The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รูปแบบระบบการเกษตรแบบยั่งยืน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Suchanee Subsomboon, 2019-06-05 12:46:14

รูปแบบระบบการเกษตรแบบยั่งยืน

รูปแบบระบบการเกษตรแบบยั่งยืน

รูปแบบระบบการเกษตรแบบยง่ั ยนื ที่เหมาะสม

เอกสารประกอบการเรียน หน่วยท่ี 2 วชิ า ระบบการปลูกพืช

จดั ทำโดย สชุ นีย์ ทรัพยส์ มบรู ณ์ ระบบการปลูกพืช (Cropping systems)

เอกสารประกอบการเรยี น วิชาระบบการปลกู พชื
หน่วยท่ี 2 รูปแบบของระบบการปลกู พชื ท่ียง่ั ยืน

รูปแบบระบบการเกษตรแบบย่งั ยนื ท่เี หมาะสม

เกษตรกรรมย่ังยืน (Sustainable agriculture) หมายถึง การทาการเกษตรทต่ี อบสนองต่อความ
ต้องการของผบู้ ริโภคและเปน็ มิตรกับสภาพแวดล้อม และความสมดลุ ของสภาพธรรมชาติ

หมายถึง ระบบการผลิตทางการเกษตรหรือระบบฟาร์มในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับภูมิ
นิเวศของแต่ละพ้ืนที่ จดั เป็นระบบการผลติ ที่เหมาะสม (Appropriate production system) กบั สภาพทรัพยากร
และส่ิงแวดล้อมในไร่นาท่ีแตกต่างกันออกไป ซ่ึงรูปแบบของระบบการผลิตทางการเกษตรแบบยั่งยืนนั้น อาจ
จาแนกออกเป็นลักษณะต่างๆ ตามองค์ประกอบที่สาคัญ และอาจจะมีหลากหลายรูปแบบหรือชื่อเรียกที่ไม่
เหมือนกนั ก็ได้ ตามแต่ลักษณะการผลิตว่าจะเน้นหนกั ด้านใด หรือมจี ุดเด่นท่ีตา่ งกนั ออกไปอยา่ งไร

รูปแบบหลกั ๆ ที่ชัดเจนและเปน็ ท่เี ข้าใจกนั ท่วั ไป ไดแ้ ก่
1. เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) เนน้ กิจกรรมการผลติ มากกวา่ สองกจิ กรรมขึ้นไป

ในเวลาเดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้เกื้อกูลซ่ึงกันและกัน เป็นการสร้างมูลค่าเพ่ิมให้มากขึ้น จากการใช้
ประโยชนท์ รัพยากรทีด่ นิ ที่มีจากดั ในไรน่ าใหเ้ กิดประโยชน์สูงสดุ

จุดเด่น คือ เป็นการจัดการความเส่ียง (Risk management) และการประหยัดทาง
ขอบข่าย (Economy of scope)

2. เกษตรอินทรีย์ (Organic farming) เน้นหนักการผลิตท่ีไม่ใช้สารอนินทรีย์เคมี หรือเคมี
สังเคราะห์ แต่สามารถใช้อินทรีย์เคมีได้ เช่น สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอม หรือสารสกัดชีวภาพ เพ่ือเพิ่ม
ความอุดมสมบรู ณ์แก่ทรัพยากรดิน

จดุ เด่น คอื เป็นการสรา้ งความปลอดภยั ดา้ นอาหาร (Food safety) ให้แก่ผูบ้ รโิ ภค
3. เกษตรธรรมชาติ (Natural farming) เน้นหนักการทาเกษตรท่ีไม่รบกวนธรรมชาติ หรือรบกวน
ให้น้อยทส่ี ุดที่จะทาได้ โดยการไม่ไถพรวน ไมใ่ ชส้ ารเคมี ไม่ใช้ปยุ๋ เคมี และไม่กาจดั วัชพืช แต่สามารถมกี ารคลุม
ดนิ และใช้ปุย๋ พืชสดได้

จุดเด่น คือ เป็นการฟ้ืนฟูความสมดุลของระบบนิเวศ (Rehabiltation of ecological
balance) และลดการพ่งึ พาปัจจัยภายนอก

4. เกษตรทฤษฎีใหม่ (New theory agriculture) เน้นหนักการจัดการทรพั ยากรน้าในไร่นาให้
เพียงพอเพ่ือผลิตพืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวเอาไว้บริโภคในครัวเรือน รวมท้ังมีการผลิตอ่ืน ๆ เพ่ือบริโภคและ
จาหนา่ ยส่วนท่ีเหลือแก่ตลาด เพื่อสร้างรายได้อยา่ งพอเพยี ง

จุดเด่น คือ เป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (Food security) ซ่ึงเป็นขั้นพ้ืนฐานของ
เศรษฐกจิ พอเพยี งระดบั ครัวเรอื น

5. วนเกษตร (Agroforesty) เน้นหนักการมีต้นไม้ใหญ่และพืชเศรษฐกิจหลายระดับท่ีเหมาะสม
กับแต่ละพ้ืนที่ เพ่ือการใช้ประโยชน์ป่าไม้ของพืชหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ท่ีเกื้อกูลกัน ท้ังยังเป็นการเพ่ิมพื้นที่ของ
ทรพั ยากรปา่ ไม้ทีม่ ีจากัดได้อีกทางหนึง่

จุดเด่น คือ เป็นการคงอยู่ร่วมกันของป่าและการเกษตร ท้ังยังเพิ่มความหลากหลายทาง
ชวี ภาพ (Biodiversity) อกี ดว้ ย

ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน หรือเกษตรกรรมทางเลือก เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่ให้
ความสาคัญกับความสมดุลระบบนิเวศ ช่วยฟ้ืนฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในไร่นาและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้าง
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้า ความหลากหลายทางชีวภาพ เปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
เกษตรกรและชุมชน ซึ่งจะเก่ียวข้องกับกระบวนการส่งเสริมและพัฒนา เพื่อเปล่ียนแปลงจิตใจและพฤติกรรม
ของเกษตรกร ดังนั้นการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน คือการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่าง ๆ
ท่ีเหมาะสม เพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้นาไปปฏิบัติได้จริง และพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด
เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นรูปแบบหน่ึงของระบบเกษตรกรรมย่ังยืน ท่ีได้น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวที่นามาประยุกต์สู่การปฏิบัติท่ีเป็นรูปธรรม ดังตวั อยา่ ง

ท่มี า : สถาบนั เศรษฐกจิ พอเพียง
: เครือขา่ ยกสกิ รรมธรรมชาติ มลู นธิ ิกสกิ รรมธรรมชาติ
: สถาบันเศรษฐกิจพอเพยี ง มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั ราชนครนิ ทร์


Click to View FlipBook Version