The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by vvunsan, 2021-09-27 11:37:30

รำวงมาตรฐาน

รำวงมาตรฐาน

เสนอ อาจารย์อุษณีย์ จันทรสุกรี

รำวง
มาตรฐาน

By น.ส.สุชาวลี แซ่ว่อง ม.4/1

คำนำ

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาลีลาระบำไทย ที่
จะให้ความรู้ในเรื่องรำวงมาตรฐานโดยผู้อ่านสามารถนำ

ความรู้ในหนังสือเล่มนี้ไปใช้เเละต่อยอดต่อได้




สุชาวลี แซ่ว่อง

รำวงมาตรฐาน
เป็นการรำคู่ เกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายและหญิง เป็นการรำที่ใช้กระบวนการ
ใช้ร่างกายในการรำที่สมบูรณ์ มีการใช้ทุกอวัยยวะทุกส่วนของร่างกายในการ
รำอย่่างครบถ้วน จากที่กระผมได้เรียนรำวงมาตรฐานมาทำให้กระผมมีความ
ชื่นชอบในการเรียนรำวงมาตรฐานมาก เพราะเพลงที่ใช้รำก็มีความอ่อนช้อย
อ่อนหวาน และเป็นเพลงปลุกใจ สนุกสนาน มีด้วยกันทั้งหมด 10 เพลง รำ
แล้วมีความสนุกสนานกับคู่ และหมู่คณะในกลุ่มรำวงมาตรฐานด้วย
1 คุณค่าความเป็นไทย เพลงที่ใช้ในการรำวงมาตรฐานเป็นเพลงที่มีเนื้อ
ร้องภาษาไทย ฟังแล้วติดหู และจำง่าย และก่อนจะรำนักแสดงก็ต้อง
ทำความเคารพกันโดยการไหว้ซึ่งกันและกันเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของ
ความเป็นไทย ท่ารำแต่ละเพลงก็มีความยากง่ายแตกต่างกันออกไป นักท่อง
เที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่ที่มารำก็มักจะชอบในการรำวงมาตรฐานเพราะ
ท่ารำเป็นแบบพื้นฐานไม่ยากจนเกินไปเพลงก็มีความสนุกสนาน จำง่าย และ
เมื่อรำเสร็จก็ต้องทำความเครารพคู่รำของตัวเอง ก่อนจะออกจากวงรำ โดย
การไหว้ เป็นการสอนวัฒนธรรมไทยให้ชาวต่างชาติไปในตัวด้วย
2 คุณค่าความบันเทิงแบบไทย รำวงมาตรฐาน เป็นการรำแบบคู่ชายและ
หญิง เดินคู่กันเป็นวงกลมขนาดใหญ่ เล็ก แล้วแต่จำนวนของนักแสดง และ
สถานที่ ท่ารำของรำวงมาตรฐานก็เป็นแบบแผน นิยมรำตามต้นฉบับ
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงท่ารำได้ ส่วนเพลงที่ใช้ในการรำวงมาตรฐานมี
ทั้งหมด 10 เพลงรำตามลำดับตั้งแต่เพลงแรก จนถึงเพลงที่ 10 ดังนี้

ชื่อเพลงและท่ารำ
1 งามแสงเดือน ชายและหญิง สอดสร้อยมาลา
2 ชาวไทย ชายและหญิง ชักแป้งผัดหน้า
3 รำมาซิมารำ ชายและหญิง รำส่าย
4 คืนเดือนหงาย ชายและหญิง สอดสร้อยมาลาแปลง
5 ดวงจันทร์วันเพ็ญ ชายและหญิง แขกเต้าเข้ารัง และผาลาเพียงไหล่
6 ดอกไม้ของชาติ ชายและหญิง รำยั่ว
7 หญิงไทยใจงาม ชายและหญิง พรหมสี่หน้า และ ยูงฟ้อนหาง
8 ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชายและหญิง ช้างประสานงา และจันทร์ทรงกลด
9 ยอดชายใจหาญ ชาย - จ่อเพลิงกาล หญิง - ชะนีร่ายไม้
10 บูชานักรบ ชาย - จันทร์ทรงกลด และขอแก้ว หญิง - ขัดจางนางและล่อแก้ว

3 ลักษณะการแต่งกาย ลักษณะการแต่งกายของรำวมาตรฐาน
ก็บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยได้เป็นอย่างดีเช่นกันและ
ยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยสืบต่อไปอีก
ด้วย
ลักษณะการแต่งกายรของการำวงมาตรฐานแต่งได้ 3 แบบคือ

1 แบบพื้นเมือง
ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว
หญิง นุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบอัดจีบ คาดเข็มขัด

2 แบบไทยพระราชนิยม
ชาย สวมกางเกงขายาว ใส่เสื้อพระราชทาน(แขนยาวหรือสั้นก็ได้) สวมรองเท้า
(แบบที่1)
หญิง แต่งชุดไทยเรือนต้น สวมรองเท้า (แบบที่1)

ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อราชประแตน ถุงเท้ายาว สวมรองเท้า
(แบบที่2)
หญิง แต่งชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 5 สวมรองเท้า (แบบที่2)

3 แบบสากลนิยม
ชาย แต่งชุดสูทสากล สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกเนคไท สวมรองเท้า
หญิง แต่งชุดไทย

ประวัติและที่มา

ในสมัยก่อนไม่มีคำว่า “มาตรฐาน” จะเรียกกันเพียงว่า
“รำวง” เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่าง
หนึ่งของชาวไทยที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน จะเล่นกันใน
บางท้องถิ่นและบางเทศกาลของแต่ละจังหวัดเท่านั้น รำวง
มาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละ
เล่นพื้นเมืองของไทย หรืออาจพูดได้ว่า “รำวง” เรียกอีกชื่อ
หนึ่งว่า “รำโทน”

สมัยก่อนเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำโทนก็มี ฉิ่ง
ฉาบ และโทน ใช้ตีประกอบจังหวะ โดยการฟ้อนรำจะมี
เสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกการ
ฟ้อนรำชนิดนี้ว่า “รำโทน” ในด้านของบทร้องจะเป็น
บทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและ
สัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด เนื้อหาของเพลงจะออกมาใน
ลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่การหยอกล้อของหนุ่มสาว เชิญ
ชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาวเป็นต้น
ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของการแต่ง
กายก็เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้
ประณีตแต่อย่างใด

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนอย่างแพร่หลาย ศิลปะชนิดนี้
จึงมีอยู่ตามท้องถิ่นและพบเห็นได้ตามเทศกาลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุที่ได้รับ
ความนิยมเป็นอย่างมากนี้เอง จึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่
เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม บทร้องและทำ
นองแปลกๆ ที่มีเกิดขึ้นมาใหม่โดยปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วย
เหตุนี้จึงเป็นบทเพลงที่ขาดการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ปรากฏว่า ใครเป็นผู้
แต่งบทร้องและทำนองในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นช่วง
สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัด
สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพใน
ประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่างๆ ในแผ่นดินไทยลำเลียงเสบียงอาหาร อาวุธและ
กำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร อังกฤษ อเมริกา

ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายก
รัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะ
เกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับ
ผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพ
ญี่ปุ่นทางอากาศ โดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุด
ยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้าง
ความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้าน
เรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น

เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไปคืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะ
มองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชน
ชาวไทยได้รับความเดือดร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาด
กลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีผ่อนคลายความตึงเครียด
ความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับ
มาร้องรำทำเพลง นั่นก็คือ “การรำโทน”

คำร้อง ทำนอง และการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่าย
สนุกสนานเช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่เพลง ใกล้เข้าไปอีกนิด
ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล่ เป็นต้น ต่อมา จอมพล ป.
(แปลก) พิบูลสงคราม ได้เล็งเห็นศิลปะอันสวยงามของไทย
ที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย หากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิ
ได้ว่า ศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงาม
ประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติ
ที่มีวัฒนธรรม ท่านจึงได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิด
ชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ “รำโทน” ขึ้นใหม่ให้มี
ระเบียบแบบแผนให้มีความประณีตงดงามมากขึ้น ทั้งทาง
ด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเรื่องการแต่งกาย

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้ประพันธ์
บทร้องขึ้นใหม่ 4 เพลง คืองามแสงเดือน ชาวไทย,รำซิมา
รำ,คืนเดือนหงาย และได้กำหนดวิธีการเล่น ตลอดจนท่ารำ
และการแต่งกายให้มีความเรียบร้อยสวยงามอย่างศิลปะของ
ไทย

วิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกัน
ไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา และด้วยเหตุนี้เองจึงได้เปลี่ยนชื่อ
“รำโทน” เสียใหม่มาเป็น “รำวง” ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด
พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 เพลง คือ
ดวงจันทร์วันเพ็ญ,ดอกไม้ของชาติ, หญิงไทยใจงาม,ดวง
จันทร์ขวัญฟ้า,ยอดชายใจหาญ,บูชานักรบ มอบให้กรม
ศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นแบบมาตรฐาน

ส่วนทำนองนั้นรับผิดชอบแต่งโดยกรมศิลปากรและกรม
ประชาสัมพันธ์ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนอง
เพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การ
แสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่

ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวไทยก็ยังคงให้
ความนิยมการเล่นรำวงสืบมาจนถึงปัจจุบัน และชาวต่างชาติก็
นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานเต้นรำต่างๆ จนกระทั่งมี
นักประพันธ์ผู้หนึ่งเป็นชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Foubion Bowers
ที่ได้มาพบเห็นศิลปะการรำวงของไทย และนำไปกล่าวไว้ใน
หนังสือ Theatre in the East ซึ่งมีสำเนียงการเรียก “รำวง”
เพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเป็น “รำบอง” (Rombong)

แต่อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของกรมศิลปากร ในการ
ปรับปรุงศิลปะการรำวงทั้งหมด 10 เพลงนี้เพื่อเป็นศิลปะการ
รำวงที่มีระเบียบแบบแผน ทั้งคำร้อง ทำนอง ท่ารำ ตลอดจน
การแต่งกาย ให้เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สะดวกในการเผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรมของไทยและสืบสานต่อไป ด้วยเหตุผลนี้ เราจึง
เรียกรำวงที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับมาตรฐานว่า “รำวงมาตรฐาน”
สืบมาจนถึงปัจจุบัน

Foubion Bowers หนังสือ Theatre in the East

ท่ารำ

คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก,คุณครูมัลลี คงประภัศร์และคุณครู
ลมุล ยมะคุปต์ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้นทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า
เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลง
งามแสงเดือน,เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำ เพลง,คืนเดือน
หงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ,เพลงดอกไม้ของชาติ, เพลงหญิง
ไทยใจงาม, เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า, เพลงยอดชายใจหาญและ
เพลงบูชานักรบ

คำร้อง

จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการ
สังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลง
งามแสงเดือน, เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำและเพลงคืน
เดือนหงาย
คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖
เพลง คือเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของ
ชาติ,เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลง
ยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบ

ทำนอง

อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรม
ศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสง
เดือน,เพลงชาวไทย, เพลงรำซิมารำ,เพลงคืนเดือน
หงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติ
ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์
แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวง
จันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญ,และเพลงบูชานักรบ

เครื่องดนตรี

เดิมนั้นรำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง
กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น
จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้โดยใช้วงดนตรี
สากลบรรเลงแทน

เพลงงามแสงเดือน

คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการ

สังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)
เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย
ความหมาย ยามที่แสงจันทร์ส่องมายังโลกทำให้โลกนี้ดูสวยงาม
ผู้คนที่มาเล่นรำวงยามที่แสงจันทร์ส่อง ก็มีความงดงามด้วย การ
รำวงนี้เพื่อให้มีความสนุกสนาน มีความสามัคคีกัน และละทิ้งความ
ทุกข์ให้หมดสิ้นไป

ท่าสอดสร้อยมาลา

มือซ้ายจีบหงายที่ชายพก (ระดับหัวเข็มขัด)
มือขวาตั้งวงสูงระดับหางคิ้ว (ชายตั้งวงระดับ
ศีรษะ) เอียงซ้าย

การก้าวท้าว เริ่มก้าวเท้าซ้ายก่อน โดย
เท้าที่ก้าวกับมือจีบต้องเป็นข้าง
เดียวกัน ให้นับการก้าวเท้า ๘
ครั้งจึงเปลี่ยนมือ ๑ ครั้ง และศีรษะ
เอียงข้างจีบเสมอ

มาเยือนส่องหล้า
เลื่อนมือซ้ายที่จีบให้ห่างออกจากลำตัวเล็กน้อย
แล้วปล่อยจีบเป็นมือแบหงาย มือขวาจีบคว่ำ

งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ(ซ้ำ)
มือซ้ายพลิกข้อมือขึ้นตั้งวง มือขวาเลื่อนวงลง
ข้างลำตัวเล็กน้อย
แล้วเปลี่ยนจากวงเป็นจีบหงายที่ชายพก
เปลี่ยนเป็นเอียงขวา
ทำเช่นนี้สลับกันซ้ายขวา

เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย
หญิงหมุนตัวไปทางด้านซ้ายแล้วเปลี่ยนมือ
คำว่า "เราเล่น" มือซ้ายจีบคว่ำ มือขวาแบมือหงาย
คำว่า "เพื่อสนุก" มือซ้ายยกขึ้นตั้งวง มือขวาจีบ
หงายที่ชายพก
เดินไปครึ่งวงกลม ๔ จังหวะ
คำว่า "ขอให้เล่น" มือขวาจีบคว่ำ มือซ้ายแบมือ
หงาย
คำว่า "ฟ้อนรำ" มือขวายกขึ้นตั้งวง มือซ้ายจีบหงาย
ที่ชายพก

เพลงชาวไทย




คำร้อง : จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรม

ศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)

ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท

ความหมายเพลง : หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกคน

ควรกระทำ อย่าได้ละเลยไปเสีย ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน

ปราศจากทุกข์โศกทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าประเทศไทยเรามีเอกราช ประชาชนมีเสรี

ในการคิดจะทำสิ่งใด ๆ ดังนั้นเราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อ

ไป เพื่อความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นของไทยเราตลอดไป

เนื้อเพลง:ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่

การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้

เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์

เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ

เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเราเอย

ท่าชักแป้งผัดหน้า

จีบมือขวาลักษณะจีบปรกข้างระดับศีรษะ
มือซ้ายวงหน้าอยู่ระดับปาก เอียงขวา

ลดแขนเลื่อนมือขวาลงมาอยู่ระดับอก
ปล่อยจีบเป็นแบมือหงาย มือซ้ายจีบคว่ำ

มือซ้ายเลื่อนมาเป็นจีบปรกข้างด้านซ้าย
ส่วนมือขวาตั้งวงหน้า เอียงซ้าย
ลดแขนเลื่อนมือมาอยู่ระดับอก มือซ้าย
ปล่อยจีบเป็นแบหงาย มือขวาจีบคว่ำ

ทำท่าเช่นนี้สลับไปมาจนจบเพลง
ส่วนเท้าย่ำไปทุกจังหวะของเพลง เปลี่ยน
มือทุกจังหวะที่ ๗

เพลงรำมาซิมารำ


คำร้อง : จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต

กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)

ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท

ความหมายเพลง : ขอพวกเรามาเล่นรำวงกันให้สนุกสนานเถิดในยามว่างเช่นนี้

จะได้คลายทุกข์ ถึงเวลางานเราก็จะทำงานกันจริง ๆ เพื่อจะได้ไม่ลำบาก และ

การรำก็จะรำอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมไทยของเราแล้วจะดู

งดงามยิ่ง

เนื้อเพลง :รำมาซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก

ยามงานเราทำงานกันจริง ๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก

ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์

ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม

เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ

มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย

ท่ารำส่าย

แขนทั้งสองตึงโดยมือซ้ายหงายระดับไหล่
มือขวาคว่ำอยู่ระดับเอว

เท้าก้าวตามจังหวะเมื่อถึงเนื้อเพลงที่ว่า"เล่นอะไรให้มี
ระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ" ให้ฝ่ายหญิงกลับหลัง
หันตามจังหวะเพลง หมุนตัวทางซ้ายเดินเปลี่ยนที่กับฝ่าย
ชายเป็นรูปครึ่งวงกลม เมื่อถึงเนื้อเพลง "มาซิมาเจ้าเอ๋ยมา
ฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย" ให้ฝ่ายหญิงหมุนตัว
กลับหลังหันทางด้านขวา เดินกลับที่เดิม ฝ่ายชายก็เดินตาม
ฝ่ายหญิงต่อ

มือซ้ายวาดแขนลงระดับเอว พร้อมกับพลิกมือขวา
หงายขึ้นระดับไหล่ สลับกันเช่นนี้จนจบเพลง

เพลงคืนเดือนหงาย


คำร้องจมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต

กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)

ทำนองอาจารย์มนตรี ตราโมท

ความหมายเพลงเวลากลางคืน เป็นคืนเดือนหงาย มีลมพัดมาเย็น

สบายใจ แต่ก็ยังไม่สบายใจเท่ากับการ ที่ได้ผูกมิตรกับผู้อื่น และที่

ร่มเย็นไปทั่ว ทุกแห่งยิ่งกว่าน้ำฝนที่โปรยลงมา ก็คือการที่ประเทศไทย

เป็นประเทศที่เป็นเอกราช มีธงชาติไทยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ร่มเย็นทั่วไป

เนื้อเพลง ยามกลางคืนเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพลิ้วปลิวมา

เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา

เย็นร่มธงไทยปกไทยทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย

สอดสร้อยมาลาแปลง

แปลงมาจากท่าสอดสร้อยมาลาในเพลงงามแสงเดือน
ท่าเตรียมโดยยืนเท้าชิดกัน มือซ้ายตั้งวงบน มือขวา
จีบหงายที่ชายพก ศีรษะเอียงขวา พอเริ่มเพลงมือขวา
ที่จีบหงายที่ชายพกโบกขึ้นไปตั้งวงบน โดยไม่ต้อง
สอดหรือม้วนมือ มือซ้ายลดวงลงแล้วพลิกข้อมือเป็น
จีบหงายที่ชายพก เปลี่ยนมาเอียงซ้าย

มือซ้ายยกขึ้นไปตั้งวงบนมือขวาลดวงลงแล้วพลิกข้อ
มือเป็นจีบหงายที่ชายพกเอียงขวทำเช่นนี้สลับกันจน
จบเพลงการก้าวเท้า เริ่มก้าวเท้าขวาตรงคำว่า "คืน"
ก้าวซ้ายตรงคำว่า"เดือน"เท้าขวาวางหลังด้วยจมูกเท้า
ตรงคำว่า"หงาย"เท้าขวาเหยีบหนักลงไปตรงคำว่า
"เย็น"แล้วก้าวซ้ายตรงคำว่า"พระพาย"ก้าวขวาตรงคำ
ว่า"พริ้ว"แล้วเท้าซ้ายวางหลังตรงคำว่า"มา"
เอียงศีรษะข้างมือจีบและเท้าที่วางหลังก็ข้างเดียวกับ
มือจีบเสมอ

เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ

คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง


ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท

ความหมายเพลง : พระจันทร์เต็มดวงที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นช่างดู

สวยงาม เพราะเป็นพระจันทร์ทรงกลด คือมีแสงเลื่อมกระจายออก

รอบดวงจันทร์ทั้งดวง แต่ถึงจะงามอย่างไรก็ยังไม่เท่าความงามของ

ดวงหน้าหญิงสาว ที่ดูผุดผ่องมีน้ำมีนวล อีกทั้งรูปร่างก็ดูสมส่วน

กิริยาวาจาก็อ่อนหวานไพเราะ สมแล้วกับที่เปรียบว่าหญิงไทยนี้คือ

ดอกไม้

เนื้อเพลง :ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภา

ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา

แสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้า

ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย

งามเอยแสงงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย

งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไม

วาจากังวาน อ่อนหวานจับใจ

รูปทรงสมส่วน ยั่วยวนหทัย

สมเป็นดอกไม้ ขวัญใจชาติเอย
ท่าแขกเต้าเข้ารัง , ผาลาเพียงไหล่

ดวงจันทร์ท่าแขกเต้าเข้ารัง มือขวาจีบ
สูง มือซ้ายจีบอยู่ใต้ศอกขวา เท้าซ้าย
แตะเท้าขวา เอียงซ้าย

วันเพ็ญมือซ้ายจีบสูง มือขวาจีบอยู่ใต้ศอกซ้าย เท้าขวา
แตะเท้าซ้าย เอียงขวา

ลอยเด่นใช้เท้าขวาที่แตะหมุนตัวไปทางขวา มือขวาที่จีบอยู่
ใต้ศอกเปลี่ยนเป็นจีบปรกข้าง มือซ้ายที่จีบสูงเปลี่ยนเป็น
ตั้งวง เอียงขวา ก้าวเท้าซ้ายไขว้เท้าขวา

อยู่ในนภาหมุนตัว ถอยเท้าขวาลงวางหลัง หันหน้ากลับที่เดิม
ท่าผาลา มือขวาตั้งวง มือซ้ายแบหงายต่ำระดับเอว เอียงขวา
ใช้เท้าซ้ายแตะเท้าขวา เอียงขวา

ทรงกลดทา่ แขกเต้าเข้ารัง มือซ้ายจีบสูง มือขวาจีบอยู่ใต้ศอก
ซ้าย เท้าขวาแตะเท้าซ้าย เอียงขวา

สดสีมือขวาจีบสูง มือซ้ายจีบอยู่ใต้ศอกขวา
เท้าซ้ายแตะเท้าขวา เอียงซ้าย

รัศมีทอแสงใช้เท้าซ้ายที่แตะหมุนตัวไปทางซ้าย
มือซ้ายที่จีบอยู่ใต้ศอกเปลี่ยนเป็นจีบปรกข้าง
มือขวาที่จีบสูงเปลี่ยนเป็นตั้งวง เอียงซ้าย ก้าวเท้า
ขวาไขว้เท้าซ้าย

งามตาหมุนตัวถอยเท้าซ้ายลงวางหลัง หันหน้า
กลับที่เดิม
ท่าผาลา มือซ้ายตั้งวง มือขวาแบหงายต่ำระดับ
เอว เอียงซ้าย ใช้เท้าขวาแตะเท้าซ้าย เอียงซ้าย




*** ทำท่าเช่นนี้สลับหมุนซ้ายขวา ไปจนจบเพลง

เพลงดอกไม้ของชาติ

คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท
ความหมายเพลง : ผู้หญิงไทยเปรียบเสมือนดอกไม้อันเป็นเอกลักษณ์
ของประเทศไทย การร่ายรำด้วยการแสดงออกอย่างอ่อนช้อย งดงาม
ตามรูปแบบความเป็นไทยแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้าน
วัฒนธรรมของคนไทย นอกจากผูหญิงจะดีเด่นทางด้านความงามแล้ว
ยังมีความอดทน สามารถทำงานบ้าน ช่วยเหลืองานผู้ชายหรือแม้งาน
สำคัญ ๆ ระดับประเทศก็สามารถช่วยเหลือได้เป็นอย่างดีไม่แพ้ผู้ชาย
เนื้อเพลง:(สร้อย)ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาสนวยนาดร่ายรำ(ซ้ำ)

เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์
ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม
(สร้อย)
งานทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชาย
ดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ
รำยั่ว (สร้อย)

มือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวาจีบส่งหลัง เอียงศีรษะ
ด้านเดียวกับวง ชาย-หญิงหันหน้าเข้าหากัน
โดยชายก้าวเท้าขวาออกนอกวงรำก่อนคำร้อง
เล็กน้อย หญิงถอยเท้าขวาออกนอกวงรำเล็ก
น้อย

ก้าวซ้ายเป็นจังหวะที่ ๑ ก้าวขวาเป็นจังหวะที่ ๒
แล้วจรดส้นเท้าซ้ายสองครั้งเป็นจังหวะที่ ๓ และ
๔ เท้าซ้ายถอยหลัง เป็นจังหวะที่ ๕ พร้อมทั้ง
เปลี่ยนเป็นมือขวาตั้งวงต่ำ มือซ้ายจีบส่งหลัง
ศีรษะเอียงขวา รำเช่นนี้ไปจนจบเพลง

หญิงไทยใจงาม

คำร้องท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน

ความหมายดวงจันทร์ที่ส่องแสงอยู่บนท้องฟ้ามีความงดงามมาก และยิ่งได้แสงอัน

ระยิบระยับของดวงดาวด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ดวงจันทร์นั้นงามเด่นยิ่งขึ้น เปรียบ

เหมือนกับดวงหน้าของหญิงสาวที่มีความงดงามอยู่แล้ว ถ้ามีคุณความดีด้วย ก็จะ

ทำให้หญิงนั้นงามเป็นเลิศ ผู้หญิงไทยนี้เป็นขวัญใจของชาติ เป็นที่เชิดหน้าชูตา

ของชาติ รูปร่างก็งดงาม จิตใจก็กล้าหาญ ดังที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ทั่วไป

เนื้อเพลง เดือนพราว ดาวแวววาวระยับ

แสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่น

ดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญ

คุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงาม

ขวัญใจ หญิงไทยส่งศรีชาติ

รูปงามวิลาส ใจกล้ากาจเรืองนาม

เกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคาม

หญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว

พรหมสี่หน้า และ ยูงฟ้อนหาง


ท่าเชื่อมคือมือทั้งสองจีบคว่ำระดับวง
กลางแล้วสอดจีบขึ้นไปตั้งวงบัวบาน
เรียกว่าท่าพรหมสี่หน้า

จากนั้นมือทั้งสองค่อยๆ ลดวงบัวบานลงมา ส่งมือ
ทั้งสองไปด้านหลัง แขนตึงคว่ำมือปลายนิ้วเชิดขึ้น
เป็นท่ายูงฟ้อนหาง แล้วเปลี่ยนเป็นท่าเชื่อมคือจีบ
คว่ำ การก้าวท้าวเช่นเดียวกับเพลง "คืนเดือน
หงาย"

เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า


คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง

ทำนอง : ครูเอื้อ สุนทรสนาน

ความหมายเพลง : ในเวลาค่ำคืนท้องฟ้ามีดวงจันทร์ประจำอยู่ ในใจของ

ชายก็มีหญิงอันเป็นสุดที่รักประจำอยู่เช่นกัน สิ่งที่เทิดทูนยกย่องไว้ก็คือ

ชาติไทยที่เป็นเอกราช มีอิสระแก่ตนไม่ขึ้นกับใคร และสิ่งที่แนบสนิทอยู่ใน

ใจของชายก็คือหญิงอันเป็นสุดที่รัก

เนื้อเพลง : ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่

จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจ

ที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตย

ถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย

ช้างประสานงา และจันทร์ทรงกลด

ท่าเชื่อม มือทั้งสองจีบคว่ำด้านหน้า เอียงซ้าย

จีบมือหงายทั้งสองข้าง เหยียดแขนตึงไป
ข้างหน้าเสมอไหล่เป็นท่า "ช้างประสานงา"

ท่าเชื่อม ปล่อยจีบลงเป็นแบมือหงาย
ปลายนิ้วตกลงอย่างรวดเร็ว

พลิกข้อมือทั้งสองขึ้น เป็นตั้งวงหน้าให้
ปลายนิ้วชี้ขึ้นระดับคิ้ว หย่อนข้อศอกพอ
งามเป็นท่า "จันทร์ทรงกลด"
การก้าวเท้า เช่นเดียวกับเพลงคืนเดือน
หงาย โดยก้าวเท้าขวา ก้าวเท้าซ้าย
แล้วใช้เท้าขวาวางหลัง ก้าวเท้าซ้าย ก้าว
เท้าขวา ใช้เท้าซ้ายวางหลัง ทำเช่นนี้จนจบ
เพลง

เพลงยอดชายใจหาญ


คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง

ทำนอง : ครูเอื้อ สุนทรสนาน

ความหมายเพลง : ขอผูกมิตรไมตรีกับชายผู้กล้าหาญ และจะขอมี

ส่วนในการทำประโยชน์ทำหน้าที่ของชาวไทย แม้จะลำบากยากแค้น

ก็จะขอช่วยเหลือจนเต็มความสามารถ

เนื้อเพลง : โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรี

น้องขอร่วมชีวี กอร์ปกรณีกิจชาติ

แม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตาม

น้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ
ชาย - จ่อเพลิงกาล หญิง - ชะนีร่ายไม้

โอ้ยอดชายใจหาญขอสมานไมตรี

(หญิง) มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายแบหงาย

ระดับไหล่ แล้วพลิกข้อมือเป็นมือตั้ง เปลี่ยน

เป็นมือหงายสลับกันไปตามจังหวะของเพลง

ลักษณะเหมือนรำส่าย เป็นท่า "ชะนีร่ายไม้"

(ชาย) มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบหงายระดับ

ต่ำกว่าวงกลางเล็กน้อย และงอแขนเล็กน้อย

เป็นท่า "จ่อเพลิงกาฬ"

น้องขอร่วมชีวีกอบกรณีย์กิจชาติ
(หญิง) มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาแบหงายระดับ
ไหล่ แล้วพลิกข้อมือเป็นมือตั้ง เปลี่ยนเป็นมือ
หงายสลับกันไป
(ชาย) มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบหงาย ระดับ
ต่ำกว่าวงกลาง
ทำท่าเช่นนี้สลับกันจนจบเพลง ส่วนการก้าวเท้า
จะก้าวเท้าไปเรื่อยๆตามจังหวะของเพลงและเดิน
เบี่ยงตัวออกนอกวงรำ

เพลงบูชานักรบ

คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง

ทำนอง : ครูเอื้อ สุนทรสนาน

ความหมายเพลง : น้องรักและบูชาพี่ เพราะมีความกล้าหาญ เป็นนักสู้ที่

เก่งกล้าสามารถสมกับเป็นชายชาตินักรบที่มีความมานะอดทน แม้ว่าจะยาก

เย็นแสนเข็ญ พี่ก็ต่อสู้จนชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว นอกจากนี้ ยังขยันขันแข็ง

ในงานทุกอย่าง อุตส่าห์สร้างหลักฐานให้มั่นคง และพี่ยังมีความรักในชาติ

บ้านเมืองยิ่งกว่าชีวิต ยอมสละได้แม้ชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อให้ชาติไทยคงอยู่

คู่โลกต่อไป

เนื้อเพลง :น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ

เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบ

น้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทน

หนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบ

น้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการ

บากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ

น้องรักรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต

เลือดเนื้อพี่พลีอุทิศ ชาติยงอยู่ยงอยู่คู่พิภพ

ชาย - จันทร์ทรงกลด และขอแก้ว หญิง - ขัดจางนางและล่อแก้ว

น้องรัก
(หญิง) มือทั้งสองจีบคว่ำ
(ชาย) มือทั้งสองจีบคว่ำระดับวงกลาง

รักบูชาพี่
(หญิง) พลิกข้อมือเป็นจีบหงายไขว้กัน มือขวา
ทับซ้ายอยู่ระดับวงล่าง เอียงขวา
(ชาย) พลิกข้อมือเป็นจีบหงายระดับวงกลาง
งอแขนเล็กน้อย

ที่มั่นคง
(หญิง) สลัดจีบเป็นมือแบหงายปลายนิ้วตก
(ชาย) สลัดจีบเป็นมือแบหงายปลายนิ้วตก ระดับ
วงกลาง

ที่มั่นคงกล้าหาญ
(หญิง)พลิกมือขึ้นตั้งวงล่างมือยังไขว้กันอยู่เอียง
ซ้ายเป็นท่า"ขัดจางนาง"
(ชาย)พลิกมือขึ้นตั้งวงกลางเป็นท่า"จันทร์
ทรงกลด"การก้าวเท้าเท้าขวาก้าวข้างก้าวเท้าซ้าย
ไขว้ ก้าวเท้าขวาแล้วจรดจมูกเท้าซ้ายย่อเข่าลง
จากนั้นเท้าซ้ายก้าวข้างเท้าขวาก้าวไขว้เท้าขวา
จรดจมูกเท้าแล้วย่อเข่าทำเช่นนี้สลับกันตาม
จังหวะจนจบหนึ่งรอบ

น้องรักรักบูชาพี่
เที่ยวที่ ๒ ท่าหญิง"ล่อแก้ว"ท่าชาย"ขอแก้ว"
(หญิง)จังหวะที่๑มือซ้ายเลื่อนขึ้นไปตั้งวงบนมือขวา
จีบล่อแก้วคว่ำแล้วเปลี่ยนเป็นจีบล่อแก้หงายหักข้อ
มือเข้าลำแขนแขนตึงต่ำกว่าไหล่เล็กน้อย
(ชาย)จังหวะที่๑มือซ้ายตั้งวงบนมือขวาช้อนมืหมุน
ข้อมือไปทางนิ้วก้อยแล้วแบมือในลักษณะขอโดยยื่น
มือไปรับแก้วของหญิงแขนงอเล็กน้อย การก้าวเท้า
เหมือนกันโดยเท้าขวาหนักหลังก่อนเริ่มก้าวเท้าซ้าย
ก้าวเท้าขวาเท้าซ้ายวางหลัง

ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ
(หญงิ )จังหวะที่๒ปล่อยจีบล่อแก้วลงเป็นแบมือ
หงายปลายนิ้วตกแล้วยกขึ้นตั้งวงบนมือซ้ายจีบล่อ
แก้วคว่ำระดับวงบนแล้วเปลี่ยนเป็นจีบล่อแก้วหงาย
(ชาย)มือขวาเปลี่ยนไปเป็นตั้งวงบนมือซ้ายแบมือ
ยื่นออกไปรับแก้วของหญิง การก้าวเท้า เท้าซ้าย
หนักหลังก่อน แล้วก้าวเท้าขวา ก้าวเท้าซ้าย เท้า
ขวาวางหลัง

THANK YOU

ครูสอนรำ

ภูษณิศา เศรษฐ์วิชัย

panomkorn1kong1

บ้านรำไทย ดอนเมือง
(www.banramthai.com)


Click to View FlipBook Version