The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

77 ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

77 ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วไทย

77 ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วไทย

Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น

142

จ.ปราจีนบุรี

: เส่อื กกบ้านบางพลวง

ประวัติความเป็นมา

แต่เดิมชาวบ้านนำกกมาจักเป็นเส้นแล้วทอเป็นเสื่อใช้ในครัวเรือนต่อมาได้ทำขึ้นเพื่อจำหน่ายออกไป
ยังท้องท่ี ต่างๆ เป็นอาชีพเสริมรองจากอาชีพเกษตรกรรม ภายหลังเห็นว่าการทอเสื่อขายอย่างเดียวมีมูลค่า
นอ้ ย ดังนั้นเพ่อื เป็นการเพ่ิมมูลค่าให้แก่ต้นกกและเส่ือกก จงึ รเิ รม่ิ นำเส้นกกไปย้อมเป็นสีและนำมาแปรรูปเป็น
ของใช้และของตกแต่งบ้าน เช่น ชุดเฟอนิเจอร์ กระเป๋าถือสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี กล่องเอนกประสงค์ ตะกร้า
ของขวญั จดั ชดุ ของฝากของขวัญ หมอนองิ เปน็ ต้น เพอ่ื ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเน่ืองและย่ังยนื สามารถแข่งขัน
ในตลาดการค้า พร้อมสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น จึงมีการร่วมกนั จดั ต้ัง “กลุ่มแปรรูปผลิตภณั ฑ์จากกกและเส่อื
กก” อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี มีคุณสมบัติ คือ ผลิตจากเส้นกกต้นกลมท้องถิ่นที่เรียกว่า “กก”
กระจดู มคี วามยาวเหนยี ว ไม่เปอื่ ยง่ายและเสน้ กก ทมี่ ีคุณสมบตั ิยอมสีได้สวยงาม

รายละเอยี ดข้ันตอนและวธิ ีการของภมู ปิ ญั ญาท้องถ่ินด้านการเกษตร

การปลกู
1. เตรียมพื้นที่โดยไถคราด นำเหงากกหรือกกมีหน่ออ่อนรอกออกมาไปปลูกเหมือนต้นข้าว กกอายุ 1-2
เดอื น
2. การปาดเกี่ยวกกหลังการปลูก 3-4 เดือน กกจะยาวพอปาดได้ สังเกตจากดอกสีน้ำตาลการปาดใช้มีด
ปาดตน้ ให้ตดิ พน้ื ดินมากทสี่ ุด
3. การตากกกเมื่อจักเรยี บร้อยแลว้ นำมาตากให้แหง้ ประมาณ 1 สปั ดาห์

143

การยอ้ มสี
1. กอ่ นยอ้ มสีจะเอาป๊ีบตัง้ บนเตาไฟ ใสน่ ้ำลงไปประมาณค่อนปีบ
2. ใส่สยี ้อมลงไปตามความต้องการ ต้มนำ้ ใหเ้ ดอื ดเอาเสน้ กกท่ีจะย้อมแชน่ ้ำใหน้ ิ่มก่อนทีจ่ ะนำลงย้อม
3. ต้มตอ่ ไปสกั ครูจ่ ึงตักเส้นออก
4. เอาไปแช่น้ำก่อนที่จะนำไปตากให้เส้นกกที่ย้อมสีแล้วแห้ง ถ้าไม่แช่น้ำหลังจากตากเส้นกกออกมาจาก
ปบี ต้มย้อมสีเส้นกกแบบไม่มว้ นเป็นเสน้ กลม
5. กกทีย่ อมสี แลว้ ต้องตากแดดจนเส้นกกแห้ง

144

การทอเส่ือกกและอุปกรณ์การทอ
1. ไมส้ ง่ กกหรือไม้พุ่งกก
2. ฟืม ใชส้ ำหรบั กระทบเสน้ กกเส้นกกให้แน่น
3. ม้ารองเอน็ ใชส้ ำหรับรองรบั เอ็นเสื่อทบี่ ังเสร็จแล้ว
4. ไม้ขัดเอน็ ใชส้ ำหรับขดั เอ็นเสื่อในบริเวณของหวั และท้ายของเอ็น
5. มา้ รองน่ังขณะทอเส่ือ ใช้สำหรับรองนงั่ ในขณะทอเส่ือ
6. ไม้ขงึ เอ็น ใช้สำหรับขงึ เอ็นทอเส่ือท้ังหัวและปลายเสื่อเป็นจำนวน 2 อนั
7. ตกุ๊ ตาหรอื ไม้ค้ำ ใชส้ ำหรบั รองรับไมข้ ึงเอ็น เพอ่ื ใหร้ ะดบั ของสงู กว่าพื้น
8. ไม้คาน ใช้จำนวน 2 อัน ใช้ผกู ตดิ ไมเ้ หลก็ ที่ฝังจมในพื้น
9. ไม้หลกั ใชส้ ำหรบั ฝังลงดนิ เพ่ือเป็นหลักยึดทีม่ ั่นคงใหก้ ับไม้ขงึ เอน็ ตรึงอยู่กับท่ี
10. ไมค้ ัดเสน้ ลอย มลี ักษณะกลมเท่าไม้พุ่งกก
11. เชือก
12. มีดใชส้ ำหรับตัดริมเสื่อให้เรยี บร้อย
การทอเสื่อนำกี่และฟืมทอนำเส้นที่ย้อมสีจนแห้งมาทอตามลายที่ต้องการ ทอเสร็จนำผ่ึงแดดให้แห้ง
การแปรรูปที่ได้มาแปรรูปเปน็ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ท่ตี อ้ งการ เชน่ รองเทา้ กระเปา๋ กล่องเอนกประสงค์ กระเป๋า กล่อง
ทิชชู เปน็ ตน้

145

รูปภาพประกอบภมู ิปญั ญาท้องถิ่นดา้ นการเกษตร

146

รายละเอียดผใู้ ห้ข้อมลู และผรู้ วบรวมข้อมลู ภูมิปญั ญาทอ้ งถน่ิ ด้านการเกษตร

ผู้ให้ข้อมูลภูมปิ ัญญา : นางสาวชุ่ม ยะประดิษฐ์ (กลุ่มวสิ าหกิจชุมชนแปรรูปเส่ือกกบ้านบางพลวง)
ท่อี ยู่ : 49 หม่ทู ่ี 1 ตำบลบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวดั ปราจนี บุรี โทรศัพท์ 081-434-8203
พกิ ดั แผนที่ : 47P X: 749434 Y: 1549008

https://goo.gl/maps/u4pPgchpG2iinMjy9

ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวสุมาลี บุญแยม้ ตำแหนง่ นกั วชิ าการส่งเสริมการเกษตร
หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอบา้ นสร้าง
โทรศัพท์ : 064-192-8399, 037-271-236

147

จ.ระยอง

: การปลูกผักกระชบั พ้ื นบ้าน

ประวัตคิ วามเป็นมา

ผกั กระชับ เป็นผักประจำถิน่ ของอำเภอแกลง แหล่งกำเนดิ พบทหี่ มทู่ ่ี 6 ตำบลทางเกวยี น (บ้าน
ทะเลน้อย) และที่ตำบลพังราด, ตำบลคลองปูน, ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ฤดูกาลของผัก
กระชับ จะเริ่มช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวนาปีแล้ว คือ ประมาณเดือนพฤศจิกายน นำ้ ในท้องนาแห้ง เมล็ดผักกระชับ
ทีร่ ่วงหล่น อยู่ในนาจะหลุดพ้นจากระยะพักตัว จะเรม่ิ งอกแทงราก และเกิดลำต้น (เปน็ ผกั ท่มี ีลักษณะคล้ายถั่วงอก
ต่างที่ใบมีสีเขียวอ่อน) ต้นผักกระชับสูงประมาณ 7-10 ซ.ม. มีใบเลี้ยง 2 ใบ ชาวนาจะเลือกเก็บมารับประทานเป็น
อาหารประเภทพืชผกั ชนดิ หนึ่ง ประกอบสำรับกับข้าว

ผักกระชบั เปน็ พชื ผกั ท่ีรบั ประทานไดท้ ้ังดิบและสุก ผกั กระชับจ้ิมน้ำพริกกะปิ มะขามเปียก เป็น
อาหารชั้นเยี่ยม ผักกระชับแกงส้มเป็นอาหารชนิดพิเศษของแขกผู้มาเยือน หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จแล้ว
นอกจากนั้นยังสามารถปรุงแต่งเป็นกับข้าวได้อีกหลายอย่าง ผักกระชับผัดน้ำมัน และอื่นๆ อาหารที่ใช้ผักกระชับ
เป็นสว่ นประกอบ จะมีกลน่ิ หอม ใหร้ สชาตทิ ี่อร่อย และเชญิ ชวนให้อยากบริโภค

ผักกระชับที่เจริญเติบโตเกินวัยที่จะเก็บมาเป็นอาหาร จะเติบโตเป็นต้นแก่ทำหน้าที่ผลิตเมล็ด
พนั ธ์ุ เพื่อการแพร่พนั ธตุ์ ่อไป

ผักกระชับเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อายุการเจริญเติบโต ตลอดชีวิตประมาณ 120-135 วัน ต้นแก่ท่ี
เจริญเติบโตสมบูรณ์ดี จะมีความสูงประมาณ 140-150 เซนตเิ มตร ต้นแกต่ ้นหน่ึงจะให้เมล็ดพันธ์ุประมาณ 200-
500 เมลด็

วงจรชีวิตของผักกระชับ หมุนเวียนอยู่ในท้องนาปีแล้วปีเล่า กล่าวคือ ต้นแก่เจริญเติบโตแตก
กิ่งก้านสาขา ประมาณ 3 เดือนแล้ว จึงออกดอก พัฒนาเป็นเมล็ดอ่อน-แก่ ใช้เวลาประมาณ 45 วัน ต่อจากนั้น ลำ
ต้นเหี่ยวแห้งเมล็ดร่วงหล่นอยู่ในท้องนา พอย่างเข้าฤดูฝนท้องนามีน้ำ ชาวนาจะไถดะ ไถแกล เพื่อเตรียมดินทำนา
ดำ เมล็ดผักกระชับจะถูกฝักกลบอยู่ในดินท้องนา ตลอดอายุของข้าวนาปี (เมล็ดผักกระชับที่แช่น้ำ และฝังดินใน
ท้องนา คือ ระยะฝังตัวของเมล็ดพืช) และเมื่อเวลาผ่านไป จนรวงข้าวแก่จนเป็นสีเหลืองทอง น้ำในนาแห้ง เมล็ด
ผักกระชับทฝ่ี งั อยู่ใตผ้ ิวดินจะเจริญเติบโต เป็นต้นอ่อนและชาวนาก็เลือกเก็บมารับประทานเปน็ พืชผักชนิดหน่ึง

จากผักท้องนา บริโภคภายในครัวเรือนของชาวนา สู่ตลาดท้องถิ่น ชาวตลาดอำเภอแกลงเร่ิม
บริโภคผักกระชับ เป็นยุคพัฒนาของชาวนาที่พยายามจำนำเมล็ดผักกระชับมาเพาะขาย นำมาซึ่งรายได้เสริมใน
ครอบครัวชองชาวนา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2504-2505 ชาวนาเริ่มเก็บเมล็ดของผักกระชับมาเพาะที่ปลักควาย (ปลัก
ควาย คือ ดินบริเวณที่นอนของควาย ลักษณะจะเป็นหลุมเป็นแอ่ง มีความกว้างประมาณ 4 เมตร รูปทรงกลม
ลักษณะของควายจะนอนด้ินและพลิกตัว ดนิ เปน็ แอ่ง จะมเี ลนดนิ และมีน้ำขังในฤดูฝน)

วิธีการเพาะแบบดั้งเดิม ชาวนาจะเก็บต้นแก่ผักกระชับมาทั้งต้น เพราะสะดวกรวดเร็ว นำมาแช่
น้ำที่ปลักควายไว้ เมล็ดก็จะร่วงหล่นจากต้น อยู่ในปลักควาย ลำต้นและกิ่งก้าน ชาวนาจะเก็บออกไป เพื่อความ
สะดวกในการทำร้านใหร้ ่มเงาตอนต้น เร่ิมงอก และเพือ่ ความสะดวกในขนั้ ตอนถอนต้นอ่อนไปบริโภค หรือจำหน่าย

ลกั ษณะการเกิดเป็นต้นอ่อน ทเี่ รยี กว่าผักกระชับ เร่มิ เมอ่ื น้ำปลักควายแห้งเมล็ดจะแทงราก และ
เกิดเป็นลำต้น เมื่อใบเลี้ยงดีดตัวออกจากเมล็ด หรือสลัดเปลือกหุ้มเมล็ดออกแล้ว จะเป็นใบจริงจำนวน 2 ใบ และ
เริ่มเป็น สีเขียวอ่อน ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-6 เซนติเมตร ชาวนาจะเก็บไปบริโภค หรือขายในท้องตลาด

148

ต่อมาชาวนาเริ่มเรียนรู้ถ้าได้ทำร่มเงาให้ต้นอ่อนของผักกระชับจะได้ต้นอ่อนของผักกระชับท่ีขาวสะอาด และลำต้น
จะมีความยาวเพ่ิมขึ้น เมอื่ นำไปขายท่ีตลาดจะเป็นท่ีนิยมชมชอบของผ้ซู ื้ออย่างย่งิ

จากประสบการณ์ชาวนาเริ่มเรียนรวู้ ่าชาวตลาดอำเภอแกลงมีความนิยมบริโภคผักกระชับมากขึ้น
จึงพัฒนาเปน็ แปลงเพาะปลูกผักกระชับเพ่ือการค้าข้ึน

รายละเอียดข้นั ตอนและวิธีการของภมู ิปัญญาท้องถ่นิ ด้านการเกษตร

ทุกปีหลังจากผ่านฤดูกาลเกี่ยวข้าว และเข้าสู่หน้าแล้ง ต้นผักกระชับที่มีเมล็ดที่แก่แล้ว ชาวนาจะเก็บ
เฉพาะเมล็ดเท่านนั้ มาแช่นำ้ ไวท้ ่ีปลักควาย ปกติท่คี วายนอนท่ีเรียกวา่ ปลักควาย จำมีจำนวนเท่าจำนวนควายเท่าน้ัน
ถ้าชาวนามีปลักควายไม่เพียงพอแก่การเก็บ และแช่เมล็ดผักกระชับ ชาวนาต้องขุดคูดินเพิ่มเติม เพื่อรองรับเมล็ด
พันธุ์ผักกระชบั และเก็บเมล็ดพันธผุ์ กั กระชับไว้ให้มากทีส่ ุดเท่าที่จะทำได้หรือเก็บเมล็ดพันธ์ุผักกระชับท้ังหมดท่ีมีอยู่
ในทอ้ งนาตนเอง

การเพาะเมลด็ ผักกระชับเพ่ือจำหนา่ ย ชาวนาจำจดั ทำแปลงเพาะบริเวณใต้ถนุ บ้าน หรือใต้ชานบา้ น หรือ
ทำแปลงเพาะใต้ต้นไม้ จำทำเป็นแปลงเพาะบริเวณใต้ถุนบ้าน หรือทำแปลงเพาะใต้ต้นไม้ จัดทำเป็นแปลงเพาะ
ขนาดที่สะดวกแก่การทำงาน ขุดดินให้ร่วนซุย นำเมล็ดที่แช่น้ำไว้ขึ้นมาเพาะเรียงเมล็ดบนแปลงเพาะเสร็จแล้ว ทำ
รม่ ใหด้ ว้ ยโดยใช้ขอนไม้หนุน หรือปักเสา 4 มมุ ยกเปน็ ร้าน นำเอาทางมะพร้าวทร่ี ่วงหล่นมาปิดไวด้ ้านบนร้าน เพื่อ
พรางแสงแดด และรักษาความชื้นของแปลงเพาะ

เมื่อเมล็ดกระชับเริ่มงอก จะต้องรดน้ำให้แก่ต้นอ่อนด้วย เพื่อการเจริญเติบโต และให้ได้ต้นผักกระชับท่ี
สมบูรณ์ สวยงาม เชิญชวนให้ซื้อไปบริโภค เมื่อเวลาผ่านไป 4-5 วัน จะน้องเปิดร่มเงาออกเสียบางส่วน เพื่อให้ต้น
อ่อนไปรับแสงแดดบ้าง ตน้ ออ่ นจะไดม้ ีความเหนียวปานกลาง และใบมสี ีเขียวอ่อน การถอนเพ่ือจำหน่าย จะลดการ
สูญเสียเนอื่ งจากลำต้นหัก หรือขาดน้อยลง

การเก็บเกี่ยวผักกระชับ เพื่อการบริโภค หรือการจำหน่ายจะใช้วิธีถอนจากแปลงเพาะ ก่อนการถอน
ประมาณ 3-4 ชวั่ โมง จะตอ้ งรดนำ้ ให้แก่แปลงเพาะปลูกเพื่อช่วยให้การถอนสะดวก และรวดเร็วขนึ้ และท่สี ำคัญ คือ
เสียหายน้อย เสร็จแล้วนำมาล้างในภาชนะ เช่น อ่าง หรือ กะละมังใหญ่ เพื่อชะล้างดินที่ติดมากับรากให้หมดไป
เสร็จแล้วนำมาเรียงในกระจาด หรือกระด้ง ตะแกรงที่ใช้ร่อนข้าวของชาวนา วางเรียงเป็นแถวๆ เพื่อให้สะดวกและ
รวดเรว็ เม่ือถึงข้ันตอนจัดเป็นจับหรือมัดเป็นกำ เพ่อื การจำหน่าย การหอ่ พัน ต้นอ่อนของต้นผักกระชับด้วยใบตอง
ไม้กลัด ลักษณะแผ่แบน เรียกว่าจับ หรือ 1 จับ ผักกระชับหนึ่งจับ (ปัจจุบันเป็น กำ) นำไปขายในตลาดท้องถิ่นใน
ราคา 20 บาท

เมื่อท้องถิ่นมีความเจริญขึ้น ทุกๆอย่างมีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ ผักกระชับตามธรรมชาติเหลือน้อย
ชาวนาต้องมีแปลงผลิตเมล็ดผักกระชับเป็นของตนเอง จัดทำแปลงแม่พันธุ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ให้เพียงพอแก่การ
เพาะไปจำหนา่ ยทั้งปี ซึ่งปัจจบุ นั ราคาผกั กระชับที่ขายอยู่ราคา ประมาณ 100-150 บาท/กิโลกรมั

การพัฒนาเรื่องรูปแบบการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันผู้เพาะผักกระชับเพื่อการค้านิยมใช้ขอบบ่อ
ซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 ขอบ วางเรียงเป็นแถว และเทพื้นด้วยซีเมนต์ เป็นบ่อ
เก็บ และแช่เมล็ดพันธุ์สว่ นแปลงเพาะผักกระชับเพื่อการค้า ก็พัฒนาการทำแปลงเพาะมีร้านให้ร่มเงา ก็พัฒนาเป็น
เพาะในโรงเรือน

149

ข้ันตอนการปลกู ต้นพนั ธผุ์ ักกระชับ
1. ปลายเดือน พฤศจิกายน – ต้นเดอื น ธนั วาคม หลงั การเก็บเกี่ยวขา้ วแล้ว ตัดซัง ไถนา พรวนดิน เตรียม
ดินเพอื่ การปลูกเมลด็ พันธุ์
2. ปลกู เมลด็ พันธ์ผุ กั กระชับในแปลงนาที่เตรยี มดินไว้ในนา
3. ปลกู ประมาณ 45-60 วัน จะตอ้ งใสป่ ๋ยุ สูตร 15-15-15
4. จะเก็บเก่ยี วได้ 120 วันประมาณกลางเดือนเมษายน เก็บเกีย่ ว
5. การเก็บเกยี่ วมีการพัฒนา ดังน้ี

- ใช้มอื รดู
- ใชต้ ะกร้อ
- ใช้ตะแกรงรูดติดรถไถเดินตาม
- ใช้ตะแกรงรูดตดิ รถไถใหญ่ มตี ัวปดั เข้าเหมอื นรถเก่ียวข้าว
ในการเก็บเมลด็ พนั ธ์ุผักกระชบั ใหส้ วมใส่เส้อื ผา้ ท่ีมันๆหรือล่ืนๆเพ่ือป้องกนั ไม่ให้เมลด็ พันธุต์ ิดเส้ือผ้า

ข้นั ตอนการปลกู ผักกระชับในแปลง
1. เก็บเมลด็ ผักกระชับเอาใบแก่ออก แช่น้ำช่วงแรกๆ ตอ้ งถา่ ยน้ำออกทุก 1 - 2 วัน และคอ่ ยๆ ดวู า่ น้ำใส
หรือยัง หลังจากนั้นค่อยๆห่างเป็น 1 สัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ ต้องคอยสังเกต จนกว่าน้ำจะใสได้ที่แล้วถึงแช่ได้
ตลอดไป แต่ต้องคอยหมั่นดูเรื่อยๆ ถ้าเห็นว่าสมควรจะถ่ายน้ำได้แล้วก็ถ่ายเสียหนึ่งครั้ง (น้ำที่ใช้แช่ควรเป็นน้ำ
ประเภทเดียวกัน เช่น ประปาไม่มีคลอรีน หรือน้ำฝน ก็ควรจะใช้น้ำประเภทใดประเภทหนึ่งอย่างเดียวเท่านั้น ห้าม
ใชน้ ำ้ ผสมกนั จะทำให้เมลด็ พนั ธ์ุเสียหาย) การแช่เมลด็ พนั ธุม์ ีการพัฒนา ดังนี้

-การแช่เมล็ดเมลด็ ในตุ่ม
-การแช่เมล็ดในขอบบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 1 เมตร เทพื้นด้วยซีเมนต์เป็น
บอ่ เก็บ
2. นำเมล็ดท่ีแช่น้ำประมาณ 2-3 เดอื น เอาเมล็ดมาทดลองเพาะปลูกในแปลงทดลองก่อน เมื่อเห็นว่าขึ้น
ดจี ึงนำลงแปลงใหญ่
3. การเตรียมดินในแปลงเพาะปลูก ดินร่วนปนทรายจะดีที่สุด ควรเป็นหน้าดินที่ได้มีการเอาหน้าดินใน
แปลงนาตอนหน้าแล้ง
4. การเตรียมดินในแปลงเพาะหนาประมาณ 1.30 – 2 นิ้ว เกลี่ยดินให้เสมอกัน เอาเมล็ดพันธุ์ลงเรียงทำ
การเพาะ ถ้าต้องการต้นใหญ่ให้เพาะต้นห่างๆกันโดย 1 เมล็ดจะได้ 2 ต้นรดน้ำพอประมาณ เอาไม้ตบเพื่อให้เมล็ด
จมดิน เอาทรายหยาบ (ทรายก่อสร้าง) ปิดด้านบน พอไม่ให้เหน็ เมลด็ เอากระสอบปิดคลุมกนั ความชนื้ ให้อยู่ได้นาน
5. ประมาณ 3 - 4 วัน เมล็ดจะงอกออกมาให้เห็น และประมาณวันที่ 4 - 5 ต้องคอยถอดเมล็ดที่ติดยอด
ผกั ออกเพ่ือป้องกนั ไม่ให้ไปทิ่มตำสว่ นใดสว่ นหน่ึงของผักเพื่อป้องกนั ผักช้ำ
6. ผักกระชับจะชอบอากาศเย็น หรือความชื้นพอประมาณ เช่น ช่วงหน้าฝน ผักกระชับจะใช้เวลาในการ
เจรญิ เติบโต 7 - 8 วัน และในช่วงหน้าแลง้ จะใช้เวลาในการเติบโต 9 - 10 วัน
7. ในแต่ละบ้านจะมีแปลงปลูกผักกระชับ 11 แปลง ขึ้นไป เพราะจะทำให้กำหนดวันเก็บ และจำนวนที่
สั่งตามความต้องการได้
8. เมือเมล็ดผักกระชับงอก จะต้องรดน้ำให้แก่ต้นอ่อน เพื่อการเจริญเติบโต การรดน้ำอาจจะรดวันเว้น
วัน หรอื ตามสภาพอากาศแต่ละวัน

150

9. การเก็บผักกระชับ เพื่อการบริโภค หรือการจำหน่ายจะใช้วิธีการถอนจากแปลงเพาะ ต้องให้ใบแห้ง
ก่อนถอน เพราะจะได้ไม่เป็นเช้ือรา เสร็จแล้วนำมาล้างนำ้ เพ่ือชะล้างดินท่ีติดกับรากมาให้หมด พรอ้ มจำหน่ายหรือ
นำมาบรโิ ภค

รูปภาพประกอบภูมปิ ัญญาท้องถ่ินด้านการเกษตร

เมล็ดพนั ธพ์ุ นั ธ์ุผกั กระชบั การแช่เมล็ดในขอบบ่อซีเมนต์

การทดลองเพาะปลูกในแปลงทดลอง การนำต้นอ่อนพันธุ์ผกั กระชับมาปลูก
ในแปลงใหญ่

การเก็บเก่ียวผักกระชบั เตรยี มจำหน่าย

151

รายละเอยี ดผ้ใู หข้ ้อมลู และผรู้ วบรวมขอ้ มลู ภูมิปญั ญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

ผใู้ ห้ข้อมูลภมู ปิ ัญญา : นายวสิ ูตร เหล็กเพชร (ช่อื กลุ่ม ผักกระชบั บา้ นทะเลน้อย)

ทีอ่ ยู่ : 67 หมู่ที่ 6 ตำบลทางเกวยี น อำเภอแกลง จังหวดั ระยอง โทรศัพท์ 089-833-5396
พกิ ัดแผนท่ี : X: 709082.49 Y: 1409636.57 / Latitude : 12.737840 Longitude: 101.671360

https://qrgo.page.link/dVFQA
ผูร้ วบรวมข้อมูล : นางสาวจีรฉัตร จันทศิริ ตำแหนง่ นักวิชาการสง่ เสรมิ การเกษตรชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอแกลง จงั หวดั ระยอง
โทรศัพท์ : 085 - 227 - 5234, 038 - 679379

152

จ.สระแก้ว

: นา้ ไซรัปมะขามเปร้ยี วยกั ษ์

ประวตั คิ วามเป็นมา

บ้านคลองชลหมู่ที่ 11 ตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว มีประชากรทั้งหมด 227 ครัวเรือน
718 คน ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรมโดยการปลูกพืชไร่ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน และ
ปลูกไม้ผล ได้แก่ ลำไย มะม่วง และมะขามเปรี้ยวยักษ์ ซึ่งในการประกอบอาชีพการเกษตรนั้นจะประสบปัญหา
ราคาผลผลิตต่ำ แต่ราคาปัจจัยการผลิตสูง ดังนั้นจึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ประกอบกับ
สมาชิกส่วนใหญ่มีการปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ และยังไม่สามารถหาช่องทางการจำหน่ายได้ จากปัญหาดังกล่าว
เกษตรกรบ้านคลองชลจึงรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อให้การผลิตมีการลดต้นทุนในการผลิต เพิ่มรายได้แก่
ครอบครัวและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ตลอดจนสามารถนำวัตถุดิบในชุมชนมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและหา
ช่องทางการตลาดให้กับวัตถุดิบ แต่ในการรวมกลุ่มนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากเกษตรกรขาด
ความรู้ความเข้าใจในการดำเนนิ งานการบริหารจัดการกลุ่ม

ดังนั้นเมื่อปี 2560 ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ ได้มาจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกับสำนักงานเกษตรอำเภอ
วังสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2560 โดยมีสมาชิกจำนวน 24 คนเพื่อการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยมี
การนำวัตถุดิบท่ีมีอยู่ในชุมชนมาแปรรูป คือ มะขามเปร้ียวยักษ์ โดยการนำมาแปรรูปเป็น มะขามเปร้ียวยักษ์แช่อ่ิม
แบบสด ต่อมาได้รับการอบรมจากสำนักงานเกษตร จึงมีการทำเป็นมะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่มแบบอบแห้ง ซึ่งแบบ
อบแห้งจะทำให้ยืดอายุในการเก็บรักษา ไม่เสียง่าย เหมือนกับแบบสด และต่อมายังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นน้ำ
ไซรัปมะขามซึ่งผลิตจากมะขามแห้งที่เหลือจากการแปรรูปเป็นมะขามแช่อิ่ม สามารถชงเป็นเครื่องดื่ม หรือนำมา
ผสมใส่กบั อาหารท่ีต้องการรสชาติเปรี้ยว และยงั สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าการแปรรูปเป็นมะขามแช่
อมิ่ และทางสำนักงานเกษตรจังหวัดยังมีการออกแบบบรรจภุ ัณฑ์ ใหก้ บั ผลติ ภณั ฑ์ ทำใหผ้ ลติ ภณั ฑด์ นู ่ารับประทาน
สะอาด ปลอดภัย มีรูปแบบที่ทันสมัย ทำให้ผลิตภัณฑ์มีช่องทางการจำหน่ายไปยังตลาดบนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้
เกษตรกรภายในชุมชนมรี ายได้เพ่ิมมากข้ึน

รายละเอียดข้นั ตอนและวิธีการของภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ด้านการเกษตร

การปลกู
1. พนื้ ท่ปี ลูกตอ้ งอยู่ในพืน้ ที่ ตำบลวังทอง อำเภอวงั สมบูรณ์ จังหวดั สระแกว้
2. เกษตรกร/กล่มุ เกษตรกร ท่ผี ลิตมะขามเปร้ียวยักษ์ ตอ้ งเปน็ มะขามที่ปลอดสารเคมี
3. เก็บเกีย่ วในระยะแก่จัด มีคณุ ภาพดีไม่มสี ่ิงเจือปน ไม่มมี อดและแมลง ไม่มเี ช้อื รา
การแปรรูป ผลผลติ มะขามเปรย้ี วยักษ์แปรสภาพเป็นน้ำไซรัปมะขาม ตามกระบวนการ ดงั น้ี
1. นำมะขามแกจ่ ัดมาปอกเปลือก และแกะเมล็ด
2. นำมะขามไปล้างทำความสะอาดและนำไปแชน่ ำ้ 5 ชว่ั โมง
3. นำไปคนั้ น้ำแยกเอากากออก
4. นำไปต้มและเค่ียวโดยใช้เวลาประมาณ 3 ช่ัวโมง จนได้นำ้ ไซรัปมะขามทมี่ ีสีสวยใส เหนียวข้นกำลังดี
5. นำไปบรรจใุ นขวดแกว้ และซิลปากขวดให้เรยี บร้อย

153

รปู ภาพประกอบภูมิปัญญาทอ้ งถ่ินดา้ นการเกษตร

มะขามเปร้ียวยกั ษ์ที่นำมาผลิต นำ้ ไซรัปมะขาม

รายละเอยี ดผู้ให้ข้อมูลและผ้รู วบรวมข้อมูลภูมปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ ด้านการเกษตร

ผูใ้ หข้ ้อมูลภูมปิ ัญญา : นายสุพจน์ แมดพิมาย
ทอี่ ยู่ : 120 หม่ทู ่ี 11 ตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว โทรศัพท์ 080-953-9521
พกิ ดั แผนท่ี : 48PX=180902 Y=1474578

https://goo.gl/maps/btdJyQqSwYkQNCQFA

ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวสุวมิ ล ด้วงเงิน ตำแหน่ง นกั วชิ าการสง่ เสริมการเกษตรปฏิบตั ิการ
หน่วยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอวงั สมบูรณ์
โทรศพั ท์ : 037-449-783

154

ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ

155

จ.กาฬสินธุ์

: เทคนคิ การปลูกผักหวานปา่ ในกระบอกไม้ไผ่

ประวตั ิความเป็นมา

พ่อสวาท โอภากาศ อายุ 78 ปี บ้านเลขท่ี 79 หมู่ 2 บ้านนาบอน ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง
จังหวัดกาฬสินธ์ุ ปลูกผักหวานป่าจำนวน 30 ไร่ ผักหวานป่ามากกว่า 20,000 ต้น ก่อนหน้านี้ในพื้นที่
30 ไร่มีการทำการเกษตร ปลูกอ้อย ปลูกมันสำประหลัง และสวนผลไม้ ได้ประสพปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
จึงได้คิดปลูกพืชท่ีคนชอบกินและมีราคาสูง โดยมีแนวคิดว่าผักหวานสามารถปลูกและสร้างรายได้ระยะยาว
และการบุกรุกของทำลายผักหวานป่าทำให้ผักหวานป่าลดจำนวนลงเรื่อย ๆ จึงมีความคิดที่จำนำผักหวานป่า
มาปลูกไว้ให้เป็นแหล่งอาหารของคนในระยะยาว โดยไม่ต้องไปทำลายผักหวานในป่าธรรมชาติ เริ่มต้นจ ากมี
หนว่ ยงานราชการนำกลา้ ผกั หวานมาให้ทดลองปลูก ชว่ งแรกท่ีปลูกผกั หวานป่าตน้ ผักหวานปา่ ทีป่ ลูกไวไ้ มเ่ จริญ
งอกงามไม่นานก็ตาย จึงได้ไปเก็บเมล็ดพันธ์และขุดต้นผักหวานป่าบนเทือกเขาภูพานมาทดลองปลูกอีกครั้ง
พ่อสวาทได้ปลูกผักหวานป่าโดยใช้เมล็ดและกล้าพันธุ์ ในปี 2538 บนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ พร้อมกับศึกษา
วิธีการปลูกผักหวานป่า ศึกษาดูงาน แล้วนำมาประยุคใช้ในสวนของตนเองเกิดองค์ความรู้ในการปลูกผักหวาน
ปา่ จนประสบความสำเรจ็ ในการปลูกผักหวานปา่ ในปจั จบุ นั

รายละเอียดขั้นตอนและวธิ ีการของภูมิปญั ญาทอ้ งถิ่นดา้ นการเกษตร

เทคนิคในการปลูก
ช่วงเริ่มต้นทดลองปลูกบริเวณข้างบ้าน ทดลอง เรียนรู้ผลไปพร้อมกับปรับเปลี่ยน วิธีการผลิตให้
เหมาะสม โดยปรับไปเรื่อย ๆ เรียนรู้ไปพร้อมกับการคิด วิเคราะห์พัฒนา จนได้รูปแบบการผลิตที่เหมาะกับ
พ้นื ที่และตนเอง ได้ดงั นี้
1. ปลกู ใหท้ ันเวลาของการงอกของเมล็ด ตอ้ งนำลงดนิ หลงั จากท่รี ากเริ่มโผล่ออกมา ก่อนท่ีจะเกิดเป็น
ต้นและมีใบจริง ทันเวลาของความชื้นสมั ผัสในดนิ และสภาพอากาศ ถ้าปลูกในฤดูแล้ง โอกาสแห่งความสำเร็จ
จะน้อยลงตามไปดว้ ย อัตราการรอดตายจะต่ำกวา่ การปลูกในชว่ งท่ียงั มคี วามชืน้ ที่พอเพยี ง
2. ต้องมีการกำหนดจุดที่จะปลูกให้ชัดเจน และใช้กระบอกไม้ไผ่ทีตัดเป็นท่อนสั้นๆ ความยาวราว ๆ
15 เซนติเมตร ครอบไว้เป็น เพื่อปกป้องผักหวานป่าจากแสงแดดและแมลงกัดกิน ปลูกโดยใช้เมล็ดที่เป็น
ถ่วั งอก กระบอกไม้ไผช่ ่วยในการเป็นท่ีสังเกต เพอื่ การจดจำตำแหน่งตน้ สำหรบั การระวงั แมลง วชั พชื รวมทั้ง
การให้ปุ๋ย ให้น้ำ นอกจากน้นั ยงั ช่วยในเร่ืองการรกั ษาความปลอดภยั ใหแ้ กต่ ้นผกั หวาน
3 .การใช้ยางรถจกั รยายนต์ รถจกั รยาน ที่ไม่ใช้แลว้ มากลับดา้ น แล้วครอบไวป้ กป้องตน้ กล้าผักหวาน
ขณะยังเล็ก เม่อื คร้ังที่พ่อโอภาสเริ่มตน้ การปลูกผักหวานไว้ใกล้กับบริเวณบ้าน กไ็ ด้นำยางนอกของรถจักรยาน
และจักรยานยนต์ที่ไม่ใช้แล้วกลับด้านนำมาครอบไว้ป้องกัน ไก่ แมลง รวมทั้งการรักษาความชุ่มชื้น ทำให้
ผักหวานปา่ รอดตายสูง และมกี ารเจรญิ เตบิ โตดี
4. ขน้ั ตอนการเตรยี มหลุมปลูกผักหวานป่า การเตรยี มหลุม พน้ื ที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 1,000 ต้น ขุดหลุม
ใสป่ ยุ๋ คอก ดินร่วน ปลูกดว้ ย เมลด็ ปลูกลงดนิ 30-60 วนั วางขอบยางรถ ปกั หลักใชต้ าข่ายกนั รถน้ำ พอให้
ชื้นอย่าให้แฉะ ต้องปลูกให้เป็นเนินสูงกว่าขอบดิน รดน้ำวันเว้นวัน ปลูกไม้พี่เลี้ยง เช่น ตะขบ มะขามเทศ แค
มะเม่า เป็นต้น

156

ข้นั ตอนการเพาะเมล็ดผกั หวานป่า
เมล็ดผักหวานป่ามีลักษณะ กลม รี ผลจะสุกราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม เตรียมเมล็ด โดยคัดเลือก
เฉพาะเมลด็ ที่สุกแก่เต็มทีส่ เี หลือง 1 กโิ ลกรมั จะมีราว 140 เมลด็ ปอกเปลอื ก ล้าง ทำความสะอาด ผง่ึ ในร่ม
2-3 วัน ห้ามตากแดด นำเมล็ดมาห่อผ้า รดน้ำให้ชุ่ม เช้าเย็น ประมาณ 6-7 วัน รากจะเริ่มงอกออกมา
เพาะเมล็ดลงในถุงกลบเพยี งครงึ่ เมลด็ ห้ามทำให้รากขาด นำไปจดั วางไว้ในเรือนเพาะชำ ประมาณ 20-60 วัน
อนบุ าลด้วยการรดนำ้ เม่ือต้นกล้ามอี ายุ 30-60 วนั ขนึ้ ไป สามารถนำไปเพาะปลกู ลงดนิ ได้
สรปุ เทคนคิ ปลูกผกั หวานปา่ ให้ประสบความสำเร็จ
ต้องมีพืชพี่เลี้ยงเป็นไม้ยืนต้น เช่น ตะขบ ลำไย มะขามเทศฯลฯ พี่เลี้ยงจะช่วยในเรื่องร่มเงา
การบังแสงแดดปลูกดว้ ยเมล็ด โดยเพาะใหร้ ากงอกก่อน เปน็ ถัว่ งอก แล้วนำผกั หวานปา่ ทีเ่ ป็นถว่ั งอกลงปลูกใน
ดินโดยตรง หรือหากเพาะลงถุงต้องไม่ให้อายุกล้าเกิน 1-2 เดือน หรือไม่ให้รากงอม้วน เพราะผักหวานป่าจะ
ชะงกั การเจริญเตบิ โตปลูกในชว่ งก่อนหมดฤดูฝน เพ่ือใหผ้ ักหวานป่าสามารถปรับตวั ได้กอ่ นเจอกับสภาพแล้งใช้
กระบอกไม้ไผ่ ตัดกลวงเพื่อครอบจุดที่ปลูกผักหวานป่า ป้องกันแมลงกัดกิน เพื่อสะดวกในการเป็นจุ ดสังเกต
ในการให้น้ำ ปุย๋ ปอ้ งกันกำจัดวชั พืช

รูปภาพประกอบภูมิปัญญาท้องถ่นิ ดา้ นการเกษตร

รปู ภาพเจา้ ของ ไร่โอภากาศ

157

เทคนคิ และภูมิปัญญาในการปลูกผักหวานปา่

ลกั ษณะของเมล็ดผักหวานปา่ ท่ีทำถวั่ งอก ลกั ษณะของกล้าพันธ์ทุ ่ไี ม่แนะนำให้
พร้อมปลกู ลงดนิ เกษตรกร

การใช้กระบอกไมไ้ ผค่ รอบต้นกล้าเพอ่ื ปอ้ งกนั แมลงศตั รูพืชและป้องกันแสงแดด

158

การปลดิ ใบแก่เพือ่ ใหผ้ ักหวานปา่ แตกยอด

การเผยแพรภ่ มู ปิ ญั ญาผา่ นชอ่ งทางออนไลน์

Link 1 : https://www.youtube.com/watch?v=3FJ0ahdIso4
Link 2 : https://www.youtube.com/watch?v=HKb-OUFPa0s&t=3s
Link 3 : https://www.youtube.com/watch?v=ZQbBpvfgiQc
Link 4 : https://www.youtube.com/watch?v=-24FbHBx5m8&t=82s

159

รายละเอียดผใู้ ห้ข้อมูลและผ้รู วบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถน่ิ ดา้ นการเกษตร

ผใู้ หข้ ้อมูลภมู ปิ ัญญา : นายสวาท โอภากาศ
ที่อยู่ : 79 หมู่ที่ 2 ตำบลนาบอน อำเภอคำมว่ ง จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 093-561-9539
ท่ตี ง้ั แปลง สถานทต่ี ั้งแปลงเดินทางจากอำเภอคำมว่ งไปยงั บ้านนาบอน ก่อนถึงบา้ นนาบอน 300 เมตร กอ่ น
ขา้ มสะพาน ห้วยสมอทบ แลว้ เลี้ยวขวาไปยงั ไร่ผกั หวานป่าประมาณ 500 เมตร
พิกัดแผนที่ : 48 X: 358962 Y: 1867762

https://goo.gl/maps/auPGX35A1astxEjD9
ผู้รวบรวมข้อมูล : นายวรทัศน์ เสนาราษฎร์ ตำแหนง่ นักวชิ าการสง่ เสริมการเกษตรปฏิบัติการ
หน่วยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอคำม่วง จังหวดั กาฬสินธุ์
โทรศัพท์ : 081-994-5951

160

จ.ขอนแกน่

: การแปรรปู ผลติ ภณั ฑ์จากหญ้าแฝก

ประวตั คิ วามเป็นมา

นายประดิษฐ์ ศิริธรรมจักร เกษตรกรต้นแบบผู้เป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการ
ผลิตสินค้าเกษตรอำเภอเวียงเก่า ได้มีความคิดริเริ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหญา้ แฝกผสมไหมขึน้ โดยเร่มิ
จากในพน้ื ทีม่ ีการภมู ปิ ัญญาท้องถิน่ ในการทอเส่ือจากต้นกกหรือตน้ ผือ อยแู่ ตเ่ ดมิ แลว้ ซ่ึงมารดาของตนเองได้มี
การทอเส่ือเพ่อื ใชใ้ นครัวเรือนและถวายวัดเป็นประจำ ตนเองซึ่งเป็นเกษตรกรทม่ี ีการปลูกหญา้ แฝกในพื้นที่เพ่ือ
การอนุรักษ์ดินและน้ำ และเป็นสมาชิกเครือข่ายคนรักษ์แฝกเขต 5 จึงได้มีโอกาสไปเรียนรู้และศึกษาดูงาน
การแปรรูปหญ้าแฝกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากกลุ่มเครือข่ายคนรักษ์แฝก จึงได้นำสิ่งที่เรียนรู้มาทดลองทำ
โดยเริ่มจากการทอเสื่ออาสนะของพระสงฆ์ ซึ่งเมื่อทอมาแล้วปรากฏว่าเสื่อมีความเหนียวและทนทานกว่าเส่อื
จากต้นกก ต้นผือและเริ่มผลิตออกมาเพื่อใช้และถวายวัดเรือ่ ยมา จนมีผู้คนสนใจหนึ่งในนั้นคอื ร้านภัทรพัฒน์
ท่ไี ดเ้ ข้ามาเย่ียมเยียนให้คำแนะนำในการปรับปรงุ พฒั นาคณุ ภาพสนิ คา้ จนไดม้ ีโอกาสนำผลติ ภณั ฑ์เข้าจำหน่าย
และมีคำสั่งซือ้ สินคา้ มา่ นมู่ล่ีเพือ่ ใช้ในการตกแต่งโรงแรม ตนจึงมีกำลังใจในการผลติ และพยายามคิดค้นสนิ ค้า
ที่เป็นอัตลักษณ์ของอำเภอเวียงเก่าขึ้นมา คือ ผลิตภัณฑ์ไดโนเสาร์ ซึ่งประกอบขึ้นมาจากแรงบันดาลใจใน
การทำงานของตน 3 สิ่ง คือ ต้นแฝก (หญ้าของพ่อ) เส้นไหม (ไหมของแม่) และเอกลักษณ์ประจำถ่ิน
(ไดโนเสาร์) ผสมผสานถักทอกนั จนเป็นผลิตภัณฑท์ ป่ี จั จุบนั ไดร้ บั ความสนใจเป็นอย่างมาก สามารถสร้างรายได้
ให้ตนและชุมชนได้เป็นอย่างดี และมีโอกาสได้แสดงผลงานตามนทิ รรศการต่างๆ อย่างต่อเนือ่ ง โดยผลิตภัณฑ์
นี้กำลังอยู่ในขัน้ ตอนการดำเนินการจดทะเบยี นอนุสิทธบิ ัตร ซึ่งผลิตภัณฑ์ของตนมีเอกลักษณ์ที่โดดเดน่ และยัง
ไม่มผี ู้ใดเคยทำมากอ่ น

รายละเอยี ดขนั้ ตอนและวิธีการของภูมิปัญญาท้องถ่นิ ด้านการเกษตร

อปุ กรณ์ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝก
1. หญ้าแฝก
2. เส้นไหม
3. เข็มกรีดใบแฝก
4. ลกู กระบก
5. เชอื กแฝก
6. ใบแฝกแหง้
7. กา้ นดอกแห้ง
8. เม็ดมะกล่ำ
9. กาวร้อนและเทปกาว

วธิ ีการแปรรปู ผลิตภณั ฑจ์ ากหญ้าแฝก
1. การเตรยี มหญ้าแฝก โดยเร่ิมจากการตัดใบสดจากต้นมา คดั เลือกใบที่แก่นำไปทอเส่ือ สานหมวก สาน
กระเป๋า ตับหญ้ามุงหลังคา ส่วนใบอ่อนนำมาทำเกลียวเชือก พอคัดเลือกได้ส่วนที่ต้องการแล้วให้นำมาต้มในน้ำ
เดือดประมาณ 5 นาที แลว้ นำไปน็อคในน้ำเยน็ จากน้นั นำไปตากแดดหรืออบให้แหง้ สนิทเพื่อป้องกันเชื้อรา

161

2. การผลิตเชือก(เส้นไหมแกมแฝก) มสี ว่ นประกอบหลักในการผลิตอยู่ 3 อย่าง คอื ใบแฝกแห้ง, เส้นไหม
และเขม็ กรีดใบแฝก สว่ นวิธีทำมขี ้ันตอนดังน้ี

- ใช้เข็มกรีดใบแฝกให้เป็นช้นิ เล็กๆ เตรยี มไว้
- คัดเส้นไหมยาว 1 เมตรเตรยี มไว้
- นำใบแฝกท่ีกรีดและเส้นไหมที่คดั ไว้มาแบ่งให้เท่าๆกนั มากนอ้ ยขึ้นอยู่กับขนาดของเชือกที่จะผลิต ทำ
การบิดใบแฝกกับเส้นไหมไปในทางเดียวกันพร้อมกับไขว้ทับสลับการบิด ทำไปให้สุดเชือกต่อไปเรื่อยๆ ก็จะได้
เกลยี วเชอื กเส้นไหมแกมแฝก (แฝกผสมไหม) สีสันสวยงาม เหนยี วทน พร้อมใช้งาน
3. การทำไดโนเสาร์ทีเร็กซเ์ ป่าแคน ตอ้ งผลิตแต่ละชน้ิ สว่ นก่อนและนำมาประกอบกนั ดงั นี้
- ตวั และหัว ใชเ้ ชอื กพนั รอบๆ ลูกกระบกทั้ง 2 ลูก พรอ้ มกบั หยอดกาวรอ้ น
- หาง นำใบหญ้าแฝกประมาณ 20 ใบ ใช้เทปกาวพนั รอบๆ ตดั ใหย้ าว 12 เซนตเิ มตร หยอดกาวรอ้ น
ให้ใบแฝกประสานติดกนั ทำการตกแตง่ ใหไ้ ดร้ ูปทรงหางของไดโนเสาร์ตามต้องการ
- ขาหลัง ขั้นตอนคล้ายกับการทำหาง ต่างกันตรงที่ตัดให้สั้นลงเหลือ 6 เซนติเมตร และตกแต่ง
รูปทรงให้เหมือนขาไดโนเสาร์
- หมวก ใชใ้ บแฝก 3 ใบกรีดให้เป็นเส้นกอ่ นถกั ข้นึ รปู ทรง
- แคน นำลำกา้ นดอกมาประกอบกนั

การใชป้ ระโยชน์ของภมู ปิ ัญญาทอ้ งถิ่นด้านการเกษตร

1. เปน็ การพัฒนาภมู ิปัญญาท้องถิ่นในการทอเสื่อจากต้นกกหรือต้นผือ
2. มีโอกาสได้แสดงผลงานตามนิทรรศการต่างๆ อย่างต่อเนือ่ ง
3. สามารถสรา้ งรายได้ใหช้ ุมชนได้เปน็ อย่างดี
4. อยใู่ นข้นั ตอนการดำเนินการจดทะเบียนอนุสิทธบิ ัตร เนื่องจากผลิตภณั ฑม์ ีเอกลักษณท์ ่ีโดดเด่นและยัง
ไมม่ ผี ูใ้ ดเคยทำมาก่อน
5. มีโอกาสนำผลติ ภัณฑ์เขา้ จำหนา่ ยทรี่ ้านภัทรพัฒน์
6. มถี อดบทเรียนการแปรรูปผลติ ภัณฑจ์ ากหญา้ แฝก
7. มีการจดั ทำโครงการศูนยฝ์ ึกอาชีพชุมชนในรูปแบบชั้นเรียน หลักสูตรทอเส่อื จากหญา้ แฝก
8. มีการถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชน หน่วยงานราชการ สถานศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจ
อยา่ งตอ่ เน่ือง
9. มีการจัดตั้งกลุ่มและรวบรวมสมาชิกในชุนชน ผู้ที่สนใจในการปลูกและแปรรูปหญ้าแฝกเพื่อผลิต
ตบั แฝกมงุ หลังคา ซ่ึงกำลังเปน็ ท่ีต้องการของตลาดในปรมิ าณท่ีมาก

รปู ภาพประกอบภมู ิปญั ญาทอ้ งถิน่ ด้านการเกษตร

ตดั ใบหญา้ แฝกสด คัดใบแก่และใบอ่อน

162

ตม้ และตากแห้งเพ่ือป้องกันเช้ือรา การทอเส่อื จากหญา้ แฝก

การทอเสอ่ื จากหญ้าแฝก การทำไดโนเสาร์จากหญา้ แฝก

ไดโนเสาร์จากหญา้ แฝก การแสดงผลงานตามนิทรรศการต่างๆ

รายละเอยี ดผใู้ หข้ ้อมูลและผรู้ วบรวมขอ้ มลู ภูมิปญั ญาทอ้ งถน่ิ ดา้ นการเกษตร

ผใู้ ห้ข้อมูลภูมปิ ัญญา : นายประดิษฐ์ ศิรธิ รรมจักร (ปราชญ์เกษตร จังหวัดขอนแก่น)
ที่อยู่ : 29 หมู่ที่ 6 ตำบลเวียงเกา่ พัฒนา อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 087-690-8083
พกิ ัดแผนท่ี : X: 210615 Y: 1841285 / Latitude : 16.6363174 Longitude: 102.2873597

163

https://goo.gl/maps/oeg8JvZ3a4wPF8zQ9
ผู้รวบรวมข้อมูล : นายสุรฉตั ร ศรลี บั ซ้าย ตำแหนง่ นักวชิ าการสง่ เสรมิ การเกษตรชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอเวยี งเก่า
โทรศัพท์ : 098-286-2432, 0-4343-8175

164

จ.ชัยภูมิ

: การแปรรปู ข้าวทาหมข่ี า้ วโบราณ และข้าวเกรียบ

ประวัตคิ วามเป็นมา

มีการแปรรูปข้าวเจ้าในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยการไปทำเป็นหมี่ ลักษณะของหมี่คล้ายหมี่โคราชแต่
วัตถุดิบใชข้ ้าวเจ้าทั้งหมดทำ ไม่มีการผสมแป้งมันสำปะหลังลงไปทำให้ใช้เครื่องจักรในการปาดแป้งไม่ได้ ซึ่งวิธีการ
นี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการทำให้เกิดหมี่ข้าว/ข้าวเกรียบ ท้ังยังเป็นกิจกรรมที่รวมแรงร่วมใจในชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่า
สนิ ค้า

รายละเอยี ดขนั้ ตอนและวิธกี ารของภมู ิปัญญาท้องถ่นิ ด้านการเกษตร

1. นำข้าว(ใชข้ ้าวที่ไมใ่ ชข่ ้าวหอมมะลิ)มาบดละเอยี ดใหเ้ ป็นแป้ง
2. ละลายแปง้ ขา้ วกับนำ้ ตามอัตราสว่ น

3. นำแป้งท่ลี ะลายแลว้ มาปาดบนเตาถ่าน
4. นำแผน่ แป้งทสี่ ุกแลว้ ไปตากแดด(ถ้าไม่มีแดดต้องตากกบั ถ่านในบา้ น บางครง้ั ก็เอาแผน่ แป้งน้ีไปกินได้

เลยเรียกว่าเป็นการกินแผน่ แป้งแบบสดค่กู ับส้มตำหรืออาหารอ่นื ๆตามเมนูพนื้ ถ่นิ ได)้
5. เม่ือแผ่นแป้งหมาดๆนำมาทาน้ำมันและซ้อนกันไว้ในกะละมัง
6. นำมาตัดให้เปน็ เส้นแลกตากต่ออีกคร้ังเพ่ือให้เส้นแห้งและแพ็กใสถ่ ึงหรือ มัดตอกขายได้เลย
7. ขายเปน็ กำๆละ 20 บาท ขายส่งเป็นห่อใหญ่ห่อละ 100 – 200 บาท

รูปภาพประกอบภูมิปัญญาทอ้ งถิ่นดา้ นการเกษตร

165

รายละเอียดผใู้ ห้ข้อมลู และผูร้ วบรวมข้อมูลภูมิปญั ญาทอ้ งถน่ิ ด้านการเกษตร

ผู้ใหข้ ้อมูลภมู ิปัญญา : นางคำปอง สงิ หว์ งษ์ (วสิ าหกจิ ชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปคุ้มส้มโฮง)
ที่อยู่ : 311 หมู่ท่ี 13 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จงั หวัดชัยภูมิ โทรศัพท์ 081-268-2469
พกิ ดั แผนท่ี : Latitude: 15.760622, Longitude: 101.905489

https://goo.gl/maps/kT3QknFM76qVCbG87

ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวฉตั รพร อรณุ ฉายแสง ตำแหน่ง นกั วิชาการส่งเสรมิ การเกษตรปฏิบตั ิการ
หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอบา้ นเขว้า
โทรศัพท์ : 062-396-6914

166

จ.นครพนม

: หลมุ พอใจเพิ่ มผลผลิตลนิ้ จี่ นพ.1 (GI)

ประวตั ิความเปน็ มา

ลิ้นจ่ี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Litchi Chinensis Sonn. วงศ์Sapindaceae ผลมีลักษณะค่อนข้าง
กลม เปลือกสีแดงเข้ม ผิวขรุขระไม่เรียบ เนื้อสีขาวฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว นิยมรับประทานผลสด ทำผลไม้
กระป๋องมีน้ำตาลสูง เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และน้ำตาล ปัจจุบันแหล่งปลูกลิ้นจี่ในประเทศไทย
จะมี 2 แหล่งใหญ่ คอื บรเิ วณภาคเหนือตอนบนและบริเวณภาคกลาง ได้แก่ จงั หวดั สมุทรสงคราม นอกจากนี้
ยงั กระจายการปลูกล้ินจี่ไปถึงภาคอสี าน ได้แก่ จังหวดั เลย นครพนม หนองคาย เป็นตน้ ภาคตะวันออก ได้แก่
จงั หวดั จนั ทบุรี และภาคตะวนั ตก ไดแ้ ก่ จังหวัดกาญจนบรุ ี แตก่ ไ็ มม่ ากนัก

ลิ้นจ่ีพันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เป็นสายพันธ์ุที่ได้จากการกลายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด
มกี ารคดั เลือกสายพันธุท์ ี่สถานที ดลองพืชสวนนครพนม (ศวพ.นครพนม) มลี กั ษณะเด่น คือ มกี ารเจรญิ เตบิ โตดี
ออกดอกติดผลสม่ำเสมอทุกปีโดยออกดอกเดือนธันวาคมและเก็บเกี่ยวกลางเดือนเมษายนเป็นต้นไป ผลผลิต
เฉลย่ี 20 กก./ต้น เมื่ออายุ 5 ป ขนาดของผลใหญ่ 3.65 – 4.40 ซม. น้ำหนักผล 26.82 กรัม/ผล จำนวน 33 -
38 ผล/กก. อตั ราสว่ นของเนื้อ : เปลอื ก : เมลด็ 5 : 0.8 : 1 สขี องเปลือกผลเมอ่ื แก่จัดสีแดงเรอื่ หนามทู่ รูปรา่ ง
ของผลทรงไข่ ไหล่ของผลกว้างรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกได้ดีในพื้นที่จังหวัดนครพนม สกลนคร
หนองคาย เลย มกุ ดาหาร และอบุ ลราชธานี

ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เป็นลิ้นจี่ที่คัดเลือกและพัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร จนปัจจุบัน
เป็นผลไม้และเป็นสินค้า GI ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครพนม ลิ้นจี่พันธุ์นพ.1 เป็นลิ้นจี่พันธุ์เบามีข้อได้เปรียบ
คือ ให้ผลผลิตเร็ว ช่วงที่ผลผลิตมีน้อย ทำให้ขายได้ราคาสูง ควรจะมีการส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ที่มีศักยภาพ
ซึ่งพันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เหมาะสมกับสภาพอากาศของจังหวัดนครพนมและหลายจังหวัดในภูมิภาคนี้
ลกั ษณะท่ีโดดเดน่ ของลน้ิ จ่ี นพ.1 คอื รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลใหญ่ เนือ้ แห้ง ไมเ่ ละ เป็นพนั ธุ์ทีใ่ ห้ผลผลติ
เร็ว สามารถเกบ็ เก่ียวไดใ้ นเดือนเมษายนของทุกปี ทำให้จำหนา่ ยได้ในราคาดีและไม่มปี ัญหาดา้ นการตลาด

การเกษตรในยุคดั้งเดิม เกษตรกรจะนิยมเผาเศษใบไม้หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่แล้ว
ทำการปลูกพืชล้มลุก เช่น ฟักทอง แตงไทย เปน็ ต้น พืชท่ปี ลูกในพน้ื ที่ดังกล่าวมีการเจรญิ เติบโตและให้ผลผลิต
ที่ดีและจากปัญหาที่พบในทุกปีต้นลิ้นจี่มีการติดผลที่น้อย หรือแม้กระทั่งบางต้นไม่มีการติดดอกเลย จึงได้หา
แนวทางและวิธีการในการแก้ไขปัญหาโดยการสังเกตจากการทำการเกษตรของบรรพบุรุษในยุคก่อน ก็คือการ
ปลูกพืชในพื้นที่กองขี้เถ้า โดยเริ่มการทดลองโดยใช้ขี้เถ้าที่ได้จากการเผาใบของต้นลิ้น จ่ี นพ.1 ที่ร่วงหล่น
รว่ มกบั มลู ไก่ โดยทำการขดุ หลุดขนาด 50 x 50 จำนวน 1 หลมุ /ตน้ แล้วนำวัสดุใส่ลงไปในหลุม ได้แก่ ฟางข้าว
ขี้เถ้า มูลไก่และหน้าดิน ตามลำดับ ซ่ึงภายในหลุมจะลักษณะเปน็ ชัน้ ๆ โดยจะเริ่มทำในช่วง 120 วันก่อนที่ตน้
ลิ้นจ่ี นพ.1 จะมีการออกดอกและติดผล ซ่ึงจากการทดลองและสังเกตตลาดระยะเวลา 3 ปี ท่ผี า่ นมา ได้เหน็ ถึง
ความแตกต่างคือ ตน้ ลิ้นจที่ ใี่ ช้ขเ้ี ถ้ารว่ มกบั มลู ไก่ จะมีการตดิ ดอกติดผลมาก ลูกมขี นาดผลโตและรสชาดี อีกท้ัง
ต้นที่ไม่เคยออกดอกก็สามารถติดดอกและให้ผลผลิตได้ ทำให้ลดต้นทุนด้านการใช้ปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนเร่งติด
ดอกที่มีราคาสูงในท้องตลาดได้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งที่สำคัญในกระบวนการคือ การใส่ในช่วงที่ต้นลิ้นจี่ นพ.1
จะออกดอก ในอตั ราขเ้ี ถา้ 30 กก./มลู ไก่ 30 กก. จะทำให้ต้นลิน้ จีม่ ีการปรบั สภาพและสามารถให้ผลผลิตได้

167

รายละเอยี ดข้ันตอนและวธิ กี ารของภมู ปิ ัญญาท้องถน่ิ ด้านการเกษตร

อปุ กรณใ์ นการทำหลุมพอใจ
1. ขเี้ ถ้า
2. มูลไก่
3. ฟางขา้ ว
4. ปุ๋ยเคมี (สตู ร 15 - 15 - 15)
วธิ กี ารทำหลมุ พอใจ
1. ขดุ หลมุ ขนาด 50 x 50 บริเวณทรงพุม่ ต้นล้ินจ่ี จำนวน 1 หลมุ
2. นำฟางข้าวใส่รองก้นหลุมและนำขี้เถ้าที่ได้จากการเผาวัสดุ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ใส่ในหลุมจำนวน
20 - 30 กิโลกรมั
3. นำมูลไกท่ ่ีผา่ นการหมักแล้ว ใส่ลงในหลมุ จำนวน 20 - 30 กโิ ลกรมั
4. ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 15 - 15 - 15) จำนวน 500 กรมั /หลมุ
5. ใสห่ น้าดนิ กลบลงไปใหเ้ ตม็ หลมุ
6. ทำการรดให้ใหช้ ่มุ พอประมาณ

การใชป้ ระโยชน์ของภมู ิปญั ญาทอ้ งถิ่นด้านการเกษตร

1. ล้นิ จ่ี นพ 1. ไดร้ ับการรับรองสิ่งบ่งชที้ างภูมศิ าสตร์กับกรมทรพั ยส์ นิ ทางปัญญา (GI)
2. เป็นการลดตน้ ทุน ดา้ นการใชป้ ยุ๋ เคมีและฮอรโ์ มนเร่งติดดอกทีม่ ีราคาสูงในท้องตลาดได้เป็นอย่างดี
3. ลิ้นจ่ีมกี ารตดิ ดอกติดผลมาก ลูกมขี นาดผลโตและรสชาดี
4. ตน้ ที่ไมเ่ คยออกดอกก็สามารถติดดอกและใหผ้ ลผลติ ได้
5. ทำใหจ้ ำหน่ายได้ในราคาที่ดี เปน็ การเพิ่มรายไดใ้ ห้เกษตรกร

168

รูปภาพประกอบภมู ิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

ตน้ ล้นิ จี่พันธ์ุนครพนม 1 หรือ นพ.1

ภายในผลลน้ิ จ่ีพันธุน์ ครพนม 1 หรือ นพ.1 ผลลนิ้ จ่ีพันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เม่ือเทียบกับ
เหรียญ 10 บาท

แผนภาพการทำหลุมพอใจ

169

รายละเอียดผู้ใหข้ ้อมูลและผรู้ วบรวมขอ้ มูลภูมิปัญญาทอ้ งถ่นิ ดา้ นการเกษตร

ผ้ใู หข้ ้อมูลภมู ิปัญญา : นายเก่ง รอดฮ้อย (กลุ่มแปลงใหญผ่ ูป้ ลูกลนิ้ จี่ นพ.1)
ท่อี ยู่ : 23/1 หมู่ท่ี 2 ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โทรศัพท์ 061-157-5392
พิกัดแผนท่ี : X: 478348 Y: 1908907 / Latitude : 17.2652291 Longitude: 104.7963044

https://goo.gl/maps/B2WvMEMQHydJB73W7
ผรู้ วบรวมข้อมูล : นางสาววนั วสิ าข์ จ่นั เพชร ตำแหน่ง นกั วชิ าการสง่ เสรมิ การเกษตรชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอเมืองนครพนม
โทรศัพท์ : 081-432-8784, 0-4251-2447

170

จ.นครราชสมี า
: การสร้างระหดั วิดน้า

ประวัติความเป็นมา

นายสมพิศ เจนวิถี เป็นเกษตรกรชาวสีคิ้วโดยกำเนิด มีอาชีพทำนามีพื้นที่ทำนาอยู่ริมลำตะ
คลอง บรรพบรุ ุษจึงได้มีการสร้างระหัดวิดน้ำข้ึนเพื่อใช้ในการผันน้ำเข้าพื้นที่นา โดยอาศัยพลังงานจากน้ำที่ไหลใน
การขบั เคล่อื นระหัดวดิ ในการนำนำ้ เข้าสพู่ ื้นท่ีการทำนา และได้ถ่ายทอดภมู ิปญั ญานี้สู่ลูกหลาน

รายละเอยี ดขั้นตอนและวธิ กี ารของภมู ิปัญญาท้องถน่ิ ด้านการเกษตร

วตั ถุดิบ ไดแ้ ก่
1. ไมไ้ ผ่ ขนาดเสน้ ผ่าศูนย์กลาง 10 เซนตเิ มตร จำนวน 30-40 ลำ
2. ไม้กระถนิ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร จำนวน 20 ทอ่ น
3. เหล็ก
4. ทอ่ PVC ขนาด 6 นิว้
5. ด้ายขอบ ขนาด เบอร์ 9
ขนั้ ตอนการดำเนนิ การ
หลังจากจัดเตรียมวัสดุสำหรับทำระหัดวิดน้ำ จะต้องนำอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่ ไปแช่น้ำเพื่อลดการ
ทำลาย ของมอดและเพิ่มความเหนยี วไม่ผงุ ่าย หลงั จากนัน้ ดำเนินการติดตั้งตามข้ันตอนดังน้ี
1. ตอกหลักไม้เพื่อทำเข่ือนกั้นนำ้ ให้ไหลมารวมกันตรงจุดท่ีจะติดตัง้ ระหดั
2. ตั้งเสา จำนวน 4 เสาเพื่อคำ้ ตวั ระหัด
3. ติดตั้งคาน และหมอน เพื่อรองรับตัวระหัด พร้อมติดตั้งรังดุมให้ได้ระดับพอเหมาะ นำระหัดใส่ลงใน
ร่องรังดมุ ตดิ ต้ังขอบและปลายกงระหัด ตดิ ตังขื่อเพอ่ื ให้ปลายกงระหัดเทา่ กนั ทัง้ วงกลมและยึดตาดใหแ้ น่น
4. ตดิ ต้ังตาด (ลายขดั ) ตรงปลายระหัดแตล่ ะคู่และมัดบั้งใส่มุมให้ยกนำ้ ได้มากทส่ี ุด
5. ติดตัง้ รางรองนำ้ และรางไหลเพ่ือนำน้ำเข้าสู่ไร่นา

รปู ภาพประกอบภูมปิ ัญญาท้องถ่ินดา้ นการเกษตร

ระหัดวดิ น้ำ

171

รายละเอยี ดผ้ใู ห้ข้อมลู และผูร้ วบรวมข้อมลู ภมู ิปัญญาทอ้ งถิน่ ดา้ นการเกษตร

ผู้ให้ข้อมูลภูมิปัญญา : นายทองพิศ เจนวิถี

ท่อี ยู่ : 34 หมู่ที่ 13 ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีค้ิว จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 084-282-0780
พิกดั แผนท่ี : X: 790127 Y: 1646674 / Latitude : 14.878794242275825 Longitude: 1.69628489147271

https://qrgo.page.link/etyA9
ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวสิรกิ าญจน์ จนั ทร์วงษ์ ตำแหนง่ นกั วิชาการส่งเสรมิ การเกษตรปฏิบัติการ
หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอสีค้วิ จงั หวดั นครราชสีมา
โทรศัพท์ : 087-829-7850, 044-411-351

172

จ.บึงกาฬ
: ข้าวเมา่ แปรรูป

ประวัติความเป็นมา

วสิ าหกจิ ชมุ ชนกลุ่มข้าวเม่าแปรรูปหอมทอง เลขที่ 153 ม.9 ต.ปากคาด อ.ปากคาด จ.บงึ กาฬ จัดตั้ง
เมื่อ พ.ศ.2558 เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวและนำภูมิปัญญา มาใช้ในการแปรรูปข้าว เป็นผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่าได้แก่
ข้าวเม่ากระยาสารทโบราณ ข้าวเม่ากระยาสารทธัญพืช ข้าวเม่าหมี่อบสมุนไพร ข้าวเม่าธัญพืช สมาชิกแรกเริ่ม
12 คน ปัจจบุ ันมสี มาชกิ เพิ่มขึ้น 21 คน

รายละเอยี ดขัน้ ตอนและวธิ ีการของภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ ด้านการเกษตร

ขา้ วเมา่ สด

สว่ นประกอบ ขา้ วเม่าออ่ น 100 % (ข้าว กข6 12 กก 150 บาท)

ได้ขา้ วเมา่ 6.5 กิโลกรัม

ตน้ ทนุ 30 บาท/ กิโลกรัม

ขาย 60 บาท/กิโลกรมั

ขา้ วเมา่ หมี่อบสมนุ ไพร

1. ขา้ วเมา่ ทอด 2.5 กก 120 บาท

2. นำ้ ตาลทราย 0.5 กก 13 บาท

3. ถั่วทอด 0.5 กก 50 บาท

4. หอมเจยี ว 0.3 กก 30 บาท

5. พริกเผา 0.2 กก 10 บาท

6. มะขามเปียก 0.2 กก 20 บาท

7. ใบมะกรดู ทอด 0.2 กก 5 บาท

8. กระเทียมเจียว 0.2 กก 20 บาท

9. แบะแซ 1 กก 30 บาท

10. เกลือ 0.1 กก 2 บาท

ต้นทุน 100 บาท/กิโลกรัม

ขาย 200 บาท/กโิ ลกรัม

การผลิตสนิ ค้าข้าวเมา่ หมอี่ บสมนุ ไพร ขนั้ ตอน ดังน้ี

ตั้งกระทะเปดิ ไฟใส่มะขามเปียก นำ้ ตาลทราย พรกิ เผา แล้วเค่ยี วจนเหนยี วข้น เทขา้ วเมา่ ทอด ถั่ว

ทอด ใบมะกรูดทอด กระเทียมเจียว หอมเจียว คลุกเคล้าให้เข้ากัน เสร็จแล้วตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้

บรรจุใสถ่ งุ ปิดปากให้สนิท นำออกจำหนา่ ยตอ่ ไป

ผลิตภณั ฑไ์ ดก้ ารรับรอง อย. เลขที่ 38-2-01057-2-0005

173

รูปภาพประกอบภูมิปัญญาท้องถ่ินดา้ นการเกษตร
กระบวนการผลิตขา้ วเม่าปจั จุบนั

1.การแช่ขา้ ว 2. การค่ัวข้าว

3.การตำข้าว 4. การแปรรูป

รายละเอียดผใู้ หข้ ้อมูลและผูร้ วบรวมข้อมลู ภูมิปัญญาทอ้ งถนิ่ ด้านการเกษตร

ผ้ใู ห้ข้อมูลภูมิปัญญา : นางน้อย จอมทิพย์ (วสิ าหกจิ ชุมชนกลุ่มข้าวเม่าแปรรูปหอมทอง)
ที่อยู่ : 74 หมู่ท่ี 9 ตำบลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ โทรศัพท์ 089-623-1199
พิกดั แผนท่ี : 48P X: 322673 Y: 2027253

https://goo.gl/maps/at13LcGQrPcwec7KA

ผูร้ วบรวมข้อมูล : นายธวัช สาธารณะ ตำแหนง่ นักวิชาการสง่ เสริมการเกษตรชำนาญการ

หน่วยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด

โทรศัพท์ : 081-873-1679

174

จ.บรุ รี ัมย์

: ข้าวเมา่

ประวัติความเปน็ มา

ข้าวเม่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านทำกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย เดิมทีทำกินในครัวเรือน ทำไปวัด ถวายพระ
และทำกินในเทศกาลต่างๆ ต่อมาจึงได้คิดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆหลายชนิด เพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม เพ่ิม
รายได้ให้แก่ครอบครัวและได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมา จุดเด่น คือ ข้าวเม่ามีความ หอม อ่อนนุ่ม ปรุงสดใหม่ และมี
หลากหลายตามความต้องการของลูกค้า เอกลกั ษณ์คือเป็นแหล่งผลิตข้าวเม่าที่ใหญ่ทสี่ ุดในจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็น
ภมู ปิ ญั ญาท่ีสบื ทอดกันมาแลว้ หลายรุ่นและเป็นการถนอมอาหารอีกอย่างหน่ึงดว้ ย

รายละเอียดขัน้ ตอนและวธิ ีการของภูมิปญั ญาท้องถ่นิ ด้านการเกษตร

การทำขา้ วเม่าคลกุ (เบญจรงค)์
วัตถุดบิ
1. ขา้ วเม่าโปร
2. มะพร้าว
3. นำ้ ตาลทราย
4. เกลอื ปน่

ขน้ั ตอนการทำ
1. นำขา้ วเมา่ โปรใส่ในกาละมังคลุก เตมิ น้ำตาลทราย เกลอื ป่น ตามชอบ
2. เติมน้ำมะพร้าวทึนทึกคลุกใหเ้ ข้ากัน
3. ตงั้ พกั ไว้ 15-20 นาที
4. ใส่มะพร้าวขุดฝอย ตามชอบ
5. ใสก่ ลอ่ งจำหนา่ ย ราคา 35 บาท /กล่อง

175

รูปภาพประกอบภมู ปิ ัญญาทอ้ งถนิ่ ด้านการเกษตร

ข้นั ตอนการทำข้าวเม่า

ผลติ ภัณฑข์ า้ วเม่า

176

รายละเอียดผู้ให้ข้อมูลและผูร้ วบรวมขอ้ มลู ภมู ปิ ัญญาท้องถ่ินดา้ นการเกษตร

ผใู้ ห้ข้อมูลภมู ปิ ัญญา : นางประไพพิมพ์ หรบรรพ์ (วิสาหกิจชุมชนผลิตภณั ฑ์แปรรูปจากข้าวเม่า)

ทอี่ ยู่ : 1 หมทู่ ี่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรมั ย์ โทรศัพท์ 089-522-5495
พิกดั แผนท่ี : X: 276394 Y: 1625261 / Latitude : 14.6917588 Longitude: 102.9234409

https://qrgo.page.link/tyn59
ผู้รวบรวมข้อมูล : นายนวิ ฒั น์ คำสอน ตำแหนง่ นกั วชิ าการสง่ เสริมการเกษตรปฏบิ ัติการ
หน่วยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอนางรอง จงั หวัดบรุ รี มั ย์
โทรศัพท์ : 087-877-5939, 044-631-124

177

จ.มหาสารคาม

: ผ้าไหมหยอดทอง

ประวัตคิ วามเปน็ มา

บา้ นป่าตอง ตำบลบา้ นกู่ อำเภอยางสีสุราช จงั หวดั มหาสารคาม เกษตรกรมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก
ร้อยละ 90ซึ่งในการทำการเกษตรจะอาศัยน้ำฝนที่ให้เกษตรกรมีเวลาว่างหลังฤดูทำนาที่นานมาก กลุ่มแม่บ้าน
เกษตรกรบ้านป่าตองจึงได้รวมตัวกันทำอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่า
ตองได้จดั ต้ังกลุ่มปลูกหม่อนเล้ยี งไหมและทอผ้าไหมขึ้น เป็นการสบื ทอดภูมิปัญญาท้องถิน่ เดิมทีป่ ู่ย่าตายายต้ังแต่
บรรพบุรุษได้ถ่ายทองสืบกันมา ให้ผู้หญิงที่จะต้องมีครอบครัวออกเรือนจะต้องปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าเพื่อใช้
ในครัวเรือนให้เป็นถึงจะออกเรือนได้ จึงทำให้แม่บ้านมีความรู้ ทักษะในการทอผ้ามาเป็นรุ่นต่อรุ่นมาจนถึงรุ่น
ลูกหลาน การทอผ้าไหมได้มีการพัฒนาต่อยอด ปรับปรุง รูปแบบลวดลายตลอดจนคุณภาพผ้าไหมขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะการทำผ้าไหมหยอดทองของกลุ่ม ที่เป็นจุดเด่นและสร้างรายได้ให้กับแม่บ้านเกษตรกรเป็นอย่างมาก
ในช่วงประมาณปี พ.ศ.2555 ซึ่งในการทำผ้าไหมหยอดทองนั้นเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ของสมาชิกกลุ่มที่เคยได้
ไปเรียนรู้การหยอดทองลงลายผ้าไหม ที่ จังหวัดชัยภูมิ เมื่อนานมาแล้ว การหยอดทอง นี้เป็นการทำที่จะต้องใช้
ความประณีต สมาธิ มคี วามคิดสร้างสรรค์ มใี จรัก จึงจะทำให้การหยอดทองนั้น ทำให้ผา้ ไหมพ้ืนบ้านลายธรรมดา
เป็นผา้ ไหมทมี่ ลี ายท่ีงดงาม วจิ ติ รบรรจง มีมลู ค่า เปน็ คา่ เพมิ่ คุณค่าให้กบั ช้ินงานหัตถกรรมพ้ืนบ้านได้อย่างลงตัว

ปัจจุบันการ ทำผ้าไหมหยอดทอง ในพื้นที่อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม มีที่เดียวคือกลุ่มเลี้ยง
ไหมบ้านป่าตอง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกู่ และในปัจจุบันนี้ มีสามาชิกกลุ่ม เพียง 2 ราย ที่ยังดำเนินการ
คือ นางทองศรี บุดดีคง และอาจารย์ไพรฑูลย์ ซึ่งเป๋นอาจารย์เกษียณที่ยังดำเนินการอยู่ และแม่ทองศรี
บุดดคง กลัวว่าภูมิปัญญาเกี่ยวกับการหยอดทองสูญหายไป ได้สอนหลานสาวในการ หยอทองบนลายผ้า
เพื่อที่จะให้เด็กรุ่นหลายช่วยสืบทอดภูมิปัญญาต่อไป แต่ก็ประสบปัญหาเนื่องจาก การทอผ้าไหมหยอดทอง
เป็นงานฝมี ือ ต้องมีความประณีตและต้องใชเ้ วลามากในการถักทอกว่าจะได้มาเป็นผ้าถุง 1 ผ่ืน และต้องใช้เวลาใน
การ หยอดทองอีก ทำให้เด็กไปทำงานที่ต่างจังหวัด และตอนนี้ยังต้องการสอนให้กับเด็กรุ่นหลานที่สนใจทำ
แต่ส่วนมากหาคนทสี่ นใจทำในเรื่องน้ีน้อยมาก ปจั จบุ ัน ผา้ ไหมหยอดทอง ถือวา่ เป็นอัตลักษณ์ ของอำเภอยางสีสุ
ราช ที่จะต้องหาคนมาสืบสาน สืบทอดต่อยอดปให้กับลูกหลานในอนาคต จะไดไ้ ม่สญู หายไป

รายละเอยี ดขน้ั ตอนและวิธีการของภมู ปิ ญั ญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

178

1. การปลกู หม่อนเพ่อื เลย้ี งไหม

เกษตรกรที่เลีย้ งไหมจะต้องมีแปลงปลูกหม่อนที่เป็นแปลงของ
ตนเองอย่างน้อยประมาณ 1 งานเพ่ือเอาไวเ้ ลย้ี งตวั ไหม เดิมการปลูกหม่อน
กลุ่มเกษตรกรในบา้ นป่าตองจะปลูกเป็นจำนวนมาก และในชว่ งหนึ่งประสบ
ปัญหาเร่ืองต้นหม่อนตายเป็นจำนวนมากจึงทำให้เกษตรกรไม่ปลูกอีก ยังคง
เหลือแต่แมบ่ ้านเกษตรกรที่มีใจรักในการปลูกหม่อนเล้ียงไหมเท่านัน้ ทย่ี ังคง
พื้นท่ีแปลงปลูกไว้เพ่ือไวเ้ ล้ียงตัวไหม

2. การเลี้ยงไหม

ไ ห ม เ ป ็ น แ ม ล ง ท ี ่ ม ี ก า ร เ ป ล ี ่ ย น แ ป ล ง ร ู ป ร ่ า ง แ บ บ ส ม บ ู ร ณ์
แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และผีเสื้อ วงจรชีวิตไหมจะ
เร่ิมต้นจากไข่ ใชเ้ วลาฟักตวั ประมาณ 9-10 วนั กลายเป็นหนอนไหม ในระยะน้ี
หนอนไหมจะกินใบหม่อนเป็นอาหาร และนอนประมาณ 4-5 ช่วง ใช้เวลา
ประมาณ 22-26 วัน พอหนอนไหมแก่ หรือสุกจะชักใยทำรังหุ้มตัวเอง ตัวไหม
จะลอกคราบเป็นตัวดักแด้อยู่ในรัง ช่วงเป็นรังไหมใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน
จากนั้นดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อ ผีเสื้อไหมจะใช้น้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง
ละลายใยไหม และเจาะรังไหมออกมาผสมพันธุ์และวางไข่ โดยจะมีชีวิตอยู่
ในชว่ งน้ปี ระมาณ 2-3 วนั กจ็ ะตาย

- วธิ กี ารเลีย้ งไหม

การเลี้ยงไหมแรกฟัก ออกจากไข่แล้วเจริญเติบโตเป็นวัย 1 วัย 2 วัย 3
ไหมวัยนี้มีความอ่อนแอต่อโรค จึงจำเป็นต้องมีการเลี้ยงอนุบาลที่ดี เอาใจใส่
อยา่ งดี เป้าหมายการเล้ียงไหมวัยอ่อน คือ เลี้ยงใหห้ นอนไหมสมบูรณแ์ ขง็ แรง
เจรญิ เตบิ โตอยา่ งสม่ำเสมอตืน่ – นอนพร้อมเพรียงกนั

การเลี้ยงไหมวัยแก่ หมายถึง การเลี้ยงไหมนับตัง้ แต่หนอนไหมตื่นจากนอน
วัย 3 จนถึงไหมสุกทำรัง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 11 – 13 วัน หนอนไหมวัยแก่
จะกินใบหมอ่ นปริมาณมาก

1.เลอื กใบหม่อนเหมาะสมกับวยั ของหนอนไหม

2.กอ่ นใหใ้ บหม่อน ควรมกี ารกระจายตวั ไหมใหส้ มำ่ เสมอ

3.ใหใ้ บหม่อนทม่ี ขี นาดเหมาะสมกับวัยของหนอนไหม

4.ขยายพน้ื ทเี่ ล้ยี งให้กบั หนอนไหมอย่างเหมาะสม

3. การสาวไหม

179

เส้นไหมเปน็ ผลติ ภณั ฑ์ท่ีแปรรูปมาจากรงั ไหม ดงั นน้ั วตั ถุดบิ ทก่ี อ่ ให้เกดิ เสน้ ใยคือ รังไหม ทไ่ี ดจ้ าก
การเลยี้ งไหมตง้ั แตแ่ รกฟักจนถึงไหมสุกทำรงั กระบวนการท่ีกอ่ ใหเ้ กิดเสน้ ใยไหมคือ การสาวไหม เป็น
กรรมวิธีในการผลติ เส้นไหม โดยการดงึ เสน้ ใยออกมาจากรังไหม การสาวไหมแบบ
หัตถกรรม คือการสาวด้วยแรงคนดว้ ยพวงสาวพน้ื บ้านสามารถผลติ เส้นไหมได้
3 ชนดิ คอื

1. ไหมลืบ หรือไหมสาม หรอื ไหมช้ันสาม

2. ไหมนอ้ ย หรือไหมยอด หรือไหมชนั้ หนึง่

3. ไหมแลง หรอื ไหมช้ันในสดุ

ขัน้ ตอนการสาวไหม

1. การตม้ รังไหม เมื่อต้มน้ำให้อณุ หภมู ิเดือดแลว้ ใส่รงั ไหมให้จมใตน้ ้ำ

2.การลบื ไหม คือการสาวเสน้ ไหมสว่ นที่เป็นปุยหรอื เปลือกรัง
ช้ันนอก ออกก่อนจะถึงเปลือกรังชั้นใน เสน้ ไหมท่ีไดจ้ ะขนาดใหญ่ แข็งกระด้าง
เรยี กวา่ ไหมลบื

3.การสาวไหม นำรงั ไหมท่ีต้มไดแ้ ล้วนำมาหาเงื่อนโดยใชไ้ ม้คบื หรือ
แปรงตะกยุ ผิวรังหลาย ๆ รังพรอ้ มกันเมือ่ ได้เส้นใยรวมกันหลาย ๆ รัง ให้ดึงเส้น
ใยร้อยเข้ารเู พ่ือรวมเปน็ เส้นเดียวแลว้ ดึงผา่ นรอกสาวพรอ้ มกับทำเกลียวแลว้ ดึง
เสน้ ไหมทท่ี ำเกลยี วผ่านรอกสาวลงภาชนะ

4. เส้นไหม

เสน้ ไหมหลบื หรือไหมเปลือก

เป็นเสน้ ไหมท่ีไดจ้ ากรังไหมช้นั นอก รวมทง้ั ปยุ ไหม นยิ มใช้เป็นเส้น
พุ่งในการทอผ้าและพิธีกรรมต่าง ๆ ลักษณะเส้นไหมจะใหญ่มาก มีปุ่มปม และ
เนื้อหยาบแข็ง เนื่องจากมีกาวไหมเยอะ เมื่อสาวเอาไหมหลืบออกจากรังไหม
แล้วจะตักรังไหมออกจากหม้อต้มมาพักไว้ก่อน จากนั้นจึงจะนำรังไหมนั้นไป
สาวเอาไหมน้อย หรอื ไหมเครือตอ่ ไป

180

เส้นไหมน้อย

เป็นเส้นไหมที่ได้จากเปลือกรังไหมชั้นในหลังจากสาวเอาไหมหลืบ
หรือไหมเปลือกออกไปแล้ว การสาวเอาไหมน้อยนัน้ จะต้องเปลี่ยนนำ้ ตม้ ก่อนจึง
นำรังไหมลงต้ม เส้นไหมที่ได้จะมีลักษณะเส้นเรียบ ขนาดสม่ำเสมอ สีสม่ำเสมอ
รวมตัวกลม สะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน นุ่มมือเมื่อสัมผัส นิยมใช้เป็นเส้นยืนในการ
ทอผ้า เมื่อทอเป็นผืนผ้าแล้วเนือ้ ผ้าจะนุ่ม เรียบ มีความเลื่อมมันของเส้นไหมใน
ระดับดมี าก มคี วามนุม่ นวลดี เส้นไหมมีความเหนยี วสามารถนำมาทำเปน็ เส้นยืน
และเสน้ พุ่งได้ ระดบั ความสม่ำเสมอของสเี ส้นไหมดี สเี ส้นไหมเป็นสีเหลืองทอง

5. การทอผ้าไหม

ผ้ามดั หมี่มกี รรมวธิ ีการทอผา้ ที่ใช้เทคนิคการมัดและการยอ้ ม เร่ิมจาก
นำเส้นด้ายหรอื ไหมมาย้อมสีแลว้ มดั บรเิ วณท่ี ตอ้ งการเก็บไว้ เมอื่ นำไปย้อมสีอืน่ จะ
ไดไ้ ม่ตดิ สี เพียงซึมเขา้ มาบางส่วน โดยยอ้ มเรยี งลำดับจากสีอ่อนไปหาสเี ข้มจนครบ
ตามลวดลายที่กำหนด หลงั จากนั้นจงึ นำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดบั แลว้ นำไปทอ
จะเกิดลวดลายบนผนื ผ้าท่ีมลี ักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลกั ษณ์
เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนจี้ งึ ต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอ
เปน็ อย่างมาก ผา้ มดั หมีม่ ีอย่หู ลายชนดิ ไดแ้ ก่

1. มัดหมี่เส้นพงุ่
2. มดั หม่เี สน้ ยนื
3. มัดหมเ่ี ส้นพุง่ และเส้นยนื

ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมีข่ องกลุม่ แมบ่ ้านเกษตรกรบ้าน
ปา่ ตอง

181

7.การหยอดทอง

ขัน้ ตอน การหยอดทอง ลงบนผ้าไหมทอมอื

1.นำผา้ ไหมมัดหมี่ เลอื กลายทีช่ อบและต้องการ
หยอดทอง

2.นำผา้ ไหมไปอบรีดให้เนื้อผ้าเรยี บและนำไป
วางบนโต๊ะแล้วใช้เข็มกลดั ทำให้ผา้ ตงึ

3.นำวสั ดุทเ่ี ป็นทองคำผสมกบั กาวท่ใี ช้สำหรับ
หยอดทองโดยเฉพาะผสมในอัตราส่วนแลว้ นำไปหยอดลง
บนผา้ ไหมตามลวดลายของผ้าผนื น้ันโดยใช้กรวยจากถงุ
แก้วพับเปน็ กรวย

4.หลังจากหยอดทองเสรจ็ แล้วใหน้ ำผ้าวางผึ่งลม
ให้แห้งประมาณ 2 วัน เพื่อให้กาวแห้ง

วตั ถดุ บิ

1. ผ้าถุงผ้าไหมทอมือ
2. ทอง (ฝุน่ ผง)
3. กาวสำหรบั หยอดทอง
4. กระดาษแก้วทต่ี ดั แลว้ พับเปน็ กรวย
5. โตะ๊ สำหรับวางผ้า
6. เข็มหมุด

182

ทอง เงนิ ทับทมิ
ราคาจำหน่าย
ผา้ ไหมหยอดทอง ปกติผา้ ไหม 1 ผืน ยาว 2 เมตร ราคา 2,000-2,500 บาท
ถ้าเป็นผา้ ไหมหยอดทอง 1 ผืน ยาว 2 เมตร ราคา 3,500 บาท
ผลิตภัณฑ์ได้รบั การรบั รอง
OTOP 3 ดาว 4 ดาว 5 ดาว ลายผ้าประจำอำเภอยางสีสุราช คือ ลายดอกขจร

รูปภาพประกอบภูมิปัญญาทอ้ งถ่ินด้านการเกษตร

183

รายละเอยี ดผใู้ ห้ข้อมลู และผรู้ วบรวมข้อมลู ภูมิปญั ญาท้องถิน่ ดา้ นการเกษตร

ผูใ้ ห้ข้อมูลภูมิปัญญา : นางทองศรี บุดดีคง (กลุม่ หม่อนเล้ียงไหมบ้านป่าตอง)
ทอี่ ยู่ : 63 หมูท่ ่ี 3 ตำบลบา้ นกู่ อำเภอยางสีสรุ าช จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 086-069-2923
พกิ ัดแผนที่ : 48P X: 296873 Y: 1734641

184

https://goo.gl/maps/ZdrgyMsLLUY52bbR6

ผูร้ วบรวมข้อมูล : นางสาวนวลอนงค์ ปะรเิ วทงั ตำแหน่ง นักวชิ าการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอยางสีสรุ าช

โทรศัพท์ : 065-024-0206

185

จ.มกุ ดาหาร

: การปลูกข้าวในบ่อซเี มนต์

ประวัติความเปน็ มา

เนื่องจากการเกิดปัญญาภัยแล้งติดต่อกันหลายปี ทำให้การทำนาได้ผลผลิตเล็กน้อยประกอบพกับพื้นที่
การเกษตรไมเ่ หมาะสมกับการทำนา จงึ เกิดแนวคดิ ปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์

จุดเด่น คือ ใช้พื้นที่น้อย ดูแลง่าย ควบคุมการให้น้ำให้ปุ๋ยและกำหนดวันเก็บเกี่ยวได้ ให้ผลผลิตสูงเม่ือ
เทียบ กบั ปลูกในท่ีนา

รายละเอยี ดขน้ั ตอนและวธิ ีการของภมู ปิ ัญญาท้องถน่ิ ด้านการเกษตร

ขนั้ ตอนการปลูกขา้ วในบ่อซีเมนต์
บ่อซีเมนตข์ นาด กว้าง 80 ซม. สูง 50 ซม. ใช้พื้นที่ 1 ตารางเมตรต่อบ่อ
1. การเตรียมบ่อ ขดุ ดินใหเ้ ปน็ ตอ่ ร่องลึก 20 ซม. วางบอ่ ลงและกลบดินรอบๆ บ่อ
2. การเตรียมดิน ผสมดินปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 : 1 ใส่ลงในบ่อให้ได้ประมาณ 35 ซม . ใส่น้ำลงไปให้น้ำ
ท่วมดนิ แชท่ ้งิ ไว้ 2 คืน
3. การลงมือปลูก ก่อนปลูกย่ำดินให้เละ นำต้นกลา้ มาปักดำ ขา้ ว 1 กอ มตี ้นข้าว 3-4 ต้น แต่ละกอห่าง
กันประมาณ 1 ฝ่ามอื ในบอ่ วง 1 บอ่ จะปักดำได้ 10 กอ.
4. การให้นำ้ เม่ือปักดำได้ 2-3 วนั ใหใ้ สน่ ำ้ ในบ่อสูง 5 ซม. เม่อื อายุข้าวได้ 1 เดือน ใหใ้ ส่นำ้ ในบ่อสูง 10
ซม. แล้วรักษาระดับน้ำไว้ ช่วงข้าวตั้งกอ งดให้น้ำเป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นค่อยให้นำ้ ต่อ ถึงช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 7
วัน จงึ งดใหน้ ้ำ
5. การใส่ปุ๋ย หลังจากปกั ดำข้าวได้ 7 วนั ใสป่ ๋ยุ อินทรีย์ คร่ึงกิโลกรมั ตอ่ 1 บอ่ และใช้อีกคร้ัง เมอ่ื ตัวอายุ
ได้ 20 วัน คร่ึงกิโลกรมั ตอ่ 1 บอ่ และฉีดป๋ยุ ทางใบ ทุก 15 วัน

186

รูปภาพประกอบภมู ิปญั ญาท้องถิน่ ด้านการเกษตร

การปลูกขา้ วในบ่อซเี มนต์

187

รายละเอยี ดผ้ใู หข้ ้อมูลและผูร้ วบรวมข้อมลู ภมู ิปัญญาทอ้ งถิ่นด้านการเกษตร

ผู้ให้ข้อมูลภมู ิปัญญา : นายสมาน หาไชย (เครือข่ายศนู ย์การเรียนรู้และเพิ่มประสิทธภิ าพด้านการเกษตรตำบล
หนองแวง)
ทอ่ี ยู่ : 145 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวดั มุกดาหาร โทรศัพท์ 089-419-0020
พกิ ัดแผนที่ : X: 458552 Y: 1816745 Latitude : 16.431850859507087 Longitude : 104.611762647483

https://qrgo.page.link/JXwFT
ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวพัชรี คนยืน ตำแหน่ง นักวชิ าการสง่ เสริมการเกษตรปฏิบัติการ
หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอนคิ มคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
โทรศพั ท์ : 095-190-3835, 042-681-050

188

จ.ยโสธร

: ผงชาร์โคลจากฟางข้าวอินทรยี ์

ประวตั ิความเปน็ มา

จังหวัดยโสธรเป็นต้นแบบของการทำเกษตรอินทรีย์ มีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์เป็นจำนวนมาก ทำให้มีฟาง
ขา้ วเป็นจำนวนมากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย กลมุ่ วสิ าหกิจชุมชนแปรรูปไม้ไผ่และสมุนไพรบ้านเชียง
เพง็ จงึ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการลดการเผาฟางข้าวในพ้ืนที่นา และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้ทาง
การเกษตร ทางกลุ่มฯ จึงไดศ้ กึ ษาหาความรสู้ อบถามข้อมูลจากปราชญช์ าวบา้ นท่ีมคี วามรู้เปน็ ภมู ิปัญญาท้องถิ่นโดย
จะนำฟางข้าวมาเผาให้เป็นถ่านแล้วนำมาผสมกับน้ำซาวข้าว ใช้ทำความสะอาดตามร่างกาย พร้อมทั้งได้ศึกษา
ข้อมูลการใช้ถ่านชาโคลซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้รักสขุ ภาพโดยใช้ผงถ่านชาโคลเป็นสว่ นผสมของผลิตภัณฑ์ด้านการ
ดูแลรักษาความสะอาดและบำรุงผิวหนัง แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นไม้ไผ่ นำมาเผาเพื่อทำถ่านชาโคล ทางกลุ่มฯจึงมี
แนวคดิ ผลิตถ่านชาโคลจากฟางข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ของท้องถ่ินเป็นอัตลักษณ์ของพ้ืนท่ี และมีความแตกต่างอย่าง
สร้างสรรค์ โดยทางกลุ่มฯใช้องค์ความรู้จากประธานกลุ่มคือนายนายอภิชัย รุ่งโพธิ์ทอง ซึ่งมีความรู้ความสามารถ
ด้านชา่ งฝมี ือหลายด้านมาผลิตเตาความร้อนสูง 1,000 °c และได้ทดลองนำฟางข้าวอินทรีย์มาเผาเพื่อทำถ่านชาโคล
ผลที่ได้ผงถ่านชาโคลจากฟางข้าวอินทรีย์มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้เทียบเท่ากับผงถ่านชาโคลที่ผลิตจากไม้ไผ่ แต่มี
ความละเอียดเนยี นนุ่มกวา่ ผงชาโคลไม้ไผ่ สามารถนำผงถา่ น ชาโคลฟางข้าวมาแปรรูปเป็นผลติ ภัณฑ์ท่หี ลากหลาย

ดังนั้นทีชาโคล ยโสธรชาโคลไทยโสธรแท้ 100% คุณค่าแห่งภูมิปัญญาวัตถุดิบจากท้องทุ่งนาอินทรีย์
จังหวัดยโสธร "เมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน"ผสานภูมิปัญญาโบราณ ใช้ถ่านเป็นสมุนไพร แปรงฟัน ใส่
แผล ดดู กลิ่น ผา่ นนวตั กรรมชมุ ชนและความเป็นช่าง เกดิ เป็นเตาเผาชาโคล 1,500°c เมอ่ื 3 สิ่งรวมกันคอื 1.วัตถุดิบ
จากท้องถิ่น 2.ภูมิปัญญาโบราณ 3.นวัตกรรมเตาเผา1,500°c ผลลัพธ์คือ ผงชาโคลจากฟางข้าวอินทรีย์ที่มีความ
ละเอียดสูงแตกต่างจากชาโคลที่เคยมีมา เป็นการแปรรูปเพิ่มมูลค่าฟางข้าวอย่างขั้นสุด ผงชาโคลฟางข้าวราคา
กิโลกรมั ละ 4,000 บาท มากว่าราคาคุณสมบัติ ดูแลสขุ ภาพผวิ ไดเ้ ป็นอย่างดี ด้วยความละเอียดของผงชาโคลทำให้
สามารถดูดส่ิงสกปรกได้ลึกล้ำทุกรูขุมขน ทำให้ฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่แข็งแรง คอื ฐานประเทศท่ีมั่นคงสร้างรายได้
ให้แก่สมาชิกกลุ่มและเกษตรกรผ้สู นใจ ตอ่ ไป

รายละเอยี ดข้ันตอนและวธิ กี ารของภูมิปญั ญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

ขั้นตอนการแปรรูปชารโ์ คลจากฟางข้าวอินทรีย์
1. เตรยี มฟางข้าวตากให้แห้งสนิท
2. นำฟางข้าวบรรจุในถังควบคุมอากาศให้เต็มและปิดฝา
3. จดุ เตาเผาถ่านความร้อนสูงวอร์มเตาให้ร้อนแล้วนำถังทบ่ี รรจุฟางข้าวใสล่ งในเตา
4. เติมฟนื เช้อื เพลิงให้เต็มเตาแลว้ ปิดฝา
5. เร่งอากาศเขา้ ในเตาจนเผาไหม้ฟืนหมด แล้วทงิ้ ไว้ให้เยน็ (ประมาณ 3-4 ช่วั โมง)
6. นำถังบรรจุฟางออกมาจากเตาเปิดฝานำชารโ์ คลจากฟางข้าวมาบดเปน็ ผง
7. บรรจใุ ส่ถุงเพื่อใชเ้ ปน็ ส่วนผสมของผลติ ภัณฑต์ ่างๆ ดังนี้

- สบู่ชาโคล นำ้ มนั ธรรมชาติ ปรมิ าตร 100 กรมั ราคา 100 บาท
- แทน่ ชาโคลวางมือถือแบบผา้ ทอมือย้อมสีธรรมชาติ ชน้ิ ละ ราคา 399 บาท
- ผงมาร์คหนา้ ชาโคลถ่วั เขยี ว ปรมิ าตร 10 กรมั ราคา 30 บาท

189

- ถุงชาโคลดดู กล่นิ ฟองอากาศ ปริมาตร 120 กรัม ราคา 150 บาท
ขน้ั ตอนการผลิตสบู่ชาโคล นำ้ มนั ธรรมชาติ
สว่ นผสม
1. นำ้ มนั เมล็ดในปาล์ม
2. นำ้ มนั มะพร้าว
3. ผงชาโคลฟางข้าวอนิ ทรยี ์
4. นำ้ ผงึ้
5. โซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์)
6. นำ้ สะอาด
7. น้ำหอม
ขั้นตอนการผลติ
1. เทนำ้ มนั เมลด็ ในปาล์มกับน้ำมันมะพร้าวลงภาชนะกวนให้เข้ากัน
2. ละลายโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์) ในนำ้ สะอาดแล้วพักไว้
3.เติมน้ำละลายโซดาไฟ(โซเดียมไฮดรอกไซด์)ลงในน้ำมัน(น้ำมันเมล็ดในปาล์มน้ำมันมะพร้าว)แล้วกวนให้
เขา้ ประมาณ 15 นาที
4. เติมส่วนผสมที่เหลือตามลงไป (น้ำผึ้ง,ผงชาโคลข้าวอินทรีย์,น้ำหอม)แล้วกวนให้เข้ากันจนเกิดความ
เหนียวหนดื
5. เทสบทู่ ี่กวนจนเหนียวหนืดแลว้ เทใส่แบบพิมพ์ แลว้ พักไว้ 30 วัน
6. พักบม่ ครบ 30 วันแลว้ นำมาตัดเป็นก้อนเพ่ือนำไปใชแ้ ละจำหน่าย
ขั้นตอนการผลิตผงมาร์คหนา้ ชาโคลถ่ัวเขียว
ส่วนผสม
1. ผงชาโคลฟางข้าวอนิ ทรีย์
2. ผงถ่ัวเขียว
ขน้ั ตอนการผลิต
1. นำผงชาโคลฟางข้าวอินทรยี ์ 1 ส่วน ผสมผงถ่วั เขยี ว 2 ส่วน ผสมใหเ้ ข้ากัน
2. บรรจลุ งซองติดฉลากพร้อมจำหน่าย
วธิ ีใช้ : นำผงมารค์ หน้าชาโคลถวั่ เขียวลงภาชนะเติมน้ำสะอาดผสมให้เข้ากนั แล้วนำมาขดั ผิวทิ้งไว้ 10 – 15
นาทแี ล้วลา้ งหน้าดว้ ยน้ำสะอาด
ข้นั ตอนการผลิตแท่นชาโคลวางมือถือแบบผา้ ทอมือย้อมสีธรรมชาติ
ขั้นตอนการผลิต
1.นำผงชาโคลฟางข้าวอินทรีย์ใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยการนำผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติมาเย็บเป็น
กลอ่ งสามเหลี่ยมเพื่อใช้เป็นที่วางมือถือ
2. ตดิ สตก๊ิ เกอร์โลโก้กลุ่มวิสาหกจิ ชุมชนแปรรูปไม้ไผ่และสมนุ ไพรบ้านเชยี งเพ็ง เพือ่ จำหนา่ ยต่อไป
วิธีใช้ : นำมือถือวางบนแท่นชาโคลแบบผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ เพื่อดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าป้องกัน
อนั ตรายจากคล่ืนและสญั ญาณของโทรศัพท์มือถือได้ดีขึน้
ข้ันตอนการผลติ ถุงชาโคลดูดกลนิ่ ฟอกอากาศ
ข้ันตอนการผลิต

190

1.นำผงชาโคลฟางข้าวอินทรีย์ใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยการนำผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติมาเย็บเป็น
ถงุ ผา้ เพ่อื ใชเ้ ป็นถงุ ชาโคลดูดกล่ินฟอกอากาศท้ังในบ้านและในรถยนต์

2. ติดสติก๊ เกอร์โลโก้กลุ่มวิสาหกจิ ชุมชนแปรรูปไม้ไผ่และสมุนไพรบ้านเชยี งเพง็ เพ่ือจำหน่ายต่อไป
วิธีใช้ : นำถุงชาโคลดูดกลิ่นฟอกอากาศไปแขวนในที่ต่างๆภายในบ้านหรือภายในห้องโดยสารรถยนต์ เพื่อ
ใช้ดูดฝุ่นละออง และเช้ือโรคท่ีอยู่ในอากาศได้เปน็ อย่างดี
ผลิตภณั ฑไ์ ดร้ บั การรับรอง ใบรบั จดแจ้งรับจา้ งผลติ เคร่ืองสำอาง (อย.) เลขท่ี 34-1-6300039516

รูปภาพประกอบภมู ปิ ัญญาทอ้ งถ่ินดา้ นการเกษตร

รายละเอียดผู้ใหข้ ้อมลู และผรู้ วบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถน่ิ ดา้ นการเกษตร

191

ผใู้ หข้ ้อมูลภูมปิ ัญญา : นายอภิชยั รุ่งโพธท์ิ อง (วสิ าหกิจชมุ ชนแปรรูปไม้ไผ่และสมุนไพรบ้านเชยี งเพ็ง)
ทีอ่ ยู่ : 218 หม่ทู ่ี 7 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จงั หวัดยโสธร โทรศัพท์ 063-775-9797 , 063-775-9797
พิกัดแผนท่ี : 48 P X= 440386 Y= 1751783

https://goo.gl/maps/Cu6KzR3NAvQi6wTy6

ผ้รู วบรวมข้อมูล : นายครุศาสตร์ สงั ฆะศรี ตำแหนง่ นกั วชิ าการสง่ เสริมการเกษตรปฏบิ ัติการ
หนว่ ยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอปา่ ติ้ว
โทรศัพท์ : 080–739-1865


Click to View FlipBook Version