The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kyytpp1726, 2022-09-04 03:12:15

ภัยพิบัติธรรมชาติ

ภูเขาไฟปะทุ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ภูเขาไฟปะทุ
VOLCANO ERUPTION

ความหมาย

ภูเขาไฟ (Volcano) คือ ช่องระบายของเปลือกโลกที่ให้หิน
หลอมเหลวและ สิ่งต่าง ๆ จากภูเขาไฟแทรก ซอนผ่านขึ้นมาได้
ภูเขาไฟ และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น พุแก๊ส
(Fumaroles) และ พุน้ำร้อน (Hot Spring) ล้วนเป็น
ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจหนึ่งในบรรดากระบวนการทาง
ธรณีวิทยาทั้งหลาย โดยทั่วไปภูเขาไฟมี รูปทรงกรวยที่เรียกวา่
ปากปล่องภูเขาไฟ (Crater) รูปกรวยอยู่เหนือปล่องภูเขาไฟได้
ผ่านต่อลงไปทางปล่องหรือรางท่อถึงห้องโถงหินหนืดใต้โลก
และในช่วงที่ปะทุ ไอน้ำฝุ่นเถ้าธุลีภูเขาไฟ (Ash) ก้อนหิน หิน
หลอมเหลว เรียกวา่ ลาวา พวยพุ่ง คละคลุ้งขึ้นจากปล่อง ซึ่ง
ห้องโถงหินหนืดอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกเป็นแอ่งที่ บรรจุวัสดุหิน
หลอม เหลวร้อนระอุ ซึ่งอาจทั้งแทรกซอนสู่เปลือกโลกหรือ
ปะทุขึ้นมาบนพื้นผิวมี 2 ลักษณะ คือ ปะทุพ่น (Effusive) และ
ปะทุระเบิด (Explosive)

สาเหตุการเกิดภูเขาไฟระเบิด

1) เกิดจากการเคลื่อนที่ของแมกมา มีแรงดันปะทุขึ้น
เหนือแผ่นดินตามรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก
รอบวงแหวนไฟ เช่น ภูเขาไฟกรากะตัว ภูเขาไฟซีนาบุง
2) เกิดจากจุดร้อนนอกรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือก
โลก ใต้แผ่นเปลือกโลกมีจุดร้อนที่มีแมกมาร้อนจัด
พร้อมที่จะปะทุขึ้นมาเหนือผิวโลก เช่น บริเวณกลาง
แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกมีจุดร้อนที่หม่เกาะฮาวาย

ผลกระทบจากภัยพิบัติ
มีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนี้
ประโยชน์ของการเกิด
ภูเขาไฟ

1. แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น
2. เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล
3. ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วย
แร่ธาตุต่าง ๆ
4. เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน
5. เปลวเศษแร่ธาตุต่าง ๆ ทำให้บริเวณใกล้
ภูเขาไฟ เหมาะแก่ทำการเกษตรกรรม เพราะดินดี

โทษของการเกิดภูเขาไฟ
1. เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่ง
อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวติได้
2. การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
3. ชีวติและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย
4. สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

สถานการณ์ภัยพิบัติใน
ประเทศไทยและโลก

เนื่ องจากประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน
เขตวงแหวนแห่งไฟทำให้ไม่เคยมี
เหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุเกิดขึ้น

ภูเขาไฟเมอราปี (อินโดนีเซีย)

สาเหตุ : เกิดจากแมกมาใต้เปลือกโลก
ส่งผลให้หินหนืดนั้นถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกของ
แผ่นเปลือกโลก และด้วยพลังงานมหาศาล จึงทำให้
ภูเขาไฟเมอราปีปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2553

ผลกระทบ : ทำให้มีกลุ่ม ควันสีขาว
พุ่งขึ้นสูู่่ท้องฟ้าในระดับความสูง
มากกว่า 6,000เมตร รวมทั้งมีลาวา
และเถ้าถ่านไหลลงมาตามที่ลาด
เชิงเขาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300คน ประชาชนราว
90,000คน ต้องอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยและมีทรัพย์สิน
เสียหายเป็ยจำนวนมาก

สถานการณ์ภัยพิบัติใน
ประเทศไทยและโลก

ภูเขาไฟโวลกันเดฟวยโก
ปะทุในประเทศกัวเตมาลา

สาเหตุ : การในบริเวณการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกทำให้มี
การเคลื่อนไหลของแมกมาขึ้นสู่ผิวโลกตามรอยแตกของแผ่น
เปลือกโลก ภูเขาไฟโวลกันเดฟวยโกเคยปะทุรุนแรง
มากกว่า60ครั้ง และได้ส่งสัญญาณการสั่นสะเทือนด้วยการ
พ่นแก๊และลาวาจากปล่องต่อเนื่องมานานโดยแต่ละปียังคงมี
การคุกรุ่นและปะทุเป็นระยะและในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
พ.ศ.2561 ก็มีการปะทุรุนแรงอีกครั้ง

ผลกระทบ : ทำให้มีการปะทุ
ของแก๊ส เถ้าธุลี และเศษหิน
ภูเขาไฟที่มีอุณหภูมิสูง
การปะทุครั้งนี้ทำให้มีผู้
เสียชีวิตมากกว่า100คน
สูญหายอีก200คน แม้จะมี
การอพยพชุมชมที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟให้ออกห่างจากเขต
อันตราย แต่อาคารที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินต้องสูญเสียเป็น
จำนวนมาก

การปฏิบัติตน
ก่อน ระหว่าง หลังภัยพิบัติ

ก่อนเกิดภัย
1) ติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่าง

ต่อเนื่อง
2) วางแผนช่องทางติดต่อสื่อสารฉุกเฉิน

ในครอบครัวและนัจุดหมายรวมตัวอีกครั้ง
หรือหลังเหตุการณ์สงบ

ระหว่างเกิดภัย
1) เมื่อทางการสั่งอพยพ ให้อพยพออกจากพื้นที่ประสบ

ภัยทันที
2) สวมใส่เสื้อคลุม กางเกงขายาว ถุงมือ รองเท้า
ที่ทนทาน หน้ากากกันฝุ่น และนำสิ่งของจำเป็นไปด้วย
3) ไม่ควรหลบอยู่ในอาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง เพราะ

อาจพังถล่มลงมาจากแผ่นดินไหวหรือเถ้าภูเขาไฟตกใส่

หลังเกิดภัย
1)รอฟังประกาศจากทางราชการเมื่อได้รับการสั่งให้
อพยพกลับก็ให้ปฏิบัติตาม
2)สำรวจตรวจสอบความเสียหายพื้นที่บริเวณบ้านและ
ซ่อมแซมส่วนที่ได้รับความเสียหายหรือหากเสียหาย
มากจนยากแก่การซ่อมแซมให้อพยพไปยังศูนย์อพยพ
ชั่วคราว


Click to View FlipBook Version