอบ
ความสามารถของนักเรียนหลังจากจบบทเรยี นแลว้

จากที่กล่าว สรุปได้ว่า แบบฝึก หมายถึง สื่อการสอนประเภทหนึ่ง โดยมีรูปแบบกิจกรรม
ที่หลากหลาย ซึ่งครูจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนบทเรียนที่เรียนมาด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียน
เกดิ ความเข้าใจในบทเรยี นน้ันมากขนึ้

4.2 ความสำคญั ของแบบฝึก
สวุ ทิ ย์ มูลคำ และสนุ นั ทา สนุ ทรประเสริฐ (2550 : 53) กล่าวว่า แบบฝกึ ทักษะมีความสำคัญ
ตอ่ ผเู้ รยี นไมน่ ้อย ในการทจี่ ะช่วยเสรมิ สร้างทักษะให้กับผู้เรียนได้เกิดความรู้และความเข้าใจได้เร็วขึ้น
ชัดเจนขึ้น กว้างขวางขึ้น ทำให้การสอนของครูและการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จ
อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ
สคุ นธ์ สินธพานนท์ (2552 : 88) ได้กลา่ วถงึ ความสำคญั ของแบบฝึกว่า แบบฝกึ มคี วามสำคัญ
ต่อผู้เรียนที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ
ได้รวดเรว็ ยิ่งขน้ึ ชัดเจนขนึ้ สง่ ผลใหก้ ารสอนของผสู้ อนและผลการเรยี นของผูเ้ รยี นประสบความสำเร็จ
อย่างมีประสทิ ธิภาพ
สุจิตา เดชดำรงรักษ์ (2556 : 17) กล่าวว่าแบบฝึกทักษะสามารถสร้างประสบการณ์
ทางการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น ชัดเจนขึ้น
ส่งผลให้การสอนของผู้สอนและผลการเรยี นของผู้เรยี นประสบความสำเร็จอย่างมีประสทิ ธภิ าพ
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าแบบฝึกทักษะนั้นมีความสำคัญต่อผู้เรียนอย่างมาก
เพราะแบบฝึกช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนมากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็ว
และยงั ชว่ ยใหผ้ ู้เรียนได้ทบทวนเน้ือหาที่ผ่านมา ทำให้การสอนประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
มากข้ึน
4.3 ลักษณะของแบบฝึกทดี่ ี
ถวัลย์ มาศจรัสและคณะ (2550 : 20) ได้อธิบายถึง ลักษณะของแบบฝึกหัดและแบบฝึก
ทกั ษะทไี่ ว้ ดังนี้
1. จดุ ประสงค์

1.1 สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะตามสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้
ของกลุ่มสาระการเรยี นรู้

20

1.2 สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะตามสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้
ของกลุ่มสาระการเรยี นรู้

2. เนอื้ หา
2.1 ถกู ต้องตามหลักวิชา
2.2 ใช้ภาษาเหมาะสม
2.3 มีคำอธบิ ายคำสั่งท่ชี ดั เจน งา่ ยตอ่ การปฏิบตั ิตาม
2.4 สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ นำผู้เรียนสู่การสรุปความคิดรวบยอด

และหลักการสำคัญของกลมุ่ สาระการเรยี นรู้
2.5 เป็นไปตามลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้

และความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล
2.6 มีคำถามและกิจกรรมที่ท้าทายส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ของธรรมชาติ

วิชา
2.7 มีกลยุทธ์การนำเสนอและการตั้งคำถามที่ชัดเจน น่าสนใจ ปฏิบัติตามได้

สามารถให้ข้อมูลย้อนกลบั เพ่ือปรบั ปรุงการเรยี นไดอ้ ยา่ งต่อเน่ือง
สุวิทย์ มลู คำ และ สนุ นั ทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 60 - 61) ได้กลา่ วถงึ ลกั ษณะของแบบฝึก

ที่ดีไว้ว่า ควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ครอบคลุมสอดคล้อง
กบั เนอื้ หา รปู แบบนา่ สนใจและคำส่งั ชดั เจน

นงนุช แก้วคำชาติ (2553 : 55) ได้กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึกที่ดีไว้ว่า แบบฝึกที่ดี
ต้องประกอบด้วยคำอธิบายในการใช้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย เป็นแบบฝึกสั้น ๆ ใช้เวลาไม่นาน
เกินไป

กิ่งแก้ว จัตุรัส (2556 : 31) ได้กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึกที่ดีไว้ว่า ลักษณะของแบบฝึกที่ดี
ควรเกี่ยวข้องกับกับเรื่องที่เรียน มีคำชี้แจงที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ใช้สำนวนภาษาที่ไม่ยากหรือง่าย
จนเกินไป นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อทจ่ี ะนำไปประยุกต์ใช้ในชวี ติ ประจำวนั ได้

สรุปได้ว่า ลักษณะของแบบฝึกที่ดีนั้นจะต้องสอดคล้องและครอบคลุมกับเนื้อหา
มีรูปแบบและกิจกรรมที่หลากหลาย มีคำอธิบายที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เหมาะสมกับวัย
และความสามารถของผูเ้ รียน

4.4 ประโยชน์ของแบบฝกึ
สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 53 - 54) ได้สรุปประโยชน์ของแบบฝึก
ทกั ษะไว้ดงั นี้
1. ทำใหเ้ ขา้ ใจบทเรยี นได้ดียง่ิ ขึ้น เพราะเป็นเครอ่ื งมือในการอำนวยประโยชน์ในการเรียนรู้
2. ทำให้ครทู ราบความเขา้ ใจของนักเรยี นท่ีมีตอ่ บทเรียน

21

3. ทำให้เดก็ มีความเช่อื ม่นั และสามารถประเมนิ ผลการเรียนของตนเองได้
4. ฝกึ ให้เดก็ ทำงานตามลำพงั โดยมีความรับผิดชอบในงานท่ีไดร้ ับมอบหมาย
5. ช่วยลดภาระครู
6. ชว่ ยให้เด็กฝกึ ฝนไดอ้ ยา่ งเต็มที่
7. ชว่ ยพัฒนาความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล
8. ชว่ ยเสริมให้ทกั ษะคงทน ซงึ่ ลักษณะการฝกึ ช่วยใหเ้ กดิ ผลดงั กล่าว ไดแ้ ก่

8.1 ฝกึ ทันทีหลังจากเด็กได้เรียนเรื่องน้ัน ๆ แล้ว
8.2 ฝึกซำ้ ๆ
8.3 เนน้ เฉพาะเร่ืองทีผ่ ิด
9. เป็นเครือ่ งมือวัดผลการเรียนหลังจากจบบทเรยี นในแตล่ ะคร้งั
10. ใช้เป็นแนวทางเพือ่ ทบทวนตนเอง
พนมวัน วรดลย์ (2542 : 38 -39) ไดก้ ล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝกึ ไว้ 10 ขอ้ ดังน้ี
1. เป็นสว่ นเพิ่มหรอื เสริมหนังสือเรยี นในการเรยี นทักษะ เปน็ อปุ กรณ์การสอนท่ีช่วยลดภาระ
ของครูไดม้ าก เพราะแบบฝึกเป็นสง่ิ ทีจ่ ัดทำขึ้นอยา่ งเปน็ ระบบระเบียบ
2. ช่วยเสริมทักษะทางการใช้ภาษา แบบฝึกเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนฝึกทักษะ
การใชภ้ าษาได้ดี แตต่ ้องอาศัยการส่งเสริมและเอาใจใส่จากครูผู้สอนด้วย
3. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากผู้เรียนมีความสามารถทางภาษา
แตกตา่ งกนั การให้ผเู้ รียนทำแบบฝึกทเ่ี หมาะสมกับความสามารถจะช่วยใหผ้ ้เู รยี นประสบความสำเร็จ
ในด้านจิตใจมากขน้ึ
4. แบบฝกึ ช่วยเสรมิ ให้ทักษะทางภาษาคงทนโดยกระทำ ดังนี้
4.1 ฝึกทนั ทหี ลงั จากท่เี ด็กได้เรียนรเู้ รื่องน้ัน ๆ
4.2 ฝกึ ซำ้ หลาย ๆ ครง้ั
4.3 เนน้ เฉพาะเรอื่ งทตี่ ้องฝกึ
5. แบบฝึกใช้เป็นเคร่อื งมอื วดั ผลการเรยี นรู้หลงั จากจบบทเรยี นในแตล่ ะครง้ั
6. แบบฝึกที่จัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม ผู้เรียนสามารถเก็บรักษาเพื่อเป็นแนวทางและทบทวน
ตนเองไดต้ ่อไป
7. การให้ผู้เรียนทำแบบฝึกช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่น ข้อบกพร่องหรือปัญหาด้านต่าง ๆ
ของนักเรียนไดช้ ัดเจน ซ่งึ จะมผี ลตอ่ ครูทจ่ี ะดำเนนิ การปรบั ปรุงแก้ไขนักเรียนและจดั การเรียนการสอน
ของครูเอง
8. แบบฝึกทักษะช่วยประหยัดค่าใช่จ่ายและผู้เรียนสามารถบันทึกผลการฝึก พร้อมท้ัง
มองเหน็ ความกา้ วหน้าของนกั เรยี นเอง

22

ไพรินทร์ พึ่งพงษ์ (2556 : 76) ได้สรุปว่า แบบฝึกเสริมทักษะเป็นสิ่งจำเป็นในการสอนภาษา
แบบฝึกช่วยฝึกทักษะทางภาษาคงทน เพราะฝึกทันทีหลังจากเรียนเนื้อหา ฝึกซ้ำ ๆ ในเรื่องที่เรียน
แบบฝึกทักษะที่เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากจบบทเรียนในแต่ละครั้ง ช่วยให้ครูมองเห็น
จุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆ ของผู้เรียนได้ชัดเจนจึงเป็นภาระหน้าที่ของครูที่ต้องศึกษาค้นคว้า
และสรา้ งแบบฝกึ ทกั ษะเพอ่ื นำมาแก้ปญั หาการเรยี นการสอนใหม้ ปี ระสิทธิภาพต่อไป

ปิยาภรณ์ สร้อยระยา้ (2547 : 11 - 34) ไดแ้ นะประโยชน์ของแบบฝกึ ทักษะไว้ ดังน้ี
1. ทำให้นกั เรยี นเข้าใจบทเรียนไดด้ ียงิ่ ข้นึ
2. ทำใหค้ รูทราบความเขา้ ใจของนักเรียนท่ีมตี อ่ การเรยี น
3. ครูได้แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ดีที่สุด
ตามความสามารถของตน
4. ฝึกให้นักเรยี นมคี วามเช่ือมั่น และสามารถประเมินผลงานของตนเองได้
5. ฝึกให้นกั เรยี นได้ทำงานดว้ ยตนเอง
6. ฝึกใหน้ ักเรยี นมีความรบั ผดิ ชอบตอ่ งานทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
7. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกทักษะของตนเองได้
โดยไมต่ ้องคำนงึ ถงึ เวลาหรอื ความกดดัน
จากที่นักวิชาการกล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะมีประโยชน์ต่อผู้สอน และผู้เรียน
ดังน้ี
1. แบบฝึกทักษะชว่ ยใหผ้ ้เู รียนได้ทบทวนบทเรยี นและเข้าใจในบทเรยี นนน้ั ๆ มากยง่ิ ขึน้
2. แบบฝึกทกั ษะชว่ ยใหผ้ ูเ้ รียนมีการพฒั นาทกั ษะทางภาษาได้ดขี ้นึ
3. แบบฝกึ ทกั ษะช่วยให้ผู้สอนมองเห็นจดุ เด่น หรือขอ้ บกพรอ่ งของผู้เรียนได้ชดั เจน
4. แบบฝึกทักษะช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้
ความสามารถไมเ่ ทา่ กัน ในกนั ทำแบบฝกึ ก็จะช่วยให้ผเู้ รียนลดความกดดันได้มากขึ้น

5. งานวจิ ยั ทเี่ ก่ยี วข้อง
ณิชาพัฒณ์ ไชยเสนบดินทร์ (2557 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้าน

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน กลุ่มตัวอยา่ งที่ใชใ้ นการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 2/1 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดแสมดำ จำนวน 40 คน ผลการวิจยั พบวา่ 1) ความสมารถดา้ นการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

23

2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ในภาพรวมอย่ใู นระดับเห็นด้วยมากท่สี ุด

จิตตรา พิกุลทอง (2559 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน
สำหรับนักเรยี นช้ันมธั ยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตวั อยา่ งทใี่ ช้ในการวิจัย ไดแ้ ก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ จำนวน 37 คน และนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จำนวน 27 คน รวม 64 คน ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัญหาในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และความต้องการรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยรวม
อยู่ในระดับมาก และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นการตรวจสอบความเข้าใจ
2. ขั้นการบูรณาการมโนมติ 3. ขั้นการสอนและทดสอบการอ่าน 4. ขั้นการทบทวนและสะท้อนผล
5. ขั้นการประเมินผล 3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ เท่ากับ 84.32/82.25 และโรงเรียนบรบือวิทยาคาร เท่ากับ 84.99/82.59
พบว่ารูปแบบมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และความสามารถในการอ่านอย่างมี
วิจารณญาณหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้
อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 รวมทงั้ นักเรยี นมคี วามพึงใจในการเรยี นรูอ้ ยู่ในระดับมาก

ชาญชยั หมันประสงค์ (2556 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา เร่อื ง การศกึ ษาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่าง
มวี จิ ารณญาณของนักเรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีที่ 3 ท่จี ัดการเรียนร้ดู ้วยวิธีวทิ ยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 53 คนที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมี
วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดเห็น
ต่อการจดั การเรยี นรู้ดว้ ยวิธวี ิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับเหน็ ด้วยมาก

กิตติกาญจน์ อินทเกตุ (2557 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมี
วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH – Plus
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
บวรนิเวศศาลายาในพระสังฆราชูปถัมภ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวดั นครปฐม สงั กัดสำนักงานเขตพื้นท่ี

24

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 สุพรรณบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน
38 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้
อย่างมนี ยั สำคญั ทางสถิตทิ ี่ระดับ .05 2) นกั เรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 1 มีความคดิ เห็นต่อการจัดการ
เรยี นรู้ดว้ ยเทคนิค KWLH Plus โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับเห็นดว้ ยมาก

กิ่งแก้ว จัตุรัส (2556 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา เรื่อง การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 40 คน ผลการวิจัย พบว่า แบบฝึกทักษะ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม
รัชมังคลาภิเษก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.25/85.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบ ฝึกทักษะการอ่านอย ่างมี
วิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก
ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยซ้อวิทยา
รัชมังคลาภเิ ษกอย่ใู นระดับพอใจมากท่ีสุด

กมลวรรณ มานาม (2556 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา เรือ่ ง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านที่มีต่อ
ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน
30 คน ใน 1 ห้องเรียน ของโรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ผลการวิจัย พบว่า
1) แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในวิชาภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ
80.33/79.16 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอำนาจเจริญ หลังเรียนโดยใช้แบบฝึก
ทกั ษะการอา่ นสงู กวา่ ความสามารถก่อนเรียนเรียนอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติที่ระดบั .01

ณัฐราพร คำญา (2559 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรูภ้ าษาไทย โดยใช้กลุม่ อภิปราย
ประกอบการจัดกิจกรรมตามรปู แบบ BBL เพื่อส่งเสริมการอ่านอยา่ งมวี ิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหา
และความเช่ือมัน่ ของนกั เรียนชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ 2 กลมุ่ ตัวอย่าง คอื นักเรยี นชัน้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 2/1
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 45 คน ได้มาโดยการ
สุ่มแบบกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กลุ่มอภปิ รายประกอบการจัดกิจกรรม
ตามรูปแบบ BBL เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและความเชื่อม่ัน
ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.56/70.67 เป็นไปตามเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ 70/70 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีความสามารถด้านการอ่านอย่างมี

25

วจิ ารณญาณ การคดิ แกป้ ัญหาและความเช่ือมั่นในตนเองหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้
กลุ่มอภิปรายประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ BBL มีความสามารถด้านการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ทร่ี ะดับ 0.05

สุพรรณี ขาวงาม (2557 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนากระบวนการการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ ภาษาไทยแบบ PSQ4RH ที่ส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจยั คร้ังน้ี ได้แก่ นกั เรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 4/6 ท่ีเรียนใน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ผลการวิจัยปรากฏว่า กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ภาษาไทยแบบ PSQ4RH มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.41/84.32 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ
0.8129 คิดเป็นร้อยละ 81.29 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถด้านการอ่านอย่างมี
วิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความพึงพอใจ
ต่อการเรียนด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ PSQ4RH อยู่ในระดับมาก
มคี า่ เฉล่ียเทา่ กบั 3.88

จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณดังกล่าว
สรุปได้ว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่สำคัญต่อการเรียนรู้ในระดับสูง การพัฒนาทักษะ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีวิธีการหลากหลาย แบบฝึกทักษะเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์
ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ
เพราะแบบฝึกประกอบไปด้วยกิจกรรม และเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัยและความสามารถของผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยเห็นว่า แบบฝึกทักษะจะช่วยพัฒนาความรู้
ความสามารถของผูเ้ รียนชน้ั มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรยี นมธั ยมวัดสิงห์ ใหส้ ามารถคิดวิเคราะห์ แยกแยะ
และตัดสินใจได้อย่างมีเหตผุ ล จงึ จดั ทำแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวจิ ารณญาณขึ้น เพ่ือพัฒนา
ทกั ษะความรขู้ องนกั เรยี นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธภิ าพ

บทท่ี 3
วธิ ีดำเนนิ การวจิ ัย

งานวิจัยเรอ่ื ง การพฒั นาทกั ษะการอ่านอย่างมีวจิ ารณญาณของนักเรียนช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนมัธยมวดั สิงห์ ดว้ ยชดุ แบบฝกึ เสริมทักษะ ผู้วิจยั มีการดำเนนิ ตามหวั ขอ้ ดงั ต่อไปน้ี

1. ประชากรและกลมุ่ ตวั อยา่ ง
2. เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการวิจยั
3. การสรา้ งและการหาคณุ ภาพเครื่องมือท่ีใชใ้ นการวิจัย
4. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล
5. การวิเคราะหข์ ้อมูล
6. สถิติท่ีใชใ้ นการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตวั อย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

ปกี ารศกึ ษา 2563 จำนวน 4 ห้อง รวมทงั้ สิ้น 146 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

ปีการศกึ ษา 2563 จำนวน 45 คน ไดม้ าจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ตัวแปรตน้ ได้แก่ แบบฝึกเสรมิ ทักษะเร่ืองการอา่ นอย่างมวี จิ ารณญาณ
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์การอ่านอยา่ งมีวิจารณญาณของนักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1

โรงเรยี นมธั ยมวดั สงิ ห์
ระยะเวลาในการดำเนนิ การวิจยั
ระยะเวลาในการทำวจิ ยั ในภาคเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2563

เครือ่ งมือทใี่ ช้ในการวจิ ยั
เครื่องมือที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยอาศัยแบบฝึกทักษะภาษาไทยเรื่อง

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กล่มุ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ สมจิตร ศุภษร (2551) ทั้งนี้ เนื่องจากแบบฝึกชุดนี้ผ่านการตรวจสอบจาก
ผู้เชี่ยวชาญและได้ทดลองใช้มาแล้ว ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน รูปแบบของแบบฝึกมีความน่าสนใจ ภายในแบบฝึกมีกิจกรรมให้นักเรียนฝึกอ่าน
อยา่ งเหมาะสม ดงั น้นั ผู้วจิ ัยจงึ เลือกใชแ้ บบฝกึ ทกั ษะดงั กล่าวมาใช้ในงานวจิ ัยนี้ ซ่งึ มีรายละเอยี ดดงั น้ี

27

1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
สำหรบั นักเรยี นช้นั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 มที ้งั หมด 12 ชุด มรี ายละเอียด ดังน้ี

1) แบบฝึกเสริมทักษะการอา่ นอยา่ งมวี จิ ารณญาณชดุ ที่ 1 นทิ าน เร่อื ง หญิงหมา้ ย
กบั บุตร

2) แบบฝกึ เสรมิ ทักษะการอา่ นอยา่ งมีวิจารณญาณชดุ ท่ี 2 นิทาน เร่อื ง นายพรานกับลิง
3) แบบฝึกเสรมิ ทกั ษะการอา่ นอยา่ งมวี จิ ารณญาณชุดท่ี 3 นทิ าน เรื่อง ตำนานขนมครก
4) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณชุดที่ 4 บทความ เรอ่ื ง ยงั ไม่สำนึก

ถงึ ภยั มือใครยาว สาวไดส้ าวเอา
5) แบบฝึกเสรมิ ทักษะการอา่ นอย่างมีวจิ ารณญาณชุดที่ 5 บทความ เรื่อง คณุ หมอใจร้าย

กับคณุ ยายพิการ
6) แบบฝึกเสริมทกั ษะการอา่ นอย่างมวี ิจารณญาณชุดที่ 6 บทความ เรอ่ื ง “ยาบ้า ยาอี

มหันตภัยรา้ ย...”
7) แบบฝกึ เสรมิ ทักษะการอา่ นอยา่ งมีวจิ ารณญาณชุดที่ 7 ขา่ ว “สสส.หว่ งบุตรหลาน...”
8) แบบฝกึ เสรมิ ทกั ษะการอ่านอยา่ งมวี จิ ารณญาณชดุ ท่ี 8 ข่าว “ด.ญ. 4 ขวบพลเมืองด”ี
9) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอยา่ งมีวิจารณญาณชดุ ที่ 9 ข่าว “ชาวเชียงใหมฮ่ ิต

ขจี่ กั รยาน”
10) แบบฝึกเสริมทกั ษะการอา่ นอย่างมีวจิ ารณญาณชุดที่ 10 โฆษณา สบู่ไขม่ ุกน้ำอำพนั
11) แบบฝึกเสรมิ ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณชุดท่ี 11 โฆษณา NuPro โปรตีน

สกดั รสชาเขยี ว
12) แบบฝกึ เสรมิ ทักษะการอ่านอย่างมีวจิ ารณญาณชุดท1่ี 2 โฆษณาเครื่องซักผา้

หยอดเหรียญ
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน ซึ่งเป็นชุดเดียวกัน
แบบทดสอบนีเ้ ปน็ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ขอ้
3. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรูภ้ าษาไทย ชัน้ มธั ยมศกึ ษาปีที่ 1 จำนวน 4 แผน
ใชเ้ วลาแผนละ 3 คาบเรียน รวมเวลาทั้งหมด 12 คาบเรียน

การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล
ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการประเมินผลการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน จากนั้นได้สอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ แล้วทดสอบหลังเรียนด้วย
ตนเอง โดยมีวธิ ีการตามขนั้ ตอน ดังน้ี

1. เตรียมแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
จำนวน 45 ฉบับ เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
จำนวน 45 คน

2. อธิบายใหน้ ักเรียนเขา้ ใจวธิ ีการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
3. ทำการทดสอบกอ่ นเรยี น เร่อื ง การอ่านอย่างมวี ิจารณญาณแลว้ ตรวจให้คะแนน

28

4. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการเรียน และนำผลการทดสอบมาตรวจ
ให้คะแนน แลว้ แจง้ ผลให้นกั เรียนทราบ

5. ทำการทดสอบหลังเรียน เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบทดสอบ
วดั ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนชดุ เดิมแลว้ ตรวจใหค้ ะแนน

6. นำคะแนนมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ระหว่างการสอน ก่อน – หลัง การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมี
วิจารณญาณ โดยนำไปวเิ คราะห์ข้อมูลทางสถิติตอ่ ไป

การวเิ คราะหข์ ้อมูล
ผ้วู ิจยั ไดด้ ำเนนิ การวเิ คราะห์ข้อมลู ดงั นี้
1. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ของนักเรียนชั้น

มธั ยมศึกษาปีท่ี 1/5 โดยการหาค่าเฉลี่ย (xˉ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S. D)
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5
โดยใชส้ ตู ร T – Test แบบ Dependent Sample

สถติ ทิ ีใ่ ช้ในการวิเคราะหข์ ้อมลู
สถติ พิ ืน้ ฐานทีใ่ ชใ้ นการวิเคราะห์ขอ้ มลู มีดงั น้ี
1. ค่าเฉลย่ี ของคะแนน (วิเชยี ร อินทรสมพันธแ์ ละคณะ, 2556 : 83)
สตู ร xˉ = ∑ x

N

เมอื่ xˉ แทน คะแนนเฉล่ีย
∑ x แทน ผลรวมของคะแนนทัง้ หมด
N แทน จำนวนนักเรยี นทง้ั หมดในกลมุ่ ตัวอยา่ ง

2. คา่ ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน (วเิ ชียร อินทรสมพันธ์ และคณะ, 2556 : 83)

สตู ร S. D = √N ∑ x2−(∑ x)2

N(N−1)

เมื่อ S. D แทน ความเบย่ี งเบนมาตรฐาน
∑ x แทน ผลรวมของคะแนน
∑ x2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลัง
N แทน จำนวนกลุ่มตวั อยา่ ง

29

3. การเปรยี บเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน (T – Test Dependent Sample)

(วเิ ชียร อินทรสมพนั ธ์ และคณะ, 2556 : 95)

สตู ร = ∑
√ ∑ 2−(∑ )2
( −1)

เม่ือ แทน การทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังเรยี น

แทน ความแตกตา่ งของคะแนนกอ่ นและหลงั เรียน

∑ แทน ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและ

หลงั เรยี น

∑ 2 แทน ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและ

หลงั เรยี นยกกำลังสอง

บทท่ี 4
ผลการวเิ คราะห์ข้อมลู

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ด้วยชุดแบบฝึกเสริมทกั ษะในคร้ังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการ
อ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ และเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
ก่อนและหลงั เรยี นด้วยชุดแบบฝกึ เสรมิ ทกั ษะ ผวู้ ิจยั ได้เสนอผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ตามลำดับ ดงั นี้

1. สัญลกั ษณท์ ่ีใช้ในการวเิ คราะห์ข้อมลู
2. การนำเสนอผลการวิเคราะหข์ ้อมูล
3. ผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู

สัญลกั ษณ์ทใ่ี ชใ้ นการวเิ คราะห์ข้อมลู
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการแปลความหมายและเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้อง

ตลอดจนสื่อความหมายของข้อมูลที่ตรงกัน ผู้วิจัยไดก้ ำหนดใชส้ ัญลักษณ์ตา่ ง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ดังน้ี

N หมายถงึ จำนวนนกั เรียนกลุ่มตัวอยา่ ง

xˉ หมายถึง ค่าเฉลย่ี ของคะแนน
∑ หมายถงึ ผลรวมของคะแนน

D หมายถงึ ความแตกต่างของคะแนนกอ่ นและหลังเรยี น

∑ D หมายถึง ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนเรยี นและหลงั เรียน
∑ 2 หมายถึง
ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
ยกกำลงั สอง

S. D. หมายถงึ สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐานของคะแนน

t หมายถึง คา่ สถติ ิทดสอบใน t – distribution

∗ หมายถงึ มนี ยั สำคัญทางสถติ ทิ ี่ระดับ .05

การนำเสนอผลการวเิ คราะหข์ อ้ มูล
ผ้วู ิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมลู โดยแบ่งออกเปน็ 2 ตอน ดังน้ี
ตอนที่ 1 ผลคะแนนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5

โรงเรียนมธั ยมวัดสิงห์ ก่อนและหลงั เรียนดว้ ยแบบฝึกเสรมิ ทกั ษะการอา่ นอย่างมวี ิจารณญาณ
ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
อยา่ งมีวิจารณญาณ

31

ผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู
ตอนที่ 1 ผลคะแนนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5

โรงเรยี นมธั ยมวัดสงิ ห์ กอ่ นและหลังเรยี นดว้ ยแบบฝึกเสรมิ ทักษะการอา่ นอย่างมจิ ารณญาณ

ตารางที่ 1 คะแนนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1/5 โรงเรียนมัธยม
วัดสงิ ห์ ก่อนเรยี นและหลังเรียนดว้ ยแบบฝกึ เสรมิ ทักษะการอา่ นอย่างมีวจิ ารณญาณ

กลมุ่ ตวั อย่าง คะแนน คะแนน ผลต่าง ผลตา่ ง
ก่อนเรยี น หลังเรียน ของคะแนน ของคะแนน
1 ยกกำลังสอง
2 (40) (40) (D)
3 (D2)
4 19 39 20
5 22 30 8 729
6 25 30 5 324
7 20 37 17 400
8 23 37 14 441
9 18 32 14 625
10 15 32 17 625
11 24 32 8 529
12 22 33 11 361
13 21 32 11 441
14 21 34 13 484
15 22 34 12 324
16 16 32 16 441
17 21 30 9 625
18 16 31 15 361
19 16 33 17 484
20 20 31 11 484
21 25 37 12 576
26 38 12 625
23 36 13 484
19 32 13 484
441

32

กลุ่มตวั อยา่ ง คะแนน คะแนน ผลต่าง ผลตา่ ง
กอ่ นเรียน หลงั เรียน ของคะแนน ของคะแนน
22 ยกกำลงั สอง
23 (40) (40) ( )
24 ( 2)
25 19 32 13
26 0 30 15 441
27 16 33 17 441
28 21 35 14 729
29 22 33 11 529
30 23 31 8 441
31 20 39 19 400
32 15 37 22 1024
33 18 38 20 576
34 20 32 12 529
35 21 31 10 676
36 25 31 6 100
37 16 30 14 529
38 11 38 27 625
39 14 38 24 729
40 8 38 30 576
41 6 36 30 676
42 15 35 20 729
43 17 31 14 256
44 12 30 18 169
45 11 30 19 676
10 30 20 676
ผลรวม 20 25 5 625
20 40 20 441
xˉ 324
S.D. 827 1512 687
18.09 33.44 23088

5.41 3.36

33

จากตารางที่ 1 พบว่าผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 18.09 ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานเท่ากับ 5.41 และมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 33.44 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่า 3.36

ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
อยา่ งมวี จิ ารณญาณ โดยวธิ กี ารทางสถิติ (T – Test Dependent Sample) ไดผ้ ลดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
อย่างมวี จิ ารณญาณ

กลมุ่ ตวั อย่าง N df คะแนนเตม็ ก่อนเรียน หลงั เรยี น t
̅ S.D. ̅ S.D.

ผ้เู รียน 45 44 40 18.09 5.41 33.44 3.36 16.40*

* คา่ t มีนยั สำคญั ทางสถิติทร่ี ะดบั .05 (t .05, 44 = 2.015)

จากตารางที่ 2 แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ โดยวิเคราะห์จากการทดสอบ (t - test)
พบว่าผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียน
และหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เมื่อเปรียบเทียบค่า t
ที่คำนวณได้ คือ 16.40 กับค่าวิกฤต t ในตาราง เท่ากับ 2.015 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้ มีค่ามากกวา่
ค่าวิกฤตของ t ในตาราง แสดงว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถติ ิที่ระดับ .05 ซ่ึงสอดคลอ้ งกับสมมติฐานทต่ี ง้ั ไว้

บทที่ 5
สรปุ ผล อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน
ชนั้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 1 โรงเรยี นมัธยมวดั สิงห์ ดว้ ยชุดแบบฝกึ เสริมทักษะ ประกอบดว้ ยสาระสำคญั ดงั น้ี

1. วัตถปุ ระสงค์ในการวิจัย
2. ประชากรและกล่มุ ตวั อย่าง
3. เครอ่ื งมือท่ใี ชใ้ นการวิจัย
4. สรปุ ผลการวจิ ัย
5. อภิปรายผลการศึกษาคน้ ควา้
6. เสนอแนะ

1. วตั ถปุ ระสงค์การวิจยั
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน

มธั ยมวัดสงิ ห์
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 โรงเรยี นมธั ยมวดั สงิ ห์ ก่อนและหลังเรยี นดว้ ยชุดแบบฝึกเสรมิ ทักษะ

2. ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง
ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

ปีการศึกษา 2563 จำนวน 4 ห้อง รวมทัง้ สิน้ 146 คน
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

ปกี ารศกึ ษา 2563 จำนวน 45 คน ไดม้ าจากการเลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

3. เครอ่ื งมือทีใ่ ช้ในการวจิ ยั
เครื่องมือที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยอาศัยแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย

เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรบั นักเรยี นช้นั มธั ยมศึกษาปีที่ 1 ของ สมจติ ร ศภุ ษร (2551) ซึ่งประกอบดว้ ยแบบฝึกเสริมทักษะ
ทั้งหมด 12 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ซึ่งเป็นชุดเดียวกัน
เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 แผน ใช้เวลาแผนละ 3 คาบเรียน รวมเวลา
ทงั้ หมด 12 คาบเรยี น

35

4. สรปุ ผลการวจิ ัย
การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน

มัธยมวดั สงิ ห์ ดว้ ยชุดแบบฝกึ เสรมิ ทกั ษะ สรุปผลไดด้ ังนี้
1. ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ พบว่า คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (xˉ )เท่ากับ 18.09

คา่ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S. D. )เทา่ กับ 5.41 และคะแนนแบบทดสอบหลังเรยี นมคี ่าเฉลี่ย(xˉ )
เท่ากับ 33.44 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S. D. )เท่ากับ 3.36 แสดงว่านักเรียนมีทักษะการอ่าน
อยา่ งมวี ิจารณญาณสงู ข้นึ หลังเรียนดว้ ยแบบฝึกเสริมทกั ษะ

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนด้วยแบบฝกึ
เสรมิ ทักษะสูงกวา่ ก่อนเรียน แตกต่างกันอยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถติ ิท่ีระดับ .05

5. อภปิ รายผลการศกึ ษาคน้ คว้า
ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยของ สมจิตร ศุภษร (2551) ที่ผู้วิจัย

นำแบบฝึกทักษะมาใช้ในการทดลอง กล่าวคือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าแบบฝึกทักษะของ สมจิตร ศุภษร
มีประสิทธิภาพ และเหมาะที่จะนำไปใช้พัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับงานวิจัยของ กิ่งแก้ว จัตุรัส (2556)
ได้วิจัยเรื่องการสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่ างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยซ้อ รัชมังคลาภิเษก ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถพัฒนาทักษะการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณได้ โดยผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึก
ทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับงานวิจัย
ของกมลวรรณ มานาม (2556) ซง่ึ ไดศ้ กึ ษาเร่ือง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านที่มีต่อความสามารถ
ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
อำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอำนาจเจริญ หลังเรียนโดยใช้แบบฝึก
ทักษะการอ่านสูงกว่าความสามารถก่อนเรียนเรียนอย่างมนี ัยสำคญั ทางสถติ ิท่ีระดับ .01

จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ทำให้นักเรียนมีผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกวา่ ก่อนเรยี น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานท่ตี ั้งไว้
ดังนั้น แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เมื่อนำไปใช้จัดการเรียนการสอน
สามารถพฒั นาทักษะดา้ นการอา่ นอยา่ งมวี จิ ารณญาณของนกั เรียนใหส้ ูงขน้ึ ได้

36

6. ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. การนำแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณไปใชใ้ นการเรียนการสอน

ในระดับชั้นอื่น ๆ ควรจัดเวลาที่ใช้ให้ยืดหยุ่นและเหมาะสมโดยคำนึงถึงความแตกต่างในด้านความรู้
ความสามารถระหวา่ งบคุ คลเปน็ สำคัญ เพ่อื ประโยชน์ตอ่ การพัฒนาของนกั เรยี นอยา่ งเต็มศักยภาพ

2. ครูอาจเพิ่มกิจกรรมให้กับนักเรียนได้ตามความเหมาะสมและความสามารถ
ของนกั เรียน เพ่อื เป็นการเสริมการเรยี นรู้และใชเ้ วลาวา่ งให้เกิดประโยชน์

ขอ้ เสนอแนะในการวิจยั คร้งั ต่อไป
1. ควรมีการศึกษาเรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในระดับชั้นอื่น ๆ เพื่อเป็นการ

พฒั นาศกั ยภาพการเรียนรู้ให้แก่นกั เรยี น
2. ควรมีการศึกษาพื้นฐานความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อนำข้อมูล

ท่ไี ดม้ าสร้างแบบฝึกทกั ษะตามระดับความสามารถของนักเรียน
3. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิด์ ้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จากการเรียน

ด้วยแบบฝึกทกั ษะกับการเรียนด้วยรูปแบบอ่ืน ๆ

บรรณานกุ รม

กมลวรรณ มานาม. 2556. ผลการใชแ้ บบฝึกทักษะการอ่านที่มีต่อความสามารถในการอ่านอยา่ งมี
วิจารณญาณในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอำนาจเจริญ
จงั หวดั อำนาจเจริญ. วทิ ยานพิ นธ์ศกึ ษาศาสตรมหาบณั ฑิต มหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช.

กรรณิการ์ ฤทธิเดช และคณะ. 2553. การอ่านเพื่อการสื่อสารและทักษะสารสนเทศ .
พมิ พค์ รัง้ ท่ี 3. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก จำกดั .

กิ่งแก้ว จตุรัส. 2556. การสร้างแบบฝึกเพือ่ พัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวจิ ารณญาณของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบณั ฑติ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เชียงราย.

กิตติกาญจน์ อินทเกตุ. 2557. การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH – PLUS. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร.

เกศรินทร์ หาญดำรงรักษ์. 2555. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดการสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศลิ ปากร.

ขวัญชนก นัยเจริญ. 2551. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวรรณคดีไทย และความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปะ สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กระทรวงวฒั นธรรม. วทิ ยานิพนธ์ครศุ าสตรมหาบณั ฑติ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .

คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2551. ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร :
นวสาส์นการพมิ พ.์

จิตตรา พิกุลทอง. 2559. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันสำหรับนักเรียนช้ัน
มัธยมศกึ ษาตอน ปลาย. วิทยานพิ นธ์ปรชั ญาดุษฎบี ณั ฑิต มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.

จุฑาฎา เทพวรรณ. 2559. การสร้างแบบฝึกทักษะการใช้คำศัพท์ภาษาไทย เพื่อการสื่อสาร
ที่ถูกต้อง : กรณีศึกษานักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
(รายงานผลการวิจยั ) มหาวิทยาลัยราชมงคลศรวี ิชยั .

จุรีพันธ์ ภาษี. 2550. ผลการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยช้ัน
ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ.
วทิ ยานพิ นธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑติ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.

38

ชาญชัย หมันประสงค์. 2556. การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวทิ ยาลัยศิลปากร.

ณัฐราพร คำญา. 2559. การเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กลุ่มอภิปรายประกอบการจัดกิจกรรม
ตามรูปแบบ BBL เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและ
ความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณิชาพัฒน์ ไชยเสนบดินทร์. 2557. การพัฒนาความสารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมะยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.
วทิ ยานิพนธ์ศกึ ษาศาสตรมหาบณั ฑิต มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร.

ดนยา วงศ์ธนะชัย. 2554. การอ่านเพอ่ื ชวี ติ . พษิ ณโุ ลก : สถาบนั ราชภฏั พบิ ลู สงคราม.
ดวงใจ ไทยอุบุญ. 2552. ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลยั .
เต็มใจ มณีโชติ. 2557. การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความและเจตคติต่อ

การเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
ประกอบการสอนกับรูปแบบการสอนแผนที่ความคิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตร.ี
เตือนใจ คดดี. 2554. การพัฒนาความสารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธีการจัด
การเรียนรู้แบบอุปนัยของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
วทิ ยานิพนธศ์ ึกษาศาสตรมหาบัณฑติ มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร.
ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ. 2550. นวัตกรรมการศึกษาชุดแบบฝึกหัด – แบบฝึกเสริมทักษะ
พมิ พค์ ร้งั ท่ี 2. กรุงเทพมหานคร : 21 เซน็ จรู ่.ี
นงนุช แก้วคำชาติ. 2553. การพัฒนาแบบฝึกความรู้เชิงจำนวน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑติ มหาวิทยาลยั ราชภฏั อบุ ลราชธาน.ี
นิตยา เมืองมิ่ง. 2550. ศึกษาความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญา โดยใช้แบบฝึกทักษะ(รายงานผลการวิจัย) ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำ
จงั หวดั เลย.
บันลือ พฤกษะวัน. 25534. มิติใหม่ในการสอนอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
ไทยวัฒนาพานชิ .
ปิยาภรณ์ สร้อยระย้า. 2547. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการสะกด
คำยากวิชาภาษาไทย ระดับประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษา
มหาบัณฑติ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.

39

เปล้อื ง ณ นคร. 2538. ศิลปะแหง่ การอ่าน. กรงุ เทพมหานคร : บ.เยลโล่ การพมิ พ์.
ผกาศรี เยน็ บุตร และคณะ. 2558. ภาษาไทย 3 เล่ม 2. กรงุ เทพมหานคร : เอมพนั ธ์ จำกัด.
พนมวัน วรดลย์. 2542. การสร้างแบบฝึกหัดการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 2. วทิ ยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบณั ฑติ มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพรินทร์ พึ่งพงษ์. 2556. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนสะกดคำที่มีสระประสม

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีพหุปัญญา แผนผังความคิด และแบบฝึก
เสริมทักษะ. วิทยานพิ นธศ์ ึกษาศาสตรมหาบัณฑติ มหาวิทยาลยั ศิลปากร.
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง. 2553. ศิลปะการอ่านอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทไทยร่มเกล้า
จำกดั .
ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.554. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพมหานคร : นานมบี ุค๊ พับลิเคช่ันส์ จำกดั .
วรินทร จรูญกิจธรรม. 2554. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบณั ฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธาน.ี
วศนุ ี รักษาจนั ทร์. 2531. การอา่ นและพจิ ารณาหนังสอื . กรงุ เทพมหานคร : โอ.เอส.พริน้ ต้ิง เฮา้ ส์.
วิเชียร อินทรสมพันธ์ และคณะ. 2556. การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร :
บรษิ ทั 21 เซน็ จรู ่.ี
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2545. นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Desing. กรุงเทพมหานคร :
ประสานการพมิ พ.์
ศรัญญา บุญทันตา. 2553. การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำโรงเรียนบ้านโป่ง อำเภอแม่สาย
จังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการเขียนสะกดคำที่ประสมกับสระกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเชยี งราย.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรงุ เทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ศุภรรณ์ เล็กวิไล. 2551. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิด. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัย
การฝึกหัดครู มหาวทิ ยาลัยราชภฏั พระนคร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 2559. ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ตช้ัน
มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 .ค้นเมือ่ วนั ท่ี 10 สงิ หาคม 2560, จาก
http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx
สนทิ ตง้ั ทวี. 2529. การใชภ้ าษาเชิงปฏบิ ตั .ิ กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พร้นิ ติง้ เฮา้ ส์.

40

สมจิตร ศุภษร. 2551. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบณั ฑติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธาน.ี

สมพร มันตะสตู ร เเพ่งพพิ ฒั น์. 2534. การอ่านทั่วไป. กรงุ เทพมหานคร : โอ.เอส.พร้นิ ต้งั เฮ้าส์.
สิรินาถ ธารา. 2557. การพัฒนากิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์การอ่าน

ภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศลิ ปากร.
สุคนธ์ สินธพานนท์. 2552. นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน.
พิมพค์ รงั้ ท่ี 3. กรงุ เทมหานคร : เทคนิคพริ้นตง้ิ .
สุจิตร เดชดำรงรักษ์. 2556. ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบณั ฑติ มหาวิทยาลยั ราชภฏั บุรรี มั ย์.
สุทธินันท์ ศิริไทย. 2551. การสร้างชุดฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมี
วิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏอบุ ลราชธาน.ี
สุพรรณี ขาวงาม. 2557. การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ PSQ4RH
ที่ส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบณั ฑิต มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.
สุรีรัตน์ พิมพ์เขต. 2557. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.์
สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. 2550. การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อน
วิทยฐานะ. กรงุ เทพมหานคร : ภาพพิมพ์
เสาวลักษณ์ รัตนวิชญ์. 2531. การพัฒนาการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา กลุ่ม 3.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบณั ฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรอนงค์ ตั้งก่อเกียรติ. 2542. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. กรุงเทพมหานคร :
เธิรด์ เวฟเอ็ดดเู คช่ัน.
เอมอร เนียมน้อย. 2551. พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธี SQ3R. กรุงเทพมหานคร :
สุรยิ าสาสน์ .
เอมอร ลายคราม. 2557. ผลการใช้แบบฝึกการอ่านเพื่อความเข้าใจเรื่อง English Around
the World ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาราชภฏั เทพสตรี.

41

YU NANWANG. 2560. การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย มาตราตัวสะกด
แม่กง แมก่ ก แมก่ ด สำหรับนักศึกษาจนี ท่ีเรียนภาษาไทยในมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเชียงราย.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบณั ฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชยี งราย.

ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version