The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วัชระ ลานเจริญ. (2565). ภาษาและอุดมการณ์ในวาทกรรมจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. บทความวิจัยศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ตั้ม วัชระ, 2022-05-12 12:05:53

บทความวิจัย ภาษาและอุดมการณ์ในวาทกรรมจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

วัชระ ลานเจริญ. (2565). ภาษาและอุดมการณ์ในวาทกรรมจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. บทความวิจัยศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาษาและอดุ มการณใ์ นวาทกรรมจดหมายขา่ วประชาสมั พนั ธว์ ิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
สํานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา

วัชระ ลานเจรญิ *

บทคัดยอ่

บทความเรื่อง ภาษาและอุดมการณ์ในวาทกรรมจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาและอุดมการณ์ทางสังคมวาทกรรมจดหมาย
ข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ตามกรอบทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์และใช้กรอบทฤษฎี
SPEAKING ร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลในมิติปฏบิ ัติการทางวาทกรรม ผลการศึกษาพบว่า จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ปรากฏกลวิธีการใช้ภาษา ได้แก่ 1) การใช้มูลบท 2) การใช้คําซํ้า/ซํ้าความหมาย 3) การใช้
คาํ บอกสถานที่ 4) การใชค้ ําทับศพั ท์ภาษาองั กฤษ 5) การใชค้ ําราชาศัพท์

จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ทําหน้าที่ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ตลอดจนเชิดชูเกียรติ ให้กําลังใจนักเรียนนักศึกษา และเป็นการแนะแนวการศึกษาไปในโอกาสเดียวกัน เพื่อให้บุคคล
ภายในและบุคคลภายนอกได้รับรู้ข่าวสารของวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผู้เรียน
และสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผ่านวัจนกรรมแจ้งเพื่อทราบและวัจนกรรมการอธิบาย โดยเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊ก
แฟนเพจงานประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยฯ เป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงอํานาจทางสังคมที่มีผลต่อการประกอบ
สร้างจดหมายข่าวฯ ซึ่งเป็นอํานาจภายในและภายนอกสถานศึกษา ได้แก่ อํานาจสายงาน อํานาจภาครัฐ อํานาจของ
สังคม ชุมชนที่มีต่อสถานศึกษาและผู้เรียนอาชีวศึกษา อํานาจของการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ อํานาจจากสังคม
วัฒนธรรมประเพณี และอํานาจจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม อีกทั้งยังได้ทราบถึงอุดมการณ์ที่แฝงเร้นอยู่ใน
จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ได้แก่ อุดมการณ์เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อุดมการณ์ลําดับชั้น
อดุ มการณ์การแข่งขันเพือ่ ความเป็นเลศิ อดุ มการณ์ความเป็นพิธกี าร

คาํ สาํ คัญ : จดหมายขา่ วประชาสัมพันธ์, วัจนกรรม, อุดมการณ์, อาํ นาจสงั คม

* นกั ศึกษาหลักสตู รศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลยั ขอนแกน?

นายวัชระ ลานเจริญ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณ;ในวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสัมพันธ;วิทยาลยั เทคนิคสกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ; ละสงั คมศาสตร; มหาวทิ ยาลัยขอนแก@น

2

บทนํา
จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ถือเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม ผลงาน การเชิดชูเกียรติ

ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สังกัดสํานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษาไปสู่สาธารณชนภายนอกได้รับรู้ถึงการดําเนินงานของวิทยาลัยฯ
ซ่ึงการเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ได้แก่ แฟนเพจเฟซบุ๊กงานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
เว็บไซต์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร และเผยแพร่ข้อมูลภายในองค์กรผ่านกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ห้วยทรายด้วย
ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่นําจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนครมาศึกษาตามกรอบวาทกรรม
วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis หรือ CDA) ของ Norman Fairclough ซึ่งได้เสนอกรอบ
ในการวเิ คราะห์วาทกรรมวิเคราะหเ์ ชิงวพิ ากษไ์ ว้ 3 มติ ิ ได้แก่ ตัวบท(Text) วถิ ปี ฏิบตั ิทางวาทกรรม (Discourse
Practice) และวิถปี ฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Practice) อธบิ ายวาทกรรมเพื่อเช่ือมโยงกบั
กระบวนการท่เี กย่ี วข้องทางสงั คม
(วรพงศ์ ไชยฤกษ์, 2556) ทั้งยังเป็นการศึกษาอุดมการณ์สังคมที่แฝงเร้นอยู่ในตัวบท สอดคล้องกับผลการวิจัย
ของ กฤษณะโชติ บัวหล้า (2562) ได้ศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การ
พัฒนาอย่างยั่งยืน” ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติทางวาทกรรมในการพัฒนาประเทศของพลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นําเสนอตัวบทหลักที่แฝงไปด้วยความคาดหวังในการให้ประชาชนเข้าใจ
การดําเนินงานของรัฐบาล อีกทั้งการนําเอา “ศาสตร์พระราชา” มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ เป็นการ
ใช้อํานาจของรัฐบาลในการเผยแพร่วาทกรรมผ่านการสื่อสารมวลชนโดยใช้ทั้งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ
โทรทัศน์ในช่วงเวลาออกอากาศที่ประชาชนรับชมมากที่สุด แสดงถึงการใช้อํานาจผูกขาดในกระบวนการสร้าง
วาทกรรมที่รัฐบาลต้องการสื่อสารไปยังประชาชน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาวาทกรรมเชิงวิพากษ์ตามแนว
Fairclough (1995) ด้านการปฏิบัติทางวาทกรรม พบว่า วิธีปฏิบัติทางวาทกรรมนั้นเป็นสื่อกลางระหว่างตัวบท
กับวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม ประเด็นของการปฏิบัติทางวาทกรรมสอดคล้องกับแนวคิดวาทกรรมเชิง
วิพากษ์เนื่องจากวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมที่พบในการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการวิเคราะห์วาทกรรม
ดังนั้นกระบวนการสร้างตัวบทจึงแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับความเป็นไปของสังคมไทยและสังคมโลกท่ี
เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ต้องการทิ้งใครไว้ข้างหลัง วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมนี้จะทําให้ประชาชนผู้รับฟัง
รายการเกิดการยอมรับแนวทางการบริหารงานของรัฐบาลผ่านการสร้างตัวบทที่ทําให้เห็นว่ารัฐบาลน้อมนําเอา
“ศาสตร์พระราชา” และ “แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน” มาปฏิบัติเพื่อทําให้เกิดการยอมรับสิ่งที่รัฐบาลนําเสนอ
และด้านวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม ผู้ศึกษาได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมที่มีผล
ต่อกระบวนการสร้างตัวบท และนําไปสู่การกําหนดทิศทางนโยบายและการปฏิบัติงานในโครงการต่าง ๆ ที่ผู้นํา
เสนอตัวบทนําเสนอในรายการ นอกจากนี้ในการศึกษาปฏิบัติการทางวาทกรรมยังสามารถนํากรอบทฤษฎี
SPEAKING ของ Hymes ดังที่ ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ (2559) ได้ศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร
แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในงานพิธีกร ผลการศึกษาพบว่า การพูดแบบพิธีกรเป็นการพูดในที่ชุมชนประเภท
หนึ่ง ผู้ที่ทําหน้าที่พิธีกรจําเป็นจะต้องมีศาสตร์และศิลปะการใช้ภาษาเป็นอย่างดี เนื่องจากงานพิธีกรแต่ละงาน

นายวชั ระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณ;ในวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสัมพันธ;วทิ ยาลยั เทคนิคสกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร;และสงั คมศาสตรม; หาวิทยาลัยขอนแก@น

3

จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงกําหนดการของแต่ละงานจึงมี
ความจําเป็นอย่างยิ่งที่พิธีกรจะต้องศึกษาและทําความเข้าใจในรายละเอียด บทความน้ีมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอ
ให้นําแนวทางชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบแนวคิด SPEAKING ของเดลล์ ไฮมส์
ซึ่งเป็นกรอบที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์สถานการณ์การส่ือสาร
ในงานพิธีกรซึ่งการนํากรอบดังกล่าวมาใช้จะทําให้พิธีกรรู้แบบแผนของการสื่อสารของพิธีกรในแต่ละ
สถานการณ์อันจะทําให้การทําหน้าที่พิธีกรสําเร็จละล่วงไปด้วยดี จากการทบทวนผลการวิจัยข้างต้นทําให้ผู้
ศึกษามีความสนใจท่ีจะนําจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สํานักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา มาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ เพื่อให้ทราบถึง
กลวิธีการใช้ภาษา ปฏิบัติทางวาทกรรม ปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม ตลอดจนอุดมการณ์สังคมที่แฝงเร้นอยู่ใน
จดหมายข่าวประชาสมั พนั ธ์

วัตถปุ ระสงคก์ ารศกึ ษา
1. เพื่อศึกษาภาษาและอุดมการณ์ทางสังคมวาทกรรมจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิค

สกลนคร

ระเบียบวิธกี ารศกึ ษา
การศกึ ษาครัง้ นเี้ ป็นงานวจิ ัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มวี ธิ กี ารดาํ เนนิ การวจิ ยั ดังต่อไปนี้
1. การเลือกขอ้ มลู และการเกบ็ ข้อมลู
ผู้ศึกษาสํารวจข้อมูลจากจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สํานักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้วิธีการคัดเลือกข้อมูลแบบเจาะจง จํานวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 27
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564, ฉบับที่ 3, ฉบับที่ 12, ฉบับที่ 23 และฉบับที่ 25 ประจําเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2564

2. กรอบแนวคิดทใ่ี ชใ้ นการวิเคราะห์
การศึกษาครัง้ น้ี ผู้ศึกษาวเิ คราะห์เน้อื หา (content analysis) โดยใช้กรอบทฤษฎวี าทกรรมวิเคราะห์

เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis หรือ CDA) ของ Norman Fairclough (1995) อ้างใน วรพงศ์ ไชยฤกษ์
(2556) เป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีการนิยามกรอบความคิดไว้ 3 มิติ ได้แก่ มิติตัวบท มิติปฏิบัติการทาง
วาทกรรม มิติปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม และใช้กรอบทฤษฎี SPEAKING ของ Hymes (1972) อ้างใน ทินวัฒน์
สรอ้ ยกดุ เรอื (2559) เปน็ ทฤษฎรี ่วมในการวเิ คราะหข์ ้อมลู ในมิติปฏบิ ัติการทางวาทกรรม

นายวชั ระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณใ; นวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสมั พันธ;วิทยาลยั เทคนิคสกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ; ละสงั คมศาสตรม; หาวทิ ยาลัยขอนแก@น

4

3. วธิ กี ารวิเคราะหข์ ้อมลู
3.1 ศึกษาเอกสาร หนังสือ บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์

เชิงวพิ ากษ์ (CDA)
3.2 สํารวจและรวบรวมข้อมูลจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สํานักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา จากแฟนเพจเฟซบุก๊ “งานปนะชาสมั พนั ธ์ วิทยาลยั เทคนิคสกลนคร”
3.3 วิเคราะห์จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ตามกรอบทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

และกรอบทฤษฎี SPEAKING
3.4 เรียบเรียงผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

และกรอบทฤษฎี SPEAKING ในจดหมายข่าวประชาสมั พันธ์ฯ
3.5 สรุปผลการศกึ ษา อภปิ รายผล และให้ข้อเสนอแนะ

แหล่งข้อมลู
การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟนเพจเฟซบุ๊ก “งานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคนิค

สกลนคร” โดยผู้ศึกษาคัดเลือกจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2564 จํานวน
5 ฉบบั เพ่อื นํามาใชใ้ นการศกึ ษาวิเคราะหต์ ามแนวคิดทฤษฎีตอ่ ไป

นยิ ามศัพทเ์ ฉพาะ
1. จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ หมายถึง จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร

สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จํานวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 27 ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
2564, ฉบับท่ี 3, ฉบับที่ 12, ฉบบั ท่ี 23 และฉบบั ที่ 25 ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564

ผลการศกึ ษา
ในการศึกษาภาษาและอุดมการณ์ในวาทกรรมจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร

สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้ตัวบทที่เป็นจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ จํานวน 5 ฉบับ
ได้แก่ ฉบบั ท่ี 27 ประจาํ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564, ฉบบั ท่ี 3, ฉบบั ที่ 12, ฉบับที่ 23 และฉบบั ที่ 25 ประจําเดอื น
ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยใช้กรอบทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis หรือ CDA)
ของ Norman Fairclough ทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติตัวบท มิติปฏิบัติการทางวาทกรรม มิติปฏิบัติการทางสังคม
วัฒนธรรม และใช้กรอบทฤษฎี SPEAKING ของ Hymes เป็นทฤษฎีร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลในมิติปฏิบัติการทาง
วาทกรรม ผลการศกึ ษาพบว่า

1. มิติตัวบท (Text) คือ การวิเคราะห์ตัวบท ได้แก่ การศึกษา ตามขนบภาษาศาสตร์และสัญวิทยา
โดยดูที่หน่วยพื้นฐานและองค์ประกอบทางภาษาทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาอันได้แก่ ภาษาระดับข้อความ
ภาพ แสง สี เส้น องค์ประกอบภาพ เป็นต้น ในฐานะเป็นสัญญะ เพื่อนําไปสู่ความเข้าใจเนื้อหา และความหมาย

นายวชั ระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอุดมการณใ; นวาทกรรมจดหมายขา@ วประชาสมั พันธ;วิทยาลัยเทคนคิ สกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ; ละสงั คมศาสตรม; หาวิทยาลยั ขอนแก@น

5

ที่เป็นเอกภาพในตัวบท การวิเคราะห์มิติแรกจะเป็นการบรรยายการสร้างความหมายองค์รวมของตัวผ่านตัว
ภาษาทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา (วรพงศ์ ไชยฤกษ์, 2556: 143) ในการศึกษาจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จํานวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 27
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564, ฉบับที่ 3, ฉบับที่ 12, ฉบับที่ 23 และฉบับที่ 25 ประจําเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2564 ปรากฏรายละเอยี ดดังน้ี

1.1 การใช้มูลบท
ศิริพร ภักดีผาสุก (2553: 58) อ้างใน ชิษณุพงศ์ อินทรเกษม (2559: 108) อธิบายว่า การ

ใช้มูลบท คือ การใช้รูปภาษาเพื่อสื่อความเชื่อหรือความรู้เบื้องต้นที่มีอยู่ก่อนโดยไม่ต้องเอ่ยถึงความเชื่อหรือ
ความรู้นั้นโดยตรง อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้คําศัพท์หรือวลีบางคําที่ทําให้นึกถึงความหมายอื่นนอกเหนือจาก
ความหมายที่ปรากฏอยู่ในถ้อยคํา จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ปรากฏการใช้มูลบทใน
การเขียนจดหมายขา่ ว ดงั ตวั อยา่ งเนอ้ื หาขา่ วตอ่ ไปนี้

“วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 คณะผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร เข้ารับการตรวจทดสอบหาเชื้อโควิด -19 ด้วยชุดตรวจ ATK เพ่ือเตรียมเข้าร่วม
ประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย การแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน
ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ณ จงั หวัดยโสธร”

(จดหมายขา่ วฯ ฉบบั ที่ 23 เดอื นธนั วาคม, 2564)
จากข้อความข้างต้น งานประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ใช้ข้อความว่า “ตรวจ
ทดสอบหาเชื้อโควิด -19” ซึ่งเป็นการใช้มูลบทแสดงถึงให้เห็นว่า คณะผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสถานการณ์การรับเชื้อโควิด-19 ดังนั้นจึงต้องมีการเข้ารับการ
ตรวจทดสอบหาเชื้อไวรัสโคโรนา-2019หรือโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในการเตรียม
ความพร้อมก่อนการเข้าร่วมประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย การแข่งขันทักษะ
วิชาชีพและทักษะพื้นฐาน นอกจากนี้ยังปรากฏการใช้มูลบทในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ฉบับที่ 3
ประจําเดือนธันวาคม ซึ่งในเนื้อหาข่าวปรากฏคําว่า “ครั้งที่ 2” ซึ่งเป็นการบอกให้ทราบว่าก่อนหน้าได้มีการ
ดําเนินการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว 1 ครั้ง โดยการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง
น่ันเอง ดงั ตัวอย่างเน้ือหาจดหมายต่อไปนี้
“วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ประดิษฐ์ ญาณประเสริฐ ผู้อํานวยการวิทยาลัยเทคนิค
สกลนครเป็นประธานในการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 2 ประจําภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
ในการนี้มีผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุมห้วยทราย 3 วิทยาลัยเทคนิค
สกลนคร”

(จดหมายขา่ วฯ ฉบบั ที่ 3 เดอื นธันวาคม, 2564)

นายวชั ระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณ;ในวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสัมพันธ;วทิ ยาลัยเทคนคิ สกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร;และสงั คมศาสตรม; หาวทิ ยาลยั ขอนแก@น

6

1.2 การใช้คาํ ซํา้ /ซํา้ ความหมาย
วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ (2555: 137) อธิบายว่า การใช้คําที่มีความหมายเหมือนกัน

โดยใช้คําพ้องความหมายหมายกัน และใช้คําเดียวกันซํ้ากัน จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคนิค
สกลนคร ฉบับที่ 27 ประจาํ เดือนพฤศจกิ ายน ฉบับที่ 12 ฉบับท่ี 23 และฉบับที่ 25 ประจาํ เดือนธันวาคม 2564
ปรากฏการคําซํ้าความหมาย ได้แก่คําว่า “นักเรียน นักศึกษา” หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน, ผู้รับการศึกษา ใน
บริบทของอาชีวศึกษา คําว่า นักเรียน ใช้กับผู้เรียนที่ศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเรียกว่า ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ส่วนคําว่า นักศึกษา ใช้กับผู้เรียนที่ศึกษาสูงกว่าระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรีเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ (ทล.บ.) นอกจากนี้
ยังปรากฏการใช้คําซํ้ากันในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ฉบับที่ 23 และฉบับที่ 25 ประจําเดือนธันวาคม
2564 ได้แก่คําว่า “ระดับภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ซึ่งมีการใช้คําว่า ภาค ซํ้ากัน เพื่อบอกให้ทราบว่า
การประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย การแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน
ครงั้ น้ี เป็นการดาํ เนินงานในระดบั ภมู ภิ าคของประเทศไทย ในเขตพนื้ ท่ภี าคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ

1.3 การใชค้ ําบอกสถานที่
การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์มีความจําเป็นที่ต้องแจ้งให้ทราบถึงสถานที่ในการจัดกิจกรรม

เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รับสารหรืออ่านข่าว ซึ่งในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์
วิทยาลัยเทคนิคสกลนครปรากฏการใช้คําบอกสถานที่ทุกฉบับ โดยใช้ “ณ” ในการบอกสถานที่ ดังตัวอย่าง
จดหมายข่าวฯ ตอ่ ไปนี้

ตัวอยา่ งที่ 1
“ณ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
อาํ เภอเมือง จงั หวัดสกลนคร”

(จดหมายขา่ วฯ ฉบบั ที่ 27 เดอื นพฤศจกิ ายน, 2564)
ตัวอย่างที่ 2
“ณ ห้องประชมุ หว้ ยทราย 3 วทิ ยาลัยเทคนคิ สกลนคร”

(จดหมายข่าวฯ ฉบับท่ี 3 เดอื นธันวาคม, 2564)
จากตัวอย่างที่ 1 เป็นการบอกให้ทราบถึงสถานที่ในการจัดกิจกรรมเทศกาลลอยพระประทีป
พระราชทาน “สิบสองเพ็งไทสกล” ประจําปี 2564 ซึ่งมีผู้อํานวยการ คณะผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา
และนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสกลนครร่วมกิจกรรม ส่วนตัวอย่างที่ 2 เป็นการบอกให้ทราบถึงสถานที่ใน
การจดั ประชมุ ครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา ครัง้ ท่ี 2 ประจําภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564
1.4 การใช้คาํ ทับศพั ท์ภาษาองั กฤษ
วิไลศักดิ์ กิ่งคํา (2556: 157) อธิบายว่า ในภาษาไทยมีการใช้คําทับศัพท์ภาษาอังกฤษเป็น
จํานวนมาก จากการวิเคราะห์ คําที่ใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ เป็นคําศัพท์เฉพาะ ชื่อเฉพาะ โดยเฉพาะทาง
วิทยาศาสตร์ ทางการกีฬา การแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีที่ไทยรับมาจากต่างประเทศเราจึงใช้คํา

นายวัชระ ลานเจริญ I 2565 I ภาษาและอุดมการณใ; นวาทกรรมจดหมายขา@ วประชาสัมพันธ;วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ; ละสงั คมศาสตรม; หาวิทยาลัยขอนแก@น

7

ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ปรากฏการใช้คําทับศัพท์จํานวน
2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 12 และฉบับที่ 23 ประจําเดือนธันวาคม 2564 คําทับศัพท์ที่พบได้แก่คําว่า “กล้อง
อินฟราเรด” เป็นกล้องตรวจจับความร้อนและตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายสําหรับคัดกรองบุคคลก่อนเข้าสถานศึกษา
ซึ่งกล้องจะทําการประเมินอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ(เว็บไซต์Entech, 2565: ออนไลน์) คําว่า “โควิด -19”
เป็นโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนา เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการแพร่ระบาดในเดือนธันวาคม ปีค.ศ. 2019(องค์การ
อนามัยโลก ประเทศไทย, 2020) และคําว่า “ATK” เป็นการใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษมาจากคําว่า Antigen Test Kit
เป็นชุดตรวจโควิด-19 ท่ีสามารถตรวจด้วยตัวเองได้ จากการเก็บสารคัดหล่ัง อ่านผลทดสอบบน Strip Test ใช้ตรวจ
คดั กรองในเบอื้ งต้น โดยรอผลตรวจประมาณ 10-30 นาที

1.5 การใชค้ ําราชาศัพท์
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2537: 90) อธิบายว่า ในภาษาไทย เรามีประเพณีคัดเลือก

ถ้อยคํามาใช้เฉพาะบุคคลตามฐานะที่เรายกย่อง โดยพยายามเรียบเรียงถ้อยคําให้เกิดความไพเราะน่าฟังและน่าอ่าน
ศัพท์ที่ใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เรียกว่า ราชาศัพท์ ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์
วิทยาลัยเทคนิคสกลนครปรากฏการใช้คําราชาศัพท์ในจดหมายข่าวฯ ฉบับที่ 27 ประจําเดือนพฤศจิกายน 2564
ซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของชื่อกิจกรรมและชื่อสถานที่ ราชาศัพท์ที่ปรากฏได้แก่ “พระประทีปพระราชทาน”
และ “สวนเฉลมิ พระเกียรตพิ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวเฉลมิ พระชนมพรรษา 80 พรรษา”

2. ปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discourse Practice) คือ การวิเคราะห์กระบวนการ (Process
Analysis) ของภาคปฏิบัติการวาทกรรม ได้แก่การวิเคราะห์ความหมายแฝงนัยและอุดมการณ์ ซึ่งซ่อนอยู่ในระดับ
ลึกของตัวบทเป็นการศึกษาความหมายของตัวบทในฐานะที่เป็นผลผลิตของกระบวนการเข้ารหัส (หรือผลผลิตขอ
ปฏิบัติการสร้างความหมายผ่านตัวภาษา) รวมทั้งศึกษากลไกวิธีการต่าง ๆ ในการสร้างความหมายโดยเฉพาะ
ความหมายที่สัมพันธ์กับอุดมการณ์และความเชื่อในสังคม กลไกเหล่านี้จะรวมทั้งวัจนภาษา อวัจนภาษา
และเทคนิควิธีทางการผลิตสื่อ (วรพงศ์ ไชยฤกษ์, 2556: 144) ในการวิเคราะห์ปฏิบัติการทางวาทกรรมในจดหมาย
ข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคนิคสกลนครครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้นํากรอบทฤษฎี SPEAKING ของ Hymes มา
ประยุกต์ใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อให้ได้ทราบถึงกระบวนการทางวาทกรรมภายในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์
ฯ ผลการศกึ ษาพบว่า

S = Setting/ Scene (setting including the time and place) จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร มีการกล่าวถึงสถานที่ในการจัดกิจกรรมชัดเจน แต่มีความแตกต่างกันออกไปตามบริบท
ของกิจกรรมนั้น ๆ เป็นการกล่าวถึงพื้นท่ีในการจัดกิจกรรมแบบกว้าง ๆ คือ ระบุพื้นที่แบบไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่
จังหวัดยโสธร วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร วิทยาลัยเทคนิคยโสธร สถานที่ข้างต้นเป็นสถานที่ท่ีมีหน่วยย่อยภายในอีก
และบอกแบบเจาะจง ได้แก่ ห้องประชุมห้วยทราย 3 วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร และสวนเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สถานที่ในการจัด
กิจกรรมดังกล่าวเกีย่ วข้องกบั กจิ กรรมที่มีความเป็นทางการและไมเ่ ป็นทางการสามารถจาํ แนกได้ดังน้ี

นายวชั ระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอุดมการณ;ในวาทกรรมจดหมายขา@ วประชาสัมพันธ;วทิ ยาลยั เทคนิคสกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร;และสงั คมศาสตรม; หาวิทยาลยั ขอนแก@น

8

1) สถานทีจ่ ดั กจิ กรรมทเ่ี ป็นทางการ ไดแ้ ก่
“การประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 2 ประจําภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา

2564...ณ หอ้ งประชุมห้วยทราย 3 วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร”
“ร่วมงานเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน “สิบสองเพ็งไทสกล” ประจําปี 2564

ณ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อําเภอเมือง
จังหวัดสกลนคร”

2) สถานทจ่ี ดั กจิ กรรมทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการ ได้แก่
“เข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง สัปดาห์ที่หก และมีการคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ ด้วย

กล้องอนิ ฟราเรดกอ่ นเข้าสถานศกึ ษา ภายใต้มาตรการปอ้ งกนั ไวรัสโควดิ -19 ณ วทิ ยาลัยเทคนิคสกลนคร”
“เข้ารับการตรวจทดสอบหาเชื้อ โควิด -19 ด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อเตรียมเข้าร่วม

ประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย การแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน
ระดับภาค ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ณ จังหวดั ยโสธร”

“ร่วมให้กําลังใจ นักเรียน นักศึกษา ในการแข่งขันทักษะวิชาชีพ และทักษะพื้นฐาน
งานประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี
การศึกษา 2564 ณ วิทยาลัยเทคนคิ ยโสธร”

P = Participant ผู้ร่วมสื่อสาร จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร เนื้อหา
ข่าวจะเขียนโดยงานประชาสัมพันธ์วิทยาลัยฯ โดยจะกล่าวถึงบุคคลที่เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
ผู้อํานวยการวิทยาลัย คณะผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ผู้รับรู้ข่าวสารจากจดหมาย
ข่าวนี้ ได้แก่ บุคลากรวิทยาลัยที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนจังหวัดสกลนครและบุคคลทั่วไป
เนื่องจากจดหมายข่าวฯ มีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์วิทยาลัย เฟซบุ๊กแฟนเพจประชาสัมพันธ์ และกลุ่มไลน์
ภายในของวิทยาลัย

E =Ends คือ จุดมุ่งหมาย จดหมายหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนครมี
จุดมุ่งหมายในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนเชิดชูเกียรติ ให้กําลังใจ
นักเรียนนักศึกษา และเป็นการแนะแนวการศึกษาไปในโอกาสเดียวกัน เพื่อให้บุคคลภายในและบุคคลภายนอก
ได้รับรู้ข่าวสารของวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษา และสถานศึกษา
อาชวี ศึกษา

A = Act sequence คือ การเรียงลําดับวัจนกรรม จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัย
เทคนิคสกลนคร ใช้วัจนกรรมแจ้งเพื่อทราบ โดยบริเวณส่วนหัวจดหมายข่าวฯ ปรากฏการแจ้งให้ทราบว่าข้อมูล
ที่ผู้รับสารเห็นอยู่นั้นเป็นจดหมายข่าวจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยฯ พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงลําดับ
ของจดหมายข่าว, ประจําเดือน, ปีพ.ศ.ที่เผยแพร่ บริเวณส่วนท้ายปรากฏการแจ้งให้ทราบชื่อแฟนเพจเฟซบุ๊ก
งาน, คําขวัญ, ข้อมูลในการติดต่อ และรายละเอียดเกี่ยวกับที่อยู่ของวิทยาลัย นอกจากนี้วัจนกรรมการอธิบาย

นายวัชระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณใ; นวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสัมพันธ;วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร;และสังคมศาสตรม; หาวิทยาลยั ขอนแก@น

9

ในการอธบิ ายถึงวนั /เดอื น/ปใี นการจัดกจิ กรรม ผรู้ ่วมกิจกรรม รายละเอยี ดเกย่ี วกับกิจกรรม และสถานท่ใี นการ
จัดกิจกรรม

K = Key คือ นํ้าเสียงซึ่งช่วยให้เสริมความหมายของคําพูด ตัวบทที่ใช้ศึกษาเป็นจดหมายข่าว
ประชาสัมพันธ์ฯ ดังนั้นจึงมีการปรับแนวทางมาพิจารณาเกี่ยวกับระภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ซึ่งจดหมายข่าว
ประชาสัมพันธ์ฯ นั้น มีการใช้ภาษาในระดับทางการในการเขียนอธิบายเนื้อหาข่าว เนื่องจากข่าวที่นํามา
ประชาสัมพันธ์น้นั เปน็ ขอ้ มลู จากสถานศกึ ษาของรัฐในการนาํ เสนอจงึ มคี วามเปน็ ทางการดว้ ยนั่นเอง

I = Instrumentalities เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัย
เทคนิคสกลนคร มีการเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจงานประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยเป็นหลัก เผยแพร่ผ่าน
เว็บไซตว์ ิทยาลยั ไลนก์ ลุ่มภายในวทิ ยาลัย

N = Norms of Interaction and Interpretion คือ บรรทัดฐานของปฏิสัมพันธ์และการ
ตีความ ปฏิสัมพันธ์ของผู้ร่วมสื่อสารต้องพิจารณาตามบริบทที่แวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรมของผู้คนในแต่ละสังคม
การตีความในการสื่อสารในแต่ละครั้ง ต้องเข้าใจลักษณะของงาน สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ
การเข้าใจดังกล่าวทําให้รูปแบบการสื่อสาร ภาษา มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป(วรพงศ์ ไชยฤกษ์, 2556:
144) จากศึกษาจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ จึงทําให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กรตามบริบทสถานศึกษาสังกัด
อาชีวศึกษาที่สถานศึกษาขนาดใหญ่ มีความเป็นพิธีรีตองในการดําเนินกิจกรรม โดยมีผู้อํานวยการเป็นประธาน
ในกิจกรรมตา่ ง ๆ นอกจากนี้ยังมกี ารให้ความสาํ คัญในระบบอาวุโสทางด้านคุณวุฒขิ องบคุ คลดว้ ย

G = GENRE หมายถึง ประเภทของการสื่อสาร ตัวบทที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นจดหมายข่าว
ประชาสัมพันธ์วิทยาลัยฯ นอกจากข้อความข่าวซึ่งเป็นการอธิบายให้เห็นถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการ
ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัยฯ แล้ว ยังมีการใช้ภาพประกอบการทํากิจกรรม จํานวน 9 ภาพ/ฉบับ เพ่ือ
ทําให้ผรู้ บั สารเห็นภาพการดาํ เนินกิจกรรมทชี่ ัดเจนมากย่ิงขึ้นด้วย

3. ปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อตัวบท (Sociocultural Practice) มิตินี้เป็นการ
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสื่อหรือตัวบท ภาษา กับบริบทสังคมวัฒนธรรมที่สื่อหรือตัวบทนั้นปรากฏใช้
เป็นการอธิบายการที่ภาษาถูกหล่อหลอมโดยสังคมวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ของภาษา สื่อ และสังคมซึ่งมัก
นําไปสู่ประเด็นเรื่องอุดมการณ์ และความสัมพันธ์เชิงอํานาจในสังคม ตลอดจนอํานาจของภาษาและอํานาจของ
“เจ้าของ” ภาษาและ “เจ้าของ” ความหมายที่มีเหนือปฏิบัติการทางสังคม ในบางครั้งอาจมองเห็นภาพการ
ช่วงชิง “พื้นที่แห่งอุดมการณ์” หรือ “พื้นที่แห่งความหมาย” เพื่อช่วงชิงอํานาจผ่านภาษาด้วย (วรพงศ์
ไชยฤกษ์, 2556: 144) จากการศึกษาจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จํานวน 5 ฉบับ
จึงทําให้ได้ทราบถึงอํานาจทางสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการประกอบสร้างจดหมายข่าวฯ ซึ่งเป็นอํานาจจากท้ัง
ภายในและภายนอกสถานศึกษาที่มีผลต่อการประกอบสร้างจดหมายข่าวฯ อํานาจแรกที่มีผลต่อการผลิต
จดหมายข่าวฯ คอื อํานาจสายงาน งานประชาสัมพันธ์เป็นหนง่ึ งานทอ่ี ย่ใู นฝ่ายบริหารทรพั ยากรของวทิ ยาลัยใน
สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่หลักในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ

นายวัชระ ลานเจริญ I 2565 I ภาษาและอุดมการณ;ในวาทกรรมจดหมายขา@ วประชาสมั พันธ;วทิ ยาลัยเทคนิคสกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ; ละสังคมศาสตรม; หาวทิ ยาลยั ขอนแก@น

10

ภายในสถานศึกษาไปสู่บุคคลทั้งภายในและภายนอกได้รับทราบถึงการดําเนินงานต่าง ๆ ตลอดจนสนองตาม
นโยบายของสถานศึกษาจากผู้อํานวยการ รองผู้อํานวยการ หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่งาน ปฏิบัติงานตามสาย
บังคับบัญชา โดยการปฏิบัติงานของงานประชาสัมพันธ์นั้น สอดคล้องและสัมพันธ์กับอํานาจภาครัฐ โดยมี
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552 เป็นกรอบทาง
กฎหมายครอบทบั อีกช้นั หนึง่

นอกจากนี้ จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ยังประกอบสร้างขึ้นโดยอาศัยอํานาจของสังคม ชุมชนท่ีมี
ต่อสถานศึกษาและผู้เรียนอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นทัศนคติและมุมมองค่อนไปทางด้านลบ เช่น การทะเลาะวิวาท
ความรุนแรง การก่ออาชญากรรม และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เป็นต้น ตลอดจนความคาดหวังต่อ
วิทยาลัยฯ จึงเป็นปัจจัยที่ทําให้วิทยาลัยฯ ต้องมีการจัดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมในด้าน
ต่าง ๆ และเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่วิทยาลัยฯ ด้วยเหตุนี้จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ จึงเป็น
ช่องทางที่วิทยาลัยฯ ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรมของวิทยาลัยฯ ไปสู่สาธารณชนภายนอก อีกท้ัง
ยังเกิดจากอํานาจของการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ ตามค่านิยมของสังคมที่มักตัดสินความเป็นเลิศทาง
การศึกษาจากผลการประกวด แข่งขัน รวมถึงการประเมินเพื่อจัดอันดับคุณภาพของสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู
บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน นกั ศกึ ษา ระดบั จงั หวัด ระดบั ภาค ระดบั ชาติ และระดับนานาชาติ เป็นสงิ่
ช่วยกระตุ้นให้สถานศึกษาต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลงานผู้บริหาร ครู นักเรียนนักศึกษาให้พร้อมสู่
การแข่งขัน ซึ่งจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ที่ผู้ศึกษาเลือกมาใช้เป็นกรณีศึกษาครั้งนี้ ปรากฏเนื้อหาข่าวที่
เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมการแข่งขันวิชาการ ทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐานของนักเรียนนักศึกษา จํานวน 2
ฉบับ ไดแ้ ก่ ฉบบั ท่ี 23 และฉบับที่ 25 ประจาํ เดอื นธนั วาคม 2564 ดงั ตวั อย่างเนอ้ื หาในจดหมายข่าวฯ ต่อไปน้ี

“นายประดิษฐ์ ญาณประเสริฐ ผู้อํานวยการวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ร่วมให้กําลังใจ นักเรียน
นักศึกษา ในการแข่งขันทักษะวิชาชีพ และทักษะพื้นฐานงานประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่ง
ประเทศไทย ระดบั ภาค”

(จดหมายข่าวฯ ฉบับที่ 25 เดือนธันวาคม, 2564)
จากเนื้อหาข่าวข้างต้น กล่าวถึงการให้กําลังใจตัวแทนนักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมการแข่งขันทักษะ
วิชาชีพ และทักษะพื้นฐานเนื่องในงานประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับภาคของ
ผู้อํานวยการวิทยาลัยฯ ตลอดจนเกิดจากอํานาจค่านิยมของสังคมที่มีการยึดถือกันจนกลายเป็นธรรมเนียมของสังคม
โดยสังคมไทยมีธรรมเนียมปฏิบัติที่สัมพันธ์กับวันสําคัญต่าง ๆ ทางศาสนา สังคม ตลอดจดงานพระราชพิธี เช่น
วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันวิสาขบูชา วันแม่ วันพ่อ และอื่น ๆ ซึ่งจดหมายข่าว
ประชาสัมพันธ์ฯ ท่ีใช้เป็นกรณีศึกษา ฉบับที่ 27 เดือนพฤศจิกายน 2564 ก็มีความเกี่ยวพันกับวันสําคัญของ
สังคมไทยด้วย เกี่ยวเนื่องกับประเพณีลอยกระทง โดยเนื้อหาของจดหมายข่าวฯ กล่าวถึงผู้อํานวยการ คณะผู้บริหาร
ครู บคุ ลากรทางการศกึ ษา นกั เรียนนักศกึ ษา เขา้ รว่ มประเพณีน้ี ดังเนอื้ หาจดหมายข่าวต่อไปน้ี
“วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 นายประดิษฐ์ ญาณประเสริฐ ผู้อํานวยการวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
คณะผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสกลนครร่วมงานเทศกาลลอยพระ

นายวัชระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณใ; นวาทกรรมจดหมายขา@ วประชาสมั พันธ;วิทยาลัยเทคนคิ สกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ; ละสงั คมศาสตรม; หาวทิ ยาลัยขอนแก@น

11

ประทีปพระราชทาน “สิบสองเพ็งไทสกล” ประจําปี 2564 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
เจา้ อยหู่ ัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อําเภอเมอื ง จังหวดั สกลนคร”

(จดหมายขา่ วฯ ฉบับที่ 27 เดอื นพฤศจิกายน, 2564)
นอกจากน้ี จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ยังเกิดขึ้นจากสถานการณ์ต่าง ๆ ของสังคมในปัจจุบัน
ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 จากเนื้อหาข่าวมีการกล่าวถึงการมาตรการต่าง ๆ
ของวิทยาลัย เพื่อคัดกรองและป้องกันการแพร่ระบาดภายในวิทยาลัย เช่น การตรวจวัดอุณภูมิด้วยกล้อง
อินฟราเรด การตรวจทดสอบหาเชอื้ ดว้ ยชุดตรวจ ATK เปน็ ต้น
จากการวิเคราะห์ปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัย
เทคนิคสกลนครสามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้ จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ประกอบสร้างขึ้นโดยอาศัยอํานาจ
ทางสังคมหลากหลายด้าน ได้แก่ อํานาจของสายงานหรือสายบังคับบัญชา อํานาจรัฐ อํานาจสังคม ชุมชน
ภายนอก อํานาจการประเมิน/การแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ อํานาจจากสังคมวัฒนธรรมประเพณี และอํานาจ
จากสถานการณ์ท่เี กิดขึ้นในสงั คม เป็นการความสัมพนั ธ์ระหวา่ งตวั บทกับอํานาจของสงั คม

4. อุดมการณ์ในจดหมายขา่ วประชาสัมพนั ธว์ ทิ ยาลัยเทคนิคสกลนคร
จากการศึกษาวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร

แล้ว ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ด้านปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม เป็นการวิเคราะห์บริบททางสังคม เพื่ออธิบายเหตุผล
การผลิตและการเลือกใช้ภาษาในตัวบท ตลอดจนความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและบริบททางสังคม
วัฒนธรรม ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามีอุดมการณ์แฝงเร้นอยู่ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ทั้ง 5 ฉบับ ได้แก่
อุดมการณ์เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา กษัตริย์ อุดมการณ์ลําดับชั้นอาวุโส อุดมการณ์การแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ

อดุ มการณค์ วามเป็นพธิ ีการ มีรายละเอยี ดดังต่อไปนี้
4.1 อดุ มการณ์เทดิ ทนู สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
สถาบันหลักของไทย ประกอบด้วย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นสถาบันสูงสุดท่ีสังคม

โดยมากให้การเคารพ โดยมีการจัดกิจกรรม พิธีกรรม ราชพิธีต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเทิดทูน
นับถือ ยกย่อง เช่น กิจกรรมเคารพธงชาติ ราชพิธีเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันสําคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบัน
พระมหากษัตริย์ กิจกรรมในการสืบสานประเพณีสําคัญต่าง ๆ ซึ่งในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิค
สกลนคร ปรากฏอุดมการณ์ท่ีเกี่ยวกับการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา กษัตริย์ จํานวน 2 ฉบับ ได้แก่ จดหมายข่าวฯ
ฉบับที่ 27 เดือนพฤศจิกายน ซึ่งกล่าวถึงการจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีลอยกระทงของจังหวัดสกลนคร ที่คณะ
ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนนักศึกษาเข้าร่วม กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบัน
พระมหากษัตริย์และสถาบันศาสนา ดังเนื้อหาข่าวต่อไปน้ี “ร่วมงานเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสอง
เพ็งไทสกล” จากเนื้อหาข่าวข้างต้นสามารถอนุมานความสัมพันธ์ของกิจกรรมกับสถาบันพระมหากษัตริย์ได้จาก
คําว่า “ลอยพระประทีปพระราชทาน” โดยปรากฏการใช้คําราชาศัพท์ในการบรรยายเนื้อหาข่าว และสถาบัน
ศาสนา จากคําว่า “สิบสองเพ็งไทสกล” หมายถึง วันเพ็ญเดือนสิบสอง คือ วันขึ้น 15 คํ่า ตามปฏิทินจันทรคติ

นายวัชระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณใ; นวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสมั พันธ;วทิ ยาลยั เทคนคิ สกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ; ละสงั คมศาสตรม; หาวทิ ยาลยั ขอนแก@น

12

และเป็นวันพระใหญ่(ธรรมสวนะ) สําหรับพุทธศาสนิกชนและพระสงฆ์วันนี้ถือเป็นวันสําคัญที่จะได้งดเว้นการ
ประพฤติทางกาย วาจา ใจ เจริญสติภาวนา และประกอบสังฆกรรมของพระสงฆ์ ทั้งนี้วันขึ้น 15 คํ่าเดือน 12 ยังถือ
เป็นวันลอยกระทงซ่งึ เปน็ ประเพณสี าํ คญั ของสังคมไทย และจดหมายขา่ วฯ ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม ซึง่ กล่าวถงึ การ
เข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงของนักเรียนนักศึกษา ดังเนื้อหาข่าวต่อไปนี้ “นักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมกิจกรรม
หน้าเสาธง” ซึ่งเป็นการผลิตซํ้าค่านิยมของสังคมจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง กิจกรรมเข้าแถวหน้าเสาธงเป็นกิจกรรมท่ี
จัดขึ้นเพื่อแสดงถึงการเทิดทูนต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในกิจกรรมนี้มีกิจกรรมย่อยหลาย
กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันหลักของชาติ ได้แก่ กิจกรรมร้องเพลงชาติ กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมร้อง
เพลงสรรเสริญพระบารมี

4.2 อุดมการณ์ลาํ ดับช้นั
จากการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ทําให้ได้เห็นถึง

อุดมการณ์การแบ่งลําดับชั้น โดยเนื้อหาข่าวมีการจัดวางลําดับของบุคลากรภายในวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
ตามลําดับความอาวุโสด้านคุณวุฒิของบุคคล โดยเรียงจากผู้ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าไปหาคนที่ที่มีคุณวุฒิตํ่ากว่า
ซ่งึ ปรากฏอยูใ่ นจดหมายข่าวฯ ฉบบั ที่ 27 เดอื นพฤศจกิ ายน ฉบบั ท่ี 3 และฉบบั ที่ 23 เดอื นธันวาคม ดงั ตัวอย่าง
เนื้อหาข่าวต่อไปนี้ “คณะผู&บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน นักศึกษา” หรือ “คณะผู&บริหาร
ครู นักเรียน นักศึกษา” จากเนื้อหาข่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า อุดมการณ์ลําดับชั้นอาวุโสมีอิทธิพลในการนําเสนอ
ข่าวของวยิ าลัยเทคนคิ สกลนครดว้ ย

4.3 อุดมการณก์ ารแข่งขนั เพอื่ ความเป็นเลิศ
การจัดอันดับเป็นค่านิยมที่มีอยู่ในทุกสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการศึกษา ซึ่งมี

การแข่งขันท่ีสูง ทั้งด้านวิชาการ ด้านสถานที่ การศึกษา จํานวนคน จํานวนสิ่งปลูกสร้าง กิจกรรม คุณภาพใน
การจัดการเรียนการสอน และอื่น ๆ จากการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ปรากฏอุดมการณก์ ารแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิชาการของนักเรียนนักศึกษา
ดังตัวอย่างเนื้อหาข่าวดังต่อไปนี้ “เพ่ือเตรียมเข&ารBวมประชุมวิชาการองคFการนักวิชาชีพในอนาคตแหBง
ประเทศไทย การแขBงขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน ระดับภาค” ซึ่งผลจากการประกวดแข่งขันยังเป็น
สิ่งนาํ มาใช้ในการจัดอันดบั คณุ ภาพและความเป็นเลิศของสถานศึกษาด้วย

4.4 อุดมการณค์ วามเป็นพิธีการ
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติ จนกลายเป็นค่านิยมและบรรทัดฐานของ

สังคมถูกผลิตซํ้าและถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จึงทําให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพิธีรีตอง เช่น มีพิธีเปิดงาน
พิธีปิดงาน เชิญผู้ทรงเกียรติของสังคมมาร่วมเป็นเกียรติในงาน เป็นต้น จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิค
สกลนคร ปรากฏอุดมการณ์ความเป็นพิธีการ ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ฉบับที่ 3 เดือนธันวาคม ดังเนื้อหา
ข่าวต่อไปนี้ “นายประดิษฐF ญาณประเสริฐ ผู&อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร เปPนประธานในการประชุมครู
และบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 2” จากเนื้อหาข่าวข้างต้นกล่าวถึงผู้อํานวยการวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา

นายวัชระ ลานเจริญ I 2565 I ภาษาและอุดมการณ;ในวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสมั พันธ;วิทยาลัยเทคนคิ สกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร;และสงั คมศาสตรม; หาวทิ ยาลยั ขอนแก@น

13

สูงสุดของสถานศึกษาเป็นประธานในการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา แสดงให้เห็นถึงความเป็นพิธีการของ
การประชุมครั้งนี้

จากผลการวิเคราะห์อุดมการณ์ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ทําให้ทราบ
ถึงอุดมการณ์ที่แฝงเร้นอยู่ในเนื้อหาข่าว 4 ประเภท ได้แก่ อุดมการณ์เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ผู้คนในสังคมให้การยกย่องเชิดชู อุดมการณ์ลําดับชั้นอาวุโส อุดมการณ์การแข่งขันเพื่อความ
เป็นเลิศ และอุดมการณ์ความเป็นพิธีการ อุดมการณ์ข้างต้น ทําให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวบทกับบริบทของ
สงั คมวฒั นธรรม ซ่ึงมีความกลมกลืนเปน็ อนั หนง่ึ อนั เดียวกนั จนยากทจ่ี ะแยกออกจากกัน

บทสรุป
การศึกษาวาทกรรมเชิงวิเคราะห์ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สํานักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาและอุดมการณ์ทางสังคมวาทกรรมจดหมายข่าว
ประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ตามกรอบทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse
Analysis หรือ CDA) ของ Norman Fairclough ทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติตัวบท มิติปฏิบัติการทางวาทกรรม มิติ
ปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม และใช้กรอบทฤษฎี SPEAKING ของ Hymes เป็นทฤษฎีร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในมิติปฏบิ ัตกิ ารทางวาทกรรม ผลการศกึ ษาพบวา่

การศึกษาจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จํานวน 5 ฉบับ ในมิติตัวบท (Text) ปรากฏกลวิธีการใช้ภาษา ได้แก่ 1) การใช้มูลบท ซึ่งเป็นการใช้ถ้อยคําที่สื่อให้
เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ใช้ข้อความว่า “ตรวจ
ทดสอบหาเชื้อโควิด -19” ซึ่งเป็นการใช้มูลบทแสดงถึงให้เห็นว่า คณะผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสถานการณ์การรับเชื้อโควิด-19 และคําว่า “ครั้งที่ 2” ซึ่งเป็นการ
บอกให้ทราบว่าก่อนหน้าได้มีการดําเนินการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว 1 ครั้ง โดยการ
ประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง 2) การใช้คําซํ้า/ซํ้าความหมาย เป็นการใช้คําที่มีความหมายเหมือนกัน โดยใช้คําพ้อง
ความหมายหมายกัน และใช้คําเดียวกันซํ้ากัน จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ปรากฏการคําซํ้าความหมาย ได้แก่คํา
ว่า “นักเรียน นักศึกษา” หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน, ผู้รับการศึกษา และมีการใช้คําว่า “ภาค” ซํ้ากัน 3) การใช้
คําบอกสถานที่ ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ใช้คําบอกสถานที่ทุกฉบับ โดยใช้ “ณ” 4) การใช้คําทับศัพท์
ภาษาอังกฤษ ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ปรากฏการใช้คําทับศัพท์ได้แก่คําว่า “กล้องอินฟราเรด โควิด-19
ATK” 5) การใช้คําราชาศัพท์ จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ มีการใช้คําราชาศัพท์ ซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ
กิจกรรมและชื่อสถานที่ คําราชาศัพท์ที่ปรากฏได้แก่ “พระประทีปพระราชทาน” และ “สวนเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู วั เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา”

ในการวิเคราะห์ปฏิบัติการทางวาทกรรมในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคนิคสกลนครครั้งนี้
ผู้ศึกษาได้นํากรอบทฤษฎี SPEAKING ของ Hymes ใช้เพื่อให้ได้ทราบถึงกระบวนการทางวาทกรรมภายในจดหมาย
ข่าวประชาสัมพันธ์ฯ ผลการศึกษาพบว่า จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ มีการกล่าวถึงสถานที่ในการจัดกิจกรรม

นายวัชระ ลานเจรญิ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณใ; นวาทกรรมจดหมายขา@ วประชาสัมพันธ;วิทยาลัยเทคนคิ สกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ; ละสังคมศาสตรม; หาวทิ ยาลัยขอนแก@น

14

ชัดเจน แต่มีความแตกต่างกันออกไปตามบริบทของกิจกรรมนั้น ๆ โดยกล่าวถึงสถานที่จัดกิจกรรมในมุมกว้าง คือ
พื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง และแบบไม่เจาะจง จดหมายข่าวฯ ถูกนําเสนอและถ่ายทอดรายละเอียดโดยงาน
ประชาสัมพันธ์ และมีการกล่าวถึงบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร
การดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนเชิดชูเกียรติ ให้กําลังใจนักเรียนนักศึกษา และเป็นการแนะแนวการศึกษาไปใน
โอกาสเดียวกัน เพื่อให้บุคคลภายในและบุคคลภายนอกได้รับรู้ข่าวสารของวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้าง
ภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษา และสถานศึกษาอาชีวศึกษา ในการนําเสนอจดหมายข่าวฯ ใช้วัจนกรรมแจ้ง
เพื่อทราบและวัจนกรรมการอธิบาย ภาษาที่ใช้มีความเป็นทางการ โดยจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ เผยแพร่ผ่าน
ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจงานประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยเป็นหลัก นอกจากนี้การศึกษาวิเคราะห์จดหมายข่าว
ประชาสัมพันธ์ฯ ทําให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กรตามบริบทสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาที่สถานศึกษาขนาดใหญ่
มคี วามเป็นพธิ ีรตี องในการดําเนนิ กิจกรรม และการใหค้ วามสําคญั ในระบบอาวโุ สทางดา้ นคณุ วฒุ ิของบุคคล

ในการศึกษาปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิค
สกลนคร ทําให้ได้ทราบถึงอํานาจทางสังคมที่มีผลต่อการประกอบสร้างจดหมายข่าวฯ ซึ่งเป็นอํานาจจากท้ัง
ภายในและภายนอกสถานศึกษาได้แก่ อํานาจสายงาน อํานาจภาครัฐ อํานาจของสังคม ชุมชนที่มีต่อ
สถานศึกษาและผู้เรียนอาชีวศึกษา อํานาจของการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ อํานาจจากสังคมวัฒนธรรม
ประเพณี และอาํ นาจจากสถานการณท์ ่ีเกิดขึ้นในสงั คม

นอกจากนี้ การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิค
สกลนครแล้ว ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ด้านปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม เป็นการวิเคราะห์บริบททางสังคม
เพื่ออธิบายเหตุผลการผลิตและการเลือกใช้ภาษาในตัวบท ตลอดจนความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบท
และบริบททางสังคมวัฒนธรรม ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามีอุดมการณ์แฝงเร้นอยู่ในจดหมายข่าว
ประชาสัมพันธ์ฯ ทั้ง 5 ฉบับ ไดแ้ ก่ อุดมการณ์เทิดทนู สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อุดมการณ์ลําดับช้ัน
อาวุโส อดุ มการณ์การแขง่ ขนั เพือ่ ความเปน็ เลศิ อุดมการณค์ วามเป็นพิธีการ

อภิปรายผล
บทความเรื่อง ภาษาและอุดมการณ์ในวาทกรรมจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร

สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งเผยแพร่ผ่านทางแฟนเพจเฟซบุ๊กงานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคนิค
สกลนคร จํานวน 5 ฉบับ ตามกรอบทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis หรือ CDA)
ของ Norman Fairclough และใชก้ รอบทฤษฎี SPEAKING ของ Hymes เปน็ ทฤษฎรี ่วมในการวเิ คราะห์ข้อมลู ในมิติ
ปฏิบัติการทางวาทกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม
รวมถึงอุดมการณ์สังคมท่ีแฝงเร้นในจดหมายข่าวฯ สิ่งที่น่าสังเกตคือ จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์เป็นเพียงสื่อท่ี
วิทยาลัยเทคนิคสกลนครใช้ในการเผยแพร่การดําเนินกิจกรรมของวิทยาลัยเท่านั้น เมื่อนํามาวิเคราะห์ถึงการ
ประกอบสร้างกลับพบอํานาจสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย ได้แก่ อํานาจสายงาน อํานาจภาครัฐ อํานาจ

นายวชั ระ ลานเจริญ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณใ; นวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสัมพันธ;วทิ ยาลยั เทคนคิ สกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ; ละสงั คมศาสตรม; หาวิทยาลัยขอนแก@น

15

ของสังคม ชุมชนท่ีมีต่อสถานศึกษาและผู้เรียนอาชีวศึกษา อํานาจของการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ อํานาจจาก
สังคมวัฒนธรรมประเพณี และอํานาจจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนี้ยังปรากฏการแฝงเร้นของ
อุดมการณ์สงั คม ซ่ึงมีความกลมกลืมเปน็ อนั หนง่ึ อนั เดยี วอยา่ งแยบคาย

อย่างไรก็ตาม จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ฯ นอกจากจะทําหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การดําเนิน
กิจกรรมของวิทยาลัยแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายอื่นที่แฝงเร้นมาพร้อมกับการเผยแพร่ข่าวสาร นั่นคือ การใช้จดหมายข่าวฯ
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ท่ีดีให้แก่สถานศึกษาและผู้เรียนอาชีวศึกษา ตลอดจนการปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติของ
สาธารณชนภายนอกทตี่ อ่ อาชวี ศึกษาด้วย

เอกสารอ้างองิ
กรมวิชาการ กระทรวงวิชาการ. (2537). หนังสือเรียนภาษาไทย ท 203 ท 204 หลักภาษาไทย เล่ม 2.

พิมพค์ ร้งั ที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุ สุ ภาลาดพร้าว.
ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ. (2559). ชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในงานพิธีกร.

วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 6. ฉบับที่ 2.
115-129.
วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ. (2555). หนังสืออุเทศภาษา ชุด บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคํา วลี
ประโยคและสัมพันธสาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สํานักวิชาการและมาตรฐาน
การศกึ ษา สํานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน.
วิภา วิเสโส, พจนารถ สารพัด. (2563). การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนากับการสร้างความเข้าใจการดูแลใน
ครอบครัวภายใต้บริบทของสังคมวัฒนธรรมไทย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปที ี่ 28 ฉบบั ท่ี 2. 122-134.
เว็บไซต์entech. (2565). กล้องอินฟราเรด. จาก https://www.entech.co.th/fever-detection-with-
thermal-imagers-2020/?lang=th. สบื คน้ เมือ่ 26 มนี าคม 2565.
องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย. (2563). โรคโควิด 19 คืออะไร. จาก https://www.who.int/
docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---
thai.pdf?sfvrsn=724d2ce3_0. สืบค้นเม่อื 26 มีนาคม 2565.

นายวชั ระ ลานเจริญ I 2565 I ภาษาและอดุ มการณ;ในวาทกรรมจดหมายข@าวประชาสัมพันธ;วทิ ยาลัยเทคนิคสกลนคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร;และสงั คมศาสตรม; หาวทิ ยาลัยขอนแก@น


Click to View FlipBook Version