The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

The Teacher's Diary คิดถึงวิทยา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ccjpthai, 2023-09-20 03:30:36

PT122 : The Teacher's Diary

The Teacher's Diary คิดถึงวิทยา

Keywords: คิดถึงวิทยา,The Teacher's Diary,หนัง,Movie,การศึกษา,ภาพยนตร์

19 ถ้าพูดถึงบทบาทของความเป็นครูด้วยหัวใจแห่งการ สอน จิตวิญญาณของการเป็นครูที่อยากเห็นนักเรียน ของตนเองสักคนหนึ่งมีความรู้ติดตัว เพื่อสามารถออก ไปต่อสู้กับโลกภายนอกได้โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ดั่งหัวใจของ ครูแอน และ ครูสอง ในภาพยนตร์แนว โรแมนติก คิดถึงวิทยา ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราว ต่าง ๆ ของบทบาทครูในสถานการณ์ที่ยากล�ำบาก ท�ำให้ พบเจอเรื่องราวใหม่ ๆ ในชีวิต และการสอดแทรกมุมมอง เล็ก ๆ ในเรื่องความเหลื่อมล�้ำทางการศึกษาของเด็กใน ชุมชนพื้นที่ห่างไกล ภาพยนตร์เล่าถึงภาคเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๔ ครูแอน ครูสาวที่มีความมุ่งมั่นในการสอน เธอถูกสั่ง ย้ายจากโรงเรียนบ้านแก่งวิทยา ที่อยู่ในอ�ำเภอเมือง ให้มาสอนยังโรงเรียนบ้านแก่งวิทยา สาขาเรือนแพ ที่ ตั้งอยู่ท่ามกลางเขื่อนแม่ปิง อ�ำเภอลี้ จังหวัดล�ำพูน ซึ่ง ครูแอนก็มีเพื่อนร่วมงานอย่าง ครูจีจี้ ที่เดินทางไป สอนหนังสือด้วยกัน แม้ว่าการเดินทางช่างยากล�ำบาก ทุลักทุเล ต้องนั่งเรือเพื่อให้ไปถึงที่เรือนแพกลางน�้ำ อยู่ ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มี ไฟฟ้า ไม่มีน�้ำประปาที่สะอาด หรือแม้กระทั่งพบศพ ลอยมาติดที่เรือนแพ ถึงความเป็นครู จะเลือกสถานที่สอนไม่ได้ เจอ สถานการณ์ที่ยากจะรับมือต่าง ๆ แต่การสอนหนังสือ และการพบเจอเด็กนักเรียนทั้ง ๗ คน ช่วยท�ำให้ครูทั้ง สองได้พบกับประสบการณ์ชีวิตใหม่ ๆ แม้สุดท้ายครู จีจี้จะทนอยู่ไม่ไหวแล้วขอย้ายกลับไปในเมือง ท�ำให้ครู แอนต้องรับมือกับเด็ก ๆ โดยล�ำพัง เธอต้องรับผิดชอบ สอนหนังสือทุกรายวิชาและเป็นผู้ปกครองคอยดูแล เด็ก ๆ ยามที่ต้องมาอาศัยบนเรือนแพเพื่อเรียนหนังสือ ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ถึงแม้โรงเรียนเรือนแพจะไม่มี อุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัย หรือเด็ก ๆ จะไม่มีชุดนักเรียน ตามกฎระเบียบที่ถูกต้อง แต่พวกเขาก็มีความตั้งใจเมื่อได้ รับโอกาสทางการศึกษา รวมถึงการใส่ใจในการสอนของ ครูแอน ที่คอยปรับคอยหาวิธีการสอนให้เข้ากับเด็ก ๆ ซึ่งเป็นการสะท้อนมุมมองเล็ก ๆ ของบทบาทหน้าที่ครู ไม่ว่าในสถานการณ์ไหน นักเรียนหรือห้องเรียนจะเป็น เช่นไร แต่บทบาทของความเป็นครูก็ต้องท�ำหน้าที่ให้ได้ ครูแอนสอนเด็ก ๆ ไปพร้อมกับการที่ถูกรบเร้า จาก ครูหนุ่ย แฟนหนุ่มของเธอ ที่อยากให้เธอกลับไป สอนหนังสือในเมือง สอนในโรงเรียนที่มีความเจริญ เนื้อในหนัง maday คิดถึงวิทยา (๒๕๕๗) ภาพ: https://pantip.com/topic/31811064


20 ผู้ไถ่ ฉบับที่ ๑๒๒ : พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๖ มากกว่านี้ มีเด็กนักเรียนที่มีความพร้อม อุปกรณ์การ เรียนการสอนที่ทันสมัย แต่ครูแอนก็ยืนหยัดจะอยู่สอน ที่เรือนแพต่อไป จนถึงช่วงสอบปลายภาค ช่อน เด็กชายชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖ ขาดสอบจนท�ำให้เขาไม่จบตามที่ ก�ำหนดไว้ เป็นเรื่องราวที่ชวนหนักอึ้งในหัวใจของความ เป็นครู การที่ต้องรับรู้ว่าเด็กคนหนึ่งเลิกเรียนหนังสือ เพราะต้องการช่วยเหลือครอบครัวในการท�ำมาหากิน จนต้องละทิ้งโอกาสทางการศึกษา แม้ครูแอนจะลองถาม หาความฝันของเด็ก ๆ คนอื่นที่เหลือ ซึ่งค�ำตอบที่ได้รับ จากเด็กทุกคน คือ ช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพจับปลา มัน คงไม่แปลกนักถ้าพวกเขาจะไม่คิดถึงความฝันอื่นหรือคิด ว่าความฝันอื่นช่างไกลเกินกว่าจะเป็นจริง แม้สุดท้ายครู แอนจะถูกแฟนหนุ่มขอแต่งงาน เธอจึงยอมละทิ้งความ เป็นครูที่โรงเรียนเรือนแพไป เพื่อความเป็นครอบครัวใน อนาคตของ เธอ ครูแอน ยอมไปสอน ที่โรงเรียน เดียวกับแฟนหนุ่มในจังหวัดเชียงใหม่ เรื่องราวของภาพยนตร์ จะ ซ้อนทับกันระหว่างเรื่องราวของครู แอนกับ ครูสอง ครูหนุ่มที่ผันตัวจาก นักกีฬามวยปล�้ำ ที่ลาออกจากการเป็น นักกีฬามาเป็นครู และถูกให้ไปฝึกสอนที่โรงเรียน บ้านแก่งวิทยา สาขาเรือนแพ ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ครูฝึกหัดที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการสอน และต้องมา พบเจอกับความยากล�ำบากในชีวิตมากมาย รวมถึงการ รับมือกับเด็กนักเรียนที่เหลืออยู่จ�ำนวน ๔ คน เขาต้อง เรียนรู้เรื่องราวมากมายไปพร้อมกับสมุดจดบันทึกของ ครูแอนที่เหลือทิ้งไว้ที่โรงเรียนเรือนแพ ซึ่งเปรียบเสมือน เพื่อนที่เคยผ่านเรื่องราวยากล�ำบากมาก่อน ท�ำให้ครูสอง เข้าใจเด็ก ๆ และเรื่องราวที่ได้เผชิญมากยิ่งขึ้น รวมถึง เรื่องราวของช่อนที่ครูแอนได้บันทึกเอาไว้ ก็เป็นแรงผลัก ดันท�ำให้ครูสองมุ่งมั่นที่อยากจะเห็นช่อนได้มีโอกาสกลับ มาเรียนให้จบชั้นประถม ๖ เพื่อให้ช่อนมีความรู้ติดตัวเอา ไว้ประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต แม้ว่าครูสองจะไม่มีประสบการณ์ในการสอน แต่ เขาก็หาวิธีที่ท�ำให้เด็ก ๆ เรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาการ เรียนได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เสริมสร้างประสบการณ์ ใหม่ ๆ ทดลองใช้พื้นที่กลางน�้ำสร้างสิ่งที่เด็ก ๆ ไม่เคย ได้ออกไปพบเจอจากโลกภายนอก อาทิเช่น รถไฟ ท�ำให้ เด็ก ๆ เห็นภาพโลกกว้างมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างจินตนาการ ที่ดี เป็นโอกาสที่ดีส�ำหรับเด็ก ๆ ที่ได้เรียนรู้นอกต�ำรา และผลของความพยายามของครูสอง ช่อนจึงยอมกลับ มาเรียนหนังสืออีกครั้ง เขามีความตั้งใจอย่างมากว่า อยากจะเรียน ให้จบ อยากจะ พยายามต่อไป อีกครั้งส�ำหรับ การเรียน และ เรื่องราวของช่อนก็เป็นกระจกที่ สะท้อนตัวครูสองให้มีความมุ่ง มั่นในการเป็นครูมากยิ่งขึ้น เขา อยากเป็นครูที่ดี อยากเห็นลูก ศิษย์ประสบความส�ำเร็จในเส้น ทางที่ตัวเองหวังไว้ ครูสองจึงลาออกจาก การเป็นครูเพื่อไปศึกษาต่อและหวังว่าจะได้กลับมาสอน เด็ก ๆ ที่โรงเรียนเรือนแพได้อย่างภาคภูมิใจอีกครั้ง ตลอดเวลา ๑ ปีที่ครูแอนย้ายไป ถึงแม้ว่าเธอจะ ได้สอนที่โรงเรียนชั้นน�ำของจังหวัด เด็กนักเรียนมีความ พร้อม การเรียนการสอนที่ทันสมัย มีอุปกรณ์การเรียน ที่ครบครัน แต่เธอก็ค้นพบว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เธออยากจะท�ำ การอยู่ในกรอบเดิม ๆ การถูกจับตาในวิธีการสอน ให้ เด็ก ๆ ได้ทดลองเสมือนจริง เรียนรู้ภาคปฏิบัติไม่ใช่แค่ ภาคทฤษฎีในห้องเรียน กลับท�ำให้เธอเป็นที่ถูกจับตามอง ภาพ: https://pantip.com/topic/31811064 ภาพ: www.flyboysthemovie.com ภาพ: Youtube GTHchannel


ผู้ไถ่ ฉบับที่ ๑๒๒ : พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๖ 21 ในโรงเรียน ท�ำให้เธอรู้สึกอึดอัด และอยากกลับไปสอน ที่โรงเรียนเรือนแพ จนวันหนึ่งเธอได้พบกับเหตุการณ์ที่ ท�ำให้เธอตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน และขอย้ายกลับ ไปสอนยังโรงเรียนแก่งวิทยาสาขาเรือนแพอย่างที่ตั้งใจ ไว้ จนท�ำให้ได้รู้เรื่องราวของครูสองที่ได้เข้ามาสอนเด็ก นักเรียนแทนเธอเช่นกัน เรื่องราวในภาพยนตร์ พาให้เราลุ้นติดตามไป ด้วยว่าครูทั้งสองจะมีโอกาสได้พบเจอกันหรือไม่ และ เรื่องราวของเด็ก ๆ จะเป็นเช่นไรต่อไป เรื่องราวของครู ทั้งสองที่พาเราไปพบเจอกับเรื่องที่พวกเขาไม่เคยได้พบ จากการอยู่ในเมือง ที่มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกมากมาย แต่กลับกัน ยังมีกลุ่มเด็ก ๆ อีกกลุ่มหนึ่งในพื้นที่ห่างไกล ที่ยังขาดโอกาสในการศึกษา ถ้าชวนคิดถึงค�ำตอบของ เด็ก ๆ เรื่องอาชีพในฝันที่ครูแอนถาม เราอาจจะเข้าใจ พวกเขามากยิ่งขึ้น ว่าการที่พวกเขาเติบโตขึ้นมาใน สถานที่ที่ห่างไกลความเจริญ การซึมซับวิถีชีวิตต่าง ๆ จากครอบครัว ไม่ได้มีทางเลือกมากนักส�ำหรับการที่ต้อง ท�ำมาหากินเพื่อด�ำรงชีวิตให้อยู่รอด การจับปลาก็เป็น ทางเลือกที่พวกเขาจับต้องได้มากกว่าการเรียนหนังสือ หรือแม้แต่ออกไปเจอโลกภายนอก แต่ยังมีโรงเรียนเรือน แพช่วยให้พวกเขาได้รับโอกาสมากยิ่งขึ้น การศึกษาเป็นตัวช่วยให้พวกเขาไม่ถูกเอาเปรียบ ไม่ถูกโกง หรือถูกกดขี่จากคนอื่นได้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ สะท้อนปัญหาของความ เหลื่อมล�้ำทางการศึกษาได้ไม่มากก็น้อย แม้ในปัจจุบัน การศึกษาจะมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น อาทิเช่น การศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ หรือการเรียน แบบ Homeschool ต่างก็เป็นแหล่งให้ความรู้ตามความ ต้องการของเด็ก ๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีบางพื้นที่ที่ ยังห่างไกลจากการได้รับสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ ซึ่งเรามักจะได้ยินข่าวอยู่ทุกปีว่ามีเด็กที่หลุดออกจาก ระบบการศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจท�ำให้เราลองมอง ย้อนถึงเยาวชนในสังคมหรือในพื้นที่ต่าง ๆ ว่าพวกเขา ได้รับโอกาสทางการศึกษาทั่วถึงหรือไม่ ไม่ว่าเด็กคนนั้น จะจนหรือรวย จะอยู่ในพื้นที่ไหน พวกเขาก็คือเยาวชน ที่ต้องได้รับการอบรมให้ได้รับความรู้เฉกเช่นเด็กคนอื่น ในสังคมเมืองเช่นกัน เหมือนที่ครูแอนและครูสองหวัง อยากจะให้นักเรียนบ้านแก่งวิทยาสาขาเรือนแพของพวก เขา ได้มีความรู้ติดตัวเอาไว้ประกอบอาชีพในอนาคต “คิดถึงวิทยา” เป็นผลงานก�ำกับของ นิธิวัฒน์ ธราธร ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากแฟน ๆ ภาพยนตร์ ท�ำให้ได้ รับรางวัล • รางวัล The East Wind Audience Award จากงานประกาศรางวัล East Winds Film Festival ๒๐๑๔ • รางวัลภาพยนตร์ที่สุดแห่งปี “คิดถึงวิทยา” จากงานประกาศรางวัล Daradaily The GREAT Awards ๒๐๑๔ • รางวัล Best Film ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม “คิดถึงวิทยา” และรางวัล Best Supporting Actor(s) นักแสดง สมทบชายยอดเยี่ยม “เด็กแก๊งค์ปลา” จากงานประกาศรางวัล The BK Film Awards ๒๐๑๕ • รางวัลก�ำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, เพลงน�ำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม “ไม่ต่างกัน ๒๕ hour”, ล�ำดับภาพยอดเยี่ยม, ถ่ายภาพยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัลภาพยนตร์ แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ ๒๔ • รางวัลออกแบบการสร้างยอดเยี่ยม และถ่ายภาพยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรม วิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ ๒๓ • รางวัลภาพยนตร์แห่งปี “คิดถึงวิทยา” จากงานประกาศรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ ๘


Click to View FlipBook Version