The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายวิชาศาสนาหน้าที่พลเมือง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Jacky.Wachi, 2021-06-10 00:28:55

รายวิชาศาสนาหน้าที่พลเมือง

รายวิชาศาสนาหน้าที่พลเมือง

Keywords: รายวิชาศาสนาหน้าที่พลเมือง สค31003

หนงั สอื เรียนสาระการพฒั นาสังคม

รายวิชา ศาสนาและหนาทพี่ ลเมือง

(สค31002)

ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย

หลักสตู รการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน
พุทธศกั ราช 2551

(ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ. 2560)

สํานักงานสงเสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั
สาํ นกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

หามจําหนา ย
หนังสอื เรยี นเลม นี้จัดพมิ พดว ยงบประมาณแผน ดนิ เพือ่ การศกึ ษาตลอดชวี ติ สาํ หรบั ประชาชน
ลิขสิทธิเ์ ปน ของ สํานกั งาน กศน. สํานกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร

เอกสารทางวชิ าการลาํ ดบั ท่ี 43 /2557

หนังสอื เรยี นสาระการพัฒนาสงั คม
รายวชิ า ศาสนาและหนา ท่พี ลเมอื ง (สค31002)
ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย
(ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ. 2560)

ลขิ สิทธเ์ิ ปน ของ สาํ นักงาน กศน. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร
เอกสารทางวิชาการลาํ ดับที่ 43/2557

คํานาํ

สาํ นักงานสง เสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยไดดําเนินการจัดทําหนังสือเรียน
ชุดใหมนี้ขึ้น เพ่ือสําหรับใชในการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
พุทธศักราช 2551 ท่ีมวี ัตถุประสงคใ นการพัฒนาผูเรียนใหม คี ณุ ธรรม จริยธรรม มีสติปญญา และศักยภาพ
ในการประกอบอาชพี การศึกษาตอ และสามารถดํารงชีวิตอยูในครอบครัว ชุมชน สังคมไดอยางมีความสุข
โดยผูเ รยี นสามารถนําหนังสือเรียนไปใชในการศึกษาดวยวิธีการศึกษาคนควาดวยตนเอง ปฏิบัติกิจกรรม
รวมท้งั ทําแบบฝก หดั เพอ่ื ทดสอบความรูใหก ับผูเรยี น และไดมกี ารปรับเพ่มิ เติมเนือ้ หาเกยี่ วกบั การมีสว นรว ม
ในการปองกนั และปราบปรามการทจุ ริต เพือ่ ใหส อดคลอ งกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นัน้

ขณะนี้ คณะกรรมการรักษาความสงบแหง ชาติ (คสช.) มีนโยบายในการปลุกจิตสํานึกใหคนไทย
มคี วามรักชาติ เทดิ ทนู สถาบันพระมหากษตั ริย เสรมิ สรา งคุณธรรม จรยิ ธรรม คา นยิ มในการอยรู ว มกันอยา ง
สามคั คี ปรองดอง สมานฉนั ท สํานกั งานสงเสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงไดมีการ
ดําเนนิ การปรับเพ่ิมตวั ชี้วัดของหลักสตู ร และเน้อื หาหนังสอื เรียนใหส อดคลอ งตามนโยบายดังกลา ว โดยเพมิ่
เน้ือหาเกี่ยวหลักอํานาจอธิปไตย หลักความเสมอภาค หลักนิติรัฐและนิติธรรม หลักเหตุผล หลักการ
ประนีประนอม และหลักการยอมรับความเห็นตาง เพื่อการอยูรวมกันอยางสันติสามัคคี ปรองดอง
สมานฉันท และ คุณธรรม จริยธรรมในการอยูรวมกันอยางสันติ สามัคคีปรองดอง สามานฉันท เพื่อให
สถานศึกษานาํ ไปใชในการจดั การเรยี นการสอนใหกับนักศึกษา กศน. ตอ ไป

ท้ังนี้ สาํ นกั งานสง เสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั ไดรบั ความรว มมอื ดวยดี
จากผูทรงคุณวฒุ ิและผูเ กีย่ วขอ งหลายทา นที่คนควา และเรียบเรยี งเน้ือหาสาระจากส่อื ตาง ๆ เพ่ือใหไดส่ือที่
สอดคลองกบั หลกั สูตร และเปนประโยชนตอผเู รียนท่อี ยูนอกระบบอยางแทจริง ขอขอบคุณคณะท่ีปรึกษา
คณะผเู รยี บเรยี ง ตลอดจนคณะผจู ัดทาํ ทุกทา นท่ีไดใ หความรว มมือดว ยดีไว ณ โอกาสนี้

สํานักงาน กศน.
กันยายน 2557

สารบญั

หนา
คําแนะนําการใชห นังสือเรยี น
โครงสรา งรายวชิ า ศาสนาและหนาที่พลเมือง (สค31002)

ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย
บทที่ 1 ศาสนาในโลก............................................................................................................1

เรื่องที่ 1 ความหมาย คุณคา และประโยชนข องศาสนา………………………................2
เรอ่ื งท่ี 2 พทุ ธประวัตแิ ละหลักธรรมคาํ สอนของพทุ ธศาสนา...................................3
เรอ่ื งที่ 3 ประวัติศาสดา และคาํ สอนของศาสนาอสิ ลาม .......................................20
เรื่องท่ี 4 ประวตั ิศาสดา และคําสอนของศาสนาครสิ ต..........................................22
เรอ่ื งที่ 5 ประวัตศิ าสนาพราหณ - ฮินดู และคาํ สอน ............................................25
เรื่องที่ 6 ประวัติศาสดาและคาํ สอนของศาสนาซกิ ซ.............................................34
เรอ่ื งที่ 7 การเผยแผศาสนาตา ง ๆ ในโลก.............................................................40
เรื่องท่ี 8 กรณตี วั อยางปาเลสไตน.........................................................................44
เรอ่ื งท่ี 9 แนวปองกัน และแกไขความขัดแยงทางศาสนา......................................46
เรื่องที่ 10 หลักธรรมในแตละศาสนาท่ีสง ผลใหอ ยูรวมกับ

ศาสนาอื่นไดอยา งมีความสขุ ..................................................................47
เรือ่ งที่ 11 วิธีฝก ปฏิบัติพฒั นาจติ ในแตล ะศาสนา....................................................48
บทที่ 2 วฒั นธรรม ประเพณีและคานิยมของประเทศของโลก .......................................... 52
เรอ่ื งท่ี 1 ความหมาย ความสาํ คญั ของวฒั นธรรม .................................................53
เรอ่ื งท่ี 2 เอกลักษณวฒั นธรรมไทย.......................................................................54
เรอื่ งท่ี 3 การเปลี่ยนแปลงทางวฒั นธรรมและการเลอื กรบั วฒั นธรรม ...................55
เรอ่ื งท่ี 4 ประเพณีในโลก......................................................................................56
เร่ืองที่ 5 ความสําคัญของคานยิ ม และคา นยิ มในสังคมไทย ..................................56
เรอ่ื งที่ 6 คา นยิ มทพ่ี งึ ประสงคข องสังคมโลก.........................................................59
เรื่องที่ 7 การปอ งกนั และแกไขปญ หาพฤติกรรมตามคานยิ ม

ทไ่ี มพ งึ ประสงคของสงั คมไทย................................................................61
บทท่ี 3 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจกั รไทย....................................................................... 63

เร่ืองที่ 1 ความเปนมาการเปลยี่ นแปลงรฐั ธรรมนญู ..............................................64
เร่อื งท่ี 2 สาระสาํ คญั ของรัฐธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย................................66
เรอ่ื งท่ี 3 บทบาทหนาทข่ี ององคก รตามรฐั ธรรมนูญ

และการตรวจสอบการใชอาํ นาจรัฐ........................................................74
เรอ่ื งที่ 4 บทบัญญัตขิ องรฐั ธรรมนูญท่มี ผี ลตอการเปลีย่ นแปลง

ทางสงั คมและมีผลตอฐานะของประเทศไทยในสงั คมโลก.......................79
เร่ืองที่ 5 หนาทพี่ ลเมอื งตามรัฐธรรมนญู และกฎหมายอน่ื ๆ.................................81

สารบญั (ตอ)

หนา
เรอื่ งท่ี 6 หลักอํานาจอธิปไตย หลกั ความเสมอภาค หลักนติ ิรฐั

และนติ ธิ รรม หลักเหตุผล หลักการประนปี ระนอมและ
หลกั การยอมรับความคิดเหน็ ตางเพ่อื การอยูร ว มกนั
อยา งสนั ติ สามคั คี ปรองดอง สมานฉันท...............................................83
เรื่องท่ี 7 การมีสว นรวมในการปอ งกนั และปราบปรมการทจุ รติ .............................98
บทท่ี 4 สิทธมิ นษุ ยชน ...................................................................................................... 123
เร่ืองท่ี 1 หลักสิทธิมนุษยสากล.......................................................................... 124
เรือ่ งที่ 2 สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย.............................................................. 129
เรอ่ื งท่ี 3 แนวทางการปฏบิ ัตติ นตามหลักสิทธมิ นษุ ยชน..................................... 133
เฉลยกิจกรรม ........................................................................................................... 138
บรรณานุกรม ........................................................................................................... 141
คณะผูจัดทํา ........................................................................................................143

คาํ แนะนําในการใชหนังสือเรียน

หนงั สือเรียนสาระการพัฒนาสังคม รายวิชาศาสนาและหนา ที่พลเมือง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เปนหนังสอื เรียนทจ่ี ดั ทําขนึ้ สาํ หรับผูเรียนทเ่ี ปน นักศกึ ษานอกระบบ

ในการศึกษาหนังสือเรยี นสาระการพฒั นาสังคม รายวิชาศาสนาและหนา ท่ีพลเมือง ผูเรียนควรปฏิบัติ
ดงั นี้

1. ศกึ ษาโครงสรา งรายวิชาใหเ ขาใจในหัวขอสาระสําคัญ ผลการเรียนรูท ่ีคาดหวัง และขอบขาย
เนอ้ื หา

2. ศึกษารายละเอยี ดเนื้อหาของแตล ะบทอยางละเอยี ด และทํากจิ กรรมตามที่กําหนดแลวตรวจสอบ
กบั แนวตอบกจิ กรรมท่ีกาํ หนด ถา ผเู รียนตอบผิดควรกลบั ไปศึกษาและทําความเขา ใจในเนอ้ื หาน้นั ใหม ใหเ ขาใจ
กอนท่จี ะศึกษาเรอื่ งตอ ไป

3. ปฏิบตั กิ จิ กรรมทา ยเรือ่ งของแตล ะเรือ่ ง เพอ่ื เปนการสรุปความรู ความเขา ใจของเนื้อหาในเร่ือง
น้ัน ๆ อีกครง้ั และการปฏบิ ัติกิจกรรมของแตละเนือ้ หาแตล ะเรอ่ื ง ผเู รียนสามารถนําไปตรวจสอบกับครูและ
เพอ่ื น ๆ ทรี่ ว มเรยี นในรายวชิ าและระดบั เดียวกนั ได

4. หนังสือเรียนเลม นีม้ ี 4 บท คอื
บทที่ 1 ศาสนาในโลก
บทที่ 2 วัฒนธรรม ประเพณี และคา นยิ มของประเทศไทยและของโลก
บทที่ 3 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจกั รไทย
บทท่ี 4 สิทธมิ นษุ ยชน

โครงสรา ง

รายวิชา ศาสนาและหนา ท่ีพลเมือง (สค31002)
ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย

สาระสําคัญ

เปน สาระที่เกี่ยวกับศาสนาตาง ๆ ที่เกี่ยวขอ งกับกําเนิดศาสนาและศาสดาของศาสนาตา ง ๆ
หลักธรรมสําคัญของศาสนาตา ง ๆ การเผยแพรศาสนา ความขัดแยง ในศาสนา การปฏิบัติตนใหอยูรวมกัน
อยางสนั ติสขุ การฝกจติ ในแตล ะศาสนา การพฒั นาปญ ญาในการแกไ ขปญ หา ตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสงั คม
วฒั นธรรม ประเพณดี านภาษา การแตง กาย อาหาร ประเพณีสําคญั ๆ ของประเทศตา ง ๆ ในโลก การอนุรักษ
และสืบทอดวฒั นธรรม ประเพณี การมีสวนรวมในการสืบทอดและปฏิบัติตนเปนแบบอยางในการอนุรักษ
วฒั นธรรมตามประเพณีของชาติ และการเลือกปรับใชว ัฒนธรรมตา งชาติไดอยางเหมาะสมกับตนเองและ
สังคมไทย คานยิ มท่ีพึงประสงคของสงั คมไทยและประเทศตาง ๆ ในโลกการปฏิบัติตน เปน ผูน ําในการปองกัน
และแกไ ขพฤตกิ รรมไมเ ปน ท่พี งึ ประสงคใ นสงั คมไทย

ผลการเรียนรูท ่คี าดหวงั

1. อธิบายประวตั ิ หลักคาํ สอน และการปฏิบัตติ นตามหลกั ศาสนาทตี่ นนบั ถอื
2. เหน็ ความสาํ คญั ของวัฒนธรรม ประเพณี และมีสวนในการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรม ประเพณี
ทองถนิ่
3. ปฏบิ ัตติ นตามหลกั ธรรมทางศาสนา วฒั นธรรม ประเพณี
4. ยอมรบั และปฏิบตั ิตนเพือ่ การอยรู ว มกนั อยา งสนั ตสิ ขุ ในสังคมท่ีมีความหลากหลายทางศาสนา
วฒั นธรรม ประเพณี
5. วิเคราะหหลักการสําคัญของประชาธิปไตยและปฏิบัติตนตามคุณธรรม จริยธรรม คานิยมใน
การอยรู วมกันอยา งสันติ สามคั คี ปรองดอง สมานฉันท
6. วิเคราะหแนวทางการแกปญหาการทุจริต และมีสวนรวมในการปองกันและปราบปราม
การทจุ ริต

ขอบขา ยเนื้อหา

บทที่ 1 ศาสนาในโลก
เรอ่ื งที่ 1 ความหมาย คุณคา และประโยชนข องศาสนา
เรอ่ื งที่ 2 พทุ ธประวตั แิ ละหลักธรรมคําสอนของพทุ ธศาสนา
เรื่องท่ี 3 ประวตั ิศาสดา และคาํ สอนของศาสนาอสิ ลาม
เรอื่ งท่ี 4 ประวตั ศิ าสดา และคําสอนของศาสนาครสิ ต
เรอ่ื งท่ี 5 ประวิตศิ าสนาพราหมณ - ฮนิ ดู และคําสอน
เรอ่ื งท่ี 6 ประวตั ิศาสดาของศาสนาซกิ ซและคําสอน
เรื่องท่ี 7 การเผยแผศ าสนาตา ง ๆ ในโลก
เรื่องที่ 8 กรณตี ัวอยางปาเลสไตน

เรอ่ื งท่ี 9 แนวทางปอ งกนั และแกไขความขัดแยงทางศาสนา

เร่ืองท่ี 10 หลักธรรมในแตละศาสนาทีส่ ง ผลใหอยูรวมกบั ศาสนาอ่ืนไดอ ยา งมคี วามสุข
เร่ืองท่ี 11 วธิ ฝี กปฏิบตั ิพฒั นาจิตในแตล ะศาสนา
บทท่ี 2 วฒั นธรรม ประเพณี และคานิยมของประเทศของโลก

เรื่องท่ี 1 ความหมาย ความสําคัญของวัฒนธรรม
เรื่องที่ 2 เอกลักษณวฒั นธรรมไทย
เร่ืองที่ 3 การเปล่ียนแปลงทางวฒั นธรรมและรบั วัฒนธรรม

เรอ่ื งท่ี 4 ประเพณใี นโลก
เรื่องท่ี 5 ความสําคญั ของคา นิยม และคา นิยมในสงั คมไทย
เร่อื งที่ 6 คา นิยมที่พึงประสงคข องสงั คมโลก

เรอ่ื งที่ 7 การปอ งกันและแกไ ขปญ หาพฤตกิ รรมตามคา นยิ ม
ที่ไมพงึ ประสงคข องสังคมไทย

บทท่ี 3 รฐั ธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย

เรื่องที่ 1 ความเปน มาการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
เรอ่ื งที่ 2 สาระสําคญั ของรัฐธรรมนญู แหง ราชอาณาจักรไทย
เร่อื งที่ 3 บทบาทหนา ทข่ี ององคก รตามรฐั ธรรมนญู และการตรวจสอบการใชอาํ นาจรฐั

เรือ่ งท่ี 4 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่มีผลตอการเปล่ียนแปลงทางสังคมและมีผลตอ
ฐานะของประเทศไทยในสังคมโลก

เร่อื งท่ี 5 หนา ท่พี ลเมอื งตามรฐั ธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ

เรื่องท่ี 6 หลกั อํานาจอธิปไตย หลกั ความเสมอภาค หลกั นิตริ ัฐและนิติธรรม
หลกั เหตผุ ล หลักการประนปี ระนอมและหลกั การยอมรับความคิดเห็นตา ง
เพือ่ การอยูรว มกนั อยางสันติ สามคั คี ปรองดอง สมานฉันท

เรื่องท่ี 7 การมสี วนรวมในการปองกนั และปราบปรามการทจุ รติ
บทท่ี 4 สิทธิมนุษยชน

เร่อื งท่ี 1 หลักสิทธิมนุษยสากล

เรือ่ งท่ี 2 สิทธมิ นษุ ยชนในประเทศไทย
เร่อื งท่ี 3 แนวทางการปฏิบัตติ นตามหลกั สทิ ธมิ นษุ ยชน
บรรณานกุ รม

คณะทาํ งาน

ส่อื ประกอบการเรียนรู

1. หนังสือ ศาสนาสากล
2. ซีดี ศาสนาพทุ ธ

ศาสนาครสิ ต
ศาสนาอสิ ลาม

ศาสนาฮนิ ดู
3. หนังสอื วัฒนธรรม ประเพณีในสงั คมไทย
4. หนังสือวัฒนธรรม ประเพณขี องประเทศตา ง ๆ ในโลก

5. คอมพิวเตอร อินเทอรเ นต็

ห น า | 1

บทที่ 1 ศาสนาในโลก

สาระสําคัญ

ศาสนาตาง ๆ ในโลกมีคุณคาและเปนประโยชนตอชาวโลก เพราะกอใหเกิดจริยธรรมเปน
แนวทางการดําเนินชีวิต ทําใหมนุษยสามารถปกครองตนเองได ชวยใหสังคมดีขึ้น สําหรับประเทศไทยมี
ผูนับถือศาสนาพุทธมากท่ีสุด รองลงมา คือ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต ศาสนาฮินดู และศาสนาซิกข
แตในโลกมีผูนับถือศาสนาคริสตมากที่สุด รองลงมา คือ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ
การศึกษาคําสอนศาสนาตาง ๆ ของศาสนิกชน เพ่ือนํามาประพฤติสงผลใหสังคมมีความสุข ศาสนา
ทุกศาสนาลวนสัง่ สอนใหคนเปนคนดี เมื่อสงั คมเกดิ ความขดั แยง ควรรบี หาทางแกไข โดยการนําคําสอนทาง
ศาสนามาประพฤตปิ ฏบิ ตั ิจงึ จะสงผลใหสงั คมเกดิ ความสงบสขุ ตลอดไป

ผลการเรียนที่คาดหวัง

1. มีความรูความเขา ใจศาสนาทสี่ ําคญั ๆ ในโลก
2. มีความรคู วามเขา ใจในหลกั ธรรมสําคัญของแตละศาสนา
3. เหน็ ความสาํ คัญในการอยูรว มกับศาสนาอ่ืนอยางสนั ติสุข
4. ประพฤตปิ ฏิบัติตนสงผลใหส ามารถอยรู ว มกนั กบั ศาสนาอื่นอยา งสันตสิ ุข
5. ฝกปฏิบัติพัฒนาจิตเพ่ือใหสามารถพัฒนาตนเองใหมีสติปญญาในการแกปญหาตาง ๆ และ

พฒั นาตนเอง

ขอบขายเนอื้ หา

บทท่ี 1 ศาสนาในโลก
เรอ่ื งท่ี 1 ความหมายคุณคาและประโยชนข องศาสนา
เร่อื งที่ 2 พทุ ธประวตั ิและหลกั ธรรมคาํ สอนของพทุ ธศาสนา
เรอ่ื งท่ี 3 ประวตั ิศาสดาและคําสอนของศาสนาอสิ ลาม
เรื่องท่ี 4 ประวตั ศิ าสดาและคาํ สอนของศาสนาครสิ ต
เรื่องท่ี 5 ประวัตศิ าสนาพราหมณ - ฮนิ ดู และคาํ สอน
เรอ่ื งที่ 6 ประวัตศิ าสดาและคําสอนของศาสนาซกิ ข
เรอ่ื งที่ 7 การเผยแพรศาสนาตาง ๆ ในโลก
เรอ่ื งท่ี 8 กรณีตวั อยางปาเลสไตน
เรอ่ื งท่ี 9 แนวทางปองกันและแกไขความขดั แยงทางศาสนา
เรอ่ื งท่ี 10 หลักธรรมในแตละศาสนาทสี่ งผลใหอ ยรู ว มกบั ศาสนาอืน่ ไดอยา งมีความสขุ
เรอ่ื งท่ี 11 วธิ ฝี กปฏิบตั พิ ฒั นาจิตในแตล ะศาสนา

สื่อประกอบการเรียนรู

ซีดศี าสนาสากล
เอกสารศาสนาสากลและความขัดแยงในปาเลสไตน

ห น า | 2

เรอื่ งท่ี 1 ความหมายคุณคา และประโยชนของศาสนา

ความหมายของศาสนา

ศาสนา คอื คําสอนทศ่ี าสดานํามาเผยแผ ส่งั สอน แจกแจง แสดงใหม นษุ ยเวน จากความช่ัว กระทํา
แตค วามดี ซึ่งมนษุ ยย ดึ ถือปฏบิ ตั ติ ามคาํ สอน นนั้ ดวยความเคารพเลอ่ื มใสและศรัทธา คําสอนดังกลาวจะมี
ลกั ษณะเปน สัจธรรม ศาสนามคี วามสําคัญตอบุคคลและสังคม ทําใหมนุษยทุกคนเปนคนดีและอยูรวมกัน
อยางสันติสุข ศาสนาในโลกน้ีมีอยูมากมายหลายศาสนาดวยกัน แตวัตถุประสงคอันสําคัญย่ิงของทุก ๆ
ศาสนาเปนไปในทางเดียวกนั กลา วคือ จูงใจใหคนละความช่ัว ประพฤติความดีเหมือนกันหมด หากแตวา
การปฏบิ ตั ิพธิ กี รรมยอ มแตกตา งกันตามความเชอื่ ถอื ของแตละศาสนา

คณุ คา ของศาสนา

1. เปน ทีย่ ดึ เหนี่ยวจิตใจของมนุษย
2. เปน บอเกดิ แหงความสามัคคขี องหมูคณะและในหมูมนุษยชาติ
3. เปน เคร่อื งดบั ความเรารอ นใจ ทําใหส งบรมเย็น
4. เปน บอเกดิ แหงจรยิ ธรรมศลี ธรรมและคณุ ธรรม
5. เปน บอ เกดิ แหงการศกึ ษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดงี าม
6. เปน ดวงประทีบสองโลกท่ีมืดมดิ อวิชชาใหก ลับสวา งไสวดว ยวชิ ชา

ประโยชนข องศาสนา

ศาสนามีประโยชนมากมายหลายประการ กลา วโดยสรปุ มี 6 ประการ คอื
1. ศาสนาเปนแหลงกําเนิดจริยธรรม ศาสนาทุกศาสนา สอนใหเราทราบวา อะไรคือความชั่ว
ทค่ี วรละเวน อะไรคือความดีที่ควรกระทํา อะไรคือส่ิงที่บุคคลในสังคมพึงปฏิบัติ เพ่ือใหอยูรวมกันอยางมี
ความสุข ดังนั้น ทกุ ศาสนาจงึ เปนแหลง กาํ เนิดแหงความดที ั้งปวง
2. ศาสนาเปนแนวทางการดําเนินชีวิต ทุกศาสนาจะวางหลักการดําเนินชีวิตเปนข้ัน ๆ
เชน พระพุทธศาสนาวางไว 3 ข้ัน คือ ขัน้ ตน เนนการพง่ึ ตนเองไดมีความสขุ ตามประสาชาวโลก ขั้นกลางเนน
ความเจริญกา วหนาทางคุณธรรม และขน้ั สูงเนน การลด ละ โลภ โกรธ หลง
3. ศาสนาทําใหผูนับถือปกครองตนเองได หลักคําสอนใหรูจักรับผิดชอบตนเองคนท่ีทําตาม
คาํ สอนทางศาสนาเครง ครัด จะมหี ิรโิ อตตัปปะ ไมทําช่วั ทง้ั ที่ลบั และท่ีแจง เพราะสามารถควบคุมตนเองได
4. ศาสนาชวยใหสังคมดีขึ้น คําสอนทางศาสนาเนนใหคนในสังคมเวนจากการเบียดเบียนกัน
เอารัดเอาเปรยี บกนั สอนใหเ อือ้ เฟอ เผื่อแผ มีความซื่อสัตยสุจริตตอกัน เปนเหตุใหสังคมมีความสงบสันติ
ยิ่งขน้ึ สอนใหอ ดทน เพียรพยายามทาํ ความดี สรางสรรคผลงานและประโยชนใหกับสังคม
5. ศาสนาชวยควบคมุ สงั คมดีขึ้น ทุกสังคมจะมีระเบยี บขอบังคับจารตี ประเพณีและกฎหมายเปน
มาตรการควบคุมสงั คมใหสงบสขุ แตส ่ิงเหลานี้ไมส ามารถควบคุมสังคมใหสงบสุขแทจริงได เชน กฎหมาย
ควบคมุ ไดเ ฉพาะพฤติกรรมทางกายและทางวาจาเทานนั้ ไมส ามารถลกึ ลงไปถงึ จิตใจได ศาสนาเทานน้ั จงึ จะ
ควบคมุ คนไดทงั้ กาย วาจา และใจ

ห น า | 3

ศาสนาในประเทศไทย ศาสนาพทุ ธ เปนศาสนาประจําชาติไทย มีผูนับถือมากที่สุด รองลงมา คือ
ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต ศาสนาพราหมณ - ฮินดู และศาสนาซิกข รายละเอียดของแตละศาสนา
ดงั ตอไปนี้ คอื

เรือ่ งที่ 2 พุทธประวตั ิและหลักธรรมคําสอนของพทุ ธศาสนา

พระพุทธศาสนาเชอ่ื เรื่องการเวียนวาย ตาย เกิด ในวฏั สงสาร ถา สตั วโ ลกยงั มกี เิ ลส คือ โลภ โกรธ หลง
จะตองเกิดในไตรภูมิ คือ 3 โลก ไดแก นรกภูมิ โลกมนุษย และเทวโลก และในการเกิดเปนพระพุทธเจา
เพอ่ื ทจ่ี ะโปรดสัตวโลกใหบารมีสมบรู ณ จึงจะเกิดเปนพระพุทธเจา ใหพระพุทธเจาไดบําเพ็ญบารมีมาทุกภพ
ทกุ ชาตแิ ละบาํ เพญ็ บารมีอยา งยงิ่ ยวดใน 10 ชาตสิ ดุ ทาย เรยี กวา ทศชาติ ซง่ึ ไดกลาวไวในพระสุตตันตปฎก
โดยมคี วามยอ ๆ ดงั นี้

1. เตมยี ช าดก

เปนชาดกท่ีแสดงถึง การบําเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ การออกบวช ความวา พระเตมียเกิดใน
ตระกลู กษตั รยิ  แตทรงเกรงวาจะตองขน้ึ ครองราชยเปน พระราชา เพราะทรงเห็นการลงโทษโจรตามคําส่ัง
ของพระราชา เชน เฆย่ี นบาง เอาหอกแทงบาง พระองคจ ึงทรงแกลงเปน งอ ยเปล้ยี หูหนวก เปนใบ ไมพูดจากับ
ใครพระราชาปรึกษากับพราหมณใหน ําพระองคไ ปฝงเสยี พระมารดาทรงคัดคาน แตไ มส าํ เรจ็ จึงทรงขอให
พระเตมีย ครองราชย 7 วัน เผื่อพระองคจ ะตรสั บาง ครัน้ ครบ 7 วนั แลว พระเตมียก ็ไมตรสั ดงั นัน้ สารถีจึง
นาํ พระเตมยี ไปฝง ตามคําส่ังของพระราชา ขณะกําลังขุดหลุมพระเตมียลงจากรถ และตรัสปราศรัยแจงวา
พระองคตองการจะบวช ไมตองการเปนพระราชา จากนั้นสารถีกลับไปบอกพระราชา พระราชาจึงเชิญ
พระเตมียก ลบั ไปครองราชย พระเตมยี ก ลบั เทศนาส่งั สอนจนพระชนก ชนนี และบริวาร พากนั เลอ่ื มใสออก
บวชตาม

2. มหาชนกชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบาํ เพญ็ วิริยบารมี คือ ความเพียร ใจความสําคัญ คือ พระมหาชนก-

ราชกุมาร เดนิ ทางไปทางทะเล เรอื แตก คนทงั้ หลายจมน้ําตายบาง เปนเหยื่อของสัตวนํ้าบาง แตพระองค
ไมท รงละความอตุ สาหะ ทรงวา ยนาํ้ โดยกาํ หนดทิศทางแหง กรุงมิถลิ า ในทีส่ ุดก็ไดรอดชวี ติ กลับไปกรุงมิถิลาได
ชาดกเรื่องน้ี เปนท่ีมาแหงภาษติ ท่วี า เปน ชายควรเพียรราํ่ ไปอยาเบ่ือหนา ย (ความเพียร) เสีย เราเหน็ ตัวเอง
เปนไดอ ยางท่ีปรารถนา ขึน้ จากน้าํ มาสบู กได

3. สวุ รรณสามชาดก
ชาดกเรือ่ งนีแ้ สดงถงึ การบําเพ็ญเมตตาบารมี คือ การแผไมตรีจิตคิดจะใหสัตวท้ังปวงเปนสุข

ท่วั หนา มเี รอ่ื งเลา วา สุวรรณสาม เลี้ยงมารดาบดิ าของตนซึง่ เสยี จกั ษุในปา และเน่ืองจากเปนผูเมตตาปรารถนาดี
ตอผูอืน่ หมูเ นื้อกเ็ ดนิ ตามแวดลอมไปในที่ตาง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจากรุงพาราณสี ชื่อ พระเจากบิลยักษ ยิงเอา
ดวยธนู ดวยเขาพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบวาเปนมาณพ ผูเล้ียงมารดา บิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูง
มารดาของสุวรรณสามมา มารดา บิดาของสุวรรณสามก็ต้ังสัจจกริยาอางคุณความดีของสุวรรณสาม
สวุ รรณสามก็ฟนคนื สตแิ ละไดสอนพระราชา แสดงคติธรรมวา ผูใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แมเทวดาก็

ห น า | 4

ยอมรักษาผูนั้น ยอมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแลวก็ไปเกิดในสวรรค ตอจากน้ัน เม่ือพระราชา
ขอใหสั่งสอนตอไปอกี ก็สอนใหท รงปฏิบัติธรรมปฏิบัตชิ อบในบคุ คลทัง้ ปวง

4. เนมริ าชชาดก
ชาดกเรอ่ื งน้ีแสดงถงึ การบําเพญ็ อธิษฐานบารมี คือ ความตง้ั ใจมน่ั คง มเี รื่องเลาวา เนมิราช ไดข้ึน

ครองราชยต อ จากพระราชบิดา ทรงบาํ เพญ็ คณุ งามความดี เปนท่ีรักของมหาชน และในท่ีสุดเมื่อทรงมอบ
ราชสมบัติแกพระราชโอรส เสด็จออกผนวชเชนเดียวกับท่ีพระราชบิดาของพระองคเคยทรงบําเพ็ญมา
ทอดพระเนตรเห็นเสนพระเกศาหงอกบางกส็ ลดพระทยั ในสังขารจงึ ทรงออกผนวช

5. มโหสถชาดก
ชาดกเรอ่ื งนี้แสดงถงึ การบําเพ็ญปญ ญาบารมี คือ มีปญ ญาลา้ํ เลิศ มีเร่ืองเลาวา มโหสถบัณฑิต

เปนทปี่ รึกษาหนุม ของพระเจาวเิ ทหะ แหง กรุงมถิ ลิ า ทา นมคี วามฉลาดรู สามารถแนะนาํ ในปญหาตาง ๆ ได
อยางถกู ตองรอบคอบ เอาชนะทป่ี รึกษาอนื่ ๆ ที่รษิ ยาใสความดวยความดี ไมพยาบาท อาฆาตครั้งหลัง ใช
อุบายปองกนั พระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรซู ่ึงเปนกษัตรยิ พ ระนครอ่นื ได

6. ภรู ทิ ตั ชาดก
ชาดกเรอ่ื งนแี้ สดงถึง การบาํ เพ็ญศลี บารมี คอื การรกั ษาศลี มีเรื่องเลาวา ภูรทิ ัตตนาคราช ไปจําศีล

อยูริมฝงแมนํ้ายมุนา ยอมอดทนใหหมองูจับไปทรมานตาง ๆ ท้ังท่ีสามารถจะทําลายหมองูไดดวยฤทธ์ิ
ดวยความทมี่ ใี จมัน่ ตอ ศลี ของตนในท่ีสดุ กไ็ ดอ สิ รภาพ

7. จันทกุมารชาดก
ชาดกเรื่องนแ้ี สดงถึง การบําเพ็ญขนั ติบารมี คือ ความอดทน จนั ทกมุ าร เปนโอรสของพระเจา-

เอกราช พระองคท รงชว ยประชาชนใหพ น จากคดี ซง่ึ กณั ฑหาลพราหมณราชปุโรหิต เปนผรู บั สินบนตดั สนิ คดี
ขาดความเปน ธรรม สงผลใหก ณั ฑหาลพราหมณผ ูกอาฆาตพยาบาท วนั หนึ่งพระเจาเอกราช ทรงพระสุบิน
เหน็ ดาวดึงสเ ทวโลก เมื่อทรงต่ืนบรรทม ทรงพระประสงคเดินทางไปดาวดึงสเทวโลก จึงตรัสถามกัณฑหาล-
พราหมณ กณั ฑหาลพราหมณ จงึ กราบทูลแนะนําใหต ัดพระเศียรโอรส ธิดา มเหสี บูชายัญ แมใครจะทัดทาน
ขอรองก็ไมเปนผล รอนถึงทาวสักกะ (พระอินทร) ตองมาช้ีแจงใหหายเขาใจผิดวา วิธีน้ีไมใชทางไปสวรรค
มหาชน จึงรุมฆากัณฑหาลพราหมณ และเนรเทศพระเจา เอกราช แลวกราบทูลเชญิ จันทกมุ ารขึน้ ครองราชย

8. นารทชาดก
ชาดกเรื่องน้ีแสดงถึง การบําเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การวางเฉย พระพรหมนารถ ไดชวยให

พระเจา อังคตริ าช แหงกรุงมถิ ลิ ามหานคร พนจากความคิดเห็นผิดที่ไดรับคําสอนจากคุณาชีวก วารูปกาย
ของคน สตั ว เปน ของเทีย่ ง แมต ัดศีรษะผอู ื่นแลวไมบาป สขุ ทุกขเกิดไดเองไมมีเหตุ คนเราเวยี นวา ยตายเกิด
หนักเขาก็บริสุทธ์ิเอง เม่ือพระองคมีความเห็น ดังน้ัน พระเจาอังคติราชจึงส่ังใหร้ือโรงทาน และมัวเมาใน
โลกยี  รอ นถึงพระธดิ า คอื พระนางรุจา ทรงหว งพระบิดา จึงสวดออนวอน ขอใหพระบิดาพนจากความมัวเมา
รอ นถึง พระพรหมนาทร ทรงจําแลงกายเปน นักบวช ทรงสอนใหพระเจาอังคติราชใหกลับความเห็นที่ผิดมา
บาํ เพ็ญกศุ ลถือศีล ทําทานปกครองเมอื งโดยสงบรมเยน็

9. วิทรู ชาดก
ชาดกเรอื่ งนแ้ี สดงถงึ การบําเพญ็ สจั จบารมี คือ ความซ่ือสัตย บัณฑิต มีหนาที่ถวายคําแนะนํา

แกพระเจาธนัญชัยโกรพั ยะ ซึง่ เปนพระราชาทีค่ นนบั ถือมาก ครั้งหนึง่ ปุณณกยกั ษมาทา พระเจา ธนัญชัยโกทพั ยะ
เลน สกา ถาแพจะถวายมณรี ัตนะอันวเิ ศษ ถา พระราชาแพต องใหส ง่ิ ทีป่ ณุ ณกยักษต องการ ในทสี่ ุดพระราชาแพ
ปณุ ณกยกั ษข อตัววฑิ รู บณั ฑติ พระราชาหนวงเหนี่ยวประการใดไมส าํ เร็จ วิฑรู บณั ฑติ รกั ษาสัจจะไปกับยักษ

ห น า | 5

ในท่สี ดุ แม แมยกั ษจะทาํ อยางไรวิฑูรบณั ฑติ ก็ไมตายกบั แสดงธรรม จนยกั ษเ ลอ่ื มใสและไดก ลบั คืนบานเมอื ง
มกี ารฉลองรับขวญั เปน การใหญ

10. เวสสันดรชาดก
เปนชาตสิ ุดทายของพระพทุ ธเจา ชาตติ อไปจึงจะเกิดเปน พระพทุ ธเจาชาดกเรอื่ งนี้ แสดงถึงการ

บาํ เพญ็ ทานบารมี คือ การบริจาคทาน มีเรือ่ งเลาวา พระเวสสันดรผูใจดี บริจาคทุกอยางที่มีคนขอ ครั้งหน่ึง
ประทานชางเผือกคูบ านคเู มืองแกพ ราหมณ ชาวกาลิงคะ ซึ่งตอมาขอชางไปเพอ่ื ใหเ มอื งของตนหายจากฝนแลง
แตป ระชาชนโกรธ ขอใหเ นรเทศพระราชบิดา จึงจาํ พระทยั ตอ งเนรเทศพระเวสสนั ดร ซ่งึ พระนางมัทรีพรอม
ดวยพระโอรสธิดาไดตามเสด็จไปดวย เม่ือชูชกไปขอสองกุมารก็ประทานใหอีก ภายหลังพระเจาสัญชัย
พระราชบดิ าไดทรงไถส องกมุ ารจากชูชก และเสด็จไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับกรุง (เรื่องนี้
แสดงการเสียสละสวนนอย เพ่ือประโยชนสวนใหญ คือ การตรัสรู เปนพระพุทธเจา อันจะเปนทางใหได
บําเพญ็ ประโยชนส วนรวมได มิใชเ สยี สละโดยไมม จี ุดมงุ หมายหรอื เหตผุ ล)

ประวตั พิ ระพทุ ธเจา

พระพุทธเจา ทรงมพี ระนามเดิมวา “สทิ ธัตถะ” ทรงเปนพระราชโอรสของ “พระเจาสุทโธทนะ”
กษตั รยิ ผ ูครองกรุงกบลิ พัสดุ แควน สักกะ และ “พระนางสิริมหามายา” พระราชธิดาของกษัตริยราชสกุล
โกลิยวงศ แหง กรุงเทวทหะ แควน โกลิยะ

ในคืนที่พระพุทธเจาเสด็จปฏิสนธิในครรภพระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตวา
มีชา งเผือกมงี าสามคูไดเขามาสูพระครรภ ณ ที่บรรทม กอนที่พระนางจะมีพระประสูติกาลที่ใตตนสาละ

ห น า | 6

ณ สวนลุมพินวี นั เมื่อวนั ศุกร ข้นึ สบิ หาคาํ่ เดือนวสิ าขะ ปจอ 80 ปก อนพทุ ธศักราช (ปจจุบันสวนลุมพินีวัน
อยูในประเทศเนปาล)

ทันทีที่ประสูติเจาชายสิทธัตถะ ทรงดําเนินดวยพระบาท 7 กาว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ
พระบาท พรอ มเปลง วาจาวา “เราเปนเลิศท่ีสดุ ในโลก ประเสรฐิ ทส่ี ุดในโลก การเกดิ คร้งั นเี้ ปนคร้ังสุดทาย
ของเรา” แตหลังจากเจาชายสิทธัตถะประสูติกาลไดแลว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย
เจาชายสิทธตั ถะ จึงอยูในความดแู ลของพระนางประชาบดีโคตมี ซง่ึ เปน พระกนษิ ฐาของพระนางสริ ิมหามายา

ท้ังนี้ พราหมณทั้ง 8 ไดทํานายวา เจาชายสิทธัตถะมีลักษณะเปนมหาบุรุษ คือ หากดํารงตนใน
ฆราวาส จะไดเปน จักรพรรดิ ถาออกบวชจะไดเ ปนศาสดาเอกของโลก แตโกณฑัญญะพราหมณผูอายุนอย
ท่ีสุดในจํานวนนั้นยืนยันหนักแนนวาพระราชกุมารสิทธัตถะ จะเสด็จออกบวชและจะไดตรัสรูเปน
พระพทุ ธเจาแนน อน

ชวี ิตในวยั เดก็

เจา ชายสิทธัตถะ ทรงศึกษาเลาเรียนจนจบศิลปศาสตรทั้ง 18 ศาสตร ในสํานักครูวิศวามิตรและ
เนอื่ งจากพระบดิ าไมป ระสงคใ หเ จา ชายสทิ ธตั ถะเปนศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทําใหเจาชายสิทธัตถะ
พบเหน็ แตค วามสขุ โดยการสรางปราสาท 3 ฤดู ใหอ ยูป ระทบั และจดั เตรยี มความพรอ มสาํ หรบั การราชาภิเษก
ใหเจาชายข้ึนครองราชย เม่ือมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพาหรือยโสธรา
พระธดิ าของพระเจากรงุ เทวทหะ ซึ่งเปนพระญาตฝิ ายมารดา จนเมือ่ มีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพา
ไดใหประสตู ิพระราชโอรสมีพระนามวา “ราหลุ ” ซง่ึ หมายถงึ “บว ง”

เสดจ็ ออกผนวช

ห น า | 7

วันหน่งึ เจาชายสิทธตั ถะ ทรงเบื่อความจําเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถมาประพาสอุทยาน
ครั้งน้ันไดทอดพระเนตรเห็นคนแก คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค) ท่ีแปลงกายมา
พระองคจ งึ ทรงคิดไดว านี่เปน ธรรมดาของโลก ชวี ิตของทุกคนตองตกอยูในสภาพ เชนน้ัน ไมมีใครสามารถ
หลีกเลย่ี งเกดิ แก เจ็บ ตายได จึงทรงเหน็ วา ความสขุ ทางโลกเปนเพียงภาพมายา เทานั้น และวิถีทางที่จะ
พนจากความทุกข คือ ตองครองตนเปนสมณะ ดังนั้น พระองคจึงใครจะเสด็จออกบรรพชา ในขณะท่ีมี
พระชนมายุ 29 พรรษา

ครานนั้ พระองคไ ดเ สดจ็ ไปพรอ มกบั นายฉันทะ สารถีซึ่งเตรียมมา พระทีน่ ั่งนามวา กัณฑกะ มุงตรง
ไปยังแมนํ้าอโนมานที กอนจะประทับน่ังบนกองทรายทรงตัดพระเมาลีดวยพระขรรคและเปลี่ยนชุด
ผา กาสาวพัตร (ผายอ มดว ยรสฝาดแหงตน ไม) และใหน ายฉนั ทะนาํ เครื่องทรงกลับพระนคร กอนที่พระองค
จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ (การเสด็จออกเพ่ือคุณอันยิ่งใหญ) ไปโดยเพียงลําพัง เพ่ือมุงพระพักตรไป
แควน มคธ

บาํ เพ็ญทุกรกิรยิ า

หลงั จากทรงผนวชแลว พระองคมุงไปท่ีแมน้ําคยา แควนมคธ ไดพยายามเสาะแสวงทางพนทุกข
ดวยการศึกษาคนควาทดลองในสํานักอาฬารดาบสกาลามโคตรและอุทกดาบสรามบุตร เมื่อเรียนจบทั้ง
2 สํานักแลว ทรงเหน็ วานยี่ ังไมใ ชทางพนทกุ ข

จากนั้นพระองคไดเ สดจ็ ไปทแี่ มน้าํ เนรญั ชรา ในตําบลอรุ ุเวลาเสนานิคมและทรงบําเพ็ญทุกรกิริยา
ดวยการขบฟนดว ยฟน กล้ันหายใจ และอดอาหารจนรางกายซูบผอม แตห ลังจากทดลองได 6 ป ทรงเห็นวา
น่ียังไมใชทางพนทุกขจึงทรงเลิกบําเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ดวยพระราชดําริตามที่
ทา วสกั กเทวราชไดเ สดจ็ ลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือ ดีดพิณสาย 1 ขึงไวตึงเกินไป เม่ือดีดก็จะขาด ดีดพิณ
วาระท่ี 2 ซึ่งขึงไวหยอน เสียงจะยืดยาด ขาดความไพเราะ และวาระท่ี 3 ดีดพิณสายสุดทายที่ขึงไวพอดี
จงึ มีเสยี งกังวานไพเราะ ดังนั้น จึงทรงพิจารณาเห็นวา ทางสายกลาง คือ ไมตงึ เกินไป และไมหยอนเกินไป น้ัน
คือ ทางท่จี ะนําสกู ารพนทุกข

หลงั จากพระองคเ ลกิ บําเพ็ญทกุ รกิริยา ทําใหพระปญ จวคั คยี ทั้ง 5 ไดแ ก โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ
มหานามะ อสั สชิ ทมี่ าคอยรับใชพ ระองคด ว ยความคาดหวังวา เมื่อพระองคคนพบทางพนทุกข จะไดสอน
พวกตนใหบรรลุดวย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองคลมเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปท่ีปาอิสิปตน-
มฤคทายวัน ตําบลสารนาถ เมืองพาราณสี

ห น า | 8

ตรสั รู

คราน้นั พระองคท รงประทบั นั่งขัดสมาธใิ ตตน พระศรมี หาโพธิ์ ณ อรุ เุ วลาเสนานิคม เมืองพาราณสี
หนั พระพกั ตรไปทางทิศตะวนั ออกและตงั้ จิตอธิษฐานดว ยความแนวแนวา ตราบใดที่ยงั ไมบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
ก็จะไมลุกขึ้นจากสมาธบิ ลั ลังก แมจะมีหมูมารเขามาขัดขวาง แตก็พายแพพระบารมีของพระองคกลับไป
จนเวลาผา นไปในที่สดุ พระองคท รงบรรลรุ ูปฌาณ คือ

ยามตน หรือ ปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสตญิ าณ คือ สามารถระลึกชาติได
ยามสอง ทรงบรรลจุ ุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รูเ รื่องการเกิดการตายของสัตวท ั้งหลายวา
เปน ไปตามกรรมที่กําหนดไว
ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรูที่ทําใหสิ้นอาสวะหรือกิเลสดวยอริยสัจ 4 ไดแก
ทกุ ข สมุทัย นโิ รธ และมรรค และไดต รสั รดู วยพระองคเ องเปน พระสัมมาสมั พุทธเจาและเปนศาสดาเอกของโลก
ซ่งึ วนั ท่พี ระสัมมาสัมพทุ ธเจา ตรสั รูตรงกับ วนั เพญ็ เดอื น 6 ขณะท่ีมีพระชนมายุ 35 พรรษา
แสดงปฐมเทศนา
หลงั จากพระสัมมาสมั พทุ ธเจาตรสั รแู ลว ทรงพิจารณาธรรมทีพ่ ระองคต รสั รมู าเปนเวลา 7 สปั ดาห
และทรงเหน็ วาพระธรรมน้ันยากสําหรับบุคคลท่ัวไปท่ีจะเขาใจและปฏิบัติได พระองคจึงทรงพิจารณาวา
บุคคลในโลกน้ีมีหลายจําพวกอยางบัว 4 เหลา ที่มีท้ังผูท่ีสอนไดงายและผูท่ีสอนไดยาก พระองคจึงทรง
ระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบสผูเปนพระอาจารยจึงหวังเสด็จไปโปรดแตทั้งสองทานเสียชีวิตแลว
พระองคจ ึงทรงระลึกถึงปญจวคั คยี ท ้ัง 5 ทเ่ี คยมาเฝา รับใช จงึ ไดเ สด็จไปโปรดปญจวคั คียท่ปี าอิสิปตนมฤคทายวัน

ห น า | 9

ธรรมเทศนากณั ฑแ รกที่พระองคทรงแสดงธรรม คือ “ธัมมจกั กปั ปวัตตนสตู ร” แปลวา สูตรของ
การหมุนวงลอแหงพระธรรมใหเปน ไป ซึ่งถือเปน การแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกในวันเพ็ญ 15 ค่ํา เดือน 8
ซ่ึงตรงกบั วนั อาสาฬหบูชา

ในการนพ้ี ระโกณฑญั ญะไดธรรมจกั ษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมเปนคนแรก พระพุทธองคจึงทรงเปลง
วาจาวา “อัญญาสิวตโกณฑัญโญ” แปลวา โกณฑัญญะไดรูแลว ทานโกณฑัญญะจึงไดสมญาวา อัญญา
โกณฑญั ญะ และไดรับการบวชเปนพระสงฆองคแรกในพระพุทธศาสนา โดยเรียกการบวชที่พระพุทธเจา
บวชใหว า “เอหิภิกขอุ ุปสมั ปทา”

หลังจากปญจวัคคียอุปสมบทท้ังหมดแลว พุทธองคจึงทรงเทศนอนัตตลักขณสูตร ปญจวัคคีย
จงึ สําเร็จเปนอรหนั ตใ นเวลาตอ มา

การเผยแผพระพุทธศาสนา

ตอมาพระพุทธเจาไดเทศนพระธรรมเทศนาโปรดแกสกุลบุตร รวมทั้งเพ่ือนของสกุลบุตรจนได
สาํ เรจ็ เปนพระอรหนั ตท งั้ หมดรวม 60 รปู

พระพุทธเจาทรงมพี ระราชประสงคจ ะใหม นษุ ยโลกพนทุกขพนกิเลส จึงตรัสเรียกสาวกทั้ง 60 รูป
มาประชุมกนั และตรัสใหสาวก 60 รูป จาริกแยกยายกันเดินทางไปประกาศศาสนา 60 แหง โดยลําพังใน
เสน ทางที่ไมซ ํ้ากัน เพอื่ ใหส ามารถเผยแผพระพทุ ธศาสนาในหลายพ้ืนท่อี ยางครอบคลมุ สว นพระองคเองได
เสด็จไปแสดงธรรม ณ ตําบลอุรุเวลาเสนานคิ ม

หลงั จากสาวกไดเ ดนิ ทางไปเผยแผพ ระพทุ ธศาสนาในพืน้ ทตี่ าง ๆ ทาํ ใหมผี ูเลื่อมใสพระพุทธศาสนา
เปน จํานวนมาก พระองคจ งึ ทรงอนุญาตใหสาวกสามารถดําเนินการบวชไดโดยใชวิธีการ “ติสรณคมนูปสัมปทา”
คือ การปฏิญาณตนเปนผูถึงพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝงลึกและแพรหลายในดินแดน
แหง นัน้ เปนตน มา

ห น า | 10

เสดจ็ ดับขนั ธป รนิ ิพพาน

พระสัมมาสัมพุทธเจา ไดทรงโปรดสัตวและแสดงพระธรรมเทศนาตลอดระยะเวลา 45 พรรษา
ทรงสดบั วา อีก 3 เดือนขา งหนา จะปรนิ พิ พาน จงึ ไดท รงปลงอายสุ งั ขาร ขณะน้ันพระองคไดประทับจําพรรษา
ณ เวฬคุ าม ใกลเ มืองเวสาลี แควนวชั ชี โดยกอ นเสดจ็ ดับขนั ธปรนิ พิ พาน 1 วัน พระองคไดเสวยสุกรมัททวะ
ทีน่ ายจุนทะทาํ ถวาย แตเกดิ อาพาธลง ทําใหพ ระอานนทโ กรธ แตพระองคต รสั วา “บิณฑบาตที่มีอานสิ งสทีส่ ุด”
มี 2 ประการ คอื เม่อื ตถาคต (พุทธองค) เสวยบิณฑบาตแลวตรสั รูและปรินิพพาน” และมีพระดํารัสวา “โย โว
อานนท ธมม จ วนิ โย มยา เทสิ โต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา” อันแปลวา “ดูกอนอานนท ธรรม
และวนิ ัยอนั ที่เราแสดงแลว บัญญัติแลวแกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยจักเปนศาสดาของเธอท้ังหลายเม่ือเรา
ลวงลบั ไปแลว”

พระพุทธเจาทรงประชวรหนักแตทรงอดกล้ันมุงหนาไปเมืองกุสินารา ประทับ ณ ปาสาละ เพื่อ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยกอนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระองคไดอุปสมบทแกพระสุภัททะ-
ปรพิ าชก ซ่ึงถอื ไดว า “พระสภุ ทั ทะ” คอื สาวกองคสุดทา ยที่พระพุทธองคท รงบวชใหใ นทามกลางคณะสงฆ
ท้งั ท่ีเปนพระอรหนั ตแ ละปุถชุ นจากแควนตาง ๆ รวมทงั้ เทวดาทมี่ ารวมตวั กันในวันนี้

ในครานั้นพระองคท รงมปี จฉิมโอวาทวา “ดกู อ นภิกษุท้งั หลาย เราขอบอกเธอทั้งหลายสังขารท้ังปวง
มีความเส่ือมสลายไปเปนธรรมดา พวกเธอจึงทําประโยชนตนเองและประโยชนของผูอ่ืนใหสมบูรณดวย
ความไมประมาทเถดิ ” (อปปมาเทนสมปาเทต)

จากนัน้ ไดเสดจ็ ดบั ขนั ธป รนิ ิพพานใตตน สาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหลามัลลกษัตริย เมืองกุสินารา
แควนมัลละ ในวันข้ึน 15 ค่ําเดือน 6 รวมพระชนมายุ 80 พรรษา และวันน้ีถือเปนการเร่ิมตนของ
พุทธศกั ราช

ห น า | 11

สรปุ หลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนา
พระพทุ ธศาสนาเปนศาสนาประเภทเทวนยิ ม คอื ไมน บั ถอื พระเจา พระสัมมาสมั พทุ ธเจา ทรงตรัสรู

ความจรงิ ของชวี ติ วา องคประกอบของชวี ติ มนษุ ยประกอบดวยรูปและนามเทานน้ั
รปู และนามเมอื่ ขยายความกจ็ ะเปน รปู จติ และเจตสิก จากรูปจิตและเจตสิกกข็ ยายความดว ยขันธ 5

ไดแ ก รปู ขนั ธ วญิ ญาณขันธ เวทนาขนั ธ สญั ญาขนั ธ และสงั ขารขันธ สรุปไดด ังแผนภมู อิ งคป ระกอบของชวี ิต

แผนภูมแิ สดงองคป ระกอบของชีวติ มนุษย
จากแผนภูมิองคประกอบของชีวิตมนุษยดังกลาว ในทางพระพุทธศาสนาอธิบายวา ชีวิต คือ
ความเปน อยขู องรา งกาย (รปู ) จิตและเจตสิก (นาม) โดยอาศัยความเปนผูนําเกิดและตามรักษาดํารงชีวิต
และการกระทําตาง ๆ ไดโดยอาศยั จติ และเจตสิกเปนผูก าํ หนด
รปู คือ รางกายเปน ธรรมชาตทิ ่ีไมมีความรสู ึกนึกคดิ ใด ๆ ทัง้ สน้ิ
นาม คอื สว นท่ีเปนจติ และเจตสกิ เปนธรรมชาติท่รี ับรสู ิง่ ตาง ๆ และสามารถนึกคิดเร่ืองราวสง่ิ ตาง ๆ ได
จิต คอื ธรรมชาติทร่ี ูอารมณ ทําหนาที่เห็น ไดยิน รูรส รูกล่ิน รูสึกตอการสัมผัส ถูกตองทางกาย
และรสู ึกคิดทางใจ
เจตสิก คือ ธรรมชาตทิ รี่ ูสกึ นกึ คิดเรอ่ื งราวสงิ่ ตา ง ๆ
เมอื่ แยกรปู และนามใหละเอียดขึ้นกจ็ ะอธบิ ายดวยขนั ธ 5 คอื
รปู ขนั ธ (รูป) หมายถึง อวยั วะนอ ยใหญ หรือกลุม รูปทม่ี ีอยใู นรางกายทัง้ หมดของเรา
วิญญาณขนั ธ (จติ ) หมายถงึ ธรรมชาตทิ ่รี ับรูสิ่งตา ง ๆ ทมี่ าปรากฏทางตา หู จมูก ล้ิน กายใจ อีก
ทัง้ เปน ธรรมชาตทิ ีท่ าํ ใหเ กดิ ความรสู ํานกึ คดิ ตา ง ๆ
เวทนาขนั ธ (เจตสกิ ) หมายถึง ความรูสึกเปนสขุ เปนทุกข ดใี จ เสียใจหรือเฉย ๆ
สัญญาขันธ (เจตสิก) หมายถงึ ธรรมชาติท่มี ีหนา ทใ่ี นการจํา หรือเปน หนวยความจําของจติ นน่ั เอง

ห น า | 12

สงั ขารขันธ (เจตสกิ ) หมายถงึ ธรรมชาตทิ ปี่ รงุ แตงจิตใหมลี กั ษณะตา ง ๆ เปนกุศลบาง การเกดิ ข้นึ ของ
จติ (วญิ ญาณขันธ) จะเกดิ ข้นึ โดยมีเจตสิก (เวทนาขันธ สญั ญาขันธ สงั ขารขนั ธ) เกิดขน้ึ รวมดวยเสมอเฉพาะจิต
อยา งเดียว ไมส ามารถรบั รหู รอื นกึ คิดอะไรไดเลย จติ และเจตสกิ จะแยกจากกันไมไ ด ตอ งเกดิ รวมกนั อิงอาศยั กัน
จิตแตล ะดวงทเ่ี กิดจะตองมีเจตสกิ เกิดรว มดวยเสมอ

จากความจริงของชีวิตท่ีพระพุทธองคทรงคนพบวา ชีวิตเปนเพียงองคประกอบของรูปและนาม
เทา น้นั แตเหตุทีค่ นเรามีความทกุ ขอยู เพราะความรสู กึ นึกคิดท่ีเปนเร่อื งเปน ราววา “มีเรามีเขา” ทําใหเกิด
การยึดมนั่ ถอื มัน่ ดว ยอวิชชา (ความไมร )ู วา สภาพธรรมเทานั้นเปนเพียงรูปและนามท่ี “เกิดข้ึน ตั้งอยู แลว
ดับไป” เทาน้นั

1. หลกั ธรรมเพื่อความหลดุ พน เฉพาะตวั คือ อรยิ สจั 4
อรยิ สจั 4 แปลวา ความจริงอันประเสรฐิ มอี ยสู ปี่ ระการ คอื
1) ทุกข คือ สภาพที่ทนไดยากภาวะท่ีทนอยูในสภาพเดิมไมไดสภาพท่ีบีบคั้น ไดแก ชาติ

(การเกดิ ) ชรา (การแก การเกา) มรณะ (การตาย การสลายไป การสญู สิ้น) การประสบกบั ส่งิ อนั ไมเ ปน ทีร่ ัก
พลดั พรากจากส่ิงอนั เปน ทรี่ กั การปรารถนาส่งิ ใดแลว ไมสมหวังในสิ่งน้นั กลา วโดยยอ ทกุ ข ก็คือ อุปาทานขันธ
หรอื ขนั ธ 5

2) ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุท่ีทําใหเกิดทุกข ไดแก ตัณหา 3 คือ กามตัณหา – ความทะยาน
อยากในกาม ความอยากไดทางกามารมณ, ภวตัณหา – ความทะยานอยากในภพ ความอยากเปนโนนเปนน่ี
ความอยากท่ีประกอบดวย ภาวทิฏฐิ หรือสัสสตทิฏฐิ และวิภวตัณหา – ความทะยานอยากในความปรารถนา
จากภพ ความอยากไมเปนโนน ไมเปน น่ี ความอยากท่ปี ระกอบดว ยวภิ วทฏิ ฐิ หรืออุจเฉททฏิ ฐิ

3) ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข ไดแก ดับสาเหตุท่ีทําใหเกิดทุกขกลาว คือ ดับตัณหาทั้ง 3
ไดอ ยา งส้ินเชิง

4) ทกุ ขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นําไปสูหรือนําไปถึงความดับทุกข ไดแก มรรค
อนั มีองคป ระกอบอยแู ปดประการ คือ (1) สัมมาทฏิ ฐิ – ความเห็นชอบ (2) สัมมาสังกัปปะ – ความดําหริชอบ
(3) สัมมาวาจา - เจรจาชอบ (4) สมั มากมั มนั ตะ - ทําการงานชอบ (5) สมั มาอาชวี ะ – เลี้ยงชพี ชอบ
(6) สมั มาวายามะ - พยายามชอบ (7) สมั มาสติ - ระลึกชอบ และ (8) สัมมาสมาธิ – ตั้งใจชอบ ซ่ึงรวมเรียก
อีกชอื่ หนง่ึ ไดวา “มัชฌมิ าปฏปิ ทา” หรอื ทางสายกลาง

2. หลกั ธรรมเพ่ือการอยูรวมกนั ในสังคม
1) สปั ปรุ สิ ธรรม 7
สปั ปรุ สิ ธรรม 7 คือ หลักธรรมของคนดีหรอื หลกั ธรรมของสัตตบุรษุ 7 ประการ ไดแก
(1) รจู กั เหตหุ รอื ธมั มัตุ า หมายถงึ ความเปน ผรู จู ักเหตุ รจู ักวเิ คราะหหาสาเหตขุ องส่ิงตาง ๆ
(2) รูจ กั ผลหรืออัตถญั ุตา หมายถึง ความเปน ผูรูจักผลทเี่ กิดขน้ึ จากการกระทาํ
(3) รูจักตนหรอื อัตตัญุตา หมายถึง ความเปนผูรูจักตนทั้งในดานความรู คุณธรรมและ

ความสามารถ
(4) รจู ักประมาณหรอื มตั ตัญุตา หมายถึง ความเปนผูรจู ักประมาณรจู กั หลกั ของความพอดี

การดาํ เนนิ ชีวติ พอเหมาะพอควร
(5) รจู ักกาลเวลาหรือกาลญั ตุ า หมายถงึ ความเปน ผรู จู กั กาลเวลา รจู ักเวลาไหนควรทาํ อะไร

แลว ปฏบิ ัตใิ หเ หมาะสมกับเวลานนั้ ๆ

ห น า | 13

(6) รจู ักชุมชนหรือปริสัญตุ า หมายถึง ความเปน ผูรจู กั ปฏิบตั กิ ารปรับตนและแกไขตนให
เหมาะสมกับสภาพของกลมุ และชุมชน

(7) รจู ักบุคคลหรือปคุ คลัญุตา หมายถึง ความเปนผูรูจักปฏิบัติตนใหเหมาะสมกับบุคคล
ซึ่งมีความแตกตางกัน

การที่บคุ คลไดน ําหลักสปั ปุริสธรรม 7 มาใชใ นการดาํ เนินชีวติ พบกบั ความสขุ ในชวี ิตได
2) อทิ ธิบาท 4

อิทธบิ าท 4 คอื หลักธรรมทน่ี ําไปสูความสาํ เรจ็ แหง กจิ การมี 4 ประการ คือ ฉันทะ วิรยิ ะ จติ ตะ
วมิ ังสา

(1) ฉนั ทะ คอื ความพอใจใฝร กั ใฝหาความรแู ละใฝส รางสรรค
(2) วิรยิ ะ คือ ความเพียรพยายามมคี วามอดทนไมท อ ถอย
(3) จิตตะ คือ ความเอาใจใสแ ละต้งั ใจแนว แนในการทาํ งาน
(4) วมิ ังสา คือ ความหม่นั ใชปญญาและสติในการตรวจตราและคิดไตรต รอง
3) กุศลธรรมบถ 10
กศุ ลกรรมบถ 10 เปน หนทางแหง การทาํ ความดีงามทางแหงกุศล ซ่ึงเปนหนทางนําไปสูความสุข
ความเจรญิ แบง ออกเปน 3 ทาง คอื กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3
1. กายกรรม 3 หมายถงึ ความประพฤตดิ ีทีแ่ สดงออกทางกาย 3 ประการ ไดแ ก

(1) เวนจากการฆาสัตว คือ การละเวนจากการฆาสัตว การเบียดเบียนกัน เปนผูเมตตา
กรณุ า

(2) เวน จากการลกั ทรัพย คอื เวน จากการลกั ขโมย เคารพในสทิ ธิของผูอ่ืน ไมหยิบฉวยเอา
ของคนอื่นมาเปนของตน

(3) เวน จากการประพฤติในกาม คือ การไมลวงละเมิดสามีหรือภรรยาผูอื่น ไมลวงละเมิด
ประเวณที างเพศ

2. วจีกรรม 4 หมายถึง การเปนผูมีความประพฤติดีซ่ึงแสดงออกทางวาจา 4 ประการ ไดแก
(1) เวน จากการพูดเท็จ คือ การพดู แตความจริงไมพ ูดโกหกหลอกลวง
(2) เวนจากการพูดสอเสียด คือ พูดแตในส่ิงท่ีทําใหเกิดความสามัคคีกลมเกลียว

ไมพ ูดจาในสงิ่ ทก่ี อ ใหเกิดความแตกแยกแตกราว
(3) เวนจากการพูดคาํ หยาบ คือ พดู แตคําสุภาพ ออนหวาน ออนโยนกับบุคคลอ่ืนท้ังตอหนา

และลับหลงั
(4) เวน จากการพดู เพอเจอ คือ พูดแตค วามจริง มเี หตุผล เนน เน้ือหาสาระที่เปนประโยชน

พดู แตส งิ่ ท่จี ําเปน และพดู ถกู กาลเทศะ
3. มโนกรรม 3 หมายถงึ ความประพฤติทีเ่ กิดขนึ้ ในใจ 3 ประการ ไดแ ก
(1) ไมอ ยากไดของของเขา คือ ไมค ดิ โลภอยากไดของผูอืน่ มาเปน ของตน
(2) ไมพ ยาบาทปองรายผอู นื่ คอื มจี ติ ใจปรารถนาดอี ยากใหผ ูอ่ืนมคี วามสขุ ความเจรญิ
(3) มีความเห็นที่ถูกตอง คือ ความเช่ือท่ีถูกตองคือความเชื่อในเรื่องการทําความดีไดดี

ทําช่วั ไดช ัว่ และมีความเช่ือวา ความพยายามเปนหนทางแหงความสําเร็จ

ห น า | 14

สงั คหวตั ถุ 4

สังคหวัตถุ 4 เปน หลักธรรมคาํ สอนทางพระพทุ ธศาสนาทเ่ี ปนวธิ ปี ฏบิ ัติเพ่อื ยึดเหน่ียวจิตใจของคน
ท่ยี งั ไมเคยรักใครน บั ถือใหมีความรักความนับถือ สังคหวัตถุเปนหลักธรรมท่ีชวยผูกไมตรีซึ่งกันและกันให
แนนแฟน ยิ่งข้นึ ประกอบดวย ทาน ปยวาจา อตั ถจริยา สมานตั ตตา

1. ทาน คือ การใหเปนสิง่ ของตนใหแกผ อู น่ื ดวยความเต็มใจ เพ่อื เปนประโยชนแ กผูรบั การใหเปน
การยึดเหน่ียวนํา้ ใจกนั อยา งดยี ิง่ เปน การสงเคราะหส มานน้าํ ใจกันผกู มิตรไมตรีกันใหยัง่ ยืน

2. ปยวาจา คือ การเจรจาดวยถอยคําไพเราะออนหวานพูดชวนใหคนอ่ืนเกิดความรักและนับถือ
คําพดู ท่ดี นี ั้นยอมผูกใจคนใหแ นนแฟน ตลอดไป หรือแสดงความเห็นอกเห็นใจใหกําลังใจรูจักพูดใหเกิดความ
เขาใจดสี มานสามคั คยี อมทําใหเ กิดไมตรที ําใหรักใครน ับถอื และชวยเหลือเกอ้ื กูลกนั

3. อัตถจรยิ า คอื การประพฤตสิ ่ิงท่ีเปน ประโยชนแกกัน คือชวยเหลือดวยแรงกายและขวนขวาย
ชวยเหลอื กจิ กรรมตา ง ๆ ใหล ลุ ว งไป เปนคนไมด ูดายชวยใหความผดิ ชอบชว่ั ดีหรือชว ยแนะนาํ ใหเกิดความรู
ความสามารถในการประกอบอาชีพ

4. สมานัตตตา คือ การวางตนเปนปกติเสมอตนเสมอปลาย ไมถือตัว และการวางตนใหเหมาะสม
กับฐานะของตนตามสภาพ ไดแก ผูใหญ ผูนอย หรือผูเสมอกัน ปฏิบัติตามฐานะผูนอยคาราวะนอบนอม
ยําเกรงผูใหญ

อบายมุข 6

คาํ วา อบายมขุ คอื หนทางแหงความเส่ือมหรือหนทางแหงความหายนะความฉิบหาย มี 6 อยาง
ไดแก

1. การเปน นักเลงผหู ญิง หมายถงึ การเปนคนมีจติ ใจใฝในเรอื่ งเพศ เปนนักเจาชู ทําใหเสียทรัพยสิน
เงนิ ทองสญู เสยี เวลาและเสยี สขุ ภาพ

2. การเปนนกั เลงสรุ า หมายถงึ ผูท่ดี ่มื สรุ าจนตดิ เปน นสิ ยั การดม่ื สุรานอกจากจะทําใหเ สียเงินเสียทอง
แลว ยังเสยี สุขภาพ และบั่นทอนสตปิ ญญาอีกดว ย

3. การเปนนักเลงการพนัน หมายถึง ผูที่ชอบเลนการพนันทุกชนิด การเลนการพนันทําใหเสีย
ทรัพยส นิ ไมเ คยทําใครร่าํ รวยมั่งมเี งินทองไดเ ลย

4. การคบคนช่ัวเปน มิตร หมายถงึ การคบคนไมดีหรือคนชั่ว คนช่ัวชักชวนใหทําในสิ่งที่ไมถูกตอง
และอาจนําความเดือดรอนมาสตู นเองและครอบครัว

5. การเที่ยวดกู ารละเลน หมายถงึ ผทู ชี่ อบเทยี่ วการละเลน กลางคืน ทําใหเสียทรัพยสิน และอาจ
ทาํ ใหเกดิ การทะเลาะเบาะแวง ในครอบครวั

6. เกยี จครา นทาํ การงาน หมายถงึ ผูไ มช อบทาํ งาน ไมข ยนั ไมทํางานตามหนาท่ที ร่ี บั ผดิ ชอบ

ห น า | 15

เบญจศลี เบญจธรรม

เบญจศีลเบญจธรรม คือ หลกั ธรรมทคี่ วรปฏิบตั ิควบคูกนั มงุ ใหบุคคลทาํ ความดลี ะเวน ความช่ัว

เบญจศลี (สิ่งที่ควรละเวน) เบญจธรรม (สิ่งที่ควรประพฤติ)

1. เวนจากการฆา สตั ว 1. มคี วามเมตตากรณุ า
2. เวน จากการลักทรัพย 2. ประกอบอาชีพสุจริต
3. เวนจากการประพฤติผดิ ในกาม 3. มคี วามสาํ รวมในกาม
4. เวนจากการพดู เทจ็ 4. พูดความจรงิ ไมพดู โกหก
5. เวนจาการเสพของมึนเมา 5. มสี ตสิ ัมปชญั ญะ

โลกบาลธรรมหรอื ธรรมคมุ ครองโลก

โลกบาลธรรม หรือ ธรรมคุมครองโลก เปนหลักธรรมท่ีชวยใหมนุษยทุกคนในโลกอยูกันอยางมี
ความสุข มีนาํ้ ใจเอ้ือเฟอ มคี ุณธรรม และทําแตส งิ่ ท่ีเปนประโยชน ประกอบดว ยหลกั ธรรม 2 ประการ ไดแก
หริ ิโอตตัปปะ

1.หริ ิ คอื ความละอายในลักษณะ 3 ประการแลว ไมท ําความช่วั (บาป) คือ
(1) ละอายแกใจหรือความรสู ึกท่ีเกดิ ขนึ้ ในใจตนเองแลว ไมทําความชว่ั
(2) ละอายผูอ่ืนหรอื สภาพแวดลอ มตาง ๆ แลวไมท ําความช่ัว
(3) ละอายตอความช่ัวท่ตี นจะทาํ นน้ั แลวไมท าํ ความชัว่

2.โอตตปั ปะ คือ ความเกรงกลัว หมายถงึ
(1) เกรงกลัวตนเอง ตเิ ตียนตนเองได
(2) เกรงกลัวผอู ืน่ แลว ไมก ลา ทาํ ความช่ัว
(3) เกรงกลัวตอผลของความชั่วที่ทําจะเกดิ ขน้ึ แกต น
(4) เกรงกลวั ตอ อาญาของแผน ดนิ แลวไมกลา ทําความชั่ว

นกิ ายสําคญั ของพระพทุ ธศาสนา

หลังจากทพ่ี ระพทุ ธเจาปรินิพพานแลว ประมาณ 100 ป พระพุทธศาสนาก็เริ่มมีการแตกแยกใน
ดานความคิดเห็นเก่ียวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จนถึงสมัยพระเจาอโศกมหาราช ก็แตกแยกกัน
ออกเปน นกิ ายใหญ ๆ 2 นิกาย คอื มหายาน (อาจาริยวาท) กบั หนิ ยาน (เถรวาท)

มหายาน “มหายาน” แปลวา “ยานใหญ” เปน ลทั ธขิ องภิกษุฝายเหนือของอนิ เดยี ซึง่ มจี ุดมุงหมาย
ที่จะเผยแพรพระพุทธศาสนาใหมหาชนเลือ่ มใสเสียกอนแลวจงึ สอนใหระงับดับกิเลส ทั้งยังไดแกไขคําสอน
ในพระพุทธศาสนาใหผันแปรไปตามลําดับ ลัทธินี้ไดเขาไปเจริญรุงเรืองอยูในทิเบต จีน เกาหลี ญี่ปุนและ
เวยี ดนาม เปน ตน

ห น า | 16

หินยาน คาํ วา “หินยาน” เปนคําท่ฝี า ยมหายานตง้ั ให แปลวา “ยานเล็ก” เปน ลทั ธขิ องภิกษฝุ ายใต
ที่สอนใหพระสงฆปฏบิ ัติ เพื่อดับกิเลสของตนเองกอน และหามเปล่ียนแปลงแกไขพระวินัยอยางเด็ดขาด
นิกายน้มี ีผูนับถือในประเทศศรีลังกา ไทย พมา ลาว และกัมพูชา โดยเฉพาะประเทศไทย เปนศูนยกลาง
นิกายเถรวาท เพราะมีการนับถือพระพุทธศาสนานิกายนี้สืบตอกันมาต้ังแตบรรพชน พระพุทธเจาไมใช
เทวดาหรือพระเจา แตเปนมนษุ ยทีม่ ีศักยภาพเหมือนสามัญชนท่วั ไป สามารถบรรลสุ จั ธรรมไดดวยความวิริยะ
อุตสาหะ หลักปฏบิ ัติในชีวิตที่ทกุ คนควรกระทาํ คือ ทําความดี ละเวนความชั่ว ทําจิตใจใหผองแผว และการท่ี
เราจะทําส่งิ เหลา นไี้ ดนนั้ จะตองมีศีล สมาธิ ปญญา เพ่ือเปนพาหนะนําผูโดยสารขามทะเลแหงวัฏสงสาร
ไปสพู ระนพิ พาน

ห น า | 17

ความแตกตางของนกิ ายหินยานกับนกิ ายมหายาน

นิกายหนิ ยาน นิกายมหายาน

1. ถือเร่อื งอรยิ สัจเปนสําคัญ 1. ถอื เรื่องบารมเี ปนสําคัญ

2. คุณภาพของศาสนกิ ชนเปนสําคัญ 2. ถือปรมิ าณเปน สําคญั กอ นแลว จงึ เขา ปรบั ปรุง

คณุ ภาพในภายหลงั ดงั น้นั จึงตองลดหยอ น
การปฏบิ ัตพิ ระวนิ ยั บางขอลง เขา หาบคุ คล
และเพม่ิ เทวดาและพิธกี รรมสังคตี กรรม เพ่อื

จูงใจคนไดอธิบายพทุ ธมติอยา งกวางขวางเกิน
ประมาณ เพอื่ การเผยแพร จนทําใหพระพทุ ธ-
พจน ซงึ่ เปนสจั นิยมกลายเปน ปรชั ญาและ

ตรรกวิทยาไป

2. มพี ระพทุ ธเจาองคเ ดยี วคือพระ- 3. มีพระพทุ ธเจา หลายองค องคเ ดมิ คอื อาทพิ ุทธ
สมณโคดมหรือพระศากยมนุ ี (กายสีนา้ํ เงนิ ) เมอ่ื ทานบําเพญ็ ฌานกเ็ กิด

พระฌานิพุทธอกี เปนตนวา พระไวโรจน พทุ ธะ-
อักโขภัย พุทธะรัตนสมภพ พทุ ธไภสัชชครุ ุ-
โอฆสิทธิ และอมติ าภา เฉพาะองคน ี้มมี าใน

รางคนเปน (มานุษีพทุ ธะ) คอื พระศากยมุนี

4. มีความพน จากกเิ ลสชาติภพ 4. มีความเปนพระโพธิสัตวหรือพุทธภูมิเพื่อ
เปนอตั กตั ถจริยแลวบาํ เพญ็ บาํ เพ็ญโลกตั ถจรยิ าไดเต็มทีเ่ ปนความ

ประโยชนแ กผ อู ่ืนเปนโลกตั ถจริย มุงหมายของพระโพธ์ิสัตวหลายองค เชน
เปน ความมุงหมายสาํ คญั พระอวโลกเิ ตศวรมชั ชุลี วชิ รปาณี
กษติ คสร 3 สมันตภัทรอริยเมตไตร เปน ตน

5. มีบารมี 10 ประการ คือ ทาน ศีล 5. มบี ารมี 6 ประการ คอื ทาน ศีล วนิ ยั ขนั ติ
เนกขัมมะ ปญญา วริ ิยะ ขนั ติ สจั จะ ฌาน ปญญา อันใหถ งึ ความสาํ เรจ็ เปน

อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา อันใหถึง พระโพธสิ ัตวและเปนปฏปิ ทาของพระโพธิสตั ว
ความเปน พระพทุ ธเจา

6. ถือพระไตรปฎกเถรวาท คือ 6. ถอื พระธรรมวินัยเกาและมพี ระสตู รใหม

พระธรรมวนิ ยั ยตุ ิตามปฐม- เพม่ิ เตมิ เชน สุขวดียหู สูตรลงั กาวตาร
สังคายนา ไมมพี ระวนิ ัยใหม ลัทธรรมปณุ ฑรกิ สูตร ปรัชญาปารมิตาสูตร
เพ่มิ เตมิ เปนตน

ห น า | 18

นิกายหนิ ยาน นกิ ายมหายาน

7. รักษาวินัยเดมิ เอาไว 7. ปรับปรงุ พระธรรมวินัยใหเ ขา กับภาวะแวดลอม

8. ถือวาพระอรหันตเม่ือนิพพานแลว 8. ถือวาพระอรหันตเมื่อปรินิพพานแลวยอม

ไมเ กดิ ใหมอ ีก กลบั มาเกดิ ใหมสาํ เรจ็ เปน พระพทุ ธเจา อีก

9. ยอมรบั แตธ รรมกาย และนริ มานกาย 9. ถอื วาพระพทุ ธเจา มี 3 กาย คือ ธรรมกาย

นอกน้นั ไมย อมรบั ไดแก กายธรรมสมั โภคกายหรือกายจาํ ลอง

หรือกายอวตารของพระพทุ ธเจา เปน

กสั สปสัมพุทธะบา ง เปนพระศากยมนุ ีบาง

เปนพระกกสุ นั ธะบาง เปนตน นั้น ลว นเปน

สัมโภคกายของพระพทุ ธองคเดมิ (อาทิพทุ ธะ)

ท้ังน้ัน และ นริ นามกาย คือ กายทตี่ องอยู

สภาพธรรมดา คือ ตอ งแก เจ็บ และ

ปรนิ ิพพาน ซงึ่ เปนกายทพี่ ระพทุ ธเจา สรางขึ้น

เพ่ือใหคนเห็นความจรงิ ของชวี ติ แตส าํ หรบั

พระพทุ ธเจา องคท่แี ทนั้นไมต อ งอยใู นสภาพ

เชน นี้ แบบเดียวกนั กับปรมาตมนั ของพราหมณ

ห น า | 19

บุคคลสาํ คัญในสมยั พทุ ธกาล

พระสารบี ตุ ร เปนอัครสาวกเบอื้ งขวาของพระพทุ ธเจา ไดร ับการยกยองจากพระพุทธเจาวา เปนเลิศ
กวาพระสงฆท้ังปวง ในดานสติปญญา นอกจากน้ีพระสารีบุตร ยังมีคุณธรรมในดานความกตัญู และการ
บําเพ็ญประโยชนใหแกพ ุทธศาสนาอกี ดวย ทานไดรับการยกยองวาเปน ธรรมเสนาบดีคูกับพระพุทธเจาที่
เปน ธรรมราชา เนอ่ื งจากทา นเปนผูมีปฏญิ าณในการแสดงพระธรรมเทศนา คือ ชแ้ี จงใหผ ูฟงเขาใจไดช ัดเจน
สาํ หรบั ในดา นความกตัญู น้นั ทา นไดฟ ง ธรรมจากพระอิสสชเิ ปนทานแรก และเกิดธรรมจักษุ คือ ดวงตา
เหน็ ธรรม หมายความวา ส่ิงใดเกดิ เปนธรรมดา ยอ มดับเปนธรรมดา จากนั้นเม่ือกอนท่ีทานจะนอนทานจะ
กราบทิศที่พระอสั สชิอยแู ละหันศีรษะนอนไปยังทิศนัน้

พระมหาโมคคัลลานะ เปนอัครสาวกเบือ้ งซายของพระพุทธเจา เปนผูมีเอตทัคคะในดานผูมีฤทธิ์
ทานเปนผฤู ทธานุภาพมาก สามารถกระทําอทิ ธิฤทธ์ิไปเย่ียมสวรรคและนรกได จากน้ันนําขาวสารมาบอก
ญาติมิตรของผทู ไี่ ปเกิดในสวรรคแ ละนรกใหไ ดท ราบ ประชาชนทั้งหลายจึงมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนา ทําให
ประชาชนเสอ่ื มคลายความเคารพเดยี รถีย (นักบวชลทั ธิหนงึ่ ในสมยั พทุ ธกาล) พวกเดยี รถยี จ ึงโกรธแคน ทา นมาก
จึงลงความเห็นวา ใหกําจัดพระโมคคัลลานะ นอกจากนั้นจึงจางโจรไปฆาพระเถระ พวกโจรจึงลอมจับ
พระเถระทานรูตัวหนีไปได 2 ครั้ง ในครั้งที่ 3 ทานพิจารณาเห็นวาเปนกรรมเกา จึงยอมใหโจรจับอยาง
งายดาย โจรทบุ กระดกู ทา นจนแหลกเหลวไมม ีชนิ้ ดี กอนท่ที านจะยอมนิพพาน เพราะกรรมเกา ทานไดไป
ทลู ลาพระพทุ ธเจากอ นแลว จึงนิพพาน

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เปน ผูไ ดร ับการยกยอ งเปนนายกฝายอุบาสก ทานเปนเศรษฐีอยูเมืองสาวัตถี
เปนผมู ีศรัทธาแรงกลาเปน ผูสรา งพระเชตุวนั มหาวิหารถวายแกพระพุทธเจา พระพุทธเจาทรงประทับอยูท่ี
วดั น้ถี ึง 19 พรรษา นอกจากทานจะอปุ ถมั ภบ าํ รงุ พระภกิ ษสุ งฆแลว ยังไดสงเคราะหคนยากไรอนาถาอยาง
มากมายเปน ประจําจงึ ไดช อ่ื วา อนาถบิณฑกิ ซง่ึ แปลวา ผมู ีกอนขา วเพอ่ื คนอนาถา

พระเจาพิมพิสาร เปนอุบาสกที่สําคัญอีกผูหน่ึง พระองคเปนพระเจาแผนดินครองแควนมคธ
ครองราชยสมบตั ิอยูทีก่ รุงราชคฤห ทา นถวายพระราชอุทยานเวฬุวันแกพระพุทธเจานับวาเปนวัดแหงแรก
ในพระพุทธศาสนา

พระอานนท เปน สหชาติและพุทธอุปฏ ฐากของพระพุทธเจา ไดรับการยกยองวาเปนเอตทัคคะวา
เปนผูมีพหูสูต เนื่องจากทรงจําพระสูตรท่ีพระพุทธเจาตรัสไว และเปนผูสาธยายพระสูตรจนทําให
การปฐมสังคายนาสําเรจ็ เรยี บรอย นอกจากนน้ั ทานยงั ทาํ หนา ท่ีเปน พทุ ธอุปฏ ฐากของพระพทุ ธเจาไดอ ยางดี
รวม 25 พรรษา ดวยความขยันขันแข็งที่เปนภารกิจประจําและไดรับการยกยองจากสมเด็จพระสัมมา-
สมั พุทธเจาใหเปน เอตทัคคะ (เลิศ) 5 ประการ คือ

1. มีสติรอบคอบ
2. มีความทรงจําแมนยํา
3. มคี วามเพยี รดี
4. เปนพหสู ตู
5. เปน ยอดของพระภกิ ษุผูอ ปุ ฏฐากพระพทุ ธเจา
นางวิสาขา ผูเปนฝายอุบาสิกาเปนเลิศในการถวายทานและนางเปนผูมีความงามครบ 5 อยาง
ซ่ึงเรยี กวา เบญจกลั ยาณี ไดแ ก เปนผมู ีผมงาม คือ มีผมยาวถงึ สะเอวแลว ปลายผมงอนขึ้น เปนผูมีเน้ืองาม
คือ รมิ ฝปากแดง ดจุ ผลตําลึงสกุ และเรยี บชดิ สนิทดี เปนผูมกี ระดูกงาม คอื ฟนขาวประดุจสังขแ ละเรยี บ

ห น า | 20

เสมอกนั เปนผมู ผี ิวงาม คือ ผวิ งามละเอียด ถา ดาํ กด็ ําดงั ดอกบวั เขยี ว ถา ขาวกข็ าวดงั ดอกกรรณกิ าร เปน ผูม ี
วัยงามแมจะคลอดบุตรถึง 10 ครั้ง ก็คงสภาพรางกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว ปกตินางวิสาขาไปวัด
วันละ 2 ครั้ง คอื เชา เยน็ และมขี องไปถวายเสมอ เวลาเชาจะเปนอาหาร เวลาเย็นจะเปนน้ําปานะ นางเปน
ผูส รางวัดบปุ ผารามถวายพระบรมศาสดา และเปนผคู ดิ ถวายผา อาบนํ้าฝนแกพระเณร เพราะพระเณรไมมี
ผา อาบน้ํา เปลือยกายอาบนาํ้ ฝนดไู มเ หมาะสม

เรือ่ งที่ 3 ประวัตศิ าสดาและคําสอนของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมูฮัมหมัด ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในดินแดนทะเลทรายอาหรับ
เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในยุคนั้นชาวอาหรับแตกออกเปนหลายกลุม ขาดความสามัคคี
ยากแกการปกครอง มีการรบพุง ฆา ฟน กนั ตลอดเวลา ไมมีศาสนาเปนแกน สาร คนสวนใหญนับถือเทพเจา
และรปู เคารพตา ง ๆ ประชาชนไมม ีศีลธรรม สตรจี ะถูกขมเหงรังแกมากทสี่ ดุ นบีมฮู ัมหมดั เกิดข้ึนทามกลาง
สภาพสงั คมทเ่ี สอื่ มทรามเชน นี้ จึงคดิ หาวิธีทจี่ ะชว ยปรับปรงุ แกไ ขสถานการณน้ีใหด ีขนึ้ นบมี ฮู มั หมัดเปนผทู ่ี
ฝกใฝในศาสนาหาความสงบและบําเพ็ญสมาธิท่ถี า้ํ ฮีรอบนภูเขานูร ในคืนหนึ่งของเดือนรอมฎอนกาเบรียล
ทตู ของพระเจาไดนาํ โองการของอัลลอฮมาประทาน นบีมูฮัมหมัดไดนําคําสอนเหลานี้มาเผยแผจนเกิด
เปนศาสนาอิสลามข้นึ ในระยะแรกของการเผยแผศ าสนาไดรับการตอตา นเปนอยางมากถึงกับถูกทํารา ยจน
ตองหลบหนไี ปอยเู มืองมะดีนะฮ จนเปนท่ียอมรับและมีคนนับถือมากมายก็กลับมายึดเมืองเมกกะทําการ
เผยแผศ าสนาอสิ ลามอยางเต็มที่ การเผยแผศาสนาของอิสลามออกไปยังประเทศตา ง ๆ ในยุคหลังเปน ไป
โดยไรสงครามเขา ยดึ เมอื งเพือ่ เผยแผศ าสนา โดยมคี ัมภีรในศาสนาอิสลาม คอื คัมภรี อัลกุรอาน

แนวประพฤตปิ ฏิบตั ิและหลกั คาํ สอนของศาสนาอิสลาม

แนวประพฤติปฏิบัติและหลักคําสอนของศาสนาอิสลามประกอบดว ยรายละเอียดท่ีสําคัญ ๆ
ดงั ตอ ไปน้ี คือ

1. ศรัทธาตอ อัลเลาะห ใหศรัทธาโดยปราศจากขอ สงสัยใด ๆ วา พระอัลเลาะหท รงมีอยูจ ริง
ทรงดํารงอยดู ว ยพระองค ทรงมมี าแตด้งั เดมิ โดยไมม ีส่ิงใดมากอนพระองค ทรงดํารงอยตู ลอดกาล ไมมีสง่ิ ใดอยู
หลงั จากพระองคท รงสรางทุกอยางในทอ งฟาเพียบพรอ มดว ยคุณลกั ษณะอันประเสริฐ

2. ศรทั ธาตอ มลาอกิ ะฮุ ซง่ึ เปน บา วอัลเลาะหป ระเภทหนึง่ ทไี่ มอ าจมองเห็นตัวตนหรือทราบรูปรา ง
ที่แทจ ริง บรรดามลาอิกะฮุน้ีปราศจากความผิดพลาดบริสุทธิ์จากความมัวหมองท้ังปวง มีคุณสมบัติ
ไมเหมือนมนุษย คอื ไมก นิ ไมน อน ไมมเี พศ สามารถจําแลงรา งได

3. ศรทั ธาในพระคัมภีรของพระเจา คือ ศรัทธาวา อัลเลาะหท รงประทานคัมภีรใ หก ับบรรดาศาสนทูต
เพื่อนําไปประกาศใหป ระชาชนไดท ราบหลกั คําสอนซงึ่ มีอยู 2 ประเภท คอื

1) สอนถงึ ความสัมพันธระหวางมนษุ ยกบั พระเจา
2) สอนถึงความสัมพันธระหวางมนุษยกับมนุษยดวยกันโดยบรรดาคัมภีรที่ประทานมานั้น
มีวิธีประทานตาง ๆ กนั ดังนี้

(1) ถา ยทอดโองการตาง ๆ เขาจิตใจของศาสนา
(2) การไดย นิ เสยี งในลักษณะอยใู นภวังคห รือการฝน

ห น า | 21

(3) โดยมลาอกิ ะฮฺ มนี ามวา ญบิ รลี ถูกสงมาพรอมกับโองการของพระเจา นํามาใหศ าสดาดว ย
คาํ พูดอันชัดเจน สาํ หรับคัมภรี อัลกรุ อานไดถ ูกบันทกึ ตัง้ แตศ าสดานบีมูฮัมหมัดยังมีชีวิตอยูแ ละไดท อ งจําโดย
สาวกของทา น คัมภรี นีไ้ มเ คยปรับปรงุ แกไ ขแตอยางไร มใิ ชวรรณกรรมทม่ี นุษยประพันธข ึ้นมา แตถ ูกประทาน
มาจากอลั เลาะหเจา

4. ศรทั ธาในบรรดาศาสนทูต ใหศ รัทธาวา อลั เลาะห ทรงคัดเลือกบคุ คลเปน ผูสง สารนําบทบัญญัติ
ของพระองคม าส่ังสอนแกปวงชน อัลกุรอานสอนวา ศาสนทูตที่ปรากฏช่ือในคัมภีรอัลกุรอานมี 25 ทาน
มุสลิมทุกคนตอ งศรัทธาในบรรดาศาสนทตู ดังกลา วทัง้ หมด จะละเวนทา นหนึง่ ทา นใดมไิ ดแ ละถอื วา ทกุ ทาน
ทก่ี ลา วมาน้ีเปน มุสลิมและเปนบา วของอัลเลาะหเ หมอื น ๆ กัน

5. ศรทั ธาตอ วันปรโลก มหี ลกั การวา มีวันหน่ึงที่เปนวันพิจารณาผลกรรมของมนุษยท ้ังหมด ท้ังนี้
เพ่อื ทุกสงิ่ ทุกอยางในจกั รวาลไดพ ินาศแตกดับหมดแลว จากนั้นอัลเลาะหจะไดใหท ุกคนคืนชีพมาชําระงาน
ทีเ่ ขาประกอบไวใ นโลกดงั ขอ ความวา ผปู ระกอบความดีจะไดร ับตอบสนองดว ยส่งิ ดี ผปู ระกอบกรรมชัว่ กจ็ ะ
ไดรบั ผลตอบสนอง คือ การลงโทษดังขอ ความวา ผูใดประกอบกรรมดีแมเ พียงนอ ยนิดเขาก็จะไดเ ห็นมัน
และผูใดประกอบกรรมช่ัวแมเ พยี งนอยนิดเขากจ็ ะไดเห็นมัน

6. การศรัทธาตอกฎกําหนดสภาวะ คือ ระเบียบอันรัดกุมท่ีอัลเลาะหท รงกําหนดไวแกโลก
การศรทั ธาตอ กฎกาํ หนดสภาวะ คือ การยอมรับในอาํ นาจของอัลเลาะหท ี่ทรงครอบครองความเปนไปของ
ทกุ สง่ิ แตละสงิ่ เปน ไปตามพระประสงคท พี่ ระองคท รงกําหนดไวท กุ ประการ เชน การถือกําเนดิ ชาตพิ ันธุ เปนตน

การนมัสการน้ีจะทําคนเดียวก็ได แตถ าจะรว มกันทําเปนหมูยิ่งไดก ุศลเพิ่มข้ึน มีขอ หามในการ
นมัสการเม่ือเวลามนึ เมา

7. การถอื ศีลอด เปนหลักมูลฐานของอิสลามขอ หน่ึงที่มุสลิมทกุ คนตองปฏิบัติ มกี าํ หนดขนึ้ ในทุก ๆ ป
ปละ 1 เดือน คือ ตกเดอื นรอมฎอน อันเปน เดอื นที่ 6 แหงปอ สิ ลาม นับแบบจนั ทรคติ

การถือศีลอด คือ การงดเวน จากการบริโภคและอื่น ๆ ตามท่ีกําหนดไวแนนอน มีหลักเกณฑในการ
ปฏบิ ตั ิ คือ

1. เปนมุสลิม
2. มอี ายบุ รรลศุ าสนาภาวะ (ประมาณ 15 ป)
3. มสี ตสิ ัมปชัญญะ
4. มีพลงั ความสามารถที่จะปฏิบตั ไิ ด

กิจกรรมที่กระทําในพธิ ีศลี อด คอื
1. ตั้งจติ ปรารถนา (นียะฮ) ไวแ ตก ลางคืน

วาตนจะถอื ศลี อด
2. งดเวนการกนิ ดื่ม และอน่ื ๆ ตาม

ขอกําหนด
จดุ ประสงคข องการถือศลี อด
1. เพือ่ ทําใหจิตใจบรสิ ทุ ธ์ิ
2. ใหรจู ักควบคมุ จติ ใจและตดั กิเลส
3. ใหรูจักรสของการมขี ันติ
4. ใหร จู ักสภาพของคนยากจนอนาถา จะทาํ ใหเกดิ ความเมตตาแกค นทว่ั ไป
จุดเร่มิ ตนของการเขาถือศีลอดในเดอื นรอมฎอนตามศาสนาบญั ญตั ิ

ห น า | 22

เร่ืองท่ี 4 ประวัติศาสดาและคาํ สอนของศาสนาคริสต

ศาสนาครสิ ต เปน ศาสนาประเภทเอกเทวนิยม คือ เช่ือวา มีพระเจา สูงสุดเพยี งองคเดียวเปนผูสราง
โลกและสรรพสิง่ พระเจา องคน ้ัน คอื พระยะโฮวาห ศาสนาคริสตเ ช่อื วา มนุษยมบี าปมาแตก ําเนิด พระเจา
จึงสง พระเยซูมาไถบ าป เช่อื วา วญิ ญาณเปนอมตะ เม่ือถึงวนั ตัดสินโลกมนุษยจะไปอยใู นสวรรค หรือในนรก
ชว่ั นิรนั ดร เชอ่ื วามีเทวดาอยมู ากมายท้งั ฝายดแี ละฝา ยชว่ั ซาตานเปน หวั หนาฝา ยช่วั ในที่สุดก็จะถูกพระเจา
ทําลาย

ศาสนาคริสต เปนศาสนาท่มี ผี นู ับถือมากท่สี ุดในโลก คําวา Christ มาจากภาษาโรมันวา Christus
และคําน้ีมาจากภาษากรีก อีกตอหน่ึง คือ คําวา Christos ซ่ึงแปลมาจากคําวา Messiah ในภาษาฮิบรู
คําวา messiah แปลวา พระผปู ลดเปลื้องทกุ ขภัย

ศาสนาครสิ ต เกิดในปาเลสไตน เมื่อ พ.ศ. 543 โดยคํานวณจากปเกิดของพระเยซูซ่ึงเปนศาสดา
ของศาสนานี้ ศาสนาครสิ ต เปนศาสนาทพ่ี ัฒนามาจากศาสนายดู ายหรือยิว เพราะศาสนาคริสตน ับถือพระเจา
องคเ ดียวกนั กบั ศาสนายูดาย คือ พระยะโฮวาห พระเยซูเปน ชาวยิวมิไดปรารถนาท่ีจะตั้งศาสนาใหม แต
ทรงตอ งการปฏิรูปศาสนายิวใหบ ริสุทธิ์ขึ้น ทรงกลาววา “อยาคิดวา เรามาทําลายพระบัญญัติและคําของ
ศาสดาพยากรณเ สีย เรามิไดมาทําลายแตม าเพ่ือทําใหส ําเรจ็ ”

กอ นหนา ท่ีพระเยซปู ระสูติ ประเทศปาเลสไตน ไดต กเปนเมืองขึน้ ของจกั รวรรดิใกลเ คียงติดตอกัน
เปนระยะเวลากวา 100 ป เร่มิ ตัง้ แตศตวรรษท่ี 1 กอ นคริสตกาล ตกเปน เมืองขึ้นของอัสซีเรีย บาบิโลเนีย
จกั รวรรดิเปอรเ ซีย จักรวรรดิกรกี ในสมยั พระเจาอเล็กซานเดอรม หาราช และในที่สดุ ตกเปนของอาณานิคม
จักรวรรดิโรมัน ตลอดเวลาทต่ี กเปนเมืองขึ้นนี้ ผพู ยากรณห ลายทานไดพ ยากรณถึงพระเมสสิอา (Messiah)
พระผูชว ยใหรอด ซึ่งเปน พระบุตรของพระเจาที่จะเสด็จมาปลดแอกชาวยิวใหไ ดรับเสรีภาพและจะ
ทรงไถบาปใหชาวยิวพน จากความหายนะและไดร ับความรอดชั่วนิรันดร ในสมัยนั้นชาวยิวเช่ือใน
คําพยากรณน ี้มากและพระเยซูประสูติในชวงเวลาน้ันพอดี พระเยซูเกิดท่ีหมูบ า นเบธเลเฮม แขวงยูดาย
กรงุ เยรซู าเล็ม มารดาชื่อมาเรยี บดิ าชอ่ื โยเซฟ ตามประวัติมาเรียน้ันตั้งครรภม ากอ นขณะที่ยังเปน คูหมั้น
กบั โยเซฟ เทวทตู จงึ มาเขา ฝนบอกโยเซฟวา บตุ รในครรภมาเรยี เปนบุตรของพระเจาใหต งั้ ช่ือวา เยซู ตอมา
จะเปนผูไถบ าปใหก ับชาวยิว โยเซฟจึงปฏบิ ตั ิตามและรบั มาเรียมาอยดู วยโดยไมสมสูเย่ียงภริยา พระเยซูได
รับการเล้ียงดูอยางดี เปน ศิษยของโยฮนั ศกึ ษาพระคมั ภีรเ กา จนแตกฉาน ทานมนี ิสยั ใฝสงบชอบวิเวก เมื่ออายุ
30 ป ไดร ับศลี ลางบาปทแี่ มนํ้าจอรแดน ต้ังแตน้นั มาถือวา ทานสําเร็จภูมิธรรมสูงสุดในศาสนาพระองคม ีสาวก
12 คน เปน หลักในศาสนาทําหนาท่ีสืบศาสนามีนักบุญเปโตร (SaintPeter) เปนหัวหนาผูสืบตําแหนง
นักบุญเปโตรตอ ๆ มาจนถึงปจจุบัน เรียกวา สมเด็จพระสันตะปาปา พระเยซูเผยแผศาสนาท่ัวดินแดน
ปาเลสไตน เ ปนเวลา 3 ป มีพวกปุโรหิตธรรมาจารยและพวกซีซารเกลียดชัง ขณะท่ีพระองครับประทาน
อาหารมือ้ คํ่ากับสาวก 12 คน เปน มอ้ื สดุ ทา ย ทหารโรมันจับตัวทา นในขอหาเปนกบฎและถูกตัดสินใหลงโทษ
ประหารชีวิตโดยตรึงกับไมกางเขนไวจนสิ้นพระชนม

ห น า | 23

วิธีการเผยแผค ําสอนของพระเยซู

พระเยซู ใชว ิธีการ 3 วธิ ี ในการเผยแผค าํ สอน คือ
1. การรักษาบุคคลท่ีเจ็บปวยใหหาย คนตายใหฟน
เปน การปลูกศรัทธาของปวงชนใหเ กิดมีข้ึนตอ อํานาจของ
พระเจา
2. การแสดงความฉลาดในการแกปญ หา เชน เมื่อ
มีการใหตดั สนิ คดหี ญงิ ผดิ ประเวณี พระเยซูตรัสวา ลงโทษได
แตผ ูลงโทษจะตองเปน ผบู ริสุทธิ์ เปน ตน
3. การประกาศหลักการแหงความรัก ความเมตตา
กรณุ า และกลาววา จงรกั ศัตรู ทา นจงอธิษฐานเพื่อผูท่ีขมเหง
ทา นทาํ ดงั น้ีแลว ทานจะเปนบุตรของพระบิดาของทานใน
สวรรค

หลกั ธรรมของศาสนาคริสต

ศาสนาครสิ ตจ ารกึ หลกั ธรรมไวใ นคมั ภีรไบเบล้ิ หลกั ธรรมของพระเยซบู างขอตรงขา มกบั ศาสนายิว
บางขอใหก ารปฏริ ปู และประยุกตเ สียใหม เชน

1. พระเจา ทรงเปน บิดาท่ีดพี รอ มท่ีจะประทานอภยั ใหแ กบตุ รทีก่ ลบั ใจ แตข ณะเดยี วกันก็ทรงเปน
ผทู รงไวซ ่ึงความเดด็ เด่ยี วลงโทษผูท ่ีไมเ ชอ่ื ฟง

2. พระเยซูทรงเปน ผูป ระกาศขา วดีโดยแจง ใหท ราบวาอาณาจักรของพระเจา มาถงึ แลว ผูที่ศรัทธา
จะไดร ับมหากรุณาธคิ ุณจากพระเจา

3. หลักการสํานึกผิด ใหพ ิจารณาตนเองวา ใหทําผิดอะไร และต้ังใจที่จะเลกิ ทําความชัว่ นั้นเสยี
4. หลกั ความเสมอภาค คือ ความรักความเมตตาของพระเจา ที่มีตอมนุษยทั้งมวล โดยไมเ ลือกชั้น
วรรณะ ผูทีท่ าํ ความดีแลว ตองไดร บั รางวัลจากพระเจาโดยเสมอภาคกนั
5. ใหล ะความเคียดแคนพยาบาทการจองเวรซ่ึงกันและกัน ใครรักก็รักตอบ ใครอาฆาตมุงรา ย
กต็ องใหอ ภยั

คาํ สอนของพระเยซูทส่ี ําคญั ๆ อกี คอื

1. พระเยซูเปนบุตรของพระเจา ทรงสง ใหม าเกิดในโลกมนุษยเ พ่ือไถบาปใหมนุษย มิไดเ สด็จมา
ปราบศตั รดู วยอาวธุ แตท รงมาสรา งสนั ติ

2. ผูท่เี ชอ่ื พระเยซจู ะไดร บั ความรอดและชวี ติ นริ นั ดรจะไมถูกพพิ ากษาวันสนิ้ โลก สวนผทู ไ่ี มศรทั ธา
จะถูกพพิ ากษาในวันสน้ิ โลก

3. ทรงส่ังสอนใหช าวยิวกลับใจใหมม ิใหนับถือเฉพาะในดา นประกอบพิธีกรรมหรือทองคําสวดดว ย
ปากไมจ รงิ ใจ ทรงติเตยี นพวกพระยวิ วาเปน พวกปากวาตาขยิบไมรจู กั พระเจา ที่แทจ ริง

4. บัญญัติของพระเยซทู ีส่ ูงสดุ คือ “การรักพระเจาสดุ ใจและรักเพื่อนบา นเหมือนตัวเราเอง” ผูท ่ี
พระเจาโปรดปราน คือ ผูท ี่อยูใ นความดีความชอบธรรมทั้งกาย วาจา ใจ ผูท ี่ผิดดา นจิตใจถือวามีบาปเทากับ
การกระทํา

ห น า | 24

5. สอนไมใ หก งั วลความสขุ ทางโลกอนั ไดจากวัตถใุ หแ สวงหาความสุขดานจิตใจผูที่หว งสมบัติจะไมได
ข้ึนสวรรค ไมไดพ บกับพระเจา

6. ในดา นการปฏิบัติตอเพ่ือนมนุษยท รงสอนวา การไมท ําช่ัวตอบแทนกรรมชั่วหรือทําดี ตอบแทน
ความดีเทาน้ันยังไมเ พียงพอ ใหท ําดีตอบแทนความช่ัว และใหรักศัตรูดังที่ไดเปรียบเทียบวา อยา ตอ สูค นชั่ว
ถาผใู ดตบแกม ขวาของทา นกจ็ งหนั แกม ซายใหเ ขาดวย

7. ความดีสูงสดุ คอื การทําตัวตามแบบพระเยซู คุณธรรมสูงสุด คือ ความรัก ความเมตตากรุณา
ความออนโยน ความถอมตน ความอดทนตอความทกุ ขทง้ั ปวง

พธิ ีกรรมสาํ คญั ของศาสนาครสิ ต เรียกวา พธิ ศี ักดิส์ ิทธิ์ 7 ประการ คือ
1. ศีลลา งบาปหรือศีลจุม (Baptism) กระทาํ เมอื่ เปนทารกหรือเมื่อเขาเปนคริสตศาสนิกชน พิธีนี้
กระทําตามแบบของพระเยซูเมื่อกอ นทรงออกเทศนาใหน ิกายคาทอลิก ปจ จุบันไมจ ุมตัวในนํ้าแตใช
นํา้ ศักด์ิสิทธิเ์ ทบนศรี ษะเพ่ือเปน สญั ลกั ษณของการลา งบาป ศลี นี้สาํ คัญทส่ี ดุ ผใู ดไมไดรับศีลลางบาปจะไมได
ชื่อวา เปนบตุ รของพระเจาและจะไมไ ดช ีวิตนิรนั ดร
2. ศีลกําลัง (Confirmation) กระทําอีกครั้งหนึ่งเมื่อพนวัยเด็กและเปนผูใหญแลวเพ่ือเปน
คริสตศาสนกิ ชนท่ีสมบูรณ
3. ศลี มหาสนิท (Holy Communion) สาํ หรบั คริสตศาสนกิ ชนอาจทาํ ทุกวัน ทกุ สัปดาห ทุกเดือน
หรอื อยา งนอ ยปละ 1 คร้ัง โดยรบั ประทานขนมปง และเหลา องุนเปนสัญลักษณต ามแบบที่พระเยซกู ระทําแก
อัครสาวกในพระกระยาหารม้อื สดุ ทา ยกอนถูกตรึงกางเขน ขนมปง คือ พระกาย เหลา องุน คือ พระโลหิต
ของพระเยซู ฝายคาทอลกิ เชอื่ วา การกระทําพิธีน้ีผูไ ดร บั ประกาศจะมีชวี ติ นริ นั ดร
4. ศีลแกบาป (Penance) สําหรับคาทอลิกท่ีกระทําบาปประสงคจ ะไดรับการอภัยบาปตองไป
สารภาพบาปนั้นตอ นกั บวชดวยความสํานึกผิดอยา งแทจริง ถือวา นักบวชไดรับอํานาจในการยกบาปโดยตรง
จากสันตะปาปา ซึ่งเปนผแู ทนของพระเยซคู รสิ ต นกั บวชจะยกบาปและตักเตือนสั่งสอนไมใหท าํ บาปอกี
5. ศีลเจิมคนไข (Extreme Unetion) กระทําเมื่อคนไขเจ็บหนักใกลจ ะตายเม่ือชําระบาป
ขนั้ สุดทา ยจะชวยใหมีสตกิ าํ ลังสามารถตอ สูกับความตายจนถึงที่สุด วิธีทําบาทหลวงใชนํ้ามันศักด์ิสิทธิ์เจิม
ทาท่หี ู จมกู ปาก มอื และเทา ของคนไข พรอ มกบั สวดอวยพรทุกคนในบา นจะตอ งสวดพรอม
6. ศีลสมรสหรอื ศีลกลาว (Matrimony) กระทําแกค บู า วสาวในพธิ สี มรส ผูร ับศลี สมรสโดยถูกตอง
แลวจะหยารางกันไมไ ด และหา มสมรสใหมขณะที่สามีภรรยายังมีชีวิตอยู การจดทะเบียนสมรสตาม
กฎหมายโดยไมไ ดรบั ศีลสมรสไมถือวาเปน สามภี ริยาโดยถูกตองตามกฎหมายของศาสนา
7. ศีลอนุกรม (Holy Order หรือ Ordination) เปน ศีลบวชใหกับบุคคลท่ีเปนบาทหลวง ผูมี
อาํ นาจโปรดศลี อนุกรม คือ สังฆราช ซึ่งถอื เปนผูแทนของพระเยซูครสิ ตเมื่อไดร ับศีลอนุกรมแลวไมอนุญาต
ใหส มรส กฎขอนเ้ี กดิ ข้ึนภายหลงั โดยศาสนาจักรเปน ผอู อกกฎน้ี

นิกายของศาสนาคริสต

เดิมศาสนาคริสตม ีนิกายเดียว คือ โรมันคาทอลิก มีศูนยก ลางอํานาจอยูท่ีสํานักวาติกัน กรุงโรม
ใชภ าษาละตนิ เปนภาษาของศาสนา ประมุขของศาสนาคอื สนั ตะปาปา เนนวาเปน ผูส ืบทอดศาสนาคําสอน
ของพระเยซูมีพระคือบาทหลวง เปน นกิ ายที่เชือ่ เรือ่ งบุญบาป รูปเคารพถือไมกางเขนท่ีพระเยซูถูกตรึงอยู
ตอมาอาณาจักรไบเซนไทนมีศูนยก ลางท่ีกรุงคอนสแตนติโนเปล ประเทศตุรกี ปจจุบันมีความเปนอิสระ
ไมย อมอยูใตอํานาจของสนั ตะปาปา จึงแยกนกิ ายมาชอื่ วา กรกี ออรธอดอกซ ไมม ีศูนยก ลางอํานาจท่ีใดโดย

ห น า | 25

เฉพาะใหค วามสําคัญของประมุขท่ีเรียกวา ปาตริอารค หรืออารคบิชอป ตอมามีบาทหลวงชาวเยอรมัน
ช่ือมารตินลูเธอร ไมพอใจการปกครองของสํานักวาติกันและโดนขับออกจากศาสนาจักรในป ค.ศ.1521
จึงแยกตนเองออกมาตัง้ นกิ ายใหมคอื โปรเตสแตนต เนน คมั ภรี ไมม ีนกั บวช รับศีลศกั ด์ิสิทธิ์เพียง 2 อยา งคือ
ศีลลา งบาปและศีลมหาสนิท

เรื่องที่ 5 ประวตั ศิ าสนาพราหมณ - ฮนิ ดแู ละคาํ สอน

ศาสนาพราหมณ หรือ ฮินดู เกิดในเอเชียใต คือ ประเทศอินเดีย เมื่อประมาณ 1,400 ป กอนคริสต
ศกั ราช เกดิ จากพวกอารยันที่อพยพเขา มาในประเทศอินเดีย ถือกันวาเปนศาสนาท่ีเกา แกท่ีสุดในโลกพระเวท
เปน คมั ภีรศาสนาพราหมณไ ดร ับการยกยองวาเปนคมั ภรี ท เี่ กาแกท่ีสดุ ในโลก และเปนวรรณคดที ีเ่ กา แกท ่สี ดุ
ในโลกช่อื ของศาสนาเปล่ยี นไปตามกาลเวลา

ในตอนแรกเร่มิ เรียกตัวเองวา “พราหมณ” ตอ มาศาสนาเส่อื มลงระยะหนง่ึ และไดม าฟนฟูปรับปรุง
ใหเ ปน ศาสนาฮินดู โดยเพิ่มบางสิ่งบางอยางเขา ไป มีการปรับปรุงเนื้อหาหลักธรรมคําสอนใหดีข้ึน คําวา
“ฮนิ ดู” เปนคําทใี่ ชเรยี กชาวอารยันท่อี พยพเขาไปตงั้ ถิ่นฐานในลุม แมน ํ้าสินธุ และเปน คําท่ีใชเ รียกลูกผสม
ของชาวอารยันกับชาวพ้ืนเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองน้ีไดพ ัฒนาศาสนาพราหมณโดยการเพ่ิมเติม
อะไรใหม ๆ ลงไปแลวเรยี กศาสนาของพวกน้วี า “ศาสนาฮนิ ดู” เพราะฉะนนั้ ศาสนาพราหมณจ งึ มีอีกช่ือใน
ศาสนาใหมวา “ฮนิ ด”ู จนถงึ ปจ จุบัน

ในอดีตศาสนาพราหมณหรือฮินดูจะมีการจัดคัมภีรออกเปน 3 พวก ตามการยกยองนับถือเทวะ
ทั้ง 3 โดยแยกเปน 3 นิกายใหญ ๆ นิกายใดนับถือเทวะองคใ ดก็ยกยอ งวา เทวะองคน้ันสูงสุด ตอ มา
นักปราชญช าวฮนิ ดูไดกาํ หนดใหเทวะท้งั 3 องค เปน ใหญสงู สดุ เสมอกัน เทวะทงั้ 3 องคนี้ รับการนํามารวมกัน
เรยี กวา “ตรมี รู ต”ิ ใชค าํ สวดวา “โอม” ซึง่ ยอมาจาก “อะอมุ ะ” แตล ะพยางคแ ทนเทวะ 3 องค คอื

“อะ” แทนพระวษิ ณหุ รือพระนารายณ
“อ”ุ แทนพระศวิ ะหรอื อศิ วร
“มะ” แทนพระพรหม

ห น า | 26

ในประเทศอนิ เดยี ไดม กี ารแบงชนชัน้ ออกเปน 4 วรรณะ คือ พราหมณ กษตั ริย แพศย คือ
พอคา คหบฎี และศทู ร กรรมกรคนใชแ รงงาน วรรณะพราหมณ ถอื วา เปนวรรณะสงู สดุ เปนพวกทําหนาที่
ทางศาสนา “พราหมณ” เปนคาํ ศัพททีเ่ นื่องมาจาก คําวา “พรหม” คนในวรรณะนี้ถอื วา ตนสืบเชื้อสายมา
จากพรหม สามารถติดตอเกี่ยวของกับโองการตาง ๆ จากพรหมซ่ึงเปนพระผูเปนเจามาแจงแกชาวโลก
มนุษยได สามารถติดตอบวงสรวงออ นวอนเทพเจาใหมาประสาทพรหรอื บนั ดาลความเปนไปตาง ๆ ในโลก
มนุษยไ ด

พวกพราหมณจึงเปน ท่ีเคารพยําเกรงของคนทุกวรรณะ แมแตก ษัตริยผ ูเ ปน ใหญใ นการปกครอง
เมื่อพวกพราหมณม ีอํานาจมากมคี นยาํ เกรงมากโอกาสที่จะแสวงหาลาภสกั การะจึงมีมาก พวกพราหมณแ ตละ
พวกจะแขง ขันในการทําพธิ ีโดยถอื วา การจดั ทาํ พธิ ตี าง ๆ ใหถกู ตองตามพธิ ที ี่กาํ หนดไวใ นพระเวทเปนส่ิงสําคัญ
ชนวรรณะพราหมณไดร วบรวมสรรพวิชาท้ังหลายท่ีตนคนพบหรือเขา ใจเรื่องประมวลความรู เรียกวา
“ไสยศาสตร” ซง่ึ ข้ึนตนดวยวชิ าทีส่ ําคัญท่ีสุด คอื “พระเวท” อันหมายถงึ วิชาการที่เก่ียวกับพรหม เทวดา
และสงิ่ ศกั ดิ์สิทธทิ์ ง้ั หลายที่มนุษยต องเคารพบชู า สมยั นั้นยังไมม หี นังสือ จึงตอ งใชว ธิ ที องจําและสอนตอ ๆ กันมา
พระเวท ประกอบดวย “มนตรี” คือ คาถาสําหรับทองจํากับ “พราหมณะ” ซึ่งเปน คัมภีรคูม ือท่ีพวกพราหมณ
แตล ะกลมุ ไดเพม่ิ เติมในพธิ ีกรรมของตนใหล ะเอียดพิศดารขน้ึ จนพราหมณเ องไมส ามารถทองจําได จึงตองมี
คมู ือ “พราหมณะ” คอื คาํ อธิบายลัทธพิ ธิ ีกรรมตา ง ๆ ของพระเวท แตเ ดมิ มี 3 อยาง เรียกวา “ไตรเพท” ไดแ ก

1. ฤคเวท เปน คัมภีรเกาแกที่สุด ถือกันวา ออกจากโอษฐของพระพรหม ซ่ึงพวกฤาษีไดส ดับแลว
นาํ มาอนุศาสนนรชนอกี ตอหนึ่ง กลา วดว ยเทวดาตา ง ๆ และการบนบานใหชวยขจัดภยั ทัง้ มวล

2. ยชุรเวท กลา วดวยพิธกี รรมตา ง ๆ เปนตําราการทาํ พิธีกรรมของพราหมณโ ดยตรง
3. สามเวท กลา วดวยบทคาถาสังเวยสําหรับเหกลอมเทวดา บชู านํา้ โสมแกเ ทวะท้ังหลาย (“สาม แปลวา
สวด”) ดงั มีบทเหกลอมพระนเรศร - พระนารายณ หลงั พธิ ตี รียมั ปวายเสร็จสิ้นแลว ตอ มาเพิ่ม “อาถรรพเวท”
ซ่ึงเปน พระเวทท่เี กีย่ วกบั อาถรรพต าง ๆ มีมนตรสําหรับใชใ นกิจการท้งั ปวงรักษาโรคภัยไขเจบ็ หรือกําจดั ผลราย
อนั จะมมี าแตพยาธแิ ละมรณภยั และรวมทั้งสาํ หรบั ใชทาํ รายแกหมูอมิตร โดยเสกสิ่งหน่ึงสง่ิ ใดเขา ตัวหรอื ฝง รูป
ฝงรอยหรือทาํ เสนห ย าแฝด
นอกจากพระเวทท้งั 4 นแ้ี ลว ยงั มี “พระเวทรอง” อีก 4 อยา ง เรียก “อปุ เวท” เปนวชิ าทกี่ ลา วดวย
วทิ ยาศาสตรต า ง ๆ อนั เปนวทิ ยาการโดยเฉพาะ คอื
1. อยุรเวท ไดแ ก ตาํ ราแพทยศาสตร กลา วดว ยการใชสมุนไพร และมนตตา ง ๆ ในการรักษาโรค
มเี ทวดาประจําเปนเจา ของ คอื ฤาษีทัง้ แปด ซ่ึงไมปรากฏนามแนนอน
2. คานธรรมเวท ไดแ ก ตาํ ราขับรอ งและดนตรีกับนาฏศาสตรหรือการฟอ นรํา มีเทวดาประจํา คือ
พระนารทฤๅษี หรอื ทเ่ี รียกวา พระนารอท หรือ พระปรคนธรรพ
3. ธนุรเวท ไดแ ก วชิ ายิงธนแู ละการใชอาวุธสงคราม ซง่ึ บดั นเ้ี รียก “ยุทธศาสตร” มีเทวดาประจํา
คอื พระขนั ทกมุ าร
4. สถาปตยเวท ไดแ ก วชิ ากอสราง ซง่ึ เรยี กวา “สถาปตยกรรม” เทวดาประจาํ คอื พระวษิ ณุกรรม

ห น า | 27

วรรณะพราหมณในศาสนาฮนิ ดู

ในประเทศอินเดยี ไดแ บงออกเปน 4 วรรณะ คือ พราหมณ กษตั รยิ  แพศย ศูทร ในท่ีนี้จะกลาวถึง
วรรณะพราหมณห รอื ตระกลู นกั บวชเทา น้นั แบงออกเปน 4 ช้ัน คอื

1. พรหมจารี คอื พวกนักเรียน มีหนา ท่ีเปน ผูป ฏิบัติและศึกษาพระเวทในสํานักคณาจารยคนใด
คนหนึ่ง (เทียบกับศาสนาพุทธ คือ สามเณร และนวกะ)

2. คฤหบดี คือ ผูค รองเรือน มีภรรยา มีครอบครัว เปนหัวหนา ในบาน อานและสอนพระเวท
ทาํ การบชู าเอง หรอื ชว ยผูอ ่นื กระทาํ ยญั กรรม ใหท าน และรบั ทกั ษิณา

3. วานปรสั ถ คอื ผูอยปู า ละเคหสถานและครอบครวั เขา ปาเพื่อทรมานตน มักนอ ยในอาหารและ
เครื่องนงุ หม กระทาํ ทกุ รกริ ยิ า สมาธิมนั่ คงในกจิ วตั ร ไดแ ก

ฤๅษี แปลวา ผแู สวง หมายถึง แสวงหาโมกษะ คอื การหลดุ พนจากการเวยี นวาย ตาย เกิด
โยคี แปลวา ผูบ ําเพ็ญโยคะ คือ ทรมานกายโดยวิธีแหงอิริยาบถตาง ๆ เพื่อหวังผลสําเร็จเปน
ผูวเิ ศษ เชน ยืนขาเดยี วเหนย่ี วกินลมนานนับสบิ ป นั่งสมาธิโดยไมลุกข้นึ เลยเปน เวลาสบิ ป
ดาบส แปลวา ผูบําเพ็ญตน คือ ความเพง เล็งในดวงจิตเพ่ือประโยชนใ หอาตมันเขา รว มอยูใน
ปรมตั ถ (หรือปรพรหม) ใหเ กิดความบรสิ ุทธใ์ิ สสะอาด แมกระทบอารมณใด ๆ ก็ไมแ ปรปรวน
มุนี แปลวา ผูสงบ ไดแก ผสู ําเร็จฌานสมาบัติ คือ ผกู ระทําตบะและโยคะจนถงึ ท่สี ดุ แลว
สิทธา แปลวา ผูสําเร็จฌานสมาบัติ คือ ผูก ระทาํ ตบะและโยคะจนถงึ ที่สดุ แลว
นกั พรต แปลวา ผบู วชและถือพรตตามลัทธพิ ราหมณ
ชฎิล แปลวา ฤๅษีผูมนุ มวยผมสงู เปนชฎา

นกิ ายและลทั ธิ

มี 4 นิกายดวยกัน คอื
1. นิกายไศวะ ถอื พระอศิ วรเปน ใหญ และนบั ถือพระนารายณ พระพรหมกบั เทพอนื่ ๆ ดวย
2. นิกายไวษณพ ถอื พระนารายณเปน ใหญ และนับถอื พระศิวะ พระพรหม กบั เทพอ่ืน ๆ ดว ย
3. นิกายศากต ถือวาพระแมอ าทิศักตีหรือพระแมปราศักตีเปน ใหญ และนับถือพระพรหม
พระนารายณก ับเทพอนื่ ๆ ดว ย
4. นกิ ายสมารต ถอื เทพหา องคดวยกัน คอื พระพฆิ เณศวร พระแมภ วานี คอื พระศักตี พระพรหม
พระนารายณ พระศวิ ะ ไมม อี งคใดใหญก วา โดยเฉพาะ

ลทั ธิ
ปรมาตมนั คือ พรหมัน แบง ออกเปน 2 ระดับ อปรหมันความเจรญิ สูงสุด (UltimateReality)
ละปรพรหมัน คือ ความจริงขัน้ เทพเจาสงู สดุ (SupremeBeing) คําสอนในคัมภีรอ ุปนษิ ัท ทําใหศ าสนาพราหมณ
เปน เอกนยิ ม (Monoism) เช่อื วา สรรพสิ่งมาจากหนงึ่ และกลับไปสคู วามเปน หนึ่ง หลงั จากคมั ภีรอ ุปนษิ ทั ได
พฒั นาจนถึงขดี สดุ ทําใหเ กดิ ลัทธปิ รัชญาอกี 6 สํานกั ดงั ตอ ไปน้ี
1. นยายะเจา ลัทธิ คอื โคตมะ
2. ไวเศษกิ ะเจาลทั ธิ คือ กนาทะ
3. สางขยะเจาลัทธิ คอื กปล ะ

ห น า | 28

4. โยคะเจาลทั ธิ คือ ปตัญชลี
5. มมี างสา หรอื ปูรวมมี างสา เจาลทั ธิ คือ ไชมินิ
6. เวทานตะ หรืออุตตรมมี างสา เจาลัทธิ คือ พาทรายณะ หรอื วยาส
ลัทธนิ ยายะ
นยายะ แปลวา การนําไป คือ นําไปสูการพิจารณา สอบสวน อยา งละเอียดถี่ถว นหรือวิธีการหา
ความจรงิ ซึ่งอาศยั หลกั ตรรกวิทยา เพราะเหตนุ ้ชี ่อื เรียกสําหรบั ลัทธินยายะจึงมหี ลายอยาง เชน ตรรกวิทยาบา ง
วชิ าวา ดวยวาทะบาง โคตมะผูเปน เจา ของลัทธิน้ีเกิดประมาณ 550 ป กอน ค.ศ. หรือกอนพระพุทธเจา
ปรินิพพานประมาณ 7 ป วิธีท่ีจะไดค วามรู ความเขาใจที่ถูกตองตามหลักของลัทธินยายะน้ันมีอยู 16 ประการ
เชน
1. ประมาณหรือวิธีใหเ กิดความรูชอบน้ัน มี 4 อยา งคือ 1. การรูป ระจักษ 2. การอนุมานหรือ
คาดคะเน 3. การเปรียบเทยี บ 4. บรรยายถอ ยคํา
2. ประเมยะ เรอื่ งทพี่ ง่ึ รชู อบมี 12 อยา ง คือ 1. อา 9 มนั 2. สรีระ 3. อนนิ ทรีย 4. อรรถ 5. พุทธิ
6. มนะ 7. พฤตกิ รรม 8. โทษ 9. การเกดิ อีก (หลงั ตายไปแลว) 10. ผลแหง ความดีความชั่ว 11. ความทุกข
12. ความหลดุ พน
3. สงั สะยะ ความสงสยั เปน ตน
ลทั ธิไวเศษกิ ะ
คาํ วา ไวเศษิกะ คอื วเิ ศษ หมายถึง ลกั ษณะท่ีทาํ ใหสิ่งหน่งึ ตางไปจากอกี หนึ่ง ฤๅษีกณาทะ ผูตั้งลัทธินี้
เกดิ ในศตวรรษที่ 3 กอนครสิ ตศักราช ลัทธนิ ี้สอนเพือ่ ความหลดุ พนไป การหลดุ พนนั้น การรูอ าตมันไดอ ยา ง
แจม แจง เปนวิธีการสาํ คัญยิง่
ลัทธินี้ใชวิธีตรรกวิทยา คือ ส่ิงที่มีอยูจริงช่ัวนิรันดร มีอยู 9 อยางคือ 1. ดิน 2. นํ้า 3. ไฟ 4. ลม
5. อากาศ 6. กาละ 7. ทิศ 8. อาตมนั 9. ใจ ดวยการรวมตวั ของสิ่งเหลา น้สี ่งิ อน่ื ๆ ยอ มเกิดข้นึ มากมาย
ลัทธสิ างขยะ
ลทั ธิสางขยะนี้ถอื วา เปน ปรชั ญาฮินดทู ่เี กาแกท ีส่ ดุ เพราะนับเปน ครัง้ แรกที่ไดมีการพยายามทําให
ปรชั ญาของพระเวทกลมกลืนกบั เหตุผล ฤาษกี ปละ เปน ผแู ตง คมั ภีรแหงลัทธนิ ี้ ทานเกดิ ในสมยั ศตวรรษที่ 6
กอ น ค.ศ. รวมสมัยกับพระพุทธเจา
คาํ วา สางขยะ แปลวา การนับหรือจํานวน กลาวถึงความจริงแท 25 ประการ ยอมลงเปน 2 คือ
บุรุษ ไดแ ก อาตมนั หรอื วิญญาณสากล และประกฤติ (ปกติ) คอื ส่ิงทีเ่ ปน เนื้อหาหรือตนกําเนิดของสง่ิ ทั้งหลาย
ความมุง หมายของลัทธิน้ี เพ่ือสรา งปญญาใหเกิดเพ่ือทําลายเหตุแหง ความทุกขท้ังปวงและ
ปลดเปล้อื งอาตมันออกจากสิง่ ผกู พัน ความทุกขใ นความหมายของลัทธิน้ีแบงออกเปน 3 ประการ ดังนี้
1. ความทุกขทเ่ี กิดข้นึ จากเหตภุ ายใน เชน ความผิดปกตขิ องรา งกายและจติ ใจ
2. ความทุกขท ่ีเกิดขึ้นจากเหตภุ ายนอก เชน มนุษย สตั ว หรอื ส่งิ ไมมีชวี ติ อื่น ๆ
3. ความทกุ ขท่ีเกดิ ขึน้ จากเหตุนอกอํานาจ หรือเหนือธรรมชาติ เชน บรรยากาศดาวพระเคราะห
การแกทุกขเ หลาน้ีตอ งใชป ญญาท่ีสามารถปลดเปล้ืองอาตมันออกจากสิ่งผูกพัน โดยหลักการแลวลัทธิน้ี
เปน อเทวนิยม ไมเชื่อเร่ืองพระเจา สรางโลก เปน ทวินิยม คือ เชื่อวา ของจริงมีอยู 2 อยาง คือ 1. อาตมัน
2. เนื้อหาของสิ่งที่เขา มาผสมกับอาตมนั

ห น า | 29

ลัทธิโยคะ
ลัทธโิ ยคะ คําวา โยคะ เปนศาสตรเ ดมิ ทมี่ มี านานแลว ปตัญชลีเปน ผรู วบรวมเรียบเรียงข้ึน ทา นจึง
ไดรับเกียรติวา เปนผูต ง้ั ลทั ธโิ ยคะ ประมาณ 3 หรือ 4 ศตวรรษกอน ค.ศ. โยคตะ แปลวา การประกอบหรือ
การลงมอื ทาํ ใหเ กิดผล ลัทธนิ ี้อาศัยปรชั ญาของสางขยะเปน ฐานจดุ หมาย คอื จะชว ยมนุษยใ หหลุดพนออก
จากความทุกข 3 ประการ ดังกลาวในลัทธสิ างขยะ คอื
1. ในการทาํ ใหหลดุ พนจากความทุกขซ งึ่ เกิดจากเหตุภายใน เชน โรคภัยไขเ จบ็ หรอื ความประพฤติผิด
ตองพยายามใหบรรลคุ วามไมย ึดถอื โลก โดยไมจ าํ เปน ตองแยกตัวออกจากโลก
2. ในการทาํ ใหห ลุดพนจากความทกุ ข ซึง่ เกดิ จากเหตภุ ายนอก เชน สัตวราย หรือโจรผูรา ย เปน ตน
พงึ สํารวมจิตใจใหบ รสิ ุทธ์สิ ะอาด
3. ในการทาํ ใหหลดุ พนจากเหตนุ อกอาํ นาจ หรือเหนือธรรมชาติ เชน ธาตุ หรืออํานาจอันเรน ลับ
ละเอยี ดออ นพึงบําเพญ็ สมาธซิ ่งึ เปนจดุ ประสงคอ ันแทจ รงิ ของลัทธินี้
โยคีหรอื ผูบ ําเพ็ญโยคะ ยอมพยายามท่ีจะเปน ผูหลุดพน จากวงกลมแหงชีวิตและความตายอยา ง
เด็ดขาด โดยพิจารณาเห็นธรรมชาติวาเปนพลังอันเดียวแตทํางานสองแง คือ จากภายนอก พลังงานนี้
พยายามที่จะแยกส่ิงทั้งหลายออกจากกัน ท่ีเรียกวา ความตาย จากภายใน พลังงานน้ีพยายามที่จะรวม
ส่ิงทั้งหลายเขาดวยกนั ท่เี รยี กวา ชีวิต การบําเพ็ญโยคะกเ็ พื่อรวมพลังงาน 2 อยา งนี้เขาดวยกนั โยคะวางกฎ
สําหรับปฏิบัติและวางพิธีเพื่อควบคุมหรือสํารวมระวังจิตของแตละบุคคลที่เรียกวา ชีวะ จนเปน อันหนึ่ง
อันเดยี วกนั จติ ใจสากลทีเ่ รียกวา ปุรุษะ เมือ่ ชวี ะบรรลถุ งึ สภาพดง้ั เดิมของตน คือ ปุรุษะ ก็ชื่อวา เปนอิสระ
หรือหลดุ พน จากสถานการณท ้ังปวงแหงพายแุ ละความสงบ ความสุข ความทุกข และเช่ือวาพนจากความทุกข
ท้ังปวง
คาํ วา “โอม” เปน คาํ ศักดส์ิ ทิ ธใ์ิ นลทั ธโิ ยคะ ใชสําหรับรวมความหมายที่เน่ืองดวยพระเปน เจา แลว
กลาวซ้ํา ๆ กนั เพ่อื ใหเ กดิ ความรถู งึ ส่งิ สงู สุด และเพื่อปองกันอุปสรรคในการบําเพ็ญโยคะ
อบุ ายวธิ ใี นการบําเพ็ญโยคะ มี 8 ประการ ดังนี้
1. ยมะ สาํ รวจความประพฤติ
2. นยิ มะ การบําเพญ็ ขอ วัตรทางศาสนา
3. อาสนะ ทา น่งั ท่ถี ูกตอ ง
4. ปราณายามะ การบงั คับลมหายใจไปในทางทต่ี องการ
5. ปรตั ยาหาระ การสาํ รวม ตา หู จมูก ลนิ้ กาย
6. ธารณา การทาํ ใจใหม่นั คง
7. ธยานะ การเพง
8. สมาธิ การทําใจแนวแน ต้งั มน่ั อยางลกึ ซ้งึ
ลทั ธมิ ีมางสา
คําวา มมี างสา แปลวา พิจารณา สอบสวน หมายถึง พิจารณาสอบสวนพระเวท ไดแก สอบสวน
มนั ตระกับพราหณะ ไชมิณิ ผแู ตงคัมภีรมีมางสาสตู ร เกดิ ขึน้ สมยั ระหวาง 600 - 2000 ป กอนครสิ ตศักราช
ความมงุ หมายของลัทธิมมี างสา คอื สอบสวนถงึ ธรรมชาติแหงการกระทําที่ถูกตอ ง ซ่ึงเรียกสั้น ๆ วา
“ธรรม” ขอ เสนออันเปน ฐานของลัทธิมีอยูวา หนา ท่ีหรือการกระทําเปน สาระอันสําคัญยิ่งของความเปน
มนษุ ย ถาไมมกี ารทาํ ปญญากไ็ มม ีผล ถา ไมม กี ารกระทําความสุขก็เปน สิ่งที่เปน ไปไมได ถา ไมมีการกระทํา

ห น า | 30

จดุ หมายปลายทางของมนุษยกไ็ มม ีทางจะทําใหส มบรู ณได เพราะฉะน้นั การกระทาํ ทถี่ ูกตอ ง ซง่ึ เรียกวาสนั้ ๆ วา
“ธรรม” จึงเปนส่งิ จําเปนในเบื้องตนของชวี ติ

การกระทําทุกอยาง มีผล 2 ทาง คอื ผลภายนอกกับผลภายใน ผลภายนอก เปนผลหยาบเปน ส่ิงท่ี
แสดงตัวออกมา ผลภายใน เปนผลละเอียดเปนสิ่งท่ีเรียกวา “ศักยะ” คือ ยังไมแ สดงตัว แตอ าจใหผลได
เหมือนนาฬกิ าท่ไี ขลานไว ยอมมีกําลังงานสะสมพรอ มท่จี ะแสดงผลออกมา

ผลภายนอก เปน ของชั่วคราว ผลภายใน เปน ของชั่วนิรันดร เพราะฉะน้ัน การกระทําทั้งหลายจึง
เทา กับเปนการปลกู พชื ในอนาคต

ในขอเสนอขนั้ มูลฐานน้ี ลทั ธิมีมางสาสอบสวนถงึ การกระทําหรือกรรมท้งั ปวง อันปรากฏพระเวทแลว
แบง ออกเปน 2 สว น คอื มนั ตระ กบั พราหมณะ มี 5 หวั ขอ ดงั นี้

1. วธิ รี ะเบียบวธิ ี
2. มนั ตระหรอื บทสวด
3. นามเธยะช่อื
4. นเิ สธะขอ หา ม
5. อรรถวาทะคําอธิบายความหมายหรือเนอ้ื ความ

ลัทธเิ วทานตะ
ลัทธิเวทานตะ สอบสวนถึงสว นสุดทายของพระเวท จึงมีรากฐานตั้งอยูบ นปรัชญาของอุปนิษัท
ซ่ึงเปนที่สุดแหงพระเวท และมีหลักการสวนใหญว า ดว ยเรื่องญาณหรือปญญาอันสอบสวนถึงความจริง
ข้ันสดุ ทา ยเกีย่ วกับ ปรุ ุษะ หรอื พระพรหม
ผูเรยี บเรียงคัมภรี เ วทานะ คอื พาทรายณะ กลา วกันวา ทา นเปน อาจารยข องทา นไชมิณิ ผูต้ังลัทธิ
มมี างสา พาทรายณะอยูในสมยั ระหวาง 600 - 2000 ป กอ นครสิ ตศักราช
ในการปฏบิ ัตเิ พ่อื ใหบ รรลุจดุ หมายปลายทางของลัทธิน้ี มหี ลกั การอยู 4 ขอ ดังน้ี
1. วิเวกะ ความสงดั หรือความไมเกย่ี วในฝา ยหนึ่ง ระหวางสิ่งอันเปนนริ นั ดรกับมใิ ชน ิรันดรระหวา ง
สิง่ แทก บั สงิ่ ไมแท
2. ปราศจากราคะ คอื ไมมีความกาํ หนดั ยินดหี รือความตดิ ใจ ความตองการ เชน ความปรารถนา
ทจ่ี ะอภริ มยใ นผลแหงการกระทําทัง้ ในปจ จบุ นั และอนาคต
3. สลัมปต ความประพฤตชิ อบ ซงึ่ แจกออกอีกหลายอยา ง เชน สมะ ความสงบ ทมะ การฝกตน
อปุ รติ มีใจกวา งขวาง ไมต ดิ ลทั ธินิกายติตกิ ษา ความอดทน ศรัทธา ความเช่ือ สมาธานะความต้งั ม่ันสมดลุ แหง
จิตใจ
4. มุมุกษตุ วะ ความปรารถนาทชี่ อบเพอื่ จะรคู วามจริงขั้นสุดทา ยและเพือ่ ความหลดุ พน

คาํ สอนท่สี าํ คญั ของศาสนาพราหมณ - ฮินดู

หลกั ธรรมสาํ คัญของศาสนาพราหมณ - ฮินดู หลักธรรม 10 ประการ
1. ธฤติ ไดแ ก ความมั่นคง ความเพียร ความพอใจในส่งิ ทีต่ นมี
2. กษมา ไดแก ความอดทนอดกล้นั และมเี มตตากรณุ า
3. ทมะ ไดแก การขมจิตมิใหหวนั่ ไหวไปตามอารมณ มสี ติอยเู สมอ
4. อัสเตยะ ไดแ ก การไมล ักขโมย ไมกระทาํ โจรกรรม

ห น า | 31

5. เศาจะ ไดแ ก การทาํ ตนใหสะอาดท้ังกายและใจ
6. อินทรียนิครหะ ไดแ ก การขม การระงับอินทรีย 10 คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง มือ เทา
ทวารหนกั ทวารเบา และลําคอ ใหเปน ไปในทางที่ถกู ตองอยใู นขอบเขต
7. ธี ไดแก การมีสติ ปญ ญา รูจ ักการดาํ เนินชวี ติ ในสังคม
8. วิทยา ไดแ ก ความรูทางปรัชญา
9. สตั ยา ไดแ ก ความจริง คอื ความซือ่ สตั ยสจุ รติ ตอ กัน
10.อโกธะ คอื ความไมโ กรธ

หลกั อาศรม 4
1. พรหมจารี ศึกษาเลาเรยี นและประพฤตพิ รหมจรรยจนถงึ อายุ 25 ป ศึกษาจบจึงกลับบา น
2. คฤหัสถ ครองเรือน จบจากการศึกษา กลับบา น ชว ยบิดามารดาทํางาน แตงงานเพื่อรักษา
วงศต ระกูล ประกอบอาชีพโดยยดึ หลักธรรมเปน เคร่ืองดาํ เนินชวี ติ
3. วานปรสั ถ สงั คมกาล มอบทรัพยส มบัติใหบตุ รธดิ า ออกอยูปา แสวงหาความสงบ บําเพ็ญประโยชน
ตอสังคม การออกอยปู า อาจจะทําเปน ครั้งคราวกไ็ ด
4. สันยาสี ปริพาชก เปน ระยะสุดทา ยแหงชีวิต สละความสุขทางโลกออกบวชเปน ปริพาชก เพื่อ
หลุดพน จากสังสารวัฏ

การเผยแผข องศาสนาพราหมณในประเทศ

ศาสนาฮินดูท่ีมีอิทธิพลตอ วัฒนธรรมไทยน้ันคือ ชว งที่เปนศาสนาพราหมณ ไดเขามาที่ประเทศไทย
เมือ่ ใดนัน้ ไมปรากฏระยะเวลาทแี่ นน อน นักประวตั ิศาสตรส ว นมากสนั นษิ ฐานวา ศาสนาพราหมณน ้นี า จะเขา มา
ยคุ สมัยสโุ ขทยั โบราณสถานและรปู สลกั เทพเจา เปน จาํ นวนมากไดแสดงใหเ ห็นถึงอิทธิพลของศาสนา เชน
รูปลักษณะนารายณ 4 กร ถือสังข จักร คทา ดอกบัว สวมหมวกกระบอก เขา ใจวา นา จะมีอายุประมาณ
พุทธศตวรรษที่ 9 - 10 หรือเกาไปกวา น้นั (ปจจบุ ันอยพู พิ ิธภัณฑสถานแหง ชาติพระนคร)

นอกจากนีไ้ ดพบรูปสลกั พระนารายณท าํ ดวยศิลาท่ีอําเภอไชยา จังหวัดสรุ าษฎรธานี โบราณสถานท่ี
สําคญั ท่ขี ดุ พบ เชน ปราสาทพนมรงุ จงั หวดั บุรรี มั ย ปราสาทหนิ พมิ าย จังหวัดนครราชสมี า พระปรางคส ามยอด
จังหวัดลพบุรี เทวสถานเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ ตอมาในสมัยสุโขทัย ศาสนาพราหมณไดเ ขา มามี
บทบาทมากข้นึ ควบคูไ ปกับพุทธศาสนา ในสมัยน้ีมีการคน พบเทวรูปพระนารายณ พระอิศวร พระพรหม
พระแมอ ุมา พระหริหระ สว นมากนยิ มหลอ สาํ ริด

ห น า | 32

นอกจากหลกั ฐานทางศิลปกรรมแลว ในดานวรรณคดไี ดแ สดงใหเ ห็นถึงความเช่อื ของศาสนาพราหมณ
เชน ตํารบั ทา วศรจี ุฬาลกั ษณห รือนางนพมาศ หรอื แมแ ตป ระเพณลี อยกระทง เพอ่ื ขอขมาลาโทษพระแมคงคา
นา จะไดอิทธพิ ลจากศาสนาพราหมณ เชน กนั

ในสมัยอยุธยา เปนสมัยท่ีศาสนาพราหมณเขามามีอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีเชน เดียวกับ
สุโขทัย พระมหากษัตริยห ลายพระองคท รงยอมรับพิธีกรรมที่มีศาสนาพราหมณเ ขามา เชน พิธีแชง นํ้า
พิธีทําน้ําอภิเษกกอ นขึ้นครองราชยสมบัติ พิธีบรมราชภิเษก พระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีจรด
พระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพธิ ีตรียมั ปวาย เปน ตน โดยเฉพาะสมเด็จพระนารายณมหาราช ทรงนับถือทาง
ไสยศาสตรม ากถงึ ขนาดทรงสรา งเทวรปู หมุ ดว ยทองคาํ ทรงเครอ่ื งทรงยาราชาวดสี ําหรบั ตง้ั ในการพระราชพิธี
หลายองค ในพิธตี รยี มั ปวายพระองคไ ดเสด็จไปสงพระเปน เจา นับถือเทวสถานทกุ ๆ ป ตอมาในสมัยรัตนโกสินทร-
ตอนตน พิธีตาง ๆ ในสมัยอยุธยายังคงไดร บั การยอมรับนบั ถือจากพระมหากษัตริยและปฏบิ ตั ติ อ กันมา คอื

1. พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

พระราชพิธีน้ีมีความสําคัญ เพราะเปนการเทิดพระเกียรติขององคพระประมุขพระบาทสมเด็จ-
พระพุทธยอดฟา จฬุ าโลกไดโปรดเกลา ฯ ใหผ ูรูแบบแผนครง้ั กรงุ เกา ทําการคนควา เพ่ือจะไดส รา งแบบแผนท่ี
สมบูรณต ามแนวทางแตเ ดมิ มาในสมัยกรุงศรอี ยธุ ยาและเพ่ิมพธิ ีสงฆเ ขาไป ซึง่ มี 5 ข้นั ตอน คือ

1. ขั้นเตรยี มพิธี มกี ารทําพิธีเสกนํ้า การทําพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏดวงพระราชสมภพและแกะ
พระราชลัญจกรประจํารชั กาล

2. ขน้ั พิธเี บอื้ งตน มกี ารเจรญิ พระพทุ ธมนต
3. ขั้นพิธีบรมราชาภิเษก มีการสรงพระมุรธาภิเษก จากน้ันรับการถวายสิริราชสมบัติและ
เคร่อื งสิรริ าชกกธุ ภัณฑ
4. ขั้นพิธีเบื้องปลาย เสด็จออกมหาสมาคมและสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินีแลวเสด็จพระราช-
ดําเนินไปทําพิธีประกาศพระองคเปนศาสนูปถัมภกในพระพุทธศาสนา พรอ มท้ังถวายบังคมพระบรมศพ
พระบรมอัฐิพระเจาอยูหัวองคกอน และเสดจ็ เฉลิมพระราชมณเฑียรเสด็จเลียบพระนคร

2. การทํานํ้าอภิเษก

พระมหากษตั รยิ ท ่จี ะเสดจ็ ขน้ึ เถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกจะตองสรงพระมุรธาภิเษกและ
ทรงรับนา้ํ อภเิ ษกกอนไดร ับการถวายสริ ริ าชสมบัติตามตําราพราหมณ น้ําอภิเษกน้ีใชน ํ้าจากปญ จมหานที คือ
คงคายมุนา มหิ อจิรวดี และสรภู ซึ่งทําเปนนํ้าท่ีไหลมาจากเขาไกรลาส อันเปนท่ีสถิตของพระศิวะ สมัยกรุง-
รัตนโกสินทร ต้ังแตร ชั กาลที่ 1 ถึงรัชกาลท่ี 4 ใชน า้ํ จาก 4 สระ ในเขตจงั หวดั สุพรรณบุรี คือ สระเกษ สระแกว
สระคงคา และสระยมนุ า และไดเพ่ิมนํา้ จากแมน ํา้ สําคญั ในประเทศอีก 5 สาย คือ

1) แมน ้ําบางปะกง ตักที่บงึ พระอาจารย แขวงนครนายก
2) แมน้าํ ปาสกั ตกั ที่ตาํ บลทา ราบ เขตสระบุรี
3) แมน า้ํ เจา พระยา ตกั ทตี่ าํ บลบางแกว เขตอางทอง
4) แมน้ําราชบุรี ตกั ทตี่ ําบลดาวดงึ ส เขตสมุทรสงคราม
5) แมน ํา้ เพชรบุรี ตักทตี่ าํ บลทาไชย เขตเมืองเพชรบรุ ี

ห น า | 33

3. พระราชพิธีจองเปรยี ง (เทศกาลลอยกระทง)

คือ การยกโคมตามประทีปบชู าเทพเจา ตรมี ูรติ กระทําในเดอื นสิบสองหรอื เดอื นอาย โดยพราหมณ
เปน ผทู ําพธิ ใี นพระบรมมหาราชวัง พระราชครูฯ ตอ งกินถั่วกินงา 15 วัน สวนพราหมณอ ่ืนกินคนละ 3 วัน
ทุกเชาตอ งถวายน้ํามหาสังขทุกวนั จนถงึ ลดโคมลง ตอ มาสมัยรัชการที่ 4 ไดท รงโปรดใหเพิ่มพิธีทางพุทธศาสนา
เขามาดวย โดยโปรดใหม สี วดมนตเย็นแลวฉันเชา อาลักษณอ านประกาศพระราชพิธีจากน้ันแผพ ระราช-
กศุ ลใหเ ทพยดาพระสงฆเ จรญิ พุทธมนตตอไป จนไดฤกษแ ลวทรงหลั่งน้ําสังขและเจิมเสาโคมชัย จึงยกโคมข้ึน
เสาโคมชยั นที้ ย่ี อดมีฉตั รผาขาว 9 ช้ัน โคมประเทียบ 7 ช้ัน ตลอดเสาทานํ้าปูนขาว มีหงสติดลูกกระพรวน
นอกจากน้ีมเี สาโคมบริวารประมาณ 100 ตน ยอดฉตั รมผี า ขาว 3 ชนั้

4.พระราชพธิ ตี รยี ัมปวาย

เปนพิธีสงทายปเกาตอนรับปใหมข องพราหมณ เช่ือกันวา เทพเจา เสด็จมาเยี่ยมโลกทุกป จึงจัดพิธี
ตอนรับใหใ หญโตเปน พิธหี ลวงทม่ี มี านานแลว ในสมัยรตั นโกสินทรไดจ ัดกันอยางใหญโตมาก กระทําพระราชพิธีน้ี
ที่เสาชิงชาหนาวัดสุทัศน ชาวบานเรียกพิธีน้ีวา “พิธีโลชิงชา ” พิธีน้ีกระทําในเดือนอา ยตอมาเปล่ียนเปน
เดอื นยี่

5.พระราชพิธีพชื มงคลจรดพระนงั คลั แรกนาขวัญ

แตเ ดิมมาเปนพราหมณ ภายหลงั ไดเ พ่ิมพธิ ีสงฆ
จึงทําใหเ กิดเปน 2 ตอนคือ พิธีพืชมงคลเปนพิธีสงฆ
เร่ิมต้ังแตก ารนําพันธุพืชมารวมพิธี พระสงฆส วดมนต
เยน็ ท่ีทองสนามหลวง จนกระท่งั รุง เชา มีการเลีย้ งพระ
ตอ สว นพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเปนพิธีของ
พราหมณก ระทําในตอนบา ย

ปจ จุบันน้ีพิธีกรรมของพราหมณท ่ีเขามามี
อิทธิพลตอสังคมไทยเร่ิมลดบทบาทลงไปมากเพราะ
พุทธศาสนาไดเ ขามามีอิทธิพลแทนท้ังในพระราชพิธี
และพิธีกรรมท่ัว ๆ ไปในสังคม อยางไรก็ตามพิธี-
พราหมณเทา ท่ีเหลืออยแู ละยงั มีผปู ฏิบตั ิสบื กนั มา ไดแ ก พิธีโกนผมไฟ พิธีโกนผมจุก พิธีตั้งเสาเอก พิธีตั้ง-
ศาลพระภมู ิ พิธีเหลานยี้ งั คงมผี นู ยิ มกระทํากนั ท่วั ไปในสังคม สว นพระราชพิธีที่ปรากฏอยู ไดแ ก พระราชพิธี-
พืชมงคลจรดพระนงั คัลแรกนาขวญั พระราชพิธบี รมราชภเิ ษก และพธิ ที าํ นา้ํ อภิเษก เปนตน

สําหรับพธิ กี รรมในศาสนาฮนิ ดซู ึง่ เปนพราหมณใ หม ไมใ ครม อี ทิ ธพิ ลมากนัก แตกม็ ผี นู ับถอื และสนใจ
รวมในพิธกี รรมเปน ครง้ั คราว ท้ังนอี้ าจเปน เพราะความเช่อื ในพระเปนเจาตรีมูรติท้ัง 3 องค ยังคงมีอิทธิพล
ควบคูไ ปกับการนับถือพุทธศาสนา ประกอบกับในโบสถข องพวกฮินดูมักจะต้ังพระพุทธรูปรวม ๆ ไปกับ
รปู ปน ของพระผูเปน เจา ทั้งน้ีสืบเนื่องมาจากความเชื่อในเร่ืองอวตารของพระวิษณุทําใหค นไทยที่นับถือ
พทุ ธศาสนาบางกลุมนิยมมาสวดออ นวอนขอพรและบนบาน หลายคนถึงขนาดเขารว มพิธีของฮินดูจึงเขา
ลกั ษณะท่ีวานับถือท้งั พุทธทั้งฮนิ ดูปนกนั ไป

ห น า | 34

ศาสนาพราหมณ - ฮินดูในโลก

ปจ จุบันศาสนาพราหมณ - ฮินดู นับถือกันมากในประเทศอนิ เดยี และมอี ยเู ปนสว นนอยในประเทศ
ตาง ๆ เชน ลงั กา บาหลี อนิ โดนเี ซยี ไทย และแอฟริกาใต

เร่ืองที่ 6 ประวัตศิ าสดาและคาํ สอนของศาสนาซิกข

1. ประวตั ศิ าสดา

ศาสนาซิกข เปน ศาสนาประเภทเอกเทวนิยม มีทานคุรุนานักเทพเปนศาสดาองคท ี่ 1 สืบตอ มาถึง
ทานครุ โุ ควินทสิงห เปนศาสดาองคที่ 10 มีสุวรรณวิหารตั้งอยูท่ีเมืองอัมริสสา แควน ปญ จาป ประเทศอินเดีย
เปนศูนยช าวซิกขทวั่ โลก ตามทีป่ รากฏในประวัติศาสตร มปี ระมขุ แหง ศาสนาซิกขอยู 10 ทา นดวยกนั คอื

1. คุรุนานัก กอ นสิ้นชีพไมส ามารถพ่ึงลูกชายสองคนเปน ผูส ืบตอทางลัทธิได ทา นจึงไดประกาศ
แตง ตัง้ ศษิ ยท ี่รักของทานคนหน่ึงซง่ึ เปน คนขวั้นเชอื กขาย ช่ือ ลาหนิ า (Lahina) เปน ผสู บื ตอ แตเ น่อื งจากศษิ ย
ผูน้ีมีการเสียสละตอทา นคุรุนานักตลอดมา ทานจึงเปล่ียนนามใหใ หมวา อังคัต (Angal) แปลวา ผูเสียสละ
รางกาย

2. ครุ ุองั คัต (พ.ศ. 2081 - 2095) ทา นผูนเี้ ปนนักภาษาศาสตรส ามารถเผยแผคําสอนของอาจารย
ไปไดย่ิงกวา คุรุคนใด ทา นเปน คนแรกท่ีแนะนาํ สาวกใหนับถือคุรุนานกั วาเปนพระเจา องคห น่ึง

3. ครุ ุอมาร ทาส (Amardas พ.ศ. 2095 - 2117) ทา นเปน ผูท ไ่ี ดช อื่ วา เปน คนสุภาพ ไดต ั้งองคก าร
ลทั ธิซิกขขนึ้ มา ไดช่อื วา เปนผสู งเสริมลัทธิซิกขไ วไดอ ยา งมนั่ คง

4. คุรุรามทาส (Ramsas พ.ศ. 2117 - 2124) ทา นเปน ผูส รา งศูนยก ลางของลัทธิซิกขไ วแ หง หน่ึง
ใหชือ่ วา “หริมณเฑียร” คอื วิหารซกิ ขไวในทะเลสาบเล็ก ๆ แหง หน่ึง อยูทางทิศตะวันออกเฉียงใตของแควน
ลาฮอร สถานท่ีดังกลาว เรยี กวา อมฤตสระ กลายเปน ทบี่ าํ เพญ็ บุญศูนยก ลางลัทธิซิกขเชน เดียวกับเมืองเมกกะ
ศูนยกลางของลทั ธอิ สิ ลาม ทา นไดต ั้งแบบแผนไววาผูสืบตอตําแหนง คุรุจําเปน ตองเปน เชื้อสายของตนเอง
ดังน้นั ทานไดแ ตง ตง้ั บุตรชายของทา นเปนครุ ุตอ ไป

5. ครุ ุอรชุน (Arjan พ.ศ. 2124 - 2149) เปน ผูร วบรวมคมั ภรี ใ นลทั ธิซิกขไดมากกวา ผูใด คัมภีร
ที่รวบรวมเก็บจากโอวาทของครุ ทุ งั้ สี่ทา นท่ผี า นมา และไดเ พิ่มโอวาทของทานเองไวใ นคัมภีรดว ย เปนผูออก
บญั ญัติวา ชนชาติซิกข ตองแตงตัวดวยเคร่ืองแตงกายของศาสนานิยม ไมนิยมแตงตัวดวยวัตถุมีราคาแพง
ต้ังกฎเกณฑเก็บภาษีเพ่ือบํารุงศาสนา ไดช ื่อวาเปน ผูเผยแผล ัทธิไดอ ยา งกวา งขวาง สรา งหริมณเฑียรขึ้นเปน
สวุ รรณวหิ าร สิ้นชพี ในการตอ สกู ับกษัตรยิ ก รุงเดลี

6. คุรุหรโิ ควนิ ทะ (HarI Covind พ.ศ. 2149 - 2181) เปนคุรคุ นแรกท่สี อนใหชาวซกิ ขนิยมดาบ
ใหถ อื ดาบเปนเครื่องหมายของชาวซิกขผเู ครงครัดในศาสนา เปน ผสู งเสรมิ กาํ ลงั ทหารสัง่ สอนใหช าวซิกขเปน
ผกู ลา หาญตานทานศตั รู (ซึง่ เขา มาครองดินแดนอนิ เดยี อยใู นขณะนั้น)

เปน ท่ีนา สังเกตวานับตั้งแตสมัยน้ีเปน ตน ไป เร่ืองของศาสนาซิกขเ ปนเร่ืองของอาวุธ เร่ืองความ
กลา หาญ เพอื่ ตอ สูศ ัตรผู มู ารกุ รานแผน ดิน

ห น า | 35

7. คุรุหริไร (HarI Rai พ.ศ. 2181 - 2207) ทานผูน ี้ไดทําการรบตา นทานโอรังเซฟกษัตริยมุสลิมใน
อินเดยี

8. คุรุหริกิษัน (HarI Rai พ.ศ. 2207 - 2281) ไดด ําเนินการเผยแพรล ัทธิดว ยการตอตานกษัตริย
โอรงั เซฟเชนเดยี วกบั คุรุหรไิ ร

9. คุรุเทคพาหาทรู  (Tegh Bahadur พ.ศ. 2218 - 2229) เปน นกั รบที่แกลวกลา สามารถตา นทาน
การรกุ รานของกษัตริยอ ิสลามท่ีเขามาครอบครองอินเดียและขมขูศาสนาอื่น ทา นไดเ ผยแพรศาสนาซิกข
ออกไปไดก วางขวางสุดเขตตะวนั ตกเฉยี งเหนือของประเทศอินเดยี และแผม าทางใตจ นถึงเกาะลงั กา ทา นได
ตา นทานอิสลามทกุ ทาง พวกมสุ ลมิ ในสมัยนน้ั ไมกลาสรู บกบั ครุ ทุ า นนีไ้ ด

10. ครุ โุ ควินทสงิ ห (Covind Singh พ.ศ. 2229 - 2251) เปน บตุ รของคุรุเทคพาหาทูร เปนผูร ิเริ่ม
ต้ังบทบัญญัติใหมในศาสนาซิกข ดว ยวิธีปลุกใจสานุศิษยใหเปน นักรบ ตอ ตานกษัตริยม ุสสิมผูเ ขา มาขม ขี่
ศาสนาอ่ืน เพื่อจรรโลงชาติทา นไดต ้ังศูนยก ลางการเผยแผลัทธิซิกขอยูท ่ีเมืองดัคคา (Dacca) และ
แควน อสั สมั ในเบงกอลตะวนั ออก ทา นไดป ระกาศแกสานุศษิ ยท้ังหลายวา ทุกคนควรเปน นักรบตอ สูกับศัตรู
เพ่อื จรรโลงชาติศาสนาของตน ซิกขท กุ คนตอ งเปน คนกลาหาญ คําวา “สิงห” อันเปนความหมายของความ
กลาหาญ เปนชื่อของบรรดาสานุศิษยแหง ศาสนาซิกขมาต้ังแตคร้ังน้ัน และ “สิงห” ทุกคนตอ งรวมเปน
ครอบครวั บริสุทธ์ิ

2. พระคมั ภีร

เปนส่ิงสาํ คญั ที่ตอ งเคารพสงู สดุ จัดวางในท่สี ูงบนแทนบูชา จะตอ งมีผูปรนนบิ ัติพระคัมภีรอยูเ สมอ
คือ การศกึ ษาและปฏบิ ัตติ ามอยางเครง ครัด ชาวซกิ ขทกุ คนจะตองถอดรองเทาและโพกศรี ษะกอ นเขาไปใน
โบสถ จะตอ งเขา ไปกราบพระคมั ภีรด วยความเคารพเสยี กอน

คัมภรี ของศาสนาซิกข เรยี กวา ครันถ - ซาหิป หรือ คันถะ (ในภาษาบาลี) หมายความวา คัมภีรหรือ
หนงั สือ สว นใหญเปน คํารอ ยกรองส้ัน ๆ รวม 1,430 หนา มีคาํ ไมน อยกวา ลานคํามี 5,894 โศลก โศลกเหลา นี้
เขา กับทาํ นองสังคตไี ดถ งึ 30 แขนง จัดเปนเลม ได 37 เลม ภาษาทใ่ี ชใ นคัมภรี มีอยู 6 ภาษาหลัก คือ ปญจาบี
(ภาษาประจําแควน ปญจาปอันเปนถนิ่ เกิดของศาสนา) มุลตานี เปอรเ ซียน ปรากริตฮินดี และมารถี

ศาสนาซิกขโบราณประมาณรอยละ 90 เชนเดียวกบั ศาสนิกชนในศาสนาอ่ืนท่ีไมเคยรอบรูค ัมภีรข อง
ศาสนาของตน ดังนั้น คมั ภีรจ ึงกลายเปนวัตถุศักดิ์สิทธิ์ ผูไ มเ กี่ยวขอ งไมส ามารถแตะตองได ที่หริมณเฑียร
หรอื สุวรรณวิหาร ในเมืองอมฤตสรา แควนปญจาป มีสถานทป่ี ระดิษฐานคมั ภรี ถ ือเปนศนู ยก ลางศาสนาซกิ ข

ห น า | 36

ในวิหารของศาสนาซิกขไ มบ ังคับใหม ีรูปเคารพ นอกจากคัมภีร ใหถือวา คัมภีรน ั้นคือ ตัวแทนของ
พระเจา ทุกเวลาเชา ผูรักษาวิหารจะนําผาปกดิ้นราคาแพงมาหุมหอคัมภีรเปนการเปลี่ยนผาคลุมทําความ
สะอาด วางคัมภีรลงบนแทนภายในมานซ่ึงปก ดว ยเกล็ดเพชร กอนพิธีสวดในเวลาเชา ครั้นตกเย็น
ก็นาํ คัมภีรไปประดิษฐานไวบนตั่งทองในหอ งพิเศษ ไมย อมใหฝ นุ ละอองจับตอ งได

คัมภีรเดิมหรือชว งแรกของศาสนานี้เรียกวา อาทิคันถะ รวบรวมโดยคุรุทานที่หา คือ คุรุอรชุน
(เทพ) ประมวลจากนานาโอวาทซง่ึ ครุ ทุ า นแรก คือ ครุ นุ านกั และโอวาทของคุรทุ า นตอ ๆ มา พรอ มทั้งวาณี
(คําภาษิต) ของภคัต คอื ปราชญผ ทู ่ีมคี วามภกั ดอี ยา งยิ่งตอ ลัทธิน้ีอีก 11 ทาน และมีวาณีของภคัตผูม ีอาชีพ
ประจาํ สกุลมารวมไวในอาทิคนั ถะดว ย

ในเวลาตอ มาไดม ีการรวบรวมโอวาทของครุ ุอีกครงั้ หน่ึง โดยคุรุโควินทสิงห ไดรวบรวมโอวาทของ
ครุ เุ ทคพาหาทรู รวมเปน คมั ภีรครันถ - ซาหปิ อนั สมบูรณ

3. จรยิ ธรรมของซกิ ข

คาํ สอนตามคัมภรี ค รันถ - ซาหิป ซึ่งบรรดาทา นครุ ุทง้ั หลายไดป ระกาศไวเ กยี่ วกบั จริยธรรมอันเปน
เคร่ืองยังสังคมและประเทศชาตใิ หม ่นั คงอยไู ด และยงั จติ ใจของผปู ฏบิ ัติใหบ รรลถุ งึ ความผาสุกข้ันสุดทายได
มนี ัยโดยสงั เขป คือ

เกี่ยวกบั พระเจา “รูปทง้ั หลายปรากฏขน้ึ ตามคาํ ส่ังของพระเจา (อกาลปรุ ษุ ) ส่ิงมีชวี ิตทัง้ หลายอบุ ตั ิ
มาตามคาํ สง่ั ของพระเจา บุตรธิดาจะไดร ถู ึงกาํ เนิดบิดามารดาไดอยา งไร โลกทง้ั หมดรอ ยไวด ว ยเสน ดาย คือ
คําสั่งของพระเจา”

“มนุษยท้งั หลายมพี ระบิดาผูเ ดียว เราทั้งหลายเปน บุตรของทาน เราจงึ เปน พีน่ อ งกนั ”
“พระเจาผสู รางโลก (อกาลปุรษุ ) สิงสถิตอยูในส่ิงทั้งหลายท่ีพระเจาสรางและสิ่งทั้งหลายก็อยูใน
พระเจา ”
“อา หลา (อัลลอห) ไดส รางแสงสวา งเปนคร้ังแรก สตั วท งั้ หลายอุบัติมาเพราะศักดิ์ของอาหลา สิ่งที่อา หลา
สรา งข้ึนเกดิ มาแตแ สงสวา งน้ันเองจึงไมม ีใครสูง ไมม ีใครต่ํา ใครจะไมถ ามถึงวรรณะ และกําเนิดของทา น
ทานจงแสวงหาความจริงซึง่ พระเจาแสดงแกทาน วรรณะและกาํ เนิดของทา นเปน ไปตามจารตี ของทานเอง”
“อยาใหใครถือตัวเพราะวรรณะของตน ผูซึ่งรูจักพรหมนั่นแหละเปน พราหมณอยา ถือตัวเพราะ
วรรณะ ความถือตัวเชนนเ้ี ปน บอเกดิ แหงความช่วั ฯลฯ”
“คนท้งั หลาย บา งก็เปน อุทาสี สันยาสี โยคี พรหมจารี ยติ ฮินธุ ฯลฯ บางคนเปนอิมานซาฟ จึงถือวา
คนท้ังหลายเปน วรรณะเดียวกันหมด กรุตา (ผูสรา งโลกตามสํานวนฮินดู) และกรีม (อา หลาตามสํานวน
มุสลิม) เปน ผูเดียวกัน เปน ผเู ผอื่ แผป ระทานอภยั อยาเขา ใจผิด เพราะความสงสัยและเชอื่ ไปวามีพระเจาองค
ท่สี อง คนท้ังหลายจงปฏิบัตแิ ตพระเจาองคเ ดียว คนทัง้ หลายยอมมีพระเจา เดยี ว ทา นจงรูไ วซึ่งรปู เดียว และ
วิญญาณเดียว”
เก่ยี วกบั การสรา งโลก ซกิ ขส อนวา แตเรมิ่ แรกมีแตก าลบุรุษ ตอ มามีหมอกและกา ซหมุนเวียนอยู
ไดล านโกฎิป จึงมีธรณี ดวงดาว น้ํา อากาศ ฯลฯ อุบัติขึ้นมา มีชีวิตอุบัติมาบนส่ิงเหลานี้นับดวยจํานวน
8,400,000 ชนิด มนษุ ยม ีฐานะสงู สุด เพราะมีโอกาสบาํ เพ็ญธรรมเปนการฟอกดวงวิญญาณใหสะอาดอันเปน
หนทางใหห ลดุ พน จากการเกิดการตาย
ซกิ ขสอนวา โลกมีมากตอ มาก ดวงสุริยะ ดวงจันทร มีมากตอ มาก อากาศ และอวกาศกวางใหญไพศาล
อันผูมกี เิ ลสยากทีจ่ ะหย่ังรูไ ด

ห น า | 37

เกีย่ วกบั เศรษฐกิจสังคม ซกิ ขสอนวา
1. ใหตื่นแตเ ชา อยางนอ ยครึ่งชั่วโมงกอนรงุ อรุณ
2. ต่ืนแลว ใหบ รกิ รรมทางธรรม เพ่อื ฟอกจติ ใจใหส ะอาด
3. ใหป ระกอบสมั มาชีพ
4. ใหแบง สวนของรายได 10 สว น มอบใหแกก องการกศุ ล
5. ใหละเวนการเสพของมึนเมา ประพฤตผิ ิดประเวณี
เก่ยี วกบั ประเทศชาติ ศาสนาซกิ ขตัง้ ข้นึ โดยคุรุนานกั ผมู องเห็นภยั ท่ปี ระเทศชาตกิ ําลังไดรบั อยจู าก
คนตา งชาติและคนในชาติเดียวกัน จึงไดป ระกาศธรรมสั่งสอนเพื่อความดํารงอยูของชาติ คุรุวาณีของทาน
เปน เคร่อื งกระตนุ ใหผูรบั ฟงมคี วามสามคั คมี คี วามรักชาติ โดยไมเ กลยี ดชาติอ่นื
ตอ มาในสมยั คุรโุ ควินสู งิ ห ทานไดส งั่ สอนใหช าวซกิ ขเปน ทหารหาญ เสยี สละเลือดเนอื้ และชวี ติ เพอ่ื ชาติ
ครุ หุ ลายทา น เชน ครุ อุ รชนุ เทพ และครุ ุเทคบาหาทรู  ไดสละชีพเพ่ือชาติและศาสนา และบางทานสละชีพ
เพือ่ ปอ งกนั ศาสนาซกิ ข กลาวคอื
- ครุ ุชุนเทพ ถกู กษัตรยิ อ ิสลาม คอื ชาหันครี  บังคบั ไมใหทา นประกาศศาสนา ทา นถูกจับขังที่ปอ ม
เมืองลาฮอร ถูกทรมานใหนั่งบนแผนเหล็กเผาไฟและถูกโบยดวยทรายคั่วรอนบนราง กษัตริยชาหันคีร
บังคบั ใหทานเลิกประกาศศาสนาซิกข และหันมาประกาศศาสนาอิสลามแทน แตทา นไมยอมทําตามจึงถูก
นาํ ตัวไปใสห มอตม และถกู นาํ ตัวไปถวงในแมนา้ํ ระวี จนเสียชีวิต พ.ศ. 2149
คุรเุ ทคบาหาทุร ถกู กษัตรยิ อ สิ ลามประหาร เพราะเร่อื งการประกาศศาสนาซิกขเชน กัน
ในการกูเอกราชของประเทศอินเดีย ปรากฏวาชาวซิกขไ ดส ละชวี ิตเพ่ือการน้เี ปนจํานวนมาก
เก่ียวกับฐานะของสตรี ศาสนาซิกขย กสตรีใหม ีฐานะเทา บุรุษ สตรีมีสิทธิในการศึกษา รว ม
สวดมนตห รือเปน ผูนําในการสวดมนตเทากับบุรษุ ทุกประการ ครุ นุ านกั ใหโ อวาทแกพวกพราหมณผ เู ครงใน
วรรณะส่ี ไวว า
“พวกทา นประณามสตรดี ว ยเหตุใดสตรีเหลาน้เี ปนผูใหก าํ เนดิ แกราชาคุรศุ าสดาและแมแตต วั ทา นเอง”

เกยี่ วกบั เสมอภาคและเสรีภาพ ครุ ุนานกั สอนวา “โลกท้ังหมดเกดิ จากแสงสวางอันเดียวกนั คือ
(พระเจา) จะวา ใครดีใครชว่ั กวา กนั ไมไ ด”

คุรโุ ควนิ ทสิงห สอนวา สเุ หรา มณเฑยี ร วิหาร เปนสถานที่บาํ เพญ็ ธรรมของคนทั้งหลายเหมือนกัน
ที่เหน็ แตกตา งกันบา งเพราะความแตกตา งแหง กาลกาละและเทศะ

วิหารของซิกขม ีประตูสี่ดาน หมายความวา เปด รับคนทั้งส่ีทิศ คือ ไมจํากัดชาติ ศาสนา เพศ
หรอื วรรณะใด ในการประชุมทางศาสนาทกุ คนไดรบั การปฏิบัติทเี่ สมอภาค ผูแ จกหรือผูร ับแจกอาหารจาก
โรงทานของกองการกศุ ลจะเปนคนในวรรณะใด ๆ ชาตใิ ดก็ไดคนทุกฐานะตอ งนัง่ กนิ อาหารในท่เี สมอหนา กนั

เร่อื งของโรงอาหารเปนสง่ิ สําคัญมากของศาสนสถาน คุรุรามทาส ไดต้ังกฎไววาใครจะเขา พบ
ทานตอ งรับอาหารจากโรงทานเสียกอน เพือ่ เปนการแสดงใหเ หน็ ประจักษวารับหลักการเสมอภาคของทา นคุรุ
ครั้งหน่ึงอักบารม หาราชไปพบทา นเห็นทานน่ังกินอาหารในที่เดียวกับสามัญชน ทําใหอ ักบารม หาราช
พอพระทัยถวายเงนิ ปแดทานครุ ผุ ูนี้

ห น า | 38

อีกประการหนึ่งจะเปน ผใู ดก็ตามจะตอ งปฏบิ ัตสิ ังคตี (พธิ ชี มุ นุมศาสนิก) ดว ยมือของตนเอง คือ
ตองเช็ดรองเทา ตกั นา้ํ ทําทุกอยางดวยตนเอง ไมมใี ครไดรับยกเวนเปนพเิ ศษ ผูใดปฏิบัติตามไดม ากย่ิงเปน
ซกิ ขท ่ีดมี าก

4. ศาสนาซกิ ขเ ขา สูประเทศไทย

ชาวซกิ ขส วนมากยึดอาชีพขายอิสระ บา งก็แยก
ยายถิน่ ฐานทํามาหากินไปอยูตา งประเทศ บา งก็เดินทางไปมา
ระหวา งประเทศ ในบรรดาชาวซิกขดังกลาวมีพอ คา ชาวซิกข
ผูหน่ึงช่ือ นายกิรปารามมาคาน ไดเดินทางไปประเทศ
อัฟกานิสถาน เพอื่ หาซ้ือสินคา แลว นําไปจําหนา ยยังบานเกิด
สนิ คาทซี่ ือ้ ครง้ั หน่งึ มมี าพนั ธุดรี วมอยหู นง่ึ ตัว

เมื่อขายสินคา หมดแลวไดเ ดินทางมาแวะที่
ประเทศสยาม โดยไดนํามา ตัวดังกลาวมาดวย เขาไดมา
อาศยั อยใู นพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริยส ยาม
ไดร บั ความอบอนุ ใจเปนอยา งยิ่ง ดังนั้น เขามีโอกาสเขา เฝา
พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลาเจา อยูห ัว และไดถวายมา
ตัวโปรดของเขาแดพ ระองคด ว ยความสํานึกในพระมหา-
กรณุ าธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลาเจาอยูห ัว เห็น
ในความจงรักภักดขี องเขา ไดพ ระราชทานชางใหเ ขาหน่งึ เชอื ก ตลอดจนขา วของเคร่ืองใชท จี่ าํ เปนในระหวา ง
เดินทางกลับอินเดยี

เมอื่ เดนิ ทางกลบั มาถึงอนิ เดียแลว เห็นวา ของทไี่ ดร บั พระราชทานมาน้ันสูงคาอยา งย่ิงควรท่ีจะเก็บ
รกั ษาใหสมพระเกยี รตยิ ศแหง พระเจากรงุ สยาม จึงไดน าํ ชา งเชือกนน้ั ไปถวายพระราชาแหงแควนแคชเมียร
และยํามู พรอมทั้งเลา เรอ่ื งที่ตนไดเ ดนิ ทางไปประเทศสยามไดร ับความสุขความสบายจากพี่นอ งประชาชน
ชาวสยาม ซ่ึงมีพระเจา แผนดนิ ปกครองดวยทศพธิ ราชธรรมเปน ทยี่ กยองสรรเสรญิ ของประชาชน

พระราชาแหง แควนแคชเมียร ไดฟ งเรื่องราวแลว ก็มีความพอพระทัยอยางยิ่ง ทรงรับชา งเชือก
ดงั กลา วเอาไวแ ลว ขึน้ ระวางเปน ราชาพาหนะตอ ไป พรอมกับมอบแกวแหวนเงินทองใหนายกิรปารามมาคาน
เปน รางวลั จากนนั้ เขาก็ไดเดินทางกลับบา นเกิด ณ แควนปญ จาป แตคร้ังน้ีเขาไดร วบรวมเงินทอง พรอมทั้ง
ชักชวนเพ่ือนพอ งใหไ ปตัง้ ถน่ิ ฐานอาศัยอยใู ตรมพระบรมโพธสิ มภารพระเจากรงุ สยามตลอดไป

ตอ มาไมนานผูคนท่ีเขาไดช ักชวนไวก ็ทยอยกันมาเรื่อย ๆ ดังน้ัน ศาสนาสถานแหงแรกจึงไดถ ูก
กาํ หนดขึ้น โดยศาสนิกชนชาวซกิ ขไดเ ชา เรือนไมหนง่ึ คหู าที่บริเวณบา นหมอ หลงั โรงภาพยนตรเ ฉลมิ กรงุ
ปจ จบุ ัน เมื่อป พ.ศ. 2455 มาตกแตง ใหเ หมาะสมเพ่อื ใชประกอบศาสนากิจ

ห น า | 39

ตอ มาเมือ่ สงั คมซิกขเติบโตข้ึนจึงไดย า ยสถานท่ีจากที่เดิมมาเชาบานหลังใหญก วาเดิม ณ บริเวณ
ยา นพาหรุ ดั ในปจจุบนั แลว ไดอ ญั เชญิ พระมหาคมั ภีรอาทคิ รนั ถมาประดิษฐานเปน องคประธาน มีการสวดมนต
ปฏบิ ตั ิศาสนกิจเปน ประจาํ ทกุ วนั ไมมีวนั หยุดนับ ตงั้ แตป  พ.ศ. 2456 เปน ตนไปจนถึงป พ.ศ. 2475 ศาสนิกชน
ชาวซกิ ขจ งึ ไดร วบรวมเงนิ เพ่อื ซือ้ ทด่ี ินผนื หนึง่ เปน กรรมสทิ ธิ์ เปนจาํ นวนเงิน 16,200 บาท และไดก อสรา ง
อาคารเปน ตึกสามช้ันครงึ่ ดวยเงนิ จํานวนประมาณ 25,000 บาท เปน ศาสนสถานถาวรใชช ือ่ วา ศาสนาสถาน
สมาคมศรคี รุ สุ ิงหส ภา สรางเสร็จเมื่อป พ.ศ. 2476

ตอ มาเกดิ สงครามมหาเอเชยี บรู พา ศาสนสถานแหง นถ้ี กู ระเบดิ จากฝา ยสัมพนั ธมติ รถึงสองลูกเจาะ
เพดานดาดฟา ลงมาถงึ ช้ันลา งถงึ สองชั้น แตลกู ระเบดิ ดงั กลาวดาน แตท าํ ใหต ัวอาคารรา วไมสามารถใชงานได
หลงั จากไดทําการซอมแซมมาระยะหนึ่งอาคารดงั กลา วใชงานไดดงั เดมิ และไดใชป ระกอบศาสนากิจมาจนถึง
ปจจบุ นั

ตอ มาเมอ่ื ศาสนกิ ชนชาวซกิ ขมจี าํ นวนมากขึน้ ตามลําดับ จึงตางก็แยกยายไปประกอบกิจการคา ขาย
ตามหวั เมืองตา ง ๆ อยางมสี ทิ ธเิ สรีภาพยิ่ง และทุกแหง ที่ศาสนิกชนชาวซิกขไปอาศัยอยูก็จะรวมกันกอตั้ง
ศาสนสถานเพ่ือประกอบศาสนกจิ ของตน ปจจบุ นั มีศาสนสถานของชาวซิกขทีเ่ ปน สาขาของสมาคมอยู 17 แหง
คือ ศาสนสถานสมาคมศรีคุรุสิงหสภา (ศูนยร วมซิกขศาสนิกชนในประเทศไทย) กรุงเทพฯ และต้ังอยูใน
จังหวัดตา ง ๆ อีก 16 แหง คือ จังหวัดนครสวรรค ลําปาง เชียงใหม เชียงราย นครราชสีมา ขอนแกน
อุดรธานี นครพนม อุบลราชธานี ชลบุรี (พัทยา) ภเู กต็ ตรัง สงขลา (อาํ เภอเมอื งสงขลา และอําเภอหาดใหญ)
ยะลา และจังหวดั ปต ตานี

ในป พ.ศ. 2525 มีศาสนิกชนชาวซกิ ขอยใู นประเทศไทยประมาณสองหม่ืนคน ทกุ คนตา งมงุ ประกอบ
สัมมาอาชพี อยูภายใตพ ระบรมโพธิสมภารแหงพระมหากษัตริยไ ทย ดว ยความม่ังค่ังสุขสงบทั้งกายและใจ
โดยท่ัวหนา

สมาคมศรีครุ สุ ิงหส ภา (ศูนยร วมซกิ ขศ าสนิกชนในประเทศไทย) ไดอ บรมสงั่ สอนกุลบตุ รกุลธิดาใหเปน
ผมู คี วามรูความสามารถ เปน ผูดีมีศีลธรรม รูจักรักษาธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ละเวน จากสิ่งเสพติด
ทั้งปวง ดาํ เนนิ การอุปการะชวยเหลอื เออื้ เฟอเผอื่ แผตอ ผูป ระสบทุกขยากอยเู สมอมิไดข าด

จัดสรา งโรงเรียนซกิ ขว ิทยา ที่สาํ โรงเหนอื จงั หวดั สมุทรปราการ มีหองเรียน 40 หอง มีนักเรียน 300 คน
ทัง้ ชายและหญิง สอนตามหลกั สตู รกระทรวงศึกษาธิการ

ห น า | 40

จัดสรา งสถานพยาบาล คลนิ กิ นานกั มิชชนั เพือ่ เปด การรักษาพยาบาล มีคนไขท่ียากจนเขา รับการ
รักษาพยาบาลโดยไมเ สยี เงิน โดยไมจํากดั ช้นั วรรณะ และศาสนาแตป ระการใด

เปดบริการหองสมดุ นานัก บรกิ ารหนงั สือตาง ๆ ทัง้ ในภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาปญ จาบี
เปด สถานสงเคราะหค นชรา เพื่อสงเคราะหช ว ยเหลือผูส ูงอายุที่ยากจนขัดสน และขาดแคลน
ผอู ปุ การะ
จัดต้ังมูลนิธิพระศาสดาคุรนุ านักเทพ เม่ือป พ.ศ. 2512 นําดอกผลมาสงเคราะหนกั เรียนทีเ่ รียนดแี ต
ขดั สนทนุ ทรัพย
ใหความรวมมือในการชวยเหลือสังคมในดานตาง ๆ กับหนวยงานตาง ๆ เชน กรมการศาสนา
สภากาชาดไทย มูลนิธิเด็กพิการ มูลนิธิชวยคนปญญาออ น สภาสังคมสงเคราะหแหงประเทศไทย (ในพระบรม-
ราชปู ถัมภ) เพ่ือใหเกดิ ความสมคั รสมานสามคั คใี นหมศู าสนิกชนศาสนาตาง ๆ เชญิ ชวนใหช าวซิกขออกบําเพ็ญตน
เพอื่ ใหประโยชนต อสังคมสว นรวม

เรอื่ งที่ 7 การเผยแผศาสนาตาง ๆ ในโลก

ในจาํ นวนประชากรประมาณ 4,500 ลานคน มผี ูนบั ถือศาสนาตา ง ๆ ดังตอ ไปน้ี คือ
1) ศาสนาคริสต ประมาณ 2,000 ลา นคน
2) ศาสนาอสิ ลาม ประมาณ 1,500 ลานคน
3) ศาสนาพราหมณ - ฮนิ ดปู ระมาณ 900 ลา นคน
4) ศาสนาพุทธ ประมาณ 360 ลา นคน
5) ทเ่ี หลอื เปน นับถือลทั ธิตา ง ๆ เทพเจา หรือไมน ับถือศาสนาอะไรเลย

ศาสนาท่ีสําคัญของโลกทุกศาสนาตางเกิดในทวีปเอเชีย ซ่ึงแหลง กําเนิดดังน้ี เอเชียตะวันตก-
เฉยี งใต เปนตนกาํ เนิดของศาสนายดู าย ศาสนาคริสต และอิสลาม ศาสนายูดาย เปน ศาสนาทเ่ี กา แกที่สุดใน
เอเชียตะวันตกเฉยี งใต เปนตน กําเนดิ ของศาสนาครสิ ต ซง่ึ เปนศาสนาทมี่ ผี นู บั ถือมากที่สดุ ในโลกขณะนี้ โดยได
เผยแผไปสยู โุ รป ซกี โลกตะวนั ตกอ่นื ๆ และชาวยุโรปนํามาเผยแผสูทวีปเอเชียอกี คร้ังหนึ่ง

ศาสนาอสิ ลาม เกิดกอ นศาสนาครสิ ตป ระมาณ 600 ป เปน ศาสนาท่สี าํ คัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต
ปจจบุ ันศาสนาน้ีไดเ ผยแผไปทางภาคเหนอื ของอินเดีย ดินแดนทางตอนเหนือของอาวเบงกอล คาบสมุทร
มลายู และประเทศอินโดนีเซีย

เอเชยี ใตเปนแหลงกาํ เนิดศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู มคี วามเช่อื มาจากศาสนา-
พราหมณ ซึง่ เปนศาสนาเกาแกของโลก เมอ่ื ประมาณ 5,000 ป และเปนแนวทางการดาํ เนินชวี ิตของชาวอินเดีย
จนกระทั่งถึงปจจุบันนี้ สวนพุทธศาสนาเกิดกอนศาสนาคริสต 500 ป และถึงแมจ ะเกิดในอินเดียแต
ชาวอินเดยี นบั ถอื พระพุทธศาสนานอ ย แตม ีผูน บั ถือกันมากในทเิ บต ศรีลังกา พมา ไทย ลาว และกัมพูชา

เอเชยี ตะวันออกเปนแหลงกําเนิดของลทั ธิขงจอื้ เตา และชินโต ตอมา เมอื่ พระพทุ ธศาสนาไดเผยแผ
เขาสูจนี ปรากฏวาหลักธรรมของศาสนาพุทธสามารถผสมผสานกับคําสอนของขงจ้ือไดด ี สว นในญ่ีปุนนับถือ
พุทธศาสนาแบบชินโต


Click to View FlipBook Version