The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การววิจารณ์วรรณกรรมเพลงรักควรมีสองคน-วัชระ2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ตั้ม วัชระ, 2021-09-10 23:30:22

การววิจารณ์วรรณกรรมเพลงรักควรมีสองคน-วัชระ2

การววิจารณ์วรรณกรรมเพลงรักควรมีสองคน-วัชระ2

การววิจารณ์วรรณกรรมเพลง “รกั ควรมสี องคน”
โดยทฤษฎี Practical Criticism ของ I.A.Richards

วัชระ ลานเจรญิ

บทเพลงเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการ ความรู้สึก และอารมณ์
ทางสังคม การเมือง นามาบันทึก หรือดัดแปลงให้ประณีต งดงาม ไพเราะ ด้วยศิลปะการประพันธ์ เพื่อใช้สื่อ
อารมณ์ ความรู้สึก และทรรศนะ ของผู้ประพันธ์ออกมาให้ได้รับรู้ บทเพลงอาจบันดาลให้มนุษย์เกิดความรู้สึก
ต่างกันออกไปได้ เช่น ผิดหวัง รัก โศกเศร้า คิดถึง ยินดี ศรัทธา เช่ือถือ ปลุกใจให้ฮึกหาญ หรือให้มีความ
สนุกสนานรื่นเริงได้ (สุดาจันทร์ ไชยโวหาร. 2542 : บทนา) เพลงลูกทุ่งไทยมีวิวัฒนาการมาจากเพลงพ้ืนเมือง
หรือเพลงชาวบ้าน แม้ว่าจะใช้เคร่ืองดนตรีของตะวันตกมาใช้บรรเลงทานอง แต่เน้ือหาหรือใจความของเพลง
ลูกทุ่งก็ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของคนไทย และสังคมไทยอย่างกว้างขวางและลึกซ้ึง ถ้าจะพิจารณาถึง
เพลงพ้นื เมอื งอันเปน็ ตน้ กาเนดิ ของเพลงลกู ทุ่งกจ็ ะพบว่า เพลงพนื้ เมอื งเป็นวรรณกรรมที่บรรจเุ นื้อหาของสังคม
และชีวิตจริงของคนไทยในแต่ละท้องถิ่นไว้ ภายใต้ความเรียบง่ายของท่วงทานองดนตรี (จินตนา ดารงเลิศ.
2533 : 3) ผู้ศึกษาจึงพิจารณาเลือกบทเพลง “รักควรมีสองคน” มาใช้เป็นกรณีศึกษาในการวิเคราะห์วิจารณ์
โดยมรี ายละเอียดดังนี้

1. เนือ้ เรอ่ื งสาคญั (เน้ือเพลงรกั ควรมีสองคน)

ศลิ ปนิ : พร จันทพร, เนย ภสั วรรณ พอดีมว่ น
คารอ้ ง/ทานอง: นคิ สะเลอปี้

(ทอ่ น A1) (1) เธอหรือเธอบ่ฮจู้ ัก ว่าเขาคอื คนฮักของเฮามาแต่ดน
เธอคือจงั่ หน้าด้านหน้าทน แอบแชทแอบคอลขอเบ่งิ อีหยังกัน

(ท่อน Pre) (2) ตบมือข้างเดยี วสดิ งั ตถ้ิ า้ แฟนเธอบ่มีใจ ถา้ ฉันเล่นเขาปฏเิ สธไปกะจบส่านนั้
แต่นีเ่ ขาบอกวา่ เขาโสด อยู่ในโหมดแฟนตายไปหลายวัน
แล้วเธอสิให้ฉนั เฮด็ จั่งได๋
(1) แต่ถ้าเธอฮแู้ ลว้ เธอสิเลกิ ยเุ บาะ
(2) บเ่ ฮาเลกิ บ่ไดก้ ะคนมักฮักหมดใจไปแลว้

ท่อน Hook (1) ความฮกั มันควรสิมีสองคนท่อน่นั เธอกบั เขาสิฮกั กันฉันยอมบ่ได้

(2) แล้วสใิ หเ้ ฮ็ดจังใด กะหวั ใจมนั ฮกั

(1) ศลี ข้อสามเคยท่องยเุ บาะ ละอายใจบ่ที่เฮ็ดให้เขาแตกหัก

(2) กะอย่าขอแค่ฉนั ได้ฮกั บแ่ คร์อหี ยงั ท้งั นั่น

(ซ้าท่อน Pre และท่อน Hook 2 รอบ)

(1) แตฉ่ นั บ่ใหฮ้ ัก (2) แต่ฉันสฮิ กั โฮ โฮ โฮ....

การววิจารณ์วรรณกรรมเพลง “รกั ควรมีสองคน” โดยทฤษฎี Practical Criticism ของ I.A.Richards
โดยนายวชั ระ ลานเจรญิ 645080022-6 นกั ศึกษาศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น

2

ผลงานเพลง “รักควรมีสองคน” ประพันธ์โดย นิค สะเลอป้ี โดยมี พร จันทพร เป็นผู้ขับร้อง
ถ่ายทอดความรู้สึกของผู้หญิงท่ีเป็นแฟนหรือภรรยา และเนย ภัสวรรณเป็นผู้ขับร้องถ่ายทอดความรู้สึกของ
ผู้หญิงที่มาเป็นชู้ โดยเน้ือหาของเพลงน้ีเป็นการสนทนากันของผหู้ ญิงสองคน คือ ผู้หญิงท่ีเป็นแฟนหรือภรรยา
กบั ผ้หู ญงิ ทีเ่ ป็นก๊ิกหรือชู้ที่แอบมาคบซ้อน ซ่ึงผูห้ ญงิ คนที่เป็นแฟนถามผู้หญงิ ท่ีเป็นชู้ว่า “เธอไม่รหู้ รือว่าชายคน
นี้เป็นแฟน เป็นสามีของฉันมาต้ังนานแล้ว เธอถึงได้หน้าด้านหน้าทน แอบพูดคุยกันผ่านแชท ผ่านการวิดีโอ
คอล และขอดูอะไร ๆ กัน” ซึ่งผู้หญิงท่ีเป็นชู้จึงโต้ตอบกลับมาว่า “ตบม้ือข้างเดียวมันจะดังได้อย่างไร
หากแฟนของเธอไม่มีใจมาเล่นด้วย ถ้าฉันเล่นฉันคุยเขาไม่สนใจและปฏิเสธฉันไปมันก็จบแค่น้ัน แต่นี่แฟนของ
เธอกลับบอกว่าเขาโสด อยู่ในโหมดแฟนตายไปนานแลว้ ถ้าอย่างน้ีเธอจะให้ฉันเข้าใจว่าอยา่ งไร” ฝ่ายผู้หญิงที่
เปน็ แฟนจึงถามต่ออีกว่า “แต่ถ้าเธอรู้ว่าเขามีแฟนมภี รรยาอยู่แลว้ เธอจะเลิกกับเขาไหม” หญงิ ที่เป็นช้จู ึงตอบ
กลับมาว่า “ฉันเลิกกับเขาไม่ได้ เพราะตอนนี้ฉันรักเขาไปหมดทั้งหัวใจแลว้ ” ฝ่ายผู้หญิงที่เป็นแฟนจึงพูดขน้ึ ว่า
“ความรักมันควรจะมีแค่สองคนเท่าน้ัน ถ้าหากเธอกับเขาจะรักกันฉันยอมไม่ได้” ผู้หญิงท่ีเป็นชู้จึงพูดว่า
“แล้วจะให้ฉันท่าอย่างไรในเมื่อหัวใจของฉันมันรักเขาไปแล้ว” ฝ่ายผู้หญิงท่ีเป็นแฟนจึงถามอีกคร้ังว่า “ศีล 5
ข้อที่ 3 คือการงดเว้นจากการผิดลูกเมียผัวเขา เธอเคยท่องมาบ้างหรือไม่ และไม่ละอายใจบ้างหรือที่ท่าให้
ครอบครัวเขาแตกแยกกัน” ผู้หญิงที่เป็นชู้จึงตอบว่า “ก็ช่าง ขอแค่ฉันกับเขาได้รักกันเท่าน้ัน ฉันก็ไม่แคร์อะไร
ทั้งนน้ั ” ผหู้ ญิงทีเ่ ปน็ แฟนพูดวา่ “ฉนั ไมใ่ หเ้ ธอกับเขารกั กนั ” ผู้หญงิ ท่ีเปน็ ชู้จงึ ตอบกลับวา่ “ฉนั จะรกั แลว้ เธอจะ
ท่าไม”

2. รปู แบบการประพันธห์ รอื ฉันทลักษณ์
ผลงานเพลง “รักควรมีสองคน” ประพันธ์ด้วยรูปแบบกลอนเพลง (ประเภทแนวเพลงทุ่ง

สมัยใหม่หรือลูกทุ่งอินดี้) มีการผสมผสานระหว่างการใช้ภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาไทยถ่ินอีสานในการ
ประพันธ์ สาหรับโครงสร้างเนื้อหาของเพลงน้ีจะมีความแต่ต่างจากโครงสร้างของเพลงลูกทุ่งทั่วไปหรือลูกทุ่ง
ตามขนบนิยม น่ันคือ เพลงลูกทุ่งแบบขนบนิยมจะมีโครงสร้างเน้ือหาของเพลงทั้งส้ิน 5 ท่อน ประกอบด้วย
ท่อน A1, ท่อน Pre Hook, ท่อน Hook, ท่อน A2 และท่อน Bridge แต่เน้ือหาเพลง “รักควรมีสองคน”
มีโครงสรา้ งของเนอื้ หาเพลงจานวน 3 ทอ่ น ได้แก่ ทอ่ น A1, ท่อน Pre Hook และท่อน Hook และกลบั มาร้อง
ซ้าท่อน A1 และท่อน Pre Hook แทนท่อน A2 และท่อน Bridge ลักษณะทางฉันทลักษณ์มีความเลื่อนไหลใน
การส่งสัมผัสคล้องจอง ไม่ได้กาหนดตาแหน่งที่ตายตัว แต่ยังคงให้มีสัมผัสกันไปในแต่ละวรรคอยู่ จานวนคาใน
การประพนั ธก์ ็มีความเลือ่ นไหล แต่ละวรรคมจี านวนคามากน้อยแตกตา่ งกนั ออกไป ดงั ตวั อยา่ งต่อไปนี้

“เธอหรือเธอบฮ่ ู้จัก วา่ เขาคอื คนฮักของเฮามาแต่ดน
เธอคือจั่งหน้าด้านหนา้ ทน แอบแชทแอบคอลขอเบิง่ อีหยังกัน
ตบมือข้างเดยี วสิดังติถ้ ้าแฟนเธอบม่ ีใจ ถ้าฉันเลน่ เขาปฏเิ สธไปกะจบส่านน้ั
แต่น่ีเขาบอกว่าเขาโสด อยใู่ นโหมดแฟนตายไปหลายวัน
แลว้ เธอสิให้ฉัน เฮ็ดจั่งได๋...”

การววจิ ารณว์ รรณกรรมเพลง “รกั ควรมสี องคน” โดยทฤษฎี Practical Criticism ของ I.A.Richards
โดยนายวัชระ ลานเจรญิ 645080022-6 นกั ศกึ ษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น

3

จากข้อความข้างต้น ผู้ประพันธ์มีการส่งสัมผัสจากวรรคท่ี 1 ไปยังวรรคที่ 2 โดยใช้คาว่า

“จัก” ไปสัมผัสกับคาว่า “ฮัก” มีการส่งสัมผัสคาว่า “ดน” ในวรรคท่ี 2 ไปยังคาว่า “ทน” ในวรรคท่ี 3

นอกจากน้ียังมีการส่งสัมผัสกันระหว่างบทโดยใช้คาว่า “กัน” ในวรรคสุดท้ายของบทที่ 1 ส่งสัมผัสกับคา

สุดท้ายของวรรคท่ี 2 ในบทถัดไปคือคาว่า “น้ัน” และในบทที่ 2 ของเนื้อเพลงน้ีก็มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรค

เหมือนอย่างในบทท่ี 1 ดว้ ย เชน่ “ใจ-ไป, น้ัน-วัน-ฉัน” เปน็ ต้น

นอกจากน้ี การประพันธ์เนื้อหาของเพลง “รักควรมีสองคน” ประพันธ์เน้ือร้องแบบการ

สนทนาถาม-ตอบกันของบุคคลสองคน โดยใช้ประโยคข้อความส้ัน ๆ แต่ยังคงการส่งสัมผัสคล้องจองกันอยู่

ดังตัวอย่างตอ่ ไปนี้

“...(1) แต่ถา้ เธอฮู้แล้วเธอสเิ ลิกยุเบาะ (2) บ่เฮาเลิกบ่ไดก้ ะคนมักฮกั หมดใจไปแลว้ …”

“...(1) ความฮักมนั ควรสมิ สี องคนท่อนน่ั เธอกบั เขาสิฮักกนั ฉนั ยอมบ่ได้

(2) แลว้ สิใหเ้ ฮด็ จังใด กะหัวใจมันฮัก

(1) ศลี ข้อสามเคยท่องยุเบาะ ละอายใจบ่ที่เฮ็ดให้เขาแตกหัก

(2) กะอย่าขอแค่ฉันได้ฮกั บ่แครอ์ หี ยังท้ังนั่น…”

3. แงง่ ามของร้อยกรองหรอื ศิลปะการประพันธ์
แง่งามของร้อยกรองหรือศิลปะการประพันธ์ เป็นศิลปะการใช้ภาษาในการถ่ายทอดอารมณ์

ความรูส้ กึ ของกวีออกมาเปน็ วรรณกรรมหรือบทกวี โดยใช้ภาษาในการเล่นเสยี ง ลีลา จังหวะ กวีโวหาร เพอ่ื ให้
เกิดความงดงาม โดดเด่น ไพเราะ สละสลวยในการใชภ้ าษา ซึ่งจะทาให้บทกวมี ีคุณค่าทางวรรณศิลป์ อีกท้ังยัง
มีการใช้ภาพพจน์ และจินตภาพในการใชถ้ ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกตามเจตนาท่ีกวีตอ้ งการถ่ายทอด สาหรับ
เนอื้ หาของเพลง “รักควรมสี องคน” กม็ กี ารใช้ศลิ ปะในการประพนั ธด์ งั นี้

3.1 เสยี งและลีลาจงั หวะ
เนื้อหาเพลง “รักควรมีสองคน” ผลงานการประพันธ์ของ นิค สะเลอปี้ เป็นการใช้

ภาษาอีสานผสมผสานกับภาษาไทยมาตรฐานได้อย่างแนบเนียนตามลักษณะสมัยนิยมของวัยรุ่นอีสานใน
ปัจจุบัน มีการเล่นเสียงพยัญชนะ เสียงสระ การใช้คาซ้า คาซ้อน และการใช้ศัพท์ภาษาต่างประเทศในการ
ประพนั ธ์

3.1.1 การเลน่ เสียงพยัญชนะ
การเล่นเสยี งพยญั ชนะในเนื้อหาของเพลง “รักควรมสี องคน” มปี รากฏบ้าง

ในบางท่อน แต่ไม่ได้โดดเดน่ เท่าใดนัก ซงึ่ อาจเกิดจากความบังเอญิ ในการประพันธ์ เชน่
“วา่ เขาคอื คนฮักของเฮามาแตด่ น”

จากขอ้ ความข้างต้น ปรากฏการเล่นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ คาว่า “คือ กับ คน”
เป็นการใช้เสียง “ค” สัมผัสอักษรกัน และมีการเล่นเสียงพยัญชนะ “ฮ” ในคาว่า “ฮัก กับ เฮา” สัมผัสอักษรกัน
นอกจากนย้ี งั มีการเสียงพยัญชนะที่อยู่ในกลุ่มอักษรสงู คกู่ ับอักษรต่า คอื คาวา่ “เขา” กับ “คอื คน(ฮัก)”

การววจิ ารณว์ รรณกรรมเพลง “รกั ควรมีสองคน” โดยทฤษฎี Practical Criticism ของ I.A.Richards
โดยนายวชั ระ ลานเจรญิ 645080022-6 นักศึกษาศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาภาษาไทย มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

4

“แอบแชทแอบคอลขอเบ่ิงอหี ยงั กนั ”
จากข้อความข้างต้น ปรากฏการเล่นเสียงพยัญชนะที่อยู่ในกลุ่มอักษรสูงคู่
กับอักษรตา่ ไดแ้ ก่ คาว่า “คอล กับ ขอ”

“ตบมือข้างเดียวสิดงั ต้ิ ถา้ แฟนเธอบม่ ใี จ”
จากข้อความข้างต้น ปรากฏการเลน่ เสียงพยญั ชนะ ได้แก่ คาวา่ “เดยี ว กับ
ดงั ” เปน็ การใช้เสยี ง “ด” สมั ผัสอกั ษรกัน

“ความฮกั มันควรสิมีสองคนท่อนนั่ ”
จากข้อความข้างต้น ปรากฏการเล่นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ คาว่า “สิ กับ
สอง” เป็นการใช้เสยี ง “ส” สมั ผสั อกั ษรกนั
จากการศึกษาด้านการเล่นเสียงพยัญชนะหรือการสัมผัสพยัญชนะในเพลง
“รักควรมีสองคน” สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประพันธ์ไม่ได้มีความเคร่งครัดในขนบการประพันธ์ จึงทาให้ผลงาน
เพลงนี้มีความเลื่อนไหลด้านการใช้คา แต่เน้นในการใช้ข้อความท่ีสื่อความหมายตรงไปตรงมาตามอารมณ์ท่ี
ตอ้ งการถ่ายทอด
3.1.2 การเลน่ เสียงสระ
การเล่นเสยี งสระในเนื้อหาของเพลง “รักควรมีสองคน” มีปรากฏเพียงสอง
วรรคเทา่ นั้น ได้แก่

“อยใู่ นโหมดแฟนตายไปหลายวัน”
“บเ่ ฮาเลกิ บไ่ ด้กะคนมกั ฮักหมดใจไปแล้ว”
จากข้อความขา้ งต้น ผปู้ ระพันธ์มกี ารใชส้ มั ผสั สระหรือการเล่นเสยี งสระ คอื
คาว่า “ตาย กับ หลาย” และ คาว่า “มัก กับ ฮัก” จึงสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประพันธ์ไม่ได้เน้นความสละสลวย
ของรูปคาหรอื เสยี งของคา
3.1.3 การเลน่ คาซ้อน
ในการประพันธ์เน้ือหาของเพลง “รักควรมีสองคน” ผู้ประพันธ์มีการเล่นคา
ซ้อน เพื่อสร้างความโดดเด่นในการถ่ายทอดอารมณ์เพลง และเพ่ือให้การสื่อความหมายมีความเด่นชัดมากย่ิงขึ้น
ซ่ึงปรากฏอยทู่ ่อน A1 ของเพลงดังน้ี
“เธอหรอื เธอบ่ฮจู้ ัก ว่าเขาคือคนฮักของเฮามาแตด่ น
เธอคอื จง่ั หนา้ ดา้ นหน้าทน แอบแชทแอบคอลขอเบ่ิงอหี ยงั กัน”
จากข้อความข้างต้น มีการเล่นคาซ้อน คือคาว่า “หน้าด้าน-หน้าทน” ซึ่ง
เป็นส่วนหน่ึงในคากล่าวของผู้หญิงท่ีเป็นแฟนเพื่อถามคาถามต่อผู้หญิงที่เป็นชู้ โดยใช้ถ้อยคาเชิงเสียดสีเหน็บ
แนมถึงความหน้าด้านหน้าทนไร้ยางอาย และปรากฏคาว่า “แอบแชท-แอบคอล” ท่ีสะท้อนถึงพฤติกรรมที่ผิด
ศีลธรรมของผชู้ ายท่ีเป็นสาเหตุของปัญญากบั ผู้หญิงชู้ ทแ่ี อบคยุ แชท แอบวดิ ีโอคอลขอดูอะไรกันแบบลับ ๆ จึง
ทาให้เกิดปัญหาแตกหักกันระหว่างชายหนุ่มกับแฟนสาว โดยปรากฏในเน้ือเพลงท่อนหน่ึงว่า “ละอายใจบ่ที่
เฮด็ ให้เขาแตกหัก” นั่นแสดงว่าผูช้ ายเลือกไปกบั ผ้หู ญิงที่เปน็ ชู้

การววจิ ารณ์วรรณกรรมเพลง “รกั ควรมีสองคน” โดยทฤษฎี Practical Criticism ของ I.A.Richards
โดยนายวชั ระ ลานเจรญิ 645080022-6 นกั ศกึ ษาศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาภาษาไทย มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

5

3.1.4 การใช้คาภาษาต่างประเทศ (คาทบั ศพั ท)์
ด้วยเพลง “รักควรมีสองคน” เป็นเพลงลูกทุ่งแนวใหม่ จึงปรากฏการใช้คา

ภาษาต่างประเทศปนเข้าในเน้ือหาของเพลง ซ่ึงเป็นเคร่ืองสะท้อนถึงอิทธิพลของภาษาต่างประเทศท่ีมีผลต่อ
การส่อื สารของคนในสงั คมอสี านในยุคปจั จุบัน สาหรบั คาทป่ี รากฏในเนื้อหาของเพลงนี้ คอื คาว่า “แชท-Chat,
คอล-Call, แคร์-Care” ตามท่ีปรากฏในขอ้ ความตอ่ ไปนี้

“เธอคอื จ่ังหนา้ ด้านหน้าทน แอบแชทแอบคอลขอเบ่ิงอีหยงั กนั ”
“กะอยา่ ขอแคฉ่ ันได้ฮัก บ่แคร์อีหยังท้งั นนั่ ”
3.1.5 ลลี า จังหวะ
ในการประพันธ์วรรณกรรมประเภทร้อยกรองส่ิงที่จาเปน็ จะต้องคานงึ ถึงอีก
ประการหนึ่ง คือ ลีลาและจังหวะ ในเพลง “รักควรมีแค่สองคน” นั้น มีลีลา จังหวะที่แปลกใหม่ มีความ
นา่ สนใจ ซ่งึ ผปู้ ระพนั ธ์มีการแบง่ วรรคตอนของเพลงเหมอื นการพูดสนทนา โดยเวน้ จงั หวะเปน็ ประโยคส้ัน ๆ ท่ี
ไม่สม่าเสมอกัน ในแต่จังหวะในแต่ละช่วงจะสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะเหมือนการพูดสนทนาท่ีมีทานอง
แต่ยังคงรูปแบบการสง่ สมั ผัสในแตล่ ะวรรคไว้ ทาให้เพลงมคี วามสละสลวยรอ้ ยเรยี งเนอ้ื ความกนั เปน็ อยา่ งดี
3.2 กวีโวหารด้านภาพพจน์ และจนิ ตภาพ
3.2.1 กวีโวหารดา้ นภาพพจน์
1) อติพจน์ คือ การกล่าวเกินความเป็นจริง เกินธรรมชาติ ในเนื้อหาของเพลง
“รักควรมีสองคน” ปรากฏการใช้อติพจน์หน่ึงแห่ง ซึ่งปรากฏในท่อน Pre Hook ดังข้อความท่ีว่า “กะคนมันฮัก
หมดใจไปแล้ว” ซ่ึงเป็นการกล่าวถึงความรักของผู้หญิงชู้ที่มีต่อผู้ชายคนดังกล่าว โดยเธอมีความรักต่อผู้ชายคนน้ัน
จนหมดหัวใจ ซ่ึงความรักเป็นความรู้สึกไม่สามารถจับต้องได้ เป็นนามธรรมจึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความรักท่ีมีให้
ผชู้ ายคนนั้นจนหมดใจจริงหรือไม่ จึงเป็นเพยี งการอนุมานตามทัศนะของผหู้ ญิงชเู้ ท่าน้ัน
2) การอ้างถึง ในเน้ือหาของเพลง “รักควรมีสองคน” มีการอ้างถึงหลักธรรม
เบญจศลี ข้อท่ี 3 ซ่ึงเปน็ เร่อื งเกยี่ วกบั การงดเว้นจากการกระทาผดิ ดา้ นกามารมณ์ คอื ไมใ่ หไ้ ปคลอ้ งแวะกบั สามี
ภรรยาของบุคคลอน่ื แตห่ ญิงท่เี ป็นชกู้ ลับกระทาผดิ ต่อหลักธรรมดังกลา่ ว เป็นสาเหตทุ าใหผ้ ้หู ญิงที่เป็นแฟนกับ
ชายคนรักตอ้ งแตกหักดา้ นความรัก ซึ่งปรากฏในทอ่ น Hook ซ่งึ ถอื วา่ เป็นทอ่ นสาคัญที่เปน็ หวั ใจของบทเพลงนี้
ขอ้ ความท่ีปรากฏคอื “ศีลข้อสามเคยทอ่ งยุเบาะ ละอายใจบท่ ่ีเฮด็ ใหเ้ ขาแตกหัก กะอย่าขอแค่ฉนั ได้ฮกั บแ่ คร์อี
หยังท้ังนน่ั ”
3.2.2 การใชจ้ ินตภาพ
การใชจ้ ินตภาพ คือ วิธกี ารสร้างภาพขนึ้ ในใจดว้ ยถ้อยคาท่ีเลือกสรรมาเป็น
พิเศษ เพื่อแทนความคิด อารมณ์ และประสบการณ์ด้านความรู้สึก และก่อให้เกิดภาพขึ้นในจิตหรือความคิด
(ราชบัณฑิตยสถาน, 2545 : 218) จินตภาพแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด คือ จินตภาพทางการเห็น จินตภาพ
ทางการไดย้ ิน จนิ ตภาพทางการไดก้ ล่นิ จนิ ตภาพทางการลิ้มรส และจนิ ตภาพทางการสมั ผัส

การววจิ ารณ์วรรณกรรมเพลง “รกั ควรมีสองคน” โดยทฤษฎี Practical Criticism ของ I.A.Richards
โดยนายวัชระ ลานเจรญิ 645080022-6 นกั ศึกษาศลิ ปศาสตรมหาบัณฑติ สาขาภาษาไทย มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

6

1) จินตภาพด้านการเห็น อาจมีทั้งภาพ แสง สี และความเคลื่อนไหว ซึ่งใน
เพลง “รักควรมีแค่สองคน” สะท้อนให้เห็นภาพของผู้หญิงสองคนที่กาลังสนทนากัน ในลักษณะของการ
ทะเลาะถกเถียงกัน ให้ภาพสะท้อนในมุมท่ีไม่เป็นมิตร โดยสื่อผ่านเนื้อหาของเพลงโดยองค์รวม และมีการใช้
จินตภาพดา้ นการเห็นในรายละเอยี ดปลีกย่อยของเนื้อหาของเพลงอีกด้วย เช่น

“เธอหรอื เธอบ่ฮจู้ ัก วา่ เขาคือคนฮกั ของเฮามาแต่ดน
เธอคอื จ่ังหนา้ ดา้ นหน้าทน แอบแชทแอบคอลขอเบงิ่ อหี ยงั กัน”
จากข้อความข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงภาพของบุคคลที่ลักลอบคุยแชทและ
วิดโี อคอลหากนั อย่างลบั ๆ ในเชิงชสู้ าว ซึง่ เปน็ การแสดงถงึ พฤติกรรมของผู้หญิงทีเ่ ปน็ ชู้กับผู้ชายอีกคนที่มีแฟน
อยู่แล้ว นอกจากน้ขี ้อความดังกล่าวยังให้ภาพของผหู้ ญิงชู้ที่ไม่มีความละอายใจทีม่ ายงุ่ เกี่ยวกับผชู้ ายท่มี ีแฟนอยู่
แล้ว
2) จินตภาพด้านการได้ยิน เกิดจากการท่ีผู้ประพันธ์นาประสบการณ์ทาง
ประสาทสัมผัสทางหูหรือการได้ยินเสียงมาสร้างภาพในใจให้แก่ผู้ฟัง โดยอาศัยประสบการณ์ร่วมระหว่าง
ผู้ประพันธ์กับผู้ฟังทาให้ผู้ฟังเกิดภาพท่ีแจ่มชัด ราวกับได้ยินเสียงน้ัน ๆ ด้วยตนเอง ทั้งยังช่วยสื่อกับสภาวะ
บรรยากาศและส่ืออารมณ์ความรู้สึกให้ผู้ฟงั เห็นภาพของเหตุการณส์ ิ่งต่าง ๆ ทีเ่ กิดข้นึ ในเนอื้ หาเพลง “รักควร
มสี องคน” เปน็ การใช้จนิ ตภาพดา้ นการไดย้ ินตลอดท้ังเพลง เน่อื งจากเน้ือหาของเพลงนี้ เป็นถ้อยคาของผู้หญิง
สองคนสนทนาโต้เถียงกันเก่ียวกับประพฤติกรรมท่ีผิดศีลธรรมระหว่างตัวผู้หญิงชู้กับชายหนุ่มท่ีเป็นแฟนของ
ผหู้ ญิงอกี คนนั่นเอง
3) จินตภาพด้านการสัมผัส เกิดจากการที่ผู้เขียนนาประสบการณ์ทาง
ประสาทสัมผัสทางกายเกิดเป็นการรับรู้ว่าร้อน เย็น แข็ง อ่อน หยาบ เป็นการรู้ลักษณะอาการตามสภาพของ
ส่ิงนั้น ๆ โดยตรงมาสร้างภาพในใจให้เกิดแก่ผู้อ่านให้เสมือนกับว่าได้สัมผัสด้วยตนเอง ในเนื้อของเพลง “รัก
ควรมสี องคน” ไม่ปรากฏการใชจ้ นิ ตภาพด้านการสมั ผสั ในเน้ือหาของเพลง
4) จินตภาพด้านการได้กล่ิน เกิดจากการที่ผู้เขียนสร้างภาพให้ปรากฎในใจ
ของผู้อ่านโดยอาศัยประสบการณ์ทางประสาทสมั ผัสทางจมูกซงึ่ เกดิ จากสิ่งใดสิ่งหนงึ่ มากระทบแล้วรว่ มกับการ
สร้างจนิ ตนาการนาเสนอตอ่ ผู้อ่าน ใหผ้ ูอ้ า่ นรู้สกึ ราวเสมือนได้กลิ่นนั้นด้วยประสาทสมั ผัสของตนเอง ในเนือ้ ของ
เพลง “รกั ควรมสี องคน” ไมป่ รากฏการใช้จินตภาพดา้ นการไดก้ ลนิ่ ในเนื้อหาของเพลง
5) จินตภาพด้านการล้ิมรส เกิดจากการที่ผู้ประพันธ์สร้างภาพให้ปรากฏใน
ใจของผู้อ่านโดยอาศยั ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทางลน้ิ รว่ มกับการสร้างจินตนาการนาเสนอต่อผู้ฟังเม่ือ
ต้องการกล่าวถึงรสชาติ ในเนือ้ ของเพลง “รกั ควรมสี องคน” ไมป่ รากฏการใช้จนิ ตภาพด้านการล้ิมรสในเนื้อหา
ของเพลง

4. ประเมินคุณค่า
บทเพลง “รักควรมสี องคน” ผลงานการประพนั ธ์ของ นคิ สะเลอป้ี ใช้รูปแบบในการประพนั ธ์

แบบกลอนเพลงสมยั ใหม่ ซ่ึงเปน็ แนวเพลงลูกทุ่งอินดี้ตามสมัยนิยม ไม่เคร่งครดั ในการใช้ฉันทลักษณ์แบบเพลง

การววจิ ารณ์วรรณกรรมเพลง “รกั ควรมีสองคน” โดยทฤษฎี Practical Criticism ของ I.A.Richards
โดยนายวชั ระ ลานเจรญิ 645080022-6 นักศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑติ สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

7
ลูกทุ่งขนบ จึงทาให้มีความเลื่อนไหลในการประพันธ์ โครงสร้างของเพลงนี้ มีองค์ประกอบ 3 ท่อนเพลง คือ
ท่อน A1, ท่อน Pre Hook และทอ่ น Hook ซง่ึ จะไม่มีทอ่ น A2 และท่อน Bridge แต่ใชว้ ธิ รี ้องซา้ ท่อน A1 ท่อน
Pre Hook แทน เนือ้ หาของเพลงนี้เน้นการส่ืออารมณ์เพลงอย่างตรงไปตรงมา ไมเ่ นน้ ความสละสลวยทางด้าน
การใช้ภาษา ผลงานเพลงนี้จึงมีความโดดเด่นเร่ืองการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเป็นสาคัญ ประพันธ์โดยการใช้
ภาษาอีสานผสมภาษาไทยมาตรฐาน เน้ือร้องทานองเป็นแนวบทสนทนาพูดคุยแบบถามตอบ แต่ยังคงมีการส่ง
สมั ผัสเอาไวอ้ ยู่ ซึง่ เป็นความโดดเด่นของผลงานเพลงนี้ ทผ่ี ู้ประพันธ์เลอื กใช้แนวทางประพนั ธท์ ่ีนอกกรอบอย่าง
สร้างสรรค์ จึงทาใหเ้ พลงนเ้ี ป็นท่สี นใจของสงั คมอยา่ งรวดเร็ว

อีกท้ังผลงานเพลงน้ีเป็นเร่อื งราวเก่ียวกับการโต้เถียงกันของผหู้ ญิงสองคนที่ประสบปัญหารัก
สามเส้า “สองหญิงหน่ึงชาย” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ในปัจจุบันของสังคมไทยในปัจจุบันท่ีผู้คนใน
สังคมมีพฤตกิ รรมทผี่ ิดศลี ธรรมดา้ มกามารมณม์ ากขนึ้ ซง่ึ เกอื บมองว่าเปน็ เรือ่ งปกติไปแล้วอีกดว้ ย

การววจิ ารณ์วรรณกรรมเพลง “รกั ควรมีสองคน” โดยทฤษฎี Practical Criticism ของ I.A.Richards
โดยนายวัชระ ลานเจรญิ 645080022-6 นกั ศกึ ษาศิลปศาสตรมหาบัณฑติ สาขาภาษาไทย มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่


Click to View FlipBook Version