The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kritin Work, 2024-01-31 02:53:36

โปรเจค ปวช

โปรเจค ปวช

หัวข้อโครงการ เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด ชื่อผู้จัดทำ นายกนกศักดิ์ เพชรมณี ชอ.62.1 นายกฤติน แสงปาน ชอ.62.1 นายฐิติวัสส์ สินฉ่ำ ชอ.62.1 ชื่อหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่าง อิเล็กทรอนิกส์ สาขางาน อิเล็กทรอนิกส์ อาจารย์ที่ปรึกษา นายวรากร พรมจิ๋ว ปีการศึกษา 2564 บทคัดย่อ โครงงานเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุดครั้งนี้จัดทำขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาการทำงานของเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) เพื่ออำนวยความ สะดวกต่อการใช้งาน และเพื่อช่วยในการใช้ในงานช่างบางชนิด ทั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้า เนื้อหาความรู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุดจากอาจารย์ เอกสาร และเว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง โดยคณะผู้จัดทำได้สร้างเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือ เครื่องเชื่อมจุด โดยพัฒนามาจากหม้อแปลงไมโครเวฟ ซึ่งเป็นเครื่องเชื่อมที่สามารถผลิตได้เอง ผลปรากฏว่าเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุดสามารถเชื่อมแผ่นโลหะที่วาง ซ้อนกันโดยมีความหนาตั้งแต่ 0.5-3 มิลลิเมตร โดยใช้พลังงานน้อยและไม่ทำให้ชิ้นงานเสียรูป ทำงาน ได้เร็ว และไม่จำเป็นต้องใช้ลวดเติม รวมถึงสามารถแก้ปัญหาการเชื่อมชิ้นงานขนาดเล็กที่เครื่องเชื่อม บางชนิดใช้งานได้ไม่สะดวกได้เป็นอย่างดี …………………………………………………………………………….. (นายวรากร พรมจิ๋ว) ที่ปรึกษาโครงงาน


กิตติกรรมประกาศ โครงงานการจัดทำ เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุดในครั้งนี้สำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์จาก อาจารย์วรากร พรมจิ๋ว ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุดและเอกสาร ประกอบโครงงาน นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ศิริพงศ์ชาลีน้อย ที่ได้ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด ตลอดจนครู-อาจารย์ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาและให้คำแนะนำในการดำเนินโครงงาน และการจัดทำ เนื้อหาเอกสารโครงงานเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด คณะผู้จัดทำโครงงานเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด ขอขอบพระคุณ ทุกท่านเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ นายกนกศักดิ์ เพชรมณี นายกฤติน แสงปาน นายฐิติวัสส์ สินฉ่ำ


สารบัญ บทที่ หน้า บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญภาพ 1. บทนำ 1 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2 1.3 ขอบเขตของโครงงาน 2 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 2. ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 2.1 ทฤษฎีการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า 3 2.2 ทฤษฎี หลักการ การสร้างเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) 9 2.3 อุปกรณ์การสร้างเครื่องสปอต (Spot welding) 14 2.3.1 หม้อแปลงไมโครเวฟ 800 w 14 2.3.2 เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Supply) 15 2.3.3 พัดลมระบายความร้อน (Cooling fans) 16 2.3.4 แผงควบคุมเครื่องเชื่อมจุด 18 2.3.5 สายไฟ 19 2.3.6 ท่อหด สำหรับหุ้มสายไฟฟ้า (Heat Shrink Tube) 21 2.3.7 ทองแดง (Copper) 22 2.3.8 ปากกาเชื่อมจุด (Spot welding pen) 23 2.3.9 เหล็ก (Iron) 24 3. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน 26 3.1 ส่วนที่เป็นเอกสารประกอบ 26 3.2 ส่วนที่เป็นตัวเครื่องชิ้นงาน 26 3.3 ขั้นตอนการทำโครงงาน 27 4. ผลการดำเนินงาน 31 4.1 ผลการดำเนินโครงงาน 31


สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า 5. สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ 33 5.1. สรุปผล 33 5.2. อภิปรายผล 33 5.3. ข้อเสนอแนะ 34 บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติผู้จัดทำ


สารบัญภาพ ภาพประกอบที่ . หน้า ภาพที่ 2.1 การเหนี่ยวนำ 3 ภาพที่ 2.2 การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า 4 ภาพที่ 2.3 แรงเคลื่อนไฟฟ้า 7 ภาพที่ 2.4 กฏมือขวาของเฟรมมิง 7 ภาพที่ 2.5 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างง่าย 8 ภาพที่ 2.6 วงแหวนเหล็กของฟาราเดย์ 9 ภาพที่ 2.7 การเชื่อม resistance spot welding 10 ภาพที่ 2.8 หม้อแปลงไมโครเวฟ 800 w 15 ภาพที่ 2.9 Power Supply 16 ภาพที่ 2.10 พัดลมระบายความร้อน 18 ภาพที่ 2.11 แผงควบคุม Spot Welding 19 ภาพที่ 2.12 สายไฟ 21 ภาพที่ 2.13 ท่อหด 22 ภาพที่ 2.14 แท่งทองแดง 23 ภาพที่ 2.15 ปากกาเชื่อมจุด (Spot welding pen) 24 ภาพที่ 2.15 เหล็กแผ่น 25 ภาพที่ 3.1 จัดเตรียมอุปกรณ์ 27 ภาพที่ 3.2 พันหม้อแปลง 28 ภาพที่ 3.3 ต่อแผงวงจร 28 ภาพที่ 3.4 ต่อกล่องเครื่องเชื่อมสปอต 29 ภาพที่ 3.5 พ่นสีกล่องเครื่องเชื่อมสปอต 29 ภาพที่ 3.6 ทดสอบการทำงาน 30 ภาพที่ 4.1 เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด 31 ภาพที่ 4.2 แสดงตัวอย่างการทำงานของเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) 32 ภาพที่ 4.4 แสดงตัวอย่างผลงานของเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) 32


บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา "การเชื่อม" (Welding) เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อวัสดุ ส่วนใหญ่เป็นโลหะและพลาสติค โดยให้รวมตัวเข้าด้วยกัน ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย และการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงในแอ่ง หลอมละลายของวัสดุที่หลอมเหลว เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช้แรงดันร่วมกับ ความร้อน หรือความร้อนอย่างเดียว เพื่อให้เกิดรอยเชื่อม ซึ่งตรงข้ามกับการบัดกรีอ่อน และการบัดกรี แข็ง ซึ่งไม่มีการหลอมละลายของชิ้นงาน มีแหล่งพลังงานหลายอย่างสำหรับนำมาใช้ในการเชื่อม เช่น การใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน, การอาร์คโดยใช้กระแสไฟฟ้า, ลำแสงเลเซอร์, การใช้อิเล็คตรอนบีม, การเสียดสี, การใช้คลื่นเสียง เป็นต้น ในอุตสาหกรรมมีการเชื่อมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น การเชื่อมในพื้นที่โล่ง, พื้นที่อับอากาศ, การเชื่อมใต้น้ำ, การเชื่อมในพื้นที่อันตราย เช่น ถังเก็บน้ำมัน ขนาดใหญ่, ภายในโรงงานผลิตสารเคมี และวัตถุไวไฟ การเชื่อมมีอันตรายเกิดขึ้นได้ง่าย จึงควรมี ความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตราย เช่น เกิดจากกระแสไฟฟ้า, ความร้อน, สะเก็ดไฟ, ควันเชื่อม, แก๊สพิษ, รังสีอาร์ค, ชิ้นงานร้อน, ฝุ่นละออง ในยุคเริ่มแรกจนถึงศตวรรษที่ 19 มีการใช้งานเฉพาะการเชื่อมทุบ (Forge welding) เพื่อใช้ใน การเชื่อมต่อโลหะ เช่นการทำดาบในสมัยโบราณ วิธีนี้การเชื่อมที่ได้มีความแข็งแรงสูง และโครงสร้าง ของเหล็กมีคุณภาพอยู่ในระดับสูง แต่มีความล่าช้าในการนำมาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม หลังจากนั้น ได้มีการพัฒนามาสู่การเชื่อมอาร์ค และการเชื่อมโดยใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน และหลังจากนั้นมีการ เชื่อมแบบความต้านทานตามมา เทคโนโลยีการเชื่อมได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในศตวรรษที่ 20 ซึ่ง อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เทคโนโลยีการเชื่อมแบบใหม่ ได้มีการเร่ง พัฒนาเพื่อรองรับต่อการสู้รบในช่วงเวลานั้น เพื่อทดแทนการต่อโลหะแบบเดิม เช่นการใช้หมุดย้ำซึ่งมี ความล่าช้าอย่างมาก กระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (SMAW) เป็นกระบวนการหนึ่งที่ พัฒนาขึ้นมาในช่วงนั้นและกระทั่งปัจจุบัน ยังคงเป็นกรรมวิธีที่ใช้งานกันมากที่สุดในประเทศไทย และ ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ปัจจุบันมีเครื่องเชื่อมที่หลากหลายและใช้ได้หลายรูปแบบที่ได้ผลิตขึ้นมา เครื่องเชื่อมหรือตู้ เชื่อมนั้นเป็นเครื่องสำหรับงานช่างประเภทงานเชื่อม ซึ่งงานเชื่อมเป็นการเชื่อมด้วยไฟฟ้าหรือแก๊ส เป็นต้น โดยการผสมผสานระหว่างโลหะเข้าด้วยกันหรือติดกัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงให้กับช่าง เชื่อมในการเชื่อมโลหะหรือเหล็ก วิธีการทำงาน ตู้เชื่อมจะใช้ไฟฟ้าหรือแก๊ส โดยจะใช้ความร้อนที่เกิด


2 จากการอาร์กของไฟฟ้าหรือแก๊สหลอมให้โลหะหรือเหล็ก เครื่องเชื่อมมีหลายประเภท เช่น ตู้เชื่อม อาร์กอน TIG ตู้เชื่อไฟฟ้า ARC เครื่องตัดพลาสม่า เป็นต้น แต่การเชื่อมในปัจจุบันนั้นยังไม่ตอบสนอง ช่างและผู้บริโภคในบางส่วน จึงทำให้เกิดการคิดค้นเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่อง เชื่อมจุด ซึ่งนิยมใช้ในงานเชื่อมแผ่นโลหะที่วางซ้อนกันโดยมีความหนาตั้งแต่ 0.5-3 มิลลิเมตร ข้อดี ชองกระบวนการเชื่อมสปอตคือใช้พลังงานน้อยและไม่ทำให้ชิ้นงานเสียรูป ทำงานได้เร็ว และไม่ จำเป็นต้องใช้ลวดเติม จากความเป็นมาและความสำคัญข้างต้น กลุ่มผู้จัดทำจึงคิดค้นเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุดจากหม้อแปลงไมโครเวฟขึ้นมา ซึ่งเป็นเครื่องเชื่อมที่สามารถผลิตได้เอง และสามารถเชื่อม เหล็ก สักกะสี แสตนเลส ขนาด 0.5-3 มิลลิเมตรได้ รวมถึงชิ้นงานขนาดเล็กที่ เครื่องเชื่อมบางชนิดใช้งานได้ไม่สะดวก 1.2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1.2.1 เพื่อต้องการศึกษาการทำงานของเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) 1.2.2 เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการใช้งาน 1.2.3 เพื่อช่วยในการใช้ในงานช่างบางชนิด 1.3. ขอบเขตโครงงาน 1.3.1 เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) ระบบเชื่อมไฟฟ้า 1.3.2 หม้อแปลง 800 w 1.3.3 สามารถเชื่อมเหล็กได้ขนาด 0.5-3 มิลลิเมตร 1.3.4 สามารถปรับกระแสมากและน้อยได้ 1.4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.4.1 ได้อุปกรณ์เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) 1.4.2 เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้วิจัย ช่าง เป็นต้น 1.4.3 ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด


บทที่ 2 ทฤษฎี และเอกสารยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ทฤษฎีการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า 2.1.1 ความหมาย การเหนี่ยวนำ หมายถึง คุณสมบัติที่จะพยายามขัดขวางต่อการเปลี่ยนแปลงของ กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร เช่น ขัดขวางหรือต่อต้านการเพิ่มขึ้นของกระแสไฟฟ้า และขัดขวางหรือต่อต้าน การลดลงของกระแสไฟฟ้า ภาพที่ 2.1 การเหนี่ยวนำ การเหนี่ยวนำภายในตัวเอง หมายถึง การเหนี่ยวนำของแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นภายใน ขดลวดตัวนำเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดตัวนำ ซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำนี้จะมีทิศทางที่ขัดขวาง หรือต่อต้านการเพิ่มของกระแสไฟฟ้านั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเส้นแรงแม่เหล็กตัดกับขดลวดซึ่ง แรงดันไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำนี้จะมีทิศทางที่ขัดขวางหรือต่อต้านการเพิ่มของกระแสไฟฟ้านั้น การเหนี่ยวนำร่วม หมายถึง สภาวะที่วงจรไฟฟ้า 2 วงจร มีการแบ่งพลังงานไฟฟ้าจากวงจร หนึ่ง หรือการถ่ายโยงพลังงานไฟฟ้าจากวงจรหนึ่งไปอีกวงจรหนึ่ง โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของ สนามแม่เหล็ก


4 ประกอบด้วยวงจรขดลวดชุด A ซึ่งเรียกว่าวงจรปฐมภูมิ มีสวิตช์ควบคุมวงจรต่อเป็นแบบ อนุกรมกับแบตเตอรี่ และวงจรขดลวดชุด B เรียกว่าวงจรทุติยภูมิ ซึ่งมีเครื่องวัดค่ากระแสไฟฟ้าต่ำๆ สนามแม่เหล็กจะขนวนตัวตามการเพิ่มหรือการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าไฟคล้องหรือ ตัดกับขดลวดชุด B ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น โดยมีขนาดเพิ่มขึ้นตามปริมาณของเส้นแรง แม่เหล็ก (https://hmong.in.th/wiki/Induced_current) 2.1.2 กฎการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้าหรือแม่เหล็กเหนี่ยวนำ คือ การผลิตนั้นแรงเคลื่อนไฟฟ้าข้ามตัวนำไฟฟ้าใน การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก หลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faradays) ได้ทำการทดลองและค้นพบความจริงเกี่ยวกับการเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นในขดลวด ตัวนำ เมื่อมีสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงตัดกับขดลวดตัวนำนั้น และได้ความรู้จากการทดลองคือ การ เหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้น โดยวิธีการ ดังนี้ 1) โดยการเคลื่อนที่ตัวนำตัดสนามแม่เหล็กซึ่งอยู่กับที่ 2) โดยการเคลื่อนที่สนามแม่เหล็กตัดกับตัวนำซึ่งอยู่กับที่ 3) โดยการเปลี่ยนแปลงปริมาณเส้นแรงแม่เหล็กตัดผ่านตัวนำซึ่งอยู่กับที่ ภาพที่ 2.2 การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า


5 จากภาพการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนำเกิดจากการที่มีการ เปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดตัวนำเรียกการทำให้เกิดกระเกิดกระแสไฟฟ้าลักษณะนี้ว่า การ เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic induction) และเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากวิธีนี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced current) ปลายทั้งสองของเส้นลวดตัวนำมีความต่างศักย์ ดังนั้นถ้าต่อเส้นลวดตัวนำนี้ให้ครบวงจร ก็ จะมีกระแสไฟฟ้าในวงจร แสดงว่าปลายทั้งสองของเส้นลวดตัวนำทำหน้าที่ เสมือนเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced electromotive force) หรือ อีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ (induced emf) กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ สรุปได้ว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ที่เกิดขึ้นในขดลวดเป็นสัดส่วนกับอัตราการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดนั้นเมื่อเทียบกับเวลา กฎของเลนซ์มีใจความว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ในขดลวดจะทำให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำในทิศทางที่ จำทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กใหม่ขึ้นมาต้านการเปลี่ยนแปลง ของฟลักซ์แม่เหล็กที่ตัดผ่านขดลวดนั้น การนำไปใช้ประโยชน์หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์และระบบ ต่างๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น 1) เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2) การขึ้นรูปด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า 3) แท็บเล็ตกราฟิก 4) ฮอลล์ผลเมตร 5) การปรุงอาหารแบบเหนี่ยวนำ 6) มอเตอร์เหนี่ยวนำ 7) ปิดผนึกเหนี่ยวนำ 8) การเชื่อมแบบเหนี่ยวนำ 9) การชาร์จแบบอุปนัย 10) ตัวเหนี่ยวนำ 11) เครื่องวัดการไหลของแม่เหล็ก 12) ไฟฉายพลังกล Mechanical 13) แหวนโรว์แลนด์ 14) การกระตุ้นด้วยแม่เหล็ก Transcranial 15) หม้อแปลงไฟฟ้า 16) การถ่ายโอนพลังงานแบบไร้สาย


6 2.1.3 แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ดังได้กล่าวแล้วว่า แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำนั้นเกิดจากการเคลื่อนที่ตัดกันระหว่างตัวนำกับ สนามแม่เหล็ก โดยที่สนามแม่เหล็กอยู่กับที่ไม่ต้องเคลื่อนที่แต่อย่างใด แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยให้ตัวนำเคลื่อนที่ (Dynamic Induced emf.) หมายถึง การทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ โดยการให้ตัวนำเคลื่อนที่ตัดผ่าน สนามแม่เหล็กโดยที่สนามแม่เหล็กอยู่กับที่ไม่ต้องเคลื่อนที่แต่อย่างใด แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยให้ตัวนำอยู่กับที่ (Static Induced emf.) หมายถึงการทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยให้สนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงตัดกับตัวนำ จากผลของการเปลี่ยนแปลงหรือลดของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิดคือ 1) แรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำร่วม (Mutual Induced emf.) 2) แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำภายในตัวเอง (Self-Induced emf.) 3) แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยให้สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ (Dynamic Induced emf.) การเหนี่ยวนำของแรงดันไฟฟ้า สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการเคลื่อนที่สนามแม่เหล็กตัด กับตัวนำหรือขดลวดตัวนำได้เช่นเดียวกัน 2.1.4 แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ขณะหมุนจะมีฟลักซ์แม่เหล็กเปลี่ยนแปลงผ่านขดลวด ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า เหนี่ยวนำมีทิศทางตรงข้ามกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าเดิม เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้ากลับ ในกรณีมอเตอร์ติดขัด หรือหมุนช้ากว่าปกติแรงเคลื่อนไฟฟฟ้ากลับจะมีค่าน้อยทำให้กระแสไฟฟ้าในขดลวดมีค่ามาก อาจทำให้ ขดลวดร้อนจนไหม้ได้ จึงจำเป็นต้องตัดสวิตซ์เพื่อหยุดการทำงานของมอเตอร์ทุกครั้งที่แรงเคลื่อนไฟฟ้า กลับมีค่าน้อย ค่าของปริมาณที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าเปลี่ยนค่าตามเวลาในรูปฟังก์ชันไซน์ ดังสมการ e = E_m sin⁡ωt เมื่อ e เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เวลา t ใด ๆ Em เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ สูงสุด ω เป็นความถี่เชิงมุมซึ่งมีค่าเท่ากับ 2πf (โดย f เป็นความถี่ในการเปลี่ยนค่าซ้ำเดิมของ แรงเคลื่อนไฟฟ้า)


7 ไมเคิล ฟาราเดย์ พบว่า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสนามแม่เหล็กจะมีผลให้เกิดการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของตัวนำในสนาม แม่เหล็กจะก็ให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในตัวนำนั้น เรียกว่าการเหนี่ยวนำแม่ เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะเกิดขึ้นเสมอในตัวนำที่วางอยู่ในสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลง ภาพที่ 2.3 แรงเคลื่อนไฟฟ้า กฏการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ กล่าวว่าขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในตัวนำเป็น สัดส่วนกับอัตราการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก กฏของเลนซ์ กล่าวว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะเกิดขึ้นเพื่อขัดขวางสาเหตุที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงเช่น ในมอเตอร์ไฟฟ้า จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเกิดขึ้นเสมือนเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สร้าง แรงเคลื่อนไฟฟ้าเพื่อขัดขวางแรงเคลื่อนไฟฟ้า (e.m.f) ที่ต่อไว้สำหรับขับเคลื่อนมอเตอร์นั้น กฏมือขวาของเฟรมมิง หรือกฏไดนาโม กล่าวว่าทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำหาได้จากทิศ ของสนามแม่เหล็ก และทิศการเคลื่อนที่โดยใช้มือขวา ภาพที่ 2.4 กฏมือขวาของเฟรมมิง


8 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไดนาโม (Generator or dynamo) คือ อุปกรณ์ที่แปลงพลังงานกล เป็นพลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ดังกล่าวจะบังคับกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านวงจรภายนอก แหล่งที่มาของ พลังงานกลอาจจะเป็นลูกสูบหรือเครื่องยนต์กังหันไอน้ำ หรือแรงน้ำตกผ่านกังหันน้ำหรือล้อน้ำ หรือ เครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือกังหันลม หรือข้อเหวี่ยงมือ หรืออากาศอัด หรือแหล่งพลังงานกลอื่นๆ โดย เครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นจะเป็นวิธีหลักที่ใช้ในการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายเข้าโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าของ ประเทศ การแปลงย้อนกลับของพลังงานไฟฟ้ากลับไปเป็นพลังงานกลจะกระทำโดยมอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความคล้ายคลึงกันมาก มอเตอร์หลายตัวสามารถขับเคลื่อนเครื่องจักร เพื่อผลิตไฟฟ้าและบ่อยครั้งที่ได้รับการยอมรับให้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ภาพที่ 2.5 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างง่าย การเหนี่ยวนำร่วม (Mutual induction) เป็นการเหนี่ยวนำแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้าในขดลวดอื่น การเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้าจะก็ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กซึ่งเหนียวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวดที่อยู่ในสนามแม่เหล็กนั้น ปรากฏการณ์เช่นนี้แสดงให้เห็นได้ด้วยวงแหวนเหล็กของฟาราเดย์ (http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric1/Electromagnetic_induction.htm)


9 ภาพที่ 2.6 วงแหวนเหล็กของฟาราเดย์ 2.2 ทฤษฎีหลักการ การสร้างเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) 2.2.1 การเชื่อม Resistance การเชื่อม Resistance เกี่ยวข้องกับการสร้างความร้อนจากการผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านโลหะ ที่มีความ ต้านทานไฟฟ้า ซึ่งบริเวณที่มีความต้านทานสูงคือบริเวณรอยที่ผิวโลหะคนละชิ้นมาสัมผัสกัน จะ เกิดความร้อน สูงสุด ทำให้โลหะหลอมละลายเกิดเป็นบ่อหลอมเชื่อมต่อโลหะทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปกระบวนการเชื่อมนี้ทำให้เกิดมลพิษต่ำ แต่มีข้อจำกัดด้านการใช้งานที่ไม่หลากหลาย และ อุปกรณ์มีราคาแพง สามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้อีก 5 ประเภท คือ 1) Spot Welding 2) Seam Welding 3) Projection Welding 4) Upset Welding 5) Flash Welding การเชื่อมแบบ Flash Welding หรือ Upset Welding พื้นที่หน้าตัดของรอยต่อจะเพิ่มขึ้น Flash Welding จะใช้กับงานที่มีพื้นที่หน้าตัดใหญ่มากๆ เมื่อเทียบกับ Upset welding จะใช้กับงานที่มี พื้นที่หน้าตัดน้อยๆ เช่นเครื่องเชื่อมต่อคอยล์ เครื่องเชื่อมต่อใบเลื่อย เป็นต้น


10 การเชื่อมที่ใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ คือ การเชื่อมแบบ Spot Welding ให้ติดกับโลหะแผ่น ภาพที่ 2.7 การเชื่อม resistance spot welding 2.2.2 การเชื่อม Spot Welding เป็นการเชื่อม resistance ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้งานเชื่อมต่อแผ่นโลหะที่วางซ้อนกันโดยมี ความหนาตั้งแต่0.5-3 มิลลิเมตร ในการเชื่อม spot นั้น อิเล็กโทรดสองชิ้นจะทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้า เข้าสู่ชิ้นงาน และกดชิ้นงานในเวลาเดียวกัน ข้อดีของกระบวนการนี้คือใช้พลังงานน้อยและไม่ทำให้ชิ้นงาน เสียรูป ทำงานได้รวดเร็ว สามารถทำป็นระบบอัติโนมัติได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้ลวดเติม แต่ความ แข็งแรงของแนวเชื่อมที่ได้จะต่ำกว่าการเชื่อมด้วยกระบวนการอื่นๆ กระบวนการเชื่อม spot welding นี้ นิยมใช้มากในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์โดยประยุกต์ใช้กับแขนหุ่นยนต์ในรถยนต์คันหนึ่งอาจมีรอยเชื่อม spot ได้มากถึงหลายพันจุด หรือแม้แต่ในงานเฟอร์นิเจอร์กล่องคอนโทรลต่างๆ ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กัน อย่างแพร่หลายทั่วไป (https://www.craftskill.co/spot-welding) ข้อดี การเชื่อมจุดนั้นง่ายและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องใช้ฟลักซ์หรือโลหะฟิลเลอร์ใด ๆ เพื่อสร้างการ เชื่อมโดยการเชื่อมแบบจุดและไม่มีเปลวไฟที่อันตราย การเชื่อมแบบสปอตสามารถทำได้โดยไม่มีทักษะ


11 พิเศษใด ๆ เครื่องจักรอัตโนมัติสามารถตรวจจับรอยเชื่อมในโรงงานเพื่อเพิ่มความเร็วในการผลิต เครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานรถยนต์ผลิตมากถึง 200 จุดเชื่อมในหกวินาที การเชื่อมแบบจุดสามารถใช้เพื่อ เชื่อมโลหะหลายชนิดและสามารถเชื่อมชนิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แผ่นบางที่มีขนาด 1/4 นิ้วสามารถทำการ เชื่อมแบบจุดและอาจมีการรวมหลายแผ่นเข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน ข้อเสีย อิเล็กโทรดจะต้องสามารถเข้าถึงชิ้นส่วนโลหะทั้งสองด้านที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เครื่องเชื่อม จุดเฉพาะจะสามารถยึดความหนาของโลหะได้เพียง 5 ถึง 50 นิ้วเท่านั้นและถึงแม้ว่าตำแหน่งของขั้วไฟฟ้า สามารถปรับได้ แต่จะมีจำนวน จำกัด ในการเคลื่อนไหวในที่จับขั้วไฟฟ้าส่วนใหญ่ ขนาดและรูปร่างของขั้วไฟฟ้าจะกำหนดขนาดและความแข็งแรงของรอยเชื่อม แบบฟอร์มการเข้าร่วมที่จุด ที่อิเล็กโทรดสัมผัสกับโลหะเท่านั้น หากกระแสไฟฟ้าไม่แรงพอความร้อนเพียงพอหรือโลหะไม่ยึดติดกับ กำลังแรงเพียงพอจุดเชื่อมอาจมีขนาดเล็กหรืออ่อนแอ การแปรปรวนและการสูญเสียความแข็งแรงของ ความล้าสามารถเกิดขึ้นได้รอบจุดที่มีรอยเชื่อมโลหะ การปรากฏตัวของการเข้าร่วมมักจะค่อนข้างน่า เกลียดและอาจมีรอยแตก โลหะอาจต้านทานการกัดกร่อนน้อยลง ข้อจำกัด การเชื่อมจุดมีประโยชน์ในหลาย ๆ สถานการณ์แม้ว่าจะมีข้อ จำกัด อยู่บ้าง มันสามารถ สร้างการรวมที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่นเท่านั้นซึ่งอาจไม่แข็งแกร่งเป็นพิเศษ ความแข็งแรงของจุดเชื่อม ขึ้นอยู่กับแรงและอุณหภูมิที่ใช้และความสะอาดของขั้วไฟฟ้าและโลหะ ความยากลำบากในการติดตั้ง ขั้วไฟฟ้ากับชิ้นส่วนโลหะที่มีรูปร่างผิดปกติสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการใช้เครื่องเชื่อมจุดแบบพกพา มี ขั้วไฟฟ้าที่ต่ออยู่กับสายเคเบิลยาวเพื่อให้สามารถเข้าถึงสถานที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ (http://eng.sut.ac.th/me/2014/document/LabManuIndAuto/H.pdf) 2.2.3 ลักษณะเฉพาะของการเชื่อมแบบ Spot Welding 1) กระบวนการเชื่อมแบบจุดจะทำให้วัสดุแข็งตัว ทำให้เกิดการบิดงอ ซึ่งจะช่วยลดความ แข็งแรงของความล้าของวัสดุ และอาจยืดวัสดุรวมทั้งอบได้ ผลกระทบทางกายภาพของการเชื่อมแบบจุด รวมถึงการแตกร้าวภายใน รอยแตกที่พื้นผิว และรูปลักษณ์ที่ไม่ดี คุณสมบัติทางเคมีที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ความต้านทานภายในของโลหะและคุณสมบัติการกัดกร่อนของโลหะ 2) เวลาในการเชื่อมมักสั้นมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหากับอิเล็กโทรด ไม่สามารถเคลื่อนที่เร็ว พอที่จะยึดวัสดุไว้ได้ ตัวควบคุมการเชื่อมจะใช้พัลส์คู่เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระหว่างพัลส์แรก หน้าสัมผัส


12 อิเล็กโทรดอาจไม่สามารถทำการเชื่อมได้ดี ชีพจรแรกจะทำให้โลหะนิ่มลง ในระหว่างการหยุดระหว่างพัลส์ ทั้งสอง อิเล็กโทรดจะเข้ามาใกล้และสัมผัสได้ดีขึ้น 3) ในระหว่างการเชื่อมแบบจุด กระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ขนาดใหญ่ และกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กจะโต้ตอบกันเพื่อสร้างสนามแรงแม่เหล็กขนาดใหญ่ด้วย ซึ่งจะขับเคลื่อนโลหะที่หลอมเหลวให้เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วด้วยความเร็วไม่เกิน 0.5 ม. /s. ดังนั้นการ กระจายพลังงานความร้อนในการเชื่อมแบบจุดสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากจากการเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็วของโลหะหลอมเหลว สามารถสังเกตการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในการเชื่อมแบบจุดด้วยการ ถ่ายภาพความเร็วสูง 4) เครื่องเชื่อมแบบจุดพื้นฐานประกอบด้วยแหล่งจ่ายไฟ หน่วยเก็บพลังงาน (เช่น ธนาคาร ตัวเก็บประจุ) สวิตช์ หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับการเชื่อม และอิเล็กโทรดสำหรับการเชื่อม องค์ประกอบกัก เก็บพลังงานช่วยให้ช่างเชื่อมส่งระดับพลังงานในทันทีในระดับสูง หากความต้องการพลังงานไม่สูง ก็ไม่ จำเป็นต้องเก็บพลังงาน สวิตช์ทำให้พลังงานที่เก็บไว้ถูกทิ้งลงในหม้อแปลงเชื่อม หม้อแปลงเชื่อมลดแรงดัน และเพิ่มกระแส คุณลักษณะที่สำคัญของหม้อแปลงไฟฟ้าคือลดระดับปัจจุบันที่สวิตช์ต้องจัดการ อิเล็กโทรดเชื่อมเป็นส่วนหนึ่งของวงจรทุติยภูมิของหม้อแปลงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีกล่องควบคุมที่จัดการ สวิตช์และอาจตรวจสอบแรงดันหรือกระแสของอิเล็กโทรดเชื่อม 5) ความต้านทานที่นำเสนอต่อช่างเชื่อมนั้นซับซ้อน มีความต้านทานของขดลวดทุติยภูมิ สายเคเบิล และอิเล็กโทรดเชื่อม นอกจากนี้ยังมีความต้านทานการสัมผัสระหว่างอิเล็กโทรดเชื่อมและ ชิ้นงาน มีความต้านทานของชิ้นงานและความต้านทานการสัมผัสระหว่างชิ้นงาน 6) ในช่วงเริ่มต้นของการเชื่อม ความต้านทานการสัมผัสมักจะสูง ดังนั้นพลังงานเริ่มต้นส่วน ใหญ่จะกระจายไปที่นั่น ความร้อนและแรงจับยึดจะทำให้วัสดุนิ่มและเรียบที่ส่วนต่อประสานระหว่างวัสดุ อิเล็กโทรดและให้การสัมผัสที่ดีขึ้น (กล่าวคือ ลดความต้านทานหน้าสัมผัส) ส่งผลให้พลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ ชิ้นงานมากขึ้นและความต้านทานทางแยกของชิ้นงานทั้งสอง เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าถูกส่งไปยังรอยเชื่อม และทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น อิเล็กโทรดและชิ้นงานจะนำความร้อนนั้นออกไป เป้าหมายคือการใช้พลังงานให้ เพียงพอเพื่อให้ส่วนหนึ่งของวัสดุภายในจุดหลอมเหลวโดยไม่ต้องละลายทั้งจุด เส้นรอบวงของจุดนั้นจะนำ ความร้อนออกไปมากและทำให้ปริมณฑลมีอุณหภูมิต่ำกว่า ด้านในของจุดนั้นถ่ายเทความร้อนได้น้อยกว่า จึงละลายก่อน หากใช้กระแสเชื่อมนานเกินไป จุดทั้งหมดจะหลอมเหลว วัสดุหมดหรือล้มเหลว และ "รอย เชื่อม" จะกลายเป็นรู 7) แรงดันไฟที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมขึ้นอยู่กับความต้านทานของวัสดุที่จะเชื่อม ความหนา ของแผ่นและขนาดที่ต้องการของนักเก็ต เมื่อทำการเชื่อมแบบทั่วไป เช่น เหล็กแผ่น 1.0 + 1.0 มม.


13 แรงดันไฟฟ้าระหว่างอิเล็กโทรดจะอยู่ที่ประมาณ 1.5 V ที่จุดเริ่มต้นของการเชื่อม แต่อาจลดลงเหลือ 1 V ที่ส่วนท้ายของรอยเชื่อม แรงดันไฟฟ้าที่ลดลงนี้เป็นผลมาจากความต้านทานที่ลดลงซึ่งเกิดจากการหลอม ของชิ้นงาน แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าสูงกว่านี้ โดยทั่วไปอยู่ในช่วง 5 ถึง 22 โวลต์ 8) ความต้านทานของจุดเชื่อมจะเปลี่ยนไปตามการไหลและทำให้เป็นของเหลว อุปกรณ์ เชื่อมที่ทันสมัยสามารถตรวจสอบและปรับรอยเชื่อมแบบเรียลไทม์เพื่อให้แน่ใจว่ารอยเชื่อมมีความ สม่ำเสมอ อุปกรณ์อาจพยายามควบคุมตัวแปรต่างๆ ระหว่างการเชื่อม เช่น กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟ กำลัง หรือพลังงาน 9) ขนาดเครื่องเชื่อมมีตั้งแต่ 5 ถึง 500 kVA เครื่องเชื่อมแบบจุดขนาดเล็กที่ใช้ใน อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถลดขนาดลงเหลือ 1.5 kVA หรือน้อยกว่าสำหรับความต้องการในการเชื่อมที่มี ความแม่นยำ 10) เป็นเรื่องปกติที่จะพ่นละอองโลหะหลอมเหลว (ประกายไฟ) ออกจากบริเวณรอยเชื่อม ระหว่างกระบวนการ 11) การเชื่อมแบบจุดต้านทานไม่ทำให้เกิดอาร์คสว่าง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องป้องกันรังสี ยูวีOSHA ต้องใช้กระบังหน้าหรือแว่นตาแบบใสเพื่อป้องกันการกระเซ็น แต่ไม่ต้องใช้เลนส์กรองใด ๆ (https://hmong.in.th/wiki/Spot_welding) 2.2.4 เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด จะใช้การเหนี่ยวนำของหม้อแปลง มาใช้เป็นหลัก และการเชื่อมจะเป็นแบบ resistance ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้งานเชื่อมต่อแผ่นโลหะที่วาง ซ้อนกันที่มีความหนาได้ถึง 3 มิลลิเมตร เครื่องเชื่อมสปอต (Spot Welding) ใช้ในการเชื่อมผลิตภัณฑ์แผ่นโลหะต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยอาศัยความร้อนที่ได้รับจากความต้านทานกระแสไฟฟ้า และหลอมให้ชิ้นงานเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถ พบการใช้งานในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงยานยนต์ การบินและอวกาศ รถไฟ เฟอร์นิเจอร์โลหะ อิเล็กทรอนิกส์ อาคารทางการแพทย์ และการก่อสร้าง เป็นต้น 2.2.5 การวิเคราะห์เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) จะต้องสามารถวิเคราะห์โจทย์ คือ ความต้องการใช้งาน ของผู้ใช้เครื่องสปอตนั้น โดยศึกษาปัญหาของสภาพแวดล้อม ตามเงื่อนไขในการใช้งานเครื่องสปอต


14 2.2.6 การออกแบบเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) ข้อมูลจากการวิเคราะห์อาจจัดทำแผนผังรวมของระบบ เพื่อใช้อธิบายระบบที่ระบบจะถูก นำมาใช้ ออกแบบเครื่องสปอต และกำหนด สเปคซิฟีเคชั่น หรือเรียกย่อกันว่าสเปคของอุปกรณ์ต่างๆใน ระบบย เพื่อจัดชุดอุปกรณ์ให้เชื่อมโยงตามสิ่งที่ระบบต้องการทำงาน จากความรู้ความเข้าใจของผู้ทำการ ออกแบบเครื่องสปอต และได้ออกแบบไว้ และถ้าเป็นระบบใหญ่ควรมีแผนผังสำหรับการต่อเชื่อม สายสัญญาณต่างๆด้วย 2.3 อุปกรณ์การสร้างเครื่องสปอต (Spot welding) 2.3.1 หม้อแปลงไมโครเวฟ 800 w หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงของเตาอบไมโครเวฟได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างแรงดันไฟฟ้าที่ จำเป็นต่อการใช้พลังงานของ magnetron ทางเลือกของหม้อแปลงในแง่ของพารามิเตอร์ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของ magnetron ที่ติดตั้งในเตาเผาเฉพาะ ยิ่งมีพลังมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งต้องมีการพัฒนาหม้อแปลง ไฟฟ้าที่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าแรงสูงและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ magnetron จึง เป็นแบบคู่ที่แยกออกไม่ได้ แกนหลักของหม้อแปลงไฟฟ้าประกอบขึ้นด้วยแกนซึ่งเป็นแผ่นเหล็กรูปตัว W ที่ทำจากเหล็กไฟฟ้าและยึดติดกันโดยการเชื่อม (ในรูปรอยเชื่อม) หน้าแปลนเชื่อมต่อกับด้านล่างของหีบ ห่อในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแผ่นเหล็กโดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดอยู่กับด้านล่างของเตาอบไมโครเวฟ หม้อ แปลงมีสามขดลวด: หลัก (ไฟ) และสองรอง ขดลวดทุติยภูมิรวมถึงขดลวดเส้นด้ายและขดลวดขั้นตอน (ขั้วบวก) ม้วนเครือข่ายเป็นแผล (ตามกฎ) เคลือบ, ลวดอลูมิเนียม ปลายม้วนอยู่ใต้ขั้ว ขดลวดเส้นใยเป็น 2 ถึง 3 รอบของสายการติดตั้งและถูกออกแบบมาเพื่อใช้ไส้หลอด magnetron ตัวขดลวดที่ขดลวดใน รูปแบบของตัวนำมีตัวเชื่อมต่อเพื่อให้เชื่อมต่อกับขั้วของ magnetron ได้ง่าย คดเคี้ยวของความร้อนให้ แรงดันไฟฟ้าประมาณ 3.3V. ณ ปัจจุบันของ 10A ค่าที่แน่นอนของกระแสและแรงดันไฟฟ้าขึ้นอยู่กับคู่ เฉพาะ magnetron เป็นหม้อแปลง รูปแบบคดเคี้ยวขึ้น - ลง แรงดันไฟฟ้าสูง จำเป็นต้องใช้พลังงาน magnetron ประมาณ 2000 โวลต์จะถูกเอาออกจากขดลวดนี้ที่ปัจจุบันของ 0.3A ค่าที่แน่นอนยังขึ้นอยู่ กับคู่ magnetron - transformer เฉพาะ ม้วนเป็นแผลด้วยลวดเคลือบฟัน ปลายด้านหนึ่งถูกนำมาอยู่ ภายใต้เทอร์มินอลและอีกด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับแกนหม้อแปลง (ผ่านแกนและตัวเตา) ด้วยการบัดกรี การ ก่อสร้างหม้อแปลงทั้งสำหรับฉนวนกันความร้อนที่เชื่อถือได้ของขดลวดและเพื่อขจัดการพูดพล่อยใน ระหว่างการดำเนินการเป็นชุบด้วยวานิชเคลือบพิเศษ (https://wiid.ru/th/wiring/transformer-microwave-oven-characteristics-how-to-use-atransformer-from-a-microwave-oven/)


15 ภาพที่ 2.8 หม้อแปลงไมโครเวฟ 800 w 2.3.2 เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Supply) Power Supply หรือแหล่งจ่ายไฟ คืออุปกรณ์จ่ายไฟให้กับอุปณ์ต่าง ๆ ทำหน้าที่แปลง แรงดันไฟฟ้าให้ตรงกับแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะการใช้งาน คือ AC Power Supply และ DC Power Supply DC Power Supply (Direct Current Power Supply) แหล่งจ่ายไฟตรง ทำหน้าที่แปลง ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current) จากไฟบ้าน 220V ให้เหลือแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) ตามความต้องการในการใช้งาน เช่น 3.3V 5V หรือ 12V เป็นต้น ประเภทของ DC Power 1) Supply Switching power supply มีการกรองสัญญาณก่อนจ่ายค่าออกไป สามารถ ปรับค่าแรงดันโดยการปรับที่หม้อแปลงด้าน primary ข้อดีของพาวเวอร์ซัพพลายชนิดนี้คือมีน้ำหนักเบา เพราะแกนของหม้อแปลงมีขนาดเล็ก สามารถใช้ได้กับระบบไฟฟ้าทุกแบบ 2) Linear regulated สามารถจ่ายค่าแรงดันตามที่กำหนดได้และมีการลดค่าแรงดัน อินพุตที่เกินออกเพื่อให้สามารถจ่ายค่าแรงดันเอาต์พุตสูงสุดให้กับโหลด พาวเวอร์ซัพพลายชนิดนี้ไม่ สามารถรักษาระดับแรงดันได้ ทำได้แค่ลดค่าแรงดันที่เกินมาเท่านั้น จึงต้องรักษาระดับของแรงดันอินพุต


16 ให้สูงกว่าเอาต์พุตที่ต้องการอย่างน้อย 1V ถึง 3V มีความร้อนระบายออกมาค่อนข้างเยอะ จึงไม่ค่อยมี ประสิทธิภาพ มีขนาดใหญ่ หนักและราคาแพง 3) Unregulated power supply จ่ายค่าแรงดันไม่คงที่และมีสัญญาณรบกวนในขณะที่ จ่ายไฟกระแสตรง ถ้าค่าแรงดันอินพุตที่เข้ามาไม่คงที่ ค่าแรงดันเอาท์พุตที่จ่ายออกไปจะไม่คงที่เช่นกัน แต่ พาวเวอร์ซัพพลายชนิดนี้ก็ยังมีข้อดีคือ ราคาถูกและใช้งานง่าย 4) Ripple regulated power supply มีทรานซิสเตอร์ทำงานในโหมด on/off ทำหน้าที่ ส่งผ่านกำลังไฟตรงไปยังตัวเก็บประจุขนาดใหญ่เพื่อรักษาระดับแรงดันเอาต์พุตให้อยู่ในช่วงที่กำหนด มี ความร้อนระบายออกมาเล็กน้อย ทำให้ปลอดภัยในการใช้งาน (https://www.dol.go.th/it/Pages/) ภาพที่ 2.9 Power Supply 2.3.3 พัดลมระบายความร้อน (Cooling fans) พัดลมระบายความร้อน สร้างขึ้นมาเพื่อความสะดวกสะบายในชีวิตและสังคมในทุกวันนี้ได้ ถูกรองรับด้วยระบบควบคุมที่ทันสมัยซึ่งอาจเป็นแหล่งที่จะกำเนิดความร้อน ในการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ ตลอด 24 ชั่วโมง อุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องมีการออกแบบการจัดการความร้อนนี้อย่างเหมาะสม โอเรียน ทัล มอเตอร์ มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถจัดการกับความร้อนนี้โดยมุ่งเน้นไปยังพัดลมระบายความร้อนเพื่อ ตอบสนองกับความต้องการนี้ พัดลมระบายความร้อนชนิดเป่าตามแนวแกนนี้ใช้ใบพัดในการสร้างการไหล ของอากาศในทิศทางตามแนวแกหมุน สามารถสร้างการไหลของอากาศได้มาก พัดลมชนิดนี้เหมาะสำหรับ การระบายอากาศและระบายความร้อนภายในอุปกรณ์ต่างๆ


17 ประเภทของพัดลมระบายความร้อน หลักการทำงานของพัดลมระบายความร้อนจะเกิดขึ้นจากการแปลงพลังงานนั่นคือพลังงาน ไฟฟ้าพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานกลและพลังงานจลน์หลักการวงจรแบ่งโดยทั่วไปเป็นรูปแบบต่างๆ วงจรใช้แตกต่างกันประสิทธิภาพของพัดลมจะแตกต่างกัน สามารถจำแนกพัดลมระบายความร้อน ดังนี้ 1) พัดลมแกน ใบพัดของพัดลมตามแนวแกนดันอากาศไหลไปในทิศทางเดียวกับเพลา ใบพัด ของพัดลมแกนมีลักษณะคล้ายกับใบพัด ที่ทำงานส่วนใหญ่ของการไหลของอากาศจะขนานไปกับแกนหรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งตามแนวแกน เมื่อการไหลของอากาศขาเข้าเป็น 0 แรงดันคงที่อากาศพัดลมแกนมีการใช้ พลังงานต่ำสุดและการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเมื่อแรงดันย้อนกลับของอากาศเพิ่มขึ้นในระหว่างการใช้ งาน พัดลมแกนมักจะติดตั้งในตู้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางครั้งยังรวมอยู่ในมอเตอร์เนื่องจากโครงสร้างพัดลมแกน มีขนาดเล็กสามารถประหยัดพื้นที่มากและในเวลาเดียวกันการติดตั้งสะดวกจึงมีการใช้กันอย่าง แพร่หลาย ลักษณะของมันคืออัตราการไหลสูงและความดันลมปานกลาง 2) พัดลมแบบแรงเหวี่ยง เมื่อพัดลมแบบแรงเหวี่ยงทำงานใบพัดจะผลักดันให้อากาศไหลไป ในทิศทางที่ตั้งฉากกับแกน (ทิศทางแนวรัศมี) ช่องอากาศเข้าออกตามแนวแกนในขณะที่เต้าเสียบทาง อากาศตั้งฉากกับทิศทางแกน ในกรณีส่วนใหญ่การระบายความร้อนทำได้โดยการใช้พัดลมตาม แนวแกน อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องใช้พัดลมแบบแรงเหวี่ยงถ้าจำเป็นต้องหมุนเวียนอากาศ 90 องศาหรือ ต้องใช้แรงลมมากขึ้น แฟนอย่างเคร่งครัดเป็นของพัดลมแบบแรงเหวี่ยง ลักษณะของมันคืออัตราการไหล ที่ จำกัด และความดันลมสูง 3) พัดลมแบบผสมสามตัว พัดลมฟรานซิสยังเรียกพัดลมไหลขวางในตอนแรกพัดลมผสม และพัดลมแกนไม่ได้เป็นสิ่งที่ในความเป็นจริงทางเข้าเป็นพัดลมผสมพัดลมไปตามแกนพร้อมแกนและแกน แนวตั้ง อย่างไรก็ตามทิศทางทแยงมุมคือ พัดลมมีความดันลมสูงขึ้นเนื่องจากกรวยใบมีดและฝาครอบและ เสียงของพัดลมแบบแรงเหวี่ยงต่ำกว่าพัดลมตามแนวแกนที่มีขนาดเท่ากันและประสิทธิภาพที่เทียบเท่ากัน อื่น ๆ ลักษณะของมันคืออัตราการไหลที่สูงและความดันลมที่ค่อนข้างสูง 4) พัดลมสี่ตัว การไหลของอากาศแบบท่อสามารถผลิตกระแสอากาศในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งมักใช้บนพื้นผิวที่มีขนาดใหญ่ของอุปกรณ์ระบายความร้อน ทางเข้าและทางออกของพัดลมตั้งฉากกับ แกน (ดังแสดงทางด้านขวา) พัดลมไหลข้ามคือการใช้ใบพัดพัดลมทรงกระบอกยาวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ใบมีดทรงกระบอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่เนื่องจากความสามารถขนาดใหญ่เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้ความเร็ว ค่อนข้างต่ำซึ่งขึ้นอยู่กับการไหลเวียนของอากาศโดยรวมลดเสียงรบกวนที่เกิด ด้วยการทำงานที่ความเร็ว สูง ลักษณะของมันมีอัตราการไหลต่ำและความดันลมต่ำ (http://m.th.cg-dy.com/info/the-types-ofcooling-fan-22434954.html)


18 ภาพที่ 2.10 พัดลมระบายความร้อน 2.3.4 แผงควบคุมเครื่องเชื่อมจุด แผงควบคุมเครื่องเชื่อมจุด เป็นตัวควบคุมที่พัฒนาขึ้นอย่างอิสระสำหรับการเชื่อมแบบ DIY หรือแบบง่าย หลักการซิลิกอนควบคุมการเปลี่ยนเฟสแบบทริกเกอร์ถูกนำมาใช้เพื่อปรับเวลาและกระแส เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเชื่อม คุณสมบัติหลักของตัวควบคุม 1) การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ศูนย์ควบคุมอุตสาหกรรม STM8 2) ไฟฟ้าที่แข็งแกร่งและอ่อนแอผ่านฉนวนกันความร้อน OPTOCOUPLER, การดำเนินงาน ที่ปลอดภัย 3) สายไฟและสายสวิทช์เท้าadoptsสายฟ้าขั้วเชื่อมต่ออย่างรวดเร็วสะดวกและเชื่อถือได้ มากขึ้น 4) เวลาในการป้อนข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้โพเทนชิโอมิเตอร์ที่มีความแม่นยำสูงเพื่อให้มั่นใจ ได้ว่ามีการป้อนข้อมูลที่เชื่อถือได้และสะดวก 5) on-board แหล่งจ่ายไฟ, รัฐ, เท้า, ตัวบ่งชี้ทริกเกอร์, สถานะการทำงานที่มองเห็นได้ ชัดเจน 6) การออกแบบที่เชื่อถือได้ศูนย์ข้ามการตรวจสอบวงจรเพื่อให้แน่ใจว่า SCR เฟสเปลี่ยน ความถูกต้อง 7) ตัวควบคุมเข้ากันได้กับ 40A/100ASCR


19 8) อินเตอร์เฟซการควบคุมแบบดิจิตอลคุณสามารถแสดงเวลาปัจจุบันและการตั้งค่าปัจจุบัน 9) เวลาอินพุตของ 1-50, หน่วยวงจร (1 รอบ คือ 20 ms), อินพุตปัจจุบัน (30-99%) (https://th.aliexpress.com/item/33018463390.html?spm=a2g0o.seodetail.topbuy.1.3be92 7e5xeFlAf) ภาพที่ 2.11 แผงควบคุม Spot Welding 2.3.5 สายไฟ สายไฟ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบไฟฟ้า ทำหน้าที่ส่งผ่านพลังานหรือ สัญญาไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยเฉพาะระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าไปยัง ผู้ใช้งานไฟฟ้าทั่วประเทศผ่านระบบสายส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า ทั้งในระบบแรงดันสูง แรงดันปาน กลาง และแรงดันต่ำนอกจากนี้สายไฟฟ้ายังใช้ในระบบสื่อสารและโทรคมนนาคม และ ระบบควบคุมใน ภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย ทั้งนี้สายไฟฟ้า คือ วัสดุที่ประกอบไปด้วยธาตุโลหะที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า และนำความร้อนได้ดี เนื่องจากเนื้อโลหะที่มีความแข็งและเหนียว โดยเฉพาะทองแดงที่สามารถนำมาแปร รูปได้ตามต้องการ จึงได้รับความนิยมในวงการของอุตสาหกรรมซึ่งสายไฟแต่ละชนิดจะได้รับการออกแบบ แตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างและคุณสมบัติการใช้งาน เช่น


20 1) สายที่ประกอบไปด้วยตัวนำไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว 2) สายที่ประกอบด้วยฉนวนหุ้มตัวนำไฟฟ้า 3) สายที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มหรือชั้นป้องกันเสริมเป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน สายไฟแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power cable) ลักษณะของสายไฟ รับแรงดันไฟฟ้าได้ไม่เกิน 6kV ส่วนใหญ่จะมีฉนวนเป็น Cross-linked polyethylene (XLPE) ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานกว่าฉนวน PVC และยังทนความร้อนได้สูงถึง 90 ํC บางชนิดอาจมีการเสริมโครงสร้างโลหะเพื่อรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นจากการติดตั้งได้มากขึ้น เช่น สาย CV, CV-AWA, CV-SWA เป็นต้น 2) สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Power Cable) รับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 36kV ถึง 170kV ตัวนำทองแดง มีโครงสร้างหลายแบบขึ้นอยู่กับ ลักษณะการนำไปใช้งาน วิธีเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับประเภทของงาน สายไฟสำหรับติดตั้งภายในบ้าน หรือ อาคาร การเลือกสายไฟสำหรับ บ้านพักอาศัย หรือ อาคารขนาดเล็ก สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของการผลิตที่ได้มาตรฐาน มอก. และ มาตรฐานระดับสากล IEC เพราะสายไฟในกลุ่มประเภท Household รวมไปถึงสายโทรศัพท์ เป็นสายไฟ ที่ใกล้ตัวผู้อยู่อาศัยมากที่สุด และอยู่รอบตัวของผู้ใช้ตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย สายไฟฟ้าในระบบสาธารณูปโภค เป็นระบบที่สำคัญในการเชื่อมโยง ระบบไฟฟ้าแรงสูงจาก โรงผลิตไฟฟ้า เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่แห่งพลังงานไฟฟ้า ที่เชื่อมต่อให้ประชาชนทั่วประเทศ ดังนั้น สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ลที่ใช้งานเพื่อเป็นสายส่งนั้น ต้องมีความปลอดภัยสูงสุด มีสภาพพร้อมใช้งาน ตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความ ปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย (https://www.pdcable.com /บทความ/สายไฟ-คืออะไร/)


21 ภาพที่ 2.12 สายไฟ 2.3.6 ท่อหด สำหรับหุ้มสายไฟฟ้า (Heat Shrink Tube) ท่อหด เป็นท่อที่ผลิตมาจากเทอร์โมพลาสติกหลายชนิด เช่น polyolefin Polyvinyl chloride Neoprene ยางไวตัน เป็นต้น แล้วนำพลาสติกเหล่านี้มาผ่านกระบวนการทางเคมีด้วยวิธีการ ฉายรังสีด้วยลำแสงอิเล็กตรอน ซึ่งการฉายรังสีทำให้ท่อหดตัวเมื่อโดนความร้อน ท่อหดนั้นมีคุณสมบัติทน ต่อความร้อนได้ดี มีความยืดหยุ่น ไม่ติดไฟ ป้องกันกรดด่าง และสารเคมีต่างๆ ได้ โดยส่วนใหญ่นิยมนำท่อ หดมาใช้ประโยชน์ในการห่อหุ่มสายไฟ สายเคเบิล และสายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หรือใช้สำหรับ ต่อเชื่อมสายไฟขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยป้องกันความชื้น ความร้อน ฝุ่นละออง และป้องกันอันตรายจาก กระแสไฟฟ้ารั่วจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วท่อหดยังมีหลายชนิด หลายขนาด ให้ได้ เลือกใช้งานตามความต้องการ การใช้งานง่ายเพียงสอดสายไฟหรืออุปกรณ์ที่ต้องการห่อหุ้มเข้าไปในท่อ หด จากนั้นเป่าด้วยลมร้อน ท่อหดก็จะเกิดการหดตัว และแนบสนิทกับสายไฟทันที ท่อหด สำหรับงานช่างทั่วไปและงานช่างไฟฟ้า ที่มีลักษณะพิเศษสำหรับหุ้มสายไฟฟ้า หรือ ส่วนที่เป็นโลหะนำไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเป็นปลอกฉนวนหุ้มไฟฟ้า และช่วยป้องกันอันตรายจาก ไฟฟ้าลัดวงจร โดยท่อหดจะสามารถหดตัวได้เป็นอย่างดีเมื่อได้รับความร้อนในอุณหภูมิประมาณ 70 °C ทำให้เราสามารถสวมท่อหดคร่อมสายไฟ หรืออุปกรณ์ตัวใหญ่ๆได้ (https://th.misumi-ec.com/th/pr/recommend_category/shrink_tube201905/)


22 ภาพที่ 2.13 ท่อหด 2.3.7 ทองแดง (Copper) ทองแดงถือเป็นโลหะที่ถูกใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ (Bronze Age) จนถึงปัจจุบัน และเป็นโลหะที่ถูกใช้มากรองลงมาจากเหล็ก และอลูมิเนียม ปัจจุบันมีการนำโลหะทองแดงมาใช้เป็น ส่วนผสมของทอง และเงินมากขึ้น เพื่อเพิ่มคมแข็งแรง ความคมสวยงาม และทนต่อการกัดกร่อน โดยใช้ โลหะทองแดงในรูปทองแดงเจือสำเร็จรูป ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ง่าย โลหะทองแดงบริสุทธิ์ ใช้เรียกโลหะทองแดงที่มีส่วนผสมไม่เกิน 0.5% โดยน้ำหนัก และใช้ คำว่า โลหะทองแดงผสมกับโลหะทองแดงที่มีทองแดงไม่ต่ำกว่า 40% แต่ไม่มากกว่า 99% โดยน้ำหนัก ประโยชน์ของทองแดง สำหรับประโยชน์ของทองแดง มีหลายประการด้วยกัน ดังนี้ 1) มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าเป็นอันดับสอง จึงนิยมนำมาใช้ทำลวดส่งกระแสไฟฟ้า และ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ทั้งช่วยป้องกันการไหม้ของสายไฟได้ดี 2) ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญ ในโลหะผสมหลายชนิด เช่น ทองเหลือง โมเนลและสำริด เป็นต้น เพิ่มความแข็งให้กับโลหะ โดยใช้ผสมกับเงิน และทอง 3) ใช้ในการทำเครื่องประดับและเหรียญตราต่าง ๆ ซึ่งจะได้เครื่องประดับที่สวยงาม และ ทนทานอย่างมาก


23 จุดเด่นของทองแดง ทองแดงมีจุดเด่น คือ ความสามารถในการทนต่อการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี แม้ต่อให้อยู่ใน น้ำทะเลที่ว่ากันว่ามีฤทธิ์ในการกัดกร่อนมากที่สุด และทองแดงก็ยังสามารถคงสภาพเดิมได้อย่างสวยงาม ยกตัวอย่าง เมื่อคริสศตวรรษที่ 16 ได้มีการพบซากเรือที่จมอยู่ใต้ทะเล คาดว่าจมอยู่นานหลายปีแล้ว และ พบรอกที่ทำจากทองแดง แต่ยังมีสภาพดีและใช้งานได้อย่างปกติที่สุด จึงทำให้ทราบว่าทองแดงสามารถ ทาต่อการกัดกร่อนได้ดี(https://www.kachathailand.com/articles/ทองแดง-ทองเหลือง-จุดเด่น/) ภาพที่ 2.14 แท่งทองแดง 2.3.8 ปากกาเชื่อมจุด (Spot welding pen) ปากกาเชื่อมจุด หัวสปอต มีสวิตซ์ในตัว Spot welding pen เป็นตัวนำแท่งทองแดงหนา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นเวลานาน จะต้องใช้ร่วมกับเครื่อง สปอต (Spot welder) เป็นปากกาสปอตที่ช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้น เร็วขึ้น โดยใช้แค่มือเดียว มีสวิตช์ ในตัว สายสวิตซ์สามารถใช้ช่องเดียวกับสวิตซ์เท้าเหยียบ ทำมาจากแผ่นทองแดงหนา และพลาสติกที่ แข็งแรง มีเสถียรภาพ ทนต่อการสึกหรอ และประหยัดแรง


24 ภาพที่ 2.15 ปากกาเชื่อมจุด (Spot welding pen) 2.3.9 เหล็ก (Iron) ธาตุเหล็กนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ fe เหล็กมีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันเป็นธาตุที่ พบเห็นได้ในทุกวัน โดยเฉพาะในการก่อสร้าง ในโรงงานอุตสาหกรรมอีกทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการ สร้างบ้าน อาคาร ต่างๆ เหล็กจึงเป็นธาตุที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วยังใช้ในการทำเป็นวัสดุ ต่างๆ ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักร และอื่น ๆ อีกมากมาย เหล็กเป็นโลหะสีเงิน สีขาว หรือสีเทา เป็นเงา วิธีการหล่อสามารถใช้ค้อนทุบเป็นแผ่นบางๆ ได้ และยังสามารถยืดได้ เหล็กมีความต้านทานแรงดึงสูงมาก อีกทั้งยังนำไฟฟ้า นำความร้อนได้ดีอีกด้วย และยังสามารถใช้ประโยชน์ต่างๆได้มากมาย แต่คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเหล็กนั้นคือสามารถหล่อแล้ว ขึ้นรูปใหม่ได้และยังมีความทนทานที่ยอดเยี่ยม นอกจากนี้เหล็กสามารถใช้ในการโค้ง งอ ม้วน ดัดเป็น รูปร่างรูปแบบและอื่นๆ เพื่อนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของที่เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือนำมาใช้ใน โรงงานอุตสาหกรรมได้ ผลิตภัณฑ์เหล็ก โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ หลายหมวดหมู่ (1) ยานยนต์ (2) การก่อสร้าง (3) ภาชนะบรรจุภัณฑ์และการจัดส่ง (4) เครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม (5) การขนส่งทางรถไฟ (6) อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ (7) อุปกรณ์ไฟฟ้า (8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ในครัว เหล็กเป็นโลหะที่ใช้งานกันมาก เมื่อเหล็กรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศชื้นผลิตภัณฑ์ของ ปฏิกิริยานี้ จะเกิดเป็น เหล็กออกไซด์ เป็นที่รู้จักกันก็คือสนิมนั้นเอง เหล็กยังทำปฏิกิริยากับน้ำร้อนได้ดี


25 และไอน้ำในการผลิตก๊าซไฮโดรเจน นอกจากนี้ยังละลายในกรดได้ดีที่สุดและทำปฏิกิริยากับองค์ประกอบ อื่น ๆ อีกมากมาย (https://th.wikipedia.org/wiki/) ภาพที่ 2.16 เหล็กแผ่น


บทที่ 3 ขั้นตอนและวิธีดำเนินโครงงาน จากการศึกษาโครงงานเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด กลุ่มผู้จัดทำ โครงงานได้ทำการศึกษาและสอบถามข้อมูลจากอาจารย์ รวมถึงศึกษาเก็บรวมรวมข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลและโครงงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงงาน โดยมี ขั้นตอนการศึกษา ดังนี้ 3.1 ส่วนที่เป็นเอกสารประกอบ 3.1.1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลหัวข้อทฤษฏีที่จะต้องใช้ในการสร้างเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด 3.1.2 เรียบเรียงเนื้อหาที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าที่ได้มาข้างต้น เพื่อทำการจัดพิมพ์เอกสาร ประกอบ 3.1.3 จัดพิมพ์เอกสาร เมื่อได้เรียบเรียงเนื้อหาเอกสารแล้ว ได้จัดพิมพ์เอกสารตามเนื้อหาที่ กำหนด ตรวจสอบข้อมูล และความถูกต้องของเอกสาร 3.1.4 ส่งอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อจัดพิมพ์เอกสารแล้วก็นำเอกสารที่ได้ส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษา ตรวจสอบความถูกต้อง และทำการแก้ไขตามที่ได้รับคำแนะนำ แล้วจึงจัดทำรูปเล่มเพื่อนำเสนอ โครงงาน กกกก 3.2 ส่วนที่เป็นตัวเครื่องชิ้นงาน 3.2.1 เสนอหัวข้อโครงงาน การเสนอหัวข้อโครงงาน ได้จากการปรึกษาและระดมสมองของสมาชิกในกลุ่ม หลังจาก นั้นก็ได้นำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเพื่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน แล้วจึง นำเสนอเพื่อขออนุมัติจัดทำ 3.2.2 ศึกษาข้อมูลอุปกรณ์และวงจรที่เกี่ยวข้อง การศึกษาข้อมูลอุปกรณ์และวงจรที่เกี่ยวข้อง คณะผู้จัดทำได้ศึกษารายการอุปกรณ์และ วงจรที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นต้องใช้ การทำงานของอุปกรณ์และวงจรที่เกี่ยวข้อง แหล่งที่จำหน่าย และ ราคาของอุปกรณ์และวงจรที่เกี่ยวข้อง


27 3.2.3 จัดซื้ออุปกรณ์และวงจรที่เกี่ยวข้อง และทำการต่อวงจรทดลอง หลังจากได้ข้อมูลเกี่ยวกับรายการอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้พร้อมราคา และแหล่ง จำหน่ายแล้ว คณะผู้จัดทำได้เดินทางไปซื้ออุปกรณ์และวงจรที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประกอบเครื่อง เชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด และทำการทดลอง 3.2.4 ทำการประกอบวงจรและติดตั้งอุปกรณ์เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่อง เชื่อมจุด หลังจากได้อุปกรณ์ตามที่ต้องการแล้ว ก็ได้นำมาประกอบวงจรและติดตั้งอุปกรณ์เครื่อง เชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด ตามที่ออกแบบไว้ 3.2.5 ทำการทดสอบการทำงาน ในการทดสอบการทำงาน เป็นการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์และวงจรเครื่องเชื่อม สปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด เพื่อทดสอบให้แน่ใจว่าเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ 3.2.6 อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบและแก้ไข เมื่อได้ทำการทดสอบแล้ว หากเกิดปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ก็จะไปปรึกษาอาจารย์ที่ ปรึกษาเพื่อทำการแก้ไข แล้วจึงทำการประกอบโครงงานที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน 3.3 ขั้นตอนการทำโครงงาน 3.3.1 จัดเตรียมอุปกรณ์ ภาพที่ 3.1 จัดเตรียมอุปกรณ์


28 3.3.2 พันหม้อแปลง ภาพที่ 3.2 พันหม้อแปลง 3.3.3 ต่อแผงวงจร ภาพที่ 3.3 ต่อแผงวงจร


29 3.3.4 ต่อกล่องเครื่องเชื่อมสปอต ภาพที่ 3.4 ต่อกล่องเครื่องเชื่อมสปอต 3.3.5 พ่นสีกล่องเครื่องเชื่อมสปอต ภาพที่ 3.5 พ่นสีกล่องเครื่องเชื่อมสปอต


30 3.3.6 ทดสอบการทำงาน ภาพที่ 3.6 ทดสอบการทำงาน


บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล ในการจัดทำโครงงานเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด ครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาการทำงานของเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) เพื่ออำนวยความ สะดวกต่อการใช้งาน และเพื่อช่วยในการใช้ในงานช่างบางชนิด ภายหลังจากเสร็จสิ้นโครงการผล ปรากฏว่าเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด สามารถเชื่อมแผ่นโลหะที่วางซ้อน กันโดยมีความหนาตั้งแต่ 0.5-3 มิลลิเมตร โดยใช้พลังงานน้อยและไม่ทำให้ชิ้นงานเสียรูป ทำงานได้ เร็ว และไม่จำเป็นต้องใช้ลวดเติม รวมถึงสามารถแก้ปัญหาการเชื่อมชิ้นงานขนาดเล็กที่เครื่องเชื่อม บางชนิดใช้งานได้ไม่สะดวกได้จริง 5.2 อภิปรายผล ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน 1) เนื่องจากอุปกรณ์ในการทำชิ้นงานบางชนิด ในพื้นที่ไม่มีวางจำหน่ายขณะที่ดำเนินโครงงาน จึงจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าจาก Internet ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรอสินค้า ทำให้การดำเนินโครงการ เกิดการล่าช้าไปกว่าแผนงานที่กำหนดในครั้งแรก กกกกก2) ในการทำชิ้นงานครั้งแรก ใช้ท่อทองแดงทำหัวเชื่อมเครื่องสปอต แต่ปรากฏว่าไม่เหมาะสม กับการใช้งานต้องทำการเปลี่ยนหัวเชื่อมใหม่ ทำให้การดำเนินโครงการเกิดการล่าช้าไปกว่าแผนงานที่ กำหนดในครั้งแรก แนวทางการแก้ไขปัญหา 1) ในการดำเนินงาน ควรมีการวางแผนในการจัดซื้ออุปกรณ์ให้รอบคอบ โดยควรสำรวจตลาด ในพื้นที่ก่อน เพื่อจะกำหนดแผนการดำเนินงานและวางแผนการสั่งซื้อวัสดุไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถ ดำเนินงานได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด 2) ควรเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการให้เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งาน และ มีความสวยงาม


34 5.3 ข้อเสนอแนะ การสร้างเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด หรือการทำโครงงานครั้ง ต่อไป ควรเริ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูลตั้งแต่ก่อนที่จะทำโครงการซักระยะหนึ่ง เพื่อการทำงานที่รวดเร็ว และเพื่อป้องกันการเกิดปัญหากับวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำชิ้นงาน ควรวางแผนให้ดี ก่อนลงมือปฏิบัติเพราะหากเกิดปัญหาภายหลังจะทำให้งานเสร็จล่าช้า หรือไม่ทันตามระยะเวลาที่ กำหนด


บรรณานุกรม การเชื่อม. สืบค้นจาก (https://www.craftskill.co/spot-welding) การเชื่อมแบบ Spot Welding. สืบค้นจาก (https://hmong.in.th/wiki/Spot_welding) การเหนี่ยวนำ. สืบค้นจาก (https://hmong.in.th/wiki/Induced_current) การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า. สืบค้นจาก http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/ electric1/Electromagnetic_ (induction.htm) ข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด ของการเชื่อม. สืบค้นจาก http://eng.sut.ac.th/me/2014/document/ LabManuIndAuto/H.pdf) ทองแดง (Copper). สืบค้นจาก (https://www.kachathailand.com/articles/ทองแดงทองเหลือง-จุดเด่น/) ท่อหด สำหรับหุ้มสายไฟฟ้า (Heat Shrink Tube). สืบค้นจาก (https://th.misumiec.com/th/pr/recommend_category/shrink_tube201905/) แผงควบคุมเครื่องเชื่อมจุด. สืบค้นจาก (https://th.aliexpress.com/item/33018463390.html? spm=a2g0o.seodetail.topbuy.1.3be927e5xeFlAf) พัดลมระบายความร้อน (Cooling fans). สืบค้นจาก (http://m.th.cg-dy.com/info/the-typesof-cooling-fan-22434954.html) พันธ์ศักดิ์ พุฒิมานิตพงศ์. งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ ส่งเสริมอาชีวะ, 2550. เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Supply). สืบค้นจาก (https://www.dol.go.th/it/Pages/) สายไฟ. สืบค้นจาก (https://www.pdcable.com /บทความ/สายไฟ-คืออะไร/) หม้อแปลงไมโครเวฟ 800 w. สืบค้นจาก (https://wiid.ru/th/wiring/transformer-microwaveoven-characteristics-how-to-use-a-transformer-from-a-microwave-oven/) เหล็ก (Iron). สืบค้นจาก (https://th.wikipedia.org/wiki/)


ภาคผนวก


แบบเสนอโครงงาน 1. ชื่อโครงงาน เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) 2. ผู้รับผิดชอบ 1. นายกนกศักดิ์ เพ็ชรมณี 2. นายกฤติน แสงปาน 3. นายฐิติวัสส์ สินฉ่ำ 3. ระยะเวลาการดำเนินงาน พฤศจิกายน 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 4. หลักการและเหตุผล ปัจจุบันมีเครื่องเชื่อมที่หลากหลายและใช้ได้หลายรูปแบบที่ได้ผลิตขึ้นมา เครื่องเชื่อมหรือตู้ เชื่อมนั้นเป็นเครื่องสำหรับงานช่างประเภทงานเชื่อม ซึ่งงานเชื่อมเป็นการเชื่อมด้วยไฟฟ้าหรือแก๊ส เป็นต้น โดยการผสมผสานระหว่างโลหะเข้าด้วยกันหรือติดกัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุนแรงให้กับช่าง เชื่อมในการเชื่อมโลหะหรือเหล็ก โดยวิธีการทำงาน ตู้เชื่อมจะใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สจะใช้ความร้อนที่เกิด จากการอาร์กของไฟฟ้าหรือแก๊สหลอมให้โลหะหรือเหล็ก เครื่องเชื่อมมีหลายประเภท เช่น ตู้เชื่อม อาร์กอน TIG ตู้เชื่อไฟฟ้า ARC เครื่องตัดพลาสม่า เป็นต้น แต่การเชื่อมในปัจจุบันนั้นยังไม่ตอบสนอง ช่างและผู้บริโภคในบางส่วน จึงทำให้เกิดการคิดค้นเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่อง เชื่อมจุด นั้นจะนิยมใช้ในงานเชื่อมแผ่นโลหะที่วางซ้อนกันโดยมีความหนาตั้งแต่ 0.5-3 มิลลิเมตร ข้อดี ชองกระบวนการเชื่อมสปอตคือใช้พลังงานน้อยและไม่ทำให้ชิ้นงานเสียรูป ทำงานได้เร็ว และไม่ จำเป็นต้องใช้ลวดเติม จากปัญหาดังกล่าวผู้จัดทำโครงงานได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำ โครงงานจึงได้จัดทำโครงงานเครื่องสปอต (Spot welding) นี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว 5.วัตถุประสงค์ 5.1 เพื่อสร้างเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) 5.2 เพื่อสร้างเครื่องทุนแรงของผู้บริโภคในบางส่วน 5.3 เพื่อช่วยในการใช้ในงานช่างบางชนิด 6.เป้าหมาย 6.1 เป้าหมายเชิงคุณภาพ โครงงานเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) สามารถนำไปใช้ในงานบางชนิดได้ 6.2 เป้าหมายเชิงปริมาณ ได้โครงงานเครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) จำนวน 1 เครื่อง


7.แผนการดำเนินงาน 8. สถานที่ดำเนินการ - สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ 9. งบประมาณ - งบประมาณจากสมาชิกโครงงานจำนวน 2,000 บาท 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) จำนวน 1 เครื่อง 2. เพื่อสร้างเครื่องทุนแรงของผู้บริโภคในบางส่วน 3. เพื่อช่วยในการใช้ในงานช่างบางชนิด 11. การติดตามและประเมินโครงการ - จากการสอบโครงงาน ลงชื่อ………………………………. (นายกฤติน แสงปาน) ลงชื่อ………………………………. (นายฐิติวัสส์ สินฉ่ำ) ลงชื่อ………………………………. (นายกนกศักดิ์ เพ็ชรมณี) ผู้เสนอโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน พฤศจิกายน 64 ธันวาคม 64 มกราคม 65 กุมภาพันธ์65 มีนาคม 65 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1.ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2.ประชุมวางแผน 3.นำเสนอหัวข้อโครงงาน เพื่ออนุมัติ 4.ดำเนินการจัดทำโครงงาน ตามแผน 5.สอบโครงงาน


ลงชื่อ…………………………………… (นายวรากร พรมจิ๋ว) อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ 12. ความคิดเห็นของคณะกรรมการ อนุมัติ ไม่อนุมัติ เพราะ................................................................................................................. ลงชื่อ……………………………..ประธานกรรมการ (นายศิริพงศ์ ชาลีน้อย) ลงชื่อ……………………………..กรรมการ (นายเอกราช เขียวทอง) ลงชื่อ……………………………..กรรมการ (นายวรากร พรมจิ๋ว) ลงชื่อ……………………………..หัวหน้าสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ (นายชาตรีเริงชัยภูมิ)


ใบรับรองโครงงาน สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ เรื่อง เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) โดย นายกนกศักดิ์ เพ็ชรมณี นายกฤติน แสงปาน นายฐิติวัสส์ สินฉ่ำ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ....................................................หัวหน้าสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ( นายชาตรี เริงชัยภูมิ ) วันที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 คณะกรรมการตรวจสอบโครงงาน ....................................................ประธานกรรมการ ( นายศิริพงศ์ ชาลีน้อย ) .....................................................กรรมการ ( นายเอกราช เขียวทอง )


ประวัติผู้จัดทำ ชื่อ – สกุล นายกนกศักดิ์ เพ็ชรมณี รหัสนักศึกษา 62201050001 ชื่อเรื่อง เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด สาขางาน อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชา อิเล็กทรอนิกส์ ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2547 อายุ17 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 66 ม.5 ต.เริงราง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี 18160 เบอร์โทรศัพท์ 098-8434906 ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ.2562 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนเสาไห้“วิมลวิทยานุกูล” ปี พ.ศ.2564 สำเร็จการศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ อิเล็กทรอนิกส์


ประวัติผู้จัดทำ ชื่อ – สกุล นายกฤติน แสงปาน รหัสนักศึกษา 62201050002 ชื่อเรื่อง เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด สาขางาน อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชา อิเล็กทรอนิกส์ ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 อายุ 17 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 85 ม.4 ตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 18160 เบอร์โทรศัพท์ 082-2827489 ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ.2562 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนเสาไห้“วิมลวิทยานุกูล” ปี พ.ศ.2564 สำเร็จการศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ อิเล็กทรอนิกส์


ประวัติผู้จัดทำ ชื่อ – สกุล นายฐิติวัสส์ สินฉ่ำ รหัสนักศึกษา 62201050006 ชื่อเรื่อง เครื่องเชื่อมสปอต (Spot welding) หรือเครื่องเชื่อมจุด สาขางาน อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชา อิเล็กทรอนิกส์ ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2547 อายุ17 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 72/1 ม.1 ต.ยางม่วง อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120 เบอร์โทรศัพท์ 096-9973129 ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ.2562 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนอนุบาลวัดลูกแก ประชานูทิศ จ.กาญจนบุรี ปี พ.ศ.2564 สำเร็จการศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ อิเล็กทรอนิกส์


Click to View FlipBook Version