The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สถานการณ์ปัญหาและการจัดการพื้นที่ ระดับหมู่บ้าน ต.พรหมนิมิต อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by dchayaporn, 2022-07-09 11:16:54

การบริหารจัดการพื้นที่ ต.พรหมนิมิต อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

สถานการณ์ปัญหาและการจัดการพื้นที่ ระดับหมู่บ้าน ต.พรหมนิมิต อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

เมนูท่ี 2
การบรหิ ารจดั การพื้นที่

ระบบการบริหารจัดการพื้นที่ คือ หัวใจสำคัญในการขับเคล่ือนงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ท้องถิ่นซ่ึงตำบลพรหมนิมิต ได้มีรูปธรรมการดำเนินงานผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้ (๑) สร้างเป้าหมายร่วมในการ
พัฒนาพื้นที่ตำบลพรหมนิมิต (๒) จัดการและนำใช้ศักยภาพและทุนทางสังคมของตำบลพรหมนิมิตในการพัฒนา
พ้ืนที่ และ (๓) เช่ือมโยงเครือข่ายในการพัฒนาตำบลพรหมนิมิต (๔) ระบบสนับสนุนการจัดการการเรียนรู้ (๕) การ
ประเมินผล โดยที่ชุมชนท้องถ่ินจะต้องถอดความรู้และสามารถถ่ายทอดกิจกรรมดำเนินการดังที่กล่าวเพ่ือสร้างการ
เรียนรู้กันเองทั้งระดับแหล่งเรียนรู้ ระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล โดยมีแนวคิดในการบริหารจัดการตนเองในเรื่องการ
จัดการพื้นท่ีบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมและพ่ึงพาตนเองจะสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถ่ินให้
สามารถจัดการและสนับสนุนการขับเคล่ือนงานตำบลสุขภาวะของตำบลพรหมนิมิตได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นระบบท่ี
สามารถพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการภายในได้ตลอดเวลา เพ่ือรองรับกับความต้องการของชุมชนท้องถ่ินได้
เหมาะสมตามสถานการณ์ของแต่ละพ้ืนที่ จนนำไปสู่หมู่บ้านจัดการตนเองในท่ีสุด ซึ่งรายละเอียดสถานการณ์
ดำเนินงานของตำบลพรหมนิมติ มดี งั น้ี

ส่วนที่ 1 สร้างเปา้ หมายรว่ มในการพฒั นาพืน้ ท่ตี ำบลพรหมนิมิต

ตำบลพรหมนิมิต เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่ีดำเนินงานให้การดูแลความทุกข์สุขของประชาชนในพ้ืนที่
ตำบลพรหมนิมิตอย่างใกล้ชิด และดำเนินการตามหลักธรรมมาภิบาล และได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ในการทำงาน
ร่วมกัน ภายใต้วิสัยทัศน์ท่ีว่า “ทำงานเชิงรุก เน้นการมีส่วนร่วม สร้างความสามัคคี พัฒนาสังคมให้ย่ังยืน” โดยมี
เป้าหมายร่วมในการพัฒนาของตำบลพรหมนิมิต ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม เพ่ือสามารถกำหนด
เป้าหมายและความสำเร็จร่วมกันในชุมชน กำหนดทิศทางและแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อสร้างผลลัพธ์ตามที่ชุมชน
คาดหวังอย่างเป็นรูปธรรม

การสร้างเป้าหมายร่วมกันมีการดำเนินการ ทั้งในสถานการณ์ปกติ และภาวะวิกฤตตามบริบทของแต่ละกลุ่ม
แต่ละชุมชม โดยมีแกนนำ กลุ่ม หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกระบวนการ ซึ่งกระบวนการสามารถ
ดำเนินการไดด้ ว้ ยวธิ ีการทแ่ี ตกตา่ งตามสถานการณ์ หรอื ความเชี่ยวชาญของพ้ืนที่ตำบลพรหมนิมติ ประกอบด้วย

(๑) การใช้กระบวนการสร้างเป้าหมาย เช่น เวทีประชาคม การประชุมแบบมีส่วนร่วม เวทีแผน
ชุมชน ทำให้แกนนำ กลุ่ม หน่วยงาน องค์กรท่ีเกี่ยวข้องได้ร่วมเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกำหนดเป้าหมายท่ีต้องการ
เกิดแนวทางในการวางแผนการทำงานตอ่ เป้าหมายนั้น ๆ

(๒) ทำให้ชุมชนมีทิศทาง มีเป้าหมายร่วมกันในการทำงานพร้อมรับสถานการณ์ทั้งในภาวะปกติ หรือ
ภาวะวิกฤติปัญหาได้ มีระบบการจัดการปัญหาที่ชุมชนออกแบบ เกิดการเรียนรู้ การจัดการความรู้ ทำให้เป็นชุมชน
เข้มแข็งพ่ึงตนเองได้ ซึ่งพื้นท่ีตำบลพรหมนิมิต จากการนำใช้ข้อมูลในระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) พบว่า สถานการณ์
ปญั หาของชุมชนทีพ่ บ ไดแ้ ก่

60

(2.1) ปญั หาหนสี้ นิ ภาคครวั เรือน จำนวน 742 หลงั คาเรอื น คิดเป็นร้อยละ 59.93

(๒.2) ปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 3 อันดับ พบว่า อันดับ 1 คือ โรคความดันโลหิต
สูง จำนวน 481 คน คิดเป็นร้อยละ 29.38 รองลงมาอับดับ 2 คือ โรคเบาหวาน จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ
14.97 และอนั ดับ 3 คอื โรคปวดขอ้ /ขอ้ เสอื่ ม จำนวน 204 คน คิดเป็นรอ้ ยละ12.46

(2.๓) ปัญหาการใช้สารเคมีในการเกษตร และสารพิษตกค้างในร่างกายของเกษตรกร
จำนวน 634 คน คิดเป็นร้อยละ 17.4

(2.๔) ปัญหาด้านพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ ยาเสพติด ด่ืมสุราเป็นประจำ และสูบบุรี่เป็น
ประจำ

โดยแต่ละสถานการณ์ปญั หามีการกำหนดแนวทางและวธิ กี ารสร้างเปา้ หมาย ดังน้ี

1.1 สถานการณป์ ญั หาและการจัดการปญั หาของพน้ื ท่ี ระดบั หมู่บ้าน

1.1.1 หมทู่ ี่ 1 บ้านบอ่ ดินขาว

(1) สถานการณ์ปัญหาทส่ี ่งผลกระทบตอ่ ชุมชน

(1.1) ปัญหาด้านสุขภาพ อันดับที่ ๑ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนทั้งส้ิน 52 คน
คิดเป็นร้อยละ 29.71 อันดับที่ ๒ โรคเบาหวาน มีจำนวนท้ังสิ้น 29 คน คิดเป็นร้อยละ 16.57 และอันดับท่ี ๓ ปวด
ข้อ/ข้อเส่ือม จำนวนท้ังสิ้น 27 คน คิดเป็นร้อยละ 15.43 ซึ่งสาเหตุหลักเกิดมาจากคนในชุมชนขาดการบริโภคอาหาร
ที่เหมาะสม เนื่องจากบุคคลสว่ นใหญ่ไมส่ ามารถควบคุมอาการและดูแลรกั ษาตนเองไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ ง

(1.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดผู้ดูแลช่วยเหลือ จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 48.83 เกิดจาก
คนในครอบครวั ออกไปทำงานลกั ษณะไปเช้าเย็นกลับ ในระหวา่ งวนั ผสู้ งู อายุจงึ ตอ้ งอย่บู ้านเพียงลำพัง

(1.3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคนในชุมชนขาดต้นทุนในการประกอบอาชีพ ทำให้คนใน
ชุมชนมีปัญหาภาระหน้ีสิน มีจำนวนทั้งส้ิน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 70.89 ส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินเพื่อประกอบอาชีพ
เกษตรกร และนับวันปริมาณหน้ีได้ทบทวีเพิ่มพูนข้ึนอย่างน่าวิตก เกษตรกรมีภาระหน้ีสินพอกพูนเพ่ิมขึ้นทุกปี แต่รายได้
ท่ีได้มาไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จึงเป็นสาเหตุการมีหน้ีสินต่อเนื่อง ทำให้คนในชุมชนมีแนวคิดในการ
ปรับเปลย่ี นอาชพี เพือ่ หารายได้ท่ีเพมิ่ ขน้ึ นำมาใชจ้ า่ ยหนสี้ นิ ในและนอกระบบ ครอบครวั จึงขาดแรงงานในครัวเรือน

(1.4) ปัญหาด้านการจัดการส่ิงแวดล้อม เกษตรกรหมู่ที่ 1 บ้านบ่อดินขาว ที่ขาดแคลนน้ำ
สำหรับทำการเกษตร มีจำนวนทั้งส้ิน 23 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.14 จึงส่งผลกระทบทำให้ประชาชนมีรายได้ไม่
เพยี งพอสำหรับการใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต และส่งผลกระทบใหเ้ ป็นภาระหน้สี ิน

(2) แนวทางการแกป้ ัญหา

(2.1) ปัญหาด้านสุขภาพ จากปัญหาที่เกิดข้ึนในพื้นท่ี หมู่ ๑ บ้านบ่อดินขาว คิดค้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน โดยมี นายสมคิด พัทธสีมา เป็นประธาน
กลุ่ม อสม.ประจำหมู่ที่ ๑ บ้านบ่อดินขาว ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพรหมนิมิต นำโดย นายพุฒิ

61

ศักด์ิ โทแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรหมนิมิต และโรงพยาบาลตาคลี เป็นแม่ข่ายในการ
สนับสนุนด้านวิชาการ และการรักษา ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค โดยให้คำแนะนำ ถ่ายทอด
ความรู้แก่เพื่อนบ้าน และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริม
สุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาล
เบ้ืองต้น การตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจหาน้ำตาลในเลือด การส่งต่อ
ผู้ป่วย และการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานบริการ เป็นต้น จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกัน
ปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการช่ังน้ำหนักเด็กการติดตามหญิงมีครรภ์ให้
มาฝากครรภ์และตรวจครรภ์ตามกำหนด ให้บริการชั่งน้ำหนักหญิงมีครรภ์เป็นประจำทุกเดือน ติดตามเด็กอายุต่ำกว่า
5 ปี และตรวจสขุ ภาพตามกำหนด กิจกรรมเฝ้าระวังดา้ นสรา้ งเสรมิ ภมู ิคุม้ กันโรค

(2.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หมู่ที่ ๑ บ้านบ่อดิน
ขาว ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคนในครอบครัวออกไปทำงานลักษณะไปเช้าเย็นกลับ ในระหว่างวันผู้สูงอายุจึง
ต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง จึงมีการจัดต้ังชมรมผสูงอายุข้ึน เพื่อดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพร่างการที่แข็งแรง ทั้งสภาพ
ร่างกายและจิตใจ ร่วมถึงเป็นศูนย์รวมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ลดภาวะความตึงเครียดของผู้สูงอายุ และยัง
สามารถเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของผู้สูงอายุไว้เพื่อสืบทอดให้สู่คนรุ่นหลัง โดยมี นายลพ เคร่งใจ เป็นประธาน
กลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้านคอยขับเคลื่อนงาน เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมผู้สูงอายุในหมู่ที่ ๑ บ้านบ่อดินขาว เข้าร่วม
กิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมจ่ายเบ้ียยังชีพผู้สูงอายุ กิจกรรมออกกำลังกาย รำไม้พลอง กิจกรรมทำอาหารรับประทาน
ร่วมกัน เปน็ ตน้

(2.3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จากปัญหาท่ีเกิดขึ้นในพ้ืนท่ีหมู่ ๑ บ้านบ่อดินขาว เนื่องจากใน
หมู่บ้านบ่อดินขาวประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ คือการทำนาจึงเกิดปัญหาต้นทุนการผลิตสูง
ราคาข้าวตกต่ำ จึงทำให้ชาวนาบ้างส่วนเป็นหนี้จากการทำการเกษตร แต่มีทุนจากที่รัฐบาลให้จัดต้ังกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
เพื่อไม่ให้ประชาชนในหมู่บ้านเดือดร้อนไปกู้เงินเป็นหน้ีนอกระบบ และสมาชิกยังมีการระดมหุ้นเงินออมทรัพย์เพื่อให้
สมาชิกมีเงินฝากออมเพ่ือเก็บไว้ใช้เวลาจำเป็น อีกทั้งยังปล่อยเงินกู้ยืมให้แก่สมาชิกกลุ่ม เพ่ือให้คนในชุมชนมีทุน
หมุนเวยี นในการประกอบอาชพี และดอกเบย้ี ทไ่ี ดย้ งั เปน็ ทนุ สาธารณะประโยชน์ในหมบู่ า้ น

(2.4) ปัญหาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม จากปัญหาท่ีเกิดข้ึนในพื้นท่ี หมู่ที่ ๑ บ้านบ่อดินขาว
มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของทางทิศเหนือบ้านบ่อดินขาว มีพื้นที่ทำไร่และทำสวนผักประสบปัญหาในเรื่องน้ำ
สำหรับใช้ในการทำไร่ไม่เพียงพอเป็นประจำทุกปี จึงส่งผลกระทบให้กับเกษตรกรในพื้นที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการ
ดำรงชีวิต นายสมคิด พัทธสีมา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 และสมาชิก อบต.บ้านบ่อดินขาว จึงประชุมร่วมกับกลุ่มเกษตรกร
ท่ีเดือดร้อนในเร่ืองน้ำทำการเกษตร และได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหา จึงจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำบ้านบ่อดินขาวขึ้น

1.1.2 หมู่ที่ 2 บ้านสะพานสาม

(1) สถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน

(1 .1 ) ปั ญ ห าด้าน สุข ภ าพ อั น ดั บ ที่ ๑ ได้ แก่ โรค ค วาม ดั น โลหิ ต สู ง มี จำน วน
ท้ังสิ้น 40 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 อันดันที่ ๒ โรคปวดข้อ/ข้อเส่ือม มีจำนวนทั้งส้ิน 20 คน คิดเป็นร้อยละ ๑
13.33 อันดับ 3 โรคเบาหวาน มีจำนวนท้ังสิ้น 16 คน คิดเป็นร้อยละ 10.67 ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากคนในชุมชนมี

62

การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากบุคคลส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมอาการและดูแลรักษาตนเองได้อย่าง
ถูกต้อง

(1.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 50.87 โดย
ผู้สูงอายุในหมู่ท่ี 2 จะพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังต้องทำเลี้ยงตัวเองเป็นจำนวมมาก เนื่องจากลูกหลานไปทำงานที่
อื่นและยังมีพื้นฐานครอบครัวที่มีฐานะยากจน (ข้อมูลจาก TCNAP ปี 2563)

(1.3) ปัญหาด้านสังคม ในชุมชนมีประชาชนที่มีปัญหาด้านการด่ืมสุราเป็นประจำ จำนวน
50 คน คิดเปน็ ร้อยละ 4.26

(1.4) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคนในชุมชนขาดต้นทุนในการประกอบอาชีพและกู้ยืม
เงินทุน จำนวน 71 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 67.92 แต่รายได้ที่ได้มาไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จึงเป็น
สาเหตุการมีหนี้สินต่อเน่ือง ทำให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนอาชีพเพ่ือหารายได้ท่ีเพิ่มข้ึน นำมาใช้จ่ายหนี้สินในครอบครัว
จึงขาดแรงงานในครวั เรอื น

(2) แนวทางการแกป้ ัญหา

(2.1) ปัญหาด้านสุขภาพ จากปัญหาที่เกิดข้ึนในพ้ืนท่ี หมู่ ๒ บ้านสะพานสาม จึงเกิดการ
แก้ไขปัญหาโดยมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน โดยมี นางสาวพัฒนา บุญผาง เป็นแกนนำประจำหมู่
ที่ ๒ บ้านสะพานสาม ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองหญ้ารังกา โดย นายพุฒิศักด์ิ โทแก้ว และ
โรงพยาบาลตาคลีร่วมสนับสนุนด้านวิชาการและการรักษา ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค โดย
ถ่ายทอดความรู้แก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ และ
เฝ้าระวังเร่ืองโรคระบาดและโรคติดตอ่ ประจำถ่ิน การกำจัดแหลง่ เพาะพันธุ์เชอ้ื โรค

(2.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ จากปัญหาผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในพ้ืนที่ หมู่ ๒ บ้าน
สะพานสาม จึงมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้น เพ่ือดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทั้งสภาพร่างกายและ
จิตใจ ร่วมถึงเป็นศูนย์รวมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ลดภาวะความตึงเครียดของผู้สูงอายุ และยังสามารถเป็น
แหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของผู้สูงอายุไว้เพ่ือสืบทอดให้สู่คนรุ่นหลัง โดยมี นายส่ง ทรงชัยพิพัฒน์ เป็นประธานกลุ่มคอย
ขับเคล่ือนงาน และมี นายประดิษฐ์ ความคะนึง เป็นประธานผู้สูงอายุระดับตำบล เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมผู้สูงอายุ
ในหมู่ท่ี ๒ บ้านสะพานสาม และท้ังตำบลเพ่ือร่วมกิจกรรม อีกท้ังเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมทำบุญ
กลางบา้ น กิจกรรมจา่ ยเบ้ยี ผสู้ ูงอายุ ทำอาหารรบั ประทานร่วมกัน รำไม้พลอง เปน็ ต้น

(2.3) ปัญหาสิ่งมึนเมาและสารเสพติด จากปัญหาท่ีเกิดขึ้นในพ้ืนที่ หมู่ ๒ บ้านสะพานสาม
เป็นศูนย์รวมของวัยรุ่นจากทั้งในตำบล และนอกตำบลมารวมกลุ่มกันเล่นกีฬา จึงมีการรวมตัวกันของคนในชุมชนจัดต้ัง
กลุ่ม อปพร. และ อส.ตร.ในการควบคุม ตรวจสอบ ดูแลรักษาความเรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งมึนเมาและสารเสพ
ตดิ และองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลพรหมนมิ ติ ใหก้ ารสนบั สนนุ งบประมาณสำหรบั การออกตรวจเวรยามในตอนกลางคนื
เพ่ือไมใ่ ห้เด็กและเยาวชนมัว่ สมุ กัน

(2.4) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เกิดจากต้นทุนการผลิตสูงราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ จาก
ปัญหาท่ีเกิดข้ึนในพื้นท่ีหมู่ ๒ บ้านสะพานสาม จึงได้รวมกลุ่มกันจัดต้ังกลุ่มผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ เพราะราคาหอมหัวใหญมีราคา
แพง เป็นท่ีต้องการของตลาด และเป็นพืชควบคุมเศษรฐกิจจึงทำให้ราคาไม่ตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ดี อีกทั้งได้จัดตั้ง

63

กลมุ่ ออมทรัพย์ สำหรบั การสรา้ งอาชพี เสรมิ ในชุมชน ชาวบา้ นมกี ารปรบั แนวคดิ การใชช้ ีวิตตามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง

1.1.3 หมู่ท่ี 3 บ้านสะพานสอง

(1) สถานการณ์ปัญหาท่ีส่งผลกระทบต่อชุมชน

(1.1) ปัญหาด้านสุขภาพ อันดับที่ ๑ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนทั้งส้ิน 37 คน
คิดเป็นร้อยละ 25.52 อันดับที่ ๒ โรคเบาหวาน มีจำนวนทั้งส้ิน 32 คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.07 และอันดับที่ ๓ โรค
ปวดข้อ/ข้อเสื่อม มีจำนวนทั้งสิ้น 26 คน คิดเป็นร้อยละ 17.93 เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหลักเกิดมาจากคนในชุมชนขาด
การบริโภคอาหารท่ีเหมาะสม เนื่องจากบุคคลส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมอาหาร และดูแลรักษาตนเองได้อย่างถูกต้อง

(1.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ ผู้สูงอายุจะไม่ได้รับความเอาใจใส่ มีจำนวน
ทั้งสิ้น 33 คน คิดเป็นร้อยละ 57.89 ทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง และอาจจะมีความวิตกกังวลต่าง ๆ เช่น กังวลว่าจะ
ถูกลูกหลานและญาติพี่น้องทอดทิ้ง กังวลในเรื่องความตายผู้สูงอายุมักมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เศร้า เฉยเมย

(1.3) ปัญหาด้านสังคม การเสพสิ่งมึนเมาและสิ่งเสพติด มีจำนวนทั้งสิ้น 81 คน คิดเป็นร้อย
ละ 5.79 ด้วยชุมชนเป็นเขตติดต่อกับชุมชนเมือง มีสิ่งยั่วยุจำนวนมาก และขาดการดูแลจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ การ
จำหน่ายสิ่งมึนเมา และยาเสพติดหาซื้อไดง้ า่ ย เพราะเป็นเขตทางผ่านในการคมนาคม

(1.4) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ คนในชุมชนขาดต้นทุนในการประกอบอาชีพ ทำให้คนในชุมชน
กู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ มีจำนวนทั้งสิ้น 64 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 79.95 แต่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายใน
แต่ละวัน จึงเป็นสาเหตุการมีหนี้สินต่อเนื่อง ทำให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนอาชีพเพื่อหารายได้ที่เพิ่มขึ้น นำมาใช้จ่าย
หน้ีสินในครอบครัวจึงขาดแรงงานในครัวเรือน

(2) แนวทางการแก้ปญั หา

(2.1) ปัญหาด้านสุขภาพ จากปัญหาท่ีเกิดข้ึนในพื้นที่ หมู่ ๓ บ้านสะพานสอง จึงเกิดการ
แก้ไขปัญหาโดยมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน โดยมี นายช้ัน หอมขจร เป็นแกนนำประจำหมู่ที่ ๓ บ้าน
สะพานสองร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพรหมนิมิต นำโดย นายพุฒิศักดิ์ โทแก้ว ร่วมกับ อสม.
คอยดูแลรักษา ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค มีกิจกรรมเฝ้าระวังด้านสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และ
มีศูนย์ฟ้ืนฟูสมรรถภาพทางกาย โดยมีกลุ่มจิตอาสาผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ให้บริการตรวจเย่ียม และมีการ
ส่งเสริมการรับประทานอาหารปลอดภัย โดยมีกลุ่มปลูกผักปลอดสาร และไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผัก เพ่ือลดปริมาณ
สารพิษตกคา้ งในร่างกาย

(2.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ จากปัญหาท่ีเกิดข้ึนในพื้นที่ หมู่ ๓ บ้านสะพาน
สอง มีการร่วมตัวกันของผู้สูงอายุต้ังเป็นชมรมผู้สูงอายุ โดยมี นายพยุง บริหาร เป็นประธานกลุ่มชมรมผู้สูงอายุ และ
นายประดิษฐ์ ความคนึง เป็นประธานกลุ่มชมรมผู้สูงอายุระดับตำบลเพ่ือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมทำบุญ
กลางบา้ น กิจกรรมจา่ ยเบ้ียผูส้ ูงอายุ ทำอาหารรับประทานร่วมกัน รำไม้พลอง เป็นตน้

(2.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและสารเสพติด จากปัญหาที่เกิดข้ึนใน
พ้ืนท่ี หมู่ 3 บ้านสะพานสอง เน่ืองจากพ้ืนท่ีมีสถานบริการประชาชน จึงเกิดกลุ่ม อส.ตร.ข้ึน โดยมีการดูแลรักษาความ
เรียบร้อยในชุมชน เข้ารว่ มรณรงคพ์ ้นื ท่ปี ลอดสารเสพตดิ และสิง่ มึนเมา

64

(2.4) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จากเศรษฐกิจในพ้ืนที่ หมู่ท่ี ๓ บ้านสะพานสอง ได้มีกลุ่มศูนย์
พันธุ์ข้าวชุมชน มีกลุ่มออมทรัพย์เป็นแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นกองทุนในการดำรงชีวิต เป็นและมี
ธนาคารหมู่บ้าน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพให้กับชาวบ้านในการประกอบอาชีพ และยังให้
คนในชมุ ชนซงึ่ สามารถนำมาฝากเงินได้ไมจ่ ำกดั วงเงนิ

1.1.4 หมทู่ ่ี 4 บ้านคลองแปด

(1) สถานการณ์ปัญหาท่ีส่งผลกระทบต่อชุมชน

(1 .1 ) ป ัญ ห าด้าน สุข ภ าพ อัน ดับ ที ่ ๑ ได้แก่ โรค ความดันโลหิ ตสูง มีจำนวน
ทั้งส้ิน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 28.14 อันดับที่ ๒ โรคเบาหวาน มีจำนวนทั้งสิ้น 41 คน คิดเป็นร้อยละ 15.58 และ
อันดับท่ี ๓ โรคปวดข้อ/ข้อเสื่อม มีจำนวนท้ังส้ิน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 11.41 เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหลักเกิดมาจากคนใน
ชุมชนขาดการบริโภคอาหารที่เหมาะสม เนื่องจากบุคคลส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมอาการและดูแลรักษาตนเองได้
อย่างถกู ตอ้ ง

(1.2) ปัญหาผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุขาดการดูช่วยเหลือ มีจำนวนทั้งส้ิน 59 คน คิดเป็นร้อย
ละ 62.76 เกิดจากคนในครอบครัวออกไปทำงานลักษณะไปเช้าเย็นกลับ ในระหว่างวันผู้สูงอายุจึงต้องอยู่บ้านเพียง
ลำพัง

(1.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและส่ิงเสพติดด้วยชุมชนเป็นเขตติดต่อกับชุมชน
เมืองมีสิ่งยั่วยุจำนวนมาก และขาดการดูแลจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ การจำหน่ายสิ่งมึนเมาและยาเสพติดยังหาซื้อ
ได้ง่าย และยังมีผู้ดื่มสุราเป็นประจำ มีจำนวนท้ังสิ้น 83 คน คิดเป็นร้อยละ 4.17

(1.4) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาในการเงินลงทุนในการประกอบอาชีพ แต่
รายได้ไม่เพียงพอต่อการลงทุน เน่ืองจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้ประชาชนในชุมชนไม่มีเงินมาใช้หน้ี จึง
ทำให้เป็นภาระหน้ีสินค้างอยู่อย่างต่อเน่ือง ต้องพยายามหมุนเงินโดยการกู้เงินจากที่อื่น เพื่อให้พอกับรายจ่ายซึ่งเป็นสิ่ง
ที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะยิ่งทำให้ระบบการเงินแย่ลง และจะกลายเป็นคนท่ีมีหน้ีสินมากข้ึนเร่ือย ๆ ซ่ึงนอกจากน้ีคน
ในชุมชนขาดต้นทุนในการประกอบอาชีพ ทำให้คนในชุมชนเป็นหนี้สิน จำนวน 119 ครัวเรือน คิดเป็นร้อย
ละ 47.41

(2) แนวทางการแกป้ ัญหา

(2.1) ปัญหาด้านสุขภาพ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หมู่ 4 บ้านคลองแปด จึงเกิดการ
แก้ไขปัญหา โดยมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน โดยมี นายบุญเรือง กาบทอง แกนนำประจำหมู่
ที่ ๔ บ้านคลองแปด ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพรหมนิมิต นำโดย นายพุฒิศักด์ิ โทแก้ว ร่วมกับ
อสม.คอยดแู ลสิทธิประโยชน์ด้านหลักประกันสขุ ภาพและสาธารณสขุ ของประชาชนในหมบู่ า้ น

(2.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในพ้ืนที่ หมู่ท่ี ๔ บ้านคลอง
แปด ผู้สูงอายุในปัจจุบันมีอัตราส่วนเพ่ิมขึ้นอย่างรวดเร็ว และคนในครอบครัวออกไปทำงานลักษณะเช้าไปเย็นกลับ ใน
ระหว่างวันผู้สูงอายุจึงต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง จึงมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุข้ึน เพ่ือดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพร่างการที่
แข็งแรง ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ร่วมถึงเป็นศูนย์รวมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ลดภาวะความตึงเครียดของ

65

ผู้สูงอายุ และยังสามารถเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของผู้สูงอายุไว้เพ่ือสืบทอดให้สู่คนรุ่น โดยมี นายบวรนันท์ เนตร
น้อย เป็นประธานกลุ่มคอยขับเคลื่อนงาน และมี นายประดิษฐ์ ความคนึง เป็นประธานระดับตำบลผู้ประสานงาน
กิจกรรมผู้สูงอายุ ในหมู่ที่4 บ้านคลองแปดเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมทำบุญกลางบ้าน กิจกรรมจ่ายเบ้ียยัง
ชีพผสู้ ูงอายุ กิจกรรมทำอาหารรับประทานร่วมกัน รำไม้พลอง เป็นตน้

(2.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและสารเสพติด จากปัญหาที่เกิดข้ึนในพื้นท่ี หมู่
ท่ี ๔ บ้านคลองแปด เนื่องจากในพื้นท่ีมีสถานบริการประชาชน จึงเกิดกลุ่ม อส.ตร.ข้ึน โดยมีการดูแลรักษาความ
เรียบร้อยในชุมชน เข้าร่วมรณรงค์พ้ืนท่ีปลอดสารเสพติดและส่ิงมึนเมา

(2.4) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หมู่ที่ ๔ บ้านคลองแปด จากการ
สำรวจ (ข้อมูล TCNAP ปี 2563) ทราบข้อมูลประชากรมีปัญหาเรื่องการมีภาระหนี้สินในการประกอบอาชีพ มี
จำนวนทั้งสิ้น 119 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 47.41 และมีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ โดยมี
สาเหตุจากการทำการเกษตรที่มีต้ทุนในการผลิตสูง ผลผลิตตกต่ำทำให้เกษตรกรขาดทุน ไม่มีเงินมาชำระหนี้และ
รายได้ที่มีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในยุคค่าครองชีพสูงเช่นปัจจุบัน จึงไดด้มีแนวคิดในการแก้ไขปัญหา คือ จัดตั้ง
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อให้สมาชิกมีเงินเก็บออม และเป็นการระดมเงินทุนหมุนเวียน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนใน
หมู่บ้านตนเอง

1.1.5 หมทู่ ี่ 5 บ้านหนองโนน

(1) สถานการณ์ปัญหาท่ีส่งผลกระทบต่อชุมชน

(1.1) ปัญหาด้านสุขภาพ จากระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) พบว่า มีผู้ป่วยโรคเร้ือรัง อันดับ
ท่ี ๑ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนทั้งสิ้น 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.71 อันดับที่ ๒ โรคปวดข้อ ข้อเสื่อม มี
จำนวนท้ังส้ิน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 14.29 และอันดับที่ ๓ โรคเบาหวาน มีจำนวนท้ังสิ้น 6 คน คิดเป็น
ร้อยละ 8.57 ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากคนในชุมชนขาดการบริโภคอาหารท่ีเหมาะสม เน่ืองจากบุคคลส่วนใหญ่ไม่
สามารถควบคุมอาหาร และดูแลรักษาตนเองไดอ้ ย่างถูกต้อง

(1.2) ปัญ หาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ พบว่า ผู้สูงอายุอยู่บ้านเพียงลำพัง
จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 63.88

(1.3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านการเงินในการลงทุนเพ่ือ
ประกอบอาชีพ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อการลงทุน ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้ประชาชนในชุมชนไม่มี
เงินมาใช้หน้ี จึงทำให้เป็นภาระหนี้สินค้างอยู่อย่างต่อเน่ือง ต้องพยายามหมุนเวียนเงิน โดยการกู้ยืมจากแหล่งอื่น เพ่ือให้
เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้ระบบการเงินแย่ลง และจะกลายเป็นคนที่มีหนี้สินมากขึ้นเร่ือย ๆ นอกจากนี้ คนในชุมชนขาด
ตน้ ทนุ ในการ ประกอบอาชีพ มีหนี้สิน จำนวน 38 ครวั เรอื น คิดเปน็ ร้อยละ 62.29

(1.4) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและส่ิงเสพติดในชุมชน พบว่า มีผู้ดื่มสุราเป็นประจำ
จำนวนทั้งสิ้น 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.03 นอกจากนี้ การจำหน่ายสิ่งมึนเมา และยาเสพติด ยังหาซ้ือได้ง่ายใน
ชมุ ชน

66

(2) แนวทางการแก้ปัญหา

(2.1) ปัญหาด้านสุขภาพ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หมู่ 5 บ้านหนองโนน ได้โดย
มอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขนางถุงเงิน แสงหิรัณ แกนนำประจำหมู่ที่ ๕ บ้านหนองโนน ร่วมกับโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพรหมนิมิต นำโดย นายพุฒิศักด์ิ โทแก้ว รวมกับ อสม. ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม
และป้องกันโรค โดยให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนใน
เรื่องตา่ ง ๆ เก่ยี วกับการสร้างเสริมสุขภาพ

(2.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ พบว่า ปัญหาที่เกิดข้ึนในพ้ืนที่หมู่ที่ ๕ บ้าน
หนองโนน ผู้สูงอายุในปัจจุบันกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีจำนวน 21 คน และคนในครอบครัวออกไปทำงาน
ลักษณะเช้าไปเย็นกลับ ในระหว่างวันผู้สูงอายุจึงต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง จึงมีการจัดต้ังชมรมผู้สูงอายุข้ึน เพื่อดูแล
ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพร่างการที่แข็งแรง ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ร่วมถึงเป็นศูนย์รวมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรม
ร่วมกัน ลดภาวะความตึงเครียดของผู้สูงอายุ และยังสามารถเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของผู้สูงอายุไว้เพ่ือสืบทอดให้
สู่คนรุ่นหลัง โดยมี นายณรงค์ คมขำ เป็นประธานกลุ่มคอยขับเคล่ือนงาน และมี นายประดษิ ฐ์ ความคนงึ เป็นประธาน
ผู้สูงอายุระดับตำบลผู้ประสานงานกิจกรรมผู้สูงอายุในหมู่ที่ ๕ บ้านหนองโนน เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรม
ทำบญุ กลางบา้ น กจิ กรรมจา่ ยเบย้ี ผู้สูงอายุ ทำอาหารรับประทานรว่ มกนั รำไมพ้ ลอง เปน็ ตน้

(2.3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า จากปัญหาท่ีเกิดข้ึนในพื้นท่ี หมู่ 5 บ้านหนองโนน
ประชากรมีปัญหา เรื่องหน้ีสินจากการประกอบอาชีพ จำนวน 38 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 62.29 ขาดแหล่งเงินทุน
หมุนเวียนในการประกอบอาชีพ ภาระหน้ีสินต่อเน่ืองเพราะการทำการเกษตรขาดทุน จึงไม่มีเงินมาใช้หน้ี และไม่มีเงินมาใช้
จ่ายในครอบครัว จึงได้จดั ต้ังกลมุ่ ออมทรัพย์ เพ่อื ใหส้ มาชิกมีเงนิ เก็บออม และเป็นทนุ หมนุ เวียนให้กบั ผู้ที่เดือดรอ้ น

(2.4) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและสารเสพติด พบว่า หมู่ท่ี ๕ บ้านหนองโนน เป็น
ชุมชนที่มีความเสี่ยงทางด้านส่ิงเสพติด และส่ิงมึนเมา พ้ืนที่เป็นเขตติดต่อกับหมู่บ้านอ่ืน ทำให้มีการควบคุมดูแล
ยาก หม่ทู ่ี 5 บ้านหนองโนน จงึ จดั ตง้ั กล่มุ อปพร. และ อส.ตร.ข้ึน เพือ่ ดแู ลรักษาความเรียบร้อยในชุมชน

1.1.6 หมู่ที่ 6 บ้านหนองหญา้ รงั กา

(1) สถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน

(1 .1 ) ป ัญ ห าด ้าน ส ุข ภ าพ พ บ ว่า อัน ดับ ที ่ ๑ ได้แก่ โรค ความดัน โลหิ ตสูง มี
จำนวน 104 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 31.42 อันดับที่ ๒ โรคเบาหวาน มจี ำนวน 53 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 16.01 และอันดับ
ท่ี ๓ โรคภูมิแพ้ มีจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 6.65 เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหลักเกิดมาจากคนในชุมชนขาดการบริโภค
อาหารทีเ่ หมาะสม เน่ืองจากบุคคลส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมอาการและดูแลรักษาตนเองได้อย่างถูกต้อง

(1.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ พบว่า มีผู้สูงอายุที่มีความต้องการได้รับความ
ช่วยเหลืดูแล จำนวน 114 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.07 มีความวิตกกังวล โกรธง่าย กลัวถูกครอบครัวและสังคม
ทอดทิ้ง ผู้สูงอายุคิดว่าไม่มีคนสนใจ ตนเองไม่มีความสำคัญก็จะปฏิเสธการช่วยเหลือจากทุกคน พฤติกรรมท่ีชัดเจน
ได้แก่ หงุดหงิดง่าย ไม่สนใจการกระทำของบุคคลรอบข้าง ขี้โมโหจู้จ้ี ข้ีบ่น เพราะในระหว่างวันผู้สูงอายุจึงต้องอยู่บ้าน
เพียงลำพัง (ข้อมูลจากการสำรวจ TCNAP ปี 2563)

67

(1.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาสิ่งมึนเมาและสิ่งเสพติด พบว่า ด้วยชุมชนเป็นเขตติดต่อกับ
ชุมชนเมืองมีสิ่งยั่วยุ มีจำนวนท้ังสิ้น 141 คน คิดเป็นร้อยละ 7.21 เนื่องจาก การจำหน่ายส่ิงมึนเมาและยาเสพติดยัง
หาซอ้ื ไดง้ าย เน่ืองจากผ้ขู ายไมท่ ำตามกำหนดกฎเกณฑ์บ้านเมือง

(1.4) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนในชุมชนขาดต้นทุนในการประกอบอาชีพจึง
ทำให้เป็นหนี้สิน จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 67.15 ทำให้ประชาชนในชุมชนต้องแสวงหาแหล่งเงินทุนกู้ยืม แต่
รายได้ท่ีได้มาไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จึงเป็นสาเหตุการมีหนี้สินต่อเนื่อง ทำให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยน
อาชีพเพ่ือหารายได้ท่ีเพ่ิมขึ้น นำมาใชจ้ า่ ยหน้สี นิ ครอบครัวจงึ ขาดแรงงานในครวั เรือน

(2) แนวทางการแกป้ ญั หา

(2.1) ปัญหาด้านสุขภาพ แกนนำและกลุ่ม อสม.นำโดย นายไพรฑูลย์ คำสุนทร หมู่ที่ 6
ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพรหมนิมิต นำโดย นายพุฒิศักดิ์ โทแก้ว พร้อมกับ อสม.หมู่ท่ี 6
ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำด้านสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้าง
เสริมสุขภาพ โดยมีกลุ่มจิตอาสาช่วยผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียงให้บริการตรวจเยี่ยม และมีการส่งเสริมการ
รับประทานอาหารปลอดภัย เพือ่ ลดปรมิ าณสารพษิ ตกคา้ งในรา่ งกาย

(2.2) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ จึงมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุข้ึน เพื่อดูแล
ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพร่างการที่แข็งแรง ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ร่วมถึงเป็นศูนย์รวมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรม
ร่วมกัน ลดภาวะความตึงเครียดของผู้สูงอายุและยังสามารถเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของผู้สูงอายุไว้เพ่ือสืบทอดให้
สู่คนรุ่นหลัง โดยมี นายสัน ไชยสิทธ์สร้อย เป็นประธานกลุ่มผู้สูงอายุ คอยขับเคลื่อนงาน และมีประธานผู้สูงอายุประจำ
ตำบล คือ นายประดิษฐ ความคนึง เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมผู้สูงอายุ ในหมู่ท่ี 6 บ้านหนองหญ้ารังกา เข้าร่วม
กิจกรรมต่าง ๆ เช่น กจิ กรรมทำบุญกลางบา้ น จ่ายเบย้ี ผสู้ งู อายุ ทำอาหารรับประทานรว่ มกัน รำไม้พลอง เป็นตน้

(2.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาสิ่งมึนเมาและสารเสพติด เนื่องจากหมู่ท่ี 6 บ้านหนองหญ้า
เป็นชุมชนที่มีความเส่ียงทางด้านสิ่งเสพติดและสิ่งมึนเมา พ้ืนที่เป็นเขตติดต่อกับหมู่บ้านอื่นทำให้มีการควบคุมดูแลยาก
หมูท่ ี่ 6 บา้ นหนองหญา้ รังกา จงึ จัดตั้งกล่มุ อปพร. และ อส.ตร.ขึน้ เพอื่ ดูแลรกั ษาความเรยี บร้อยในชุมชน

(2.4) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ชุมชนมีการรวมกลุ่มกัน ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพ่ือการผลิต โดย
มีการระดมทุนกันในชุมชน และปล่อยกู้ให้กับคนในชุมชนได้นำไปประกอบอาชีพ และยังมีกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน ซ่ึงเป็น
ทุนหมนุ เวยี นใหก้ บั ประชาชนทน่ี ำเงนิ ไปประกอบอาชพี ได้

1.1.7 หมูท่ ี่ 7 บา้ นโพธคิ์ อย

(1) สถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน

(1 .1 ) ป ัญ ห าด ้าน ส ุข ภ าพ พ บ ว่า อัน ดับ ที ่ ๑ ได้แก่ โรค ความดั น โลหิ ตสูงมี
จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 24.47 อันดับที่ ๒ โรคปวดข้อ/ข้อเส่ือม มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 18.09 และ
อันดับที่ ๓ โรคเบาหวาน มีจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 14.89 เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหลักเกิดมาจากคนในชุมชน ขาด
การบรโิ ภคอาหารที่เหมาะสม เนื่องจากบุคคลส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมอาหาร และดูแลรักษาตนเองได้อย่างถกู ตอ้ ง

(1.2) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า คนในชุมชนขาดต้นทุนในการประกอบอาชีพ จึงทำให้

68

เป็นหน้ีสิน จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ทำให้คนในชุมชนหาแหล่งเงินทุนกู้ยืม แต่รายได้ท่ีได้มาไม่เพียงพอ
กับค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จึงเป็นสาเหตุการมีหน้ีสินอย่างต่อเน่ือง คนในชุมชนจึงมีแนวคิดในการปรับเปล่ียนอาชีพเพ่ือ
หารายได้ทีเ่ พ่มิ ข้นึ นำมาใช้จา่ ยหน้ีสนิ ครอบครัว จึงขาดแรงงานในครัวเรอื น

(1.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและส่ิงเสพติด จากข้อมูลพื้นฐานตำบล (TCNAP)
พบว่า ชุมชนเป็นเขตติดต่อกับชุมชนเมือง สาเหตุของปัญหามาจากส่ิงย่ัวยุ มีจำนวนท้ังสิ้น 34 คน คิดเป็นร้อยละ
3.94 เนื่องจาก การจำหน่ายสิ่งมึนเมาและยาเสพติดยังหาซ้ือได้ง่าย เน่ืองจากผู้ขายไม่ทำตามกำหนดกฎเกณฑ์
บ้านเมอื ง

(1.4) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ พบว่า มีผู้สูงอายุ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อย
ละ 47.36 ท่ีระหว่างวันต้องอยบู่ ้านเพยี งลำพงั

(2) แนวทางการแกป้ ัญหา

(2.1) ปัญหาด้านสุขภาพ เกิดการแก้ไขปัญหาโดยมอบหมายให้ประธานกลุ่ม อสม. ประจำ
หมู่ที่ 7 บ้านโพธิ์คอย นางศันสนี ผายสุย ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพรหมนิมิต นำโดย นายพุฒิ
ศักดิ์ โทแก้ว โดยมีโรงพยาบาลตาคลี ให้การสนับสนุนด้านวิชาการและการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม
และป้องกันโรค เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน เช่น การ
รักษาพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลเบ้ืองต้น การตรวจวัดความดันโลหิต การส่งต่อผู้ป่วย และการติดตามดูแล
ผูป้ ว่ ย ทไี่ ดร้ บั การสง่ ต่อมาจากสถานบรกิ าร จัดกิจกรรมเฝา้ ระวงั และป้องกนั ปญั หาสาธารณสุขในหมู่บา้ น

(2.2) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มกัน ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยมี
การระดมทุนกันในชุมชน และปล่อยกู้ให้กับคนในชุมชนได้นำไปประกอบอาชีพ และยังมีกลุ่มกองทุนหมู่บ้านซ่ึงเป็นทุน
หมุนเวียนให้กบั ประชาชนทนี่ ำเงินไปประกอบอาชพี ได้

(2.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและสารเสพติด เนื่องจากหมู่ที่ 7 บ้านโพธิ์คอย เป็น
ชุมชนท่ีมีความเสี่ยงทางด้านสิ่งเสพติดและส่ิงมึนเมา พ้ืนที่เป็นเขตติดต่อกับหมู่บ้านอื่นทำให้มีการควบคุมดูแลยาก หมู่
7 บ้านหนองโพธค์ิ อย จงึ จัดต้ังกลุม่ อปพร. และ อส.ตร.ขึน้ เพือ่ ดแู ลรักษาความเรียบรอ้ ยในชุมชน

(2.4) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ มีการร่วมตัวกันของผู้สูงอายุตั้งเป็นชมรม
ผู้สูงอายุ มีการจัดการกิจกรรม เช่นกิจกรรมทำบุญกลางบ้าน กิจกรรมประชุมประจำเดือน โดยมีประธานผู้สูงอายุ นาย
โกมิน ธรรมธรมี เป็นประธานกลุ่มและเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ คอยติดต่อประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การทำกิจกรรม
ผู้สูงอายุในชุมชน และประสานงานระหว่างประธานตำบล คือ นายประดิษฐ์ ความคะนึง เพ่ือร่วมกันทำกิจกรรมใน
ตำบล

1.1.8 หมทู่ ี่ 8 บ้านกกกว้าว

(1) สถานการณ์ปัญหาท่ีส่งผลกระทบต่อชุมชน

(1.1) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า คนในชุมชนขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ ทำให้คน
ในชุมชนหาแหล่งเงินทุนกู้ยืม แต่ทั้งนี้รายได้ที่ได้มาไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จึงเป็นสาเหตุการมีหนี้สิน
ต่อเน่ือง จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 46.1

69

(1.2) ปัญหาด้านสุขภาพ พบว่า อันดับท่ี ๑ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 86 คน
คิดเป็นร้อยละ 39.27 อันดับท่ี ๒ โรคเบาหวาน มีจำนวนทั้งส้ิน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 13.24 และอันดับท่ี ๓ โรค
ปวดข้อ/ข้อเส่ือม มีจำนวนทั้งส้ิน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 8.68 เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหลักเกิดมาจากคนในชุมชนขาดการ
บริโภคอาหารทีเ่ หมาะสม เน่ืองจากบคุ คลสว่ นใหญ่ไมส่ ามารถควบคมุ อาหารและดแู ลรักษาตนเองได้อยา่ งถกู ตอ้ ง

(1.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและส่ิงเสพติด พบว่า ด้วยชุมชนเป็นเขตติดต่อกับ
ชุมชนเมืองมีส่ิงย่ัวยุ มีจำนวนท้ังส้ิน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 5.98 เนื่องจาก การจำหน่ายส่ิงมึนเมาและยาเสพติดยัง
หาซื้อได้ง่าย เนอ่ื งจากผ้ขู ายไม่ทำตามกำหนดกฎเกณฑบ์ า้ นเมอื ง

(1.4) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ พบว่า มีผู้สูงอายุ จำนวน 113 คน คิดเป็นร้อย
ละ 68.9 ในระหว่างวันตอ้ งอยบู่ า้ นเพียงลำพงั

(2) แนวทางการแกป้ ญั หา

(2.1) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันในชุมชนเพ่ือสร้างกลุ่มอาชีพให้กับคนใน
ชุมชน โดยมี นางนุจรี คำโสภา เป็นแกนนำกลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มนวดลูกประคบสมุนไพร และกลุ่มทอผ้าพ้ืนเมือง มี นาย
ประจวบ น้ำเพชร เป็นแกนนำกลุ่ม มีการส่งชาวบ้านเข้าอบรมเพ่ือพัฒนาอาชีพอย่างสม่ำเสมอ และมีการส่งเสริมให้ทำตาราง
รายรับรายจ่ายประจำเดือนว่าเงินเดือนพอใช้หรือไม่ ตลอดเดือนต้องใช้อะไรบ้าง เช่น มีค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่า
เดินทาง ค่าอาหาร ค่าผ่อนชำระหน้ีสินต่าง ๆ เม่ือทำเสร็จแล้วก็ดูว่า ท้ังเดือนใช้เท่าไหร่ เหลือเก็บออมหรือไม่ ติดลบ
หรือไม่ ร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาหน้ีสินให้หมดไป และยังมีกลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพ เพ่ือลดรายจ่ายในการทำการเกษตร และ
ประชาชนยงั มอี าหารปลอดภัยไว้บรโิ ภค

(2.2) ปัญหาด้านสุขภาพ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านกกกว้าว จึงมีแกน
นำ อสม. คือ นางนุจรี คำโสภา ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพรหมนิมิต นำโดย นายพุฒิศักดิ์ โท
แก้ว จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่ง
น้ำหนักเด็ก การติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้เข้ารับการฝากครรภ์และตรวจครรภ์ตามกำหนด ให้บริการชั่งน้ำหนักหญิงมี
ครรภ์เป็นประจำทุกเดือน ตดิ ตามเดก็ อายตุ ำ่ กว่า 5 ปี และตรวจสุขภาพตามกำหนด กิจกรรมเฝ้าระวังด้านสร้างเสริม
ภูมิคุ้มกันโรค โดยการติดตามให้มารดานำเด็กไปรับวัคซีนตามกำหนด โดยมีกลุ่มจิตอาสาผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติด
เตียง ให้บริการตรวจเยี่ยมและมีการส่งเสริมการรับประทานอาหารปลอดภัยโดย เพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้างใน
รา่ งกาย

(2.3) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและสารเสพติด เนื่องจากหมู่ท่ี 8 บ้านกกกว้าว
เป็นชุมชนท่ีมีความเส่ียงทางด้านส่ิงเสพติดและสิ่งมึนเมา พ้ืนที่เป็นเขตติดต่อกับหมู่บ้านอ่ืนทำให้มีการควบคุมดูแล
ยาก หมู่ที่ 8 บา้ นกกกว้าว จงึ จดั ตงั้ กลุ่ม อปพร. และ อส.ตร.ข้ึน เพ่อื ดูแลรักษาความเรยี บร้อยในชุมชน

(2.4) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ มีการร่วมตัวกันของผู้สูงอายุตั้งเป็นชมรม
ผู้สูงอายุ มีการจัดการกิจกรรม เช่น กิจกรรมทำบุญกลางบ้าน กิจกรรมประชุมประจำเดือน โดยมีประธานผู้สูงอายุ คือ
นายโชติ เหมือนนิล เป็นประธานกลุ่มและเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ คอยติดต่อประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การทำ
กิจกรรมผู้สูงอายุในชุมชน และประสานงานระหว่างประธานตำบล คือ นายประดิษฐ์ ความคนึง เพื่อร่วมกันทำกิจกรรม
ในตำบล

70

1.1.9 หมทู่ ่ี 9 บ้านหนองไก่หล่อ

(1) สถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบตอ่ ชุมชน

(1.1) ปัญหาด้านสุขภาพ พบว่า อันดับท่ี ๑ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 54 คน
คิดเป็นร้อยละ 28.42อั นดับที่ ๒ โรคปวดข้อ/ข้อเสื่อม มีจำนวน มีจำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 19.47 และอันดับ
ท่ี ๓ โรคเบาหวาน มีจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 13.16 เป็นต้น ซ่ึงสาเหตุหลักเกิดมาจากคนในชุมชนขาดการ
บรโิ ภคอาหารท่เี หมาะสม เนอื่ งจากบุคคลสว่ นใหญไ่ มส่ ามารถควบคุมอาหาร และดแู ลรกั ษาตนเองไดอ้ ยา่ งถูกต้อง

(1.2) ปัญหาด้านสังคม พบว่า ปัญหาสิ่งมึนเมาและสิ่งเสพติดด้วยชุมชนเป็นเขตติดต่อกับ
ชุมชนเมืองมีสิ่งยั่วยุและดื่มสุรา จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 27.92 ขาดการดูแลจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ การ
จำหน่ายสงิ่ มนึ เมาและยาเสพตดิ ยงั หาซ้อื ไดง้ า่ ย

(1.3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นปัญหาในการเงินลงทุนในการประกอบ
อาชีพแต่รายได้ไม่เพียงพอต่อการลงทุนเน่ือราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทำให้ประชาชนในชุมชนไม่มีเงินมาใช้หน้ีจึง
ทำให้เป็นภาระหนี้สินค้างอยู่อย่างต่อเนื่อง ต้องพยายามหมุนเงิน โดยการกู้เงินจากที่อื่น เพื่อให้พอกับรายจ่ายซึ่งเป็นสิ่ง
ท่ีไม่ควรทำอย่างยิ่งเพราะมันย่ิงทำให้ระบบการเงินแย่ลง และจะกลายเป็นคนท่ีมีหน้ีสินมากข้ึน มากขึ้นเรื่อย ๆ ซ่ึง
นอกจากนี้ คนในชุมชนขาดต้นทุนในการประกอบอาชพี ทำให้คนในชุมชนเป็นหนี้สนิ 57 ครัวเรือน คิดเปน็ ร้อยละ 52.77

(1.4) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูช่วยเหลือ พบว่า จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 67.08
เกิดจากคนในครอบครัวออกไปทำงานลกั ษณะไปเชา้ เย็นกลบั ในระหวา่ งวนั ผสู้ ูงอายจุ งึ ต้องอยบู่ า้ นเพยี งลำพัง

(2) แนวทางการแกป้ ญั หา

(2.1) ปัญหาด้านสุขภาพ จากปัญหาท่ีเกิดข้ึนในพ้ืนท่ี หมู่ 9 บ้านหนองไก่หล่อ จึงเกิดการ
แก้ไขปัญหาโดยมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน คือ นายโม หวานทอง แกนนำประจำหมู่ท่ี 9 บ้านหนองไก่
หล่อ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพรหมนิมิต นำโดย นายพุฒิศักด์ิ โทแก้ว ร่วมกับ อสม. คอยดูแล
สทิ ธปิ ระโยชนด์ า้ นหลกั ประกันสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บา้ น

(2.2) ปัญหาด้านสังคม ปัญหาส่ิงมึนเมาและสารเสพติด จากปัญหาท่ีเกิดขึ้นใน
พื้นท่ี หมู่ 9 บ้านหนองไก่หล่อ เน่ืองจากในพื้นที่มีสถานบริการประชาชน จึงเกิดกลุ่ม อส.ตร.ข้ึน โดยมีการดูแลรักษา
ความเรยี บร้อยในชมุ ชน และร่วมรณรงค์พื้นทปี่ ลอดสารเสพติดและส่ิงมึนเมา

(2.3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จากปัญหาท่ีเกิดขึ้นในพื้นท่ี หมู่ 9 บ้านหนองไก่หล่อ พบว่า
ประชากรมีปัญหาเร่ืองการเป็นหน้ีจากการประกอบอาชีพ จำนวน 57 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 52.77 มีแหล่งเงินทุน
หมุนเวียนในการประกอบอาชีพที่เป็นภาระหนี้สินค้าง เน่ืองจากการทำการเกษตรขาดทุน จึงไม่มีเงินมาใช้หนี้และไม่มี
เงินมาใช้จ่ายในครอบครัว จึงได้จัดต้ังกลุ่มออมทรัพย์ เพ่ือให้สมาชิกมีเงินเก็บออม และเป็นทุนหมุนเวียนให้กับผู้ท่ี
เดือดรอ้ น

(2.4) ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลช่วยเหลือ จากปัญหาท่ีเกิดข้ึนในพื้นที่หมู่ 9 บ้านหนอง
ไก่หล่อ ผู้สูงอายุในปัจจุบันกำลังเพ่ิมสัดส่วนขึ้นอย่างรวดเร็ว และคนในครอบครัวออกไปทำงานลักษณะไปเช้าเย็น
กลับ ในระหว่างวันผู้สูงอายุจึงต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง จึงมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้น เพื่อดูแลผู้สูงอายุให้แข็งแรงทั้ง

71

สภาพร่างกายและจิตใจ ร่วมถึงเป็นศูนย์รวมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ลดภาวะความตึงเครียดของผู้สูงอายุ และ
ยังสามารถเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของผู้สูงอายุไว้เพ่ือสืบทอดให้สู่คนรุ่นหลัง โดยมี นายประดิษฐ์ ความคนึง เป็น
ประธานกลุ่มฯคอยขับเคลื่อนงานและเป็นประธานระดับตำบลผู้ประสานงานกิจกรรมผู้สูงอายุในหมู่ที่ 9 บ้านหนองไก่
หล่อ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมทำบุญกลางบ้าน กิจกรรมจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การทำอาหารรับประทาน
ร่วมกนั และรำไม้พลอง เปน็ ตน้

1.2 สถานการณป์ ัญหาและการจดั การปัญหาของพน้ื ที่ ระดบั ตำบล

สถานการณ์ปัญหาของชุมชน พบว่า ชุมชนในตำบลพรหมนิมิตมีปัญหาของพื้นท่ีระดับตำบล ได้แก่ (1) ปัญหา
ด้านสังคม (2) ปัญหาสุขภาพ (3) ปัญหาเศรษฐกิจ (4) ปัญหาผู้สูงอายุ และ (5) ปัญหาด้านสภาวะแวดล้อม โดยแต่ละ
สถานการณ์ปัญหามกี ารกำหนดแนวทาง วธิ กี ารสรา้ งเป้าหมาย ดังนี้

1.2.1 สถานการณป์ ญั หาที่ 1 ปัญหาด้านสังคม

สังคมของตำบลพรหมนิมิต มีการเบี่ยงเบนความสัมพันธ์ไปจากเดิม และสถาบันทางสังคมก็ทำหน้าท่ี
ไม่ครบสมบูรณ์ ครอบครัวท่ีเคยเข้มแข็ง กลับอ่อนแอแตกแยก ชุมชนหมู่บ้านท่ีเคยเข้มแข็งก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ส่ิง
เหล่าน้ีเป็นปัจจัยพ้ืนฐานที่ทำให้เกิดปัญหาสังคม ได้แก่ ปัญหาครอบครัวขนาดเล็กปัญหาส่ิงมึนเมาและสารเสพติด ซ่ึง
เป็นปัญหาที่ท้ัง 9หมู่บ้านในตำบลพรหมนิมิต จากระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) พบว่า มีผู้ด่ืมสุรา จำนวน 652 คน คิด
เป็นร้อยละ 5.66 ของจำนวนประชากรทั้งตำบล ชุมชนเห็นความสำคัญและต้องการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เนื่องจาก
ปัญหาน้ี ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนงาน และการพัฒนาต่อยอด ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรม
โครงการเพ่ือแก้ไขปัญหายาเสพติด และการส่งเสริมการมีอาชีพให้กับชุมชน อาทิ โครงการอบรมอาชีพให้กับผู้ที่ติดยา
เสพติด เช่น ทำเตายาง เคร่ืองกรองน้ำ เพ่ือเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้ที่ผ่านการบำบัด และยังจัดกิจกรรม
ต่อตา้ นยาเสพติดให้กับเดก็ และเยาวชน เป็นต้น

1.2.2 สถานการณ์ปัญหาที่ 2 ปัญหาดา้ นสขุ ภาพ

ปัญหาสุขภาพและสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชาชนในตำบลพรหมนิมิต มาจากโรคหรือ
สาเหตุท่ีเกิดจากการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม ท้ังจากการบริโภคอาหารท่ีไม่ปลอดภัย ขาดการออกกำลังกาย การสูบ
บุหรี่ การด่ืมแอลกอฮอล์ ร่วมกับความเส่ือมของร่างกาย จากระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และข้อมูลภาวะการเจ็บป่วย
ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลพรหมนิมิต พบว่า ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน 930 คน คิดเป็นร้อยละ 56.81
ของจำนวนประชากรทั้งหมดในตำบลพรหมนิมิต ซึ่งโรคเรื้อรังที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง
จำนวน 481 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.38 และโรคเบาหวาน จำนวน 245 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.97 ปัญหาเหล่านี้
ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนงานและการพัฒนาต่อยอดด้านการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีบริการสาธารณสุขใหท้ ั่วถึง
และเป็นมาตรฐาน อาทิ โครงการอาหารเพื่อสุขภาพ และรณรงค์การออกกำลังกาย และยังจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ
เช่น การรำไมพ้ ลอง

1.2.3 สถานการณป์ ัญหาท่ี 3 ปญั หาเศรษฐกจิ และหนีส้ นิ

เนื่องจากประชาชนในตำบลมีอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนมากและราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
จึงทำให้เป็นหน้ีสินเพิ่มข้ึนและยังค่าครองชีพสูงข้ึน ซึ่งเป็นสาเหตุของความเครียดของคนในตำบลพรหมนิมิต โดย
หนี้สินของประชาชนในตำบลเกิดจากสาเหตุหลัก ได้แก่ (1) การประกอบอาชีพ การลงทุน (2) การใช้จ่ายด้านอาหาร

72

ในครัวเรือน (3) การศึกษาบุตร และจากระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) พบว่า หนี้สินอันดับแรก มาจากการประกอบ
อาชีพ ร้อยละ 29.88 การใช้จ่ายด้านอาหาร ร้อยละ 18.03 และการศึกษาบุตร ร้อยละ 12.59 ซ่ึงเป็นปัญหาท่ี
ท้ัง 9 หมู่บ้าน ตระหนักถึงความสาคัญ และต้องการแก้ไขเร่งด่วน เน่ืองจากปัญหาน้ี ส่งผลกระทบต่อการขับเคล่ือน
งาน และการพัฒนาต่อยอด ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุน การจัดกิจกรรมโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
อาทิ โครงการลดต้นทุนในการผลิตในทำการเกษตร เช่น ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด เพื่อ
ช่วยในการลดต้นทุน และยังมีอาหารปลอดภัยไว้บริโภค และส่งเสริมกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน เช่น กลุ่มปลูกมะนาว กลุ่มทำ
ปลาสม้ กลมุ่ นำ้ พริก กล่มุ กระเปา๋ ควลิ ท์ เป็นต้น เพือ่ ให้ประชาชนมอี าชีพเสริม สรา้ งรายได้

1.2.4 สถานการณ์ปญั หาที่ 4 ปญั หาการดแู ลผ้สู งู อายุ

ตำบลพรหมนิมิตมีผู้สูงอายุ จำนวน 491 ราย คิดเป็นร้อยละ 62.70 ของประชากรทั้งหมดใน
ตำบล ซ่ึงผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการได้รับความรู้ เพ่ือการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับวัยและสังคมที่
เปล่ียนแปลง ผู้สูงอายุไม่ได้รับความเอาใจใส่ และความอบอุ่นจากลูกหลานทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง และอาจจะมี
ความวิตกกังวล และที่สำคัญผู้สูงอายุ มีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่าง ๆ เบียดเบียน ท้ังโรคทางกาย และ
ทางสมอง ซ่ึงปัญหาดังกล่าว ทั้ง 9 หมู่บ้าน ในตำบลพรหมนิมิต ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และต้องการแก้ไข
เร่งด่วน เนื่องจากปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนงานและการพัฒนาต่อยอด จึงส่งเสริมและผลักดันให้ทุก
หมู่บ้านมีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุ และการจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือน อาทิ โครงการออกกำลังกายร่วมกัน ทำอาหารเพ่ือ
สขุ ภาพทานรว่ มกัน และยังมกี ารรว่ มกลุ่ม ทำจักสานงานไม้ไผ่ ทำไมก้ วาด ทำดอกไมจ้ นั ทน์ เปน็ ต้น

1.2.5 สถานการณป์ ญั หาท่ี 5 ปัญหาการจดั การสภาวะแวดลอ้ ม

ปัญหาที่สำคัญ คือ การขาดแคนน้ำสะอาดไว้อุปโภคบริโภค จำนวน 74 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อย
ละ 46.54 ซ่ึงปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ท้ัง 9 หมู่บ้านในตำบลพรหมนิมิตตระหนักถึงความสำคัญ และต้องการ
แก้ไขเร่งด่วน เนื่องจากปัญหาน้ีส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนงานและการพัฒนาต่อยอด องค์การบริหารส่วนตำบล
พรหมนิมิต เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการต่อยอดขยายเขตประปาเดิม เพ่ิมขึ้นให้พอเพียงต่อความต้องการของพี่
นอ้ งในชมุ ชน

สว่ นที่ 2 การจัดการและนำใชศ้ ักยภาพและทนุ ทางสงั คมของตำบลพรหมนิมิตในการพฒั นาพื้นท่ี

จากภาพรวมของสถานการณ์ปัญหาของชุมชน พื้นท่ีตำบลพรหมนิมิต ต้องมีการพัฒนาพื้นท่ีได้แก่ (1) ปัญหา
ด้านสังคม (2) ปัญหาสุขภาพ (3) ปัญหาเศรษฐกิจ (4) ปัญหาผู้สูงอายุ และ (5) ปัญหาด้านสภาวะแวดล้อม โดยแต่ละ
สถานการณ์ปัญหามีการกำหนดเป้าหมาย งานกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ โดยมีทุนทางสังคมที่เก่ียวข้องและการ
เสริมสรา้ งความเขม้ แขง็ ใหกบั ทุนทางสงั คม ดงั นี้

2.1 นำใช้ศกั ยภาพและทุนทางสงั คมพัฒนาสถานการณท์ ี่ 1 ด้านปญั หาสงั คม

ปัญหาหลักด้านสังคม ได้แก่ สิ่งมึนเมาและสารเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั้ง 9 หมู่บ้าน ตระหนักถึง
ความสำคัญ และต้องการแก้ไขเร่งด่วน เนื่องจากปัญหานี้ ส่งผลกระทบต่อการขับเคล่ือนงาน และการพัฒนาต่อ
ยอด ได้แก่ การส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมโครงการเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีงานและกิจกรรม
สำหรับการแก้ไขปัญหาที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ รณรงค์เกี่ยวกับปัญหาสิ่งมึนเมาและสารเสพติด และมีทุนทางสังคม

73

ท่ีเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมนิมิต สนับสนุนงบประมาณในการจัด
กิจกรรมต่าง ๆ ให้เยาวชน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ศูนย์พัฒนาครอบครัวชุมชนตำบลพรหมนิมิต จัดกิจกรรม
รณรงค์และสร้างความอบอุ่นให้ครอบครัว และร้านค้าในชุมชนซึ่งงดจำหน่ายสุรา และยาสูบซ่ึงมีส่วนในการแก้ไข
ปัญหาด้านสังคม

2.2 นำใชศ้ กั ยภาพและทนุ ทางสังคมพัฒนาสถานการณท์ ่ี 2 ด้านปัญหาสุขภาพ

จากการที่ประชาชนป่วยเป็นโรคเร้ือรัง ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั้ง 9 หมู่บ้าน ตระหนักถึงความสำคัญและ
ต้องการแก้ไข เนื่องจากปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนงานและการพัฒนาต่อยอด ได้แก่ การส่งเสริม และ
สนับสนุนให้มีบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึง และเป็นมาตรฐาน โดยมีงานและกิจกรรมสำหรับการแก้ไขปัญหาท่ีจะต้อง
ดำเนินการ ได้แก่ การให้บริการด้านสาธารณสุขท่ีทั่วถึง และการให้ความรู้ด้านสาธารณสุขกับคนในชุมชน และมีทุน
ทางสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมนิมิต สนับสนุนงบประมาณใน
การพัฒนาระบบสุขภาพตำบลพรหมนิมิต รพ.สต.พรหมนิมิต กลุ่มจิตอาสาเพื่อสุขภาพ ให้ความรู้และ
คำปรึกษา ตลอดจนการป้องกัน รักษา ดูแล และฟื้นฟูสุขภาพของประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย กองทุนส่งแสริม
สุขภาพตำบลพรหมนิมิต สนับสนุนงบประมาณในการดูแลสุขภาพของชุมชน มีส่วนในการเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน
สุขภาพของประชาชนในตำบลพรหมนิมิต มีหน่วยงานภายนอก ได้แก่ โรงพยาบาลตาคลี เป็นแม่ข่ายในการดูแลรักษา
สขุ ภาพของคนในชุมชน

2.3 นำใช้ศักยภาพและทุนทางสังคมพัฒนาสถานการณ์ท่ี 3 ด้านเศรษฐกิจ

ปัญหาหน้ีสินต่อเนื่อง เป็นปัญหาที่ท้ัง 9 หมู่บ้าน ตระหนักถึงความสำคัญและต้องการ
แก้ไข เน่ืองจากปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อการขับเคล่ือนงานและการพัฒนาต่อยอด ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนการ
จัดกิจกรรมโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีงานและกิจกรรมสำหรับการแก้ไขปัญหาที่จะต้อง
ดำเนินการ ได้แก่ การจัดต้ังกลุ่มอาชีพเพ่ือให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้อย่างท่ัวถึง และมีทุนทางสังคมที่เข้ามามี
ส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ การตรวจสารเคมีในเลือด และมีทุนทางสังคมที่
เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้แก่ นักวิชาการเกษตร ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืนแก่พี่
น้องประชาชนในตำบลพรหมนิมิต กรมวิชาการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมนิมิต สนับสนุนงบประมาณ
ในการแก้ปัญหา ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลพรหมนิมิต กลุ่มเกษตรอินทรีย์ชีวภาพตำบล ศูนย์ผู้ผลิตปุ๋ย
อินทรีย์อัดเม็ด กลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพ มีส่วนช่วยเพื่อการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพ่ือลดการใช้
สารเคมีในการทำเกษตร

2.4 นำใช้ศักยภาพและทุนทางสังคมพฒั นาสถานการณ์ท่ี 4 ด้านการดูแลผู้สูงอายุ

เป็นปัญหาท่ีทั้ง 9 หมู่บ้าน ตระหนักถึงความสำคัญ และต้องการแก้ไข เนื่องจากปัญหานี้ส่งผล
กระทบต่อการขับเคลื่อนงานและการพัฒนาต่อยอด โดยมีงานและกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ การให้ความ
ช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้อย่างทั่วถึง และมีทุนทางสังคมท่ีเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้แก่ องค์การบริหารส่วน
ตำบลพรหมนิมิต สนับสนุนงบประมาณ และจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุทุกเดือน เช่น ชมรมผู้สูงอายุตำบลพรหมนิมิต
ท่ีจัดข้ึนเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มาร่วมตัวกนั ทำกิจกรรมทุกเดือน รพ.สต.พรหมนิมิต กลุ่มจิตอาสาเพื่อสุขภาพ และศูนย์ฟ้ืนฟู
สมรรถภาพตำบลพรหมนิมิต ช่วยดูแลผู้สูงอายุ ทั้งการให้ความรู้รักษา และฟื้นฟู สำหรับผู้สูงอายุในการรักษาท่ีรพ.
สต.พรหมนิมติ

74

2.5 นำใชศ้ ักยภาพและทนุ ทางสังคมพฒั นาสถานการณท์ ่ี 5 การจัดการสภาวะแวดล้อม

การใช้สารเคมีในการเกษตร ซ่ึงเป็นปัญหาที่ท้ัง 9 หมู่บ้าน ตระหนักถึงความสำคัญและต้องการ
แก้ไขเร่งด่วนเนื่องจากปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนงานและการพัฒนาต่อยอด ได้แก่ การส่งเสริมและ
สนับสนุนมีการอบรมให้ความรู้ กับประชาชนในการพัฒนาอาชีพ โดยมีงานและกิจกรรมสำหรับการแก้ไขปัญหาที่
จะต้องดำเนินการได้แก่ การให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ การตรวจสารเคมีในเลือดและมีทุนทางสังคมที่เข้ามามีส่วน
ร่วมในการดำเนินงานได้แก่ กรมวิชาการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมนิมิต สนับสนุนงบประมาณในการ
ดำเนนิ งานแก้ปัญหา รพ.สต.พรหมนมิ ิต ตรวจสารเคมีในเลอื ดใหค้ นในชุมชน

ส่วนท่ี 3 เช่อื มโยงเครอื ขา่ ยในการพฒั นาตำบลพรหมนิมติ

3.1 การเชือ่ มโยงเครือข่ายภายในพ้นื ท่ี ดงั นี้

3.1.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรหมนิมิต

ถ่ายโอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพรหมนิมิต ทำหน้าที่สนับสนุนวิชาการ ในการให้ความรู้
เร่ืองการดูแลสุขภาพกับประชาชน สนับสนุนระบบการดูแลสุขภาพให้กับคนในชุมชนทั้ง การป้องกัน ฟ้ืนฟู ดูแล และ
รักษา นอกจากนี้ สนับสนุนวิชาการให้กับ อสม. และ อผส. ให้มีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพคนใน
ชุมชน และเป็นพ้ืนที่ของแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การจัดการสุขภาพตำบลพรหมนิมิต กองทุนส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลพรหมนิมิต กลุ่มจติ อาสาเพื่อสุขภาพ และชมรมผ้สู งู อายุตำบลพรหมนมิ ติ

3.1.2 โรงเรียนวัดคลองแปด

ดำเนินกิจกรรมในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางวิชาการ สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน
ได้มีความรู้ข้ันพื้นฐานและยังเป็นสถานท่ีสำหรับการทำกิจกรรมของเด็กในตำบล เช่น มีการฝึกนิสัยให้กับเด็กรู้จักการคัดแยก
ขยะ ด้วยการจัดต้ังธนาคารขยะรีไซเคิล และยังฝึกให้เด็กปลูกผักไว้ทำอาหารกลางวันรับประทานเองอีกด้วย เพ่ือเป็นการ
ส่งเสริมใหเ้ ดก็ รจู้ กั รับประทานผกั และให้เดก็ นำกลบั ไปปฏบิ ัตทิ ่ีบ้าน

3.1.3 โรงเรียนบ้านหนองหญ้ารังกา

ดำเนินกิจกรรมในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางวิชาการ สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนได้มี
ความรู้ขั้นพื้นฐานและยังเป็นสถานท่ีสำหรับการทำกิจกรรมของเด็กในตำบล เช่น มีการฝึกนิสัยให้กับเด็กรู้จักการคัดแยกขยะ
ด้วยการจัดต้ังธนาคารขยะรีไซเคิล และยังฝึกให้เด็กปลูกผักไว้ทำอาหารกลางวันรับประทานเองอีกด้วย เพ่ือเป็นการส่งเสริม
ให้เด็กรู้จักรับประทานผักและให้เด็กนำกลับไปปฏิบัติท่ีบ้าน และยังเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยฝึกให้เด็กได้ทดลอง
ปลูกผกั ปลอดสาร ทำนำ้ สม้ ควันไม้ เตาเผาถ่านถงั นำ้ มนั 200 ลติ ร เป็นต้น

3.1.4 โรงเรยี นบ้านกกกวา้ ว

ดำเนินกิจกรรมในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางวิชาการ สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนได้มี
ความรู้ข้ันพ้ืนฐานและยังเป็นสถานท่ีสำหรับการทำกิจกรรมของเด็กในตำบล เช่น มีการฝึกนิสัยให้กับเด็กรู้จักการคัดแยกขยะ
ด้วยการจัดต้ังธนาคารขยะรีไซเคิล และยังฝึกให้เด็กปลูกผักไว้ทำอาหารกลางวันรับประทานเองอีกด้วย เพ่ือเป็นการส่งเสริม
ให้เด็กรู้จกั รบั ประทานผักและให้เด็กนำกลับไปปฏบิ ัตทิ บี่ า้ น

75

3.1.5 วดั
เป็นสถานท่ีจัดกิจกรรมที่สำคัญต่าง ๆ ของหมู่บ้านหรือตำบล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าวัด ฟังธรรม
และเป็นการสืบทอดพุทธศาสนา ได้แก่ การจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ประเพณีวัน
สงกรานต์ ประเพณีทำบุญกลางบา้ น การเทศนม์ หาชาติ การบวชนาคหมู่ ประเพณตี รุษไทย วัดในตำบล มจี ำนวน 7 วดั
3.1.6 ป้อมสายตรวจองค์การบรหิ ารส่วนตำบลพรหมนมิ ิต
จากความสาคญั ในดา้ นความปลอดภยั ของชมุ ชน การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หายาเสพตดิ ไดม้ กี ารสนบั สนนุ
การดำเนินงานร่วมกับตำรวจ มีการรวมกลุ่มในชุมชน เช่น อปพร. อส.ตร. ตาสับปะรด เป็นต้น เพื่อทำหน้าท่ีตรวจตรา ดูแล
รักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชุมชน และยังรวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยอุบัติเหตุ
และภัยจากธรรมชาติ โดยช่วยเหลือทั้งภายในตำบลและพื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้การทำงานของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสา
ธารณภัยตำบลพรหมนิมิต โดยความร่วมมือของอาสาสมัครในพื้นท่ี และเครือข่ายกู้ชีพองค์การบริหารส่วนตำบลพรหมนิมิต

3.1.7 ศนู ยก์ ารศึกษานอกโรงเรยี นตำบลพรหมนมิ ติ
เป็นหน่วยงานท่ีจัดให้บริการด้านการศึกษาตามอัธยาศัย ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย มีการบูรณาการงานร่วมกันกับ อบต.พรหมนิมิต ได้แก่ การจัดกิจกรรมการส่งเสริมและฝึกอาชีพ
ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนท่ัวไปร่วมกัน เช่น การทำขนมไทย การทำท่ีดับกล่ินในรถ โดย กศน. เป็นผู้สนับสนุน
บคุ ลากร
3.1.8 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นหน่วยงานในสังกัด อบต.พรหมนมิ ติ
จัดบริการด้านการศึกษาสาหรับเด็กก่อนปฐมวัย ให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติ
ปัญญา อารมณ์และสังคม ใหม้ ีความพร้อมสำหรบั ชนั้ ที่สูงข้นึ ต่อไป ศูนยพ์ ฒั นาเดก็ เลก็ ในตำบลพรหมนิมติ มี 1 แห่ง

3.2 การเช่อื มโยงเครอื ขา่ ยกับภายนอกพนื้ ที่ ดังน้ี
3.2.1 โรงพยาบาลตาคลี
ให้การสนับสนุนด้านงานวิชาการ เช่น การฝึกอบรมให้กับหน่วยกู้ชีพกู้ภัย กลุ่ม อสม. แกนนำด้าน

การดูแลสุขภาพชุมชน รวมถึงการจัดการด้านสุขภาพ ทั้งในเรื่องงบประมาณ เวชภัณฑ์ด้านการแพทย์ และงานบริการ
อ่ืน ๆ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรหมนิมิต ซึ่งเป็นการส่งเสริมระบบสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุใน
ชมุ ชน

3.2.2 องค์การบริหารส่วนจงั หวดั นครสวรรค์
สนับสนุนงบประมาณและเครื่องมือในการพัฒนาด้านโครงสร้างพ้ืนฐาน เช่น ถนน งานด้านบรรเทา
สาธารณภัย การขุดลอกคลองกำจัดวัชพืช ซ่ึงช่วยแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุน
งบประมาณในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมวันเด็ก ประเพณีสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ และสนับสนุนงบประมาณ
ในการพฒั นาศักยภาพ อสม. ผูส้ งู อายุ กลุม่ พฒั นาสตรี กลมุ่ เยาวชนตำบลพรหมนิมติ เป็นต้น

76

3.2.3 สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
สนับสนุนด้านวิชาการให้กับ อผส. ในตำบล ให้มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ด้านเศรษฐกิจและ
สังคม และสนับสนุนงบประมาณให้กับศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลพรหมนิมิต ในการจัดอบรมเรื่อง การฝึก
อาชีพ เช่น การทำขนมไทย การทำไม้กวาดทางมะพร้าว การทำยาหม่องสมุนไพร ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
ของชุมชน เป็นต้น


Click to View FlipBook Version