The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชุด2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ชุดฝึกทักษะ

ชุด2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์

คำนำ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา จัดทำขึ้นเพื่อเป็นนวัตกรรมที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ ศ 22103 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้สอดคล้องกับสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการปฏิบัติจริง ผ่านกระบวนการกลุ่ม ซึ่งครูผู้สอนทำหน้าที่ให้คำแนะนำตลอดการจัดการเรียนรู้ ผู้จัดทำได้สร้างชุดฝึกทักษะเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยได้วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ตลอดจนการกำหนดสาระการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาขั้นตอน การใช้ชุดฝึกทักษะก่อนลงมือทำใบงานที่กำหนดไว้ในชุดฝึกทักษะ เรื่องหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์จำนวน 4 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 เรื่อง งานทัศนศิลป์ในการโฆษณา ชุดที่ 2 เรื่อง การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ชุดที่ 3 เรื่อง ทัศนศิลป์ของไทยในแต่ละยุคสมัย ชุดที่ 4 เรื่อง วัฒนธรรมในงานทัศนศิลป์ปัจจุบัน ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์จะเป็นประโยชน์ต่อครู และนักเรียน ตลอดจนถึงผู้ที่สนใจทั่วไป ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งผลให้สาระทัศนศิลป์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ สูงขึ้น ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ทำให้ชุดฝึกทักษะนี้สำเร็จด้วยดี โสพิศ ชาติพันธุ์ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 1 งานทัศนศิลป์ในการโฆษณา ก ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข สารบัญภาพ ง ขั้นตอนการเรียน 1 คำแนะนำสำหรับครู 2 คำแนะนำสำหรับนักเรียน 3 สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด 4 สาระสำคัญ/สาระการเรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้ 5 แบบทดสอบก่อนเรียน 6 กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน 8 ใบความรู้เรื่อง การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ 9 ใบงานที่ 1 เรื่อง หลักการทั่วไปในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ 29 ใบงานที่ 2 เรื่อง การสร้างเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ 30 ใบงานที่ 3 เรื่อง ความสำคัญในการพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ 31 ใบงานที่ 4 เรื่อง การจัดทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์ 32 แบบทดสอบหลังเรียน 33 กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน 35 ข ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


สารบัญต่อ ค เรื่อง หน้า บรรณานุกรม 36 ภาคผนวก 37 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 38 แนวการตอบในงานที่ 1 39 แนวการตอบในงานที่ 2 40 แนวการตอบในงานที่ 3 41 แนวการตอบในงานที่ 4 42 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 43 เกณฑ์การประเมินการทำแบบทดสอบหลังเรียน 44 เกณฑ์การประเมินการทำใบงานแบบฝึกทักษะ 45 ประวัติผู้จัดทำ 46 วิญญูชนควรรู้คุณค่า ของศิลปะ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 ภาพการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ 9 2,3, ภาพศิลปิน 10 5,6,7 ภาพการโฆษณาเพื่อความเข้าใจร่วมกันในสังคม 11 7,8 ภาพการวิจารณ์ผลงาน 12 9,10,11 ภาพการวิจารณ์ผลงาน 13 12,13,14 ภาพนักวิจารณ์เปรียบเหมือนนักคิด 14 15,16 ภาพแสดงรูปแบบการประเมินผลงาน 15 17,18,19 ภาพแสดงการรับรู้ 16 20,21,22,23 ภาพแสดงอารมณ์และความรู้สึก 17 24,25,26 ภาพผลงานทัศนศิลป์ 18 27 ภาพ The Starry Night 19 28,29,30 ภาพแสดงตัวอย่างการสร้างเกณฑ์การประเมิน 20 31,32,33 ภาพแสดงการตัดสินผลงานทัศนศิลป์ 21 34,35 ภาพวาดลัทธิเหมือนจริง 22 36,37 ภาพแสดงความมีเอกภาพ 23 38,39,40,41 ภาพแสดงการพัฒนาผลงาน 25 42,43,44 ภาพแสดงแฟ้มสะสมงาน 26 ง ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


1 ลำดับขั้นตอนการใช้ชุดฝึกทักษะ อ่านคำแนะนำ ทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมการเรียนรู้/ทำใบงาน ทดสอบหลังเรียน ผ่านเกณฑ์ ไม่ผ่านเกณฑ์ ศึกษาชุดฝึกทักษะเล่มต่อไป ขั้นตอนการเรียน ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


คำแนะนำสำหรับครูผู้สอน ชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ นวัตกรรมประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านทัศนศิลป์เพื่อการโฆษณา สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็นกิจกรรมที่ครูผู้สอนมอบหมาย ให้นักเรียนได้ฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ ให้ครูผู้สอนปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ 1. ชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ชุดนี้เป็นนวัตกรรมประกอบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนมอบหมายให้นักเรียนได้ฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ 2. ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการนำชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ไปใช้กับนักเรียน 3. ครูผู้สอนควรชี้แจงจุดประสงค์ในการเรียนรู้ และบอกให้นักเรียนทราบถึงวิธีการเรียน ด้วยชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ก่อนให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ 4. จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสม 5. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนทำใบงาน 6. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ให้เข้าใจก่อนทำใบงาน 7. ในระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมครูผู้สอนควรดูแลนักเรียนและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด สังเกตพฤติกรรมนักเรียน กระตุ้น เสริมแรงนักเรียนอยู่เสมอ และบันทึกผลการทำใบงานภายในชุดฝึก ทักษะ 8. เมื่อนักเรียนทำใบงานเสร็จ ครูควรให้นักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบและอธิบายเพิ่มเติม ชื่นชมนักเรียนที่ให้ความร่วมมือในการใช้ชุดฝึกทุกครั้ง 9. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากทำใบงานเสร็จ 10.ตรวจผลงานการทำชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ และบันทึกคะแนนหลังเรียน เพื่อสังเกตพัฒนาการของนักเรียนทุกครั้ง 2 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


คำแนะนำสำหรับนักเรียน ชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการจัดองค์ประกอบศิลป์สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็นกิจกรรมที่ครูผู้สอนมอบหมายให้นักเรียนได้ ฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียน ปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ 1. อ่านคำแนะนำการใช้ชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ 2. ศึกษาและทำความเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้และจุดประสงค์ การเรียนรู้ 3. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 4. ศึกษาใบความรู้ให้เข้าใจก่อนทำใบงาน 5. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนทำใบงาน 6. ลงมือใช้ชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ให้เสร็จทีละกิจกรรม 7. เมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัย มีปัญหาเกี่ยวกับการทำใบงานในชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมิน และวิจารณ์งานทัศนศิลป์ให้นักเรียนสอบถามจากครูผู้สอนทันที 8. เมื่อนักเรียนทำใบงานครบ ควรแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมกันเฉลยคำตอบพร้อมกับเพื่อน ในชั้นเรียน ฟังครูอธิบายเพิ่มเติม 9. ทำแบบทดสอบหลังเรียน 10.ส่งผลงานการทำชุดฝึกทักษะ ชุดที่ 2 เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์เพื่อให้ครูตรวจ และบันทึกคะแนน 11.ในระหว่างทำใบงานนักเรียนควรให้ความร่วมมือ ตั้งใจ และตรงต่อเวลาเสมอ 3 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐาน ศ 1.1สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องาน อย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ม.2/4 สร้างเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ม.2/5 นำผลการวิจารณ์ไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางาน มาตรฐานการเรียนรู้ 4 สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


สาระสำคัญ/สาระการเรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์(K1) 2. สามารถสร้างเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์(P3) 3. การมีเจตคติที่ดี การเห็นคุณค่าของงาน และการเรียนอย่างมีความสุข (A3) สาระการเรียนรู้ 1. หลักการทั่วไปในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ 2. การสร้างเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ 3. ความสำคัญในการพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ 4. การจัดทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์ 5 สาระสำคัญ การประเมินและวิจารณ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาสาระทัศนศิลป์เพราะช่วยสะท้อนทัศนะ ความรู้สึกความคิดเห็นที่ผู้ชมมีต่อผลงาน ที่ตนได้พบเห็นแต่การประเมินและวิจารณ์ที่มีคุณประโยชน์ช่วยส่งเสริม ความก้าวหน้าให้แก่วงการศิลปะจะต้องมีการสร้างเป็นเกณฑ์ที่ตรงตามหลักการ มีความถูกต้องและเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ ข้อมูลที่เป็นผลจากการวิจารณ์ผู้สร้างสรรค์ต้องเปิดใจให้กว้างแล้วเก็บเอาสาระที่เป็นประโยชน์นำไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนา ผลงานของตนให้มีความก้าวหน้านอกจากนี้ผลงานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้นควรรวบรวมมาทำเป็นแฟ้มสะสมผลงาน เพื่อจะได้เห็นพัฒนาการในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของตนได้ง่ายขึ้น ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องทักษะทัศนศิลป์ ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ คำชี้แจง 1. แบบทดสอบก่อนเรียนมีจำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน 2. ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวโดยทำเครื่องหมาย กากบาท ( x ) ในช่องข้อ ก, ข, ค, หรือ ง ในกระดาษคำตอบ 1. เหตุผลที่ถือว่าผลงานทัศนศิลป์เป็นภาษาสากลในวงการศิลปะเนื่องจากสิ่งใด ก. ภาพถือเป็นสัญลักษณ์ทางภาษา ข. ผู้ชมเข้าใจความหมายได้ตรงกัน ค. การวาดภาพเหมือนการเขียนได้ตรงกัน ง. ภาพใช้สื่อความแทนคำพูด 2. การประเมินงานทัศนศิลป์ด้านการรับรู้ มุ่งเน้นการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องใด ก. เนื้อหาและเรื่องราว ข. ความงามและคุณค่า ค. ความคิดและจินตนาการ ง. ทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ 3. การวิจารณ์เพื่อประเมินงานทัศนศิลป์ควรคำนึงถึงเรื่องใด ก. การใช้คำพูดอธิบายเหตุผล ข. ความรู้สึกพึงพอใจของศิลปิน ค. พื้นฐานงานศิลปะของผู้ชม ง. ความตื่นเต้นเร้าใจของผู้ชม 4. เกณฑ์การวิจารณ์งานทัศนศิลป์ประเด็น “หลักความลึกล้ำ”หมายถึงสิ่งใด ก. ความรู้สึกที่ได้รับจากผลงาน ข. ความมุ่งมั่นภายใน ค. การจัดองค์ประกอบศิลป์ ง. ฝีมือหนักแน่นมั่นคง 5. ข้อใดไม่ใช่วงจรการประเมินและวิจารณ์ ก. ศิลปิน ข. ผลงาน ค. ผู้ชม ง. สื่อมวลชน 6 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


6. ข้อใดไม่ใช่หลักการประเมินและวิจารณ์ ก. วงจรการประเมินและวิจารณ์ ข. ภาษากับการวิจารณ์ ค. การตีค่าตีราคา ง. ความคิดเชิงตึความ 7. ส่วนใดของแฟ้มสะสมผลงานที่สามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาตนเองในอนาคตได้ ก. วัตถุประสงค์ ข. รายละเอียดของชิ้นงาน ค. วิธีปฏิบัติงาน ง. เกณฑ์ประเมิน 8. แนวทางการประเมินผลงานในข้อใดถูกต้องที่สุด ก. กิจชัย ใช้พื้นฐานความรู้ของตนเองมาเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลงาน ข. สุนันทา ประเมินผลงานทัศนศิลป์จากภาพรวมของผลงานแต่ละประเภท ค. นพวรรณ กำหนดหลักการและตัวบ่งชี้ของผลงานขึ้นมาก่อนที่จะประเมิน ง. นันทพร ประเมินผลงานตามแนวทางที่เคยเรียนรู้มาจากศิลปินที่ตนชื่นชอบ 9. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ ก. ตัวอักษรมีบทบาทสำคัญ ข. ความมีเอกภาพ ค. ความลึกล้ำ ง. ความเข้มข้น 10. การวิจารณ์ผลงานศิลปะในข้อใดที่ใช้คำกล่าวที่ไม่เหมาะสม ก. ผลงานแสดงถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย ข. ผลงานมีการออกแบบได้อย่างดีเยี่ยม ค. ผลงานต้องให้ผู้ชมตีความได้ง่ายขึ้น ง. ผลงานไม่ควรค่าแก่การชื่นชมแต่อย่างใด 7 ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิด สร้างสรรค์ของมนุษย์ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องทักษะทัศนศิลป์ ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ชื่อ-สกุล…………………………………………………………………………..ชั้น…………………..…….เลขที่……………… ข้อ ก ข ค ง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 คะแนนที่ได้ 8 ความซื่อสัตย์เป็นสมบัติของผู้ดี ตรองดูสิทุกคนก็มีหัวใจ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ใบความรู้เรื่องการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ การประเมินและวิจารณ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาสาระทัศนศิลป์เพราะช่วยสะท้อนทัศนะ ความรู้สึกความคิดเห็นที่ผู้ชมมีต่อผลงาน ที่ตนได้พบเห็นแต่การประเมินและวิจารณ์ที่มีคุณประโยชน์ช่วย ส่งเสริมความก้าวหน้าให้แก่วงการศิลปะจะต้องมีการสร้างเป็นเกณฑ์ที่ตรงตามหลักการ มีความถูกต้องและ เป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ข้อมูลที่เป็นผลจากการวิจารณ์ผู้สร้างสรรค์ต้องเปิดใจให้กว้างแล้วเก็บเอาสาระที่เป็น ประโยชน์นำไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนาผลงานของตนให้มีความก้าวหน้านอกจากนี้ผลงานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ ขึ้นนั้นควรรวบรวมมาทำเป็นแฟ้มสะสมผลงานเพื่อจะได้เห็นพัฒนาการในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของ ตนได้ง่ายขึ้น ภาพที่ 1 ภาพการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ที่มา : https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS_7fA-gtuHk17q-Ui2ZvbP9 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


1. หลักการทั่วไปในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ปัจจุบันแนวคิดและค่านิยมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการ รับเอาวิทยาการของโลกตะวันตกมาใช้ ส่งผลให้การศึกษาศิลปะวิทยาการมีระบบระเบียบเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง วิธีการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในหัวข้อเกี่ยวกับการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ ได้รับการกำหนดไว้ใน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละระดับอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย ในระดับชั้นที่ผ่านมาผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่าการวิจารณ์ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่ง หนึ่งสิ่งใดตามความรู้ความเข้าใจศัพท์จากประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อสิ่งที่ พบเห็นไม่ว่าจะเป็นการชื่นชมหรือการชี้แนะต่อผลงานนั้น ทั้งนี้การวิจารณ์จะต้องมีเหตุมีผล เพื่อมุ่งหวัง ปรับปรุงผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์นั้นๆให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยสุจริตใจและต้องมีคุณภาพ ดังนั้นการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการพูดการเขียนหรือการแสดงออกทางความคิด เกี่ยวกับการประเมินและการวิจารณ์งานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรจะต้องฝึกฝนสร้าง ความคุ้นเคยกับการประเมินและการวิจารณ์ ตั้งแต่ในชั้นเรียนด้วยกัน ลงมือปฏิบัติและสั่งสมประสบการณ์ ตรงในการสร้างสรรค์ผลงานประเมินงานและวิจารณ์งานพร้อมๆกันไป โดยมีหลักการที่พึงทำความเข้าใจ ดังนี้ 1.1 วงจรการประเมินและวิจารณ์ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์จะต้องรับรู้ถึงองค์ประกอบหรือ วงจรที่เกี่ยวข้องกับการวิจารณ์ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องดังนี้ 1. ศิลปิน เป็นผู้ทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลงานสร้างสินขึ้นมาด้วยความตั้งใจตามความคิดจินตนาการ และทักษะของตนโดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของใคร ภาพที่ 2,3, ภาพศิลปิน ที่มา : https://www. google.com/search?q= 10 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


รวมทั้งศิลปินจะต้องมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า “พรสวรรค์” ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ของตนเองออกมาเป็นภาษาทางทัศนศิลป์ ประการสำคัญ คือ ศิลปินจะต้องเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์ที่กว้างขวาง มีความเข้าใจในชีวิตมนุษย์และปรัชญาการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 2. ผลงาน คือ รูปแบบของผลงานทัศนศิลป์ที่ศิลปินใช้เป็นเสมือนหนึ่งภาษา หรือสื่อกลางที่จะ ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ความรู้สึกของตนเองออกมา ซึ่งภาษาทางทัศนศิลป์เป็นภาษาที่เกิดจาก การมองเห็นหรือจากการสัมผัสด้วยตา ทั้งนี้ ทัศนธาตุเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เห็นได้จากงานทัศนศิลป์ ซึ่งลักษณะของทัศนธาตุมีหลาย แบบแต่ละแบบก็จะสะท้อนให้เห็นถึงความหมายที่ถูกถ่ายทอดออกมา ภาพที่ 4,5,6 ภาพผลงานทัศนศิลป์ ที่มา : https://mgronline.com/china/photo-gallery/9590000110269 11 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


3. ผู้ชม คือ ส่วนของผู้ชมที่ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ แต่เป็นผู้รับรู้ภาษาที่ศิลปินใช้ใน การสื่อความหมาย ผู้ชมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์เกิดคุณค่า มี ความหมายมีความสมบูรณ์ครบวงจร ผลงานทัศนศิลป์ใดถ้าขาดผู้ชมแล้ว ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบของการ ประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ผู้ชมหมายรวมไปถึงนักวิจารณ์ศิลปะด้วย เพราะจะต้องเป็นผู้ตัดสิน หรือ วิพากษ์ วิจารณ์ แสดงถึงความชอบและไม่ชอบของตนเอง โดยใช้วิธีการพูดวิจารณ์ การเขียนวิจารณ์ทางใด ทางหนึ่ง หรือ 2 ทางพร้อมๆ กันไป 1.2 ภาษากับการวิจารณ์ การวิจารณ์งานทัศนศิลป์นั้น ผู้ชม หรือนักวิจารณ์จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการถอดรหัส และแปลความหมายเนื้อหาของผลงานซึ่งเป็น “ภาษาภาพ” ออกมาเป็น “ภาษาเขียน” หรือ “ภาษาพูด” โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานทัศนศิลป์ที่มีความซับซ้อนและมีการผสมผสานเทคนิควิธีการต่างๆ จนไม่สามารถ มองเห็นภาพและเรื่องราวอย่างเป็นจริงได้ ในการนี้นักวิจารณ์จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจภาษาภาพที่ เกิดขึ้นจากการใช้ทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน - แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว และสี รวมทั้งไวยากรณ์ทางทัศนศิลป์ หรือหลักการทัศนศิลป์ ได้แก่ เอกภาพ ความสมดุล จังหวะ จุดสนใจ ความกลมกลืน ความขัดแย้ง และสัดส่วน เพื่อแปลความ ภาพที่ 7,8 ภาพการวิจารณ์ผลงาน ที่มา : https://www.google.com/search?rlz=1C1ONGR_enTH984TH996&source=univ&tbm 12 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ภาษาภาพ หรือภาษาทัศนศิลป์ที่มีลักษณะเฉพาะและมีเนื้อหาที่เน้นในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ของศิลปินที่แฝงอยู่ การบรรยาย การพรรณนา และการวิเคราะห์ นักวิจารณ์จะต้องจับความหมายและ คุณค่าที่แฝงอยู่ภายในผลงาน แล้วถ่ายทอดเป็นภาษาที่ผู้ชมรับรู้ทำความเข้าใจได้ง่าย นักวิจารณ์ทัศนศิลป์ จะต้องถ่ายทอดทัศนะของตนเองสู่ผู้อื่นผ่านทางวิธีการและภาษา ตามความถนัดและความสามารถ แต่พลัง ของภาษาในการสื่อความคิดทางศิลปะ อาจจะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น การพูดวิจารณ์ ผู้วิจารณ์มักใช้ ภาษาที่ยากเกินไป ใช้ภาษาสแลง ภาษาสูง มีศัพท์ทางทัศนศิลป์มาก หรือใช้ภาษาที่ไม่สอดคล้องกับภาษา ภาพ เป็นการพูดแบบเลื่อนลอย ขาดจินตนาการที่เข้าถึงภาษาภาพนั้นจริงๆ เป็นต้น ทั้งนี้ ภาษาสำหรับการวิจารณ์ ควรได้รับการพัฒนาเพื่อสื่อความให้ได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะภาษาไทย อาจมีข้อจำกัดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของความคิดของศิลปิน เช่น ผลงานแบบนามธรรม ที่ไม่ แสดงรูปรักทางธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา แต่ใช้ทัศนธาตุล้วนๆ เป็นองค์ประกอบของผลงาน การจะ วิจารณ์ผลงานรูปแบบดังกล่าวให้ได้ผล จะต้องอ่านภาษาจากทัศนธาตุเหล่านั้นให้ออก แล้วเลือกใช้ภาษาพูด และภาษาเขียนในการอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ เป็นต้น ภาพที่ 9,10,11 ภาพการวิจารณ์ผลงาน ที่มา : https://www.google.com/search?rlz=1C1ONGR_enTH984TH996&source=univ&tbm 13 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


นอกจากนี้ นักวิจารณ์ต้องพัฒนาทักษะและความสามารถของตนให้เป็นที่ยอมรับของสังคม มีความเป็นกลางและมีความเที่ยงธรรมต่อผลงานศิลปะทุกรูปแบบและศิลปินทุกคน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้สร้างสรรค์ผลงาน รู้จักวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นฐานของงานที่แตกต่างกัน ไม่สนใจเฉพาะในงาน ทัศนศิลป์ที่ตนถนัดเท่านั้น แต่ให้ความสนใจวิทยาการแขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ด้วย เช่น ประวัติศาสตร์ศิลป์ สุนทรียศาสตร์ องค์ประกอบศิลป์ เป็นต้น เพื่อให้สามารถรับรู้ถึงความสัมพันธ์ที่ เชื่อมโยงระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ กับทัศนศิลป์ นักวิจารณ์ควรมีคุณสมบัติเป็นนักคิด นักค้นคว้าและสนใจในสิ่งใหม่ๆ และรู้จักไฝ่ศึกษาหา ความรู้อยู่เสมอๆ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ได้อย่างลุ่มลึกขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวิจารณ์โดยกล่าว อ้างถึงความรู้สึกส่วนตัวแต่เพียงอย่างเดียว จะมีความเลื่อนลอยและไร้เหตุผล ไม่ช่วยให้เกิดความน่าสนใจ เกิดหรือเกิดความหมายในแง่มุมที่ต่างออกไปจากเดิม ภาพที่ 12,13,14 ภาพนักวิจารณ์เปรียบเหมือนนักคิด ที่มา : https://www.http://designanddigitalmedia237218.blogspot.com/ 14 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


1.3 การประเมินงานทัศนศิลป์ การประเมินในความหมายทางทัศนศิลป์ หมายถึง การประเมินคุณค่า หรือการตัดสินคุณค่า โดยผู้ ประเมินจะต้องมีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ในหลักการสังเกตและการให้เหตุผล ทั้งนี้ ถ้าผู้ประเมินไม่ตัดสิน คุณค่าของผลงานที่ตนประเมิน ถือว่าผู้ประเมินนั้นหนึ่งทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ การประเมินเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาผลงานทัศนศิลป์ทั้งด้านเนื้อหา คุณค่าทางความคิด สร้างสรรค์ การสื่อความหมาย การแสดงออก วิธีการและเทคนิค การจัดองค์ประกอบ และลายประณีต ต่างๆ โดยการประเมินงานทัศนศิลป์อาจทำเพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่าง เช่น ประเมินเพื่อชื่นชม ประเมิน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงาน หรือประเมินเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวของผลงานนั้นๆ เป็นต้น ด้วยเหตุที่ธรรมชาติในการประเมินจะมีความละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อน รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับ ศาสตร์หลายด้าน ผู้ประเมินผลงานจึงต้องมีความรอบคอบและใช้องค์ความรู้ทางทัศนศิลป์มาประกอบในการ แสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปทรง เนื้อหาและเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดผ่านตัวผลงานเองก็ตาม ทั้งนี้ การให้ผู้ชม หรือนักวิจารณ์ได้ฝึกฝนวิธีการวิจารณ์ประเมินผลงานทัศนศิลป์อยู่เสมอๆ จะช่วยพัฒนาทักษะ ประสบการณ์ได้ดีขึ้น รูปแบบการประเมินได้รับการพัฒนาเทคนิคการประเมินให้ก้าวหน้าขึ้นมาก โดยเฉพาะแนวทางการ ตัดสินคุณค่าของผลงานภายใต้บริบทของสังคมวัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการจะนำ เทคนิคและวิธีการประเมินคุณค่าแบบใดแบบหนึ่งมาใช้ ผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ดังนี้ ภาพที่ 15,16 ภาพแสดงรูปแบบการประเมินผลงาน ที่มา : https://www.google.com/search?rlz=1C1ONGR_enTH984TH996&source 15 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


1. การประเมินเพื่อความชื่นชม เป็นการประเมินคุณค่าผลงานทัศนศิลป์ โดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว โดยมุ่งเน้นการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณค่าให้ผู้อื่นรับรู้ หรือแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างกัน ไม่ได้หวังให้ เกิดผลต่อผลงานทัศนศิลป์นั้นมากนัก 2. การประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงาน เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์ โดย อาศัยเกณฑ์ หรือหลักการประเมิน ควบคู่ไปกับการวิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เช่น การวิจารณ์ทัศนศิลป์ในชั้นเรียนระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียน เป็นต้น การประเมินคุณค่าตามหัวข้อนี้ ผู้ ประเมินคาดหวังให้ได้ประโยชน์จากการประเมินในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา ผลงานทัศนศิลป์ให้เจริญก้าวหน้าและสมบูรณ์มากขึ้น 1.4 หลักในการประเมินงานทัศนศิลป์ หลักในการประเมินผลงานทัศนศิลป์จะมีอยู่หลายรูปแบบและหลายทฤษฎีด้วยกัน สำหรับใน ระดับชั้นนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ และรู้วิธีการประเมินที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนนัก จึงขอยกตัวอย่าง วิธีการประเมิน เพื่อพัฒนาผลงานทัศนศิลป์แบบง่ายๆ ซึ่งแบ่งประเด็นในการประเมินออกเป็น 3 ด้าน ด้วยกัน คือ 1. ด้านคุณสมบัติ จะใช้ข้อความบรรยายที่ให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติย่อยๆ ดังนี้ 1.1 การรับรู้ ได้แก่ ทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์โดยอ้างอิงถึง จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน-แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว สี เอกภาพ ความสมดุล จังหวะ จุดสนใจ ความกลมกลืน ความ ขัดแย้งไม่ได้สัดส่วน ภาพที่ 17,18,19 ภาพแสดงการรับรู้ ที่มา : https://www.google.com/search?rlz=1C1ONGR_enTH984TH996&source= 16 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


1.2 เนื้อเรื่อง ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ภายในผลงานทัศนศิลป์ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็น ที่อยู่อาศัยอาคารบ้านเรือน ผู้คน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาว ทุ่งหญ้า ทะเล เป็นต้น 1.3 ความรู้สึกเชิงกายภาพ เช่น ความนุ่มนวล ความแน่นขนัด ความสนุกสนาน เป็นต้น 1.4 อารมณ์ความรู้สึก ตัวอย่างการใช้คำบรรยาย เช่น สีที่ดูแล้วช่วยทำให้เกิดอารมณ์ที่เคร่งขรึม ภาพก่อนเมฆที่ดูนุ่มราวกับปุยนุ่น ทะเลทรายที่อ้างว้างโดดเดี่ยว เป็นต้น 1.5 อ้างอิงรูปแบบ กล่าวถึงรูปแบบที่ศิลปินใช้ เช่น แบบนามธรรม แบบเหนือจริง แบบไร้วัตถุ วิสัย แบบบาศกนิยม เป็นต้น ภาพที่ 20,21,22,23 ภาพแสดงอารมณ์และความรู้สึก ที่มา : https://www.google.com/search?rlz=1C1ONGR_enTH984TH996&source 17 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


2. ด้านความคิดเชิงตีความ สามารถจะพิจารณาประเมินตามคุณสมบัติย่อยๆ ดังนี้ 2.1 การเปรียบอุปมาอุปไมย โดยใช้การบรรยายที่ช่วยทำให้เกิดภาพพจน์ เช่น เห็น กลุ่มเมฆปกคลุมทั่วไป ดูเลือนราง ให้ความรู้สึกว่ากำลังล่องลอยอยู่ในความฝัน หรืออาจทำให้นึกถึงเรื่องราว ที่กล่าวถึงดินแดนเทพนิยาย 2.2 วิเคราะห์ถึงความคิดและเจตนารมณ์ เป็นการวิเคราะห์ความคิดในการสร้างสรรค์ ผลงานของศิลปิน เช่น สื่อถึงชีวิตที่เงียบสงบในชนบท ต้องการสะท้อนปัญหาความแตกแยกของผู้คน เป็นต้น 3. ด้านการประเมินผล จะต้องสรุปการประเมินโดยกำหนดคุณสมบัติย่อย ดังนี้ 3.1 ระบุการตัดสินใจเลือก ใช้ข้อความที่แสดงความพึงพอใจหรือไม่พอใจ หรือใช้ภาษาที่ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าชอบหรือไม่ชอบผลงานนั้น 3.2 เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ให้ใช้ข้อความที่บ่งบอกได้ว่าผู้ประเมินมีทัศนะอย่างไรกับ คุณสมบัติหรือคุณค่าที่พบเห็นในผลงานทัศนศิลป์นั้น ในเชิงที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย 3.3 คุณค่าของผลงาน ให้กล่าวถึงคุณค่าของผลงานตามมุมมองของตน เช่น ดีเยี่ยมกล้า คิดกล้าแสดงออก มีความแปลกใหม่ใช้เทคนิคที่ล้ำสมัย เป็นต้น ภาพที่ 24,25,26 ภาพผลงานทัศนศิลป์ ที่มา : https://www.google.com/search?source 18 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


เพื่อให้เข้าใจวิธีการประเมินตามประเด็นข้างต้น จึงขอยกตัวอย่างการประเมินผลงาน ทัศนศิลป์มาให้เห็นเป็นแบบอย่าง ดังนี้ ตัวอย่างการประเมินผลงาน ชื่อภาพ The Starry Night (ค.ศ.1889) ศิลปิน ฟินเซนต์ วิลเลียม ฟานก๊อกฮ์ (Vincent WillemVan Gogh) ภาพที่ 27 ภาพ The Starry Night ที่มา : https://www.google.com/search?source ด้านคุณสมบัติ การรับรู้ มีการใช้ทัศนธาตุที่เป็นเส้นในลักษณะต่างๆ เช่น เส้นโค้ง เส้นคต เส้นนอน เส้นเฉียง และใช้สี น้ำเงิน สีดำ สีเขียว สีฟ้า สีเหลือง และสีขาว เป็นงานจิตรกรรมที่ใช้เทคนิคระบายสีอย่างฉับไว เนื้อเรื่อง มีการเขียนภาพหมู่บ้าน โบสถ์ ต้นไม้ ภูเขา ท้องฟ้า กลุ่มเมฆ ดวงดาว และดวงจันทร์ ความรู้สึกเชิงกายภาพ ผลงานสะท้อนความหนักแน่น แข็งแรง อารมณ์ความรู้สึก เส้นและการแสดงออกมีความเคลื่อนไหวน่ากลัว อึดอัด ตื่นเต้น อ้างอิงรูปแบบ เป็นผลงานจิตรกรรมแนวเหนือจริง ด้านความคิดเชิงตีความ การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย เป็นภาพกลางคืนที่ชวนให้ฝันถึงดินแดนในจินตนาการ ความคิดและเจตนารมณ์ ต้องการสื่อถึงความงามของทิวทัศน์ท้องฟ้าในยามค่ำคืน ด้านการประเมินผล การตัดสินใจเลือก ชอบผลงานชิ้นนี้ดูแล้วให้ความรู้สึกน่ากลัวชวนคิดฝันให้เกิดจินตนาการต่างๆ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับคุณค่าที่นำเสนอผ่านทัศนธาตุและการแสดงออก คุณค่าของผลงาน ศิลปินมีความกล้าตัดสินใจในการคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ผลงานมีความแปลกตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใช้วิธีการเขียนภาพด้วยเส้น สี เพื่อสื่อเรื่องราว กล่าวโดยสรุปภาพ The Starry Night หรือราตรีประดับดาว เป็นภาพที่แสดงให้เห็นความ เคลื่อนไหวของรอยแปลงทิศทางกลมกลืนกับขอบท้องฟ้าตัดกับต้นสนระยะใกล้ มีแสงสะท้อนของหลังคาบ้าน และโบสถ์ ส่วนบรรยากาศบริเวณระยะไกลสุดของภาพ แสดงให้เห็นดวงดาวที่มีแสงระยิบระยับ สีของภาพ ค่อนข้างรุนแรง แต่ก็สดใส สะท้อนอารมณ์ของศิลปินในขนาดนั้น เป็นภาพที่แสดงความขัดแย้งระหว่าง ความรู้สึกของตนเองและความเป็นจริงในโลกที่ฟินเซนต์ วิลเลียม ฟานก๊อกฮ์ ต้องการ 19 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


2. การสร้างเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ เกณฑ์ คือ หลักที่กำหนดไว้ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยในการประเมินและการวิจารณ์ งานทัศนศิลป์ให้มีความกระจ่างชัด และให้ผลของการประเมินและวิจารณ์เป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ เพราะโดย ธรรมชาติการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในแต่ละประเภท จะมีอิสระทางด้านความคิดการแสดงออก ตลอดจนเทคนิคและวิธีการซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์แต่ละคนที่จะถ่ายทอดลงไปใน ผลงานทัศนศิลป์ ดังนั้น การจะสร้างเกณฑ์การประเมินและการวิจารณ์คุณค่าผลงานข้างต้นให้มีความสอดคล้องกับ ลักษณะของผลงานแต่ละแบบ จึงเป็นเรื่องที่กระทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ประเมินและผู้วิจารณ์จะใช้พื้น ฐานความรู้หรือทัศนคติของตนเองมาเป็นเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ไม่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ผลงานทัศนศิลป์ประเภทต่างๆ มีรูปแบบ (From) เนื้อหา (Content) เทคนิควิธีการที่เป็นคุณลักษณะ เฉพาะตัวทางด้านรูปธรรม (Realist) และนามธรรม (Abstract) ผสมผสานอยู่ ดังนั้น การที่จะประเมิน และวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีความรอบคอบและสร้างเกณฑ์ให้มีความเชื่อมโยง กัน ดังนี้ 2.1 เกณฑ์การประเมินผลงานทัศนศิลป์ เกณฑ์การประเมินผลงานทัศนศิลป์ ต้องมีการกำหนดหลักการและตัวบ่งชี้ หรือดัชนีที่แสดงให้เห็น ถึงจุดเด่นจุดด้อย ตลอดจนความมีชีวิตชีวาของผลงาน ซึ่งเกณฑ์ที่อาจนำมาใช้พิจารณาคุณค่าของผลงาน ทัศนศิลป์จะประกอบไปด้วย 1. มีการใช้เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเหมาะสม เช่น การลงมือปฏิบัติด้วยวิธีการ ใดวิธีการหนึ่ง หรือการใช้วัสดุที่แตกต่างกัน เป็นต้น (มาก/ปานกลาง/น้อย) ภาพที่ 28,29,30 ภาพแสดงตัวอย่างการสร้างเกณฑ์การประเมิน ที่มา : https://www.google.com/search?q= 20 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


2. มีความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเหมาะสม เช่น การใช้สื่อวัสดุ หรือวิธีการใหม่ๆ ที่ได้มี การทดลองทำหรือศึกษามาก่อน เป็นต้น (มาก/ปานกลาง/น้อย) 3. มีการจัดภาพตามหลักการทางศิลปะอย่างเหมาะสม เช่น การใช้เส้น สี รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ำหนักอ่อน-แก่ จังหวะและจุดสนใจ สัดส่วน เอกภาพ เป็นต้น (มาก/ปานกลาง/น้อย) 4. มีการพัฒนาผลงานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น หมายถึง การปรับปรุงผลงานและ ความก้าวหน้าในการทำงาน (มาก/ปานกลาง/น้อย) 5. มีการนำหลักการทางศิลปะมาใช้ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม เช่น การใช้เส้น สี แสง เรื่องราว การจัดองค์ประกอบ การเน้นให้เกิดความเด่น เป็นต้น (มาก/ปานกลาง/ น้อย) 6. มีความประณีตของผลงานที่กระทำอย่างเหมาะสม เช่น ความเรียบร้อยของผลงาน ภาพรวม ของการนำเสนอของผลงาน การใช้เทคนิคในการนำเสนอ เป็นต้น (มาก/ปานกลาง/น้อย) 7. มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเหมาะสม คือ เรื่องราวที่นำเสนอในผลงานตรงกับ จุดประสงค์ที่ต้องการถ่ายทอด (มาก/ปานกลาง/น้อย) ภาพที่ 31,32,33 ภาพแสดงการตัดสินผลงานทัศนศิลป์ ที่มา : http://www.mamaexpert.com/posts/content-5548 21 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


การเรียนรู้และการประเมินผลงานทัศนศิลป์ จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจต่อผลงานศิลปะ ซึ่งมีส่วน สำคัญต่อการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ผลงาน สามารถที่จะพูด อธิบาย โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และตัดสินประเมินงานศิลปะได้อย่างถูกต้องตามหลักการ ในการถ่ายทอดทัศนะของผู้ประเมินงานทัศนศิลป์ที่มีคุณภาพและจะได้รับการยอมรับนั้น ผู้ประเมิน จะต้องอธิบายได้ว่า ศิลปินประสงค์จะสื่ออะไรออกมา เช่น การนำเสนอตามลัทธิเหมือนจริง (Lmitationalism) ศิลปินจะมุ่งเน้นการนำเสนอความเป็นจริงให้ ปรากฏในผลงานของตน ดังนั้น ลักษณะการถ่ายทอดเนื้อหาส่วนใหญ่จึงใช้วิธีวาดภาพที่เน้นความเหมือนจริง ทั้งสี แสง เงาและระยะ การนำเสนอตามหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (Composition) ศิลปินจะมุ่งเน้นการนำเสนอภาพ ตามหลักการทางทางศิลปะในผลงานของเขา เช่น การจัดวางส่วนต่างๆในภาพให้มีความขัดแย้งกัน ทั้งใน เรื่องของสี แสง การจัดวางแบบสลับตำแหน่ง โดยเน้นถึงความเป็นเอกภาพ เป็นต้น การนำเสนอเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึก ศิลปินจะมุ่งเน้นการนำเสนอภาพ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิด อารมณ์และความรู้สึกร่วมไปตามจุดประสงค์ของตน เช่น ความอ้างว้าง ความลึกลับ ความน่าสะพรึงกลัว เป็นต้น ทั้งนี้ การประเมินถึงความเหมาะสมที่กำหนดเกณฑ์ไว้ว่ามาก ปานกลาง หรือน้อยนั้น การประเมิน จะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดที่จะต้องอธิบายคุณค่าของผลงาน รูปแบบ เนื้อหา และเทคนิควิธีการให้ชี้ เฉพาะเจาะจงลงไป กล่าวคือ มาก ควรมีระดับความสมบูรณ์ ครบถ้วนในแต่ละด้านมากที่สุด ปานกลาง ควรมีระดับที่รองลงมา และน้อย ควรมีระดับน้อยที่สุด ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกำหนดขึ้นมาโดย ครูผู้สอนก็ได้ ภาพที่ 34,35 ภาพวาดลัทธิเหมือนจริง ที่มา : https://themomentum.co/new-objectivity-art/ 22 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


2.2 เกณฑ์การวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ เกณฑ์ หรือหลักที่กำหนดไว้เพื่อใช้ประกอบการวิจารณ์และแสดงความคิดเห็นด้วยการพูดและการ เขียนเกี่ยวกับผลงานทัศนศิลป์ ได้เข้ามาพร้อมกับวิทยาการแผนใหม่จากตะวันตกเมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย เนื่องจากยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก โดยเฉพาะ เกี่ยวกับหลักการและเกณฑ์ของการวิจารณ์ที่จะต้องให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ในระดับชั้นนี้อาจจะใช้ เกณฑ์การวิจารณ์ที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่น ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์อย่างมีจุดมุ่งหมาย นำมาปรับใช้กับการ วิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์โดยทั่วไป โดยจะพิจารณาถึงประเด็นที่จะนำมาใช้ในการวิจารณ์ ดังนี้ 1. หลักของเอกภาพ ได้แก่ การบรรยายและตีความงานทัศนศิลป์ในแง่มุมของผลงานว่าสร้างขึ้น อย่างเป็นระบบหรือไม่ สอดคล้องกับรูปแบบ หรือโครงสร้างของตัวผลงานเองหรือไม่ ในเกณฑ์ข้อนี้ สิ่งที่ ต้องพิจารณา ได้แก่ ความสัมพันธ์และความครบถ้วนในผลงาน 2. หลักของความลึกล้ำ ได้แก่ การบรรยาย และตีความผลงานทัศนศิลป์ทั้งในแง่ที่ว่า ผลงานนั้น สร้างขึ้นด้วยความมานะพยายามหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ความคิด หรือแค่การปฏิบัติ รวมทั้งประกอบขึ้น ด้วยจินตนาการหรือไม่ หรือมีนัยอะไรซ่อนอยู่ให้ผู้ชมได้ค้นหาบ้าง 3. หลักของความเข้มข้น ได้แก่ การบรรยายและตีความผลงานทัศนศิลป์ในแง่ที่ว่า ผลงานนั้นเต็ม ไปด้วยพลัง มีความอ่อนหวาน อ่อนโยน แข็งกร้าว เศร้าสะเทือนใจ มีชีวิตชีวา หรือสง่างามหรือไม่ รวมทั้งสามารถให้เหตุผลได้ว่า เพราะเหตุใดจึงมีความคิดเห็นเช่นนั้น ภาพที่ 36,37 ภาพแสดงความมีเอกภาพ ที่มา : https://www.google.com/search?q= 23 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


การวิเคราะห์และวิพากษ์ผลงาน การนำเสนอผลงานทัศนศิลป์ด้วยการวิเคราะห์และวิพากษ์ผลงาน ที่ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีศิลปะ วิเคราะห์ ของเอ็ดมันต์ เบิร์ก เฟลต์แมน มีจุดประสงค์เพื่อสร้างหลักเกณฑ์ในการตีความหมายและประเมิน ค่าผลงานของทัศนศิลป์ ซึ่งบุคคลที่สามารถเข้าใจในผลงานทัศนศิลป์ได้ จะต้องสามารถอ่านข้อมูลต่างๆ ทาง ทัศนศิลป์ออก เพื่อเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์และตัดสินงานทัศนศิลป์ต่อไป ดังนั้น การนำเสนองานทัศนศิลป์ที่ดีนั้น ผู้นำเสนอจะต้องรู้จักกระตุ้นและให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจใน ผลงานทัศนศิลป์ดังกล่าวเสียก่อน ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ 1. การบรรยาย ขั้นตอนในการบรรยายนี้ ผู้นำเสนอผลงานทัศนศิลป์จะต้องสำรวจดูสิ่งดังต่างๆ ที่ ปรากฏแก่สายตาของตนในการที่ในทันที จากนั้นจึงวิเคราะห์ฉันชิ้นงาน โดยการอธิบายถึงเทคนิควิธีการ หรือเทคนิคที่ใช้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ชิ้นนั้นๆ 2. การวิเคราะห์โครงสร้าง การวิเคราะห์โครงสร้างของงานทัศนศิลป์ ผู้นำเสนอจะต้องวิเคราะห์โดย ใช้หลักการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับสิ่งที่ผู้วิเคราะห์ได้สำรวจไว้ในชั้นแรก เช่น คุณภาพของเส้น สี แสง-เงา รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการตีความและตัดสินผลงานต่อไป 3. การตีความ ในขั้นตอนนี้ ผู้เสนอผู้นำเสนอควรจะกล่าวถึงความหมายของผลงานทัศนศิลป์ที่มีต่อ ผู้คน ความหมายของงานทัศนศิลป์ในที่นี้ คือ ความหมายของผลงานทัศนศิลป์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของมนุษย์โดยทั่วๆ ไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้นำเสนออาจหาข้อสันนิษฐาน หรือหลักการที่ช่วยให้ผลงาน ทัศนศิลป์ชิ้นนั้นๆ มีความสอดคล้องกับแนวคิดของผู้นำเสนอผลงาน 4. การประเมินหรือการตัดสินงานทัศนศิลป์ การประเมิน หรือการตัดสินงานทัศนศิลป์นั้น เป็น ขั้นตอนที่มีการตรวจสอบถึงเจตนาและผลที่เกิดขึ้นของงานทัศนศิลป์นั้นๆ โดยใช้หลักการเปรียบเทียบกับ ผลงานทัศนศิลป์ชิ้นอื่นๆ ที่มีความคล้ายถึงกัน จากนั้นเพียรนาว่าผลงานชิ้นนั้นๆ มีความเหมือนหรือแตกต่าง กับผลงานทัศนศิลป์ชิ้นอื่นๆในยุคสมัยเดียวกันอย่างไร ทั้งนี้ การที่จะประเมินค่าผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีสุนทรียภาพนั้น ผู้ประเมินจะต้องมีคุณสมบัติของ นักวิจารณ์ศิลปะอันเหมาะสม เข้าใจแนวทางการประเมินและวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน รวมทั้งสามารถที่จะเสนอแนะความคิดเพิ่มเติมได้โดยปราศจากอคติลำเอียง 24 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


3. ความสำคัญในการพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ การพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ หมายถึง การปรับปรุงผลงาน วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มี คุณภาพ มีความก้าวหน้าในการทำงานมากไปกว่าเดิม การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้มีความก้าวหน้า อย่างต่อเนื่องนั้น ถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้เรียนทุกคน เพราะช่วยทำให้ผลงานของตนได้รับการปรับปรุง และมีการพัฒนาจนมีความแตกต่างไปจากผู้อื่น ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้ เป็นความใฝ่ฝันของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทัศนศิลป์ทุกๆคน ส่วนการจะบรรลุผลได้ตามความคิดฝันไว้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความใส่ใจ และความมานะพยายามของผู้ฝึกปฏิบัติแต่ละคนว่าจะมีมากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับการรู้จักแสวงหา แนวทางในการเรียนรู้และหาวิธีการใหม่ๆ มาสร้างสรรค์การทำงานให้มีความแปลกใหม่แตกต่างไปจากที่เคยมี อยู่เดิม ภาพที่ 38,39,40,41 ภาพแสดงการพัฒนาผลงาน ที่มา : https://www.pinterest.com/Phamornpan/ 25 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


4. การจัดทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์ การจัดทำแฟ้มสะสมงาน หรือแฟ้มภาพผลงานทัศนศิลป์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการจัดเก็บและรวบรวม ประวัติและผลงานที่เป็นกระดาษ เช่น ภาพพิมพ์ ภาพลายเส้น ภาพสีน้ำ เป็นต้น ให้เป็นระบบ หรือใน กรณีที่ภาพมีขนาดใหญ่มาก หรือสร้างสรรค์ด้วยวัสดุอื่นนอกเหนือจากกระดาษ หรือมีรูปแบบที่ไม่สามารถจะ นำมาจัดเก็บได้ ก็ถ่ายเป็นภาพไว้ แล้วนำไปจัดเก็บแทน เพื่อจะได้เป็นหลักฐานสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ใน โอกาสต่างๆ เช่น เพื่อเก็บสะสมผลงานให้เป็นระบบ ศึกษาพัฒนาการความก้าวหน้าในการทำงาน ศึกษาต่อ สมัครงาน ประกวดแข่งขัน หรือติดต่อธุรกิจเชิงพาณิชย์ศิลป์ การจัดทำแฟ้มสะสมผลงานทัศนศิลป์ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ ในระดับชั้นนี้ ขอแนะนำการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานที่ไม่มีความยุ่งยากมากนัก ซึ่งองค์ประกอบหลักๆ ในแฟ้มสะสมผลงาน จะครอบคลุมประเด็น ดังนี้ ภาพที่ 42,43,44 ภาพแสดงแฟ้มสะสมงาน ที่มา : https://www.tnews.co.th/social/415948 26 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ส่วนที่ 1 เป็นส่วนหน้า หรือส่วนนำ ภายในจะประกอบไปด้วยปก ใบรองปก คำนำ สารบัญ วัตถุประสงค์ ชีวประวัติผู้จัดทำ 1. ปก ควรใช้กระดาษแข็ง ระบุชื่อผู้เรียน เลขประจำตัว ชื่อโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา อำเภอ จังหวัด โดยออกแบบตกแต่งให้สวยงาม ถ้านำภาพประกอบเข้ามาเสริม ต้องสื่อออกมาให้เห็นว่าเป็นแฟ้ม สะสมผลงานทัศนศิลป์ 2. ใบรองปก มีข้อความเหมือนกับปกทุกประการ นิยมใช้กระดาษขาว หรือกระดาษสีอ่อน 3. คำนำ อาจเขียนบอกลักษณะภาพรวมของแฟ้มสะสมผลงานเล่มนี้ องค์ประกอบในเล่ม ขั้นตอน การดำเนินการ 4. สารบัญ บอกหัวข้อใหญ่ของเรื่อง โดยลำดับหมวดหมู่ที่อยู่ในแฟ้ม เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประวัติผลงาน รางวัลและเกียรติประวัติที่ได้รับ เป็นต้น 5. วัตถุประสงค์ บอกเหตุผลที่ทำแฟ้มสะสมผลงานเล่มนี้ว่า ทำขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด 6. ชีวประวัติ บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวของผู้เรียน เช่น ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น กีฬา อาหารที่ ชอบ คติประจำใจ ศิลปินด้านทัศนศิลป์ที่ชื่นชอบ เป็นต้น ส่วนที่ 2 เป็นส่วนบรรจุหลักฐานเป็นที่แสดงชิ้นงานหรือภาพถ่ายชิ้นงานที่ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ขึ้นจาก การศึกษาวิชาทัศนศิลป์มีการสะท้อนความคิดเห็นต่อตัวชิ้นงานแนวคิดในการทำผลงานชิ้นงานวิธีปฏิบัติงาน ระยะเวลาที่ใช้ปฏิบัติงาน 1. ระบุรายละเอียดของชิ้นงาน เป็นการให้ข้อมูลอย่างละเอียดของผลงาน เช่น เป็นงานประเภทใด สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคแบบใด พร้อมบอกเนื้อหาสาระ คุณค่าทางศิลปะ แนวคิดที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ ผลงาน เป็นต้น 2. กรณีที่ผลงานมีหลายชิ้น ควรจัดเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกในการศึกษา เช่น กลุ่มภาพจิตรกรรมสีน้ำ กลุ่มภาพเทคนิคผสม เป็นต้น 3. วิธีปฏิบัติงาน อธิบายขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่ขั้นเตรียม ขั้นลงมือปฏิบัติ และขั้นสรุปผลงาน 27 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ส่วนที่ 3 เป็นส่วนใส่แบบฟอร์มที่ใช้ประเมินผลงาน รวมทั้งเกณฑ์การประเมินผลงาน เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่า ผลงานที่ถูกนำมาเก็บไว้นั้นได้รับผลการประเมินเป็นอย่างไร รวมทั้งอาจใส่หลักฐานการประเมินไว้ด้วยก็ได้ นอกจากนี้ ก็ควรมีแฟนบรรณานุกรมและภาคผนวก (ถ้ามี) 1. เกณฑ์ประเมิน เป็นเกณฑ์ที่ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องใช้ประเมินผลงานในแฟ้ม ส่วนใหญ่มักจะบอก เป็นระดับคะแนน (ตัวอย่างระดับคะแนน เช่น 5 = ดีที่สุด 4 = ดีมาก 3 = ดี 2 = พอใช้ 1 = ต้องปรับปรุง) 2. บรรณานุกรม ระบุรายการหนังสือ เอกสาร หรือชื่อเว็บไซต์ (URL) ที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำความรู้ หรือเทคนิควิธีการมาใช้ปฏิบัติงานทัศนศิลป์ชิ้นนั้น 3. ภาคผนวก เป็นส่วนของข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี) เพื่ออธิบายข้อมูล หรือความรู้เสริม ที่ผู้เรียนได้ เคยอ้างถึงเพื่อปฏิบัติงานที่อยู่ในแฟ้ม ภาพที่ 45 ภาพแสดงแฟ้มสะสมงาน ที่มา : https://dekshowport.com/-portfolio-ep170/ 28 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ใบงานที่ 1 เรื่องหลักการทั่วไปในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. จงตั้งชื่อภาพต่อไปนี้ ชื่อภาพ.................................................. ชื่อภาพ.................................................. 2. ภาพทั้ง 2 ภาพ ข้างต้น นักเรียนชอบภาพใดมากกว่ากัน เพราะเหตุใด ................................................................................................................................... ............................. ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................... . 29 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ใบงานที่ 2 เรื่องการสร้างเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ คำชี้แจง ให้นักเรียนดูภาพ แล้วเขียนประเมินผลงานทัศนศิลป์ ตามที่กำหนด ชื่อภาพ แม่กับลูก ศิลปิน อ.ประหยัด พงษ์ดำ ที่มา : https://mgronline.com/celebonline/ detail/9580000079857 ด้านคุณสมบัติ การรับรู้ ………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… เนื้อเรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ความรู้สึกเชิงกายภาพ …………………………………………………………………………………………………………………. อารมณ์ความรู้สึก ………………………………………………………………………………………………………………………… อ้างอิงรูปแบบ …………………………………………………………………………………………………………………………….. ด้านความคิดเชิงตีความ การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย ………………………………………………………………………………………………………. ความคิดและเจตนารมณ์ ……………………………………………………………………………………………………………… ด้านการประเมินผล การตัดสินใจเลือก ……………………………………………………………………………………………………………………….. เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ………………………………………………………………………………………………………………. คุณค่าของผลงาน ....................................................................................................................... ................ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 30 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ใบงานที่ 3 เรื่องความสำคัญในการพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. การพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ หมายถึง …………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. จงบอกความสำคัญของการพัฒนางาน…………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… 31 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ใบงานที่4 เรื่องการจัดทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนอธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน 1. แฟ้มสะสมงานคืออะไรและการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์ต่อการศึกษาวิชาทัศนศิลป์ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. แฟ้มสะสมงานที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 32 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


แบบทดสอบหลังเรียน เรื่องทักษะทัศนศิลป์ ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ คำชี้แจง 1. แบบทดสอบก่อนเรียนมีจำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน 2. ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวโดยทำเครื่องหมาย กากบาท ( x ) ในช่องข้อ ก, ข, ค, หรือ ง ในกระดาษคำตอบ 1. การประเมินงานทัศนศิลป์ด้านการรับรู้ มุ่งเน้นการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องใด ก. เนื้อหาและเรื่องราว ข. ความงามและคุณค่า ค. ความคิดและจินตนาการ ง. ทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ 2. เหตุผลที่ถือว่าผลงานทัศนศิลป์เป็นภาษาสากลในวงการศิลปะเนื่องจากสิ่งใด ก. ภาพถือเป็นสัญลักษณ์ทางภาษา ข. ผู้ชมเข้าใจความหมายได้ตรงกัน ค. การวาดภาพเหมือนการเขียนได้ตรงกัน ง. ภาพใช้สื่อความแทนคำพูด 3. การวิจารณ์เพื่อประเมินงานทัศนศิลป์ควรคำนึงถึงเรื่องใด ก. การใช้คำพูดอธิบายเหตุผล ข. ความรู้สึกพึงพอใจของศิลปิน ค. พื้นฐานงานศิลปะของผู้ชม ง. ความตื่นเต้นเร้าใจของผู้ชม 4. ข้อใดไม่ใช่วงจรการประเมินและวิจารณ์ ก. ศิลปิน ข. ผลงาน ค. ผู้ชม ง. สื่อมวลชน 5. เกณฑ์การวิจารณ์งานทัศนศิลป์ประเด็น “หลักความลึกล้ำ”หมายถึงสิ่งใด ก. ความรู้สึกที่ได้รับจากผลงาน ข. ความมุ่งมั่นภายใน ค. การจัดองค์ประกอบศิลป์ ง. ฝีมือหนักแน่นมั่นคง 33 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


6. ส่วนใดของแฟ้มสะสมผลงานที่สามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาตนเองในอนาคตได้ ก. วัตถุประสงค์ ข. รายละเอียดของชิ้นงาน ค. วิธีปฏิบัติงาน ง. เกณฑ์ประเมิน 7. ข้อใดไม่ใช่หลักการประเมินและวิจารณ์ ก. วงจรการประเมินและวิจารณ์ ข. ภาษากับการวิจารณ์ ค. การตีค่าตีราคา ง. ความคิดเชิงตึความ 8. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ ก. ตัวอักษรมีบทบาทสำคัญ ข. ความมีเอกภาพ ค. ความลึกล้ำ ง. ความเข้มข้น 9. แนวทางการประเมินผลงานในข้อใดถูกต้องที่สุด ก. กิจชัย ใช้พื้นฐานความรู้ของตนเองมาเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลงาน ข. สุนันทา ประเมินผลงานทัศนศิลป์จากภาพรวมของผลงานแต่ละประเภท ค. นพวรรณ กำหนดหลักการและตัวบ่งชี้ของผลงานขึ้นมาก่อนที่จะประเมิน ง. นันทพร ประเมินผลงานตามแนวทางที่เคยเรียนรู้มาจากศิลปินที่ตนชื่นชอบ 10. การวิจารณ์ผลงานศิลปะในข้อใดที่ใช้คำกล่าวที่ไม่เหมาะสม ก. ผลงานแสดงถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย ข. ผลงานมีการออกแบบได้อย่างดีเยี่ยม ค. ผลงานต้องให้ผู้ชมตีความได้ง่ายขึ้น ง. ผลงานไม่ควรค่าแก่การชื่นชมแต่อย่างใด 34 ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิด สร้างสรรค์ของมนุษย์ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน เรื่องทักษะทัศนศิลป์ ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ชื่อ-สกุล…………………………………………………………………………..ชั้น…………………..…….เลขที่……………… ข้อ ก ข ค ง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 คะแนนที่ได้ 35 ความซื่อสัตย์เป็นสมบัติของผู้ดี ตรองดูสิทุกคนก็มีหัวใจ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


บรรณานุกรม จีรพันธ์ สมประสงค์. (2546). ศิลปะ. กรุงเทพฯ : แม็ค. ฉัตร์ชัย อรรถปักษ์. (2551). องค์ประกอบศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. สมุทรสาคร : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด. เตชิต ตรีชัย. (2557). ทัศนศิลป์1. นนทบุรี: เอมพันธ์จำกัด. . (2558). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ทัศนศิลป์2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์เอมพันธ์จำกัด. วิทูรย์ โสแก้ว. (2551). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. สมชาย พรหมสุวรรณ. (2548). หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. สุชาติ เถาทอง และคณะ. (2550). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วงชั้นที่ 3. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. 36 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


ภาคผนวก 37 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


เฉลย แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องทักษะทัศนศิลป์ ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ชื่อ-สกุล…………………………………………………………………………..ชั้น…………………..…….เลขที่……………… ข้อ ก ข ค ง 1 X 2 X 3 X 4 X 5 X 6 X 7 X 8 X 9 X 10 X คะแนนที่ได้ 38 ความซื่อสัตย์เป็นสมบัติของผู้ดี ตรองดูสิทุกคนก็มีหัวใจ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


แนวการตอบ ใบงานที่ 1 เรื่องหลักการทั่วไปในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 3. จงตั้งชื่อภาพต่อไปนี้ ชื่อภาพ....ปลาแสนสวย.... ชื่อภาพ.....ความดุร้าย...... 4. ภาพทั้ง 2 ภาพ ข้างต้น นักเรียนชอบภาพใดมากกว่ากัน เพราะเหตุใด นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ............................................................................................................................. .......................................... ............................................................................................................................. .......................................... ....................................................................................................................................................................... 39 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


แนวการตอบ ใบงานที่ 2 เรื่องการสร้างเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ คำชี้แจง ให้นักเรียนดูภาพ แล้วเขียนประเมินผลงานทัศนศิลป์ ตามที่กำหนด ชื่อภาพ แม่กับลูก ศิลปิน อ.ประหยัด พงษ์ดำ ที่มา : https://mgronline.com/celebonline/ detail/9580000079857 ด้านคุณสมบัติ การรับรู้ มีการใช้ทัศนธาตุที่เป็นเส้นในลักษณะต่างๆ เช่น เส้นโค้ง เส้นคด และใช้สีดำ สีเหลือง สีฟ้า สีแดง และสีขาว เป็นงานจิตรกรรมที่ใช้เทคนิคพิมพ์ภาพ เนื้อเรื่อง มีการเขียนภาพแม่อุ้มลูก ความรู้สึกเชิงกายภาพ เป็นการสะท้อนเรื่องราวของความรัก อารมณ์ความรู้สึก แสดงออกถึงความอบอุ่น อ้างอิงรูปแบบ เป็นภาพเหมือนจริง ด้านความคิดเชิงตีความ การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย เป็นเรื่องราวความรักระหว่างแม่และลูก ความคิดและเจตนารมณ์ แสดงถึงความรักความอบอุ่น ด้านการประเมินผล การตัดสินใจเลือก เลือกภาพนี้เนื่องจากเป็นภาพที่สะท้อนความรู้สึกอบอุ่นได้เด่นชัด เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับคุณค่าที่นำเสนอผ่านทัศนธาตุและการแสดงออก คุณค่าของผลงาน ศิลปินมีความกล้าตัดสินใจในการคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ผลงานมีความแปลกตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใช้วิธีการพิมพ์ภาพสี เพื่อสื่อเรื่องราว 40 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


แนวการตอบ ใบงานที่ 3 เรื่องความสำคัญในการพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. การพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ หมายถึง การปรับปรุงผลงาน วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มี คุณภาพ มีความก้าวหน้าในการทำงานมากไปกว่าเดิม การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้มีความก้าวหน้า อย่างต่อเนื่องนั้น ถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้เรียนทุกคน เพราะช่วยทำให้ผลงานของตนได้รับการ ปรับปรุงและมีการพัฒนาจนมีความแตกต่างไปจากผู้อื่น ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้ เป็นความใฝ่ฝันของผู้ สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ทุกๆคน ส่วนการจะบรรลุผลได้ตามความคิดฝันไว้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความ ตั้งใจ ความใส่ใจ และความมานะพยายามของผู้ฝึกปฏิบัติแต่ละคนว่าจะมีมากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับ การรู้จักแสวงหาแนวทางในการเรียนรู้และหาวิธีการใหม่ๆ 2. จงบอกความสำคัญของการพัฒนางาน 1. มีความสำคัญที่ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 2. มีความสำคัญในการพัฒนาตนเอง 3. มีความสำคัญต่อการสร้างนิสัยในการทำงานที่ดี 4. มีความสำคัญในการรู้จักประเมินตนเอง 41 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


แนวการตอบ ใบงานที่4 เรื่องการจัดทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนอธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน 1. แฟ้มสะสมงานคืออะไรและการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์ต่อการศึกษาวิชาทัศนศิลป์ อย่างไร แฟ้มสะสมผลงานในที่นี้หมายถึงแฟ้มภาพผลงานทัศนศิลป์มีจุดมุ่งหมายเพื่อการจัดเก็บรวบรวม ประวัติและผลงานทัศนศิลป์ที่เป็นชิ้นงาน เช่น ภาพพิมพ์ ภาพวาดลายเส้น ภาพสีน้ำ เป็นต้น ไว้เป็นหลักฐานสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาต่อ ทำงาน ประกวดแข่งขัน หรือติดต่อธุรกิจเชิงพาณิชย์ ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. แฟ้มสะสมงานที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร แฟ้มสะสมผลงานที่ดี ควรมีองค์ประกอบหลักๆ ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 จะประกอบไปด้วยปก ใบรองปก คำนำ สารบัญ วัตถุประสงค์ และชีวประวัติ ส่วนที่ 2 จะประกอบไปด้วยรายละเอียดของชิ้นงานและวิธีการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 3 จะประกอบไปด้วยเกณฑ์การประเมิน บรรณานุกรม และภาคผนวก ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 42 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


เฉลย แบบทดสอบหลังเรียน เรื่องทักษะทัศนศิลป์ ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ชื่อ-สกุล…………………………………………………………………………..ชั้น…………………..…….เลขที่……………… ข้อ ก ข ค ง 1 X 2 X 3 X 4 X 5 X 6 X 7 X 8 X 9 X 10 X คะแนนที่ได้ 43 ความซื่อสัตย์เป็นสมบัติของผู้ดี ตรองดูสิทุกคนก็มีหัวใจ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


เกณฑ์การประเมินการทำแบบทดสอบหลังเรียน ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ เกณฑ์การตัดสิน ผู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ต้องได้คะแนนร้อยละ 80 คือ 8 คะแนนขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ 44 ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 8-10 คะแนน ดีมาก 5-7 คะแนน ดี 0-4 คะแนน ปรับปรุง ทุกความสำเร็จล้วนมาจากความพยายาม ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


เกณฑ์การประเมินการทำใบงานในชุดฝึกทักษะ ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ ชุดที่2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ รายการประเมิน เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน/ระดับคุณภาพ 1 (ปรับปรุง) 2 (ดี) 3 (ดีมาก) เนื้อหา ตอบไม่ชัดเจน มีข้อผิดพลาด ตอบชัดเจน ถูกต้องมี ข้อผิดพลาดบ้าง ตอบชัดเจนถูกต้องไม่มี ข้อผิดพลาด ความถูกต้อง ไม่ถูกต้องและคลุมเครือ ถูกต้องแต่ไม่ชัดเจน ถูกต้องชัดเจน ภาษา ใช้ภาษาไม่ถูกต้องไม่ สอดคล้องกับเนื้อหา ใช้ภาษาถูกต้องแต่ไม่ สอดคล้องกับเนื้อหา ใช้ภาษาถูกต้องสอดคล้อง กับเนื้อหา เวลา ส่งช้ากว่าเวลาที่กำหนด 5 วัน หรือมากกว่านั้น ส่งช้ากว่าเวลาที่กำหนด 2 วัน ส่งภายในเวลาที่กำหนด ความร่วมมือ ไม่มีความร่วมมือ เท่าที่ควร มีความร่วมมือทุก กิจกรรม มีความร่วมมืออย่างดีทุก กิจกรรม ระดับคะแนน/ระดับ คุณภาพ ช่วงคะแนน/ระดับคุณภาพ สำหรับข้อคำถาม 10 ข้อ ช่วงคะแนน/ระดับคุณภาพ สำหรับข้อคำถาม 5 ข้อ 3 คะแนน = ดีมาก 8-10 คะแนน = ดีมาก 4-5 คะแนน = ดีมาก 2 คะแนน = ดี 5-7 คะแนน = ดี 3 คะแนน = ดี 1 คะแนน = ปรับปรุง 0-4 คะแนน = ปรับปรุง 0-2 คะแนน = ปรับปรุง เกณฑ์การตัดสิน ใบงานที่ ผู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ต้องได้คะแนนร้อยละ 80 คือ 8 คะแนนขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ 45 ชุดฝึกทักษะ เรื่องทักษะทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2 การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์


Click to View FlipBook Version