The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Annual Report 2564 - Ranong

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ranong Cooprative Office, 2024-01-25 23:49:49

Annual Report 2564

Annual Report 2564 - Ranong

รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๓๔ อ าเภอละอุ่น ประกอบด้วย สหกรณ์1 แห่ง สมาชิก 165 คน กลุ่มเกษตรกร 2 แห่ง สมาชิก 158 คน ผลการเข้าแนะน า ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ในความรับผิดชอบของอําเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร ร้อยละ 100 สหกรณ์ประกอบธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจสินเชื่อ และธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจําหน่าย ส่วนกลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มเกษตรกรทําสวน ร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจําหน่าย และธุรกิจรวบรวมผลผลิต ผลผลิตทางการเกษตรที่สําคัญของ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อําเภอละอุ่น ประกอบด้วย มังคุด ทุเรียน ปาล์มน้ํามัน และยางพารา เป็นต้น กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 มีภารกิจและหน้าที่ในการแนะนํา ส่งเสริม และกํากับดูแลสหกรณ์ในความ รับผิดชอบ โดยได้เข้าแนะนําส่งเสริมและแก้ไขปัญหาของสหกรณ์ตามแผนงานที่กําหนด โดยมุ่งเน้นการพัฒนา ศักยภาพของสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ และผลักดันการดําเนินงาน ของสหกรณ์ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน โดยมีการจัดเตรียมข้อมูลของสหกรณ์ วิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ นําเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดําเนินการ เมื่อพบปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที จะนําประเด็นปัญหา เหล่านั้น ปรึกษาหารือกับจังหวัด เพื่อขอคําแนะนําที่ถูกต้องและชัดเจน เพื่อนําข้อเสนอแนะไปแจ้งให้สหกรณ์ ทราบและถือปฏิบัติ เป็นการช่วยลดปัญหาข้อบกพร่องหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และใช้เป็นแนวทางในการ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผลการเข้าแนะนํา ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถ สรุปได้ดังนี้ 1) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักการสหกรณ์ อุดมการณ์ และวิธีการ สหกรณ์ทําให้เห็นความสําคัญของการร่วมกันแก้ปัญหาในชุมชนตามวิธีการสหกรณ์ 2) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้ทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อบังคับระเบียบ คําสั่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถนําผลการแนะนําไปเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถใช้เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์และเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และชําระคืนภายในกําหนดสัญญา 5) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถปิดบัญชี และจัดทํางบการเงินประจําปีแล้วเสร็จ และสามารถ จัดส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชีได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี และสามารถจัดประชุมใหญ่ได้ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี 6) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรปฏิบัติตามแผนงานที่กําหนดไว้ในที่ประชุมใหญ่ โดยมีการแนะนําและ ส่งเสริมเป็นแนวทางในการกําหนดแผนงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 7) สหกรณ์มีการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาดและสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ให้เป็นตามวัตถุประสงค์และคุ้มค่ากับงบประมาณ 8) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีการทบทวนระเบียบเพื่อให้ครอบคลุมกับการดําเนินงานและสอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๓๕ ปัญหา/อุปสรรคในการด าเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1) สหกรณ์บางแห่งประสบปัญหาขาดทุนสะสมติดต่อกันหลายปี ทําให้สมาชิกขาดความเชื่อมั่นและไม่ ศรัทธาในสหกรณ์ สมาชิกจึงไม่มาทําธุรกิจสหกรณ์ 2) ปัญหาด้านเศรษฐกิจทําให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่มีความผันผวน มีการปรับราคาขึ้นลง สหกรณ์ไม่สามารถคาดเดาถึงสถานการณ์หรือแนวโน้มด้านราคาได้ 3) การขาดสภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ทําให้ไม่สามารถดําเนินธุรกิจได้อย่าง ต่อเนื่อง ไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านธุรกิจของสมาชิกได้ตรงตามความต้องการ 4) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรบางแห่งการจัดทําบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน ไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรและ ความรู้ความเข้าใจ เนื่องจากไม่ได้จัดจ้างเจ้าหน้าที่บัญชี มีเพียงมอบหมายกรรมการ ซึ่งไม่ได้มีความรู้ด้าน บัญชี จึงไม่สามารถจัดทํารายละเอียดและงบการเงินให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในกําหนดได้ 5) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรบางแห่งมุ่งเน้นช่วยเหลือสมาชิกในด้านการให้สินเชื่อ โดยมิได้คํานึงถึง ความสามารถในการชําระหนี้ของสมาชิก อัตราสภาพคล่องทางการเงิน ไม่มีการวิเคราะห์ผลการดําเนินธุรกิจ ของสหกรณ์ ส่งผลให้สหกรณ์ขาดสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งการกําหนดระเบียบไม่สอดคล้องกับธุรกิจ และไม่มีระบบการควบคุมภายในที่ดี 6) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรบางแห่ง ไม่มีการควบคุมภายในที่ดี มีการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานงบประมาณที่กําหนดไว้ 7) สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรขาดการมีส่วนร่วม คือ สมาชิกไม่เห็นคุณค่าของการร่วมทํากิจกรรม และการทําธุรกิจต่าง ๆ กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และจํานวนสมาชิกที่เข้าประชุมใหญ่สามัญประจําปี ลดน้อยลง 8) ด้วยปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ส่งผลให้สมาชิกที่มีหนี้ค้างชําระ ไม่สามารถมาชําระหนี้ได้ตามกําหนด ทําให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรต้องมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตาม หลักเกณฑ์ ทําให้เกิดเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งส่งผลต่อการดําเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1) แนะนําให้สหกรณ์ที่มีปัญหาขาดทุนสะสม ดําเนินการเชิงรุกในทุกธุรกิจของสหกรณ์ โดยมีการจัดทํา แผนงานประจําปีและติดตามผลรายเดือนเพื่อให้งานเป็นไปตามแผน เพื่อเป็นการประเมินผลการดําเนินงานให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2) สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกโดยการสํารวจความต้องการของสมาชิก และสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีการดําเนินธุรกิจตามความต้องการ และควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สมาชิกได้รับทราบข่าวสาร 3) แนะนําให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีการระดมทุนภายในก่อนที่จะไปหาแหล่งเงินทุนภายนอก โดยส่งเสริมการออมและการระดมหุ้นของสมาชิก 4) แนะนําให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของสหกรณ์จากงบทดลอง และงบ การเงิน เพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดแผนงาน และงบประมาณในการดําเนินธุรกิจ 5) แนะนําสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในการควบคุมค่าใช้จ่ายโดยการเปรียบเทียบ แผน-ผล ในการ ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กําหนด 6) แนะนําคณะกรรมการในการติดตามผลการชําระหนี้ของสมาชิกให้เป็นไปตามที่กําหนด และ ต่อเนื่อง กําหนดมาตรการควบคุมและปูองกันการผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิกเพื่อสร้างวินัยในการชําระหนี้


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๓๖ 7) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรควรพิจารณาถึงความสามารถในการชําระหนี้ของสมาชิกเป็นสําคัญในการ พิจารณาอนุมัติสินเชื่อ มีการติดตามการใช้เงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รวมถึงการจัดชั้นลูกหนี้เพื่อสร้าง แรงจูงใจและวินัยในการชําระหนี้ 8) ส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดําเนินธุรกิจตามหลักการตลาดนําการผลิต ติดต่อผู้รับซื้อผลผลิต โดยมีการจัดทําข้อตกลงสัญญาระหว่างกันอย่างชัดเจน จัดประชุมกลุ่มสมาชิกเพื่อให้ความรู้และข้อตกลงใน เรื่องคุณภาพผลผลิต วิธีการรวบรวม การจําหน่ายที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างสมาชิกและ สหกรณ์ 9) การเปิดประมูลราคารับซื้อผลผลิตจากเอกชน เป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิด ผลขาดทุนใน ธุรกิจรวบรวมผลผลิตอีกทางหนึ่ง สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลส าเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของส านักงานสหกรณ์จังหวัด ระนอง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเกษตรกรท าสวนมังคุดบ้านในวง ผลงาน/ความส าเร็จ กลุ่มเกษตรกรทําสวนมังคุดบ้านในวง จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นกลุ่มเกษตรกร ที่เพิ่งจัดตั้งแต่สามารถดําเนินธุรกิจต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการและช่วยเหลือสมาชิกให้มีรายได้จากการขาย ผลผลิตที่ราคาสูงขึ้น ได้ใช้ปัจจัยการผลิตในราคาที่ต่ํากว่าท้องตลาด กลุ่มเกษตรกรมีแผนพัฒนาธุรกิจรวบรวม ผลผลิตทางการเกษตร โดยการรวบรวมทุเรียน และมังคุดซึ่งเป็นผลผลิตหลักของสมาชิก โดยการเปิดจุดรับซื้อ เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่สมาชิกยิ่งขึ้น กลุ่มเกษตรกรมีการประชุมคณะกรรมการร่วมกับสมาชิกเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการ จากสมาชิก ทําให้สมาชิกมีความพึงพอใจจากการเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร โดยกลุ่มเกษตรกรได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เป็นเงินทุนหลักในการดําเนินธุรกิจของ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรได้ใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถส่งชําระเงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรได้ตามกําหนดสัญญา ปัจจัยแห่งความส าเร็จ สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง แนะนําและส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรทําสวนมังคุดบ้านในวง ดําเนินการ ดังนี้ 1) แนะนํา ส่งเสริม ทําความเข้าใจ และชี้แจงคณะกรรมการดําเนินการของกลุ่มเกษตรกร เรื่องการ ควบคุมภายใน และเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกร 2) ให้คําแนะนําส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร โดยหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณธุรกิจ 3) ให้คําแนะนํา ส่งเสริม กํากับ ติดตามการดําเนินงานให้กลุ่มเกษตรกรปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบและคําแนะนําที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการปูองกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในการดําเนินงาน 4) ส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรมีการประชุมกลุ่มสมาชิกเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการจากสมาชิก เพื่อการพัฒนาธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร การติดต่อด้านธุรกิจกับเครือข่ายสหกรณ์ภายในจังหวัดเพื่อให้สมาชิกได้ ใช้ปัจจัยการผลิตมีคุณภาพและราคาถูก


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๓๗ ภาพกิจกรรมและการดําเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรทําสวนมังคุดบ้านในวง


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๓๘ โครงการพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่น 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เกิดการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน การดําเนินงาน การบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงที่ยั่งยืน และมีความพร้อมเข้ารับการเสนอชื่อ สามารถเข้าประกวดเป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับชาติ 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ หมวดที่ 4 ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสหกรณ์ และมีระดับเสถียรภาพทางการเงิน ตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป 3 ปีย้อนหลัง ได้แก่ 1) สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จํานวน 3 แห่ง 2) สหกรณ์ภาคการเกษตร จํานวน 1 แห่ง 2) กลุ่มเกษตรกร จํานวน 2 แห่ง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอเมือง อําเภอกะเปอร์ อําเภอสุขสําราญ อําเภอกระบุรี และอําเภอละอุ่น จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : ทบทวนคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ระดับจังหวัด ร่วมกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์คัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเปูาหมาย เพื่อแนะนําส่งเสริม และเสนอเข้ารับ การคัดเลือกเป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ วิเคราะห์ ข้อมูลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเบื้องต้น โดยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่น เพื่อให้ทราบคะแนนในหมวดที่ 1 – 5 นํามาประกอบการวิเคราะห์ว่าข้อมูลหมวดใดบ้างที่ไม่สมบูรณ์และยัง ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม หรือยังไม่ได้ดําเนินการ เมื่อทราบข้อมูลที่ชัดเจนแล้ว จึงร่วมกับสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์พัฒนาและปรับปรุงการดําเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด ส่งเสริม แนะนําสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อพัฒนาสู่ดีเด่นและส่งเข้าประกวดคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรดีเด่น ติดตามและประเมินผลการเข้าแนะนําส่งเสริม จัดประชุมคณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรดีเด่น ระดับจังหวัดเพื่อคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรส่งเข้าประกวดคัดเลือกระดับภาคและ ระดับชาติต่อไป 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) สหกรณ์ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสู่ดีเด่น มีผลการดําเนินงานสหกรณ์ ตามเกณฑ์ การให้คะแนนสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น ประจําปี พ.ศ.2564/2565 จํานวน 3 แห่ง 2) สหกรณ์มีผลการให้คะแนนผ่านเกณฑ์ตามที่กําหนด และยื่นแบบแสดงความจํานงเข้ารับการคัดเลือก สหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัด ประจําปี2564/2565 จํานวน 2 แห่ง คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูระนอง จํากัด และร้านสหกรณ์โรงพยาบาลระนอง จํากัด ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาจากสมาชิก รวมทั้งเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมพัฒนา ตามแนวทางการ สหกรณ์และยังเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ในพื้นที่ให้กับสหกรณ์อื่น 2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่น เกิดความ ภาคภูมิใจ ที่ได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ ผลงานดีเด่น ตลอดจนสาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก และยึดถือเป็นแบบอย่างแนวทางการปฏิบัติงาน เกิดความศรัทธา ทําให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความ เข้มแข็งมากขึ้น


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๓๙ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค เนื่องจากข้อมูลที่จะต้องจัดทําเป็นรูปเล่มรายงานและการนําเสนอ มีเนื้อหาและข้อมูลจํานวนมาก ทําให้ต้อง เตรียมความพร้อมของเนื้อหาที่มีรายละเอียดมาก จึงต้องใช้ระยะเวลาในจัดทําข้อมูลทําให้สหกรณ์ไม่อยาก จัดทํารูปเล่ม แนวทางแก้ไข 1) แนะนําให้สหกรณ์มอบหมายเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการจัดทําเอกสารโดยเฉพาะและมีการประสานงาน แผนกต่าง ๆ ในการจัดหาหรือจัดทําข้อมูล เช่น ข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ รูปภาพกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสะดวกแก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลัก 2) ทําความเข้าใจกับสหกรณ์ว่าการจัดทํารูปเล่มจะเกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์เอง เพราะเป็นการรวบรวม ข้อมูลของสหกรณ์ทั้งหมด อาจจะยุ่งยากในปีแรกที่จะต้องรวบรวม แต่จะเป็นฐานข้อมูลในปีถัด ๆ ไป และ สหกรณ์สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ในการส่งเสริมพัฒนาต่อยอดหรือการประชาสัมพันธ์งานของ สหกรณ์ได้ด้วย 3) เข้าแนะนําส่งเสริมสหกรณ์ตามแผนปฏิบัติงานที่กําหนดไว้ โดยเข้าแนะนํา ติดตาม สหกรณ์ให้เก็บ รวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนมากที่สุด โดยเฉพาะในประเด็นที่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพการประชุมคณะกรรมการสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดีเด่น ประจําปี 2564/2565 ภาพการแนะนําและประสานงานการจัดทํารูปเล่มรายงานสหกรณ์ดีเด่น ระดับภาค ประจําปี 2564/2565


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๐ โครงการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์นอกภาคการเกษตรสู่ความเข้มแข็ง 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพบปะและสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยกัน 2) เพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดระนอง จํานวน 6 สหกรณ์ ประกอบด้วย 1) สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน ราชการจังหวัดระนอง จํากัด 2) สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขระนอง จํากัด 3) สหกรณ์ออมทรัพย์ ร. ๒๕ พัน ๒ จํากัด 4) สหกรณ์ออมทรัพย์ตํารวจภูธรจังหวัดระนอง จํากัด 5) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูระนอง จํากัด และ 6) สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลระนอง จํากัด 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : จัดประชุมเครือข่ายสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดระนอง ภายใต้แนวคิด "เครือข่ายเข้มข้น สหกรณ์ เข้มแข็ง" เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมสํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ชี้แจง วัตถุประสงค์ในการประชุม แจ้งสถานการณ์ทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดระนอง จัดตั้งกลุ่มไลน์ “เครือข่ายสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดระนอง” เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์และเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ และกํากับดูแลการดําเนินงานของสหกรณ์ ตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลระนอง จํากัด นําเงินไปฝากกับ สหกรณ์ออมทรัพย์ ตํารวจภูธรจังหวัดระนอง จํากัด และสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานราชการจังหวัดระนอง จํากัด รวมจํานวน 19 ล้านบาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดระนอง สร้าง สายสัมพันธ์อันดีระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยกัน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและ กันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทําให้การติดต่อปฏิสัมพันธ์และการจัดประชุมระหว่าง เครือข่ายสหกรณ์ลดลง แนวทางแก้ไข โดยการประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านเครือข่ายสหกรณ์ ผ่านสื่อออนไลน์ การประชุมผ่านระบบ Zoom Meeting ฯ 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ ประชุมการเชื่อมโยงเครือข่ายของสหกรณ์ออมทรัพย์ ภายใต้แนวคิด “เครือข่ายเข้มข้น สหกรณ์เข้มแข็ง


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๑ การประชุมแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงการด าเนินงานและการก ากับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม สหกรณ์มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตามกฎกระทรวงการดําเนินงานและการกํากับดูแลสหกรณ์ ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ๒๕๖๔ 1.2 เปูาหมาย ผู้แทนของสหกรณ์สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม สหกรณ์ 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กําหนดจัดการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ Video Conference แนวทางปฏิบัติตาม กฎกระทรวงการดําเนินงานและการกํากับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้บุคลากรของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ มีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ตามกฎกระทรวงฯ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ผู้แทนสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในจังหวัดระนอง เข้าร่วมการ ประชุมฯ จํานวน ๖ สหกรณ์รวม ๑๑ คน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ของสํานักงานสหกรณ์จังหวัดฯ เข้าร่วมการประชุมฯ จํานวน ๘ คน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ บุคลากรของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม สหกรณ์ที่เข้าร่วมการประชุมฯ มีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงการดําเนินงานและ การกํากับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ๒๕๖๔ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี - 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ผู้แทนของสหกรณ์สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง เข้าร่วมการประชุมแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงการดําเนินงานและการกํากับดูแล สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ณ ห้องประชุมสํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๒ โครงการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐานสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อวัดความเป็นสถาบันสหกรณ์ องค์กรสมาชิก 2) ประเมินศักยภาพในการดําเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ผลจากการจัดระดับมาตรฐาน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สะท้อนให้เห็นว่าสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร มีศักยภาพที่จะอํานวย บริการประโยชน์แก่สมาชิก ซึ่งเป็นเจ้าของได้ดีเพียงใด มีความสามารถในการบริหารจัดการมากน้อยเพียงใด 3) แบ่งระดับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการจัดระดับมาตรฐาน เป็นข้อมูล เบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในการแบ่งระดับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อการส่งเสริมและ พัฒนา ให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงและสอดคล้องกับความต้องการของสหกรณ์ และเพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งก้าวหน้าแก่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรต่อไป 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ที่นํามาจัดมาตรฐาน จํานวน 23 แห่ง กลุ่มเกษตรกรที่นํามาจัดมาตรฐาน จํานวน 16 แห่ง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอเมือง อําเภอกะเปอร์ อําเภอสุขสําราญ อําเภอกระบุรี อําเภอละอุ่น จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : 1) วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อกําหนดแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่เกณฑ์ มาตรฐาน 2) กํากับ แนะนํา ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการรักษามาตรฐาน และผลักดันให้ผ่าน มาตรฐาน 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จํานวน 11 แห่ง 2) กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์ฐาน จํานวน 10 แห่ง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ การรักษามาตรฐานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในภาพรวม ยังคงรักษามาตรฐานได้ตามเกณฑ์ที่กรม ฯ ก าหนด 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ส่วนใหญ่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มักจะไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ข้อ 1 ซึ่งสหกรณ์ ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์การเกษตร ผลการดําเนินงานขึ้นอยู่กับภาวะราคาผลผลิต และเป็นสหกรณ์ขนาดเล็ก 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพกิจกรรม แนะนํา ส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐานสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๓ โครงการอบรมเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการสหกรณ์เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการปูองกันและ ปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการปูองกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การ ก่อร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพท าลายล้างสูงแก่สหกรณ์ ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ว่าด้วยการปูองกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ รวมทั้งการดําเนินการของสหกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ กฎหมายว่าด้วยการปูองกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ และสหกรณ์ได้มีการกําหนดนโยบายด้านการปูองกัน และปราบปรามการฟอกเงิน และการกําหนดผู้รับผิดชอบโดยตรง ๒) เพื่อให้สหกรณ์ได้มีการนําข้อมูลการดําเนินการเกี่ยวกับการปูองกันและปราบปรามการฟอกเงินมา ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดําเนินงานของสหกรณ์ 1.2 เปูาหมาย เจ้าหน้าที่สหกรณ์ผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมาย เฉพาะสหกรณ์ที่มีทุนดําเนินการซึ่งมี มูลค่าหุ้นรวมตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป และมีวัตถุประสงค์ดําเนินกิจการเกี่ยวกับการรับฝากเงิน ให้กู้ จํานวน ทั้งสิ้น ๕๐๙ สหกรณ์ สหกรณ์ละ ๑ คน 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : โครงการอบรมเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการสหกรณ์เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการปูองกันและปราบปราม การฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการปูองกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและ การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงแก่สหกรณ์ ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting จัดการอบรมให้กับเจ้าหน้าที่สหกรณ์ผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมาย เฉพาะสหกรณ์ที่มีทุนดําเนินการซึ่งมีมูลค่า หุ้นรวมตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป และมีวัตถุประสงค์ดําเนินกิจการเกี่ยวกับการรับฝากเงิน ให้กู้ จํานวนทั้งสิ้น ๕๐๙ สหกรณ์โดยจัดอบรมแบ่งเป็น ๕ รุ่น มีหัวข้อการอบรม ๖ วิชา จํานวน ๖ ชั่วโมง 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่มีทุนดําเนินการซึ่งมีมูลค่าหุ้นรวมตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป และมีวัตถุประสงค์ดําเนิน กิจการเกี่ยวกับการรับฝากเงิน ให้กู้ในจังหวัดระนองที่ได้รับการอบรมฯ จํานวน ๒ สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์ออม ทรัพย์ครูระนอง จํากัด และสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขระนอง จํากัด ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการ ปูองกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ รวมทั้งเข้าใจในนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการปูองกันและ ปราบปรามการฟอกเงินอย่างถูกต้อง 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี -


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๔ โครงการฝึกอบรมผ่านระบบสื่อออนไลน์ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพให้แก่ข้าราชการและ พนักงานราชการ ในต าแหน่ง นิติกร” ด้วยระบบ Zoom Meetiong 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสหกรณ์แก่ข้าราชการ และพนักงานราชการ ในตําแหน่งนิติกร 1.2 เปูาหมาย ข้าราชการและพนักงานราชการ ในตําแหน่งนิติกรประจําสํานักงานสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๑ – ๒ 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : โครงการฝึกอบรมผ่านระบบสื่อสารออนไลน์ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพให้แก่ข้าราชการและพนักงาน ราชการ ในตําแหน่งนิติกร” ด้วยระบบ Zoom Meeting ระหว่างวันที่ ๗ – ๙ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งผู้เข้าอบรม ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสหกรณ์ เช่น คําสั่ง ประกาศ ระเบียบ คําแนะนํานายทะเบียนสหกรณ์ กฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ การเตรียมคดี คําสั่งทางปกครอง และการให้ความเห็นทางกฎหมาย 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ข้าราชการและพนักงานราชการ ในตําแหน่งนิติกรประจําสํานักงานสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงาน ส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๑ – ๒ ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานของสหกรณ์ในการอบรมระหว่างวันที่ ๗ – ๙ กันยายน ๒๕๖๔ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสหกรณ์ เช่น คําสั่ง ประกาศ ระเบียบ คําแนะนํานายทะเบียนสหกรณ์ กฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ การเตรียมคดี คําสั่งทางปกครอง และการให้ความเห็นทางกฎหมาย ซึ่งสามารถนําความรู้ที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการกํากับดูแล แนะนํา ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี - 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการฝึกอบรมผ่านระบบสื่อสารออนไลน์ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพให้แก่ข้าราชการและพนักงานราชการ ในตําแหน่งนิติกร” ด้วยระบบ Zoom Meeting ระหว่างวันที่ ๗ – ๙ กันยายน ๒๕๖๔


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๕ โครงการพัฒนาผู้ตรวจการสหกรณ์ หลักสูตร “ผู้ตรวจการสหกรณ์ระบบพื้นฐาน” รุ่นที่ 1-3 ผ่านระบบสื่อสารทางไกล (ระบบ Zoom) 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาองค์ความรู้ เพิ่มทักษะและประสบการณ์แก่ผู้ตรวจการสหกรณ์ให้ ก้าวทันสถานการณ์ และนําไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ๒) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมที่ทําหน้าที่ผู้ตรวจการสหกรณ์สามารถปฏิบัติงานตรวจการสหกรณ์ได้ตาม แนวทางที่นายทะเบียนสหกรณ์กําหนด 1.2 เปูาหมาย ผู้ตรวจการสหกรณ์ประจําสํานักงานสหกรณ์จังหวัดที่ยังมิได้เข้ารับการอบรม หรือเคยเข้า รับการอบรมแล้วแต่ไม่ผ่านการอบรม หลักสูตร “ผู้ตรวจการระดับพื้นฐาน” จํานวน ๑๐๐ คน 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : การจัดโครงการพัฒนาผู้ตรวจการสหกรณ์ หลักสูตร “ผู้ตรวจการสหกรณ์ระดับพื้นฐาน” รุ่นที่ ๑ – ๓ ผ่านระบบสื่อสารทางไกล (ระบบ Zoom) ให้แก่ ผู้ตรวจการสหกรณ์ประจําสํานักงานสหกรณ์จังหวัดที่ยังมิได้ เข้ารับการอบรมฯ โดยมีหัวข้อวิชาเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ประกอบด้วย ๘ วิชา และมีเนื้อหาสําหรับการ ฝึกอบรม รวม ๒๔ ชั่วโมง 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ผู้ตรวจการสหกรณ์ประจําสํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ที่ยังมิได้เข้ารับการอบรมหรือเคยเข้ารับการ อบรมแล้วแต่ไม่ผ่านการอบรม หลักสูตร “ผู้ตรวจการระดับพื้นฐาน” ได้เข้ารับการอบรมในรุ่นที่ ๒ และผ่าน การอบรมจํานวน ๓ คน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ ผู้ตรวจการสหกรณ์สามารถดําเนินการตรวจสอบสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน และสามารถเขียนรายงานผลการตรวจสอบ พร้อมให้ความเห็น/ข้อเสนอแนะ ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อพิจารณาสั่งการตามอํานาจหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี -


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๖ สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง เข้าติดตามการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัด และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอามานะห์สุขสําราญ จํากัด งานก ากับ ดูแล การแก้ไขข้อบกพร่องสหกรณ์ และงานตรวจการ 1) การติดตามการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์เพื่อติดตามประเมินผลความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ในจังหวัด ระนอง ให้ได้รับการแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ที่มีข้อพกพร่องที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งการให้คณะกรรมการดําเนินการสหกรณ์ แก้ไขข้อบกพร่อง และมีการรายงานในระบบการจัดการข้อบกพร่องของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จํานวน ๒ สหกรณ์ 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัดและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอามานะห์สุขสําราญ จํากัด 2. ผลการด าเนินงาน : สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง มีสหกรณ์ที่มีข้อพกพร่องที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งการให้คณะกรรมการ ดําเนินการสหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่อง และมีการรายงานในระบบการจัดการข้อบกพร่องของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จํานวน ๒ สหกรณ์ คือ สหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัด และสหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยนอามานะห์สุขสําราญ จํากัด ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่ได้รับการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จแต่ยังคงต้องติดตาม และสํานักงานสหกรณ์จังหวัดฯ ได้เข้าติดตามการดําเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของทั้งสองสหกรณ์อยู่ตลอด จนทําให้สหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัด สามารถแก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จสมบูรณ์ได้ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ และคงติดตามการดําเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอามานะห์สุขสําราญ จํากัด เพื่อให้สหกรณ์สามารถแก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จสมบูรณ์ต่อไป 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์ที่มีข้อบกพร่องประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของจังหวัดระนอง จํานวน ๒ แห่ง สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ดังนี้ ๑. สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จ (สมบูรณ์) จํานวน ๑ สหกรณ์ คือ สหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัด ๒. สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จ (ต้องติดตาม) จํานวน ๑ สหกรณ์ คือ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน อามานะห์สุขสําราญ จํากัด ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์สามารถดําเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเป็นไปตามแนวทางที่กําหนดตาม กฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี - 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๗ 2) การตรวจการสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการกํากับดูแลสหกรณ์ให้ดําเนินการเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายสหกรณ์ ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และเพื่อปูองกันการเกิดข้อบกพร่อง ข้อสังเกต ข้อร้องเรียน หรือปัญหาต่างๆ ในการดําเนินงานของสหกรณ์ 1.2 เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงาน ตามแผนงานปฏิบัติงานการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ความเข้มแข็ง มาตรการกํากับ ดูแล คุ้มครอง ระบบสหกรณ์ กิจกรรมการตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบสหกรณ์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของสํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ดังนี้ ๑. ตรวจสอบสหกรณ์ระดับอําเภอ ได้แก่ ๑.๑ สหกรณ์การเกษตรเมืองระนอง จํากัด ๑.2 สหกรณ์การเกษตรกระบุรี จํากัด 1.๓ สหกรณ์การเกษตรปาล์มน้ํามันกะเปอร์ จํากัด ๑.๔ สหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัด ๒. ตรวจสอบสหกรณ์ตามคําสั่งฯ เป็นกรณีพิเศษ ร้อยละ ๑๕ ของสหกรณ์ทั้งหมด ได้แก่ ๒.๑ สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตกระบุรี จํากัด ๒.๒ สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปุาน้ําขาว จํากัด ๒.๓ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทองหลางร่วมใจพัฒนา จํากัด ๒.๔ สหกรณ์รถยนต์โดยสารระนอง จํากัด 2. ผลการด าเนินงาน : การตรวจการสหกรณ์ของสํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนองในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ได้ดําเนินการ เข้าตรวจการสหกรณ์ จํานวน ๘ สหกรณ์โดยเข้าตรวจสอบครบทุกประเด็นตามรายการที่กําหนดในแนวทางการ ตรวจการสหกรณ์ดังนี้ ที่ สหกรณ์เปูาหมาย วันที่เข้าตรวจการสหกรณ์ ทีมตรวจ ตรวจสอบสหกรณ์ระดับอ าเภอ ๑ สหกรณ์การเกษตรเมืองระนอง จํากัด ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ทีม ๑ ๒ สหกรณ์การเกษตรปาล์มน้ํามันกะเปอร์ จํากัด ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ทีม ๒ ๓ สหกรณ์การเกษตรกระบุรี จํากัด ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ทีม ๑ ๔ สหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัด ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ทีม ๒ ตรวจสอบสหกรณ์ตามค าสั่งฯ ๑ สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตกระบุรี จํากัด ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔ ทีม ๑ ๒ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทองหลางร่วมใจพัฒนา จํากัด ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๔ ทีม ๒ ๓ สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปุาน้ําขาว จํากัด ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ ทีม ๑ ๔ สหกรณ์รถยนต์โดยสารระนอง จํากัด ๒๒ กันยายน ๒๕๖๔ ทีม ๒


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๘ วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ ทีมที่ ๑ เข้าตรวจการสหกรณ์การเกษตรกระบุรี จํากัด วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ ทีมที่ ๒ เข้าตรวจการสหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัด วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๔ คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ ทีมที่ ๒ เข้าตรวจการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทองหลางร่วมใจพัฒนา จํากัด วันที่ ๒2 มีนาคม ๒๕๖๔ คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ ทีมที่ ๒ เข้าตรวจการสหกรณ์รถยนต์โดยสารระนอง จํากัด 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ การตรวจการสหกรณ์ของสํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนองในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ดําเนินการ แต่งตั้งคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ จํานวน ๒ ทีม และได้ดําเนินการเข้าตรวจการสหกรณ์ จํานวน ๘ สหกรณ์ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์สามารถดําเนินงานได้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายสหกรณ์ ตลอดจนกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้อง 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี - 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๔๙ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรท าการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า (GAP) 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มี คุณภาพได้มาตรฐาน 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จํานวน 4 แห่ง สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 53 ราย 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน 1) สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ระนอง จํากัด อําเภอกระบุรี จํานวน 20 ราย 2) สหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ จํากัด อําเภอกระบุรี จํานวน 8 ราย 3) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทองหลางร่วมใจพัฒนา จํากัด อําเภอกะเปอร์ จํานวน 15 ราย 4) กลุ่มเกษตรกรทําสวนผสมบ้านในกรัง อําเภอกระบุรี จํานวน 10 ราย 2. ผลการด าเนินงาน : 1) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรส่งเสริมให้สมาชิกทําการเกษตรปลอดภัย จํานวน 4 แห่ง 2) สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมการทําเกษตรปลอดภัย จํานวน 53 ราย 3) ปริมาณธุรกิจด้านเกษตรปลอดภัยของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรขยายตัว ร้อยละ 3 4) สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 3 5) สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในปีที่ผ่านมาผ่านมาตรฐาน GAPจํานวน 64 ราย 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมสมาชิกทําการเกษตรปลอดภัย จํานวน 4 แห่ง 2) สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมการทําเกษตรปลอดภัยตามมาตรฐานการปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดี (GAP) จํานวน 53 ราย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการส่งเสริมการทําเกษตรปลอดภัยอย่างถูกวิธี มีความรู้และสามารถผลิตผักและผลไม้ได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ซึ่งในอนาคต หลังจากได้รับใบรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว คาดว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิต และเป็นที่ต้องการของตลาด 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค 1) เกษตรกรสมาชิกปลูกพืชกาแฟกันมากและเนื่องจากพืชกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดระนอง จึงมีความต้องการพัฒนาให้แปลงกาแฟผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ซึ่งจังหวัดระนองมีสหกรณ์ที่ดําเนินธุรกิจ รวบรวมผลผลิตกาแฟ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ระนอง จํากัด และสหกรณ์ การเกษตรศุภนิมิตกระบุรี จํากัด 2) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ทําให้การดําเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไม่ตรงตามแผนปฏิบัติงานที่วางไว้ เวลามีการคลาดเคลื่อนบ้างเนื่องจากจะต้องลง พื้นที่แปลงของสมาชิก แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๐ แนวทางแก้ไข 1) สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ติดต่อประสานกรมวิชาการเกษตร ในการขอรับรองมาตรฐาน GAP ผลิตกาแฟของสมาชิกสหกรณ์ 2) การประสานงานกับสมาชิก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ใช้วิธีการประสานทางโทรศัพท์ ไลน์ เพื่อจัดเก็บ ข้อมูลการดําเนินงาน 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพกิจกรรม : ร่วมกับที่ปรึกษา จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ฯ ปี 2564 ภาพกิจกรรม : ร่วมกับที่ปรึกษา ลงพื้นที่แนะนําแปลงสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ฯ ปี 2564


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๑ โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ตามพระราชดําริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(โรงเรียนบ้านในวง) และโครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ในโรงเรียนเพียงหลวงในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี(โรงเรียนเพียงหลวง 15 บ้านรังแตน) 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างสมดุล ในด้านพุทธิ ศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติมีความรักและ หวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้ 2) เพื่อขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชุมชน ทําให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ ครอบครัวและ ชุมชนเกิดการพัฒนาช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนและโรงเรียนไปพร้อม ๆ กัน 3) เพื่อผลักดันให้สถานศึกษาพัฒนาเป็นศูนย์บริการความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและชุมชน และเพิ่มขีด ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาให้แก่สถานศึกษาจากประเทศต่าง ๆ เพื่อนําไป ประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ สร้างความร่วมมือและเครือข่ายเชื่อมโยงประเทศ 4) เพื่อส่งเสริมความรู้ และทักษะด้านสหกรณ์ และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ สหกรณ์ และสร้างความคุ้นเคยกับระบบสหกรณ์ให้กับนักเรียนในขณะศึกษา 5) เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนวิชาสหกรณ์ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้มีส่วนร่วมวางแผนการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ของโรงเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 1.2 เปูาหมาย ผู้บริหาร ฝุายวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในเรียน และนักเรียน จํานวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านในวง อําเภอละอุ่น จังหวัดระนอง และโรงเรียนเพียงหลวง 15 (บ้านรังแตน) อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน 1) โรงเรียนบ้านในวง ตําบลในวงเหนือ อําเภอละอุ่น จังหวัดระนอง 2) โรงเรียนเพียงหลวง 15 (บ้านรังแตน) ตําบล จ.ป.ร. อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : 1) ประสานหน่วยงานกํากับดูแลโรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการดําเนินโครงการ กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน ภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดําริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (กพด.) (โรงเรียนบ้าน ในวง) และภายใต้โครงการกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนเพียงหลวงในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราช กัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี(โรงเรียนเพียงหลวง 15 (บ้านรังแตน)) ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๒ 2) ดําเนินการจัดประชุมหารือกับผู้บริหาร ฝุายวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ในโรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อชี้แจงและวางแผนการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน ประสานงาน หารือกับผู้บริหาร ฝุายวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เพื่อชี้แจง และวางแผนการส่งเสริม กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน โดยกําหนดแผนเข้าแนะนํา ดังนี้ 1) โรงเรียนบ้านในวง ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30 – 14.30 น. 2) โรงเรียนเพียงหลวง 15 (บ้านรังแตน) ทุกวันพุธ เวลา 14.30 – 15.30 น. 3) แนะนํา ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้เรื่องการสหกรณ์ในภาคทฤษฎีโดยจัดให้มีการจัดการเรียนรู้ วิชาการสหกรณ์ในภาคทฤษฎี “ตามช่วงชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 4) จัดกิจกรรมและแนะนําการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการสหกรณ์แก่ครูผู้รับผิดชอบ/ผู้บริหารโรงเรียน เพื่อถ่ายทอดให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้เรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ 4.1) แนะนําเกี่ยวกับการเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่ 4.2) แนะนําเกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการ 4.3) แนะนําครูผู้รับผิดชอบให้ใช้ “กิจกรรมสหกรณ์เป็นแกนกลาง”เชื่อมโยงกับกิจกรรมต่าง ๆ ของ โรงเรียน 4.4) แนะนําการประชุมในสหกรณ์นักเรียน เกี่ยวกับลักษณะของการประชุมในสหกรณ์ ขั้นตอนการ ประชุม การจัดทําระเบียบวาระการประชุม วิธีจดรายงานการประชุม ฝึกปฏิบัติจัดการประชุมและการบันทึก รายงานการประชุมแก่คณะกรรมการกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 4.5) แนะนําครูและกรรมการสหกรณ์นักเรียนฝึกปฏิบัติการบันทึกบัญชีโดยแนะนําให้ครูผู้รับผิดชอบ และกรรมการกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนฝึกปฏิบัติการบันทึกบัญชีอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งสามารถปิดบัญชีได้ตามกําหนดเวลา 4.6) จัดกิจกรรมประกวด “สุดยอดเด็กดี มีเงินออม” ของโรงเรียนบ้านในวง โดยใช้กิจกรรมการจัดทํา บัญชีต้นกล้าสําหรับนักเรียนเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 5) จัดกิจกรรมศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์แก่นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสหกรณ์ นักเรียน สมาชิกสหกรณ์ (โรงเรียนละไม่น้อยกว่า 15 คน) ดังนี้ 5.1) โรงเรียนเพียงหลวง 15 (บ้านรังแตน) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ณ สหกรณ์กองทุนสวนยาง คอคอดกระ จํากัด 5.2) โรงเรียนบ้านในวง เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 ณ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด 6) ประเมินผลการเรียนเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามคําแนะนําการ ส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 7) มอบบอร์ดแผนภาพแสดงความเชื่อมโยงกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนกับกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๓ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน สมาชิกสหกรณ์นักเรียนและครูผู้รับผิดชอบ กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนไม่น้อยกว่า โรงเรียนละ 8o คน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) นักเรียน ครู และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับการสหกรณ์สามารถนําไป ปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ การดําเนินและพัฒนากิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนและชีวิตประจําได้ 2) เด็กนักเรียนมีผลคะแนนการทดสอบวัดผลการเรียนการสอนในวิชาสหกรณ์ในภาคทฤษฎีดังนี้ (1) โรงเรียนบ้านในวง คะแนนเฉลี่ยชั้น ป. 6 ร้อยละ 78.68 (2) โรงเรียนเพียงหลวง 15 (บ้านรังแตน) - คะแนนเฉลี่ย ชั้น ป. 6 ร้อยละ 80.09 - คะแนนเฉลี่ย ชั้น ม. 3 ร้อยละ 80.34 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรคในการด าเนินงาน 1) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ทําให้การ ดําเนินกิจกรรม การแนะนําส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนต้องปฏิบัติภายใต้มาตรการในการ ปูองกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) 2) เนื่องจากคณะกรรมการดําเนินการกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนไปตาม วาระการดํารงตําแหน่ง ทําให้ขาดความต่อเนื่องในการเรียนรู้การจัดทําบัญชีสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน แนวทางแก้ไข 1) ปรับรูปแบบการแนะนํา ส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนผ่านระบบออนไลน์และใช้สื่อ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ออนไลน์ 2) แนะนําวิธีการบันทึกบัญชีสําหรับกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนแก่ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม สหกรณ์นักเรียนควบคู่กับนักเรียน 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพกิจกรรม โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ตามพระราชดําริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(โรงเรียนบ้านในวง) ภาพ การประสานงานหารือกับผู้บริหาร ฝุายวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เพื่อชี้แจงและวางแผนการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๔ ภาพ การส่งเสริมการเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน ภาพ การบูรณาการร่วมกับสํานักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ระนอง แนะนําครูและกรรมการสหกรณ์ นักเรียนฝึกปฏิบัติการบันทึกบัญชี ภาพ การติดตามการใช้ประโยชน์อาคารสหกรณ์นักเรียนที่เคยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกรมส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๕ ภาพ การประชุมผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพ กิจกรรมทัศนศึกษาเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ให้แก่คณะกรรมการนักเรียน และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ภาพกิจกรรม โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ในโรงเรียนเพียงหลวงในทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี(โรงเรียนเพียงหลวง 15 บ้านรังแตน) ภาพ การเข้าประสานงานหารือกับผู้บริหาร ฝุายวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เพื่อชี้แจงและวางแผนการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๖ ภาพ การส่งเสริมการเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน ภาพ กิจกรรมทัศนศึกษาเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ ให้แก่คณะกรรมการนักเรียน และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ภาพ มอบบอร์ดแผนภาพแสดงความเชื่อมโยงกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กับกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๗ โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรนําแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการดําเนินงาน 2) เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการดําเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง 1.2 เปูาหมาย 1) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เปูาหมายของปี 2563 จํานวน 5 แห่ง 2) สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการขยายผลเมื่อปี 2563 จํานวน 50 ราย 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : การดําเนินงานโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นการดําเนินงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีกิจกรรมที่เข้าไป ดําเนินการ ดังนี้ 1) แนะนําส่งเสริม สนับสนุนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้นําแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไป ประยุกต์ใช้ทั้งในระดับองค์กรและระดับสมาชิก และให้ดําเนินกิจกรรมตามแผนการดําเนินกิจกรรมการ ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แนะนํา ส่งเสริม และติดตามสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการขยายผลเมื่อปี 2563 ให้นําหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างต่อเนื่อง 3) คัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ได้นําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้และสามารถเป็น แบบอย่างได้ ตามแนวทางโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่กองประสานงานโครงการพระราชดําริกําหนด โดยในกิจกรรมที่ 3 สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ได้ดําเนินการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่นํา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้และสามารถเป็นแบบอย่างได้ ตามแนวทางโครงการขับเคลื่อน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยได้ดําเนินกิจกรรมการคัดเลือกสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรที่เคยเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรของกรม ส่งเสริมสหกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน จํานวน 14 สถาบัน ดําเนินการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร จํานวน 2 แห่งที่มีรูปแบบการบริหารจัดการ เป็นแบบอย่างสําหรับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอื่น ในการนําไปประยุกต์ใช้ ในการดําเนินงานการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และการสนับสนุนให้สมาชิก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการดําเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป และเป็นการยกย่อง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้น้อมนําแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับองค์กรและ ระดับสมาชิก โดยมีกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 ร่วมติดตามแนะนํา ส่งเสริมการประกวด ซึ่งได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการดําเนินงานในการขับเคลื่อนปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับจังหวัด และประชุมพิจารณาผลการคัดเลือก เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 โดยมีสหกรณ์การเกษตรกระบุรี จํากัด และกลุ่มเกษตรกรทําสวนมะมุ ได้รับการคัดเลือกดีเด่นในระดับจังหวัด แต่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินการคัดเลือกตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กําหนดไว้ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการ พิจารณาคัดเลือกฯ ได้มีมติมอบเกียรติบัตรรางวัลชมเชยให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวต่อไป


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๘ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับการแนะนําส่งเสริม สนับสนุนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้นําแนวทาง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ทั้งในระดับองค์กรและระดับสมาชิก และให้ดําเนินกิจกรรม ตามแผนการดําเนินกิจกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จํานวน 5 แห่ง 2) สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการขยายผลเมื่อปี 2563 ได้รับการแนะนํา ส่งเสริม และติดตามให้นําหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างต่อเนื่อง จํานวน 5 แห่ง ๆ ละ 10 ราย 3) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จํานวน 2 แห่ง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผล การดําเนินงานในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ระดับจังหวัด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินงานและ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้นําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจําวัน 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่มีการดําเนินการโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง แต่มีขั้นตอนการดําเนินการที่ไม่ชัดเจน แนวทางแก้ไข แนะน า และส่งเสริมการด าเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีกิจกรรมการด าเนินงานที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการธุรกิจหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยส านักงานสหกรณ์ จังหวัดและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่ดูแลส่งเสริม 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๕๙ ภาพกิจกรรม แนะนํา ส่งเสริมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตร ในระดับองค์กรและระดับสมาชิก ภาพ การประชุมการพิจารณาคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการดําเนินงานในการ ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ระดับจังหวัด


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๐ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย 2) เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามระบบเกษตร ทฤษฎีใหม่ และสามารถนําไปปรับใช้เพื่อการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 3) เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ มีศักยภาพในการดําเนินกิจกรรมทางการเกษตร ตามแนวทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และสามารถนําไปสู่ขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ต่อไป 1.2 เปูาหมาย เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2562 จํานวน 51 ราย 1) ปี พ.ศ. 2560 จํานวน 17 ราย 2) ปี พ.ศ. 2561 จํานวน 17 ราย 3) ปี พ.ศ. 2562 จํานวน 17 ราย 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอเมือง อําเภอกะเปอร์ อําเภอสุขสําราญ อําเภอกระบุรี และอําเภอละอุ่น จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : 1) ประสานงาน ติดตามและตรวจเยี่ยมเกษตรกรให้ดําเนินกิจกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างต่อเนื่อง 2) แนะนํา ส่งเสริมให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ 3) ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ในการส่งเสริมให้เกิดการร่วมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในการดําเนินกิจกรรม การประกอบอาชีพ หรือสร้างเครือข่ายร่วมกัน 4) แนะนํา ส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นจุดเรียนรู้ และประสานสํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดระนองถึงแผนการดําเนินโครงการ/แนวทาง เพื่อพัฒนาให้ เป็นแปลงต้นแบบที่สามารถให้ผู้ที่สนใจศึกษาดูงานได้ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) ประสานงาน ติดตามและตรวจเยี่ยมเกษตรกรเปูาหมายดําเนินงานตามโครงการส่งเสริมการเกษตร ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ จํานวน 51 ราย 2) เกษตรกรได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นจุดเรียนรู้จํานวน 1 ราย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) เกษตรกรจํานวน 1 ราย สามารถเป็นต้นแบบและเป็นศูนย์เรียนรูการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ให้กับผู้เขา โครงการและเกษตรกรรายอื่นที่สนใจจะทําเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ได้ 2) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งพาตนเอง สามารถพัฒนา สู่เกษตรกรต้นแบบทฤษฎีใหม่และขยายผล เรียนรู้การทําการเกษตรอย่างง่ายตามที่ตนเองถนัดตามกําลังฐานะ ของตนเอง ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคและแบ่งปัน สามารถนําไปจําหน่ายเป็นรายได้เสริมได้ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค 1) การดําเนินงานตามโครงการ จากการประสานงาน เกิดจากภารกิจของแต่ละหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ มาก ทําให้ไม่สามารถออกเยี่ยมแนะนําเกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบได้บ่อยเท่าที่ต้องการ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๑ 2) เกษตรกรบางรายมีความตั้งใจแต่ไม่สามารถทํากิจกรรมแปลงได้เต็มที่เนื่องจากขาดเงินทุนในการ ซื้อปัจจัยการผลิต และเกษตรกรยังไม่มีความพร้อมในเรื่องปริมาณและคุณภาพของผลิตผล 3) เนื่องจากสถานการณการแพรระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทําให้ไม่สามารถ ออกเยี่ยมแนะนําเกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ แนวทางแก้ไข 1) ปรับปรุงแผนปฏิบัติงานการส่งเสริมเกษตรกรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใน ปัจจุบัน 2) ประชาสัมพันธ์ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต สําหรับเกษตรกรที่เข้า ร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ 3) ปรับเพิ่มรูปแบบการแนะน า ส่งเสริม และติดตาม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยแนะน า ส่งเสริมและติดตาม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Application Line และโทรศัพท์ เป็นต้น 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๒ ภาพกิจกรรม การแนะนํา ส่งเสริม และติดตามเกษตกรตามแนวทางโครงการทฤษฎีใหม่ ภาพกิจกรรม เกษตรกรจุดเรียนรู้ทฤษฎีใหม่


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๓ โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เปูาหมาย ได้รับความรู้ด้านการสหกรณ์เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจําวัน ในการพัฒนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดี 2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะด้านการสหกรณ์ และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ สหกรณ์ สร้างจิตสํานึกในการทํางานร่วมกันให้ประชาชน จนสามารถนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ 3) เพื่อให้ประชาชนได้มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว 4) เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถนําไปปรับใช้เพื่อ ประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 1.2 เปูาหมาย ประชาชนในพื้นที่ที่จัดโครงการ จังหวัดระนอง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอเมือง และอําเภอสุขสําราญ จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : 1) ประสานงาน ติดต่อ เข้าร่วมประชุมร่วมกับสํานักงานเกษตรจังหวัดระนอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินกิจกรรมการจัดคลินิกสหกรณ์ ภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ฯ 2) ประชาสัมพันธ์การจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ฯ โดยใช้แผ่นประชาสัมพันธ์ผ่านเพจเฟฺซบุค สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง และผ่านช่องทาง Application Line 3) เข้าร่วมจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ จํานวน 4 ครั้ง ดังนี้ 3.1) ที่ทําการกลุ่มเกษตรกรทําสวนนาคา หมู่ที่ 7 ตําบลนาคา อําเภอสุขสําราญ จังหวัดระนอง 3.2) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อําเภอเมือง จังหวัดระนอง 3.3) สํานักงานเกษตรจังหวัดระนอง ตําบลเขานิเวศน์ อําเภอเมือง จังหวัดระนอง 3.4) สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ตําบลเขานิเวศน์ อําเภอเมือง จังหวัดระนอง ทั้งนี้ ภายในคลินิกสหกรณ์มีกิจกรรม ได้แก่ การจัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ การให้ คําปรึกษาเรื่องสหกรณ์ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ กิจกรรมสร้างวินัยการออม และส่งเสริมการดําเนินชีวิตตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งแจกแผ่นพับความรู้เรื่องการสหกรณ์ ตัวอย่างน้ํายาล้างจาน และกระปุกออมสินแก่เกษตรกรที่มาใช้บริการ 3.5) รายงานผลการดําเนินงานตามแบบรายงานที่กองประสานงานโครงการพระราชดําริกําหนด 3.6) รายงานผลการดําเนินงานในระบบข้อมูลโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ฯ ของกรมส่งเสริม การเกษตร 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ จํานวน 198 ราย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปในพื้นที่จัดโครงการ สามารถเข้าถึงการให้บริการและได้รับ ทราบข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการสหกรณ์ การรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ การจัดตั้งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้มากขึ้น 2) สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน รวมถึงความประทับใจในการรับบริการจากสํานักงานสหกรณ์ จังหวัดระนอง 3) ผู้ใช้บริการคลินิกสหกรณ์เพิ่มขึ้น จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คิดเป็น 5%


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๔ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทําให้การดําเนิน กิจกรรมไม่สามารถดําเนินการได้ทําให้ผลงานการเข้าร่วมจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ไม่เป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้ แนวทางแก้ไข 1) ตั้งจุดให้บริการโครงการคลินิกเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ ณ สํานักงานสหกรณ์จังหวัด โดยมี เจ้าหน้าที่ประจําจุดให้บริการเพื่อให้คําแนะนํา บริการวิชาการ และแผ่นพับ 2) เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรทั่วไป ให้มารับบริการ โครงการคลินิกเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ การร่วมจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ครั้งที่ 1 ภาพ การร่วมจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ครั้งที่ 2


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๕ ภาพ การร่วมจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ครั้งที่ 3 ภาพ การร่วมจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ครั้งที่ 4


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๖ โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและลดต้นทุนในการประกอบอาชีพการเกษตรแก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ๒) เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ประกอบอาชีพการเกษตรมีโอกาสนําเงินส่วนที่ได้รับการ ช่วยเหลือไปฟื้นฟูประกอบอาชีพ ตลอดจนมีเงินทุนไว้ใช้จ่ายในครัวเรือน 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ จํานวน 4 แห่ง สมาชิกรวม 381 ราย ประกอบด้วย 1) กลุ่มเกษตรกรทําสวนเกาะช้าง จํานวน 18 ราย 2) สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตกระบุรี จํากัด จํานวน 161 ราย 3) สหกรณ์การเกษตรกระบุรี จํากัด จํานวน 183 ราย 4) สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปุาน้ําขาว จํากัด จํานวน 19 ราย 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : จังหวัดระนองได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - ๒๕๖๓ จํานวน 384 ราย จํานวนเงิน ๕23,169.66 บาท สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนองดําเนินการเบิกจ่าย เงินชดเชยดอกเบี้ยให้กลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ สมาชิก 18 ราย จํานวนเงิน ๗,973.92 บาท และเบิกจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้สหกรณ์ 3 สหกรณ์ สมาชิก 363 ราย จํานวนเงิน 496,207.76 บาท รวมเบิกจ่ายให้กับสมาชิก 381 ราย จํานวนเงิน ๕15,195.74 บาท คิดเป็นร้อยละ 96.37 ของวงเงินที่ได้รับจัดสรร และได้ส่งเงินอุดหนุนชดเชยดอกเบี้ยคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์ จํานวน ๑๘,๙๘๗.๙๘ บาท เนื่องจากตรวจพบสมาชิกที่ขาดคุณสมบัติ จํานวน ๓ ราย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนองได้ดําเนินการตรวจสอบ ติดตาม แนะนํา และ กํากับการจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562 – 2563) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ ฯ โดยสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร สามารถจ่ายเงินอุดหนุนให้กับสมาชิกได้ตามเงื่อนไขโครงการ ฯ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้ในวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรได้รับการลดภาระดอกเบี้ย และลดต้นทุนในการประกอบอาชีพการเกษตรแก่สมาชิก จํานวน 4 แห่ง สมาชิกรวมจํานวน ๓81 ราย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต ร้อยละ 3 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ภาพ มอบเงินอุดหนุนชดเชยดอกเบี้ยและชี้แจงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ ฯ ให้ทราบและถือปฏิบัติ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๗ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินท ากินของเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มประชาชนภายในพื้นที่เปูาหมายการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนในรูปแบบ สหกรณ์ 2) เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพ และการตลาดในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ําอย่างยั่งยืน 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความกินดี อยู่ดี มีสันติสุข และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน 1.2 เปูาหมาย 1) คณะทํางานด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ภายใต้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดิน จังหวัดระนอง (คทช.จังหวัดระนอง) 2) เกษตรกรในพื้นที่ปุาสงวนแห่งชาติปุาคลองลําเลียง - ละอุ่น อําเภอกระบุรีจังหวัดระนอง 3) เกษตรกรในพื้นที่ปุาสงวนแห่งชาติปุาคลองเส็ตกวด ปุาเขาหินช้างและปุาเขาสามแหลม อําเภอเมือง จังหวัดระนอง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอเมือง อําเภอกระบุรี และอําเภอละอุ่น จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : 1) จัดประชุมคณะทํางานด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ภายใต้คณะอนุกรรมการนโยบาย ที่ดินจังหวัดระนอง (คทช.จังหวัดระนอง) เพื่อร่วมกันวางแผนการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ตามกรอบ ภารกิจ 6 ด้าน 2) นําเสนอแผนการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดให้ที่ประชุม คทช.จังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามแผนงานเป็นรายพื้นที่ เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามแผนงาน 3) ขับเคลื่อนการดําเนินงานตามแผนการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดในพื้นที่ 4) จัดอบรมให้ความรู้ตลาดนําการผลิตให้เกษตรกรในพื้นที่ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) จัดประชุมคณะทํางานด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ภายใต้คณะอนุกรรมการนโยบาย ที่ดินจังหวัดระนอง (คทช.จังหวัดระนอง) จํานวน 4 ครั้ง 2) เกษตรกรในพื้นที่ คทช. ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ตลาดนําการผลิต จํานวน 30 ราย 3) จัดทําฐานข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ คทช.ที่รับผิดชอบ จํานวน 2 พื้นที่ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯอบรมให้ความรู้ตลาดนําการผลิต มีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 2) เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ และมีทักษะด้านการตลาด นําการผลิต สามารถวางแผนการผลิต และหาช่องทางการจําหน่ายสินค้าเกษตรได้ ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นแผนแม่บท 16 เศรษฐกิจฐานราก แผนงานบูรณาการ แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๘ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19) ในพื้นที่ทําให้ การจัดอบรมโครงการต้องดําเนินการภายใต้มาตรการทางสาธารณสุข รวมถึงการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เกษตรกรในพื้นที่ คทช. เกษตรกรมีการใช้ชีวิตประจําวันแบบระมัดระวัง ในการติดต่อกับบุคคลภายนอก ครอบครัว 2) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอบรม ฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทําให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาและต่อยอด ในการนําความรู้ที่ได้รับมาประกอบอาชีพ แนวทางแก้ไข 1) จัดกิจกรรมภายใต้มาตรการแนวทางการปูองกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเจ้าหน้าที่ อสม.ในพื้นที่ อํานวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตาม มาตรการ ฯ รวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ วิทยากร และผู้เข้าร่วมอบรม สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลา การจัดอบรม 2) ติดต่อ และประสานงาน ผ่านผู้นําชุมชนในพื้นที่ เพื่อลดการพบปะเกษตรกรโดยตรง 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ การประชุมคณะทํางานด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ภายใต้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดระนอง (คทช.จังหวัดระนอง)


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๖๙ ภาพ การโครงการอบรมให้ความรู้ตลาดนําการผลิตให้เกษตรกร ภาพ การลงพื้นที่จัดทําฐานข้อมูลเกษตรกร ในพื้นที่ คทช. ภาพ การแนะนําเกษตรกร ในการสร้างตราสินค้าสําหรับผลิตภัณฑ์ "น้ําอ้อยสด"


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๐ โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ ฯ (น าลูกหลานเกษตรกรหลับบ้านฯ) 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการนําลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร ได้เข้าถึงองค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต รวมถึงการสร้างอาชีพการเกษตรอย่างยั่งยืน ให้เกิดความมั่นคงในการ ประกอบอาชีพการเกษตร 2) เพื่อให้สหกรณ์เป็นศูนย์กลางในการสร้างอาชีพที่มั่นคง มีการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ แก่ชุมชน รวมทั้งสามารถยกระดับสหกรณ์ให้เป็นที่พึ่งของสมาชิกอย่างแท้จริง 1.2 เปูาหมาย เกษตรกรในโครงการนําลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร จํานวน 2 ราย 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอสุขสําราญ จํานวน 1 ราย และอําเภอเมือง จํานวน 1 ราย 2. ผลการด าเนินงาน : ดําเนินการคัดเลือกเกษตรกรตามโครงการนําลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร เข้าร่วม โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตร จํานวน 2 ราย ได้แก่ นายนันทชิต ขนาบแก้ว และนายจักรกฤษณ์ ชัยสุภา เข้าตรวจเยี่ยม ประเมินความพร้อมของลูกหลาน เกษตรกรเปูาหมายพื้นที่และปัจจัยการผลิต จัดทําฐานข้อมูลพื้นฐานของลูกหลานเกษตรกรเปูาหมาย วิเคราะห์ ปัจจัยแวดล้อม และวางแผนงานการส่งเสริมลูกหลานเกษตรกรเปูาหมายให้เหมาะสมกับพื้นที่ปัจจัยการผลิต ความรู้และประสบการณ์ของลูกหลานเกษตรกรเปูาหมาย แนะนํา กํากับ ส่งเสริมการวางแผนการผลิต/ แผนการตลาด/แผนธุรกิจที่เหมาะสมให้แก่ลูกหลานเกษตรกรเปูาหมาย และเข้าร่วมโครงการอบรมแนว ทางการประกอบอาชีพเกษตรสมัยใหม่ผ่านระบบสื่อสารทางไกล (ระบบ Zoom) จังหวัดระนอง รุ่นที่ 4 และ ลงพื้นที่ แนะนํา ติดตามผลการดําเนินงานในแปลงผลิต 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ เกษตรกร จํานวน 2 ราย ได้รับความรู้ในเรื่องการจัดทําแผนการผลิต การวิเคราะห์ดินและใช้ปุ฻ยเพื่อการ เพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพ และการควบคุมแมลงศัตรูพืชเพื่อเกษตรปลอดภัย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ ฯ สามารถลดต้นทุนการผลิต มีความรู้ในการประกอบอาชีพการเกษตรเพิ่มขึ้น 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค เกษตรกรเริ่มทําการเกษตร มีรายได้เพียงเล็กน้อยจากการประกอบอาชีพการเกษตร เนื่องจากต้องใช้ ระยะเวลาในการเพาะปลูก แนวทางแก้ไข แนะนําทําประกอบอาชีพเสริม หรือปลูกพืชหมุนเวียนที่มีรายได้เร็ว ร่วมกับปลูกพืชยืนต้น


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๑ 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ : เข้าร่วมอบรมวันที่ 16 – 23 กุมภาพันธ์ 2564 ภาพ : ลงพื้นที่แนะนํา ตรวจเยี่ยม นายจักรกฤษณ์ ชัยสุภา และนายนันทชิต ขนาบแก้ว


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๒ โครงการพัฒนาศักยภาพการด าเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน กิจกรรมที่ 1 : เพิ่มศักยภาพการด าเนินธุรกิจรวบรวม จัดเก็บ และแปรรูปผลผลิตการเกษตรในสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บ และแปรรูป ผลผลิตสินค้าเกษตรของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงการตลาดไปตลอดหวงโซ่อุปทาน 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ จํานวน 1 แห่ง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ จํากัด 2. ผลการด าเนินงาน : สหกรณ์เปูาหมายได้รับการอบรม จัดโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ กิจกรรม การเพิ่มศักยภาพการผลิตและ แปรรูปแผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีต (RFB) และหลักนําทางยางธรรมชาติ (RGP) ผ่านระบบ Zoom กิจกรรม การส่งเสริมสถาบันเกษตรกรเป็นผู้ผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีต (RFB) และหลักยาง นําทางธรรมชาติ (RGP) ระยะขยายผล ผ่านระบบ Zoom ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานขับเคลื่อนโครงการ พัฒนาศักยภาพการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน และผลักดันให้สหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรดําเนินธุรกิจรวบรวม จัดเก็บ และแปรรูปผลผลิตการเกษตรตามเปูาหมายโครงการ ฯ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ จํากัด มีปริมาณธุรกิจรวม ทั้งสิ้น 43,3905,447.18 บาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์เป็นจุดศูนย์กลางในการรวบรวมผลิตยางพาราของเกษตรกรสมาชิก 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข – ไม่มี - 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ : เข้าร่วมอบรมผ่านระบบ Zoom ภาพ : ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม แนะน า ติดตามการด าเนินงาน


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๓ กิจกรรมที่ 2 : เพิ่มขีดความสามารถในการด าเนินธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้เป็นองค์กรหลักใน การพัฒนาเศรษฐกิจระดับอ าเภอ 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินกิจการและธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับอําเภอ 2) เพื่อผลักดันให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บ และแปรรูปผลผลิต สินค้าเกษตรของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรรวมถึงการตลาดไปตลอดหวงโซ่อุปทาน 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ จํานวน 5 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร จํานวน 1 แห่ง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด สหกรณ์ การเกษตรกระบุรี จํากัด สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตกระบุรี จํากัด สหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ จํากัด สหกรณ์การเกษตรปาล์มน้ํามันกะเปอร์จํากัด และกลุ่มเกษตรกรทําสวนนาคา 2. ผลการด าเนินงาน : 1) ดําเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทําแผนพัฒนาองค์กร และแผนพัฒนาธุรกิจให้กับสถาบัน เกษตรกร เปูาหมาย จํานวน 6 แห่ง พร้อมแนะนํา ส่งเสริม และสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรเปูาหมาย ขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนดังกล่าว วันที่ 17 - 18 มิถุนายน 2564 ณ ภูธารารีสอร์ท อําเภอเมือง จังหวัดระนอง มีผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งสิ้น 28 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จํานวน 18 คน ผู้แทนสํานักงานสหกรณ์จังหวัด/เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ จํานวน 6 คน ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ/ เอกชน อื่นๆ จํานวน 4 คน ได้แก่ สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดระนอง สํานักงานพาณิชย์จังหวัดระนอง สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดระนอง สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง 2) จัดอบรมหลักสูตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป ภายใต้โครงการ 1 อําเภอ 1 ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ให้กับสถาบันเกษตรกรเปูาหมาย จํานวน 6 แห่ง ในวันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2564 ณ ภูธารารีสอร์ท อําเภอเมือง จังหวัดระนอง มีผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งสิ้น 40 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร จํานวน 35 คน ผู้แทนสํานักงานสหกรณ์จังหวัด /เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ จํานวน 5 คน 3) คัดเลือกผลิตภัณฑ์ ประเมินความพร้อมและศักยภาพทางการตลาดในเชิงพาณิชย์ เพื่อจัดทําแผนพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (รายผลิตภัณฑ์) เปูาหมายตามที่แผนกําหนด หน่วยงานละไม่น้อยกว่า 2 ผลิตภัณฑ์ ในวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กาแฟแปรรูปของสหกรณ์ การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด และผลิตภัณฑ์ยางพารา ของสหกรณ์กองทุนสวนยาง คอคอดกระ จํากัด 4) จัดทํา VTR แสดงผลสําเร็จของการดําเนินกิจกรรมเพื่อใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในเชิงประจักษ์ ระหว่างวันที่ 12 - 16 กรกฎาคม 2564 มีการประชาสัมพันธ์โครงการ โดยการจัดทําคลิปวิดีโอ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๔ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) ผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ 28 ราย ได้รับความรู้การจัดทําแผนพัฒนาองค์กร แผนพัฒนาธุรกิจ แผนบริหาร จัดการสินค้าเกษตรในระดับจังหวัด (OPP) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป 2) จัดทําแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรในระดับจังหวัด (OPP) จํานวน 1 แผน แผนพัฒนาองค์กร 6 แห่ง แห่งละ 1 แผน และแผนพัฒนาธุรกิจ 6 แห่ง ๆ ละ 1 แผน 3) จัดทํา VTR สหกรณ์ จํานวน 2 แห่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กาแฟแปรรูป ของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด ลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด และผลิตภัณฑ์ยางพารา ของสหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ จํากัด ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเปูาหมายมีการขับเคลื่อนแผนธุรกิจสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง มีแผนในการเพิ่มมูลค่าสินค้า เกษตรโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น และมีช่องทาง การจําหน่ายเพิ่มขึ้น เช่น การทําตลาดออนไลน์ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี - 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพกิจกรรม : จัดประชุมฯ วันที่ 17 - 18 มิถุนายน 2564 ภาพกิจกรรม : จัดอบรมฯ วันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2564


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๕ ผลการด าเนินงาน/โครงการตามนโยบายส าคัญ ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกรรองรับผลผลิตทาง การเกษตร (พระราชก าหนดให้อ านาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับ ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรเป็นกลไกลหลักในระดับชุมชนในการอํานวย ความสะดวกให้แก่สมาชิกและเกษตรกรทั่วไปในการเพาะปลูก การรวบรวม จัดเก็บ และแปรรูปผลผลิตการเกษตร 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ จํานวน 1 แห่ง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ได้ดําเนินการและถือปฏิบัติตามรายการเงินอุดหนุนและคู่มือการ ดําเนินงานโครงการ ฯ ตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กําหนดโดยแนะนําให้สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด ดําเนินการจัดซื้อเครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง จํานวน 20 เครื่อง ตามกระบวนการจัดซื้อจัด จ้างตามวงเงินที่ได้รับจัดสรร สหกรณ์นําอุปกรณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ และสหกรณ์จังหวัดระนองได้มีการกํากับ ติดตาม ส่งเสริมและรายงานผลการดําเนินงานและการใช้ประโยชน์ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด ได้ดําเนินการจัดซื้อเครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง จํานวน 20 เครื่อง กรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรร เป็นเงิน 190,000 บาท รัฐอุดหนุน เป็นเงิน 171,000 บาท และสหกรณ์ฯ สมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เป็นเงิน 19,000 บาท สหกรณ์สมทบส่วนเกินเพิ่มเติม เป็นเงิน 8,000 บาท รวมสมทบทั้งสิ้นเป็นเงิน 27,000 บาท และสหกรณ์ให้บริการสมาชิก คิดค่าบริการใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 7,200 บาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สมาชิกสหกรณ์ลดใช้สารเคมีในแปลงเกษตร และสหกรณ์ให้บริการสมาชิก โดยอํานวยความสะดวก เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ให้เกษตรกรสมาชิกนําไปตัดหญ้าในพื้นที่ทําการเกษตรของตนเอง คิดค่าบริการใน ราคาที่เป็นธรรม ทําให้สามารถลดต้นทุนการผลิต 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี - 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ งานส่งเสริมและพัฒนา ภาพกิจกรรม : ตรวจรับเครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๖ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) 2) เพื่อเชื่อมโยงสินค้า/ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ ให้มีแหล่งจําหน่ายซื้อ - ขาย และมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ จํานวน 1 แห่ง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ได้จัดทําโครงการเชื่อมโยงสินค้า/ผลิตภัณฑ์ระหว่างจังหวัดระนองกับจังหวัด บุรีรัมย์สู้ภัยโควิด - 19 โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน 17 หน่วยงาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร สถาบัน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ให้มีแหล่งจําหน่ายซื้อ-ขาย สามารถเชื่อมโยงสินค้า/ผลิตภัณฑ์ระหว่างกันและมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดกิจกรรม Kick off โครงการเชื่อมโยงสินค้า/ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของจังหวัด ระนองกับจังหวัดบุรีรัมย์ (การขนส่งสินค้าฯ โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ) ในวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ณ ท่าอากาศยานระนอง อําเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยสินค้าที่แลกเปลี่ยน คือ สินค้าทางการเกษตรของจังหวัด ระนอง ส่งให้จังหวัดบุรีรัมย์จํานวน 8 รายการ มูลค่า 150,260 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นสองร้อยหกสิบ บาทถ้วน) และสินค้าที่จังหวัดบุรีรัมย์ส่งให้จังหวัดระนอง คือ ข้าวสารหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอรี่ รวม 9.35 ตัน มูลค่า 310,050 บาท (สามแสนหนึ่งหมื่นห้าสิบบาทถ้วน) 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ จังหวัดได้มีการเชื่อมโยงสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยมีสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด เป็นแม่ข่ายในการเชื่อมโยง ซึ่งสินค้าจังหวัดระนอง มูลค่าทั้งสิ้น 150,260 บาท และสินค้าและผลิตภัณฑ์ จากจังหวัดบุรีรัมย์ มูลค่าทั้งสิ้น 310,050 บาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด มีการเชื่อมโยงสินค้ากับสหกรณ์การเกษตร เพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. บุรีรัมย์ จํากัด อย่างต่อเนื่อง มียอดขายสินค้าข้าวสารที่นํามาจากสหกรณ์ การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.บุรีรัมย์ จํากัด เพิ่มขึ้น เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายให้ จัดถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยใช้สินค้าจากสหกรณ์ เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าของสหกรณ์ (ข้าวสารหอมมะลิ กาแฟ) ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นการบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ภาคี ภายใต้แนวคิด “เกษตรผลิต พาณิชย์จําหน่าย” ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ให้มีแหล่งจําหน่ายซื้อ - ขาย และมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี -


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๗ 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพกิจกรรม : การเชื่อมโยงสินค้า/ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรระหว่างจังหวัดระนอง กับจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 ภาพ : ประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและแนวทางการดําเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาคี วันที่ 18 พ.ค. 64 ภาพ : ประชุมเพื่อคัดเลือกสินค้าในจังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 64 ภาพ : ประชุมเพื่อกําหนดวันในการดําเนินกิจกรรม Kick off เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 64


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๘ ระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ให้มีตลาดรองรับ โดยการเชื่อมโยงตลาดร่วมกันระหว่างผู้ผลิตแปลง ใหญ่และผู้ซื้อ 2) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มการผลิต การจําหน่าย และการบริหารจัดการร่วมกัน 1.2 เปูาหมาย 1) แปลงใหญ่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดระนอง จํานวน 47 แปลง 2) แปลงใหญ่ของสหกรณ์ จํานวน 3 แปลง (รวมอยู่ในแปลงใหญ่กระทรวงฯ) 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ จํากัด (แปลงใหญ่ยางพารา) สหกรณ์การเกษตร ศุภนิมิตกระบุรี จํากัด (แปลงใหญ่กาแฟ) และกลุ่มเกษตรกรทําสวนเกาะพยาม (แปลงใหญ่มะม่วงหิมพานต์) 2. ผลการด าเนินงาน : ลงพื้นที่แนะนํา ส่งเสริม การวางแผนการผลิต การตลาดการเชื่อมโยงผลผลิตแปลงใหญ่กับสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ จํากัด ได้มีการรวบรวมผลผลิตยางพาราจากสมาชิกแปลงใหญ่ ปริมาณ 1,892.15 ตัน มูลค่า 53.18 ล้านบาท และสหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตกระบุรี จํากัด ได้มีการรวบรวมผลผลิต กาแฟจากสมาชิกแปลงใหญ่ ปริมาณ 50 ตัน มูลค่า 3.5 ล้านบาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สมาชิกมีแหล่งจําหน่ายผลผลิต 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี - 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ : ร่วมบูรณาการโดยร่วมเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ฯ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๗๙ การกระจายผลไม้ผ่านเครือข่ายสหกรณ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกเกษตรกร จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อบรรเทาผลกระทบของสมาชิกจากการที่ไม่สามารถจําหน่ายผลไม้ส่งออกต่างประเทศจาก สถานการณ์โรคไวรัสโควิด – 19 2) เพื่อลดผลกระทบของสถาบันเกษตรกรจากการหยุดรับซื้อผลไม้ออกจากแหล่งผลิต โดยใช้สถาบัน เกษตรกร เป็นกลไกในการขับเคลื่อนไปสู่ผู้บริโภคในราคาที่เป็นธรรม 3) เพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพด้านปริมาณและราคาผลผลิตของสมาชิกสหกรณ์และสถาบันเกษตรกร 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ จํานวน 1 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จํานวน 1 แห่ง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ระนอง จํากัด และกลุ่มเกษตรกรทําสวนปากจั่น 2. ผลการด าเนินงาน : สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ประสานสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และภาคีเครือข่ายที่รวบรวมผลผลิตมังคุด ให้ช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกในการรวบรวม และประสานตลาดปลายทางเพื่อกระจายมังคุดไปยังตลาด ปลายทางเครือข่ายภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง เครือข่ายสํานักงานพาณิชย์จังหวัด เครือข่าย สกต. และเครือข่ายสหกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งสถาบันเกษตรที่รวบรวมผลผลิตมังคุด จํานวน 2 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ระนอง จํากัด และกลุ่มเกษตรกรทําสวนปากจั่น กระจายผลผลิตไปยัง จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ เพชรบุรีสิงห์บุรีบุรีรัมย์อุทัยธานีกําแพงเพชร พิจิตร เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ราชบุรีเลย พิษณุโลก บึงกาฬ กรุงเทพฯ สุรินทร์ประจวบคีรีขันธ์สมุทรปราการ นครปฐม ขอนแก่น พิจิตร ลําปาง เชียงราย หนองบัวลําภูตาก สุโขทัย เชียงราย นครพนม และบึงกาฬ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ผลการรวบรวมและกระจายผลผลิตมังคุดไปยังจังหวัดต่าง ๆ จํานวนทั้งสิ้น 129.04 ตัน มูลค่ารวม 3.40 ล้านบาท ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ระนอง จํากัด จํานวน 80.5 ตัน มูลค่า 2.15 ล้านบาท และกลุ่มเกษตรกรทําสวนปากจั่น จํานวน 48.54 ตัน มูลค่า 1.25 ล้านบาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สถาบันเกษตรกรเป็นกลไกในการขับเคลื่อนไปสู่ผู้บริโภคในราคาที่เป็นธรรม และบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับเกษตรสมาชิกให้มีแหล่งจําหน่ายผลผลิต 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข - ไม่มี - งานก ากับติดตามและงานแก้ปัญหา


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๘๐ 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ : การรวบรวมและกระจายผลผลิตมังคุดไปยังจังหวัดต่าง ๆ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๘๑ ก าหนดแนวทางการส่งเสริมสหกรณ์ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกที่มีปัญหาในการประกอบ อาชีพทางการเกษตร (สนับสนุนวงเงินกู้จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์) 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่สหกรณ์ ให้สมาขิกกู้ยืมเป็นทุนหมุนเวียนในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก 2) เพื่อสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ําให้สหกรณ์นําไปช่วยเหลือสมาชิกในการประกอบอาชีพ 3) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้สมาชิกสหกรณ์ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้มีทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพ ฟื้นฟู อาชีพ เพื่อก่อให้เกิดรายได้ 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ จํานวน 2 สหกรณ์ ดังนี้ 1) สหกรณ์การเกษตรกระบุรี จํากัด 2) สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตกระบุรี จํากัด 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 2. ผลการด าเนินงาน : จังหวัดระนอง ได้รับจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ที่มี ปัญหา ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร และสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้มีทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ จํานวน 2 โครงการ จํานวนเงิน 2.867 ล้านบาท ดังนี้ 1) โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพสมาชิกสหกรณ์ ปีที่ 2 จํานวน 1.80 ล้านบาท อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อเบิกจ่ายให้กับสหกรณ์การเกษตรกระบุรี จํากัด มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ จํานวน 36 ราย 2) โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมอาชีพในยุค New Normal จํานวน 1.067 ล้านบาท อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อเบิกจ่ายให้กับสหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตกระบุรี จํากัด มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ จํานวน 107 ราย สํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ดําเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนา สหกรณ์ระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้สหกรณ์กู้ยืมเงิน และดําเนินการเบิกจ่ายเงินกู้ให้สหกรณ์ฯ เรียบร้อยแล้ว มีรายละเอียดดังนี้ ที่ สหกรณ์ วัตถุประสงค์ รายละเอียดสัญญา เลขที่ ลงวันที่ จ านวนเงิน ดอกเบี้ย หลักประกัน สิ้นสุด 1. สหกรณ์การเกษตร กระบุรี จํากัด ให้สมาชิกกู้ยืม รน 64- 00005 ๒๓ เม.ย. 64 1,800,000 1.00 คกก. + ผจก.+ ที่ดิน 3๑ มี.ค. 6๕ ๒. สหกรณ์การเกษตร ศุภนิมิตกระบุรี จํากัด ให้สมาชิกกู้ยืม รน 64- 00009 1๓ ส.ค. 64 1,067,000 1.00 คกก. + ผจก. 29 ก.ค. 6๕


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๘๒ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์ได้รับการสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ํา จํานวน 2 แห่ง เป็นเงิน 2.867 ล้านบาท สามารถช่วยลด ภาระดอกเบี้ยและต้นทุนในการประกอบอาชีพแก่สมาชิกสหกรณ์ เฉลี่ยร้อยละ 9 จํานวนเงิน 258,030 บาท แก่สมาชิกจํานวน 143 ราย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) สหกรณ์สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ํา เพื่อช่วยเหลือสมาชิกจากสถานการณ์ การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) 2) ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตให้แก่สมาชิก และสะสมเงินออมในรูปทุนเรือนหุ้น 3) สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ํา 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทําให้การติดต่อระหว่าง สหกรณ์กับสมาชิกสหกรณ์ลดลง 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ การด าเนินงาน การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้ กพส. ภาพ การด าเนินงาน ร่วมประชุมคณะกรรมการด าเนินการสหกรณ์เพื่อชี้แจงโครงการ


รายงานประจ าปี (Annual Report) พ.ศ. 2564 ส านักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง | ๘๓ แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในปี 2564 1. วัตถุประสงค์/เปูาหมาย/พื้นที่ด าเนินงานโครงการ : 1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์การเกษตรให้มีศักยภาพในการดําเนินธุรกิจให้ครอบคลุมทุกธุรกิจ 2) เพื่อกําหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชําระของสมาชิกสหกรณ์ 3) เพื่อให้สหกรณ์ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชําระสมาชิก สามารถลดจํานวนหนี้ค้าง 1.2 เปูาหมาย สหกรณ์การเกษตรระดับอําเภอในจังหวัดระนอง จํานวน 4 แห่ง 1.3 พื้นที่ด าเนินงาน 1) สหกรณ์การเกษตรเมืองระนอง จํากัด 2) สหกรณ์การเกษตรสุขสําราญ จํากัด 3) สหกรณ์การเกษตรกระบุรี จํากัด และ 4) สหกรณ์การเกษตรละอุ่น จํากัด (มีคําสั่งเลิกเมื่อ 4 ธันวาคม 256๓/ระหว่างชําระบัญชี) 2. ผลการด าเนินงาน : ติดตามผลการดําเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชําระของสหกรณ์ฯ เปูาหมาย จํานวน ๓ สหกรณ์ (ยกเว้น สหกรณ์การเกษตรละอุ่น จํากัด) สมาชิกร่วมโครงการฯรวม 394 ราย แก้ไขปัญหาหนี้ค้างชําระได้ 361 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.62 หนี้ค้างชําระลดลง 9,137,637 บาท และสํานักงานสหกรณ์จังหวัดระนองได้นํา แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชําระ การแบ่งกลุ่มลูกหนี้ มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ค้าง ๑) การผ่อนผันชําระ หนี้ ๒) การปรับโครงสร้างหนี้ ๓) การดําเนินคดีตามกฎหมาย แจ้งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดระนอง ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการดําเนินการสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชําระของสมาชิกได้ จํานวน 361 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.62 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) สหกรณ์มีศักยภาพในการดําเนินธุรกิจ 2) สมาชิกสหกรณ์สามารถชําระหนี้ได้ ทําให้สุขภาพจิต และกายดีขึ้น ๓) ลดภาระหนี้ (ค่าปรับ) ของสมาชิกสหกรณ์ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการด าเนินงาน และแนวทางแก้ไข สมาชิกสหกรณ์มีหนี้หลายทางทําให้ไม่สามารถชําระหนี้ได้ทั้งหมด แนวทางแก้ไขสหกรณ์ช่วยเหลือ โดยให้ความรู้ในการสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก แนะนําการจัดทําบัญชีครัวเรือนและ การวางแผนทางการเงินแก่สมาชิกสหกรณ์ 5. ภาพถ่ายแสดงการด าเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพ การประชุมแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชําระของสหกรณ์


Click to View FlipBook Version