The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติครูดนตรีไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by delcakekims, 2022-03-28 13:25:50

ประวัติครูดนตรีไทย

ประวัติครูดนตรีไทย

ประวตั ิ

ครูสมภพ ขำประเสรฐิ และครู เฉลมิ บวั ทงั่

จดั ทำโดย
นำยชยั รตั น์ สงั ขแ์ กว้ 62/26 624104011
นำยธนดล ซ่มุ ทรพั ย์ 62/26 624104014

คำนำ

ดนตรีไทย เป็นศิลปะในด้านการแสดงของคนไทย ซ่ึงแสดงถึงภูมิปัญญาเฉพาะท้องถิ่น ท่ีมี
การปรับเปลี่ยน แก้ไข เปล่ียนแปลง ถึงแม้จะมีความใกล้เคียง กับดนตรีในหลายประเทศเพื่อนบ้าน
แต่ดนตรีไทย ได้สร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มาจนเป็นท่ีจดจำของคนทั่วไป ท้ังชาวไทย และ
ชาวต่างชาติ ปัจจุบัน ดนตรีไทย ถูกแรงอิทธิพลทั้งทางสังคม กาลเวลา และการเข้ามาของดนตรี
ตา่ งชาติ ทำให้ดนตรีไทยค่อยลดความสำคญั และความนิยมในสังคมเร่ือยมา ทั้งน้ี อาจจะเกดิ จากการ
ไม่สนับสนุนในสังคม การไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง ทำให้ดนตรีไทยได้รับความ
นยิ มลดลงและหมดความสำคัญไปในทีส่ ุด

รายงานเล่มน้จี ัดทำขึ้นสำหรับผู้ท่ีสนใจศึกษาดนตรไี ทย รวมถึงประชาชนคนไทยทั่วไป เพราะ
ทำให้เราได้รับรู้ถึงที่มา การก่อกำเนิดของดนตรีไทย วิวัฒนาการในช่วงต่างๆ ทำให้รับรู้ได้ถึงความ
อัจฉริยะ ของคนโบราณ ความสามารภ รวมถึงความปราณีต ความสร้างสรรค์ ท่ีทำให้ดนตรีไทยมี
ความงามในเร่ืองรูป และเสียงมาจวบจนปัจจุบัน ผู้จัดทำ หวังอย่างยิ่งว่า (รายงาน หรือ โครงงาน)
ฉบบั นี้ จะเกดิ แรงกระตุ้นให้ผู้ได้อ่าน ได้เกิดความรู้สกึ สำคัญ และหวงแหนศลิ ปะทบ่ี ่งบองถึงความเป็น
ชาตไิ ทยน้ี ใหค้ งอยู่ มิให้ได้ลมื เลือน หรอื เขยี นไวใ้ ห้อ่านเพียงในหนา้ ประวัตศิ าสตร์ หนา้ หนึ่ง ของไทย
เทา่ น้ัน หากรายงานเล่มน้ีผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำก็ขออภัยไว้ ณ ทีน่ ่ดี ว้ ย

นายชยั รตั น์ สงั ข์แก้ว
นายธนดล ซมุ่ ทรพั ย์

(ผู้จัดทำ)

สารบญั หนา้
เรือ่ ง
คำนำ.......................................................................................................................... ก
สารบญั ...............................................................................................................

ประวตั ขิ อง ครู เฉลิม บวั ทัง่ .....................................................................................................
ผลงานประพันธ์........................................................................................................................ 1
ประวัติของ ครสู มภพ ขำประเสรฐิ ........................................................................................................ 6
ผลงานด้านดนตรีของครูสมภพขำประเสริฐ............................................................................. 7
บรรณานกุ รม............................................................................................................................ 8
9

1

ประวัติ
ครู เฉลิม บัวทงั่ (พ.ศ. 2453-2530)

(ครเู ฉลิม บัวท่ัง)
ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นบุตรของนายปั้นและนางถนอม บัวทั่ง เกิดเมื่อวันจนั ทร์ เดือน ๙ แรม ๙
คำ่ ปีจอ ตรงกบั วนั ที่ ๒๙ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เปน็ บตุ รคนที่ ๑๘ ของนายปั้น
บิดาของครูเฉลิม เป็นนักดนตรีสังกัดอยู่ในวังพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหม่ืนพิชัยมหินทโรดม
และเป็นเพ่ือนรักกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)เมื่อกรมหมื่นพิชัยฯ สิ้นพระชนม์
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ น้ัน นักดนตรีในวงน้ีก็แยกย้ายกันไป ครูป้ันกลับไปต้ังวงดนตรีเองท่ีบ้านคลองบาง
ม่วง จังหวดั นนทบรุ ี

2

กรมหม่นื พิชัยมหินทโรดม

ครูเฉลิมเล่าว่า ท่านได้ยินเสียงดนตรีป่ีพาทย์มาตั้งแต่เด็ก พออายุได้ ๖ ปี บิดาก็จับมือให้ตี
ระนาดแล้วฝึกสอนให้เรอื่ ยมาจนสามารถเล่นได้รอบวงเมื่อครูอายุได้ ๑๑ ปี ครูปั้นจึงส่งตัวให้มาเรียน
ดนตรีไทยกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้ฝึกปรืออยู่ไม่นาน พระยาประสานฯ
ก็ส่งขึ้นไปตีระนาดถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระเคร่ืองใหญ่ได้รับคำ
ชมเชยวา่ ฝีมือดี จะเก่งต่อไปข้างหน้าแต่ครูเฉลิมกไ็ ด้อยู่กับ พระยาประสานฯ ไม่นานนัก ท่านพระยา
ฯ ก็ถึงแก่กรรม ขณะนั้นครูมีอายุได้ ๑๔ ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ ัวจึงมีรับสั่งให้พระ
ยาอนิรุทธเทวา (ฟ้ืน พึ่งบุญ ณ อยุธยา) นำครูเฉลิมไปอยู่ด้วย ครจู ึงได้ศึกษาหาความรู้ด้านดนตรีจาก
ครอู ่ืนๆ อกี หลายสำนักรวมทง้ั ท่สี ำนกั ท่านจางวางทวั่ พาทยโกศล ดว้ ย

พระยาประสานดรุ ิยศพั ท์ พระยาอนิรทุ ธเทวา

3

จางวางทั่ว พาทยโกศล
ครูเฉลิม ได้เรียนหนังสือในโรงเรียนพรานหลวง ตั้งแต่อายุได้ ๑๑ ปี จนอายุได้ ๑๕ ปี ก็
ลาออกมารับราชการเป็นนักดนตรีอยู่ในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง จนกระท่ังมีการเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๗๘ กรมปี่พาทย์และโขนหลวงก็ถูกยุบมารวมอยู่ในกรม
ศิลปากร ในระยะนี้มีการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศเป็นการใหญ่ ครูเฉลิม “ถูกดุลย์” ออกจาก
ราชการไปเป็นครูสอนดนตรีไทยท่ีสโมสรบันเทิงของสามัคคยาจารย์สมาคม ประมาณ ๑ ปี แล้วไป
สอนอยู่ที่กรมทหารอากาศ ดอนเมือง สมันหลวงกาจสงครามเป็นเสนาธิการ ประมาณ ๖ เดือน แล้ว
กลับเข้ารับราชการในกรมศิลปากรอีกระยะหน่ึง ก็ลาออกไปประกอบอาชีพดนตรีเป็นส่วนตัวระหว่าง
น้ีเกิดสงครามอินโดจีนซ่ึงประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เม่ือสงครามสงบแล้ว ครูเฉลิมเข้ารับ
ราชการอีก ในสังกัดกรมท่ีดิน ไปประจำอยู่ประเทศเขมร ประมาณ ๔ เดือน ก็เกิดสงครามโลกคร้ังที่
๒ ครจู ึงอพยพหนีสงครามและลาออกจากราชการอีก จนกระท่ังพลเอกไสว ไสวแสนยากร อธิบดีกรม
ตำรวจในขณะน้นั

4

พลเอกไสว ไสวแสนยากร
ได้เรียกตัวครูให้ไปประจำวงดนตรีของกรมตำรวจ ครูได้ฝากผลงานไว้ท่ีกรมตำรวจหลายเพลง อาทิ
เพลงมอญอ้อยอิ่งเถา ขอมใหญ่เถา เขมรพายเรือเถา เขมรเหลืองเถา ลางเลียบค่ายเถา และได้นำ
เพลงหน้าพาทย์ของเก่า พรัอมกับแต่งบางส่วนข้ึนใหม่ใช้บรรเลงบรรเลงเป็นเพลงชุดประกอบเร่ือง
“วานรินทร์ นิ้วเพชร และอารยวิถี” อันเป็นเร่ืองพุทธประวัติต้ังแต่ประสูติจนถึงนิพพาน แต่เป็นที่น่า
เสยี ดายอย่างยิ่ง ทีผ่ ลงานของครูชดุ นไ้ี มแ่ พร่หลาย

ต่อมาครูเฉลิมลาออกจากกรมตำรวจไปประกอบอาชีพส่วนตัว และรับสอนดนตรีไทย ตาม
สถาบันการศึกษาต่างๆ อาทิเช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตนนทบุรี คณะ
แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด วิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎเกล้าและเป็น
หัวหน้าวงดนตรีเสริมมิตรบรรเลง ท่านได้มีโอกาสประดิษฐ์เพลงไทยขึ้นอีกมากมาย เช่น โหมโรง
ประสานเนรมิตร โหมโรงจามจุรี โหมโรงสรรเสริญพระจอมเกล้า โหมโรงพิมานมาศ โหมโรงมหาปิยะ
โหมโรงรามาธิบดี ลาวลำปางใหญเ่ ถา ลาวลำปางเล็กเถา ลาวกระแซเถา ลาวกระแตเล็กเถา ลาวเจริญ
ศรีเถา สีนวลเถา ลาวครวญเถา ดอกไม้เหนือเถา เคียงมอญรำดาบเถา เขมรใหญ่เถา สาวสอดแหวน
ประพาสเภตรา หงส์ทอง (ทางวอลซ์) ล่องลม และได้แต่งเพลงพิเศษเน่ืองในโอกาสเฉลิมพระยศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบด้วย “เกร่ินเจ้าฟ้า ต่อด้วยเพลงประชุม
เทพ” ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ครไู ดร้ ับการคัดเลือกจากคณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยใน
พระบรมราชูปถัมภ์ เสนอชื่อให้ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ
พลอดุลยเดชฯ ในฐานะนักดนตรีไทยตัวอย่าง ซ่ึงมีนักดนตรีไทยที่ได้รับพระราชทานโล่ครั้งน้ีเพียง ๔

5

คน คอื อาจารย์มนตรี ตราโมท ครเู ฉลิม บัวทงั่ คุณหญงิ ไพฑูรย์ กิตตวิ รรณ และครูบุญยงค์ เกตุคง ซ่ึง
ครูเฉลิมบอกว่าเป็นรางวัลที่ครูภูมิใจที่สุดในชีวิต นอกจากน้ีเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ครูได้แต่งเพลงเข้า
ประกวดรางวัลพิณทองซ่ึงธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้ดำเนินการจัดประกวดเพลงของครูก็ได้รับรางวัล
ชนะเลิศ คอื เพลงปนิ่ นคเรศเถา

ครูเฉลิมแต่งงานกับนางไสว มีบุตรธิดาด้วยกันท้ังสิ้น ๑๑ คน เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก ๔ คน
บุตรธดิ าของทา่ นท่ีมฝี ีมอื ในทางดนตรีไทย ได้แก่ นายพัฒน์ บัวทั่ง คนระนาดเอก รับราชการอยู่ที่กอง
การสังคีต กรมศิลปากร นางสุพัฒน์ บวั ทัง่ นกั รอ้ งกองดรุ ิยางค์ทหารเรือ และนางสุธาร ศุขสายชล จะ
มฝี ีมือจะเขด้ มี าก

นอกจากจะมีวงปี่พาทย์และมโหรีของตัวเองแล้ว ครูเฉลิมยังทำอังกะลุงส่งออกขายด้วยท่าน
ไดเ้ ขียนโน้ตเพลงเสียงประสานสำหรับอังกะลุงไว้มาก ผลงานทางด้านอังกะลงุ สว่ นใหญม่ ีบันทึกไว้ พัก
รักษาตัวท่ีโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และพักฟ้ืนที่บ้าน ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ครูได้เข้ารับ
พระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)
ประจำปี ๒๕๒๙ นับเป็นเกียรติสูงส่งและความปลืม้ ปิติสงู สุดครั้งสุดท้ายในชีวิตของครู ครูถงึ แก่กรรม
ในวนั ท่ี ๑๑ มิถนุ ายน ๒๕๓๐ รวมอายไุ ด้ ๗๗ ปี

ท่ีมา : นามานกุ รมศิลปินเพลงไทย ในรอบ ๒๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสนิ ทร์ โดยพนู พิศ อมาตย
กุล, หัวหน้าโครงการ ; ผู้ร่วมโครงการ, พิชิต ชัยเสรี …[และคนอ่ืน ๆ]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลยั , ๒๕๒๖.

6

ผลงานประพนั ธ์
• มอญอ้อยอ่งิ เถา
• ขอมใหญ่เถา
• เขมรพายเรอื เถา
• เขมรเหลืองเถา
• ลาวเลียบคา่ ยเถา
• โหมโรงประสานเนรมติ ร
• โหมโรงจามจรุ ี
• โหมโรงสรรเสรญิ พระจอมเกล้า
• โหมโรงพิมานมาศ
• โหมโรงมหาปิยะ
• โหมโรงรามาธบิ ดี
• ลาวลำปางใหญเ่ ถา
• ลาวลำปางเลก็ เถา
• ลาวกระแซเถา
• ลาวกระแตเลก็ เถา
• ลาวเจริญศรเี ถา
• สีนวลเถา
• ลาวครวญเถา
• ดอกไม้เหนือเถา
• เคยี งมอญรำดาบเถา
• เขมรใหญเ่ ถา
• สาวสอดแหวน
• ประพาสเภตรา
• หงสท์ อง (ทางวอลซ์)
• ลอ่ งลม

7

สมภพ ขำประเสริฐ (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๕๔๓)

นายสมภพ ขำประเสริฐ เกิดเม่ือวันท่ี ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่บ้านใกล้วัดเทพธิดา
ราม ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ข้างโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จึงได้ยินและได้เห็นทหารเดินแถวเป่า
แตรมาตั้งแต่เด็ก ครั้นโตข้ึนได้เรียนหนังสือท่ีโรงเรียนวัดชนะสงครามและไปเรียนต่อท่ีโรงเรียบเซนต์
คาเบรียล จนจบชั้นประถมปีท่ี ๔ ไม่ได้เรียนต่ออีก เผอิญญาติชื่อ “ครูเสนอ” เป็นบุตรเจ้าเมือง
อ่างทอง ชวนไปหัดเป่าแตรท่ีตำบลวัดโพธ์ิเอน อำเภอท่าช้าง จงั หวัดอ่างทอง จึงไปหัดอยูก่ ับเพื่อน ๆ
รวม ๑๒ คน ทุกวันต้ังแต่เช้าจนสายจนได้เพลงโยสลัม ๒ ชั้น จากน้ันก็กลับกรุงเทพมหานคร
ขณะนั้นอายุได้ ๑๔ ปี เมื่อมาอยู่กรุงเทพฯ ได้มีโอกาสรู้จัก ครูประสบ เรืองจรูญ (พระสังขรักษ์ วัด
พระพิเรนทร์) ซึ่งมีความรู้ทั้งทางปี่พาทย์ ขบั ร้อง และเล่นลิเกได้ ครูประสบพาตัวไปฝากเปน็ ลกู ศษิ ย์
ของครูพ่มุ โตสง่า ครูสอนดนตรีไทยที่มีช่ือเสียงมากคนหน่ึง เพลงแรกท่ีครูพุ่มต่อให้ คือ เพลงสาธกุ าร
ซึ่งครูสมภพ สามารถตีได้จบภายในวันเดียว เลยได้เป็นลูกศิษย์ของครพู ุ่ม ร่วมกับคนอื่น ๆ อีก ๘ คน
เครือ่ งดนตรีทฝี่ กึ คอื ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอก และระนาดทุ้ม ตามลำดับ ขณะทอี่ ยเู่ รียนดนตรอี ยู่ที่บ้าน
ครูพุ่มนี้ ครูสมภพ มีหน้าที่จ่ายตลาดและตำน้ำพริก จนอายุได้ ๑๗ ปี สามารถตีฆ้องเพลงกราวในได้
โดยอาศัยจดจำเอาจากการที่ได้ยิน นายช่อ อากาศโปร่ง ฝึกตีเป็นประจำทุกวัน เม่ือครูพุ่มได้ทราบก็
ตอ่ เพลงกราวใน ๓ ช้ัน ให้ แล้วให้สิทธพิ เิ ศษไมต่ ้องจา่ ยตลาดและตำน้ำพริกอีกตอ่ ไป แต่จะต้องซ้อมตี
ระนาดและฆ้องใหญ่ เพลงกราวในใหค้ ล่องภายในระยะเวลาท่ีกำหนดคือ คร่ึงเดือนแรกตีติดต่อกันจน
จบ ๓ เท่ียว หลังจากนั้นให้ตีติดต่อกันจนจบ ๕ เที่ยว ในเดือนท่ี ๒ พอขน้ึ เดือนที่ ๓ ให้ตีติดต่อกันจน
จบ ๑๖ เท่ียว การตีติดต่อกันโดยไม่หยุดเลยเป็นจำนวน ๑๖ เที่ยวของเพลงกราวในนั้น นับว่าต้องใช้
ความพยายามและความอดทนมาก ครูสมภพใช้เวลาอยู่หลายเดือนกว่าจะทำสำเร็จ ตั้งแต่น้ันมาก็

8

ได้รับความไว้วางใจจากครูพุ่มมาก เพราะเป็นศิษย์ท่ีมีความพยายามและความอดทนดี และก่อนที่ครู
พมุ่ จะถงึ แก่กรรมก็ไดต้ อ่ เพลงกราวในเถาใหเ้ ปน็ เพลงสดุ ทา้ ย

พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้รับความรู้
ทางดนตรีแตกฉานมากขึ้น ได้รับคำแนะนำจากนักดนตรีรุ่นพี่อีกหลายคน เช่น ครูใจ ครูเผือด ครู
พมิ พ์ ครูฟุง้ วิชชเวช และครูทองต่อ กลบี ช่ืน (คือเรือเอกโองการ กลีบชน่ื ) ศิษย์ร่วมรุ่นในสำนักดนตรี
แห่งน้ีก็มี นายประสิทธิ์ ถาวร นายกงิ่ พลอยเพชร นายช่อ อากาศโปร่ง นายบญุ ยงค์ เกตุคง นายบุญ
ยัง เกตุคง ร้อยเอกเสนาะ หลวงสุนทร และศาสตราจารย์ ดร. อุทิศ นาคสวัสด์ิ เมื่อหลวงประดิษฐ์ฯ
ถงึ แก่กรรมก็ได้ตอ่ เพลงกบั ครูโองการ กลีบชน่ื ตอ่ มา

พ.ศ. ๒๔๙๔ สมรสกับนางสาวประชิต นักร้องเพลงไทยเสียงดี ซ่ึงเป็นครูสอนวิชาดนตรีไทย
ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร มีบุตรธิดาด้วยกัน ๔ คน ทุกคนมีพรสวรรค์
ทางดา้ นดนตรีไทยและนาฏศลิ ป์ ศกึ ษาอยู่ในวทิ ยาลัยนาฏศิลป

ความสามารถในด้านดนตรีไทยของครูสมภพนั้น เป็นท่ียอมรับนับ ถือกันโดยทั่วไป
กรมศิลปากรได้ออกวุฒิบัตรรับรองการเป็นศิลปินทางดนตรีไทยของท่าน และได้รับมอบให้เป็นผู้ทำ
พิธไี หว้ครูจากคุณหญิงชนิ้ ศลิ ปบรรเลง

ผลงานด้านดนตรีไทย
เม่ือ พ.ศ. ๒๕๒๓ ผลงานทางด้านดนตรีไทยของท่าน นอกจากความชำนาญอย่างยิ่งในการ

บรรเลงระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องใหญ่ และฆ้องเล็กแล้ว ยังได้แต่งเพลงไว้หลายเพลง คือ เพลงโหม
โรงมหาราช ๓ ชั้น เพลงมะลิวัลย์ ๓ ช้ัน เพลงจำปานารีเถา เพลงโหมโรงปฐมฤกษ์ ๓ ช้ัน และเพลง
ม่านมงคลใหญ่ ๓ ช้ัน เพลงที่ปรับปรุงทางเปล่ียน ได้แก่ เพลงจระเข้หางยาวเถา เพลงพันธุ์ฝร่ังเถา
(ทางฝร่ัง) และเพลงสร้อยมยุรา (ทางมอญ) เพลงที่แต่งทางใหม่สำหรับประกอบการแสดงละครเรื่อง
นางหงส์ ได้แก่ เพลงย่ำไทยและเพลงท้ายเครื่องต่าง ๆ อีกหลายเพลง สำหรับเพลงจำปานารีเถา ที่
ทา่ นแต่งใหมท่ ้ังเพลงน้ัน ครปู ระชิตผู้ภรรยาเป็นผู้ประดิษฐท์ างขับรอ้ ง นอกจากนย้ี ังมีเพลงทางเด่ียวท่ี
ท่านแต่งขึ้นอีก คือ เพลงสุดสงวน ๓ ช้ัน สำหรับบรรเลงเด่ียวด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องใหญ่
และฆ้องเล็ก เพลงหกบท ๓ ช้ัน สำหรับเคร่ืองป่ีพาทย์รอบวง เพลงอาเฮีย ๓ ชั้น สำหรับระนาดทุ้ม
ฆ้องใหญ่ และฆอ้ งเลก็

พ.ศ. ๒๕๑๗ เคยนำวงเข้าประชันป่ีพาทย์ที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัล
ชนะเลิศ ครูสมภพ สอนดนตรีไทยอยู่ท่ีมหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม และพักอยู่ที่บ้านเลขที่
๔๑/๒๖ จรัญสนิทวงศ์ฯ (เสสะเวช) แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร วันท่ี ๒๑
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๗ ครูสมภพไดถ้ ึงแกก่ รรม สริ ริ วมอายุได้ ๗๕ ปี

9

บรรณานกุ รม

พูนพิศ อมาตยกุล , พิชิต ชัยเสรี , อารดา กรี ะนันทน์ , วชิราภรณ์ วรรณดี , ประพจน์ อัศววิ
รฬุ หการ , จรวยพร สเุ นตรวรกลุ . (2532). นามานุกรมศลิ ปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี

แห่งกรุงรตั นโกสนิ ทร์ : รายงานผลการวิจยั . กรงุ เทพมหานคร : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย.
____________.๒๕๒๖. ความรู้เบ้ืองตน้ ในการเสนอดนตรเี พอ่ื ความเข้าใจและความ
ชน่ื ชม. เชยี งใหม่ : ภาควิชาส่อื สารมวลชน คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่.

10


Click to View FlipBook Version