วิชาการผลิตเครื่องดื่ม 1 ง30271
ธัญพืช
และ
น้ำเต้าหู้
ธัญพืชคืออะไร ?
ธัญพืช คือ พืชจำพวกหญ้าที่มนุษย์ได้มีการ
ปลูกเอาไว้เพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ด หรือข้าวประเภท
ต่าง ๆ รวมไปถึงถั่ว งา ทั่วโลกได้เพาะปลูกไว้รับ
ประทาน หรือแปรรูปกันมากมาย เพื่อให้พลังงาน
กับร่างกายมนุษย์ได้มากที่สุด เราควรเลือกใช้ที่
เป็นแบบเมล็ดเต็มรูปแบบ เพื่อให้ได้รับสาร
อาหารเต็มที่ ไม่ควรเลือกแบบบด, ขัดสี หรือบี้
ป่นแล้ว เพราะแป้งที่แตกออกมาเท่ากับว่าสูญเสีย
พลังงานสำคัญ ทำให้ไม่มีออกซิเดชั่นไขมันดีอีก
ต่อไป รับประทานไปอาจไม่ได้มีประโยชน์มากนัก
ประโยชน์ของธัญพืช 8 ชนิด
1 พืชตระกูลถั่ว
ให้พลังงานสูง มีโอเมก้า 3 บำรุงหัวใจและร่างกาย
โปรตีนย่อยง่าย ช่วยต้นสารอนุมูลอิสระในร่างกาย
ช่วยลดคอเลสเตอรอลเพราะมีไขมันดีเป็นส่วน
ประกอบสำคัญ บำรุงสมอง บำรุงเลือด ลำไส้ทำงาน
อย่างเป็นปกติ เต็มไปด้วยแร่ธาตุสำคัญมากมาย
มีหลายประเภทให้เลือกรับประทาน เช่น ถั่วลันเตา,
ถั่วหัวช้าง, ถั่วเขียว, ถั่วปากอ้า, ถั่วลิสง และถั่วเหลือง
ประโยชน์ของธัญพืช 8 ชนิด
2 ข้าวหอมนิล
มีปริมาณของสารอาหารอย่าง โฟเลต วิตามินบี ค่อน
ข้างสูง ช่วยบรรเทาอาการแขนขาไม่มีแรง อาการชา
ต่างๆ ความอ่อนเพลีย ทั้งยังมีไนอาซีนช่วยเรื่องระบบ
ประสาทสามารถทำงานได้ดี มีธาตุเหล็กช่วยสร้างเม็ด
เลือดแดง บำรุงสายตา กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ไขมัน
ในเลือดลดลง พร้อมเสริมสร้างคอลลาเจนให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของธัญพืช 8 ชนิด
3 ลูกเดือย
เป็นสารอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต
สูงเลยทีเดียว ประโยชน์หลัก คือ ช่วยบรรเทา
อาการกระหายน้ำ แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ
บำรุงอวัยวะภายในร่างกาย และด้วยความที่มี
กากใยสูงจึงช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น นอกจาก
นี้ยังช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอกเพราะมีสาร
คอกซิโนไลด์ มีไขมันอิ่มตัวไม่สูงมาก
ประโยชน์ของธัญพืช 8 ชนิด
4 ข้าวโพด
มีคุณค่าทางสารอาหารที่หลากหลาย ทั้งด้าน
โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, วิตามิน, เบต้าแคโรทีน
ช่วยบำรุงสายตา ไม่ทำให้เกิดโรคกระจกตาขึ้นได้
ง่าย ๆ สร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อม
ของร่างกายเพราะมีสารโฟเลต ป้องกันโรคหัวใจ
มะเร็ง ลดคอเรสเตอรอล ระบบย่อยอาหารมี
ประสิทธิภาพ ผิวพรรณได้รับการบำรุงเปล่งปลั่งขึ้น
ประโยชน์ของธัญพืช 8 ชนิด
5 งา
งาจัดเป็นอีกธัญพืชที่คนรักสุขภาพเรียกหามากสุด ๆ
เพราะมีคุณค่าทางสารอาหารเยอะไม่ว่าจะวิตามิน เกลือแร่
ต่าง ๆ อาทิ ฟอสฟอรัส, ไอโอดีน, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก,
สังกะสี ฯลฯ ช่วยบำรุงหนังศีรษะ เส้นผม บำรุงร่างกายให้
สดชื่น สมองปลอดโปร่ง ไขมันถูกเผาผลาญได้ดี
ประโยชน์ของธัญพืช 8 ชนิด
6 ลูกเกด
เป็นแหล่งรวมวิตามินเอ, แคลเซียม, วิตามินซี,
ฟอสฟอรัส, เส้นใยอาหารมีสูง ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็ง
แรง ควบคุมน้ำหนัก ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุได้ดี
ไม่มีน้ำตาลฟรุกโตส จึงเหมาะมากกับใครที่เป็นโรคเบา
หวาน ช่วยบำรุงเลือด ยับยั้งความเสื่อมสภาพไม่ให้เกิด
เร็วขึ้น ขับถ่ายดี ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
ประโยชน์ของธัญพืช 8 ชนิด
7 แมงลัก
มีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเมื่อรับประทานแล้วจะช่วยดูด
ซับและขับไขมันในร่างกายให้ออกมา ถ้าใครเป็นโรคเบา
หวานก็จะยิ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง อุจจาระ
ไม่เกาะผนังลำไส้ ถ่ายคล่อง เสมือนเป็นยาระบายอ่อน ๆ
ไม่ทำให้ปัญหาท้องผูกเกิดขึ้นแน่นอน ที่สำคัญยังรู้สึกอิ่ม
ท้อง และควบคุมอาหารให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมได้
เนื่องจากแมงลักเป็นพืชที่ไม่มีพลังงาน
ประโยชน์ของธัญพืช 8 ชนิด
8 เมล็ดทานตะวัน
มีคุณค่าทางสารอาหารในส่วนของวิตามิน และแร่ธาตุ
ต่าง ๆ เช่น โปรตีน, วิตามินเอ – บี 2 – อี, ฟอสฟอรัส,
ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก ช่วยรักษาระดับน้ำตาล
ในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดความดัน ช่วยให้
เลือดไหลเวียนในร่างกายได้ดี บำรุงสายตา หัวใจทำงาน
ได้เป็นปกติเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดการเผาผลาญในร่างกาย
น้ำเต้าหู้คืออะไร ?
น้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง คือ เครื่อง
ดื่มที่ทำมาจากถั่วเหลืองด้วยการนำถั่ว
เหลืองมาบดปั่ นกับน้ำเปล่าแล้วคั้น
กรองเอากากทิ้งไปอาจปรุงรสเพิ่มเติม
ด้วยการใส่เกลือหรือน้ำตาลลงไปด้วย
ประโยชน์ของการดื่มน้ำเต้าหู้
น้ำเต้าหู้มีโปรตีนจากถั่วเหลือง มีเส้นใยธรรมชาติที่ดีต่อระบบขับถ่าย และมีส่วน
ประกอบที่สำคัญ คือ สารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) หลังจากบริโภคน้ำเต้าหู้
ร่างกายจะเปลี่ยนสารเคมีชนิดนี้ให้เป็นสารไฟโตรเอสโตรเจน (Phytoestrogens)
ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีผล
ต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนชนิดนี้
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่าส่วนประกอบต่าง ๆ ในน้ำเต้าหู้รวมทั้งสารไอโซฟลา
โวนอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ และอาจส่งผลทางการรักษาอาการป่วยบางประการได้
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำเต้าหู้
1
2
อุดมด้วยสารอาหารที่จำเป็น
ต่อร่างกายสูง ในน้ำเต้าหู้ บำรุงกระดูกและฟัน
ประกอบไปด้วยสารอาหารที่ ให้แข็งแรง น้ำเต้าหู้
ร่างกายต้องการอยู่เป็นจำนวน นั้นอุดมไปด้วยสาร
มาก ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม ไอโซฟลาโวน ที่ช่วย
ซีลีเนียม สังกะสี ฟอสฟอรัส ลดการเสื่อมสภาพ
กรดอะมิโนกว่า 18 ชนิด และ ของกระดูกได้
ธาตุเหล็ก รวมไปถึงวิตามินที่
จำเป็นต่อร่างกายอย่าง ไม่ว่าจะ
เป็นวิตามินเอ วิตามินอี วิตา
มินบี 1 และวิตามินบี 2
เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำเต้าหู้
34
ช่วยลดและควบคุมระดับ มีไขมันอิ่มตัวที่เหมาะสม น้ำเต้าหู้
น้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาล ประกอบไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว 63%
และอีซูลันในน้ำเต้าหูนั้นมีน้อย ไขมันอิ่มตัว 15% และไขมันไม่อิ่มตัว
กว่านมชนิดอื่นๆ เมื่อดื่มแล้ว ชนิดเดี่ยว 24% ทำให้ไม่เกิดไขมัน
จึงช่วยจึงลดความเสี่ยงต่อการ สะสมตามร่างกายจนเป็นผลเสีย
เป็นโรคเบาหวาน และยังช่วย นอกจากนี้ ยังมีกรดไลโนเลอิก
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (Linoleic) และกรดไขมันอื่นๆ ที่จะ
ให้เป็นปกติมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
หลอดเลือดหัวใจลงได้
ความปลอดภัยในการบริโภคน้ำเต้าหู้และถั่วเหลือง
ผู้บริโภคทั่วไป การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองหรือ
มีโปรตีนจากถั่วเหลืองรวมถึงน้ำเต้าหู้ในปริมาณที่
เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค
การบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองในรูปของอาหารเสริมที่
สกัดมาจากถั่วเหลืองจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย หาก
บริโภคติดต่อกันเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 6 เดือน
แต่หากบริโภคติดต่อกันในระยะยาว อาจทำให้เกิด
ผลข้างเคียงที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้
ความปลอดภัยในการบริโภคน้ำเต้าหู้และถั่วเหลือง
ผู้บริโภคทั่วไป การดื่มน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวเป็นประจำ
เพื่อทดแทนอาหารชนิดอื่น อาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร
ได้โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้รับสารอาหาร
อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณเพียงพอ
การดื่มน้ำเต้าหู้และรับประทานถั่วเหลืองอาจทำให้เกิดผล
ข้างเคียงต่อสุขภาพได้ในบางกรณี เช่น ท้องผูก ท้องอืดท้อง
เฟ้อ คลื่นไส้ หรือมีอาการแพ้ อย่างมีผดผื่นคัน ใบหน้าบวม
แดง เป็นต้น ซึ่งผู้ที่พบผลข้างเคียงหลังการบริโภค ควรรีบ
ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
ผู้ที่ควรระมัดระวังใน เด็ก การบริโภคถั่วเหลืองจะปลอดภัยหากรับประทานเป็นเครื่องดื่ม
การบริโภคเป็ นพิเศษ หรืออาหารในปริมาณที่พอดี ในบางรายที่แพ้นมผงที่ทำจากนมวัว
แพทย์อาจแนะนำให้บริโภคนมผงที่ทำจากถั่วเหลืองแทน แต่ต้องไม่
ให้นมที่ทำจากถั่วเหลืองในเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะ
จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เด็กแพ้ถั่วเหลือง
สตรีมีครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร การบริโภคถั่วเหลืองจะ
ปลอดภัยหากรับประทานเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารในปริมาณที่พอดี
แต่อาจเป็นอันตรายได้หากบริโภคในรูปแบบอื่นเพื่อหวังผลทางการ
รักษา ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำเต้าหู้หรือถั่วเหลืองใน
ปริมาณที่มากจนเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อเด็กทารก
ผู้ป่วย เนื่องจากปัจจัยทางสุขภาพ ผู้ที่กำลังป่วยหรือมีโรคประจำ
ตัวควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการบริโภคอาหารประเภทใดก็ตาม
รวมทั้งการบริโภคน้ำเต้าหู้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากมีข้อสงสัยว่าการ
ดื่มน้ำเต้าหู้หรืออาหารอื่น ๆ ที่ทำมาจากถั่วเหลืองจะส่งผลต่อ
อาการป่วยของตนหรือไม่ ผู้ป่วยควรสอบถามและปรึกษาแพทย์
ก่อนบริโภคเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและผลข้างเคียงที่อาจ
เกิดขึ้นได้ เช่น มะเร็งเต้านม ไตวาย เป็นต้น