The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thanaprangtong_c, 2022-03-05 12:27:41

คำนาม

คำนาม

คำนาม

คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ
สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็ นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่ง
ไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็ นรูปธรรม และนามธรรม เช่นคำว่า คน ปลา
ตะกร้า ไก่ ประเทศไทย จังหวัดพิจิตร การออกกำลังกาย
การศึกษา ความดี ความงาม กอไผ่ กรรมกร ฝูง ตัว เป็ นต้น

คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด

๑. สามานยนาม
๒. วิสามานยนาม
๓. สมุหนาม
๔. ลักษณะนาม
๕. อาการนาม

สามานยนาม

สามายนาม หรือเรียกว่า คำนามทั่วไป
คือ คำนามที่เป็ นชื่อทั่วๆ ไป เป็ นคำเรียกสิ่งต่างๆ
โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ปลา ผีเสื้อ คน

สุนัข วัด ต้นไม้ บ้าน หนังสือ ปากกา เป็ นต้น

วิสามานยนาม

วิสามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามเฉพาะ
คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉาะของคน สัตว์ หรือสถานที่
เป็ นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า เป็ นใครหรือเป็ นอะไร เช่น

พระพุทธชินราช เด็กชายวิทวัส จังหวัดพิจิตร
วัดท่าหลวง ส้มโอท่าข่อย

พระอภัยมณี วันจันทร์ เดือนมกราคม เป็ นต้น

สมุหนาม

สมุหนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่
ของคำนามทั่วไป และคำนามเฉพาะ
เช่น ฝูงผึ้ง กอไผ่

คณะนักทัศนาจร บริษัท พวกกรรมกร เป็ นต้น

ลักษณะนาม

ลักษณะนาม คือ เป็ นคำนามที่บอกลักษณะของคำนาม
เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด ปริมาณ ของคำนามนั้นนั้น

ให้ชัดเจน เช่น บ้าน ๑ หลัง โต๊ะ ๕ ตัว
คำว่า หลัง และ ตัว เป็ นลักษณะนาม

หลัง

ตัว

แผ่น

ลักษณะนาม

อาการนาม คือ คำนามที่เป็ นชื่อกริยาอาการ
เป็ นสิ่งที่เป็ นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง

มักมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า
เช่น การกิน การเดิน การพูด การอ่าน การเขียน

ความรัก ความดี ความคิด ความฝั น เป็ นต้น

หน้าที่ของคำนาม

๑. ทำหน้าที่เป็ นประธานของประโยค
๒. ทำหน้าที่เป็ นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ
๓. ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น
๔. ทำหน้าที่เป็ นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม
๕. ใช้ตามหลังคำบุพบทเพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือ
ขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขี้น
๖. ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น
๗. ใช้เป็ นคำเรียกขานได้


Click to View FlipBook Version