The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

2562-การส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้ชุดแบบฝึกการอ่าน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by m0954635944, 2022-12-22 04:03:36

2562-การส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้ชุดแบบฝึกการอ่าน

2562-การส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้ชุดแบบฝึกการอ่าน

วิจยั ในชัน้ เรียน

การส่งเสรมิ ทกั ษะการอ่านสะกดคำของนักเรยี น
ชั้นอนุบาล 2 โดยใช้ชดุ แบบฝกึ การอา่ น

โดย

โรงเรยี นบา้ นคยุ นางขาว
ปีการศกึ ษา 2562


หัวข้อวจิ ัย ก

ผ้ดู ำเนินการวิจัย การสง่ เสริมทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรยี นชนั้ อนุบาล 2 โดยใช้ชุด
ทป่ี รกึ ษา แบบฝึกการอา่ น
ปกี ารศกึ ษา นางสาววรุ ตั นา บตุ รโคตร และคณะ
นางมตภิ า ชยั ชิต ศึกษานิเทศก์ สพป.หนองคาย เขต 1
2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดแบบ
ฝึกการอ่าน และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการสอน โดย
ใช้ชุดแบบฝึกการอ่าน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในช้นั
อนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนบ้านคุยนางขาว จำนวน 24 คน ได้มาโดย
วธิ กี ารเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดแบบฝึกการอ่าน และแบบ
ประเมินการอ่านสะกดคำสำหรบั เด็กปฐมวัย

ผลการวิจัยพบวา่ 1) ทักษะการอา่ นสะกดคำของนักเรียนชัน้ อนบุ าล 2 กอ่ นการใช้ชุดแบบฝึก
การอา่ นอยู่ในระดับปานกลาง หลงั การใช้ชุดแบบฝึกการอ่านนักเรียนระดบั ช้นั อนุบาล 2 มีทักษะการ
อา่ นสะกดคำอยู่ในระดับมาก 2) ทกั ษะการอา่ นสะกดคำของนกั เรยี นชน้ั อนบุ าล 2 หลงั การใช้ชุดแบบ
ฝกึ การอ่าน พบว่าทักษะการอา่ นสะกดคำสูงขน้ึ ทุกคน อย่างมนี ัยสำคญั ทางสถิติท่รี ะดับ .05




กิตติกรรมประกาศ

การศึกษางานวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดย
ใช้ชุดแบบฝึกการอ่าน” น้ีสำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีนางมติภา ชัยชิต ศึกษานิเทศก์
สพป.หนองคาย เขต 1 เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ในการดำเนินงานกำหนดหัวข้องานวิจัย เนื้อหา
และสรุปรูปเล่มเป็นอย่างดี คณะครู โรงเรียนบ้านคยุ นางขาว ที่ปรึกษาด้านวิชาการทีไ่ ด้ให้คำแนะนำ
คำปรึกษาเกี่ยวกับขอบเขตเนื้อหา แผนการสอน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นอย่างดี จน
การศกึ ษาวจิ ัยในคร้งั นเี้ สร็จสมบรู ณ์ ผจู้ ัดทำขอขอบพระคณุ อย่างสูงไว้ ณ ทนี่ ้ี

ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคุยนางขาว ท่ใี หก้ ารส่งเสริมสนับสนุนให้คำแนะนำและ
ชี้แนะแนวทางการดำเนินงาน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการศึกษาวิจัย ขอขอบคุณนักเรียนช้ัน
อนุบาล 2 ทุก ๆ คน ที่ตั้งใจและใหค้ วามร่วมมอื เขา้ รว่ มกจิ กรรมเพ่ืองานวจิ ัย จนกระทัง่ การศึกษาวิจัย
ในคร้งั นีส้ ำเร็จไปดว้ ยดี

ผูว้ จิ ัย




สารบญั

หน้า
บทคดั ย่อ........................................................................................................................................... ก
กิตติกรรมประกาศ............................................................................................................................. ข
สารบัญ.............................................................................................................................................. ค
บทที่ 1 บทนำ ................................................................................................................................... 1

1.1 ความเป็นมา และความสำคัญของปญั หา ........................................................................ 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวจิ ัย................................................................................................ 2
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ.............................................................................................. 2
1.4 ขอบเขตของการวิจัย....................................................................................................... 3
1.5 กรอบแนวคิดการวจิ ยั ..................................................................................................... 3
1.6 นยิ ามศัพท์เฉพาะ............................................................................................................ 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวจิ ัยท่เี กยี่ วข้อง ............................................................................................ 5
2.1 หลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช 2560................................................................. 5

2.1.1 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศกั ราช 2560......................................................... 9
2.1.2 วิสยั ทัศนก์ ารศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช 2560 ...................................................... 9
2.1.3 หลกั การของหลักสตู รการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศักราช 2560................................... 9
2.1.4 จุดม่งุ หมายการจัดการศึกษาปฐมวยั ตามหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั

พทุ ธศกั ราช 2560 .............................................................................................. 10
2.1.5 การจัดประสบการณ์ ........................................................................................... 11
2.1.6 มาตรฐานคณุ ลกั ษณะที่พึงประสงค์ ..................................................................... 12
2.1.7 สาระการเรยี นรู้ .................................................................................................. 13
2.1.8 การประเมนิ พฒั นาการ ....................................................................................... 17
2.2 พฒั นาการทางภาษาของเด็กปฐมวยั ............................................................................. 18
2.2.1 ความหมายและความสำคญั ของภาษา ................................................................ 18
2.2.2 องคป์ ระกอบทมี่ ีอทิ ธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา................................................. 19
2.2.3 ทฤษฎีทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับพัฒนาการทางภาษา........................................................... 20
2.2.4 พัฒนาการทางภาษา........................................................................................... 21
2.2.5 พัฒนาการทางภาษาดา้ นการอา่ นของเด็กปฐมวยั ............................................... 23




สารบัญ (ต่อ)

หน้า
2.2.6 การเรียนรู้ทางภาษาของเดก็ ปฐมวยั .................................................................... 26
2.3 แนวทางในการสง่ เสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวยั .......................................... 28
2.3.1 การสอนภาษาแบบธรรมชาติ .............................................................................. 30
2.3.2 ทฤษฎีและหลักการทเ่ี กี่ยวขอ้ งกบั แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ................... 32
3.3.3 การสอนภาษาแบบธรรมชาติใหก้ ับเด็กปฐมวยั .................................................... 34
2.4 ความสามารถในการอ่าน .............................................................................................. 37
2.4.1 ความหมายของการอ่านเพอ่ื ความเขา้ ใจ ............................................................. 37
2.4.2 ความเขา้ ใจในการอา่ น ........................................................................................ 38
2.4.3 ระดับความเข้าใจในการอา่ น............................................................................... 38
2.4.4 ปจั จัยที่มอี ทิ ธิพลตอ่ การอ่านเพ่ือความเขา้ ใจ....................................................... 40
2.5 งานวจิ ัยที่เกีย่ วข้อง ....................................................................................................... 41
บทท่ี 3 วธิ ีการดำเนินการวิจัย ......................................................................................................... 43
3.1 การกำหนดประชากรและกล่มุ ตวั อยา่ ง ......................................................................... 43
3.2 เครือ่ งมือท่ีใชใ้ นการวจิ ัย ............................................................................................... 43
3.3 การสรา้ งและหาคุณภาพของเครื่องมอื .......................................................................... 43
3.4 การเกบ็ รวบรวมข้อมลู .................................................................................................. 44
3.5 การวิเคราะห์ขอ้ มลู ....................................................................................................... 45
3.6 สถิตทิ ใ่ี ชใ้ นการวิจยั ....................................................................................................... 46
บทที่ 4 ผลการวิเคราะหข์ ้อมูล......................................................................................................... 47
4.1 สญั ลักษณ์ที่ใชใ้ นการวเิ คราะหแ์ ละแปรผลขอ้ มูล........................................................... 47
4.2 การนำเสนอผลการวเิ คราะห์ข้อมูล ............................................................................... 47
4.3 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมลู ของการวิจัย ............................................................................... 48
บทท่ี 5 สรุป อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ .................................................................................... 50
5.1 สรปุ ผลการวจิ ัย............................................................................................................. 50
5.2 อภิปรายผล................................................................................................................... 50
5.3 ขอ้ เสนอแนะในการนำไปใช้ .......................................................................................... 51
5.4 ขอ้ เสนอแนะในการวิจยั คร้งั ตอ่ ไป ................................................................................. 51




สารบัญ (ตอ่ )

หน้า
บรรณานกุ รม................................................................................................................................... 52
ภาคผนวก........................................................................................................................................ 54

ภาคผนวก ก แบบประเมนิ การอา่ นสะกดคำสำหรับเด็กปฐมวัย........................................... 55


บทท่ี 1
บทนำ

1.1 ความเป็นมา และความสำคญั ของปัญหา
เด็กเป็นทรัพยากรทีม่ ีค่าและเป็นความหวังของครอบครัว เป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม

และเปน็ มนุษยชาติ เปน็ พลงั สำคัญในการพฒั นาประเทศ อนาคตของประเทศชาตจิ ึงขึน้ อยู่กับคุณภาพ
ของเด็ก เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ มีพัฒนาการในทุก ๆ ด้านที่เหมาะสมกับวัย
ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม จะเป็นผู้ที่สามารถ
ดำรงชวี ิตอยู่ในสงั คมได้อยา่ งมีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ เดก็ ในวัยเร่ิมแรก
ของชีวติ หรือท่ีเรยี กว่า “เด็กปฐมวยั ” คอื วัยต้งั แตแ่ รกเกิดจนถงึ 8 ปี จดั ได้ว่าเปน็ ระยะท่ีสำคัญท่ีสุด
ของชีวิต ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม บุคลิกภาพ โดยเฉพาะด้านสติปัญญา จะเจริญมากที่สุด
ในช่วงนี้ และพัฒนาการใด ๆ ในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่น ๆ ของ
ชวี ิตเปน็ อย่างมาก

ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างผู้คน เป็นไปอย่าง
รวดเร็วและทันสมัยมากยิ่งขึ้น การสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของทุกคน การสื่อสารของ
มนุษยเ์ รานัน้ ต้องอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือซ่ึงต้องใช้ทัง้ การฟงั การพูด การอา่ น และการเขียน ในการ
สื่อสารทำความเข้าใจกับผู้อื่นและทำให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกัน แม้ว่าการสื่อสารจะมีประสิทธิภาพเพียงใด
แต่ความผดิ พลาดท่ีเกิดจากการเข้าใจความหมายที่ไม่ตรงกัน ยังสง่ ผลใหเ้ กิดความเสยี หายมากมายทั้ง
ในสว่ นบุคคล กลมุ่ บุคคล สงั คมและประเทศชาติ

ภาษาจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องอาศัยทักษะการฟัง การพูด ซึ่งเป็นพื้นฐานของการฟัง
การพูดการอ่าน และการเขียน ดังนั้นการพัฒนาภาษาควรเริ่มต้ังแต่เด็กปฐมวัยเพราะเด็กในวัย 2 - 7
ปีเป็นวัยที่พัฒนาการทางภาษาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว เด็กเรียนรู้ภาษาตามลำดับขั้นพัฒนาการ
เร่ิมจากความคุ้นเคยจากการได้ยิน ไดฟ้ งั การพดู คุย สนทนา ทำให้พฒั นาการทางภาษาเจริญงอกงาม
เด็กเริ่มเรียนจากภาษาง่าย ๆ เรียนรู้การใช้คำศัพท์ด้วยการใช้ประโยค ครูสอนภาษาคนแรกของเด็ก
คือพ่อแม่ เสียงแรกที่เด็กได้ยินได้ฟังคือเสียงจากพ่อแม่ การโต้ตอบของพ่อแม่ทำให้เด็กเรียนรู้ภาษา
การพูดและสนทนากับเด็กคือการสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษาให้กับเด็กปฐมวัย การเรียนรู้ภาษา
เปน็ สิง่ จำเปน็ ผเู้ กยี่ วข้องควรจดั ประสบการณ์ที่เหมาะต่อการเรียนรู้และการเรยี นรู้ภาษาเป็นประเด็น
ที่ต้องพิจารณา นอกจากนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการส่งเสริมทักษะทางภาษาใหก้ ับเด็กปฐมวัย เพื่อให้
เกิดขึ้นอย่างเต็มศักยภาพของเด็กเพราะสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นให้เกิดการ
เรยี นรอู้ ยา่ งดยี ่ิงสำหรับเด็ก ดงั นนั้ การฟัง การพดู จงึ เป็นทักษะของพัฒนาการทางภาษาในเด็กปฐมวัย


2

การจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยต้องจัดให้สอดคล้องกับอายุ ธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
ซึ่งมีความแตกต่างกันด้วย เหตุนี้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรตระหนักถึงความสำคัญและจัด
ประสบการณ์เรียนรู้ทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัยซึ่งต้องอาศัยทฤษฎีพัฒนาการทาง
สติปัญญาของเพียเจย์ซึ่งกล่าวว่า เด็กปฐมวัยอายุ 2 - 7 ปี จัดอยู่ในขั้นพัฒนาทางขั้นคิดก่อน
ปฏิบัติการ เด็กเรียนรู้จากการกระทำโดยอาศัยสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้ยังไม่พัฒนา
ถึงขั้นที่จะเข้าใจเรื่องที่เป็นนามธรรมได้ต้องอาศัยส่ือที่เป็นรูปธรรม (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2557:
110)

หลักสตู รการศึกษาปฐมวัย ได้กำหนดการจัดประสบการณ์ สำหรับเดก็ อายุ 3 - 5 ปี ด้านการ
พัฒนาภาษาว่าควรจัดกิจกรรมทางภาษาให้มีความหลากหลาย ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
มุ่งปลูกผังให้เด็กรักการอ่าน การจัดกิจกรรมให้เด็กรกั การอ่าน ต้องเริ่มจากการจัดให้เด็กได้สัมผัสกับ
สิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องเน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาท
สมั ผัสให้มากทส่ี ุด ซ่ึงสอดคลอ้ งกบั กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายปฏริ ูปการเรยี นรูท้ ั้งระบบให้สัมพันธ์
เชื่อมโยงกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ทักษะพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนต้องมีเพื่อให้สามารถดำเนินการจัดการเรียนรู้
ดว้ ยตนเอง คือ การอ่านออกเขยี นได้ การอ่านอย่างคล่องแคลว่ และเข้าใจความหมายในภาษาไทย ซ่ึง
จะนำมาซึ่งความรู้และส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณเพื่อนำไป
ประยกุ ต์ใช้ในชีวิตประจำวัน (สำนักติดตาม และประเมินผลการจดกั ารศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน. 2558: 4)

เด็กปฐมวยั ชน้ั อนุบาล 2 ในโรงเรยี นบ้านคุยนางขาว ซ่งึ เป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาครั้ง
นี้ และเป็นเด็กในโรงเรียนของผูว้ จิ ัยเอง ในขณะที่ผูว้ จิ ยั กำลงั จดั การเรียนการสอนอยู่นั้น ผู้วิจัยพบว่า
นักเรยี นยงั มีปัญหาในการอ่านหนังสือไม่ออก จากเหตุผลดงั กลา่ วผูว้ ิจยั จึงสนใจท่ีจะศึกษาการส่งเสริม
ทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้ชุดแบบฝึกการอ่าน เพื่อส่งเสริมผู้เรียนมี
พฤติกรรมท่ีแสดงออกไปในทางทเี่ หมาะสม

1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของการวจิ ัย
1.2.1 เพ่อื พัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของเดก็ ปฐมวยั โดยใชช้ ุดแบบฝกึ การอา่ น
1.2.2 เพ่ือเปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำของเด็กปฐมวัยก่อน และหลงั การสอน โดยใช้

ชุดแบบฝึกการอ่าน

1.3 ประโยชนท์ ค่ี าดว่าจะได้รับ
เด็กปฐมวัยมที ักษะการอ่านสะกดคำสงู ขึน้ หลังได้รับการจัดกจิ กรรมโดยใช้ชดุ แบบฝึกการ

อ่าน


3

1.4 ขอบเขตของการวจิ ัย
การศึกษาวิจยั ครง้ั นม้ี ีขอบเขตของการวจิ ยั ดงั น้ี
1.4.1 ขอบเขตกลมุ่ ตัวอยา่ ง
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวยั ชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี ทก่ี ำลังศึกษาอยู่ในช้ันอนุบาล

2 ภาคเรยี นท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2562 ของโรงเรียนบ้านคุยนางขาว จำนวน 24 คน ได้มาโดยวธิ กี ารเลอื ก
แบบเจาะจง เน่ืองจากเปน็ ห้องเรียนทผ่ี วู้ จิ ยั ได้รบั มอบหมายให้เปน็ ผู้สอน

1.4.2 ตัวแปรของการวิจัย
ตัวแปรต้น ได้แก่ การจดั กจิ กรรมโดยใช้ชุดแบบฝกึ การอ่าน
ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะการอา่ นสะกดคำของเดก็ ปฐมวัย

1.4.3 เครอ่ื งมือท่ีใชใ้ นการวิจัย ประกอบดว้ ย
1) แผนการจัดกจิ กรรมโดยใช้ชดุ แบบฝึกการอ่าน
2) แบบประเมนิ การอ่านสะกดคำสำหรับเด็กปฐมวยั

1.4.4 ระยะเวลาท่ใี ชใ้ นการวจิ ยั
ระยะเวลาที่ใช้ในการวจิ ัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562

1.5 กรอบแนวคดิ การวิจัย ตัวแปรตาม
ตวั แปรต้น

การจดั กจิ กรรมโดยใช้ ทกั ษะการอ่านสะกดคำของเด็กปฐมวยั
ชดุ แบบฝกึ การอา่ น

ภาพ 1 กรอบแนวคิดการวิจยั

1.6 นิยามศพั ท์เฉพาะ
เดก็ ปฐมวัย หมายถึง เดก็ ปฐมวัย ชาย - หญงิ อายุ 4 - 5 ปี ที่กำลังศกึ ษาอยูใ่ นช้นั อนุบาล 2

ภาคเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรยี นบา้ นคยุ นางขาว
ทักษะด้านการอ่าน หมายถึง ความสามารถในด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ซึ่งดูจาก

ความสามารถในการอ่านแบบจำรูปคำ อ่านความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับคำ และการเข้าใจ
ความหมายของคำ


4

ชดุ แบบฝกึ การอา่ น หมายถงึ กิจกรรมการเรยี นร้ทู ่ีได้รบั การออกแบบและจัดอยา่ งมรี ะบบ
แบบประเมินการอ่านสะกดคำสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ประเมินการอ่าน
สะกดคำสำหรบั เดก็ ปฐมวยั กอ่ นและหลงั การทดลอง ท่ีผู้วจิ ัยสรา้ งขึน้
แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดแบบฝกึ การอ่าน หมายถงึ แผนการจดั ประสบการณ์การสอน
โดยใช้ชุดแบบฝึกการอ่านที่ผู้วิจยั สร้างขึน้ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นอนบุ าล
2


บทท่ี 2
เอกสารและงานวิจยั ท่ีเกย่ี วขอ้ ง

การวิจัยเรือ่ ง การส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใชช้ ดุ แบบฝึก
การอ่าน ในครั้งนผ้ี วู้ จิ ัยได้ศกึ ษาเอกสารและงานวจิ ยั ทเ่ี กีย่ วข้อง ดังน้ี

2.1 หลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
2.2 พัฒนาการทางภาษาของเดก็ ปฐมวยั
2.3 แนวทางในการสง่ เสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวยั
2.4 ความสามารถในการอา่ น
2.5 งานวจิ ยั ที่เกี่ยวขอ้ ง

2.1 หลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560
การพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทย เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากเปน็ ช่วงเวลาที่ใหผ้ ลของการลงทุนทีค่ ุม้ ค่าที่สุดต่อการสรา้ งรากฐานของชีวิต ที่ผ่านมามีการ
ดำเนินงานเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกนั หลายภาคส่วน เนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นวยั ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิใน
ครรภ์มารดา จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ หรือก่อนเข้าชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จึงมีหลายหน่วยงานที่
จัดบริการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรม
เลี้ยงดเู ดก็ ทงั้ ภาครฐั ภาคเอกชน และองคก์ รชุมชนโดยในสว่ นของภาครัฐมกี ระทรวงการพฒั นาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ เป็น
หน่วยงานหลัก

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มีการพัฒนาการศึกษาปฐมวยั อย่างจริงจังและตอ่ เน่ืองโดย
ได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการ
เปลยี่ นแปลงดา้ นเศรษฐกิจ สังคมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยสี ารสนเทศประกอบกับรฐั ธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รวมทั้งกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-
2579) แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 12 (พ.ศ.2560-2564) แผนการศึกษา แห่งชาติ
(พ.ศ.2560-2579) เป้าหมายยุทธศาสตรก์ ารปฏิรปู การศึกษาในศตวรรษท่ี 2 (พ.ศ.2552- 2561) แผน
ยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย (พ.ศ.2560-2564) นำไปสู่การกำหนดทักษะสำคัญ สำหรับเด็กใน
ศตวรรษที่ 21 ที่มีความสำคัญต่อการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสอดคล้อง
และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทุกด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยควรมีส่วนช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการและ
การเรียนรอู้ ย่างเต็มท่ี สถานศกึ ษาสามารถนำไปใชเ้ ป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนา


6

หลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด
เป้าหมายในการ พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
เป็นคนดี มีวินัย สำนึกความเป็นไทย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และ
ประเทศชาติในอนาคต ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ. 1223/2560 เรื่องให้ใช้หลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2560 ที่ได้ประกาศให้ใช้หลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 แทนหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อให้
สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำหลักสูตรฉบับนี้ไปใช้โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับ
เดก็ และสภาพท้องถน่ิ ตงั้ แต่ปกี ารศึกษา 2561 เป็นต้นไป

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 จัดทำขึ้นโดยยึดปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
วิสัยทัศน์ หลักการบนพื้นฐานแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยสากล และความเป็นไทย
ครอบคลุมการอบรมเลี้ยงดูการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ท่ี
สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็ก ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการ
เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการสร้าง
รากฐานคุณภาพชีวิต ให้แก่เด็กและมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ด้วยความ
ร่วมมือของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ครอบครัว ชุมชน สังคม และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กับการพัฒนาเด็กปฐมวัย สู่การสรา้ งคนไทยที่มีศักยภาพในอนาคต เพื่อเปน็ กำลังสำคัญในการพัฒนา
ประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ทั้งนี้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พัฒนาขึ้นมา
โดยอาศัยแนวคิดดงั นี้

1. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก พัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในตัว
มนุษย์เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิไปจนตลอดชีวิตทัง้ ในดา้ นปริมาณและคุณภาพ พัฒนาการของเด็กจะมีลำดบั
ข้ันตอนในลักษณะเดียวกันตามวัยของเด็ก แต่อัตราการเจริญเติบโต และระยะเวลาในการผ่าน
ขั้นตอนต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้โดยในขั้นตอนแรก ๆ จะเป็นพื้นฐานสำหรับ
พัฒนาการข้ันต่อไป พัฒนาการประกอบด้วย ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่ง
พัฒนาการแต่ละดา้ นมคี วามเกย่ี วขอ้ งและสมั พันธ์กันรวมทัง้ สง่ ผลกระทบซ่งึ กันและกนั

2. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเดก็ อย่างเป็นองค์รวมและการปฏิบัติท่ีเหมาะสมกับพัฒนาการ
การพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม เป็นการคำนึงถึงความสมดุลและครอบคลุมพัฒนาการของเด็กให้
ครบทุกดา้ น ในการดแู ลพฒั นา และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แกเ่ ดก็ ต้องไม่เนน้ ท่ีด้านใดด้านหน่ึง
จนละเลยด้านอื่น ๆ ซึ่งในแต่ละด้านของพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา มีองคป์ ระกอบตา่ ง ๆ ท่ตี อ้ งการการส่งเสริมให้เด็กเจริญเติบโต และมพี ฒั นาการสมวยั อย่าง
เปน็ ลำดบั ขั้นตอน

3. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง สมองของเด็กเป็น


7

สมองที่สร้างสรรค์และมีการเรียนนรู้ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับอารมณ์ สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุด
และมีการพัฒนาต้งั แต่อย่ใู นครรภ์มารดา โดยในชว่ งน้เี ซลลส์ มองจะมกี ารพฒั นาเช่อื มต่อและทำหน้าที่
ในการควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย สำหรับในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 3 ปี จะเป็นช่วงที่เซลล์
สมองเจริญเติบโตและขยายเครือข่ายใยสมองอย่างรวดเร็ว โดยปัจจัยในการพัฒนาของสมอง
ประกอบดว้ ย พนั ธุกรรม โภชนาการ และส่ิงแวดลอ้ ม สมองจะมีพัฒนาการทสี่ ำคัญในการควบคุมและ
มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด จินตนาการ ความฉลาด และพัฒนาการทุกด้าน การพัฒนาของสมองทำ
ให้เดก็ ปฐมวยั สามารถเรียนรู้สง่ิ ต่าง ๆ ไดอ้ ย่างรวดเรว็ กว่าวัยใด

4. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นและการเรียนรู้ของเด็ก การเล่นเป็นกิจกรรมการแสดงออกของ
เด็กอย่างอิสระตามความต้องการ และจินตนาการสร้างสรรค์ของตนเอง เป็นการสะท้อนพัฒนาการ
และการเรียนรู้ของเด็กในชีวิตประจำวัน จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ บุคคล และสิ่งแวดล้อม
รอบตัว การเล่นทำให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายและส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์
จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก การเล่นของเด็กปฐมวัยจัดเป็นหัวใจสำคัญของการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม ซึ่งการเล่นอย่างมีความหมายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ข้ัน
พ้นื ฐานท่ถี อื วา่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ขณะทเี่ ด็กเลน่ จะเกิดการเรียนรู้
ไปพร้อม ๆ กนั ด้วย จากการเล่นเด็กจะมีโอกาสเคลือ่ นไหวสว่ นตา่ ง ๆ ของรา่ งกายไดใ้ ช้ประสาทสัมผัส
และการรับรู้ ผ่อนคลายอารมณ์และแสดงออกถึงตนเอง ได้เรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เด็กจะรู้สึก
สนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต มีโอกาสสำรวจ ทดลอง คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วย
ตนเอง การเล่นช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว และส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้าน
รา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คม และสติปญั ญา กา้ วหนา้ ไปตามวัยอยา่ งมีคุณภาพ

5. แนวคดิ เก่ียวกบั การคำนึงถงึ สิทธเิ ด็ก การสร้างคณุ คา่ และสขุ ภาวะใหแ้ กเ่ ดก็ ปฐมวัยทุกคน
เด็กปฐมวัยควรได้รับการดูแลและพัฒนาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกคน โดยมีสิทธิในการอยู่รอด
สิทธิไดร้ บั การคุม้ ครองสทิ ธิในดา้ นพัฒนาการ และและสทิ ธิการมสี ว่ นร่วมตามท่ีกฎหมายระบุไว้

6. แนวคิดเกยี่ วกบั การอบรมเล้ียงดูควบคู่การใหก้ ารศึกษา การจัดการศกึ ษาปฐมวัยมุ่งพัฒนา
เด็กบนพื้นฐานของการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา หรือการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ท่ี
สนองต่อธรรมชาติและพฒั นาการตามวัยของเด็กแต่ละคนอยา่ งเปน็ องคร์ วม

7. แนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการ เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่เรียนรู้ผ่านการเล่นและการทำ
กิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย เป็นหน้าที่ของผู้สอนต้องวางแผนโดยบูรณาการทั้งวิท ยาศาสตร์
คณติ ศาสตร์ ศิลปะ ภาษา ดนตรี และการเคล่ือนไหว คุณธรรม จริยธรรม สขุ ภาพอนามยั และศาสตร์
อ่ืน ๆ โดยไม่แบ่งเป็นรายวชิ า แต่จะมีการผสมผสานความรู้ ทกั ษะกระบวนการ และเจตคติของแต่ละ
ศาสตร์ในการจดั ประสบการณ์

8. แนวคิดเกี่ยวกับลื่อ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เอ้ือต่อการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถนำ


8

สื่อเทคโนโลยี และการจัดสภาพแวดล้อมทีเ่ อ้ือต่อการเรียนรู้มาสนบั สนุนและเสริมสร้างการเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยได้ โดยสื่อเปน็ ตัวกลางและเครอื่ งมือเพื่อให้เดก็ เกิดการเรยี นรูต้ ามจดุ ประสงค์ทว่ี างไว้

9. แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินตามสภาพจริง การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยยึด
วิธีการสังเกตเปน็ ส่วนใหญ่ เป็นกระบวนการที่ตอ่ เนื่องและสอดคล้องสัมพันธ์กบั การจดั ประสบการณ์
การเรียนรู้รวมทั้งกิจกรรมประจำวัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการ
เรียนรู้ของเด็ก สำหรับการส่งเสริมความก้าวหน้า และช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อพบเด็กล่าช้าหรือมี
ปัญหาที่เกดิ จากพฒั นาการและการเรียนรู้

10. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
และชุมชน การพฒั นาเดก็ อยา่ งมีคณุ ภาพต้องอาศยั ความร่วมมือของทุกฝ่ายท่ีเก่ียวข้องกับเด็ก

11. แนวคิดเก่ยี วกับหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ความเปน็ ไทย และความหลากหลาย
การเปลยี่ นแปลงทางสังคม เศรษฐกจิ และเทคโนโลยี ส่งผลตอ่ วิถีชีวิตและการจดั การศึกษาเพือ่ เตรียม
เด็กสู่อนาคต เด็กเมื่อเกิดมาจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้รับอิทธิพล
จากการปฏบิ ัติแบบด้ังเดิมตามประเพณี มรดก และการถา่ ยทอดความรภู้ ูมิปัญญาของบรรพบุรุษแล้ว
ยังได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ ค่านิยม และความเชื่อของบุคคลในครอบครัวและชมุ ชนของแต่ละ
ทีด่ ้วย

จากแนวคิดพื้นฐานดังกล่าว ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ครูต้องศึกษาหลักการของหลักสูตร
ให้เข้าใจเพราะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
จำเป็นต้องยึดหลักการการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและ
ความต้องการของเด็กทุกคน ทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มี
ความบกพร่องทางรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คม และสติปัญญา รวมท้งั การสื่อสาร การเรียนรู้สำหรับ
เดก็ ท่มี รี า่ งกายพิการ หรอื ทพุ พลภาพ บุคคลท่ีไม่สามารถพ่ึงพาตนเองได้ หรอื เดก็ ที่ไม่มีผู้ดูแล เพ่ือให้
เกิดการพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลกันโดยผ่านการจดั กิจกรรมที่หลากหลายบูรณาการผ่านการเล่น
และกจิ กรรมท่เี ป็นประสบการณต์ รง ผา่ นทางประสาทสัมผสั ท้งั ห้าทม่ี ีความเหมาะสมกับวัยและความ
แตกต่างระหว่างบุคคล ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ตีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยง หรือบุคลากรที่มี
ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษากับเดก็ เพื่อใหเ้ ดก็ แตล่ ะคนได้มีโอกาสในการพัฒนา
ตนเองตามลำดับขั้นของการพัฒนาสูงสุดตามศักยภาพและนำไปใช้ในการดำรงชีวิตเป็นคนดีและคน
เก่งของสังคม สอดคล้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ความ
เชื่อทางศาสนาที่ตนเองนับถือ สภาพเศรษฐกิจ สังคม โดยความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน และ
สังคมเพือ่ เป็นกำลังสำคัญในการพฒั นาประเทศต่อไปในอนาคต


9

2.1.1 ปรชั ญาการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กำหนดปรัชญาการศึกษาปฐมวัยที่

สะท้อนให้เห็นความเชื่อพื้นฐานในการพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่อายุแรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ โดยเห็น
ความสำคัญของการพฒั นาเด็กโดยองค์รวม การคำนึงถึงความสมดุลและครอบคลุมพัฒนาการของเด็ก
ครบทุกด้าน ในการอบรมเลี้ยงดู พัฒนาและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ที่ผู้สอนต้องยอมรับ
ความแตกต่างของเด็ก ปฏิบตั ติ ่อเด็กแต่ละคนอย่างเหมาะสม โดยผู้สอนใหค้ วามรกั ความเอ้อื อาทร มี
ความเข้าใจ ในการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา
คุณธรรม จรยิ ธรรม และอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ น่ื ได้อยา่ งมีความสุข ดังน้ี

การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์อย่างเปน็ องค์รวม
บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการ
ตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วย
ความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชวี ติ ให้เด็กพัฒนาไปสู่
ความเป็นมนษุ ยท์ ี่สมบูรณ์ เกิดคณุ ค่าต่อตนเอง ครอบครวั ชมุ ชน สงั คม และประเทศชาติ

2.1.2 วสิ ัยทศั นก์ ารศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศกั ราช 2560
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กำหนดวิสัยทศั นท์ ี่สะท้อนให้เห็นความ

คาดหวังที่เป็นจริงได้ในอนาคตในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพ ผ่านประสบการณ์ที่เด็กปฐมวัย
เรียนรอู้ ย่างมีความสุข มีทกั ษะชีวิต ปฏบิ ตั ิตนตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย
และสำนึกความเปน็ ไทยและทุกฝ่ายทั้งครอบครัว สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวยั และชุมชน
รว่ มมือกันพัฒนาเด็ก ดงั นี้

หลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวยั มุ่งพฒั นาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์
จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมี
ความสุขและเหมาะสมตามวยั มที ักษะชีวิต และปฏบิ ัติตนตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง เป็น
คนดีมีวินัย และสำนึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน
และทกุ ฝ่ายท่ีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

2.1.3 หลกั การของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช 2560
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กำหนดหลักการสำคัญในการจัด

การศึกษาปฐมวัย เพราะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัย จะต้องยึดหลักการอบรม
เล้ียงดคู วบคู่กบั การให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเดก็ ทุกคน ทั้งเด็ก
ปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม
สติปญั ญา รวมท้งั การสือ่ สารและการเรียนรู้ หรือเด็กที่มรี ่างกายพกิ ารหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่


10

สามารถพงึ่ ตนเองได้ หรอื ไมม่ ีผู้ดแู ลหรือดอ้ ยโอกาส เพอ่ื ให้เด็กพัฒนาทุกดา้ น ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์
จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล โดยจัดกิจกรรมที่หลากหลาย บูรณาการผ่านการเล่น และ
กิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่าง
บุคคล ด้วย ปฏิสัมพนั ธ์ที่ดรี ะหว่างเดก็ กบั พอ่ แม่ เดก็ กบั ผ้เู ลยี้ งดู หรือบคุ ลากรทม่ี ีความรูค้ วามสามารถ
ในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กแต่ละคน ได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง
ตามลำดับชน้ั ของพัฒนาการสูงสดุ ตามศักยภาพ และนำไปใชใ้ นชวี ิตประจำวนั ได้อย่างมีความสุข เป็น
คนดีของสังคม และสอดคล้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความ
เชื่อทางศาสนา สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิทธิเด็ก โดยความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน องค์กร
ปกครอง ส่วนทอ้ งถิน่ องค์กรเอกชน สถาบนั ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบนั สงั คมอื่น ดงั นี้

1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนร้แู ละพัฒนาการทีค่ รอบคลุมเดก็ ปฐมวัยทุกคน
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความ
แตกตา่ งระหว่างบุคคล และวถิ ชี วี ติ ของเดก็ ตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย และ
มีกิจกรรมหลากหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และมี
การพักผอ่ นเพียงพอ
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลัก
ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข
5. สร้างความรู้ ความเข้าใจและประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก ระหว่าง
สถานศึกษา กับพอ่ แม่ ครอบครัว ชมุ ชน และทุกฝ่ายทเ่ี กย่ี วขอ้ งกับการพฒั นาเด็กปฐมวยั

2.1.4 จดุ มุ่งหมายการจัดการศกึ ษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศกั ราช
2560

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อ
จบการศึกษาระดับปฐมวัยแล้ว โดยจุดหมายอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา ที่นำไปสู่การกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้
และสภาพทพ่ี งึ ประสงค์ดงั นี้

1. รา่ งกายเจรญิ เติบโตตามวัย แขง็ แรง และมสี ขุ นิสยั ท่ดี ี
2. สขุ ภาพจติ ดี มีสนุ ทรยี ภาพ มีคุณธรรม จรยิ ธรรม และจิตใจทดี่ งี าม
3. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่
ร่วมกับ ผู้อนื่ ไดอ้ ยา่ งมีความสุข
4. มีทกั ษะการคดิ การใช้ภาษาส่อื สาร และการแสวงหาความรไู้ ดเ้ หมาะสมกับวัย


11

2.1.5 การจดั ประสบการณ์
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปี เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะ

บูรณาการผ่านการเล่น การลงมือกระทำ จากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย เกิดความรู้ ทักษะ
คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไม่
จัดเป็นรายวิชาโดยมหี ลักการ และแนวทางการจดั ประสบการณ์ ดังน้ี

1. หลกั การจดั ประสบการณ์
1.1 จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้หลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์

รวมอยา่ งสมดลุ และต่อเนอื่ ง
1.2 เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่าง

บคุ คลและบรบิ ทของสงั คมทเ่ี ด็กอาศยั อยู่
1.3 จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และ

พฒั นาการของเดก็
1.4 จัดการประเมินพัฒนาการให้เปน็ กระบวนการอยางต่อเนือ่ ง และเป็นส่วนหนึ่ง

ของการจดั ประสบการณ์ พรอ้ มท้งั นำผลการประเมินมาพัฒนาเดก็ อยา่ งต่อเนอื่ ง
1.5 ให้พอ่ แม่ ครอบครวั ชุมชน และทุกฝา่ ยทเ่ี ก่ยี วข้องมีสว่ นรว่ มในการพฒั นาเดก็

2. แนวทางการจดั ประสบการณ์
2.1 โรงเรียนจัดแนวทางการจดั ประสบการณ์ในรปู แบบบูรณาการกิจกรรม 6 หลัก

เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของการจัด
ประสบการณ์ในระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการจัด
ประสบการณ์ในระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง และมีความ
สอดคล้องกบั หลักการเรยี นรู้ ของสมอง คือ

กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นกับสื่อและเครื่องเล่นหรือมุม
ประสบการณ์ อย่างอิสระโดยให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการ
ของเด็กท้งั เป็นรายบุคคลและเป็นกลมุ่ ในมุมบ้าน มุมเสริมสวย มุมหนงั ลอื มมุ บลอ็ ก เคร่อื งเล่นสัมผัส
มุมวทิ ยาศาสตร์ มมุ เกมการศกึ ษา

กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก
ความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีกปะ ตัดปะ
การพมิ พ์ภาพ การร้อย การประดษิ ฐห์ รือวธิ ีการอนื่ ๆ ท่เี ดก็ ไดค้ ิดสร้างสรรค์

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย อย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคลอ้ งจอง เครอ่ื งเคาะจงั หวะหรือ อปุ กรณ์อื่น
ๆ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การทำกิจกรรม


12

เคลอื่ นไหวและจงั หวะชว่ ยใหเ้ ดก็ เรยี นรู้จงั หวะและควบคุมการเคลือ่ นไหวของตนเองได้
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาการทักษะการ

เรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ
เช่น สนทนา อภิปราย เล่านิทาน สาธิตทดลอง ศึกษานอกสถานที่ เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง เล่น
เกม ท่องคำ คล้องจองประกอบท่าทาง

กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อ
ออกกำลัง เคลื่อนไหวรา่ งกาย และแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็ก
แตล่ ะคนเปน็ หลัก สิ่งที่เดก็ เล่น เชน่ การควบคมุ ท่าทางการเดิน การว่งิ แขง่ การเล่นกระบะทราย การ
เดนิ ทรงตัวบนแผน่ ไม้ เพื่อสร้างสมองใหพ้ รอ้ มสำหรบั การใช้งานในวัยถดั ไป

กิจกรรมเกมการศกึ ษา เปน็ เกมการเล่นทช่ี ว่ ยพฒั นาสตปิ ัญญามีกฎเกณฑ์กติกาง่าย
ๆ เด็ก สามารถเล่นคนเดียว หรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิด
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท และความสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่หรือระยะเช่น
เกมจบั คู่ เกม แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรยี งสำดับ โดมโิ น ภาพตดั ตอ่

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นขึ้นอยู่บนพื้นฐานของ
ประสบการณ์เดิม ที่เด็กมีอยู่ และประสบการณ์ใหม่ที่เด็กจะได้รับ เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม
พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการยอมรับใน
วัฒนธรรมและภาษา ของเด็กมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กให้มีความสุข และเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่
เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยอากาศสดชื่น ผ่อนคลายไม่เครียด มี
โอกาสได้ออกกำลังกาย และพักผ่อน มีส่ือวัสดุอปุ กรณ์ มีของเล่นที่หลากหลายเหมาะสมกับวัยใหเ้ ด็ก
มีโอกาสได้เลือกเล่น เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและโลกที่เด็กอยู่ รวมทั้งพัฒนาการอยู่ร่วมกับคนอื่นใน
สังคมอีกด้วย สิ่งสำคัญในการจัดประสบการณ์ คือ การยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง จัดประสบการณ์การ
เรียนรู้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ความต้องการความแตกต่างระหว่างบุคคลใน
บรรยากาศที่อบอนุ่ ต่อการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการผ่านการเล่นอย่างหลากหลายเป็นประสบการณ์
ตรงที่เดก็ มโี อกาสให้พ่อแม่ผ้ปู กครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2.1.6 มาตรฐานคณุ ลักษณะท่พี งึ ประสงค์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง

ประสงค์ จำนวน 12 มาตรฐาน ประกอบด้วย พัฒนาการด้านร่างกาย 2 มาตรฐาน พัฒนาการด้าน
อารมณ์ จิตใจ 3 มาตรฐาน พัฒนาการด้านสังคม 3 มาตรฐาน และพัฒนาการด้านสติปัญญา 4
มาตรฐาน กำหนดตัวบ่งชี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐาน
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และมีการกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ซึ่งเป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ


13

ตามวัยที่จำเป็นสำหรับเด็กทุกคนบนพื้นฐานพัฒนาการหรือความสามารถในแต่ละระดับอายุ อีกท้ัง
นำไปใชใ้ นการวเิ คราะหส์ าระการเรียนรู้ เพือ่ กำหนดเป็นจุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ในการจัดประสบการณ์
และการประเมินพัฒนาการเด็ก นอกจากสภาพที่พึงประสงค์ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็กอายุ 3 - 6 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์
ให้เด็ก แต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีดวามแตกต่าง
ระหวา่ งบคุ คลเพือ่ นำขอ้ มูลไปช่วยพฒั นาเด็กใหเ้ ต็มตามความสามารถและศกั ยภาพหรือช่วยเหลือเด็ก
ได้ทันท่วงที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
ประกอบดว้ ย

1. พฒั นาการด้านร่างกาย ประกอบดว้ ย 2 มาตรฐานคอื
มาตรฐานท่ี 1 รา่ งกายเจรญิ เตบิ โตตามวัยและมสี ุขนิสัยท่ีดี
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและ

ประสานสมั พนั ธ์กนั
2. พฒั นาการดา้ นอารมณ์ จติ ใจ ประกอบดว้ ย 3 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจติ ดแี ละมคี วามสุข
มาตรฐานที่ 4 ชน่ื ชมและแสดงออกทางศลิ ปะ ดนตรี และการเคล่อื นไหว
มาตรฐานที่ 5 มีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม และมจี ิตใจท่ดี งี าม
3. พฒั นาการด้านสงั คม ประกอบดว้ ย 3 มาตรฐานคือ
มาตรฐานท่ี 6 มีทักษะชวี ติ และปฏบิ ัตติ นตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
มาตรฐานที่ 7 รกั ธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อม วัฒนธรรม และความเปน็ ไทย
มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของ

สังคมในระบอบประชาธิปไตย อนั มพี ระมหากษตั ริยท์ รงเปน็ ประมุข
4. พฒั นาการด้านสติปัญญา ประกอบดว้ ย 4 มาตรฐานคือ
มาตรฐานท่ี 9 ใช้ภาษาสอื่ สารไดเ้ หมาะสมกบั วัย
มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดท่เี ป็นพ้นื ฐานในการเรยี นรู้
มาตรฐานท่ี 11 มีจนิ ตนาการและความคดิ สรา้ งสรรค์
มาตรฐานท่ี 12 มีเจตคติที่ดตี ่อการเรยี นรแู้ ละมีความสามารถในการแสวงหาความรู้

ไดเ้ หมาะสมกับวัย

2.1.7 สาระการเรยี นรู้
สาระการเรียนรู้ เปน็ ส่อื กลางในการจัดประสบการณ์การเรยี นรู้ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริม

พัฒนาการเด็กทุกด้าน ให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนด ประกอบด้วยประสบการณ์


14

สำคัญ และสาระทค่ี วรเรียนรู้ ดงั นี้
1. ประสบการณ์สำคัญ ประสบการณ์สำคัญเป็นแนวทางสำหรับผู้สอนนำไปใช้ในการ

ออกแบบการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ
ครอบคลุมทุกด้าน ดงั น้ี

1.1 ประสบการณ์สำคญั ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านรา่ งกาย เป็นการสนับสนุนให้เด็ก
ได้มโี อกาสพัฒนาการใช้กล้ามเน้ือใหญ่ กลา้ มเน้ือเลก็ และการประสานสัมพันธร์ ะหว่างกล้ามเน้ือและ
ระบบประสาท ในการทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสดูแล
สขุ ภาพและสขุ อนามยั สุขนิสยั และการรักษาความปลอดภัย

1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการสนับสนุน
ให้ เด็กไดแ้ สดงออกทางอารมณ์และความรสู้ ึกของตนเองที่เหมาะสมกับวัย ตระหนกั ถึงลักษณะพิเศษ
เฉพาะ ที่เป็นอัตลักษณ์ ความเป็นตัวของตัวเอง มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้
พัฒนาคณุ ธรรมจริยธรรม สุนทรียภาพ ความร้สู ึกที่ดีต่อตนเอง และความเช่อื มัน่ ในตนเองขณะปฏิบัติ
กจิ กรรมต่าง ๆ ดังน้ี

1.3 ประสบการณส์ ำคัญท่ีส่งเสริมพฒั นาการด้านสังคม เปน็ การสนบั สนุนให้เด็กได้
มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวจากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการ
เรียนรู้ทางสังคม เช่น การเล่น การทำงานกับผู้อื่น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การแก้ปัญหาข้อ
ขดั แย้งต่าง ๆ

1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้
เด็กได้รับรูแ้ ละเรียนรู้ส่ิงต่าง ๆ รอบตัวผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กบั ส่ิงแวดลอ้ ม บุคคลและส่ือต่าง ๆ ด้วย
กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กพัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการความคิด
สร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การคิดเชิงเหตุผล และการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและมี
ความคดิ รวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพ้นื ฐานของการเรียนรใู้ นระดับทส่ี งู ข้ึนตอ่ ไป

2. สาระท่คี วรเรียนรู้
สาระทีค่ วรเรียนรู้ เปน็ เรือ่ งราวรอบตวั เด็กทนี่ ำมาเปน็ ส่อื กลางในการจดั กิจกรรมให้

เด็กเกิดแนวคิดหลังจากนำสาระที่ควรรู้นั้น ๆ มาจัดประสบการณ์ให้เด็ก เพื่อให้บรรลุจุดหมายท่ี
กำหนดไว้ ทั้งนี้ไม่เนน้ การท่องจำเนื้อหา ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอยี ดข้ึนเองให้สอดคล้องกับวัย
ความต้องการ และความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรยี นรูผ้ ่านประสบการณ์สำคัญ ทั้งนี้อาจยืดหยุ่น
เนือ้ หาได้ โดยคำนงึ ถึงประสบการณ์และสง่ิ แวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ดังนี้

2.1 เรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้ชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตา อวัยวะ
ตา่ ง ๆ วธิ รี ะวังรกั ษารา่ งกายให้สะอาดและมีสขุ ภาพอนามยั ทด่ี ี การรับประทานอาหารที่เปน็ ประโยชน์
การระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่นและภัยใกล้ตัว รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่าง


15

ปลอดภัย การรู้จักประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของ
ครอบครวั และโรงเรียน การเคารพสทิ ธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเหน็ ของตนเองและ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองตามลำพังหรือกับ
ผู้อื่น การตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง การสะท้อนการรับรู้อารมณ์และ
ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดง
มารยาททดี่ ี การมคี ณุ ธรรมจรยิ ธรรม

2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับ
ครอบครัวสถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่าง ๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ใน
ชีวิตประจำวัน สถานที่สำคัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน
สัญลักษณ์สำคัญของชาติไทยและการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่ง
เรียนรจู้ ากภูมปิ ญั ญาท้องถ่นิ อนื่ ๆ

2.3 ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การ
เปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน น้ำ ท้องฟ้า สภาพ
อากาศ ภัยธรรมชาติ แรงและพลังงานในชีวิตประจำวันท่ีแวดล้อมเด็ก รวมท้งั การอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม
และการรกั ษาสาธารณสมบัติ

2.4 สิง่ ต่าง ๆ รอบตวั เดก็ เดก็ ควรเรยี นรเู้ กี่ยวกบั การใชภ้ าษาเพือ่ สอ่ื ความหมายใน
ชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส
ขนาด รปู ร่าง รูปทรง ปริมาตร นำ้ หนัก จำนวน สว่ นประกอบ การเปลยี่ นแปลงและความสัมพันธ์ของ
สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์ การใช้งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ยานพาหนะ การ
คมนาคม เทคโนโลยแี ละการลอื่ ลารต่าง ๆ ที่ใชอ้ ยูในชวี ิตประจำวันอย่างประหยดั ปลอดภยั และรกั ษา
ส่ิงแวดลอ้ ม

3. การจดั กจิ กรรมประจำวนั
กิจกรรมลำหรับเด็กอายุ 3 ปี - 6 ปีบริบูรณ์ สามารถนำมาจัดเปีนกิจกรรม

ประจำวันได้หลายรูปแบบ เปีนการช่วยให้ผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์ทราบว่าแต่ละวันจะทำ
กิจกรรมอะไร เมื่อใด และอย่างไร ทั้งนี้การจัดกิจกรรมประจำวันสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่
กับความเหมาะสมในการนำไปใชข้ องแตล่ ะหนว่ ยงานและสภาพชุมชน ท่ีสำคญั ผสู้ อนต้องคำนึงถึงการ
จัดกิจกรรมให้ครอบคลุมพัฒนาการทกุ ด้าน การจัดกิจกรรมประจำวันมหี ลักการจัดและขอบข่ายของ
กจิ กรรมประจำวนั ดังน้ี

3.1 หลกั การจดั กจิ กรรมประจำวนั
1. กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย ของ

เด็กในแต่ละวันแต่ยืดหยุ่นได้ตามความต้องการและความสนใจของเด็ก เช่น วัย 3-4 ปี มีความสนใจ


16

ประมาณ 8-12 นาที วัย 4-5 ปี มคี วามสนใจประมาณ 12-15 นาที วยั 5-6 ปี มีความสนใจ ประมาณ
15-20 นาที

2. กิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ไม่ควรใช้เวลา
ตอ่ เนอ่ื งนานเกนิ กว่า 20 นาที

3. กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรี เพื่อช่วยให้เด็กรู้จักเลือกตัดสินใจ คิด
แกป้ ญั หา คดิ สร้างสรรค์ เชน่ การเลน่ ตามมมุ การเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที

4. กิจกรรมควรมีความสมดุลระหว่างกิจกรรมในห้องและนอกห้อง กิจกรรมท่ี
ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก กิจกรรมที่เป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่เด็ก
เป็นผู้ริเริ่มและผู้สอน หรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้ริเริ่ม และกิจกรรมที่ใช้กำลังและไม่ใช้กำลัง จัดให้
ครบทุกประเภท ทั้งนี้กิจกรรมที่ต้องออกกำลังกายควรจัดสลับกับกิจกรรมที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก
เพื่อเดก็ จะไดไ้ มเ่ หนื่อยเกินไป

3.2 ขอบขา่ ยของกิจกรรมประจำวัน
การเลือกกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวันสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้

ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้ของแต่ละหน่วยงานและสภาพชุมชน ที่สำคัญผู้สอนต้อง
คำนึงถึงการจดั กจิ กรรมใหค้ รอบคลมุ พัฒนาการทุกดา้ น ดงั ตอ่ ไปนี้

3.2.1 การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เป็นการพัฒนาความแข็งแรง การทรงตัว การ
ยืดหยุ่น ความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่าง ๆ และจังหวะการเคลื่อนไหวในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่
โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม ปีนป่ายเล่นอิสระ เคลื่อนไหว
ร่างกายตามจงั หวะดนตรี

3.2.2 การพัฒนากลา้ มเน้ือเลก็ เป็นการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก
กล้ามเนื้อมือ-นิ้วมือ การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและระบบประสาทตามือได้อย่าง
คล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นเครื่องเลน่ สัมผัส เล่นเกมการศึกษา
ฝึกช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม และใช้วัสดุอุปกรณ์ศลิ ปะ เช่น สีเทียน กรรไกร
พ่กู ัน ดินเหนยี ว ฯลฯ

3.2.3 การพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เป็นการ
ปลูกฝังให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีวินัย รับผิดชอบ
ซื่อสัตย์ ประหยัด เมตตา กรุณา เอื้อเฟ้อ แบ่งปัน มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและ
ศาสนาที่นับถือโดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเล่นให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจเลือก ได้รับการ
ตอบสนองความตอ้ งการ ได้ฝกึ ปฏิบตั ิโดยสอดแทรกคณุ ธรรม จริยธรรม อย่างต่อเนือ่ ง

3.2.4 การพัฒนาสงั คมนสิ ยั เปน็ การพฒั นาใหเ้ ดก็ มลี ักษณะนสิ ยั ที่ดี แสดงออก
อย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตร ประจำวัน มี


17

นิสัยรักการทำงาน ระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อืน่ โดยรวมทั้งระมดั ระวงั อนั ตรายจาก
คนแปลกหน้า ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอยา่ งสม่ำเสมอ รับประทานอาหาร พักผ่อนนอนหลับ
ขับถ่าย ทำความสะอาดร่างกาย เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎกติกา ข้อตกลงของ
สว่ นรวม เก็บของเข้าทีเ่ มอ่ื เลน่ หรือทำงานเสร็จ

3.2.5 การพัฒนาการคิด เป็นการพัฒนาให้เด็กมีความสามารถในการคิด
แก้ปัญหาความคิดรวบยอด และคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมให้
เด็กได้สนทนาอภิปรายแลกเปลีย่ นความคดิ เหน็ เชิญวทิ ยากรมาพดู คุยกับเด็ก ศกึ ษานอกสถานที่ เล่น
เกมการศึกษา ฝึกการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ฝึกออกแบบและสร้างชิ้นงาน และทำกิจกรรมท้ัง
เปน็ กลมุ่ ยอ่ ย กลุ่มใหญ่ และรายบคุ คล

3.2.6 การพัฒนาภาษา เป็นการพัฒนาให้เด็กใช้ภาษาสื่อสารถ่ายทอด
ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เด็กมีประสบการณ์โดยสามารถตั้งคำถามในสิ่งท่ี
สงสัยใคร่รู้ จัดกิจกรรมทางภาษาให้มีความหลากหลายในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มุ่ง
ปลูกฝังให้เด็กได้กล้าแสดงออกในการฟัง พูด อ่าน เขียน มีนิสัยรักการอ่าน และบุคคลแวดล้อมต้อง
เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักการจัดกิจกรรมทางภาษาที่เหมาะสมกับเด็ก
เปน็ สำคญั

3.2.7 การส่งเสรมิ จนิ ตนาการและความคดิ สร้างสรรค์ เปน็ การสง่ เสริมให้เด็กมี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมร์ความรู้สึกและเห็นความสวยงามของสิ่งต่าง ๆ โดยจัด
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ดนตรี การเคลื่อนไหวและจังหวะตามจินตนาการ ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ อย่าง
อิสระ เลน่ บทบาทสมมติ เล่นน้ำ เล่นทราย เล่นบล็อก และเลน่ กอ่ สร้าง

2.1.8 การประเมนิ พฒั นาการ
การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย

อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของ
กิจกรรม ปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพฒั นาการเด็กต้องนำมาจัดทำสารนิทศั น์
หรือจัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบ ด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็น
ร าย บ ุ คคล ที ่ ส ามาร ถบ อ กเ ร ื ่ อ งร าว ห ร ื อป ร ะส บ ก า ร ณ์ ที ่ เ ด ็ ก ได ้ ร ั บ ว ่ าเ ด ็ ก เ กิ ด การ เ ร ี ย น ร ู ้ แ ล ะ มี
ความก้าวหน้าเพียงใด ทั้งน้ีให้นำขอ้ มลู ผลการประเมนิ พฒั นาการเดก็ มาพจิ ารณาปรับปรุงวางแผนการ
จัดกิจกรรม และส่งเสริมใหเ้ ดก็ แต่ละคนไดร้ ับการพฒั นาตามจุดหมายของหลักสตู รอยา่ งต่อเน่ือง การ
ประเมินพัฒนาการควรยึดหลกั ดังน้ี

1. วางแผนการประเมนิ พฒั นาการอยา่ งเป็นระบบ
2. ประเมินพฒั นาการเด็กครบทกุ ดา้ น


18

3. ประเมนิ พัฒนาการเด็กเป็นรายบคุ คลอยา่ งสมำ่ เสมอต่อเนื่องตลอดปี
4. ประเมนิ พฒั นาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันดว้ ยเครื่องมือและวิธีการท่ี
หลากหลาย ไมค่ วรใช้แบบทดสอบ
5. สรปุ ผลการประเมิน จดั ทำขอ้ มลู และนำผลการประเมินไปใช้พฒั นาเด็ก
สำหรับวธิ ีการประเมนิ ที่เหมาะสมและควรใช้กบั เด็กอายุ 3-6 ปี ได้แก่ การสงั เกต การ
บันทึกพฤติกรรมการสนทนากับเด็ก การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมี
ระบบ

2.2 พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
2.2.1 ความหมายและความสำคญั ของภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการ

ฟัง และการพูด อนั เปน็ พน้ื ฐานของการอ่านและเขยี น ในการตดิ ตอ่ ทำความเข้าใจกบั ผ้อู นื่ ดงั ทีน่ กั การ
ศกึ ษาหลายทา่ นได้กลา่ วไว้ดังนี้

หรรษา นิลวิเชียร (2555: 201) กลา่ วว่า ภาษาเป็นสิ่งทม่ี นุษยใ์ ชใ้ นการส่ือสารระหว่าง
กัน ด้วยวิธีการหลายรูปแบบ ซึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการพูดและการเขียน ซึ่งการพัฒนา
ดังกลา่ วชว่ ยให้เด็กเข้าใจและเรยี นรูส้ ่ิงต่าง ๆ ในส่ิงแวดลอ้ มได้ดีขนึ้

บุษบง ตันติวงศ์ (2555: 40 - 47) กล่าววา่ ภาษาเปน็ สญั ลกั ษณ์ในการสื่อสารท่ีต้องใช้
ให้เหมาะกับเรื่องทต่ี ้องการส่ือสาร เดก็ ปฐมวยั เรยี นร้ภู าษาแบบต่าง ๆ ได้แก่ ภาษาศิลปะ ดนตรี การ
เคลื่อนไหวร่างกาย ละคร และคณิตศาสตร์ ซง่ึ สามารถใชส้ ื่อสารความคิดแตล่ ะเร่ือง โดยใช้สัญลักษณ์
หลายแบบผสมผสานสลับกนั

ราชบัณฑติ ยสถาน (2556: 822) ใหค้ วามหมายของภาษาไว้วา่ ภาษา หมายถึง ถ้อยคำ
ที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายของชนกลุ่มหนึ่ง หรือเพื่อสื่อความหมายเฉพาะวงการ เสียง
ตัวหนังสือหรืออากัปกริยาที่สื่อความหมายได้ โดยปริยายหมายความว่าสาระเรื่องราวเนื้อความท่ี
เข้าใจกนั ได้

สรุปได้ว่า ภาษาเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในตัวเด็กในรูปแบบของการคิด และในระบบ
ของสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษาในระดับต่อไป เพื่อใช้ในการติดต่อ
สือ่ สารแลกเปล่ียนความคดิ เห็นซ่ึงกนั และกัน ดังนนั้ ภาษาจึงควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้ังแต่
ระดบั ปฐมวัย อันจะนำไปสู่การพฒั นาสงั คม และสตปิ ญั ญา ชว่ ยให้เกิดการเรียนร้ใู นส่งิ ตา่ ง ๆ


19

2.2.2 องคป์ ระกอบท่มี ีอิทธิพลตอ่ พัฒนาการทางภาษา
ศรยี า นิยมธรรม และประภัสสร นยิ มธรรม (2561: 42 - 47) ไดพ้ ูดถึงองคป์ ระกอบท่ีมี

อทิ ธพิ ลตอ่ พฒั นาการทางภาษา ดังนี้
1. สขุ ภาพ การเจบ็ ป่วยเรอ้ื รงั หรอื รุนแรงในช่วงสองปแี รกของเด็ก มักทำใหก้ ารเร่ิมพูด

และการรู้จักประโยคช้าไปราว ๆ 1 - 2 เดือนเพราะการป่วยทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะสมาคมกับเด็ก
อื่น นอกจากนกี้ ารป่วยทำให้เด็กไม่อยากพดู จากบั ใคร ส่วนเด็กหูหนวกหรือหูตึงยิ่งเรยี นพูดได้ช้า ท้ังน้ี
เพราะเด็กไม่มีโอกาสได้ยินคนอื่นหรือแม้แต่คำพูดของตนเอง ทำให้ขาดตัวอย่างในการเลียนแบบ ซึ่ง
เป็นสว่ นสำคัญย่ิงในการเรียนรแู้ ละพฒั นาภาษา

2. สติปัญญา ความสำคัญระหว่างสติปัญญาและภาษาเกี่ยวเนื่องกันอย่างชัดเจนและ
เพิ่มมากขึ้นจนอายุ 2 ขวบ หลังจากนั้นความสัมพันธ์จะเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น เด็กที่มีสติปัญญาต่ำ
เท่าใดภาษาพูดก็ยิ่งเลวเท่านั้น ส่วนเด็กที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดพบว่า มีปัญญาดีเยี่ยมทั้งในด้าน
ศัพท์ และการใชป้ ระโยค

3. ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและ
สังคมสูงได้มีของเล่น ได้พบเห็นหนังสือ ได้อ่านหรือฟังนิทานเล่าเรื่อง ได้มีโอกาสติดต่อเกี่ยวข้องกับ
ผใู้ หญ่ ทำใหม้ โี อกาสจะพฒั นาภาษาไดด้ ีกว่าเดก็ ที่ถกู ปลอ่ ยอย่ตู ามลำพงั กับเพ่อื น

4. อายุและเพศ นับเป็นองศ์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อพัฒนาการ
ทางด้านการใช้ภาษาของเด็ก หากสังเกตจะพบว่าเด็กผู้หญิงจะแสดงการใช้ภาษาพูดได้เหนือกว่ า
ดีกวา่ และเร็วกว่าเด็กผชู้ าย

5. ความสัมพันธ์ในครอบครัว จากการศึกษาพบว่า เด็กในสถานสงเคราะห์เลีย้ งดู เด็ก
กำพร้ามักมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป เพราะเด็กเหล่านี้ขาดความสัมพันธ์ส่วนตัวกับแม่ หรือพี่
เลี้ยง เด็กลกู สาวคนเดยี วมักมที กั ษะด้านภาษาสูงกวา่ เด็กพ่ีมพี ่ีน้องในทกุ ดา้ น เพราะเดก็ ลกู คนเดยี วอยู่
ในความสนใจของแมม่ ากกว่าและไม่ต้องแขง่ ขันกบั พ่ีน้อง

6. การพูดหลายภาษา ทำให้เด็กเกิดความสับสนในการพูด ไม่สามารถพูดได้โดยเสรี
ต้องคดิ อย่ตู ลอดเวลาวา่ จะพดู อย่างไร จะถูกในโอกาสใด เด็กจะรู้สกึ วา่ มีปญั หาในการปรับตัว กลัวถูก
หัวเราะเยาะหรือเป็นพี่รำคาญของคนอื่น ไม่กล้าพูดกับคนอื่นจนกลายเป็นคนเก็บตัว อันเป็นปัญหา
ทางด้านบุคลิกภาพ เด็กเหล่านี้จะรู้สึกดีขึ้นหากได้อยู่ในภาวะที่มีคนอื่น ซึ่งมีปัญหาคล้ายคลึงกับ
ตนเอง

7. สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมนับว่ามอี ิทธิพลต่อการพัฒนาด้านการใช้ภาษาของเด็กเป็น
อย่างมาก กลา่ วคือ เดก็ อยู่ในสิง่ แวดลอ้ มใด การใช้ภาษาของเดก็ กจ็ ะเป็นไปตามส่ิงแวดล้อมนนั้ ยิ่งอยู่
ในสิง่ แวดล้อมทดี่ เี ทา่ ใด เดก็ ก็ยง่ิ มโี อกาสไดเ้ รียนรคู้ ำศัพท์แปลก ๆ ใหม่ ๆ มากขึน้ เทา่ นน้ั


20

สรุปได้ว่า องค์ประกอบพี่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางด้านภาษานั้นมีปัจจัยหลาย ๆ
อย่าง ด้วยกัน เช่น สุขภาพร่างกาย สติปัญญา ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทางกรรมพันธุ์หรือสิ่งแวดล้อม รวมไป
ถงึ การเรียนก็ลว้ นแตส่ ่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กเปน็ อยา่ งมาก

2.2.3 ทฤษฎีทเ่ี กี่ยวข้องกับพัฒนาการทางภาษา
การที่เด็กแต่ละคนสามารถพัฒนาภาษาพูดและความสามารถในการพึงจนสามารถใช้

ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้นั้น ได้มีผู้ให้ความสนใจศึกษาและกำหนดเป็นทฤษฎีพัฒนาการทาง
ภาษาไวด้ ังน้ี

ศรยี า นิยมธรรม และประภสั สร นิยมธรรม (2561: 31 - 35) ได้สรปุ การศึกษาค้นคว้า
ทฤษฎตี ่าง ๆ ท่เี กย่ี วขอ้ งกับภาษาไว้ดังนี้

1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The autism theory) หรือ (Autistic theory)
ทฤษฎีนี้ ถือว่าการเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสยี งอันเน่ืองมาจากความพึงพอใจพี่จะทำ
เช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mowrer) เชื่อว่าความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียง
ของผอู้ ืน่ และเสยี งของตนเองเปน็ สงิ่ สำคญั ย่ิงตอ่ การพัฒนาการ

2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The limitation theory) เลวิส (Lewis) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ
การเลียนแบบในการพัฒนาการทางภาษาอย่างละเอียด ทฤษฎีนี้เชื่อว่าพัฒนาการทางภาษานั้น เกิด
จากการเลียนแบบ ซ่งึ อาจเกดิ จากการมองเหน็ หรือการไดย้ นิ เสยี ง

3. ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ
เรียนรู้ ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทัง้ หลายถกู สร้างขึน้ โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลค์ (Rhiengold) และ
คนอื่น ๆ ศึกษาพบว่า เดก็ จะพดู มากข้นึ เม่อื ได้รับรางวลั หรือได้รบั การเสริมแรง

4. ทฤษฎีการรับรู้ (Motor theory of perception) ลิเบอร์แมน (Liberman)
ตงั้ สมมตฐิ านได้วา่ การรบั รู้ทางการฟังข้นึ อยู่กบั การเปล่งเสียง จงึ เห็นไดว้ า่ เดก็ มักจ้องหน้าเวลาเราพูด
ด้วย การกระทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟังและพูดซ้ำกับตนเองหรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่าน
รมิ ปีปาก แลว้ จงึ เรียนร้คู ำ

5. ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike)
เป็นผคู้ ดิ โดยอธบิ ายว่าเมือ่ เด็กกำลังเล่นเสียงอยนู่ นั้ เผอิญมบี างเสียงไปทำให้เด็กพัฒนาภาษา

6. ทฤษฎชี วี วิทยา (Biological theory) เลนเนเบอรก์ (Lenneberg) เชอื่ วา่ พฒั นาการ
ทางภาษานั้นมีพืน้ ฐานชวี วทิ ยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึน้ อยู่กบั การเปลง่ เสียง เด็กจะเรม่ิ
ส่งเสยี งออ้ แอแ้ ละพดู ได้ตามลำดบั


21

7. ทฤษฎีการให้รางวัลของแม่ (Mother reward theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และ
มิลเลอร์ (Miller) เป็นผคู้ ดิ ทฤษฎีนี้โดยย้ำเก่ียวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่าภาษา
ที่แมใ่ ช้ เป็นการเลี้ยงดูเพือ่ สนองความตอ้ งการของลูกนัน้ เปน็ อทิ ธิพลที่ทำใหเ้ กิดภาษาพูดแก่ลูก

สรุปได้ว่า ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางภาษา ได้พูดถึงการเรียนรู้ภาษา
ของเด็กเกิดจากหลายดา้ น ไดแ้ ก่ พื้นฐานทางชีววิทยา การเลน่ เสียง การเลยี นแบบ การหัดเปล่งเสียง
แบบต่าง ๆ และสิง่ ทส่ี ำคญั คือ การตอบสนองจากบคุ คลใกลช้ ดิ ด้วยการโตต้ อบ ให้การเสริมแรง และ
เป็นแบบอยา่ งท่ีดใี นการใช้ภาษา

2.2.4 พัฒนาการทางภาษา
ในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีนั้น ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้

เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนในการพัฒนาของภาษาเพื่อหาวิธีส่งเสริมให้ถูกต้องและเหมาะสมกับเด็กในแต่
ละช่วงวัย พชิ ญ์ยุทธ์ สุนทรถริ พงศ์ (2562: 9 - 16) ไดก้ ล่าวถึงพัฒนาการทางภาษาของเดก็ แรกเกิดถึง
6 ปี ไวด้ งั นี้

ตารางท่ี 1 แสดงพัฒนาการทางภาษาของเด็กตั้งแต่วัยแรกเกดิ ถึง 6 ปี
อายุ พัฒนาการทางภาษา
แรกเกดิ - ปกติจะไมอ่ อกเสยี ง จะทำเสยี งเมื่อร้องไห้ สะอึก จาม เรอ

5 - 6 สปั ดาห์ - เรมิ่ ทำเสยี ง เล่นเสียงโดยเฉพาะเม่อื มีคนมาเล่น หยอกล้อ
3 เดอื น 6 เดือน - ชอบเล่นเสยี งและทำเสียงตอบผู้อืน่ หยดุ ฟังขณะทีผ่ ู้อืน่ ทำเสยี งพดู

- หัวเราะและสง่ เสียงถา้ มีคนมาเล่นดว้ ย ถา้ ไมพ่ อใจกร็ ้องกรี๊ดกร๊าด ชอบเล่นเสียง
และออกเสียง เชน่ “เกอ” เคอ” เป็นต้น
9 เดือน - เลียนเสียงผู้ใหญ่ ชอบออกสียงเปน็ คำ เชน่ “หมา หม่ำ” “ดา ดา” โดยออกเสียง
ซำ้ ๆ กันบ่อย ๆ
1 ปี - เริ่มเข้าใจความหมายของคำ เช่น “ส่งให้แม่” และออกเสียงคำที่มีความหมาย
ได้ 1 - 2 คำ เช่น “แม”่ “บ๊าย บาย” พดู ไดป้ ระมาณ 6 - 20 คำ
2 ปี - พูดได้ประมาณ 50 คำ และบางทีก็พูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ เริ่มใช้คำแทน
ตนเอง เร่มิ ต้งั คำถามและเข้าใจเรื่องทีผ่ อู้ นื่ พูดดว้ ย


22

อายุ พฒั นาการทางภาษา
3 - 4 ปี - รูจ้ ักคำศัพท์มากขน้ึ นบั เลขได้
- ชา่ งพูด บอกได้ว่าตอ้ งการอะไร
4 - 5 ปี - เรมิ่ ถามวา่ อะไร อยา่ งไร เมื่อไร ทำไม
5 - 6 ปี - รู้จักทิศทาง เช่น บน ลา่ ง
- เรยี กชอื่ สงิ่ ของทค่ี ุ้นเคยได้
- สนใจหนงั สอื เก่ียวกบั สัตวแ์ ละนทิ านต่าง ๆ
- พูดจามีเหตุผล พูดมากขึ้นและมีคำศัพท์ใหม่ พูดประโยคยาว ๆ ได้มากขึ้น รู้จัก
ใชส้ รรพนามแทนตัวเอง เชน่ ผม หนู เป็นตน้
- จำคำศพั ทไ์ ด้ประมาณ 1,550 - 1,900 คำ
- บอกชือ่ และนามสกุลได้
- ร้จู ักเพศของตนเอง
- ชอบแต่งประโยคโดยใช้คำต่าง ๆ
- พูดได้คล่องและถูกหลักไวยากรณ์ แต่ยังออกเสียงพยัญชนะบางตวั ไม่ชัด เช่น ส
วฟ
- สนใจคำใหม่ ๆ และพยายามค้นหาความหมายของคำน้นั ๆ
- จำคำศัพทไ์ ด้ถึง 2,200 คำ
- บอกช่อื ทอ่ี ยู่ อายุ และวันเกดิ ของตนเองได้
- ชอบท่องหรอื รอ้ งเพลงท่มี ีจังหวะและเนอื้ ร้องทสี่ มั ผสั กันหรือ
- โฆษณาทางทีวี

จากพัฒนาการทางภาษาตามช่วงวยั ต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น สามารถแบ่งพัฒนาการ
ทางภาษาออกเปน็ 7 ข้นั คือ

1. ระยะอ้อแอ้ (Random stage) เป็นระยะที่เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน ระยะนี้เป็น
ระยะที่เด็กจะเปล่งเสียงธรรมชาติต่าง ๆ ที่ยังไม่มีความหมายออกมา เช่น อ้อแอ้ เสียงร้องไห้ การ
เปล่งเสียงของเด็กในช่วงนี้ก็เพื่อบอกถึงความต้องการของเด็ก เช่น หิวจะร้องไห้ เสียงอ้อแอ้แสดง
ความพอใจ เมื่อได้รบั การตอบสนอง

2. ระยะแยกแยะ (Jargon stage) เป็นระยะที่เด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี สามารถแยก
เสียงต่าง ๆ ที่เขาได้ยิน ถ้าเด็กรู้สึกพอใจที่จะได้ส่งเสียงและถ้าเสียงใดที่เขาเปล่งออกมาได้รับการ
ตอบสนอง ในทางบวก เขาพอใจเขาก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีก ในบางครั้งเขาจะเริ่มมเี สยี งเล็กสูง ๆ ต่ำ
ๆ ท่ีมีคนคยุ ด้วยเสียงท่ีเปลง่ ออกมายงั ไมม่ ีความหมาย


23

3. ระยะเลียนแบบ (Imitation stage) เป็นระยะทเ่ี ด็กอายุ 1 - 2 ปี เร่มิ เลียนเสยี งต่าง
ๆ ทีไ่ ด้ยนิ จากพอ่ แมผ่ ูท้ ี่ใกล้ชิด เสยี งทเ่ี ปล่งออกมาเร่มิ มีความหมายมากขึ้นเป็นการเร่มิ พฒั นาทางด้าน
ภาษา

4. ระยะขยายความ (The stage of expansion) เปน็ ระยะที่เด็ก 3 - 4 ปี เดก็ เร่ิมหัด
พูด โดยเริ่มเรียกชื่อคนที่ใกล้ชิด สัตว์ สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว เริ่มจะเข้าใจในสัญลักษณ์ในการสื่อ
ความหมาย สว่ นมากเดก็ จะเริม่ พูดคำนามโดด ๆ เชน่ พอ่ แม่ พ่ี น้อง หมา แมว นก ฯลฯ

5. ระยะโครงสร้าง (Structure stage) เป็นระยะที่เด็กอายุ 4 - 5 ปี เริ่มพัฒนา
ความสามารถ ในการเรียนรู้ รับรู้ และการสังเกตการณ์พูดคำเป็นวลี เป็นประโยคสั้น ๆ เช่น กินข้าว
ขอไปด้วย แมไ่ ปตลาด ไปเทยี่ ว ฯลฯ

6. ระยะตอบสนอง (Responding stage) เป็นระยะที่เด็กอายุ 5 - 6 ปี เริ่มมี
ความสามารถในการคดิ และการพัฒนาทางภาษาทีส่ ูงขึ้น เป็นแบบแผนมากขึ้น เริ่มใช้ไวยากรณอ์ ย่าง
ง่าย ๆ รู้จักคำ มากขึ้น การสื่อความหมายในระยะนี้เป็นระยะที่เกิดขึ้นตามสิ่งที่เขามองเห็นและสิ่งที่
เขารับรู้ เช่น การพูดคุยในสิ่งที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น เช่น ขอโทษเมื่อทำผิดโดยไม่ตั้งใจ การรู้และใช้
คำศัพทใ์ นระยะนป้ี ระมาณ 3,000 - 3,500 คำ

7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative stage) เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ระยะนี้เด็กเริ่มเข้า
โรงเรียน เด็กมีการพัฒนาด้านภาษาไปอย่างรวดเร็ว เด็กจะสนุกกับคำศัพท์ต่าง ๆ เริ่มรู้จักถ้อยคำ
สำนวนที่สร้างสรรค์ไพเราะขึ้น เริ่มรู้จักพูดสิ่งที่เป็นนามธรรมมากข้ึน และจะเริ่มในการพูดและการ
เขียนไปในขณะเดียวกนั เชน่ เด็กบางคนชอบวาดรูปพร้อมกับอธบิ ายเลน่ ไปดว้ ย

จากพัฒนาการทางภาษาจะเห็นได้ว่า เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น พัฒนาการทางภาษาจะ
สูงขึ้น คำศัพท์ที่เรียนรู้จะเพิ่มมากขึ้น ประโยคมีความซับซ้อนและใช้โครงสร้างของประโยคได้หลาย
รูปแบบ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาจะมีการเรียนรู้คำศัพท์และ
รปู แบบ ประโยคทเี่ หน็ ได้อยา่ งชัดเจน

2.2.5 พัฒนาการทางภาษาด้านการอา่ นของเด็กปฐมวยั
Holdaway (1979) ได้จัดพฤติกรรมการอ่านของเด็กปฐมวัยตามลำดับพัฒนาการไว้

ดงั นี้
ข้ันที่ 1 Emergent reading
1. ดูหนังสือเรื่องที่ชอบ พูดข้อความในหนังสือด้วยภาษาของตน ทำท่าทาง

เหมอื นอ่านหนังสือ
2. จับใจความและตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อเรื่องโดยการใช้

ประสบการณต์ รง


24

3. ไมส่ นใจขอ้ ความตามลำดบั ของเร่ือง
4. อา่ นเร่ืองสั้น ๆ ท่บี อกให้ครบู ันทกึ ให้
5. อา่ นและเขียนตวั ขีดเขี่ย (Scribbles)
6. อ่านด้วยตัวอกั ษรแล้วพยายามลอกหรือเขียนทบั
ข้ันท่ี 2 Advanced emergent reading
1. การกวาดตามองข้อความตามบรรทัด ดูข้อความที่มีตัวหนังสือใหญ่และ
เขยี นเว้นคำ
2. ตรวจสอบความถูกต้อง โดยการเดาจากประสบการณเ์ ดิมและจดสง่ิ ชีแ้ นะ
3. อ่านขอ้ ความทีม่ ีตวั อกั ษรและคำท่ีเหน็ กันอยเู่ ป็นประจำ
4. หาคำที่มีตัวอักษรที่คล้ายคลึงกันโดยการตรวจสอบจากจุดที่เริ่มต้นของ
ประโยค
ขั้นท่ี 3 Emergent to early reading
1. รูจ้ กั คำทอี่ ยใู่ นชีวติ ประจำวนั เม่อื เหน็ คำนน้ั ในบริบทหรอื สิ่งแวดล้อม
2. คาดเดาคำใหม่โดยดรู ปู ประโยคและความหมาย
3. กวาดสายตาถกู ทิศทางเมือ่ มองข้อความที่คนุ้ เคย
4. ช้ีและบอกชอ่ื ของตัวอักษรส่วนใหญไ่ ด้
5. พิจารณาตัวอักษรบางตัวเพื่อจะบอกว่าคือตัวอะไรแล้วพยายามลอกและ
ตกแต่งรปู ร่าง ของตัวอกั ษร
6. จำคำบางคำทม่ี ีพยญั ชนะตน้ เหมอื นกนั ได้
ขั้นท่ี 4 Emergent reading
1. ชี้หรือกวาดตามองจดุ เร่ิมตน้ และจุดจบของคำบางคำ
2. ใช้เสียงพยญั ชนะต้นทร่ี จู้ ักในการคาดเดาและตรวจสอบคำทจ่ี บ
3. บอกข้อสังเกตที่แสดงว่ารู้คำว่าคำ ๆ เดียวกันสามารถผสมกับคำอื่น
กลายเป็นคำใหม่ เชน่ เดก็ ชาย เด็กหญิง แม่คา้ แมน่ ้ำ
4. ลอกหรือเขยี นสือ่ ความหมายโดยใช้ภาษางา่ ย ๆ ของตนเองใช้รปู ประโยคท่ี
ถกู ตอ้ ง และกลบั มาอ่านได้
5. เล่นเกมโดยใช้บัตรคำที่มีคำคุ้นเคยหรือเรียงบัตรคำให้เป็นประโยคได้
ถกู ต้อง
6. ช้หี รือกวาดตามองจดุ เริ่มต้นและจดุ ลงท้ายของประโยค


25

ขนั้ ท่ี 5 Advance early reading
1. คาดเดาข้อความจากสิ่งชี้แนะโดยดูพยัญชนะตัวแรกของคำประกอบกับ

ความรเู้ ดมิ เกย่ี วกบั ความสมั พนั ธ์ระหว่างรูปตัวอักษรกบั เสยี งอักษร
2. จำและตรวจสอบตวั อกั ษรทส่ี ัมพนั ธ์กับเสียงของคำ
3. ตรวจสอบคำทอ่ี า่ นด้วยการชต้ี ัวอักษรในคำพร้อม ๆ กบั ออกเสยี งไปดว้ ย
4. ใช้รูปและเสียงตัวอักษรเป็นหลักในการสะกดคำใหม่ที่ไม่รู้จักหรือคำที่ไม่

แน่ใจ
พัชรี ผลโยธิน และวรนาท รักสกุลไทย (2557: 20 - 21) ได้อธิบายขั้นตอนของการ

อา่ น ของเดก็ ไว้ดงั นี้
ขั้นที่ 1
- คาดเดาภาษาหนังสือ
- แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง
- พยายามใช้ประสบการณจ์ ากการพดู คยุ กลับมาเป็นภาษาทีใ่ ชอ้ ่าน
ขั้นที่ 2
- แกไ้ ขความผดิ ในประโยคด้วยตนเอง
- ตระหนกั วา่ ตวั หนงั สอื มีรูปร่างคงท่ี
- สามารถช้บี อกคำทเ่ี หมือนกนั ซึง่ อยใู่ นหนา้ เดียวกนั
- สามารถมองตามตวั อกั ษรบนแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ได้
ขน้ั ที่ 3
- จำคำทีค่ ุน้ เคยได้
- คาดคะเนความหมายจากบรบิ ท
- ใชว้ ิธีการอ่านไปในทิศทางเดยี วกันจนเป็นนสิ ยั
- สามารถระบแุ ละบอกชื่อตวั อักษรไดเ้ กือบหมด
ข้ันท่ี 4
- เข้าใจเกยี่ วกบั การเริ่มตน้ และการลงโทษเม่ือนำมาใชใ้ นการเดาคำ
- ใชเ้ สียงชว่ งต้นของคำในการเดาคำใหม่ ๆ ในบรบิ ท
- สามารถใช้คำทรี่ ้จู ักมาแตง่ ประโยคได้
ขั้นท่ี 5
- ในการแก้ปัญหาการอ่านคำ ใช้เสียงเริ่มต้นและเสียงควบกล้ำไปพร้อมกับคำ

บอกใบ้ของบริบท
- สามารถรวู้ า่ เสียงของคำทไี่ ด้ยนิ ประกอบด้วยตัวอักษรอะไร


26

- สรา้ งคำศพั ท์จากสิ่งทพ่ี บเหน็ ไดม้ ากข้ึน
สรุปได้วา่ พฒั นาการทางการอา่ นของเด็กปฐมวยั หมายถงึ การท่เี ด็กเชอื่ มโยงความคิด
จากภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยการค้นหาความหมายจากตัวอักษรเพื่อสื่อความหมายออกมา โดยใน
ขั้นแรกจะได้แก่ การคาดเดาภาษา การแก้ไขความผิดในประโยคด้วยตนเอง จนถึงการรู้จักแก้ปัญหา
ในการอ่านคำและสามารถสร้างคำจากสิ่งที่พบเห็นได้มากขึ้น พัฒนาการทางภาษาด้านเขียนของเด็ก
ปฐมวัย

2.2.6 การเรียนรู้ทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ตามความเป็นจริงเด็กมีประสบการณ์ทางภาษาอย่างผิวเผนิ จากการมีปฏิสัมพันธ์โดย

ปราศจากการฝึกสอนเป็นพิเศษภายในเวลาอันสั้น ในขณะที่เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญา ขั้น
แรกเริ่มของการใช้เหตุผลแต่เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาในระดับลึ กเป็นนามธรรมและมีโครงสร้าง ทาง
ภาษาศาสตร์ทซ่ี ับซ้อนอยู่ในระดับสูง นอกจากจะเรยี นรู้โครงสร้างทางภาษาในชุมชนของตนแล้ว เด็ก
ยังเรียนรู้กฎอันซับซ้อนซึ่งเป็นพื้นฐานการใช้ดว้ ย เด็กเรียนรู้ว่าจะพูดเมื่อไร อย่างไร พูดอะไร กับใคร
(หรรษา นิลวิเชยี ร, 2555: 203 - 207)

ทัศนะนักพฤติกรรมศาสตร์ (The behaviorist view) กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาของ
เด็ก เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากผลการปรับสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคลที่มีอยู่ในตนเอง ในขณะที่เด็ก
เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แรงเสริมในทางบวกจะถูกนำมาใช้เมื่อภาษาของเด็กใกล้เคียง หรือถูกต้อง
ตามภาษาผใู้ หญ่ ซงึ่ นกั พฤติกรรมศาสตรม์ ีความเชอื่ เกี่ยวกับการเรียนภาษาของเด็กคือ

1. เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดทาง
กรรมพนั ธุ์ โดยปราศจากความสามารถพิเศษด้านการเรยี นด้านใดด้านหน่งึ

2. การเรียนรู้ ซึ่งรวมทั้งการเรียนทางภาษา เกิดขึ้นโดยสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ปรับ
พฤติกรรมผูเ้ รยี น

3. พฤติกรรมทั่วไปรวมทั้งภาษา ถูกปรับโดยแรงเสริมจากการตอบสนองที่เกิดจากสิ่ง
เร้า

4. ในการปรับพฤติกรรมที่ซับซ้อนอย่างเช่นภาษา จะมีกระบวนการเลือกหรือทำให้
ตอบสนองเฉพาะเจาะจงขึ้น โดยผ่านการให้แรงเสริมทางบวก ถึงแม้ว่าการตอบสนองท่ัวไปและชนิด
ง่าย ๆ จะได้แรงเสริมทางบวกตั้งแต่ต้น แต่การให้แรงเสริมในระยะหลัง ๆ จะถูกนำมาใช้กับการ
ตอบสนองที่ซบั ซอ้ นและใกลเ้ คียงกับเป้าหมายทางพฤตกิ รรมสูงสุด

ทัศนะของนักทฤษฎีสภาวะติดตัวโดยกำเนิด (The nativist view) นักทฤษฎีเชื่อ
เกี่ยวกับกฎธรรมชาติ หรือกฎเกีย่ วกับสิ่งทีม่ ีมาแตก่ ำเนดิ มีความคิดเหน็ เกีย่ วกับการเรียนรู้ภาษาของ
เด็กแตกตา่ งจากนกั พฤติกรรมศาสตรส์ องประการสำคัญ คือ


27

1. การใหค้ วามสำคญั ตอ่ องค์ประกอบภายในบุคคลเกี่ยวกับการเรยี นรู้ภาษา
2. การแปลความบทบาทขององค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในการเรยี นรภู้ าษา
ชอมสก,้ี แมคนิล และเล็นเบริ ก์ (Chomsky, McNeill and Lenneberg, n.d. อ้างถึง
ใน หรรษา นิลวเิ ชยี ร, 2555: 206) เปน็ ผูท้ มี่ ีความเชื่อว่า เดก็ เกิดมาดว้ ยความสามารถทางภาษา เด็ก
ทุกคนเกิดมาโดยมีโครงสร้างทางภาษาศาสตร์อยู่ในตัว ซึ่งได้แก่ โครงสร้างทางการเรียนรู้ทางด้าน
ความหมาย ประโยค และระบบเสียง เด็กจะมีขั้นของการพัฒนาทางร่างกายและขั้นตอน ทางภาษา
เกี่ยวโยงและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยที่ความสามารถทางการเรียนภาษาของเด็กจะถูกวาง
โปรแกรมไว้ในตวั และมคี วามเก่ยี วขอ้ งสมั พันธ์กบั ส่ิงแวดลอ้ มที่เดก็ ไดร้ บั
ทศั นะของนักสังคมศาสตร์ (The socialist view) หรือทฤษฎวี ัฒนธรรมให้ความสนใจ
เกี่ยวกบั ผลกระทบของสง่ิ แวดลอ้ มทางภาษาของผ้ใู หญท่ ี่มีต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ผลการวจิ ยั
กล่าวว่า วิธีการที่ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ ปฏิบัติต่อเด็กมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาและ พัฒนาการทาง
สติปัญญาของเด็ก วิธีการเหล่าน้ันได้แก่การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง การสนทนา ระหว่างรับประทาน
อาหาร การแสดงบทบาทสมมุติ การสนทนา เป็นต้น
นักวิจัยได้พยายามศึกษาลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่ดีทีส่ ุด สำหรับการเรียนภาษา เพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจากการมีปฏสิ ัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรรษา นิลวิเชียร (2555: 204)
ไดส้ รปุ หลักการไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. ส่ิงแวดล้อมที่สอดคล้องกบั วิธกี ารเรียนรขู้ องเดก็ การสง่ เสริมให้เด็กไดส้ ำรวจ ปฏบิ ัติ
จริง กระทำด้วยตนเอง อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอิสระ รู้จักสังเกต ตั้งสมมติฐาน ผู้ใหญ่ ไม่ควรเป็นผู้
ออกคำสงั่ อย่างเดียว ควรให้เดก็ เป็นผู้ต้ังคำถามบ้าง
2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและบุคคลรอบข้าง เด็กควรได้สื่อสาร
แบบสองทางซ่ึงเป็นหวั ใจสำคญั ของการสื่อสาร บุคคลทเ่ี ด็กมีปฏิสัมพนั ธด์ ้วยได้แก่ พ่อแม่ เพอ่ื น ญาติ
พน่ี อ้ ง เป็นตน้
3. สงิ่ แวดลอ้ มท่เี นน้ ความหมายมากกว่าด้านรูปแบบ พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ควรยอมรับการ
สื่อสารของเด็กในรปู แบบตา่ ง ๆ กัน โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการจะสือ่ ออกมาเป็นส่ิงสำคญั
กวา่ การพูดด้วยรปู แบบไวยากรณท์ ่ีถกู ต้องเรียงภาษาจากงา่ ย ๆ ไปส่ทู ่ซี บั ซ้อน
4. สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลาย ทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา เด็กควร
จะ ไดร้ บั ประสบการณ์และการมปี ฏิสมั พันธ์ในหลาย ๆ รูปแบบเพราะประสบการณจ์ ะมีส่วนช่วยด้าน
การแสดงออกทางภาษา จะเหน็ ได้ว่าการเรยี นภาษาของเด็กจะต้องจัดสง่ิ แวดลอ้ มใหส้ อดคล้องกับการ
เรียนรขู้ องเด็กให้เด็กมีโอกาสไดม้ ีปฏิสัมพันธ์ได้ลงมือกระทำ ไดส้ งั เกตส่ิงตา่ ง ๆ ที่อย่รู อบ ๆ ตัวเพราะ
สิ่งแวดล้อมจะช่วยปรับพฤติกรรมที่เรียนให้เกิดการเรียนรู้ต่อไปได้อย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้า
ทางดา้ นภาษาต่อ ๆ ไป


28

2.3 แนวทางในการส่งเสริมพฒั นาการทางภาษาของเดก็ ปฐมวัย
ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางปัญญา เด็กก่อนเรียนเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางภาษา

มากขึ้น รู้คำศัพท์มากขึ้น พัฒนาคำพูดเดี่ยวสูค่ ำพูดที่เป็นวลแี ละเป็นประโยคในที่สุด เช่น เด็กเล็กมัก
เริ่มจากคำว่าแม่ ต่อมาเปน็ แม่จ๋า ต่อมาเป็น แม่ไปไหน เป็นต้น

ในช่วงระยะของการพัฒนาทางภาษานี้ การพูดคุยและการสนทนากบั เด็กเป็นการกระตุ้น ที่ดี
เด็กสามารถพัฒนาความคิดได้เต็มที่ การปล่อยให้เด็กเรียนรู้ภาษาเองตามธรรมชาติ เด็กจะมี
พัฒนาการทางภาษามาก คำถามของเดก็ ทีถ่ ามว่า “ทำไม” คือการคน้ หาศัพท์ คน้ หาภาษาฝึกความจำ
และเหตุผล การตอบคำถามของผู้ใหญ่ ความสนใจ คำตอบจะมีมาก ถ้าผู้ใหญ่ตอบเด็กจะสนุกสนาน
และเรียนรู้ไปพร้อมกัน การเรียนรู้ภาษาเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ จากความคุ้นเคยการได้ยิน ได้
ฟงั แตถ่ า้ มีการเสรมิ สร้างรวมดว้ ย การพฒั นาทางภาษาจะงดงาม

การพัฒนาความสามารถทางภาษาควรเริ่มตั้งแต่เด็กในวัย 2 - 7 ปี เป็นวัยที่พัฒนาการทาง
ภาษาเจรญิ งอกงามอย่างรวดเรว็ เด็กทุกคนเกดิ มาพร้อมกับความสามารถในการเรยี นรู้ภาษา โดยเด็ก
จะเรียนรู้การใช้ภาษาของตนเองทั้งทางด้านความหมาย ประโยคและเสียงจากสิ่งแวดล้อมตาม
ธรรมชาติ (อารี สณั หฉวี, 2557: 183)

ประมวญ ติคคินสัน (2556: 154) กล่าวว่า การส่งเสริมพฒั นาการทางภาษาของเด็ก ปฐมวัย
ครคู วรใชห้ ลกั การใหญ่ ๆ ดงั ต่อไปนี้

1. ถ้อยคำที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ควรนำมาจากนิทาน บทความ เรื่องราวท่ี
เด็กสนใจแล้วหยิบคำที่น่าสนใจจากเรื่องราวมาใช้โดยอาจนำคำมาจัดหมวดหมู่หรือนำมาผูก เป็น
เร่อื งราวขน้ึ มาใหม่

2. เดก็ ควรจะเรยี นรู้ถอ้ ยคำจากใจความ เพอ่ื ให้เข้าใจความหมายของคำแจม่ แจง้ ย่งิ ขนึ้
3. เลน่ เกมโดยใชถ้ ้อยคำ เชน่ ปริศนาอักษรไขว้ การทายประโยค จับคู่คำกบั ภาพ เปน็ ตน้
นอกจากนั้นครูควรส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาต่าง ๆ ใน
ชีวิตประจำวัน เช่น พูดขยายความหมายของถ้อยคำให้ใช้ได้หลากหลาย ขยายความรู้ในการใช้
โครงสร้างทางภาษาให้ถูกต้อง รู้จักแต่งประโยคให้มีความหมายชัดเจน หาคำอื่น ๆ มาใช้แทนกันได้
จินตนาการ นึกภาพจากคำบรรยายได้ รู้จักให้คำจำกัดความของถ้อยคำนั้น พัฒนาความสามารถ ใน
การใช้ภาษาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม ฉันทนา ภาคบงกช (2558: 1 - 2) กล่าวว่า ภาษา
สามารถพัฒนาได้ดีในบรรยากาศที่ผ่อนคลายมีการยอมรับ และไม่ลูกวิพากษ์วิจารณ์ ปัจจัยสำคัญใน
การส่งเสริมให้เด็กมคี วามก้าวหนา้ ทางภาษาอยา่ งรวดเร็วมดี ังนี้
1. การจัดสภาพแวดล้อมทางภาษา ชั้นเรยี นและโรงเรียนควรตกแต่งด้วยคำหรือข้อความ ซึ่ง
เกยี่ วขอ้ งกบั ชวี ิตประจำวนั


29

2. การเล่น การเล่นของเด็กเปรียบได้กับการทำงานในโลกของผู้ใหญ่ การพัฒนาการภาษา
ส่วนมากเกดิ จากประสบการณ์จริง จงึ ควรจดั กจิ กรรมตา่ ง ๆ ใหเ้ ด็กได้เล่น

3. การอ่าน การอ่านเป็นสื่อของการเรียนรู้ ควรจูงความสนใจให้เด็กรักการอ่าน เช่น อ่าน
นทิ านใหเ้ ดก็ ไดฟ้ ัง

4. การเขียน การอ่านมคี วามสมั พันธก์ ับการเขียน ควรจดั กิจกรรมการเขยี นให้สัมพนั ธ์ กับส่ิง
ที่เด็กอา่ น

5. การใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การสื่อข้อความถึงกันและกัน ข้อความถึงเด็ก
และข้อความถึงผปู้ กครอง การซอื้ ของ เป็นต้น

เฮนรคิ (Henrick, 1980 อ้างถงึ ใน นิตยา ประพฤติกิจ, 2559: 162-163) ไดเ้ สนอแนะ วธิ ีการ
พน้ื ฐานเพ่ือส่งเสรมิ พัฒนาการทางภาษาของเด็กไว้ดังนี้ รู้จกั รบั ฟังเดก็ ใหเ้ ด็กได้พดู คุยถึงเรื่องราวท่ีเขา
ได้พบเห็นหรือได้ฟังมา รู้จักพูดคุย หรือสนทนากับเด็ก รู้จักซักถามเพื่อให้เด็กได้ใช้ภาษาได้อย่าง
กว้างขวางมากยิ่งข้ึนให้เด็กรู้จักฝึกฝนการฟังรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเมื่อเด็กมีปัญหา
นอกจากนี้การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเดก็ จะต้องมอี งค์ประกอบอื่น ๆ เช่น พื้นฐานทาง
เศรษฐกิจและสังคม ประสบการณ์ที่สร้างเสริม การฝึกฝน ประสาทสัมผัส การยอมรับฟังเด็ก การ
ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ การมีผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี การต้ังใจฟังเด็ก การไม่มีอคติต่อการใช้ภาษา
ของเดก็ และการทเ่ี ดก็ มีโอกาสได้พูดคยุ อย่างสนุกสนาน เป็นตน้

ดังนั้นจะเห็นว่า การพัฒนาความสามารถทางภาษาเกิดจากวุฒิภาวะของเด็กที่มีความพร้อม
การฝึกฝน ประกอบกับสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและโรงเรียน ส่งเสริมพัฒนาให้เด็กเกิดความเข้าใจ
ความหมาย สามารถใช้ถ้อยคำต่าง ๆ ได้กว้างขวางขึ้น มีโอกาสได้ใช้ภาษาในชีวิตประจำวันและ การ
เล่นของเด็ก ทั้งนี้ผู้ใหญ่มีส่วนสำคัญในการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก และ
เป็นแบบอยา่ งที่ดี

นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยังได้กล่าวถึงการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทาง
ภาษาในหนงั สือส่ือการสอนระดบั ปฐมวยั ศึกษา (มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช, 2560, หนา้ 184 -
186) ไว้ว่า เมื่อเด็กอยู่ในระดับอนุบาล ความสามารถในการใช้ภาษามีเพิ่มขึ้น ความเข้าใจ ประโยค
ยาว ๆ และเข้าใจเรื่องราวที่ผู้ใหญ่พูดได้ดี ดังนั้นจึงควรหาทางส่งเสริมเด็กให้สนุกกับการใช้ภาษาให้
มากขึ้น กจิ กรรมทส่ี ง่ เสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กได้ เชน่

1. การเล่นนิ้วมือ เป็นการเล่นที่ง่ายและสนุก เด็กต้องใช้จินตนาการในขณะที่เล่น และ
ขณะเดียวกันก็ได้ฝึกทักษะทางภาษาไปด้วย เพราะขณะที่เล่นเด็กจะต้องพูด และถ้าครูสามารถนำ
ถ้อยคำและประโยคมาแต่งให้คล้องจองกัน และให้เด็กพูดขณะที่เล่นไปด้วยจะทำให้เด็กสนุกกับการ
พูดยิ่งข้นึ


30

2. การเล่นตอบคำถาม โดยให้เด็กดูรูปภาพหรือสิง่ ของต่าง ๆ แล้วให้เด็กบอกว่าเป็นอะไร มี
ลักษณะประโยชน์ และวธิ ีใชง้ านอยา่ งไร

3. เลน่ ทายปญั หาอะไรเอ่ย
4. เล่นร้องเพลงและทำทา่ ทางประกอบเพลง
5. เลน่ แสดงตามเร่อื งในนิทาน

2.3.1 การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติเป็นแนวคิดในการจัดประสบการณ์

การเรียนรู้ในแนวใหม่ ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวแต่จะแตกต่างกันไปในแต่ละแห่งที่จัด แต่ไม่ว่าจะจัดใน
รูปแบบใดก็ยังยึดถือหลักการหรือแนวคิดความเชื่อที่ว่า ภาษาเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่เป็นไปตาม
ธรรมชาติ

การสอนโดยการเน้นพื้นฐานประสบการณ์หรือ Whole language เป็นวิธีการสอนที่
กูดแมนได้ริเริ่มค้นคว้าและเสนอแนวปรัชญาการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาตามแนวจิตวิทยา
ภาษาศาสตร์ขึ้นโดยใช้คำว่า Whole language เป็นคำที่เพื่อนร่วมงานและผู้สนับสนุนกลุ่มแรกที่
ร่วมงานวิจัยใช้แต่ในแง่ของการให้ความหมายแลว้ แต่ละท่านยังใหค้ ำจำกัดความที่เป็นไปตามแนวคิด
ของตน แตค่ งมสี ่วนรว่ มเดียวกนั กบั ความคิดของกดู แมน (วชริ า อยู่สุข, 2555)

การสอนภาษาแบบธรรมชาตเิ ป็นวิธีการสอนที่เน้นผู้เรยี นเปน็ ศูนย์กลางโดยใช้พืน้ ฐาน
ประสบการณ์ของผเู้ รยี นแต่ละคน ความสนใจ ความคนุ้ เคยในการใชภ้ าษาดว้ ยการท่ีผู้สอนต้องบูรณา
การทักษะการอ่าน การเขียน และการพูดเข้าดว้ ยกนั ตามเนือ้ หาสาระทีเ่ รยี น คำว่า Whole language
นี้นักการศึกษาของไทยไดใ้ ช้เป็นคำไทยในหลายคำ เช่น การสอนภาษาแบบธรรมชาติ การสอนภาษา
มุ่งประสบการณ์ หรือการสอนภาษาแบบองค์รวม ซึ่งแต่คำก็มาจากกรอบแนวคิดเดียวกัน คือ การ
สอนภาษาโดยเนน้ พนื้ ฐานประสบการณข์ องผู้เรยี นเป็นหลกั สำคญั ของการเรียนการสอน

กูดแมน (Goodman, 1986) ได้ให้ความหมายการสอนภาษาโดยเน้นพื้นฐาน
ประสบการณ์ วา่ “การพฒั นาการเรียนการสอนนัน้ ควรเปน็ ไปตามธรรมชาติ มนษุ ย์เราสามารถเรียนรู้
ส่งิ ตา่ ง ๆ และส่ือสารได้ตง้ั แต่เกดิ และจะพฒั นามากข้นึ เม่ือสง่ิ ที่เรียนรูน้ ั้นมีความหมาย ผู้ใช้เขา้ ใจและ
สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ก่อนวัยเขา้ เรียนภาคบังคับ เด็กจะมีความรู้และประสบการณ์มากพอสมควร
ผู้สอนต้องคำนึงถึงจุดนี้ การจัดการเรียนการสอนภาษาที่ดีควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก ดูความสนใจ
ของผู้เรียน จัดการเรียนการสอนให้ตอบสนองกับความรู้เดิมที่เด็กมีอยู่จะช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถใช้
ความรเู้ ดิมท่เี ด็กมีอยู่เข้ามาชว่ ยให้เกดิ ความเขา้ ใจบทเรียนใหม่ ๆ ได้เรว็ และง่ายข้ึน การเรยี นการสอน
ควรมีเนื้อหาที่สามารถเข้าใจความหมายได้ ไม่ควรแบ่งการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาเป็นหน่วยย่อย ๆ
ผู้เรียนจะเข้าใจยากและลมื ง่าย ไมก่ ่อให้เกดิ การเรียนร้ทู ี่แทจ้ ริง” (บังอร พานทอง, 2556: 25)


31

หรรษา นิลวิเชียร (2555: 54) กล่าวถึง ความสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
ว่าเป็น วิธีการสอนที่ช่วยให้เด็กเกิดทักษะทางการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอย่างสัมพันธ์
ตอ่ เนื่องกนั ไมแ่ ยกจากกัน ถึงแม้วา่ บางครงั้ จะเนน้ ทีท่ ักษะใดเปน็ พิเศษก็ตาม

ฉันทนา ภาคบงกช (2558: 78) กล่าวถึงความสำคญั ของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
ไว้ดังนี้

1. ทำใหเ้ ดก็ มีความสุข สนกุ สนานในการเรยี นภาษาและมีทัศนคตทิ ีด่ ตี อ่ การเรียนรู้
2. ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาภาษาทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
ครอบคลุมทุกดา้ นและเต็มศักยภาพ
3. ทำให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการอ่านและ
การเขยี นเพ่มิ ขึ้น
4. สนองความตอ้ งการของผ้ปู กครองสว่ นมาก ซ่งึ ตอ้ งการใหเ้ ด็กได้รบั การพัฒนาภาษา
ในช่วงปฐมวยั
พัชรี ผลโยธิน (2557: 50) กล่าวถึงการสอนภาษาแบบธรรมชาติว่า เป็นการสอนที่
พยายามจะใช้ภาษาเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ การสื่อสาร และการคิด โดยไม่พยายามแยกภาษา
ออกเป็นส่วนย่อย ๆ แต่เป็นการพยายามมองภาษาโดยรวม สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์
จริงมาช่วยทำให้ภาษานั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การอ่าน การฟัง และการเขียน ถ้า
เป็นสิง่ ทม่ี ีความหมาย มปี ระโยชนห์ รอื เดก็ สนใจและต้องการจะเป็นสงิ่ ท่ีงา่ ยสำหรบั การเรยี นภาษา
อารี สัณหฉวี (2557: 14) กล่าวว่า การสอนภาษาแบบธรรมชาตทิ ำใหเ้ ด็กไดแ้ สดงออก
โดยไม่กลัวผิด มีแบบอย่างที่ดีในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนจากผู้ใหญ่ การเรียนรู้ภาษา
ของเด็กจะง่ายและสนุก ได้มีประสบการณ์ตรง มีโอกาสได้อภิปรายพูดคุยในบรรยากาศที่อบอุ่น เด็ก
จะเรยี นรู้ไดด้ ีถา้ เข้าใจทง้ั หมดช่วยให้เดก็ เรยี นอย่างมีความสุขและใฝ่เรยี นด้วยตนเอง
เฮอร์แมน (Hirshman, 1995 อ้างถึงใน เยาวพา เดชะคุปต์, ม.ป.ป.) กล่าวว่า “ภาษา
แบบองค์รวม คือ การนำเอาองค์ประกอบของภาษาทุก ๆ ด้านมาใช้ในการสื่อความหมายรวมไปถึง
ทกั ษะในการฟัง การพดู การอา่ น และการเขยี น การแตง่ เรือ่ งและการมีปฏสิ มั พันธใ์ นการเรียนรู้” จะ
เห็นว่าการสอนภาษาแบบธรรมชาติทำให้เด็กเรียนทักษะทางภาษาทุกด้านอย่างสัมพันธ์ต่อเนื่อง มี
ทศั นคติทด่ี ตี อ่ การเรียนภาษา ทำใหก้ ารเรียนภาษาง่ายข้นึ และมคี วามหมายต่อผู้เรียน ดงั น้ัน การสอน
ภาษาแบบธรรมชาติจึงมีความสำคญั ต่อการสร้างความสามารถในด้านการอ่านและความสามารถด้าน
การเขยี น เปน็ ตน้
กล่าวโดยสรุปจะเห็นว่า การสอนภาษาแบบธรรมชาติทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการ
เรียน ภาษา เรียนภาษาได้ง่ายขึ้น เพราะการเรียนมีความหมายต่อผู้เรียน เกิดความสัมพันธ์ทั้งด้าน
การฟัง พดู อา่ น เขยี น ซึ่งจะทำใหเ้ ด็กปฐมวยั พฒั นาความสามารถทางภาษาอยา่ งเต็มศักยภาพ


32

2.3.2 ทฤษฎีและหลกั การท่ีเกี่ยวข้องกับแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่ใช้กับเด็กปฐมวัยมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีที่ว่าด้วย

ธรรมชาติของภาษา ดงั ที่ บบุ บง ตันติวงศ์ (2555: 4) กลา่ วไว้ดังน้ี
ทฤษฎวี า่ ดว้ ยระบบภาษา
ภาษาประกอบด้วย 3 ระบบ คือ ระบบความหมาย ระบบไวยากรณ์ และระบบเสียง

หัวใจ ของภาษา คือ ความหมาย ไวยากรณ์ และเสียงเป็นเพียงส่วนประกอบ สถานการณ์กำหนดคำ
ซึ่งกำหนดความหมายในการสื่อสารอีกทีหนึ่ง เด็กจะไม่พยายามอ่านและเขียนด้วยการสะกดคำไปที
ละตัวแต่เขาจะคิดหาคำที่สื่อความหมายได้เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้น ด้วยเหตุน้ีจึงไม่
จำเปน็ ตอ้ งรจู้ ักเสียงของตัวอักษรก่อน จงึ จะสามารถสือ่ ความหมายโดยการอา่ นเขยี นได้ เน่ืองจากการ
อ่านเพื่อสื่อความหมายเป็นกระบวนการที่กำหนดโดยสถานการณ์ การสอนอ่านเขียนสำหรับเด็ก
ปฐมวยั จงึ ไม่ควรแยกออกเป็นทักษะเดี่ยว ๆ หลาย ๆ ทกั ษะ แตค่ วรให้เดก็ ได้สำรวจสิ่งตา่ ง ๆ รอบตัว
และใช้กระบวนการอา่ นเขยี นเพ่ือศึกษาสง่ิ ท่เี ขาสำรวจ ครจู ะสอนทักษะเฉพาะ ทีจ่ ำเป็นต่อการสือ่ สาร
ในชีวิตประจำวันของเด็ก และถ้าเด็กไม่ต้องการเรียน ครูจะไม่บังคับ เพราะการบังคับทำให้เกิด
ทัศนคติที่ไม่ดีต่อการอ่านเขียน และจะสกัดกั้นความงอกงามของเด็ก เมื่อเขาโตขึ้นและพร้อมที่จะ
เรียนอา่ นเขียน ในช้ันประถมศึกษาครูมีหนา้ ทใ่ี นการแนะนำใหเ้ ข้าใจ ภาษาในสถานการณ์ตา่ ง ๆ ท่ีเขา
ประสบในชีวิตประจำวัน เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาในหลาย ๆ สถานการณ์ เด็กจะได้ทดสอบ
ความสามารถในการตัดสินใจของตนโดยเสี่ยงกับความล้มเหลวน้อยมาก เพราะเขาสามารถแก้ไข
ข้อบกพร่องของตนไดเ้ สมอ โดยจะได้ทัง้ ประสบการณแ์ ละทัศนคติที่ดีต่อภาษาไปพร้อม ๆ กัน ครูต้อง
ระวังอย่างย่ิงทีจ่ ะไม่ตัดสินใจแทนเด็กเพยี งเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด ในการอ่านเขียน นอกจากนี้ครูยัง
มีหน้าที่ในการจัดสภาพแวดล้อมที่สร้างประสบการณ์ทางภาษา เชิญชวนให้เด็กเรียนรู้ภาษาจาก
ประสบการณน์ ้ันและสนับสนนุ ใหเ้ ขาสื่อสารแลกเปลย่ี นประสบการณ์กับผู้อ่ืน

ทฤษฎวี า่ ด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์ส่ือสาร
ภาษาเป็นสัญลักษณ์สื่อสารที่ไม่สามารถถ่ายทอดความคิดทุกเรื่องได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สัญลักษณ์ที่ใช้ต้องเหมาะกับเรื่องที่ด้องการสื่อสาร เด็กต้องคิดสัญลักษณ์เพื่อสื่อ
ความคิดและถ่ายทอด ประสบการณ์ต่าง ๆ สัญลักษณ์ที่สามารถสื่อความหมายได้มีหลายรูปแบบ
ได้แก่ ภาษา ศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกาย ละคร และคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์อ่าน
เขียน ตามแนวการสอน แบบภาษาธรรมชาติจึงรวมเอาศลิ ปะ ดนตรี และละครเป็นส่วนสำคญั ในการ
เรียนการสอน เพราะสิ่งเหล่านีจ้ ะกระตุ้นให้เด็กค้นหาสญั ลกั ษณ์ที่เหมาะสมสำหรบั ส่ือความคิดในแต่
ละเรื่อง เด็กจะไม่ถูกจำกัดให้ถ่ายทอดความคิดเป็นเพียงภาษาเท่าน้ัน ศิลปะและละครเป็นสญั ลักษณ์
สื่อสาร ที่เด็กใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าสัญลักษณ์ภาษา จากทฤษฎีว่าด้วยภ าษา ความคิด


33

และสัญลักษณ์พบว่า ถ้าเด็กไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาเขียนจะเปลี่ยนเป็นวาดภาพแทน ศิลปะ
สามารถช่วยให้เด็กรวบรวมความคิดก่อนจะเขียนและช่วยใหเ้ ด็กทำงานต่อไปทั้ง ๆ ที่ความคิดในการ
เขียน หยุดชะงัก การแสดงละครช่วยให้เด็กเข้าใจความรู้สึกในเรื่องและทำให้คุณภาพการเขียนดีข้ึน
ดนตรีช่วยสร้างอารมณ์สำหรับเรื่องที่จะอ่านเขียน อุปกรณ์ดนตรีและศิลปะหลายอย่างสามารถใช้
ประกอบกิจกรรมอ่านเขียนได้ เด็กอาจทำอุปกรณ์ดนตรี และศิลปะสำหรับกิจกรรมอ่านเขียน ในมุม
เขียนจะมเี ครื่องเขียนหลายชนิดใหเ้ ดก็ ทดลองใชว้ ิธีต่าง ๆ ทจี่ ะชว่ ยให้สามารถส่อื ความหมายไดด้ ีท่ีสดุ

ทฤษฎวี า่ ดว้ ยการอ่านเขยี นในระบบภาษา
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับพัฒนาการในการอ่านการเขียนว่า ทุกคนต้องสะสม
ประสบการณ์ทางภาษาไว้เป็นข้อมูลสำหรับใช้ต่อไป ประสบการณ์จากภาษาพูดเป็นข้อมูลสำหรับ
ภาษาเขียนและประสบการณ์จากภาษาเขียนเป็นข้อมูลสำหรับภาษาพูด ความก้าวหน้าในการใช้
ภาษาไม่ว่าในด้านใดต้องอาศัยองค์ประกอบทางภาษาหลายด้าน การทเี่ ดก็ เขยี นเลา่ ประสบการณ์ ท้ัง
ๆ ที่ยังไม่รู้จักคำและต้องให้เด็กได้เห็นว่าเสียงที่เขารู้จักนั้นมีสัญลักษณ์ตัวอักษรแทนได้ เด็กจะเร่ิม
เข้าใจในการสอื่ ความหมายกับผ้อู น่ื เขาตอ้ งใช้อักษรที่มที ้ังรปู และเสยี งแทนความหมาย รปู เสียง และ
ความหมายท่ีเขาใชต้ ้องสอดคล้องกันในสายตาผู้อ่ืน มฉิ ะน้ันสิ่งทีเ่ ขาเขียนจะไมส่ ่ือความหมาย ในจุดน้ี
เองที่ทำให้เด็กต้องพยายามจำแนกและจดจำรูปตัวอักษรที่เขาเห็นรอบ ๆ ตัว ไปพร้อม ๆ กับจำแนก
และจดจำเสียงตัวอักษร เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยเรียน เขาก็มีประสบการณ์ ทางภาษาพร้อมที่จะจำแนก
เสียง และรูปของตัวอักษรได้อย่างมีระบบมากขึ้น เนื่องจากการอ่านเขียนเป็นกิจกรรมที่ต้องสื่อ
ความหมายกับผู้อื่น การคุยกับครแู ละเพื่อนเกีย่ วกับเรื่องทีอ่ ่านและเขียน ไม่ว่าก่อนจะเร่ิมเรื่อง กลาง
เรื่อง หรือหลังเรื่องจะช่วยให้เดก็ เหน็ การตีความลักษณะต่าง ๆ ตามความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งจะช่วย
ให้เขาเข้าใจความหมายของเรื่องมากข้ึน การตีความเป็นประสบการณ์จากการอ่านช่วยในการตีความ
เมื่อเด็กอ่าน การอ่านเขียนเป็นประสบการณ์ท่ีใช้เวลานานและต้องอาศัยสะสมประสบการณ์ อันเป็น
ระบบที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน สรุปได้ว่าทฤษฎีการอ่านเขียนในระบบภาษานั้นเชื่อว่า เด็กเรียนรู้
ภาษาพูดและภาษาเขียนจากการลองผิดลองถูกในการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและ
ประสบการณก์ ารอา่ นเขียน
จากทฤษฎที เ่ี ปน็ พ้ืนฐานดังกล่าวข้องต้น ยงั มแี นวความคดิ ของนักจิตวทิ ยาและนักการ
ศึกษาที่อธิบายเรื่องธรรมชาติของภาษาและการเรียนรู้ของเด็กในแง่มุมท่ีมีรายละเอียดต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
จอห์น ดวิ อี (Dewey, 1943 อ้างถึงใน อำพร ศรหี ิรญั , 2560) กล่าววา่ เดก็ เรียนรู้จาก
ประสบการณ์ จากการกระทำ และหลกั สตู รควรจะบรู ณาการให้เห็นความสมั พันธซ์ งึ่ กนั และกนั


34

เพียเจท์ (Piaget, 1955 อ้างถึงใน อารี สัณหฉวี, 2557) มีอิทธิพลต่อการสอนภาษา
แบบธรรมชาติ เพราะเพยี เจท์ (Piaget) กลา่ ววา่ เดก็ จะเรียนร้จู ากกิจกรรมการเคล่ือนไหวของตนเอง
และการได้สัมผัสกับสิ่งของภายนอก เด็กคิดสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นภายในตนหรืออีกนัยหนึ่งเด็ก ต้อง
เป็นผ้กู ระทำ (Active) ในการเรยี นรู้ ในการคดิ การเรยี นมิใช่เปน็ ส่งิ ท่ีรบั เข้าเฉย ๆ (Passive) ซึ่งในการ
อ่านและการเขียน เด็กจะสร้างกระบวนการอ่านและเขียนด้วยลักษณะเดียวกับที่เรียนรู้สิ่งอื่น ผ่าน
การทดลองปฏิสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทางภาษาของเด็ก (พัชรี ผลโยธิน, 2557) และ
เด็กต้องการสิ่งแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้เด็กสร้างกฎระบบเสียง ระบบคำ ระบบประโยค และ
ความหมายของภาษาดว้ ยตนเอง

ไวกอดสกี (Vygotsky, 1978) กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นการได้รับอิทธิพล
ของบุคคลและสังคมมผี ลตอ่ การเรียนรู้ของเด็ก ถงึ แม้เด็กจะต้องรบั ผดิ ชอบในการคดิ สรา้ งโครงความรู้
ความคดิ ของตนและบคุ คลอืน่ เช่น เพื่อนและครมู คี วามสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก อนึง่ กจิ กรรม อื่น
ๆ เช่น การพดู การสนทนา การวาด การเขียน การอ่าน ตลอดจนการเล่นชว่ ยในการเรียนรู้ ภาษาของ
เดก็ เพราะกจิ กรรมเหล่าน้ีเป็นการใชส้ ัญลักษณ์ ซงึ่ การทีเ่ ด็กเรียนรภู้ าษาจากผู้อ่ืนนั้น เด็กจะเรียนรู้ที
ละน้อยโดยการได้รับคำแนะนำจากผู้อื่น จนเด็กสามารถคิดเกิดเป็นความรู้ภายในตนได้ ดังนั้นการ
สอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole language approach) จึงเน้นการให้มีปฏิสัมพันธ์ การสนทนา
โต้ตอบในกลุ่ม ชว่ ยเหลอื สนบั สนนุ ซ่ึงกนั และกัน

กูดแมน (Goodman, 1986) พบว่า การสอนภาษาที่ได้ผลนั้นเด็กจะต้องรู้สึกว่าได้รับ
การยอมรับนับถือเป็นเอกตบุคคล และบรรยากาศของการเรียนมีความเป็นชุมชน หรือชุมชนที่มีการ
ยอมรบั ความคดิ เห็นและชว่ ยเหลือซง่ึ กนั และกัน ทำให้ผ้เู รียนมีความม่ันใจ ปลอดภยั ไม่กลวั ผิด เร่ืองท่ี
เรยี นเปน็ เรื่องทน่ี ่าสนใจสำหรบั เด็ก เพราะฉะน้ันครูจะต้องมีความสามารถในการสังเกตเด็กและสร้าง
หลกั สตู รการสอนจากความสนใจของนักเรียน

3.3.3 การสอนภาษาแบบธรรมชาติใหก้ ับเด็กปฐมวัย
การสอนภาษาแบบธรรมชาติในบริบทของการศึกษาปฐมวัย ได้มีนักการศึกษา

เสนอแนะ แนวทางการนำไปใชส้ ำหรับเด็กปฐมวัย ดงั น้ี
อำพร ศรีหิรัญ (2560: 65 - 66) ได้กล่าวถึงการสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียน

อนบุ าล ดงั น้ี
กิจกรรมการเรยี นการสอน
1. กจิ กรรมส่งเสริมการอา่ นและใหค้ ุน้ เคยกับตวั หนังสอื ได้แก่
- ครูอา่ นหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การอ่านอาจนำเลม่ เลา่ มาอ่านให้ฟัง ถ้าเด็กขอร้อง

อาจจะอ่านในช่วงเล่นเสรี 4 - 5 คน ก็ได้


35

- หนังสือที่อ่านถ้านำมาจากห้องสมุด เมื่ออ่านเสร็จควรนำไปไว้ในห้องสมุด เพ่ือ
เด็ก จะได้ตามไปอ่าน

- ครสู นทนาอภปิ รายเกย่ี วกบั หนงั สือกบั เด็ก ให้เดก็ ไดค้ ดิ พูดออกความคดิ เหน็
- ตามมุมตา่ ง ๆ ของห้องเรยี น ครคู วรหาของจรงิ ทีม่ ีตัวหนงั สือมาวางใหเ้ ด็กเลน่
2. กิจกรรมการเล่นเสรี การเล่นเสรีหรือศูนย์ต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งในการสอนภาษา
แบบธรรมชาติ เพราะทุกวัน เด็กมีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะเลือกกิจกรรมมุมใด และในแต่ละ
มุมจะมีวัสดุอุปกรณ์สง่ เสริม ภาษา เช่น มุมบ้าน ครูเพิ่มส่ิงของเครื่องใชใ้ นบ้านใหม้ ีของที่มีตัวหนงั สอื
มุมบลอ็ ค ครจู ะหาสงิ่ ทีม่ ีตวั หนังสือมาประกอบการเล่นบล็อค และสรา้ งเร่อื งราว มมุ วิทยาศาสตร์ ครู
อาจเขยี นบัตรคำ บอกช่ือสิง่ ตา่ ง ๆ ไว้มุมหอ้ งสมุดจัดให้มบี รรยากาศสบาย ๆ มมี ุมเขยี นอยู่ใกล้ ๆ มุม
คณิตศาสตร์ จัดให้มีตัวเลข ตัวหนังสือท่ีของเล่น เป็นต้น การเล่นเสรีของเด็กนี้เป็นโอกาสที่ครูจะได้
สงั เกตเด็ก และสนทนาซกั ถามเดก็ ได้ทลี ะคน พยายามชักชวนให้เดก็ ทำกิจกรรมหลากหลาย
3. การสอนเป็นหน่วยบูรณาการ การสอนภาษาแบบธรรมชาติ จะใชว้ ธิ ีสอนเป็นหน่วย
บรู ณาการ เพื่อให้ประสบการณ์ ท่ีมีความหมายกับเด็ก เพราะได้เหน็ ความสมั พันธ์ ตวั อยา่ งเช่น “การ
เจริญเติบโตของพืช” แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการเนื้อหาในหน่วยการเรียน ประกอบด้วยกิจกรรม
ดังนี้
- กิจกรรมหาความรู้ เช่น การเพาะถั่ว สังเกตการเติบโต วัดความเจริญเติบโตและ
บนั ทกึ แกะเมลด็ ในถั่วดู อภิปราย ศกึ ษาตน้ ไมน้ อกสถานที่ ฯลฯ
- กิจกรรมครูอ่านหนังสือให้ฟัง เช่น อ่านนิทานเรื่อง “หัวผักกาดยักษ์” แล้ว
เปรยี บเทยี บ วิธกี ารปรงุ หัวผกั กาดเปน็ อาหารแบบตา่ ง ๆ ฯลฯ
- กิจกรรมที่ทำแล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง เช่น เด็กไปทดลองเพาะพืชที่บ้านแล้วนำมา
เลา่
- กิจกรรมเขียนอ่านร่วมกัน เช่น ช่วยกันทำชาร์ท ว่าพืชต้องการอะไร อ่านบท
กลอนเกีย่ วกับตน้ ไม้ ดอกไม้ ฯลฯ
- กจิ กรรมเขียนตามลำพงั เชน่ วาดหรือเขยี นเรื่องเกยี่ วกบั พืช และการปลูกตน้ ไม้
- กิจกรรมอา่ นตามลำพงั เช่น อ่านหนังสือเกย่ี วกบั ต้นไม้ในมุมหอ้ งสมุด
- กิจกรรมดนตรแี ละจงั หวะ เชน่ ร้องเพลงและแสดงทา่ ทางเกีย่ วกับพชื
- กจิ กรรมศิลปะ เช่น ปั้น วาด เก่ยี วกบั พชื
- กจิ กรรมคณติ ศาสตร์ เช่น เปรยี บเทยี บการเตบิ โตของพืช ฯลฯ
- กจิ กรรมการเล่นกลางแจง้ เช่น เล่น “ขายดอกไม”้
จะเห็นว่าการสอนภาษาแบบธรรมชาติมีทั้งส่วนที่เด็กเรียนรู้โดยอิสระตามความสนใจ
ของเด็กเอง และมที งั้ สว่ นที่ครูเสนอแนะการใชภ้ าษาทีบ่ ูรณาการกับหนว่ ยการเรยี น


36

การจดั สภาพแวดลอ้ ม
การจัดสภาพแวดล้อมในหอ้ งเรียน เป็นส่วนหน่ึงที่สะท้อนความเชือ่ หรือปรัชญาของผู้
จดั ท้ังน้ตี อ้ งเป็นสภาพแวดลอ้ มทีส่ ามารถสง่ เสริมการเรียนภาษาของเด็ก สรปุ ได้ดงั นี้
1. สภาพแวดล้อมทางภายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม
ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยมีมุมที่เด่นชัด คือ มุมห้องสมุด มุมอ่าน มุมเขียน ส่วนมุมอื่น ๆ ที่อาจจัดไว้
ได้แก่ มุมบทบาทสมมุติ มุมบล็อกมุมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอ้ือต่อการเรียน
ภาษาได้ โดยจัดใหม้ ีป้ายสัญลกั ษณ์หรือเครอ่ื งหมายต่าง ๆ ที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุ
อุปกรณ์ ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของ
เด็ก
2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ จะมี
บรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรม
เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็ก ๆ สนใจที่จะอ่านและเขียนจากความเข้าใจ และประสบการณ์ทั้งน้ี
จะตอ้ งเป็นห้องเรียนที่เดก็ ได้เรยี นรู้ อย่างมีความสุข

บทบาทครู
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ เน้นการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยมีการคิดเป็นแกนสำคญั
ซึ่งการเรียนการสอนจะเป็นลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ซึ่งครูจะต้องปรับบทบาท
ดังนี้
1. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ครูจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัด
สภาพแวดล้อม การจัดหา จัดซื้อ และใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประสบการณ์ของ
เด็ก และตัดสินใจเกี่ยวกับบริบทของการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ การให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม การ
สนบั สนุนให้เดก็ แสดงความคิดเห็น การให้โอกาสเดก็ ในการสร้างความหมายจากการอา่ นเขียน โดยให้
เดก็ ไดเ้ ป็นผเู้ รียนอยา่ งกระตือรือรน้ การสนับสนนุ ใหท้ ดลองอา่ นเขยี น และตรวจสอบดว้ ยตนเอง และ
การตอบสนองในทางบวก ซงึ่ ปฏสิ ัมพันธ์ระหว่างครูกับเดก็ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรยี นรู้ของเด็ก
2. ครูเป็นแบบอย่าง ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กเป็นการเลียนแบบ และมาจากการมี
ปฏิสัมพันธ์ ดังนั้นครูจึงสามารถเป็นแบบอย่างให้แก่เด็ก 2 ทางด้วยกัน คือ ครูเป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม
ต่าง ๆ ที่แสดงให้เด็ก เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการรู้หนังสือในชีวิตประจำวันของผู้ใหญ่ และครู
เป็นผู้สาธิต แสดงแบบอย่างการใช้ภาษาหลาย ๆ ลักษณะ เช่น ขณะอ่านหนังสือเล่มใหญ่ เล่านิทาน
ช่วงเวลาการอา่ นเงียบ ๆ ตามลำพัง การอา่ นจากบริบทการเรียนรู้จรงิ การเขียนรว่ มกนั การเช่ือมโยง
ระหว่างการเขียน และการอ่าน จากการสังเกตและมีประสบการณ์เป็นนกั อ่าน นักเขียนของเด็ก เด็ก
จะสามารถสังเกต องค์ประกอบของทกั ษะการรู้หนงั สือ และรวมเข้าด้วยกนั เป็นองค์รวม


37

3. ครูเป็นผู้จัดการ ครูจะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในห้องเรียนอย่างมี
ประสิทธิภาพ ควรให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือและทำงานร่วมกัน ครูก็เป็นผู้ร่วมเรียนรู้ และเป็นผู้มี
ส่วนรว่ ม อย่างกระตือรือรน้ เช่นกัน นอกจากนีค้ วรให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้ปกครองและชุมชน
ที่มตี อ่ การเรยี นรู้ของเด็ก

4. ครเู ปน็ ผู้ประเมนิ ครูเปน็ ผปู้ ระเมินพฒั นาการเด็ก เป็นผูเ้ กบ็ รวบรวมหลักฐานงานท่ี
แสดงการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งครูจะต้องทราบว่าเด็กอยู่ในระดับใด ประสบการณ์เดิมและสิ่งที่เขารู้แลว้
และเด็กจะก้าวหน้าไประดับใด ครูจะช่วยให้เด็กพัฒนาไปได้อย่างไร สิ่งสำคัญของการประเมิน คือ
เพอ่ื ส่งเสรมิ เดก็ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม

บทบาทเดก็
ในห้องเรียนทส่ี อนภาษาแบบธรรมชาติ เดก็ จะมีบทบาท ดงั นี้
1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เด็กได้เรียนรู้
เกี่ยวกบั การอา่ นและการเขียน ดว้ ยการอ่านและการเขียนอย่างมคี วามหมายจรงิ ๆ
2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจ
เลือก ทำกจิ กรรมทตี่ รงกบั ความต้องการและใช้ในชีวติ จรงิ ของเด็ก และการประเมนิ ผลงานของตัวเอง
3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้
ซงึ่ กนั และกัน เด็กไดเ้ รยี นรแู้ บบรว่ มมือมากขน้ึ

2.4 ความสามารถในการอา่ น
2.4.1 ความหมายของการอ่านเพอ่ื ความเข้าใจ
การอา่ น คอื ความสามารถของแต่ละบุคคลในการเข้าใจถึงรปู แบบซึ่งเกีย่ วข้องกับส่ิงท่ี

ได้ เรียนรู้ในอดีต ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม ความเข้าใจในการตีความของความหมาย ดังที่ นันทิ
ยา แสงสิน (2560: 4) ไดใ้ หค้ วามหมายของการอ่านวา่ การอ่าน คอื กระบวนการทางความคดิ ท่ีผู้อ่าน
พยายามสร้างความหมายจากข้อความที่ผู้เขียนพยายามสื่อความหมายในงานเขียน ซึ่งผู้อ่านต้องใช้
ความรู้ความสามารถทางด้านภาษา ประสบการณ์ และลักษณะของข้อเขียนเพื่อใหเ้ ข้าใจ ความหมาย
ตามท่ผี ้เู ขียนตอ้ งการสว่ นแมน้ มาส ชวลิต (2559: 17) กลา่ วว่า การอ่านเป็นกระบวนการทางสมองใน
การรับสาร ซึ่งแสดงออกด้วยถอ้ ยคำที่เขียนลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยใช้อวัยวะสำหรับรับสารคือ
ตา เมื่อสมองรับภาพลักษณ์หรืออักษรมาแล้ว สมองก็จะจดไว้ในหน่วยความจำทันที และบอกให้ได้
ทันทีวา่ รู้หรือไม่รู้ อตั ราความเรว็ ของกระบวนการในการรบั สารจะแตกต่างกันขึน้ อยู่กับความรู้พื้นฐาน
เดิมของผู้อ่าน นอกจากนี้ ภัทธิรา พัจนสุนทร (2558: 15) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า การอ่าน
คือ การแปลความหมายตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ และฝึกจนสามารถเข้าใจสิ่งที่อ่านได้ดีข้ึน และมณี


38

รตั น์ สดุ โชตริ ตั น์ (2559: 18) กล่าวว่า การอา่ น หมายถึงกระบวนการท่ีผูอ้ ่านรับขา่ วสารซ่งึ เป็นความรู้
ความคิด ความรู้สึก และความคิดเห็นที่เขียน ถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร การที่ผู้อ่านจะ
เข้าใจสารมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความสามารถในการใช้ความคิดซึ่งสอดคล้อง
กับ สมุทร เซ็นเชาวนิช (2562: 1) ที่ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า การอา่ น คอื การส่ือความหมาย
ระหวา่ งผ้เู ขยี นกบั ผอู้ า่ น ผเู้ ขียนพูดผ้อู ่าน แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบ และอาจโตต้ อบกบั ผ้อู ่ืนด้วย

2.4.2 ความเขา้ ใจในการอา่ น
ความเข้าใจในการอ่านเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการอ่าน เพราะว่าเป็นจุดประสงค์

เบื้องต้นของการอ่านทั่ว ๆ ไป อ่านแล้วนำไปสัมพันธ์กับความรู้เดิม เบื้อทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ จาก
ความหมายของความเขา้ ใจในการอ่าน ไดม้ ีผู้ให้ความหมายเกีย่ วกับความเขา้ ใจในการอา่ นไว้ ดงั นี้

สมุทร เซ็นเชาวนิช (2562: 73 - 74) ได้กล่าวไว้ว่า ความเข้าใจ (Comprehension)
เป็นเรอื่ งท่มี คี วามสมั พนั ธท์ ีเ่ ก่ยี วข้องกับการศึกษา และประสบการณ์หลาย ๆ ดา้ นของแต่ละคน ความ
เข้าใจถือวา่ เป็นองค์ประกอบทสี่ ำคญั อยา่ งยงิ่ ของการอา่ น ถ้าอ่านแลว้ ไมเ่ กิดความเข้าใจกอ็ าจกล่าวว่า
การอ่านที่แท้จริงยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งการอ่านนั้นก็ต้องอาศัยความเข้าใจในการอ่านด้วย ความเข้าใจมี
องค์ประกอบทีส่ ำคัญ ๆ พอสรปุ ไดด้ งั น้ี

1. สามารถจดจำเร่ืองราวสว่ นใหญ่ทไ่ี ดอ้ า่ นมาแลว้ ได้
2. สามารถจับใจความสำคัญ ๆ ได้ สามารถแยกแยะ หรือระบุประเด็นหลักออกจาก
ประเด็น ย่อยที่ไม่จำเป็นหรือไม่สำคัญมากนักได้ สามารถประเมินค่าได้ว่าอะไรบ้างที่ควรสนใจเป็น
พเิ ศษ
3. สามารถตีความเกี่ยวกับเรื่องราวขอ้ คิดเห็นที่อ่านมาแล้วได้ว่ามีนัยสำคัญหรือลึกซง้ึ
มากนอ้ ยเพียงใด
4. สามารถสรุปลงความเห็นจากสิ่งที่ได้อ่านมาแล้วได้อย่างถูกต้อง มีเหตุผล และ
นา่ เชอื่ ถือ
5. สามารถใช้วิจารณญาณของตนพิจารณาไตร่ตรองข้อสรุปหรือการอ้างต่าง ๆ ของ
ผู้เขียนได้อยา่ งถกู ต้อง และเป็นระบบ ไม่สับสน สามารถถ่ายโอนหรือประสมประสานความรู้ท่ีไดจ้ าก
การอ่านกบั ประสบการณ์อื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ

2.4.3 ระดับความเขา้ ใจในการอ่าน
ระดับความสามารถเข้าใจในการอ่านของบุคคลนั้นจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ และ

ความสามารถของการอ่าน ดงั ท่ีมนี ักการศึกษาหลายท่านได้ให้ข้อคิดเห็นเกีย่ วกับระดับความเข้าใจใน
การอ่านไว้ ดงั ตอ่ ไปนี้

Smith (1988) ได้แบง่ ระดบั ของความเขา้ ใจในการอ่านออกเป็น 4 ระดบั คือ


39

1. ระดบั ความเข้าใจความหมายตามตวั อักษร (Literal Comprehension) เปน็ การจบั
ความหมายตรงตามตัวอักษร และข้อความที่ปรากฏโดยไม่ต้องอาศัยการตีความหรืออ่านระหว่าง
บรรทดั

2. ระดับความเข้าใจแบบตีความ (Interpretation) เป็นการเข้าใจความหมายที่ไม่มี
ปรากฎตรงตามตัวอักษร แต่ผู้อ่านต้องพยายามอ่านให้ได้มาซึ่งความหมายที่แฝงอยู่ อันเป็นการอ่าน
ระหว่างบรรทัด และอ่านไปเกินกว่าข้อความในบรรทัด อันประกอบด้วยทักษะย่อยต่าง ๆ เช่น การ
ตีความจากภาพประกอบ การเปรียบเทียบความแตกต่าง และความเหมือน การเรียงลำดับเหตกุ ารณ์
การหาเหตุ และผลการจับใจความสำคัญ การพยากรณ์ การสรปุ ความ การเขา้ ใจลักษณะของตัวละคร
และการเข้าใจจดุ ประสงค์ของผเู้ ขียน

3. ระดับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Reading) ความเข้าใจระดับนี้จะ
เกี่ยวกับการ แยกแยะข้อเท็จจริง วิเคราะห์ และประเมินค่าในสิ่งที่อ่าน ซึ่งใ นการอ่านอย่างมี
วิจารณญาณน้ี ผู้อ่าน จะต้องสามารถเข้าใจความหมายตรงตามตัวอักษร และเข้าใจความหมายท่ีเกดิ
จากการตีความจากนั้น จะต้องเปรียบเทียบความหมายกับประสบการณ์เดิม มีการใช้เกณฑ์เพ่ือ
ประเมินข้อความ และการนำไปสู่การยอมรับหรือไม่ยอมรับ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
ความร้หู รือเจตคติของตนเอง ต่อเรอ่ื งท่อี ่านได้ในที่สุด

4. ระดับการอ่านอย่างสร้างสรรค์ (Creative Reading) การอ่านเพื่อความเข้าใจนั้น
ไม่ได้หยุดเพียงปรับโครงสร้างข้อมูล หรือเจตคติแต่ยังรวมไปถึงการนำความรู้มาใช้ในโอกาสอื่นอย่าง
เหมาะสม ในการเรียนการสอนอ่านนักเรียนอาจไม่ได้นำแนวความคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ใน
ทันทีทันใด เช่น ความซาบซึ้งในอรรถรสของวรรณคดี อาจไม่เกิดขึ้นทันทีจนทำให้นักเรียนไม่
ขวนขวายหาอา่ นต่อ แต่ความซาบซ้ึงอาจเกดิ ขน้ึ เมอ่ื เวลาผา่ นไปหลายปแี ล้ว

Burmeister (1974) ได้แบ่งระดบั ความเข้าใจในการอา่ นไว้ค่อนข้างละเอียด โดยอาศยั
พื้นฐานจาก Norris Sanders ซึ่งดัดแปลงมาจาก Bloom’s taxonomy ซึ่งได้แบ่งระดับความเข้าใจ
เปน็ 7 ระดับ ดงั น้ี

1. ระดับความจำ (Memory) เป็นระดับที่ผู้อ่านสามารถจำในสิ่งที่ผู้เขียนเขียนไว้ได้
เช่น จำได้ในเรื่องราวเกี่ยวกับข้อเท็จจริง วันที่ จำคำจำกัดความใจความสำคัญของเรื่อง คำสั่ง และ
ระดับเหตุการณท์ ่เี กิดขน้ึ ในเร่อื ง เปน็ ต้น

2. ระดบั การแปลความหมาย (Translation) เปน็ ระดบั ความเข้าใจทีผ่ ู้อ่านนำข้อความ
หรอื เร่อื งราวที่ไดอ้ า่ นไปแปลเปน็ รูปอ่นื เช่น การแปลจากภาษาหน่ึงเปน็ อีกภาษาหนึ่ง การให้คำจำกัด
ความการนำใจความไปแปลเป็นรูปแผนภมู ิ เป็นตน้


40

3. ระดบั ตีความ (Interpretation) เป็นระดับความเข้าใจท่ีผู้อ่านสามารถเข้าใจในสิ่งที่
ผเู้ ขยี น มิได้เขยี นไว้โดยตรง เชน่ หาสาเหตุเม่ือกำหนดผลมาให้ หรือให้สาเหตุมาแล้วสามารถหาผลได้
การคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณท์ ่จี ะเกดิ ขน้ึ การจบั ใจความสำคัญของเร่ือง เป็นตน้

4. ระดับการประยุกต์ใช้ (Application) เป็นระดับที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจในหลักการ
และ นำไปประยกุ ต์ใชจ้ นประสบความสำเรจ็

5. ระดับการวิเคราะห์ (Analysis ) เป็นระดับความเข้าใจท่ีผู้อ่านสามารถแยกแยะ
ส่วนยอ่ ยทส่ี ำคญั เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การวเิ คราะหโ์ ฆษณา การวิเคราะห์คำประพันธ์ การเข้าถึงความ
ให้สมเหตุสมผลของเรอ่ื งทเ่ี ขียน ตลอดจนการลงความเหน็ ในเร่อื งที่อา่ นได้

6. ระดับการสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นการนำเอาความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านมา
รวบรวม และจดั เรียงใหม่

7. ระดับการประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการกำหนดเกณฑ์ และ
ตดั สนิ เร่ืองทอ่ี ่านโดยอาศยั เกณฑ์จากประสบการณ์ของตนเอง

จากการแบ่งระดับความเขา้ ใจในการอ่านของนักการศกึ ษาดังที่ได้กล่าวมาแล้วขา้ งต้น
นั้น จะเห็นว่า ระดับความเข้าใจในการอ่านนั้นมีหลายระดับ คือ ระดับความจำซึ่งเป็นความเข้าใจใน
ระดับต้น ระดับการแปลความหมาย ระดับตีความ ระดับการนำไปประยุกต์ใช้ ระดับการคิดวิเคราะห์
ระดับการสังเคราะห์ และระดับการประเมินผลซึ่งเป็นระดับที่ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่านได้อย่างดี
ทีส่ ดุ

2.4.4 ปัจจยั ที่มีอิทธพิ ลต่อการอ่านเพื่อความเขา้ ใจ
การที่ผู้อ่านสามารถอ่านด้วยความเข้าใจตรงตามที่ผู้เขียนต้องสื่อความหมายนั้นต้อง

อาศยั ปัจจยั ต่าง ๆ ชว่ ย ซ่ึงปัจจยั ทมี่ ีอทิ ธพิ ลต่อการอา่ นเพอื่ ความเข้าใจ ไวด้ ังน้ี
ปจั จัยภายในท่ีมอี ทิ ธิพลต่อการอ่านเพ่ือความเข้าใจ ได้แก่
1. ความรู้ทางภาษา (Linguistic Knowledge) โดยผู้อ่านจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ

ภาษาระดับ คือ เสียง คำ ความหมาย และโครงสร้าง ซึ่งในระยะเริ่มเรียนผู้เรียนจะเรียนรู้
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษร และความหมายของคำแต่ละคำ การนำคำเรียงประโยค เมื่อมี
ประสบการณ์ในการอา่ นมากขน้ึ ผเู้ รยี นจะสามารถอา่ นด้วยความเข้าใจมากขึน้

2. ความสนใจและแรงจูงใจ (Interest and Motivation) ความสนใจเป็นปัจจัยท่ี
สำคญั ท่ีชว่ ยใหเ้ กิดความเขา้ ใจในสิ่งที่อ่าน นกั เรียนจะเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ทอ่ี ่านได้ดีขึ้น ถ้านักเรียน
มีความสนใจเรื่องนั้น ๆ ดังนั้น ในการช่วยนักเรียนพัฒนาการอ่านด้วยความเข้าใจ ครูสามารถสร้าง
ความสนใจ โดยใช้สื่อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรื่องที่อ่านด้วยความเข้าใจ สำหรับด้าน


41

แรงจูงใจนั้นจะเกิดจากความสนใจ ผู้สอนสามารถสร้างแรงจูงใจในการอ่านให้กับผู้เรียนโดยการใช้สิ่ง
เรา้ ใหก้ ำลังใจ เสนอผลสะท้อนกลบั เพือ่ ใหผ้ ้เู รยี นเกดิ เจตคตทิ ่ดี ีตอ่ การอ่าน

3. ความสามารถในการอ่านและการตีความ (Ability to read and to interpret)
เป็นความสามารถในการอ่านที่เข้าใจความหมายของข้อความได้อย่างรวดเร็ว สามารถที่จะใช้การรู้
ความหมายของคำ ช่วยตีความในส่วนอื่น ๆ ที่ไม่รู้ เข้าใจวิธีการเรียบเรียงเนื้อหา และความสัมพันธ์
ระหวา่ งประโยคตา่ ง ๆ

4. ความสามารถในการวเิ คราะห์โครงสรา้ งของเนื้อหา (Textschema) เนื้อเรื่อง หรือ
บท อ่านแต่ละชิ้นมีลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเชื่อ และวัฒนธรรมของ
ผู้เขียน ถ้าเนื้อเรื่องเสนอเรื่องราวแตกต่างไป จากวัฒนธรรม และประสบการณ์ของผู้อ่าน การอ่านก็
อาจไม่ประสบความสำเร็จได้

ปัจจยั ภายนอกที่มีอทิ ธิพลตอ่ การอ่านดว้ ยความเข้าใจ ไดแ้ ก่
1. เนื้อเรื่องหรือข้อเขียน ผู้อ่านจะไม่เข้าใจเนื้อเรื่องที่มีเนื้อเรื่องไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ใน
กรณที ี่ ผอู้ ่านมคี วามรพู้ ้นื ฐานเกีย่ วกบั เนอื้ เรอื่ งนัน้ มาก่อน
2. สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางบ้านเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อ
การอ่าน ครอบครัวที่มีความพร้อมมีการเตรียมตัวเด็กล่วงหน้าในด้านภาษา และความคิดต่าง ๆ จะ
สง่ ผลต่อความสามารถในการอา่ นเมื่อเข้าเรียนในโรงเรยี น
3. สภาพแวดลอ้ มทางโรงเรียน ประกอบด้วย ครู เพื่อน และสภาพห้องเรียน ครูเป็นผู้
มี บทบาทช่วยพัฒนาการอ่านด้วยความเข้าใจของนักเรียนได้ โดยการสร้างบรรยากาศในการเรียน
การสอน การเตรียมความพร้อมของนักเรียนก่อนการอ่าน การเลือกใช้แบบเรียนเหมาะสมกับ
ความสามารถของนกั เรยี น ตลอดจนการเลอื กใช้คำถามตา่ ง ๆ เหมาะสมกับระดบั ของนักเรียน สำหรบั
กลุ่มเพื่อนก็มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจเช่นกัน กลุ่มเพื่อนที่มีการแข่งขันจะช่วย
กระตุ้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ครูอาจฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันได้ โดยให้นักเรียนมี
ความสามารถในการอ่านสูงช่วยนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านในด้านสภาพห้องเรียนทมี่ ีความพร้อมใน
ด้านแหลง่ ค้นควา้ และมบี รรยากาศท่ดี ี จะชว่ ยกระตุน้ ให้นักเรียนคน้ คว้า และรักการอ่านได้

2.5 งานวิจัยทเ่ี กี่ยวข้อง
นภวรรณ พันธุ์เสือ (2561: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจากภาพเพื่อ

ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุด
กิจกรรมการอ่านจากภาพเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย เท่ากับ
91.13/91.35 2) มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาหลังใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมี


42

นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านจากภาพเพื่อ
สง่ เสริมพัฒนาการทางดา้ นสติปัญญา ในภาพรวมอยใู่ นระดบั มาก

รัตนา แขวงกรุง (2564: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะภาษาไทยโดยการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะ
การพูดและทักษะการฟังหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสูงกว่าก่อนการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัด
ประสบการณ์การเรียนรูโ้ ดยใชส้ มองเป็นฐาน โดยภาพรวมอยใู่ นระดับมาก

สุพัตรา คงพินิจ (2564: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการจัดประสบการณ์โดยการใช้บัตรภาพในการ
พัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาด้านการอ่าน
บัตรภาพ สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมร่วมกันคิดเป็นรอ้ ยละ 33 2) เด็กปฐมวัยมีความสนใจในการ
อ่านหลังการจัดกิจกรรมการอ่านบัตรภาพร่วมกันสูงขึ้น กว่าก่อนการจัดกิจกรรมการอ่านบัตร ภาพ
ร่วมกนั คดิ เป็นร้อยละ 44.76 3) แนวโน้มทักษะทางภาษาดา้ นการอ่านบัตรภาพของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ 4) แนวโน้มความสนใจในการอ่านของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องทุก
สปั ดาห์


บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวจิ ยั

การวจิ ัยเรอ่ื ง การส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นอนบุ าล 2 โดยใช้ชดุ แบบฝึก
การอา่ น ผู้วจิ ยั ไดด้ ำเนนิ การตามข้นั ตอนดังนี้

1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตวั อย่าง
2. เคร่อื งมือทใี่ ช้ในการวจิ ยั
3. การสร้างและหาคุณภาพของเคร่ืองมือ
4. การเก็บรวบรวมขอ้ มูล
5. การวเิ คราะหข์ ้อมลู
6. สถิตทิ ีใ่ ช้ในการวจิ ัย

3.1 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรทใี่ ช้ในการศึกษาวจิ ัยครงั้ นีเ้ ปน็ เด็กปฐมวัย ชาย - หญงิ อายุ 4 - 5 ปี ท่ีกำลังศึกษา

อยูใ่ นชน้ั อนุบาล 2 ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน
การเลือกกล่มุ ตวั อยา่ ง
กลุ่มตวั อย่างท่ีใช้ในการวิจัยครั้งน้ี คือเดก็ ปฐมวัย ชาย - หญงิ อายุ 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่

ในชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนบา้ นคุยนางขาว จำนวน 24 คน ได้มา
โดยวธิ ีการเลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

3.2 เครอ่ื งมือท่ใี ช้ในการวจิ ยั
1. แผนการจัดกจิ กรรมโดยใชช้ ดุ แบบฝกึ การอ่าน
2. แบบประเมนิ การอ่านสะกดคำสำหรบั เด็กปฐมวัย

3.3 การสรา้ งและหาคุณภาพของเคร่อื งมือ
1. แผนการจดั กิจกรรมโดยใช้ชดุ แบบฝกึ การอา่ น ดำเนินการตามลำดบั ข้ัน ดังต่อไปนี้
1.1 ศึกษาเอกสารหลกั สูตรการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศักราช 2560
1.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยทีเ่ กย่ี วข้องกับการจัดกิจกรรมโดยใชช้ ดุ แบบฝึกการอ่าน
1.3 ดำเนินการสรา้ งชดุ แบบฝึกการอา่ นท่ีมเี น้ือหาสอดคล้อง กบั แผนการจดั ประสบการณ์


44

1.4 สร้างแผนการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดแบบฝึกการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมี
รายละเอียดดังน้ี

1.4.1 ชื่อกิจกรรม
1.4.2 สาระสำคญั
1.4.3 จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้
1.4.4 สาระการเรยี นรู้
1.4.5 การดำเนนิ กิจกรรม
1.4.6 สอื่ การสอน
1.4.7 การประเมินผล
1.4.8 บันทกึ ผลหลงั การทำกจิ กรรม
1.5 นำแผนการจัดกิจกรรมทีไ่ ดไ้ ปใช้กับกล่มุ ตวั อยา่ ง
2. แบบประเมนิ การอา่ นสะกดคำสำหรับเด็กปฐมวัย ดำเนินการตามลำดับข้ัน ดังต่อไปนี้
2.1 ขั้นตอนในการสร้างแบบประเมินการอ่านสะกดคำสำหรับเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้
ดำเนินการสรา้ งแบบประเมินการอ่านสะกดคำสำหรับเด็กปฐมวัย มีขั้นตอนในการสรา้ ง ดังน้ี
1.2.1 ศกึ ษาเอกสารและงานวจิ ยั ท่ีเกี่ยวข้องกับการอา่ นสะกดคำสำหรบั เดก็ ปฐมวยั
1.2.2 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการสร้างแบบประเมินการอ่านสะกดคำสำหรับเด็ก
ปฐมวัย
1.2.3 สร้างแบบประเมนิ การอา่ นสะกดคำสำหรบั เดก็ ปฐมวัย ท่ผี ้วู ิจัยสร้างขึ้น
1.2.4 การหาค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต โดยการนำแบบประเมินการอ่านสะกดคำ
สำหรบั เดก็ ปฐมวัยไปใช้กบั กลมุ่ ตัวอย่าง จำนวน 24 คน

3.4 การเกบ็ รวบรวมข้อมลู
3.4.1 แบบแผนการทดลอง
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง (One Group Pretest -

Posttest Design) ซึง่ มีลักษณะการทดลองดงั ตารางต่อไปน้ี

ตาราง 3.1 แบบแผนการทดลอง Treatment Post-test
กลมุ่ Pre-test X T2
N T1


Click to View FlipBook Version