98 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 24 ธันวาคม 2563 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมจัดนิทรรศการด้านการเกษตรและการประกอบอาชีพ ในโครงการวันของดี ตำบลขี้เหล็ก ประจำปี 2563 และกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้องค์ความรู้ด้านเกษตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการประกอบอาชีพ ภายในนิทรรศการ มีการให้ความรู้ด้านการเกษตร อาทิ จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรการใช้สมุนไพรเป็นยาและอาหาร สมุนไพร ในชีวิตประจำวัน การแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร บริการตรวจดินและแจกดินปลูกผสมสำเร็จ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงาน เข้าเยี่ยมชมจำนวนมาก ณ ลานกิจกรรมสำนักงานเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 25 ธันวาคม 2563 สำนักหอสมุด จัดกิจกรรม Mini workshop จากหนังสือสู่การลงมือทำ เรื่อง“ขอไข่หรรษา ข้างในนั้นหนา จะเป็นอะไร” ภายใต้โครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เพื่อให้สำนักหอสมุด เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ให้นักศึกษาได้เรียนรู้สร้างเสริมประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติจริง โดยมี นางสาววรัฏฐา กัวตระกูล และ นางสาวชุติมา คำสอน ผู้ปฏิบัติการห้องสมุด สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นวิทยากร ให้ความรู้แก่นักศึกษา ณ ลาน Learning Space ชั้น 1 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ 28 ธันวาคม 2563 เทคโนโลยีการเกษตร จัดกิจกรรมแนะแนวหลักสูตรการศึกษาและอาชีพ นำโดย อ.จินตนา สุวรรณ มณีอาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์นายธีรพงศ์ เตชาติ หัวหน้างานวิจัยและบริการการศึกษา และ นางสาวเกตุนภา ไทยหนุ่ม นักวิชาการศึกษา ร่วมแนะนำหลักสูตรคณะเทคโนโลยีการเกษตร แก่นักเรียน ณ ห้องแนะแนว โรงเรียนสันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 99 8 มกราคม 2564 สำนักหอสมุด จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่อง “วิธีการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เข้าร่วม อบรม ทั้งหมดจำนวน 77 คน จาก 25 หน่วยงาน และ 3 ศูนย์ความเป็นเลิศ ในการนี้มีการบรรยายให้ความรู้ เรื่อง “จดหมายเหตุ 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” โดย ผศ.ดร.สุทธินันท์ ชื่นชม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด “การจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุและขั้นตอน การส่งมอบเอกสารจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” โดย อ.ปิยวดี นิลสนธิ รองผู้อำนวยการสำนักหอสมุด และ “การบันทึก ข้อมูลจดหมายเหตุในระบบฐานข้อมูลจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” โดย นายมงคล อุตะมะแก้ว นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม 10 มกราคม 2564 วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย นำทีมผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เดินทาง ไปมอบของขวัญให้เด็ก ๆ เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี2564 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหาจักร 9 บ้านป่าข้าวหลาม ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในปีนี้ได้งดการจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ตามมาตรการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ทั้งนี้ พื้นที่บ้านป่าข้าวหลาม เป็นพื้นที่บริการวิชาการของ adiCET ซึ่งที่ผ่านมาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนใ นพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการส่งเสริมการใช้เตาชีวมวล โครงการการจัดการขยะ เป็นต้น 20 กุมภาพันธ์ 2564 นักศึกษาชมรมกตัญญูคลับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่บริเวณวัดพระธาตุดอยสะลวง ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทำแนวกันไฟเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 ร่วมกับ ผู้นำชุมชนและกลุ่มประชาชนในพื้นที่หมู่ 3 ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการรณรงค์ป้องกันการเผาป่าเพื่อแก้ไข ปัญหาหมอกควันและไฟป่า "การประชาสัมพันธ์ และการทำแนวกันไฟในการป้องกันและควบคุมไฟป่าของเครือข่ายความร่วมมือ ในการควบคุมไฟป่า ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึง 30 เมษายน 2564 ณ บริเวณพื้นที่ป่า หมู่ที่ 1 - 8 ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
100 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2 - 3 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการขยะพลาสติกและโฟม แก่อาจารย์ นักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และแกนนำชุมชนกลุ่มขะโยด ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ในโอกาสศึกษาดูงานตามโครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการขยะพลาสติกและโฟม แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้วยกระบวนการอาสาประชารัฐ ภายใต้โครงการพันธกิจสัมพันธ์ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเพิ่มทักษะประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาและแกนนำชุมชน ทั้งนี้ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การใช้เตาชีวมวลทรงกระบอก และการทำบล็อกรีไซเคิลจากขยะถุงพลาสติก รวมถึงสาธิตขั้นตอนการทำบล็อกรีไซเคิลปูพื้นถนน ณ ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3 มีนาคม 2564 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรมการสัมมนาทางวิชาการ “ประเพณี สงกรานต์และการแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ล้านนา” โดยเป็นกิจกรรมภายใต้ของโครงการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีสงกรานต์และรณรงค์ การแต่งกายพื้นบ้านล้านนา ประจำปี 2564 โดยมี อาจารย์วัลลภ นามวงศ์พรหม และ อาจารย์สนั่น ธรรมธิ ร่วมกิจกรรมการสัมมนา ทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์และการแต่งกายพื้นบ้านล้านนาให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมรับฟัง ตลอดถึง เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของคนไทยให้คงไว้สืบไป ณ ห้องประชุมเอื้องสามปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราชภัฏเฉลิม พระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 4 มีนาคม 2564 วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย จัดการบรรยายให้ความรู้เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ใน Chiang Mai World Green City ให้แก่ผู้ร่วมโครงการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารและการจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชน ระดับตำบล และเครือข่ายพลังงานชุมชน ประจำปี 2564 โดยสำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงใหม่ มีผลให้ตัวแทนชุมชนได้เรียนรู้ เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนภายใน Chiang Mai World Green City และสามารถนำไปขยายผลที่ชุมชนของตนเอง เช่น ระบบผลิต ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ การทำถ่านชีวมวล เตาชีวมวล ระบบ Smart Farm และตู้อบพลังงานงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 101 4 มีนาคม 2564 สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนา ข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนภายใต้คลินิก เทคโนโลยี” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. วัชรพงษ์ วัฒนกูล รักษาราชการแทน รองอธิการบดีเป็นประธานในพิธีเปิด และ นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้แทนกองส่งเสริม และประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นวิทยากร ซึ่งได้รับความสนใจจากอาจารย์ บุคลากร นักวิจัยเข้าร่วมการอบรมในห้องประชุมและผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 80 คน ณ ห้องประชุมชั้น 15 อาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 8 และ 19 มีนาคม 2564 วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย จัดอบรมให้แก่ครูและนักเรียนโรงเรียน จอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 8 มีนาคม 2564 และจัดอบรมให้แก่ครูและสภานักเรียนโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 19 มีนาคม ภายใต้การดำเนินงานโครงการ “สร้างความตระหนักในด้านการลดการเผาทำลายขยะ และการถ่ายทอด เทคโนโลยีการสร้างระบบฟอกอากาศพร้อมระบบตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM แบบแสดงผลออนไลน์” โดย อ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ชุมชน นายโชคชัย คงอุดมทรัพย์นักวิชาการศึกษา และนายอานนท์ ผัดแปง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป พร้อมด้วยนักศึกษาระดับ ปริญญาเอกสาขาวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อมชุมชน กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบ ของปัญหาฝุ่น PM 2.5 การใช้ประโยชน์จากเครื่องตรวจวัดฝุ่นที่แสดงผลออนไลน์ รวมทั้งฝึกปฏิบัติการจัดทำเครื่องกรองอากาศอย่างง่าย ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม วิทยาลัยฯ ได้มอบเครื่องกรองอากาศที่เป็นผลงานประดิษฐ์ของนักเรียนที่เข้าอบรมให้แก่โรงเรียน เพื่อใช้ สำหรับห้องเรียนปลอดฝุ่นจำนวน 2 เครื่อง ทั้งนี้ โรงเรียนจอมทอง ได้ใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศจากเครื่องตรวจวัดฝุ่นของวิทยาลัยฯ ในการเผยแพร่ให้แก่นักเรียน ครู และผู้ปกครองได้รับทราบคุณภาพอากาศ กันอย่างทั่วถึง 10 มีนาคม 2564 คณะวิทยาการจัดการ จัดบริการวิชาการ ในหัวข้อ Content Creator ภายใต้โครงการบูรณาการการเรียน การสอน กับการบริการวิชาการสู่สังคม นำโดยอาจารย์และนักศึกษาบริการวิชาการ ให้กับนักเรียนมัธยมปลาย จำนวน 100 คน ประกอบด้วยกิจกรรมภาคบรรยาย “Content Creator อาชีพใหม่ของคนรุ่นใหม่” โดย อ.ดร.อุไร ไชยเสน และกิจกรรมภาคปฏิบัติ “Photo Content การสร้างเนื้อหาผ่านรูปภาพ” โดย อ.กมลวรรธ สุจริต อาจารย์จากภาควิชานิเทศศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม รู้จักหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการจากคณาจารย์แต่ละหลักสูตร แนะนำและสร้างความเข้าใจเพื่อประกอบการตัดสินใจศึกษาต่อระดับ ปริญญาตรีให้กับนักเรียน โดยนักเรียนให้ความสนใจ และได้รับรู้เกี่ยวกับหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะวิทยาการจัดการมากขึ้น ณ โรงเรียน แม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
102 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 23 มีนาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดตาก เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดทำสื่อออนไลน์สำหรับถอดบทเรียน ความสำเร็จการทำงานของสถาบันที่กำหนดไว้ 6 พื้นที่ ซึ่งจะนำเสนอในการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติออนไลน์ Sustainable Highland Development: Challenges & Responses to COVID-19 and the Application of SEP จัดโดยความร่วมมือระหว่าง กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 25 มีนาคม 2564 วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย จัดการบรรยายให้ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการอนุรักษ์พลังงานให้แก่นักเรียนโปรแกรมวิทยาศาตร์โรงเรียนทองสวัสดิ์วิทยาคาร อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน มีผลให้ครู และนักเรียน รวมจำนวน 30 คน ได้รับความรู้เรื่องพลังงานทดแทนและนวัตกรรมการใช้พลังงานทดแทน เพื่อนำไปปรับใช้กับการเรียน การสอนของตนเองในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของตนเอง 29 มีนาคม 2564 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมพิจารณาให้การรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (SDGs PGS) จังหวัดเชียงใหม่ ปีดำเนินการ 2563 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พหุภาคี “วาระเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ Chiangmai Organic Agenda การขับเคลื่อนจังหวัดเชียงใหม่ สู่เมืองหลวงเกษตรอินทรีย์ ของประเทศไทย Organic Capital of Thailand และเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์แห่งเอเชีย Organic Hub of Asia” และร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบใบรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (SDGs PGS) จังหวัดเชียงใหม่ ให้แก่เกษตรไทย สำหรับการจัดกิจรรมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่ ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการ ผลผลิตอินทรีย์และนวัตกรรม ทั้งนี้มีผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 103 6 เมษายน 2564 วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ เพื่อการยกระดับเกษตรอินทรีย์ให้แก่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ต.ม่อนปิ่น ให้มีคุณภาพและสามารถลดต้นทุนในการผลิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพาสารเคมีณ ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 29 – 30 เมษายน 2564 วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย จัดการประชุมในหัวข้อ "APEC Workshop on Accommodating Disruptive Technology into RE&EE Policies for Energy Security" โดยมีตัวแทนผู้เชี่ยวชาญกว่า 80 คน จาก 13 กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปค เพื่อทบทวนและแบ่งปันผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยีสำหรับภาคพลังงาน เป็นการหารือในภาคการผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้าการเดินทางขนส่ง รวมไปถึงอาคารประหยัด พลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากให้กับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวง พลังงาน และศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) พร้อมทั้ง ส่งนักศึกษาเข้าร่วมฟังการประชุมเพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัยและทักษะด้านภาษา 8 พฤษภาคม 2564 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทำงานวิชาการในการพัฒนาวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับ หน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย ในฐานะหน่วยงานเครือข่ายเพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยให้แก่นักวิจัยที่อยู่ในระบบวิจัยและนวัตกรรมให้มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปีแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 - 2570 และยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีคุณภาพสูง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภายใต้การดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร“สร้างนักวิจัยรุ่น ใหม่” (ลูกไก่) ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16 -20 สิงหาคม 2564 นี้
104 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 25 พฤษภาคม 2564 วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564 “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อ แผ่นดิน” สืบสานสู่ 100 ล้านต้น โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรจากหลายหน่วยงานร่วมปลูกต้นไม้ ณ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน 27 พฤษภาคม 2564 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564 ภายใต้งาน “ฮ๋อมใจ๋ เพาะกล้าลาน” โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรจากหลายหน่วยงานร่วมปลูกต้นไม้ และให้การสนับสนุนการเพาะต้นลาน รวมถึงพันธ์ุไม้ล้านนา เช่น ต้นลาน กระดังงา อินทร์จันทร์ ต้นมะตูม ขนุน กล้วย ดอกพุดซ้อน มะขามป้อม เป็นต้น นับเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ต้นลานและพันธุ์ไม้พื้นเมืองต่าง ๆ ของล้านนา ซึ่งเป็นพันธ์ุไม้ที่มีคุณค่าความสำคัญกับล้านนามาตั้งแต่อดีตและใกล้จะสูญหาย อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้คนไทยปลูกต้นไม้ฝากไว้กับแผ่นดิน เพื่อประโยชน์แก่ลูกหลานในวันข้างหน้า ณ ข่วงเรือนอนุสารสุนทร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 1 มิถุนายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่กับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สืบเนื่องจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กรมการพัฒนาชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ทั่วประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนา เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจครัวเรือนทั่วประเทศ ทั้งนี้ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ ผู้ประกอบการ อาทิการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ สามารถยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์เข้าสู่กระบวนการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย หรือ OTOP Product Champion โดยในปีพุทธศักราช 2562 ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับการคัดสรรในระดับ 2 - 5 ดาว เป็นจำนวนถึง 23 ราย จนกลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการกระจายรายได้ในชุมชน ตรงตามเป้าหมายการสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาซึ่งความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในการสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ และนวัตกรรมต่าง ๆ สู่ การพัฒนาสินค้าพัฒนา ผู้ประกอบการ และ พัฒนาคุณภาพชีวิตความ เป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 105 21 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาการจัดการ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การยกระดับบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ระดับชาติและนานาชาติ” โดยมีวิทยากรจากศูนย์ความเป็นเลิศทางเศรษฐมิติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ. ดร.เริงชัย ตันสุชาติ ผศ. ดร.วรพล ยะมะกะ และ ผศ. ดร.ภารวี มณีจักร ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการยกระดับบทความ วิจัยสู่การตีพิมพ์นานาชาติ เทคนิคแนวทางกระบวนการเตรียมข้อมูลงานวิจัย เครื่องมือการวิจัยในการพัฒนาบทความวิจัยสู่ระดับชาติ และนานาชาติเพื่อการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ณ ห้องประชุมเอื้องไอยเรศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 26 มิถุนายน 2564 บัณฑิตวิทยาลัย จัดสัมมนาวิชาการ “ประสบการณ์การ พัฒนาชุมชน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง จาก OTOP สู่ OGOP”ได้รับเกียรติ จาก ดร.ชำนาญ วัฒนศิรินักวิชาการพัฒนา ชุมชนอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชน และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (ในงาน พัฒนาชุมชน) และ คุณไพบูลย์ บูรณสันตินักวิชาการอิสระด้านการพัฒนาชุมชน การส่งเสริม SEP ท่องเที่ยวโดยชุมชน และ Social Enterprise (SE) ผู้เชี่ยวชาญกรมการพัฒนาชุมชนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ที่ปรึกษาโครงการความร่วมมือ ระหว่างประเทศด้านการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน กรมความร่วมมือฯ (TICA) ที่ปรึกษา บริษัท ศูนย์การเรียนรู้คูซ่าดี จำกัด เป็นวิทยากร บรรยายเรื่อง ประสบการณ์พัฒนาชุมชน ภายใต้หลักปรัชญาเศาณฐกิจพอเพียง จาก OTOP สู่ OGOP เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วม สัมมนาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนเพิ่มพูนความรู้ด้านศาสตร์พระราชากับการพัฒนาชุมชน ทั้งยังเป็น การเผยแพร่แนวทางในการนำความรู้ศาสตร์พระราชามาใช้ในการพัฒนาชุมชนให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป ณ ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉิลมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 1 กรกฎาคม 2564 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี การก่อตั้งสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และพิธีกินอ้อผญา สืบสาน ภูมิปัญญาล้านนา ในการนี้ ได้รับเมตตาจาก ท่านพระครูอดุลสีลกิตติ์ เจ้าคณะ ตำบลหายยา เจ้าอาวาส วัดธาตุคำ เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนาประจำปี 2547 ประกอบพิธีกินอ้อผญา โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักเรียนและ นักศึกษาเข้าร่วมงาน โดยปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 จัดกิจกรรมแบบ New normal เว้นระยะห่างทางสังคมภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อของทางราชการ ณ ชั้น 4 ห้องพุทธศาสน์ อาคารเทพ รัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
106 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 9 กรกฎาคม 2564 คณะวิทยาการจัดการ จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อการส่งออก ร่วมกับสำนักงาน พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ สำนักงานพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประสานความร่วมมือในการบริการวิชาการกับหน่วยงานของชุมชนและท้องถิ่น โดยการอบรมพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการเพื่อการส่องออกในครั้งนี้ มีหัวข้อเรื่องการสัมมนาประกอบด้วยเรื่อง มาตรฐานการส่งออก การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการส่งออก และการขายออนไลน์กับแพลตฟอร์ม Alibaba ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้คาดว่าผู้ประกอบการจังเชียงใหม่ จะได้รับความรู้ แนวทางปฏิบัติและประสบการณ์ไปต่อยอดขยายแผนงานธุรกิจเพื่อการส่งออกตลาดต่างชาติมากยิ่งขึ้น ณ ห้องประชุมดอยหลวง ชั้น 2 โรงแรมแคนทารีฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ 20 กรกฎาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดยคณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร ร่วมถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน และเครื่องอัฐบริขารยังวัดต่าง ๆ เนื่องในงานประเพณีเข้าพรรษา ประจำปี 2564 จำนวน 7 วัด ประกอบด้วย วัดกู่เต้า (เวฬุวนาราม) วัดเชียงโฉม (เจดีย์ปล่อง) วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดข่วงสิงห์ วัดหนองปันเจียง และ วัดหนองกู่คำ ทั้งนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อร่วมรักษาพุทธประเพณีที่ดีงามสืบไป 23 กรกฎาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการและนิทรรศการอัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย” ครั้งที่ 7 ประจำปี 2564 ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 28 แห่ง ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อาคารราชภัฏ เฉลิมพระเกียรติ พร้อมทั้งออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings และผ่านทาง Facebook Live โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 แห่ง เป็นเจ้าภาพในการดำเนินโครงการร่วมกัน ได้แก่ ภาควิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 107 30 กรกฎาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาบุคลากร และ การจัดการความรู้ ด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพคน และการจัดการความรู้ ทั้งจากงานวิจัย การสร้างนวัตกรรม และเครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องและชัดเจน เพื่อสนับสนุนการผลิตและพัฒนา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพได้โดยการจัดอบรมด้านการประเมินผลกระทบ ด้านสุขภาพในระยะสั้นและระยะยาวและเชื่อมโยงกับการศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการงานวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพทั้งจากการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา รายงานวิจัยของเครือข่าย นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาสนับสนุนและส่งเสริมการนำกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพไปใช้เป็นเครื่องมือการพัฒนา นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพทั้งในระดับนโยบายยุทธศาสตร์ แผน และโครงการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 9 สิงหาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือทางวิชาการ โครงการพี่เลี้ยง (Mentoring Program) หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในสถาบัน อุดมศึกษา (TLO) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ระหว่าง สำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ความร่วมมือ คือ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข็งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา/ ฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการพัฒนางานการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในสถาบันอุดมศึกษาที่กำลังเริ่มต้นหรือ ดำเนินงานมาแล้วระยะหนึ่งแต่ยังไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน และเพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา 16 - 20 สิงหาคม 2564 สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัย รุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 2 ในรูปแบบออนไลน์ (ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting) มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน จำนวนทั้งสิ้น 77 คน มีผู้ผ่านการอบรมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติกำหนด จำนวน 64 คน ทั้งนี้ ในการ ดำเนินงานการจัดฝึกอบรมตลอดระยะเวลา 5 วัน ได้รับความกรุณาจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะและประเมินการดำเนินงาน วิทยากร (แม่ไก่) และวิทยากรภาคปฏิบัติตลอดหลักสูตร ได้แก่ รศ.ดร.กุหลาบ รัตนสัจธรรม รศ.ดร. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร รศ.ดร.เสาวคนธ์สุดสวาท วิทยากร (แม่ไก่) จำนวน 8 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร.บุญฑวรรณ วิงวอน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง รศ.ดร.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รศ.ดร.วัสสนัย วรรธนัจฉริยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.เบญจมาศ สุขสถิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผศ.ดร.ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผศ.ดร.มณฑา หมีไพรพฤกษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร ผศ.ดร.เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดร.จิตติมาภรณ์ สีหะวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
108 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 18 สิงหาคม 2564 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดการอภิปรายเชิงวิชาการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม พุทธศักราช 2564 ให้กับ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์วรพจน์ วิเศษศิริคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวิทยากรเรื่อง ชีวิต ผู้คนและวัฒนธรรม เมืองมะริด และเมืองตะนาวศรีและอาจารย์ ดร.ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้ดำเนินรายการซึ่งมีคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจ เข้าร่วม ฟังการอภิปราย จำนวนทั้งสิ้น 327 คน ภายหลังการอภิปรายได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมฟังการอภิปรายฯ ได้แสดงความคิดเห็นและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมทั้งออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting และผ่านทาง Facebook สำนักศิลปะและวัฒนธรรม 19 สิงหาคม 2564 บัณฑิตวิทยาลัย จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Education:WIE) ร่วมกับ วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง ลำพูน โดยจัดการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการทำสปาเก็ตตี้ขี้เมาทะเล กระชายหอมแดง หลักสูตรการทำบัวลอยเบญจรงค์5 สี ใส่น้ำขิง ลำใย และใบเตย เพื่อให้ความรู้ แก่กลุ่มชุมชนเทศบาลตำบลหนองยวง จำนวน 2 กลุ่ม โดยได้รับเกียรติจากนายกเทศบาลตำบลหนองยวง กล่าวเปิดการอบรมผ่านระบบ ออนไลน์ 22 สิงหาคม 2564 บัณฑิตวิทยาลัย จัดการประชุมสัมมนาโครงการการพัฒนานวัตกรรมงานวิจัยทางการบริหารการศึกษา ยุคดิจิทัล มีการเสวนาและแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “กลยุทธ์การขับเคลื่อนนวัตกรรมงานวิจัยทางการบริหารการศึกษายุคดิจิทัล” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง นายกสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล ประธานหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชรและการเสวนาและแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “การสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษายุคดิจิทัล ในระดับดุษฎีบัณฑิต” โดยวิทยากร รศ.ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ณ ห้องประชุมบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 13 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 109 31 สิงหาคม 2564รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา ประธานกรรมการบริษัทฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านกัญชง ระหว่าง มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ และ บริษัท ไทยเฮมพ์เวลเนส จำกัด โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับกัญชง การทดสอบ สายพันธุ์ คุณสมบัติและการศึกษาการใช้ประโยชน์จากสารพฤกษเคมีจากกัญชงเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม เวชสำอาง ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสัตวแพทย์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการปศุสัตว์ โดยมหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้อาจารย์และ นักวิชาการที่มีความรู้เข้าร่วมดำเนินการวิจัย โดยจะมีข้อเสนอโครงการวิจัยในโอกาสต่อไป และในส่วนบริษัทจะสนับสนุนงบประมาณ ตามความเหมาะสม ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับกัญชงอย่างครบวงจร ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 6 - 8 กันยายน 2564 วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ฟาร์ม เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยมาตรฐาน Green Product และรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน ตำบลแม่ทา” โดยการมีส่วนร่วมของ อบต.แม่ทา ปตท. ตลอดจนผู้ประกอบการ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ คณาจารย์ นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ ณ ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 8 กันยายน 2564 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะผู้บริหาร พร้อมด้วย แกนนำนักศึกษาวิศวกรสังคม สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รับมอบถุงปันสุข จำนวน 200 ชุด และ ชุด PPE จำนวน 50 ชุด จาก พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี และ ดร.นงรัตน์ อิสโร เลขานุการองคมนตรี ณ อาคารกิจการ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว เพื่อนำไปมอบให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้จัดทำชุดถุงปันสุขเพิ่มเติม อีกจำนวน 200 ชุด และจะดำเนินการลงพื้นที่ ชุมชนวัดกู่เต้า ชุมชนหลิ่งกอกชุมชนขี้เหล็ก ชุมชนสะลวงนอกและสะลวงใน ร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่อมอบ ถุงปันสุขให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนต่อไป
110 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 9 กันยายน 2564 ศูนย์ความเป็นเลิศ ด ้ า น ก า ร พ ั ฒ น า ศ ั ก ย ภ า พ ท า งธ ุ ร กิ จ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ จัด โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ ยุค 4.0 “การตลาดดิจิทัลสู่การสร้างยอดขาย บนโลกออนไลน์” โดยมีนายเจริญ สีวาโย พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดโครงการและร่วมปาฐกถาพิเศษให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการกลุ่ม OTOPจังหวัด เชียงใหม่ โดยการจัดงานครั้งนี้เป็นโครงการร่วมสืบเนื่องจากการลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความ ร่วมมือในการบริการวิชาการกับหน่วยงานของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างรู้คุณค่า และเกิดประโยชน์ อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาด้านการบริหารและการจัดการด้านธุรกิจของชุมชน 11 - 12 กันยายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานเสวนาวิชาการออนไลน์ ในโครงการ“สมุนไพรพื้นบ้านพิชิต โควิด - 19 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องในสถานการณ์ โรคระบาดโควิด - 19 ให้กับนักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อสร้างเครือข่ายในการเรียนรู้ชุมชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อาหารท้องถิ่นจากสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อดูแลสุขภาพในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และ เพื่อการประชาสัมพันธ์ หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยมีระยะเวลาการดำเนินการโครงการ ทั้งสิ้น 2 วัน มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการประมาณ 300 คน 13 - 16 กันยายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนา พื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดสัมมนารูปแบบออนไลน์ด้านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเกษตรพื้นที่สูง ในหัวข้อ Sustainable Highland Development : Challenges & Response to Covid-19 and the Application of Sufficiency Economy Philosophy ณ ห้องประชุมสะลวง ชั้น 2 อาคารบริหารและอำนวยการ กลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม โดยมี นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความ ร่วมมือต่างประเทศ เป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนา การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางดำเนินการด้านการจัดการการเกษตรบนพื้นที่สูง ถ่ายทอดหลักปรัชญาของเศรฐกิจ พอเพียงให้แพร่หลาย อีกทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินการด้านการเกษตรในพื้นที่ สูงของแต่ละประเทศภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน ผ่านกิจกรรม การบรรยายจากวิทยากรรับเชิญ การบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ประจำพื้นที่ต่าง ๆ ในกรณีศึกษาแลกเปลี่ยน โดยจะมีพี่เลี้ยงอำนวยการกลุ่มประจำแต่ละ ประเทศ เพื่อช่วยให้การดำเนินการอบรมออนไลน์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมกับเกษตรกร ของแต่ละพื้นที่เข้าร่วมในการบรรยายและตอบข้อซักถาม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย เนปาล สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต และนักศึกษาบัณฑิตศึกษาสาขาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน เจ้าหน้าที่ สวพส. และผู้สนใจเข้าร่วมจากประเทศไทย รวมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 90 คน
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 111 16 กันยายน 2564แกนนำนักศึกษาวิศวกรสังคม พร้อมด้วย บุคลากรกองพัฒนานักศึกษา สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา และผู้แทนจากสโมสรนักศึกษา ลงพื้นที่ร่วมกับผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อส่งมอบ "ถุงปันสุข" ซึ่งได้รับ อนุเคราะห์จาก พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรีและ ดร.นงรัตน์ อิสโร เลขานุการองคมนตรีจำนวน 201 ชุด และได้รับ การสนับสนุนสมทบเพิ่มเติมจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อีกจำนวน 200 ชุด รวมทั้งสิ้น 401 ชุด แสดงความห่วงใยต่อครอบครัว เพื่อนนักศึกษา ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ ชุมชนวัดกู่เต้า จำนวน 50 ชุด ชุมชนหลิ่งกอก จำนวน 60 ชุด ชุมชนศรีมงคล จำนวน 20 ชุด ชุมชน สะลวงนอก และสะลวงใน จำนวน 50 ชุด ชุมชนขี้เหล็ก จำนวน 50 ชุด คนไร้บ้านพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 21 ชุด และยังได้ส่งมอบ ถุงปันสุข จำนวน 150 ชุด เพื่อเตรียมนำช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งในส่วนนี้ทางวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน จะได้ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อส่งมอบแก่ชุมชน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อไป 30 กันยายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏ 8 แห่ง กับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ณ ห้องประชุมสันโป่ง อาคารอำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม โดยเป็นการลงนามผ่านระบบออนไลน์Zoom Cloud Meeting ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้เกิดรายได้แก่ชุมชน โดยสร้างชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวและขายสินค้าในชุมชนจากการท่องเที่ยว ใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ แปลงเป็นรายได้ เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวระดับชุมชนที่มีเสน่ห์ดึงดูดและมีคุณค่าให้แก่ นักท่องเที่ยว จึงเกิดความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์OTOP รวมถึงชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 8 แห่ง โดยการฝึกให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ ท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่สามารถพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยว ตลอดจนมุ่งให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ด้านการประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยว ของชุมชนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้
112 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่นความต้องการของจังหวัด แม่ฮ่องสอนโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับท้องถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน กับ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนภายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้จัดโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร นักวิจัย และประชาชนให้มีความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ รวมถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้มีการจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ ที่จะพัฒนาบุคลากรของวิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ให้มีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์และมีทักษะการวิจัยและบริการวิชาการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยมี โครงการส่งเสริมทักษะต่างๆตามยุทธศาสตร์ดังนี้ 1. การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผศ.ดร.นครินทร์ พริบไหว ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินงานโครงการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และ ฝุ่นละอองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้กิจกรรม พัฒนา แผนชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลของชุมชนสำหรับ การจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอก ควัน และฝุ่นละอองชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน และหาแนวทางและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2. การพัฒนาระบบตลาดโกโก้ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ผศ.เกษม กุณาศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบตลาดโกโก้ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อพัฒนาระบบตลาดพืชโกโก้โดยชุมชนมีส่วนร่วม สร้างแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์โกโก้ ที่มีศักยภาพของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจัดทำแผนคู่มือขับเคลื่อนพืชโกโก้ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยใช้ตลาดนำ 3. ปลูกเมล่อนแลกค่าเทอมการ ภายใต้แผนพืชเศรษฐกิจใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผศ.เกษม กุณาศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินงานโครงการปลูกเมล่อนแลกค่าเทอม ภายใต้ แผนพืชเศรษฐกิจใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอนของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ วิจัย และทดลอง การเพาะปลูกเมล่อนในโรงเรือน แก่เยาวชน เกษตรกร นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจ สร้าง Start Up ใหม่ ด้านการเกษตร ของนักศึกษาที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และลดภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 113 ในปีงบประมาณ 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีงบประมาณอุดหนุนงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 44,440,780 บาท จากแหล่งทุนต่าง ๆ ดังนี้จากงบประมาณแผ่นดิน ที่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จำนวน 24,660,000 บาท จากงบประมาณ กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 2,234,400 บาท และจากแหล่งทุนผ่านหน่วยบริหารจัดการ ทุนวิจัยและนวัตกรรม หรือแหล่งทุนอื่น ๆ จำนวน 17,546,380 บาท อาทิเช่น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และ ทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานปลัดกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เป็นต้น งบประมาณอุดหนุนงานวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ส ำนักงำนคณะกรรมกำรส่งเสริมวิทยำศำสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองทุนวิจัยมหำวิทยำลัยรำชภัฏเชียงใหม่ แหล่งทุนผ่ำนหน่วยบริหำรจัดกำรทุนวิจัยและนวัตกรรม หรือแหล่งทุนอื่น ๆ ผลงานวิจัยเพื่อสร้าง สะสมองค์ความรู้ที่มีศักยภาพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 55.49 % กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 5.03 % แหล่งทุนผ่านหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและ นวัตกรรม หรือแหล่งทุนอื่น ๆ 39.48 %
114 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ งบประมาณแผ่นดินที่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โครงการวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จำนวน 42 โครงการ รวมงบประมาณทั้งสิ้น 24,660,000 บาท ดังนี้ ที่ ชื่องานวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ 1 อันดับบางส่วนธรรมชาติบนกึ่งกรุปการแปลง แบร์-เลวี 495,000 อ.บูรพา สิงหา คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 2 ภูมิศาสตร์ภาษาไทขึนในจังหวัดเชียงใหม่ : ความรู้ พื้นฐานเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ 401,000 อ.ฑัตจยศพล ธนธุวานันท์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ 3 แนวทางการจัดการการอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำ แม่แตง เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวสีเขียว ในพื้นที่ ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 850,000 นางสาวรุ่งนภา จุลศักดิ์ วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีชุมชนแห่ง เอเซีย 4 การพัฒนาสมรรถนะและองค์ความรู้ด้านบัญชี ของพนักงานสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ 1,050,000 อ.กิรณา ยี่สุ่นแซม คณะวิทยาการจัดการ 5 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของข้าวอินทรีย์ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อพัฒนาเป็นห่วงโซ่ มูลค่าใหม่ทางการพาณิชย์ 550,000 ผศ.เกษม กุณาศรี คณะวิทยาการจัดการ 6 การสร้างสรรค์คุณค่าแบรนด์และโมเดลธุรกิจ ที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ อย่างเหมาะสมสำหรับ กลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน 550,000 ผศ.มานพ ชุ่มอุ่น คณะวิทยาการจัดการ 7 การบูรณการกลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่กับ การฟื้นฟูจิตวิญญาณของกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปข้าว อินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 550,000 อ.ดร.จินดาภา ศรีสำราญ คณะวิทยาการจัดการ 8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการตลาด ดิจิทัลของข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อสนับสนุนห่วงโซ่มูลค่าใหม่ทางการพาณิชย์ 550,000 อ.วลัยพร สุพรรณ คณะวิทยาการจัดการ 9 การพัฒนาศักยภาพ SME ขนาดเล็กของจังหวัด แม่ฮ่องสอนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 450,000 ผศ.ดร.ชุติมันต์ สะสอง คณะวิทยาการจัดการ 10 รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุจังหวัด แม่ฮ่องสอนสำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อ การบริโภคในครัวเรือน 550,000 อ.พัชรี วงศ์ฝั้น วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 11 การลดต้นทุนและเพิ่มผลตอบแทนของครัวเรือน ผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อุปทานในจังหวัด แม่ฮ่องสอน 550,000 ผศ.เกษม กุณาศรี คณะวิทยาการจัดการ
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 115 ที่ ชื่องานวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ 12 การวิจัยและพัฒนาการผลิตเนื้อและผลิตภัณฑ์ ไก่แม่ฮ่องสอนให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริม ความเข้มแข็งของชุมชนและการท่องเที่ยว 500,000 ผศ.ดร.นครินทร์ พริบไหว คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 13 ประสิทธิภาพการผลิตและลักษณะสัณฐานวิทยา ของไก่แม่ฮ่องสอนช่วงอายุต่างกันเมื่อเทียบกับ ไก่ประดู่หางดำ ไก่ไข่เพศผู้ และไก่เนื้อ 500,000 ผศ.ดร.นครินทร์ พริบไหว คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 14 การศึกษาการกระจายตัวและลักษณะสัณฐานวิทยา ของนิเวศวิทยาไก่แม่ฮ่องสอน 500,000 ผศ.สพ.ญ.ดร. กุลิสรา มรุปัณฑ์ธร คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 15 การเปรียบเทียบคุณภาพซาก เนื้อ รสชาติ องค์ประกอบกรดอะมิโน และนิวคลีโอไทด์ในไก่ แม่ฮ่องสอน ไก่ไข่เพศผู้ ไก่ประดู่หางดำ และไก่เนื้อ 500,000 อ.นิราภรณ์ ชัยวัง คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 16 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่แม่ฮ่องสอนเพื่อให้เป็น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 500,000 ผศ.ดร.วิศนี สุประดิษฐอาภรณ์ คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 17 ผลของยากระตุ้นทางการค้าทที่มีต่อความก้าวร้าว และการผสมพันธุ์ของไก่พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน(Gallus gallus domesticus) 500,000 อ.ณัฐธิดา สุภาหาญ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 18 การพัฒนาสมรรถนะการแข่งขันธุรกิจ SME ขนาดเล็ก เพื่อรองรับและเตรียมความพร้อมในการ เปิดด่านการค้าชายแดนถาวรไทย - เมียนมา จังหวัดแม่ฮ่องสอน 450,000 ผศ.ดร.วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 19 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ SME ขนาดเล็กผ่านการจัดการ ชุมชน โดยเน้นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ พัฒนา ผู้ประกอบการของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 450,000 อ.สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 20 การศึกษารูปแบบการบริหารการเงินของธุรกิจ SME ขนาดเล็ก ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 450,000 อ.บุปผา คำนวณ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 21 การเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของ ธุรกิจ SME ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 450,000 อ.ธีว์วรา ไหวดี วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 22 การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพทำปานซอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 550,000 อ.ประสิทธิ์ ฉิมบุญมา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 23 รูปแบบการพัฒนาโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สู่มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย 550,000 อ.สิริลักษณ์ กัลยา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 24 การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ของบุกในจังหวัด แม่ฮ่องสอน 850,000 ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 25 การพัฒนาฐานข้อมูลการใช้สมุนไพรของกลุ่ม ชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 500,000 อ.อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 26 รูปแบบการสืบทอดทางวัฒนธรรมของชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 250,000 อ.รักคุณ ปัญญาวุธาไกร วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
116 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ ชื่องานวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ 27 การสืบทอดอัตลักษณ์ วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม ของชุมชนท่องเที่ยว กลุ่มชาติพันธ์ลาหู่ดำ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 450,000 อ.ทับทิม เป็งมล วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 28 กระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมชุมชน การฮอลิ่กถ่อมลิ่ก ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 500,000 อ.ดร.ธรรศ ศรีรันตน์บัลล์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ 29 รูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 500,000 นายภูดิท อักษรดิษฐ์ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 30 กระบวนการสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 550,000 อ.อาทิตย์ ศรีจันทร์ดร วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 31 นวัตกรรมเทคโนโลยีสะอาดสำหรับแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 680,000 อ.มะลิวัลย์ พวงมณี คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 32 การลดการเกิดไฟป่าโดยกระบวนการบริหารจัดการ ทรัพยากรท้องถิ่นและการมีส่วนร่วม ของชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1,000,000 ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 33 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามศาสตร์ พระราชาของโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 550,000 อ. รินทร์ลภัส ศิรินพวัฒน์ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 34 การจัดทำฐานทรัพยากรธรรมชาติ และความ หลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ โดยชุมชน ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 720,000 อ.ดร.รุ่งนภา ทากัน คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 35 การยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วนวัตกรรม 3Rs1C สำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดน 750,000 ผศ.ดร.ชไมมน ศรสีรุกัษ์ คณะครุศาสตร์ 36 การวิจัยและการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่จังหวัด แม่ฮ่องสอน ภายใต้การมีส่วนรวมของชุมชน 450,000 ผศ.เกษม กุณาศรี คณะวิทยาการจัดการ 37 การบริหารจัดการการยกระดับผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 994,000 ผศ.เพียงตะวัน พลอาจ คณะวิทยาการจัดการ 38 การยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนผ้า และสิ่งทอเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวจังหวัด แม่ฮ่องสอน 1,550,000 ผศ.จินตนา อินภักดี คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 39 การยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเกษตร แปรรูปเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 1,550,000 ดร.ธัญนันท์ฤทธิ์ มณี คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 117 ที่ ชื่องานวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ 40 การปรับปรุงสมบัติทางไฟฟ้า เชิงกลและ ทางชีวภาพของวัสดุผสมนาโนที่มีไฮดรอกซี อะพาไทต์เป็นองค์ประกอบหลัก 850,000 ผศ.ดร.ฉัตรชัย เครืออินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 41 การสังเคราะห์และวิเคราะห์วัสดุชีวภาพนาโนเกรน ที่มีไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นองค์ประกอบหลัก 650,000 ผศ.ดร.อนิรุทธิ์ รักสุจริต คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 42 การพัฒนาโครงครอบฟันจากวัสดุผสมนาโน ที่มีไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นองค์ประกอบหลัก 650,000 ผศ.ดร.ฉัตรชัย เครืออินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี รวมทั้งหมด 24,660,000 บาท ทุนอุดหนุนการวิจัย จากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 49 โครงการ รวมงบประมาณทั้งสิ้น 2,234,400 บาท ดังนี้ ที่ ชื่อโครงการวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ 1 ผลของความจำปฏิบัติการและการรู้คิดโดยร่างกาย ที่บูรณาการในการเรียนรู้สื่อผสมที่มีต่อความคงทน ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี 30,000 อ.ดร.ปวีณา โฆสิโต คณะครุศาสตร์ 2 การพัฒนา Application การจัดการเรียนรู้ในยุค New Normal เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เท่าทัน สื่อดิจิทัล ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 30,000 อ.นัฐญภรณ์ เลิศอนรรฆภัณฑ์ คณะครุศาสตร์ 3 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณลักษณะ ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ 30,000 ว่าที่ร้อยเอก ดร. ขจร ตรีโสภณากร คณะครุศาสตร์ 4 การพัฒนาสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาคณะ ครุศาสตร์โดยใช้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิด เกสตัลท์ 30,000 อ.จุฑารัตน์ เปลวทอง คณะครุศาสตร์ 5 การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการบริการ นักศึกษาเพื่อการประกัน คุณภาพการศึกษาภายใน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 30,000 นายสมเด็จ ภิมายกุล คณะครุศาสตร์ 6 การพัฒนากิจกรรมการเสริมแรงทางบวกเพื่อ พัฒนาความสนใจในการทำกิจกรรมของเด็กที่มี ความต้องการพิเศษ : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนามนุษย์ 30,000 อ.อทิตยา ใจเตี้ย คณะครุศาสตร์
118 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ ชื่อโครงการวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ และบุคคลที่มีความพิการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ 7 การเคลื่อนไหวของผู้หญิงปกาเกอะญอในการ เรียกร้องสิทธิชุมชน บ้านสบลาน ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 30,000 อ.ปลินดา ระมิงค์วงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 8 การใช้คู่มือพลังภาษาสู่ชีวิตวิถีใหม่เสริมสร้างความ ตระหนักรู้สิทธิส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร บัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ 30,000 อ.พงศ์ฐิติพัสอ๋อง คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 9 Indigenous Traditional Dance: An adaptation From Ritual Sacred Dance to a Tourism Entertainment Art and Performance: Comparative Study Between Thailand and Malaysia. 75,000 อ.ปิติสันต์ มุกดาสกุลภิบาล คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 10 A Legal Analysis Of The Right Of Indigenous Children to have Access to Quality Education: A Comparative Study Between The Penn insulae Malaysia And The Upper North of Thailand. 75,000 อ.ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 11 การศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อ การฟัง พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ 30,000 อ.ดร.วรศิริบุญซื่อ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 12 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เป็นภาษาที่สองตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อ การสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อ เสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับ นักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์ 30,000 อ.จุมพิต ศรีวัตนพงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 13 การพัฒนาชุดกิจกรรมนาฏกรรมบำบัดเพื่อ เสริมสร้างทักษะด้านศิลปะการแสดงสำหรับ เด็กดาวน์ซินโดรมในระดับอุดมศึกษา 30,000 อ.ภิตินันท์อะภัย คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 14 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อ งานมัคคุเทศก์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชา ภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 30,000 อ.ณพัชญาฐ์ สุขพัชราภรณ์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 119 ที่ ชื่อโครงการวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ 15 รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษสำหรับ นักท่องเที่ยวชาวไทยตามแนวทางการท่องเที่ยว แบบวิถีใหม่ ในจังหวัดเชียงใหม่ 26,000 อ.นันทิยา ตันตราสืบ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 16 การพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการบนฐาน ความต้องการของชุมชนของคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 30,000 อ.ชัชชญา ชุติณัฐภูวดล คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 17 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังทางสังคม ที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงของกลุ่มชาติพันธุ์: กรณีศึกษาชนเผ่าลีซู ในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ 100,000 อ.พิชญพรพรรณ อนันตบุญวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 18 Characterizing The Design And Economics Components of Jew Ellery Industry into Design omics Model. 75,000 อ.จารุวรรณ เพ็งศิริ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 19 การศึกษาความรู้ความเข้าใจที่มีผลต่อพฤติกรรม การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคโคโรนาไวรัส COVID-19 ในขณะปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 50,000 อ.วรางคณา สินธุยา คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 20 การวัดสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ชุมชนในการจัดการ ห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน 50,000 อ.อธิวัฒน์ วังใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 21 การพัฒนาเครื่องอัดร้อนวัสดุธรรมชาติ 50,000 อ.ดร.กฤษฎา บุญชม คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 22 การพัฒนาเครื่องตรวจวัดค่าสีราคาประหยัดและ พกพาได้สำหรับการวิเคราะห์พารามิเตอร์ ในตัวอย่างน้ำ 50,000 ผศ.ดร.สราวุฒิ สมนาม คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 23 การจัดการสารเหลือทิ้งที่มีทองแดงเจือปน เพื่อ เตรียมเป็นสารเคมีสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ 30,000 น.ส.ลักษณ์นารา คำรศ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 24 การพัฒนาวิธีการมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ สำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะในตัวอย่าง ฝุ่น PM2.5 ด้วยเทคนิค ICP-OES 30,000 นายพิชิต พรมเสนใจ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 25 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพฤฒิพลังผู้สูงอายุ พื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการด้านสุขภาพและสังคม ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ 100,000 อ.ดร.มุจลินท์ แปงศิริ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 26 คุณภาพชีวิตการทำงานในภาวการณ์ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 : กรณีศึกษาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 30,000 น.ส.อัจฉรา คำฝั้น คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี
120 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ ชื่อโครงการวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ 27 การเตรียมผงผลึกเฟร์โรแมกเนทริกที่มีขนาดเล็ก ของ 2.7Bi0.3Fe4.7Mn0.3O12 ที่มีประสิทธิภาพ สูง ด้วยวิธีการเผาไหม้ของแข็ง 50,000 ผศ.ดร.จิตรกร กรพรม คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 28 การใช้เทคนิคการวิเคราะห์วิดีโออัตราเร็วสูงศึกษา การเคลื่อนที่ของเพนดูลัมวงแหวนเพื่อพัฒนา แนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูฟิสิกส์ 50,000 อ.ดร.จิราภรณ์ ปุณยวัจน์พรกุล คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 29 การพัฒนาสื่อจำลองโต้ตอบเสมือนจริงสำหรับ การสอนปฏิบัติการรายวิชา PHYS1115 ฟิสิกส์ พื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ 30,000 อ.กมลพรรณ เมืองมา คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 30 แนวทางการพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัล เพื่อความอยู่รอดของวิทยุท้องถิ่นในยุค การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันด้วยดิจิทัล 30,000 อ.ดร.อุไร ไชยเสน คณะวิทยาการจัดการ 31 ความภักดีของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ต่อแอปพลิเคชันบริการจัดส่งอาหาร 30,000 อ.รัญชิดา เพิ่มศิริ คณะวิทยาการจัดการ 32 กลยุทธ์การสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล 30,000 อ.ศิโรช แท่นรัตนกุล คณะวิทยาการจัดการ 33 ความสัมพันธ์ระหว่างความเท่าเทียมระหว่างเพศ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ความพยายามทุ่มเท ความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การ 30,000 อ.ประทานพร สุรินต๊ะ คณะวิทยาการจัดการ 34 การพัฒนาระบบบริหารการดำเนินงานเพื่อความ โปร่งใสของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ ชุมชนตำบลป่าแป๋อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 100,000 ผศ.รัชนีกร ปัญญา คณะวิทยาการจัดการ 35 Indigenous People and Tourism Business Entrepreneurship: Exploring The Influence Of Indigenous Personality, Sense Of Community, And Entrepreneurship Traits on Their Participation in Tourism-Related Businesses. 75,000 อ.ดร.บังอร ฉัตรรุ่งเรือง คณะวิทยาการจัดการ 36 การรับรู้สถานการณ์โควิดกับความตั้งใจการเป็น ผู้ประกอบการของนักศึกษาไทย 30,000 ผศ.สุวลักษณ์ อ้วนสอาด คณะวิทยาการจัดการ 37 พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ ทวิตเตอร์ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ 30,000 ผศ.ศุภณิช จันทร์สอง คณะวิทยาการจัดการ 38 พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์กับการรู้เท่าทัน สื่อข่าวลวงของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 30,000 อ.อัญมณี ภักดีมวลชน คณะวิทยาการจัดการ
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 121 ที่ ชื่อโครงการวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้าโครงการ สังกัด/คณะ 39 กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในช่วงวิกฤติ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาของผู้ประกอบการ ธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ 27,900 อ.ภีมภณ มณีธร คณะวิทยาการจัดการ 40 แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร สำหรับบุคลากรและประชาชน 30,000 นางธัญวรรณ์ ศรีเดชะกุล คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 41 เทคนิคการเพาะเห็ดถุงอย่างง่ายสำหรับนักศึกษา หลักสูตรครูเกษตร 50,000 ผศ.ดร.ธัญญา ทะพิงค์แก คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 42 การผลิตสารชีวภัณฑ์เมตาไรเซียมผงเพื่อใช้ ในระบบการผลิตกาแฟอินทรีย์ 50,000 อ.ดร.ภัทธนาวรรณ์ ฉันท์รัตนโยธิน คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 43 การควบคุมโรคใบจุดวงแหวนในพืชวงศ์ผักกาด โดยใช้ยีสต์ปฏิปักษ์ 50,000 อ.ดร.จีรภา ง่วนหอม คณะ เทคโนโลยีการเกษตร 44 Optimum Energy management Strategy of Virtual Power Plant (VPP) Model in a University Campus Microgrid. 150,000 ผศ.ดร.หทัยทิพย์ สินธุยา วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีชุมชน แห่งเอเชีย 45 การศึกษาความพร้อมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ อีเลิร์นนิงของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 50,000 อ.จีรัง คำนวนตา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 46 การสร้างคู่มือเพื่อพัฒนาการบริหารงานพัสดุของ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสพื้นที่อำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน 30,000 นายศรายุทธ เงาคำ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 47 การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัลสำหรับ ผลิตภัณฑ์ชุมชนของ หมู่บ้านป่าสักงาม ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 100,000 อ.เจนจิรา อาษากิจ วิทยาลัยนานาชาติ 48 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน ปลายสายสามัญในพื้นที่เขตการศึกษาจังหวัด เชียงใหม่ 20,500 นายเอนก ณะชัยวงค์สำนักทะเบียนและ ประมวลผล 49 การใช้โปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อส่งเสริม ทักษะการสื่อสารในเด็กออทิสติก 30,000 น.ส.ธัญนันท์ เตชะจักรวงศ์ ศูนย์พัฒนามนุษย์และ บุคคลที่มีความพิการ รวมทั้งหมด 2,234,400 บาท
122 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทุนอุดหนุนการวิจัย จากแหล่งทุนภายนอก โครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัย แหล่งทุนภายนอก จำนวน 17 โครงการ รวมงบประมาณทั้งสิ้น 17,546,380 บาท ดังนี้ ที่ ชื่องานวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้า โครงการ สังกัด แหล่งทุน 1 การลดการเกิดไฟป่าและปัญหา หมอกควันโดยกระบวนการ บริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2,100,000 อ.ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 2 ปัจจัยเชิงเหตุทางจิตลักษณะและ สถานการณ์ของพฤติกรรมการ เสริมสร้างพลังครอบครัววิถีใหม่ ไร้ความรุนแรงของเยาวชนไทย 540,000 ผศ.สุวลักษณ์ อ้วนสอาด คณะวิทยาการ จัดการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 3 การขยายผลระบบผลิตน้ำร้อน ด้วยเชื้อเพลิงชีวมวล สำหรับศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเพิ่ม เสถียรภาพด้านพลังงานชุมชน ในพื้นที่อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ 820,800 นายวรพจน์ โพธาเจริญ วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและ เทคโนโลยีชุมชน แห่งเอเซีย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 4 แอปพลิเคชัน Smart Learning Smart Lanna Job เพื่อพัฒนา แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวกับ ครูภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนา ด้านทักษะอาชีพวิถีล้านนา 450,000 ดร.ฆนธรส ไชยสุต สถาบันวิจัยและ พัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 5 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้พื้นฐาน นาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้พิการ ทางสายตา 602,580 อ.ดร.ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ หน่วยบริหารและจัดการ ทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการ พัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้าง นวัตกรรม (บพค.) 6 การพัฒนาแพลตฟอร์มชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบมีส่วน ร่วมตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการ สอนของครูสู่การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน 290,000 ผศ.ดร.สายฝน แสนใจพรม คณะครุศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.)
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 123 ที่ ชื่องานวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้า โครงการ สังกัด แหล่งทุน 7 การบริหารจัดการน้ำดื่มจากระบบ ประปาภูเขา เพื่อรองรับการใช้น้ำ ในฤดูแล้ง ในพื้นที่ห่างไกลของ ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 700,000 น.ส.รุ่งนภา จุลศักดิ์ วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและ เทคโนโลยีชุมชน แห่งเอเซีย กองประเมินผลจัดการ ความรู้การวิจัย (กปจ.) 8 การใช้ประโยชน์จากมันเทศ ตกเกรด เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ อาหารเชิงสุขภาพ 428,000 อ.ภูริวัจฐ์ ชีคำ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 9 An integrated modular approach: Waste-toBioenergy conversion for grid (BioGrid) 4,135,000 ผศ.ดร.หทัยทิพย์ สินธุยา วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและ เทคโนโลยีชุมชน แห่งเอเซีย Hawaii Natural Research Institute, University of Hawaii 10 Integrated Smart Management Platform: Water-Energy-Food Nexus Approach for Smart Green Campus ปีที่ 3) 4,500,000 อ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและ เทคโนโลยีชุมชน แห่งเอเซีย Office of Naval Research 11 Accommodating Disruptive Technology into RE&EE Policies for Energy Security 600,000 อ.ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและ เทคโนโลยีชุมชน แห่งเอเซีย APEC Secretariat EWG 12 การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจ ชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านร่มเกล้า เพื่อการสร้างความยั่งยืนทาง เศรษฐกิจให้แก่ชุมชนบ้านร่มเกล้า ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 40,000 อ.สุกัญญา สุทธาวาสน์ คณะวิทยาการ จัดการ สำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) 13 นวัตกรรมกระบวนการการสื่อสาร การบริการอย่างครบวงจร เพื่อยกระดับการบริการสร้าง ความพึงพอใจกลับมาใช้ซ้ำ 40,000 อ.ดร.อุไร ไชยเสน คณะวิทยาการ จัดการ สำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) 14 โครงการศึกษาภาพอนาคต แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคม (Social Foresight) ในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2,000,000 ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ วิทยาลัยพัฒนา เศรษฐกิจและ เทคโนโลยีชุมชน แห่งเอเชีย สำนักงานนวัตกรรม แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
124 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ ชื่องานวิจัย จำนวนเงิน (บาท) หัวหน้า โครงการ สังกัด แหล่งทุน 15 ผลกระทบสุขภาพ สังคมและ สิ่งแวดล้อม จากการจัดการน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภคในภาวะ ภัยแล้ว ชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน จังหวัดลำพูน 100,000 รศ.ดร.สามารถ ใจเตี้ย คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เครือข่ายการบริหารวิจัย ภาคเหนือตอนบน 16 การต่อยอดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมิงพาณิชย์ด้วยเศรษฐกิจ สร้างสรรค์บนพื้นการผลิตแบบ Zero waste ในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ 100,000 ผศ.ดร.ชนินทร์ มหัทธนชัย คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เครือข่ายการบริหารวิจัย ภาคเหนือตอนบน 17 โครงการการศึกษาศักยภาพเพื่อ ยกระดับและพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขัน เครือข่ายผู้ผลิตชาอินทรีย์ ดอยแม่สลองด้วยนวัตกรรมปัจจัย การผลิตอินทรีย์มาตรฐานเกษตร อินทรีย์สากล การจัดการฟาร์ม ด้วยระบบ SMART FAM และ การสร้างมูลค่าเพิ่มองผลิตภัณฑ์ 100,000 อ.ดร. ภัทธนาวรรณ ฉันท์รัตนโยธิน คณะเทคโนโลยี การเกษตร เครือข่ายการบริหารวิจัย ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งหมด 17,546,380 บาท
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 123 การบริหารจัดการ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างมากของการทำงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้คำนึงถึงการบริหารงานอย่างเป็นระบบตามหลักธรรมาภิบาล โดยมหาวิทยาลัยสามารถแสวงหา ทรัพยากรและสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการพื้นที่ของมหาวิทยาลัย อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารจัดการที่พร้อมสำหรับการดำเนินงานเพื่อ การพัฒนาท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงาน ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ สำนักงานสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีการดำเนินการประชุมสภามหาวิทยาลัยและรับผิดชอบการประชุม ของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้ สำนักทะเบียนและประมวลผล มีการดำเนินการบริหารจัดการการประชุม ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้ 1. ประชุมสภาวิชาการและคณะอนุกรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จำนวน 15 ครั้ง 2. ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักทะเบียนและประมวลผล จำนวน 4 ครั้ง ลำดับที่ ชื่อการประชุม / คณะกรรมการที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง จำนวนครั้ง 1 การประชุมสภามหาวิทยาลัย 15 2 การประชุมคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย (ก.อ.ม.) 8 3 คณะกรรมการพิจารณาการให้ปริญญากิตติมศักดิ์ 2 4 การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 2 5 การประชุมคณะกรรมการสรรหาคณบดีและผู้อำนวยการสถาบัน/สำนัก 21 6 การประชุมคณะกรรมการอื่นที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งระหว่างปี 5 7 การประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย และผลงาน ในตำแหน่งคณบดี 7 ยุทธศาสตร์ที่ พัฒนาระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย
124 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำนักหอสมุด ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและจัดทำเว็บไซต์หอจดหมายเหตุดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 1 ระบบ ได้ทำการแปลงเอกสารจดหมายเหตุให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล จำนวน 100,000 แผ่น และจัดทำระเบียนบรรณานุกรม จำนวน 5,000 ระเบียน โดยผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.08) สำนักหอสมุด ดำเนินการจัดทำพื้นที่ CO – Working Space เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทำงานและการจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษา และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 1 แห่ง ณ สำนักหอสมุด พื้นที่เวียงบัว และดำเนินการปรับปรุงพื้นที่สนับสนุน การเรียนรู้ (Learning Space) เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทำงานให้กับนักศึกษา และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 1 แห่ง ณ สำนักหอสมุด ศูนย์แม่ริม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 12 ตุลาคม 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรม - ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นำโดยคณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร ผู้นำชุมชน ข้าราชการ บุคลากร อาวุโส และนักศึกษา ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลและทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง พระสงฆ์ 99 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ณ ลานกิจกรรม อาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ และประกอบพิธีทำบุญกุศลทักษิณานุปทาน พระสงฆ์ 10 รูป เพื่อถวานเป็นพระราชกุศล ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ และในภาคบ่าย ได้มีการบรรยายพิเศษ ให้แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและ นักศึกษา เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย โดยวิทยากรจิตอาสา 904 พระราชทาน ณ ห้องประชุมเอื้องสามปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 125 6 พฤศจิกายน 2563 ผู้แทนจากสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งอัมพรสถาน โดย พลอากาศโท ภักดี แสง-ชูโต ผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่สำรวจการเตรียมความพร้อมและประชุมเตรียมการ รับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ที่จะทรงเสด็จฯ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใน พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ ประจำปีการศึกษา 2559 - 2560 ระหว่างวันที่ 8 - 11 ธันวาคม 2563 ในการนี้มีนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์นายกสภามหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ 8 แห่ง หัวหน้าส่วนราชการ ร่วมต้อนรับและเข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมแม่ริม อาคารอำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 7 พฤศจิกายน 2563 ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วย รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้าร่วมการประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ครั้งที่ 6 (156) / 2563 โดยมีผศ.จรูญ ถาวรจักร์อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ (ทปอ.มรภ.) เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและได้ เยี่ยมชมนิทรรศการผลิตภัณฑ์จากการดำเนินโครงการด้านการวิจัย โครงการด้านการพัฒนาท้องถิ่น การบริการวิชาการ โครงการ โรงเรียนในกองทุนการศึกษา และโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือในสถานการณ์โควิด - 19 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 23 พฤศจิกายน 2563 คณะวิทยาการจัดการ จัดโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ในองค์กรและ ความรู้ในตัวบุคลากรของคณะวิทยาการจัดการ การจัดการความรู้แก่บุคลากรสายสนับสนุนด้านการปฏิบัติงาน หัวข้อ “จิตวิทยาในการ บริการเพื่อลดแรงต้านสู่การบริการที่เป็นเลิศ” เพื่อนำความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวทางปฏิบัติงาน ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการทำงานและการบริการขององค์กร โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.อรพิณ สันติธีรากุล ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาบรรยายให้ความรู้ และทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ณ ห้องประชุมดอยนาง ชั้น 2 โรงแรมแคนทารีฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่
126 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 28 มกราคม 2564 สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา จัดอบรมพัฒนาและทดลองใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์โดยมีอาจารย์ อำนาจ โกวรรณ ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา พร้อมด้วยบุคลากรสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการ ให้ความรู้การใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (CMRU eDocument) เพื่อให้บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้เรียนรู้การใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากระบบเดิม พร้อมกันนี้ ได้ร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะเกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ งานสารบรรณของมหาวิทยาลัยต่อไป โดยมีผู้บริหาร บุคลากร หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมรับฟัง จำนวน 52 คน ณ ห้อง INC21 ชั้น 2 อาคารสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จัดการประชุมบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีค่าจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีรศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ เป็นประธานการประชุม ในการนี้ อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี ได้ให้ข้อมูลระบบการบริหารงานบุคคล การบริหาร เงินอุดหนุนทั่วไป คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและผลบังคับผูกพันของคำพิพากษาศาลปกครอง แก่อาจารย์และบุคลากรที่เข้าร่วมการประชุม จำนวน 920 คน ซึ่งในช่วงท้ายได้เปิดโอกาสให้ซักถามและเสนอแนะ ณ หอประชุมทีปังกร รัศมีโชติ และผ่านระบบออนไลน์อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1 - 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 คณะวิทยาการจัดการ จัดโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร สายสนับสนุน เพื่อสร้างความสุขและความสำเร็จในการทำงาน เรื่องการพัฒนา ทักษะเพื่อยกระดับการทำงานในยุคใหม่ (Working Skill Development in New Normal) และการพัฒนาบุคลิกภาพเบื้องต้น เพื่องานบริการเพื่อเพิ่ม เทคนิคการพัฒนา การปรับปรุง และการดูแลบุคลิกภาพภายนอก ณ ห้องประชุม เอื้องสำเภางาม ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 127 24 กุมภาพันธ์2564 คุณจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำคณะกรรมการ ส่งเสริมฯ เข้าเยี่ยมชมพื้นที่จัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ทั้งพื้นที่เวียงบัว ศูนย์แม่สา และศูนย์แม่ริม โดยมีอ.ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี และ ผศ.สุรศักดิ์ นุ่มมีศรีรักษาราชการแทนรองอธิการบดี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมฯ ได้ร่วมนำเสนอ ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผศ.ดร.อนุวัติ ศรีแก้ว คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ การจัดการศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ และนำชมห้องจำลองปฏิบัติการทางการบิน CMRU AIRLINE ณ ชั้น 2 อาคาร 90 ปีราชภัฏ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน พร้อมกันนี้คุณพิสิฐ หงษาครประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านการบิน ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้Aviation Learning Center ที่ครบวงจรรองรับการจัด การเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ประกอบไปด้วย ห้องปฏิบัติการบินเครื่องบินจำลอง (Cabin mock up) ที่ได้จำลอง เครื่องบิน Airbus รุ่น A350XWB พร้อมอุปกรณ์ปฏิบัติการภายในเครื่องบินที่ทันสมัย ให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับการบริการ บนเครื่องบินและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เสมือนจริง และยังได้นำเสนอส่วนการเรียนรู้ในอาคารผู้โดยสาร (Terminal) ที่จำลองฟังก์ชั่น และบรรยากาศของสนามบิน ได้แก่ จุดบริการเคาท์เตอร์เช็คอิน, Lounge, Boarding Gate, จุดนั่งรอสำหรับผู้โดยสาร Waiting Area รวมถึงส่วนการเรียนรู้ใน Aviation Management System ห้องเรียนสำหรับการเรียนการสอนงานภาคพื้น นับเป็น ศูนย์การเรียนรู้ด้านการบินที่ครบวงจรแห่งแรก และแห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ 24 กุมภาพันธ์2564 คณะวิทยาการจัดการ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อสร้างความสุขและความสำเร็จในการทำงาน ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ธีรภัทร วรรณฤมล คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายอบรม หัวข้อ "การเปลี่ยน ผ่านสู่องค์กรดิจิทัล" ณ ห้องประชุมเอื้องสำเภางาม ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ
128 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 8 มีนาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จัดพิธีส่งมอบงานในหน้าที่และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงาน ผู้ดำรง ตำแหน่งคณบดี ผู้อำนวยการ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานลงนามเอกสารมอบงานและมอบโล่เกียรติยศในการปฏิบัติหน้าที่คณบดี ผู้อำนวยการ ให้แก่ ผศ.ดร.มาโนชย์ นวลสระ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผศ.เดชวิทย์ นิลวรรณ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ผศ.สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอ.ดร.บังอร ฉัตรรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง จากนั้นได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานระหว่างอธิการบดีกับผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้อำนวยการ และกล่าว แสดงความรู้สึกในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ได้แก่ ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ คณบดีคณะครุศาสตร์ รศ.ดร.สัญญา สะสอง คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ อ.ดร.ชาญ ยอดเละ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอ.ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ณ ห้องประชุมเอื้องคำ อาคาร ราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 9 มีนาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้การต้อนรับผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ GISTDA นำโดยนายตติยะ ชื่นตระกูล รองผู้อำนวยการจิสด้า ผู้อำนวยการฝ่าย และทีมงาน ในการเข้าหารือแนวทาง ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ การเกษตร คุณภาพอากาศ น้ำท่วม-น้ำแล้ง เป็นต้น สำหรับแผนงานด้านการประเมินสภาวะทางอากาศด้วยนวัตกรรมเชิงพื้นที่ ได้หารือ เพื่อเสนอติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดสภาพอากาศ PM 2.5 ระบบ Pandora เพื่อเป็นตำแหน่งตรวจสอบเซ็นเซอร์ในดาวเทียมระบบ GEMS (Geostationary Environment Monitoring Spectrometer) ของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งพัฒนาร่วมกับองค์การ NASA แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ภายหลังการประชุมได้พาผู้แทนจากจิสด้าและทีมงานเยี่ยมชมดาดฟ้าอาคาร 27 และอาคาร 29 เพื่อประเมินความ เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดสภาพอากาศ PM 2.5 ระบบ Pandora
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 129 13 มีนาคม 2564 ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ปรึกษาที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏ พร้อมด้วยรศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และรศ.ดร.กัลทิมา พิชัย รองอธิการบดี เข้าร่วมการประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2564 ทั้งนี้มีผู้ช่วยศาสตราจารย์จรูญ ถาวรจักร์อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นประธานการประชุม โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและให้การต้อนรับคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมการประชุมจากมหาวิทยาลัย ราชภัฏ 38 แห่ง ทั่วประเทศ ณ ห้องประชุมแสนหวี หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย 14 มีนาคม 2564 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดการบรรยายพิเศษเรื่อง “การจัดทำผลงานวิชาการดนตรี” เพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนเทคนิคในการจัดทำผลงานวิชาการทางดนตรี เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ทั้งนี้ได้รับเกียรติ จากศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรีประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เป็นวิทยากร และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณพงศ์เดช ไชยคุตร อดีตคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมแลกเปลี่ยนการจัดทำผลงานทาง วิชาการสาขาวิจิตรศิลป์ โดยมีคณาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรีเข้าร่วมกิจกรรมการบรรยายพิเศษครั้งนี้ ได้แก่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ คณะศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นต้น 23 มีนาคม 2564 กองบริหารงานบุคคล จัดโครงการอบรมวินัยการเงินการคลัง สอดคล้องแนวทาง ITA และจัดให้มีการบรรยาย เรื่อง “วินัยการเงินการคลังและการเบิกจ่ายเงิน เพื่อป้องกันความผิดละเมิดของเจ้าหน้าที่” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวินัยงานการเงิน ความ รับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ข้อควรระวังในการเบิกจ่ายเงิน รวมถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณได้อย่างถูกต้อง ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting โดยได้รับเกียรติจากคุณพัชรินทร์ ศรีดาว นักวิชาการ คลังชำนาญการ คุณลักษณา พงศ์ภิญโญโอภาส นักวิชาการคลังชำนาญการพิเศษ และคุณกฤติยา นวลจันทร์ นักวิชาการชำนาญการ พิเศษ สำนักงานคลังจังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 127 คน ในการอบรมได้มีการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข การปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน การพัฒนางานและหน่วยงาน ด้วยความมีคุณธรรมและ ความโปร่งใสตามแนวทางการประเมินคุณธรรมและความ โปร่งใส (ITA) ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคาร ราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
130 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 30 มีนาคม 2564 สำนักทะเบียนและประมวลผล จัดการประชุมสัมมนาประสานงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2564 โดยมี รองคณบดีทุกคณะ/วิทยาลัย นักวิชาการศึกษาจากคณะ/วิทยาลัย ผู้บริหารและบุคลากรสำนักทะเบียนและประมวลผล เข้าร่วมการประชุมหารือเกี่ยวกับการแผนการเรียนเสนอแนะตลอดหลักสูตร การจัดตารางเรียนตารางสอน ปีการศึกษา 2564 การจัดสอบในยุคปกติวิถีใหม่ (New normal) การขอเปิดรายวิชาที่อยู่นอกเหนือจากแผนการเรียน เสนอแนะการจ้างอาจารย์พิเศษ การจัดทำคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2564 การประเมินการสอนอาจารย์ของรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนศึกษา ด้วยตนเองบนระบบออนไลน์ การเทียบโอน/ยกเว้นรายวิชาเรียน การจัดทำสื่อแผ่นพับประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษา การพัฒนาระบบ สารสนเทศผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และการจัดการความรู้เรื่องการลงทะเบียนเรียน เพื่อเป็นแนวทางบริหาร จัดการด้านการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2564 ต่อไป ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท เชียงใหม่ 5 - 6 เมษายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมทั้งผู้บริหาร และคณาจารย์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมงานครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเซียะเหมิน (Xiamen University) การประชุมสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัย “The University Consortium of the 21st Century Maritime Silk Road (UCMSR)” และการประชุมอธิการบดีระดับนานาชาติ (Global University Presidents’ Forum) ในรูปแบบออนไลน์ ร่วมกับผู้แทนจาก 30 มหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือจากทั่วโลก 23 เมษายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมสนับสนุนอุปกรณ์และสิ่งของจำเป็นเพื่อให้ความช่วยเหลือบุคลากรทาง การแพทย์และใช้ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ได้รับความ อนุเคราะห์จากผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย บริจาคทุนทรัพย์เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และสิ่งของจำเป็น ประกอบด้วย หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง N95 ถุงมือยาง กระดาษเช็ดมือ กระดาษชำระ ถังดำมีฝาปิด เทปผ้าแลคซีน เจลแอลกอฮอล์ ล้างมือ รวมถึงการสนับสนุนจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ร่วมบริจาคของใช้สำหรับอุปโภคบริโภค โดยได้ส่งมอบ สิ่งของให้กับ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงพยาบาลสนาม ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 131 25 พฤษภาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ร่วมกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปี ของชาติ พ.ศ. 2564 เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ภายใต้ชื่อ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน สืบสาน สู่ 100 ล้านต้น” เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สร้างความสมดุลให้แก่ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยได้ปลูกต้นทองอุไร ซึ่งเป็นไม้มงคล จำนวน 96 ต้น ณ บริเวณสวนป่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 28 พฤษภาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี พร้อมด้วยอาจารย์ บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 100 คน ที่ตอบแบบสำรวจความประสงค์รับวัคซีน เข้ารับการฉีดวัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 ตามโควต้าที่ได้รับการจัดสรร สำหรับวัคซีนชุดนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จัดบริการให้แก่กลุ่มบุคคลสายอาชีพต่าง ๆ รวมถึง บุคลากรทางการศึกษา ณ โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 31 พฤษภาคม 2564 สำนักทะเบียนและประมวลผล จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ถามจริง ตอบตรง เรื่อง การลงทะเบียน เพื่อให้เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และอาจารย์ที่ปรึกษา เกี่ยวกับเรื่องการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา
132 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมบุคลากรสัญจร ประจำปีการศึกษา 2564 โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมการประชุม เพื่อชี้แจงการดำเนินงานในการ จัดการศึกษาปีการศึกษาที่ผ่านมา ตลอดจนหารือทิศทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย และการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการศึกษา ก่อนเปิดเรียนในปีการศึกษา 2564 1 มิถุนายน 2564 จัดประชุมบุคลากรสัญจรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ณ ห้องประชุมเอื้องสามปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2 มิถุนายน 2564 จัดประชุมบุคลากรสัญจรคณะครุศาสตร์ณ หอประชุมคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม 7 มิถุนายน 2564 จัดประชุมบุคลากรสัญจรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะวิทยาการจัดการ ณ ห้องประชุมเอื้องสาม ปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 9 มิถุนายน 2564 จัดประชุมบุคลากรสัญจรวิทยาลัยนานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ ศูนย์พัฒนามนุษย์และบุคคลที่มีความพิการ ณ ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 9 มิถุนายน 2564 จัดประชุมบุคลากรสัญจรคณะเทคโนโลยีการเกษตร และวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชน แห่งเอเชีย (adiCET) ณ ห้องโถงคณะเทคโนโลยีการเกษตร ชั้น 2 อาคารสำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม 10 มิถุนายน 2564 จัดประชุมบุคลากรสัญจรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักทะเบียนและประมวลผล สำนักหอสมุด สำนัก ดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สิน ศูนย์ภาษา สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ และ สำนักงานจัดการศึกษาทั่วไป และศิลปวิทยาศาสตร์ณ ห้องประชุมเอื้องสามปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 14 มิถุนายน 2564 จัดประชุมบุคลากรสัญจรสำนักงานอธิการบดี สถาบันวิจัยและพัฒนา สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงาน สภามหาวิทยาลัย สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานสภาคณาจารย์และข้าราชการ ศูนย์ศึกษาศาตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมากจากพระราชดำริณ หอประชุมคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 133 11 มิถุนายน 2564 ผศ.ดร.ไกรสร ลักษณ์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมทีมงานวิศวกร กองอาคารสถานที่ และบุคลากรกองการพัสดุ สำนักงานอธิการบดี นำคณะเจ้าหน้าที่ประกอบด้วย งานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรค จากอำเภอแม่ริม กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ริม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สันคะยอม และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอแม่ริม ลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) พร้อมจัดทำบัญชีทะเบียนแรงงานเพื่อประโยชน์ในการติดตามตัวและควบคุมโรค ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และระบบ Application พร้อมระบบจัดการฐานข้อมูลผู้ใช้แรงงานที่อาศัยในที่พักแรงงานชั่วคราว (แคมป์) ของจังหวัดเชียงใหม่ ตามมาตรการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อโควิด – 19 ในพื้นที่ก่อสร้างของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 12 กรกฎาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดการประชุมคณะกรรมการประเมินการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2564 เพื่อพิจารณาแผนการดำเนินการตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 ข้อมูลการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จากระบบประเมินตนเองเพื่อจัดกลุ่ม สถาบันอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์(UCLAS) และข้อมูลประกอบการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระดับ คณะ กอง ศูนย์ และสำนัก และจัดทำแผนการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา แผนการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง ตามความต้องการของประเทศ นำเสนอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อกลั่นกรองและเสนอ คณะกรรมการอุดมศึกษาพิจารณาต่อไป ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting 14 กรกฎาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยคณะผู้บริหาร นำ อาจารย์ บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ จำนวน 500 คน เข้ารับการฉีดวัคซีนวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ซึ่งได้รับการจัดสรรจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รอบที่1) สำหรับบุคลากรและนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ณ หน่วยฉีดโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ สถานที่ฉีด หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยในรอบแรกบุคลากรเข้ารับการฉีดแล้ว จำนวน 500 ราย และ ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 จะนำบุคลากรและนักศึกษา ที่ลงทะเบียนรับวัคซีนรอบที่ 2 เข้ารับการฉีดวัคซีน จำนวน 1,080 คน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ป้องกันโควิด - 19 ลดความเสี่ยงให้กับบุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
134 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 18 กรกฎาคม 2564 คณะวิทยาการจัดการ ร่วมเปิดประเด็นการสร้างการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าคณะวิทยาการจัดการ ร่วมกับ ตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนภาควิชาต่าง ๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานของชมรมศิษย์เก่า และวางแผนแนวทางในการสร้าง การมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าคณะวิทยาการจัดการในอนาคต ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัส โคโรนา 2019 ณ OK Farm โชว์รูมออแกนิค ภายใต้งานวิจัยและนวัตกรรม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 19 กรกฏาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศวรองค์แรกของมหาวิทยาลัย ณ ลานมณฑป พระพิฒเนศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนการบูรณะลงรักปิดทององค์พระพิฆเศวร และมณฑปประดิษฐานพระพิฆเนศวร โดยก่อนพิธีบวงสรวงได้ประกอบพิธีทานธรรม(ตานธัมม์) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับอดีตบูรพาจารย์ ผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งองค์พระพิฆเนศวร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว มี 2 องค์ องค์ที่ 1 สีเหลืองทอง ด้านบน ทำจากปูน สร้างในปี พ.ศ. 2490 ในสมัยของนายทวีโป ราณานนท์ (ครูใหญ่) และองค์ที่ 2 สีดำ ด้านล่าง ทำจาก ทองสำริด พ.ศ.2531 สมัย รศ.ดร.มังกร ทองสุขดี (อธิการ) ส่วนมณฑปประดิษฐานพระพิฆเนศวร์ สร้างในปี พ.ศ. 2551 โดย พระครูสุวัตถิ์ ปัญญาโสภิต (ครูบาปัญญาวชิร) เจ้าอาวาสวัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) สร้างมอบให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้ มณฑปและ องค์พระพิฆเนศวร ได้เกิดการชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา 18 สิงหาคม 2564 คณะวิทยาการจัดการ จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบ FMS Big Data เพื่อสนับสนุน การบริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศคณะวิทยาการจัดการ สำหรับหารือแนวทางการดำเนินงาน ในส่วนงานต่าง ๆ เพื่อ ให้การบริการข้อมูลด้าน สารสนเทศของคณะวิทยาการจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนอง ความต้องการด้าน การใช้ข้อมูลสารสนเทศของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ณ ห้องประชุมเอื้องสำเภางาม ชั้น 2 อาคาร 19 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 135 25 สิงหาคม 2564 สภาคณาจารย์และข้าราชการ จัดการประชุมสัมมนา เรื่อง บทบาทของบุคลากรกับการพัฒนามหาวิทยาลัย ในยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันด้านเทคโนโลยีไทยแลนด์ 4.0 (Disruptive Technology Thailand 4.0) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับความรู้เกี่ยวกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างฉับพลันในมิติต่าง ๆ ซึ่งกระทบต่อมหาวิทยาลัยที่จะต้องเร่งปรับตัว ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดและประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิที่หลากหลายที่จะเป็นการจุดประกาย ให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำไปคิดหาแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยหลังสภาวะวิกฤติและตามวิถีใหม่ ณ ห้องประชุมเอื้องสายส่องแสง ชั้น 3 อาคารสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (จัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ ในรูปแบบ VDO CONFERENCE) 25 สิงหาคม 2564 คณะวิทยาการจัดการ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคพูดหน้ากล้องอย่างโปร ไลฟ์สดน่าฟัง ให้กับ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคนิคพูดหน้ากล้องอย่างโปรและไลฟ์สด น่าฟังสามารถนำไปใช้สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์การเป็นวิทยากรออนไลน์ได้โดยมี คุณนุชจรี อนุนิมิตรานนท์ หัวหน้าหน่วย สื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณปริญญ์ กฤษสุนทร ผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ เป็นวิทยากรให้ความรู้และ นำฝึกปฏิบัติณ ห้องประชุมโรงแรม Book hotel by ISTY จังหวัดเชียงใหม่ 22 กันยายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีเชิดชูเกียรติและพิธีเปิดนิทรรศการแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี พุทธศักราช 2564 "เรือชนะคลื่น" 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ทินกร นำบุญจิตร์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดและได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วย ผศ.ดร.อรพินทร์ ศิริบุญมา ประธานชมรมอาจารย์และข้าราชการเกษียณอายุราชการ กล่าวแสดงมุทิตาจิต ในการจัดงานได้ดำเนินการ ตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด ณ ชั้น 1 อาคารราชภัฏ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) ผ่านโปรแกรม Zoom Clound Meeting ภายในงานจัดให้มีนิทรรศการแสดงประวัติ ภาพแห่งความประทับใจ และผลงานของผู้เกษียณอายุราชการ ณ ส่วนจัดแสดงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
136 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 28 กันยายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2564 โดยมี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย นายกสโมสรบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประธานชมรมกตัญญูคลับ และผู้แทนนักศึกษา ร่วมพิธี ตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ บริเวณด้านหน้าเสาธง สนามจตุราคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้ารับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สรุปผลได้ดังนี้ ผลการประเมินระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยภาพรวมได้คะแนนเท่ากับ ร้อยละ 89.65
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 137 รายละเอียดคะแนนผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน จำแนกตามดัชนีและตัวชี้วัด ดังนี้ ที่ แบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถาม ตัวชี้วัด คะแนน ตาม ตัวชี้วัด คะแนนตาม แบบสอบถาม คะแนน เต็ม คะแนน ที่ได้ 1 แบบวัดการรับรู้ของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน Internal Integrity and Transparency Assessment (IIT) บุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันที่นำเข้าข้อมูลใน ระบบ ITAS (จำนวนร้อยละ 10 ของจำนวน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน) 1.การปฏิบัติหน้าที่ 2. การใช้งบประมาณ 3. การใช้อำนาจ 4. การใช้ทรัพย์สิน ของราชการ 5. การแก้ไขปัญหา การทุจริต 91.08 83.64 88.24 82.33 83.90 30 25.75 2 แบบวัดการรับรู้ของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก External Integrity and Transparency Assessment (EIT) นักศึกษา บริษัท นิติบุคคล ที่รับบริการหรือติดต่อตาม ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย นับตั้งแต่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (จำนวนร้อยละ 10 ของจำนวน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก กรณีมี จำนวนมากกว่า 1,000 คน ให้เก็บ ข้อมูลไม่น้อยกว่า 100 คน) 6. คุณภาพการดำเนินงาน 7. ประสิทธิภาพการสื่อสาร 8. การปรับปรุงระบบ การทำงาน 82.33 84.41 80.24 30 24.70 3 แบบตรวจการเปิดเผย ข้อมูลสาธารณะ Open Data Integrity and Transparency Assessment (OIT) คณะกรรมการจัดทำข้อมูลเพื่อ ประกอบการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนิน งานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 9. การเปิดเผยข้อมูล 10. การป้องกัน การทุจริต 96.00 100.00 40 39.20 รวม 100 89.65 0 20 40 60 80 100 การปฏิบัติหน้าที่ การใช้งบประมาณ การใช้อ านาจ การใช้ทรัพย์สินของราชการ การแก้ไขปัญหาการทุจริต คุณภาพการด าเนินงาน ประสิทธิภาพการสื่อสาร การปรับปรุงระบบการท างาน การเปิดเผยข้อมูล การป้องกันการทุจริต 91.08 83.64 80.24 82.33 96.00 88.24 84.41 82.33 83.90 100.00
138 รายงานประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตั้งแต่ระดับ หลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2563 รายละเอียดดังนี้ วันที่ 5 - 9 กรกฎาคม 2564 ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ วิทยาลัย ณ หน่วย รับตรวจประเมิน สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ รายละเอียดดังนี้ 1. คณะครุศาสตร์ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.55 อยู่ในระดับดีมาก 2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.56 อยู่ในระดับดีมาก 3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.50 อยู่ในระดับดี 4. คณะวิทยาการจัดการ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.16 อยู่ในระดับดี 5. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.45 อยู่ในระดับดี 6. วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.21 อยู่ในระดับดี 7. บัณฑิตวิทยาลัย ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.72 อยู่ในระดับดีมาก 8. วิทยาลัยนานาชาติ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.11 อยู่ในระดับดี 9. วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจฯ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน คือ 4.57 อยู่ในระดับดีมาก วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหน่วยงานสนับสนุน จำนวน 5 หน่วยงาน คือ สำนักทะเบียนและประมวลผล สำนักหอสมุด สถาบันวิจัยและพัฒนา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม และ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ณ หน่วยรับตรวจประเมิน สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหน่วยงานสนับสนุน รายละเอียดดังนี้ 1. สำนักทะเบียนและประมวลผล ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม คือ 4.83 อยู่ในระดับดีมาก 2. สำนักหอสมุด ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม คือ 4.80 อยู่ในระดับดีมาก 3. สถาบันวิจัยและพัฒนา ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม คือ 4.79 อยู่ในระดับดีมาก 4. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม คือ 4.84 อยู่ในระดับดีมาก 5. สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม คือ 4.95 อยู่ในระดับดีมาก ผลรวมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ วิทยาลัย จำนวน 9 คณะ วิทยาลัย คะแนนรวม 4.84 คะแนน
ANNUAL REPORT 2021 Chiang Mai Rajabhat University 139 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2563 ในปีการศึกษา พ.ศ. 2563 มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตั้งแต่ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับ สถาบันตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษาของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (จำนวน 20 ตัว บ่งชี้) โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการตรวจ ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระหว่างวันที่ 21 - 22 สิงหาคม 2564 โดยมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในระดับสถาบัน มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.54 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก ดังปรากฏในตารางต่อไปนี้ สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบันของมหาวิทยาลัย รวมทุกตัวบ่งชี้ดังนี้ องค์ประกอบคุณภาพ คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินตาม เกณฑ์ (คะแนนเต็ม 5) ผลการประเมิน ตนเอง กรรมการ 1 การผลิตบัณฑิต 4.17 4.17 ระดับดี 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.46 3.46 1.2 อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิ ป.เอก 4.77 4.77 1.3 อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2.15 2.15 1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00 5.00 1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00 5.00 1.6 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ 4.00 4.00 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล 5.00 5.00 1.8 หลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้าง นวัตกรรม 3.96 3.96 2 การวิจัย 5.00 5.00 ระดับดีมาก 2.1 ระบบและกลไกงานวิจัย งานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม 5.00 5.00 2.2 เงินสนับสนุนวิจัยและงานสร้างสรรค์ 5.00 5.00 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00 5.00 2.4 ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่ นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน 5.00 5.00 3 การบริการวิชาการ 5.00 5.00 ระดับดีมาก 3.1 ระบบและกลไกการพัฒนาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน 5.00 5.00 3.2 ชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 5.00 5.00 4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 5.00 5.00 ระดับดีมาก 4.1 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 5.00 5.00 4.2 ผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย 5.00 5.00 5 การบริหารจัดการ 4.36 4.36 ระดับดี 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน 3.00 3.00 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตาม ผลลัพธ์ ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน 5.00 5.00 5.3 ผลการบริหารงานของคณะ 4.43 4.43 5.4 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ 5.00 5.00 คะแนนเฉลี่ยผลการประเมิน (20 ตัวบ่งชี้) 4.54 4.54 ระดับดีมาก
ที่ปรึกษา รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นางประไพ ปรีชา ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน ผู้ให้ข้อมูล / ภาพประกอบ คณะ / วิทยาลัย / สถาบัน / สำนัก / กอง / หน่วยงาน คณะทำงาน กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี รวบรวมข้อมูล / วิเคราะห์ / เรียบเรียง นางศุกร์พิรา ทาอินต๊ะ หัวหน้างานบริหารทั่วไปและสารสนเทศ นางสาวปอลิน นัยนา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เผยแพร่โดย กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โทรศัพท์ : 053-885370 โทรสาร : 053-885370