มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) ภายใต้เจตนารมณ์ของการบริหารมหาวิทยาลัย ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็วของโลกปัจจุบัน โดยประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา (2) ยกระดับคุณภาพการศึกษา (3) สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนา ท้องถิ่น และ (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการ ทั้งนี้กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินงาน ของมหาวิทยาลัยยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในทุกมิติ เพื่อให้ สอดรับกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ตลอดจนกรอบแนวคิดการพัฒนาประเทศ เพื่อขับเคลี่อนมหาวิทยาลัยสู่เป้าหมายการเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา ส่งผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ต้องมีปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อให้ สอดรับกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม ทั้งในส่วนของการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา และการดำเนิน กิจกรรมของส่วนงานต่าง ๆ มีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมโดยมีการจัดกิจกรรมทั้งในรูปแบบออนไลน์ และ ออนไซต์โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิเช่น โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG ณ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการ วิศวกรสังคม ปี 2565 ที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนมีทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการ ต่าง ๆ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น งานประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับ บัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 53 โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรอินทรีย์สู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน การจัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานวิจัย ปัญหาพิเศษ โครงงานสหกิจศึกษา ระดับปริญญาตรี การแข่งทักษะ วิชาการและวิชาชีพด้านการเกษตร เครือข่ายราชภัฏทั่วประเทศ การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 2 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 เป็นต้น ในโอกาสนี้มหาวิทยาลัยขอขอบคุณคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า เครือข่าย ความร่วมมือและชุมชนโดยรอบ ในการรวมพลังกาย พลังใจ และพลังความคิด เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการ ดำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สารจากอธิการบดี
สารบัญ 3 4 5 5 5 6 6 7 14 ข้อมูลทั่วไป ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตราสัญลักษณ์ พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย เทพประจำมหาวิทยาลัย สีประจำมหาวิทยาลัย ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คติพจน์ คำขวัญ ปรัชญา วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์การพัฒนา การบริหารมหาวิทยาลัย โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย 9 10 12 ข้อมูลทั่วไป
กิจกรรมสำคัญและรางวัลเชิดชูเกียรติ สารสนเทศ งบประมาณ บุคลากร นักศึกษา หลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษา การบริหารมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ผลการประเมินมหาวิทยาลัย ผลการประเมินผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา 17 44 48 57 60 65 67 77 104 156 173 175
ข้อมูลทั่วไป
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 3 พ.ศ.2467 เริ่มทำการสอนในนาม “โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ” พ.ศ.2470 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรมณฑลพายัพ” (โรงเรียนกสิกรรมช้างเผือก) พ.ศ.2485 มีการปรับปรุงและเรียกชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่” พ.ศ.2490 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูเชียงใหม่” พ.ศ.2496 เริ่มจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) พ.ศ.2498 เริ่มจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) พ.ศ.2499 รวมแผนกฝึกหัดครูสตรีโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงใหม่ และแผนกฝึกหัดครูการเรือน โรงเรียนคำเที่ยงอนุสรณ์ เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูแบบสหกิจศึกษา พ.ศ.2503 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยครูเชียงใหม่” พ.ศ.2512 เปิดสอนนักศึกษาภาคนอกเวลา ต่อมากำหนดเรียกเป็นทางการว่า “นักศึกษาภาคสมทบ” พ.ศ.2517 เปิดสอนระดับปริญญาตรีโดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา เพื่อให้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคครูอุดมศึกษา (ป.อ.) พ.ศ.2527 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2530 จัดตั้ง “ศูนย์เด็กก่อนประถมศึกษา” เป็น “โรงเรียนสาธิต” พ.ศ.2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ”แทน คำว่า “วิทยาลัยครู” โดยมีตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันเป็นตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พ.ศ.2537 ได้รับอนุญาตจากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน จำนวน 5,800 ไร่ ในเขตตำบลสะลวง และตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2538 พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2538 มีผลให้วิทยาลัยครู เป็นสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ.2541 เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประวัติโดยสังเขปของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ตามลำดับกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ ยุคที่ 1 โรงเรียนฝึกหัดครู ยุคที่ 3 สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ยุคที่ 2 วิทยาลัยครูเชียงใหม่
4 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ.2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 อันมีผลให้“สถาบันราชภัฏ” มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์และใช้ชื่อ “มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” โดยกำหนดให้ วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย และวันที่14 กุมภาพันธ์เป็น "วันราชราชภัฏ" พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหอประชุมทีปังกรรัศมีโชติอย่างเป็นทางการ ณ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ดีที่สุดในประเทศไทย อันดับที่ 3 รองจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ตามลำดับ พ.ศ.2564 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่เป็นอันดับที่ 1 ของกลุ่มราชภัฎ อันดับที่ 20 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 801-1,000 ของโลก ในการจัดอันดับ The Times Higher Education University Impact Rankings 2021 พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีอายุครบรอบ 98 ปี ตราสัญลักษณ์ ด้วยความไว้วางพระราชหฤทัยใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่จะให้สถาบันราชภัฏ ทำหน้าที่สร้างคนของพระราชา ให้เป็น ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ แก่ชาติบ้านเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เพื่อเป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อ ชาวราชภัฏอย่างหาที่สุดมิได้ ตราพระราชลัญจกร เป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ อุ หรือเลข 9 รอบวงจักร มีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรม เดชานุภาพในแผ่นดิน เมื่ออัญเชิญมาเป็นตราประจำสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้จัดสร้าง ตราสัญลักษณ์โดยมีลักษณะเป็นวงรีสองวงซ้อนกัน วงรีวงนอกเป็นเส้นเดี่ยว ส่วนวงรีวงในเป็นเส้นคู่ ภายใต้วงรีด้านในมีตรา พระราชลัญจกรประจำพระองค์ระหว่าง วงรีทั้งสองด้านบนเป็นอักษรภาษาไทย ระบุชื่อสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ข้อความ ด้านล่างระบุชื่อสถาบันราชภัฏเชียงใหม่เป็นอักษรภาษาอังกฤษ นอกจากนี้สีของตราสัญลักษณ์พระราชทานยังทรงความหมาย ดังนี้ สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ” สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในสถาบันราชภัฏ สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยุคที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 5 พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย พระพุทธมหาคุณากร สีประจำมหาวิทยาลัย ดำ – เหลือง ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย ดอกเสี้ยวขาว เทพประจำมหาวิทยาลัย พระพิฆเนศวร
6 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 1. ผลิตและพัฒนาครูรวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสม กับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น 2. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน 3. สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ด้วยการวิจัยและการบริการวิชาการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา 4. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในศิลปะและวัฒนธรรม ของท้องถิ่นและของชาติ 5. พัฒนาระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พันธกิจ คติพจน์ การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาท้องถิ่น ปรัชญา เพื่อให้การพัฒนามหาวิทยาลัยนำไปสู่วิสัยทัศน์ ได้กำหนดพันธกิจหลักไว้5 ด้าน ได้แก่ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศในการผลิต และพัฒนาครูและเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนา ท้องถิ่นบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา คนดีสร้างชาติไทย (แสงสว่างใด เสมอด้วยปัญญาไม่มี) ราชภัฏเชียงใหม่สร้างคนดี คำขวัญ วิสัยทัศน์ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 7 1. เพื่อผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานวิชาชีพ และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น 2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และผลิตบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตรงกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องกับความต้องการขอชุมชน ตลอดจนสร้างโอกาส ทางการศึกษา โดยร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ 3. เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ จากการวิจัย และการบริการวิชาการ สู่การพัฒนา ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานศาสตร์พระราชา 4. เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจ มีความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ 5. เพื่อให้ระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ยุทธศาสตร์ที่1 ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผลิตและพัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษา วัตถุประสงค์ พัฒนาระบบบริหารจัดการ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักไว้5 ข้อ ได้แก่ สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่2 ยุทธศาสตร์ที่3 ยุทธศาสตร์ที่4
การบริหารมหาวิทยาลัย
แผนภูมิโครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - สำนักงานสภามหาวิทยาลัย - สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ - สำนักงานมาตรฐานและประกัน คุณภาพการศึกษา - สำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สิน - สำนักงานจัดการศึกษาทั่วไปและ ศิลปวิทยาศาสตร์ - สำนักงานวิทยาเขตแม่ฮ่องสอน - ศูนย์ภาษา - ศูนย์พัฒนามนุษย์และบุคคล ผู้มีความพิการ - ศูนย์ศึกษาศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น - ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชฯ - สำนักทะเบียนและ ประมวลผล - สำนักหอสมุด - สำนักดิจิทัลเพื่อ การศึกษา - สำนักศิลปะและ วัฒนธรรม - สถาบันวิจัยและพัฒนา - สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น - วิทยาลัยนานาชาติ - วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน - วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและ เทคโนโลยีชุมชนแห่ง เอเชีย - คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี - คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - กองกลาง - กองคลัง - กองนโยบายและแผน - กองพัฒนานักศึกษา - กองบริหารงานบุคคล - กองอาคารสถานที่ - กองการพัสดุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ • คณะกรรมการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย • คณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สิน • คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงาน ของมหาวิทยาลัยและผลงานในตำแหน่งคณบดี • คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ ประจำมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัย • คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ • คณะกรรมการจรรยาบรรณประจำมหาวิทยาลัย • คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย • คณะกรรมการบริหารวิชาการ อธิการบดี • รองอธิการบดี • ผู้ช่วยอธิการบดี คณะ คณบดี วิทยาลัย คณบดี บัณฑิตวิทยาลัย คณบดี สำนัก/สถาบัน ผู้อำนวยการ ส่วนงานวิชาการ สำนักงาน/ศูนย์ ผู้อำนวยการ ส่วนงานสนับสนุนวิชาการ • คณะกรรมการ ประจำคณะ • คณะกรรมการ บริหารคณะ • คณะกรรมการ ประจำวิทยาลัย • คณะกรรมการ บริหารวิทยาลัย • คณะกรรมการ บัณฑิตศึกษา • คณะกรรมการ ประจำสำนัก/ สถาบัน • คณะกรรมการ บริหารสำนัก/ สถาบัน สำนักงานตรวจสอบภายใน ส่วนงานบริหาร สำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการ ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 9
10 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สภามหาวิทยาลัย ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ นายกสภามหาวิทยาลัย ดร.ทินกร นำบุญจิตต์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.บุญวัฒน์ อัตชู นางอรวรรณ ชยางกูร ดร.นิพนธ คําพา ผศ.ดร.สายสมร สร้อยอินต๊ะ รศ.ดร.วรรณวดี ม้าลำพอง ศ.เกียรติคุณ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ดร.พิสิฏฐ โคตรสุโพธิ์ พล.ต.ท.วุฒิ วิทิตานนท์
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 11 กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานกรรมการ ส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ผศ.ดร.สารุ่ง ตันตระกูล ประธานสภาคณาจารย์ และข้าราชการ กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้ดำรงตำแหน่งบริหาร ดร.ถนัด บุญชัย ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ ผศ.ดร.อนุวัติ ศรีแก้ว ผศ.เกษรา ปัญญา รองอธิการบดี คณบดีคณะครุศาสตร์ (ตั้งแต่ 18 เม.ย. 65) คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ผอ.สำนักทะเบียนและ ประมวลผล กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ อ.นิมิต วุฒิอินทร์ ผศ.ดร.วีรวิชญ์ปิยนนทศิลป์ ดร.พสุ ปราโมกข์ชน อ.ภาณุวัฒน์สุวรรณกูล เลขานุการ สภามหาวิทยาลัย ผศ.พรพิมล วงศ์สุข รองอธิการบดี
12 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี ผศ.พรพิมล วงศ์สุข รองอธิการบดี รศ.ดร.กัลทิมา พิชัย รองอธิการบดี รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล รองอธิการบดี ผศ.สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี รองอธิการบดี ผศ.ดร.ไกรสร ลักษณ์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ดร.สุโข เสมมหาศักดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.ไกรลาส จิตร์กุล ผู้ช่วยอธิการบดี
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 13 ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ คณบดีคณะครุศาสตร์ รศ.ดร.สัญญา สะสอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ดร.ชาญ ยอดเละ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงค์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ผศ.อัตถ์ อัจฉริยมนตรี คณบดีคณะ เทคโนโลยีการเกษตร ผศ.ดร.กมลณัฏฐ์ พลวัน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผศ.ดร.นครินทร์ พริบไหว คณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน (ตั้งแต่ 7 มี.ค. 65) ผศ.ดร.อนุวัติ ศรีแก้ว คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ คณบดีวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย ผศ.เกษรา ปัญญา ผู้อำนวยการสำนัก ทะเบียนและประมวลผล ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย และพัฒนา ผศ.ดร.สุชานาฏ สิตานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนัก ศิลปะและวัฒนธรรม ผศ.ดร.สุทธินันท์ ชื่นชม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด อ.อำนาจ โกวรรณ ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัล เพื่อการศึกษา ผศ.เกษม กุณาศรี รักษาการผู้อำนวยการสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (ตั้งแต่ 1 มี.ค. 65) นางศิริเพ็ญ ผ่อนจัตุรัส ผู้อำนวยการสำนักงาน อธิการบดี
14 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้อนุมัติปริญญากิตติมศักดิ์แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 3 คน ดังนี้ นายพรชัย จุฑามาศ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีววิทยา นายพรชัย จุฑามาศ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และ เชี่ยวชาญในระดับประเทศและนานาชาติ ในแวดวงวิชาการ ด้านวิทยาธรรมชาติและการอนุรักษ์ทรัพยากร เป็นผู้มีผลงาน ดีเด่นและทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยได้ทำงานรับ ใช้ได้เบื้องพระยุคลบาท มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ทำงานด้านการ วิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 และได้ทำ หน้าที่ถ่ายทอดความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่ผู้ที่ เข้าเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มาเป็น ระยะเวลามากกว่า 30 ปี ได้ทำการอบรมเทคนิคการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืชให้กับนักศึกษา นักเรียนที่เข้าฝึกงานในโครงการ ส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยเป็นผู้มีส่วนร่วมในการทำงาน สนองพระราชดำริเพื่อก่อตั้งโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และได้อุทิศตน ทุ่มเท เวลาและชีวิต จิตใจให้กับงานในโครงการ อพ.สธ. โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ด เหนื่อยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึง ปัจจุบัน โดยปฏิบัติงานภายใต้การน้อมนำพระราชกระแส “การรักทรัพยากร คือ การรักชาติ รักแผ่นดิน” มาสู่การปฏิบัติ จนประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย ปริญญากิตติมศักดิ์
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 15 พระราชวิสุทธิญาณ (ฤทธิรงค์ ญาณวโร) ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา พระราชวิสุทธิญาณ (ฤทธิรงค์ ญาณวโร) เป็นผู้ประสบ ความสำเร็จยอดเยี่ยมและได้รับการยอมรับอย่างสูงจากคณะสงฆ์ และฆราวาส โดยได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ใน ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน- แม่ฮ่องสอน (ธ) และอีก ทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้ง สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งยังเป็นผู้ให้ ความสำคัญกับการเผยแผ่พระธรรมเพื่อจรรโลงไว้ซึ่งวัฒนธรรมด้าน จิตใจของผู้คนให้โอกาสประชาชนเข้าถึงการศึกษาวัฒนธรรมโดยใช้ ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ผลงานเชิงประจักษ์คือเป็น ประธานก่อตั้งวัดป่ารัชดาราม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งได้เริ่ม สถาปนาสร้างวัดไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ. 2557 โดยได้มอบทุนให้จัดซื้อที่ดินจำนวน 1 ไร่และจัดพระสงฆ์ไป เป็นประธานสงฆ์ในการจัดซื้อที่ดินและสร้างเสนาสนะให้สัปปายะ สมควรแก่การบำเพ็ญสมณธรรมตามรอยพระบูรพาจารย์แห่งวงศ์ พระกรรมฐาน ซึ่งต่อมาได้รับอนุญาตให้สร้างวัด ในปี พ.ศ. 2557 และได้รับการประกาศจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตั้งเป็น วัดขึ้นในพระพุทธศาสนา สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ในปี พ.ศ. 2559 นางสุนทรีดอนท้าวไพร ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ นางสุนทรีดอนท้าวไพร เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ มีความเชี่ยวชาญในการบริหารและจัดการธุรกิจประเภทโรงแรม รวมถึงการก่อสร้างอาคารในรูปแบบต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ภูมิ ปัญญาทางด้านศิลปะล้านนาโดยการประยุกต์ให้เข้ากับสมัยตาม วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ก่อให้เกิดงานทางด้านสถาปัตยกรรมที่มี เอกลักษณ์เฉพาะ มีกลิ่นอายของล้านนา มีการผสมกับความทันสมัย สไตล์ยุโรป ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่มาใช้บริการทั้งในส่วนกิจการ โรงแรมและธุรกิจก่อสร้าง จนนำไปสู่การเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จ ในการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นผู้บำเพ็ญตนด้วย ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้และ ประสบการณ์ทั้งทางด้านการบริหารโรงแรม การออกแบบและการ ก่อสร้างอาคาร การตกแต่งภายใน การให้บริการโรงแรม แบบ วัฒนธรรมเชียงใหม่ล้านนา รวมถึงการปรุงอาหารพื้นเมืองด้วย ตนเองโดยการปรับให้เข้ากับสมัยแต่ยังคงความดั้งเดิม ให้แก่ อาจารย์ นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจทั้งในท้องถิ่นและนอกพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมสำคัญ และรางวัลเชิดชูเกียรติ
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 17 เฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 26 พฤษภาคม 2565รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าเฝ้าทูล ละอองพระบาทสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในการเสด็จพระ ราชดำเนินทรงเปิดศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สนั่น – เฉลิมเกตุ นภาศัพท์ ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้เข้าไปดำเนินการจัดทำห้องสมุดและจัดสภาพแวดล้อมภายใน ห้องเรียนสำหรับนักเรียนระดับชั้นปฐมวัยและประถมศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ขยายการพัฒนาไปสู่ครอบครัวและชุมชน โดยในโอกาสดังกล่าว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับรักษาราชการแทนอธิการบดี ให้มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ได้ร่วมพัฒนาศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สนั่น – เฉลิมเกตุ นภาศัพท์ เพิ่มอีก 1 แห่ง จาก เดิมได้ร่วมสนับสนุนงานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาอย่าง ต่อเนื่อง กิจกรรมสำคัญในรอบปี ใน 1 รอบปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้จัดกิจกรรมพิเศษที่สำคัญ ดังนี้
18 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 19 กันยายน 2565 คณะผู้บริหาร และคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ สมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน เปิดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม วิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ที่กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 10 การประชุม วิชาการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น นิทรรศการ 30 ปี อพ.สธ. และนิทรรศการ อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นิทรรศการหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริฯ นิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐาน ทรัพยากรท้องถิ่น การแสดงศิลปะพื้นบ้าน ดนตรี และมหกรรมสินค้าภาคใต้
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 19 องคมนตรีตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 26 ตุลาคม 2564 พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี และ ดร.นงรัตน์ อิสโร เลขานุการองคมนตรี ตรวจเยี่ยม การดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการนี้ รักษาราชการแทนอธิการบดีเป็นประธานการรายงานสรุปผลการดำเนินงานในสาม ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และด้าน การขับเคลื่อนการดำเนินงานวิศวกรสังคม ในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รายงานโครงการ / กิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โดยมีคณะผู้บริหาร บุคลากร และคณะผู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้าร่วม รับฟังและนำเสนอข้อมูลประกอบการรายงานผลการดำเนินงาน ณ ห้องประชุมสะลวง และห้องประชุมสันโป่ง อาคาร อำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ ห้องประชุมอานนท์ เที่ยงตรง อาคารฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน 21 มกราคม 2565 พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อรับ ฟังสรุปผลการดำเนินงานภายใต้ 2 ยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู มุ่งเน้นที่คณะครุศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการอย่างเข้มข้น เพื่อพัฒนา กระบวนการผลิตครูฐานสมรรถนะ และยุทธศาสตร์ยกระดับคุณภาพการศึกษาในคณะอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นการส่วนตัว และนำเสนอเสียงสะท้อน จากนักศึกษา รวมทั้งรับฟังแผนดำเนินการโครงการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ปี 2565 ที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนมีทักษะ จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับ ผู้อื่น และการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม โอกาสนี้ ยังได้ตรวจเยี่ยมอาคารเรียน คณะครุศาสตร์ พร้อมชมการจัดการเรียนการสอนสาขาปฐมวัยอีกด้วย
20 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมตั้งหน่วยบริการฉีดวัคซีนอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ 22 ตุลาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมตั้งหน่วยบริการฉีดวัคซีนอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากบุคลากรทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลนครพิงค์ อาสาสมัคร สาธารณสุขในพื้นที่ ร่วมให้บริการแก่ประชาชนที่เข้ารับบริการ มีอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด เข็มที่ 1 Sinovac ซึ่งได้รับจัดสรรจากจังหวัดเชียงใหม่ โดยอำเภอแม่ริมและเทศบาลตำบล ขี้เหล็ก จำนวน 1,744 ราย ณ อาคารอเนกประสงค์ (ด้านข้างหอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 53 18 ธันวาคม 2564 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจากสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษา แห่งประเทศไทย ในการเป็นเจ้าภาพงานประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 53 ด้วยแนวคิด “การจัดการเรียนรู้ การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งระบบ Zoom cloud meeting และ Facebook Live เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านวิจัยของอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษา เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการอันจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยจัดการนำเสนอทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ 5 กลุ่มวิขา ได้แก่ กลุ่มวิชาการศึกษา กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกลุ่มอื่น ๆ อาทิ ศาสตร์พระราชา โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและนอกเครือข่ายสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทยร่วมพิจารณาบทความ โดยมี บทความที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอผลงานจำนวน 146 บทความ และผู้สนใจรับฟังการนำเสนอผลงาน จำนวน 350 คน จาก 76 หน่วยงาน ในการนี้ยังได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษจากภาคีสมาชิกราชบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ เรื่อง “การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21” และ การบรรยาย “การวิจัยและนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน” โดย ราชบัณฑิต ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 21 รวมพลังทำความดี ถวายพ่อหลวงของแผ่นดิน 5 ธันวาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดยคณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร ตัวแทนนักศึกษา และผู้นำชุมชน ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวัน พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ โดยประกอบพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล พระสงฆ์และ สามเณร จำนวน 19 รูป พิธีวางพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคมหน้าพระบรม ฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากนั้นได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมจิตอาสาบ ำเพ็ ญ สาธารณประโยชน์ ทำความสะอาด ทาสี และปรับปรุงภูมิทัศน์ ณ บริเวณคลอง แม่ข่า สะพานถนนรัตนโกสินทร์ รวมถึงโบราณสถานเจดีย์กู่ดำ เจดีย์แดงนอก (ร้าง) ซึ่งตั้งอยู่ถนนช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ ในช่วงเย็นได้จัดการแสดง “ดนตรี อว. เทิดพระเกียรติ” ณ ศาลาร่มโพธิ์ โดย บรรเลงและขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ พร้อมจัดการแสดงสวยงามตระการ ตา ในชุด “น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระภูมิพลองค์ภูมินทร์” และชุด “ราชภัฏสืบสานพระราชปณิธานพระบดินทร์นิรันดร์กาล” โดยวง CMRU BAND และนักแสดงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล สาขาวิชาศิลปะการแสดง และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ พิธีถวายราชสดุดีวันราชภัฏ 14 กุมภาพันธ์ วันพระราชทานนาม 14 กุมภาพันธ์ 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดยคณะผู้บริหาร นำผู้ทรงคุณวุฒิแขกผู้มีเกียรติ พร้อม คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และตัวแทนชุมชน ร่วมพิธีถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันราชภัฏ ด้วยพระองค์ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนคำว่า “วิทยาลัยครู” และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจร ประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 มีพิธีเปิดศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์กลางการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ดำเนินการประชาสัมพันธ์สอดรับการเปลี่ยนแปลง ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และพิธีเปิดนิทรรศการ “ฝีไม้ ลายมือ” จากรุ่นสู่รุ่น ของนักศึกษาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ณ ส่วนจัดแสดงนิทรรศการ ART @ CMRU และในช่วงบ่ายได้มีพิธีเปิด “คุณพร้อม เราพร้อม สู่ตำแหน่งทางวิชาการ” Smart Together Clinic (STC) เพื่อพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ให้ก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ สนับสนุนส่งเสริมการผลิต และพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศ ณ ชั้น 10 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
22 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏ - กลุ่มภาคเหนือ 24 - 25 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏ - กลุ่มภาคเหนือ มีการบรรยายพิเศษเรื่อง การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏ - กลุ่มภาคเหนือ ภายใต้บริบท Mega Trends โดย ศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีมสกุล ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉม มหาวิทยาลัย คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนา ทรัพยากรบุคคล สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ทั้งนี้ในการประชุม สัมมนา ได้แบ่งกลุ่ม กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 8 แห่ง เพื่อให้เกิดการบูรณาการ เชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ – กลุ่มภาคเหนือร่วมกัน โดยมีผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือทั้ง 8 แห่ง เข้าร่วมการประชุมสัมมนารวมทั้งสิ้นกว่า 90 คน ณ ห้องประชุมแม่ริม มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม เจ้าภาพโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรอินทรีย์สู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน 28 - 30 มีนาคม 2565 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดโครงการส่งเสริม และสนับสนุนการเกษตรอินทรีย์สู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความเข้าใจ การเข้าถึง และนำไปสู่การพัฒนา ด้านเกษตรอินทรีย์ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นที่ยั่งยืน และเพื่อขับเคลื่อนจังหวัดเชียงใหม่สู่เมืองหลวงเกษตรอินทรีย์ ของประเทศไทย (Organic Capital of Thailand) และเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์แห่งเอเชีย (Organic Hub of Asia) มีการประชุมรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์ SDGsPGS จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 และพิธีประกาศวาระ เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ (Chiang Mai Organic Agenda 2022) และได้จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือขับเคลื่อนวาระ เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ และพิธีกล่าวคำประกาศและตอบรับคำประกาศการขับเคลื่อน “วาระเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่” ณ ห้องประชุมแม่ริม ชั้น 2 อาคารอำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และในระบบ ZOOM Cloud Meetings
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 23 พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 1 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ จัดพิธีเจริญพระพุทธ มนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาส วันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2565 โดยมี นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน ในพิธีและได้นมัสการพระเดชพระคุณพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เพื่อน้อมรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ ท่านทรงมีต่อพสกนิกชาวไทย เป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ ในด้านต่าง ๆ ครอบคลุมงานสำคัญ ๆ อันเป็นประโยชน์หลักของบ้านเมือง อาทิ ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ทรงสนับสนุนให้อนุรักษ์ ส่งเสริมและอุปถัมภ์งานศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ ทั้งในด้านคนตรีไทย การช่างไทย นาฏศิลป์ ไทย งานพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย รวมทั้ง ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปิน และได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระสมัญญาว่า “เอกอัคร ราชูป ภั มภ กมรดกไท ย” และ “วิศิษฏศิลปิน” ณ ห้องประชุม ชั้ น 15 อ าค าร 90 ปีราช ภั ฏ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎ เชียงใหม่ศูนย์เวียงบัว งาน 98 ปี วันสถาปนามหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 1 พฤษภาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดงาน 98 ปี วันสถาปนา มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงาน ประกอบด้วย พิธีสักการะและบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว และพื้นที่ศูนย์แม่ริม พิธีทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้ง แด่พระสงฆ์สามเณร จำนวน 99 รูป ซึ่งได้รับเมตตาจาก พระเดชพระคุณ พระราชวิสุทธิญาณ เจ้าอาวาสวัดป่าดาราภิรมย์ พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ - ลำพูน - แม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) เป็นองค์ประธานสงฆ์ ณ อาคารอเนกประสงค์ (ด้านข้างหอประชุม) พิธีทำบุญทักษิณานุปทานและ สืบชะตาหลวง ซึ่งได้รับเมตตาจากพระเดชพระคุณ พระเทพสิงหวราจารย์รองเจ้า คณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นองค์ประธานสงฆ์ ณ หอประชุมทีปังรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม ในช่วงบ่ายได้ รับเกียรติจาก นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็น ประธานเปิดงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) “U2T Fair 2022” พร้อมรับชม การแสดง “ตีกลองมังคละเภรี 98 ปี ศรีราชภัฏเชียงใหม่” และเยี่ยมชมนิทรรศการ ผลงาน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ในพื้นที่ 44 ตำบล ของจังหวัด เชียงใหม่ ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม
24 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” ประจำปี 2564 - 2565 3 พฤษภาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม และมอบ รางวัล เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ประจำปี 2564 - 2565 เพื่อส่งเสริม สร้างขวัญและกำลังใจสนับสนุนภูมิปัญญา พื้นบ้านให้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน สืบสานองค์ความรู้จากภูมิปัญญา โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และสืบสานองค์ความรู้ให้คงอยู่คู่สังคมล้านนา โดยได้มอบโล่เชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนาประจำปีพุทธศักราช 2564 จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ชื่อ – สกุล สาขา ด้าน 1. นายนันท์ นันท์ชัยศักดิ์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วรรณกรรมล้านนา 2. ผศ.สุรสิทธิ์ เสาว์คง ศิลปะ ทัศนศิลป์ - 3. นายวิเศษ บุญนนท์ ศิลปะ การแสดง (การดนตรี) 4. นายทรงชัย สมปรารถนา ศิลปะ การแสดง (เจิงฟ้อน เจิงฟัน) 5. นายเจริญ มานิตย์ ศิลปะ ทัศนศิลป์(จิตรกรรมฝาผนัง) และเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนาประจำปีพุทธศักราช 2565 จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ชื่อ – สกุล สาขา ด้าน 1. นายอุทัยย์ กาญจนคูหา ศิลปะ หัตถกรรม 2. นายอัญเชิญ โกฏแก้ว ศิลปะ ทัศนศิลป์(ประติมากรรม) 3. นายดนัย สังขทัต ณ อยุธยา ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม - 4. นายขวัญชัย สุรินทร์ศรี ศิลปะ การแสดงคร่าว จ๊อย และเพลงซอพื้นเมือง 5. นายภูเดช แสนสา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ -
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 25 เจ้าภาพการแข่งขันการนำเสนอผลงานวิจัย ปัญหาพิเศษ โครงงานสหกิจศึกษา 5 พฤษภาคม 2565 คณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานวิจัย ปัญหาพิเศษ โครงงานสหกิจศึกษา ระดับปริญญาตรี การแข่งทักษะวิชาการและวิชาชีพด้านการเกษตร เครือข่ายราชภัฏทั่วประเทศ ครั้งที่ 7 รูปแบบออนไลน์ โดยมีการจัดแข่งทั้งหมด 33 ทีม 11 มหาวิทยาลัย ผ่านระบบ Zoom และถ่ายทอดสด ผ่าน YouTube ของคณะ โดยสาขาที่นำเสนอ ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาสัตวศาสตร์ สาขาพืชศาสตร์ สาขาประมง และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ณ ห้องประชุมเอื้องช้างน้าว คณะ เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านการศึกษาภาษาเกาหลี 6 พฤษภาคม 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านการศึกษา ภาษาเกาหลีของสมาคมการสอนภาษาเกาหลีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 หัวข้อ “กลยุทธ์การสอนและวิธีการสอน ในการศึกษาภาษาเกาหลี” ทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.กัลทิมา พิชัย รองอธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด ฯพณฯ ท่านมูน ซึง ฮยอน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย กล่าวแสดง ความยินดี และมีการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิและคณจารย์นักวิจัย ร่วมนำเสนอบทความวิจัย จำนวน 19 บทความ ณ ห้องประชุมเอื้องสายส่องแสง ชั้น 3 สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
26 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พิธีถวายราชสักการะและถวายพระพรชัย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 27 กรกฎาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนม พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช 2565 เพื่อน้อมถวายความจงรักภักดีและสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล พระสงฆ์สามเณร จำนวน 71 รูป จากวัดเจดีย์ หลวงวรวิหารและวัดศรีโสดา พระอารามหลวง ทั้งนี้ได้รับเมตตาจาก พระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และพิธีวางพานพุ่ม กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล กล่าวนำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะครู นักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประธานและตัวแทนชุมชน ถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นข้าราชการที่ดีและพลัง ของแผ่นดิน โดยในปีนี้ได้จัดให้มีการแสดงฟ้อนเล็บเทิดพระเกียรติ “คีตะล้านนาเทิดพระเกียรติองค์ราชัน” เพื่อ น้อมถวายความจงรักภักดีและถวายพระเกียรติสูงสุด แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงเจริญ พระชนมพรรษา 70 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2565 ประกอบด้วยขบวนอัญเชิญบายศรีทูนพระขวัญ การฟ้อนเล็บ แปรแถว เป็นรูปเลข 10 ไทย จัดแสดงโดยนักศึกษาหลักสูตรนาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมบรรเลงเพลงโดยวงดนตรีไทยจากนักศึกษาหลักสูตร ดนตรีศึกษา ณ บริเวณพิธี ด้านหน้าอาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 27 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “วิศวกรสังคมสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม” 2 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “วิศวกรสังคมสร้าง ชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ตามที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทุนแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในการดำเนินโรงการเรื่อง “โครงการบ่มเพาะ เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม” เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชนโดยการบูรณาการเชื่อมโยงร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานผู้ผลิตองค์ความรู้ การวิจัยและหน่วยงานภาคปฏิบัติที่ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้และกลุ่มเป้าหมายในการนำองค์ความรู้จากการวิจัย ไปใช้ประโยชน์จริงในพื้นที่ จึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 27 แห่ง เพื่อให้กลไกข้างต้นเป็นไป ตามเป้าหมายและมีการดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา และพัฒนาวิศวกรสังคม ให้มีทักษะคือเป็นนักคิด นักสื่อสาร นักประสานงาน และนักสร้างนวัตกรรม ถ่ายทอดและต่อยอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและท้องถิ่น ณ ห้องเวิลด์บอลรูม โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอก คอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก 8 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ต้อนรับ นางสาวสุณีย์เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ ในโอกาสลงพื้นที่โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วย เศรษฐกิจ BCG ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เข้าตรวจเยี่ยมพื้นที่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการฯสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัย ชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ สร้างเวที การแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานสู่การขยายผลให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีโดยมีอ.ธรรศ ศรีรัตนบัลล์และ อ.สิริพร คืนมาเมือง เป็นผู้ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์น้ำอ้อย ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว และ อ.พลศรัณย์ศันยทิพย์ เป็นผู้ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์หนังปอง และผลิตผลทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของตำบลสันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
28 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พิธีถวายพระพรชัยมงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 11 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา โดยมีคณะ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา พร้อมด้วยคณะครู นักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ ผู้แทนชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และกล่าวคำกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ณ ลานกิจกรรม อาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว จากนั้นได้ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลายี่สก จำนวน 10,000 ตัว ณ อ่างเก็บน้ำเกษตรอินทรีย์ (อ่างสระแกรง) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม ซึ่งมีขนาด พื้นที่ 5 ไร่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี ทั้งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากร เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำ ให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลาจากศูนย์วิจัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดเชียงใหม่ พร้อมกันนี้ได้จัด กิจกรรม “เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ชวนน้องมาปลูกข้าว” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สอดแทรกวัฒนธรรมการปลูกข้าวให้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา และสาขาวิชาปฐมวัย ในโครงการครูรักษ์ถิ่น เป็นพี่เลี้ยง ณ แปลงนา สาธิต สวนเกษตรครูน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม ประชุม Site Visit หน่วยงานในระบบ ววน. พื้นที่ภาคเหนือ 5 กันยายน 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ต้อนรับคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยคณะตรวจเยี่ยมจาก สกสว. ในโอกาสเดินทางมาประชุม Site Visit หน่วยงานในระบบ ววน. พื้นที่ภาคเหนือ เพื่อพบปะหารือ ทำความเข้าใจกับหน่วยรับงบประมาณในพื้นที่ และศึกษาทิศทางการบริหาร จัดการแผนงานและโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณผ่านกองทุน ววน. รวมถึงรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการ ดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนศักยภาพของหน่วยงานรับงบประมาณให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ตลอดจนศึกษาทิศทางการ บริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จากนั้นได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลผลิตจากงานวิจัย ณ วิสาหกิจ ชุมชนเศรษฐีเรือทองเกษตรอินทรีย์ ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการพื้นที่วิจัย ณ ศูนย์ความเป็น เลิศด้านกัญชาและเกษตรอินทรีย์นานาชาติ(ECOA CMRU)
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 29 ประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 15 กันยายน 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดการ ประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "การจัดการท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ด้วยนวัตกรรมทางสังคมบนพื้นฐานสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ " เพื่อให้นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย และเผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการในศาสตร์ ด้านมนุษ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น ประธานเปิดการประชุมวิชาการ และร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง "การ วิจัยรับใช้สังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง" โดย จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ (Online Presentation) ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings และรูปแบบออนไซต์ (Onsite Presentation) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ และการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ 17 - 27 กันยายน 2565 คณะผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.วัชรพงษ์วัฒนกูล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และคณะ เดินทางไปจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ ณ ราชอาณาจักร ภูฏาน ใน 6 จังหวัด เพื่อให้เกิดการพัฒนาบนฐานแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การฝึกปฏิบัติ ในชุมชน และขยายผลนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม โครงการตั้งเป้าหมายว่าจังหวัด Haa เน้นผลิตภัณฑ์จากน้ำนมโคและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จังหวัด Tsirang เน้นการ แปรรูปกีวีน้ำผึ้ง และพริกดอง จังหวัด Wangdue Phodrang มุ่งผลิตภัณฑ์มันฝรั่ง และการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว เกษตรจังหวัด Trongsa เน้นการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ จากชา เช่น ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ จังหวัด Lhuntse เน้นการเพิ่มมูลค่าผ้าทอและผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากผักและผลไม้จากป่า เช่น มะขามป้อม และจังหวัด Trashi Yangtse เน้นผลิตภัณฑ์จาก น้ำพริก ผงขิง กระเทียมดำ เป็นต้น โดยภายใน ปี 2566 จะมีผลิตภัณฑ์จากชุมชนเข้าสู่ร้านค้า OGOP (One Gewog One Product) จำหน่าย ให้ กับ นั กท่ อ งเที่ ย วจาก ทั่ วโลก ที่ เดิ น ท าง มาราชอาณาจักรภูฏาน
30 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รางวัลพระพิฆเนศวรทองคำ เป็นรางวัลที่มอบ เพื่อเป็นการส่งเสริม ยกย่อง และเชิดชูเกียรติ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ปฏิบัติงานดีเด่นและประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ที่ดีโดยมีบุคลากร และนักศึกษาดีเด่นด้านต่าง ๆ เข้ารับรางวัล ประจำปี 2565 มีรายนามดังต่อไปนี้ บุคลากรผู้ดำรงตำแหน่งบริหารดีเด่น อ.ดร.กฤษฎา บุญชม นายนราธิป ปากหวาน ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย บุคลากรสายวิชาการดีเด่น บุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น รศ.ดร.ธรรมกิตติ์ ธรรมโม นางสาววิลาวัลย์ หน่อคำศักดิ์ คณะวิทยาการจัดการ กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี รางวัลเชิดชูเกียรติ
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 31 ระดับมหาวิทยาลัย นายจักรี วรรณารักษ์ นายรัชพล ลำภา นายวัชรพล เดชะปราปต์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ระดับคณะ วิทยาลัย นายธนภัทร นะวะแก้ว นายวรเมธี หวง นายธนาวุธ เกตุชีพ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ นายวีรวุฒิ เตจา นางสาวปวันรัตน์ แจ้งใจ นายวัชรินทร์ สะเดิม นายสุมนวิชญ์ แก้วสมศรี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาวิทยาการ คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี สาขาวิชาการประถมศึกษา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน นักศึกษาดีเด่น
32 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระดับหน่วยงาน 28 เมษายน 2565 The Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากประเทศอังกฤษ ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ THE Impact Rankings ประจำปี 2022 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับการจัด อันดับ 601 - 800 ของโลก เป็นอันดับ 15 ของประเทศไทย ครองอันดับ 1 กลุ่มราชภัฏ ทั้งนี้มีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 แห่ง อยู่ในอันดับ 801 - 1000 และมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก 19 แห่ง อยู่ในอันดับ 1001+ 15 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับ รางวัลเกียรติบัตรผู้ให้การสนับสนุนงานวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัย เครือข่ายในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2565 The 4th ICRU International Conference on New World Sustainable Development (IWSD) 2022 ณ ศูนย์ประชุมและ นิทรรศการนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ศูนย์ การศึกษาย่านมัทรี) อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ผลงานและรางวัลของบุคลากรประจำมหาวิทยาลัย
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 33 อาจารย์และบุคลากร 7 ตุลาคม 2564 ผศ.ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์อาจารย์วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย ได้รับรางวัล Asian Science Diplomats. จากโครงการ Thai Young Scientists Academy 25 กุมภาพันธ์2565 อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ ได้แก่ ผศ.มานพ ชุ่มอุ่น ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่น การบริการวิชาการรับใช้สังคม และ ผศ.ดร.กมลทิพย์ คำใจ ได้รับรางวัล บุคลากรดีเด่น สายการวิจัย จากประชุม วิชาก ารระดั บ ชาติ ค รั้งที่ 11 แ ล ะ นานาชาติครั้งที่ 4 วิทยาการจัดการ วิชาการ 2022 “วิชาการก้าวหน้า เศรษฐกิจก้าวไกล ก้าวไปกับชุมชน” ณ อาคาร 45 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 25 กุมภาพันธ์2565 อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยายในระดับดีมาก ในการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัยครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ดังนี้ - อ.ภาณุพงษ์ อินต๊ะวงค์วิทยาลัยนานาชาติได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยายอยู่ใน ระดับดีมาก ด้านมนุษยศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เรื่อง แนวทางการพัฒนามัคคุเทศภ์เยาวชนอาสาภาษาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมของชุมชนเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่ - ผศ.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัลนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดีมาก ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเรื่อง การขยายพันธุ์โกศจุฬาลัมผาโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ - อ.ดร.บุษราภรณ์ มหัทธนชัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัลนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดีมาก ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม เรื่อง แนวทางการพัฒนาตลาดดิจิตัลผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ของวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน จังหวัดเชียงใหม่ - ผศ.พิมพ์ชนก สุวรรณศรีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัลนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดีมาก ด้านการศึกษา เรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน EPUB3 เรื่อง วัฒนธรรมไทย - อ.นภมินทร์ ศักดิ์สง่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัลนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดีมาก ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม เรื่อง การออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อแสดงเอกลักษณ์ ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ - อ.ใบชา วงค์ตุ้ย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดีมาก ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ธรณีสัณฐานที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ริม
34 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 11 มีนาคม 2565 ผศ.ดร.สุวัฒนวงศ์ พันเพ็ชร อ.ประสิทธิ์ ฉิมบุญมา อ.อธิวัฒน์ วังใหม่ อ.ดร.เสาวลักษณ์ เรืองศรี และอ.รตานรี สุทธิพงษ์อาจารย์คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัลงานวิจัย ดีเด่น รูปแบบการถ่ายทอดอาชีพ การทำปานซอยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “ครุศาสตร์ ศึกษา” ครั้งที่ 4 จัดโดย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 18 มีนาคม 2565 อ.ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์อ.ดร.อติณัฐ จรดล ผศ.ดร.พงษ์พันธุ์ ลีฬหเกรียงไกร อ.ดร.รุ่งนภา ทากัน อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัล Honorable Mention และ อ.ดร.รุ่งนภา ทากัน อ.ดร.อติณัฐ จรดล ผศ.ดร.พงษ์พันธุ์ ลีฬหเกรียงไกร อ.ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัล Bronze Award ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1 พฤษภาคม 2565 ผศ.ดร.สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรีอาจารย์วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้ได้รับการขึ้น ทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาด้านสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร “เตาเผาถ่านสำหรับชีวมวล ที่มีขนาดเล็ก” จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2 พฤษภาคม 2565 รศ.ดร.กัลทิมา พิชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้ารับมอบเกียรติบัตรและ เข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการพลเรือนดีเด่น ในโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติคนดีมีคุณธรรมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2564 เนื่องในโอกาส วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ( ปอว.) เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ ณ ห้องประชุมภูมิ บดินทร์ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรุงเทพมหานคร
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 35 29 พฤษภาคม 2565 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้แก่อ.สุกิจ ทองแบน อ.ดร.วาสนา ประภาเลิศ อ.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ได้รับรางวัลประเภท บทความระดับดีเยี่ยม เรื่อง การศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ฤทธิ์การต้านอนุมูล อิสระ และองค์ประกอบทางเคมี ของน้ำมันหอมระเหยจากหัวกระทือด้วยเทคนิค GC-MS Phytochemical Screening, Antioxidant Activity and Chemical Composition of Essential Oil Using Gas Chromatography Mass Spectrometry (GC-MS) from Zingiber zerumbet (L.) Smith แ ล ะ อ.สุ กิ จ ทองแบน ได้รับรางวัลประเภทการนำเสนอ ระดับดี ในเรื่องเดียวกันนี้ณ วิทยาลัย นอร์ทเทิร์น 15 มิถุนายน 2565 ผู้บริหาร คณาจารย์ มหาวิทยาลัย ร า ช ภั ฏ เชี ย ง ใ ห ม่ เข้ า ร่ ว ม พิ ธี รั บ พ ร ะ ร า ช ท า น เค รื่ อ ง ร า ช อิ ส ริ ย า ภ ร ณ์ ชั้ น ส า ย ส ะ พ า ย ชั้ น ต ร า ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ประจำปี 2564 สำหรับหน่วยงานและ สถาบั น อุดม ศึกษ าใน สังกัด กระท รวงการอุดมศึ กษ า วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 7 ท่าน เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25 กรฎาคม 2565 ผศ.พิมพ์ชนก สุวรรณศรี อ.ศิริกรณ์ กันขัติ์ อ.ดร.กาญจนา ทองบุญนาค อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับ รางวัล บทความ "ระดับดีเยี่ยม" เรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนสามมิติ เรื่องผัก พื้นบ้านด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง ในการประชุมวิชาการ ประจำปี 2565 โดย ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม 27 กรฎาคม 2565 อ.ดร.พิรุฬห์แก้ว ฟุ้งรังสี อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัล บทความนําเสนอ ดีเด่น (Best Presentation) เรื่อง "การพัฒนาระบบตรวจสอบการสวมใส่หน้ากากอนามัยพร้อมเครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ สําหรับนักศึกษาที่เข้ามาใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 (The 8th TECHCON 2022) “เชื่อมต่อเทคโนโลยีในวิถีชีวิตใหม่” ณ การประชุมออนไลน์ และจัดงานที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กรุงเทพมหานคร 9 สิงหาคม 2565 อ.ดร.พรรณี สุวัตถี อาจารย์บัณฑิตวิทยาลัย ได้รับพระราชทานโล่รางวัลดีเด่น แห่งชาติ ทางวิชาชีพการศึกษา ประจำปีพ.ศ.2565 รางวัลกิตติมศักดิ์ผู้สนับสนุนบริการการศึกษา ดีเด่น โดยสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
36 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 15 สิงหาคม 2565 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วย อ.ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้ารับเกียรติบัตรผู้ให้การสนับสนุนงานวิจัยดีเด่น ของมหาวิทยาลัยเครือข่ายในการประชุมวิชาการระดับชาติICRU ครั้งที่ 4 และ ผศ.ดร.สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี อาจารย์วิทยาลัย พัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย เข้ารับรางวัล “นักวิจัยดีเด่น” จาก ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่า ธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี) อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 15 กันยายน 2565 อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้แก่ - อ.ปิยวดี นิลสนธิได้รับรางวัล ผู้นำเสนอบทความดีเด่น หัวข้อ “การจัดการท้องถิ่นให้เข้มแข็งด้วยนวัตกรรมทางสังคม บนพื้นฐานสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” บทความวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินความเปราะบางทางกายภาพจากธรณีพิบัติภัยแผ่นดินไหว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ - อ.ปลินดา ระมิงค์วงศ์ได้รับรางวัล ผู้นำเสนอบทความดีเด่น หัวข้อ “การจัดการท้องถิ่นให้เข้มแข็งด้วยนวัตกรรมทาง สังคม บนพื้นฐานสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” บทความวิจัย เรื่อง การจัดการความรู้ภูมิปัญญา วัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้านแม่ก๊ะเปียง เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในงานประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 2 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 ณ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ 16 กันยายน 2565 อ.ดร.พิรุฬห์แก้ว ฟุ้งรังสี อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัล การเขียนข้อเสนอ โครงการวิจัยดีเด่น ภายใต้โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและ นวัตกรรมในมิติใหม่ รุ่นที่ 3 ประจำปี 2565 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 37 นักศึกษา 3 ตุลาคม 2564 นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ ทีม Rustic Studio By Nithed CMRU ได้แก่ นายธนาวุธ เกตุชีพ นายศักรินทร์ เตอเก นางสาวอารียา บุญมาตุ่น และนางสาวสุพัตตรา แย้มประเสริฐ ได้รับรางวัล Popular Vote รับ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล การประกวดหนังสั้น ภายใต้คณะทำงานสมัชชา ผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2564 ในหัวข้อ “สังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนอย่างมีคุณภาพ ในยุค COVID – 19” จัดโดยกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคม และ ความมั่นคงของมนุษย์ 25 พฤศจิกายน 2564 การแสดงชุด "นานาชาติพันธุ์ น้อมใจภักดิ์ ใต้ร่มฉัตรนฤบดินทร์" ในนามคณะ คุ้มดอก เอื้อง จังหวัดเชียงใหม่ ผลงานของคณะคณาจารย์และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 จากการประกวดการแสดงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เฉลิม พระเกียรติโครงการสืบสานวัฒนศิลป์ แผ่นดินสยาม ณ กองบัญชาการกองทัพบก กรุงเทพมหานคร โดยมีพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธาน ในพิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกองทัพบก โดยกรมกิจการพลเรือนทหารบก ได้ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวง วัฒนธรรม 5 ธันวาคม 2564 นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ ทีม Oh My Gosh ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 รุ่น Junior ทีม Heyday ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 รุ่น PRE -TEENAGE และ ทีม TWISTER คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 รุ่น TEENAGE จากการแข่งขัน TO BE NUMBER ONE TEEN DANCERCISE THAILAND CHAMPIONSHIP 2022 รอบชิงชนะเลิศ ระดับภาคเหนือ ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 2 ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นตัวแทนภาคเหนือเข้าแข่งขันรอบชิงแชมป์ ระดับประเทศทั้ง 3 รุ่น
38 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 21 – 22 มกราคม 2565 นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้รับ รางวัลเหรียญทอง การนำเสนอ โปสเตอร์ กลุ่ม ภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าประสงค์ SDGs เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงการกักเก็บ คาร์บอนจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในชุมชนพื้นที่สูง กรณีศึกษา: ตำบลเมืองลี อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน" โดย นายปรเมศวร์ เทพสาตรา และสหัสวรรษ แดงประไพ และรางวัลเหรียญทองแดง การนำเสนอแบบปากเปล่า กลุ่ม ภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าประสงค์ SDGs เรื่อง "การเปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ดัชนี พืชพรรณด้วยการสำรวจระยะไกลของเขตป่าชุมชนในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปีพ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2562" โดย นางสาวกุลสตรี สุมทุม และนางสาวศวิตา ฟูจุมปา ในการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ซึ่งจัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในรูปแบบออนไลน์ 1 กุมภาพันธ์2565 นางสาวอทิตยา แก้วชัย นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติได้รับรางวัลรอง ชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดแข่งขันพูดสุนทร พ จ น์ ภ า ษ า จี น 2022 年汉语演讲比赛 ระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศไทยจัดโดย สำนักวิเทศ สัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5 กุมภาพันธ์2565 การแข่งขัน TO BE NUMBER ONE TEEN DANCERCISE THAILAND CHAMPIONSHIP 2022 รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ รุ่น Junior ทีม Oh my gosh จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 และรุ่น Teenage ทีม Twister จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชมเชย โดยได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีณ ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ บางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 39 14 กุมภาพันธ์ 2565 นายนนธวัช วุฒิเฟย นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้รับรางวัลชมเชย จากการประกวดโครงงานวิจัยระดับ ปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องในงานมหกรรมวิชาการ และวัตกรรมนานาชาติ ครั้ง 5 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 24 กุมภาพันธ์ 2565“คณะช้างเผือกสามัคคี” นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ได้รับ รางวัลเหรียญทอง การประกวดดนตรีล้านนาแห่งประเทศไทย ประเภท C วงดนตรีล้านนา (C1 วงปี่พาทย์ล้านนา) จัด ขึ้นโดย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับบทเพลงที่คณะช้างเผือกสามัคคีเลือกบรรเลงครั้งนี้ ประกอบไป ด้วยเพลงล้านนาโบราณ 2 เพลง คือ เพลงแหย่งลำพูน หรือเพลงปราสาทไหวลำพูน และเพลงผีมดสำเนียงท้องถิ่น ลำพูน 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2565 นักศึกษาวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ได้รับ รางวัลระดับ Excellence การนำเสนอ แบบปากเปล่า กลุ่ม IOT : Internet of Things เรื่อง "การวิเคราะห์ปริมาณของวัตถุ กรณีศึกษา : กล้วยปอกเปลือก" โดย นายภานุวัฒน์ สกุลวุฒิชัย และรางวัลระดับ Good การนำเสนอแบบโปสเตอร์ กลุ่ม MCG : Multimedia, Computer Graphics and Games เรื่อง "การสร้างสื่อแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง ปูลิงแลนด์ Creation of 3D Animation Media on Puling Land" โดย นายชนะชนม์ ภู่ตระกูล ในการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรี ด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 10 (AUC2) ซึ่งจัดขึ้นโดย ค ณ ะวิท ย าศ าส ต ร์ ศ รีราช า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยา เขตศรีราชา ชลบุรี ในรูปแบบ ออนไลน์ 25 กุมภาพันธ์ – 25 มีนาคม 2565 นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ทีมคุ้มดอกเอื้อง และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีมช้างเผือกสามัคคีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการประกวดคลิปการแสดงพื้นบ้าน 4 ภาค รายการ"รวมศิลป์แผ่นดินสยาม 2565" รวมศิลป์ไทยไร้ขีดจำกัด โดยได้ เดินทางเข้ารับถ้วยรางวัลจากนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเงินรางวัล ณ โรงละคร สยามพิฆเนศ กรุงเทพมหานครฯ
40 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 11 มีนาคม 2565 นายธนวัชร์ พิพัฒน์ติพงศ์และนายธนากร คันธสี นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ ได้รับรางวัลชนะเลิศ คลิปสั้น 15 วินาที และรางวัลชนะเลิศ คลิปยาว 2 นาทีในการประกวดคลิปวีดีโอ ในหัวข้อ “เตือนภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการพนันออนไลน์” จัดโดย กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ 13 - 17 เมษายน 2565 นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้แก่ เด็กชายปุณยธร แก่นรัตนะ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเด็กหญิงปัณณธร แก่นรัตนะ ได้รับรางวัลอันดับ 3 การแข่งขันหมากรุกสากล เยาวชน ชิงชนะเลิศประเทศไทย รุ่น 12 ปี ชาย และ 12 ปี หญิง ตามลำดับ ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จัดโดยสมาคมหมากรุกสากลแห่งประเทศไทย 27 เมษายน 2565 ทีม Rustic Studio คณะวิทยาการจัดการ ได้แก่ นายธนาวุธ เกตุชีพ นายศักรินทร์ เตอเก นางสาวอารียา บุญมาตุ่น นางสาวสุพัตตรา แย้มประเสริฐ นางสาวสิริภาภรณ์ บุญประครอง ได้รับรางวัลชนะเลิศการ ประกวดหนังสั้น GLO Short Film Contest 2022 ในหัวข้อ “Give : การให้...ไม่มีวันสิ้นสุด” จัดโดยสำนักงานสลาก กินแบ่งรัฐบาล ร่วมกับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป โดยผลงาน GIVE ... So glad you're my mom ได้รับทุนการศึกษา พร้อมโล่รางวัล จาก พันโทหนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และได้รับรางวัล Popular Vote ได้รับทุนการศึกษา ณ Samsung LED CINEMA สยามพารากอน กรุงเทพมหานคร 2 พฤษภาคม 2565 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้แก่ 1. นางสาวพัชรี ปวนแสนคำ และนางสาวหัสยา สิทธิเจริญ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 การนำเสนอผลงานวิจัย / โครงงานสหกิจศึกษา 2. นางสาวณัฐวดี อุดคำเที่ยง และนางสาวศศิธร คะเณย์ ได้รับรางวัลชมเชย แข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านสัตวศาสตร์/ สัตวบาล 3. นางสาวเกวลิน สายบุญทา และนางสาวโมนิก้า เซง ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดนวัตกรรมด้านอาหาร ในการแข่งทักษะวิชาการและวิชาชีพด้านการเกษตร เครือข่ายราชภัฏทั่วประเทศ ครั้งที่ 7 ณ คณะเทคโนโลยี การเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (รูปแบบออนไลน์)
ANNUAL REPORT 2022 Chiang Mai Rajabhat University 41 22 พ ฤษ ภ าคม 2565 ที ม Oh my gosh นักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ได้แก่ ด.ช.ธนพัทย์ไทยเดช ด.ช.ณฐกร พันธ์ศรีด.ช.ธีธัช แสนเดชา ด.ญ.อชิรญาณ์ ปวงย้อยแก้ว ด.ญ.รัตนาวดี ศรีธัญรัตน์ด.ญ.ชิติศิริ อินมงคล ด.ญ.นทนดา นิรันดร์สวัสดิ์ด.ญ.หัสยา ยะจันทร์ ได้รับรางวัลที่ 2 รางวัลเหรียญเงินจากการแข่งขัน Thailand Hip Hop Dance Championship 2022 รอบ Final ณ Ultra Arena Hall ห้างสรรพสินค้า Show DCกรุงเทพมหานคร และได้สิทธิ์ เป็นตัวแทนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมแข่งขันกับนักเต้นทั่วโลกในการแข่งขัน World Hip Hop Dance Championship 2022 ณ เมือง Phoenix รัฐ Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป 29 มิถุนายน 2565 นายคิท แบลส นายเสกข์ แซ่ลีนายเมธี ทาคาซากิ นายวีรวัฒน์แสงท้าว นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้รางวัลชมเชย อันดับที่ 1 ในการแข่งขันการนำเสนอผลงานทางวิชาการนักศึกษาระดับชาติ ด้าน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีโดยนำเสนอผลงานเรื่อง "ผลสำรวจความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยวแม่กำปองในช่วงสถานการณ์ปกติใหม่" นำเสนอ รูปแบบออนไลน์ 4 สิงหาคม 2565 ทีม สาวเวียงพิงค์ได้แก่ นางสาวสุธิดา กาวิชัย นางสาว มะลิวรรณ สงพงศ์พรรณ นางสาวนานนอต ไม่มีนามสกุล นางสาวธีริศรา ธาดาสิริ บุญญา นางสาวจุฑามาศ ตาคำ นางสาวภัชราพร ไม้กลาง นักศึกษาคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านการคัดเลือกรอบ 2 จำนวน 2 ทีม เป็นตัวแทน ระดับ "ภูมิภาคภาคเหนือ" เข้าไปร่วมแข่งขันระดับประเทศ ในโครงการ SACIT AWARD 2022 จัดขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) 12 สิงหาคม 2565 นายวัชรพล เดชะปราปต์ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ ประจำปี 2565 เนื่องในวันแม่ แห่งชาติ จากสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชชูปถัมภ์ โดยได้เข้าเฝ้าและรับพระราชทาน โล่เกียรติคุณฯ จาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร ม ห าวัช รราช ธิด า ณ ห้ อ ง ประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรม เซ็นทรา บายเซ็นทรา ศูนย์ ราชการและคอนเวนชันเซ็น เตอร์ แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
42 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 16 สิงหาคม 2565 นางเยาวลักษณ์เกสรเกศรา นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎี บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย ระดับนำเสนอ ผลงานวิจัยดีเด่น และระดับบทความดีเด่น ในการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอ ผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 22 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 19 สิงหาคม 2565 นางสาวเบญญาภา คำตื้อ นางสาว ดาราวรรณ ฉันทะ นางสาวยุพา คำ นางสาวศศิวรรณ สายวงศ์ นายสุทธิพงศ์ ใจอาวุธ นางสาวทักษพร พิทักษ์ นักศึกษาคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัล ระดับทองแดง จาก ผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายใน มหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2564 จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 22 สิงหาคม 2565 นางสาวพัชรพร เลาหาง และนางสาววาสินี แซ่ท้าว นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ในการประกวดการออกแบบเครื่องแต่งกาย ลวดลายของกลุ่มชาติพันธุ์ฯ สินค้าระดับ High-end ภายใต้ชื่อผลงาน "Mae Khaning" จากศูนย์พัฒนา โครงการหลวง 23 สิงหาคม 2565 นักศึกษาคณะวิทยาการการ ทีม Rustic Studio ได้แก่ นายธนาวุธ เกตุซีพ นายศักรินทร์ เตอเก นางสาวอารียา บุญมาตุ่น นางสาวสุพัตรา แย้มประเสริฐ และนางสาวสิริพาภรณ์ บุญประครอง ได้รับรางวัล ชนะเลิศ ประเภทคลิปวีดีโอ การประกวดคลิปวีดีโอและโปสเตอร์ ส่งเสริมค่านิยมไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า หัวข้อ “วัยทีนต๊าซ ไม่เป็นทาสบุหรี่ไฟฟ้า” โครงการ “Young Generation No Tobacco” จัดโดยสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่ อ สั ง ค ม ไ ท ย ป ล อ ด บุ ห รี่ ณ ห้องสัมมน า 4 – 6 อาคารเฉลิม พระบารมี 50 ปี แพทยสมาคมแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร 30 สิงหาคม 2565 ทีม CMRU R2M ได้แก่ นางสาวรวิสรา ลำสาร นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ นางสาวมลธิรา ปัดตานุ นายปิยะวัฒน์ หอยแก้ว นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายพีรดนย์ กองเงิน นายชาคริต ชนิดาพงศ์พันธ์ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็น ตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันในกิจกรรม Research to Market ระดับภูมิภาค จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะ แม่ข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : Mini R2M) ณ The Brick x @NSP ชั้น 1 อาคาร C อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
สารสนเทศ
44 รายงานประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตารางแสดงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แหล่งงบประมาณ งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร งบประมาณ ที่ได้เบิกจ่าย งบประมาณ คงเหลือ งบประมาณแผ่นดิน 678,451,238.37 578,176,611.14 100,274,627.23 งบประมาณเงินรายได้ 260,449,900.00 186,518,653.76 73,931,246.24 รวม 938,901,138.37 764,695,264.90 174,205,873.47 0 100,000,000 200,000,000 300,000,000 400,000,000 500,000,000 600,000,000 700,000,000 งบแผ่นดิน เงินรายได้ เบิกจ่าย คงเหลือ งบประมาณ 72.26% %