บันทึกข้อความ ส่วนราชการ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงปาดี ที่ ศธ ๐๒๑๐.๔๐๑๓/๑๔๗ วันที่ ๒๑ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เรื่อง สรุปผลการดำเนินโครงการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบพัฒนาอาชีพระยะสั้น หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง เรียน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงปาดี ๑.เรื่องเดิม ตามที่ งานการศึกษาต่อเนื่อง ได้รับจัดสรรแผนงาน งบประมาณโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ประเภทงบรายจ่ายอื่น โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน รหัสงบประมาณ ๒๐๐๐๒๓๕๐๕๒๐๐๕๐๐๐๐๓๓ กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง ) และได้ดำเนินการจัดโครงการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบพัฒนาอาชีพระยะ สั้น หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง ในระหว่างวันที่ ๒๗ เดือน กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๑๐ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ศาลาประชาคมบ้านกำปงบือแน ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตำบลริโก๋ เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั้น ๒. ข้อเท็จจริง ในการนี้ กศน.ตำบลริโก๋ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานโครงการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบพัฒนาอาชีพระยะสั้น การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง ดังตารางต่อไปนี้ พร้อมรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงานตามที่แนบ ที่ โครงการ/กิจกรรม สรุปเชิงปริมาณ สูงกว่าแผนที่กำหนด หมาย เหตุ ค่าเป้าหมาย ตามแผน ผลการ ดำเนินงาน ร้อยละ จำนวน (คน) ร้อยละ ๑. การศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบ พัฒนาอาชีพระยะสั้น การตัด เย็บเสื้อมินิกูรง ๖ ๗ ๑๐๐ ๑ ๑๖.๖๗ ๓. ข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งตามคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ๔๘๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๑ เรื่อง การมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอและผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต ปฏิบัติราชการแทน ข้อ ๑ ๔. ข้อพิจารณาและเสนอแนะ - จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ลงชื่อ........................................ ลงชื่อ........................................... ( นางสาวชนัญญา ศรีสุข ) ( นางยามีละห์ สิงหะ ) ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ครู กศน.ตำบล ความเห็นผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงปาดี .......................................................................................................................................................... ............................. ลงชื่อ........................................... (นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์) ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงปาดี
กศน.ตำบลริโก๋อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนา อาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยใช้หลักสูตรของ สำนักงาน กศน. มาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการบูรณาการทักษะอาชีพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำการเปิดสอน การศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลริโก๋และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการประกอบอาชีพรวมถึงเป็นแนวทางในการตัดสินใจประกอบอาชีพในอนาคต กศน.ตำบลริโก๋ขอขอบคุณบุคลากร กศน.อำเภอสุไหงปาดี และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ให้ความอนุเคราะห์ ข้อมูลในการสรุปผลการดำเนินงาน และเพื่อให้การจัดการเรียนรู้วิชาชีพการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพ ระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ กศน.ตำบลริโก๋จึงได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานดังกล่าว เพื่อนำผลผลการดำเนินงานดังกล่าวมาเป็น แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป กศน.ตำบลริโก๋ มีนาคม ๒๕๖๖ คำนำ
เรื่อง หน้า ❖ คำนำ ก ❖ สารบัญ ข ❖ บทที่ ๑ บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของการประเมิน ๑ วัตถุประสงค์ของการประเมิน ๑ ขอบเขตการประเมิน ๑ นิยามศัพท์เฉพาะ ๑ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๒ ❖ บทที่ ๒ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมินโครงการ ๓ ❖ บทที่ ๓ วิธีการประเมินโครงการ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ๖ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ๖ การวิเคราะห์ข้อมูล ๖ การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ๗ การเก็บและรวบรวมข้อมูล ๗ การวิเคราะห์ข้อมูล ๗ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ๗ ❖ บทที่ ๔ ผลการประเมินโครงการ ตอนที่ ๑. แสดงผลการวิเคราะห์ความถี่ร้อยละ (Valid Percent) ๘ ตอนที่ ๒. แสดงผลค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ๑๐ ตอนที่ ๓. แสดงผลการวิเคราะห์ของข้อเสนอแนะอื่นๆ ๑๑ ❖ บทที่ ๕ สรุปผลการประเมิน อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ สรุปผลการประเมินโครงการ ๑๒ การอภิปรายผล ๑๓ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประเมินโครงการ ๑๓ สารบัญ
เรื่อง หน้า ❖ ภาคผนวก ภาพกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้นกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ขออนุมัติการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการเรียนรู้ เอกสารการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง บรรณานุกรม ผู้จัดทำ สารบญั(ต่อ)
บทที่ ๑ บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของการประเมิน จากนโยบายการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาด้านอาชีพ ใน 5 กลุ่ม อาชีพ ประกอบด้วย อาชีพด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านพาณิชยกรรม ด้านความคิดสร้างสรรค์และด้าน อำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายผู้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพสามารถนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ได้จริง และสร้างรายได้ที่มั่นคง สภาพสังคมปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปอย่าง รวดเร็วไม่เพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกมุมโลก มนุษย์จึงประสบปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการดำรง ชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนัก คือ ทรัพยากรที่มีอยู่และการใช้ทรัพยากรใน ชีวิตประจำวันจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องลดการใช้ทรัพยากร และคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า จากเวทีประชาคมหมู่บ้าน กศน.อำเภอสุไหงปาดี ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการการเรียนรู้ด้านอาชีพ ในพื้นที่ พบว่าปัจจุบันประชาชนมีความเดือดร้อนด้านเศรษฐกิจราคาสินค้าบริโภคอุปโภคมีราคาสูง แต่ราคาสินค้า ทางการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ เช่น ยางพารา ลองกอง พืชผักท้องถิ่น มีราคาต่ำ ส่งผลให้ ประชาชนส่วนมากมีรายได้ไม่พอรายจ่าย ประกอบกับพื้นที่ในอำเภอสุไหงปาดีเป็นพื้นที่ที่มีผลกระทบจากความไม่ สงบ ทำให้พ่อค้าคนกลางไม่กล้าที่จะมารับซื้อสินค้าทางการเกษตร เกษตรกร ไม่มีอำนาจต่อรองราคา ประชาชนขาด การรวมกลุ่มอาชีพเดียวกัน และผลการสำรวจความต้องการประชาชน ในพื้นที่ อำเภอสุไหงปาดี มีรายได้ไม่พอกับ รายจ่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรม เมื่อหมดช่วงฤดูกาล ของการเกษตรแล้วไม่มีอาชีพเสริมทำให้ขาดรายได้ ช่วงนอกฤดูกาลประชาชนเกิดการว่างงาน ต้องออกจากพื้นที่ไปหางานเสริมต่างๆ เช่น รับจ้างทั่วไป หลายคน จำเป็นต้องออกจากบ้าน ละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปทำงานต่างจังหวัด ต่างประเทศ เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว และ มีความต้องการที่จะเรียนรู้อาชีพเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ลดรายจ่าย และสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริม รายได้ให้แก่ครอบครัว การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของ ประเทศ ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมความ เข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่าง ๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับ การศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เสื้อผ้าถือเป็นเครื่องแต่งกาย เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ทุกคนต้องแสวงหามาเพื่อห่อหุ้มร่างกาย ในขณะเดียวกันก็ต้องการความสวยงาม ช่วยสร้างบุคลิกให้กับผู้สวมใส่ จึงมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคน กศน.อำเภอสุไหงปาดี จึงได้จัดหลักสูตร อาชีพตัดเย็บเสื้อมินิกูรง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนที่ต้องการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง และครอบครัว หรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพที่เป็นงานอิสระและมั่นคงได้ วัตถุประสงค์ของการประเมิน ๑. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง ๒. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะเกี่ยวกับการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง ๓. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง ๔. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้และทักษะการตัดเย็บเสื้อมินิกูรงไปประกอบเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักเพื่อให้เกิดรายได้
ขอบเขตของการประเมิน การประเมินโครงการครั้งนี้เป็นการประเมินความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการตัดเย็บเสื้อมินิกูรงและปัญหา การดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง)การการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ดำเนินการประเมินระหว่างเดือน มีนาคม นิยามศัพท์เฉพาะ การจัดการศึกษา หมายถึง การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดอย่างเป็นระบบ สัมพันธ์ สอดคล้องกับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้ หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆโดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการจัดการศึกษาดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี/ ปฏิบัติและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะ อันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด กศน.ตำบลริโก๋หมายถึง สถานที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ผลการประเมินการดำเนินงานเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการบริหารจัดการอาชีพการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง ๒. ผลที่ได้จากการประเมินการดำเนินงานเป็นความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือคิดค้นพัฒนางานใหม่ เกี่ยวกับการการตัดเย็บเสื้อมินิกูรงได้ ๓. ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เกี่ยวข้องนำผลการประเมินการดำเนินงานไปใช้พัฒนางานและเผยแพร่ผล การพัฒนาให้แพร่หลาย
บทที่ ๒ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมินโครงการ การประเมินการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ผู้ประเมินได้ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้ในการประเมิน ดังนี้ ๑. การจัดการศึกษาต่อเนื่อง ๒. แนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน. ๓. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑. การจัดการศึกษาต่อเนื่อง การจัดการศึกษาต่อเนื่องมีการจัดกิจกรรม/โครงการ/หลักสูตรการศึกษานอกระบบในรูปแบบที่หลากหลาย ดังนี้ ๑.๒ การศึกษาต่อเนื่อง ๑) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทำประเภทช่างพื้นฐาน/ช่างชนบท และอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและศักยภาพของแต่ ละพื้นที่ หลักสูตรระยะสั้น เน้นการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ให้กับ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการ กศน. ร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่คน ในชุมชน ให้สามารถพัฒนาตนเองสู่ความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน (กลุ่มแผนงาน สำนักงาน กศน.:๒๕๕๙) ๒. แนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน. ๑) การนิเทศจะต้องอยู่บนพื้นฐาน ปรัชญา และหลักการของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการจัด กศน. ของสำนักงาน กศน. และสถานศึกษา ๒) การนิเทศ กศน. ควรเป็นกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เช่น แผนงานโครงการกิจกรรมและเทคนิค ต่างๆ ในการนิเทศ ควรตั้งอยู่บนเจตคติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผลของการนิเทศจะต้องถูกต้องสมบูรณ์เชื่อถือ ได้ สามารถสะท้อนคุณภาพการจัด กศน. ของสถานศึกษาได้ตรงตามสภาพจริง ๓) การนิเทศ กศน. เป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้องและเครือข่าย ที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่เคารพศักดิ์สิทธิ์ ของความเป็นมนุษย์ อดทนต่อความแตกตาง คามหลากหลายให้ความเท่าเทียมกันเสมอภาคกัน ความเป็นอิสระ สร้างบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม ๔) การนิเทศ กศน. จะต้องมีการประเมินผลการนิเทศอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านปัจจัยการนิเทศ กระบวนการ นิเทศ และผลที่เกิดจากการนิเทศ และนำผลการประเมินมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการดำเนินงานนิเทศ เพื่อ พัฒนาการนิเทศการศึกษาให้มีคุณภาพ ความสำคัญของการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การนิเทศเป็นงานสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับการบริหารเพราะการนิเทศเป็นส่วน หนึ่งของการบริหาร องค์ประกอบของการบริหารย่อมขึ้นอยู่กับคน เงิน วัสดุ และการจัดการ การที่จะบริหารคนให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้บริหารจะต้องมีเทคนิคที่เหมาะสม เทคนิคในการบริหารอย่างหนึ่ง คือ การนิเทศเพื่อ ส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ สามารถใช้เงิน วัสดุได้อย่างคุ้มค่า มีหลักการจัดการที่ดี ดังนั้น การที่ จะควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ ผู้บริหารต้องใช้เทคนิคการบริหารงานและ
การนิเทศควบคู่กัน การนิเทศการศึกษาเป็นความพยายามในการแนะนำ กระตุ้นให้กำลังใจช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญ ด้านการศึกษา เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ หรือปรับปรุง กระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการสูญเปล่าทางการศึกษาน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีการจัดกิจกรรมการศึกษาที่หลากหลายให้บริการ แก่กลุ่มเป้าหมายประเภทต่างๆ และไม่ได้สังกัด สำนักงาน กศน. ทำให้เห็นความจำเป็นของการนิเทศการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาทุกประเภทเข้าใจนโยบายปรัชญา การจัด กศน. ที่สามารถสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การจัดกิจกรรม กศน. จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๑. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาบริหารหลักสูตรจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการศึกษา พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีและการนิเทศภายในอย่างมีคุณภาพ ๒. ส่งเสริมให้สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐาน กศน. ๓. เพื่อให้คำปรึกษา เสนอแนะ เป็นที่พึ่งในการพัฒนาวิชาการของสถานศึกษา และสำนักงาน กศน. จังหวัด ๔. เพื่อประสาน สนับสนุนและเผยแพร่งานทางด้านวิชาการแก่สถานศึกษาและสำนักงาน กศน. จังหวัด (อ้างถึง อัญชลี ธรรมะวิธีกุล : ๒๕๕๓) ๓. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กิจจา เวสประชุม ได้กล่าวถึงขอบข่ายของการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพประกอบไปด้วยงานดังนี้ ๑. หลักสูตร ได้แก่ การจัดการศึกษาพัฒนาอาชีพ ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลประโยชน์สูงสุดได้นั้น หลักสูตรควรมีความเหมาะสมหลายๆ ด้าน ๒. กิจกรรมการเรียนการสอน คือพฤติกรรมที่เกิดร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจึงจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ และทักษะเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ๓. วิทยากร เป็นบุคคลสำคัญที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ มีความชัดเจนในเนื้อหาวิชามีประสบการณ์ทางการ สอนมีความสามารถในการปรับเนื้อหาวิชาตามสภาพของผู้เรียน ๔. สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนการสอนวิชาชีพนั้นสื่อการสอนมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะ นอกจากจะเป็นการสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้แล้วยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ดีและรวดเร็วขึ้น ๕. การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลมีขึ้นก็เพื่อจะได้ทราบข้อบกพร่องในการเรียนการสอน ว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่สิ่งใดสมควรแก้ไขและสิ่งใดควรแก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้การเรียนการสอนวิชาชีพได้ผลจริง สอดคล้องกับอัญชลี ธรรมะวิธีกุล ที่กล่าวถึงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพจะต้องอยู่ บนพื้นฐาน ปรัชญา และหลักการของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สอดคล้องกับนโยบายและ จุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. และสถานศึกษาโดยมีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ มีกระบวนการ ทำงานร่วมกับผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่าย ซึ่งจะต้องมีการประเมินผล การนิเทศอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านปัจจัยการนิเทศ กระบวนการนิเทศ และผลที่เกิดจากการนิเทศ และนำผลการ ประเมินมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการดำเนินงานนิเทศ เพื่อพัฒนาการนิเทศการศึกษาให้มีคุณภาพ
บทที่ ๓ วิธีการประเมินโครงการ การประเมินผลการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตร การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ผู้ประเมินมีวิธีการประเมินผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ ผู้เข้าร่วมการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตร การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง จำนวน ๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) ได้แก่ แบบประเมิน ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพการต่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนา อาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตร การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น ๓ ตอน ดังนี้ ตอนที่ ๑ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้เข้าร่วมการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) ตอนที่ ๒ แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจ / ความรู้ความเข้าใจ / การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วม การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ตอนที่ ๓ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการดำเนินงานในครั้งนี้ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาค่าสถิติต่าง ๆ โดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการ และใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ในการแปลความหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ โดยการหาค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อทราบระดับความพึงพอใจในการจัดโครงการดังกล่าว ซึ่งใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ในการแปล ความหมาย ดังนี้ (รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด ) ค่าเฉลี่ย ๔.๕๑ - ๕.๐๐ แปลความว่า พึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๓.๕๑ - ๔.๒๑ แปลความว่า พึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย ๒.๕๑ - ๓.๒๑ แปลความว่า พึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑ - ๒.๒๑ แปลความว่า พึงพอใจน้อย ค่าเฉลี่ย ๑.๐๐ - ๑.๒๑ แปลความว่า พึงพอใจน้อยที่สุด การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ แบบสอบถามฉบับนี้ ผู้ประเมินได้สร้างขึ้นเอง มีขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้ ๑. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนา อาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง จากนั้นนำมา กำหนดกรอบแนวคิดที่ใช้ในการประเมิน กำหนดนิยาม และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
๒. ศึกษาหลักสูตรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง และนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมโครงการ ๓. สร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตร การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง และตรวจสอบเนื้อหาของแบบสอบถามว่าครอบคลุม วัตถุประสงค์หรือไม่ จากนั้นนำไปให้ที่ปรึกษาตรวจสอบแบบสอบถาม แล้วนำมาปรับปรุงตามคำแนะนำของ ที่ปรึกษา ๔. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงตามคำแนะนำของที่ปรึกษา ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) จากนั้นปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ การเก็บและรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. วิทยากรดำเนินการบรรยาย สาธิต และปฏิบัติการการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตร การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ครบตามหลักสูตร ๒. เมื่อดำเนินงานครบตามหลักสูตรแล้ว ผู้ประเมินให้ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบสอบถามจำนวน ๗ ชุด โดยมีแบบสอบถาม ที่ได้รับกลับคืนมาและมีความสมบูรณ์ จำนวน ๗ ชุด การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการประเมินครั้งนี้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น ๓ ตอน คือตอนที่ ๑ แบบประเมิน เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมโครงการ ตอนที่ ๒ แบบประเมินเกี่ยวกับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การ นำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการของผู้เข้าร่วมโครงการ ตอนที่ ๓ แบบประเมินเกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่นๆ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูลและตอบวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ๒. ข้อมูลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) ๓. ข้อมูลที่เป็นคำถามปลายเปิด ได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
บทที่ ๔ ผลการประเมินโครงการ การนำเสนอผลการประเมินการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ ผู้ประเมินได้เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยวิธีใช้แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน ๗ ชุด มีผู้ส่งแบบประเมินความพึงพอใจกลับคืน จำนวน ๗ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ทั้งนี้ในการนำเสนอผลการประเมินโครงการ แบ่งเป็น ๓ ตอน ดังนี้ ตอนที่ ๑. แสดงผลการวิเคราะห์ความถี่ร้อยละ (Valid Percent) ของข้อมูลทั่วไปของผู้เข้ารับบริการ การศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง)การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ตารางที่ ๑ แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) จำแนกตามเพศ เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ หญิง ๗ ๑๐๐.๐๐ ชาย - - รวม ๗ ๑๐๐.๐๐ จากตารางที่ ๑ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) จำแนกตามเพศ ที่ตอบคำถามมากที่สุด คือเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ตารางที่ ๒ แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) จำแนกตามอายุ อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ ต่ำกว่า ๑๕ ปี - - ๑๕ - ๓๙ ปี ๔ ๕๗.๑๔ ๔๐ - ๕๙ ปี ๓ ๔๒.๘๖ ๖๐ ปีขึ้นไป - - รวม ๗ ๑๐๐.๐๐ จากตารางที่ ๒ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) จำแนกตามอายุ ที่ตอบคำถามมากที่สุดคือ ช่วงอายุ ๑๕ - ๓๙ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๑๔ และรองลงมา ช่วงอายุ ๔๐ - ๕๙ ปีคิดเป็นร้อยละ ๔๒.๘๖
ตารางที่ ๓ แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) จำแนกตามระดับการศึกษา ระดับการศึกษา จำนวน (คน) ร้อยละ ประถมศึกษา - - มัธยมศึกษาตอนต้น ๒ ๒๘.๕๗ มัธยมศึกษาตอนปลาย ๕ ๗๑.๔๒ รวม ๗ ๑๐๐.๐๐ จากตารางที่ ๓ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) จำแนกตามการศึกษา ที่ตอบคำถามมากที่สุดคือ มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๔๒ และรองลงมา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๕๗ ตารางที่ ๔ แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) จำแนกตามอาชีพ อาชีพ จำนวน (คน) ร้อยละ เกษตรกร - - รับจ้าง ๗ ๑๐๐ ธุรกิจส่วนตัว - - อื่นๆ ระบุ แม่บ้าน - - รวม ๗ ๑๐๐.๐๐ จากตารางที่ ๔ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) จำแนกตามอาชีพ ที่ตอบคำถามมากที่สุดคือ อาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐
ตอนที่ ๒. แสดงผลค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลความสำคัญของผู้เข้ารับบริการ การศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ตารางที่ ๕ แสดงระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้ารับบริการการศึกษา ต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง)ของกลุ่มตัวอย่าง รายการ xˉ S.D. ระดับความสำคัญ ด้านวิทยากร ๓.๘๐ .๓๑๖ มาก ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา ๓.๘๐ .๔๒๒ มาก ด้านการนำความรู้ไปใช้ ๔.๑๖ .๕๗๐ มาก ค่าเฉลี่ย ๔.๓๓ ๐.๒๙๔ มาก จากตารางที่ ๕ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนใหญ่ให้ความคิด เห็นระดับความสำคัญโดยเฉลี่ยมาก (ˉx = ๔.๓๓ S.D = ๐.๒๙๔) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความรู้ที่ได้รับ/การ นำความรู้ไปใช้ อยู่ในระดับความสำคัญมากที่สุด (ˉx = ๔.๑๖ S.D. = ๐.๕๗๐) ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ˉx =๔.๒๕ S.D.= ๐.๓๙๖) และด้านวิทยากร อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ˉx = ๔.๑๕ S.D. = ๐.๒๕๘) ๒.๑ แสดงผลค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลความสำคัญของผู้เข้ารับบริการ การศึกษากิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) การตัดเย็บ เสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง จำแนกในภาพรวม และรายข้อของแต่ละด้าน ตารางที่ ๕.๑ แสดงระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้ารับบริการการศึกษา ต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง)ของกลุ่มตัวอย่าง ด้านวิทยากร ด้านวิทยากร xˉ S.D. ระดับความสำคัญ ๑. วิทยากรมาให้ความรู้ตรงตามเวลา ๓.๘๐ .๓๑๖ มาก ๒. วิทยากรมาให้ความรู้ครบตามหลักสูตรกำหนด ๓.๘๐ .๔๒๒ มาก ๓. ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร ๔.๑๐ .๕๖๘ มาก ๔. เนื้อหาวิชาที่จัดการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของท่านเพียงใด ๓.๙๐ .๗๓๘ มาก ค่าเฉลี่ย ๓.๙๐ .๓๕๗ มาก จากตารางที่ ๕.๑ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบ กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง)ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นระดับความสำคัญโดยเฉลี่ย อยู่ในระดับความสำคัญโดยเฉลี่ยมาก (ˉx = ๓.๙๐ S.D = .๓๕๗) โดยให้ด้านความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ของวิทยากรมาก อยู่ในระดับความสำคัญมากที่สุด (ˉx =๔.๑๐ S.D. = .๕๖๘) และให้ด้านวิทยากรมาให้ความรู้ครบ ตามหลักสูตรกำหนด/ด้านวิทยากรมาให้ความรู้ตรงตามเวลามาก อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ˉx = ๓.๘๐ S.D.= .๔๒๒)
ตารางที่ ๕.๒ แสดงระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้ารับบริการ การศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง)ของกลุ่มตัวอย่าง ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา xˉ S.D. ระดับความสำคัญ ๑. สถานที่เรียนเหมาะสมเพียงใด ๔.๑๑ ๐.๗๙๖ มากที่สุด ๒. จำนวนสื่อ/อุปกรณ์การฝึกประกอบการเรียนเพียงพอเพียงใด ๔.๔๙ ๐.๖๑๒ มากที่สุด ๓. ระยะเวลาในการเรียน/ กิจกรรมเหมาะสมเพียงใด ๔.๑๗ ๐.๗๔๗ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๔.๒๗ ๐.๔๖๘ มากที่สุด จากตารางที่ ๕.๒ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนใหญ่ให้ ความคิดเห็นระดับความสำคัญโดยเฉลี่ยมาก (ˉx = ๔.๒๗ S.D = ๐.๔๖๘) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าส่วนใหญ่ ด้านจำนวนสื่อ/อุปกรณ์การฝึกประกอบการเรียนเพียงพอเพียงใด อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ˉx =๔.๔๙ S.D. = ๐.๖๑๒) และพบว่าส่วนน้อย สถานที่เรียนเหมาะสมเพียงใด อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ˉx =๔.๑๑ S.D.= ๐.๗๙๖) ตารางที่ ๕.๓ แสดงระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้ารับบริการ การศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง)ของกลุ่มตัวอย่าง ด้านการนำความรู้ไปใช้ ด้านการนำความรู้ไปใช้ xˉ S.D. ระดับความสำคัญ ๑. ท่านได้รับความรู้/ทักษะ จากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมมาก เพียงใด ๔.๕๑ .๕๒๗ มากที่สุด ๒. ท่านสามารถนำความรู้/ทักษะที่ได้ ไปใช้ได้มากเพียงใด ๓. ท่านได้รับโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกันเพียงใด ๔. ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ากับเวลา และความตั้งใจเพียงใด ๔.๔๐ ๔.๐๐ ๔.๐๐ .๕๑๖ .๕๒๑ .๕๒๑ มากที่สุด มาก มาก ๕. ท่านพึงพอใจต่อหลักสูตรนี้เพียงใด ๔.๔๐ .๕๑๖ มาก ค่าเฉลี่ย ๔.๒๖ .๒๑๑ มากที่สุด จากตารางที่ ๕.๓ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง)ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นระดับความสำคัญโดยเฉลี่ย อยู่ในระดับความสำคัญโดยเฉลี่ยมากที่สุด (ˉx = ๔.๒๖ S.D = .๒๑๑) โดยให้ด้านท่านได้รับความรู้/ทักษะ จากการ เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมมากเพียงใดมากที่สุด อยู่ในระดับความสำคัญมากที่สุด (ˉx = ๔.๕๑ S.D. = .๕๒๗) และให้ด้านท่านได้รับโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกันเพียงใด/ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ากับเวลา และความตั้งใจเพียงใด มาก อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ˉx = ๔.๐๐ S.D.= .๕๒๑)
ตอนที่ ๓. แสดงผลการวิเคราะห์ของข้อเสนอแนะอื่นๆ ของผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง - อยากให้มีการเพิ่มระยะเวลาจัดการเรียนการสอนให้มากกว่านี้ - อยากให้มีการสอนหลักสูตรการตัดเสื้อแฟชั่น
บทที่ ๕ สรุปผลการประเมิน อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ในการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ ๑. เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการ ทำอาหาร ๒. เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง รูปแบบที่ใช้ในการประเมินได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ โดยประเมินในด้าน ๑.ด้านวิทยากร ๒.ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา ๓.ด้านการ นำความรู้ไปใช้ ในการประเมินในครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้ารับบริการการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนา อาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง จำนวน ๗ คน โดยเครื่องมือที่ใช้ประเมินได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้ เข้าใจ ทักษะการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง และศึกษาปัญหาการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อ มินิกูรง และทำการเก็บข้อมูลโดยให้ผู้เข้ารับบริการกรอกข้อมูลหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนรู้ครบตามกิจกรรม ที่กำหนด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สรุปผลการประเมินโครงการ ในการประเมินการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้ ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการเรียนรู้ จากผลการประเมินพบว่า ผู้เข้าร่วมรับบริการการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ทั้งหมดเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ ๑๕ – ๓๙ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๑๔ ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๔๒ และทั้งหมดประกอบอาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ตอนที่ ๒ ข้อมูลแสดงความสำคัญของระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้ารับบริการ จากผลการประเมินพบว่า ส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นระดับความสำคัญของการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ระดับความสำคัญโดยเฉลี่ย (ˉx = ๔.๑๒ S.D = .๑๗๔) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำ ความรู้ไปใช้มาก อยู่ในระดับความสำคัญมาก (xˉ = ๔.๒๖ S.D. = .๒๑๑) และด้านวิทยากรมาก อยู่ในระดับ ความสำคัญมาก (xˉ = ๓.๙๐ S.D.= .๓๕๗)
ตอนที่ ๓. ข้อมูลแสดงข้อเสนอแนะอื่นๆ ของผู้เข้ารับบริการ จากผลการประเมินพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ให้เหตุผลควรเพิ่มระยะเวลาในการจัด การศึกษาด้านอาชีพ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติ และควรให้มีหลักสูตรที่หลากหลาย การอภิปรายผล ในการประเมินโครงการในครั้งนี้ สามารถอภิปรายผลตามลำดับของวัตถุประสงค์ของการประเมินการ ดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง ของ กศน.ตำบลริโก๋อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส มี ประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปรายผล ดังนี้ ๑.ประเมินความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการทำการทำอาหารของผู้เรียน พบว่าการประเมินด้านความรู้ที่ ได้รับและนำความรู้ไปใช้ของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวิทยาการที่มาให้ความรู้มีความสามารถใน การถ่ายทอดและครบตามหลักสูตรที่กำหนดและมีสื่ออุปกรณ์การฝึกเพียงพอต่อกลุ่มผู้เรียน จากการดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง รูกิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง) การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง จำนวน ๓๐ ชั่วโมง พบว่ากลุ่มเป้าหมายทั้งหมดเป็นเพศ หญิง ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประเมินโครงการ ๑. ควรเพิ่มระยะเวลาในการจัดการศึกษาด้านอาชีพช่างพื้นฐาน เนื่องจากต้องใช้เวลาต่อการฝึกปฏิบัติ ๒. ควรจัดการศึกษาด้านอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของชุมชน ตอนที่ 3 ความคิดเห็นเพิ่มเติม ความคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้เข้าร่วมโครงการ สรุปได้ดังนี้ ๑. สิ่งดีๆ / ความประทับใจดีๆ ที่ได้รับจากการได้เข้าร่วมกิจกรรม กศน. ได้แก่ - กิจกรรมมีความสนุกสนาน - เป็นความรู้ที่ดีมาก สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ - วิทยากรให้ความรู้ดีมาก - มีการให้ลงมือปฏิบัติจริง ๒. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงการจัดกิจกรรม กศน. ได้แก่ - ควรจะมีอาชีพนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้พัฒนาอาชีพเข้าสู่ระบบการค้าออนไลน์ สรุปการวิเคราะห์ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อเสนอแนะของโครงการ มีดังนี้ ๑. จุดเด่นของโครงการ/กิจกรรมในครั้งนี้ ในการจัดกิจกรรม ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่สนใจในเรื่องการตัดเย็บเสื้อมินิกูรง มีทักษะ เทคนิคในการการตัดเย็บเสื้อมินิกูรงตามขั้นตอนได้ถูกต้อง และลดรายจ่ายในครัวเรือน นำความรู้ที่ได้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ ทุกคนร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกัน และได้รับความร่วมมือ จากวิทยากรที่มาให้ความรู้ ได้ครบทุกกระบวนการได้อย่างสมบูรณ์ เป็นไปตามความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม อาชีพ
๒. จุดที่ควรพัฒนาของการพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ต่อเนื่อง อยากให้มีหลักสูตรที่มีความหลากหลาย 3.ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง - ศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อการเรียนรู้และเสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมโครงการจัดการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบอาชีพระยะสั้น หลักสูตร การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง ระหว่างวันที่ ๒๗ เดือน กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๒๓ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖
แบบประเมินความพึงพอใจ รูปแบบอาชีพระยะสั้น หลักสูตร การตัดเย็บเสื้อมินิกูรง ระหว่างวันที่ ๒๗ เดือน กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๑๐ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ณ ศาลาประชาคมบ้านกำปงบือแน อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ********************************************* คำอธิบาย แบบประเมินฉบับนี้มีทั้งหมด 3 ตอน ขอให้ผู้ตอบแบบประเมินตอบให้ครบทั้ง 3 ตอน เพื่อให้การดำเนินโครงการ กิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไป คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่อง หน้าข้อความ 1. เพศ หญิง ชาย 2. อายุ ต่ำกว่า 15 ปี 15-39 ปี 40-59 ปี 60 ปีขึ้นไป 3. การศึกษา ต่ำกว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อื่นๆ.... .4. อาชีพ เกษตรกร รับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว อื่นๆ (ระบุ).......................................................... ตอนที่ 2 ระดับความพึงพอใจ / ความรู้ความเข้าใจ / การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการ คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่องที่ตรงกับความพึงพอใจของท่านเพียงระดับเดียว ที่ ประเด็นการถาม ระดับความพึงพอใจ 5 4 3 2 1 ดี มาก ดี พอใช้ ต้อง ปรับปรุง ต้อง ปรับปรุง เร่งด่วน ด้านวิทยากร 1 วิทยากรมาให้ความรู้ตรงตามเวลา 2 วิทยากรมาให้ความรู้ครบตามหลักสูตรกำหนด 3 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร 4 เนื้อหาวิชาที่จัดการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของท่านเพียงใด ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา 5 สถานที่เรียนเหมาะสมเพียงใด 6 จำนวนสื่อ/อุปกรณ์การฝึกประกอบการเรียนเพียงพอเพียงใด 7 ระยะเวลาในการเรียน/ กิจกรรมเหมาะสมเพียงใด ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ 8 ท่านได้รับความรู้/ทักษะ จากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมมากเพียงใด 9 ท่านสามารถนำความรู้/ทักษะที่ได้ไปใช้ได้มากเพียงใด 10 ท่านได้รับโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกันเพียงใด 11 ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ากับเวลา และความตั้งใจเพียงใด 12 ท่านพึงพอใจต่อหลักสูตรนี้เพียงใด ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่นๆ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล.(ออนไลน์). การนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เข้าถึงได้จาก : https : //panchalee.wordpress.com/2009/07/29/nfe-supervision (วันที่สืบค้นข้อมูล : ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙) รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า เข้าถึงได้จาก https : // www.watpon.com/boonchom/05.doc (วันที่สืบค้นข้อมูล : ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙) กลุ่มแผนงาน สำนักงาน กศน. (ออนไลน์). การจัดการศึกษาต่อเนื่อง. เข้าถึงได้จาก:http://203.146.15.79/ROS/index.php/2015-03-31-08-45-49/2015-04-02-02-54- 10/2015-04-02-16-46-42 (วันที่สืบค้นข้อมูล : ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙) บรรณานุกรม คำนำ
คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา ๑. นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดี ๒. นายอร่าม หะรอแม ประธานกรรมการ กศน.ตำบลริโก๋ ๓. นายสมบูรณ์ มามะ ครู/หัวหน้าการศึกษาต่อเนื่อง ๔. สนับสนุนข้อมูล ๑.นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ กศน.อำเภอสุไหงปาดี ๑. นายนุรอัสวาน สิงหะ ครู ๒. นางสาวชนัญญา ศรีสุข ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล ๓. นางยามีละห์ สิงหะ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ประจำศูนย์การเรียนชุมชน เรียบเรียง / จัดพิมพ์/ บรรณาธิการ ๑. นางยามีละห์ สิงหะ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ประจำศูนย์การเรียนชุมชน