The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การปลูกผักสำหรับคนเมือง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การปลูกผักสำหรับคนเมือง

การปลูกผักสำหรับคนเมือง

Keywords: การปลูกผักสำหรับคนเมือง

50 ปี กรมส่งเสรมิ การเกษตร

(พ.ศ. 2510 - 2560)

ความหมายของตราสัญลกั ษณ์

l ตัวเลข 50 พร้อมข้อความ “50 ปี กรมสง่ เสรมิ การเกษตร” และ
ตราสัญลกั ษณก์ รมส่งเสรมิ การเกษตร แทนวาระครบรอบ 50 ปี
สถาปนากรมสง่ เสรมิ การเกษตร ออกแบบให้ตวั เลข 50 เก่ยี วพันกนั
เหมอื นสญั ลักษณ์ infinity ซึ่งหมายถงึ ความไมม่ ที ส่ี ิน้ สดุ
l ใบไม้ แสดงถึงสญั ลักษณ์ทางการเกษตร มาจากตราสญั ลักษณป์ ระยกุ ต์
ของกรมสง่ เสริมการเกษตร
ความหมายเป็น 50 ปีท่ีมุ่งม่ันปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง
ดว้ ยความสามคั คีและเป็นน�้ำหนง่ึ ใจเดยี วกนั เปน็ ผสู้ ง่ เสริมนำ� ความสำ� เร็จ ความกา้ วหนา้
มาสู่กิจการเกษตรกรรมด้านต่างๆ และมีการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเพ่ือประโยชน์
แก่เกษตรกรตลอดไป



เอกสารคำ� แนะน�ำที่ 3/2561

การปลกู ผกั สำ�หรบั คนเมอื ง

พมิ พค์ ร้งั ท่ี 1 : จำ� นวน 5,000 เลม่ เมษายน พ.ศ. 2561
จัดพมิ พ์ : กรมสง่ เสรมิ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมพ์ที่ : บริษัท นวิ ธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำ� กัด

คำ�นำ�

พืชผัก เป็นอาหารบริโภคท่ีประชาชนบริโภคทุกวัน

และเป็นพืชที่ผู้ใส่ใจในสุขภาพนิยม โดยเฉพาะอย่างย่ิงต้องการ
ผักท่ีแน่ใจว่าปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง และจุลินทรีย์ จึงนิยมที่จะ
ปลูกผักไว้รับประทานเอง และเป็นงานอดิเรก พืชผักเป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก
ผู้ปลูกไม่ต้องใช้พื้นที่มากนักในการผลิตผักให้เพียงพอส�ำหรับครอบครัว
ซ่ึงเหมาะส�ำหรบั ประชาชนทอี่ าศัยในเมืองท่ีมพี น้ื ที่จำ� กัด
   กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดท�ำเอกสารค�ำแนะน�ำ เร่ือง “การปลูกผัก
ส�ำหรับคนเมือง” เพ่ือให้ผู้สนใจใช้เป็นคู่มือและแนวทางในการปลูกผักส�ำหรับ
ผมู้ พี ้นื ทจี่ �ำกัดไดม้ ผี ักไวบ้ ริโภคในครัวเรือน


กรมส่งเสรมิ การเกษตร
2561

สารบญั

13

57

การปลูกผัก 1

สิง่ ที่ควรรู้ : ปจั จัยที่เกย่ี วข้อง 3
กับการปลูกผกั

มารู้จกั การปลกู ผกั ส�ำหรบั คนเมือง 5

ตอบข้อสงสยั ส�ำหรับการปลกู 7
พชื ผักสวนครัวสำ� หรับคนเมือง

13

9 15

ขั้นตอนการปลูกผักส�ำหรบั คนเมอื ง 9 เทคนิคการปลกู ผักสวนครัว 8 กล่มุ 15
● การเพาะกล้า 9 ● กลมุ่ แตงและกลุ่มถ่ัวบางชนิด 15
● รปู แบบการปลกู ผกั 10 ● กลุ่มกะหลำ�่ และกลุ่มสลดั 16
● การดแู ลรกั ษา 11 ● กล่มุ พริก มะเขอื 17
● การเกบ็ เกี่ยว 12 ● กลมุ่ หอมและกลุ่มสะระแหน ่ 18
● กลุม่ ขิง 19
การเพาะตน้ อ่อนทานตะวัน 13 ● กลุม่ ผกั ชแี ละกล่มุ ผักบงุ้ 20
ทางเลือกสำ� หรบั คนเมอื งที่มี ● กลมุ่ แมงลกั และกลมุ่ ผักชฝี ร่งั 21
พน้ื ท่ีจ�ำกดั หรอื ไมม่ ีพน้ื ที่เพาะปลูก ● กลมุ่ อื่นๆ 22
และแสงแดดส่องไมถ่ งึ
บรรณานุกรม 26

>> กรมสง่ เสริมการเกษตร

การปลูกผกั

กระแสการปลูกผักปัจจุบันก�ำลังมาแรง เน่ืองจากปัจจุบันคนเราหันมาใส่ใจ
ในเร่ืองสุขภาพมากข้ึน จึงต้องการปลูกผักไว้รับประทานเองเพื่อจะได้มีผักสดและ
ปลอดภัยไว้รับประทาน และให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งการปลูกผัก
จะชว่ ยในเรื่องการลดคา่ ใช้จ่ายลงไดพ้ อสมควร
ปัจจุบันวิถีความเป็นอยู่ของคนในเมือง ไม่ว่าจะเป็นคนที่อาศัยอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร หรือตามตัวเมืองต่างจังหวัด มักอาศัยอยู่ในอะพาร์ตเมนต์
คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หรือแม้แต่หอพัก ซึ่งจะมีพ้ืนท่ีอยู่อาศัย
ค่อนข้างเล็กและจ�ำกัด ดังนั้น เร่ืองพื้นที่ว่าง
ส�ำหรับปลูกพืชผักจึงมีน้อย แต่ในความเป็นจริง
แม้มีพื้นที่น้อย พ้ืนที่จ�ำกัดเราก็สามารถ
ปลูกผักได้ โดยการเลือกมุม จัดมุม หรือ
บริเวณท่ีต้องการปลูกผัก แล้วเลือกว่าจะ
ปลูกผักอะไร ปลูกแบบไหน ใช้ดินหรือ
ไม่ใช้ดินปลูกพืช ซึ่งการตัดสินใจท้ังหมด
ควรมาจากผู้ปลกู เอง

1การปลูกผกั สำ�หรับคนเมอื ง

2 กรมสง่ เสริมการเกษตร

สิ่งท่คี วรรู้ : ปัจจัยทีเ่ กี่ยวข้องกบั การปลกู ผกั

1. ดินหรือวัสดุปลูก ต้องมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอต่อการเจริญเติบโต

ของพืชผัก

ตวั อยา่ งสูตรการเตรียมดนิ เพอ่ื ปลกู ผกั ในกระถาง

l ดิน 1 สว่ น : ขยุ มะพร้าวหรอื ขี้เถา้ แกลบ 1 ส่วน : ปยุ๋ คอกหรอื ปุย๋ หมกั
1 สว่ น

l ผสมสว่ นผสมให้เปน็ เน้อื เดียวกนั
l รดน้�ำให้มีความช้ืนประมาณ 80% หรือใช้มือก�ำ ดินควรเกาะตัว

เป็นกอ้ น ไม่แตกหรอื เหนียวติดมือ สามารถนำ� ไปใชไ้ ด้

2. น�้ำ เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญส�ำหรับการหล่อเล้ียงชีวิตพืช ในพืชผักส่วนใหญ่

ประกอบด้วยน้�ำประมาณ 65% ดังน้ันการเจริญเติบโตของผักข้ึนกับปริมาณ
น�ำ้ ทีเ่ พยี งพอและวธิ ีการให้น�้ำ (ผักเป็นพชื บอบบางการให้น�้ำทรี่ นุ แรง อาจท�ำใหพ้ ืชผักช�้ำ
และเกดิ รอยแผลทำ� ให้เช้อื โรคเข้าท�ำลายไดง้ ่าย)

3. แสง มีความจ�ำเปน็ ในการปรุงอาหารส�ำหรับพชื พืชส่วนใหญ่ตอ้ งได้รับแสง

อย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมง บางชนิดสามารถปรับตัวในท่ีร่มร�ำไรได้ เช่น ชะพลู
สะระแหน่ กะเพรา ดังนั้น ควรส�ำรวจสภาพพื้นท่ีว่าสามารถรับแสงได้มากน้อยเพียงใด
กอ่ นการเลือกชนิดพืชผกั มาปลกู

4. ธาตอุ าหารพชื พชื จำ� เปน็ ตอ้ งใชธ้ าตอุ าหารในการเจรญิ เตบิ โต โดยธาตหุ ลกั

ที่พชื ต้องการ คอื ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K) นอกจากน้ี
ยังมีธาตุอาหารรองที่แม้จะใช้ปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน เช่น แคลเซียม โบรอน
แมกนีเซียม เป็นต้น ดังน้ันหากเราปลูกพืชในกระถางหรือภาชนะ ธาตุอาหารจากปุ๋ยคอก
หรือป๋ยุ หมกั อาจไม่เพยี งพอ จึงจำ� เปน็ ต้องใส่ปยุ๋ วทิ ยาศาสตร์เพิ่มเติมบ้าง โดยทั่วไปมักใช้
ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือปยุ๋ สตู รเสมอ

3การปลูกผักสำ�หรับคนเมอื ง

4 กรมสง่ เสริมการเกษตร

มาร้จู ักการปลกู ผักสำ�หรบั คนเมอื ง

การปลูกผกั สวนครวั คือ การปลกู ผักไว้ในบรเิ วณบา้ นหรอื ทวี่ ่างตา่ งๆ ในชุมชน
โดยมีวัตถุประสงค์ เพือ่ ปลูกไว้สำ� หรับรบั ประทานเองภายในครอบครวั หรอื ชมุ ชน
การปลูกผักส�ำหรับคนเมือง เป็นการปลูกผักสวนครัวในพ้ืนท่ีจ�ำกัด โดยส่วนใหญ่
ผักท่ีถูกเลือก มักเป็นผักท่ีมีการใช้ประกอบอาหารประจ�ำวัน แต่ใช้ปริมาณไม่มากใน
แต่ละคร้ัง เชน่ พริก กะเพรา โหระพา สะระแหน่ เปน็ ต้น

ประโยชน์ของการปลกู ผัก 5การปลูกผักสำ�หรับคนเมือง

l ประหยัด ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยเฉพาะการปลูกผักที่ใช้ประกอบ
อาหารประจ�ำวัน

l มีสุขภาพดี เน่ืองจากได้กินผักสด
ปลอดภัยจากสารพษิ น่นั เอง

l ใชพ้ ้ืนที่ว่างเปล่าให้เกดิ ประโยชน์
l ปลูกเป็นร้ัวบ้าน (รั้วกินได้) เช่น

กระถินบ้าน ชะอม ซ่ึงสามารถเก็บ
กินได้ทั้งปี
l สามารถปลูกประดับตกแต่งบ้านได้
โดยจัดสวนเป็นผักสวนครัว ปลูกใน
กระถางแขวน หรือท�ำซุ้มผักเล้ือย
ข้นึ ค้างได้
l สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
และเพื่อนบ้าน
l ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
l เกดิ ความภาคภมู ใิ จ ในฝมี อื การปลกู ผกั
ดูแลสวนผัก ต้ังแต่เริ่มจนผลิดอก
ออกผล สามารถเกบ็ เก่ียวผลผลติ ได้

6 กรมสง่ เสริมการเกษตร

QAuenstsiwoenrssพตืชผอักบสขวอ้ นสคงสรัวยั สสำำ��หหรรบั ับคกนาเรมปอืลกูง

Q Aมีพ้ืนทจ่ี ำ�กัด จะปลกู ผกั ได้ยังไง
ปลูกพชื ผักในภาชนะจะสามารถ
เคล่อื นย้ายได้ และไม่ตอ้ งใชพ้ ื้นทมี่ าก

A Q มพี ้นื ที่ไดร้ บั แสงน้อยจะปลกู พืชผกั ได้หรอื
ชะพไลดู ้วโอดเยตเอลรอื ์เกคพรสืชผสักะทร่ีไะมแต่ หอ้ นง่กผากั รชแี สขงนึ้ มฉา่ากยเเชปน่ ็นต้น

Q พน้ื ทีแ่ คบมากจะปลกู แบบไหนดี
A สามารถทำ� สวนแนวตั้ง ปลกู ขน้ึ ซมุ้

เปน็ ทางเดิน หรอื ท�ำเป็นภาชนะแขวน

Q อยู่คอนโดมิเนยี ม มเี พยี งระเบียงเล็กๆ
แสงสอ่ งไมถ่ งึ และปลูกผกั จะเลาะเทอะไหม

A แนะนำ� การเพาะผกั งอก หรือตน้ ออ่ นพืช
ซึ่งไมต่ ้องการแสง ใช้พน้ื ท่ีนอ้ ย และไม่เลอะเทอะ

จะปลูกผกั อะไรดเี ลอื กไมถ่ กู

A Qกาแรลเะลเอื ลกือชกนปดิ ลผูกักผทักป่ี ทล่ีเรกู าตใอ้ชง้ปดรคูะวกาอมบเหอามหาาะรสปมรขะอจง�ำพวื้นันท่ี

7การปลูกผักสำ�หรบั คนเมอื ง

8 กรมสง่ เสริมการเกษตร

ขน้ั ตอนการปลกู ผกั สำ�หรบั คนเมอื ง

1. การเพาะกล้า

วิธเี พาะกลา้ ถาดเพาะ ถงุ เพาะ
หรอื ปกั ชำ�
เมล็ดพันธ์ุ หรือ ควรแช่เมล็ดพนั ธดุ์ ว้ ยนำ้� อนุ่ เลือกกงิ่ ก่ึงอ่อนก่ึงแก่ ทไ่ี ม่มโี รค
ท่อนพนั ธุ์ (อุณหภมู ิ 55-60 องศาเซลเซยี ส) ความยาวนบั ขอ้ ประมาณ 4-5 ข้อ
ประมาณคร่ึงช่วั โมง เพอื่ ฆ่าเชื้อโรค ตดั ส่วนยอด ริดใบออกเหลือประมาณ
บางชนิดทตี่ ดิ มากับเมล็ด และ 1-3 ใบ
เปน็ การกระตุ้นการงอกให้เรว็ ขึน้

ดินหรือวสั ดเุ พาะ ดนิ เพาะกล้า
ดิน 1 ส่วน : ขยุ มะพรา้ วหรอื ขเ้ี ถา้ แกลบ 1 ส่วน : ปยุ๋ คอกหรอื ปุ๋ยหมัก 1 สว่ น
ความชืน้ 80 %

การหยอด หยอดเมล็ดพนั ธุล์ งในหลุมๆ ละ 1 เมลด็ ปกั ก่ิงลงในดินมดิ ขอ้ ก่ิงแรก เพอื่ ให้ราก
เมลด็ พนั ธห์ุ รือ กลบดินบางๆ รดน้ำ� ดว้ ยบวั ฝอย เกิดทข่ี อ้ รดน�้ำดว้ ยบวั ฝอย
การปักช�ำทอ่ นพันธุ์

การดูแล รดน�้ำสม�่ำเสมอทกุ วนั วนั ละ 1-2 คร้งั ในเวลา เชา้ และบ่าย
การยา้ ยกลา้ ปลูก โดยท่ัวไปอายกุ ลา้ ผกั กนิ ใบทเี่ หมาะสม สงั เกตแตล่ ะข้อ หากมีการผลิใบอ่อน ให้
ในการยา้ ยปลกู ประมาณ 15-20 วนั ทงิ้ ไวป้ ระมาณ 15-30 วัน เม่ือต้นสมบรู ณ์
แต่ส�ำหรบั กลุม่ กะเพรา พรกิ และมะเขือ แขง็ แรง จงึ ท�ำการยา้ ยลงกระถางปลูก
ต่างๆ ควรมอี ายุ 25-30 วัน

9การปลกู ผักสำ�หรบั คนเมือง

2. รปู แบบการปลูกผัก

2.1 การปลูกผักบนพ้ืนดิน หรือแปลงปลูก ในกรณีที่มีพ้ืนท่ีเพียงพอ

สำ� หรับการเพาะปลูกผักสวนครวั
l การเตรียมดิน ให้ท�ำการพรวนดินตากแดดไว้ประมาณ 7-15 วัน
จากนั้นยกแปลงสูง 4-5 นิ้ว กว้างประมาณ
1-1.2 เมตร ความยาวข้ึนกับพ้ืนทห่ี รือความต้องการ
ก า ร ว า ง แ ป ล ง ค ว ร ใ ห ้ อ ยู ่ ใ น แ น ว ทิ ศ เ ห นื อ - ใ ต ้
เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วแปลง ใส่ปุ๋ยคอกหรือ
ปุ๋ยหมักจ�ำนวน 2 กิโลกรัมต่อพ้ืนท่ี 1 ตารางเมตร
คลุกเคล้าใหท้ ัว่ ก่อนทำ� การปลูกผัก

2.2 การปลูกผกั ในกระถาง ในกรณีที่มพี ้นื ทจี่ ำ� กดั หรือไมม่ ีพื้นที่เพาะปลูก

ผักบนพนื้ ดนิ เราสามารถท�ำการเพาะปลกู ในภาชนะ ซ่ึงสะดวกตอ่ การดแู ล และขนยา้ ย
l การเลือกภาชนะปลูก ภาชนะมีความหลากหลายทั้งรูปร่าง
รูปทรง เช่น กระถางพลาสติก กระถางดินเผา กระถางเคลือบ โอ่งแตก กะละมัง
ลังไม้ กล่องโฟม ฯลฯ ต้องเลือกใหเ้ หมาะสมกับชนิดของผกั

พืชผัก อายุผัก ความยาวของรากผกั ขนาดภาชนะ
ผกั ใบ เช่น ผกั สลัด อายสุ ้ัน ประมาณ เส้นผา่ ศนู ย์กลาง 4 น้วิ ขน้ึ ไป
กวางตงุ้ ผักบุ้ง ผกั ชี 25-60 วนั ความลึก 10-30 เซนติเมตร
20 เซนติเมตร

ผักยนื ตน้ เช่น พรกิ อายปุ านกลาง มากกว่า เส้นผา่ ศนู ย์กลาง 10 น้วิ ข้ึนไป
กะเพรา มะเขือ - ยนื ต้น 20 เซนติเมตร ความลกึ ไมต่ ่�ำกวา่ 50 เซนตเิ มตร
ชะอม 6 เดือน-ข้ามปี

10 กรมส่งเสริมการเกษตร

l การเตรียมภาชนะปลูก เมื่อได้ภาชนะท่ีมีความเหมาะสมกับ
ชนิดพืชผักและมีความแข็งแรง คงทนแล้ว ภาชนะปลูกจ�ำเป็นต้องมีรูส�ำหรับระบายน้�ำ
เพื่อให้น�้ำส่วนท่ีเหลือจากการดูดซับไม่ขังในภาชนะปลูก ซ่ึงเป็นสาเหตุให้เกิดรากเน่า
หรือพืชผักไม่เจริญเติบโตและตายได้ โดยขนาดของรูและจ�ำนวน พิจารณาให้เหมาะสม
กบั ขนาดของภาชนะ
l การเตรียมดินส�ำหรับปลูกในกระถาง ให้ใช้สูตร ดิน 1 ส่วน :
ขยุ มะพรา้ วหรือขีเ้ ถา้ แกลบ 1 สว่ น : ป๋ยุ คอกหรือป๋ยุ หมกั 1 ส่วน ความช้นื 80 %

3. การดูแลรกั ษา

l ก า ร ใ ห ้ น�้ ำ พื ช ผั ก
เป็นพืชอายุสั้น ระบบรากต้ืน จึงต้อง
มีการให้น้�ำสม�่ำเสมอ โดยรดน้�ำ เช้า-เย็น
แต่ระวังอย่าให้แฉะจนเกินไป และไม่ควร
รดนำ�้ ตอนแดดจดั เนอื่ งจากอาจมผี ลทำ� ให้
พชื มอี าการคล้ายโดนนำ�้ ร้อนลวกได้
l การให้ปุ๋ย เริ่มใส่ปุ๋ย
วิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 คร้ังแรก
เมื่อย้ายกล้าปลูกจนกล้าสามารถตั้งตัวได้ประมาณ 7 วัน และคร้ังที่ 2 ใส่ห่างจาก
ครง้ั แรกประมาณ 2-3 สปั ดาห์ การใส่ให้โรยบางๆ ขา้ งต้น (ระหวา่ งแถว) ไม่ควรใส่ชดิ ตน้
จากน้นั ทำ� การพรวนดนิ กลบ แลว้ รดนำ้� ตาม
l การก�ำจดั วชั พชื หากมวี ัชพืช (หญา้ ) ขึน้ ตอ้ งทำ� การถอนทงิ้ เพือ่ ปอ้ งกัน
การแย่งน�้ำและธาตอุ าหารกับพชื ผัก และไม่ใหเ้ ปน็ ที่อยอู่ าศัยของโรคและแมลง

11การปลูกผักสำ�หรับคนเมือง

เพลีย้ ออ่ น หอยทาก หนอนแมลงวนั พริก หนอนกระทู้ผัก

l การป้องกันก�ำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช การปลูกพืชผักสวนครัวจะ
แตกต่างจากการปลูกผักเพื่อการค้า ในเร่ืองปริมาณการผลิต ซ่ึงพืชผักสวนครัว จะเป็น
การปลูกเพ่ือการบริโภค จึงมีปริมาณน้อย ดังน้ันวิธีการก�ำจัดแมลงท่ีดีและปลอดภัยที่สุด
คอื ใชว้ ธิ สี ำ� รวจ สังเกต แล้วกำ� จดั ด้วยมือ (เกบ็ ไปทง้ิ หรอื ทำ� ลาย)
l การป้องกันก�ำจัดโรคพืช การปลูกผักสวนครัว ไม่ควรปลูกพืช
จนแนน่ หรอื ชิดเกินไป ควรให้พชื ไดร้ บั แสง
อย่างท่ัวถึง มีการระบายอากาศที่ดี
จะเป็นการป้องกันโรคได้ระดับหนึ่ง
หากพบผักท่ีปลูกเป็นโรคให้ท�ำการถอน
ไปทงิ้ หรือท�ำลาย นอกพน้ื ทีก่ ารเพาะปลูก
เพอื่ ปอ้ งกนั การระบาดในสวน
โรคใบจดุ

4. การเก็บเก่ียว
l การเก็บเกี่ยวพืชผัก ควรเก็บเกี่ยวในเวลาเช้า
โดยให้เก็บตามอายุการเก็บเกี่ยวที่ระบุตามชนิดและสายพันธุ์
โดยผกั ใบ สามารถเกบ็ รับประทานไดท้ ุกระยะ แต่ไมค่ วรเกนิ
อายุการเก็บเกย่ี วของพชื เพราะผกั จะแก่ เหนียว มเี ส้นใยมาก
และเสยี รสชาติ
    ผักบางชนิดสามารถเก็บเก่ียวได้มากกว่า 1 ครั้ง
เช่น ผักบุ้ง หอมแบ่ง กุยช่าย หลังตัดใบแล้ว เหลือล�ำต้น
และราก ก็จะสามารถให้ผลผลิตได้อีกครั้ง หรือกะหล่�ำปลี
เมื่อเก็บเกยี่ วแลว้ ท�ำการบำ� รงุ ใส่ปุ๋ย ใหน้ ำ�้ ก็จะสามารถใหผ้ ลผลติ เป็นก่ิงแขนงกะหล�ำ่ ได้

12 กรมส่งเสริมการเกษตร

การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน
ทางเลือกสำ�หรบั คนเมอื งท่ีมพี ้ืนทีจ่ ำ�กัด
หรือไมม่ พี ื้นท่เี พาะปลูก และแสงแดดสอ่ งไมถ่ งึ

อปุ กรณ์

l ตะกร้าหรือภาชนะเพาะ ขนาดตาม
ตอ้ งการ สูงไมเ่ กนิ 7 เซนติเมตร
l เมล็ดพันธ์ทุ านตะวนั ส�ำหรบั เพาะงอก
(ไมค่ ลกุ สารเคมี)
l ขุยมะพรา้ ว
l บัวรดนำ�้

ข้นั ตอนการเพาะ

1. แช่เมล็ดทานตะวันในน�้ำสะอาด นานประมาณ 1-4 ชวั่ โมง
2. ผสมขุยมะพร้าวกับน�้ำ ให้ได้ความชื้นประมาณ 75 % (มือก�ำขุยมะพร้าว

เป็นก้อน ไมแ่ ตกร่วน แต่ไมแ่ ฉะ)
3. นำ� ขุยมะพรา้ วทผ่ี สมแลว้ ใสต่ ะกรา้ เพาะ สูงประมาณ 3 เซนติเมตร
4. น�ำเมล็ดทานตะวันท่ีแช่น้�ำแล้วโรยให้ทั่ว แล้วกลบด้วยขุยมะพร้าว รดน้�ำ

ด้วยบวั ฝอย
5. น�ำไปวางในท่ีร่มแสงรำ� ไร รดนำ้� เช้าเยน็
6. สามารถเก็บเก่ยี วตน้ อ่อนทานตะวัน เมอ่ื อายุประมาณ 5-7 วัน โดยตดั ต้น

ไปรับประทาน

13การปลกู ผกั สำ�หรับคนเมอื ง

14 กรมสง่ เสริมการเกษตร

เทคนคิ การปลูกผักสวนครัว 8 กลุ่ม

ในท่ีนี้จะกล่าวถึงการปลูกผักบนพื้นดินหรือแปลงปลูก ซ่ึงเน้ือหาสามารถน�ำมา
ดดั แปลงเพอ่ื ปลกู ลงในภาชนะปลกู ได้ ในกรณไี มม่ พี น้ื ที่ หรอื มพี นื้ ทจี่ ำ� กดั ในการเพาะปลกู
โดยใชห้ ลกั การเลอื กภาชนะ ตามหวั ข้อการปลกู ผักในกระถาง

1. กลุ่มแตงและกลุ่มถวั่ บางชนิด

(บวบหอม ฟกั เขยี ว แตงกวา แตงรา้ น
แตงไทย ฟักทอง น�้ำเต้า มะระ ต�ำลึง ถ่ัวฝักยาว
ถวั่ แขก ถ่ัวพู)
l ขุดพลิกดนิ ใหล้ ึก 20-30 เซนตเิ มตร

ตากแดดทิ้งไว้ 7-15 วัน ย่อยดิน
l หยอดเมลด็ จำ� นวน 5 เมลด็ ในหลมุ

ทีล่ ึกประมาณ 2-4 เซนตเิ มตร แล้วกลบดนิ
l คลมุ ดว้ ยฟาง แลว้ รดนำ้� ใหท้ ำ� การปกั คา้ งทนั ที

เนื่องจากการปักค้างเมื่อต้นพืชงอกแล้วอาจ
โดนรากพืชขาดเสียหายได้
l ตน้ กลา้ มีใบจริง 6-7 ใบ ใหท้ �ำการถอน
แยก เหลือเฉพาะตน้ ทแ่ี ขง็ แรงหลมุ ละ
ประมาณ 3 ตน้
l ดึงฟางออกใส่ป๋ยุ คอก ปุย๋ หมกั แลว้ ทำ� การ
พรวนดนิ รอบๆ ตน้ ระวงั รากขาด จากนนั้ คลุมฟางเหมอื นเดมิ
l ท�ำการรดนำ้� และกำ� จดั วัชพชื อย่างสม่�ำเสมอ จนเกบ็ เกย่ี ว

R ความตอ้ งการแสง : เต็มวนั หรอื ครึ่งวัน
S ความต้องการน้ำ� : วนั ละ 1 คร้ัง

15การปลกู ผกั สำ�หรับคนเมอื ง

2. กลุ่มกะหล่�ำและกลุ่มสลัด (ผักคะน้า

ผักกาดขาวปลี ผกั กวางตงุ้ ผักกาดเขียว ผักกาดหวั
กะหล่�ำปลี กะหล่ำ� ดอก กะหลำ่� ปม สลดั )
l ขุดพลิกดินให้ลึก 20 เซนติเมตร

ตากแดดทิ้งไว้ 7-15วัน ท�ำการ
ยอ่ ยดิน ให้น้�ำทกุ วันกอ่ นปลกู 3 วนั
l ขดุ หลุมลึก 0.5 เซนตเิ มตร หยอด
เมลด็ ลงหลมุ ๆละ 5-7 เมล็ด กลบดนิ บางๆ
l นำ� ฟางคลุมหน้าดนิ หนาประมาณ 1 เซนตเิ มตร รดนำ้� ดว้ ยบวั ตาถ่ี
l เมื่อเมล็ดชูใบจริง 4 ใบให้ถอนแยกเหลือหลุมละ 4 ต้น เมื่อมีใบจริง
5 ใบ ใหถ้ อนแยกอีกครั้ง เหลือ 1 ต้นต่อหลมุ
l ดึงฟางออก ใสป่ ยุ๋ คอกหรือปยุ๋ หมัก แลว้ ทำ� การพรวนดนิ ปิดฟางดังเดมิ
ให้น�ำ้ อยา่ งสม่ำ� เสมอจนเก็บเก่ียว
l ระยะปลกู และอายเุ กบ็ เกยี่ ว

พชื ระหวา่ งหลุม (ซม.) ระหว่างแถว (ซม.) จ�ำนวนวนั
ผกั คะนา้ 20 20 45
ผักกาดขาวปลี 25 30 75-90
ผักกวางตงุ้ 15 20 30
ผักกาดเขยี ว 25 30 55-69
ผักกาดหัว 15 20 45
กะหล่�ำปลี 25 50
กะหล่�ำดอก 25 50 90-100
กะหล�ำ่ ปม 20 20 75-90
30 30 65-75
สลดั 40-60

R ความต้องการแสง : เตม็ วนั หรอื ครึ่งวัน
S ความตอ้ งการนำ�้ : วนั ละ 2 คร้ัง เช้าเย็น (ต้องการความชื้นต่อเนือ่ ง)

16 กรมสง่ เสริมการเกษตร

3. กลุ่มพริก มะเขือ (พริกข้ีหนู พริกชี้ฟ้า

มะเขอื เปราะ มะเขอื ยาว มะเขือพวง มะเขอื เทศ)
l เตรียมดินผสมใส่กระบะเพาะเมล็ด

ท�ำการโรยเมล็ดหรือหยอดเมล็ดลงหลุม
กระบะเพาะ หลุมละ 1 เมลด็ กลบดนิ
บางๆ รดนำ�้ ดว้ ยบัวตาถี่
l เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 5-6 ใบจึงท�ำการ
ย้ายปลูกในแปลงตามระยะปลูก โดยใส่
ป๋ยุ คอกปยุ๋ หมกั รองพ้นื ก้นหลุม
l ระยะปลกู และอายุเก็บเกยี่ ว

พืช ระหว่างต้น (ซม.) ระหว่างแถว (ซม.) จ�ำนวนวนั
พรกิ ข้หี นู 60 100 120-160
พริกชีฟ้ ้า 60 100 120-160
มะเขอื เปราะ 75 100
มะเขอื ยาว 75 100 85
มะเขอื ยาว 75 100-120 85
มะเขือเทศ 30 75 120
85

มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือพวง
เม่ือเก็บผลผลิตจนหมดต้นแล้ว สามารถท�ำการ
ตัดแต่งกิ่ง พรวนดิน ใส่ปุ๋ยก็สามารถแตกกิ่งก้าน
ออกดอกใหผ้ ลผลิตอีกครั้งได้

R ความตอ้ งการแสง : เต็มวนั
S ความต้องการนำ้� : วนั ละ 2 ครัง้ เช้าเย็น

17การปลูกผักสำ�หรบั คนเมอื ง

4. กลุ่มหอมและกลุ่มสะระแหน่ (ต้นหอมหรือหอมแบ่ง หอมแดง

กุยชา่ ย กระเทยี ม สะระแหน่)
l เตรียมดินท่ีระดับความลึก 20 เซนติเมตร ตากแดดท้ิงไว้ 7-15 วัน

ย่อยดินใหน้ �ำ้ ทุกวนั ก่อนปลูก 3 วัน ใส่ปยุ๋ คอกหรอื ปยุ๋ หมักคลกุ ในดนิ
l ตระกูลหอม ใช้หัวที่พักตัวมาแล้ว 4 เดือน ตัดรากแห้งออก แยกเป็น

หัวเดี่ยว ฝังหัวลงในดิน โดยปลายหัวอยู่เสมอผิวดิน ระยะห่าง
5x10 เซนติเมตร คลุมฟางหนาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วให้น�้ำ
ตน้ หอมเกบ็ เก่ยี วได้เมือ่ อายุ 45 วัน หอมแดง 60 วนั กระเทยี ม 90 วนั
l กุ่ยช่าย ที่ปลูกด้วยเมล็ด ต้องเพาะกล้าเป็นเวลา 45-60 วัน ย้ายปลูก
ลงแปลงอกี 60 วันจึงเกบ็ เกี่ยวได้
l สะระแหน่ ใช้ยอดปกั ช�ำ โดยใช้มดี คมตัดยอดยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
แล้วปกั ชำ� โดยใช้ระยะหา่ ง 10x10 เซนตเิ มตร เก็บไว้ในท่ีร่ม 15-20 วนั
จงึ นำ� ออกกลางแจ้งได้
แปลงปลูกต้นหอมหรือหอมแบ่งไม่ควรมีวัชพืช และดินแปลงปลูก
ต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพราะถ้าดินแห้ง จะท�ำให้ต้นหอมมีปลายใบเหลืองและ
ชะงักการเจรญิ เตบิ โต
สะระแหน่ สามารถปลกู ในภาชนะหอ้ ยแขวน เพอ่ื ใช้ประดบั ตกแต่งได้

R ความต้องการแสง : ตระกูลหอม เตม็ วัน สะระแหน่ เต็มวนั หรอื คร่ึงวนั
S ความตอ้ งการน้ำ� : วันละ 2 ครง้ั เชา้ เยน็

18 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

5. กลมุ่ ขิง (ขิง ขา่ กระชาย ขมิน้ ขาว ขม้นิ ชนั )

l เตรียมดินที่ความลึก 25-30 เซนติเมตร ตากแดดทิ้งไว้ 7-15 วัน
ย่อยดิน ให้น้�ำทุกวันก่อนปลูกเป็นเวลา 3 วัน การปลูก จะปลูกที่
ความลึก 1-1.5 เซนตเิ มตร คลมุ ฟางแล้วให้นำ�้

l แง่งขิงหรือขม้ินแก่ ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1 นิ้ว ใช้ปูนแดง
ทารอยแผลที่ตดั ทงิ้ ไวใ้ ห้แหง้

l ขา่ ใชส้ ่วนที่มสี ่วนของต้นที่อยู่เหนือดนิ ติดมาด้วย
l กระชาย ใหต้ ดั รากออกกอ่ นท่จี ะใชป้ ูนทารอยแผล
l ระยะปลกู และอายเุ ก็บเก่ยี ว

พชื ระหวา่ งตน้ ระหว่างแถว จำ� นวนวัน หมายเหตุ
ขงิ (ซม.) (ซม.) ขงิ หรอื ข่าออ่ น
ขา่ 50 60 120-150 สามารถเก็บเกี่ยว
50 75 มากกว่า 240 ระยะ 30 วัน
ขม้นิ
กระชาย 50 60 มากกว่า 240
50 60 มากกวา่ 240

ขิง กระชาย ขม้ินขาว ขม้ินชัน มีระยะพักตัว ช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน
โดยทิง้ ตน้ เหลอื แต่เหงา้ แก่อยู่ใต้ดนิ เม่ือถงึ เดอื นพฤษภาคมต้นกจ็ ะงอกขึ้นมาใหม่

R ความต้องการแสง : เตม็ วันหรือครึ่งวนั หรือก่งึ ร่มก่ึงแดด
S ความตอ้ งการนำ�้ : วันละ 1 คร้ัง

19การปลูกผักสำ�หรับคนเมือง

6. กลุ่มผกั ชแี ละกล่มุ ผักบุ้ง (ผกั ชี ข้นึ ฉ่าย ผกั บงุ้ จนี )

l เตรยี มดินทีค่ วามลึก 20-25 เซนติเมตร ย่อยดนิ รดนำ้� ให้มคี วามชมุ่ ชืน้
มากเป็นพเิ ศษ

l หว่านเมล็ดผักชี หรือ ขึ้นฉ่าย
หรือ ผักบงุ้ จีน เป็นแถวให้ระยะ
ห่างกัน 15-20 เซนติเมตร
กลบดินทับบางๆ ยกเว้น
ข้ึนฉ่ายไมต่ อ้ งกลบดิน

l คลุมฟางหนา 1-2 เซนติเมตร
รดนำ้� ด้วยบวั ตาถี่

l การงอก ผักบุง้ จนี ภายใน 3 วนั
ผักชี 4-8 วนั ข้นึ ฉ่าย 4-7 วนั ให้ถอนแยกกรณตี น้ ข้นึ หนาแนน่
รดน้ำ� ใหส้ ม่�ำเสมอ จนเกบ็ เก่ียว
l อายุการเก็บเกยี่ ว ผกั บุง้ จีน 22-30 วนั ผักชี 45-60 วนั ข้นึ ฉ่าย 60-90 วนั

R ความตอ้ งการแสง : ตระกลู ผกั ชี ก่งึ ร่มกง่ึ แดด ตระกูลผักบุง้ จนี เต็มวัน
S ความตอ้ งการนำ้� : วันละ 2 ครง้ั เชา้ เย็น (ตอ้ งการความชนื้ ต่อเนอื่ ง)

20 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

7. กลุ่มแมงลักและกลมุ่ ผกั ชฝี รั่ง (แมงลกั โหระพา กะเพรา ผักชฝี รง่ั )

l เตรยี มดนิ ทค่ี วามลกึ 20 เซนตเิ มตร ตากแดดทงิ้ ไว้ 7-15 วัน ย่อยดนิ
รดน�้ำก่อนปลกู เป็นเวลา 3 วนั

l ตระกูลผักชีฝรั่ง ใช้วิธีหว่านเมล็ดลงแปลง โดยไม่ต้องกลบ รดน้�ำด้วย
บัวตาถ่ีอยา่ งสม�่ำเสมอ เมลด็ จะงอกภายใน 7 วนั

l ตระกูลแมงลัก ท�ำการเพาะกล้า ย้ายต้นกล้าเมื่ออายุ 1 เดือน โดยใช้
ระยะปลกู 20x30 เซนตเิ มตร

l อายเุ ก็บเกี่ยว ตระกลู แมงลกั 45 วัน ตระกูลผักชฝี รั่ง 60 วนั นับจากวนั ที่งอก

ตระกูลแมงลัก อาจใช้กิ่งปักช�ำได้ และต้องหมั่นเด็ดดอกทิ้ง เพ่ือให้ล�ำต้น
กับใบเจรญิ เตบิ โตเต็มท่ี
ตระกูลผักชีฝร่ัง สามารถตัดใบไปรับประทานแล้วให้โคนกับรากเจริญเติบโต
ตอ่ ได้ แตไ่ ม่ควรให้เกิดดอก

R ความตอ้ งการแสง : เตม็ วันหรือคร่งึ วนั
S ความต้องการนำ�้ : ตระกลู แมงลกั วันละ 1 คร้งั

ตระกูลผักชฝี รงั่ วันละ 2 คร้ัง เช้าเย็น
(ตอ้ งการความช้นื ต่อเน่ือง)

21การปลกู ผักสำ�หรับคนเมอื ง

8. กลุ่มอื่นๆ (มันเทศ ชะพลู บัวบก ข้าวโพด กระเจี๊ยบเขียว มันแกว

ถวั่ เหลอื งฝักสด)
l เตรียมดินท่ีความลึก 20-30 เซนติเมตร ตากแดดท้ิงไว้ 7-15 วัน
จากนัน้ ท�ำการย่อยดิน

8.1 มันเทศ

l ตัดเถาจากปลายยอด ความยาว 25-30 เซนติเมตร ฝังดินตาม
แนวนอนยาว 10-15 เซนตเิ มตร ใชร้ ะยะปลกู 50x70 เซนติเมตร

l เม่ือเถาทอดคลุมดินให้หมั่นตลบเถา ไม่ให้รากตามข้อลงดิน
มนั เทศจึงจะลงหวั ภายใน 90 วนั
R ความต้องการแสง : เต็มวนั
S ความต้องการนำ้� : วนั ละ 1 ครง้ั

22 กรมส่งเสริมการเกษตร

8.2 ชะพลู

l ใช้กงิ่ ยาว 25 เซนติเมตร ริดใบเหลือเฉพาะใบยอด 1-2 ใบ
l ฝงั ก่งิ ตามแนวนอน ยาวประมาณ 10 เซนตเิ มตร รดน�้ำเช้าเย็น
l ก่ิงจะออกรากเจริญเป็นต้นสมบูรณ์ ภายใน 30 วัน สามารถ

เก็บเกีย่ วได้ตลอดปี
l ควรเลอื กพ้ืนที่ที่มีร่มเงามากๆ จะเจริญเติบโตไดด้ ี

R ความต้องการแสง : ไม่ชอบแสง ควรปลูกในรม่ เงาตลอดวัน
S ความตอ้ งการน�ำ้ : วันละ 1 คร้ัง

23การปลูกผกั สำ�หรบั คนเมอื ง

8.3 บัวบก

l ใช้ต้นทม่ี รี าก ปลูกโดยฝงั โคนต้นลกึ จากผิวดิน 1.5 เซนตเิ มตร
l ใช้ระยะห่าง 20x20 เซนติเมตร ภายใน 1 เดือน บวั บกจะเจริญ

เตบิ โตเต็มพน้ื ท่ี
l เก็บเกยี่ ว เมอ่ื อายุ 1-2 เดือนข้นึ ไป
l สามารถปลูกในภาชนะห้อยแขวน เพ่ือใช้ประดบั ตกแต่งไดด้ ้วย

R ความต้องการแสง : กึ่งร่มก่งึ แดดหรอื ครึง่ วัน
S ความต้องการนำ้� : วันละ 2 ครั้ง เช้าเยน็

24 กรมสง่ เสริมการเกษตร

8.4 ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน กระเจ๊ียบเขียว ถั่วเหลืองฝักสด

มันแกว

l หยอดเมล็ดในหลมุ ๆ ละ 3 เมลด็ ความลกึ 2.5 เซนตเิ มตร กลบดนิ
แลว้ ใหน้ ำ้�

l ระยะปลูกและอายเุ กบ็ เก่ียว

พืช ระหว่างต้น (ซม.) ระหว่างแถว (ซม.) จำ� นวนวัน
ข้าวโพดหวาน 25 75 70-75
ขา้ วโพดฝักออ่ น 30 60 45-50
กระเจีย๊ บเขียว 25 75
ถวั่ เหลืองฝกั สด 25 75 40 เป็นตน้ ไป
25 75 60-70
มันแกว 90-120

l เม่ืองอกได้ 12-15 วัน ทำ� การถอนแยก โดยเลอื กต้นทีแ่ ข็งแรงไว้
1 ตน้ ต่อหลุม ยกเว้น ขา้ วโพดฝกั อ่อนไมต่ อ้ งถอนแยก

l มันแกว ต้องหม่ันเด็ดยอดอย่าให้ยาวเกิน 30 เซนติเมตร เพื่อ
บงั คบั ให้ลงหวั
R ความต้องการแสง : เต็มวนั
S ความตอ้ งการนำ�้ : วันละ 2 ครง้ั เชา้ เยน็

25การปลกู ผักสำ�หรับคนเมอื ง

บรรณานกุ รม

กรมส่งเสรมิ การเกษตร . 2558 . ผักสามญั ประจ�ำบ้าน . กรงุ เทพฯ
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. องค์ความรู้เพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตสู่การเป็น smart

officer การขยายพนั ธุ์พืช. กรงุ เทพฯ
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จ�ำกัด(มหาชน) . 2540 . “ฉลาดกิน ฉลาดปลูก” สวนครัว

สุขภาพ. กรงุ เทพฯ
บริษัท อมรนิ ทร์พริน้ ต้ิงแอนดพ์ ับลซิ ซิง่ จ�ำกดั (มหาชน) . 2558 . POCKET GARDEN .

กรงุ เทพฯ
อาจารยก์ รุง สตี ะธนี . 2542 . การปลูกผกั สวนครวั ในบ้าน . กรุงเทพฯ
นายผกั . 2551 . ฐานข้อมูลพชื ผกั บทความเกษตร ผักตระกลู ผักกาดหอม สลดั (Lettuce) .

http://vegetweb.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%
E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%AD%
E0%B8%A1-2/ วนั ที่ 24 กมุ ภาพันธ์ 2561 เวลา 15.30 น.
Kanchana bunkaew. 2558 . พชื ผกั สวนครวั . http://kanchanabunkaew.blogspot.
com/2015/07/blog-post.html วันที่ 19 กมุ ภาพนั ธ์ 2561 เวลา 19.30 น.

26 กรมส่งเสริมการเกษตร

เอกสารคำ�แนะนำ�ที่ 3/2561

การปลกู ผักสำ�หรบั คนเมือง

ท่ปี รึกษา อธิบดีกรมสง่ เสรมิ การเกษตร
รองอธบิ ดีกรมส่งเสริมการเกษตร
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองอธิบดกี รมสง่ เสรมิ การเกษตร
นายประสงค์ ประไพตระกลู รองอธบิ ดีกรมส่งเสรมิ การเกษตร
นายส�ำราญ สาราบรรณ ์ รองอธิบดกี รมส่งเสรมิ การเกษตร
ว่าทรี่ ้อยตรี ดร.สมสวย ปัญญาสิทธ์ิ ผอู้ ำ� นวยการสำ� นักพฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี
นางดาเรศร์ กติ ตโิ ยภาส ผู้อำ� นวยการส�ำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร
นางอัญชลี สวุ จิตตานนท์
นางวลิ าวลั ย์ วงษ์เกษม

เรียบเรยี ง

นางสาวจริ าภา จอมไธสง ผู้อำ� นวยการกลมุ่ สง่ เสรมิ พืชผักและเหด็

นางวภิ า ปักกาสาตงั นักวชิ าการเกษตรช�ำนาญการ

กลุ่มสง่ เสริมพืชผกั และเห็ด

ส�ำนักสง่ เสริมและจัดการสินคา้ เกษตร

กรมสง่ เสริมการเกษตร

จดั ทำ� ผอู้ �ำนวยการกลุม่ พฒั นาสือ่ ส่งเสรมิ การเกษตร
นกั วิชาการเผยแพรช่ �ำนาญการ
นางรจุ ิพร จารพุ งศ ์
นางสาวอำ� ไพพงษ์ เกาะเทียน
กลุ่มพฒั นาสื่อส่งเสริมการเกษตร
สำ� นักพฒั นาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กรมส่งเสริมการเกษตร

www.doae.go.th


Click to View FlipBook Version