บันทึกข้อความ ส่วนราชการ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสุไหงปาดี ที่ ศธ ๐๗๐๕๔.๑๓/ วันที่ ๑ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เรื่อง สรุปผลการจัดโครงการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ เรียน ผู้อำนวยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสุไหงปาดี ๑. เรื่องเดิม ตามที่ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสุไหงปาดีได้มอบหมายให้ ข้าพเจ้า นายสมบูรณ์ มามะ ตำแหน่ง ครู รับผิดชอบงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการจัดโครงการการทำ โครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ นั้น ๒. ข้อเท็จจริง ในการนี้ข้าพเจ้า นาสมบูรณ์ มามะ ตำแหน่ง ครู ได้ดำเนินการโครงการ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดทำรายงานผล การจัดโครงการดังกล่าว ตามที่แนบมาพร้อมบันทึกฉบับนี้ ๓. ข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ ๔๘๙/๒๕๕๑ เรื่องมอบให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ และ ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต ปฏิบัติราชการแทน ข้อ ๑ ๔. ข้อเสนอแนะ - จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ลงชื่อ.................................................... ( นายสมบูรณ์ มามะ) ครู ความเห็นผู้อำนวยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสุไหงปาดี ............................................................................................................................. ................................................. (นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์) ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงปาดี ปฎิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้
คำนำ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายด้านการศึกษา เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษา ในสังคมไทย โดยคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาค ความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกาย/ทางการเรียนรู้ ชนกลุ่มน้อย โดยสนับสนุนการจัด การศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจัด การศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต นั้น สำนักงาน กศน. จึงได้กำหนด นโยบายด้านการจัดการศึกษานอกระบบ แผนงานสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสนับสนุน ๑) ค่า เล่าเรียน ๒) ค่าหนังสือเรียน และ ๓) ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับ การศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนดำเนินตามนโยบาย ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดกรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้ สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมจากการเรียนปกติให้กับนักศึกษา กศน. ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ รวมไปถึงตอบสนองจุดเน้น นโยบายแนวทางหลักการดำเนินงาน การจัดโครงการติวเข้มเติมความรู้นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก คณะครู เจ้าหน้าที่ กศน.อำเภอสุไหงปาดี ขอขอบคุณผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ และหวังว่าสรุปโครงการ ชุดนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน และผู้เกี่ยวข้องใน ทุกระดับ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงปาดี สิงหาคม ๒๕๖๖
สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทที่ ๑ บทนำ ๑ บทที่ ๒ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๔ บทที่ ๓ วิธีการประเมินโครงการ ๑๐ บทที่ ๔ ผลการประเมินโครงการ ๑๒ บทที่ ๕ สรุปผลการประเมิน อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ๑๖ ภาคผนวก - ภาพถ่ายกิจกรรม ๑๘ - แบบประเมินโครงการ ๑๙ ***************************
บทที่ ๑ บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของการประเมิน แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2560-2579 )มีจุดมุ่งหมายในการขับเคลื่อนภายใต้ วิสัยทัศน์ให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ด้วยระบบและ กระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะ และสมรรถนะ ที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579 ) เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และ คุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญคือเพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และ ความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง การจัดการศึกษาในอนาคตของประเทศไทยเป็นการมองภาพอนาคตที่จะเกิดขึ้นทั้งในลักษณะ ที่พึง ประสงค์และไม่พึงประสงค์ควบคู่กันทั้งนี้เพื่อวางแนวทางการศึกษาในอนาคตให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามกระแสของโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีสารสนเทศอันมีอิทธิพลทำให้การศึกษาของ ประเทศไทยต้องเปลี่ยนไป โดยรวมที่ “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน มีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม สำหรับองค์การทางการศึกษาหรือสถานศึกษา ทุกแห่ง จำเป็นต้องปรับตัวให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้(Knowledge based economy) และสังคมฐานความรู้ (Knowledge based society) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงกำหนดให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็น มนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกายความรู้คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึด มั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ วัตถุประสงค์ของการประเมิน 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ๒ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดย อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ขอบเขตของการประเมิน การประเมินโครงการครั้งนี้เป็นการประเมินความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำโครงงาน วิทยาศาสตร์มีทักษะในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน สมบูรณ์และเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ นิยามศัพท์เฉพาะ ความหมายของความรู้ ความรู้(Knowledge) ยังหมายถึงการใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณค่าซึ่งมีการนำ ประสบการณ์วิจารณญาณความ คิดค่านิยม และ ปัญหาของมนุษย์มาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ ในการทำงาน หรือ การแก้ปัญหาความรู้จะช่วยตอบคำถามว่า“อย่างไร” (HowQuestions)ทำให้เข้าใจรูปแบบของ ความสัมพันธ์ ความรู้(Knowledge) จะเป็นภูมิปัญญา หรือ Wisdom เมื่อความรู้นั้นนำไปใช้เพื่อการ ตัดสินในประเด็นที่สำคัญหรือระบุว่าความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและ พิสูจน์ว่า ได้ผลมาอย่างยาวนานซึ่ง การ นำเอาข้อมูลมากองรวมกันไม่ได้ทำให้เกิดข่าวสารมา กองรวมกัน ไม่ได้เป็นความรู้การนำเอาความรู้มากอง รวมกันไม่ได้เป็นปัญญาเพราะข่าวสารความรู้ปัญญามีอะไรที่มากกว่า การนำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ I.Nonaka (1994) ความรู้(Knowledge) ที่ชัดแจ้ง หรือ ที่เขียนระบุไว้หมายถึง ความรู้ที่สามารถถ่ายโอนใน ภาษาที่เป็นทางการและเป็นระบบในทางกลับกันความรู้ฝังลึกนั้นมีลักษณะที่ขึ้นกับบุคคลซึ่งทำให้การระบุอย่าง เป็นทางการและการสื่อสารทำได้ลำบาก Benjamin S. Bloom (ออนไลน์] th. Wikipedia.org/wiki/ ความรู้) ความรู้หมายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะวิธีการ และกระบวนการต่างๆโดยเน้นในเรื่องของ กระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ ประเภทของความรู้ แนวคิดในการแบ่งประเภทความรู้ที่น่าสนใจและ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นของ Michel Polanyi และ Ikujiro Nonaka โดยเป็นแนวคิดที่แบ่งความรู้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ทฤษฏีเกี่ยวกับกระบวนการความรู้(KnowledgeProcess) การค้นหาความรู้(Knowledge Identification) เป็นการค้นหาว่าองค์กร ของเรามีความรู้อะไรอยู่บ้างอยู่ในรูปแบบใดอยู่ที่ใคร และ ความรู้อะไรที่ อ งค์ ก รเป็ น ต้ อ งมี เพื่ อ ท ำให้ บ รรลุ เป้ าห ม าย ก ารค้ น ห าค ว าม รู้ส าม ารถ ใช้ เค รื่อ งมื อ ที่ รีย ก ว่า Knowledge mapping หรือ การทำและ แผนที่ความรู้เพื่อ จัดอันดับ ความสำคัญทำให้มองเห็น ภาพ รวมของคลังความรู้ของ องค์กรบุคลากรทราบว่า มีความรู้อะไรและสามารถหาได้จากที่ไหน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดความรู้ในเรื่องต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
บทที่ ๒ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมินโครงการ การประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนสาระการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานผู้ประเมินได้ทบทวนเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้ในการประเมิน ดังนี้ ๑. การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๒. แนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน. ๓. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑. กรอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้สถานศึกษาได้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ดังนี้ ๒.๑ กิจกรรมพัฒนาวิชาการ เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้เพียงพอกับ การศึกษาในแต่ละระดับและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการเพิ่มมากขึ้นในรายวิชาตาม หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์หรือวิชาอื่น ๆ ตามความต้องการของนักศึกษา กศน. ซึ่งวิทยากรหรือผู้สอนควรเป็น ผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการสอนวิชานั้น ๆ โดยตรง อาจจะเป็นบุคคลภายนอกหรือครูกศน. ได้ตาม ความเหมาะสม ส่วนจานวนนักศึกษา กศน. ที่ร่วมกิจกรรมให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษา ๒.๒ กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดกิจกรรมเสริมเพิ่มเติมจากการเรียนปกติในสาระทักษะการ ดำเนินชีวิต หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เนื่องจากสังคม ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ข่าวสารข้อมูล และเทคโนโลยีมีการแข่งขัน และความขัดแย้งมากขึ้นจึงมีความจำเป็นที่สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน เพื่อให้มี ความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติค่านิยมที่ถูกต้องและมีทักษะหรือความสามารถพื้นฐานที่จาเป็นในการเผชิญ ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต อาทิเช่น ปัญหายาเสพติดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพศสัมพันธ์ทะเลาะวิวาท ครอบครัวแตกแยก ความรุนแรง ความเครียด ภัยพิบัติเป็นต้น รวมทั้งมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ในการอยู่ ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และสามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจา วันได้อย่างเหมาะสม ๒.๓ กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นการ จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีมีความรักและ ภาคภูมิใจในชาติไทย และแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์ตลอดจน ทะนุบำรุงและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาที่นับถือ การส่งเสริมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริการ เทิดทูนและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ๒.๔ กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดผล ในทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตประจำวันทั้งต่อตนเอง ครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติ
๒.๕ กิจกรรมลูกเสือ และกิจกรรมอาสายุวกาชาด เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนให้ ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา มีความเสียสละในการช่วยเหลือผู้อื่น บำเพ็ญ ประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน โดยดำเนินการจัดกิจกรรมลูกเสือ กศน. และกิจกรรมอาสายุวกาชาด หรืออาจ ดำเนินการร่วมกับสำนักงานลูกเสือแห่งชาติสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจกรรมนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ยุวกาชาด สภากาชาดไทย เป็นต้น ๒.๖ กิจกรรมกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้มีโอกาสออกกาลังกาย และเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ พลานามัยที่ดีสร้างนิสัยความมีน้าใจเป็นนักกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เป็น การสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่คณ ะ ให้รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ รู้อภัย และเป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดี ระหว่างนักศึกษา กศน. ๒.๗ กิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เป็นกิจกรรมเพื่อ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะใน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เช่น การจัดอบรมความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ICT เป็นต้น ๒.๘ กิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้สู่ประชาคมโลก เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ให้กับผู้เรียน ในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ความมั่นคง และการเมือง เพื่อเข้าสู่ประชาคมโลก เช่น การ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงวัย ทักษะของประชากรในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญ กับความท้าทายและมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุค ๔.๐ เป็นต้น ๒.๙ กิจกรรมจิตอาสา กศน. “เราทาความดีด้วยหัวใจ” เป็นกิจกรรมที่หน่วยงาน/สถานศึกษาใน สังกัดสำนักงาน กศน. จัดขึ้น หรือร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆและร่วมกับประชาชนทุกหมู่เหล่าที่มีจิตอาสาบำเพ็ญ สาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชน ปัญหาการจราจรและอื่น ๆเพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยปัญหาน้ำท่วมและปัญหาการจราจรในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ และสอดคล้องกับพระบรมราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ เป็นการพัฒนาสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ในชุมชนให้มีสภาพที่ดีขึ้น ๒.๑๐ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะ การอ่าน การเรียนรู้เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๒.๑๑ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ฝึกทักษะและฝึกปฏิบัติด้านอาชีพที่ตนเองสนใจ เพื่อเป็นทางเลือก และวางแผนการประกอบอาชีพ และ การศึกษาต่อในอนาคต ๒.๑๒ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์ของชาติให้เกิดความรักและความ ภาคภูมิใจ สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
๒.๑๓ กิจกรรมการเรียนรู้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน ชีวิตประจาวัน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายการเลือกตั้ง สิทธิหน้าที่พลเมือง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ๒.๑๔ กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ หรือมีพรสวรรค์ในด้านต่าง ๆ ให้มีโอกาสและกล้าแสดงออกถึงทักษะ ความรู้ความสามารถ ความคิด สร้างสรรค์และจินตนาการ ในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม และพัฒนาความสามารถพิเศษหรือพรสวรรค์ไปใช้ ประโยชน์ต่อการดารงชีวิตของตนเอง เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต โดยการจัดตั้งชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรม TO BE NUMBER ONE การจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น เป็นต้น ๒. แนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน. ๑. การนิเทศจะต้องอยู่บนพื้นฐาน ปรัชญา และหลักการของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของของสำนักงาน กศน. และสถานศึกษา ๒. การนิเทศ กศน. ควรเป็นกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เช่น แผนงานโครงการกิจกรรมและ เทคนิคต่างๆ ในการนิเทศ ควรตั้งอยู่บนเจตคติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผลของการนิเทศจะต้องถูกต้อง สมบูรณ์เชื่อถือได้ สามารถสะท้อนคุณภาพการจัด กศน. ของสถานศึกษาได้ตรงตามสภาพจริง ๓. การนิเทศ กศน. เป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้องและเครือข่าย ที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่เคารพ ศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ อดทนต่อความแตกตาง คามหลากหลายให้ความเท่าเทียมกันเสมอภาคกัน ความ เป็นอิสระ สร้างบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม ๔. การนิเทศ กศน. จะต้องมีการประเมินผลการนิเทศอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านปัจจัยการนิเทศ กระบวนการนิเทศ และผลที่เกิดจากการนิเทศ และนำผลการประเมินมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการ ดำเนินงานนิเทศ เพื่อพัฒนาการนิเทศการศึกษาให้มีคุณภาพ ความสำคัญของการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การนิเทศเป็นงานสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับการบริหารเพราะการนิเทศเป็น ส่วนหนึ่งของการบริหาร องค์ประกอบของการบริหารย่อมขึ้นอยู่กับคน เงิน วัสดุ และการจัดการ การที่จะ บริหารคนให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้บริหารจะต้องมีเทคนิคที่เหมาะสม เทคนิคในการบริหารอย่างหนึ่ง คือ การนิเทศเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ สามารถใช้เงิน วัสดุได้อย่างคุ้มค่า มีหลักการ จัดการที่ดี ดังนั้น การที่จะควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ ผู้บริหารต้อง ใช้เทคนิคการบริหารงานและการนิเทศควบคู่กัน การนิเทศการศึกษาเป็นความพยายามในการแนะนำ กระตุ้น ให้กำลังใจช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการสูญเปล่าทาง การศึกษาน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีการจัด กิจกรรมการศึกษาที่หลากหลายให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายประเภทต่างๆ และไม่ได้สังกัด สำนักงาน กศน. ทำ
ให้เห็นความจำเป็นของการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้บุคลากร ทางการศึกษา สถานศึกษาทุกประเภทเข้าใจนโยบายปรัชญาการจัด กศน. ที่สามารถสนองความต้องการของ กลุ่มเป้าหมายผู้เรียนในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่การจัดกิจกรรม กศน. จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๑. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาบริหารหลักสูตรจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการศึกษา พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีและการนิเทศภายในอย่างมีคุณภาพ ๒. ส่งเสริมให้สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐาน กศน. ๓. เพื่อให้คำปรึกษา เสนอแนะ เป็นที่พึ่งในการพัฒนาวิชาการของสถานศึกษา และสำนักงาน กศน. จังหวัด ๔. เพื่อประสาน สนับสนุนและเผยแพร่งานทางด้านวิชาการแก่สถานศึกษาและสำนักงาน กศน. จังหวัด (อ้างถึง อัญชลี ธรรมะวิธีกุล : ๒๕๕๓) ๓. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กิจจา เวสประชุม ได้กล่าวถึงขอบข่ายของการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพประกอบไปด้วย งานดังนี้ ๑. หลักสูตร ได้แก่ การจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลประโยชน์สูงสุดได้ นั้น หลักสูตรควรควรมีความเหมาะสมหลายๆ ด้าน ๒. กิจกรรมการเรียนการสอน คือพฤติกรรมที่เกิดร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจึงจะก่อให้เกิดการ เรียนรู้และทักษะเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ๓. วิทยากร เป็นบุคคลสำคัญที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ มีความชัดเจนในเนื้อหาวิชามีประสบการณ์ ทางการสอนมีความสามารถในการปรับเนื้อหาวิชาตามสภาพของผู้เรียน ๔. สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนการสอนวิชาชีพนั้นสื่อการสอนมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะ นอกจากจะเป็นการสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้แล้วยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ดีและ รวดเร็วขึ้น ๕. การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลมีขึ้นก็เพื่อจะได้ทราบข้อบกพร่องในการเรียนการ สอนว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่สิ่งใดสมควรแก้ไขและสิ่งใดควรแก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้การเรียนการสอน วิชาชีพได้ผลจริง สอดคล้องกับอัญชลี ธรรมะวิธีกุล ที่กล่าวถึงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพจะต้อง อยู่บนพื้นฐาน ปรัชญา และหลักการของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สอดคล้องกับ นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. และสถานศึกษาโดยมีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ มีกระบวนการทำงานร่วมกับผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่าย ซึ่ง จะต้องมีการประเมินผลการนิเทศอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านปัจจัยการนิเทศ กระบวนการนิเทศ
บทที่ ๓ วิธีการประเมินโครงการ การประเมินผลโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ผู้ประเมินมีวิธีการประเมินผลโครงการ ดังต่อไปนี้ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ ผู้เข้าร่วมโโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้น พื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ จำนวน ๑๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของ ผู้เข้าร่วมโครงการต่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยแบ่งเป็น ๓ ตอน ดังนี้ ตอนที่ ๑ แบบประเมินเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมโครงการ ตอนที่ ๒ แบบประเมินเกี่ยวกับความพึงพอใจ / ความรู้ความเข้าใจ / การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วม โครงการของผู้เข้าร่วมโครงการ ตอนที่ ๓ แบบประเมินเกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาค่าสถิติต่าง ๆ โดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการ และใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ในการแปลความหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ โดยการหาค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อทราบระดับความพึงพอใจในการจัดโครงการดังกล่าว ซึ่งใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ในการ แปลความหมาย ดังนี้ (รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด ) ค่าเฉลี่ย ๔.๕๑ - ๕.๐๐ แปลความว่า พึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๓.๕๑ - ๔.๕๐ แปลความว่า พึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย ๒.๕๑ - ๓.๕๐ แปลความว่า พึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑ - ๒.๕๐ แปลความว่า พึงพอใจน้อย ค่าเฉลี่ย ๑.๐๐ - ๑.๕๐ แปลความว่า พึงพอใจน้อยที่สุด การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ แบบสอบถามฉบับนี้ ผู้ประเมินได้สร้างขึ้นเอง มีขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้ ๑. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาเพื่อเรียนรู้โครงงาน วิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน.อำเภอสุไหงปาดีประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จากนั้น นำมากำหนดกรอบแนวคิดที่ใช้ในการประเมิน กำหนดนิยาม และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
๒. ศึกษาหลักสูตรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง และนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแบบประเมินความพึง พอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ๓. สร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ และตรวจสอบเนื้อหาของ แบบสอบถามว่าครอบคลุมวัตถุประสงค์หรือไม่ จากนั้นนำไปให้ที่ปรึกษาตรวจสอบแบบสอบถาม แล้วนำมา ปรับปรุงตามคำแนะนำของที่ปรึกษา ๔. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงตามคำแนะนำของที่ปรึกษา ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหา (Content Validity) จากนั้นปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ การเก็บและรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. วิทยากรดำเนินการบรรยาย สาธิต และปฏิบัติการโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยมีจำนวนชั่วโมงครบ ตามหลักสูตร ๒. เมื่อดำเนินโครงการครบตามหลักสูตรแล้ว ผู้ประเมินให้ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบสอบถามจำนวน ๑๒๐ ชุด โดยมีแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาและมีความสมบูรณ์ จำนวน ๑๓๐ ชุด การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการประเมินครั้งนี้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น ๓ ตอน คือตอนที่ ๑ แบบ ประเมินเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมโครงการ ตอนที่ ๒ แบบประเมินเกี่ยวกับความพึงพอใจ/ความรู้ความ เข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการของผู้เข้าร่วมโครงการ ตอนที่ ๓ แบบประเมินเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ อื่นๆ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูลและตอบวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ เพศ อายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ ๒. ข้อมูลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ๓. ข้อมูลที่เป็นคำถามปลายเปิด ได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
บทที่ ๔ ผลการประเมินโครงการ การนำเสนอผลการประเมินโครงการ ผู้ประเมินได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการ โดยวิธีใช้ แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน ๑๓๐ ชุด มีผู้ส่งแบบประเมินความพึงพอใจกลับคืนจำนวน ๑๓๐ ชุด คิด เป็นร้อยละ ๑๐๐ ทั้งนี้ในการนำเสนอผลการประเมินโครงการ แบ่งเป็น ๓ ตอน ดังนี้ ตอนที่ ๑. แสดงผลการวิเคราะห์ความถี่ร้อยละ (Valid Percent) ของข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน.อำเภอสุไหงปาดีประจำภาค เรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ตารางที่ ๑ แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามเพศ เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ หญิง ๗๐ ๕๔ ชาย ๖๐ ๔๖ รวม ๑๓๐ ๑๐๐.๐๐ จากตารางที่ ๑ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามเพศ ที่ตอบคำถามมากที่สุด คือเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ ๕๔ และที่ตอบน้อยที่สุด คือเพศ คิดเป็ชายนร้อยละ ๔๖ ตามลำดับ ตารางที่ ๒ แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามอายุ อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ ต่ำกว่า ๑๕ ปี - - ๑๕ - ๓๙ ปี ๑๓๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๐ - ๕๙ ปี - - ๖๐ ปีขึ้นไป - - รวม ๑๓๐ ๑๐๐.๐๐ จากตารางที่ ๒ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามอายุ ที่ตอบคำถามมากที่สุด คือช่วง อายุ ๑๕ - ๓๙ ปี คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ตารางที่ ๓ แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามการศึกษา การศึกษา จำนวน (คน) ร้อยละ ต่ำกว่าประถมศึกษา - - ประถมศึกษา - - มัธยมศึกษาตอนต้น - - มัธยมศึกษาตอนปลาย ๑๒๐ ๑๐๐.๐๐ รวม ๑๓๐ ๑๐๐.๐๐
จากตารางที่ ๓ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามการศึกษา ที่ตอบคำถามมากที่สุด คือมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ตารางที่ ๔ แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามอาชีพ อาชีพ จำนวน (คน) ร้อยละ เกษตรกร - - รับจ้าง - - ธุรกิจส่วนตัว - - อื่นๆ (ระบุ นักศึกษา) ๑๓๐ ๑๐๐.๐๐ รวม ๑๓๐ ๑๐๐.๐๐ จากตารางที่ ๔ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามอาชีพ ที่ตอบคำถามมากที่สุด คือ มี อาชีพนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ตอนที่ ๒. แสดงผลค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลความสำคัญของผู้เข้าร่วมโครงการ การการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาค เรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ตารางที่ ๕ แสดงระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการของ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ รายการ ˉx S.D. ระดับความสำคัญ ด้านวิทยากร ๔.๕๐ .๒๔๓ มากที่สุด ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา ๔.๖๓ .๓๓๖ มากที่สุด ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ ๔.๔๒ .๒๖๒ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๔.๕๑ .๒๘๐ มากที่สุด จากตารางที่ ๕ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า สรุประดับความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ และ การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการ จากการดำเนินการจัดโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้น พื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าข้อที่ (๒) ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนข้อที่ (๒) ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๒.๑ แสดงผลค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลความสำคัญของผู้เข้าร่วมโครงการการทำ โครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำแนกในภาพรวม และรายข้อของแต่ละด้าน ตารางที่ ๕.๑ แสดงระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการของ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ ด้านวิทยากร
ข้อที่ ด้านวิทยากร X S.D. ระดับความคิดเห็น ๑ วิทยากรมาให้ความรู้ตรงตามเวลา ๔.๗๐ .๔๙๖ มากที่สุด ๒ วิทยากรมาให้ความรู้ครบตามหลักสูตรกำหนด ๔.๓๐ .๔๖๒ มากที่สุด ๓ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร ๔.๔๐ .๔๕๑ มากที่สุด ๔ เนื้อหาวิชาที่จัดการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของท่าน เพียงใด ๔.๖๐ .๕๑๔ มากที่สุด รวม ๔.๕๐ .๒๔๓ มากที่สุด จากตารางที่ ๕.๑ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนใหญ่ให้ ความคิดเห็นระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับวิทยากร จากการดำเนินการจัดโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยภาพรวม และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่ (๑) วิทยากรมาให้ความรู้ตรงตามเวลา มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนข้อที่ (๒) วิทยากรมาให้ความรู้ครบตามหลักสูตรกำหนดมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตารางที่ ๕.๒ แสดงระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการของ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา ข้อที่ ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา X S.D. ระดับความคิดเห็น ๑ สถานที่เรียนเหมาะสมเพียงใด ๔.๕๔ .๖๐๕ มาก ๒ จำนวนสื่อ/อุปกรณ์การฝึกประกอบการเรียนเพียงพอ เพียงใด ๔.๖๓ .๔๕๑ มากที่สุด ๓ ระยะเวลาในการเรียน/ กิจกรรมเหมาะสมเพียงใด ๔.๗๒ .๔๑๘ มาก รวม ๔.๖๓ .๓๓๖ มากที่สุด จากตารางที่ ๕.๒ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนใหญ่ให้ ความพึงพอใจด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา จากการดำเนินการโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยภาพรวม และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่ (๓) ระยะเวลาในการเรียน/ กิจกรรมเหมาะสม เพียงใด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนข้อที่ (๓) ระยะเวลาในการเรียน/กิจกรรมเหมาะสมเพียงใด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ตารางที่ ๕.๓ แสดงระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการของ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ ˉx S.D. ระดับความสำคัญ ๑.ท่านได้รับความรู้/ทักษะจากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมมากเพียงใด ๔.๕๓ .๔๗๐ มากที่สุด ๒.ท่านสามารถนำความรู้/ทักษะที่ได้ ไปใช้ได้มากเพียงใด ๔.๓๑ .๔๙๒ มากที่สุด ๓.ท่านได้รับโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกันเพียงใด ๔.๔๐ .๔๙๘ มากที่สุด ๔.ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ากับเวลา และความตั้งใจเพียงใด ๔.๒๓ .๔๘๘ มากที่สุด ๕.ท่านพึงพอใจต่อหลักสูตรนี้เพียงใด ๔.๔๒ .๔๙๒ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๔.๔๒ .๒๖๒ มากที่สุด จากตารางที่ ๕.๓ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนใหญ่ให้ ความพึงพอใจ เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ จากการดำเนินการจัดโครงการการทำโครงงาน วิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลปะลุรู สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่ (๑) ๑.ท่านได้รับความรู้/ทักษะจากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมมากเพียงใด มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนข้อที่ (๔) ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ากับเวลา และความตั้งใจเพียงใด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตอนที่ ๓. แสดงผลการวิเคราะห์ของข้อเสนอแนะอื่นๆ ของผู้เข้าร่วมโครงการการทำโครงงาน วิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ - อยากให้มีโครงการในลักษณะนี้อีก เนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอบต่อไป ได้
บทที่ ๕ สรุปผลการประเมิน อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ในการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ๒ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่าง ครบถ้วน สมบูรณ์3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วย ตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ รูปแบบที่ใช้ในการประเมินได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยประเมินในด้าน ๑.ด้านด้าน วิทยากร ๒.ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา ๓.ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ในการประเมินใน ครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้น พื้นฐาน กศน.อำเภอสุไหงปาดี จำนวน ๑๒๐ คน โดยเครื่องมือที่ใช้ประเมินได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ เกี่ยวกับการความรู้ความเข้าใจ การเห็นความสำคัญของการทำฝึกทำแบบทดสอบได้แม่นยำที่ถูกต้อง และทำ การเก็บข้อมูลโดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการกรอกข้อมูลหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนรู้ครบตามกิจกรรมที่กำหนด สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สรุปผลการประเมินโครงการ ในการประเมินโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้ ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ จากผลการประเมินพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๕๔ และที่ตอบน้อยที่สุด คือเพศชาย คิดเป็นร้อยละ ๔๖ ตามลำดับ มีช่วงอายุ ๑๕ - ๓๙ ปี คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ตอนที่ ๒ ข้อมูลแสดงความสำคัญของระดับความพึงพอใจ/ความรู้ความเข้าใจ/การนำไปใช้ ต่อการเข้า ร่วมโครงการ จากผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า สรุประดับความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ และการนำไปใช้ ต่อการ เข้าร่วมโครงการ จากการดำเนินการจัดโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา รายด้านพบว่าข้อที่ พบว่าข้อที่ (๑) ๑.ท่านได้รับความรู้/ทักษะจากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมมากเพียงใด มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนข้อที่ (๔) ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ากับเวลา และความตั้งใจเพียงใด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ตอนที่ ๓. ข้อมูลแสดงข้อเสนอแนะอื่นๆ ของผู้เข้าร่วมโครงการ จากผลการประเมินพบว่า ผู้ตอบแบบ ประเมินความพึงพอใจ ให้เหตุผลควรอยากให้มีโครงการในลักษณะนี้อีก เนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญ และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอบต่อไปได้ การอภิปรายผล ในการประเมินโครงการในครั้งนี้ สามารถอภิปรายผลตามลำดับของวัตถุประสงค์ของการประเมิน โครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปรายผล ดังนี้ ๑. ข้อสังเกตจากการดำเนินโครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายจะนำความรู้ไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น ๒. ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน
ภาคผนวก
ภาพกิจกรรม โครงการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดีจงหวัดนราธิวาส
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นักศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน.อำเภอสุไหงปาดี ประจำภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สถานที่จัด ณ ศูนย์เครือข่ายห้องสมุดประชาชนอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส ********************************************* คำอธิบาย แบบประเมินฉบับนี้มีทั้งหมด 3 ตอน ขอให้ผู้ตอบแบบประเมินตอบให้ครบทั้ง 3 ตอน เพื่อให้การดำเนินโครงการ/ กิจกรรมเป็นไป ตามวัตถุประสงค์และเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไป คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่อง หน้าข้อความ 1. เพศ หญิง ชาย 2. อายุ ต่ำกว่า 15 ปี 15-39 ปี 40-59 ปี 60 ปีขึ้นไป 3. การศึกษา ต่ำกว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อื่นๆ .........................4. อาชีพ เกษตรกร รับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว อื่นๆ (ระบุ).......................................................... ตอนที่ 2 ระดับความพึงพอใจ / ความรู้ความเข้าใจ / การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมโครงการ คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่องที่ตรงกับความพึงพอใจของท่านเพียงระดับเดียว ที่ ประเด็นการถาม ระดับความพึงพอใจ 5 4 3 2 1 ดีมาก ดี พอใช้ ต้อง ปรับปรุง ต้อง ปรับปรุง เร่งด่วน ด้านวิทยากร 1 วิทยากรมาให้ความรู้ตรงตามเวลา 2 วิทยากรมาให้ความรู้ครบตามหลักสูตรกำหนด 3 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร 4 เนื้อหาวิชาที่จัดการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของท่านเพียงใด ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา 5 สถานที่เรียนเหมาะสมเพียงใด 6 จำนวนสื่อ/อุปกรณ์การฝึกประกอบการเรียนเพียงพอเพียงใด 7 ระยะเวลาในการเรียน/ กิจกรรมเหมาะสมเพียงใด ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ 8 ท่านได้รับความรู้/ทักษะ จากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมมากเพียงใด
ที่ ประเด็นการถาม ระดับความพึงพอใจ 5 4 3 2 1 ดีมาก ดี พอใช้ ต้อง ปรับปรุง ต้อง ปรับปรุง เร่งด่วน 9 ท่านสามารถนำความรู้/ทักษะที่ได้ไปใช้ได้มากเพียงใด 10 ท่านได้รับโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกันเพียงใด 11 ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ากับเวลา และความตั้งใจเพียงใด 12 ท่านพึงพอใจต่อหลักสูตรนี้เพียงใด ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่นๆ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………
ที่ปรึกษา ๑. นายไพโรจน์ หมีนหวัง ประธานกรรมการสถานศึกษา ๒. นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดี กรรมการสถานศึกษาและเลขานุการ สนับสนุนข้อมูล ๑. นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดี ๒. นายสมบูรณ์ มามะ ครู ๓.นายอาหามะ ตาเยะ ครู กศน.ตำบล ๔.นางยามีละห์ สิงหะ ครู กศน.ตำบล ๕.นางสาวรุสนีดา ยูนุ๊ ครู กศน.ตำบล ๖.นางจันทิรา สือแม ครู กศน.ตำบล ๗.นางสุทธิดา อุดมเพชร์ ครู กศน.ตำบล ๘.นายนิไยลานี บินนิเด็ง ครู อาสาฯ ๙.นางสาวชนัญญา ศรีสุข ครู อาสาฯ ๑๐.ว่าที่ร้อยตรีสหัฐ มะดาแฮ ครู อาสาฯปอเนาะ ๑๑.นายอดุลย์ ซะลอ ครู อาสาฯปอเนาะ เรียบเรียง/ทาน/ต้นฉบับ/จัดพิมพ์ นายสมบูรณ์ มามะ ครู ผู้จัดทำ
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล.(ออนไลน์). การนิเทศการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เข้าถึงได้จาก : https : //panchalee.wordpress.com/2009/07/29/nfe-supervision (วันที่สืบค้นข้อมูล : ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙) รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า เข้าถึงได้จาก https : // www.watpon.com/boonchom/05.doc (วันที่สืบค้นข้อมูล : ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙) กลุ่มแผนงาน สำนักงาน กศน. (ออนไลน์). การจัดการศึกษาต่อเนื่อง. เข้าถึงได้จาก:http://203.146.15.79/ROS/index.php/2015-03-31-08-45-49/2015-04-02-02- 54-10/2015-04-02-16-46-42 (วันที่สืบค้นข้อมูล : ๑๒ กรกฎาคม๒๕๕๙) บรรณานุกรม คำนำ