The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การผลิตสมุนไพร Product Champion

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การผลิตสมุนไพร Product Champion

การผลิตสมุนไพร Product Champion

Keywords: Product Champion,สมุนไพร

8ค�ำ แนะน�ำ ท่ี /2564

การผลิตสมนุ ไพร

Product Champion

กระทรกวรงมเสกง่ษเตสรริแมลกะาสรเหกกษรตณร์

คำ�แนะน�ำ ที่ 8 / 2564

การผลติ สมนุ ไพร Product Champion
พิมพค์ รง้ั ท่ี 1 : พ.ศ. 2564 จำ�นวน 1,000 เลม่
ออกแบบ/พิมพ์ที่ : กลุ่มโรงพมิ พ์ ส�ำ นักพัฒนาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี
จดั พิมพ์ : กรมส่งเสรมิ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คำ�นำ�

สมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทย
มาตั้งแต่โบราณ ภูมิปัญญาไทยแสดงให้เห็นถึง
การนำ�สมุนไพรไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเป็นอาหาร
เป็นยา หรือนำ�ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน ปัจจุบันการใช้สมุนไพรได้รับความนิยม
จากประชาชนมากข้ึน และรัฐบาลให้ความสำ�คัญในการผลักดันให้พืชสมุนไพร
เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ โดยได้กำ�หนดพืชสมุนไพร Product Champion
ที่ต้องได้รับการส่งเสริมไว้จำ�นวน 12 ชนิด ได้แก่ กวาวเครือขาว กระชายดำ�
ขมิ้นชัน บัวบก มะขามป้อม กระชาย พริก ฟ้าทะลายโจร กระเจี๊ยบแดง
หญ้าหวาน ว่านหางจระเข้ และไพล ซึ่งการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรด้วย
องค์ความรู้ท่ีถูกต้องนั้นมีความสำ�คัญเช่นเดียวกับการส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพร
อย่างถูกต้อง ความรู้เกี่ยวกับการปลูกสมุนไพร การแปรรูปให้สะอาด ปลอดภัย
รวมถึงควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน เป็นส่ิงจำ�เป็นที่จะต้องรวบรวมและเผยแพร่
สเู่ กษตรกร และประชาชนผ้สู นใจให้ทวั่ ถึง

เอกสารค�ำแนะน�ำ เรอ่ื ง “การผลติ สมุนไพร Product Champion”

ฉบับนี้ ได้รวบรวมองค์รู้เก่ียวกับการผลิตพืชสมุนไพรที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น
Product Champion ท่ีมีความส�ำคัญจ�ำนวน 7 ชนิด ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง
กวาวเครือขาว กระชายด�ำ ขมิ้นชัน ไพล ฟ้าทะลายโจร และว่านหางจระเข้
โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือเผยแพร่ความรู้ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือสามารถ
น�ำไปปรับปรงุ การผลติ แกเ่ กษตรกร เจ้าหน้าท่สี ง่ เสริมการเกษตร และผู้ที่สนใจ
กรมส่งเสริมการเกษตร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะก่อให้เกิด
ความรู้ความเข้าใจ และความสนใจในการปลูกและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา
พชื สมุนไพรไทยตอ่ ไป

กรมสง่ เสริมการเกษตร
2564

สารบัญ

1 48

14 20

25 28 20
25
กระเจี๊ยบแดง 1 ไพล 28
กระชายด�ำ 4 ฟา้ ทะลายโจร
กวาวเครอื ขาว 8 ว่านหางจระเข้
ขมิน้ ชนั 14

กระเจี๊ยบแดง

กระเจยี๊ บแดง เป็นพืชล้มลุก ลำ�ต้นสูง 1 - 2 เมตร

เจริญเติบโตได้ดี ในเขตกึ่งร้อน ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความ
แห้งแล้ง ไม่ทนต่อน้ำ�ท่วมขัง ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมเป็นพิเศษ คือ
ดินเนินเขา ดินสีแดง มีความต้องการแดดจัดเต็มวัน เป็นพืชวันสั้นต้องการช่วงแสง
13 ช่ัวโมง ในการเจริญเติบโต 4 - 5 เดือน จึงควรปลูกในช่วงกลางหรือปลายฤดูฝน
เพือ่ ใหเ้ จริญเตบิ โตได้เต็มที่ก่อนทจี่ ะออกดอก

เทคนคิ การปลูกและดแู ลรกั ษากระเจ๊ยี บแดง



การเตรียมการก่อนปลูก

1) การเตรยี มดิน
ไถดะเพื่อเปิดหน้าดิน หลังจากน้ัน 1 สัปดาห์ให้ไถแปร เกล่ียดิน
ให้เรียบเสมอกัน ใชป้ ุ๋ยคอกหรอื ปุ๋ยอินทรยี ์ 0.5 - 1 ตันต่อไร่ พรอ้ มการพรวนดิน
2) การเตรียมพนั ธุ์
พนั ธ์ซุ ูดาน และพันธ์ุกลีบยาวของมหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
หากเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธ์ุเองให้คัดเลือกต้นพันธ์ุที่มีกลีบดอก
สีแดงเข้มกลีบเลีย้ งหนา
ใช้เมล็ดขยายพันธุ์ โดยนำ�เมล็ดไปแช่นำ้� คัดเมล็ดลอยท้ิง เก็บไว้
เฉพาะเมลด็ จม นำ�ข้นึ ผง่ึ ลมจนแหง้ แล้วน�ำ ไปปลกู

1การผลิตสมนุ ไพร Product Champion

การปลูก
1) หยอดเมล็ด : หลุมละ 3 - 5 เมล็ด
ฤดูปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม
จะออกดอกเมื่ออายปุ ระมาณ 120 วัน
2) ระยะปลูก : ระยะห่างระหว่างต้น
1 เมตร ระหวา่ งแถว 1 - 1.5 เมตร
3) จ�ำ นวนต้นต่อไร่ : ประมาณ 400 ตน้
การดแู ลรกั ษา
1) การใสป่ ๋ยุ
ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ในช่วงท่ีเร่ิมเจริญเติบโต อายุ 10 - 15 วัน
และ 40 - 50 วัน ไม่จำ�เป็นต้องใช้ปุ๋ยท่ีมีไนโตรเจนสูง เพราะถ้ามากเกินไป
จะท�ำ ใหใ้ บ และฝกั โตเร็วเกินไปจะเป็นโรคงา่ ย
2) การใหน้ ำ้�
ระยะ 1 - 2 เดือน ควรให้น้ำ�สม่ำ�เสมอ หลังจากนั้นจะทนต่อ
ความแหง้ แลง้ ไดด้ ี
เมื่ออายุได้ 3 - 4 สัปดาห์ ให้ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออกให้เหลือ
หลุมละ 1 ตน้
โรคและศัตรพู ืชท่ีสำ�คัญ
1) วัชพืช : ไม่พบวัชพืชใดทำ�ความเสียหายรุนแรง หากพบให้กำ�จัด
โดยใช้การถอน หรือใชเ้ คร่ืองมอื ช่วย
2) โรค : โรคใบจุด โรคฝักจุด หรือฝักลาย โรคแอนแทรคโนส
หากพบให้กำ�จัดโดยใช้เชื้อบาซิลลัส ซับทีลิส (Bacillus substilis หรือ บีเอส)
พน่ ในอตั รา 30 - 50 กรัมตอ่ นำ�้ 20 ลิตร
3) แมลง : หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยจักจ่ันฝ้าย หากพบให้กำ�จัดโดยใช้เชื้อ BT (Bacillus thuringiensis)
ในอัตรา 60 - 80 กรัมต่อนำ้� 20 ลิตร หรือใช้สารธรรมชาติ เช่น เมล็ดสะเดาพ่น
ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ� 20 ลิตร และอาจปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติของ
แมลงศตั รูพืช เชน่ แมลงชา้ งปกี ใสและดว้ งเตา่ ตวั หำ้�

2 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

การปฏบิ ตั กิ อ่ นและหลงั การเกบ็ เกย่ี ว

- เร่ิมเก็บเกี่ยว ในเดือนพฤศจิกายน
- ธันวาคม สามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 แบบ
คือ เก็บเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดง โดยใช้
กรรไกรหรือมีดตัดเฉพาะดอกท่ีแก่ แล้วใส่
ในภาชนะท่ีมีวัสดุรอง หรือเก็บเกี่ยวท้ังต้น
โดยใชเ้ คยี วเกีย่ วกิง่ ทม่ี ีดอกบริเวณโคนก่งิ
- หลังเก็บเก่ียว นำ�ดอกกระเจี๊ยบแดงไปแทงเมล็ดออก โดยใช้เหล็ก
กระทุ้งแทงบริเวณข้ัวให้เมล็ดหลุดออกจากกระเปาะหุ้มเมล็ด ส่วนท่ีเหลือเป็น
กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกของกระเจ๊ียบแดง นำ�กลีบดอกไปตากแดดนาน 4 - 7 วัน
จนแห้งสนิท การตากควรตากบนชั้นสูงจากพื้นดินประมาณ 60 - 70 เซนติเมตร
และคลุมด้วยผ้าขาวบางเพ่ือป้องกันการปนเปื้อนของฝุ่นละอองต่าง ๆ และ
นำ�กระเจ๊ียบแดงท่ีแห้งสนิทแล้วมาบรรจุถุงพลาสติกใส และปิดปากให้สนิท
น�ำ เขา้ จดั เกบ็ ในหอ้ งทีส่ ะอาด เยน็ ไม่อับช้นื

แนวทางการเพ่ิมประสทิ ธิภาพการผลิต

1) การจัดการการผลิตที่เหมาะสม โดย
กำ�หนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เน่ืองจากเป็นพืชวันส้ัน หากปลูกล่าช้า
ตน้ กระเจี๊ยบจะออกดอกโดยยงั มีการเจรญิ เติบโตไม่เตม็ ที่ ดอกเลก็ ไม่สมบูรณ์
ปลูกโดยวิธีหยอดหลุมและใช้ระยะปลูกที่ถูกต้อง ไม่ควรใช้วิธีหว่าน
เพ่ือให้ต้นกระเจี๊ยบแดงสามารถแตกก่ิงแขนง และให้ผลผลิตสูง การปลูกถ่ีแน่น
จะไมม่ กี ารแตกก่งิ กา้ น ทำ�ให้ไดจ้ �ำ นวนดอกนอ้ ยกว่ามากแม้จะประหยดั แรงงาน
เก็บเมล็ดพันธ์ุดี โดยคัดเลือกต้นที่มีคุณภาพดี เนื้อหนาสีแดงเข้ม
ดอกขนาดใหญ่แตกแขนงดี สำ�หรบั เกบ็ เมลด็ ทำ�พนั ธ์ุ
ไม่เก็บเกี่ยวทั้งต้น ควรเก็บเก่ียวเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดงท่ีแก่จัด
เหลอื ดอกอ่อนและเลก็ ให้เจรญิ เติบโตต่อไปแล้วจึงเก็บเกยี่ วอีกครงั้
2) การให้สารอาหารเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ได้แก่ ให้ปุ๋ยนำ้�ชีวภาพ
หรือจุลินทรีย์ 1 - 2 เดือนต่อครั้ง หรือการให้มูลค้างคาว 1 - 2 กำ�มือต่อเดือน
โดยละลายน�ำ้ รดโคนต้นจะชว่ ยให้ดอกดกและสเี ขม้ ขึน้

3การผลติ สมุนไพร Product Champion

กระชายดำ�

กระชายดำ� เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 20 - 30

เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดิน ส่วนมากพบในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำ�ทะเล 500 - 700 เมตร
ชอบสภาพอากาศร้อนชื้น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำ�ดี
ไมช่ อบน�้ำ ขงั และตอ้ งการแสงแดดร�ำ ไร

เทคนิคการปลกู และดแู ลรกั ษากระชายดำ�



การเตรยี มการกอ่ นปลูก

1) การเตรยี มดนิ
ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน 200 - 400 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบท้ิงไว้
10 - 15 วัน ไถพรวน 2 ครง้ั ตากดินไว้ 3 สปั ดาห์
2) การเตรยี มพันธุ์
พันธุ์กระชายดำ�จำ�แนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือสายพันธ์ุใบแดง
มีเน้ือในเหง้า สีเข้ม และสายพันธ์ุใบเขียว มีเนื้อในเหง้าสีจาง กรมวิชาการเกษตร
ได้ข้ึนทะเบียนกระชายดำ�ไว้ 2 พันธ์ุ ได้แก่ พันธุ์ภูเรือ 10 (สายพันธ์ุใบแดง)
และภูเรือ 12 (สายพันธ์ุใบเขียว) สายพันธุ์ภูเรือ 10 เป็นพันธุ์ท่ีเกษตรกร
นยิ มปลูกมากทสี่ ุดและมคี ุณภาพดี
ใช้หัวแก่จัด อายุ 11 - 12 เดือน เก็บรักษาในท่ีแห้งและเย็น
ประมาณ 1 - 3 เดอื น ก่อนเก็บรกั ษาควรจุ่มหวั พันธ์ใุ นสารปอ้ งกนั กำ�จัดเช้ือราด้วย

4 กรมส่งเสริมการเกษตร

การปลกู

1) วิธปี ลกู
ยกแปลงกว้าง 1.50 เมตร สูงประมาณ 25 เซนติเมตร ขุดหลุมลึก
ประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร แล้วนำ�หัวพันธ์ุลงปลูกประมาณ 2 - 3 หัว
กลบดินใหแ้ น่นรดน้ำ�ให้ชุ่ม
หัวกระชายดำ�จะมีหลายแง่ง ให้หักออกมาเป็นแง่ง ๆ ก่อนนำ�ไปปลูก
ควรทารอยแผลของแง่งท่ีถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมาก หรือจุ่มในนำ้�ยากันเช้ือรา
แลว้ ผ่ึงในทรี่ ่มจนหมาดหรอื แหง้ แลว้ จึงน�ำ ไปปลกู

2) ระยะปลูก : ระยะห่างระหว่างต้น 30 x 30 เซนติเมตร ใช้หัวพันธ์ุ
ประมาณ 200 - 250 กิโลกรมั ตอ่ ไร่

3) ชว่ งเวลาปลกู : โดยปกตเิ ร่ิมตง้ั แต่ปลายเดือนเมษายน - พฤษภาคม

5การผลิตสมุนไพร Product Champion

การดแู ลรกั ษา

1) การใส่ปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยคอกมูลไก่ผสมแกลบรองพ้ืน หรือใช้ปุ๋ยชีวภาพ
ฉีดพ่นพร้อมกับการกำ�จัดวัชพืชและพรวนดินเม่ือมีใบ 2 - 3 ใบ และให้อีกคร้ัง
เมอื่ กระชายด�ำ เร่ิมออกดอก ไม่ควรใชป้ ยุ๋ เคมกี บั กระชายด�ำ

2) การใหน้ ำ้� : ให้รดน�้ำ พอชุม่ แต่ไมแ่ ฉะ และอย่าใหน้ ้ำ�ขงั

โรคและศตั รพู ชื ทสี่ ำ�คญั

1) วัชพืช : ไม่พบว่ามีวัชพืชใดทำ�ให้เกิดความเสียหายรุนแรง หากพบ
ให้ถอนท�ำ ลาย

2) โรค : โรคเหี่ยวหรือโรคหัวเน่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia
solanacearum จะทำ�ให้ต้นมีอาการใบเหลือง ต้นเหี่ยว และหัวเน่าในที่สุด
การป้องกันกำ�จัด ทำ�ได้โดยหากพบโรคให้ถอนเก็บส่วนที่เป็นโรคเผาท้ิงทำ�ลาย
นอกแปลงปลูก การป้องกันโรค ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดจากโรค ไม่ปลูกซ้ำ�ที่เดิม
ปลกู หมนุ เวียนทุกปีดว้ ยพืชตระกลู ถวั่ หรอื พชื หมุนเวียนอ่ืน ๆ ในแหล่งทม่ี ีการระบาด
ของโรคให้อบดินฆ่าเช้ือในดินโดยใช้ยูเรียและปูนขาว อัตรา 80 : 100 กิโลกรัมต่อไร่
โรยและคลุกเคล้าดินในแปลงปลูก แล้วใช้พลาสติกสีดำ�คลุมแปลงอบดินไว้เป็นเวลา
3 สัปดาห์ก่อนปลกู

3) แมลง : หนอนเจาะลำ�ตน้ การปอ้ งกันก�ำ จดั ทำ�ได้โดยการใช้วิธีกล

การปฏิบตั ิกอ่ นและหลงั การเกบ็ เก่ียว

เก็บเกี่ยวเม่ืออายุ 8 - 9 เดือน สังเกตจากใบและลำ�ต้นจะเร่ิมเหี่ยวแห้ง
และหลุดออกจากตน้
เคาะดินให้หลุดออกจากหัว
จากนั้นตัดราก และนำ�ไปล้างนำ้�ให้สะอาด
ผึ่งลมให้แห้ง นำ�มาทำ�แห้งโดยห่ันเป็น
ชิ้นบาง ๆ นำ�ไปตากแดดหรืออบให้แห้ง
โดยใช้เครื่องอบด้วยอุณหภูมิ 55 องศา-
เซลเซียส นำ�ไปบรรจุถุงพลาสติกใส 2 ชั้น
ปิดปากให้สนิท นำ�เข้าเก็บในห้องที่สะอาด
ไม่อับชื้นมอี ากาศถา่ ยเทดี

6 กรมสง่ เสริมการเกษตร

แนวทางการเพิ่มประสิทธภิ าพการผลิต

การจัดการผลติ เพือ่ ใหม้ สี ารสำ�คญั สูง
1) การเลือกพื้นที่ปลูกกระชายดำ� ในพื้นท่ีสูงกว่าระดับนำ้�ทะเลมากกว่า
500 เมตร ไม่ปลกู กระชายด�ำ ในพืน้ ทต่ี �ำ่
2) การพรางแสง ใช้ซาแรนพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ และใช้วัสดุคลุมแปลง
จะท�ำ ให้ได้ผลผลิตกระชายด�ำ ท่มี คี ณุ ภาพดโี ดยมีปรมิ าณสารสำ�คญั เพมิ่ ขึน้
3) เก็บเก่ียวให้ตรงตามช่วงอายุการเก็บเกี่ยว คือ ประมาณ 8 - 9 เดือน
เพราะการเก็บเกี่ยวกอ่ นกำ�หนดจะมีผลต่อคณุ ภาพของหัวกระชายดำ�โดยตรง
4) การคัดเลือกพันธุ์ ควรเลือกพันธ์ุท่ีมีเนื้อในเหง้าสีเข้ม เพราะจะให้สาร
ออกฤทธด์ิ ีกวา่ พันธุท์ ีเ่ นือ้ ในเหง้าสีออ่ น

7การผลิตสมนุ ไพร Product Champion

กวาวเครอื ขาว

กวาวเครือขาว เป็นไม้เถาเลื้อย เน้ือแข็ง อายุหลายปี

มีหัวขนาดใหญ่ใต้ดิน เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงมาก เจริญเติบโตได้ดีท่ีระดับ
ความสูง 300 - 800 เมตร จากระดับนำ้�ทะเล ดินร่วนซุย ระบายนำ้�ได้ดี ควรปลูก
ในชว่ งตน้ ฤดฝู น ประมาณเดอื นพฤษภาคม - เดอื นกรกฎาคม

เทคนคิ การปลกู และดแู ลรักษากวาวเครือขาว



การเตรยี มการก่อนปลกู

1) การเตรยี มดนิ
ไถ ตากดนิ ทงิ้ ไวป้ ระมาณ 1 เดือน เก็บเศษวัชพชื ออกจากแปลง
หว่านปูนขาว และไถพรวนอกี 1 - 2 ครั้ง
พ้ืนที่ดอน ยกร่อง สูง 30 - 50 เซนติเมตร ระหว่างแปลงมีร่อง
ระบายนำ้�
พื้นท่ีลาดชนั ไม่ต้องยกรอ่ ง แต่มีร่องระบายน�ำ้
พื้นท่ีราบหรือพ้ืนที่ลุ่ม ยกร่องให้สูงกว่าน้ำ�อย่างน้อย 1.2 เมตร
ระหวา่ งแปลงมรี ่องระบายน�้ำ คอยระวงั อย่าให้น้�ำ ทว่ มขังแปลงปลูกเกนิ 3 วนั
รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกท่ีย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว
อตั รา 10 กโิ ลกรัมต่อหลุม คลกุ เคลา้ กบั ดนิ

8 กรมสง่ เสริมการเกษตร

2) การเตรียมพนั ธ์ุ
การขยายพันธ์ุด้วยเมล็ด มีโอกาสได้ต้นท่ีมีความแปรปรวนทาง
พันธุกรรมมาก เนื่องจากกวาวเครือขาวเป็นพืชผสมตัวเอง และผสมข้ามต้นได้
สามารถทำ�ได้โดยใช้มีดคม ตัดส่วนปลายเมล็ด ระวังไม่ให้ส่วนเน้ือในเมล็ดแตก
หรือขาด นำ�ไปเพาะในกระบะเพาะท่ีมีวัสดุเพาะบรรจุอยู่รดน้ำ�ให้ชุ่ม แต่อย่าให้แฉะ
เม่ือกล้ามีอายุได้ 1 เดือน ย้ายลงถุงชำ�ที่มีวัสดุเพาะชำ�ประกอบด้วย ดินพรุ
ร้อยละ 50 ขุยมะพร้าว ร้อยละ 20 ข้เี ถ้าแกลบร้อยละ 20 และป๋ยุ คอก ร้อยละ 10
วางถุงเพาะชำ�ไว้ ภายใต้หลังคาพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ หากเป็นพื้นซีเมนต์
ต้องหาวัสดรุ องถุงเพาะชำ�และยา้ ยต้นกลา้ ลงแปลงปลกู เมอ่ื ต้นกลา้ มีอายุ 2 เดอื น
การปักชำ� ทำ�ได้โดยตัดเถาท่ีประกอบด้วยใบ 1 ใบ ตา 1 ตา และ
ลำ�ต้นยาว 4 - 5 นิ้ว ปักชำ�ลงในแปลงเพาะชำ�หรือถุงชำ� วัสดุเพาะชำ�ประกอบด้วย
ขี้เถ้าแกลบ ร้อยละ 50 ขุยมะพร้าว ร้อยละ 20 ทรายหยาบ ร้อยละ 20 และ
ปุ๋ยคอกท่ีหมักสมบูรณ์แล้ว ร้อยละ 10 ให้นำ้�เป็นระยะสมำ่�เสมอ ใช้เวลาปักชำ�
3 - 4 สัปดาห์ กรณีปักชำ�ในแปลง เม่ือกิ่งปักชำ�ออกรากให้ย้ายลงถุงชำ� และให้น้ำ�
เป็นระยะต่อไปอีก 7 วัน วางถุงเพาะชำ�ไว้ภายใต้หลังคาพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์
เมื่อกวาวเครือขาวแทงยอดยาวประมาณ 12 น้ิว จึงทำ�การย้ายลงแปลงปลูก โดย
ใชเ้ วลาประมาณ 2 เดือน ต้งั แต่เรม่ิ ตัดช�ำ

9การผลิตสมนุ ไพร Product Champion

การปลกู

1) วธิ ปี ลกู
ขดุ หลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 เซนตเิ มตร
ย้ายกล้าวางที่ก้นหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร หลุมละ 1 ต้น
กลบดินทเ่ี หลอื ลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นพอแนน่ รดน้�ำ ให้ช่มุ

2) ระยะปลูก : ระยะหา่ งระหวา่ งแถวและต้น ไมน่ อ้ ยกวา่ 1.5 x 1.5 เมตร
3) จ�ำ นวนต้นตอ่ ไร่ : 400 ต้นต่อไร่

การดแู ลรักษา

1) การใส่ปุ๋ย : ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง
โดยให้ 2 คร้ังต่อปี บริเวณรอบทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบ โดยใส่คร้ังท่ี 1 หลังปลูก
3 เดือน และครัง้ ท่ี 2 เมื่อเร่ิมออกดอก

2) การให้น้ำ� : ให้น้ำ�เป็นฝอยเหนือผิวดิน รอบโคนต้น ปริมาณนำ้�ท่ีให้
สังเกตจากดินในแปลงเปียกช้ืนจึงหยุดให้ และหลังจากปลูกใหม่ ๆ ต้องรดน้ำ�
เป็นระยะ ๆ ติดต่อกันอย่างน้อย 1 - 2 เดือน (ถ้าเริ่มปลูกในฤดูแล้ง) จนกว่า
จะเลอ้ื ยพันค้างได้ เมื่อตน้ กวาวเครอื ขาวอายุผา่ น 3 เดอื นไปแล้ว ให้นำ้�เป็นครง้ั คราว

10 กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคและศตั รูพืชทส่ี ำ�คัญ

1) วัชพืช : กำ�จัดด้วยแรงงานในขณะท่ีวัชพืชยังเล็กและก่อนออกดอก
ควรก�ำ จดั วชั พชื 3 - 4 ครง้ั ตอ่ ปี

2) โรค : ส่วนมากพบโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดเมื่อความช้ืน
ในดินสูงเข้าทำ�ลายต้นกล้าที่มีแผลบริเวณโคนต้น หรือต้นหักพับที่ระดับผิวดิน
ทำ�ให้ต้นมีอาการเหี่ยวเฉาตาย การป้องกันกำ�จัดทำ�ได้โดยปรับดินด้วยปูนขาว
และปุ๋ยอินทรีย์ถอนต้นที่เป็นโรคเผาทำ�ลาย เม่ือเริ่มมีโรคระบาดในแปลง
ใช้น้ำ�ปูนใสรดใหท้ ั่ว

3) แมลง : ไม่พบแมลงชนิดใดทำ�ความเสยี หายรุนแรง
4) สัตว์ศัตรูพืช : หนอน หอยทาก และตุ่น เป็นศัตรูของกวาวเครือขาว
ในธรรมชาติ การป้องกันกำ�จัดทำ�ได้โดยเก็บเศษใบพืชทำ�ลาย เพ่ือกำ�จัดหนอน
และดักแด้ และติดกับดักกาวเหนียวสีเหลืองตลอดฤดูปลูกเพ่ือการพยากรณ์
และลดปรมิ าณตัวเต็มวยั

การปฏบิ ตั ิก่อนและหลังการเก็บเกยี่ ว

1) ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
เก็บเกีย่ วหัว หลงั ปลกู 2 ปี ขน้ึ ไป ในชว่ งกอ่ นออกดอก

2) วธิ ีการเก็บเกยี่ ว
ขุดหัวกวาวเครือขาวด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ผิวเปลือกเกิดรอยแผล
หรือช้ำ� ตัดแยกหัวออกจากเหง้าหรือลำ�ต้น เก็บเก่ียวหัวกวาวเครือขาวที่มีนำ้�หนัก
ตง้ั แต่ 2 กโิ ลกรัมขึ้นไป และมีขนาดเสน้ ผ่าศูนย์กลางต้งั แต่ 15 - 25 เซนตเิ มตร

3) การเก็บรกั ษาผลผลติ
หลังเก็บเก่ียว นำ�หัวกวาวเครือขาวเข้าที่ร่มทันทีและไม่ควรวาง
บนพื้นดิน โดยไม่มีวัสดรุ องรับ
สถานที่วางผลผลิตเพื่อการทำ�แห้ง หรือเก็บรักษาผลผลิตจะต้อง
มีอากาศถ่ายเทดี ปลอดภัยต่อการเข้าทำ�ลายของแมลงศัตรูพืช และอยู่ห่างจาก
ส่งิ ปฏกิ ลู เพื่อปอ้ งกันการปนเปอ้ื นเช้อื โรค

11การผลติ สมุนไพร Product Champion

หัวกวาวเครือขาวท่ีมีรอยแตกหรือมีบาดแผล ให้นำ�มาทำ�แห้งก่อน
หัวทีไ่ ม่มีบาดแผลให้นำ�มาท�ำ แห้งภายหลงั ภายในเวลาไมเ่ กิน 3 วนั
หากต้องการเก็บหัวกวาวเครือขาวไว้เป็นเวลานานหลายปี ให้นำ�
หวั ทไ่ี มม่ บี าดแผล ฝังไวใ้ นกองทรายชื้น ๆ
4) การท�ำ แห้ง
ล้างหัวกวาวเครือขาวให้สะอาด ผ่ึงให้สะเด็ดน้ำ� ปอกเปลือก
ห่นั หรอื ตัดเปน็ ชิ้นบาง ๆ ยาวประมาณ 3 เซนตเิ มตร เกลี่ยให้สมำ�่ เสมอในถาด
นำ�เข้าตู้อบ อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส อบจนแห้งสนิท หรือ
นำ�ไปตากแดด นาน 3 วนั
อัตราการท�ำ แหง้ หวั กวาวเครือสด : กวาวเครือแห้ง เท่ากับ 10 : 1
การบรรจแุ ละการเกบ็ รกั ษากวาวเครอื ขาวแหง้ โดยเกบ็ ในถงุ พลาสตกิ ใส
ผนกึ ใหแ้ นน่ และเก็บในทส่ี ะอาด

12 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

แนวทางการเพิม่ ประสิทธภิ าพการผลิต

1) การเพ่มิ ประสทิ ธภิ าพการขยายพนั ธุ์
การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งหัวต่อต้นตามวิธีการ
ขยายพันธ์ุแบบต่อรากเลี้ยงก่ิง (nursed root grafting) เป็นวิธีการขยายพันธุ์ท่ีใช้ระยะ
เวลาในการเตรียมต้นพันธุ์เร็วท่ีสุดเม่ือเทียบกับการปักชำ�และการเพาะเมล็ด เป็นการนำ�
หัวกวาวเครือขาวขนาดเล็กมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถใช้ในการต่อต้นข้ามสายพันธ์ุได้
และช่วยลดปัญหาด้านความแปรปรวนทางพันธุกรรม เน่ืองจากกวาวเครือขาว
เป็นพืชผสมตวั เองและผสมข้ามต้นได้

การแบ่งหัวต่อตน้ มวี ธิ กี ารดังน้ี
- นำ�หัวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4 น้ิว ผ่าแบ่งออกเป็น 2 ซีก
โดยใหห้ วั แตล่ ะซกี มที อ่ น�ำ้ และทอ่ อาหารตดิ ไปดว้ ย บากทอ่ น�ำ้ และทอ่ อาหารออกตามแนวยาว
- นำ�ต้นพันธุ์ที่อยู่ในระยะพักตัวมาตัดเป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนมีตา 1 ตา
บากส่วนลา่ งของทอ่ นดา้ นตรงขา้ มกบั ตา ใหส้ อดรับกับรอยบากท่อน�้ำ และท่ออาหารของหัว
- เสียบต้นเข้ากับหัว พันทับให้แน่นด้วยเทปพลาสติกใส จุ่มน้ำ�ยาเร่งราก
น�ำ ไปช�ำ ในทรายชน้ื
- เม่ือส่วนของต้นแตกยอดและส่วนของหัวแตกราก ซึ่งใช้เวลาประมาณ
3 สปั ดาห์ จึงย้ายลงถุงช�ำ จากนั้นอกี 3 สัปดาห์ จงึ ยา้ ยปลกู
2) การเพม่ิ ประสทิ ธิภาพการดแู ลรกั ษาและการเก็บเก่ียวผลผลติ
การทำ�ค้าง ช่วยให้การดูแลรักษาและการเก็บเก่ียวหัวกวาวเครือขาว
ท�ำ ไดส้ ะดวกไม่ยุ่งยาก และรวดเรว็ ขึน้ ดงั นี้
- ท�ำ คา้ งสงู จากพน้ื ดนิ อยา่ งนอ้ ย 2 เมตร เมอ่ื ตน้ กวาวเครอื ขาวเรม่ิ แตกยอด
- ใช้ส่วนโคนไมร้ วกเปน็ เสาไม้ค้าง และใชเ้ สาคอนกรีตแทรกคำ�้ ยันระหว่าง
เสาไม้รวก
- ใช้ซาแรนทำ�เป็นเชือกหรือใช้เชือกไนล่อน ขึงด้านบนของไม้รวกและ
เสาคอนกรีต
3) การเพิม่ ประสทิ ธภิ าพการใช้พนื้ ท่ีการเกษตร
การปลูกกวาวเครือขาวร่วมกับไม้ยืนต้นในกระบวนการเกษตร เช่น ไผ่ สัก
ปอสา และไมผ้ ลอ่ืน ๆ โดยปลกู หา่ งจากตน้ ที่ใช้เป็นคา้ งธรรมชาติ 30 - 50 เซนติเมตร

13การผลิตสมนุ ไพร Product Champion

ขมิน้ ชัน

ขมิน้ ชัน เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เน้ือในของเหง้า
มีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศ
ร้อนช้ืน ชอบดินร่วนซุยหรือดินร่วนปนทราย ระบายนำ้�ดี น้ำ�ไม่ท่วมขัง ปลูกได้
ท้ังในที่โล่งแจ้งหรือมีแสงรำ�ไร โดยปกติจะเร่ิมปลูกในช่วงฤดูฝน คือ ประมาณเดือน
พฤษภาคม - มถิ ุนายน

เทคนคิ การปลูกและดูแลรักษาขมนิ้ ชัน



การเตรียมการกอ่ นปลกู

1) การเตรียมดิน
ไถพรวนดินให้ร่วนซุย อย่างน้อย 1 ครั้ง หากเป็นพ้ืนที่ที่หน้าดินแข็ง
หรือเป็นดินเกา่ ควรไถพรวนไม่น้อยกวา่ 2 คร้ัง
ตากดินไว้ 1 - 2 สปั ดาห์ เพือ่ ทำ�ลายไขแ่ มลงและเช้อื โรคในดิน
เกบ็ เศษไม้ ซากวชั พืช กรวด และหินออกจากแปลง
ใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 4 ตันต่อไร่ หากดินเป็นกรด
ควรใสป่ ูนขาว เพ่อื ปรบั ค่าความเป็นกรดเปน็ ดา่ งของดนิ
หากพ้ืนที่ปลูกมีสภาพเป็นที่ลุ่มหรือท่ีราบตำ่� มีการระบายนำ้�ไม่ดี
ควรยกร่องแปลงกว้าง 1 - 2 เมตร สูง 15 - 25 เซนติเมตร ความยาวตามความ
เหมาะสมของสภาพพ้ืนที่ ระยะระหว่างร่อง 50 - 80 เซนติเมตร

14 กรมส่งเสริมการเกษตร

2) การเตรียมพันธ์ุ
พันธุ์ที่นิยมปลูก : ขม้ินสีทอง ขมิ้นด้วง ขมิ้นแดงสยาม พันธุ์ท่ี

กรมวิชาการเกษตรแนะน�ำ ได้แก่ พนั ธ์ตุ รัง 1 และพันธ์ตุ รงั 2
การเลือกพันธุ์ : เลือกหัวพันธ์ุที่ปลอดโรค และสมบูรณ์ ไม่มีโรค

และแมลงตดิ มาดว้ ย
การเกบ็ รกั ษาหัวพันธ์ุ : โดยวางผึ่งไว้ในที่รม่ แห้ง สะอาด ปราศจาก

โรคแมลงและสัตว์ต่าง ๆ มารบกวน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือฝังเหง้าพันธ์ุ
ในทรายหยาบทีส่ ะอาด เย็น ในทีร่ ่ม

การจัดเตรียมหัวพันธุ์ : หากปลูกโดยใช้หัวแม่ นำ้�หนักประมาณ
15 - 50 กรัม ใช้ 1 หัวต่อหลุม หากหัวพันธุ์มีขนาดใหญ่มาก ให้ตัดเป็นท่อน ๆ
มีตาติดอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ตา แต่ถ้าปลูกโดยใช้แง่ง น้ำ�หนักประมาณ 10 กรัม
และมีตา 2 - 3 ตาต่อแง่ง โดยใช้ 2 - 3 แง่ง ต่อหลุม ใช้ใบพลู เปล้าน้อย
และต้นตะไครห้ อมบดแห้ง อัตรา 10,000 ppm คลุกกับหวั พันธุ์ก่อนปลกู

การปลูก

1) วิธปี ลูก
ขุดหลมุ ปลกู ลึก 10 - 15 เซนตเิ มตร และรองก้นหลุมปลูกดว้ ยปุ๋ยคอก
หลุมละ 200 - 300 กรมั
วางหัวพันธ์ุในหลุมปลูก กลบดินหนา 5 - 10 เซนติเมตร หรือนำ�
หัวพันธ์ุไปเพาะก่อนนำ�ไปปลูก โดยนำ�ไปผึ่งในท่ีร่มคลุมด้วยปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้ว
นานประมาณ 30 วัน หัวพนั ธุ์จะแตกหนอ่
ขึน้ มาจงึ น�ำ ไปปลูกในแปลง

2) ระยะปลกู : กำ�หนดระยะปลกู
35 X 50 เซนตเิ มตร การปลกู ในสภาพยกรอ่ ง
ใชร้ ะยะหา่ งระหวา่ งแถว 45 - 75 เซนตเิ มตร
และระหว่างต้น 25 - 50 เซนติเมตร
หากปลูกขมิ้นชันเป็นพืชแซม ใช้ระยะห่าง
ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร
3) จำ�นวนต้นต่อไร่ : หัวพันธ์ุ
ประมาณ 400 กิโลกรมั ตอ่ ไร่

15การผลิตสมนุ ไพร Product Champion

การดแู ลรักษา

1) การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 500 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใส่ปุ๋ยเคมีสูตร
15 - 15 - 15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ในช่วงระยะท่ีกำ�ลังเจริญเติบโตทางลำ�ต้น
แต่ไม่ควรให้ปุ๋ยระยะท่ีขม้ินชันลงหัว โดยระยะเวลาการใส่ปุ๋ย ควรใส่พร้อมกับ
การถอนวัชพืชและพรวนดิน ประมาณ 3 คร้ัง ครั้งที่ 1 เม่ือเตรียมแปลงปลูก
คร้งั ที่ 2 หลงั การปลูกประมาณ 1 เดอื น ครั้งที่ 3 หลังการปลกู ประมาณ 3 - 4 เดอื น

2) การให้น�ำ้
ระยะแรกควรรดนำ้�อย่างสมำ่�เสมอจนกว่าพืชจะต้ังตัวได้ และให้นำ้�
น้อยลงในระยะหัวเร่ิมแก่ และงดให้นำ้�ในระยะเก็บเก่ียว หากมีนำ้�ท่วมขังให้
ระบายน�ำ้ ออกทนั ที

โรคและศตั รพู ชื ทสี่ ำ�คญั

1) วัชพืช : กำ�จัดโดยการถอนหรือใช้จอบดายออก พรวนดิน และกลบ
โคนต้นเพื่อใหเ้ หงา้ เจรญิ เติบโตดี

2) โรค : โรคเห่ียวหรือโรคหัวเน่า ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำ�ให้ต้น
มีอาการใบเหลือง ต้นเห่ียว หัวเน่าและมีเมือกสีขาวข้นซึมออกมาตรงรอยแผล
การปอ้ งกนั ก�ำ จดั ท�ำ ไดโ้ ดยเลอื กพน้ื ทป่ี ลกู ทม่ี กี ารระบายน�ำ้ ดี ไมเ่ คยปลกู ขมน้ิ ชนั ทเ่ี ปน็ โรค

16 กรมส่งเสริมการเกษตร

หรือพืชท่ีเป็นพืชอาศัยของโรคมาก่อน แต่หากเคยปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรค
ควรกำ�จัดวัชพืช ไถพรวนและผึ่งดินให้แห้งก่อนปลูกอย่างน้อย 1 เดือน และ
หากแหล่งปลูกเคยมีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด
เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงกลับมาปลูกขมิ้นชันใหม่ หรือจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยยูเรีย
และปูนเผา อัตรา 70 : 800 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้หัวพันธุ์ท่ีปลอดโรค โดยคัดเลือก
มาจากแหล่งที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคมาก่อน การเก็บเกี่ยวผลผลิต
อย่าให้เกิดบาดแผล แยกผลผลิตท่ีเป็นโรคนำ�ไปเผาทำ�ลาย ถอนต้นท่ีเป็นโรค
เผาทำ�ลาย และขุดดนิ บริเวณน้ันผงึ่ แดด และโรยปนู ขาว
3) แมลง : เพลี้ยแป้ง (Mealy bug) โดยตัวอ่อนจะดูดนำ้�เล้ียงเข้าทำ�ลาย
ตามรากและแง่งในระดับผิวดิน ทำ�ให้บริเวณท่ีถูกทำ�ลายจะเห็นเป็นผงแป้งเกาะติดอยู่
การป้องกันกำ�จัดทำ�ได้โดยการใช้แมลงช้างปีกใส อัตรา 200 - 500 ตัวต่อไร่
หรอื ฉีดพน่ ด้วยสารสะเดา

การปฏบิ ัติกอ่ นและหลงั การเก็บเกีย่ ว

1) ระยะเกบ็ เกีย่ วท่ีเหมาะสม
เก็บในช่วงฤดูแล้ง เม่ือขม้นิ ชนั มอี ายุ 9 - 11 เดอื นขน้ึ ไป โดยจะสงั เกตเห็น
ลำ�ต้นเหนือดินแสดงอาการเหี่ยวแห้งสนิท หลีกเล่ียงการเก็บในระยะท่ีขมิ้นชัน
เร่ิมแตกหน่อ เพราะจะทำ�ให้มีสาร curcumin ตำ่� หากต้องการขม้ินชันสำ�หรับ
ใช้ในการผลิตน้ำ�มัน จะเก็บเกี่ยวขม้ินชันเม่ืออายุ 2 ปี โดยจะเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง
ของปถี ดั ไป

2) วิธีการเก็บเกย่ี ว
ให้นำ้�ดินพอชื้น ท้ิงไว้ 1 สัปดาห์ แล้วจึงทำ�การเก็บเก่ียว โดยใช้จอบขุด
หรือถอนข้ึนมาทั้งกอ ตัดแยกส่วนเหนือดินและเหง้าออก ระวังอย่าให้ผลผลิต
เกิดบาดแผล เพ่ือป้องกันการเข้าทำ�ลายของเชื้อโรคและไม่ควรเก็บเก่ียวในช่วงท่ีมีฝน
เพอ่ื ปอ้ งกันโรคเช้อื รา

17การผลติ สมนุ ไพร Product Champion

3) การแปรรปู หลังการเก็บเกย่ี ว
การทำ�ความสะอาด ล้างเอาดินออก ใช้มือหรือแปรงขัดผิวขม้ินชัน

ให้สะอาด ตัดแต่งเอารากและส่วนท่ีเสียของหัวทิ้ง ผึ่งในตะกร้าหรือเข่งให้สะเด็ดน้ำ�
การท�ำ แหง้ ขม้นิ ชนั ทง้ั หัว โดยต้มหรือน่ึงเหง้าสด นาน 1 - 2 ชั่วโมง

ตากแดด 6 - 8 วัน หรือเป่าลมร้อน 65 - 70 องศาเซลเซียส ให้มีความช้ืน
คงเหลือเพียง 8 - 10 เปอร์เซ็นต์ ทำ�ความสะอาดเหง้า ปอกเปลือกหรือขัดผิว
ภายนอกของเหง้า อตั ราการทำ�แห้ง ขม้ินสด : ขมิ้นแหง้ เทา่ กับ 4 : 1
การทำ�ขม้ินชันแห้งแบบชิ้น โดยหั่นหรือฝานขม้ินชันด้วยมีดหรือ
เครื่องห่ันหนาประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร เกลี่ยให้บางบนถาดหรือตะแกรง นำ�ไปอบ
โดยใช้เครื่องอบแห้งแบบอโุ มงคท์ อี่ ณุ หภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 - 12 ช่ัวโมง
หรือนำ�ไปตากแดด 3 วัน และอบท่ีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ช่ัวโมง
อัตราการท�ำ แหง้ ขม้นิ สด : ขมิน้ แห้ง เทา่ กบั 8 : 1

การทำ�ขม้ินชันผง โดยนำ�ขม้ินชันที่แห้งสนิทมาบดให้เป็นผงด้วย
เคร่ืองบดที่สะอาดหรือด้วยการตำ�แล้วร่อนเอาเฉพาะผงขม้ิน ขมิ้นแห้ง 1 กิโลกรัม
จะได้ขมน้ิ ผง 0.8 กิโลกรัม

การกล่ันนำ้�มันหอมระเหยขมิ้นชัน โดยห่ันขม้ินชันเป็นชิ้นบาง ๆ
ใสล่ งในหมอ้ กลนั่ ใช้วธิ ีการกลั่นดว้ ยนำ�้ และไอนำ้� (water and steam distillation)
ที่อุณหภูมิ 150 - 200 องศาเซลเซียส นาน 8 - 10 ช่ัวโมง อัตราการกลั่นนำ้�มัน
หอมระเหยขม้ินสด 1,000 กโิ ลกรัม ไดน้ ำ้�มนั ขมิ้นชนั 2 กิโลกรมั

4) การบรรจแุ ละการเก็บรกั ษา
บรรจุขมิ้นชันที่แหง้ แลว้ ในภาชนะทสี่ ะอาด แห้ง และปดิ ให้สนิท
เกบ็ ในทแ่ี หง้ สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ไมค่ วรวางวตั ถดุ บิ ขมน้ิ ชนั ใหส้ มั ผสั กบั พน้ื โดยตรง ควรเกบ็ ไวบ้ นชน้ั วาง
หรือยกพ้นื
น�ำ วัตถดุ ิบขมิน้ ชนั ออกมาผึ่งในท่ีรม่ ทกุ 3 - 4 เดือน
ไม่ควรเก็บวัตถุดิบขมิ้นชันไว้นาน เนื่องจากปริมาณน้ำ�มันหอมระเหย
จะลดลงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ เมอื่ เกบ็ ไว้นาน 2 ปี

18 กรมส่งเสริมการเกษตร

แนวทางการเพิ่มประสทิ ธิภาพการผลิต

1) การคัดเลือกหัวพันธ์ุ เป็นปัจจัยสำ�คัญท่ีมีผลต่อปริมาณและคุณภาพ
ผลผลิตขม้ินชัน โดยเฉพาะการลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากโรคเหี่ยว ซ่ึงเป็นปัญหา
สำ�คัญในการผลติ ขม้ินชัน โดยพิจารณาคดั เลือกหัวพันธุ์ ดังน้ี
พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรค และมีปริมาณสารสำ�คัญสูง
โดยมีปริมาณเคอร์คูมินอยด์ไม่ต่ำ�กว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และน้ำ�มันหอมระเหยไม่ตำ่�กว่า
6 เปอรเ์ ซ็นต์ ตามมาตรฐานของตำ�รับยาสมุนไพรไทย
หัวพันธ์ุที่มีอายุไม่น้อยกว่า 8 - 9 เดือน สมบูรณ์ มีความแกร่ง
ไมเ่ ล็กลบี ปราศจากโรคและแมลงเข้าทำ�ลาย และมีตามากกวา่ 2 - 5 ขึ้นไป
2) การทำ�แห้งขม้ินชัน มีข้อควรคำ�นึงในการปฏิบัติเพ่ือให้ได้วัตถุดิบขมิ้นชัน
คณุ ภาพดี ดงั น้ี
การตากผลผลิตขมิ้นชัน ต้องคลุมภาชนะด้วยผ้าขาวบาง เพ่ือป้องกัน
ฝุ่นละออง สัตว์เล้ียง และกันการปลิวของชิ้นส่วนขมิ้นชัน และวางภาชนะบนลานตาก
แบบยกพนื้ สงู
การเก็บรักษาวัตถุดิบขมิ้นชัน ในภาชนะท่ีสะอาด ป้องกันความชื้นได้
โดยวางบนยกพ้ืนหรือช้ันวางในท่ีมีอากาศถ่ายเทสะดวก ปลอดภัยจากการรบกวนของแมลง
และสัตว์ตา่ ง ๆ และน�ำ ออกตากแดด ทุก 3 - 4 เดือน

19การผลติ สมนุ ไพร Product Champion

ไพล

ไพล เปน็ พืชล้มลกุ ล�ำ ต้นใต้ดนิ เรยี กว่า เหงา้ เนอื้ สเี หลอื ง

และมีกล่ินหอมเฉพาะ เจริญเติบโตได้ดีในอากาศกึ่งร้อน ลักษณะดินที่เหมาะสม
ควรเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวปนทราย ระบายนำ้�ได้ดี ไม่มีนำ้�ขัง
ปลูกได้ท้ังในท่ีแจ้งและที่มีแดดรำ�ไร โดยปกติจะเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ
ประมาณเดือนพฤษภาคม

เทคนิคการปลกู และดูแลรกั ษาไพล



การเตรียมการก่อนปลกู

1) การเตรียมดนิ
ไถพรวนดิน กำ�จัดเศษวัสดุและวัชพืช และตากดินไว้ประมาณ
7 - 15 วนั
ดินท่ีมีอินทรียวัตถุน้อย ควรปลูกพืชตระกูลถั่วให้ได้ระยะออกดอก
จึงไถกลบดิน หรือปรับปรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายสมบูรณ์ดีแล้ว คลุกเคล้า
ให้เขา้ กนั อตั รา 1 - 2 ตันตอ่ ไร่
ใส่ปูนขาว เพ่ือปรับค่าความเป็นกรดด่างของดินให้มีค่าประมาณ
5.5 - 6.5

20 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

2) การเตรยี มพันธ์ุ
เลอื กหัวพันธุท์ มี่ อี ายุมากกว่า 1 ปี ไม่มโี รคและแมลงท�ำ ลาย
ล้างหัวพันธ์ุให้สะอาด ตัดเป็นท่อน ๆ มีตาสมบูรณ์ 3 - 5 ตา และ
ป้ายปูนแดงหรือปูนขาวท่ีรอยตัด หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเช้ือราก่อนปลูก
การเก็บรักษาหัวพันธ์ุ ทำ�ได้โดยวางผ่ึงไว้ในที่ร่ม สะอาด ปราศจาก
โรคแมลงและสัตว์ต่าง ๆ รบกวน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น พื้นที่ที่เก็บ
ต้องแห้งปราศจากความช้ืน และควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำ�จัดแมลง หรือ
สารปอ้ งกนั กำ�จัดเชอ้ื รากอ่ นนำ�ไปฝงั ทราย

การปลกู

1) วิธีปลกู
ขุดหลุมปลูกขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 25 x 25 x 15 เซนติเมตร
ใสป่ ๋ยุ คอกรองกน้ หลมุ หลุมละประมาณ 250 กรมั นำ�ดินกลบปุ๋ยหนา
ประมาณ 1 เซนตเิ มตร
วางเหง้าลงในหลุมปลูก กลบดินใหม้ ิด หนาประมาณ 2 - 3 เซนตเิ มตร
คลุมดว้ ยฟางหรือใบหญา้ คาตากแหง้ หนาประมาณ 2 นิว้ รดน้�ำ ทนั ที

2) ระยะปลกู
ระยะชิด : ระยะระหว่าง
ต้นและระหว่างแถว 25 x 27 เซนติเมตร
เหมาะส�ำ หรบั แหลง่ ปลกู ทม่ี สี ภาพความชน้ื ต�่ำ
ดินไม่สมบูรณ์ และหัวพนั ธไ์ุ มเ่ พียงพอ
ระยะห่าง : ระยะปลูก
60 x 60 เซนติเมตร หรอื 50 x 50 เซนติเมตร
เหมาะสำ�หรับแหล่งปลูกที่มีสภาพความชื้น
เพียงพอและดินอดุ มสมบูรณ์

21การผลิตสมุนไพร Product Champion

การดแู ลรกั ษา

1) การใส่ปุ๋ย : ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 500 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่พร้อม
กับการถอนวัชพืชและพรวนดิน หลังการปลูกประมาณ 1 เดือน และหลังการปลูก
ประมาณ 3 - 4 เดือน

2) การให้น้ำ� : ระยะแรกต้องรดนำ้�อย่างสม่ำ�เสมอจนกว่าพืชจะต้ังตัวได้
จากน้ันควรให้นำ้�อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในพ้ืนท่ีแห้งแล้ง ส่วนพ้ืนที่ที่อาศัย
นำ้�ฝนจากธรรมชาตจิ ะไม่มกี ารรดน้�ำ

โรคและศตั รพู ืชท่สี ำ�คญั

1) วชั พชื ก�ำ จดั โดยการถอนวชั พืชออกจากแปลง ดงั นี้
ปที ี่ 1 ก�ำ จัดวัชพืช 2 คร้ัง
ปีท่ี 2 กำ�จัดวัชพืช 1 ครั้ง เน่ืองจากไพลจะคลุมพ้ืนท่ีระหว่างต้นและ
แถวจนเตม็
ปที ี่ 3 ไม่ต้องกำ�จัดวัชพืช และปล่อยให้แห้งตายไปพร้อมกับต้นไพลท่ีฟุบ

2) โรค : โรคเห่ียว เกิดจากเช้ือแบคทีเรีย ทำ�ให้ต้นมีอาการใบเหลือง
ต้นเห่ียวและหวั เนา่ ตายในทสี่ ุด การป้องกนั ก�ำ จดั ทำ�ไดด้ ังนี้
ใชห้ วั พนั ธทุ์ ่ปี ลอดโรค หรือจากแหล่งทไี่ ม่มกี ารระบาดของโรค
ควรจะมีการไถตากดินก่อนปลูก และโรยด้วยปูนขาวปรับสภาพความ
เปน็ กรดและด่างของดนิ ให้ได้ 5.5 - 6.5
ไม่ควรปลูกไพลซ้ำ�ในปีถัดไป และควรปลูกพืชหมุนเวียนท่ีไม่เป็นพืช
อาศัยของโรค ก่อนการปลกู ในฤดูถดั ไป
พ้ืนที่ท่ีมีการระบาดของโรคให้ทำ�การอบดินฆ่าเช้ือก่อนปลูก โดยการ
ใช้ยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80 : 100 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกเคล้าดินท่ีไถพรวนแล้ว
และใช้แผ่นพลาสตกิ สีดำ�คลุมทิ้งไวป้ ระมาณ 3 สปั ดาห์ กอ่ นปลูกพชื
ควรปลกู ในพนื้ ทที่ ี่มีการระบายน้ำ�ดี ไม่มีนำ้�ทว่ มขัง
ต้นท่ีเป็นโรคให้ขุดใส่ถุงและนำ�ไปเผาทำ�ลายท้ิง และโรยปูนขาว
รอบหลุมปลกู ท่ีท�ำ การขดุ
รองเท้าที่ใส่ในแปลง ควรมีกระบะหรืออ่างท่ีใส่น้ำ�ยาฆ่าเช้ือไว้สำ�หรับ
จุ่มหรือแช่ก่อนเดินเข้าแปลงและเคร่ืองมือทางการเกษตร ก่อนและหลังจากใช้แล้ว
ให้แชน่ ำ้�ยาฆ่าเชื้อ
3) แมลง : ไพลมีกล่ินเฉพาะตัวท่ีไลแ่ มลง จึงไมค่ อ่ ยมีแมลงศัตรพู ืชรบกวน

22 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

การปฏิบัติกอ่ นและหลงั การเก็บเกยี่ ว

1) ระยะเวลาเก็บเก่ียว : เก็บในช่วงฤดูแล้ง โดยระยะเวลาการเก็บเกี่ยว
ท่เี หมาะสมขนึ้ อยกู่ บั วัตถุประสงคใ์ นการน�ำ ไปใช้ ดังน้ี
การนำ�ไพลมาใช้เพ่ือสกัดน้ำ�มัน เก็บไพลเม่ือมีอายุได้ประมาณ 2 ปี
นับต้ังแต่เริ่มปลูกจนถึงวันที่เก็บเก่ียว โดยเก็บหัวไพลเมื่อต้นไพลแห้งและฟุบลงกับพ้ืน
ห้ามเก็บหัวไพลขณะท่ีเริ่มแตกหน่อใหม่ เพราะน้ำ�มันที่ได้จะมีปริมาณและคุณภาพตำ่�
การนำ�ไพลมาใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบประกอบเคร่ืองยา เครื่องสำ�อาง และ
ส่วนผสมในลกู ประคบ เก็บเกยี่ วไพลเมือ่ มอี ายุ 8 เดือนถึง 1 ปี และต้นไพลแหง้ ฟุบตัว

2) วิธกี ารเกบ็ เก่ียว : ขดุ เหงา้ ไพลโดยใชจ้ อบ เสยี ม ระวงั ไม่ให้เกดิ บาดแผล
หรือรอยชำ้� เขย่าดินออกจากเหง้าตัดรากโดยรอบออกให้หมด และผึ่งลมให้แห้ง
เกบ็ ผลผลิตบรรจุในถงุ ตาขา่ ยในที่ทมี่ ีอากาศถา่ ยเทดี

3) การแปรรูปหลงั การเกบ็ เก่ยี ว
ไพลแห้ง : โดยนำ�เหง้าไพล

ไปล้างผ่านนำ้�ท่ีสะอาดประมาณ 2 - 3 คร้ัง
แล้วห่ันเป็นช้ินบาง ๆ ใส่ถาดหรือกระด้ง
นำ�ไปตากแดดบนช้ันท่ีแข็งแรง มีความสูง
จากพ้ืนประมาณ 60 - 70 เซนติเมตร
ประมาณ 6 วนั ส�ำ หรบั การอบไพลใชอ้ ณุ หภมู ิ
55 องศาเซลเซียส นาน 48 ช่ัวโมง หรือ
อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลา
8 ชวั่ โมงแรก และลดอณุ หภมู ิลงที่ 40 - 45
องศาเซลเซยี ส หมนั่ กลับไพลบ่อย ๆ จนแหง้
ความชน้ื ไมเ่ กนิ รอ้ ยละ 11 อตั ราสว่ น ไพลสด : ไพลแหง้ เทา่ กบั 5 - 6 กโิ ลกรมั : 1 กโิ ลกรมั

ไพลผง : นำ�ไพลแหง้ มาบดใหล้ ะเอียดโดยการตำ�หรอื ดว้ ยเคร่ืองบดผง
และร่อนเอาเฉพาะผงไพล บรรจุในถุงสะอาด ซ่ึงการเก็บในรูปไพลผง สามารถคง
ประสิทธิภาพได้ดีกว่าของเหลว อัตราส่วน ไพลแห้ง : ไพลผง เท่ากับ 1 กิโลกรัม :
0.95 กิโลกรมั

น้ำ�มันไพล : ใช้ไพลสดสกัดนำ้�มันโดยวิธีการกลั่นแบบไอน้ำ� หลังจาก
เกบ็ หวั ไพลมาจากแปลง ไมค่ วรทง้ิ ไวน้ าน เพราะจะท�ำ ใหป้ รมิ าณน�ำ้ มนั หอมระเหยลดลง
ตามระยะเวลา ควรรีบสกัดน้ำ�มันไพลภายใน 2 - 3 เดือนหลังจากเก็บมาจากแปลง
อตั ราส่วน ไพลสด : น้�ำ มันไพล เทา่ กบั 1 ตัน : 8 - 10 ลิตร

23การผลิตสมนุ ไพร Product Champion

4) การเก็บรักษา : นำ�ไพลที่แห้งสนิทบรรจุถุงพลาสติกใส 2 ชั้น ปิดปาก
ให้สนิท เขียนฉลากปิดถุงให้เรียบร้อย นำ�มาเก็บในห้องท่ีสะอาด เย็น ไม่อับช้ืน
อากาศถ่ายเทได้ดี ป้องกันแสงแดดมากระทบ ดูแลไม่ให้มีเชื้อราหรือแมลงเข้า
ทำ�ลาย หากพบให้คัดแยกออกและทำ�ลายทิ้ง ไพลแห้งท่ีจัดเก็บไว้นานเกิน 3 เดือน
ควรนำ�มาผ่ึงในท่ีร่มหรืออบใหม่อีกครั้ง เพ่ือไม่ให้มีความช้ืนและแมลงรบกวน
และไม่ควรเก็บรักษาเกิน 1 ปี เพราะจะทำ�ให้น้ำ�มันหอมระเหยในไพลลดลงถึง
25 เปอรเ์ ซน็ ต์

แนวทางการเพ่มิ ประสิทธภิ าพการผลิต

1) การคัดเลือกหัวพันธ์ุ เป็นปัจจัยสำ�คัญท่ีมีผลต่อปริมาณและคุณภาพ
ผลผลติ ไพล โดยพิจารณาคัดเลอื กหวั พันธุ์ ดงั น้ี
- เป็นพันธุ์ที่ถูกต้องตรงตามความต้องการปลูก เน่ืองจากพันธ์ุไพล
มีหลายชนิดและมีช่ือเรียกตามท้องถ่ินที่แตกต่างกัน พันธุ์ไพลที่นิยมปลูกเพื่อผลิต
เชิงการค้า ได้แก่ พันธ์ุหยวกเป็นพันธ์ุท่ีนิยมปลูกทั่วไปให้ปริมาณผลผลิต 7 - 8 ตันต่อไร่
และให้ปริมาณน้ำ�มัน 5 - 6 ลิตรต่อผลผลิต 1 ตัน และพันธ์ุพื้นเมืองเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิต
น้อยกว่าพันธุ์หยวก แต่ให้ปริมาณน้ำ�มันไพลมากกว่าพันธุ์หยวก โดยให้ผลผลิต 4 - 5
ตันต่อไร่ และผลผลติ 1 ตัน ให้ปรมิ าณน้ำ�มนั 7 - 8 ลิตร
- เลือกหัวพันธุ์ท่ีมีอายุมากกว่า 1 ปี มีตาสมบูรณ์ มาจากแหล่งผลิต
ที่ไมม่ โี รคเหีย่ วซ่ึงเป็นโรคทสี่ �ำ คญั ของไพล
2) การท�ำ แห้งไพล มขี ้อควรค�ำ นึงในการปฏบิ ตั ิเพื่อให้ไดว้ ัตถดุ บิ ไพลคณุ ภาพดี
ดงั น้ี
- การตากผลผลิตไพล ต้องคลุมภาชนะด้วยผ้าขาวบาง เพ่ือป้องกัน
ฝุ่นละออง สัตว์เล้ียง และกันการปลิวของชิ้นส่วนไพล และวางภาชนะบนลานตาก
แบบยกพื้นสูง
- การเก็บรักษาวัตถุดิบไพลในภาชนะที่สะอาด ป้องกันความช้ืนได้
โดยวางบนยกพื้นหรือช้ันวาง ในท่ีมีอากาศถ่ายเทสะดวกปลอดภัยจากการรบกวนของ
แมลงและสตั วต์ า่ ง ๆ และน�ำ ออกตากแดด ทุก 3 เดอื น

24 กรมส่งเสริมการเกษตร

ฟ้าทะลายโจร

ฟา้ ทะลายโจร เ ป็ น พื ช ล้ ม ลุ ก ที่ ช อ บ อ า ก า ศ ร้ อ น ชื้ น
พบมากในประเทศจีน อินเดีย และไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดี
ในดินร่วนซุย ระบายนำ้�ดี ชอบแดดปานกลาง หากแดดร่มไปจะโตช้า ถ้าแดดจัด
เกินไปจะทำ�ให้ใบเล็กและเป็นสีม่วง ต้นสูงประมาณ 30 - 70 เซนติเมตร
ควรปลูกในหน้าฝนเพราะเมล็ดจะงอกดีมาก ถ้าปลูกหน้าแล้งต้นจะเล็กไม่ค่อยมีใบ

เทคนคิ การปลกู และดแู ลรกั ษาฟ้าทะลายโจร

การเตรียมการก่อนปลูก

1) การเตรยี มดนิ
ขุดหรอื ไถพรวนเพื่อให้ดินรว่ นซุย
หากวัชพืชมีไม่มากให้ทำ�การไถพรวนคร้ังเดียว ถ้ามีมากให้ไถพรวน
2 คร้ัง คือ ไถดะ เปิดหน้าดินและตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงไถแปร
ปรับปรุงดินด้วยปยุ๋ อินทรยี ์ หรอื ปยุ๋ คอก หรอื ปุ๋ยหมัก

2) การเตรียมพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้เมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดต้องมีสีน้ำ�ตาลแดง
ลกั ษณะสมบรู ณป์ ราศจากโรคและแมลง
เน่ืองจากเมล็ดมีเปลือกแข็ง ก่อนปลูกแช่เมล็ดในนำ้�ที่อุณหภูมิห้อง
ประมาณ 6 - 12 ชวั่ โมง เพอ่ื ใหน้ �ำ้ ซมึ ผ่านเมล็ดและเมล็ดสามารถงอกได้

25การผลิตสมุนไพร Product Champion

การปลูก

ฟ้าทะลายโจรสามารถปลกู ไดห้ ลายวิธี ดงั นี้
1) วิธีหว่านเมล็ด : นำ�เมล็ดมาผสมทรายหยาบ อัตรา 1 : 1 - 2

แลว้ ท�ำ การหวา่ นในแปลง
2) วิธีโรยเมล็ดเป็นแถว : ขุดร่องตื้น ๆ เป็นแถวยาวระยะห่างระหว่างแถว

ประมาณ 40 เซนติเมตร โรยเมล็ดแล้วกลบดนิ บาง ๆ
3) วิธีเพาะกล้า : โดยการนำ�เมล็ดเพาะในวัสดุปลูกที่สะอาด (มูลวัวแห้ง

ผสมแกลบด�ำ ) ประมาณ 7 วนั ตน้ กลา้ จะทยอยงอก ควรคดั ขนาดตน้ กลา้ ใหเ้ ทา่ ๆ กนั
และไม่ควรใช้ตน้ กลา้ ท่ีอายเุ กิน 30 วนั (ต้นกลา้ มใี บ 6 ใบ) จากนนั้ นำ�ตน้ กล้าไปปลูก
ในหลุมกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 8 - 12 เซนติเมตร เป็นแถว
ระยะห่างระหว่างต้น 20 - 30 เซนติเมตร และระหว่างแถว 40 เซนติเมตร
โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เพราะการปลูกระยะชิดจะช่วยรักษาความชื้นในดิน
ได้นานขึ้น ในช่วงฤดูฝนอาจเพิ่มระยะระหว่างแถวเป็น 60 เซนติเมตร ซึ่งการปลูก
วิธีนจ้ี ะเปน็ การลดต้นทนุ คา่ เมล็ดพนั ธุ์ และจะไดต้ ้นท่สี มำ่�เสมอ

4) วิธีปักชำ� : ตัดกิ่งที่แข็งแรงยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เด็ดใบออก
ทั้งหมดแช่น้ำ�ยาเร่งรากเป็นเวลา 10 นาที ผึ่งให้แห้ง นำ�มาปักชำ�ในกระบะเพาะให้มี
ระยะห่าง 15 x 15 เซนติเมตร รดนำ้�ให้ชุ่ม รักษาความชุ่มชื้นและพรางแสงด้วย
ซาแรนสดี �ำ ประมาณ 1 สปั ดาห์ เมอ่ื มกี ารแตกใบและรากงอกแลว้ จงึ ยา้ ยลงปลกู ในแปลง

การดูแลรกั ษา

1) การคลุมแปลง : โดยเฉพาะพื้นท่ีปลูกเป็นท่ีโล่งแจ้ง ลมพัดแรงจัด
แดดจัด ฝนตกชุก ควรคลุมแปลงด้วยฟางหรือใบหญ้าคาบาง ๆ เพ่ือลดการชะล้าง
ของน�้ำ ความช้นื ทำ�ให้เมล็ดงอกได้เรว็ ขึ้น

2) การปลูกซ่อม : หลังจากปลูกแล้วประมาณ 7 - 15 วัน ถ้าพบว่า
ตน้ กล้าทีป่ ลูกตายหรือไมง่ อกควรปลกู ซอ่ มทนั ที

3) การถอนแยก : หลังจากปลูกแล้วประมาณ 30 - 45 วัน ถ้าพบว่า
ตน้ กลา้ ทข่ี ึ้นแน่นมากเกนิ ไป ให้ท�ำ การถอนแยกไปปลกู ในแปลงอื่น

4) การใส่ปุ๋ย : เม่ือลงปลูกใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยปริมาณการใส่
ข้นึ อย่กู ับคุณภาพของดิน หลังปลูก 60 วัน ใส่ป๋ยุ อินทรีย์ 480 - 640 กิโลกรัมต่อไร่
และหลงั ปลกู 90 - 110 วัน ใสป่ ยุ๋ อินทรยี ์ 480 - 800 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่
5) การให้นำ้� : ระยะ 30 - 60 วันแรกหลังจากปลูก ถ้าแดดจัดควรให้นำ้�
วนั ละ 2 ครั้ง เช้า เยน็ ถ้าแดดไม่จดั ควรใหน้ ำ้�วันละคร้งั หลงั จากอายุ 60 วนั ไปแลว้
อาจใหน้ ำ้�วนั เว้นวันกไ็ ด้ หรือใหต้ ามความเหมาะสมตามสภาพพ้นื ท่ีและสภาพอากาศ

26 กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคและศัตรูพชื ทีส่ ำ�คัญ

1) วัชพืช : ควรกำ�จัดโดยการถอน โดยเฉพาะในระยะแรกปลูกถึง 2 เดือน
ก�ำ จดั วชั พืชทกุ ครง่ึ เดือนจนกระทั่งฟ้าทะลายโจรเจรญิ คลมุ แปลง
2) โรค : ไม่พบโรคท่ีทำ�ความเสียหายรุนแรงเพียงแต่ทำ�ความเสียหาย
เล็กน้อย ได้แก่ โรคโคนเน่าและรากเน่าจากเชื้อรา หากพบให้ถอนทำ�ลายทันที
โรคแอนเทรคโนสพบตรงกลางหรอื ปลายใบ หากพบให้ตดั ส่วนท่เี ป็นโรคทิ้ง
3) แมลง : ไม่พบแมลงชนดิ ใดทีท่ �ำ ความเสยี หายรนุ แรง

การปฏิบตั ิก่อนและหลังการเกบ็ เกยี่ ว

เก็บเก่ียวในช่วงท่ีพืชออกดอกต้ังแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน
50 เปอร์เซ็นต์ เป็นช่วงที่มีสารสำ�คัญสูง โดยพบมากท่ีส่วนยอดและใบ วิธีการ
เก็บเก่ียวให้ตัดทั้งต้นให้เหลือตอสูงประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เพ่ือให้เจริญ
ให้ผลผลิตตอ่ ไป ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดอื น จงึ สามารถเก็บเกยี่ วไดอ้ กี ครั้ง
การปฏิบัติหลังการเก็บเก่ียวนำ�ไปคัดแยกส่ิงปนปลอม เช่น วัชพืช
ทป่ี ะปนมาและลา้ งใหส้ ะอาด ตดั เปน็ ทอ่ น ๆ ยาวประมาณ 3 - 5 เซนตเิ มตร ผง่ึ ใหแ้ หง้
ทำ�แห้งโดย ตากแดดบนลานตาก ยกพ้นื มีวัสดุรองรับท่สี ะอาด หรือใช้เคร่อื งอบแห้ง
แบบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสใน 8 ชั่วโมงแรก และลดอุณหภูมิเหลือ
40 - 45 องศาเซลเซยี ส อบต่อจนแห้งสนิท

แนวทางการเพิ่มประสทิ ธภิ าพการผลิต

1) การเกบ็ เกย่ี วให้ไดส้ ารส�ำ คญั ออกฤทธสิ์ ูงสุด
- การเก็บผลผลิตฟ้าทะลายโจรแบบแยกส่วน ได้แก่ ตัดส่วนยอด 25 เซนติเมตร
ในระยะออกดอก 25 - 75 เปอร์เซ็นต์ จะได้สารสำ�คัญออกฤทธิ์สูงสุด และตัดส่วนท่ีเหลือ
เหนือดิน หา่ งโคนต้น 4 ข้อ แยกผลผลติ จ�ำ หน่ายตามคณุ ภาพ
- เก็บเกี่ยวถูกระยะโดยเป็นระยะเร่ิมออกดอกถึงออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์
ที่ฟ้าทะลายโจร มีใบมาก ใบฟ้าทะลายโจรจะมีปริมาณสารสำ�คัญสูงกว่าก่ิงก้าน และไม่ควร
นับอายุการเก็บเก่ียว (110 - 150 วัน) เพียงอย่างเดียว เนื่องจากในแต่ละช่วงการผลิตอายุ
การออกดอกอาจจะแตกต่างกัน หากเก็บเก่ียวช้าในระยะท่ีติดเมล็ดแล้ว ใบจะลดลงเหลือ
แตก่ ิง่ กา้ น ทำ�ให้มีปรมิ าณสารส�ำ คัญต�ำ่
2) การปลกู แบบเพาะกล้าและกำ�หนดระยะปลูกเพื่อให้ได้ปรมิ าณผลผลิตสูงสุด
- ปลกู ช่วงฤดแู ลง้ ใหป้ ลูกระยะ 30 x 40 เซนตเิ มตร หรือประมาณ 13,333 ตน้ ต่อไร่
- ปลูกในช่วงฤดฝู น ให้ปลูกระยะ 30 x 60 เซนติเมตร หรอื ประมาณ 8,888 ตน้ ต่อไร่
3) การใหน้ ำ�้ เพอ่ื ใหผ้ ลผลิตและสารส�ำ คัญสูงสดุ
- การปลูกฟ้าทะลายโจร จำ�เป็นต้องได้รับนำ้�ปริมาณท่ีพอเพียงและสม่ำ�เสมอ
ต้งั แตป่ ลูกถงึ เกบ็ เก่ียว

27การผลติ สมุนไพร Product Champion

วา่ นหางจระเข้

วา่ นหางจระเข้
เป็นพืชล้มลุก ลำ�ต้นสั้น ใบหนา อวบน้ำ�
ภายในมีวุ้นและเมือกมาก ปลายใบแหลม ริมใบหยักและมีหนาม ปลูกได้ดีในดิน
ปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ทนดินเค็ม เป็นพืชที่ต้องการนำ้�มาก แต่ดินต้อง
ระบายน�้ำ ไดด้ ี ชอบแดดปานกลางถงึ รำ�ไร

เทคนคิ การปลูกและดูแลรักษาว่านหางจระเข้



การเตรียมการก่อนปลกู

1) การเตรยี มดิน
ควรเป็นดินปนทราย คล้ายดินลูกรังมีความโปร่งในดินพอสมควร พื้นท่ี
ระบายน้ำ�ได้ดี เป็นที่ที่ไม่มีร่มเงา ไถพลิกดินตากแดดไว้ ประมาณ 2 สัปดาห์
แล้วยกร่องสูงประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร กว้าง 1.30 เมตร ระยะห่าง
ระหวา่ งแถว 50 เซนติเมตร
2) การเตรยี มพันธุ์
พันธ์ุท่ีนิยมปลูกและใช้เพ่ือการแปรรูปทางอุตสาหกรรม คือ พันธ์ุ
Aloe Barbadensis Mill
การขยายพนั ธว์ุ า่ นหางจระเขส้ ามารถท�ำ ไดห้ ลายวธิ ี เชน่ การแยกหนอ่
การตัดเหง้า การปักชำ�ยอด และการเพาะเล้ียงเน้ือเย่ือ แต่วิธีท่ีเป็นที่นิยมและ
สะดวกท่ีสุด คือ การขยายพันธ์ุด้วยวิธกี ารแยกหนอ่

28 กรมส่งเสริมการเกษตร

ใช้หน่อของว่านหางจระเข้ จากต้นแม่ที่มีความสูงประมาณ
20 เซนติเมตร ใช้มีดตัดออกจากต้นและวางไว้ในที่ร่มเย็น 7 - 10 วัน จนกว่า
รอยตัดแห้งไปโดยธรรมชาตแิ ลว้ จึงน�ำ ไปปลูก

การปลกู

1) วิธีปลูก : ขุดหลุมลึกประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร ใส่ใบไม้แห้ง
หรือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเล็กน้อย นำ�ต้นพันธุ์ลงปลูกกลบดินเสมอโคนต้น เสร็จแล้ว
ใหก้ ลบดนิ บาง ๆ แล้วกลบอีกช้ันใหแ้ น่นพออยู่ตัว

2) ระยะปลกู : ระยะระหวางตน และระยะระหวางแถว 50 x 70 เซนติเมตร
3) จ�ำ นวนต้นตอ่ ไร่ : 4,000 - 5,000 ต้น

การดแู ลรักษา

1) การใส่ปยุ๋
ปุ๋ยที่ใช้กับต้นว่านหางจระเข้ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ส่วนระยะ
การให้ปุ๋ย ให้พิจารณาดูจากความเจริญเติบโตของต้นว่านหางจระเข้ อย่าให้ปุ๋ย
มากเกินไป ต้นว่านหางจระเข้จะเน่าได้ ควรใส่ปุ๋ยคอกเดือนละคร้ัง ปริมาณไร่ละ
1 - 1.5 ตันต่อปี ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 30 - 5 - 5 แบ่งใส่ 2 เดือนต่อครั้ง
อัตรา 60 กิโลกรัมตอ่ ไรต่ อ่ ปี

2) การใหน้ ้ำ�
หน้าฝนไม่จำ�เป็นต้องรดนำ้� ถ้าหน้าแล้งควรรดวันละ 1 - 2 คร้ัง
ให้ดินชุ่มช้ืนอยู่เสมอ แต่ต้องระวังอย่ารดจนดินแฉะเกินไป ควรให้นำ้�แบบเป็นฝอย
กระจายสม่ำ�เสมอและพอเพียง ห้ามให้น้ำ�โดยวิธีรดหรือเทราดอย่างเด็ดขาด
เนื่องจากน้ำ�จะเข้าไปขังอยู่ภายในบริเวณโคนกาบใบ เมื่อถูกแสงแดดเผาร้อนจัด
จะทำ�ให้รอ้ นลวกใบวา่ น ใบจะเนา่ และตน้ ตาย

โรคและศตั รพู ชื ทส่ี ำ�คัญ

โรคที่พบในว่านหางจระเข้ : โรคโคนเน่าจากเช้ือรา มีสาเหตุสำ�คัญมาจาก
ปัญหาน้ำ�ท่วมขัง การให้น้ำ�ในปริมาณมากหรือการปลูกซำ้�ในที่เดิมหลาย ๆ คร้ัง
ท�ำ ใหเ้ กิดการสะสมของเชื้อโรค

29การผลิตสมนุ ไพร Product Champion

การปฏบิ ัตกิ ่อนและหลงั การเกบ็ เก่ียว

1) การเก็บเกี่ยว : จากเร่ิมปลูกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
ใช้เวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวคร้ังแรก ประมาณ 6 - 8 เดือน จากนั้นสามารถเก็บ
ผลผลิตไดปละ 8 คร้ัง ซึ่งว่านหางจระเข้ส่วนใหญ่จะมีอายุการให้ผลผลิตเฉลี่ย
ประมาณ 4 - 5 ปี

2) วิธีเก็บเก่ียว : ตัดใบตามท่ีโรงงานกำ�หนด ต้นละ 2 - 5 ใบต่อคร้ัง
เก็บใบลางขึ้นไป โดยสังเกตเน้ือวุนที่โคนใบดานในเต็ม และลายท่ีใบลบหมดแลว
ระวังอยาใหใบวานช้ํา เกณฑ์การรับซ้ือว่านหางจระเข้เพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม
กำ�หนดท่ีนำ้�หนักอายุและลักษณะ คือ ใบว่านต้องมีน้ำ�หนักตั้งแต่ 0.5 กิโลกรัม
มีอายุต้ังแต่ 8 เดือน - 1 ปีข้ึนไป มีลำ�ต้นอวบใหญ่ใบกว้าง ต้ังแต่ 2 เซนติเมตร
ขอบใบมีหนามแหลมสด ใบเขยี วสด แนน่ ไม่ช�ำ้ ไม่มบี าดแผล

3) การปฏิบัติหลังเก็บเก่ียว : โดยทั่วไปหลังจากท่ีตัดใบว่านหางจระเข้แล้ว
จะนำ�ส่งโรงงานทันที แต่ถ้ายังไม่ส่งให้นำ�ใบว่านหางจระเข้มาต้ังเฉียง ๆ จะสามารถ
เก็บได้ประมาณ 1 อาทิตย์ และเมื่อจะนำ�ไปส่งโรงงานก็ให้ใช้มีดตัดโคนและปลาย
ของใบว่านหางจระเขก้ อ่ นน�ำ ส่ง

แนวทางการเพิม่ ประสิทธภิ าพการผลติ

1) ช่วงเวลาเก็บเก่ียวท่ีเหมาะสม คือ เวลาสายหรือเย็น ถ้าเก็บช่วงเช้าจะมี
ความชนื้ คา้ งอยูร่ ะหว่างบรรทุกใบว่านหางจระเขส้ ง่ โรงงานอาจจะทำ�ใหใ้ บเน่าได้
2) สภาพพื้นท่ีปลูกต้องมีการจัดการระบายน้ำ�ดี สภาพนำ้�ขังหรือการให้ปุ๋ย
มากเกินไป ทำ�ให้ใบและต้นเน่าดินแข็งไม่ร่วนหรือการขาดปุ๋ย หรือขาดการปรับปรุงดิน
จะทำ�ใหต้ น้ เจริญเตบิ โตช้า และหากมแี สงมากเกินไปใบจะเปน็ สีนำ�้ ตาลอมแดงไมไ่ ดค้ ณุ ภาพ
3) การไว้หน่อเพื่อทำ�พันธ์ุ ไม่ควรเกิน 2 หน่อต่อต้น และให้ไว้หน่อที่อยู่ด้าน
ตรงกันข้ามไม่ควรไว้หน่อที่อยใู่ กล้กนั การไว้หนอ่ มากจะทำ�ให้ตน้ แมม่ ีการเจริญเตบิ โตช้า

30 กรมส่งเสริมการเกษตร

คำ�แนะน�ำ ท่ี 8 / 2564

การผลติ สมนุ ไพร Product Champion

ทป่ี รกึ ษา
นายเขม้ แข็ง ยุติธรรมด�ำ รง อธบิ ดีกรมส่งเสริมการเกษตร
นางกลุ ฤดี พัฒนะอมิ่ รองอธิบดกี รมสง่ เสรมิ การเกษตร
นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสรมิ การเกษตร
นายวุฒิชยั ชิณวงศ ์ ผู้อ�ำ นวยการสำ�นักพฒั นาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
นางมาลนิ ี ยวุ นานนท ์ ผู้อำ�นวยการส�ำ นักส่งเสริมและจัดการสินคา้ เกษตร

เรยี บเรียง

กล่มุ สง่ เสริมพืชสมนุ ไพรและเครอื่ งเทศ
ส�ำ นกั สง่ เสริมและจดั การสินค้าเกษตร กรมสง่ เสริมการเกษตร

บรรณาธกิ าร

นางสาวพนิดา ธรรมสรุ กั ษ์ ผอู้ �ำ นวยการกลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสรมิ การเกษตร
นางสาวอำ�ไพพงษ์ เกาะเทยี น นักวชิ าการเผยแพรช่ �ำ นาญการ
กลมุ่ พฒั นาสอ่ื ส่งเสรมิ การเกษตร
สำ�นักพัฒนาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร

ออกแบบ นายชา่ งพมิ พ์ชำ�นาญงาน
นายศราวุฒ ิ นุ้นยอ้ ย
นางสาวปิยะดา นานะ ช่างพิมพ์
กลมุ่ โรงพิมพ์
สำ�นกั พัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลย ี กรมส่งเสรมิ การเกษตร

จัดพิมพ์

กลุม่ โรงพมิ พ ์ สำ�นกั พัฒนาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี กรมสง่ เสริมการเกษตร

กกรรมะทสร่งวเสงรเกมิ ษกตารรเแกลษะตสรหกรณ์


Click to View FlipBook Version