The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา ในประเทศไทยมีกระแสของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายยุคที่ 5 หรือที่รู้จักกันในนามของเทคโนโลยี 5G เข้ามาประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะชนทราบในสื่อสาธารณะต่าง ๆ สร้างความตื่นตัวทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมากที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยี 5G ขับเคลื่อน และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัดการประมูลคลื่นความถี่ใหม่ครั้งล่าสุดในย่าน 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ผลจากการประมูลดังกล่าว ทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมของไทยสามารถเริ่มให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ได้แล้ว ซึ่งสร้างความคาดหวังที่จะก่อให้เกิดการแข่งขันในภาคธุรกิจโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องขึ้นในประเทศไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ประเทศไทยก้าวไกล ต้องใช้ 5G หรือไม่

ในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา ในประเทศไทยมีกระแสของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายยุคที่ 5 หรือที่รู้จักกันในนามของเทคโนโลยี 5G เข้ามาประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะชนทราบในสื่อสาธารณะต่าง ๆ สร้างความตื่นตัวทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมากที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยี 5G ขับเคลื่อน และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัดการประมูลคลื่นความถี่ใหม่ครั้งล่าสุดในย่าน 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ผลจากการประมูลดังกล่าว ทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมของไทยสามารถเริ่มให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ได้แล้ว ซึ่งสร้างความคาดหวังที่จะก่อให้เกิดการแข่งขันในภาคธุรกิจโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องขึ้นในประเทศไทย

ประเทศไทยกา้ วไกล ตอ้ งใช้ 5G หรอื ไม่

ในช่วงปี 2562 ที่ผา่ นมา ในประเทศไทยมกี ระแสของเทคโนโลยีการสอ่ื สารไรส้ ายยุคที่ 5 หรือที่รู้จัก
กันในนามของเทคโนโลยี 5G เข้ามาประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะชนทราบในสื่อสาธารณะต่าง ๆ สร้างความ
ตื่นตัวทง้ั ในหนว่ ยงานภาครัฐและเอกชนเปน็ จำนวนมากที่ตอ้ งการใชง้ านเทคโนโลยี 5G ขับเคล่ือน และในวันที่
16 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัดการประมูลคลื่นความถ่ีใหม่ครั้งล่าสุดในย่าน 700
MHz, 2600 MHz และ 26 GHz โดยสำนกั งานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกจิ การโทรทัศนแ์ ละกิจการ
โทรคมนาคมแหง่ ชาติ (สำนักงาน กสทช.) ผลจากการประมูลดงั กล่าว ทำใหผ้ ู้ให้บริการโทรคมนาคมของไทย
สามารถเริ่มให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ได้แล้ว ซึ่งสร้างความคาดหวังที่จะก่อให้เกิดการแข่งขันในภาคธุรกจิ
โทรคมนาคมและอตุ สาหกรรมท่เี กี่ยวขอ้ งข้ึนในประเทศไทย

5G เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีการส่ือสารไร้สายใหมท่ ่ีถูกกำหนดขึ้นตามหลังมาตรฐานเทคโนโลยกี าร
สื่อสารไร้สาย 1G, 2G, 3G และ 4G ตามลำดับ โดยเทคโนโลยกี ารสือ่ สารไร้สาย 5G ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้
สามารถรองรับการส่งข้อมูลทรี่ วดเร็วในระดบั หลายกิกะบิตต่อวินาที (Gbps), รองรบั ความหน่วงต่ำอย่างมาก
(Ultra low latency), ความสามารถในการรองรับการใช้งานแบนด์วดิ ท์ขนาดใหญ่เป็นจำนวนมหาศาล และ
การเชื่อมตอ่ การสื่อสารแบบไร้สายที่มีความน่าเชือ่ ถือสูง (Reliability) เป็นต้น โดยมาตรฐานเทคโนโลยีการ

สอ่ื สารไรส้ าย 5G ได้ถูกออกแบบตามการคาดการณ์ทจี่ ะมีกรณีการใช้งาน (Use cases) ที่จะเกิดข้ึนในอนาคต
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดงั น้ี [1]

1) ความตอ้ งการส่งขอ้ มูลปริมาณมากและความเร็วสูง (enhanced Mobile Broadband : eMBB)
: ตัวอย่างการใช้งานกรณีน้ี ได้แก่ Smart Stadium [2] ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทีจ่ ะถงึ นี้ ณ
กรุงโตเกยี วทผี่ ู้ชมใน Stadium สามารถเลอื กชมภาพการแข่งขันในระดับคณุ ภาพ 8K video ใน
มุมมองที่ตนเองอยากเห็นได้อย่างอิสระด้วยเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ซึ่งสร้าง
ประสบการณ์การชมการแข่งขนั ใหม่ เป็นตน้

2) ค ว า ม ต ้ อ ง ก า ร ส ื ่ อ ส า ร ท่ี ค ว า ม ห น ่ ว ง ท ี ่ ต ่ ำ ( ultra- Reliable and Low Latency
Communications: uRLLC) : ตัวอย่างการใช้งานกรณีนี้ ได้แก่ แอปพลิเคชั่นของรถยนต์ไร้
คนขับ หรือ Autonomous vehicle, การผ่าตัดทางไกล (Remote medical surgery), และ
ระบบควบคุมไรส้ ายในโรงงานอตุ สาหกรรม เป็นตน้ ซงึ่ เป็นแอปพลเิ คชั่นทต่ี อ้ งการความหน่วงใน
การรบั ส่งขอ้ มูลน้อยกวา่ 1 ms

3) ความต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT หรือ อินเทอร์เน็ตสรรพสิ่งจำนวนมหาศาล (massive
Machine Type Communications/massive Internet of Things: mMTC) : ตัวอย่างการใช้
งานกรณีนี้ ได้แก่ การเชื่อมต่อสรรพสิ่งด้วยอินเทอร์เน็ตจำนวน 1 ล้านอุปกรณ์ภายในพื้นที่ 1
ตารางกโิ ลเมตร เช่น ใน Smart City และ Smart Farm เป็นต้น ท่ีมีความต้องการเชื่อมต่อของ
สรรพส่ิงพรอ้ มๆ กนั เปน็ จำนวนมหาศาล โดยท่ีมอี ัตราการสง่ ข้อมลู ไมว่ ่าต่ำหรือสูง แตส่ ามารถทน
ต่อความหน่วงที่สงู ได้ และต้องการใชพ้ ลังงานนอ้ ย

ดังนัน้ จะเหน็ ไดว้ ่าเทคโนโลยี 5G ไดถ้ ูกกำหนดใหอ้ อกแบบมาเพ่ือรองรับความตอ้ งการใช้งานใหม่ๆ ที่
หลากหลาย แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าการใช้งานทั้ง 3 กรณีด้วยเทคโนโลยี 5G จะต้องทำได้ภายใต้เทคนคิ
หรือคลนื่ ความถเ่ี ดียวกัน

ด้วยวิธีการทางเทคนิคเพือ่ ให้เกดิ จุดเด่นในแต่ละกรณีการใช้งานนั้น เทคโนโลยี 5G จะต้องใช้คลื่น
ความถี่เพ่อื รองรบั การใหบ้ ริการในแต่ละกรณที แี่ ตกต่างกัน นั่นคือ ในการใช้งานแบบ eMBB ควรเลือกใช้งาน
ในย่านความถี่สูง เช่น 26 GHz (หรือ mmWave) ซึ่งจะมีแบนด์วิทดท์ ี่กว้างและเหมาะสำหรับการส่งข้อมลู
ปริมาณมากและความเร็วสูง แต่ข้อจำกัดของคลื่นในย่านนี้ คือ ไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่กว้าง ได้ หรือท่ี
เรียกว่า coverage ของ cell site 5G แคบ อีกท้งั ระยะทางสือ่ สารระหวา่ งสถานฐี านกบั เครอื่ งลกู ข่ายถูกจำกดั
ท่ีระยะแค่ 200 เมตรเท่าน้ัน ดงั น้นั คลนื่ ที่ 26 GHz จงึ เหมาะสำหรบั การใชง้ านในลกั ษณะของ Hot Spot หรอื
ในแบบ Pico-cell หรอื บางทีจะเรยี กวา่ Fixed Wireless Broadband Access (FWBA) นั่นเอง

ในขณะทคี่ ลืน่ ในย่านนี้ไม่เหมาะกบั การนำไปใช้ในกรณกี ารใช้งานแบบ uRLLC ท่ีตอ้ งการความหน่วง
ที่ต่ำและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ดังนั้น สำหรับการใช้งานควรเป็นการใช้คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz, 2600
MHz และ 700 MHz ควบคู่กัน เนื่องจากคลืน่ ในชว่ งความถีต่ ่ำ (เช่น 700 MHz, 800 MHz และ 900 MHz)
สามารถครอบคลุมการให้บริการในบริเวณกว้างซึ่งชว่ ยลดจำนวนครั้งในการเคลื่อนทีข่ ้าม Cell site (Hand-
over) ในขณะที่คลื่นความถี่กลาง (2600 MHz) ให้ความหน่วงต่ำกว่าช่วงความถ่ีต่ำ (700 MHz) และ ช่วง
ความถี่ยา่ น 26 GHz มีแบนด์วิทด์ท่ีกวา้ งเหมาะสำหรบั ส่งขอ้ มูลในปรมิ าณมาก

สำหรับบริการในกลุ่ม massive Machine Type Communication (mMTC) หรือ massive
Internet of Things นน้ั เหมาะสำหรบั การใช้งานในย่านคลื่นความถ่ีต่ำ (700 MHz) เนอื่ งจากปริมาณการส่ง
ข้อมูลจากอุปกรณ์เซนเซอร์มีขนาดเล็ก และทนต่อความหน่วงสูงได้ ซึ่งด้วยคุณสมบัติของคลื่นความถี่ต่ำ
สามารถทะลุทะลวงเข้าไปในอาคารหรือโรงงานได้ดีกว่าคลื่นความถี่กลางและสูง จึงทำให้การเลือกใช้คลนื่
ความถ่ีต่ำเหมาะสมกับกรณกี ารใชง้ านน้ี

อยา่ งไรก็ตาม เสน้ ทางสู่ mMTC นนั้ เร่มิ ตั้งแตใ่ นเทคโนโลยียุค 4G แลว้ โดยทางผู้กำหนดมาตรฐาน
สำหรับระบบเซลลูล่าร์ หรือ 3GPP ได้กำหนดไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ NB-IoT และ LTE-M ความ
แตกต่างระหวา่ ง NB-IoT และ LTE-M คือ NB-IoT จะเน้นท่ีการประหยัดพลังงานมากกว่าและสง่ ข้อมูลน้อย
กว่า ในขณะที่อุปกรณ์ LTE-M จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้มากกว่า โดยทั้งสองอย่างยังคงเป็น
มาตรฐานสำหรับใช้ต่อไปในยุค 5G และถูกเรียกว่าเป็นการใช้งานในแบบ 5G Low Power Wide Area
(LPWA) use cases ซ่ึงการใช้งานในเร่ืองของเครือขา่ ยเซนเซอรไ์ ม่วา่ จะเปน็ เกษตรอจั ฉรยิ ะ เมอื งอจั ฉรยิ ะ โล
จสิ ติกอจั ฉริยะ สขุ ภาพอจั ฉริยะ โรงงานอัจฉรยิ ะ และเร่อื งของระบบไฟฟา้ หรอื พลงั งานอจั ฉรยิ ะ ท่ีเป็นจดุ เด่น
ของ IoT นน้ั สามารถทำได้ทันที โดยไม่ตอ้ งรอเครือขา่ ย 5G ให้ติดตั้งสมบรู ณท์ ัว่ ประเทศ เนอื่ งจากผใู้ ห้บริการ
เครอื ข่ายเซลลูล่ารข์ องประเทศไทยนนั้ ไดต้ ิดตั้งและอพั เกรดเครอื ข่ายเปน็ 4G หรอื ท่ีเรียกว่า 4G-LTE มาไดส้ ัก
ระยะแล้ว สง่ิ ท่ีเปน็ ความอัจฉรยิ ะทส่ี ่อื สารผา่ นเครือขา่ ย IoT และระบบเซลลลู า่ ร์นั้นสามารถใชง้ านไดน้ านแล้ว
โดยไมต่ ้องรอ 5G แต่อยา่ งใด

อกี ประเด็นทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การใชง้ าน 5G นนั้ ในฝัง่ อปุ กรณ์ของเครอื ข่ายนน้ั การให้บริการ 5G จะมกี าร
ปรับเปล่ียนแบบคอ่ ยเป็นค่อยไปเหมอื นที่ผูใ้ ช้งานได้มีโอกาสใชร้ ะบบเซลลูลา่ ร์ตั้งแต่ 2G หรือ GSM เป็น 3G
มาเป็น 4G-LTE ที่ผู้ใช้งานค่อย ๆ ได้รับการอัพเกรดหรือผลักให้เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือจากรุ่นเก่า ๆ ที่เป็น
Feature phone จนมาเป็น Smart phone รนุ่ ใหม่ลา่ สดุ ในแงข่ องผู้ใชถ้ ้าต้องการใช้ 5G จะต้องซ้ือมือถือรุ่น
ใหม่ทีร่ องรบั ระบบ 5G ในราคาหลักหมน่ื บาท ซงึ่ หากมองในมุมผใู้ ห้บริการจำนวนผูท้ ีส่ นใจอพั เกรดเปน็ มือถือ
รุน่ 5G อาจจะไมค่ ่อยมมี ากนัก แมใ้ นกลุ่มของผใู้ ห้บริการโครงข่ายเซลลูลา่ ร์บางรายเองอาจจะไม่ไดล้ งทุนปรบั
สถานีฐานเปน็ 5G ท้ังประเทศแต่ก็จะมีลักษณะของการปรบั สถานฐี านเปน็ 5G เฉพาะในตวั เมืองหรือในพ้นื ทีท่ ่ี

คาดว่าจะมีความต้องการใช้สงู เป็นหลักเทา่ นนั้ นัน่ คือเราจะยงั ได้ใช้เครอื ข่ายผสม 3G-4G-5G ไปอีกระยะหน่ึง
อย่างแน่นอน ในด้านความคุ้มทนุ ของผู้ให้บริการนัน้ เค้ายอ่ มจะต้องใช้งานระบบทีล่ งทุนไปแล้วให้คุ้มคา่ ทีส่ ดุ
กอ่ นทจ่ี ะปลดระวางอุปกรณไ์ ป ในดา้ นมาตรฐานระบบ 5G นัน้ เรียกได้ว่าจริง ๆ แล้วคอ่ ย ๆ ปรับกันมาอย่าง
ตอ่ เนื่อง

มาตรฐาน 5G NR (New Radio) Release 16 Specification ที่เปน็ มาตรฐานการสง่ สัญญาณวิทยุท่ี
แท้จริง ก็เพิ่งจะสรุปได้กลางปี 2563 (3 กรกฏาคม 2563) ตามที่เป็นข่าว [3] ซึ่งจะเห็นได้ว่าในส่วนของ
มาตรฐานสากลทเ่ี ปน็ 5G ทแี่ ท้จรงิ นั้นกค็ อ่ นขา้ งใหมม่ ากและการทำ large scale commercialization กเ็ ริ่ม
กันกลางปี 2563 นี่เอง ในส่วนของเครือข่ายนั้นโดยส่วนใหญ่ 5G จะเป็นการติดต้ังแบบ Non-stand Alone
หรือ NA ซึ่งการให้บริการ 5G แบบนี้จะต้องใช้ 4G-LTE มาให้บริการร่วมด้วย ซึ่งการให้บริการ 5G แบบ
แท้จรงิ หรือ แบบทเี่ รียกวา่ SA หรอื Stand Alone ก็ยังมผี ูผ้ ลติ อปุ กรณเ์ พียงไม่กี่รายในตลาด

สำหรับการนำ 5G ไปใชง้ านนอกเหนอื จากใช้ Smart Phone 5G นัน้ ปัจจบุ นั ส่ิงท่เี ป็นไปไดม้ ากที่สุด
คือการนำ 5G CPE (Customer Premise Equipment) ซงึ่ เป็นอปุ กรณท์ ี่ทำหน้าที่รบั สญั ญาณ 5G Radio มา
กระจายตอ่ ให้อปุ กรณป์ ลายทางในรปู แบบของสญั ญาณ Wi-Fi หรือ Wi-Fi 6 ทีเ่ ปน็ มาตรฐาน Wireless Local
Area Network (WLAN) ล่าสุด นั่นคือเป็นการใช้งาน 5G ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่
โทรศัพทม์ ือถอื โดยตรง

อุปกรณ์ลูกขา่ ยที่ต่อกับเครือข่าย 5G โดยตรงในปัจจุบันยังมจี ำนวนจำกัด ตัวอย่างเช่น โรงงานหนง่ึ
อาจจะตอ้ งการใช้แขนหนุ่ ยนต์ ที่ควบคุมผา่ น 5G ในปจั จุบนั ปี 2563 นนั้ น่าจะยงั ไมค่ อ่ ยมีให้ใช้งาน ซึ่งเราจะ
พบว่าการใช้งานประเภท Virtual Reality/Augment Reality (VR/AR), Ultra High definition VDO
streaming, Industrial Automation นั้นหากต้องการใช้งานในปัจจุบันส่วนใหญ่จะต่อผ่านเครือข่าย Wi-Fi
เป็นหลกั ซึ่งไม่จำเปน็ ต้องใช้ 5G ก็ได้ สิ่งที่ 5G ช่วยได้คือการเป็นทอ่ สง่ ข้อมูลปริมาณมากแบบไรส้ ายนัน่ เอง
หากเรามีเครือข่ายอื่นท่ีมีความเร็วสงู อยู่แล้ว 5G อาจจะไมจ่ ำเป็น เช่นถ้าในอาคารเรามีเครอื ข่าย Ethernet
แบบ Gigabit Ethernet หรือ Fiber optics อยู่แล้ว เครือข่ายแบบมีสายเหล่าน้ีจะดีกว่าในการส่งข้อมูล
ปรมิ าณมาก ความผิดพลาดต่ำ และมคี วามหนว่ งต่ำ สามารถใหบ้ รกิ าร Use cases เหลา่ น้ไี ดอ้ ยูแ่ ลว้

สำหรับการใช้งาน 5G ในกลมุ่ uRLLC น้นั จุดเดน่ คือการใหบ้ ริการแบบไรส้ ายสำหรับ Application ที่
ต้องการ uRLLC ตวั อย่างท่ีนยิ มหยิบยกข้นึ มา คอื การใช้งานรถอตั โนมัติ Autonomous vehicle เป็น Use
case ทต่ี อ้ งการ uRLLC แต่ปัจจุบนั ในประเทศไทย สง่ิ ทีผ่ ใู้ หบ้ ริการเซลลลู ่ารใ์ นประเทศโปรโมทการใชง้ านการ
ควบคุมรถจากระยะไกลเป็นไปในลักษณะของ Remote Control รถผ่าน 5G เปน็ สว่ นใหญ่ และยงั ไม่มีการใช้
งานรถอัตโนมัติที่แท้จริงผ่าน 5G ในประเทศไทย ซึ่งการที่ประเทศไทยจะเห็น Autonomous vehicle
ควบคมุ ผา่ น 5G ได้ทั่วประเทศน้ันอาจจะตอ้ งมีเครอื ขา่ ย 5G ครอบคลมุ เสน้ ทางท่ีรถอัตโนมัตจิ ะว่ิงหรือให้มที ั่ว

ประเทศใหไ้ ดก้ ่อน เพ่ือใหร้ ถอตั โนมตั ิวิง่ ได้ผ่านการควบคุม 5G ได้อย่างแท้จริง อีกประเดน็ คือรถอัตโนมตั ิสว่ น
ใหญ่จะตอ้ งมีการประมวลผลบนตัวรถเปน็ หลกั โดยหน่วยประมวลผลความเร็วสูง อาทเิ ชน่ NVDIA Drive AGX
[4] ถ้าหากต้องการส่งค่า Sensor ทั้งหมดของรถขึ้นไปบนเครือข่ายคลาวด์เพื่อประมวลผลเพื่อควบคุมรถ
อัตโนมัติผ่านเครือข่ายคลาวด์นัน้ ต้องใชแ้ บนด์วดิ ท์ปรมิ าณมาก และจะมขี ้อมูลท่ีต้องวิ่งผ่าน Core Network
ในปริมาณมหาศาล ซึ่งมกี ารคาดการณ์ในการทดสอบเบื้องต้นจากบรษิ ัท Intel พบว่าข้อมูล Sensor จากรถ
อัตโนมตั ิมขี นาด 4 Terabytes ต่อวนั [5] ซง่ึ เปน็ ไปไมไ่ ด้ในทางปฏบิ ตั ิดว้ ยเทคโนโลยี 4G และ 5G ที่มีอยู่ใน
ปัจจุบัน แต่หน้าที่หลักของ 5G น่าจะเป็นท่อส่งข้อมูลปริมาณมากความหน่วงต่ำเป็นหลัก ซึ่งถ้าต้องการส่ง
ข้อมลู ปริมาณมากต้องใช้คลน่ื 26 GHz ทสี่ ถานีฐานมีรัศมแี คบ จะต้องลงทุนตดิ ตงั้ สถานีฐานจำนวนมากเพ่ือให้
เกดิ ความต่อเน่อื งในการเคลอื่ นที่ของรถอัตโนมัติ ทำใหจ้ ำเป็นจะตอ้ งมกี ารลงทนุ สูงอยา่ งมากเพือ่ ใหไ้ ดเ้ สน้ ทาง
ทร่ี ถอัตโนมัตจิ ะว่ิงไดเ้ ปน็ ระยะทางไกล ๆ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ปจั จุบนั รถยนตท์ มี่ ใี นทอ้ งตลาด เช่น Tesla
ที่สามารถทำงานในโหมด autopilot (semi-autonomous) และ full self-driving capability (ซึ่ง Tesla
ไม่ได้เรยี กว่าเปน็ autonomous) ซ่ึงในปัจจุบันยงั คงทำงานภายใต้มาตรฐาน 4G-LTE [6] และสามารถทำงาน
ไดโ้ ดยไมต่ อ้ งใช้ 5G แตอ่ ย่างใด

สำหรับประเด็น Smart Health ในกลุ่ม Tele-medicine ที่เป็นอีก Use case ของ 5G ในการโป
รโมทการใช้งาน 5G นั้นน่าจะอยู่ในเรื่องของการใหแ้ พทย์สามารถใช้เครือขา่ ยสือ่ สารในการให้คำปรึกษาแก่
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้หรือสามารถให้คำปรึกษาจากระยะไกล ซึ่งถ้าในการใช้งาน
ลักษณะนี้สามารถทำได้เลยในปัจจบุ ันไมต่ ้องรอเครือข่าย 5G สิ่งท่ี 5G ทำได้ดีกว่าเครือข่ายปัจจุบันก็คอื การ
ช่วยส่งข้อมูลทางการแพทย์ให้เร็วขึ้น หรือในกรณีการทำการผ่าตัดจากระยะไกล ซึ่งน่าจะเป็นจุดเด่นของ
อปุ กรณ์ 5G ท่ีตอบสนองความหนว่ งต่ำ แต่อย่างไรกต็ ามยังมีความเสยี่ งท่ีเกิดข้ึนได้ในระหว่างการผ่าตัดท่ีหาก
เครือข่าย 5G เกิดมีการล่มระหว่างการผ่าตัด จะมีวิธีการอย่างไร ซึ่งการรักษาชีวิตคนอาจจะต้องการให้ลด
ความเส่ียงด้านนี้ลงให้ได้มากท่สี ุด ยกเว้นเสียแตว่ า่ คนไขไ้ มส่ ามารถเดนิ ทางมาให้รกั ษาไดจ้ ริงๆ หรือในกรณีท่ี
ใหร้ ะบบ Artificial Intelligent (AI) ชว่ ยในการวิเคราะหภ์ าพถ่ายทางการแพทย์เพื่อตรวจจบั ความผิดปกตเิ ชน่
กอ้ นเนื้อมะเร็ง ในกรณีของ 5G นั้นส่ิงทช่ี ่วยคือการส่งข้อมูลภาพถ่ายคุณภาพสูง แตต่ วั AI ที่แท้จริงแล้วไม่ได้
อยู่ในเครือข่าย 5G แต่อย่างไร แต่อยู่ที่ระบบคอมพิวเตอร์เบื้องหลังหรือในระบบประมวลผลคลาวด์ที่มี
ความสามารถของ AI มากกว่า ซึ่งถ้าเราสามารถพฒั นา AI เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้ในปัจจบุ ัน ซึ่ง
กรณีการใช้งานในลกั ษณะนีร้ ะบบเครือขา่ ย 4G-LTE กส็ ามารถตอบโจทย์การใช้ AI ในด้านการแพทย์ได้เลย

ในมุมมองจากผู้ให้บริการเครือข่ายเซลลูล่าร์ นอกจากการช่วงชิงความได้เปรียบของการเป็นผู้นำ
เทคโนโลยี 5G แล้ว จริง ๆ แล้วแต่ละรายในปัจจุบันยังคงพยายามหา Use cases ที่จะสร้างรายได้ที่แทจ้ ริง
ให้กบั บรษิ ทั เท่าท่ีปรากฏใหเ้ หน็ ในปจั จบุ นั น้ัน ส่วนใหญ่แล้วเปน็ Use cases เล็ก ๆ ที่แสดงศักยภาพแต่การที่

จะได้ Business cases ที่สร้างรายได้ที่แท้จริงเป็นกอบเป็นกำให้กับผู้ให้บริการนั้น ไม่ว่าจะเป็น
Telemedicine, Smart City หรอื Smart Factory ตา่ งกย็ ังอย่ใู นระหว่างการหาจุดคมุ้ ทนุ ดว้ ยกันทง้ั นั้น

ในมุมมองของรฐั บาลนนั้ การสง่ เสรมิ ใหม้ ีการใชง้ าน 5G เป็นส่ิงทถ่ี ูกตอ้ งแล้ว เพียงแตว่ ่าในสถานการณ์
ปัจจุบันระบบสื่อสารแบบเซลลูล่าร์เป็นเสมือนทางด่วนที่รัฐให้สัมปทานคลื่นความถี่ไปแล้ว เอกชนมีหน้าท่ี
ให้บริการและเอกชนย่อมตอ้ งทำกำไร การกระต้นุ โดยภาครัฐนั้นสามารถทำได้ แต่การลงทนุ ติดตัง้ 5G เองโดย
รัฐนั้นเปน็ การลงทุนทีไ่ ม่ค้มุ ค่า เพราะประเทศไทยไม่ไดผ้ ลิตอปุ กรณ์ทีเ่ กีย่ วกับ 5G หรอื ระบบเซลลูลา่ ร์เอง ซึ่ง
เปน็ สิง่ ทีร่ ฐั ไม่สามารถควบคุมไดท้ ้งั หมด แต่หากเปน็ ส่ิงที่เกีย่ วขอ้ งกบั กลไกการตลาดท่ีต้องมีความต้องการใช้
งาน หรอื Demand เม่อื มี Demand ผใู้ หบ้ รกิ ารจงึ ลงทนุ ในโครงข่ายหรอื สรา้ ง Supply และผู้ใหบ้ ริการย่อม
ต้องดูว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่าและมีรายได้แท้จรงิ หรือไม่ รัฐบาลสามารถกระตุ้นหรือสนับสนุนให้เอกชนหรือ
หน่วยงานภาครัฐในทุกภาคส่วนให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น AI, Big
Data, Telemedicine หรือ IoT ทีส่ ามารถทำไดเ้ ลยตงั้ แต่วันนี้โดยใหเ้ ครือข่าย 5G เปน็ ถนนกว้าง ๆ ท่ีทยอย
สร้างโดยเอกชน เมื่อความต้องการข้อมูลสูงขึ้นในอนาคตก็จะไม่เกิดปัญหาจราจรติดขัดแต่อย่างไร ใน
ขณะเดียวกันรัฐสามารถช่วยส่งเสริมในเรื่องของการตระหนักรู้ในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมคุ้มค่าต่อการ
ลงทุน และมีการตรวจสอบหรือเฝ้าระวังในด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานด้าน
สารสนเทศรวมทัง้ ระบบโทรคมนาคมใหก้ บั ประชาชน เพ่ือให้ประชาชนมนั่ ใจในการใชง้ านและลดความเส่ยี งใน
การถกู โจมตจี ากผไู้ มห่ วังดี

โดยสรุปในมุมมองของประเทศไทย การเปิดเสรีทางด้านโทรคมนาคมได้สร้างให้เกดิ การแข่งขันทาง
การค้าและบรกิ ารเป็นอยา่ งมาก ดงั จะเห็นได้ว่าในช่วงทป่ี ระเทศไทยมกี ารประกาศ Lock-down การเดินทาง
มกี ารจำกดั อยา่ งมาก ยอดการใช้งานระบบเครอื ขา่ ยเชน่ เครือข่าย Internet หรือระบบโทรศัพทเ์ คลื่อนท่ีของ
ประเทศมปี รมิ าณเพม่ิ มากขึ้น แต่โครงขา่ ยการใหบ้ ริการของประเทศที่ใหบ้ รกิ ารโดยเอกชนของประเทศไทยก็
ยังคงสามารถรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไม่มีปัญหา การประชุมผ่าน VDO conference ได้
กลายมาเป็นฐานวิถีชีวิตใหม่ หรือ new-normal ที่เราสามารถใช้งานได้อย่างไหลลื่น โดยยังไม่ได้ต้องรอ 5G
แต่อย่างไร และจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รายงานในบทความนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยสามารถพัฒนา
ประเทศให้เจรญิ กา้ วหน้าไดท้ ันที ไม่ต้องรอการมาหรอื การติดตั้งของเครือขา่ ย 5G แต่อย่างไร สิ่งที่เครือข่าย
5G จะเพิ่มให้อาจจะไมไ่ ดเ้ หมอื นกบั สง่ิ ทม่ี า disrupt ทกุ สิ่งทุกอยา่ งทีเ่ ราสามารถทำไดต้ อนนี้ดว้ ยเทคโนโลยที ม่ี ี
อยู่ในปัจจุบันแต่อย่างไร สิ่งที่ต้องทำก็คือนำเทคโนโลยีอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้งานเสียตั้งแต่วันนี้หรือพฒั นา
ทันทีโดยไมต่ ้องรอ 5G ไมว่ ่าจะเปน็ IoT หรือ AI หรอื Big data หรอื อ่ืน ๆ อกี มากมายที่สามารถทำงานไดแ้ ลว้
ทั้งในเครือข่ายเซลลูล่าร์ 3G-4G และ 5G ที่กำลังจะมา แล้วในอีกไม่กี่ปี เครือข่ายเซลลูล่าร์ 6G ก็จะมา
เช่นเดียวกัน ซึ่งหวังว่าในตอนนั้นประเทศไทยจะได้พัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ ขึ้นแล้วและสามารถใช้งานสอด

ประสานกับเครือข่ายเซลลูล่าร์ยุคต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ภาคส่วนของประเทศไม่ว่าจะเป็น
เอกชนหรือรัฐ

เอกสารอ้างองิ

[1] M. Shafi, et. at., “5G: A Tutorial Overview of Standards, Trials, Challenges,
Deployment, and Practice”, IEEE JOURNAL ON SELECTED AREAS IN COMMUNICATIONS, VOL.
35, NO. 6, JUNE 2017 1201.

[2] James Bourne, “THE STADIUM OF TOMORROW”, [online access: 7 September
2020] https://www.5gexpo.net/2019/11/5g/the-stadium-of-tomorrow/

[3] Huawei, “Huawei Works Together with Industry Partners to Finalizaed 3GPP
Release 16 NR Specification”. [Online Access: 8 September 2020]
https://www.huawei.com/en/news/2020/7/3gpp-r16-nr-specifications-2020

[4] NVDIA Drive AGX [online access: 31 August 2020] URL: https://www.nvidia.com/en-
us/self-driving-cars/drive-platform/hardware/

[5] R. Miller, “Autonomous Cars Could Drive a Deluge of Data Center Demand”.
[online access: 28 August 2020] URL. https://datacenterfrontier.com/autonomous-cars-could-
drive-a-deluge-of-data-center-demand/.

[6] Telsa [online access: 28 August 2020] URL: https://forums.tesla.com/.


Click to View FlipBook Version