คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
Electromagnetic waves
รังสีเหนือม่วง
หรือ
รังสีอัลตราไวโอเลต
นางสาวศศิธร เนตรแสงสี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 เลขที่ 37
โรงเรียนชาติตระการวิทยา
คำนำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
รายวิชาฟิสิกส์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้
ความรู้เกี่ยวกับรังสีเหนือม่วงหรือรังสีอัลตราไวโอเลตแก่ผู้อ่าน
ผู้จัดทำได้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้
จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
นางสาวศศิธร เนตรแสงสี
ผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า
เนื้อหา 1
รังสีเหนือม่วงหรือรังสีอัลตราไวโอเลต 1
แหล่งกำเนิด UV
ชนิดของ UV 2-3
ประโยชน์และโทษของ UV
การป้องกัน UV 4-5
แบบฝึกหัด
เฉลยแบบฝึกหัด 6
7
8
รังสีเหนือม่วง 1
หรือรังสีอัลตราไวโอเลต
ULTRAVIOLET : UV
• เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า
• มีความถี่ในช่วง 1015 ถึง 1018 เฮิร์ตซ์
• ความยาวคลื่นอยู่ในระดับนาโนเมตรถึงไมโครเมตร
เเหล่งกำเนิด UV
การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ (solar radiation)
แต่เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศของโลกรังสีอัลตราไวโอเลต
บางส่วนจะถูกชั้นบรรยากาศดูดกลืนก่อนกระทบผิวโลก
แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial sources)
ได้แก่วัตถุทุกชนิดที่ถูกทำให้ร้อน จนมีอุณหภูมิสูงมากกว่า
2500 องศาเคลวิน สามารถปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ซึ่ง
เป็นวัตถุ อุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับการใช้ประโยชน์
ในด้านต่างๆ เช่น การเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า
2
ชนิดของ UV
องค์การอนามัยโลก
(World Health Organization : WHO)
แบ่งรังสีอัลตราไวโอเลต ตามความยาวคลื่นได้ 3 ชนิด ดังนี้
รังสีอัลตราไวโอเลตเอ (ultraviolet A : UV-A)
• มีอีกชื่อหนึ่งว่า แบล็คไลท์ ด้วยคุณสมบัติที่ทำให้สารบาง
ชนิด
เกิดการเรืองแสงได้จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการสืบสวน
• มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 315 nm - 400 nm
• ส่วนมากทะลุผ่านชั้นบรรยากาศของโลกมายังพื้นผิวโลกได้
• เมื่อกระทบผิวหนังจะเกิดผลเสียต่อผิวหนังในระยะยาว เช่น
ทำให้ผิวเหี่ยวย่น ผิวแก่ก่อนวัย
เรียงพลังงานจากมากไปน้อย 3
UV-C > UV-B > UV-A
รังสีอัลตราไวโอเลตบี (ultraviolet B : UV-B)
• มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 280 nm - 315 nm
• ส่วนใหญ่จะถูกดูดกลืนก่อนที่จะมาถึงผิวโลก
• สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผิวไหม้จากแสงแดด และ
ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง
• มีอีกชื่อหนึ่งว่า Sunburn radiation
รังสีอัลตราไวโอเลตซี (ultraviolet C : UV-C)
• มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 100 nm - 280 nm
• เกือบทั้งหมดถูกดูดกลืนในชั้นบรรยากาศของโลก
• ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการฆ่าเชื้อในอาหาร เช่น
ในเครื่องกรองน้ำดื่ม
• มีอีกชื่อหนึ่งว่า Germicidal radiation
4
ประโยชน์และโทษของ UV
ประโยชน์ของ UV
หากได้รับในปริมาณที่พอเหมาะจะให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากกว่า
โทษ ประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลต มีดังนี้
• กระตุ้นการสร้างวิตามินดี เป็นวิตามินที่สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือด
กระดูก และภูมิคุ้มกัน ทั้งยังช่วยเพิ่มการดูดซึมแคล่เซียมและ
ฟอสฟอรัสจากอาหารที่บริโภค
• รักษาโรคกระดูกและโรคผิวหนังบางชนิดการรักษาโรคด้วยรังสียูวี
ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
• ฆ่าเชื้อโรค โดยเฉพาะในน้ำดื่ม และยังสามารถนำไปฆ่าเชื้อในเครื่อง
มือ หรืออาหารได้ด้วย
• แบล็คไลท์ ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการสืบสวน เช่น ตรวจธนบัตร
• ช่วยให้อารมณ์ดี หากเราได้รับแสงแดดอ่อนๆ จะช่วยให้ร่างกายนั้น
ผลิตฮอร์โมน เซโรโทนิน ที่ช่วยให้เราอารมณ์ดี
โทษของ UV 5
หากได้รับรังสีอัลตราไว้โอเลตในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน
อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
• ตากแดดนานเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง ผู้ที่อาจมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
ผิวหนัง คือผู้ที่ต้องทำงานกลางแดดจัด
• ผิวไหม้แสบแดง เมื่อผิวหนังได้รับรังสียูวีมากและนานเกินไป
• ระบบภูมิคุ้มกันเสียหาย การที่ผิวหนังได้รับแสงแดดมากเกินไป
อาจส่งผลต่อระบบการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้เสีย
สมดุลในการปกป้องร่างกายจากแบคทีเรียจุลินทรีย์ ไวรัสและสาร
พิษต่างๆ
• อันตรายต่อดวงตา จากการจ้องมองแสงแดดเป็นเวลานาน โดย
มิได้สวมใส่แว่นตาเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวี
• ดูแก่ก่อนวัย รังสียูวีสามารถทำลายคอลลาเจน และเนื้อเยื่อผิวหนัง
ชั้นบนสุด
6
การป้องกัน UV
การป้องกันด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างถูกต้องเพียงไม่กี่วิธีอาจช่วย
ลดความเสี่ยงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ดังนี้
• หลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วง 9.00-14.00 น. เนื่องจากมี
ความเข้มของรังสียูวีมากและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หาก
จำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งในช่วงเวลาดังกล่าว ควรทาครีม
กันแดดทุกครั้ง
• สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวผ้าทอที่รัดรูปและมีสีเข้ม
เพราะมีประสิทธิภาพในการปกป้องร่างกายจากรังสียูวีมากกว่า
เสื้อและกางเกงที่โปร่งบางและมีสีอ่อน
• สวมหมวก เลือกหมวกที่มีปีกกว้าง 2-3 นิ้ว หรือหมวกแก๊ปที่
มีผ้าคลุมต้นคอ เพื่อป้องกันคอจากแสงแดด หากไม่มีอาจใช้
ผ้าบางผืนใหญ่สวมไว้ใต้หมวกทดแทนได้
• ร่มและแว่นกันแดด ควรเลือกสวมแว่นกันแดดที่มีเลนส์
ขนาดใหญ่และมีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีเอและยูวีบีได้ 99
-100 เปอร์เซ็นต์
• ครีมกันแดด คือผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากรังสียูวี ควรเลือก
ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันรังสียูวีบี คือ SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
ทาในปริมาณที่เพียงพอและทาซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง ทั้งนี้
• หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทำผิวแทนและหลอดไฟแสงยูวี รังสี
ยูวีจากอุปกรณ์สร้างรังสียูวีนั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ไม่
ต่างจากรังสียูวีจากแสงอาทิตย์
แบบฝึกหัด 7
1) รังสีอัลตราไวโอเลตบี (ultraviolet B : UV-B)
มีอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร................................................
2) องค์การอนามัยโลกแบ่งรังสีอัลตราไวโอเลตตาม
ความยาวคลื่นได้กี่ชนิด.................................................
3) รังสีอัลตราไวโอเลตอะไรมีพลังงานมาที่สุด(เรียง
จากมากไปน้อย.........................................................
4) UV ย่อมาจาก.........................................................
เฉลยแบบฝึกหัด 8
1) รังสีอัลตราไวโอเลตบี (ultraviolet B : UV-B)
มีอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร...S....u....n...b....u...r..n.....r..a....d...i..a...t..i..o.. n
2) องค์การอนามัยโลกแบ่งรังสีอัลตราไวโอเลตตาม
ความยาวคลื่นได้กี่ชนิด...................3..............................
3) รังสีอัลตราไวโอเลตอะไรมีพลังง
านมาที่สุด(เรียง
จากมากไปน้อย.......U...V....-..C.....>....U...V....-..B....>....U....V...-..A......
4) UV ย่อมาจาก.......U....L....T...R....A....V....I..O....L....E...T..............