The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ผลงานพระราชนิพนธ์ สมเด็จฯพระเทพรัตนราชสุดาฯ (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kit02huat07, 2021-09-19 05:49:21

ผลงานพระราชนิพนธ์ สมเด็จฯพระเทพรัตนราชสุดาฯ (1)

ผลงานพระราชนิพนธ์ สมเด็จฯพระเทพรัตนราชสุดาฯ (1)

ผลงานพระราชนิพนธ์

สมเด็จฯพระเทพรัตนราชสุดาฯ

จัดทำโดย
นายปฏิพัทธิ์ ทองเมือง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 เลขที่ 4

เสนอ
คุณครูทัศนวรรณ นราดิลก

คำนำ
หนังสื อเล่มนี้ข้าพเจ้าจัดทำขึ้นโดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ
หนังสือพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิ
ราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี

ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสื อเล่มนี้จะเป็น
ประโยชน์กับผู้อ่านนักเรียนนักศึกษาที่กำลัง
หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หยู่หากมีข้อผิดพลาด
ประการใดข้าพเจ้าขอน้อมรับไว้และขออภัย
มา ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ

นายปฏิพัทธิ์ ทองเมือง

01 นิทานโกหกเยอรมัน ของ บารอน ฟอน มึนช์เฮาเซ่น
02 ศิลปะจีน

สารบัญ 03 แก้วจอมแก่นและแก้วจอมซน
04 ฟื้ นภาษา ได้อาหาร

05 ไทยทำ ไทยกิน กับข้าวฝรั่ง
06 แกะรอยโสม

07 ข้าวไทยไปญี่ปุ่น
08 คืนฟ้าใส

09 แดร๊กคูล่าผู้น่ารัก
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
10

11 ม่วนซื่นเมืองลาว
12 ข้ามฝั่ งแห่งฝัน

นิทานโกหกเยอรมัน ของ

บารอน ฟอน มึนช์เฮาเซ่น

เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปลมาจาก
วรรณกรรมภาษาเยอรมัน นิทานชุด
นี้จัดเป็นเรื่องเล่าพื้นบ้านประเภท
ตลกของเยอรมันที่สำคัญชุดหนึ่ง ซึ่ง
ประกอบด้วยเรื่องเล่าโกหกทั้งสิ้น 22
เรื่อง เนื้อหาของนิทานชุดนี้มีเรื่อง
ราวเกี่ยวกับการล่าสัตว์ การทำ
สงคราม และการเดินทางท่องเที่ยว
โดยที่ผู้เล่าคือ บารอน ฟอน มึนช์เฮา
เซ่น ได้นำประสบการณ์ของตนเอง
มาผสมกับจินตนาการที่เกินจริงแต่ก็
สร้างเสี ยงหัวเราะให้กับผู้ฟังได้อยู่
เสมอ นอกจากนี้ ภายในเล่มยังมีภาพ
ประกอบทั้งที่ถ่ายจากสถานที่จริง
และผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นตาม
เหตุการณ์จากเรื่องเล่าโกหกเหล่านั้น

01

ศิลปะจีน

หากกล่าวถึงเรื่องของศิลปะจีนแล้ว มีเรื่องราวนับร้อยพันให้ได้
ศึกษานานาประการ ศิลปะนั้นเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงให้เห็นถึง
เรื่องของจิตใจ เรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี
และเรื่องอื่นๆ อีกมาก ดังที่ทรงรับสั่งไว้ในโอกาสที่ทรงแสดง
ปาฐกถาเรื่อง “ศิลปะจีน” ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิทยาเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เนื่องในงาน
วิชาการ “วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช
กุมารี” ครั้งที่ 19 ความว่า

“... ศิลปะหรืออารยธรรมจีนไม่ใช่อารยธรรมที่เหมือนกันไป
หมดอย่างที่เราคิด แต่เป็นของพื้นเมืองก็มีอยู่มาก เพราะ
ประเทศจีนกว้างใหญ่มาก มีแว่นแคว้นหรือประเทศย่อยๆ อยู่ใน
จีน จึงมีความเป็นพื้นถิ่นและวัฒนธรรมหลากหลาย...”

หนังสือเรื่อง “ศิลปะจีน” เรียบเรียงขึ้นจากการที่ทรง
บรรยายในครั้งนั้น โดยทรงนำประสบการณ์ที่เสด็จ
พระราชดำเนินเยือนประเทศจีน และได้ทอดพระเนตรศิลปวัตถุ
ต่างๆ รวมถึงการแสดงดนตรี นาฏศิลป์ ตลอดจนความสน
พระทัยทางด้านงานวรรณกรรมจีนที่ทรงศึกษาอย่างลึกซึ้งจน
สามารถแปลทั้งบทเพลง กวีนิพนธ์และนวนิยายร่วมสมัยได้

02

แก้วจอมแก่นและแก้วจอมซน

ทรงพระนิพนธ์ขึ้นโดยทรงใช้นามแฝงว่า
“แว่นแก้ว” ซึ่งพระราชนิพนธ์ชุดนี้ ได้รับ
การตีพิมพ์ลงในสตรีสารภาคพิเศษจน
กระทั่งถูกนำมารวมเล่มตีพิมพ์ในปี พ.ศ.
2521 แก้วจอมแก่นและแก้วจอมซน เป็น
เรื่องราวของแก้ว เด็กผู้หญิงที่ซุกซน มี
ความร่าเริงแจ่มใส รักสัตว์ มีความเป็นผู้นำ
เพื่อนๆ และครูที่โรงเรียนจึงมักกล่าวขาน
ว่าแก้วเป็นหัวโจกของห้องอยู่เสมอ เนื้อหา
ในวรรณกรรมเยาวชนสองเล่มนี้ ได้สอด
แทรกประสบการณ์ในวัยเด็กของพระองค์
ท่านบางส่วน รวมถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม
ต่างๆ เช่น การละเล่นของเด็ก ขนมไทย
มะม่วงพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น หนังสือทั้งสอง
เรื่องนี้ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาก และ
ถูกนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อว่า
“Kaew the Playful และ Kaew the
Naughty”

03

ฟื้ นภาษา ได้อาหาร “... อาหารจานหลักเป็นปลา
แซลมอน (saumon) นาบกระทะ
“ฟื้ นภาษา ได้อาหาร” เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรง ทอดเนยสี่ด้าน ผัดบล็อคโคลี่ และ
บันทึกไว้ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินไปเรียนภาษา พริกหวานแดงกับพริกหวานเหลือง
ฝรั่งเศส ณ สถาบันสอนภาษาตูแรน เมืองตูร์ ประเทศ
ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 14–30 สิงหาคม 2550 โดย ผัดเนยกับหอมหัวใหญ่ ...”
ประทับที่บ้านพักของมาดามนิโคล เดอมองเต็กซ์
ขณะที่ประทับอยู่ฝรั่งเศส ทรงเขียนบันทึก
ประสบการณ์ ในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นพระกระยาหาร
ที่เสวยในแต่ละมื้อซึ่งทรงบันทึกไว้อย่างละเอียด
ประวัติศาสตร์ของถนนหรือสถานที่ที่เสด็จ เช่น เสด็จ
เมืองอองบวช ไปที่ปราสาทโคลส์ ลูเซ (Clos-Lucé) ที่
มีห้องนอนเลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci)
อยู่ภายใน นอกจากสาระความรู้แล้ว พระราชนิพนธ์
เล่มนี้ยังสะท้อนให้ทราบถึงความใส่ พระราชหฤทัยใน
สิ่งที่ทอดพระเนตรเห็นหรือทรงฟัง และทรง
กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ตลอดจนทรง
บันทึกเรื่องราวทุกสิ่ งอยู่เสมอ

04

ไทยทำ ไทยกิน พระราชนิพนธ์เรื่อง “ไทยทำ ไทยกิน กับข้าวฝรั่ง”
กับข้าวฝรั่ง เป็นหนังสื อพระราชนิพนธ์รวมวิธีการทำกับข้าว
ฝรั่งเศส ซึ่งมาดามนิโคล เดอมองเต็กซ์ (ผู้ที่สมเด็จ
พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงประทับด้วยในขณะที่ไป
เรียนภาษา ณ ประเทศฝรั่งเศส) เป็นผู้จดสูตรอาหาร
ทั้งหมดให้ และเมื่อกลับมายังประเทศไทยจึงทรง
ทดลองทำด้วยพระองค์เอง และมีพระราชประสงค์จะ
เผยแพร่สูตรทำอาหารเหล่านี้ ทั้งนี้ ยังมีสูตรอาหาร
ไทยเป็นของแถมอีกหนึ่งอย่าง ได้แก่ ยำเกสรชมพู่ ซึ่ง
ทรงเล่าว่าเป็นเกสรจากต้นชมพู่เก่าแก่สมัยสมเด็จย่า

05

แกะรอยโสม

พระราชนิพนธ์ในสมเด็จ ซึ่งทรงบันทึกเหตุการณ์
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ ที่ทรงพบเห็นใน ระหว่าง
เรื่องแกะรอยโสมเล่มนี้ การเสด็จเยือนสถานที่
เป็นเรื่องราวการเสด็จ ต่างๆ ตลอดเวลาที่ทรง
เยือนประเทศสาธารณรัฐ ประทับอยู่ มีภาพ
เกาหลีสาธารณรัฐ ประกอบสวยงามที่ได้ทรง
ประชาชนจีน และ บรรยายไว้ทั้งภาษาไทย
สาธารณรัฐประชาธิปไตย และภาษาอังกฤษ จำนวน
ประชาชน เกาหลี หน้า: 265 หน้า
(เกาหลีเหนือ) ระหว่างวันที่
18-29 มีนาคม 2534

06

ข้าวไทยไปญี่ปุ่น

พระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องข้าวไทยไปญี่ปุ่นเล่มนี้ เสด็จพระราชด าเนินเยือนประเทศญี่ปุ่น ระหว่าง 23-26 07
พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 บันทึกการเสด็จฯ เนื่องจากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงรับเชิญจาก
สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI – International Rice Research Institute) ประเทศญี่ปุ่น เสด็จฯ ไปทรง
ร่วมงานและบรรยายพิเศษเรื่องข้าวไทยในงานวัน Japan-IRRI Day ที่กรุงโตเกียว ส าหรับเนื้อหาของการ
บรรยายพิเศษนั้นทรงกล่าวถึงประวัติของข้าวไทยตั้งแต่สมัย โบราณ ความส าคัญของข้าว ต่อเศรษฐกิจ
ของประเทศ พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนถึงเรื่องวิถีชีวิต
ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ของไทยที่ เกี่ยวเนื่องกับข้าว เป็นต้น จ านวนหน้า: 159 หน้า

พระราชดำริเกี่ยวกับการเดินทาง คืนฟ้าใส
ครั้งนี้ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า “หลังจาก
08
เคร่งเครียดกับการดูงานวิชาการ ดังที่ได้
พรรณนาไว้ในหนังสือ “ปริศนาดวงดาว” แล้วในปี

เดียวกันยังได้ไปประเทศนอร์เวย์ นับเป็น
ประสบการณ์ที่ดี คือได้ศึกษาพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งเหนือเส้นอาร์กติก ดินฟ้าอากาศช่วงนี้
สว่างกระจ่างแจ้ง จึงเป็นที่มาของชื่อหนังสือ “คืนฟ้า

ใส”จำนวนหน้า: 483 หน้า

แดร๊กคูล่าผู้น่ารัก

พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เรื่องแดร๊กคูล่าผู้น่ารัก
ทรงบันทึกไว้เมื่อครั้ง เสด็จฯ เยือน 3 ประเทศในยุโรปตะวันออก ได้แก่
ประเทศโรมาเนีย สาธารณรัฐประชาชนฮังการี สาธารณรัฐออสเตรีย
เบลเยี่ยม และสวิตเซอร์แลนด์ทั้งทรงเสด็จฯ ไปเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินี ฟา
บิโอลา ที่ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ระหว่าง 13-25 มีนาคม พ.ศ. 2537 ทรง

เรียบเรียงตามล าดับ เหตุการณ์ที่มีเรื่องราววัฒนธรรมที่เก่าแก่
สถาปัตยกรรมโบราณที่สวยงาม โดยมีภาพประกอบ พร้อมค าอธิบาย
ภาพ และค าบรรยายเรื่องราวตามล าดับเหตุการณ์นั้นๆ ท้ายเล่มมีรายชื่อ
หนังสือ พระราชนิพนธ์ชุดการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ

09

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย

พระราชนิพนธ์ำาดับที่ 48 ในชุดเสด็จพระราชด าเนินเยือนต่างประเทศ ทรงพระราชนิพนธ์คราว
เสด็จพระราช-ด าเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 13-27 สิงหาคม
2544 ในครั้งนี้ทรงบันทึกการเสด็จพระราชด าเนินเยือนมณฑลชิงไห่ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย
เขตปกครองตนเองทิเบต มหานครปักกิ่ง และมณฑลเหอเป่ย ในพระราชนิพนธ์ "ค าน า" ทรงกล่าว
ว่า "…พื้นที่ทั้ง 3 แห่งที่เป็นจุดหลักของการไปเยี่ยมเยือนครั้งนี้มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น
เรื่องภูเขาและที่ราบสูง ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตอยู่เหนือกว่าระดับน้ าทะเล 4,000-5,000 เมตร มีพื้นที่

ประมาณ 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบสูงที่สูงสุดในโลก จนได้สมญาว่า “หลังคาโลก”
นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่ทะเลทราย มีป่าทราย และโอเอซิสเขียวขจีในบางแห่งส่วนที่หนิงเซี่ยนั้นมีที่

ราบสูงดินเหลืองด้วย



10

ม่วนซื่นเมืองลาว

หนังสือพระราชนิพนธ์ม่วนซื่นเมืองลาว เป็นบันทึกการเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ถึง 4 วาระของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ครั้งแรกในวันที่ 11 เมษายน 2535
เสด็จฯ ทอดพระเนตรเมืองปากเซ แขวงจ าปาสัก โดยผ่านทางช่องเม็ก อ าเภอสิรินธร จังหวัด
อุบลราชธานี ครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2535 ทรงพบประธานประเทศ และผู้น า
รัฐบาลลาว และเสด็จฯ ทอดพระเนตรสถานที่ส าคัญต่างๆ ในแขวงพงสาลีและแขวงหลวงพระ

บางครั้งที่สาม ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 ตามเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม
มกุฎราชกุมาร ไปทรงร่วมพิธีฌาปนกิจศพท่านไกสอน พรหมวิหาน อดีตประธานประเทศ และ

ครั้งที่สี่ ระหว่างวันที่ 9-14 พฤศจิกายน 2536 ทรงประกอบพิธีถวายผ้าพระกฐินทั้งในกรุง
เวียงจันทน์และแขวงหลวงพระบาง และเสด็จฯ ทอดพระเนตรสถานที่ส าคัญต่างๆ

11

ข้ามฝั่ งแห่งฝัน

เป็นบันทึกการเสด็จพระราชด าเนินเยือนสหราชอาณาจักร ระหว่าง วันที่ 4-10
กรกฎาคม 2538 หลังจากที่ได้เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส ตามราย

ละเอียดใน “สวนสมุทร” พระราชนิพนธ์ล าดับที่ 33 การเสด็จพระราชด าเนิน
เยือนสหราชอาณาจักรครั้งนี้ได้ เสด็จฯ ไปทรงเปิดงานส าคัญ 2 งานในกรุง

ลอนดอน คือ งานด้านดนตรีไทยศึกษาที่มหาวิทยาลัย ลอนดอน และ
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสฉลองสิริ
ราช สมบัติครบ 50 ปี ณ สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติและได้เสด็จฯ เยือนสถานที่
ส าคัญอื่นๆ ได้แก่ สวนพฤกษศาสตร์คิว พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ

พิพิธภัณฑ์ดนตรี ตลาดปลาบิลลิงสเกต พระราชวังวินด์เซอร์ เป็นต้น

12

บรรณานุกรม HTTPS://TWITTER.COM/SERMSIN_S/STAT
US/848436597179596800

HTTPS://ARIT.KPRU.AC.TH/PAGE_ID/501/T

HTTPS://WWW.SAC.OR.TH/MAIN/TH/ARTI
CLE/DETAIL/189

HTTP://WWW.AMWAYSHOPPING.COM/MC
S/DOWNLOADS/BOOKLIST.PDF


Click to View FlipBook Version