The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

0.คู่มือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์-แนวคิดและหลักการ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ทิพกฤตา อินไชย, 2021-04-22 20:38:43

0.คู่มือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์-แนวคิดและหลักการ

0.คู่มือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์-แนวคิดและหลักการ

48

จาํ แนกตามสอื่ การสอน
จากการสังเคราะหการจําแนกประเภทของสื่อของนักเทคโนโลยกี ารศกึ ษาตามสื่อการสอน สามารถ
จาํ แนกประเภทของสอื่ การสอนออกเปน 3 ประเภท ประกอบดวย
1. ประเภทวัสดุ (software or material) บางครั้งเรียกวา สื่อเล็ก (small media) หมายถึง ส่ือท่ีเก็บ
ความรูอยูในตัวเอง เปนสื่อประเภทส้ินเปลอื งเสียหายไดงาย และเปนส่ือที่บรรจุเนือ้ หาสาระเร่ืองราวไวใ นลกั ษณะ
ตา งๆ จําแนกได 2 ลกั ษณะ คือ

1.1 วสั ดทุ ่สี ามารถถา ยทอดเน้ือหาไดดว ยตนเอง ไมจาํ เปนตอ งอาศัยอปุ กรณอ ื่นชวย เชน หนงั สอื
แผนที่ ลูกโลก รูปภาพ หนุ จาํ ลอง เปนตน

1.2 วัสดุท่ีไมสามารถถายทอดเนื้อหาไดดวยตนเอง จําเปนตองอาศัยอุปกรณอื่นชวย จึงจะ
สามารถเสนอเร่ืองราวความรูหรือเน้ือหาสาระไปยังผูเรียนได เชน แผนซดี ี เทปเสียง เทปโทรทศั น ฟลม ภาพยนตร
USB Flash Drive เปนตน

2. ประเภทเคร่ืองมือหรืออุปกรณ (hardware or equipment) หมายถึง สื่อท่ีเปนตัวกลางหรือตัวผานที่
ทาํ ใหขอ มูลหรือความรูทีบ่ นั ทกึ ไวใ นสอื่ ประเภทวสั ดุสามารถถายทอดออกมาใหเ ห็นหรอื ไดยนิ ส่อื การสอนประเภท
นีเ้ ปน เพียงเครือ่ งเม่อื หรอื ตัวกลางซ่ึงเปน ทางผานของความรู หรือเรือ่ งราวเทานน้ั โดยที่ตวั มนั เองไมไดบรรจุเน้ือหา
สาระความรูหรือเร่ืองราวใดๆ ไวเลย จึงไมสามารถจะส่ือความหมายไปยังผูเรียนได แตจะตองอาศัยส่ือประเภท
วัสดุมาใชควบคูกันไป จึงจะสามารถเสนอเรื่องราวไปสูผูเรียนในลักษณะตางๆ ได เชน เคร่ืองรับโทรทัศน เคร่ือง
ฉายภาพยนตร เครอื่ งเลนแผนซีดี-ดีวีดี เปน ตน

3. ประเภทเทคนคิ และวิธีการ (technique and method) หมายถงึ ส่อื ทมี่ ีลกั ษณะเนน แนวความคดิ หรือ
รูปแบบข้ันตอนในการเรียนการสอนเปนสําคัญ อาจนําเอาวัสดุหรือเครอื่ งมืออยางใดอยางหนึ่ง หรือหลายอยางมา
ใชรวมกันในลักษณะกิจกรรมหรือวิธีการ ตัวอยางส่ือประเภทนี้คือ การแสดงละคร การศึกษานอกสถานที่
นิทรรศการ และการสาธิต เปน ตน

จาํ แนกตามทรพั ยากรการเรียนรู
การจําแนกสือ่ ตามทรัพยากรการเรยี นรูส ามารถแบงได 6 แบบ ประกอบดวย
1. คน (people) ไดแก ผูทรงคุณวุฒิในดานตางๆ เริ่มตั้งแตครู และบุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจน
บุคคลในสงั คมทีม่ ีความชํานาญดา นตา งๆ
2. วัสดุ (materials) ขางในบรรจุเนื้อหาวิชาการและเพ่ือการบันเทิง สามารถนํามาเปนแหลงวิชาการได
เชน หนังสอื สไลด และเทปโทรทัศน
3. อาคารสถานท่ี (setting) อาจจะเปนรูปของสนามกีฬา สระวายนํ้า ตัวอาคาร หองประชุม สถานที่
สาธารณะตางๆ ทีส่ ามารถนาํ มาใชประโยชนท างการศึกษา
4. เคร่ืองมือและเครื่องใช (tools and equipment) นอกจากเครื่องมือทางโสตทัศนอุปกรณแลว
เครือ่ งใชส าํ นกั งาน ตัง้ แตเ คร่ืองถา ยเอกสาร คอมพวิ เตอร สามารถสรางประสบการณใ นการเรยี นรไู ดท้ังส้ิน
5. กิจกรรม (activities) อาจเปนการจัดขึ้นรวมกับแหลงวิชาการอ่ืนๆ หรือวิธีการเรียนท่ีมีวัตถุประสงค
เฉพาะ ไดแก การสอนแบบโปรแกรม การทศั นศกึ ษา การเลนเกมส การแสดงละคร และการอบรมและสัมมนา

49

6. ธรรมชาติ (natural resources) ที่มีอยูและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในรปู ของปรากฏการณ วัตถุ และ
ลักษณะทางภูมิศาสตร เปนแหลงความรูที่สามารถนํามาใชเปนส่ือการสอนได เชน ฟารอง แผนดินไหว สินแร หุบ
เขา และน้าํ ตก

สรุป สื่อการเรียนการสอน สามารถจําแนกไดหลายประเภท โดยสภาพจริงของการเรียนการสอนผูสอน
อาจใชสื่อประเภทใดประเภทหนึ่ง หรืออาจบูรณาการส่ือหลายๆ ชนิดเขาดวยกัน เพื่อรวมกันสรางประสบการณ
การเรียนรูใหเกิดแกผูเรียนได ทั้งนี้การเลือกใชส่ือประเภทตางๆ ตองคํานึงถึงจุดประสงคและเนื้อหาสาระการ
เรียนรู หรือเสรมิ สรา งมวลประสบการณใ หไ ดตรงตามทหี่ ลกั สตู รวางไวน ัน่ เอง

ปจจุบันส่ือท่ีไดรับความนิยมและนํามาใชในการจัดการเรียนการสอนและการศึกษาเรียนรูกันอยาง
กวางขวาง คือ สื่อสําหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน อาทิ อินเทอรเน็ต คอมพิวเตอร มือถือและอุปกรณ
เคล่ือนที่ โปรแกรมคอมพิวเตอรและแอปพลิเคชัน เปนสื่อท่ีผูสอนสง ขอมูลการเรียนรูในรปู แบบตางๆ ไปยังผูเรียน
ผานเครือขายออนไลน โดยสามารถโตตอบกันระหวางผูสอนและผูเรียน หรือผูเรียนดวยกันเอง ส่ือท่ีนิยมใชกัน
ประกอบดวย บล็อก (Blogging) ทวิตเตอรและไมโครบล็อก (Twitter and Microblogging) เครือขายสังคม
ออนไลน (Social Networking) และการแบงปน ส่อื ทางออนไลน (Media Sharing) สือ่ เหลา นี้ในความเปนจริงแลว
ก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอรที่ถูกเขียนข้ึนมาเพ่ือตอบสนองความตองการของผูใชในดานตางๆ เชน การทําธุรกิจ
ความบันเทิง การพักผอน การอํานวยความสะดวก เปนตน และถูกประยุกตเพื่อนํามาใชเพ่ือการศึกษา กลายเปน
ส่ือการเรียนการสอนออนไลนในที่สุด ทั้งสื่อออนไลนเหลาสามารถใชในการจัดการเรียนการสอนไดทั้งระบบ อาจ
เรียกวาเปนสื่อหลัก ไปจนถึงส่ือเสริมสําหรับการเรียนการสอน อาทิ MOOC, MOODLE, Edmodo, Google
Classroom, Microsoft Teams, Google Meet, Facebook, Youtube, Line, Google Form, Kahoot,
Quizizz และอนื่ ๆ อีกมากมาย

ภาพท่ี 6.2 สอ่ื การเรยี นการสอนออนไลน
ทีม่ า: (Tom Kuhlmann, 2016: ออนไลน)

50

สื่อการเรียนการสอนออนไลนเหลานี้คือโปรแกรมคอมพิวเตอร (Software) ที่ถูกเขียนข้ึนมาเพ่ือ
ตอบสนองความตองการของผใู ช ดงั นน้ั ในการนําไปใชงานจะตองมีเครือ่ งมือหรืออปุ กรณค อมพิวเตอร (Hardware)
เปนส่ือกลางระหวางโปรแกรมคอมพิวเตอรกับผูใชงานดวย หากจําแนกสื่อการเรียนการสอนออนไลนเหลานี้ตาม
การจําแนกตามสื่อการสอน จะพบวา โปรแกรมคอมพิวเตอร (Software) ก็คือ ส่ือประเภทวัสดุ (Software or
Material) ท่ีเก็บความรูและบรรจเุ น้ือหาสาระเอาไว เปนสื่อท่ีไมสามารถถายทอดเน้ือหาไดด วยตนเอง จําเปนตอง
อาศัยส่ือประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ (Hardware or Equipment) อาทิ คอมพิวเตอร มือถือและอุปกรณ
เคล่ือนที่ เปนตัวกลางหรือตัวผา นท่ีทําใหขอมูลหรอื ความรูที่เหลาน้ันสามารถถายทอดออกมาใหเ ห็นหรอื ไดยิน ใน
การจัดการเรียนการสอนออนไลนจึงจําเปนตองใชส่ือประเภทวัสดุ (Software or Material) และส่ือประเภท
เคร่ืองมือหรืออุปกรณ (Hardware or Equipment) รวมกัน จึงจะทําใหการจัดการเรียนการสอนออนไลนมี
ประสิทธภิ าพและประสบความสําเร็จ

สื่อการเรียนการสอนออนไลนมีอยูหลากหลายรูปแบบ การเลือกสื่อการเรียนการสอนออนไลนมี
ความสําคัญมากตอกระบวนการเรียนการสอน อยางไรก็ตามในการเลือกส่ือการเรียนการสอนพึงระลึกไวเสมอวา
"ไมมีส่ือการสอนอันใดท่ีใชไดดีที่สุดในทุกสถานการณ" ในการตัดสินใจเลือกใชสื่อการสอนตองพิจารณาถึงปจจัย
หลาย ๆ อยา งรว มกัน ผูใชส อื่ ไมควรยกเอาความสะดวก ความถนัด หรือความพอใจสวนตัวเปนปจจัยสําคัญในการ
เลือกสื่อการสอนเพราะอาจเกิดผลเสยี ตอกระบวนการเรียนการสอนได หลักการอยางงายในการเลือกสื่อการเรียน
การสอนออนไลน มดี ังนี้

1. เลือกส่ือการสอนออนไลนท่ีสอดคลองกับวัตถุประสงคการเรียนรู ผูสอนควรศึกษาถึงวัตถุประสงคการ
เรียนรูที่หลักสูตรกําหนดไว วัตถุประสงคในที่นี้หมายถึงวัตถุประสงคเฉพาะในแตละสวนของเนื้อหายอย ไมใช
วัตถุประสงคในภาพรวมของหลักสูตร เชน หลักสูตรกําหนดวัตถุประสงคไววา หลังการเรียนผูเรียนสามารถสราง
แบบทดสอบออนไลนได ผูสอนควรพิจารณาวาส่ือการสอนออนไลนท่ีเหมาะสมจะใชกับวัตถุประสงคขอน้ีไดบาง
อาจเลือกใช Google Form หรอื Kahoot เปน ตน

2. เลือกสื่อการสอนออนไลนท่ีตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน เนื้อหาของบทเรียนอาจมีลักษณะ
แตกตา งกันไป เชน เปนขอความ เปน แนวคิด เปน ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว เปน เสยี ง เปนสี ซ่งึ การเลอื กสื่อการสอน
ควรเลือกใหเหมาะสม ครอบคลุมตามเน้ือหาที่จะสอน มีการใหขอเท็จจริงท่ีถูกตอง และมีรายละเอียดมากเพียง
พอท่ีจะใหผ เู รยี นเกิดการเรียนรูตามวัตถุประสงคท ่ีกําหนดไว

3. เลือกสื่อการสอนออนไลนใหเหมาะสมกับลักษณะของผูเรียน ลักษณะเฉพาะตัวของผูเรียนเปนส่ิงที่มี
อิทธิพลตอการรับรูสอ่ื การสอน ในการเลือกสอ่ื การสอนตองพิจารณาลักษณะของผูเ รียน เชน อายุ เพศ ความถนดั
ความสนใจ ระดับสติปญญา วัฒนธรรม และประสบการณเดิม เชน การสอนผูเรียนอาชีวศึกษาอาจใชเปน
ภาพเหมือนจริงหรอื ภาพวดี ทิ ัศนไ ด

4. เลือกสื่อการสอนออนไลนใหเ หมาะสมกับจํานวนของผูเรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน การสอนแต
ละคร้ังจํานวนของผูเ รยี นและกิจกรรมท่ีใชใ นการเรียนสอนเปนสง่ิ สําคญั ท่ีตองนาํ มาพิจารณาควบคูกันในการใชสอื่
การสอน เชน การสอนผูเรียนจํานวนมากจําเปนตองใชวิธีการสอนแบบบรรยายในชวงแรก สื่อการสอนท่ีนํามาใช
อาจเปน Microsoft Teams หรอื Google Meet เปน ตน หรืออาจจะมอบหมายใหผ เู รยี นศึกษาคนควา และเรียนรู
ดวยตนเองผา น MOOC หรอื MOODLE ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่ผูสอนไดเตรียมไวเ ปน อยา งดี เปน
ตน

51

5. เลือกสอื่ การสอนออนไลนท ่เี หมาะสมกับสภาพแวดลอ ม อาทิ สถานทส่ี าํ หรับสอนออนไลน เสยี งรบกวน
อุปกรณอํานวยความสะดวก พ้ืนท่ีที่ผูเรียนอาศัยอยูเน่ืองจากสงผลตอการเขาถึงสัญญาณอินเทอรเน็ตของผูเรียน
ซ่ึงเปนปจจัยหลักของการเรียนการสอนออนไลน การสอนออนไลนผูสอนอาจไมจําเปนตองใหผูเรียนเปดกลอ งเพื่อ
จะไดเห็นหนาผูเรียนตลอดการบรรยาย เพื่อลดปริมาณการใชสัญญาณอินเทอรเน็ตของผูเรียน นอกจากนี้ผูสอน
อาจมอบหมายใหผูเรียนไปศึกษาคนควาจากแหลงขอมูลตางๆ นอกเหนือจากการบรรยายเหมือนในช้ันเรียนปกติ
เชน อาจใหผูเรียนศึกษาเรียนรูเนื้อหาวิชาจากคลิปที่ผูสอนบันทึกหรือสรางไวดวยตนเอง หรือผูสอนรวบรวมไว
แลวนัดวันเวลาเพ่ือใหผูเรียนรวมกันแลกเปล่ียนเรียนรูจากเนื้อหาท่ีผูส อนมอบหมายไป อาจเรียกวาหองเรียนกลับ
ดานทก่ี ําลงั เปน ทนี่ ิยม

6. เลือกส่ือการสอนท่ีมีลักษณะนาสนใจและดึงดูดความสนใจ ขอไดเปรียบของสื่อการเรียนการสอน
ออนไลนคือมีส่ือการสอนท่ีนาสนใจและดึงดูดความสนใจผูเรียนท่ีผูสอนสามารถเลือกใชไดจํานวนมาก ท้ังน้ีขึ้นอยู
กับความถนัดและความสนใจของผูสอนเชนกัน ส่ือการสอนออนไลนจะชวยทําใหการสอนมีความนาสนใจและ
ดึงดูดความสนใจของผูเรียนได อาจกอใหเกิดบรรยากาศการเรียนรูที่สนุกสนาน นาสนใจ หรือสรางความพึงพอใจ
ใหแ กผูเรียน สดุ ทายผลลัพธห รอื ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นทดี่ กี จ็ ะเกิดขึ้นกับผูเรยี น

7. เลือกส่ือการสอนท่ีมีวิธีการใชงาน เก็บรักษา และบํารุงรักษาไดสะดวก ขอไดเปรียบของส่ือการเรียน
การสอนออนไลนอีกขอ หนึ่งคอื ใชงานงา ย มแี หลง เรียนรูก ารใชงานจํานวนมาก เนอื่ งจากแตล ะสื่อมีคูม ือการใชหรือ
มีบุคคอื่นนําเสนอวิธีใชงานเปนวีดิทัศนใหเลือกศึกษาไดตามความชอบ และที่สําคัญแทบจะไมตองเก็บรักษา และ
บํารุงรักษา เน่ืองจากส่ือการสอนออนไลนเหลาน้ีถูกเก็บอยางปลอดภัยอยู ณ ที่แหงใดแหงหนึ่งในโลกใบน้ี และท่ี
แหงน้ันมีผูเช่ียวชาญแตละดานดูแลและรักษาไวใหเปนอยางดี โดยเฉพาะส่ือการสอนออนไลนประเภทวัสดุ
(Software or Material) หนาท่ีของผูสอนเพียงแตดูแลและรักษาสื่อประเภทเคร่ืองมือหรืออุปกรณ (Hardware
or Equipment) อยา งคอมพวิ เตอร มือถอื และอุปกรณเ คล่ือนท่อี ยา ใหสูญหาย แตกหกั และเสียหายกเ็ พยี งพอ
การสรา งและหาคณุ ภาพสื่อการเรยี นการสอนออนไลน

เมื่อพูดถึงการสรางและหาคุณภาพส่ือการเรียนการสอนมักทําใหผูสอนกังวลและมองเปนเรื่องใหญที่ตอง
ทุมเทกําลังกายกําลังใจและเวลาจํานวนมากลงไป และอาจทําใหนึกถึงการวิจยั และสถิติซ่ึงเปนสิง่ ท่ผี ูสอนสวนใหญ
มักจะไมมีเวลาใหเน่ืองจากงานสอนและงานรับผิดชอบในสถานศึกษาก็มากเพียงพออยูแลว เอกสารประกอบการ
อบรมชุดนจี้ ึงกลาวถึงการสรางและหาประสิทธิภาพสื่อการเรยี นการสอนออนไลนในขอบเขตที่ผูสอนสามารถทําได
และไมก ระทบจากงานประจําท่ีผูส อนรับผดิ ชอบ และจะกลาวถึงเฉพาะส่ือการเรียนการสอนที่ออกแบบและพัฒนา
โดยผูสอน เพื่อเปนเครื่องมือสําหรับผูสอนที่นํามาใชในการเรียนการสอนและทําใหผูเรียนเกิดการเรียนรูตาม
วัตถุประสงคหรือจุดมุงหมายท่ีผูสอนวางไวและเปนสื่อการสอนท่ีมีคุณภาพ การสรางและหาคุณภาพส่ือการเรียน
การสอน ในเอกสารประกอบการอบรมชุดน้ีประกอบดวย 3 สวนไดแก สวนนําเขา (Input) สวนกระบวนการ
(Process) และสวนผลลพั ธ (Output) ตามลาํ ดับ ดงั น้ี ดังน้ี

การสรางสื่อการเรียนการสอน
การสรางส่ือการสอนประกอบดวย 2 สวน ไดแก สวนนําเขา (Input) และสวนกระบวนการ (Process) มี
รายละเอยี ด ดังน้ี

52

สวนนําเขา (Input) ประกอบดว ย
1. การวิเคราะหปญหาและความจําเปนในการใชส่ือการเรียนการสอน เปนส่ิงแรกที่ผูสอนควรคํานึงถึง
เน่ืองจากผูสอนสามารถระบุปญหาที่แทจริงท่ีเกิดข้ึนจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนและตัดปญหาท่ีไม
เกี่ยวของออกไป จะนําไปสูการวางแผนสรางสื่อการเรียนการสอนท่ีทําใหมีโอกาสเช่ือไดวาสือ่ การสอนของผูสอนมี
คุณภาพ เริ่มตนจากประเมินความตองการส่ือการสอนโดยรวมจากบุคคลท่ีเกี่ยวของ อาทิ หัวหนาฝายวิชาการ
ผสู อนทานอน่ื ที่สอนวิชาเดียวกนั ทั้งจากภายนอกและภายในหนว ยงานของผูสอน และผเู รยี น เพื่อรวบรวมขอมูลวา
ส่ือการเรียนการสอนใดมีแลวหรือยังขาดแคลนและยังไมตรงกับความตองการของผูสอนและผูเรียน เชน พบวา
รายวิชาเครื่องวัดไฟฟา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ขาดแคลนเคร่ืองมือวัดไฟฟาท่ีใชเปนส่ือการเรียน
การสอนของจริง และไดขอมูลวา Clip VDO เปนส่ือการเรียนการสอนที่ไดรับความสนใจจากผูเรียน และผูสอนมี
ความสามารถในการทํา Clip VDO การใชงานเครื่องมือวัดไฟฟาไดดวยตนเอง จบลงดวยการวิเคราะหเปาหมาย
ของการนํา Clip VDO การใชงานเคร่ืองมือวัดไฟฟาไปใชในการเรียนการสอน อาทิ หลังจากผูเรียนไดเรียนผาน
Clip VDO การใชงานเคร่ืองมือวัดไฟฟาแลว ผูสอนคาดหวังวาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากผูเรียนอยางไรบาง เชน
มคี วามรู ความเขาใจ และสามารถใชง านเครอ่ื งมือวดั ไฟฟาไดเ ปน อยา งดี
2. การวิเคราะหลักษณะของผูเรียน การวิเคราะหส่ิงเหลาน้ีผูสอนสามารถทําไดไมยากเน่ืองจากผูเรียน
เหลานั้นเรียนรูอยูกับผูสอน ประกอบดวย ลักษณะโดยท่ัวไปของผูเรียน เชน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) ช้ันปที่ 2 มีอายุระหวาง 17-18 ป ผลการเรียนโดยรวม 2.25 ข้ึนไป และลักษณะเฉพาะของผูเรียน อาทิ
เม่ือเครื่องมือวัดไฟฟาท่ีใชเปนสื่อการเรียนการสอนของจริงไมเพียงพอทําใหผูเรียนพูดคุยกันเองเสียงดัง หลับ คุย
โทรศัพท ไมกระตุนการอยากเรียนรูของผูเรียน และที่สําคัญพบวาผูเรียนทุกคนมีคอมพิวเตอรหรือโทรศัพทมือถือ
ซ่งึ เปนประโยชนตอการจดั การเรยี นการสอนดวย Clip VDO เปนตน
3. การวิเคราะหเน้ือหาบทเรียน ผูสอนวิเคราะหเนื้อหาบทเรียนในรายวิชาเพ่ือดูวาหนวยใดสามารถสราง
Clip VDO ไดบาง เชน รายวิชาเครื่องวัดไฟฟามี 14 หนวย ประกอบดวย หลักการเบื้องตนของเคร่ืองวัดไฟฟา
แอมมิเตอรไฟฟากระแสตรง โวลตม ิเตอรไ ฟฟา กระแสตรง เคร่ืองวัดไฟฟากระแสสลบั แอมมิเตอรไ ฟฟา กระแสสลับ
โวลตม เิ ตอรไฟฟา กระแสสลับ โอหมมิเตอร มลั ตมิ เิ ตอร วัตตม ิเตอร กโิ ลวตั ตอาวรม ิเตอร ออสซิลโลสโคป เคร่อื งวัด
ไฟฟาชนดิ อ่ืนๆ ความผดิ พลาดในการวัด และการบํารุงรักษาเคร่ืองวัดไฟฟา ซึง่ แตละหนวยจําเปนตองใชเครื่องมือ
วัดไฟฟา แตเมื่อเคร่ืองมือไมเพียงพอตอผเู รียน ผูสอนก็สามารถสรางส่ือการเรียนการสอนในรูปของ Clip VDO ได
ซึ่งผูสอนไมจําเปนตองสราง Clip VDO ทุกหนวยการเรียน แตหากสามารถสรางไดทุกหนวยการเรียนก็เปนส่ิงท่ีดี
ผสู อนสามารถสรางสราง Clip VDO ไปเร่อื ยๆ ที่ละคลปิ สองคลปิ ในทสี่ ุดผูส อนกจ็ ะมี Clip VDO รายวิชาเครอื่ งวัด
ไฟฟาครบถวน ผูสอนสามารถนําไปตอยอดจัดเปนหองเรียนออนไลน แชรหรือแบงปนกับผูสอนคนอ่ืนและ
สาธารณะในรูปของ Youtube Channel ของผูสอนเองได และสราง Clip VDO อ่ืนๆ ท่ีสงเสริมการเรียนรูของ
ผเู รียนในรายวิชานี้และรายวชิ าตอ ไป
4. การวิเคราะหวัตถุประสงคการเรียน ผูสอนวิเคราะหวัตถุประสงคการเรียนแตละหนวยแตละหัวขอที่
ตองการสรา ง Clip VDO วา เมื่อสราง Clip VDO แลวผเู รยี นจะไดความรู ความเขาใจ การใชง าน ความสนใจ ความ
พึงพอใจตอการเรียน หรืออ่ืนๆ ดานใดบาง เชน เพื่อใหผูเรียนสามารถอธิบายสวนประกอบของแอมมิเตอรไฟฟา
กระแสตรง สามารถใชงานแอมมิเตอรไฟฟากระแสตรงไดอยางถูกตองและลดความผิดพลาดในการใชแอมมิเตอร
ไฟฟา กระแสตรง จะไดส ราง Clip VDO ใหต อบวตั ถุประสงคของการเรียนและพฒั นาผูเรียนไปในทิศทางท่ีดขี ้นึ

53

5. การวิเคราะหรูปแบบการนําเสนอเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสม หลังจากที่ผูสอนวิเคราะหขอมูลได
ครบทั้งส่ีขอแลว สุดทายผูสอนก็มาการวิเคราะหวารูปแบบการนําเสนอเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสมที่จะใชใน
การจัดการเรียนการสอนควรเปนรูปแบบใด จะใชวัสดุ อุปกรณ เคร่ืองมือ คอมพิวเตอร โปรแกรมและแอปพลิเค
ชันใดบา ง ซง่ึ ตัวอยา งในทน่ี ีค้ ือ Clip VDO เปนตน

สรปุ ไดว า สวนนาํ เขา (Input) คอื การวิเคราะหขอมูลท่ีเกย่ี วของ (Analysis) เพอ่ื ใหไดข อ มูลทีถ่ ูกตองและ
สมบูรณที่สุดเพ่ือใชประกอบการตัดสินใจออกแบบและพัฒนาส่ือการเรรียนการสอน ประกอบดวย การวิเคราะห
ปญหาและความจําเปนในการใชสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะหลักษณะของผูเรียน การวิเคราะหเน้ือหา
บทเรียน การวิเคราะหวตั ถปุ ระสงคก ารเรียน และการวเิ คราะหร ปู แบบการนาํ เสนอเนอื้ หาและกจิ กรรมท่เี หมาะสม

สวนกระบวนการ (Process) หลังจากวิเคราะหขอมูลในสวนตางๆ จนไดขอมูลสวนนําเขา (Input) ครบ
ตามท่ีตองการแลว ลําดับตอไปผูสอนก็ตองมาดําเนนิ การในสวนของสวนกระบวนการหรือการเลือกใชสอื่ การเรียน
การสอน ซ่ึงมีอยู 2 ทางเลือก ไดแก 1) เลือกใชสื่อการเรียนการสอนท่ีมีอยูแลวอยางเหมาะสมหรือจะนําสื่อการ
เรียนการสอนท่ีมีอยูแลว มาดัดแปลง ปรบั ปรุงแกไข และ 2) พฒั นาส่อื การเรยี นการสอนข้ึนมาใหมเนื่องจากยังไมมี
ส่ือการเรียนการสอนในเร่ืองนั้นๆ หรือมีอยูแตไมสามารถนาํ มาดัดแปลงใหสามารถใชง านไดแลว และไมสอดคลอง
กบั ขอมูลที่วเิ คราะหไดจ ากสว นนาํ เขา (Input) ซ่ึงตัวอยา งในทนี่ คี้ อื พัฒนาส่อื การเรยี นการสอนขึน้ มาใหมในรูปของ
Clip VDO ซึ่งผูสอนสามารถออกแบบและสรางไดดวยตนเอง ใชบริการกลุมงานผลิตสื่อของสถานศึกษาผลิตให
หรือจางผูมีความรูความสามารถผลิตให ภายใตการควบคุมการออกแบบและพัฒนาโดยผูสอน ในกรณีที่ผูสอน
เลือกท่ีจะพัฒนาส่ือการเรียนการสอนขึ้นมาใหม สวนกระบวนการ (Process) มีข้ันตอนสําคัญท่ีผูสอนตอง
ดาํ เนินการ 2 ขน้ั ตอน ประกอบดวย

1. การออกแบบส่ือการเรียนการสอน (Design) ตวั อยางสื่อการเรยี นการสอนในทนี่ ้ีคือ Clip VDO ดังนนั้
ผูสอนจะตองออกแบบสตอรี่บอรด (Storyboard) เพ่ือลําดับความสําคัญของเน้ือหา Clip VDO แตละสวน
ออกแบบองคประกอบใน Clip VDO ไดแก องคประกอบภาพ ภาพนิ่ง ภาพเคล่ือนไหว กราฟก ขอความ เสียง
บรรยาย เสียงประกอบ รวมถึงลูกเลน (Effect และ Transition) ของ Clip VDO เปนตน อาจรวมถึงออกแบบ
กิจกรรมการเรยี นการสอน และการวัดและประเมินผลผูเรียนทส่ี อดคลองกบั วตั ถปุ ระสงคการเรียนท่ีไดวิเคราะหไว
แลวเพ่ือใหสอดคลอ งกบั Clip VDO ดวย

2. การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน (Development) หลังจากไดออกแบบสื่อการเรียนการสอน
(Design) ไวเปนอยางดีแลว ลําดับตอไปก็ดําเนินการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน หรือ Clip VDO ตามท่ีได
ออกแบบไว การพัฒนาสือ่ การเรียนการสอนเปน ข้นั ตอนท่ผี สู อนจะไดล งมือถายทํา อดั เสียง และตดั ตอ จริงดวยวสั ดุ
อุปกรณ เครื่องมือ คอมพิวเตอร โปรแกรมและแอปพลิเคชนั ที่ไดจัดเตรยี มไวพ รอมแลว ในขั้นการวเิ คราะหร ูปแบบ
การนําเสนอเนื้อหาและกจิ กรรมที่เหมาะสม

การหาคุณภาพสือ่ การเรียนการสอน
การหาคุณภาพสอื่ การเรียนการสอนดว ย 1 สวน คอื สวนผลลพั ธ (Output) มรี ายละเอียด ดังนี้

54

สวนผลลัพธ (Output) ถึงขั้นตอนนี้เชอื่ วาผูส อนไดพัฒนาสอ่ื การเรียนการสอนหรือ Clip VDO เสร็จสนิ้
แลว การพัฒนาส่ือการเรียนการสอนใหเสร็จสมบูรณและมีคุณภาพ จําเปนอยางย่ิงที่ผูสอนจะตองนําส่ือการเรียน
การสอนหรือ Clip VDO ไปใช (Implementation) และประเมนิ ผลสื่อการเรยี นการสอน (Evaluation) เพือ่ ให
มั่นใจวาส่ือการเรียนการสอนท่ีพัฒนาขึ้นมาน้ันมีคุณภาพและสามารถใชกับผูเรียนไดจริง การหาคุณภาพสื่อการ
เรียนการสอนมีรายละเอยี ดดังน้ี

1. การนําส่ือการเรียนการสอนไปใช (Implementation) เพื่อใหม่ันใจวาสื่อมีคุณภาพและสามารถใช
งานไดจริง จึงควรนําส่ือการเรียนการสอนไปทดลองใชกับผูเรียนบางคน มักเรียกวากลุมตัวอยางเพื่อหาคุณภาพ
ของสื่อการเรียนการสอน ดวยการหาคุณภาพสื่อการเรียนการสอนแบบเด่ียว (1:1) โดยเลือกผูเรียนที่เรียนเกง
เรียนปานกลาง และเรียนออน อยางละ 1 คน มาลองใชหรือมาลองเรียนดวยสื่อการเรียนการสอนที่ผูสอน
พฒั นาข้ึน อาจจะใหก ลมุ ตัวอยา งแยกกนั มาเรียนหรือมาเรียนพรอมกนั แตใชวัสดแุ ละอุปกรณในการเรยี นคนละชุด
แยกกันออกไปอยา งชัดเจน เพอ่ื ผูส อนจะไดใ หค วามชว ยเหลอื พูดคุย และสงั เกตการเรยี นจากสอื่ การเรียนการสอน
ของกลุมตัวอยางแตละคนท่ีมีผลการเรียนแตกตางกัน เพื่อนําผลมาปรับปรุงแกไขขอบกพรองของส่ือการเรียนการ
สอนเพือ่ ใชส ําหรบั การหาคุณภาพส่ือการเรยี นการสอนแบบกลุม (1:12) โดยเลอื กผเู รียนท่เี รยี นเกง เรียนปานกลาง
และเรียนออน อยางละ 4 คน ขึ้นอยูกับจํานวนนักศึกษาที่มีและหาได มาลองใชหรือมาลองเรียนดวยสื่อการเรียน
การสอนท่ีผูสอนพัฒนาและปรับปรุงแกไขขอบกพรองแลว ผูสอนใหความชวยเหลือ พูดคุย และสังเกตการเรียน
จากส่ือการเรียนการสอนของกลุมตัวอยางและนําผลมาปรับปรุงแกไขขอบกพรองของส่ือการเรียนการสอนเพ่ือใช
สําหรับการหาคุณภาพส่ือการเรียนการสอนแบบสนาม (1:30) โดยเลือกผูเรียนที่เรียนเกง เรียนปานกลาง และ
เรียนออน อยา งละ 10 คน หรือเลือกผเู รยี นมาสัก 1 หองเรียนตามทผี่ ูเรยี นและผูสอนสะดวก อาจจะมจี ํานวนมาก
หรือนอยกวา 30 คนกย็ อ มได ในทางปฏิบัตติ ัวเลขของกลุมตวั อยางท้ัง 3 กลุม ผสู อนสามารถบรหิ ารจัดการไดตาม
ความเหมาะสมเน่ืองจากบางครั้งการจะหาผูเรียนไดจํานวนท่ีระบุอาจจะเปนไปไดไมงายนัก และท่ีสําคัญเปนการ
หาคุณภาพสื่อการเรียนการสอนเพ่ือใชในการจัดการเรียนการสอนไมใชเ พื่อการศึกษาวิจัย หากเปนการศึกษาวิจยั
มักกําหนดไวที่ 30 คนข้ึนไปเทานั้นเอง หรือในทางปฏิบัติจริงผูสอนจะนําสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมาไปให
เพ่ือนครูท่ีสอนวิชาเดียวกันหรือสอนตางวิชาชวยทดลองใชและใหขอเสนอแนะเพ่ือการปรับปรุงแกไขก็ไดเชนกัน
โดยผูสอนอาจทําแบบประเมินออนไลนหรือพิมพดวยกระดาษใหกลุมตัวอยางเหลาน้ีไดประเมินและให
ขอเสนอแนะ ผูส อนจะไดม ขี อ มลู มาใชในการปรับปรุงแกไขสอื่ การเรยี นการสอนตอไปได

2. ประเมนิ ผลสอ่ื การเรียนการสอน (Evaluation) โดยหลกั การของการออกแบบและพฒั นาส่ือการเรียน
การสอน ผูสอนหรือผูสรางสื่อยอมมีการตรวจสอบ ตรวจทาน ปรับปรุงแกไขส่ือการเรียนการสอนเปนระยะๆ ใน
ทกุ ข้ันตอนของการสรา งสื่อการเรยี นการสอนอยูแลว เรียกวาการประเมินผลสอ่ื การเรียนการสอนโดยผสู รา งส่ือ แต
เพื่อความถกู ตองตามหลักวชิ าการและสรางความเชอ่ื มนั่ ใหกบั ส่ือการเรียนการสอนท่ผี สู อนสรางขน้ึ การประเมินผล
ส่ือการเรียนการสอน (Evaluation) ในที่น้ีหมายถึง การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนทั้ง 3 สวน ไดแก 1) สวน
นําเขา (Input) ประกอบดวยการประเมินการวิเคราะหขอมูลที่เก่ียวของ (Analysis) 2) สวนกระบวนการ
(Process) ประกอบดวยการประเมนิ การออกแบบส่อื การเรียนการสอน (Design) และการพฒั นาสือ่ การเรียนการ
สอน (Development) โดยปกตกิ ารประเมนิ ใน 2 สว นนม้ี กั ประเมินโดยผเู ช่ยี วชาญดานเน้อื หา ดานการออกแบบ
และพัฒนาสื่อการเรียนการสอน 3-5 คน ซึ่งผูสอนสามารถใหผูสอนทานอื่นจากหนวยงานเดียวกันหรือตาง
หนว ยงานชวยเปนผูเ ช่ียวชาญใหได เพอ่ื ประเมนิ ความเหมาะสมและความสอดคลอ งของเนื้อหาและวตั ถปุ ระสงคใช

55

คา ดชั นคี วามสอดคลอง (IOC) เปน การใหคะแนนการตอบแบบประเมินจากผูเช่ียวชาญเพ่ือตรวจสอบความถูกตอง
ของสือ่ การเรียนการสอนแตล ะรายการแลว และ 3) สว นผลลัพธ (Output) ประกอบดวยการประเมนิ ผลเม่ือนําส่ือ
การเรยี นการสอนไปใช (Implementation) เปน การประเมนิ เพื่อหาคุณภาพของสื่อการเรยี นการสอนตามเกณฑ
E1/E2 ของชัยยงค พรหมวงศ (2520) ผูเสนอแนวคิดการประเมินดังกลาว โดย E1 คือคารอยละของคะแนนเฉลี่ย
ที่เกิดจากการทํากิจกรรมระหวา งเรยี นของผูเรียน อาทิ การทดสอบยอย การบาน และงานที่ผูสอนมอบหมายและ
E2 คอื คา รอยละของคะแนนเฉลย่ี ท่เี กดิ จากการทาํ แบบทดสอบของผูเรียนหลงั เรยี นจบทั้งกระบวนการ

จบขั้นตอนน้ีก็พอจะม่ันใจไดวาส่ือการเรียนการสอนท่ีผูสอนพัฒนาและปรับปรุงแกไขจนสมบูรณมี
คณุ ภาพเพียงพอและสามารถนาํ ไปใชใ นการจัดการเรียนการสอนไดจริง เพ่ือประเมนิ ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจ
ของท่ีไดเรียนรูดวยส่ือการเรียนการสอนท่ีผูสอนพัฒนาข้ึนตามวัตถุประสงคที่กําหนดไวตอไป ซึ่งการประเมินผล
สมั ฤทธแิ์ ละความพงึ พอใจของผูเรียนไมไดกลาวถงึ ในท่ีนี้

ภาพท่ี 6.3 รูปแบบการสรางและหาคุณภาพส่อื การเรยี นการสอนออนไลน
ที่มา : ADDIE (2000) และ (จนิ ตวยี  คลา ยสงั ข, 2560)

56

สรุป
การสรางและหาคุณภาพสือ่ การเรยี นการสอนออนไลน แบง่ ออกเป็น 3 สวนหลกั ไดแ ก สว นนาํ เขา (Input)

เปนข้ันตอนของการวิเคราะหขอมูลท่ีเก่ียวของ (Analysis) ประกอบดวย การวิเคราะหปญหาและความจําเปนใน
การใชส่ือการเรียนการสอน การวิเคราะหลักษณะของผูเรียน การวิเคราะหเนื้อหาบทเรียน การวิเคราะห
วัตถุประสงคการเรียน และการวิเคราะหรูปแบบการนําเสนอเน้ือหาและกิจกรรมที่เหมาะสม สวนกระบวนการ
(Process) ประกอบดวยการออกแบบส่ือการเรียนการสอน (Design) และการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
(Development) แล ะสว นผ ล ลัพธ ( Output) ประกอบดว ย การนําสื่อการเรียนการส อน ไ ป ใ ช
(Implementation) และประเมินผลสือ่ การเรยี นการสอน (Evaluation)
เอกสารอา งองิ
กดิ านนั ท มลทิ อง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพือ่ การศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ.
จินตวีย คลายสังข. (2560). การผลิตและใชสื่ออยางเปนระบบ เพื่อการเรียนรูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :

สาํ นกั พิมพแหง จฬุ าลงกรณม หาวิทยาลยั . จฬุ าลงกรณม หาวิทยาลัย.
ชยั ยงค พรหมวงศ. (2520). ระบบส่อื การสอน. กรงุ เทพฯ : สํานักพมิ พจุฬาลงกรณม หาวทิ ยาลัย.
นันทิยา รักรัตน. (2557). กรวยประสบการณของ Edgar Dale. สืบคนเม่ือ 27 พฤษภาคม 2557, จาก

http://57gc1000409.blogspot.com/2015/01/blog-post_24.html.
เพ็ญศรี ศรีสวัสดิ์. (2558). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร

สถาบนั การพลศกึ ษา วทิ ยาเขตสุพรรณบรุ .ี
ศภุ ชัย ตนั ศิริ และคณะ. (2552). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศกึ ษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยั รามคําแหง.
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). รายงานประจําป 2561 สํานักงานคณะกรรมการการ

อาชวี ศึกษา. สํานกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา กระทรวงศึกษาธกิ าร.
Brow, Jame W; Levis, Rechand B; and Harcleroad, Fred F. (1977). AV Instruction: Technology,

Media and Medthods. (5 ed). New York: McGraw-Hill Book Company.
Dale, Edgar. (1969). Audio-Visual Methods n Teching. (3 ed). New York: Holt Rineheart and

Winston.
Gerlach, V.S. and D.P. Ely. (1971). Picture and Visual Perception. New York: Hamper Row.
McGriff, Steven J. ( 2 0 0 0 ) . Instructional System Design ( ISD) : Using the ADDIE Model.

Instructional Systems, College of Education, Penn State University.
Tom Kuhlmann. (2016). The Cons of Social Media for E-Learning.

https://blogs.articulate.com/rapid-elearning/cons-social-media-e-learning.

57

บรรณานกุ รม

กิดานนั ท มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสือ่ สารเพอื่ การศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพมิ พ.
กฤษณพงศ เลิศบํารุงชัย. (2563). การทํางานรวมกันและการจัดการเรียนการสอนออนไลนดวย Microsoft

Teams. โครงการอบรมพัฒนาทักษะครูอาชีวศึกษาดานการจัดการเรียนการสอนอนไลน. สํานักงาน
คณะกรรมการการอาชวี ศึกษารวมกบั มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ.
คณิตพงศ เพ็งวนั . (2563). การจัดการเรยี นการสอนออนไลนดวยแอปพลิเคชัน Zoom. คณะวศิ วกรรมศาสตร.
มหาวิทยาลัยเชยี งใหม
จินตวีร คลายสังข. (2555). อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติสําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนงิ ในทกุ
ระดบั . กรงุ เทพฯ : สาํ นักพิมพแหงจุฬาลงกรณม หาวิทยาลยั , 2555.
จินตวีย คลายสังข. (2560). การผลิตและใชสื่ออยางเปนระบบ เพื่อการเรียนรูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :
สํานกั พมิ พแ หง จฬุ าลงกรณม หาวทิ ยาลัย. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
จิระ จิตสุภา. (2562). การใชคอมพิวเตอรและโปรแกรมสําเร็จรูปเพ่ือประโยชนในการจัดการเรียนการสอน
เอกสารคําสอน. คณะครศุ าสตร มหาวทิ ยาลัยสวนดุสิต.
จิราภรณ สรรพวีรวงศ ภัทรกันย ติเอียดยอ จันทนี ปลูกไมดี ศรัญญา ท้ิงสุข สุพรรษา สุดสวาท และ กนกพร สง
ปราบ. (2559). ความสขุ ของนกั ศกึ ษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ. สงขลานครินทรเ วชสาร. ปท่ี 34 ฉบบั ท่ี
5 ก.ย.- ต.ค. 2559.
ใจทิพย ณ สงขลา. (2550). E-Instructional Design: วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส.
กรงุ เทพฯ : ศูนยต ําราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวทิ ยาลัย.
ชัยยงค พรหมวงศ. (2520). ระบบสอ่ื การสอน. กรงุ เทพฯ : สํานักพมิ พจ ฬุ าลงกรณม หาวิทยาลยั .
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-Learning หลักการออกแบบและการสรา งเว็บเพ่ือการเรียนการ
สอน. กรงุ เทพฯ : อรณุ การพมิ พ.
นันทิยา รักรัตน. (2557). กรวยประสบการณของ Edgar Dale. สืบคนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557, จาก
http://57gc1000409.blogspot.com/2015/01/blog-post_24.html.
ปรัชญนันท นิลสุข. (2542). WBT : Web-Based Training เทคโนโลยีการฝกอบรมครูในอนาคต. วารสาร
ศึกษาศาสตรป รทิ ัศน. 14 (2) (พฤษภาคม - สงิ หาคม 2542) : 79-88.
ปรัชญนันท นิลสุข. (2563). โครงการอบรมพัฒนาทักษะครูอาชีวศึกษาดานการจัดการเรียนการสอนออนไลน.
สํานักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร.
เพ็ญศรี ศรีสวัสด์ิ. (2558). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร
สถาบันการพลศึกษา วทิ ยาเขตสพุ รรณบรุ ี.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2550). การผลิตและพัฒนา e-Learning โครงการการศึกษาไรพรมแดน.
โครงการ SUT e-Training มหาวิทยาลยั เทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา : โจเซฟ.
วชิ ดุ า รตั นเพยี ร.(2548). การเรยี นการสอนบนเวบ็ ขั้นนาํ . กรงุ เทพฯ : สํานกั พิมพแหง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลยั .

58

วีณฐั สกุลหอม จิระ จติ สภุ า อลงกรณ เกดิ เนตร และเบญจวรรณ กส่ี ขุ พนั ธ. (2563). โลกแหง การเรียนรูออนไลน
ท่ีขับเคลอื่ นดวยแอปพลเิ คชนั . คณะครศุ าสตร มหาวิทยาลัยสวนดสุ ติ .

ศศิธร ขันติธวรางกูร. (2551). การจัดการชั้นเรียนของผูสอนมืออาชีพ. วารสารครุศาสตร. ปที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือน
มนี าคม 2551.

ศภุ ชยั ตันศิริ และคณะ. (2552). นวัตกรรมและเทคโนโลยกี ารศกึ ษา. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยรามคําแหง.
สถาบันการเรียนรูแหงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี. (2563). 5 กลยุทธในการกระตุนผูเรียนทาง

ออนไลน. สถาบันการเรียนรู มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยพี ระจอมเกลา ธนบุรี.
สาธิยา ภูนาพลอย ปรัชญนันท นิลสุข และจารุมน หนูคง. (2563). ผลการจัดการเรียนรูดวย AL MIAP เพ่ือ

สงเสรมิ ความฉลาดทางดจิ ิทลั ของนกั ศึกษาระดับปริญญาตรี. คณะครุศาสตรอ ตุ สาหกรรม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนอื .
สรุ างค โคว ตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พแหง จุฬาลงกรณม หาวทิ ยาลัย.
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). รายงานประจําป 2561 สํานักงานคณะกรรมการการ
อาชวี ศึกษา. สาํ นกั งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธกิ าร.
สาํ นักงานพัฒนาธรุ กรรมทางอิเล็กทรอนิกส. (2563). ผลการสํารวจพฤตกิ รรมผใู ชอินเทอรเน็ตในประเทศไทย ป
2562. สาํ นกั งานพฒั นาธรุ กรรมทางอิเลก็ ทรอนกิ ส. กระทรวงดจิ ทิ ลั เพอ่ื เศรษฐกิจและสงั คม.
อภิชาติ อนุกูลเวช. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลนอาชีวศึกษายุควิกฤติโควิด 19.
วทิ ยาลยั เทคนคิ ชลบุร.ี
อนริ ุทธ สตมิ นั่ .(2550) ผลการใชรูปแบบการจัดการเรยี นรูโดยใชก จิ กรรมการเรยี นรูแ บบโครงงานบนเครือขา ย
อนิ เทอรเนต็ ที่มีตอ การเรียนรูแบบนําตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นของนกั ศึกษาระดบั อุดมศึกษา.
วิทยานิพนธการศกึ ษาดษุ ฎีบณั ฑติ . บัณฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวิโรฒ.
Anderson, T. ( 2 0 0 8 . The Theory and Practice of Online Learning. Canada: AU Press,
Athabasca University.
Brian M. Morgan. (2016). Student Engagement: 5 Strategies to Motivate the Online Learner.
เขาถงึ เมอื่ 30 เมษายน 2563. จาก
https://blog.blackboard.com/student-engagement-strategies-motivate-online-learner/
Brow, Jame W; Levis, Rechand B; and Harcleroad, Fred F. (1977). AV Instruction: Technology,
Media and Medthods. (5 ed). New York: McGraw-Hill Book Company.
Dale, Edgar. (1969). Audio-Visual Methods n Teching. (3 ed). New York: Holt Rineheart and
Winston.
Gerlach, V.S. and D.P. Ely. (1971). Picture and Visual Perception. New York: Hamper Row.
McGriff, Steven J. ( 2 0 0 0 ) . Instructional System Design ( ISD) : Using the ADDIE Model.
Instructional Systems, College of Education, Penn State University.
Tom Kuhlmann. (2016). The Cons of Social Media for E-Learning.
https://blogs.articulate.com/rapid-elearning/cons-social-media-e-learning.


Click to View FlipBook Version