The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 การเรียกชื่อไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Fatimah Chedah, 2023-10-10 16:19:58

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 การเรียกชื่อไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 การเรียกชื่อไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว33221 เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง เคมีอินทรีย์ เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เวลา 2 คาบ ตามระบบ IUPAC วันที่.......... เดือน......................พ.ศ. .............. ครูพี่เลี้ยง นางสาวอุมมูกัลโสม สุระแม ผู้สอน นางสาวฟาตีหม๊ะ เจ๊ะดะ 1. มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม สาระเคมี 1 เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ สมบัติของธาตุ พันธะเคมีและสมบัติ ของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์ รวมทั้งการนำความรู้ ไปใช้ประโยชน 2. ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ 4. เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน 1 หมู่ตามระบบ IUPAC 3. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ผลการเรียนรู้ 1. อธิบายการเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC ได้ (K) 2. เรียกและเขียนชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC ได้(P) 3. ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A) 4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด ชื่อสารประกอบอินทรีย์ตามระบบ IUPAC แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ คำลงท้าย โซ่หลัก และคำนำหน้า ซึ่งบ่ง บอกลักษณะโครงสร้าง ดังนี้


คำนำหน้า (prefix) โซ่หลัก (main chain) คำลงท้าย (suffix) คำลงท้าย คือตำแหน่งและหมู่ฟังก์ชันหลัก โดยใช้คำลงท้ายเสียงที่พ้องกับประเภทสารประกอบอินทรีย์ โซ่หลัก คือสายคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนต่อกันยาวที่สุดและมีหมู่ฟังก์ชันหลักอยู่ เรียกชื่อตามจำนวน อะตอมของคาร์บอน โดยระบุจำนวนอะตอมของคาร์บอนด้วยคำในภาษากรีก คำนำหน้า คือตำแหน่งและชื่อของหมู่ที่ไม่ใช่หมู่ฟังก์ชันหลัก หรือที่เรียกทั่วไปว่า หมู่แทนที่ 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการสำรวจค้นหา 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 4. ซื่อสัตย์สุจริต 6. สาระการเรียนรู้ ชื่อสารประกอบอินทรีย์ตามระบบ IUPAC แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ คำลงท้าย โซ่หลัก และคำนำหน้า ซึ่งบ่ง บอกลักษณะโครงสร้าง ดังนี้ คำนำหน้า (prefix) โซ่หลัก (main chain) คำลงท้าย (suffix) คำลงท้าย คือตำแหน่งและหมู่ฟังก์ชันหลัก โดยใช้คำลงท้ายเสียงที่พ้องกับประเภทสารประกอบอินทรีย์ โซ่หลัก คือสายคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนต่อกันยาวที่สุดและมีหมู่ฟังก์ชันหลักอยู่ เรียกชื่อตามจำนวน อะตอมของคาร์บอน โดยระบุจำนวนอะตอมของคาร์บอนด้วยคำในภาษากรีก คำนำหน้า คือตำแหน่งและชื่อของหมู่ที่ไม่ใช่หมู่ฟังก์ชันหลัก หรือที่เรียกทั่วไปว่า หมู่แทนที่


การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ มีหลักการ เรียกชื่อคล้ายกับที่ได้กล่าวมาแล้วสำหรับสารประเภทอื่น ซึ่งในระดับชั้นนี้จะพิจารณาการเรียกชื่อเฉพาะเอมีนและ เอไมด์ที่มีหมู่แทนที่บนไนโตรเจนเพียงหมู่เดียวเท่านั้น การเรียกชื่อเอมีน กำหนดตัวเลขแสดงตำแหน่งของคาร์บอนในโซ่หลัก โดยให้ตำแหน่งของคาร์บอนที่มี หมู่ -NH2 เป็นตัวเลขน้อยที่สุด จากนั้นเรียกชื่อโซ่หลักตามด้วย an จากนั้นระบุตำแหน่งของหมู่ -NH2 และตาม ด้วยคำลงท้าย -amine การเรียกชื่อเอไมด์กำหนดให้คาร์บอน -CONH2 เป็นตำแหน่งที่ 1 และเรียกโซ่หลักตามด้วย an แล้วลง ท้ายด้วย -amide โดยไม่ต้องระบุตำแหน่งของหมู่ฟังก์ชัน 7. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engage) 1.1 ครูทบทวนความรู้เดิม เรื่อง สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ - สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง แนวคำตอบ สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจนเป็น องค์ประกอบ - สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง แนวคำตอบ มี 6 ประเภท 1) แอลกอฮอล์ 2) อีเทอร์ 3) แอลดีไฮด์ 4) คีโตน 5) กรดคาร์บอกซิลิก 6) เอสเทอร์ - หมู่ฟังก์ชันประเภทแอลกอฮอล์ มีหลักการอ่านชื่อตามระบบ IUPAC อย่างไร แนวคำตอบ จำนวนคาร์บอน an – ตำแหน่งพันธะ - ol - หมู่ฟังก์ชันประเภทอีเทอร์ มีหลักการอ่านชื่อตามระบบ IUPAC อย่างไร แนวคำตอบ ตำแหน่ง - คาร์บอนน้อย oxy คาร์บอนมาก ane - หมู่ฟังก์ชันประเภทแอลดีไฮด์ มีหลักการอ่านชื่อตามระบบ IUPAC อย่างไร แนวคำตอบ จำนวนคาร์บอน anal - หมู่ฟังก์ชันประเภทคีโตน มีหลักการอ่านชื่อตามระบบ IUPAC อย่างไร


แนวคำตอบ จำนวนคาร์บอน an - ตำแหน่งพันธะ – one - หมู่ฟังก์ชันประเภทกรดคาร์บอกซิลิก มีหลักการอ่านชื่อตามระบบ IUPAC อย่างไร แนวคำตอบ จำนวนคาร์บอน anoic acid - หมู่ฟังก์ชันประเภทเอสเทอร์มีหลักการอ่านชื่อตามระบบ IUPAC อย่างไร แนวคำตอบ จำนวนคาร์บอน O yl คาร์บอนที่เหลือ anoate ขั้นที่ 2 ขั้นการสำรวจและค้นหา (Explore) 2.1 ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยการยกตัวอย่างชื่อสารประกอบอินทรีย์ CH3CH2CH2CH2NH2 CH3CH2CH2CONH2 CH3CONH2 CH3CH2CH2CONH2 CH3CH2CH2CONHCH3 จากนั้นให้นักเรียนสังเกตุพร้อมตั้งคำถาม จากตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ข้างต้นนอกจากธาตุ คาร์บอน และธาตุไฮโดรเจน มีธาตุอะไรอีกบ้าง เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ ข้างต้นเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 2.2 ครูอธิบายความหมายสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ แนวอธิบาย สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ มี หลักการเรียกชื่อคล้ายกับที่ได้กล่าวมาแล้วสำหรับสารประเภทอื่น ซึ่งในระดับชั้นนี้จะพิจารณาการเรียกชื่อเฉพาะ เอมีนและเอไมด์ที่มีหมู่แทนที่บนไนโตรเจนเพียงหมู่เดียวเท่านั้น ขั้นที่ 3 ขั้นการอธิบาย (Explain) 3.1 ครูอธิบายวิธีการเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC พร้อมยกตัวอย่าง แนวอธิบาย การเรียกชื่อเอมีน กำหนดตัวเลขแสดงตำแหน่งของคาร์บอนในโซ่หลัก โดยให้ตำแหน่งของ คาร์บอนที่มีหมู่ -NH2 เป็นตัวเลขน้อยที่สุด จากนั้นเรียกชื่อโซ่หลักตามด้วย an จากนั้นระบุตำแหน่งของหมู่ -NH2 และตามด้วยคำลงท้าย -amine ยกตัวอย่าง : เอมีน NH2


NH2CH2CH2CH3 อ่านว่า Propan-1-amine CH3CH2CH2CH(CH3)NH2 อ่านว่า Pentan-2-amine CH3CH2CH(CH3)CH2CH2CH2NH2 อ่านว่า 3-methylhex-1-amine การเรียกชื่อเอไมด์กำหนดให้คาร์บอน -CONH2 เป็นตำแหน่งที่ 1 และเรียกโซ่หลักตามด้วย an แล้วลง ท้ายด้วย -amide โดยไม่ต้องระบุตำแหน่งของหมู่ฟังก์ชัน ยกตัวอย่าง : เอไมด์ CH3CH2CH2CONH2 อ่านว่า Butanamide CH3CH2CH2CH2CH(CH3)CH2CH2CH2CONH2 อ่านว่า 5-methylnonamide CH3CH2CONH2 อ่านว่า Propanamide 3.2 ครูยกตัวอย่างชื่อและโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ พร้อมให้ นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ การเรียกชื่อตามระบบ IUPAC CH3CONH2 Ethanamide 4-ethyl-3-methylheptan-1-amine 4-methylheptanamide Pentan-3-amine 3,5-dimethylhexanamide ขั้นที่ 4 ขั้นการขยายความรู้ (Elaborate)


4.1 นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ 1.8 เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็น องค์ประกอบตามระบบ IUPAC 4.2 ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยในเนื้อหาเรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุ ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC ว่ามีส่วนไหนที่ยังไม่เข้าใจ และให้ความรู้เพิ่มเติม ในส่วนนั้น ขั้นที่5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation) 4.3 ประเมินความรู้เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC โดยสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถามและการทำแบบฝึกหัดที่ 1.8 เรื่อง การเรียกชื่อ สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC 5.1 ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ โดยสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียน 8. สื่อ/แหล่งเรียนรู้ 1. หนังสือเรียนรายวิชาเคมี เล่ม 5 (สสวท.) 2. แบบฝึกหัดที่ 1.8 เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC 3. ห้องเรียน 4. ห้องสมุด 5. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ 9. ภาระชิ้นงาน 1. แบบฝึกหัดที่ 1.8 เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC


10. การวัดและการประเมิน จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือการวัดผล วิธีการวัดผล เกณฑ์การประเมินผล ผู้ประเมิน ด้านความรู้(K) อธิบายการเรียกชื่อ สารประกอบอินทรีย์ที่มี ธ า ต ุ ไ น โ ต ร เ จ น เ ป็ น องค์ประกอบตามระบบ IUPAC ได้ - แบบฝึกหัด - ตรวจแบบฝึกหัด ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ ครูผู้สอน ด้านทักษะกระบวนการ (P) เร ี ย ก แ ล ะ เข ี ย น ชื่ อ สารประกอบอินทรีย์ที่มี ธ า ต ุ ไ น โ ต ร เ จ น เ ป็ น องค์ประกอบตามระบบ IUPAC ได้ - แบบฝึกหัด - แบบประเมิน พฤติกรรม - ตรวจแบบฝึกหัด ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ ครูผู้สอน ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหา ความรู้ รับผิดชอบต่อ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย - แบบประเมิน พฤติกรรม - สังเกตคุณลักษณะ อันพึ่งประสงค์ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ ครูผู้สอน สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการ สื่อสาร 2. ความสามารถในการ คิด - ทักษะการสังเกต - ทักษะการสำรวจ ค้นหา - ทักษะการคิด วิเคราะห์ 3. ความสามารถในการ แก้ปัญหา - แบบประเมิน พฤติกรรม - สังเกตพฤติกรรม ของผู้เรียน ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ ครูผู้สอน


11. บันทึกผลหลังการสอน 11.1 สรุปผลการเรียนการสอน จุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน ผ่าน ไม่ผ่าน ข้อคิดเห็น ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 11.2 ปัญหา/อุปสรรค ............................................................................................................................. ............................................. .......................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ............................................. ............................................................................................................................... ........................................... 11.3 ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข .......................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ............................................. ............................................................................................................................. ............................................. .......................................................................................................................................................................... ลงชื่อ................................................ (นางสาวฟาตีหม๊ะ เจ๊ะดะ) ............../............../...............


ข้อเสนอแนะจากครูพี่เลี้ยง ............................................................................................................................. ............................................. .......................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ............................................. ............................................................................................................................... ........................................... ลงชื่อ................................................ (นางสาวอุมมูกัลโสม สุระแม) ............../............../............... ข้อเสนอแนะจากหัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ .......................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ............................................. ................................................................................................................................................................ .......... .......................................................................................................................................................................... ลงชื่อ............................................... (นายกรวิชญ์ สันอี) ............../............../............... ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ ............................................................................................................................. ............................................. .......................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ............................................. ............................................................................................................................. ............................................. ลงชื่อ............................................... (นายอิรฟัล สะมะแอ) ............../............../...............


แบบฝึกหัดที่ 1.8 เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC จงเรียกชื่อหรือเขียนสูตรโครงสร้างสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC ตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ คำตอบ CH3CH2CH(CH2CH3)CH2CH2CONH2 CH3(CH2)2NH2 5-methylhept-3-amine CH3CH2CH2CH2CH2CH2CH2CH2CH2CONH2


แบบฝึกหัดที่ 1.8 เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC จงเรียกชื่อหรือเขียนสูตรโครงสร้างสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบตามระบบ IUPAC ตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ คำตอบ CH3CH2CH(CH2CH3)CH2CH2CONH2 4-ethylhexanamide CH3(CH2)2NH2 Pentan-1-amine 3-methylhexanamide 5-methylhept-3-amine CH3CH2CH2CH2CH2CH2CH2CH2CH2CONH2 Decanamide


Click to View FlipBook Version