The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความผิดเกี่ยวกับเพส มาตรา 276 - มาตรา 287/2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Siriras Madsaday, 2022-09-14 16:17:07

กฎหมายอาญา ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ

ความผิดเกี่ยวกับเพส มาตรา 276 - มาตรา 287/2

รหัสนิสิต 641081340
นางสาวศิริรัตน์ หมัดสดาย

คณะนิติศาสตร์ (S104)

กฎหมายอาญา 2

ลักษณะที่ 9

ความผิดเกี่ยวกับเพศ



คำนำ

หนังสือ E-book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อ ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาค
ความผิด ลักษณะที่ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะใช้ในการ
ประกอบการเรียนการศึกษา ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงความหมายของคำ
ต่างๆ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในมาตรา ข้อยกเว้น เหตุเพิ่มโทษ และเหตุละเว้นโทษ ได้
มากยิ่งขึ้น

ผู้จัดทำหวังว่า E-book เล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน
นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการ
ใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณที่นี้ด้วย

ศิริรัตน์ หมัดสดาย

สารบัญ ข

เค้าโครงการอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 2 หน้า
1
ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ 1
4
เรื่อง 7
1. ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นหรือเด็ก 14
14
1.1 การข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น 19
1.2 การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี 23
25
2. กระทำอนาจาร
28
3. ค้าบุคคลเพื่อสนองความใคร่ 28
3.1 จัดหาบุคคลเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น 29
3.2 พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร
3.3 รับประโยชน์จากการค้าประเวณี

4. ค้าสิ่งลามก

5. สื่อลามกอนาจารเด็ก
5.1 การครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก
5.2 การเผยแพร่สื่อลามกอนาจารเด็ก

1

1. การข่มขืนกระทำขำเราผู้อื่นหรือเด็ก
มาตรา 276 - 277

การข่มขืนใจ เป็นความผิดต่อเสรีภาพเพราะเป็นการบังคับ หากกระทำ
ลงโดยมีความมุ่งหมายในทางเพศ คือ การทำชำเราก็เป็นความผิดทางเพศ
บทนี้จะได้แบ่งอธิบายออกเป็นสองลักษณะ คือ 1. การข่มขืนกระทำชำเราผู้
อื่น และ 2 การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี

1.1 การข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น

มาตรา 276 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลัง
ประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตน
เป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสี่แสน
บาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมี
อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่
หมื่ นบาทถึงสี่ แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้
อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชาย
ในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาท
ถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรส และคู่สมรส
นั้นยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียง
ใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำ
พิพากษาให้ลงโทษจำคุกและคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
ต่อไป และประสงค์จะหย่า ให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ และให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการ
ให้ดำเนินการฟ้องหย่าให้

2

วรรคแรก
องค์ประกอบภายนอก
1 ) ข่มขืน
2) กระทำชำเรา
3) ผู้อื่น
4) โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยต่อไปนี้

(ก) โดยการขู่เข็ญด้วยประการใดๆ
(ข) โดยการใช้กำลังประทุษร้าย
(ค) โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
(ง) โดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

วรรคสอง ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่า
ผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด

วรรคสาม เพิ่มโทษสูงขึ้นเมื่อ
1) ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ
2) โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชายใน
ลักษณะเดียวกัน

การกระทำผิดฐานนี้ ได้เเก่ การข่มขืนกระทำชำเรา โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้
กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เขาเข้าใจผิดว่า ตน
เป็นบุคคลอื่ น

เหตุเพิ่มโทษ มีอีกหลายประการดังนี้
1) ถ้าได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่า ผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัดถุระเบิด
(มาตรา 276 วรรคสอง)
2) ถ้าการข่มขืนกระทำชำเราเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำนั้นรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น (มาตรา 277 ทวิ)

3) ถ้ามีการใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือร่วมกันโทรมเป็นเหตุให้ผู้อื่นนั้นรับอันตรายสาหัส
หรือถึงแก่ความตาย มีโทษถึงประหารชีวิต (มาตรา 277 ตรี) กระทำโดยมีอาวุธหรือวัดถุระเบิดหรือ
โดยใช้อาวุธ ผู้กระทำต้องรับโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต บอกผู้เสียหายว่ามีปืนบรรจุกระสุนอยู่ใต้
ที่นอน เป็นการข่มขืนกระทำชำเราโดยมีอาวุธปืน ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นนั้นถึงแก่ความตายหรือรับ
อันตรายสาหัส ผู้กระทำนั้นต้องระวางโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต (มาตรา 277 ตรี)

ความตายหรืออันตรายสาหัสต้องเป็นผลธรรมดาจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
4) ถ้าผู้กระทำความผิดได้ทำการบันทึกภาพหรือเสียงไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์หรือ

เผยแพร่ภาพที่บันทึกไว้ ต้องระวางโทษหนักขึ้น (มาตรา 280/1)

3

5) ถ้าการข่มขืนกระทำชำเราดังกล่าวมาแล้ว เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน คือ
ลูกหลาน เหลน ที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือตามข้อเท็จริง ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล เช่น ครูใหญ่
ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กนักเรียนตลอดเวลาที่โรงเรียนเปิดสอนตามปกติ หรือครูพลศึกษาระหว่าง
ทำการสอนวิชาพลศึกษา เป็นต้น ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ เช่น พัศดีกับผู้ต้อง
ขังแต่ไม่หมายถึงกำนันกับลูกบ้านหรือผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง ผู้อยู่ในความปกครองในความ
พิทักษ์หรือในความอนุบาล ต้องเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย ส่วนที่ว่า "ผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วย
ประการอื่นใด" ย่อมหมายความถึงผู้ที่ปกครองดูแลเด็กตามความเป็นจริงด้วย ดังนั้น พ่อเลี้ยง
ที่ข่มขืนกระทำชำเราลูกเลี้ยงต้องถูกเพิ่มโทษตามมาตรานี้ด้วย เหตุเหล่านี้ทำให้ผู้กระทำต้อง
รับโทษหนักขึ้นอีกหนึ่งในสาม (มาตรา 285)

เหตุให้ยอมความได้ (มาตรา 281)
ความผิดฐานนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้ามิได้เกิดขึ้นต่อหน้าธารกำนัลและไม่เป็น

เหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย (มาตรา 281) การกระทำต่อหน้า
"ธารกำนัล" หมายถึง กระทำในที่ซึ่งมีคนอื่นเห็นหรือผู้กระทำได้กระทำในลักษณะที่เปิดเผยให้
บุคคลอื่นสามารถเห็นการกระทำของตนได้" แม้เพียงคนเดียว ก็เป็นกระทำต่อหน้าธารกำนัล"
แต่ถ้ากระทำในห้องดับไฟมืด แม้มีเด็กอยู่แต่นอนหลับ ไม่เป็นต่อหน้าธารกำนัล และไม่รวมถึง
การกระทำต่อหน้าพวกเดียวกันเอง

ความผิดอันยอมความได้นี้หากผู้เสียหายตายลงก่อนมีการร้องทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์
แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับลง

นอกจากนี้แล้วจะยอมความไม่ได้ ถ้าผู้กระทำได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด
หรือร่วมกันกระทำโดยมีลักษณะอันเป็นการโทรม คือ มีผู้ร่วมกระทำชำเรามากกว่า 1 คนผลัด
เปลี่ยนกันทำอย่างน้อยคนละครั้ง เช่นมี 3 คนร่วมกันฉุดหญิงมา พวกที่ฉุดมา 2 คนชำเราหญิง
ไปแล้ว แม้คนที่ 3 ยังไม่ทันได้ชำเราหญิงนั้นหรือไม่ได้อยู่ในห้องเพราะสลับกับเพื่อนในการ
ข่มขืนกระทำชำเราหญิง ก็เป็นตัวการโทรมหญิงด้วย

อย่างไรก็ตามหากเป็นการกระทำระหว่างคู่สมรส ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
ไว้เพียงใดก็ได้หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติหรือมีการฟ้องหย่าก็ได้ (มาตรา
276 วรรคท้าย) หรือการกระทำระหว่างคู่สมรสดังกล่าวหากมิได้เกิดขึ้นต่อหน้าธารกำนัล หรือ
ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย ก็เป็นความผิดอันยอมความ
ได้ (มาตรา 281)

4

1.2 การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี

มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดย

เด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่ง
แสนบาทถึงสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำ
คุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจ

ว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่
สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุ
ระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็ก
หญิงหรือกระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีก

ระทำต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม ศาลที่มีอำนาจ

พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทำ

หรือผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กแทนการลงโทษก็ได้ ในการ

พิจารณาของศาล ให้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ

ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อมของผู้กระทำความผิดและเด็กผู้ถูกกระทำ ความสัมพันธ์

ระหว่างผู้กระทำความผิดกับเด็กผู้ถูกกระทำ หรือเหตุอื่นอันควรเพื่อประโยชน์ของเด็กผู้ถูก

กระทำด้วย

ในกรณีที่ได้มีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทำหรือผู้กระทำความ
ผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กแล้ว ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าการ
คุ้มครองสวัสดิภาพดังกล่าวไม่สำเร็จ ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าที่กฎหมาย
กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ในการพิจารณาของศาล ให้คำนึงถึงเหตุตามวรรค
ห้าด้วย

5

วรรคแรก
องค์ประกอบภายนอก
1 ) กระทำชำเรา
2) เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน
3) โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

วรรคสอง เพิ่มโทษให้หนักขึ้นถ้าเป็นการกระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน 13 ปี

วรรคสาม ทำ ให้เข้าใจว่า มีอาวุธปืนหรือมีวัตถุระเบิด

วรรคสี่ เพิ่มโทษให้หนักขึ้นอีกเมื่อมีการกระทำความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองได้
กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือโดยใช้อาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมี
ลักษณะเป็นการโทรมเด็กและเด็กนั้นไม่ยินยอม ( ถ้าเด็กยินยอมให้โทรมไม่เพิ่มโทษ )

วรรคห้า ถ้ากระทำความผิดในวรรคเเรกเป็นการกระทำที่บุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี กระทำกับ
เด็กอายุ 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นยินยอมและภายหลังศาลมีอำนาจพิจารณาคดี
เยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ชายและหญิงนั้นสมรสกัน

แยกออกเป็น 3 ความผิด คือ

ความผิดที่ 1 ได้แก่ กระทำเชาเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีตน ไม่ว่าเด็ก
จะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

ความผิดที่ 2 ได้แก่ กระทำเชาเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ต้องมีระวางโทษหนักขึ้นกว่า
ความผิดที่ 1 กรณีนี้กฎหมายห้ามอ้างความไม่รู้อายุของเด็กมาเป็นข้อแก้ตัว(มาตรา 285/1)

ความผิดที่ 3 ได้แก่ ถ้าการกระทำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กและเด็กนั้นไม่
ยินยอม (ถ้ายินยอมไม่เพิ่มโทษ) หรือกระทำโดยมีอาวุธปืน หรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ผู้
กระทำต้องรับโทาหนักขึ้นอีก

6

เหตุเพิ่มโทษ (มาตรา 280/1, 285)
1) ถ้าการกระทำชำเราเด็กดังกล่าวในความผิดที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุให้เด็กนั้นรับ
อันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย (มาตรา 277 ทวิ)
2) ถ้าการกระทำความผิดที่ 3 เป็นเหตุให้เด็กนั้นถึงแก่ความตายหรือรับอันตรายสาหัส
ผู้กระทำต้องรับโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต (มาตรา 277 ตรี)
3) ถ้าผู้กระทำความผิดทำการบันทึกภาพหรือเสียงไว้เพื่อหาประโยชน์ก็ดี เผยแพร่ภาพ
ที่บันทึกไว้ก็ดี ต้องระวางโทษหนักขึ้น (มาตรา 280/1)
4) ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ ซึ่ง
อยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความ
พิทักษ์หรือในความอนุบาล หรือผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใด ผู้กระทำต้องระวางโทษ
หนักกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ 1 ใน 3 (มาตรา 285)

ผลของการกระทำต้องเป็นผลธรรมดาตามมาตรา 63 เป็นเงื่อนไขการเพิ่มโทษทางภาวะ
วิสัย

เหตุลดโทษ (มาตรา 277 วรรคห้า)
ในความผิดที่ 1 ถ้าเป็นการที่บุคคลอายุไม่เกิน 18 ปีกระทำแก่เด็กอายุกว่า 13 ปี และยัง
ไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายนั้นสมรสกัน ผู้
กระทำอาจได้รับการลดโทษ ถ้ากำลังรับโทษอยู่ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดไป (แม้เด็ก
อายุไม่ถึง 17 ปีศาลอาจอนุญาตให้สมรสกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1448)
หากแต่ละฝ่ายมิได้มีเจตนาที่แท้จริงที่จะสมรสกันก็ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะทำให้จำเลย
ไม่ต้องรับโทษ
หากมีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้กระทำความผิด ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หากการ
คุ้มครองไม่เป็นผล ศาลจะลงโทษผู้กระทำน้อยกว่าที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด
ก็ได้(วรรคท้าย)

7

2. กระทำอนาจาร
มาตรา 278 - 281

มาตรา ๒๗๘ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ
โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคล
นั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่
อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศหรือทวารหนักของบุคคลนั้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสอง ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมี
อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่
หมื่ นบาทถึงสี่ แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสอง ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือโดยใช้
อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชาย
ในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาท
ถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

องค์ประกอบภายนอก
1) กระทำอนาจาร
2) แก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
3) โดยวิธีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(ก) โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ
(ข) โดยใช้กำลังประทุษร้าย
(ค) โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้หรือ
(ง) โดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

8

กระทำอนาจาร หมายความว่า ความประพฤติน่าอับอาย ลามก น่าบัดสี ทำให้เป็นที่
อับอายเป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในทางเพศ เช่น สัมผัสจับต้องอวัยวะเพศของหญิง การกอด
ปล้ำฉุดมือหญิง แต่ถ้ามิใช่กระทำในทางเพศ เช่น กอดหญิงเพื่อป้องกันมิให้ถูกทำร้าย ไม่เป็น
อนาจาร ที่สำคัญต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของบุดคลโดยตรง แม้จะให้ผู้อื่นกระทำ
ต่อตัวผู้กระทพความผิดเอง เช่น ให้ผู้อื่นจับของลับของตนเอง ก็เป็นการกระทำอนาจารต่อผู้
อื่นนั้นได้ แต่ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา เขียนด้วยภาพ ไม่เป็นการอนาจารตามมาตรานี้ แต่
อาจเป็นสิ่งลามกตามมาตรา 287 ได้

การทำอนาจารตามมาตรา 278 นี้ ได้แก่ การทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญ
ด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุดคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้หรือ
โดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่ น

การใช้กำลังประทุษร้าย ได้แก่ การใช้แรงกายภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กำลัง
อย่างใด การกอดปล้ำ จับต้องเนื้อตัวร่างกายหญิงก็เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายได้ ไม่ต้องถึง
ขั้นทุบตีหรือทำร้ายอย่างอื่น แต่การหลอกว่าดวงไม่ดี ต้องสะเดาะเคราะห์แล้วใช้ของลับสอด
ใสาทวารหนักโดยอาศัยความเบาปัญญาของผู้เสียหาย ไม่ถือว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
ขู่เข็ญหรืออยู่ในภาวะที่ไม่อาจขัดขืนได้ ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ หรือข่มขืนกระทำชำเรา
เพราะผู้เสียหายรู้ว่าเขากำลังกระทำอนาจารหรือกระทำชำเรากับตนและตนก็ยินยอม (แม้ด้วย
ความโง่เขลา) หากไม่รู้ว่าเป็นอนาจารหรือเป็นการชำเรา เช่น หลอกให้เข้าใจว่าใช้เครื่องมือ
แพทย์ตรวจภายใน แต่ความจริงแล้วใช้อวัยวะเพศ หรือนิ้ว ดังนี้เท่ากับไม่ยินยอมเพราะถูก
หลอก เป็นความผิดตามมาตรานี้ได้

เหตุเพิ่มโทษ (มาตรา 278, 280, 285)
1)การกระทำอนาจารโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่ นที่มิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศหรือทวาร
หนักของบุคคลอายุกว่า 15 ปี
2) กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือทำให้เชื่อว่ามีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด (มาตรา 278 วรรคสาม)
3) ร่วมกันกระทำอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือชาย (มาตรา 278 วรรคสี่)
4)ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายหรือรับอันตรายสาหัส
ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น (มาตรา 280)

5)ถ้ากระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในการดูแล ผู้อยู่ในความดวบคุมตามหน้าที่
ราชการ หรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์ ในความอนุบาลหรือผู้อยู่ภายใต้อำนาจผู้
กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้อีกหนึ่งในสาม

9

การกระทำอนาจารอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือ

ชาย ตามความหมายในมาตรา 278 วรรคสี่ เป็นข้อความที่แก้ไข

เพิ่มเติมใหม่ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน จึงต้องทำความเข้าใจความ

หมายของเหตุเพิ่มโทษดังกล่าว โดยเทียบกับการกระทำชำเรา

อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง

หรือชายในมาตรา 276 วรรคสาม กล่าวคือการร่วมกันอนาจารผู้

เสียหายอย่างน้อย 2 คนนั้นเอง แต่ก็มิใช่ว่าการอนาจารทุกอย่าง

จะเป็นเหตุเพิ่มโทษเพราะการโทรมได้ เฉพาะการกระทำตาม

278 วรรคสองเท่านั้น กล่าวคือ การ "ชำเราเทียม" คือใช้วัตถุอื่น

ที่ไม่ใช่อวัยวะเพตล่วงล้ำอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น เช่น

ใช้นิ้วแหย่เข้าไปในช่องคลอด หากช่วยกันหลายคนก็เป็น

อนาจารอันมีลักษณะเป็นการโทรมได้การกระทำชำเราเป็นการ

อนาจารอยู่ในตัว หากคนหนึ่งกระทำชำเราผู้อื่นสำเร็จ แม้อีกคน

เพียงแต่ช่วยจับแขน ขาไว้ ยังไม่ได้ใช้อวัยวะเพศล่วงถ้ำ ยังไม่

เป็นการกระทำชำเราหรืออนาจารอันมีลักษณะเป็นการโทรม แต่

หากอีกคนใช้นิ้วของตนหรือใช้สิ่งอื่ นสอดใส่เข้าไปในช่องคลอด

หรือทวารหนักของผู้อื่ นนั้นจึงจะเป็นการอนาจารอันมีลักษณะ

โทรมได้ที่สำคัญผู้ร่วมกระทำต้องได้กระทำถึงขั้นอนาจารตาม

มาตรา 278 วรรคสอง (ชำเราเทียม) อย่างน้อย2คน หากเพียง

แต่ดูต้นทางให้อย่างเดียวก็เป็นตัวการในการอนาจารทั่วไปหรือ

ข่มขืนกระทำชำเราเท่านั้น ไม่ต้องเพิ่มโทษให้ตามข้อนี้ เว้นแต่ดู

ต้นทางให้เพื่ อนหลายคนกระทำดังที่ กล่าวจึงจะเพิ่มโทษเพราะ

เป็นตัวการได้

เหตุยอมความ (มาตรา 281)
ถ้าการกระทำอนาจารนี้ มิได้มีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือชายหรือมิได้เกิดขึ้นต่อหน้า

ธารกำนัล คือ มีคนเห็นและไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตายหรือ
มิได้เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามสถานที่
ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาลหรือผู้อยู่ภายใต้อำนาจ
(ซึ่งเป็นเหตุเพิ่มโทษตามมาตรา 285) หรือทำกับผู้ทุพพลภาพ หรือไม่สามารถปกป้องตนเอง
ได้ (มาตรา 285/2) ก็สามารถยอมความได้ (มาตรา281)

10

กรณีการกระทำอนาจารเด็ก
อายุไม่เกิน 15 ปี และไม่เกิน 13 ปี
ตามมาตรา 279 มี 2 ความผิดคือ

มาตรา 279 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่
ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่เด็กอายุไม่เกินสิบสามปี ต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้กระทำได้กระทำโดยขู่เข็ญด้วย
ประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดย
ทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี หรือ
ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสาม เป็นการกระทำโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะ
อื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศหรือทวารหนักของเด็กนั้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสี่ เป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำ
คุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสี่หรือวรรคห้า ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้
กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สอง
แสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสี่หรือวรรคห้า ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด
หรือโดยใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือ
กระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

11

ความผิดที่ 1
องค์ประกอบภายนอก

1) กระทำอนาจาร
2) แก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี
3) โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

ความผิดที่ 2
องค์ประกอบภายนอก

1) การกระทำอนาจาร
2) โดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ก) โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ
ข) โดยใช้กำลังประทุษร้าย
ค) โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
ง) โดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

การกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามและถ้าการก
ระทำความผิดดังกล่าว กระทำโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยเด็กนั้นอยู่
ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้หรือทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ผู้กระทำต้อง
รับโทษหนักขึ้น เช่น เด็กน้อยหลับอยู่ถอดกางเกงแล้วเอาของลับทิ่มแทงอวัยวะสืบพันธุ์ของเด็ก
อายุ 8 ขวบ เด็กเจ็บร้องไห้จึงกลับไป เป็นการทำอนาจาร แม้กระทำกับเด็กชายที่อายุไม่เกิน 15 ปี
ไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ อาจให้เด็กกระทำกับตน เช่น ให้เด็กจับอวัยวะของตน แต่ไม่ใช่เด็ก
อนาจารกับเด็กเองให้ดู จำเลยเพียงใช้อวัยวะเพศของจำเลยเสียดสีถูไถกับอวัยวะเพศของผู้เสีย
หายที่1 แม้โดยมีเจตนาเพื่อสนองความใคร่ของจำเลย แต่เมื่อมิได้มีการสอดใส่เพื่อที่จะให้อวัยวะ
เพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 จึงยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นการกระทำ
ชำเราการกระทำของจำเลยคงเป็นเพียงกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279
วรรคแรก

หากเป็นการกระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ห้ามอ้างความไม่รู้อายุเด็กเพื่อให้พ้นจากความผิด
นี้ (มาตรา 285/1)

ถ้าการกระทำดังกล่าวทำให้เด็กถึงแก่ความตายหรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องรับโทษ
หนักขึ้นอีก

12

เหตุเพิ่มโทษ (มาตรา 279, 280, 285)
1) กระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน 13 ปี หรือขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือกระทำโดยมีอาวุธปืนหรือ

ทำให้เข้าใจผิดว่ามีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด (มาตรา 279 วรรคสอง, วรรคสาม, วรรดหก และวรรค
เจ็ด)

2) กระทำโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นที่มิใช่อวัยวะเพศ ล่วงล้ำ อวัยวะเพศหรือทวารหนักของ
บุดคลอายุไม่เกิน 15 ปี (มาตรา 279 วรรคสี่) หากกระทำกับเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี โทษหนักขึ้นอีก
(มาตรา 279 วรรคห้า)

3) ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายหรือรับอันตรายสาหัส
ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น (มาตรา 280) เป็นการเพิ่มโทษทางภาวะวิสัย

4) การกระทำอนาจารดังที่กล่าวมาทั้ง 2 ความผิดนี้ ถ้าเป็นการกระทำแก่บุพการี ผู้สืบสันดาน
พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ญาติสืบสายโลหิต ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่
ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล
หรือผู้อยู่ใต้อำนาจด้วยประการอื่นใด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้สำหรับความ
ผิดนั้น ๆ ถึงหนึ่งในสาม เช่น ใช้อวัยวะเพศถูไถสัมผัสด้านนอกอวัยวะเพศของบุตรสาวแม้ไม่มี
เจตนาจะกระทำชำเราก็เป็นการอนาจารและต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตามมาตรานี้ (มาตรา 285)

5) ถ้าเป็นการกระทำแก่ผู้ซึ่งไม่สามารถปกป้องตนเอง อันเนื่องมาจากเป็นผู้ทุพพลภาพผู้มี
จิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่ นเฟือน คนป่วยเจ็บ คนชรา สตรีมีครรภ์ หรือผู้อยู่ในภาวะไม่สามารถ
รู้ผิดชอบ ต้องระวางโทษหนักขึ้นหนึ่งในสาม (มาตรา 285/2)

การกระทำอนาจารอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือชาย ตามมาตรา 279 วรรคท้าย มี
ความหมายดังได้อธิบายไว้ในมาตรา 278 คือการใช้สิ่งที่มิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศหรือ
ทวารหนักของเด็กโดยร่วมกระทำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

13

มาตรา 280 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 278 หรือมาตรา 279 เป็นเหตุให้ผู้ถูก
กระทำ

(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่
หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

(2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

มาตรานี้เป็นเหตุเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดฐานอนาจารตามมาตรา 278 หรือมาตรา 279
เป็นเหตุให้ผู้กระทำ (1) รับอันตรายสาหัส หรือ (2) ถึงแก่ความตาย

มาตรา 281 ความผิดตามมาตราดังต่อไปนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้

(๑) มาตรา 276 วรรคหนึ่ง และมาตรา 278 วรรคสอง ซึ่งเป็นการกระทำระหว่างคู่สมรส
ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล หรือไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย

(๒) มาตรา 278 วรรคหนึ่ง ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับ
อันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการกระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา 285 และ
มาตรา 285/2

มาตรานี้บัญญัติเหตุที่ทำให้ความผิดยอมความได้หากเป็นการกระทำระหว่างคู่สมรส

ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล และผู้ถูกกระทำไม่ได้รับอันตรายลาหัสหรือถึงแก่ความตาย ทั้งนี้อาจ

เห็นว่าผู้ถูกกระทำยังไม่ถึงกับอับอาย และอาจเป็นเหตุยับยั้งแก่ผู้กระทำความผิดไม่ให้ทก

อันตรายผู้ถูกกระทำให้ถึงสาหัสหรือถึงแก่ความตาย กฎหมายจึงให้ยอมความได้ อย่างไรก็ตาม

การกระทำแก่บุคคลตามมาตรา 285 หรือเป็นการกระทำกับผู้ซึ่งปกป้องตนเองไม่ได้ (ดูมาตรา

285/2) นั้นย่อมยอมความไม่ได้

14

3. ค้าบุคคลเพื่อสนองความใคร่
มาตรา 282 - 286

เป็นเรื่องเกี่ยวกับการล่อลวงบุคคลเพื่อสนองความใคร่ รวมตลอดถึง
การดำรงชีพอยู่จากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณี ได้แก่

3.1 จัดหาบุคคลเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น มี 2 ลักษณะ

มาตรา 282 ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการ
อนาจารซึ่งชายหรือหญิง แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่สองหมื่ นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกิน
สิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึง
สามแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก
วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่
บัญญัติไว้ในวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560]

ลักษณะที่ 1 ได้แก่ ความผิดตามมาตรานี้เป็นการกระทำโดยบุคคลนั้นยินยอม มี 2 ความผิดคือ

องค์ประกอบภายนอก
1) เป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือพาไป
2) ซึ่งชายหรือหญิง
3) แม้ผู้นั้นจะยินยอม

องค์ประกอบภายใน
1) เจตนาธรรมดา
2) มูลเหตุจูงใจ เพื่อการอนาจารและเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น

วรรคสอง เป็นเหตุเพิ่มโทษให้หนักขึ้นเมื่อกระทำต่อบุคคลอายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี

วรรคสาม เป็นเหตุเพิ่มโทษ เมื่อเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี

15

ความผิดที่ 1
กระทำการเป็นธุระจัดหา ล่อ หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง แม้ผู้นั้นจะยินยอม
ก็ตาม โดยมี "มูลเหตุชักจูงใจ" เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น โดยไม่จำกัดว่าจะอายุเท่าใด
การเป็นธุระจัดหา ได้แก่ การพาไปสนองความใคร่ของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการโน้มน้าวใจเป็น
แม่สื่อ นายหน้า หรือการตั้งสำนักหาบุดคลมาเพื่อการนี้ ส่วนการกระทำเพื่อสนองความใคร่
ของผู้อื่น หมายถึง ความพึงพอใจในทางเพศของผู้อื่นนั้น เช่น ได้กอดจูบ ไม่ต้องถึงกับร่วม

ประเวณีสำเร็จ
มาตรานี้ได้แก้ไขมูลเหตุชักจูงใจจากเดิมที่ใช้ดำว่า "เพื่อสำเร็จความใคร่" เป็น "เพื่อสนอง
ความใคร่" จึงมีความหมายกว้างกว่าเดิม กล่าวคือ แม้ไม่ได้มุ่งที่จะพาไปเพื่อสำเร็จความใคร่
เพียงแต่เป็นความพึงพอใจส่วนตัวทางเพศก็เป็นความผิดสำเร็จได้ ร่วมกันเป็นเจ้าของกิจการ
ค้าประเวณีเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกิน
สิบแปดปีแม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม เป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมาย

อาญา มาตรา 282 วรรคสอง
มาตรานี้ต้องพาไปเพื่อผู้อื่น หากพาไปเพื่อสนองความใคร่ของตนเองมิใช่เพื่อผู้อื่นแล้วก็

ไม่ผิดตามมาตรานี้ อาจผิดตามมาตรา 284 ได้



เหตุเพิ่มโทษ
1) ถ้าการกระทำดังกล่าวได้กระทำต่อบุคคลอายุยังไม่เกิน 18 ปี ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น
2) ถ้าได้กระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นอีก

ความผิดที่ 2
วรรคสี่ องค์ประกอบภายนอก

1) รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไปหรือพาไปตามมาตรา 282 วรรค์แรก วรรคสองหรือวรรค
สาม หรือ

2) สนับสนุนในการกระทำผิดดังกล่าว

องค์ประกอบภายใน
1) เจตนาธรรมดา
2) มูลเหตุชักจูงใจเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น

ผู้ที่กระทำการรับตัวเด็กหรือบุดคลซึ่งมีผู้จัดหาล่อไปหรือพาไป เพื่อสนองความใคร่ของผู้
อื่นดังกล่าวหรือกระทำการสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องรับโทษเท่าผู้ที่กระทำ
ความผิดที่ 1 หรือพร้อมเหตุเพิ่มโทษ แล้วแต่กรณี

หากเป็นการกระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี จะอ้างความไม่รู้อายุของเด็กเพื่อให้พันดวาม
ผิดไม่ได้ (มาตรา 285/1)

16

มาตรา 283 ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการ
อนาจารซึ่งชายหรือหญิง โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำ
ผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกิน
สิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่น
บาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุก
ตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต

ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก
วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่
บัญญัติไว้ในวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 256]

ลักษณะที่ 2 ได้แก่ การกระทำโดยบุคคลนั้นไม่ยินยอม มี 2
ความผิดคือ

ความผิดที่ 1
องค์ประกอบภายนอก

1 ) เป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือพาไป
2) ซึ่งชายหรือหญิง
3) โดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(ก) โดยใช้อุบายหลอกลวง
(ข) โดยขู่เข็ญ
(ค) โดยใช้กำลังประทุษร้าย
(ง) โดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือ
(จ) โดยใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด

องค์ประกอบภายใน
1) เจตนาธรรมดา
2) มูลเหตุชักจูงใจ เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นหรือเพื่อการอนาจาร

17

วรรคสอง เป็นเหตุเพิ่มโทษเมื่อกระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี

วรรคสาม เป็นเหตุเพิ่มโทษเมื่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี

การเป็นธุระจัดหา ล่อ หรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิงโดยใช้อุบายหลอก
ลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการ
อื่ นใดเห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยบุคคลนั้นไม่ยินยอมและไม่จำกัดว่าผู้นั้นจะมีอายุเท่าใด
ก็ตามกระทำแก่หญิงอายุเกิน 18 ปี ก็ผิดตามมาตรานี้ได้ โดยมี "มูลเหตุชักจูงใจ" เพื่อสนอง
ความใคร่ของผู้อื่นหรือเพื่อการอนาจาร เช่น หลอกให้มาด้วยแล้วพาไปขายซ่องโสเภณี ถ้า
หญิงรู้คงไม่มาเป็นการมาโดยไม่สมัครใจ ถ้าพาไปเพื่อการอนาจารของตนเอง ไม่เป็นความผิด
ตามมาตรานี้ (แต่ผิดมาตรา 319)

หากเป็นการกระทำกับเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ผู้กระทำจะอ้างความไม่รู้อายุของเด็กเพื่อให้
พ้นความผิดไม่ได้ (มาตรา 285/1)

เหตุเพิ่มโทษ
1) ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุยังไม่เกิน 18 ปี ผู้กระทำต้องรับโทษ
หนักขึ้น
2) ถ้าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เช่น ชวนเด็กหญิงไปอยู่
ด้วย อ้างว่าจะหัดลิเกให้แต่ไม่ได้หัดกลับจะให้ค้าประเวณี โดยขู่ว่าถ้าไม่ยอมไปกับชายจะส่งไป
ต่างจังหวัด เด็กหญิงนั้นจึงยอมไปกับชายและถูกลวนลามระหว่างทาง เป็นความผิดตาม
มาตรานี้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นอีก

ความผิดที่ 2 (มาตรา 283 วรรคสี่)
องค์ประกอบภายนอก

1) รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไปหรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือ
2) สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว

องค์ประกอบภายใน
1) เจตนาธรรมดา
2) มูลเหตุชักจูงใจเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น

ผู้ที่รับตัวเด็กหรือบุคคลซึ่งผู้กระทำความผิดที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จัดหามาให้เพื่อสนองความ
ใคร่ของผู้อื่น เช่น รับไว้ในช่องโสเภณีหรือในร้านอาหาร เพื่อให้แขกในงานกอดจูบลูบคลำได้
รวมทั้งผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวด้วย

18

เหตุฉกรรจ์
ความผิดฐานจัดหาหญิงเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นทั้ง 2 ลักษณะ (มาตรา 282 และ

มาตรา 283 นี้ถ้าเป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุม
ตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล ผู้อยู่ภายใต้
อำนาจด้วยประการอื่นใด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักขึ้นอีกหนึ่งในสาม (มาตรา 285)

บุพการี หมายถึง บิดา มารดา ปู่ย่าตายาย ผู้สืบสันดาน หมายถึง บุตรแท้ๆ ซึ่งบัดนี้
กฎหมายขยายไปถึงพี่น้องและญาติสืบสายโลหิตด้วย ส่วนผู้อยู่ในความปกครอง เช่น พ่อ
เลี้ยงกับลูกเลี้ยง ก่อนการแก้ไขกฎหมายหากพ่อเลี้ยงข่มขืนกระทำชำเราลูกเลี้ยง ศาลไม่เพิ่ม
โทษตามมาตรานี้ เพราะศาลเห็นว่าอำนาจปกครองบุตรอยู่ที่บิดามารดา ชำเราเด็กอายุ 11 ปี
ที่มาอยู่ในอุปการะไม่ทราบว่าบิดามารดาอยู่ที่ไหน ไม่ถือว่าอยู่ในความปกครองของผู้อุปการะ
เพิ่มโทษไม่ได้

การตัดสินของศาลฎีกาในแนวนี้ทำให้น่าคิดว่า กฎหมายอาญาใช้คำว่าผู้อยู่ ในความ
ปกครอง หากไม่ถือว่าเด็กอยู่ในความปกครองของผู้อุปการะ แล้วจะถือว่าเด็กอยู่ในความ
ปกครองของใคร? ในเมื่อผู้มีอำนาจปกครองไม่ได้ปกครอง ส่วนผู้ที่ปกครองตามความจริง
ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองแล้วปกครองกันอย่างไร? ความหมายตามกฎหมายแพ่งจะนำมาใช้ใน
กฎหมายอาญาในกรณีเช่นนี้น่าจะไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าวที่ต้องการ
คุ้มครองเด็กโดยอาศัยข้อเท็จจริงเป็นหลัก ดังนั้นจึงควรต้องถือผู้อยู่ในปกครองตามความเป็น
จริงเพราะเป็นเรื่องอิทธิพลต่อเด็กโดยตรงซึ่งไม่มีทางหลีกเสี่ยงได้และเป็นการกระทำต่อเนื้ อ
ตัวร่างกายจริงๆ ไม่ใช่กระทบเพียงสิทธิในทางแพ่งเท่านั้น (ทำนองเดียวกับคำว่าซื้อตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา317, 318 หมายถึง การเอาเงินไปแล้วเอาคนมาไม่ใช่การซื้อ
ขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะตามกฎหมายแล้วคนย่อมซื้อขายไม่ได้ ถ้า
ใช้ความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราดังกล่าวก็จะใช้ไม่ได้เลย)ผู้
ปกครอง ตามความเป็นจริง เช่น พ่อเลี้ยง มีความใกล้ชิดและอิทธิพลยิ่งเสียกว่าครูหรืออาจารย์
ที่โรงเรียนเสียอีก เพราะต้องพึ่งพ่อเลี้ยงในการกินอยู่ไม่มีทางหนีไปไหนได้ บัดนี้ตามกฎหมาย
ใหม่ได้แก้ไขรวมถึงผู้ที่อยู่ภายใต้อำนายด้วยประการอื่น จึงน่าจะรวมพ่อเลี้ยงหรือคนที่มีอำนาจ
หรืออิทธิพลเหนือเด็กตามความเป็นจริงด้วย

ส่วนความหมายของข้อความที่ว่าศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอน
หรือเคยสอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องศิษย์และกระทำ
ความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย ถ้าไม่มีหน้าที่ดังกล่าว
ในขณะเกิดเหตุทั้งนอกเวลาควบคุมดูแลแม้จะมีการกระทำต่อศิษย์ก็ไม่เพิ่มโทษ ครูใหญ่ ครู
พละอนาจารเด็กถือว่าเป็นศิษย์ในความดูแล การพิจารณาเรื่องนี้ต้องดูตามความเป็นจริงว่า
การเป็นครูมีอิทธิพลเหนือศิษย์มากกว่าคนทั่ว ๆ ไป เพราะให้คุณให้โทษได้ ควรต้องพิจารณา
อย่างละเอียดด้วย

สำหรับผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามมาตรา 285 หมายถึง ผู้กระทำมีหน้าที่
ควบคุมและผู้ถูกกระทำอยู่ในความควบคุม การที่ข้าราชการชั้นผู้น้อยอยู่ในบังคับบัญชาของ
อธิบดีในการปฏิบัติราชการนั้นหาใช่อยู่ในความควบคุมตามความหมายแห่งมาตรานี้ กล่าวคือ
ต้องอยู่ในความควบคุมโดยเด็ดขาด เช่น นักโทษกับพัศดี ตำรวจกับผู้ต้องขังบนโรงพัก จึงจะ
เพิ่มโทษได้เป็นตัน ส่วนผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่น คงรวมถึง พ่อเลี้ยง ผู้ดูแล ตลอด
จนผู้ที่เด็กหรือผู้ถูกกระทำอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง

นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มโทษในกรณีที่ผู้ถูกกระทำเป็นผู้ทุพพลภาพ มีจิตบกพร่อง โรคจิต
หรือจิตฟั่ นเฟือน คนป่วยเจ็บ คนชรา สตรีมีครรภ์ หรือผู้ซึ่งอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบด้วย

19

3.2พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร มี 2 ลักษณะคือ

มาตรา 283 ทวิ ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการ
อนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสน
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้
กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ

ผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรกหรือวรรคสอง ต้องระวางโทษตามที่
บัญญัติในวรรคแรกหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี

ความผิดตามวรรคแรกและวรรคสามเฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปี
เป็นความผิดอันยอมความได้

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560]

ลักษณะที่ 1 ได้แก่ การกระทำโดยผู้ถูกพาไปนั้นยินยอม มี 2 ความผิดคือ
ความผิดที่ 1
องค์ประกอบภายนอก

1 ) พาไป
2) บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี
3) แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม

องค์ประกอบภายใน
1 ) เจตนาธรรมดา
2) มูลเหตุชักจูงใจเพื่อการอนาจาร

มาตรานี้อุดช่องว่างจากกรณีพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 18 ปี ที่ไม่มีผู้ปกครองดูแล เช่น
หญิงอายุ 13 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี 3 คน หนีออกจากบ้าน จำเลยชวนไปอยู่ด้วย แม้ต่อมาบังคับ
ให้ค้าประเวณี ไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เพราะหญิงทั้ง 3 ไม่ได้อยู่ในความดูแลของ
ใคร จึงไม่ใช่การพรากตามมาตรา 318, 319 ถ้ามีการบังคับขู่เข็ญโดยเด็กทั้งสามไม่ยินยอม
จำเลยก็มีความผิดตามมาตรา 283 วรรคสามได้

แต่หากหญิงนั้นอายุกว่า 15 แต่ไม่เกิน 18 ยินยอม จำเลยก็จะไม่มีความผิดทั้ง 318,
319 และ283 วรรคสามด้วย เมื่อมีมาตรา 283 ทวิ จำเลยจึงอาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้
แม้หญิงยินยอม

20

การกระทำ ได้แก่ การพาไป คำว่า "พาไป" กับคำว่า "พรากไป" มีความหมายที่แตกต่าง
กัน การพาไปอาจไม่มีการพรากไปก็ได้ กล่าวคือ อาจพาไปโดยขออนุญาตผู้ปกครองหรือ
ไม่มีผู้ดูแลอยู่ขณะพาไปเพื่อการอนาจารก็ได้ ความหมายตามมาตรา 283 ทวินี้จึงกว้าง
ขวาง และครอบคลุม กรณีการพาผู้เยาว์อายุไม่เกิน 18 ปีไปเพื่อการอนาจาร โดยไม่ต้องมี
การพรากไป

วรรคสอง เป็นเหตุเพิ่มโทษเมื่อกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี

ความผิดที่ 2 (มาตรา 283 ทวิ วรรคสาม)
องค์ประกอบภายนอก

1 ) ซ่อนเร้น
2) บุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรกหรือวรรดสอง

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

จะเป็นความผิดต่อเมื่ อผู้ซ่อนเร้นทราบว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลตามวรรคแรกและวรรค
สอง

ผู้ที่ซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามความผิดที่ 1 และ 2 ต้องระวางโทษเท่ากันกับผู้ที่พาไป
นั้น

ความผิดเฉพาะกรณีที่ทำกับบุคคลอายุเกิน 15 ปี เท่านั้นที่เป็นความผิดอันยอมความได้
หากเป็นการกระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี จะอ้างความไม่รู้อายุเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
(มาตรา 285/1)

มาตรา 284 ผู้ใดพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลัง
ประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวาง
โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พาไปนั้น

ความผิดตามมาตรานี้ เป็นความผิดอันยอมความได้

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560]

21

ลักษณะที่ 2 ได้แก่ การกระทำโดยผู้ที่ถูกพาไปนั้นไม่ยินยอม มี 2 ความผิด คือ
ความผิดที่ 1
องค์ประกอบภายนอก

1) พาไป
2) ผู้อื่น
3) โดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(ก) โดยใช้อุบายหลอกลวง
(ข) โดยขู่เข็ญ
(ค) โดยใช้กำลังประทุษร้าย
(ง) โดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือ
(จ) โดยใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด

องค์ประกอบภายใน
1) เจตนาธรรมดา
2) มูลเหตุชักจูงใจ เพื่อการอนาจาร

การกระทำ ได้แก่ การพาชายหรือหญิงไป โดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลัง
ประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีการข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดโดย มีมูล
เหตุชักจูงใจ เพื่อการอนาจาร เช่น หลอกว่าเป็นตำรวจจะพาไปส่งบ้านเพราะดึกแล้ว แต่กลับ
พาเข้าสวนสาธารณะ กอดจูบขืนใจหญิง ฉุดหญิงขึ้นรถไปโรงแรมเป็นความผิดต่อเสรีภาพ
ตามมาตรา 284 มาตรา 309 และมาตรา 310 เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท ลงโทษตาม
มาตรา 284ซึ่งเป็นบทหนัก ถ้าฉุดไปแล้วข่มขืนกระทำชำเราด้วยเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง

ความผิดที่ 2 (มาตรา 284 วรรคสอง)
องค์ประกอบภายนอก

1) ซ่อนเร้น
2) บุคคล
3) ซึ่งเป็นผู้ถูกพาไปตามวรรคแรก

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

การซ่อนเร้นบุคคล ซึ่งเป็นผู้ถูกพาไปตามความผิดที่ 1 โดยผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยว
กับบุคคลนั้นด้วย

ความผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจารทั้ง 2 ฐานนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

22

มาตรา 285 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 277 ทวิ มาตรา
277 ตรี มาตรา 278 มาตรา 279 มาตรา 280 มาตรา 282 หรือมาตรา 283 เป็นการกระทำแก่
บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ญาติสืบสายโลหิต
ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ ผู้อยู่ในความปกครอง ใน
ความพิทักษ์หรือในความอนุบาล หรือผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใด ผู้กระทำต้องระวาง
โทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ หนึ่งในสาม

มาตรานี้เป็นการเพิ่มโทษมิใช่เป็นฐานความผิด หากผู้กระทำได้มีการกระทำความผิดเกี่ยว
กับบเพศไม่ว่าจะเป็นข่มขืนกระทำชำเรา (มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 277 ทวิ มาตรา 277
ตรี) หรืออนาจาร (มาตรา 278 มาตรา 279) เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัสหรือ
ถึงแก่ความตายตามมาตรา 280 การล่อลวงบุคคลไปเพื่อสนองความใคร่ (มาตรา 282 หรือ
มาตรา 283) อันเป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน คือบุตรแท้ๆ หรือผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วย
ประการอื่นใด (รวมถึงพ่อเลี้ยงที่กระทำกับลูกเลี้ยงด้วย) หรือกระทำแก่ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
เช่น ครูใหญ่ ครูสอนพลศึกษา ครูประจำชั้น แต่ไม่รวมถึงครูสอนกวดวิชา หรือกระทำแก่ผู้อยู่
ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรืออยู่ในความปกครอง เช่น นักโทษกับพัศดี แต่ไม่รวมถึง
ข้าราชการชั้นผู้น้อยกับอธิบดี

มาตรา 285/1 การกระทำความผิดตามมาตรา 277 มาตรา 279 มาตรา 282 วรรคสาม
มาตรา 283 วรรคสาม และมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง หากเป็นการกระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน
สิบสามปี ห้ามอ้างความไม่รู้อายุของเด็กเพื่อให้พ้นจากความผิดนั้น

หากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ปกติอายุของผู้เสียหายเป็นข้อเท็จจริงอันเป็น
องค์ประกอบความผิดที่หากผู้กระทำไม่รู้ก็อ้างว่าไม่มีเจตนาได้แต่ตามมาตรานี้ไม่ว่าจะเป็นการ
กระทำต่อเด็ก (มาตรา 277) อนาจารเด็ก (มาตรา 279) ล่อลวงเด็ก (มาตรา 282 วรรคสาม
มาตรา 283 วรรคสาม หรือมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง) หากเด็กนั้นอายุไม่เกิน 13 ปีก็จะอ้าง
ความไม่รู้อายุของเด็กเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดขึ้นเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่ได้
กระทำโดยเจตนา(ตามมาตรา 59 วรรดสาม) หาได้ไม่

23

มาตรา 285/2 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 277 ทวิ มาตรา
277 ตรี มาตรา 278 หรือมาตรา 279 เป็นการกระทำแก่บุคคลซึ่งไม่สามารถปกป้องตนเองอัน
เนื่องมาจากเป็นผู้ทุพพลภาพ ผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่ นเฟือน คนป่วยเจ็บ คนชรา
สตรีมีครรภ์ หรือผู้ซึ่งอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบ ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่
บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ หนึ่งในสาม

มาตรานี้บัญญัติเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำตามมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 277 ทวิ มาตรา
277 ตรี มาตรา 278 หรือมาตรา 279 เป็นการกระทำแก่บุคคลซึ่งไม่สามารถปกป้องตนเองอัน
เนื่องมาจากเป็นผู้ทุพพลภาพ ผู้มีจิตบกพร่อง โรดจิต หรือจิตฟั่ นเฟือน คนป่วยเจ็บ คนชรา
สตรีมีครรภ์ หรือผู้ซึ่งอยู่ในกาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบ ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่
บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ หนึ่งในสาม

3.3 รับประโยชน์จากการค้าประเวณี

มาตรา 286 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินยี่สิบปี
และปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

(1) ช่วยเหลือ ให้ความสะดวก หรือคุ้มครองการค้าประเวณีของผู้อื่น

(2) รับประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดจากการค้าประเวณีของผู้อื่นหรือจากผู้ซึ่งค้าประเวณี

(3) บังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือใช้อำนาจครอบงำผู้อื่น หรือรับผู้อื่นเข้าทำงานเพื่อการค้า
ประเวณี

(4) จัดให้มีการค้าประเวณีระหว่างผู้ซึ่งค้าประเวณีกับผู้ใช้บริการ

(5) ปกปิดหรืออำพรางแหล่งที่มาของรายได้หรือทรัพย์สินซึ่งได้มาจากการค้าประเวณี

(6) อยู่ร่วมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีหรือสมาคมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็น
อาจิณ และไม่สามารถแสดงที่มาของรายได้ในการดำรงชีพของตน

(7) ขัดขวางการดำเนินการของหน่วยงานที่ดูแลในการป้องกัน ควบคุม ช่วยเหลือ หรือ
ให้การศึกษาแก่ผู้ซึ่งค้าประเวณี ผู้ซึ่งจะเข้าร่วมในการค้าประเวณี หรือผู้ซึ่งอาจได้รับอันตราย
จากการค้าประเวณี

ความในวรรคหนึ่ง (2) และ (6) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดซึ่งพึงได้รับ
ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยา

24

องค์ประกอบภายนอก
กระทำด้วยประการใดๆ ดังต่อไปนี้

1) ช่วยเหลือ ให้ความสะดวก หรือคุ้มครองการค้าประเวณีของผู้อื่น
2) รับประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดจากการค้าประเวณีของผู้อื่นหรือจากผู้ซึ่งค้าประเวณี
3) บังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือใช้อำนาจครอบงำผู้อื่น หรือรับผู้อื่นเข้าทำงานเพื่อการค้า
ประเวณี
4) จัดให้มีการค้าประเวณีระหว่างผู้ซึ่งค้าประเวณีกับผู้ใช้บริการ
5) ปกปิดหรืออำพรางแหล่งที่มาของรายได้หรือทรัพย์สินซึ่งได้มาจากการค้าประเวณี

6) อยู่ร่วมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีหรือสมาคมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็น
อาจิณและไม่สามารถแสดงที่มาของรายได้ในการดำรงชีพของตน

7) ขัดขวางการดำเนินการของหน่วยงานที่ดูแลในการป้องกัน ดวบคุม ช่วยเหลือ หรือ
ให้การศึกษาแก่ผู้ซึ่งค้าประเวณี ผู้ซึ่งจะเข้าร่วมในการค้าประเวณี หรือผู้ซึ่งอาจได้รับอันตราย
จากการค้าประเวณี

ความหมายของการค้าประเวณี หมายความว่า การยอมรับการกระทำชำเรา หรือการ
ยอมรับการกระทำอื่นใด หรือการกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามอารมณ์ของผู้อื่น
อันเป็นการสำส่อน เพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะ
เป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ

มาตรา 286 (เดิม) ก่อนการแก้ไขได้กำนดความผิดกรณีผู้ใดอายุกว่าสิบหกปีดำรงชีพอยู่
แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณี โดยไม่ได้กำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะมี
ความครอบคลุมไปถึงบุคคลใดบ้าง และมีลักษณะเป็นการพึ่งพาอาศัยรายได้จากผู้ซึ่งค้า
ประเวณีมากน้อยเพียงใด และมีเหตุผลที่ต้องกระทำการเช่นนั้นอย่างไร

กรณีจึงได้กำหนดความผิดของผู้กี่ยวข้องกับการค้าประเวณีไว้อย่างครอบคลุมหลรก
หลายยกรณีโดยมีขอบเขตของความผิดที่สอดคล้องกับลักษณะของการกระทำความผิด
เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น และเนื่องมาจากในปัจจุบันศาลพิจารณา
มาตรา 286 โดยนำเอาความในวรรคสองซึ่งเป็นบทสันนิษฐานมาใช้ก่อน ทำให้กรณีที่พิจารณา
ได้ว่าจำเลยมีรายได้อื่นด้วยไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ ส่งผลให้คนที่มีเงินหรือร่ำรวยหาก
เปิดสถานการค้าประเวณีจะไม่สามารถถูกลงโทษตามมาตรา 286 ได้ อีกทั้งในปัจจุบันรูปแบบ
การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีเปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้มีเพียงการดำรงชีพจากรายได้
ของผู้ซึ่งค้าประเวณีเท่านั้นแต่ยังมีการแสวงหาประโยชน์หรือเอาเปรียบจากผู้ซึ่งค้าประเวณีใน
รูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น จึงสมควรกำหนดให้เป็นความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา

การปรับปรุงมาตรา 286 นี้ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวและยังได้ขยายความผิดให้ครอบคลุม
หาประโยชน์จากผู้ซึ่งค้าประเวณีในรูปแบบอื่นๆ ด้วย มิใช่เฉพาะ "แมงดา"เท่านั้น ผู้ที่รับ
ประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดจากการค้าประเวณี หรืออยู่ร่วมกันกับผู้ซึ่งค้าประเวณีหรือสมาคมกับ
ผู้ซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณ ก็มีความผิดตามมาตรานี้ได้

ลักษณะที่เป็น "แมงดา" ได้แก่ (1) การเข้าช่วยเหลือให้ความสะดวกหรือคุ้มครองการค้า
ประเวณีของผู้อื่น (2) รับประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดจากการค้าประเวณี คงหมายถึงการได้
ประโยชน์จากการที่ตนเองคุ้มครองดูแลหรืออยู่กิน สมาคมกัน มิใช่พ่อค้า แม่ค้าที่ขายสินค้าให้
ผู้ค้าประเวณี ตามปกติทางการค้า มิได้ยุ่งเกี่ยวกับการค้าประเวณี

25

ส่วนที่ไม่ใช่ "แมงดา" ได้แก่ (5) ปกปิดหรืออำพรางแหล่งที่มาของรายได้หรือทรัพย์สินที่ได้
มาจากการค้าประเวณี และ (6) ผู้ที่ขัดขวางการดำเนินการของหน่วยงานที่ดูแลในการป้องกัน
ควบคุม ช่วยเหลือ ให้การศึกษาแก่ผู้ค้าประเวณี ผู้ซึ่งจะเข้าร่วมในการค้าประเวณีหรือผู้ซึ่งอาจ
ได้รับอันตรายจากการค้าประเวณี กรณีนี้ดูไม่น่าจะเป็นการกระทำทางอาญาที่ชัดแจ้ง เพราะใช้
ถ้อยคำที่กว้างขวางมาก คงไม่หมายถึงการไม่อนุมัติงบประมาณตามที่หน่วยงานดังกล่าวขอน่า
จะหมายถึงกรณีขัดขวางการบุกเข้าทำลายสถานค้าประเวณี หรือการช่วยเหลือผู้ค้าประเวณีให้
ปลอดภัยนั่นเองมาตรา 286 (7) จะเป็นกรณีที่มีปัญหาต่อไปในกฎหมายอาญา

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

ยกเว้น ผู้ใดรับประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดตามมาตรา 286 (2) หรืออยู่ร่วมกับผู้ซึ่งค้าประเวณี
เป็นอาจิณตามมาตรา 286 (6) ซึ่งพึงได้รับตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยาผู้นั้นไม่มีความ
ผิด

4. ค้าสิ่งลามก
มาตรา 287

มาตรา 287 ผู้ใด

(1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวด
แก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออก
ไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งเอกสาร
ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย
ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก

(2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามก
ดังกล่าวแล้ว จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น

(3) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว
โฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือ
โฆษณาหรือไขข่าวว่าวัตถุ หรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560]

26

สิ่งลามกอนาจาร เป็นสาเหตุซึ่งทำให้เกิดความผิดทางเพศได้ กฎหมายจึงต้องควบคุม
ดูแล หากห้ามอย่างเด็ดขาดเสรีภาพทางเพศซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ก็จะถูกจำกัดลง ต่อ
เมื่อถึงวัยอันควรบุคคลก็สามารถที่จะมีเสรีภาพในทางเพศได้ในกรอบที่ถูกต้อง เรื่องรสนิยม
ทางเพศเป็นเรื่องของบุคลิกภาพ (personality) บิดามารดาเท่านั้นควรมีหน้าที่ดูแลสั่งสอน
ลูกของตนเกี่ยวกับความประพฤติในทางเพศเพราะบิดามารดาทุกคนย่อมผ่านสิ่งเหล่านี้มา
แล้ว ไม่ใช่รัฐ หรือครูที่โรงเรียน

ดังนั้นหลักการของมาตรานี้คือ "adult and alone" กล่าวคือ หากมีวุฒิภาวะแล้ว (adult)
และมีไว้เป็นส่วนตัว (alone) ไม่นำไปเผยแพร่ ไขข่าว ย่อมไม่มีความผิค

คำว่า สิ่งอันลามก มี 2 ลักษณะคือ pornography ได้แก่ การแสดงถึงพฤติกรรมทาง
เพศไม่ว่าจะเป็นการเขียนหรือภาพที่นำไปสู่การตื่ นเต้นทางเพศหรือยั่วยุกามารมณ์หรือทำให้
เกิดกำหนัด อีกลักษณะหนึ่งได้แก่ obscenity หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกอันน่า
รังเกียจ เช่น แสดงถ้อยดำหรือวัตถุสิ่งของทางเพศในลักษณะที่หยาบช้า

“สิ่งลามก" จึงหมายถึง สิ่งที่ผู้พบเห็นมีความรู้สึกอุจาด บัดสี หยาบช้า น้อมนำไปสู่ความ
ชั่วหรือความใคร่ทางกามารมณ์ ส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปของภาพเปลือยของมนุษย์หรือภาพ
อวัยวะเพศทั้งของหญิงหรือชาย ภาพการร่วมเพศหรือการบรรยายให้เกิดจินตนาการดังกล่าว
เพื่อยั่วยุให้เกิดความใครทางกามารมณ์ ถ้าเป็นสิ่งที่เป็นศิลปะ เช่น การเขียนสัดส่วนหญิง
เปลือยกายอวัยวะเพศถูกระบายให้ลบเลือน ไม่น่าเกลียดอุจาดบัดสีที่จะนำไปสู่ความใคร่ทาง
กามารมณ์ไม่เป็นลามกอนาจาร ภาพไม่เห็นอวัยวะเพศชัดเจน แต่ก็มีลักษณะส่อไปในด้านยั่ว
ยุกามารมณ์และภาพหญิงเปลือยตลอดร่าง ซึ่งพอเห็นอวัยวะเพศได้บ้างถือได้ว่าเป็นภาพอัน
ลามก ไม่ใช่ภาพศิลปะที่แสดงถึงส่วนสัดความสมบูรณ์ของร่างกาย

ข้อความต่างๆ ที่ได้บรรยายถึงการร่วมประเวณีของชายและหญิงอย่างชัดเจน ละเอียด
ลออโดยบรรยายถึงอารมณ์ของชายและหญิงไปในทางยั่วยุกามารมณ์ แม้จะมิได้ใช้ถ้อยคำ
หยาบดายก็ถือได้ว่าเป็นข้อความอันลามก

ค้าสิ่งลามก มี 3 ความผิดคือ
ความผิดที่ 1
องค์ประกอบภายนอก (1)

1) ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังไม่ส่งออกนอกราช
อาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประมาณใด

2) ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา
เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก

3) โดยการค้า (ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบข้อ 3) ต้องกระทำโดยมีมูลเหตุชักจูงใจอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ดังจะได้กล่าวต่อไป)

องค์ประกอบภายใน
1) เจตนาธรรมดา
2) ถ้าไม่ได้กระทำโดยการค้า อันเป็นองค์ประกอบภายนอกข้อ 3) ก็ต้องกระทำโดยมูลเหตุ

ชักจูงอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า
(ข) เพื่อการจ่ายแจกแก่ประชาชน หรือ
(ค) เพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน

27

การทำ ผลิต อาจทำขึ้นเอง เช่น เขียนเรื่องลามก วาดภาพ หรือตัดต่อภาพ การมีไว้อาจ
ไปซื้อหามาหรือได้รับมาจากผู้อื่น เช่น มีผู้ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตมาให้ แต่การทำ ผลิตมีไว้เป็น
ส่วนตัวยังไม่เป็นความผิด หากมิได้เป็นไปโดยการค้าหรือเพียงการค้าการแจกจ่ายแสดงอวด
แก่ประชาชน

ความผิดที่2
องค์ประกอบภายนอก (2)

1) กระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) ประกอบการค้า
(ข) มีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้า
(ค) จ่ายแจกแก่ประชาชน
(ง) แสดงอวดแก่ประชาชน หรือ
(จ) ให้เช่า

2) วัตุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวในความผิดที่ 1

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

การประกอบการค้าหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าว
เช่น เป็นผู้ให้ทุน เป็นคนกลางรับของมาจ่ายแจกหรือแสดงอวด แก่ประชาชนหรือให้เช่าวัตถุ
หรือสิ่งของเช่นว่านั้น เช่น มีวิโอทปภาพลามกไว้ให้เช่าหรือแลกเปลี่ยนกับสมาชิก ผิดตาม
มาตรานี้ถ้าซื้อหามาเก็บไว้เองเป็นส่วนตัวหรือให้แก่บุคคลเฉพาะบางคน ไม่ใช่จำหน่ายจ่ายแจก
แก่ประชาชนไม่ผิดตามมาตรานี้

ความผิดที่ 3
องค์ประกอบภายนอก (3) โฆษณาหรือไขข่าวด้วยประการใดๆ

(ก) ว่าบุคคลกระทำความผิดมาตรานี้ หรือ
(ข) ว่าวัตถุหรือสิ่งลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุดคลใดหรือโดยวิธีใด

องค์ประกอบภายใน
1) เจตนาธรรมดา
2) มูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (ก) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลายซึ่งวัดถุ

หรือสิ่งของดังกล่าวแล้ว หรือ (ข) เพื่อจะช่วยการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว

การโฆษณา คือ ทำให้แพร่หลายให้รู้กันทั่วไปหรือไขข่าวโดยประการใดๆ ว่ามีบุคคลกระทำ
การอันเป็นความผิดตามมาตรานี้หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่าวัตถุหรือสิ่งลามกดังกล่าวจะได้
จากบุคคลใดหรือโดยวิธีใด โดยมี "มูลเหตุชักจูงใจ" เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้า
วัตถุหรือสิ่งของลามกนั้น เช่น บอกต่อ ๆ ไปว่าจะหาซื้อหนังสือลามกหรือวิดีโอลามกได้จากใคร
หรือร้านใดขายหรือที่ใดเป็นแหล่งผลิต เพื่อให้ผู้รับฟังไปซื้อหาหรือเช่ามาดูได้หรือให้เปิดดูที่
website ไหน เป็นต้น

28

5. สื่อลามกอนาจารเด็ก
มาตรา 287/1 - 287/2

มาตรา 287/1 ผู้ใดครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศ
สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้ง
จำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่น ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พฤติกรรมทางเพศเป็นรสนิยมส่วนบุคคล เมื่อถึงช่วงอายุวัยที่เหมาะสมก็สามารถเรียนรู้หา
ประสบการณ์ได้ ดังนั้น สื่อลามกอนาจารจึงอยู่บนหลักของ "มีความเป็นผู้ใหญ่และไม่เผย
แพร่"(adult and alone) การครอบครองสื่อลามกอนาจารโดยทั่วไป จึงไม่มีความผิดตาม
มาตรา 287 อย่างไรก็ตามหากสื่อลามกอนาจารมีการใช้เด็กเป็นเครื่องมือ ก็จะทำให้เด็กถูก
ล่วงละเมิดทางเพศมากขึ้น กฎหมายจึงห้ามมิให้มีการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กหรือ
เผยแพร่สื่ อดังกล่าว

มาตรา 1 (17) สื่อลามกอนาจารเด็ก หมายความว่า วัตถุหรือสิ่งที่แสดงให้รู้หรือเห็นถึงการ
กระทำทางเพศของเด็กหรือกับเด็กซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปี โดยรูป เรื่อง หรือลักษณะสามารถ
สื่อในทางลามกอนาจาร ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี
สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง
แถบบันทึกภาพหรือรูปแบบอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน และให้ความหมายรวมถึงวัตถุ
หรือสิ่งต่างๆ ข้างต้นที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์หรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถ
แสดงผลให้เข้าใจความหมายได้

ความผิดมี 2 ลักษณะ คือ การครอบครอง และการเผยแพร่สื่อลามกอนาจาเด็ก

5.1 การครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก

องค์ประกอบภายนอก (1)
1 ) ครอบครอง มีความหมายเดียวกับในเรื่องลักทรัพย์
2) สื่อลามกอนาจารเด็ก เป็นไปตามมาตรา1 (17 )

องค์ประกอบภายใน
1 ) เจตนาธรรมดา คือ ผู้กระทำต้องรู้ว่าผุ้ที่อยู่ในสื่อดังกล่าวเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี หาก

ไม่รู้ก็ไม่มีความผิดเพราะขาดเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสาม

29

5.2 การเผยแพร่สื่อลามกอนาจารเด็ก

มาตรา 287/2 ผู้ใด

(1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวด
แก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไป
นอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งสื่อลามก
อนาจารเด็ก

(2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก
จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชนหรือให้เช่าสื่ อลามกอนาจารเด็ก

(3) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าสื่อลามกอนาจารเด็กแล้ว โฆษณาหรือไข
ข่าวโดยประการใด ๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไข
ข่าวว่าสื่อลามกอนาจารเด็กดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

การเผยแพร่สื่อลามกอนาจารเด็ก มี 3 ความผิด คือ

ความผิดที่ 1
องค์ประกอบภายนอก (1)

1 ) ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกนอกราช
อาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด

2) ซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก
3) โดยการค้า (ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบต้องกระทำโดยมีมูลเหตุชักจูงใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง)

องค์ประกอบภายใน
1 ) เจตนาธรรมดา
2) ถ้าไม่ได้กระทำโดยการค้า อันเป็นองค์ประกอบภายนอกข้อ 3. ก็ต้องกระทำโดย มูลเหตุ

ชักจูงใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) เพื่อประสงค์แห่งการค้า
(ข) เพื่อการจ่ายแจกแก่ประชาชน
(ค) เพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน

การทำ ผลิต อาจทำขึ้นเอง เช่น เขียนเรื่องลามก วาดภาพ หรือตัดต่อภาพ การมีไว้อาจไป
ซื้อหามาหรือได้รับมาจากผู้อื่น เช่น มีผู้ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตมาให้

30

ความผิดที่ 2
องค์ประกอบภายนอก (2)
1 ) กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(ก) ประกอบการค้า
(ข) มีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้า
(ค) จ่ายแจกแก่ประชาชน
(ง ) แสดงงวดแก่ประชาชน
(จ ) ให้เช่า
2) สื่อลามกอนาจาร

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา

การประกอบการค้าหรือมีส่วนเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตุหรือสิ่งของลามกดังกล่าว
เช่น เป็นผู้ให้ทุน เป็นคนกลางรับของมาจ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุ
หรือสิ่งของเช่นว่านั้น

ความผิดที่3
องค์ประกอบภายนอก (3) โฆษณาหรือไขข่าวด้วยประการใดๆ
(ก) ว่าบุคคลกระทำความผิดมาตรานี้
(ข) ว่าวัตถุหรือสิ่งลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใดหรือวิธีใด

องค์ประกอบภายใน
1 ) เจตนาธรรมดา
2) มูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(ก) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลายซึ่งวัตุหรือสิ่งของดังกล่าวแล้ว
(ข) เพื่อจะช่วยการค้าสื่อลามกอนาจารเด็ก

การโฆษณา คือ ทำให้แพร่หลายให้รู้กันทั่วไป หรือไขข่าวโดยประการใดๆ ว่ามีบุคคลกระทำ
การอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด โดยมี “มูลเหตุชักจูงใจ” เพื่อ
จะช่วยทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกนั้น เช่น บอกต่อๆ ไปว่าจะหาซื้อ
หนังสือลามกหรือวิดีโอลามกได้จากใครหรือร้านใดขาย หรือที่ใดเป็นแหล่งผลิต เพื่อให้ผู้รับ
ฟังไปหาซื้อหรือเช่ามาดูได้

31

อ้างอิง

ทวีป ศรีน่วม. (2565). ประมวลกฎหมายอาญา. สืบค้นเมื่อวันที่: 10 กันยายน 2565.
แหล่งที่มา ของข้อมูล: https://www.drthawip.com/criminalcode/1-40.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ. พิมพ์ครั้งที่ 9.
กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2565.


Click to View FlipBook Version