The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567
ณ ธันวาคม 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by klang.cri.cfo, 2024-01-16 05:59:30

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567
ณ ธันวาคม 2566

Keywords: รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย

ประมาณการเศรษฐกิจจังหวดเช ั ยงราย ี ปี 2566 และ แนวโนมป้ ี2567 เดือน ธันวาคม 2566 CHIANGRAI’S ECONOMIC OUTLOOK 2023 And 2024 FORECAST December 2023


ฉบับที่ 4/2566 วันที่ 31 ธันวาคม 2566 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายปี 2566 “เศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 และในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.9” 1. แนวโน้มเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย ในปี 2566 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำนักงานคลังจังหวัดเชียงรายคาดว่าเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายในปี 2566 จะขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 3.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.7 – 3.7) โดยปรับเพิ่มจากการประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 ตามการขยายตัวของภาคบริการ การค้าชายแดน การใช้จ่ายภาครัฐ และการบริโภคภาคเอกชน เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน (การผลิต) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.9 – 4.9) เป็นผลจาก ภาคบริการ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.2 – 10.2) จากการขยายตัวของ รายได้จากการขายส่ง-ขายปลีก จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมวดโรงแรมและภัตตาคาร และจำนวนนักท่องเที่ยว เป็นสำคัญ ซึ่งขยายตัวตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว เนื่องจากจังหวัดเชียงรายมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรม คาดว่า จะหดตัวร้อยละ -0.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.9 – 0.1) ตามการหดตัวของปริมาณการใช้ไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม และจำนวนทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -2.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -3.4 ถึง -2.4) จากการหดตัวของผลผลิต ทางการเกษตร ได้แก่ ลำไย ข้าว ยางพารา กาแฟ และปลานิล เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำน้อยกว่าปีก่อน ด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.9 – 5.9) เป็นผลมาจากด้านการบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 16.0 – 17.0) เป็นผลจากการขยายตัวปริมาณการจำหน่ายสุรา รถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดขายส่ง ขายปลีกฯ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน เป็นสำคัญ ด้านการค้าชายแดน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.8 -3.8) เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน มีความต้องการสินค้าของไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านยังคงต้องเฝ้าระวัง รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย ปี 2566 และ ปี 2567 สำนักงานคลังจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัด ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 โทรศัพท์. 0 5315 0176 โทรสาร. 0 5315 0177 http://www.cgd.go.th/cri


- 2 - ผลกระทบจากเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน และภาวะสงครามภายในประเทศพม่า ด้านการใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.6 – 3.6) ตามการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองท้องถิ่น การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะหดตัวร้อยละ -1.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.8 ถึง -0.8) จากการหดตัวของพื้นที่อนุญาตก่อสร้าง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จดทะเบียนใหม่ เป็นสำคัญ 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัดเชียงราย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ ร้อยละ 1.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.7 – 1.7) เนื่องจากราคาสินค้าหมวดพลังงานมีการปรับลดลง จากการชดเชยราคาพลังงานจากมาตรการลดค่าครองชีพ สำหรับผู้มีงานทำขยายตัวจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.5 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 9,228 คน โดยคาดว่าจะมีผู้มีงานทำในปี 2566 จำนวน 610,933 คน 2. แนวโน้มเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย ปี 2567 2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำนักงานคลังจังหวัดเชียงรายคาดว่าเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายในปี 2567 จะขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 3.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.4 – 4.4) ตามการขยายตัวของภาคบริการ การค้าชายแดน การใช้จ่ายภาครัฐ และการบริโภคภาคเอกชน เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน (การผลิต) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.1 – 5.1) เป็นผลจาก ภาคบริการ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.8 – 7.8) จากการขยายตัวของ รายได้จากการขายส่ง-ขายปลีก จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวด โรงแรมและภัตตาคาร และจำนวนนักท่องเที่ยว เป็นสำคัญ เนื่องจากจังหวัดเชียงรายจะได้รับแรงหนุนจาก กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด และนโยบายรัฐบาลซึ่งจะเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ประชาชน ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.8 – 3.8) ตามการเพิ่มขึ้น ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม และจำนวนทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.2 – 0.8) จากการขยายตัว ของปริมาณผลผลิตยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กาแฟ ในขณะที่ผลผลิตข้าวคาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการเอลนีโญที่รุนแรงกว่า ส่งผลให้ปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2566 ด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.9 – 7.9) เป็นผลมาจากด้านการบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 8.8 – 9.8) เป็นผลจากการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายสุรา ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดขายส่ง-ขายปลีกฯ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน ปริมาณการจำหน่ายน้ำประปา เป็นสำคัญ ด้านการค้าชายแดน คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 8.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.3 – 9.3) ด้านการใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 5.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.3 – 6.3) ตามการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองท้องถิ่น การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3 – 4.3) จากการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการลงทุน และพื้นที่อนุญาตก่อสร้าง เป็นสำคัญ


- 3 - 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัดเชียงราย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ ร้อยละ 1.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.0 – 2.0) เนื่องจากการชดเชยราคาพลังงานจากมาตรการลด ค่าครองชีพจะทยอยสิ้นสุดมาตรการในปี 2567 รวมทั้งมีแนวโน้มปรับราคาพลังขึ้นตามราคาน้ำมันดิบใน ตลาดโลก สำหรับผู้มีงานทำขยายตัวจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.8 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 10,702 คน โดยคาดว่าจะมี ผู้มีงานทำในปี 2567 จำนวน 621,635 คน ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจในปี 2566 และปี 2567 ของจังหวัดเชียงราย 1. มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีของภาครัฐ เพื่ออัดฉีดเม็ดเงิน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว ก่อให้เกิดการจ้างงาน กระจายรายได้ 2. โครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. รวมวงเงิน 72,920 ล้านบาท ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2565 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการขยายการลงทุน ของนักลงทุน 3. โครงการก่อสร้างถนน สายแยก ทล.1020 - บ้านกิ่วแก้ว อำเภอเทิง, จุน จังหวัดเชียงราย, พะเยา เป็นเส้นทางการค้า North-South Economic Corridor เป็นเส้นทางเชื่อมโยงการค้าระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและ ราชอาณาจักรไทย 4. ความสำเร็จของการจัดตั้งรัฐบาล ที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ผลักดันให้ เศรษฐกิจฟื้นตัว 5. นโยบายยกเว้นการขอวีซ่าเข้าประเทศ (VISA-free entry) ของนักท่องเที่ยวจีน และ คาซัคสถาน เป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว โดยสามารถอยู่ในไทยได้ไม่เกิน 30 วัน เป็นกรณีพิเศษโดยเริ่ม ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 6. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแรงหนุนให้มี นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจในปี 2566 และปี 2567 ของจังหวัดเชียงราย 1. ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลต่อปริมาณผลผลิต ในภาคเกษตร 2. ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง 3. ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งภาคเกษตร และภาคนอกเกษตร 4. ปัญหาค่าเงินอ่อนตัวของประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค


- 4 - ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2566 และ ปี พ.ศ. 2567 ณ เดือนธันวาคม 2566 ที่มา : กลุ่มงานนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัดเชียงราย E = Estimate : การประมาณการ F = Forecast : การพยากรณ์ เฉลี่ย เฉลี่ย สมมติฐานภายนอก 1) ผลผลิตข้าว (ร้อยละต่อปี) 8.3 4.8 -4.0 -21.0 38.2 -1.0 -1.5 - -0.5 -1.3 -1.8 - -0.8 2) ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละต่อปี) -33.6 -9.2 -6.6 -32.6 -13.5 11.2 10.7 - 11.7 2.0 1.5 - 2.5 3) ผลผลิตชา (ร้อยละต่อปี) 26.1 4.2 42.0 -12.9 8.9 7.5 7.0 - 8.0 0.0 -0.5 - 0.5 4) ผลผลิตยางพารา (ร้อยละต่อปี) 124.3 -7.2 -3.0 49.9 62.1 -6.2 -6.7 - -5.7 2.0 1.5 - 2.5 5) ผลผลิตล าไย (ร้อยละต่อปี) -2.4 -40.6 91.8 25.9 14.7 -18.3 -18.8 - -17.8 -4.0 -4.5 - -3.5 6) ผลผลิตปลานิล (ร้อยละต่อปี) -0.2 -3.5 -22.5 14.8 4.9 -5.0 -5.5 - -4.5 -2.0 -2.5 - -1.5 7) ราคาข้าวเฉลี่ย (บาท/ตัน) 9,151.7 12,312.5 12,177.1 9,339.3 9,040.0 9,907.6 9,862.4 - 9,952.8 10,997.5 10,947.9 - 11,047.0 8) ราคาข้าวโพดเฉลี่ย (บาท/ก.ก.) 7.1 6.8 7.3 6.4 8.5 9.11 9.06 - 9.15 9.5 9.4 - 9.5 9) ราคาปลานิลเฉลี่ย (บาท/ก.ก.) 49.1 51.0 58.2 51.7 50.9 55.3 55.0 - 55.5 56.4 56.1 - 56.6 10) จ านวนโรงงานอุตสาหกรรม (โรง) 719 611 652 679 675 666 663 - 670 686 683 - 690 11) จ านวนทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรม (ร้อยละต่อปี) 1.1 9.0 4.8 6.3 2.5 -0.1 -0.6 - 0.5 2.0 1.5 - 2.5 12) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละต่อปี) -3.5 3.0 -2.3 -4.3 10.9 -0.5 -1.0 - 0.0 5.0 4.5 - 5.5 13) จ านวนนักท่องเที่ยว (พันคน) 4,148 4,677 2,973 1,911 4,977 6,059 6,034 - 6,084 6,816 6,786 - 6,847 14) จ านวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน (พันคน) 2,867 2,929 1,513 710 1,687 1,950 1,941 - 1,958 2,242 2,232 - 2,252 15) ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดขายส่ง ขายปลีก 6.9 7.6 -11.0 0.7 19.1 7.5 7.0 8.0 15.0 14.5 15.5 16) จ านวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 9,379 9,057 6,768 6,975 7,418 8,560 8,523 - 8,597 7,704 7,661 - 7,746 17) จ านวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 32,031 31,278 27,267 28,047 29,196 28,996 28,850 - 29,142 28,126 27,981 - 28,271 18) สินเชื่อเพื่อการลงทุน (ล้านบาท) 37,993.1 38,988.5 39,192.8 40,900.2 41,698.0 42,406.8 42,198.3 - 42,615.3 44,527.2 44,315.1 - 44,739.2 19) มูลค่าส่งออกผ่านการค้าชายแดน (ล้านบาท) 43,461.7 43,342.3 38,000.8 52,166.9 77,748.3 85,010.0 84,621.3 - 85,398.7 95,636.3 95,211.2 - 96,061.3 20) มูลค่าน าเข้าผ่านการค้าชายแดน (ล้านบาท) 7,397.9 9,219.0 10,020.1 11,677.3 21,145.2 20,544.7 20,438.9 - 20,650.4 21,571.9 21,469.2 - 21,674.6 สมมติฐานด้านนโยบาย 21) รายจ่ายประจ าภาครัฐ (ส่วนกลาง + ส่วนภูมิภาค) (ล้านบาท) 6,278.7 6,864.0 6,561.0 7,182.7 6,836.6 7,072.1 7,037.9 - 7,106.3 7,189.9 7,154.6 - 7,225.3 (ร้อยละต่อปี) -35.3 3.2 1.3 9.5 -4.8 3.4 2.9 - 3.9 1.7 1.2 - 2.2 22) รายจ่ายลงทุนภาครัฐ (ส่วนกลาง + ส่วนภูมิภาค) (ล้านบาท) 5,952.7 6,210.0 5,470.4 6,016.4 7,086.0 7,121.8 7,086.4 - 7,157.2 7,655.9 7,620.3 - 7,691.5 (ร้อยละต่อปี) -17.4 -15.6 8.9 10.0 17.8 0.5 0.0 - 1.0 7.5 7.0 - 8.0 23) รายจ่ายประจ าส่วนท้องถิ่น (ล้านบาท) 6,151.6 6,163.7 6,246.3 6,246.3 6,246.3 6,548.4 6,517.1 - 6,579.6 7,203.2 7,170.4 - 7,235.9 (ร้อยละต่อปี) 7.5 0.2 1.3 0.0 0.0 4.8 4.3 - 5.3 10.0 9.5 - 10.5 24) รายจ่ายลงทุนส่วนท้องถิ่น (ล้านบาท) 1,238.4 1,259.0 1,147.4 1,347.4 1,347.4 1,424.4 1,417.6 - 1,431.1 1,495.6 1,488.5 - 1,502.7 (ร้อยละต่อปี) 40.4 1.7 -8.9 17.4 0.0 5.7 5.2 - 6.2 5.0 4.5 - 5.5 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) -0.4 -0.6 -4.5 1.8 23.7 3.2 2.7 - 3.7 3.9 3.4 - 4.4 2) อัตราการขยายตัวของภาคเกษตร (ร้อยละต่อปี) -9.2 -7.8 -8.2 11.3 33.5 -2.9 -3.4 - -2.4 0.3 -0.2 - 0.8 3) อัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละต่อปี) 0.6 -1.1 6.4 0.7 7.6 -0.4 -0.9 - 0.1 3.3 2.8 - 3.8 4) อัตราการขยายตัวของภาคบริการ (ร้อยละต่อปี) 3.7 2.0 -3.3 -1.5 24.4 9.7 9.2 - 10.2 7.3 6.8 - 7.8 5) อัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน (ร้อยละต่อปี) 4.4 4.9 -11.6 0.9 10.4 16.5 16.0 - 17.0 9.3 8.8 - 9.8 6) อัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน (ร้อยละต่อปี) 7.2 2.4 -3.3 2.9 1.2 -1.3 -1.8 - -0.8 3.8 3.3 - 4.3 7) อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ (ร้อยละต่อปี) -18.0 -2.8 2.3 7.4 2.6 3.1 2.6 - 3.6 5.8 5.3 - 6.3 8) อัตราการขยายตัวของมูลค่าการค้าชายแดนโดยเฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) 6.4 3.3 -8.6 33.0 54.9 3.3 2.8 - 3.8 8.7 8.3 - 9.3 9) อัตราการขยายตัวของรายได้เกษตรกร (ร้อยละต่อปี) 33.6 39.3 -8.4 6.2 28.5 -3.3 -4.3 - -2.3 5.3 4.3 - 6.4 10) อัตราเงินเฟ้อ (ร้อยละต่อปี) -0.3 1.7 0.1 -1.5 4.9 1.2 0.7 - 1.7 1.5 1.0 - 2.0 11) จ านวนผู้มีงานท า (คน) 631,993 610,696 584,004 580,033 601,705 610,933 609,908 - 611,959 621,635 620,594 - 622,677 เปลี่ยนแปลง (คน) -4,537 -21,296 -26,692 -3,972 21,672 9,228 8,203 - 10,254 10,702 9,661 - 11,743 ผลการประมาณการ สมมติฐานหลัก 2562 2567F ช่วง 2566F ช่วง 2561 2563 2564 2565E


- 5 - สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจ 1. ด้านอุปทาน (การผลิต) ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 (สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ กันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5) เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคบริการ ที่คาดว่าจะ ขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.4 และ -2.9 ตามลำดับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 ปริมาณผลผลิตข้าว ในปี 2566 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -1.0 (สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ กันยายน 2566 ที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -8.3) โดยมีปริมาณผลผลิตทั้งปีอยู่ที่ 1,031,014 ตัน เนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ปริมาณน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งผลให้ผลผลิต ต่อไร่ลดลง คาดว่าผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญส่งผลให้ปริมาณผลผลิตในปี 2567 หดตัวต่อเนื่อง ที่ร้อยละ -1.3 โดยมีปริมาณผลผลิตทั้งปีอยู่ที่ 1,017,267 ตัน 1.2 ปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.2 (สูงกว่า ที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5) โดยปริมาณผลผลิตทั้งปีอยู่ที่ 134,994 ตัน เนื่องจากราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเป็นพืชใช้น้ำน้อย จึงเป็นแรงจูงใจให้ เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และบางส่วนเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนพืชอื่น และในปี 2567 คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 2.0 โดยปริมาณผลผลิตทั้งปีอยู่ที่ 137,694 ตัน 8.3 4.8 -4.0 -21.0 38.2 -8.3 -1.0 -1.3 -25.0 -20.0 -15.0 -10.0 -5.0 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 30.0 35.0 40.0 45.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F %yoy ปริมาณผลผลิต : ข้าว -33.6 -9.2 -6.6 -32.6 -13.5 2.5 11.2 2.0 -40.0 -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F %yoy ปริมาณผลผลิต : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


- 6 - 1.3 ปริมาณผลผลิตปลานิล ในปี 2566 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -5.0 (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -3.7 โดยปริมาณผลผลิตทั้งปีอยู่ที่ 14,817 ตัน เนื่องจาก ปริมาณน้ำน้อยกว่าปีก่อนและอาหารปลามีราคาสูงขึ้น เกษตรกรจึงลดรอบการเลี้ยง/ลดจำนวนต่อตารางเมตร และในปี 2567 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -2.0 โดยปริมาณผลผลิตทั้งปีอยู่ที่ 14,520 ตัน 1.4 จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม ในปี 2566 คาดว่าจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม จะลดลง 9 โรง (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 68 โรง) ทั้งปี มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 666 โรง เนื่องจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ป้อนเข้าสู่โรงงาน ลดลง ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ และในปี 2567 คาดว่าโรงงานจะเพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 20 โรง โดยมีจำนวน โรงงานอุตสาหกรรม 686 โรง -0.2 -3.5 -22.5 14.8 4.9 -3.7 -5.0 -2.0 -25.0 -20.0 -15.0 -10.0 -5.0 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F %yoy ปริมาณผลผลิต : ปลานิล 719 611 652 679 675 743 666 686 - 100 200 300 400 500 600 700 800 900 1,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F จ านวนโรงงานอุตสาหกรรม โรง


- 7 - 1.5 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม ในปี 2566 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.5 (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.0) ตามจำนวนโรงงาน ที่ลดลง รวมทั้งผู้ประกอบการมีมาตรการลดใช้พลังงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต และในปี 2567 คาดว่าจะ ขยายตัวร้อยละ 5.0 1.6 จำนวนนักท่องเที่ยว ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 21.8 (สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.0) โดยคาดว่าทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยว จำนวน 6,058,940 คน จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพิ่มขึ้น และในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งปี จำนวน 6,816,307 คน โดยได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด เช่น มหกรรมศิลปะร่วมสมัย นานาชาติ ครั้งที่ 3 ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023, งานเชียงรายดอกไม้งาม และเทศกาลสงกรานต์ หมายเหตุ : ข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว http://tourism2.tourism.go.th/ และสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย -3.5 3.0 -2.3 -4.3 10.9 10.0 -0.5 5.0 -6.0 -4.0 -2.0 0.0 2.0 4.0 6.0 8.0 10.0 12.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F %yoy ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม 4,148 4,677 2,973 1,911 4,977 5,474 6,059 6,816 - 1,000 2,000 3,000 4,000 5,000 6,000 7,000 8,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F พันคน จ านวนนักท่องเที่ยว


- 8 - 1.7 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน ในปี 2566 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 15.6 (สูงกว่า ที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5) โดยคาดว่าจะมีผู้โดยสาร ผ่านท่าอากาศยานทั้งปี จำนวน 1,949,587 คน เนื่องจากสายการบินเปิดให้บริการเที่ยวบินเพิ่มขึ้น รวมทั้ง การเปิดเส้นทางบินข้ามภูมิภาคระหว่าง ภูเก็ต และ เชียงราย เพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น และในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.0 โดยมีผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานทั้งปี จำนวน 2,242,025 คน 2. ด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.1 (สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4) จากการบริโภคภาคเอกชน การค้าชายแดน และการใช้จ่ายภาครัฐ ที่ขยายตัวร้อยละ 16.5, 3.3 และ 3.1 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดขายส่ง ขายปลีก ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 (สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0) โดยมียอดภาษีมูลค่าเพิ่มหมวด ขายส่ง ขายปลีกฯ ทั้งปีจำนวน 667.1 ล้านบาท เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเพิ่มขึ้น ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากนโยบายรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงวงเงินสวัสดิการแห่งรัฐ จากเดิมได้รับรายละ 200/300 บาทต่อเดือน เป็น 300 บาทต่อเดือนทุกราย และการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 15.0 โดยมียอด ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดขายส่ง ขายปลีกฯ ทั้งปีจำนวน 767.2 ล้านบาท จากโครงการเงินดิจิทัล (Digital Wallet) ของรัฐบาล ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการใช้จ่ายของประชาชน 2,867 2,929 1,513 710 1,687 1,898 1,950 2,242 - 500 1,000 1,500 2,000 2,500 3,000 3,500 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F พันคน จ านวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน 6.9 7.6 -11.0 0.7 19.1 1.0 7.5 15.0 -15.0 -10.0 -5.0 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F ร้อยละ ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดขายส่ง ขายปลีกฯ


- 9 - 2.2 ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15.4 (สูงกว่า จากที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5) โดยคาดว่าจะมียอดการจดทะเบียน 8,560 คัน รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ปี 2566 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.7 (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5) โดยคาดว่าทั้งปีมียอดการจดทะเบียน 28,996 คัน เนื่องจากประชาชนเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และผู้ผลิตรถยนต์มีการเปิดตัว รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการลดภาษีของรถยนต์ที่ใช้ระบบไฟฟ้า ทำให้ราคาถูกลง จากเดิม และในปี 2567 ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -10.0 โดยคาดว่าจะมียอด การจดทะเบียน 7,704 คัน รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ปี 2567 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -3.0 โดยคาดว่า ทั้งปีมียอดการจดทะเบียน 28,126 คัน 9,379 9,057 6,768 6,975 7,418 8,197 8,560 7,704 - 1,000 2,000 3,000 4,000 5,000 6,000 7,000 8,000 9,000 10,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F คัน จ านวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 32,031 31,278 27,267 28,047 29,196 30,218 28,996 28,126 24,000 25,000 26,000 27,000 28,000 29,000 30,000 31,000 32,000 33,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F คัน จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่


- 10 - 2.3 สินเชื่อเพื่อการลงทุนของสถาบันการเงินในจังหวัดเชียงราย ในปี 2566 คาดว่าจะ ขยายตัวจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.7 (สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0) คิดเป็นวงเงินสินเชื่อจำนวน 42,407 ล้านบาท เนื่องจากผู้ประกอบการมีการลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวของ เศรษฐกิจ ที่ได้รับแรงหนุนจากการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นดอกเบี้ย นโยบาย อาจส่งผลต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนออกไป และในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 คิดเป็นวงเงินสินเชื่อจำนวน 44,527 ล้านบาท 2.4 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์จดทะเบียนใหม่ ในปี 2566 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -17.6 (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -2.5) โดยคาดว่ามียอด การจดทะเบียน 3,733 คัน ความต้องการรถยนต์กระบะบรรทุก (ปิคอัพ) ลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภค มีทางเลือกไปใช้รถยนต์ประเภทอื่น ซึ่งใช้งานได้หลากหลายกว่า และในปี 2567 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่อง ที่ร้อยละ -7.5 โดยคาดว่ามียอดการจดทะเบียน 3,453 คัน 37,993 38,988 39,193 40,900 41,698 42,115 42,407 44,527 34,000 36,000 38,000 40,000 42,000 44,000 46,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F สินเชื่อเพื่อการลงทุน ล้านบาท 5,600 5,505 4,492 4,592 4,532 4,419 3,733 3,453 - 1,000 2,000 3,000 4,000 5,000 6,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F คัน จ านวนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์จดทะเบียนใหม่


- 11 - 2.5 การใช้จ่ายของภาครัฐ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวจากปีก่อนที่ร้อยละ 3.1 (สูงกว่าที่ คาดการณ์ไว้เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5) ตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ของภาครัฐและองค์กรปกครองท้องถิ่น -35.3 3.2 1.3 9.5 -4.8 5.0 3.4 1.7 -40.0 -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F %yoy รายจ่ายประจ าภาครัฐ (ส่วนกลาง + ส่วนภูมิภาค) -17.4 -15.6 8.9 10.0 17.8 5.1 0.5 7.5 -20.0 -15.0 -10.0 -5.0 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F %yoy รายจ่ายลงทุนภาครัฐ (ส่วนกลาง + ส่วนภูมิภาค) 40.4 1.7 -8.9 17.4 0.0 3.0 5.7 5.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F %yoy รายจ่ายลงทุนส่วนท้องถิ่น


- 12 - ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณไว้ที่ร้อยละ 100 ในทุกประเภทงบประมาณรายจ่าย (ใช้เป้าหมายการเบิกจ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน) เป้าหมายการเบิกจ่ายรายไตรมาสประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป้าหมายการเบิกจ่าย ภาพรวม (ร้อยละ) งบประจำ (ร้อยละ) งบลงทุน (ร้อยละ) ไตรมาส 1 32 35 13 ไตรมาส 2 52 55 39 ไตรมาส 3 75 80 57 ไตรมาส 4 93 98 75 สำหรับผลการเบิกจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รายจ่ายภาครัฐ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 22 ธันวาคม 2566 จังหวัดเชียงรายได้รับจัดสรรงบประมาณภาพรวมจำนวน 4,208.44 ล้านบาท เบิกจ่าย จำนวน 2,565.88 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.97 ของวงเงินงบประมาณในภาพรวม เป้าหมาย การเบิกจ่ายงบประมาณ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 กำหนดไว้ร้อยละ 32 เบิกจ่ายได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 28.97 เป็นลำดับที่ 18 ของประเทศ โดยรายจ่ายประจำ ได้รับจัดสรรงบประมาณ 3,653.61 ล้านบาท เบิกจ่าย จำนวน 2,503.39 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 68.52 เป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 กำหนดไว้ร้อยละ 35 เบิกจ่ายได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 33.52 เป็นลำดับที่ 7 ของประเทศ สำหรับ รายจ ่ายลงทุนได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 554.83 ล้านบาท เบิกจ่ายจำนวน 62.49 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.26 เป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 กำหนดไว้ร้อยละ 13 เบิกจ่ายได้ ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.74 เป็นลำดับที่ 70 ของประเทศ ในส่วนของงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน 2 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 267.53 ล้านบาท เบิกจ่าย จำนวน 0.58 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.22 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร เป็นลำดับที่ 5 ของประเทศ ตารางผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 22 ธันวาคม 2566 รายการ งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร ก่อหนี้ผูกพัน/ สำรองเงิน ผล เบิกจ่าย ร้อยละ เบิกจ่าย ร้อยละ ก่อหนี้ และ เบิกจ่าย เป้าหมาย การเบิกจ่าย งบประมาณ ณ ไตรมาส 1 (ร้อยละ) สูง/(ต่ำ) กว่า เป้าหมาย 1. รายจ่ายจริง ปีงบประมาณปัจจุบัน 4,208.44 44.18 2,565.88 60.97 62.02 32 28.97 1.1 รายจ่ายประจำ 3,653.61 17.24 2,503.39 68.52 68.99 35 33.52 1.2 รายจ่ายลงทุน 554.83 26.94 62.49 80.20 11.26 13 (1.74)


- 13 - กราฟผลการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เทียบกับเป้าหมายการเบิกจ่าย สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2567 ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (New GFMIS Thai) 53.81 59.17 60.97 32 52 75 93 0.00 10.00 20.00 30.00 40.00 50.00 60.00 70.00 80.00 90.00 100.00 ต.ค.-66 พ.ย.-66 ธ.ค.-66 ม.ค.-67 ก.พ.-67 มี.ค.-67 เม.ย.-67 พ.ค.-67 มิ.ย.-67 ก.ค.-67 ส.ค.-67 ก.ย.-67 ผลการเบิกจ่าย เป้าหมายการเบิกจ่าย รายการ งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร ก่อหนี้ผูกพัน/ สำรองเงิน ผลเบิกจ่าย ร้อยละ เบิกจ่าย ร้อยละ ก่อหนี้ และ เบิกจ่าย เป้าหมาย การเบิกจ่าย งบประมาณ ณ ไตรมาส 1 (ร้อยละ) สูง/(ต่ำ) กว่า เป้าหมาย 2. งบกลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนบน 2 267.53 - 0.58 0.22 0.22 32 (31.78) 4.1 รายจ่ายประจำ 40.68 - 0.58 1.43 1.43 35 (33.57) 4.2 รายจ่ายลงทุน 226.53 - - - - 13 (13.00) ร้อยละ


- 14 - กราฟผลการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เทียบกับเป้าหมายการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2566 ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (New GFMIS Thai) 2.6 มูลค ่าการค้าชายแดนโดยเฉลี่ย ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 (ต่ำกว่า ที่คาดการณ์ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.8) โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 85,010 ล้านบาท เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการสินค้าของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันการที่ค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้านอ่อนตัวทำให้การซื้อสินค้าจะต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น อาจกระทบ ต่อการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค สำหรับมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 20,545 ล้านบาท เนื่องจากสินค้าจากประเทศจีน มีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ เช่น ผัก ผลไม้ เป็นต้น จึงมีการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง และในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.7 โดยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 95,636 ล้านบาท และมูลค่า การนำเข้าอยู่ที่ 21,572 ล้านบาท 4.34 13.39 11.2613 39 57 75 0.00 20.00 40.00 60.00 80.00 ต.ค.-66 พ.ย.-66 ธ.ค.-66 ม.ค.-67 ก.พ.-67 มี.ค.-67 เม.ย.-67 พ.ค.-67 มิ.ย.-67 ก.ค.-67 ส.ค.-67 ก.ย.-67 ผลการเบิกจ่าย เป้าหมายการเบิกจ่าย 43,462 43,342 38,001 52,167 77,748 85,632 85,010 95,636 7,398 9,219 10,020 11,677 21,145 21,875 20,545 21,572 - 20,000 40,000 60,000 80,000 100,000 120,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F ล้านบาท มูลค่าการส่งออกและน าเข้า ร้อยละ


- 15 - 3. ด้านรายได้เกษตรกร ในปี 2566 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -3.3 (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.1) เนื่องจากปริมาณผลผลิตภาคเกษตรโดยรวมลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง ด้านราคาสินค้าเกษตรโดยรวมลดลงจากปีก่อนจาก สินค้าเกษตรและปศุสัตว์ เช่น ยางพารา ชา ลิ้นจี่ ลำไย และสุกร เป็นต้น 33.6 39.3 -8.4 6.2 28.5 5.1 -3.3 5.3 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F ร้อยละ รายได้เกษตรกร 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 %yoyFame Income 33.6 39.3 -8.4 6.2 28.5 -3.3 5.3 %yoyปริมาณผลผลิตภาคเกษตรฯ 38.4 -2.9 3.6 11.3 33.5 -2.9 0.3 %yoyราคาสินค้าภาคเกษตรฯ -3.5 43.4 -11.6 -4.5 -3.7 -0.4 5.1 -20.00 -10.00 0.00 10.00 20.00 30.00 40.00 50.00 %yoy Chiangrai Fame Income Index


- 16 - 3.1 ราคาข้าวเฉลี่ยในจังหวัดเชียงราย ในปี 2566 คาดว่าจะมีราคา 9,908 บาท/ตัน (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะมีราคาเฉลี่ย 10,396 บาท/ตัน) เนื่องจาก ความต้องการบริโภคข้าวภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ และปริมาณผลผลิต ที่คาดว่าจะลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวดีขึ้น และในปี 2567 คาดว่าจะมีราคา 10,997 บาท/ตัน 3.2 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย ในปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 9.1 บาท/กิโลกรัม (สูงกว่า ที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะมีราคาเฉลี่ย 8.1 บาท/กิโลกรัม) เนื่องจากมีความต้องการ ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในการทำอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ซึ่งผลผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ราคา สูงกว่าปีก่อน และในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 9.5 บาท/กิโลกรม 9,152 12,313 12,177 9,339 9,040 10,396 9,908 10,997 - 2,000 4,000 6,000 8,000 10,000 12,000 14,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F ราคาข้าวเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ บาท/ตัน 7.1 6.8 7.3 6.4 8.5 8.1 9.1 9.5 - 2.0 4.0 6.0 8.0 10.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F บาท/กิโลกรัม ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้


- 17 - 3.3 ราคาปลานิลเฉลี่ย ในปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 55.3 บาท/กิโลกรัม (สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะมีราคาเฉลี่ย 53.4 บาท/กิโลกรัม) เนื่องจากผลผลิตที่ผลิตได้ลดลงจากที่ เกษตรกรลดจำนวนการเลี้ยง/รอบการเลี้ยงลง ขณะเดียวกันความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ราคาปลานิลในพื้นที่ปรับสูงขึ้น และในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 56.4 บาท/กิโลกรัม 4. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงราย ในปี 2566 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7) จากราคาพลังงานโดยเฉพาะ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงจากการชดเชยราคาพลังงานจากมาตรการลดค่าครองชีพ และในปี 2567 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 49.1 51.0 58.2 51.7 50.9 53.4 55.3 56.4 - 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 60.0 70.0 80.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F บาท/กิโลกรัม ราคาปลานิลเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ -0.3 1.7 0.1 -1.5 4.9 1.7 1.2 1.5 -2.0 -1.0 0.0 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0 6.0 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F %yoy อัตราเงินเฟ้อ


- 18 - ด้านจำนวนผู้มีงานทำ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 (สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ณ เดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3) โดยคาดว่าจะมีผู้มีงานทำจำนวน 610,933 คน เนื่องจากธุรกิจภาคบริการ/การท่องเที่ยว สามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้ ตามการฟื้นตัวของ การท่องเที่ยว และในปี 2567 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยคาดว่าจะมีอยู่มีงานทำจำนวน 621,635 คน 631,993 610,696 584,004 580,033 601,705 609,306 610,933 621,635 540,000 560,000 580,000 600,000 620,000 640,000 (ณ ก.ย. 66) (ณ ธ.ค. 66) (ณ ธ.ค. 66) 2561 2562 2563 2564 2565 2566F 2566F 2567F ผู้มีงานท า : employment


- 19 - ตารางสรุปภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มของจังหวัดเชียงราย ปี 2566 และ ปี 2567 ไตรมาสที่ 4 ณ 31 ธันวาคม 2566


- 20 - คำนิยามตัวแปรและการคำนวณในแบบจำลองเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย GPP constant price ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน GPP current prices ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีปัจจุบัน GPPS ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน ด้านอุปทาน GPPD ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน ด้านอุปสงค์ API ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคเกษตร IPI ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคอุตสาหกรรม SI ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคบริการ Cp Index ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน Ip Index ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน G Index ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล GPP Deflator ระดับราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย CPI ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดเชียงราย PPI ดัชนีราคาผู้ผลิตระดับประเทศ Inflation rate อัตราเงินเฟ้อจังหวัดเชียงราย Farm Income Index ดัชนีรายได้เกษตรกร Population จำนวนประชากรของจังหวัดเชียงราย Employment จำนวนผู้มีงานทำของจังหวัดเชียงราย %yoy อัตราการเปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน Base year ปีฐาน (2548 = 100) Min สถานการณ์ที่คาดว่าเลวร้ายที่สุด Consensus สถานการณ์ที่คาดว่าจะเป็นได้มากที่สุด Max สถานการณ์ที่คาดว่าดีที่สุด ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคเกษตร (Agricultural Production Index: API) ประกอบไปด้วย - ปริมาณผลผลิต : ข้าว โดยให้น้ำหนัก 0.37426 - ปริมาณผลผลิต : ยางพารา โดยให้น้ำหนัก 0.21466 - ปริมาณผลผลิต : ชา โดยให้น้ำหนัก 0.10194 - ปริมาณผลผลิต : ลำไย โดยให้น้ำหนัก 0.06274 - ปริมาณผลผลิต : กาแฟ โดยให้น้ำหนัก 0.05081 - ปริมาณผลผลิต : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยให้น้ำหนัก 0.04094 - ปริมาณผลผลิต : มันสำปะหลัง โดยใช้น้ำหนัก 0.01223 - ปริมาณผลผลิต : สับปะรด โดยให้น้ำหนัก 0.01165 - ปริมาณผลผลิต : ลิ้นจี่ โดยให้น้ำหนัก 0.00680


- 21 - - จำนวนอาชญาบัตร : สุกร โดยให้น้ำหนัก 0.08810 - ปริมาณผลผลิต : ปลานิล โดยให้น้ำหนัก 0.02992 - จำนวนอาชญาบัตร: โค โดยให้น้ำหนัก 0.00595 ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ประกอบไปด้วย - ทุนจดทะเบียนของโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ โดยให้น้ำหนัก 0.45710 - ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม โดยให้น้ำหนัก 0.41752 - จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม โดยให้น้ำหนัก 0.12537 ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคบริการ (Service Index: SI) ประกอบไปด้วย - รายได้จากการขายส่ง ขายปลีกฯ โดยให้น้ำหนัก 0.55015 - เงินเดือน และเงินค่าจ้างอื่น ๆ กระทรวงสาธารณสุข โดยให้น้ำหนัก 0.17495 - จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน โดยให้น้ำหนัก 0.13758 - ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคบริการ โดยให้น้ำหนัก 0.04673 - จำนวนนักท่องเที่ยว โดยให้น้ำหนัก 0.04529 - ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคาร โดยให้น้ำหนัก 0.04529 ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปทาน (Supply Side หรือ Production Side : GPPS) ประกอบไปด้วยดัชนี 3 ด้าน - ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคบริการ โดยให้น้ำหนัก 0.65990 - ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคเกษตร โดยให้น้ำหนัก 0.24421 - ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยให้น้ำหนัก 0.09590 ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index : Cp) ประกอบไปด้วย - ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดขายส่งขายปลีก โดยให้น้ำหนัก 0.32486 - จำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ โดยให้น้ำหนัก 0.27703 - ปริมาณการจำหน่ายสุรา โดยให้น้ำหนัก 0.22158 - จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ โดยให้น้ำหนัก 0.08337 - ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน โดยให้น้ำหนัก 0.08607 - ปริมาณการจำหน่ายน้ำประปา โดยให้น้ำหนัก 0.00708


- 22 - ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index: Ip) ประกอบไปด้วย - สินเชื่อเพื่อการลงทุน โดยให้น้ำหนัก 0.77754 - จำนวนรถยนต์พาณิชย์ที่จดทะเบียนใหม่ โดยให้น้ำหนัก 0.11979 - พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างรวม โดยให้น้ำหนัก 0.10267 ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐ (Government Expenditure Index: G) ประกอบไปด้วย - รายจ่ายประจำ โดยให้น้ำหนัก 0.47507 - รายจ่ายลงทุน โดยให้น้ำหนัก 0.26500 - รายจ่ายประจำของ อปท. โดยให้น้ำหนัก 0.21657 - รายจ่ายลงทุนของ อปท. โดยให้น้ำหนัก 0.04336 ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (Demand Side : GPPD) ประกอบไปด้วยดัชนี 3 ด้าน - ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน โดยให้น้ำหนัก 0.26529 - ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน โดยให้น้ำหนัก 0.25992 - มูลค่าการค้าชายแดนโดยเฉลี่ย โดยให้น้ำหนัก 0.25839 - ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐ โดยให้น้ำหนัก 0.21640 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาคงที่ (GPP constant price) ประกอบไปด้วยดัชนี 2 ด้าน - ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปทาน (GPPS) โดยให้น้ำหนัก 0.80000 - ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (GPPD) โดยให้น้ำหนัก 0.20000 หมายเหตุ : เนื่องจากคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญกรณีด้านอุปสงค์มีการขยายตัวสูงจากนโยบายของ รัฐบาล และเหตุการณ์ไม่ปกติของการค้าชายแดน ให้ปรับน้ำหนักด้านอุปทานเพิ่มขึ้น ดัชนีชี้วัดด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ GPP Deflator : ระดับราคา ประกอบไปด้วย - ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยให้น้ำหนัก 0.80000 - ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดเชียงราย (CPI) โดยให้น้ำหนัก 0.20000 การเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้มีงานทำคำนวณจาก GPP constant price (ฐาน CVMs) X - 0.12614 (อัตราการพึ่งพาแรงงาน)


- 23 - อัตราการพึ่งพาแรงงาน คำนวณจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis) โดยมีรูปแบบความสัมพันธ์ คือ ln(em) = +(ln(GPP)) โดยที่ em = จำนวนผู้มีงานทำรายเดือนข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย ซึ่งใช้ปี 2548 – ปัจจุบัน GPP = ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย แบบปริมาณลูกโซ่ ข้อมูลจาก สศช. ซึ่งใช้ปี 2548 – 2558 (ฐาน CVMs) ในการคำนวณโครงสร้างค่าน้ำหนัก และการ หาค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรต่าง ๆ ในการนำ Growth มาใช้ในการหาค่าคำนวณ average error และการปรับข้อมูลในตาราง SUMMARY


- 24 - สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย ด่านศุลกากรแม่สาย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ด่านศุลกากรเชียงแสน สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย ด่านศุลกากรเชียงของ สำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงราย สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เชียงราย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย เทศบาลนครเชียงราย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เทศบาลตำบลบ้านดู่ สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนตำบลริมกก สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเวียง สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงราย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย การประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 หอการค้าจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สภาอุตสากรรมจังหวัดเชียงราย ๑. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานคณะทำงาน ๒. ปลัดจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๓. หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๔. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๕. ขนส่งจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๖. ท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๗. เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย คณะทำงาน หน่วยงานผู้สนับสนุนข้อมูลในการประมาณการเศรษฐกิจ ขอขอบคุณส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยธุรกิจในจังหวัดเชียงรายที่สนับสนุนข้อมูลข้างต้น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยธุรกิจในจังหวัดเชียงรายที่สนับสนุนข้อมูล คณะทำงานติดตามและประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย


- 25 - ๘. เกษตรจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๙. ประมงจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๑๐. ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๑๑. อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๑๒. แรงงานจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๑๓. ประกันสังคมจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๑๔. สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๑๕. สรรพากรพื้นที่เชียงราย คณะทำงาน ๑๖. สรรพสามิตพื้นที่เชียงราย คณะทำงาน ๑๗. ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๑๘. สถิติจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๑๙. พาณิชย์จังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๒๐. ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๒๑. ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย คณะทำงาน ๒๒. ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงเชียงรายที่ ๑ คณะทำงาน ๒๓. ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทเชียงราย คณะทำงาน ๒๔. นายด่านศุลกากรแม่สาย คณะทำงาน ๒๕. นายด่านศุลกากรเชียงแสน คณะทำงาน ๒๖. นายด่านศุลกากรเชียงของ คณะทำงาน ๒๗. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ คณะทำงาน ๒๘. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๒๙. นายกเทศมนตรีนครเชียงราย คณะทำงาน ๓๐. ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๓๑. ผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง คณะทำงาน และขนาดย่อม สาขาเชียงราย ๓๒. ผู้อำนวยการ สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๓๓. ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย คณะทำงาน ๓๔. ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๓๕. ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๓๖. ประธานชมรมธนาคารจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๓๗. ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน ๓๘. ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะทำงาน ๓๙. ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คณะทำงาน ๔๐. คลังจังหวัดเชียงราย คณะทำงานและเลขานุการ ๔๑. หัวหน้ากลุ่มงานบริหารการคลังและเศรษฐกิจ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ สำนักงานคลังจังหวัดเชียงราย ๔๒. เจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดเชียงราย คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ ที่ได้รับมอบหมาย


Click to View FlipBook Version