The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติของชุมชนบ้านเกาะปู

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติของชุมชนบ้านเกาะปู

การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติของชุมชนบ้านเกาะปู

0

การทำผ้ามดั ยอ้ มจากสธี รรมชาติ (Best Practice) ของศนู ยก์ ารเรยี นชุมชนบา้ นเกาะจำ

แนวทางปฎบิ ตั ทิ ดี่ ี (Best Practice )

การทำผา้ มัดยอ้ มจากสธี รรมชาติของชุมชนบ้านเกาะปู
ณ แหล่งเรียนร้กู ารทำผ้ามดั ย้อมจากสีธรรมชาติ ตำบลเกาะศรบี อยา

ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยอำเภอเหนือคลอง
สำนกั งานส่งเสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั จงั หวดั กระบี่



การทำผ้ามัดยอ้ มจากสธี รรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวธิ กี ารปฏิบัตทิ เี่ ปน็ เลศิ

คำนำ

การจัดทำนวัตกรรมหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ขึ้นในครั้งนี้ เป็นการสรุป
และรวบรวมสาระสำคัญในการดำเนินงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ
ทรัพยากรมนุษย์ โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน กิจกรรมส่งเสริมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
งบรายจ่ายอื่น โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (ชั้นเรียนวิชาชีพ) การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติของชุมชน
บ้านเกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา โดยใช้เทคนิคโดยการมัด การพับ การเย็บ และใช้อุปกรณ์อื่นๆ
ใหเ้ ปน็ ลวดลายตามท่ีต้องการ มกี ารพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการบูรณาการและการสรา้ งสรรค์ผลิตภัณฑ์
ของชุมชนเพื่อ เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และพัฒนาคุณภาพผ้ามัดย้อม จากสีที่ได้จากธรรมชาติโดยใช้วัสดุ
ในชุมชน หลักสูตรผ้ามัดย้อม จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอาชีพหลักและอาชีพเสริม
ในชุมชนได้

การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวัตกรรมหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ของศูนยก์ ารเรียนชมุ ชนบา้ นเกาะจำ กศน.ตำบลเกาะศรบี อยา สงั กดั ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ หวังว่าเป็นประโยชน์ ต่อสถานศึกษาและผู้สนใจ เพื่อนำไป
ปรับประยุกต์ใช้ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ และด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม
ท้องถ่ินบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ กพอเพยี ง

ขอขอบคุณผู้บริหาร คณะครู ประธานแหล่งเรียนรู้บ้านเกาะจำ ประธานกลุ่มการทำผ้ามัด
ย้อมจากสีธรรมชาติ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ทำให้ Best Practice ของ ศูนย์การเรียนชุมชน
บ้านเกาะจำ กศน.ตำบลเกาะศรีบอยา ประสบความสำเร็จ และให้การช่วยเหลือแนะนำ การจัดกิจกรรม
ทเี่ สริมสรา้ งคุณภาพชวี ิตของประชาชนในชุมชน ได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

นางสาวสนุ ดิ า มานพ
ครู ศูนย์การเรยี นชุมชนบ้านเกาะจำ

ศูนย์การเรียนชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนอื คลอง



การทำผา้ มดั ย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธกี ารปฏบิ ัตทิ เี่ ป็นเลิศ

สารบัญ หนา้ ที่

เร่ือง ก

คำนำ 1
สารบญั 2
3
ความสอดคล้อง 4
จดุ ประสงค์ 4
เปา้ หมาย 5
ตัวชี้วัดความสำเรจ็ 5
การประเมนิ และเคร่ืองมือการประเมิน 19
ผลการดำเนินงาน 20
บทสรปุ 20
กลยุทธ์หิ รือปัจจัยความสำเร็จท่ที ำให้ประสบความสำเรจ็ 21
ขอ้ เสนอแนะ
เอกสารอา้ งองิ
ภาคผนวก

ศนู ย์การเรยี นชุมชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนอื คลอง



การทำผ้ามดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธีการปฏิบตั ิทเ่ี ปน็ เลิศ

ชือ่ ผลงาน : “แหลง่ เรียนรชู้ ุมชนบา้ นเกาะปู”
ผศู้ ึกษา : นางสาวสนุ ดิ า มานพ ตำแหนง่ ครู กศน.ตำบล
สถานศึกษา : ศนู ย์การเรยี นชุมชนบา้ นเกาะจำ กศน.ตำบลเกาะศรีบอยา

ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอำเภอเหนือคลอง
สังกดั : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั จังหวดั กระบ่ี

ความสอดคล้อง
สอดคล้องกบั นบาย วิสัยทัศน์ พันธกจิ เป้าประสงค์ จุดเนน้ การดำเนินงานและภาระกิจต่อเน่อื ง

ของสำนักงานศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั ประจำปีงบประมาณ 2564
❖ วิสัยทัศน์ คนไทยทุกช่วงวัยได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง

มีคุณภาพ มีทักษะที่จำเป็นและสมรรถนะที่สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศ สามารถดำรงชีวิตได้อย่าง
เหมาะสมบนรากฐานของหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง

❖ พันธกิจ ข้อที่ 3 สง่ เสริมและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อ
เพิ่มช่องทางและโอกาสการเรียนรู้ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดและให้บริการการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ข้อที่ 4 ส่งเสริมสนับสนุน แสวงหา
และประสานความร่วมมือเชิงรุกกับภาคีเครือข่าย ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนและจัดการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวติ ในรูปแบบตา่ งๆให้กบั ประชาชน

❖ เป้าประสงค์ ข้อท่ี 3 ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเองผ่านแหล่งเรียนรู้ช่องทางการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ รวมทั้งมีเจตคติทางสังคม
การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะอย่างมีเหตุผล และนำไป
ประยุกต์ใชใ้ นชีวติ ประจำวันรวมถงึ การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชวี ิตได้อยา่ งสร้างสรรค์ ข้อท่ี 6 ชุมชนและ
ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อธั ยาศัย รวมทง้ั การขับเคล่อื นกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน

❖ จุดเน้นการดำเนินงาน ข้อที่ 1 น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ
ข้อที่ 1.2 จัดให้มี “หนึ่งชุมชน หนึ่งนวัตกรรม การพัฒนาชุมชน” เพื่อความกินดี อยู่ดี มีงานทำ ข้อที่ 2
ส่งสริมการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย ข้อที่ 2.1
ส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ในรูปแบบ Re-Skill& Up-Skill และการสร้างนวัตกรรมและ
ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ
และสามารถออกใบรับรองความรู้ความสามารถเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพได้ ข้อที่ 4 บูรณาการความ
ร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ ข้อที่ 4.1
ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและ
สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชมุ ชน อาทิ การส่งเสริมการฝึกอาชีพที่เป็นอัตลักษณ์และบริบทของชมุ ชนส่งเสรมิ
การตลาดและขยายช่องทางการจำหนา่ ยเพอ่ื ยกระดบั ผลิตภัณฑ/์ สินค้า กศน.

❖ ภารกิจต่อเนื่อง ข้อที่ 1.3 การศึกษาต่อเนื่อง ข้อที่ 1 จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
อย่างยั่งยืน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ มีคุณภาพได้
มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีการส่งเสริมการ
รวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาหนึ่งตำบลหนึ่งอาชีพเด่น การประกวดสินค้าดีพรีเมี่ยม การสร้างแบรนด์
ของ กศน. รวมถึงการส่งเสริมและจัดหาชอ่ งทางการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ และให้มีการกำกับ ติดตาม
และรายงานผลการจดั การศึกษาอาชีพเพอ่ื การมีงานทำอย่างเปน็ ระบบและต่อเนื่อง

ศูนย์การเรยี นชุมชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)

ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนอื คลอง



การทำผ้ามดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธกี ารปฏบิ ตั ิทเี่ ปน็ เลิศ

ทม่ี าและความสำคัญ
จากนโยบายพัฒนาตำบลเกาะศรีบอยา ให้สง่ เสริม สนับสนนุ การอนุรกั ษ์ การฟน้ื ฟูการประยุกต์

ศลิ ปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาทอ้ งถิ่น เพอื่ เป็นแหลง่ เรยี นรู้ให้กบั ประชาชน และการพัฒนาอาชีพสร้าง
รายไดใ้ หป้ ระชาชนมอี าชีพและเพม่ิ รายได้ให้มคี วามเข้มแข็ง สามารถพ่งึ พาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกจิ พอเพียง
และส่งเสริมผลิตภัณฑ์/สินค้าชมุ ชน ผ้ามัดย้อมจึงเป็นส่ิงที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชนชาติและได้มีการพัฒนา
เร่อื ยมาจนมคี วามสำคญั ในอุตสาหกรรมส่ิงทอระดบั ตำบล เนือ่ งจากผ้ามัดยอ้ มเป็นสินคา้ ท่มี ีศักยภาพที่จะนำมา
พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ชุมชนบ้านเกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา จึงเริ่มที่จะให้ความสนใจที่
จะศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาผา้ มัดย้อมให้ไดต้ ามความต้องการของตลาด ซึ่งชุมชนบ้านเกาะปูมีทรัพยากร
ที่หลากหลายให้ความสำคัญแก่การสังเคราะห์สีธรรมชาติจากพืชพรรณต่างๆ เพื่อนำมาเป็นสีย้อมผ้า เพื่อให้
ประชาชนในชุมชนมีอาชีพหรือรายไดเ้ สรมิ ทใี่ ช้วสั ดใุ นชมุ ชนใหเ้ กดิ ประโยชน์ นนั้

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเหนือคลองจังหวัดกระบี่ มีหน้าที่
ส่งเสรมิ การจดั การศึกษาทเี่ นน้ ความรู้และทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละท้องถิ่น จึงมีนโยบายให้
ดำเนินการจัดกจิ กรรมการเรียนรทู้ สี่ ่งเสริมการประกอบอาชีพ ต้องใชท้ รัพยากรหรือวสั ดุในชมุ ชน เช่น การย้อม
ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ การแปรรูปอาหารทะเล เป็นต้น หรือเพื่อผู้เรียนมีทักษะความชำนาญการเฉพาะ
เรื่องสามารถเพิ่มผลผลิต และหรือลดต้นทุนการผลิต มีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการ สามารถ
ประกอบอาชีพสมัยใหม่ เป็นผู้ประกอบการเอง หรือรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพ บนพื้นฐานหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจกิจพอเพยี ง

ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรีบอยา เห็นความสำคัญในการใช้ทรัพยากรใน
ชุมชนให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่าเพิ่ม จึงส่งเสริมและดำเนินการจัดกิจกรรมการทำผ้ามัดย้อมจาก
สีธรรมชาติ แนวทางปฎิบัติที่ดี (Best Practice ) ที่สามารถหาพรรณพืชในชุมชนมเพื่อสกัดสีในการย้อมผ้า
และสอดคล้องกับนโยบายหรือ การดำเนินงานของตำบลเกาะศรีบอยา และศูนย์การศึกษานอกระบบและ
การศกึ ษาตามอัธยาศัยอำเภอ เหนอื คลอง เพือ่ ใหท้ างกลุม่ ผลิตภัณฑ์การทำผา้ มัดย้อมจากสีธรรมชาติบ้านเกาะ
ปูไดจ้ ัดดำเนนิ จัดกจิ กรรมต้ังแต่ พ.ศ. 2559 เร่มิ จากการได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงาน ศนู ยก์ ารศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเหนือคลอง และได้ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้นตามความ
ต้องการของตลาดที่ตอบสนองผู้รับบริการ และนักท่องเที่ยวในชุมชน ได้แก่ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ผ้าคุมไหล
ชุดผ้าปูที่นอน เสื้อ กางเกง และมีการขยายสมาชิกในกลุ่มต่อให้ประชาชนในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้เสริม
จนถงึ ปจั จุบัน

จดุ ประสงค์
๑. กลุม่ เปา้ หมายมคี วามรคู้ วามเขา้ ใจ และทักษะในการทำผา้ มดั ยอ้ มจากสธี รรมชาติ
๒. กล่มุ เป้าหมายมคี วามตระหนัก และเจตคตทิ ี่ดตี อ่ การทำผ้ามดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ
๓. กลุ่มเปา้ หมายนำความรกู้ ารทำผ้ามดั ย้อมจากสธี รรมชาติ ไปใชเ้ พือ่ การประกอบอาชพี

ศนู ย์การเรียนชมุ ชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนือคลอง



การทำผา้ มัดยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธกี ารปฏิบัติทเ่ี ปน็ เลิศ

เปา้ หมาย
เชงิ ปริมาณ
ประชาชนชุมชนบ้านเกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีความรู้

ความเข้าใจ และทักษะในการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ มีความตระหนัก และเจตคติที่ดีต่อการทำผ้ามัด
ยอ้ มจากสีธรรมชาตินำ จำนวน 20 คน

เชิงคณุ ภาพ
ประชาชนสามารถเรียนรู้ และนำความรู้ ทักษะวิธีการเกี่ยวกับการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ

ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และครอบครัว สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้
และสามารถนำความารู้ถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น โดยอาศัยชุมชนเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้อย่าง
มีความสขุ ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง

กระบวนการดำเนินงาน
1. ครูประจำกลุม่ ศูนยก์ ารเรียนชมุ ชนบ้านเกาะจำ ประธานกลุม่ การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ

และชุมชนร่วมกันศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ โดยจัดการเวทีประชาชาคม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์
ทำให้ทราบว่าชุมชนมีภูมิปัญญาที่มีความชำนาญด้านการทำผ้ามัดย้อมจาสีธรรมชาติ อีกทั้งพื้นที่ยังมีวัสดุ
ธรรมชาติที่สามารถนำมาทำแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับชุมชน เช่น เปลือกไม้ ลำต้น
ราก และใบของ ต้นหูกว้าง ต้นโกงกาง ต้นใบเตย ต้นอัญชัน ต้นสมอทะเล ต้นยอ ต้นหว้า ต้นตะบูน ต้นขนุน
ต้นมะละกอ ตน้ ขมิน้ ตน้ คราม ต้นข้เี หล็ก ตน้ ดาวเรอื ง ตน้ ประดู่ ตน้ กระโดน เปน็ ตน้

2. ครูประจำกลุม่ ศูนยก์ ารเรียนชุมชนบา้ นเกาะจำ ประธานกลุ่มการทำผา้ มดั ย้อมจากสธี รรมชาติ
วิทยากร และชุมชนปะชุมร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน ชี้แจ้งวัตถุประสงค์ ผลที่ผู้เข้าร่วมโครงการ
จะไดร้ บั ทำใหม้ ผี สู้ นใจเข้ารว่ มโครงการ จำนวน 20 คน

3. ศึกษาเอกสารขอ้ มลู ท่ีเกี่ยวกับการสง่ เสริมอาชพี ในชุมชน และการดำเนนิ งานของแหล่งเรียนรู้
ในชุมชน กลุ่มการทำผ้ามัดย้อม จัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ และวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับสมาชิก
กลุ่มการทำผา้ มดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ

4. ครูประจำกลุ่มศูนย์การเรยี นชมุ ชนบ้านเกาะจำ วิทยากร สมาชิกกลุ่มการทำผ้ามัดย้อมจากสี
ธรรมชาตริ ว่ มกันกำหนดทิศทางการดำเนนิ งานและขอ้ ตกลง การมาร่วมกจิ กรรม

5. วิทยากร ดำเนินการให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิก่อนเรียน เรื่องการทำผ้ามัดย้อม
จากสีธรรมชาติ

6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพโดยให้ความรู้ เรื่อง การสกัดสีจากวัสดุในท้องถิ่น
ตามความตอ้ งการ การออกแบบลายผ้ามัดย้อม การเลอื กผา้ วสั ด/ุ อุปกรณ์ วิธกี ารมัดผา้ วิธีการทำผ้ามัดย้อม
การบรรจผุ ลิตภัณฑ์ และชอ่ งในการจำหน่าย

7. วิทยากร และสมาชิกกลุ่มผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติลงมือภาคปฎิบัติการทำผ้ามัดย้อมจาก
สธี รรมชาติ และบักทึกผลการดำเนนิ กิจกรรม ตามระบบ PDCA เพ่อื เป็นคร้งั ความรู้

8. วิทยากร และสมาชิกในกลุ่มร่วมถอดบทเรียน การทำผ้ามัย้อมจากสีธรรมชาติ ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจกพอเพยี ง

9. วิทยากร ปลูกฝังอุดมการณ์และให้ความรู้หลักการการบบรจุผลิตภัณฑ์ การตลาดของ
ผลิตภัณฑ์ และการทำปัญชีรายรับ รายจายของกลุ่ม โดยมีครูประจำกลุ่มศูนย์การเรี ยนชุมชนบ้านเกาะจำ
ให้คำปรกึ ษาแนะนำ

ศูนยก์ ารเรียนชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนือคลอง



การทำผา้ มัดยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธีการปฏบิ ตั ิทเี่ ป็นเลศิ

10. ปลูกฝั่งจิตสำนึกให้กับสมาชิกรูจ้ ักประหยัด อดออม พึ่งพาตนเอง การมีคุณธรรมจริยธรรม
รกั และเหน็ คณุ ค่าของทรพั ยากรธรรมชาติในชุมชน รวมถึงประโยชน์ของประเทศชาติ

11. วิทยากรดำเนินการประเมินผลการทำกิจกรรมโดยทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
เร่อื ง การทำผ้ามัดย้อมจากสธี รรมชาติ

12. ศูนย์การเรียนชุมชนบา้ นเกาะจำ ติดตามการดำเนินงานโดยการประชุมสมาชิกกลุ่มการทำ
ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ เพื่อทราบผลความก้าวในการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค และร่วมกันหาแนว
ทางแกไ้ ข

13. สรปุ ผลการดำเนินงานรายเดือน และรายปรี วมถงึ ประเมินการชื้อวัสดุอปุ กรณ์ และการขาย
ผลิตภณั ฑ์ของกลุ่มการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ

14. สรปุ การดำเนนิ โครงการท่ีได้จากการประเมนิ ผลเม่อื ส้ินโครงการโดยรวบรวมผลงาน จดุ เด่น
และจุดที่ควรพัฒนา รวมทั้งข้อเสนอแนะจากการประเมิน การนำไปใช้ประโยชน์ และการจัดทำรายงาน
เพือ่ เสนอแนวทางปฎบิ ตั ทิ ดี่ ี (Best Practice ) ดา้ นการสง่ เสรมิ เพอ่ื พัฒนาอาชพี ในชุมชน

15. เผยแพร่ผลงานแนวทางปฎบิ ัติที่ดี (Best Practice ) ด้านการส่งเสริมเพื่อพัฒนาอาชีพโดย
นำเสนอผลงาน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะต่อที่ประชุม ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเกาะจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ในการวางแผนจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ร่วมทั้งเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ เช่น นำเสนอข้อมูลในเครือข่าย
กศน.ระดบั ตำบล จดั กิจกรรมแลกเปลย่ี นเรยี นรู้ของประชาชนที่ตอ้ งการสง่ เสรมิ ด้านอาชีพ

16. นำเสนอขอเสนอแนะของผเู้ รยี น วทิ ยากร ชมุ ชน และผู้เกีย่ วข้องมาปรบั ปรงุ รูปแบบและวิธี
ดำเนินงานการสง่ เสริมอาชพี เพอื่ เผยแพร่ใหช้ มุ ชนอน่ื ทมี่ ีสภาพบรบิ ทเหมอื นหรอื ใกล้เคยี งกันไดน้ ำไปปรับใช้ใน
การจัดกิจกรรมส่งเสรมิ อาชพี ตอ่ ไป

ตัวช้วี ดั ความสำเรจ็
ตัวช้ีวัดผลผลติ
ประชาชนชุมชนบ้านเกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เข้าร่วม

กิจกรรมการทำผา้ มดั ย้อมจากสีธรรมชาติ ตามโครงการ ร้อยละ 85

ตัวชว้ี ดั ผลลพั ธ์
ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และมีทักษะการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และครอบครัว สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้
และสามารถนำความารู้ถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น โดยอาศัยชุมชนเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้อย่าง
มีความสุขตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง รอ้ ยละ 85

การประเมินผลและเครอื่ งมอื การประเมนิ
การประเมินผลตามสภาพจริง โดยการประชุมคณะกรรมการผู้นิเทศติดตาม และสมาชิกกลุ่ม

การทำผ้ามดั ยอ้ มทกุ สองสปั ดาห์ มีการตรวจบัญชีการชือ้ อุปกรณ์ และการผลิตภณั ฑ์ ประเมนิ ผลงานผลิตภัณฑ์
จากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้แบบประเมินฝึกปฎิบัติ จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม และประเมิน
ความร้เู ความเขา้ ใจโดยการทดสอบวดั ผลสมั ฤทธิ์กอ่ นและหลงั เรียน

ศูนย์การเรยี นชุมชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนือคลอง



การทำผา้ มดั ย้อมจากสธี รรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธีการปฏบิ ตั ทิ เ่ี ปน็ เลิศ

ผลการดำเนินงาน
การจดั การศกึ ษาตอ่ เน่ืองช้ันเรียนวิชาชีพ หลกั สูตรการทำผา้ มัดย้อมจากสีธรรมชาติ มีผู้เข้าร่วม

โครงการจำนวน 22 คน เกินค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2 คน และผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องมีความรู้
ความสามารถทักษะและคุณธรรมเปน็ ไปตามเกณฑ์การจบหลักสตู ร จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และ
ผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง ประยุกต์ใช้บนฐานค่านิยมร่วมของสังคม
จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และจำนวนผู้เรียนที่เป็นตัวอย่างที่ดีหรือเป็นต้นแบบในด้านการนำ
ความรู้ ไปใช้ในการลดรายจ่าย หรือเพิ่มรายได้หรอื กาประกอบอาชีพหรือตัวอย่างที่ดี จำนวน 20 คน คิดเป็น
ร้อยละ 98.00 ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ การทำผ้ามดั ย้อมจากสีธรรมชาติ สามารถนำความรู้
ไปประยุกต์ใช้ในชวี ิตประจำวนั วนั บนรากฐานของเศรษฐกจิ พอเพียง

บทสรปุ
การจัดกิจกรรมส่งเสริมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (ชั้นเรียนวิชาชีพ) หลักสูตรการทำผ้ามัดย้อมจาก

สีธรรมชาติ ในคร้ังน้ี ดำเนินการตามแนวทางวงจรคุณภาพของเดมมง่ิ (PDCA) ดังน้ี

ดา้ นการวางแผน (P)
1. ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์ข้อมผุลของชุมชนอย่างมีส่วนของครูศูนย์การเรียนชุมชน

บ้านเกาะจำ ผู้เรียน และชุมชน โดยการจัดเวทีประชาคม เพื่อนำมาวางแผนจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพ
บรบิ ท ศักยภาพของชมุ ชน ปญั หา และความต้องการท่แี ทจ้ ริงของผเู้ รียนและประชาชนในชมุ ชน

2. วิเคราะห์งานตามบทบาทหน้าที่ และวิเคราะห์ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนการ
พัฒนาด้านอาชีพตำบลเกาะศรีบอยา แผนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนตำบลเกาะศรีบอยา วิสัยทัศน์
พันธกิจ เปา้ ประสงค์ ยทุ ธศาสตรแ์ ละจดุ เนน้ การดำเนินงาน งานภารกจิ ตอ่ เน่ือง ของสำนกั งาน กศน. ประจำปี
งบประมาณ 2564 คู่มือการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2551 จะเห็นได้ว่าเป็นงาน
ตามบทบาทหน้าที่ของครู กศน./ศรช. ประจำกลุ่ม ที่จะต้องจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพ่ือ
ส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตามอัธยาศัย การส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อเป็น
ศูนย์ข่าวสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของหมู่บ้านซึ่งเป็นภารกิจหลัก อีกทั้งเพื่อตอบสนองต่อการดำเนินงานตาม
แนวพระราชดำริในการพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน ประชาชน เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (พื้นที่เกาะ) บนรากฐาน
หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ กพอเพียง

3. คน้ หาแนวทางปฎิบตั ทิ ีด่ ี (Best Practice )
3.1 เปน็ เรื่องท่เี กีย่ วข้องกบั ภารกจิ โดยตรงบทบาทหนา้ ที่
3.2 สนองนโยบายการแกป้ ัญหา การพฒั นาประสทิ ธภิ าพของรบั บรกิ าร กศน.
3.3 เป็นวิธีการริเริ่มสร้าสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือประยุกต์ขึ้นมาใหม่ (นวัตกรรม) โดยตั้ง

คำถามว่า นวตั กรรมคืออะไร (What) ทำอย่างไร (How) ทำเพ่ืออะไร (Why)
3.4 มีผลผลติ ความสำเร็จเพิ่มขึน้
3.5 สามารถนำไปใชเ้ ปน็ มาตรการทำงานต่อไปได้ยงั่ ยนื พอสมควร
3.6 มกี ารพฒั นาปรบั ปรงุ

จากประเดน็ ตา่ งๆ ดงั กลา่ ว เพื่อค้นหาแนวทางปฎิบัตทิ ี่ดี (Best Practice ) ในการจัดกจิ กรรมที่
สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการของชุมชน พบว่า เป็นเรื่องที่เก่ียวข้องกับบทบาทหน้าท่ีโดยตรง
ของครูศูนย์การเรียนชุมชน/ครู กศน.ตำบล และเป็นการดำเนินงานตามภารกิจต่อเนื่อง การจัดการศึกษาเพื่อ
การส่งเสรมิ การประกอบอาชีพให้กับประชาชน จึงไดว้ างแผนเพ่อื ดำเนินการภารกิจ ดังนี้

ศูนยก์ ารเรียนชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนอื คลอง



การทำผ้ามดั ย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธกี ารปฏบิ ัติทเ่ี ปน็ เลิศ

1. ครู ผู้เรียน วิทยากร และชุมชน มีส่วนร่วมในการวางแผนและออกแบบกิจกรรมท่ี
สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชน โดยการประชุมร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ชี้แจง
วัตถุประสงค์ ผลที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ ผลที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ ทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
จำนวน 22 คน

2. ศึกษาเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพในชุมชนและการดำเนินงานของกลุ่ม
การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ โดนยครูศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเกาะจำ วิทยากร และผู้เรียนร่วมกันเพื่อ
วางแผนจดั กจิ กรรมการเรียนรู้สำหรับผเู้ รียนพร้อมทง้ั จดั เตรยี มสอ่ื อปุ กรณ์ และสถานที่

3. ครู วทิ ยากร และผ้เู รยี นร่วมกนั กำหนดทศิ ทางการดำเนินงานและทำข้อตกลงของกลุ่ม
การทำผา้ มดั ยอ้ มจากสีธรรมชาตทิ งั้ ดา้ นการการร่วมกจิ กรรม การจัดซือ้ วสั ดุอุปกรณแ์ ละการจำหน่ายผลติ ภัณฑ์

4. นำข้อมมูลจากการวเิ คราะห์และพจิ ารณา ในขอ้ 1-3 มากำหนดกรอบการดำเนินงาน
ทพี่ ิจารณาแล้วว่าเปน็ แนวทางปฎบิ ตั ิทด่ี ี (Best Practice ) โดยดำเนินการดังนี้

4.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ
4.2 การกำหนดตวั ชวี้ ัดความสำเร็จ
4.3 การกำกนดวธิ ีดำเนินการ
4.4 การกำหนดวธิ กี ารประเมินผลและเคร่อื งมือการประเมนิ ผล

ดา้ นการดำเนินงาน (D)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมอาชีพตามที่ที่ได้วางแผนการออกแบบกิจกรรมไว้

โดยการใหค้ วามรู้และการฝึกทกั ษะปฎบิ ตั ิ ดังน้ี
1. วิทยากร ดำเนินการให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน เรื่องการทำ

ผา้ มดั ย้อมจากสีธรรมชาติ
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติโดยให้ความรู้ เรื่อง

ด้านการใช้วัตถุดิบในชุมชน การสกัดสีจากวัสดุในท้องถิ่น ตามความต้องการ การออกแบบลายผ้ามัดย้อม
การเลือกผา้ วัสด/ุ อุปกรณ์ วิธกี ารมัดผา้ วิธีการทำผา้ มัดยอ้ ม การบรรจผุ ลติ ภณั ฑ์ และชอ่ งในการจำหน่าย ดงั น้ี

1.1 ด้านการใช้วัตถุดิบในชุมชน ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ วัสดุส่วนใหญ่
เป็นวัสดุที่มีอยู่ในชุมชนตามธรรมชาติที่ สามรถนำมาสกัดเป็นสีที่ย้อมผ้าได้ตามความต้องการของชุมชน เช่น
ต้นโกงกาง ตน้ หกู วาง ต้นขนนุ ต้นเพกา ตน้ ตะบนู เป็นต้น

1.2 การเลือกผ้า ทางกลุ่มผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติบ้านเกาะปูเลือกผ้าฝ้าย
(Cotton) เป็นผ้าที่ใช้กันมากที่สุดในบรรดาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หรือเสื้อยืดผ้าฝ้ายมีเนื้อค่อนข้างเหนียว
ไม่ค่อยยืดหยุ่น ยับง่าย หดง่าย ดูดซึมน้ำ ได้ดีสามารถระบายอากาศและความร้อนได้ดี ซักรีดและทำความ
สะอาดง่าย ทนความรอ้ นได้ดสี ามารถรีดดว้ ยความร้อนสูงได้ เหมาะสมสำหรับการสวมใส่ในชว่ งท่ีมีอากาศร้อน
ในฤดูร้อน หรือสามารถสวมใส่ได้ทุกวนั กับประเทศท่ีภูมอิ ากาศร้อน ซึ่งเหมาะสมกบั บรรยากาศของชุมชนบ้าน
เกาะปทู ีต่ กิ ับทะเล

ศูนยก์ ารเรียนชุมชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนอื คลอง



การทำผา้ มัดย้อมจากสธี รรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธีการปฏิบตั ิทเ่ี ป็นเลิศ

1.3 การออกแบบลายผ้ามัดย้อม ทางกลุ่มผลิตภัณฑ์การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
บ้านเกาะปู มวี ิธกี ารออกแบบลายผ้าและการมดั ลวดลายหลากหลายวธิ ีที่ง่ายต่อการออกแบบลวดลาย โดยการ
พับผ้าเป็นรูปต่างๆ แล้วมัดด้วยยางหรอื เชือก ผลที่ได้จะได้ลวดลายที่มีลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวา
จะมีความใกล้เคียงกัน แต่จะมีสีอ่อนด้านหนึ่งและสีเข้มด้านหนึ่ง เนื่องจากว่าหากด้านใด ่โดนพับไว้ดา้ นในสกี ็
จะซึมเข้าไปน้อย ผลที่ได้ก็คือจะมีสีจาง ด้วยกัน 3 วิธีคือ การพับแล้วมัด การขยำแล้วมัด การห่อแล้วมัด
และการพบั แลว้ หนบี

การพบั แล้วมัด

การพบั แล้วหนบี ลวดลายผ้า การขยาแล้วมดั

การห่อแลว้ มดั

1.3.1 การพบั แลว้ มัด การพบั ผ้าเปน็ รปู ต่างๆ แลว้ มดั ดว้ ยยางหรือเชือก ผลที่ได้จะ
ได้ลวดลายที่มีลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวาจะมีความใกล้เคียงกัน แต่จะมีสีอ่อนด้านหนึ่งและสีเข้ม
ด้านหนง่ึ เนอื่ งจากวา่ หากดา้ นใดโดนพับไวด้ า้ นในสกี ็จะซึมเข้าไปน้อย ผลทไ่ี ด้กค็ อื จะมสี ีจางกวา่

ศนู ย์การเรยี นชุมชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนือคลอง



การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธกี ารปฏิบตั ิทเี่ ป็นเลศิ

1.3.2 การพับแล้วมัด การขยำผ้าอย่างไม่ตั้งใจแล้วมัดด้วยยางจะได้ลวดลายแบบ
อิสระ เรียกว่า ลายสวยแบบบังเอิญ ไม่สามารถทำลายได้อีก เนื่องจากการขยำแต่ละครัง้ เราไม่สามารถควบคุม
การทบั ซอ้ นของผ้าได้ ลกั ษณะทไ่ี ดจ้ ะเหมอื นก้อนเมฆ เราเรยี กว่าลายอิสระ หรอื รปู รา่ งรูปทรงอสิ ระ

1.3.3 การหอแล้วมัด การใช้ผ้าห่อวัตถุต่างๆ ไว้แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ลายที่
เกิดขึ้นจะเป็นลายใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้ และลักษณะของการมัด เช่น การนำผ้ามาห่อก้อนหิน
รูปทรงแปลกๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แล้วมัดไขว้ไปมา โดยเว้นจังหวะของการมัดให้มีพื้นที่ว่างให้สีซึมเข้าไปได้
อยา่ งน้กี ็จะมลี ายเกิดขนึ้ สวยงามแตกตา่ งจากการมัดลกั ษณะวตั ถุอื่นๆ ด้วย

1.3.3 การพับแล้วหนีบ เป็นการพับผ้าเป็นรูปแบบต่างๆ แล้วเอาไม้ไอศกรีม หรือ
ไม้ไผ่ผ่าบางๆ หนีบไว้ทั้งสองข้างเหมือนปิ้งปลา ต้องมัดไม้ให้แน่น ภาพที่ออกมาก็จะเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น
รูปดอกไม้ รปู สีเ่ หล่ยี ม เป็นต้น

ศูนย์การเรียนชมุ ชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนือคลอง



การทำผ้ามัดยอ้ มจากสธี รรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธีการปฏบิ ตั ิทเ่ี ป็นเลศิ

1.4 การใช้สีจากวสั ดใุ นชมุ ชน
การเลือกใช้สีทางกลุ่มจะสกัดสีจากทรัพยากรสิ่งแวดล้อในชุมชน โดยการนำเปลือกของ

ต้นไม้แต่ละชนิดที่ต้องการสกัดมาหันเป็นชิ้นเล็ก และผ่านกระการต้มจะได้สีแต่ละชนิดแตกต่างกัน และความ
เข้มของสีขึน้ อย่กู ับชนิดของต้นไม้ อณุ หภูมิ และเวลาในการต้ม ไดแ้ ก่ ตน้ เพกา ตน้ โกงกาง ต้นใบเตย ตน้ หูกวา้ ง
ตน้ สะมอทะเล ต้นขมน้ิ ตวั อยา่ งเชน่

1.4.1 ต้นเพกา

ชื่อวทิ ยาศาสตร์ : Oroxylum indicum
ชอื่ สามญั : Broken bones tree
ช่อื วงศ์ : BIGNONIACEAE
ช่อื อ่นื : ล้นิ ฟา้ (เลย, ภาคอสี าน), กาโด้โดง้ (กาญจนบรุ )ี

ลักษณะทั่วไป ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแล
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป
แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยูใ่ นหลาย ๆประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่าน้ันทีน่ าเพกามารับประทานเปน็ ผัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น เนื้ออ่อน แตกกิ่งก้านน้อย ใบ เป็นใบประกอบแบบขน
นกสามชั้น ขนาดใหญ่เรียวตรงข้ามแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี ปลายใบแหลมดอก
ออกเป็นช่อที่ปลายยอดเปน็ กลุม่ ก้านชอ่ ดอกยาว ต้ังดอกยอ่ ยมขี นาดใหญ่ กลีบดอกสีเหลอื งนวลหรือแกมเขียว
สว่ นโคนกลบี มสี มี ่วงแดง หนา ย่น ดอกจะบานกลางคนื หรอื รุ่งเช้า ผล เป็นฝกั รปู ดาบแบน สีน้ำตาล เมื่อแก่จะ
แตกตามยาว ภายในมเี มลด็ แบน สขี าวมีปกี บาง

การใช้ประโยชน์ เอาใบและเปลือกต้นด้านในนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ สารสกัดสีจากเปลือกต้น
เพกาสามารถใช้ได้ทั้งท่ีเป็นเปลือกสด สามารถใช้ย้อมสีผ้าได้ ในการสกัดสีจากเปลือกต้นเพกา สามารถทำได้
หลายวิธีและการใช้สารช่วยติดสีต่างกัน ก็จะได้สีผ้าที่มีเฉดสีแตกต่างกัน ได้แก่ การสกัดสีโดยใช้เปลือกสดต้ม
กับน้ำและใช้สารส้มในขณะย้อม ย้อมด้วยกรรมวิธยี อ้ มร้อน ได้เส้นไหมสเี หลืองสดใส ถ้าต้องการสขี องเส้นไหม
ออกไปทางโทนสเี ขียว ควรใส่สารตดิ สีจำพวกน้ำสนิมเหล็กและจุนสีลงไปในขณะย้อม หรอื แช่สารช่วยติดสีหลัง
การย้อมนาน 15 นาที เส้นผ้าท่แี ชจ่ ุนสี ไดส้ ีเขยี ว และทแ่ี ชทีแ่ ช่สารส้มหรือสีนำ้ ตาลเขยี ว ได้สีเหลือง

ศูนย์การเรียนชุมชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนอื คลอง

๑๐

การทำผ้ามัดยอ้ มจากสธี รรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วธิ ีการปฏบิ ัตทิ เ่ี ปน็ เลิศ

1.4.2 ตน้ โกงกาง

ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata
ชื่อวงศ์โกงกาง : (RHIZOPHORACEAE)
ช่ือสามัญ : โกงกางใบใหญ่ (ภาคกลาง), กางเกง พังกา พงั กาใบใหญ่ (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถงึ ขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร มีขนาดเส้นผา่ น
ศนู ย์กลางเหนอื คอ ราก เม่ือโตเต็มท่ปี ระมาณ 30 เซนตเิ มตร ลำต้นมลี กั ษณะเปลาตรง ด้านรับแสงจะมกี ิง่ ก้านมาก เปลือกลำ
ตน้ เปน็ สีนำ้ ตาลเทา เปลอื กต้นค่อนข้างเรยี บหรือแตกเป็นรอ่ งตน้ื ๆ สว่ นเปลือกในเปน็ สีสม้ ในกระพ้ีเป็นสเี หลืองออ่ น และแกน่
เป็นสนี ้ำตาล ขยายพนั ธุ์ด้วยวิธีการใช้ฝักโดยตรง โดยใช้ฝักแก่ท่ียงั สมบูรณ์ ไมม่ โี รคและแมลงเขา้ มาทำลาย โดยดไู ดจ้ ากบริเวณ
รอยต่อของฝักกับผลจะมปี ลอกสขี าวอมเหลอื งหุ้มอยู่ ถ้าหากมขี นาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และเป็นสีเหลอื งแสดงวา่ ฝักแก่
สมบูรณ์แล้ว หรือจะเก็บฝักที่ร่วงหล่นลงน้ำก็ได้ เพราะถ้าฝักแก่สมบูรณ์จะลอยน้ำได้ เม่ือได้ฝักมาแล้วก็ให้นำมาปลูกในทันที
เพราะถ้าเก็บไว้นานเท่าไหร่ความสามารถในการงอกก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ สามารถพบได้ตามชายฝั่งทะเล ตามริมคลอง ริม
ชายฝั่งทะเลท่ีมีน้ำเค็มท่วมถึงเป็นระยะเวลานาน โดยจะชอบขึน้ ในบริเวณท่ีเป็นดินเลนปนทราย และมักจะขึ้นอยู่ในบรเิ วณท่ี
ชิดติดกบั แมน่ ำ้

การใช้ประโยชน์ ปลือกของต้นโกงกางมีสารแทนนินและฟีนอลจากธรรมชาติสูงมาก ซึ่งสารดังกล่าว
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำยา ทำหมึก ทำสี ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้ โดยทางกลุ่มนำ
เปลือกมนี ้ำฝาดประเภท Catechol ใหส้ ีน้ำตาลทีส่ ามารถนำมาย้อมสีผา้

ศนู ย์การเรยี นชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนอื คลอง

๑๑

การทำผา้ มดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวธิ ีการปฏิบตั ทิ เ่ี ปน็ เลิศ

1.4.3 ต้นหกู วาง

ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L
วงศ์ : Combretaceae
สกุล : Termonalia
สปีชสี ์ : T.catappa
ชื่ออังกฤษ : Tropical almond , India almond

ลกั ษณะทั่วไป จัดเปน็ ไมย้ นื ต้นผลดั ใบขนาดกลาง ทม่ี คี วามสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร
อาจสูงได้ถึง 30-35 เมตร มีเรือนยอดหนาแน่น แตกกิ่งก้านแผ่ออกในแนวราบเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร
ลำต้นเปลาตรง ต้นที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่จะเป็นพูพอนที่โคนต้น เปลือกลำต้นเป็นสนี ้ำตาลปนเทาเกือบ
เรียบ แตกเป็นร่องแบบตื้น ๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง และลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ทั่วไป กิ่งอ่อนมีขนสี
น้ำตาล สว่ นเน้ือไมเ้ ป็นสีแดง เป็นกลบี เลก็ น้อย มเี ส้ียนไม้ละเอียดสามารถขัดชกั เงาได้ดี ขยายพันธ์ุโดยใช้เมล็ด
บางคร้งั น้ำหรอื ค้างคาวก็ชว่ ยในกระจายพันธ์ุได้ดว้ ยเช่นกันและสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดนิ ที่มีการระบายน้ำ
ได้ดีอย่างดินร่วนพอควรหรือปนทรายหูกวางเป็นพันธุ์ไม้ในป่าชายหาดที่พบขึ้นกระจายตามชายฝั่งทะเล
ต้นหกู วางเปน็ พืชทิ้งใบ โดยทวั่ ไปแลว้ จะท้ิงใบ 2 ครงั้ ในรอบ 1 ปี หรอื ในชว่ งประมาณเดือนมกราคมถึงเดือน
กุมภาพันธ์ และอีกช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งก่อนขจะทิ้งใบ ใบหูกวางจะเปลี่ยนเป็นสี
เหลืองหรอื สสี ้มแดง

การใช้ประโยชน์ ปลือกของต้นหูกว้าง ทางกลุ่มนำมาใช้ย้อมสีผ้า โดยการนำเอาเปลือกผล
แลใบซ่งึ มีสารแทนนนิ มาใชใ้ นการย้อมผ้า จะได้สเี หลอื ง สีเขยี วขีม้ า้ หรือสีนำ้ ตาลเขียว

ศนู ย์การเรยี นชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนอื คลอง

๑๒

การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธกี ารปฏบิ ัตทิ เี่ ป็นเลศิ

1.4.4 ตน้ ตะบูน

ชื่อวทิ ยาศาสตร์ Xylocarpus moluccensis (Lam.) M. Roem.
ชอื่ วงศ์ (MELIACEAE)
ชอ่ื ทอ้ งถิน่ อ่นื ๆ ว่า ตะบนู ตะบนั (ภาคกลาง, ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป ดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-35 เมตร ลักษณะของต้น
เป็นรูปทรงยอดเป็นพุ่มกลม เป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นเป็นเปลาตรง ส่วนโคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกต้น
ขรขุ ระ มสี ีน้ำตาลเข้ม แตกเปน็ รอ่ งตามยาว ต้นเมือ่ แก่เปลอื กจะลอกเปน็ แถบแคบ ๆ โดยเปลอื กจะมีความหนา
ประมาณ 0.3-0.5 เซนตเิ มตร สว่ นเน้ือไม้มสี นี ้ำตาล ส่วนระบบราก มีรากหลายลกั ษณะ เป็นรูปกรวยคว่ำหรือ
แบนแล้วแต่สภาพของดิน ปลายมนยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร สภาพของลำต้นอาจแตกต่างกันออกไป
บ้าง คือ มเี ปลือกเรยี บ สีออกแดง มีร่องเปน็ สีขาวเปน็ ทางยาวตามลำตน้ ต้นตะบนู ดำเป็นหน่ึงในไม้ป่าชายเลน
เมือ่ แก่ลำตน้ มกั เป็นโพรง เจรญิ เตบิ โตและขนึ้ กระจายได้ดใี นบรเิ วณท่เี ป็นดินเลนค่อนข้างแขง็

การใช้ประโยชน์ ทางกลุ่มนำเปลือกแห้ง เนื้อไม้แห้ง เปลือกผลแห้ง เมล็ดแห้ง มาสกัดสีจาก
สว่ นต่างๆ ของต้นตะบูนโดยนำสว่ นต่างๆ ของตน้ ตะบนู จะสีไดส้ นี ้ำตาลแดงน้ำตาลแดง น้ำตาลแดงอ่อน

ศนู ย์การเรยี นชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนอื คลอง

๑๓

การทำผ้ามดั ย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวธิ ีการปฏิบตั ิทเี่ ปน็ เลศิ

1.5 วสั ด/ุ อปุ กรณ์ • สเี ขียว
1.5.1 สียอ้ มจากธรรมชาติ • สีเขยี วน้าตาล

ตน้ เพกา

ตน้ หูกว้าง • สีเหลอื ง
• สเี หลืองนา้ ตาล

ตน้ ตะบูน • สนี า้ ตาลแดง
• สีชมพนู า้ ตาล

ตน้ โกงกาง • สนี ้าตาลอิฐ
• สนี า้ ตาลเข้ม

1.5.2 ผ้าสำหรับย้อม ทางกลุ่มผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติบ้านเกาะปูเลือกผ้าฝ้าย (Cotton)
มีเนื้อค่อนข้างเหนียว ไม่ค่อยยืดหยุ่น ยับง่าย หดง่าย ดูดซึมน้ำ ได้ดีสามารถระบายอากาศและความร้อนได้ดี
ซักรีดและทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนได้ดีสามารถรีดด้วยความร้อนสูงได้ เหมาะสมสำหรับการสวมใส่
ในชว่ งท่มี ีอากาศร้อนในฤดูรอ้ น ซึง่ เหมาะสมกบั บรรยากาศของชุมชนบ้านเกาะปูท่ีติกับทะเล

ศนู ยก์ ารเรยี นชุมชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนอื คลอง

๑๔

การทำผา้ มัดยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวธิ ีการปฏิบตั ิทเี่ ป็นเลิศ

1.5.3 อปุ กรณ์

กะละมงั

หม้อตม้

เตาสาหรับตม้

หนังยาง

เชอื กฟาง

ไม้หนีบผา้

ศนู ยก์ ารเรียนชมุ ชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนือคลอง

๑๕

การทำผ้ามดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธีการปฏิบัตทิ เี่ ปน็ เลิศ

1.5.4 สารช่วยติด พืชแต่ละชนิดที่นำมาย้อมใช้เส้นใยธรรมชาติมีการติดสีและคงทนต่อการ
ขัดถูหรือแสงไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในของพืชและเส้นใยที่นำมาใชย้ ้อม จึงมีการใช้สารประกอบ
ต่างๆ มาเป็นตัวชว่ ยในการทำให้เส้นใยดูดซับสใี หส้ ีเกาะเส้นใยได้แน่นข้ึน มีความทนทานต่อแสง และการขัดถู
เพมิ่ ขึน้ ซงึ่ เรยี กวา่ สารชว่ ยยอ้ ม และสารช่วยให้สีติด สารเหล่านน้ี อกจากจะเปน็ ตวั จบั ยดึ สี และเพิม่ การตดิ สีใน
เส้นใยแล้วยังช่วยเปลี่ยนเฉดสีใหเ้ ขม้ จางหรือสดใส สว่างขึ้น สารช่วยตดิ หรือ สารกระตุ้นสี เป็นสารทีช่ ่วยใหส้ ี
ติดกับเส้นด้ายดีขึ้นและเปลี่ยนเฉดสีธรรมชาติให้เปลี่ยนแปลงไปจากสีเดิม สีธรรมชาติสามารถย้อมติดเส้นใย
ไหมได้ดีทีส่ ุดในการยอ้ มจ าเปน็ ต้องใชส้ ารช่วยตดิ เพ่ือให้สีติดอยใู่ นเส้นใย โมเลกลุ ของสารชว่ ยติดจะเข้าไปรวม
กับโมเลกลุ ของสี ทำใหโ้ มเลกลุ ใหญ่ข้นึ จึงไม่สามารถเคล่ือนย้ายออกจากเส้นใยได้เกดิ ความคงทนต่อการซักดีขึน้

สารสม้ เปน็ ตวั ช่วยเพม่ิ การเกาะติดของสกี บั เสน้ ใยและชว่ ยให้สี
มีความสดใสมากขน้ึ

จุนสี เป็นตวั ชว่ ยเพ่ิมการเกาะตดิ ของสกี บั เส้นใย และชว่ ยใหส้ มี ี
ความเข้มมากขึ้น

1.5.5 วิธีการมดั ผ้า การพบั ผา้ เปน็ รูปตา่ งๆ แลว้ มัดดว้ ยยางหรือเชือก ผล
การพับแล้วมดั ที่ได้จะไดล้ วดลายทมี่ ลี ักษณะลายด้านซา้ ยและลายด้านขวา
จะมีความใกลเ้ คียงกัน แตจ่ ะมสี ีออ่ นดา้ นหน่งึ และสีเข้มด้าน
หนึ่ง เนื่องจากว่าหากด้านใดโดนพับไว้ด้านในสีก็จะซึมเข้า
ไปนอ้ ย ผลท่ไี ดก้ ็คอื จะมีสีจางกวา่

ศูนย์การเรยี นชุมชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนือคลอง

๑๖

การทำผา้ มดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธกี ารปฏบิ ตั ิทเี่ ปน็ เลิศ

การขยำแล้วมัด การขยำผ้าอย่างไม่ตั้งใจแล้วมัดด้วยยางหรือเชือกผลมี่
ได้จะได้ลวดลายแบบอสิ ระ เรียกว่า ลายสวยแบบบังเอิญ ไม่
สามารถทำลายได้อีก เนื่องจากการขยำแต่ละครั้งเราไม่
สามารถควบคมุ การทบั ซ้อนของผ้าได้ ลกั ษณะทไี่ ดจ้ ะเหมือน
ก้อนเมฆ เราเรยี กวา่ ลายอิสระ หรอื รปู รา่ งรปู ทรงอิสระ

การหอ่ แลว้ มดั การใช้ผ้าห่อวัตถุต่างๆ ไว้แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก
ลายทเี่ กิดข้ึนจะเป็นลายใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับวัตถุท่ีนำมาใช้
และลักษณะของการมัด เช่น การนำผ้ามาห่อก้อนหินรปู ทรง
แปลกๆ ท่มี ขี นาดไม่ใหญ่นัก แลว้ มัดไขว้ไปมา โดยเว้นจงั หวะ
ของการมัดให้มีพื้นที่ว่างให้สีซึมเข้าไปได้ อย่างนี้ก็จะมีลาย
เกดิ ขน้ึ สวยงามแตกตา่ งจากการมดั ลกั ษณะวัตถอุ นื่ ๆ ด้วย

ศูนย์การเรียนชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนือคลอง

๑๗

การทำผ้ามัดยอ้ มจากสธี รรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธีการปฏิบัติทเี่ ป็นเลศิ

การพับแล้วหนีบ เป็นการพบั ผา้ เปน็ รูปแบบต่างๆ แลว้ เอาไมไ้ อศกรมี หรือไม้
ไผ่ผ่าบางๆ หนีบไว้ทั้งสองข้างเหมือนปิ้งปลา ต้องมัดไม้ให้แน่น
ภาพที่ออกมาก็จะเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น รูปดอกไม้ รูปสี่เหลี่ยม
เป็นต้น

1.6 วิธกี ารยอมผ้า

ตม้ น้าใหเ้ ดือด ใส่เกลอื ลงไปเพ่อื ชว่ ยใหส้ ีตดิ ผ้า
นานและสีสดขนึ้
นาวัตถุดิบ (ส่วนของตน้ โกงกาง ต้นตะบนู ต้น
เพกา ตน้ หูกวา้ ง)ทจี่ ะใช้สกดั สใี ส่ลงในถงุ ผ้าหรอื
ถงุ ตาข่าย จากน้ันนาไปตม้ ในนา้ เดอื ด รอจนกว่า
สจี ะออกมาเขม้ พอใจ
ใสผ่ ้าลงไปตม้ หมนั่ พลกิ ผ้าบอ่ ย ๆ เพื่อใหส้ ตี ิด
ท่วั กันอยา่ งสม่าเสมอ เสร็จแล้วกน็ าผ้าออกมา
วางท้งิ ไว้จนเยน็
นาผา้ ไปขยเี้ บา ๆ ในน้าตัวทาปฏิกิริยา กับน้า
สารส้ม เพอื่ ให้เกดิ เป็นสใี หมท่ ีอ่ าจจะเขม้ ข้ึน จาง
ลง หรือเปลีย่ นสไี ปเลยกไ็ ด้

แกะเชือกหรอื หนงั ยางออก พรอ้ มนาไปตากแดด
ให้แห้ง ก็เปน็ อนั เสร็จเรียบรอ้ ย

ศนู ย์การเรยี นชุมชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนือคลอง

๑๘

การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธกี ารปฏิบตั ิทเี่ ปน็ เลิศ

1.7 ผลิตภัณฑ์มีความประณีต สวยงาม แข็งแรง ทนทาน ผลิตภัณฑ์ผ้ามมัดย้อมจากสีธรรมชาติ
บ้านเกาะปูมีลวดลายท่ีสวยงาม และมีเนื้อผ้าทนทานเหมาะสมกับการสวมใส่กับสภาพอากาศร้อน ซึ่งทางกลุ่ม
ได้ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติเพื่อวางจำหน่าย ได้แก่ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน
ผา้ หม เสอ้ื ผ้า ผา้ คลุม่ ไหล และเสอื้

เส้ือ

ผา้ พนั คอ

ผา้ เชด็ หนา้

ชุดผา้ ปูท่ีนอน

ศูนยก์ ารเรียนชุมชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนือคลอง

๑๙

การทำผา้ มัดยอ้ มจากสธี รรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธกี ารปฏบิ ัตทิ เ่ี ปน็ เลิศ

3. วิทยากร และสมาชิกในกลุ่มร่วมถอดบทเรียน การทำผ้ามัย้อมจากสีธรรมชาติ ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจกพอเพยี ง

4. วิทยากร ปลูกฝังอุดมการณ์และให้ความรู้หลักการการบบรจุผลิตภัณฑ์ การตลาดของ
ผลิตภัณฑ์ และการทำปัญชีรายรับ รายจายของกลุ่ม โดยมีครูประจำกลุ่มศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเกาะจำ
ให้คำปรึกษาแนะนำ

5. ปลูกฝั่งจิตสำนึกให้กับสมาชิกรู้จักประหยัด อดออม พึ่งพาตนเอง การมีคุณธรรมจริยธรรม
รักและเหน็ คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในชมุ ชน รวมถึงประโยชนข์ องประเทศชาติ

6. การตลาดของสนิ คา้ ไดจ้ ดั ตงั้ สิ้นค้าตามร้านคา้ ท่ีเข้ามกลมุ่ ภายในชุมชน และการออกจำหน่าย
ตามสถานที่ภายนอกของการจัดกรรมแต่ละหน่วยงาน เช่น งานวิชาการมหกรรม กศน. การจัดกิจกรรมของ
วิสาหกิจชุมชน การจัดกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลภายในอำเภอเหนือคลอง การขายทางของทาง
ออนไลน์ เชน่ Fanpage/ facebook /LINE

7. วิทยากรดำเนินการประเมินผลการทำกิจกรรมโดยทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
เรือ่ ง การทำผา้ มดั ยอ้ มจากสธี รรมชาติ

ดา้ นการตรวจสอบและประเมินผล (C)
1. ศนู ยก์ ารเรยี นชุมชนบ้านเกาะจำ ตดิ ตามการดำเนินงานโดยการประชุมสมาชิกกลุ่มการทำผ้า

มัดย้อมจากสีธรรมชาติ เพื่อทราบผลความก้าวในการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค และร่วมกันหาแนว
ทางแก้ไข

2. สรุปผลการดำเนินงานรายเดือน และรายปีรวมถึงประเมินการชื้อวัสดุอุปกรณ์ และการขาย
ผลิตภณั ฑข์ องกลมุ่ การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ

3. สรุปการดำเนินโครงการที่ได้จากการประเมินผลเมื่อสิ้นโครงการโดยรวบรวมผลงาน จุดเด่น
และจุดที่ควรพัฒนา รวมทั้งข้อเสนอแนะจากการประเมิน การนำไปใช้ประโยชน์ และการจัดทำรายงาน
เพอ่ื เสนอแนวทางปฎบิ ตั ทิ ี่ดี (Best Practice ) ดา้ นการส่งเสริมเพื่อพฒั นาอาชพี ในชุมชน

4. เผยแพร่ผลงานแนวทางปฎิบัติที่ดี (Best Practice ) ด้านการส่งเสริมเพื่อพัฒนาอาชีพโดย
นำเสนอผลงาน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะต่อที่ประชุม ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเกาะจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ในการวางแผนจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ร่วมทั้งเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ เช่น นำเสนอข้อมูลในเครือข่าย
กศน.ระดบั ตำบล จดั กจิ กรรมแลกเปล่ียนเรยี นรูข้ องประชาชนท่ตี ้องการสง่ เสริมด้านอาชพี

5. นำเสนอขอเสนอแนะของผู้เรียน วิทยากร ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องมาปรับปรุงรูปแบบและวิธี
ดำเนินงานการส่งเสริมอาชพี เพื่อเผยแพรใ่ หช้ ุมชนอื่นท่มี ีสภาพบรบิ ทเหมือนหรือใกลเ้ คยี งกนั ได้นำไปปรับใช้ใน
การจัดกิจกรรมสง่ เสรมิ อาชพี ตอ่ ไป

ด้านการปรบั ปรุงและพัฒนาผลการปฎิบตั งิ าน (A)
นำเสนอขอเสนอแนะของผู้เรียน วิทยากร ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องมาปรับปรุงรูปแบบและวิธี
ดำเนินงานการสง่ เสรมิ อาชีพ เพือ่ เผยแพร่ใหช้ มุ ชนอน่ื ทมี่ สี ภาพบรบิ ทเหมอื นหรือใกล้เคยี งกนั ได้นำไปปรับใช้ใน
การจดั กจิ กรรมส่งเสรมิ อาชีพตอ่ ไป

กลยทุ ธห์ รอื ปัจจยั ความสำเรจ็ ที่ทำใหป้ ระความสำเร็จ
1. การมสี ว่ นรวมของครู วทิ ยากร ผเู้ รียน และชุมชนในการวิเคราะหข์ ้อมูลพื้นฐานของชุมชนทให้รู้

สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนของตนเองให้ไปสเู่ ป้าหมายที่ต้องการได้ การจดั ต้ังกลุ่มผลิตภัณฑ์การ
ทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติบ้านเกาะปู ได้รับการสนับสนุนจากการจัดตั้งกลุ่มจาก ศูนย์การศึกษานอกระบบ
.

ศูนย์การเรยี นชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)

ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนือคลอง

๒๐

การทำผ้ามดั ย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธีการปฏบิ ตั ิทเี่ ปน็ เลศิ

และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเหนือคลอง การสนับสนุนจากประธานการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านเกาะปู
และองคก์ รประธานแหล่งเรยี นรูใ้ นชุมชนบ้านเกาะปู การสง่ เสริมอปุ กรณ์และวัสดจุ ากชมรมประธานผู้นำชุมชน
และกลุ่มออมทรัพย์บ้านเกาะปู และร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อเป็นแหล่งเรียนให้ผู้รับบริการ นักท่องเที่ยว
นักเรยี น นักศกึ ษา ไดศ้ กึ ษาขอ้ มลู เพื่อเป็นแนวทางในการสง่ เสรมิ การเรียนรู้ และการประยุกตใ์ ช้ในดา้ นตา่ งๆ

2. การนำเอาวัฒนาธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนทรัพยากรในชุมชนเป็นองค์ความรู้พื้นฐาน
ในการตอ่ ยอดความรูใ้ ห้เกดิ การพฒั นาอย่างย่ังยนื

3. กจิ กรรมการทำผา้ มัดย้อมจากสธี รรมชาติ สร้างรายได้ใหก้ บั ประชนในชุมชนโดยการดำเนินการ
ตามแนวทางวงจรคุณภาพของเดมิ่ง (PDCA) ซึ่งเป็นการดำเนินอย่างเป็นระบบสามรถตรวจได้ทุกขั้นตอน
โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ สภาพปัญหา ความต้องการของชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของครู วิทยากร ผู้เรียน
ชุมชน รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการวางแผนและออกแบบกิจกรรมของครู ผู้เรียน ชุมชน ตลอดจนมีการติตาม
ประเมนิ ผลทกุ ขน้ั ตอน จึงทำให้สามารถพัฒนาผ้เู รียนไดบ้ รรลตุ ามตัวชวี้ ัดความสำเรจ็ ของโครงการ

ขอ้ เสนอแนะ
1. ควรส่งเสรมิ ให้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อมอยา่ งต่อเนือ่ งเช่น การสร้างสิน้ คา้

ท่ที อ้ งตลาดเพ่อื เพม่ิ มูลค่าใหก้ บั ผลติ ภัณฑ์
2. ควรเผยแพร่และขยายความรรู้ ูปแบบลวดลายและผลิตภณั ฑ์ สชู่ ุมชนอ่ืนๆ
3. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลรูปแบบ วิธีการทำได้จากคลังความรู้ที่แหล่ง

เรียนเรียนการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ และศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเกาะจำ ได้รวบรวมจัดเก็บไว้
หลากหลาย

4. ควรพฒั นาผเู้ รียนในเรื่องช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยเรยี นรู้จากศูนย์ดิจิทัลชุมชน
เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เรื่องการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ ตลอดจนผลิตภัณฑ์อื่น
ของชมุ ชน

เอกสารอา้ งอิง
แนวทางปฎิบัติที่ดี (Best Practice ) สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษา

ตามอัธยาศัยภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2560 (ระบบออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.lertchaimaster.com
/doc/NNFE-Best-Practice.pdf (วนั ที่สืบค้นขอ้ มลู 1 เมษายน 2564)

ศนู ยก์ ารเรียนชุมชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนอื คลอง

๒๑

การทำผา้ มดั ย้อมจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วิธีการปฏิบัติทเ่ี ป็นเลศิ

ภาคผนวก

➢ ภาพกิจกรรมการทำผา้ มัดยอ้ ม
• ภาพขนั้ ตอนการออกแบบลาย

• ภาพขนั้ ตอนการทำผ้ามัดย้อม

ศนู ย์การเรียนชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนือคลอง

๒๒

การทำผ้ามดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธีการปฏบิ ตั ทิ เ่ี ป็นเลศิ

• ภาพผลติ ภณั ฑผ์ า้ มดั ย้อมจากสีธรรมชาติ

• ภาพการมีสว่ นร่วมของเครือข่าย

ศูนย์การเรียนชุมชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนอื คลอง

๒๓

การทำผ้ามัดยอ้ มจากสธี รรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรือวิธีการปฏบิ ตั ิทเี่ ป็นเลศิ

• ภาพการตลาดของสินค้า

ศนู ยก์ ารเรยี นชมุ ชนบา้ นเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอเหนอื คลอง

๒๔

การทำผา้ มดั ยอ้ มจากสีธรรมชาติ (Best Practice) นวตั กรรมหรอื วธิ ีการปฏิบตั ิทเี่ ป็นเลศิ

ศนู ยก์ ารเรยี นชมุ ชนบ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรบี อยา (http://krabi.nfe.go.th:800/73/)
ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอเหนอื คลอง


Click to View FlipBook Version