The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-03-23 03:30:21

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ..

เมทินี

การเพาะเลี้ยง

เนื้อเยื่อ

เสนอ

ครูกายทิพย์ แจ่มจันทร์

คำนำ

E-book เล่มนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา
การดำเนินชีวิตและครอบครัว ง33102 เพื่อให้

ได้ศึกษาหาความรู้ใน เรื่อง การเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็น

ประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า E-book เล่มนี้จะเป็นประโยชน์
กับผู้อ่าน หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาด
ประการใด ผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1

พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยง 2

อุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3-6

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 7-8

ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 9
ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 10

ความหมายของการ

เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนำเอาส่วนใดส่วน
หนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์
ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลิทรีย์
และอยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและความชื้นเพื่อให้
เซลล์พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อที่มารบกวน

และทำลายการเจริญเติบโตของพืช

พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหา
ในเรื่องของการขยายพันธุ์ หรือพืชที่มีปัญหา
เรื่องโรค เช่น ขิง กล้วยไม้ หรือพืชเศรษฐกิจ
เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ข้าว แครอท คาร์เนชั่น

เยอร์บีร่า เป็นต้น

อุปกรณ์ในการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1.พันธุ์พืชที่จะนำมาเพาะเลี้ยงควรสะอาด
ปราศจากโรคและเป็นส่วนที่สำคัญที่ยังอ่อนอยู่
เช่น ตาเป็นอวัยวะที่ดีที่สุด ส่วนใบ ดอก ราก ก็

สามารถนำมาเลี้ยงได้

2. เครื่องแก้วต่าง ๆ ได้แก่ ฟลาสค์ บีกเกอร์ ปิเปตต์ จาน
เพาะเชื้อ กระบอกตวง ขวดสำหรับเลี้ยงเนื้อเยื่อ

3. สารเคมีต่าง ๆ
1.สารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืช เช่น

คลอรอกซ์ เอททิลแอลกฮอล์ เมอคิวริคคลอ
ไรด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
2.สารเคมีที่ใช้เตรียมสูตรอาหารต่าง ๆ
3. สารเคมีที่ควบคุมการเจริญเติบโต
4. น้ำตาลซูโครส
5. วุ้น

4. เครื่องมือผ่าตัด ได้แก่ มีดผ่าตัด ปากคีบ

5. ตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ

6. อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
7. อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีวิธีการทำ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การเตรียมอาหาร คือ การเตรียมอาหาร คือ การนำธาตุอาหารหลัก
ที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต และธาตุอาหารรองมาผสมกับวุ้น
ฮอร์โมนพืช วิตามินและน้ำตาล ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำไปฆ่า
เชื้อ ใส่ลงในขวดอาหารเลี้ยง บางครั้งอาจหยดสีลงไป เพื่อให้สวยงาม

และสังเกตได้ชัดเจน
ธาตุอาหารที่พืชต้องการ
• ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม
แคลเซียม แมกนีเซี่ยมและกำมะถัน
• ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุอาหารที่จำเป็นน้อย เช่น เหล็ก
แมงกานีส สังกะสี ทองแดง

2. การฟอกฆ่าเชื้อส่วนเนื้อเยื่อ คือ เป็นวิธีการใช้สาร
เคมีหรือวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ชิ้นส่วนของพืชที่นำมา

เลี้ยงในอาหารเลี้ยง ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ

3. การนำเนื้อเยื่อลงขวดเลี้ยง เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืช
ที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว วางลงบนอาหารเลี้ยงที่ปลอดเชื้อ โดยใช้
เครื่องมือและปฏิบัติการในห้องหรือตู้ย้ายเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ

4. การนำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปเลี้ยง เป็นการนำเอาขวดอาหาร
เลี้ยงที่มีชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อไปเลี้ยงไว้บนเครื่องเขย่า เพื่อให้
อากาศได้คลุกเคล้าลงไปในอาหาร ทำให้แร่ธาตุ, ฮอร์โมนและสาร
อาหารต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อที่นำมาเลี้ยงบนอาหารนั้น

เกิดต้นอ่อนของพืชจำนวนมาก

5. การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวด เมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น ให้
แยกต้นอ่อนออกจากกัน เพื่อนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงใหม่ จน
ต้นอ่อนแข็งแรงดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่สมบูรณ์ออกจากขวด ปลูก

ในแปลงเลี้ยงต่อไป

ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในเวลา
อันรวดเร็ว

2. เพื่อการผลิตพืชที่ปราศจากโรค
3. เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
4. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน
5. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ทนทาน
6. เพื่อการผลิตยาหรือสารเคมีจากพืช
7. เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืชมิให้สูญพันธุ์

ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. สามารถผลิตต้นพืชได้ในปริมาณที่มากในระยะ
เวลาอันสั้น

2.ต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรค โดยเฉพาะโรคที่
มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส มายโคพลาสมา ด้วยการ
ตัดเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดของ
ลำต้น ซึ่งยังไม่มีท่อน้ำ ท่ออาหาร อันเป็นทาง
เคลื่อนย้ายของเชื้อโรค

3.ต้นพืชที่ผลิตได้ จะมีลักษณะทางพันธุกรรม
เหมือนต้นแม่ คือ มีลักษณะตรงตามพันธุ์

4.ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีขนาดสม่ำเสมอ ผลผลิตที่
ได้มีมาตรฐาน และเก็บเกี่ยวได้ในเวลาเดียวกัน

5. เพื่อการเก็บรักษาหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช
ระหว่างประเทศ เช่น การมอบเชื้อพันธุ์กล้วย
ในสภาพปลอดเชื้อ ขององค์กรกล้วย
นานาชาติ (INIBAP) ให้กรมส่งเสริม
การเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2542

6. เพื่อประโยชน์ด้านการสกัดสารจากต้นพืชนำ
มาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ยา
รักษาโรค

จั ด ทำ โ ด ย

น.ส.เมทินี สุภาวงค์ ม.6/11 เลขที่22


Click to View FlipBook Version