The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถเลือกใช้ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
2. สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
3 สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. ได้เรียนรู้การกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้ให้บริการ
5. ได้รู้สิทธิคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อก่อความผิดและสร้างความเสียหาย
6. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Papatchana Sonkhu, 2022-05-21 20:57:05

รายงานกลุ่ม วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถเลือกใช้ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
2. สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
3 สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. ได้เรียนรู้การกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้ให้บริการ
5. ได้รู้สิทธิคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อก่อความผิดและสร้างความเสียหาย
6. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์

NAKHON PHANOM UNIVERSITY รายงาน


ห ลั ก สู ต ร ป ร ะ ก า ศ นี ย บั ต ร บั ณ ฑิ ต ม ห า วิ ท ย า ลั ย น ค ร พ น ม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพครูเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



กลุ่มเรียนที่ จัดทำโดย

1 1. นางรัตนาพร วิลามาตร

2. นางปพัชนา ไชยชมภู

3. นายธนะยชญ์ แก้วลา

4. นายทินกร ว ง ศ์ ท วี

5. นางสาววราพร พรหมพินิจ

6. นางสาวชนกพร ฝาระมี

พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็น
ต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น
เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมตามความจำเป็น

มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา
หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดย
เร่งรัดพัฒนาขีดความ สามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้
แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้โดยเปิด ให้ มีการแข่งขัน
โดยเสรีอย่างเป็นธรรม

มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่
เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

มาตรา 66 เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
เพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีทักษะเพียงพอที่จะ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนา
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้
ของคนไทย

มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสาร
มวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาค
เอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้
เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงิน
กองทุนเพื่อการผลิตการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่
กำหนด ในกฎกระทรวง

มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผน ส่ง
เสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และ
ประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา บทวิเคราะห์ ของ
นักศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา

บทวิเคราะห์

มาตรา 63 ถ้าจะให้การศึกษาใยุคของ IT ที่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากใน
ปัจจุบันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว หัวเรื่องใหญ่อย่างรัฐบาลก็ต้องให้การ
สนับสนุนหรือบริการโดยอาจจะให้เปล่าในเรื่องอุปกรณ์ software หรือสิ่งต่างๆ โดย
จัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะตอนนี้
ทุกสภาบันต่างก็พยายามผลักดันตัวเองออกสู่โลกภายนอกให้มากที่สุดอยู่แล้ว เพื่อจะ
ได้ให้ประเทศพัฒนาอย่างมีศักยภาพสูงสุดทั้งการศึกษานอกระบบ ในระบบ และการ
ศึกษาตามอัธยาศัย

มาตรา 64 นอกจากการส่งเสริมในเรื่อง software แล้วควรมีการส่งเสริมด้าน
การพิจารณาหลักสูตรที่จะจัดสรรให้ผู้เรียน ให้เป็นไปในแนวทางใด สื่ออุปกรณ์การ
เรียนการสอนควรเน้นให้มีประสิทธิภาพพอๆกัน บทเรียนต่างๆ ควรมีการทบทวนให้
เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงไปด้วย การให้เอกชนเข้ามามีส่วนพัฒนาหลักสูตร
นำเสนอความคิดใหม่ๆ เผยแพร่การเรียนรู้ที่ทันสมัยถูกต้องตามความสมควรใน
ขอบเขต น่าจะเป็นสิ่งดีเพราะในปัจจุบันการพัฒนาของผู้ที่มีทุนลงเอง ไม่ต้องรองบ
ประมาณมักจะไปได้ไกลกว่าการพัฒนาการศึกษาของรัฐที่ต้องรองบประมาณ การ
พัฒนาย่อมล่าช้ากว่ากันมาก รัฐบาลควรลดค่าใช้จ่ายของเอกชนลงบ้างเพื่อจะได้ให้
เอกชนเข้ามามีบทบาทช่วยพัฒนาการศึกษาของชาติ เพราะการทำสิ่งใดก็ตามที่มีการ
ใช้ทุนทรัพย์สูงเมื่อพลาดแล้วย่อมก้าวไปได้ยาก

มาตรา 65 มาตรานี้เป็นสิ่งที่สำคัญทีสุดที่รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงเพราะบุคคลที่
จะเข้ามาทำหน้าที่ทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเอง ต้องเป็นผู้ที่มี
ศักยภาพสูงสุด มีศีลธรรมจริยธรรมในตัวเองทีจะนำสิ่งเหล่านี้ ใช้ในการพัฒนาการ
ศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ รัฐบาลควรมีการเลือกสรรผู้ที่จะผลิตสื่อ ที่เป็นความรู้ต่างๆ
ออกเผยแผ่ให้เป็นไปในทางเดียวกันไม่สับสน พร้อมทั้งผู้คอยดูแลผู้ที่จะใช้บริการ
เทคโนโลยีด้วย ควรจัดให้มีการแนะแนว และสอดส่องดูแลการใช้บริการให้เป็นไปใน
แนวทางที่ดีด้วยเพื่อให้การใช้สื่อเป็นไปด้วยความเต็มประสิทธิภาพที่สุด

มาตรา 66 ในเรื่องตรงนี้ถ้าจะมองแล้วเป็นการเปิดโอกาสให้การศึกษาที่อิสระให้
แก่เยาวชนแต่การศึกษาที่มอบให้นั้นควรมีผู้ที่แนะนำให้ ก้ ารศึกษาควรนำเสนอให้อยู่ใน
ขอบเขตที่ถูกกต้องตามหลักสูตรการศึกษาจริยธรรม วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
และรัฐควรจะจัดสรรให้มีโอกาสได้ศึกษากันตลอดทั้งชีวิต โดยให้เน้นหนักในช่วงแรก
ให้มากที่สุดเพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีต่อไปใภายภาคหน้า ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครแก่เกิน
เรียน “ ดังนั้นการจัดการศึกษาควรจัดเทคโนโลยีให้เหมาะสมที่สุด

มาตรา 67 เมื่อรัฐบาลมีการเปิดโอกาสนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาแล้วควรมี
การส่งเสริมพัฒนาให้ถึงขีดศักยภาพที่สูงสุด เพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณค่า ควรจัดให้
มีการวิจัยเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา วิเคราะห์ ค้นหา ตรวจสอบ
คุณภาพงานพร้อมทั้งเลือกสรรงานที่มีคุณภาพเพื่อการศึกษาออกสู่สังคมให้มากที่สุด

มาตรา 68 มาตรานี้เป็นมาตราที่ค่อนข้างสำคัญเพราะการพัฒนาที่ก้าวไกลย่อม
ต้องใช้ทุนทรัพย์สูง เพราะฉะนั้นรัฐควรจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ให้มากที่สุดเพราะ
การศึกษาจะช่วยพัฒนาชาติเป็นอย่างยิ่งไม่แพ้การพัฒนา ด้านอื่นๆเลย รัฐบาลควร
จัดตั้งโครงการในเรื่องนี้โดยเฉพาะสนับสนุนอย่างเป็นทางการให้อย่างดี

มาตรา 69 รัฐบาลควรมีผู้คอยดูแลตรวจสอบเรื่องการใช้การผลิต ควบคุมทั้ง
ภาคเอกชนที่เข้ามาและผู้ที่ใช้สื่ออย่างอิสระทั้งหลาย เพื่อประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยี
ที่เหมาะสม หน่วยงานนี้จะทำหน้าที่ประสานงานทุกอย่างเกี่ยวทุกด้านเช่นด้านกฎ
ระเบียบ นโยบายต่างๆที่จะเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ที่สำคัญหน่วยงานนี้ควรมีสิทธิ
บริหารตัวเองอย่างมีอิสระ การศึกษาของชาติจะพัฒนาไปได้ไกลย่อมขึ้นอยู่กับทุกฝ่าย
ร่วมมือร่วมใจกัน

คุรุสภา
มาตรฐานวิชาชีพครูเกี่ยวกับ

เทคโนโลยีสารสนเทศและ
เทคโนโลยีดิจิทัล

คุรุสภา มาตรฐานวิชาชีพครู
เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล

มาตรฐานที่ 8 เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและใช้ร่วม
กับกระบวนการทางการศึกษาจิตวิทยา ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ
เรียนรู้

นวัตกรรม คือ การนำวิธีใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับ
การพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว มี 3 ระยะ คือ

1. ระยะการคิดค้น (Invention)
2. ระยะการพัฒนา (Development)
3. ระยะนำมาปฏิบัติจริง

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม ต้องคำนึงถึง
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
2. ความพร้อม (Readiness)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน

ลำดับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มี 9 ระยะ คือ
1. สร้างกรอบแนวคิด
2. วิเคราะห์หลักสูตร
3. กำหนดวัตถุประสงค์
4. กำหนดคุณลักษณะสื่อการสอน
5. การสำรวจทรัพยากรการผลิต
6. ออกแบบสื่อการสอน
7. วางแผนและดำเนินการผลิต
8. ตรวจสอบคุณภาพ
9. สรุปและประเมินผล

นวัตกรรมในด้านต่างๆ แบ่งนวัตกรรมออก 5 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตร
ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอน
บุคคลให้มากขึ้น

2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้น
พัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล

3. นวัตกรรมสื่อการสอน หมายถึง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม นำมาใช้ในการผลิตสื่อการ
เรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ได้แก่

- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล (Teleconference)
- ชุดการสอน (Instructional Module)
- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)

4. นวัตกรรมการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผล
และประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว

5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ หมายถึง การใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
ใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการ
ศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

E-learning เป็นการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิค สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ได้ทุกคน ห้องเรียนเสมือนจริง อาศัยสื่ออิเล็คทรอนิก และคอมพิวเตอร์ มี 2 รูป
แบบ คือ การศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสื่อ
มัลติมีเดีย เช่น ข้อความอิเล็คทรอนิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การเรียนรู้มี 3
แบบ คือ

1. ผู้สอน-ผู้เรียน
2. ผู้เรียน-ผู้เรียน
3. ผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน

ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะ
ทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน

ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่
เป็นผลมาจากตัวแปรต้น

ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมี
ผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้อง
พยายามควบคุมตัวแปร

สาระความรู้

1. แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนา
คุณภาพการเรียนรู้

2. เทคโนโลยีและสารสนเทศ
3. การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
4. แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
5. การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมินและการปรับปรุง
นวัตกรรม

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิด

เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550

และ พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ศ.2550

บทบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
12 มาตรา





จุดประสงค์การเรียนรู้



1. สามารถเลือกใช้ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ที่ดี

2. สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
3 สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
ของผู้เรียน
4. ได้เรียนรู้การกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำความ
ผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้ให้
บริการ
5. ได้รู้สิทธิคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อ
ก่อความผิดและสร้างความเสียหาย
6. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม


Click to View FlipBook Version