The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นำเสนอปัจจัยและข้อจำกัดที่ทำให้ผู้หญิงประมงไม่ถูกให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานทางนโยบาย โดยสาเหตุมากจากทัศนคติและความเชื่อของผู้หญิง และเงื่อนไขแวดล้อม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kasineek, 2022-03-24 11:01:57

ตอนที่ 5 : ผู้หญิง "ฟันเฟืองที่ถูกลืม" (1)

นำเสนอปัจจัยและข้อจำกัดที่ทำให้ผู้หญิงประมงไม่ถูกให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานทางนโยบาย โดยสาเหตุมากจากทัศนคติและความเชื่อของผู้หญิง และเงื่อนไขแวดล้อม

Keywords: ผู้หญิง,บทบาททางสังคม,พื้นที่ทางสังคม,การไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ

โดย.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้หญิง
ฟันเฟืองที่ถูกลืม (1)

“เดี๋ยวนี้เหรอผู้หญิงเป็นใหญ่ในบ้าน”
“ผู้หญิงควรทำตัวเองให้มีคุณค่าไม่ใช่ออกไปเรียกร้องหาความเท่าเทียม”

“กฎหมายไทยไม่ได้กีดกันผู้หญิง ทุกคนมีสิทธิเท่ากันทั้งหญิงและชาย”
“ถ้าผู้หญิงเท่าเทียมผู้ชายทำไมเวลานั่งรถเมล์ต้องให้ผู้ชายเสียสละที่นั่งให้ผู้หญิง”

“ความไม่เสมอภาคหญิงชายเป็นจริงในสังคมไทยหรือไม่
เป็นการนำแนวคิดจากตะวันตกมาหรือไม่”

คำกล่าวข้างต้น เราจะพบว่ามีคนตั้ง
คำถามบ่อยๆ ในเวทีที่มีการหยิบยก
ประเด็นเรื่องความเสมอภาคหญิง
ชายมาพูดกัน ประโยคเหล่านี้สะท้อน
ให้เห็นว่าความเข้าใจเรื่องความเสมอ
ภาคทางเพศในสังคมไทยยังไม่
ตกผลึก การแยกแยะที่ไม่มีความ
ชัดเจนว่า “ความเสมอภาคทางเพศ”
คืออะไรกันแน่

ผู้หญิง : พื้นที่ทางสังคม

ทำให้เกิดการกำหนดนโยบายแบบเหมารวม
การไม่มีการกำหนดมาตรการเฉพาะที่ชัดเจนที่
เปิดโอกาสให้ทุกเพศ โดยเฉพาะผู้หญิงได้มี
ส่วนร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับประโยชน์อย่าง
เท่าเทียม เสมอภาคและเป็นธรรม ส่งผลอย่าง
ไรต่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจของประเทศ?

เพื่อให้เห็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนถึงผลกระทบ
ของการที่ไม่ได้กำหนดมาตรการเฉพาะส่งผล
ให้ผู้หญิงขาดโอกาสในการร่วมคิด ร่วมทำและ
ร่วมตัดสินใจในทางนโยบายอย่างไร เราจะชวน
ไปฟังเสียงจากผู้หญิงในชุมชนประมงพื้นบ้าน
ในภาคตะวันออกและภาคใต้กัน

เริ่มจากผู้หญิงประมงพื้นบ้านในจังหวัดที่ตั้งอยู่สุด
เขตชายแดนบูรพา พี่มณฑา ขาร่ม (50ปี) ผู้หญิง

ตราดคนหนึ่ง ที่ทำประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพหลัก
(สัมภาษณ์ 15 กุมภาพันธ์ 2565) ระหว่างรอให้

พี่มณฑาเตี่ยวอวนเสร็จเราก็ชวนคุยเล่นสัพเพเหระ

กันไป เราได้เห็นใบหน้าที่ยิ้มแย้ม แววตาสดใส

พูดจาฉะฉานชัดถ้อยชัดคำและมั่นใจ หลังจาก

พี่มณฑาเตี่ยวอวนเสร็จ เราจึงเริ่มการสนทนาที่

เป็นทางการขึ้น โดยจัดที่นั่งคุยใต้ร่มมะม่วงมี

แสงแดดรำไรส่องหน้า เพื่อให้ฉากสวยงามและ

บรรยากาศดูผ่อนคลาย พอเริ่มคุยเป็นการเป็น

งานใบหน้าที่สดใสของพี่มณฑาเมื่อครู่ ก็เริ่มฉาย

ความกังวลทั้งบนใบหน้าและในแววตา เมื่อเราเริ่ม

คำถามว่า ตอนนี้ปัญหาของการทำประมงพื้นบ้าน

คืออะไร

02 มพย.|

ปู ปลา ลดลง เขตที่เราไปวางอวนทำประมงก็ลด WHAT'S IN THIS
ลง” พี่มณฑาตอบเสียงเบาจนเราต้องเงี่ยหูฟัง MONTH'S ISSUE:

“อ้าว ทำไม ลดลงละคะ” เราพยายามใช้คำพูดให้
เป็นกันเองเพื่อให้คู่สนทนาคลายความตื่นเต้น

“ตอนเขาทำเขตใหม่ ประมงพื้นบ้านยกมือแพ้
ประมงพาณิชย์ ” แววตาคนตอบเศร้าระคนกังวล

“ทำไมถึงแพ้ละคะ คนทำประมงพื้นบ้านมีเยอะกว่า

ประมงพาณิชย์ตั้งหลายเท่า แล้วพี่ได้ไปร่วม
ประชุมตอนเขาทำเขตใหม่หรือเปล่าคะ” เราถาม

เข้าประเด็นเรื่องโอกาสของผู้หญิงในการร่วมคิด

ร่วมตัดสินใจ

“ไม่ได้ไป เพราะว่าเขาไม่ได้บอกว่าให้ผู้หญิงไป

ผู้ใหญ่บ้านเขาก็ชวนกันเฉพาะผู้ชายไป เขาคุยกัน
ในวงผู้ชาย ประมง (อำเภอ) ก็ไม่ได้บอกเรา ถ้าเขา

บอกเราก็อยากไปนะ เพราะว่าพอยกมือแพ้ เขต

ประมงของเราลดลงมันก็กระทบการทำมาหากิน
ลำบากมากขึ้น”

พี่มณฑาตอบยาวเหมือนอัดอั้นและ

เสียดายที่ไม่ได้มีโอกาสไปร่วมเวทีการ

ทำประชาคมเพื่อกำหนดเขตทะเล

ชายฝั่ งจังหวัดตราดในครั้งนั้นซึ่งมี

ผลทำให้เขตทะเลชายฝั่ งจังหวัดตราด
ลดลงจาก 5 ไมล์ เป็น 3 ไมล์โดย

เฉลี่ย ผ่านมาแล้วกว่าสามปีแต่ยัง

สร้างรอยแผลให้ชาวประมงพื้นบ้าน

เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการทำ

ประมงมาจนถึงปัจจุบัน ท่าทีคู่

สนทนาของเราเริ่มผ่อนคลายเลยเล่า

ต่อไปว่า

03 มพย.|

“ตอนนั้นพี่ก็คิดว่าก็ให้ผู้ชายเขาไป เขาออกเรือจะรู้มาก ผู้หญิง
กว่าเรา เราเป็นผู้หญิงอยู่ดูแลงานบ้านไป เป็นห่วงบ้าน องค์ความรู้
ด้วย และไม่ค่อยว่างเพราะรับจ้างเตี่ยวอวน เวลางาน
เร่งๆ เราก็ไม่อยากออกไปไหน เพราะออกไปก็เสียรายได้ ทัศนคติ
แต่ถ้าจำเป็นแล้วแจ้งเราก่อนก็ออกไปได้” แกเล่าความ
ในใจถึงสาเหตุที่ไม่ได้ไปร่วมเวทีประชาคมในครั้งนั้น

เราสังเกตว่าเครื่องกำลังติด จึงยิงคำถามต่อไปรัวๆ
“แล้วพี่คิดว่าผู้หญิงจำเป็นต้องเข้าไปร่วมเวลาที่มีการ

ออกระเบียบ กติกาหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำ
ประมงหรือเกี่ยวกับอาชีพเราไหมคะ แล้วแบบไหนที่ผู้
หญิงถึงจะออกไปร่วม”

"จริงๆ ผู้หญิงเราก็อยากออกไปร่วมนะ (น้ำเสียง
จริงจัง) ถ้าเรารู้ว่ามันสำคัญยังไง ก็บอกให้เรารู้แล้ว

แจ้งล่วงหน้า ยิ่งถ้าบอกว่าให้ผู้หญิงไปร่วมได้ด้วยก็ยิ่ง

ดี แต่อีกอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงไม่ค่อยไปร่วม เพราะคนมัก

พูดว่า ผู้หญิงไปก็ไม่รู้เรื่องเพราะไม่ได้ออกเรือทำประมง

แบบผู้ชาย ไม่ค่อยพูด มันก็จริงบางส่วนนะ เพราะเวลา

มีประชุมที่ราชการจัด เราไม่คุ้นเคยและฟังคำพูด

กฎหมายไม่ค่อยเข้าใจ ก็จะเงียบๆ ฟังคนอื่นพูด

มากกว่า แต่ผู้หญิงบางคนที่เขาเก่งๆ ก็กล้าพูดนะ เรา

ความรู้น้อยก็ไม่ค่อยกล้าพูด แต่ถ้าจะให้ผู้หญิงกล้าพูด

ก็มานั่งคุยแบบนี้ คุยกันเองแบบนี้ ถ้าจะให้ดีก็คุยในช่วง
ที่ผู้หญิงเสร็จจากงานแล้วจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องงาน”

04 มพย.|

แววตาท่าทางพี่มณฑาดูมั่นใจมากขึ้นเหมือน เช่น การทดแทนบทบาทกันไม่ได้ของงาน
ได้พูดในสิ่งที่อยากพูดมานาน ถ้อยคำบอก บ้านต้องเป็นงานของผู้หญิง งานนอกบ้าน
เล่าของพี่มณฑาสะท้อนให้เห็นว่า หลักการที่ ต้องเป็นเรื่องผู้ชาย เหล่านี้ทำให้โอกาสใน
เขียนไว้เป็นแนวทางในการจัดทำนโยบาย การเข้าร่วมหรือเข้าไปมีบทบาทที่จะ
กฎหมายแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วน แสดงออกในสังคมถูกกำหนดและจำกัดไว้
เสียนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นหลักการที่ดี แต่ ว่าเป็นได้เฉพาะผู้ชาย ทำให้ทั้งผู้หญิงและ
หากในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ได้มีการกำหนด ผู้ชาย ไม่กล้าที่จะทำบทบาทที่แตกต่างจาก
มาตรการหรือหลักประกันให้การมีส่วนร่วม บรรทัดฐานที่สังคมดั้งเดิมกำหนดไว้ เช่น
ของทุกคน ทุกกลุ่ม ก็จะไม่สามารถเกิด การที่ผู้ชายทำงานบ้านมักถูกมองว่ากลัว
ความมีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียม ภรรยาหรือถูกล้อเลียน งานบ้านจึงกลาย
เป็นภาระของผู้หญิง
โดยเฉพาะผู้หญิงชนบทที่เป็นทั้งแม่ ภรรยา
และลูกสาว ที่รับบทบาทซึ่งสังคมดั้งเดิม
กำหนดให้เป็นผู้ดูแลงานบ้าน และการทำมา
หาเลี้ยงชีพ ซึ่งบทบาทดังกล่าวเป็นปัจจัย
หนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงขาดโอกาสในการเข้าร่วม
ในการขับเคลื่ อนทางนโยบาย

05 มพย.|

บทบาทที่สังคมกำหนด

สิ่งที่สังคมกำหนดขึ้นเหล่านี้ส่งผลให้เกิด ดังนั้น ในการสร้างการมีส่วนร่วมอย่าง
“ความไม่เสมอภาคทางเพศ” ขึ้น แม้ใน
มีความหมายเพื่อให้เกิดการกำหนด

ปัจจุบันสังคมจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปใน นโยบายที่แท้จริง จึงมีความจำเป็น

หลายๆ เรื่อง แต่ในเรื่องของกรอบ อย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องการกำหนด

วัฒนธรรม สังคมไทยไม่ได้มีการปรับ มาตรการหรือเงื่ อนไขเพื่ อสร้างหลัก

เปลี่ยนเท่าทันกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง ประกันการมีส่วนร่วมของผู้หญิงอย่าง
ไป ทำให้ “บทบาทที่ทดแทนกันไม่ได้” ยังคง
เท่าเทียม เช่น ส่งเสริมการพัฒนาศัก

ดำเนินต่อไปในสังคมไทย รวมทั้งผู้หญิง ภาพผู้หญิงและสร้างความรู้ความเข้าใจ

เองก็ไม่กล้าที่จะเป็นผู้เริ่มลุกขึ้นมา ให้ผู้หญิงตระหนักถึงความสำคัญในการ

เปลี่ยนแปลงอีกด้วย เข้าร่วมกำหนดนโยบาย การกำหนด

เงื่ อนไขของผู้เข้าร่วมที่ต้องมีสัดส่วน

หญิงชายอย่างเท่าเทียมกัน การกำหนด

เวลาและสถานที่ที่เอื้ ออำนวยให้กลุ่มผู้

หญิงสามารถเข้าร่วมได้อย่างเท่าเทียม

ถ้าหากไม่มีมาตรการ หรือเงื่อนไขที่
กำหนดให้ชัดเจนเหล่านี้ เท่ากับเป็นการ
กีดกันผู้หญิงในทางอ้อม ขณะที่ผู้หญิง
ภาคประมงผู้เป็นฟันเฟืองที่สำคัญใน
ภาคประมงทุกวันนี้กลับถูกหลงลืม จน
กลายเป็นผู้ที่ต้องรับผลกระทบจากการ
ตัดสินใจที่ตนเองไม่ได้มีส่วนร่วม

06 มพย.|

ไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุจากความไม่เสมอภาคทาง
ด้วยเหตุแห่งเพศ
เพศ และการเลือกปฏิบัติทางเพศที่

แตกต่างกันในแต่ละบริบท ทั้ง

สังคมเมืองและสังคมชนบท ทำให้ไม่

สามารถที่จะมองเรื่องความเท่าเทียม

เสมอภาคทางเพศจากภาพรวม แต่

จำเป็นต้องพิจารณาอย่างชัดเจนใน

แต่ละประเด็นไป เพื่อให้การออกแบบ

ปฏิบัติการ รวมไปถึงแผนงานและ

นโยบายที่เกี่ยวข้องที่จะถูกกำหนด

ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกเพศ

อย่างเท่าเทียม มีความเสมอภาค

ที่แท้จริง

ในตอนถัดไป เราจะฉายให้เห็นอีกมุม
มองหนึ่ง จากผู้นำหญิงที่ทำประมง
พื้นบ้านในภาคใต้ ในประเด็นปัจจัยที่
ทำให้ผู้หญิงประมงถูกหลงลืม ว่า
แท้จริงแล้วหน่วยงานภาครัฐ ให้ความ
สำคัญของผู้หญิงในฐานะพลเมืองคน
หนึ่งอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่

โปรดติดตาม
ผู้หญิง “ฟันเฟืองที่ถูกลืม” (2)

07 มพย.|

ส นั บ ส นุ น โ ด ย

ก ร ม กิ จ ก า ร ส ต รีแ ล ะ ส ถ า บั น ค ร อ บ ค รัว
ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

AN INTEGRATED PROPOSAL FOR MAINSTREAMING GENDER AND SSF
PERSPECTIVES IN HABITAT PROTECTION/RESTORATION AND GOVERNANCE OF

ECOSYSTEM-BASED FISHERIES MANAGEMENT

ผ ลิ ต โ ด ย

มู ล นิ ธิ เ พื่ อ ก า ร พั ฒ น า ที่ ยั่ ง ยื น


Click to View FlipBook Version