กฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๔
วดั บางกระเบา พระอารามหลวง
ตำบลบางกระเบา อำเภอบ้านสรา้ ง จังหวัดปราจนี บรุ ี
วนั เสารท์ ี่ ๖ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔
คำนำ
การทอดกฐินเป็นประเพณีที่สำคัญยิ่งประเพณีหนึ่งของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา
นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน ได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมา การทอดกฐินเชื่อกันว่า
มีผลอานิสงส์มาก เนื่องจากเป็นกาลทานที่มีกำหนดเวลา กล่าวคือจะทอดกฐินได้ตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ
เดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวมเวลา ๑ เดือน วัดหนึ่ง ๆ จะรับได้ปีละ ๑ ครั้ง
ทั้งพระผู้ครอง (รับ) กฐินก็มิได้เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง พระสงฆ์ทั้งหมดจะคัดเลือกพระภิกษุผู้มีความรู้
ความสามารถใหเ้ ปน็ ผูค้ รองกฐนิ นั้น
กรมส่งเสริมการเกษตรมีเจตจำนงที่จะรักษาประเพณีอันดีงามนี้ไว้ให้ยั่งยืน จึงขอรับ
พระราชทานผ้าพระกฐิน ไปถวายพระสงฆ์ในพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ เป็นต้นมา และในปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ นี้ ได้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน
ถวาย ณ วัดบางกระเบา ตำบลบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จงั หวัดปราจีนบรุ ี
นอกจากการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ประกอบกุศลกิจ
เพิ่มเติมอกี ดว้ ย เชน่
๑. บริจาคเงินบำรุงวัดบางกระเบา
๒. มอบเงินบำรุงการศึกษาโรงเรยี น
๓. มอบเงนิ บริจาคโรงพยาบาล
๔. จัดพมิ พ์สจู บิ ัตรประวัติวัดบางกระเบา เพอื่ เผยแพร่และเป็นท่ีระลกึ
กรมส่งเสรมิ การเกษตรจึงขอขอบคุณข้าราชการ ลกู จา้ ง พนักงานราชการ ตลอดจนผู้มจี ติ ศรทั ธา
ทไ่ี ดร้ ว่ มกัน ในงานครั้งน้ี และชว่ ยให้การถวายผา้ พระกฐินพระราชทาน ณ วัดบางกระเบา สำเร็จลุล่วง
ไปด้วยดี
กรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารบญั หนา้
ประกาศกรมการศาสนา เร่ือง การขอรบั พระราชทานผ้าพระกฐนิ ๒
ประจำปพี ุทธศักราช ๒๕๖๔
หนังสอื การขอรับพระราชทานผ้าพระกฐนิ ประจำปี ๒๕๖๔ ๓
กำหนดการถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน ๔
ประวัติวดั บางกระเบา พระอารามหลวง ๕
แผนทกี่ ารเดินทาง ๑5
ความรู้เรอื่ งกฐนิ 16
ข้นั ตอนกฐินพระราชทาน ๒5
คำถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ๒7
กฐนิ พระราชทาน
กฐินพระราชทาน คือ กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ้าของหลวง
แกผ่ ู้กราบบงั คมทลู ขอพระราชทาน เพอ่ื นำไปถวายยงั วดั หลวงวัดใดวัดหน่ึงนอกเหนือจาก ๑๖ วดั สำคัญ
ที่ได้กำหนดไว้แล้ว เนื่องจากในปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรม
ต่าง ๆ ตลอดจนคณะบุคคล องค์กร บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ที่เห็นสมควร รับพระราชทานผ้าพระกฐิน
ไปถวายแทนพระองค์ และผู้ที่ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตัว โดยเสด็จ
พระราชกุศลตามกำลังศรัทธาด้วยก็ได้ ผู้ที่มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวาย
ณ วัดหลวงแห่งใดแห่งหนึ่ง ผู้ที่นำจะต้องกล่าวถวายต่อหน้าหมู่สงฆ์ ณ วัดนั้น ว่า “ผ้าพระกฐิน
พระราชทาน กับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร
มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม
บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจา้ อยู่หัว ผทู้ รงพระคณุ อันประเสริฐ กอปรด้วยพระราชศรทั ธา โปรดเกล้า
ฯโปรดกระหม่อมพระราชทานให้ กรมสง่ เสริมการเกษตร นอ้ มนำมาถวายแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษากาล
ด้วยไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์ จงรับผ้าพระกฐินพระราชทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจ
ตามพระบรมพุทธานุญาตนั้น เทอญ”
ปัจจุบันกระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลหรือบุคคลใดมีความประสงค์จะรับพระราชทาน
ผ้าพระกฐินไปถวาย ณ วัดหลวงใดให้ไปติดต่อที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมตามระเบียบ
ซึ่งเทา่ กับเปน็ การจองกฐินไวก้ อ่ นนน่ั เอง เมอ่ื จองกฐนิ เปน็ ทเ่ี รียบร้อยและได้รับผา้ พระกฐินพระราชทาน
จากกรมการศาสนาแล้ว ควรถวายหลงั วันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนนิ ถวายพระกฐนิ วนั แรกแลว้
โดยในปีพุทธศักราช 2564 กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนด
ถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน ณ วดั บางกระเบา ตำบลบางกระเบา อำเภอบา้ นสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
โอกาสนี้ จึงขอเชิญชวนคณะผู้บริหารและข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา
เขา้ รว่ มพธิ ีโดยพร้อมเพรยี งกันในวนั เสาร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ตัง้ แตเ่ วลา ๐๙.๐๐ น. เปน็ ตน้ ไป
ห น้ า | ๔
กำหนดการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๔
ณ วดั บางกระเบา พระอารามหลวง ตำบลบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จงั หวัดปราจีนบุรี
วันเสารท์ ่ี ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๙ น.
***********************
เวลา ๐๙.๐๐ น. - ผู้รว่ มพิธเี ดินทางถึงวัดบางกระเบา พระอารามหลวง ตำบลบางกระเบา อำเภอบา้ นสร้าง
จังหวัดปราจีนบรุ ี
เวลา ๐๙.๔๕ น. - คณะข้าราชการต้งั แถวหนา้ พระอุโบสถ
เวลา ๑๐.๐๙ น. - ประธานในพธิ เี ดินทางมาถงึ บรเิ วณหน้าพระอุโบสถวัดบางกระเบา พระอารามหลวง
- ประธานในพธิ เี ดินไปทโี่ ตะ๊ หมทู่ ่ตี ั้งผา้ พระกฐนิ ถวายความเคารพพระบรมฉายาลกั ษณ์
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั เปดิ กรวยกระทง รบั ผ้าพระกฐนิ อ้มุ ประคอง ยืนตรง
ถวายความเคารพอีกคร้ัง (ดนตรีบรรเลงสรรเสริญพระบารมี)
- ประธานและทกุ คนยนื ตรงถวายความเคารพ เพลงสรรเสรญิ พระบารมจี บ
- ประธานอุม้ ประคองผา้ พระกฐนิ พระราชทาน ประนมมือเดนิ เข้าพระอโุ บสถ
วางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟา้ ด้านหนา้ พระสงฆร์ ปู ท่ี ๒
- ประธานจุดธูป เทียน บชู าพระรัตนตรยั กราบ ๓ คร้ัง
- ประธานลกุ ขนึ้ ไปอุม้ ประคองผา้ พระกฐนิ ทีพ่ านแวน่ ฟ้า หน้าพระสงฆร์ ูปท่ี ๒
- ประธานยกผา้ พระกฐินขึน้ ประนมมอื หันหน้าไปทางพระพทุ ธรปู
- ประธานกลา่ ว นะโม ๓ จบ แล้วหันหน้าไปทางพระสงฆ์ กลา่ วคำถวายผา้ พระกฐนิ
- ประธานวางผ้าพระกฐินบนพานแวน่ ฟา้ หน้าพระสงฆ์รปู ท่ี ๒ ยกทั้งพานประเคนพระสงฆ์
รูปท่ี ๒ และประเคนเทียนพระปาฏโิ มกข์แด่พระสงฆ์ แลว้ กลบั เขา้ ทน่ี ัง่ ที่จดั ไว้
- พระสงฆ์ ประกอบพธิ ีกรานกฐนิ
- ประธานถวายบริวารกฐนิ แดพ่ ระองคค์ รองเรมิ่ ตัง้ แต่บาตรและบรวิ ารกฐินทงั้ หมด
- ขา้ ราชการระดับผูบ้ รหิ าร แขกผมู้ ีเกียรตถิ วายจตุปจั จัยเครอ่ื งไทยธรรมแด่พระสงฆ์
- ผู้อำนวยการกองคลัง ประกาศยอดเงินถวายบำรงุ พระอารามโดยเสด็จพระราชกุศลให้ทราบ
- ประธานถวายใบปวารณาแด่เจ้าอาวาส และของทีร่ ะลกึ
- พระสงฆ์อนโุ มทนา ประธานกรวดน้ำ รบั พร
- ประธานกราบลาพระรตั นตรัย กราบลาพระสงฆ์
- ประธานมอบเงินบำรงุ โรงเรียน และเงินบรจิ าคโรงพยาบาล และของทร่ี ะลึก
- เสร็จพธิ ี
*****************************
หมายเหตุ
- ข้าราชการ แต่งกายเครอื่ งแบบปกติขาว ไม่สวมหมวก
- ประชาชน แต่งกายชุดผา้ ไทย ชุดสภุ าพ
- งดรับประทานอาหาร
ห น้ า | ๕
วัดบางกระเบา พระอารามหลวง
สภาพฐานะและท่ีต้งั
วัดบางกระเบา พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ ๓๖ หมู่ ๖ ตำบลบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง
จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ใช้ชื่อว่า “วัดน้อยนางหงส์”
โดยมีนายน้อยและนางหงส์เป็นผู้ก่อตั้ง แต่ชาวบ้านเรียกตามลักษณะพื้นที่ว่า “วัดบางกระเบา”
ตามลกั ษณะของต้นกระเบา ซง่ึ เป็นชื่อเรยี กตน้ ไม้ชนิดหน่ึงมลี ักษณะยืนต้น ผลเป็นยาและมีความเก่ียวข้อง
กับตระกูลวงศ์ของพระพุทธเจ้า ปรากฏอยู่มากมายในบริเวณวัด ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ โดยมีพระครูสิทธิสารคุณ หรือหลวงพ่อจาด คงฺคสโร เป็นองค์
ผู้บรู ณปฏสิ ังขรณ์และเปน็ เจ้าอาวาสองค์แรก
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชนพรรษาครบ ๖ รอบ พระบาทสมเด็จพระบรม
ชนกาธิเบศร มหาภมู พิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ล้นเกล้ารัชกาลท่ี ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ยกฐานะจากวัดราษฎร์ขึ้นเปน็ พระอารามหลวงชัน้ ตรี ชนิดสามัญ เม่อื วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ปัจจุบันวัดบางกระเบา พระอารามหลวง มีพื้นที่ตั้งวัด ๓๒ ไร่ ๙ ตารางวา และมีที่ดิน
ธรณีสงฆ์ ๓๗๔ ไร่ ๓ งาน ๖๙ ตารางวา มีการคมนาคมทางบก ต้งั อยตู่ ิดถนน ๓๔๘๑ บ้านสร้าง-ปราจีนบุรี
(ถนนเส้นนี้กำลังปรับปรุงขยายเป็น ๔ เลน เรียกว่า ถนนบางน้ำเปรี้ยว-มีนบุรี) จากที่ตั้งนี้ทำให้วัด
มีระยะทางหา่ งจากอำเภอบ้านสรา้ ง ๓ กโิ ลเมตร จากอำเภอเมืองจังหวัดปราจีนบรุ ี ๒๕ กิโลเมตร
ส่วนอำเภอและจงั หวดั ใกล้เคยี งนน้ั กลา่ วคือ
- อำเภอดงละคร จังหวดั นครนายก ๒๒ กโิ ลเมตร
- อำเภอบางน้ำเปรยี ว จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๘ กิโลเมตร
- เขตหนองจอก กรงุ เทพมหานคร ๕๐ กิโลเมตร
การคมนาคมทางน้ำนั้น วัดตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำบางประกง หรือที่ชาวปราจีนบุรีเรียกว่า
แมน่ ำ้ ปราจีนบุรี โดยไหลมาจากตัวเมืองปราจนี บรุ ผี ่านบรเิ วณพระอารามแห่งน้ี
ห น้ า | ๖
ประวตั ิพระอโุ บสถ
พระอุโบสถวัดบางกระเบาเป็นพระอุโบสถ ขนาด ๑๒ x ๒๕ เมตร ลักษณะทรงไทย หลังคา
ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประตูหน้าต่างมีซุ้มประดับ พระอุโบสถมีระเบียงโดยรอบ มีเสารอบ
ระเบียงหน้าบันเป็นปูนปั้นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และปีที่สร้างหน้าบัน คือ พ.ศ. ๒๕๒๖
นอกจากน้ี มศี ิลปะ การประดบั ลายกระหนกปิดทอง มีประตูทางเข้า ๔ ด้าน หน้าบนั เหนือกรอบประตู
ประดบั ลายเทพพนม
พระอุโบสถหลังนี้จากคำบอกเล่าสืบๆ มาว่าเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ (พระครูสารสิทธิคุณ (ฟุ้ง))
เป็นผู้ริเริ่มการสร้างขึ้นแทนที่พระอุโบสถหลังเดิม ซึ่งอยู่ในสภาพเก่ าแก่ และมีขนาดเล็กเกินไป
โดยกำหนดเคร่ืองหมายที่ประดิษฐานขยายเขตสมี าจากจดุ เดมิ
ประวัติการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑ ในยุคสมัยพระครูสิทธิสารคุณ (หลวงพ่อจาด)
เป็นเจา้ อาวาส และได้ดำเนนิ การกอ่ สร้างเรอื่ ยมา ประกอบพธิ ยี กช่อฟา้ เมือ่ พ.ศ.๒๕๑๖ จากนนั้ ได้สร้าง
ส่วนประดับตกแต่งอื่น ๆ เช่น หน้าบัน ลายกระหนก ประดับดา้ นหนา้ พระอโุ บสถ และได้ระบุปที ีส่ ร้าง
ไวเ้ ป็น พ.ศ.๒๕๒๖
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะปางประทานพรนามว่า
พระพทุ ธประทีป และมีพระอคั รสาวกสถติ อยู่ซา้ ย-ขวา ตามคตแิ บบการสร้างวัดในสังคมไทย
ห น้ า | ๗
อมตะเถระผเู้ ป็นองค์บรมครู
พระครูสิทธิสารคุณ หรือหลวงพ่อจาด คงฺคสโร (๑๗ มีนาคม ๒๔๑๕ - ๑๐ มิถุนายน ๒๔๙๙)
อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก ปรมาจารย์องค์สำคัญแห่งแผ่นดินสยาม ต้นสายแห่งพุทธาคม ของขลัง
ยอดเกจิอาจารย์ดังแห่งภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่อจาด เป็นพระที่เชี่ยวชาญวิทยาคม
โดยเฉพาะในด้านวิชามหาอดุ อยูย่ งคงกระพัน แต่จะไมแ่ สดงตนอวดวิชา แต่จะใชว้ ิชาดังกล่าว ก็ต่อเม่ือ
มีความจำเป็นเท่านั้น ยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาด ได้มีการจัดสร้าง
กันหลายครั้ง แต่ครั้งที่ยิ่งใหญแ่ ละสร้างกันเป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2483 ซึ่งพระคณาจารย์
ผู้ทรงคุณวิทยาคมทั่วประเทศ ได้จัดสร้างพระเครื่องวตั ถุมงคลแจกเหล่าทหารหาญ โดยหลวงพ่อมีวิชา
บังไพร ล่องหน หายตัว และวิชามหาอุต เป็นต้น อีกทั้ง นามของหลวงพ่อจาดเป็นที่รู้จักในสมัย
สงครามโลกครั้งที่สอง ท่านเป็น ๑ ใน ๔ ชื่อระบือนาม เรียกขานยอดคณาจารย์ภาคตะวันออก
“จาด จง คง อ”ี๋ รวมอายุหลวงพ่อจาดได้ 84 ปี 63 พรรษา
เหรียญหลวงพอ่ จาด รปู เหมือน ร่นุ แรก ๒๔๘๓ เหรียญหลวงพ่อจาด รุน่ แจกกรรมการ ๒๔๙๕
ห น้ า | ๘
เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ล้นเกล้า
รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสมณฑลปราจีนตามลำน้ำบางประกง มีพระประสงค์จะสักการะ
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พร้อมกับทรงลงปรมาภิไธยบนแผ่นหินว่า “จ.ป.ร. ร.ศ. ๑๒๖” ระหว่างทาง
ขบวนเรือพระที่นั่งได้แวะวัดบางกระเบา ทรงถวายภัตตาหารเพล (ปิ่นโต) แด่หลวงพ่อจาด
ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชศรทั ธาเลอื่ มในปฏิปทา และทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ พระราชทานเรือเก๋ง
จีนถวายไวเ้ ปน็ พาหนะเดนิ ทาง
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ยุคสงครามมหาเอเซียบูรพา (สงครามอินโดจีน) จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ได้อาราธนาให้หลวงพ่อจาดปลุกเสกเส้ือยันต์สีแดงและสีขาว เพื่อเตรียมไว้เป็นขวัญกำลังใจแจกทหาร
และตำรวจที่กำลังเตรียมเข้าสู่สงคราม มีเรื่องเล่าว่าเมื่อทหารไทยปะทะกับทหารอินโดจีน ซึ่งคุม กอง
กำลงั โดยทหารฝร่ังเศส ทหารไทยถูกยงิ ล้มลง แต่แลว้ กลบั ลุกขึ้นมาพร้อมรบต่อ ทหารอินโดจีนเห็นแล้ว
วิ่งหนีไม่คิดชีวิต เพราะเข้าใจว่าเป็นกองกำลังทหารผีดิบ พร้อมกับข่าวลือว่ากองพันทหารไทยเป็น
“ทหารผ”ี
เพื่อเป็นการเชิดชูพระเถราจารย์ผู้มีคุณูปการโดยเฉพาะอย่างยิ่งกั บวัดบางกระเบา
พระมหาสมนึก กิตฺติโสภโณ ป.ธ.๙, ดร. ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ริเริ่มจัดงาน
วนั ชาตกาลพระครสู ทิ ธสิ ารคุณ หรือหลวงพอ่ จาด ต้งั แตเ่ มือ่ เขา้ รับตำแหน่ง ดงั นน้ั ใน วันท่ี ๑๗ มีนาคม
ของทกุ ปี (ตง้ั แต่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐) มีการจัดงานทำบุญวนั ชาตกาลหลวงพ่อจาดข้นึ
ห น้ า | ๙
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ครบ ๑๔๙ ปี ชาตกาล หลวงพ่อจาด ในขณะนั้นการบูรณะอาคารรับรอง
ผู้ปฏิบัติธรรม (อาคารพิพิธภัณฑ์เดิม) ไม่ว่าจะหาหนทางใดก็ตามที่ถูกต้องตามธรรม วัดยังมีปัจจัยไม่
เพยี งพอทจ่ี ะทำให้อาคารหลังนีบ้ ูรณะได้สำเรจ็ พร้อมใช้งานในบางส่วน สหธรรมกิ จงึ ระดมความคิดเห็น
ตกลงปรึกษาหารือเพื่อหาทางออก ในที่สุดมีมติให้จัดสร้าง “เหรียญมงคล ศิษย์สร้างสนองพระคุณ
รุ่น ๑๔๙ ปี ชาตกาล” โดยได้รับความเมตตาจากเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หน
ตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามองค์ประธานพิธีจุดเทียนชัย
พระพิศาลศึกษากร เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี องค์ประธานพิธีดับเทียนชัย และพระเถราจารย์น่ัง
ปรกธิษฐานจิต ๙ รูป ประกอบพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดบางกระเบา ในวันพฤหัสบดีที่
๑๑ มนี าคม ๒๕๖๔ พ.ศ. เวลา ๑๖.๐๙ น.
ก่อนถึงวันพุทธาภิเษกไม่นาน เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เมื่อพระเจ้าหน้าที่ประจำมณฑป
แจ้งว่า เหรียญมงคลที่อยู่ในตู้โชว์นั้นได้เคลื่อนที่ วางอยู่ผิดรูปจากที่จัดเรียงไว้ พระลูกวัดอีกท่านหน่ึง
ผูท้ ำหน้าทีด่ ูกลอ้ งวงจรปดิ ไดไ้ ปเปิดดูภาพย้อนหลงั ในขณะน้ัน ต่างคดิ วา่ คงโดนโจรขโมยอีกเช่นเดมิ
ในยคุ สมัยปจั จบุ ัน ความเร็วของคล่ืนแสงทีก่ ล้องวงจรปดิ สามารถจับภาพได้นั้น ทำให้เห็นว่า
เหรียญในตู้เหรียญหนึ่งหมุนถึง ๓ รอบ (มีเหรียญอ่ืนหมุนด้วย) ขณะนั้นมีชายผู้หน่ึงเข้ามาสักการะเดิน
ไปเดินมา แต่ไม่ได้สนใจอะไร เมื่อดูจากการบันทึกของกล้องพบว่าเป็น วันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพัน ธ์
พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๒๕ น. ถือได้ว่าเป็น “ปาฏิหาริยบ์ ารมีแห่งพุทธาคม” ซึ่งไม่เคยปรากฏให้เห็น
ในรอบหลายสิบปีทผี่ ่านมา
ห น้ า | ๑๐
เมื่อข่าวได้แผ่กระจายออกไป เจ้าหน้าที่ของรัฐในขณะนั้น อาทิ นายอำเภอฯ ผู้กำกับสถานี
ตำรวจฯ สำนักงานพระพุทธศาสนาจงั หวัดปราจนี บุรี ต่างมาพิสูจน์สถานทีเ่ กิดเหตุ โทรทัศน์หลายช่อง
เช่น ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี ข่าวสด ได้เข้ามาพิสูจน์ ต่างพบว่าตู้โชว์เหรียญหลวงพ่อจาดน้ัน
เป็นตู้ธรรมดาหาได้มีแม่เหล็กหรือวัตถุอื่นใดที่จะทำให้เหรียญหมุนเองได้ กระนั้นก็ตามกระแส
วพิ ากษว์ จิ ารณ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ท่ีเชอ่ื เล่ือมใส ศรทั ธา ในบารมีของหลวงพ่อจาด ขณะทอ่ี ีกกระแสหนึ่ง
อาจกล่าวหาวา่ มคี นทำเหตุใหเ้ กดิ ข้ึน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการสัมภาษณ์พระมหาสมนึก กิตฺติโสภโณ ป.ธ.๙, ดร. ผู้รักษาการแทน
เจ้าอาวาสถงึ เหตกุ ารณ์ดงั กล่าว ทา่ นกลา่ ววา่ “ส่ิงทเี่ กิดขนึ้ จะเชอ่ื หรอื ไม่เช่ือก็ตาม ชีวิตต้องดำเนนิ ต่อไป
ด้วยสติและปัญญา หลายอย่างในโลกนี้ยังพิสูจน์มิได้ พุทธศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ไสยศาสตร์มีให้
เห็นอยู่ทั่วไป ส่วนวิทยาศาสตร์ค้นพบส่ิงใหม่ๆ อยู่เนืองๆ เพราะฉะนั้นควรเคารพความเช่ือของกันและ
กนั (ในที่น้ี คือศรัทธา) อยา่ ประหตั ประหารกนั ”
โดยนัยยะทกี่ ล่าวถึง “ศรัทธา สติ ปัญญา” หมายความว่า ศรทั ธาเปน็ ทพ่ี ึ่ง เปน็ กำลงั ใจ เปน็ พลงั
ในชวี ิต โดยมีสติอารักขาจิตอยู่เนืองนจิ เปน็ ตาชัง่ ให้เกดิ ความสมดุล และมปี ญั ญากำกบั ให้ไปถูกทิศทาง
หากศรัทธาขาดปัญญาก็เป็นศรัทธาตาบอด เป็นความงมงาย และหากปัญญาขาดศรัทธา กลายเป็นทิฐิ
มานะ มอี ัตตาตวั ตน แต่องค์ธรรมท้ัง ๓ ต้องมี “วิรยิ ะ และสมาธิ” เก้ือหนนุ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดอินทรีย์
๕ หรอื พละ ๕
ห น้ า | ๑๑
อาคารเสนาสนะและสงิ่ สำคัญภายในวดั บางกระเบา
อาคารเสนาสนะภายในวดั บางกระเบา ได้แก่
- มณฑปหลวงพ่อจาดหลังเก่า สรา้ งเมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๗
- ศาลาการเปรียญ สรา้ งเมอ่ื พ.ศ. ๒๕๑๘
- พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
- อาคารโรงเรียนพระปริยตั ธิ รรม สร้างเมือ่ พ.ศ. ๒๕๓๕
- อาคารรบั รองผู้ปฏิบัติธรรม (เดิมเรียก อาคารพพิ ธิ ภณั ฑ์) สร้างเมอื่ พ.ศ. ๒๕๔๓
- มณฑปหลวงพอ่ จาดหลงั ใหม่ สร้างเมอ่ื พ.ศ. ๒๕๔๖
จากระยะเวลาในการสร้างเสนาสนะจวบจนปัจจุบันนั้น จะเห็นได้ว่าผ่านการใช้งาน
มายาวนาน หลายส่วนได้ชำรุด ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้น ตามภาระหน้าที่กิจการคณะสงฆ์
ที่พระมหาสมนึก กิตฺติโสภโณ ป.ธ.๙, ดร. ผู้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ตั้งแต่
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นั้น จึงทำการบูรณะศาลาการเปรียญ (พื้น ฝ้า ระบบไฟฟ้า
ห้องรับรอง) พระอุโบสถ (พระประธาน ทาสี ปูพื้นกระเบื้องลายหินอ่อน รั้วสแตนเลส ระบบระบาย
น้ำทิ้ง ระบบไฟฟ้า) อาคารรับรองผู้ปฏิบัติธรรม (อาคาร ๓ ชั้น ด้านในทั้งหมด) อาคารโรงเรียน
พระปริยตั ธิ รรม (ขณะนีก้ ารบูรณะเหลอื การดำเนินการในสว่ นของหลงั คาเท่าน้นั )
นอกจากนี้แล้ว ในการปฏิบัติหน้าที่ยังได้ดำเนินการให้วัดมีร้านสวัสดิการ เพื่อมีรายได้
ในการทำนุบำรงุ สร้างรั้วด้านหลังวัดและทำร้ัวริมน้ำ เพ่ือความอยผู่ าสกุ ของคณะสงฆแ์ ละฆราวาส ปูอิฐ
บลอ็ กพ้นื ทางเดินเชอ่ื มระหวา่ งพระอุโบสถและมณฑปหลวงพ่อจาดหลังใหม่ บูรณะมณฑปหลวงพ่อจาด
หลงั เก่า เรือสพุ รรณหงสต์ ิดถนนใหญ่ กฏุ ิสงฆ์ ซ้มุ ประตทู างเขา้ วัด หอระฆงั ปรบั ภูมิทัศน์ ถมดิน ก้ันคัน
ดิน ปลูกต้นไม้ ตลอดจนงานด้านการสาธารณูปการ ได้แก่ ระบบน้ำบาดาล ระบบกรองน้ำแม่น้ำ
ประสานงานผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อย้ายแนวระบบไฟฟ้าและเปลี่ยนเสาไฟฟ้า
ทางเข้าวัดและอื่น ๆ
ห น้ า | ๑๒
ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ อุโบสถวัดบางกระเบา พระอารามหลวง เป็นสถานที่จัดพิธี
ทำน้ำอภิเษก ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันจันทร์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ระหว่าง
เวลา ๑๗.๑๐ น.- ๒๒.๐๐ น.
ในการเยือนวดั บางกระเบา อาคารเสนาสนะและส่ิงสำคัญภายในวัดนอกจากทัสสนานุตตริยะ
(การเห็นอันยอดเยี่ยม) ที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดผู้มาเยือนคือ ภูมิทัศน์ริมแม่น้ำ
บางปะกง ศึกษาการใช้ชีวิตวิถีชุมชนตามอริยธรรมสายน้ำ นกค้างคาวแม่ไก่ที่อยู่บริเวณด้านหลังวัด
อาศัยอยู่บนต้นจามจุรีและต้นตะเคียนใหญ่สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณข์ องระบบนิเวศและคุณธรรม
ของชาวบา้ นทีไ่ มเ่ บียดเบยี นสตั ว์
ตามกำหนดแผนงานระยะยาวที่วางไว้ในการบูรณะอาคารเสนาสนะอีก ๑ โครงการ
คือการต่อยอดปฏิสงั ขรณ์พระมหาเจดีย์ที่ก่อสร้างไวใ้ นอดีตแต่ยังไม่แล้วเสร็จ จุดประสงค์ในการสร้าง
เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชฯ องค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เพ่ือเปน็ พุทธบชู าและเพ่อื ความม่ันคงถาวรแหง่ อายพุ ระพทุ ธศาสนาสืบไป
ห น้ า | ๑๓
เจา้ อาวาส
ลำดบั เจา้ อาวาสตง้ั แตอ่ ดีตจนถึงปัจจบุ ัน ดังนี้
รูปที่ ๑ พระครูสทิ ธิสารคุณ (จาด คงคฺ สโร) พ.ศ. ๒๔๔๑-พ.ศ. ๒๔๙๙
รูปท่ี ๒ พระครพู พิ ฒั น์สารธรรม (มโน อนิ ทฺ สโร) พ.ศ. ๒๕๐๐-พ.ศ. ๒๕๑๑
รปู ที่ ๓ พระครสู ารสิทธคิ ุณ (ฟ้งุ ไม่พบประวตั ฉิ ายา) พ.ศ. ๒๕๑๒-พ.ศ. ๒๕๒๑
รปู ที่ ๔ พระราชภัทรธาดา (ประเทือง กติ ตฺ ิสทฺโท) พ.ศ. ๒๕๒๑-พ.ศ. ๒๕๕๗
รูปท่ี ๕ ปจั จุบัน คอื พระมหาสมนึก กิตตฺ ิโสภโณ ป.ธ.๙, ดร.
พระมหาสมนกึ กติ ฺติโสภโณ ป.ธ.๙, ดร.
ห น้ า | ๑๔
กฐนิ พระราชทาน
ต้งั แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๕๙-พ.ศ. ๒๕๖๔ เจ้าภาพกฐินพระราชทาน มีรายนามดังน้ี
๑. วันศุกร์ที่ ๔ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สถาบนั บณั ฑติ พัฒนบริหารศาสตร์ (นิดา้ ) โดย รศ.ดร.
ประพนธ์ สหพัฒนา รองอธกิ ารบดฝี ่ายบริหาร เปน็ ประธานในพธิ ี
๒. วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวง
แรงงาน โดยนายอภิญญา สุจริตตานันท์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานใน
พิธี
๓. วันศุกร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ กระทรวงสาธารณสุข โดยศาสตราจารย์คลินิก
เกียรติคณุ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสตั ยาทร รฐั มนตรกี ระทรวงสาธารณสขุ เปน็ ประธานในพิธี
๔. วันเสาร์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย -
กรงุ เทพฯ ในพระบรมราชนิ ูปถัมภ์ โดย ดร. ณฤดี เคยี งศริ ิ นายกสมาคมฯ เปน็ ประธานในพธิ ี
๕. วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดย ดร. อำนาจ
วิชยานวุ ัติ เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา เปน็ ประธานในพิธี
๖. วันเสาร์ท่ี ๖ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๖๔ กรมสง่ เสรมิ การเกษตร โดย นายเข้มแข็ง ยตุ ธิ รรม
ดำรง อธิบดีกรมสง่ เสริมการเกษตร เปน็ ประธานในพิธี
รวบรวมและเรยี บเรียงโดย เพชรชมพู
ห น้ า | ๑๕
แผนที่การเดนิ ทางวดั บางกระเบา จงั หวดั ปราจีนบุรี
การเดินทางจากกรุงเทพมหานครใช้เส้นทางถนนทางหลวงสาย 304 มีนบุรี (ถนนสุวินทวงศ์)
มุ่งสู่ถนนทางหลวงชนบทสาย 3481 อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา - อำเภอบ้านสร้าง
จงั หวัดปราจนี บรุ ี ระยะทาง 84 กโิ ลเมตร ถงึ วัดบางกระเบา อำเภอบา้ นสรา้ ง จงั หวดั ปราจีนบุรี
ห น้ า | ๑๖
ความรเู้ รอ่ื ง “กฐนิ ”
************
๑. ความหมายของคำ
๑.๑ คำว่า “กฐนิ ” มคี วามหมายเกีย่ วขอ้ งกันถึง ๔ ประการ คอื
เป็นช่ือของกรอบไม้ อันเปน็ แมแ่ บบสำหรบั ทำจีวร ซ่งึ เรยี กว่า สะดึง กไ็ ด้
เป็นช่ือของผ้า ทีถ่ วายแกส่ งฆเ์ พ่ือทำจีวร ตามแบบหรือกรอบไมน้ ้นั
เปน็ ชื่อของบญุ กิริยา คือการทำบุญในการถวายผ้ากฐินเพ่ือให้สงฆ์ทำจีวร
เป็นช่ือของสงั ฆกรรม คอื กจิ กรรมของสงฆ์ท่ีตอ้ งมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบ
จากท่ีประชมุ สงฆ์ในการมอบผ้ากฐนิ ให้แกภ่ ิกษุรูปใดรปู หน่ึง
ห น้ า | ๑๗
กฐินทเ่ี ป็นชือ่ ของกรอบไม้
กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งเรียกว่า สะดึง ก็ได้นั้น เนื่องจากในพุทธกาล การทำจีวร
ให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้ยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญ
ในการทำเป็นผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่า จีวร เป็นชื่อรวมของผ้าผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทย
นิยมเรียกวา่ สบง ผา้ หม่ ว่า จวี ร ผา้ ห่มซอ้ นกนั วา่ สังฆาฏิ การทำผา้ โดยอาศยั แมแ่ บบเชน่ น้ี คอื ทาบผ้า
ลงไปกบั แมแ่ บบแลว้ ตดั เยบ็ ย้อม ทำใหเ้ สรจ็ ในวันนั้นด้วยความสามคั คีของสงฆ์ เป็นการร่วมแรงรว่ มใจ
กันทำกจิ ทีเ่ กดิ ขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบ หรือกฐินนั้น ก็รื้อเกบ็ ไวใ้ นการทำ
ผ้านั้นอีกในปีต่อๆ ไปการร้ือแบบไม้นี้ เรียกวา่ เดาะ คำว่ากฐินเดาะ หรือเดาะกฐิน จึงหมายถึง การร้ือ
ไม้แม่แบบเพ่อื เก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
กฐินทเี่ ป็นชอ่ื ของผ้า
หมายถึงผา้ ทถี่ วายใหเ้ ป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับต้งั แตว่ ันแรม ๑ คำ่ เดอื น ๑๑ ถึง
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่ถวายนั้น จะเป็นผ้าใหม่หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาดหรือเก่า
หรือผา้ บังสุกุล คอื ผ้าทเี่ ขาทิ้งแลว้ และเปน็ ผา้ เป้ือนฝุ่น หรือผ้าตกตามรา้ นกไ็ ด้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้
เปน็ ภิกษุหรอื สามเณรกไ็ ด้ ถวายแก่สงฆแ์ ลว้ กอ็ ันเปน็ ใชไ้ ด้
กฐินท่เี ปน็ ชอ่ื ของบญุ กิรยิ า
คือ การถวายผา้ กฐินเปน็ ทานแก่สงฆ์ผจู้ ำพรรษาอยใู่ นวัดใดวนั หน่ึงครบ ๓ เดอื นเพ่อื สงเคราะห์
ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด
การทำบญุ ถวายผ้ากฐิน หรอื ท่เี รยี กวา่ ทอดกฐิน คือ ทอดหรอื การผ้าลงไปแล้วกลา่ วคำถวายในท่ามกลาง
สงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือ การถวายทานที่ทำได้เฉพาะกาล 1 เดือน ดังกล่าวในกฐินที่เป็นชื่อ
ของผา้ ถ้าถวายกอ่ นหน้านนั้ หรือหลังจากน้ันไมเ่ ป็นกฐนิ ทา่ นจึงถอื วา่ โอกาสทำได้ยาก
กฐนิ ทเี่ ปน็ ชอื่ ของสงั ฆกรรม
คือ กิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์
ในการมอบผา้ กฐนิ ให้แกภ่ กิ ษรุ ูปใดรปู หนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จดว้ ยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลาย ก็จะได้
เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่นขยายเวลาทำจีวรได้อีก ๔ เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัย
พทุ ธกาล การหาผา้ ทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วนั แตเ่ มือ่ ได้ช่วยกันทำ
สังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บผ้าไว้ทำจีวรได้จนตลอดฤดูหนาวคือจนถึง
วนั ขน้ึ ๑๕ คำ่ เดือน ๔
ข้อความดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าความหมายของคำว่า กฐิน ที่ความหมายเกีย่ วข้อง
กันทั้ง ๔ ประการ เมอ่ื สงฆ์ทำสังฆกรรมเร่อื งกฐินแล้วและประชุมอนุโมทนากฐนิ คือ แสดงความพอใจว่า
ได้กรานกฐิน เสร็จแลว้ เปน็ อันเสรจ็ พธิ ี
ห น้ า | ๑๘
๑.๒ คำว่า กรานกฐิน คือการลาดหรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบ เพื่อ ตัดเย็บ ย้อม
ทำเปน็ จวี รผนื ใดผืนหนึง่
๑.๓ คำว่า จองกฐิน คือการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัด
ว่าจะนำกฐินมาถวาย เมื่อนั้น เมื่อนี้ แล้วแต่จะตกลงกัน แต่ต้องภายในเวลา ๓ เดือน ตามที่กำหนด
ในพระวินยั
๑.๔ คำว่า อปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์
ถามความเห็นชอบว่าควร มกี ารกรานกฐินหรอื ไม่ เมอื่ เห็นชอบร่วมกันแลว้ จงึ หารือกนั ต่อไปวา่ ผา้ ที่ทำเสร็จ
แล้วควรถวายแก่ภกิ ษุรปู ใด การปรึกษาหารือการเสนอความเหน็ เช่นนี้ เรยี กวา่ อปโลกน์ (อ่านว่า อะ-ปะ
โหลก) หมายถึงการช่วยกันมองดูว่าจะสมควรอยา่ งไรเพยี งเท่านีย้ ังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วต้อง
สวดประกาศเปน็ การสงฆ์ จงึ นับเปน็ สังฆกรรมเรือ่ งกฐนิ ดงั กล่าวไว้แล้วในตอนตน้
ในปัจจบุ ัน มีผู้ถวายกฐินมากขึ้น มีผู้สามารถตดั เย็บย้อมผ้าที่ทำจีวรได้แพรห่ ลายขึ้น การใช้ไม้
แม่แบบอย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงแต่รักษาชื่อและประเพณีไว้ โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่แบบเพียง
ถวายผ้าขาวให้ตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งนำผ้าสำเร็จรูปมาถวาย ก็เรียกว่า
ถวายผา้ กฐินเหมอื นกัน และเน่ืองจากยังมปี ระเพณีนิยมถวายกฐินกันแพร่หลายไปท่ัวประเทศไทย จึงนับว่า
ประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศลเรื่องกฐินนี้ ยังเป็นสาธารณประโยชน์ร่วมไปกับการบูรณปฏิสังขรณ์
วดั วาอารามไปในขณะเดียวกนั
๑. ตำนาน
ครั้งพุทธกาลมีเรื่องเล่าว่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก กฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา
ประมาณ ๓๐ รูป ถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวดมีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่
ณ กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้น พอถึงเมืองสาเกตซึ่งอยู่ห่างจาก
กรุงสาวัตถีประมาณ ๖ โยชน์ ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดีเดินทางตอ่ ไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่เมืองสาเกต
ตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความ ร้อนรนอยากเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
เป็นกำลัง ดังนั้น พอออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมาก หนทางที่เดินชุ่ม
ไปด้วยน้ำเป็นโคลนตมต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี ได้เข้าเฝ้าสมค วามประสงค์
พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับพระภิกษุเหล่านั้นถึงเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต
และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวายและการเดินทาง
ทีล่ ำบากให้ทรงทราบทุกประการ
พระพุทธเจ้าทรงทราบและเห็นความลำบากของภิกษุ จึงยกเป็นเหตุและมีพระพุทธานุญาตให้
พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสแล้วกรานกฐินได้และเมื่อกรานกฐนิ แล้ว จะได้รับอนิสงส์บางขอ้
ตามพระวินยั ดังกล่าวไป
ห น้ า | ๑๙
๒. ขอ้ กำหนดเก่ียวกับกฐิน
ขอ้ กำหนดเก่ียวกบั กฐนิ มดี งั ตอ่ ไปนี้
๓.๑ จำนวนพระสงฆ์ในวดั ท่ีจะทอดกฐินได้ ถ้ากล่าวตามหลักฐานในพระไตรปิฎก (เล่ม ๕ หน้า
๒๕๘) ซึ่งเป็นพุทธภาษิตกล่าวว่า สงฆ์ ๔ รูป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นการปวารณา คือ การอนุญาต
ให้กล่าวตักเตือนได้ การอุปสมบท และการสวดถอนจากอาบัติบางประการ (อัพภาน) จึงหมายถึงว่า
จำนวนพระสงฆ์ในวัดที่ทอดกฐินได้จะต้องมีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป แต่หนังสืออธิบายชั้นหลังที่เรียกว่า
อรรถกถา กล่าวว่าต้อง ๕ รูปขึ้นไป เมื่อหนังสืออธิบายชั้นหลังขัดแย้งพระไตรปิฎกให้ยึดพระไตรปิฎก
เป็นหลกั สำคัญ
๓.๒ คุณสมบัติของพระสงฆ์ที่มีสิทธิรับกฐิน คือ พระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ ๓ เดือน
ปัญหาที่เกิดขึน้ มีอยู่ว่าจะนำสงฆ์วัดอื่นมาสมทบ จะใช้ได้หรือไม่ ตอบว่าถ้าพระสงฆว์ ัดที่จะทอดกฐนิ
นั้น มีจำนวนครบ ๔ รูปแล้ว จะนำพระสงฆ์ที่อื่นมาสมทบก็สมทบได้ แต่อ้างสิทธิไม่ได้ ผู้มีสิทธิเฉพาะ
ผู้จำพรรษาครบ ๓ เดือน ในวัดนั้นเท่านั้น การนำพระภิกษุมาจากวัดอื่น คงมีสิทธิเฉพาะที่ทายกจะ
ถวายอะไรเป็นพิเศษเท่าน้ัน ไมม่ สี ทิ ธใิ นการออกเสยี งเรอ่ื งถวายผ้าแกภ่ กิ ษรุ ูปนนั้ รปู นี้
๓.๓ กำหนดกาลที่จะทอดกฐินได้ ได้กล่าวไว้แล้วเบื้องต้นว่าการทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลา
จำกัด คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ก่อนหน้านั้น หรือหลังจากน้ัน
ไมน่ ับเปน็ กฐิน
๓.๔ ข้อควรทราบเกี่ยวกับกฐินไม่เป็นอันทอดหรือโมฆะ เรื่องนี้สำคัญมากควรทราบทั้งผู้ทอด
และทั้งฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับเพราะเป็นเรื่องทางพระวินัย (วินัยปิฎกเล่ม ๕ หน้า ๑๓๗ ) คือมักจะมี
พระในวัดเที่ยวขอโดยตรงหรือโดยอ้อม ด้วยวาจาบ้าง ด้วยหนังสือบ้าง เชิญชวนให้ไปทอดกฐินในวัด
ของตน การทำเช่นนั้นผิดพระวินัยกฐินไม่อนั กรานนับเป็นโมฆะ ทอดก็ไม่เป็นอันทอด พระผู้รับก็ไม่ได้
รบั อนสิ งส์ จึงควรระมดั ระวังทำให้ถูกตอ้ งและแนะนำผ้เู ข้าใจผิดปฏบิ ตั ผิ ิดใหท้ ำใหถ้ กู ต้องเรยี บร้อย
๔. ประเภทของกฐนิ
การทอดกฐินที่ปฏิบัติกันมาในประเทศไทย ตามหลักฐานที่ปรากฏ นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
เป็นราชธานีตราบเท่าถงึ ปจั จบุ นั แยกประเภทใหญ่ ๆ ไดด้ ังนี้
*กฐินหลวง
*กฐินราษฎร
ห น้ า | ๒๐
กฐนิ หลวง
มีประวัติว่า เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามาประเทศไทย และประเทศไทย และประชาชน
คนไทยที่ตง้ั หลักแหล่ง อยูบ่ นผืนแผ่นดนิ ไทยได้ยอมรบั นับถอื พระพทุ ธศาสนา ว่าเปน็ ศาสนาประจำชาติแล้ว
กานทอดกฐินก็ได้กลายเปน็ ประเพณขี องบา้ นเมอื งมาโดยลำดับ พระเจ้าแผน่ ดิน ผู้ปกครองบา้ นเมืองทรงรบั
เร่อื งกฐนิ น้ีขน้ึ เป็นพระราชพิธอี ย่างหนึ่งซงึ่ ทรงบำเพ็ญเปน็ การประจำ เมือ่ ถึงเทศกาลทอดกฐินการที่พระเจ้า
แผน่ ดนิ ทรงบำเพญ็ พระราชกศุ ลเก่ียวกบั กฐินเปน็ พระราชพธิ ดี ังกลา่ วนี้ เปน็ เหตุให้เรียกกนั ว่ากฐนิ หลวง
กฐินหลวงต้องเป็นกฐินที่ถวายพระอารามหลวง ส่วนกฐินพระเจ้าแผ่นดินถวายวัดราษฎร์
เรยี กกนั ว่าพระกฐนิ ต้น
แต่สมัยต่อมา เร่อื งของกฐินหลวงได้เปลี่ยนไปตามสภาวการณข์ องบ้านเมือง เชน่ ประชาชน มีศรัทธา
เจรญิ รอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดินไดร้ ับพระมหากรุณาธิคุณให้ถวายผ้าพระกฐินได้ตามสมควร
แกฐ่ านะ เป็นต้น เป็นเหตุใหแ้ บ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภท ดงั ที่ปรากฏ ในปัจจุบัน ดังน้ี
๑. กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี กฐินดังกล่าวนี้ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐนิ
ดว้ ยพระองคเ์ องเปน็ ประจำ ณ วัดสำคญั ๆ ซ่ึงทางราชการกำหนดขน้ึ มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนิน
อย่างเรียบร้อย นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ จำนวน ๑๖ พระอารามหลวง ทั้งในกรุงเทพมหานคร
และส่วนภมู ิภาค มดี ังน้ี
๑. วดั บวรนเิ วศวิหาร กรุงเทพมหานคร
๒. วดั พระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรงุ เทพมหานคร
๓. วัดอรณุ ราชวราราม กรุงเทพมหานคร
๔. วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
๕. วัดสทุ ัศนเทพวราราม กรงุ เทพมหานคร
๖. วดั ราชประดิษฐสถติ มหาสมี าราม กรุงเทพมหานคร
๗. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรงุ เทพมหานคร
๘. วัดราชบพธิ สถิตมหาสมี าราม กรงุ เทพมหานคร
๙. วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร
๑๐. วัดมกฏุ กษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
๑๑. วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
๑๒. วดั มหาธาตุยวุ ราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
๑๓. วดั พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
๑๔. วัดนิเวศธรรมประวตั ิ จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา
๑๕. วัดสุวรรณดาราราม จังหวดั พระนครศรอี ยุธยา
๑๖. วัดพระศรรี ัตนมหาธาตุ จังหวดั พิษณุโลก
ห น้ า | ๒๑
๒. กฐินต้น กฐินดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไป
ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี
แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์กฐินส่วนพระองค์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังที่ได้
มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ เมื่อ พ.ศ. 2447 เสด็จประพาสครั้งนั้นโปรดให้จัดให้ง่ายกว่า
การเสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือ โปรดไม่ให้มีท้องที่ตราสั่งหัวเมือง
ให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใด ๆ พอพระราชหฤทัยจะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่น บางคราวก็ทรง
เรอื เลก็ หรือเสดจ็ รถไฟไปด้วย มใิ ห้ใครรู้ การเสดจ็ ประพาสคร้ังน้ันเรยี กวา่ เสด็จประพาสต้น
๓. กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้กราบบังคมทูล
ขอพระราชทานเพื่อน้อมนำไปถวายยังวัดหลวง นอกจากวัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้เพื่อจะเสด็จ
พระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง ๑๖ วัด ดังที่กล่าวมาแล้ว เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่า
ปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตลอดจนคณะบุคคล
หรือบุคคล ที่สมควรรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้ และผู้ทีไ่ ดร้ บั พระราชทานจะเพิ่มไทยธรรม
เป็นการส่วนตัวเพื่อถวายพระราชกศุ ลตามกำลงั ศรัทธาของตนได้
ปัจจุบันกระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลหรือบุคคลใดมีความประสงค์จะขอรับพระราชทาน
ผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงใด โปรดประสานไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามระเบียบ
ซง่ึ กรมการศาสนาจะไดด้ ำเนินการขอพระราชทานตามความประสงคต์ ่อไป
กฐนิ ราษฎร์
เปน็ กฐินทีร่ าษฎร หรือประชาชน ผ้มู ีศรทั ธานำผ้ากฐนิ ของตนไปทอด ณ วดั ต่าง ๆ เว้นไว้แต่วัด
ที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องกฐินหลวง การทอดกฐินของราษฎรตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจนกระท่ัง
ปัจจุบนั มชี อื่ เรียกแตกตา่ งกนั ตามลกั ษณะของวิธกี ารทอด คือ
๑. กฐนิ หรอื มหากฐิน
๒. จุลกฐนิ
๓. กฐนิ สามัคคี
๔. กฐินตกคา้ ง
ห น้ า | ๒2
๑. กฐิน หรือ มหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งซึ่งตนมีศรัทธา
เป็นการเฉพาะ กลา่ วคือ ท่านผู้ใดมศี รทั ธาจะทอดกฐนิ ณ วัดใด กน็ ำผ้ากฐิน บางครงั้ เรียกว่า ผ้าท่ีเป็น
องค์กฐิน ซึ่งจะเป็นผ้าผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซ่ึงยังไม่ได้ตัดก็ได้ ตัดออกเป็นชิน้ ๆ พอที่
จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังมิได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้อย่างใดอย่างหนง่ึ
จดั เปน็ องคก์ ฐิน
ความนิยมที่นำกฐินไปทอด ณ วัดต่าง ๆ ของราษฎรนั้น มิใช่จะมีแต่องค์กฐินดังกล่าวมาแล้ว
เท่านั้น เจ้าภาพบางรายอาจมีศรัทธาถวายของอื่น ๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกกันว่า บริวารกฐิน
ตามที่นิยมกันนัน้ มีปัจจัย ๔ คือ เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มีไตรจีวร บริขาร อื่น ๆ ที่จำเปน็
หรือเครื่องใช้ประจำมี มุ้ง หมอน ที่นอน เตียง ตั่ง โต๊ะ เก้าอี้ โอ่งน้ำ กระถาง กระทะ กระโถน เตา
ภาชนะสำหรับใส่อาหารคาวหวาน เครอื่ งซอ่ มเสนาสนะมี มีด ขวาน กบ ส่วิ เลือ่ ย ไม้กวาด จอบ เสียม
ยารักษาโรค ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ตลอดจนเครื่องครัวมี ข้าวสาร ผลไม้ เป็นต้น หรือจะมีอย่างอื่น
นอกจากกล่าวถึงนี้ก็ได้ ขอให้เป็นของที่สมควรแก่พระภิกษุสามเณรจะบริโภคเท่านั้น หากจะมีของ
สำหรบั แจกจา่ ยแกค่ นทีอ่ ยใู่ นวัดหรอื คนทม่ี าร่วมงานกฐนิ ดว้ ยกไ็ ด้สุดแตก่ ำลงั ศรัทธาและอธั ยาศัยไมตรี
นอกจากที่ได้กล่าวมาแลว้ นัน้ ยังมีธรรมเนียมที่เจา้ ภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธาน
อีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดพระปาติโมกข์ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เที ยนปาติโมกข์
จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก เป็นต้น
สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว และมีธงผ้าขาวเขียนเป็นรูปตะขาบ ปักไว้
หน้าวัดสำหรับวัดที่ตั้งอยู่บนดอยไกลแม่น้ำ ที่ใช้ปักนี้เป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่า วัดนั้น ๆ ได้รับกฐิน
แลว้ และอนุโมทนารว่ มกุศลด้วยได้
อนึ่ง ยังมีประเพณีนยิ มอีกอย่างหน่ึงเกี่ยวกับเวลาการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญ
ถวายอาหารเพลแก่พระภกิ ษสุ ามเณรในวัด
กฐนิ ทีร่ าษฎรผ้เู ป็นเจา้ ภาพนำองค์กฐินและบรวิ ารกฐนิ ไปทอดยังวดั ต่าง ๆ ดังกลา่ วน้ี เรียกกนั ว่า
กฐินหรือมหากฐิน เป็นลักษณะของกฐินที่ราษฎรทอดกันเป็นส่วนใหญ่อยู่ในปัจจุบัน แต่เหตุที่เรียกว่า
มหากฐนิ นน้ั อาจเปน็ เพราะใหเ้ หน็ แตกตา่ งจากกฐินอกี ชนดิ หนึง่ ทเี่ รียกวา่ จลุ กฐินกไ็ ด้
ห น้ า | ๒3
๒. จุลกฐนิ เป็นกฐนิ ทต่ี ้องทำด้วยความเร่งรบี เดิมเรียกกนั เป็นแบบไทย ๆ วา่ กฐนิ แลน่ เจา้ ภาพ
ผู้ที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ตอ้ งมีพวกมากมีกำลังมาก เพราะต้องเริ่มตั้งแต่การทำผ้าที่นำไปทอดตั้งแต่ต้น
กลา่ วคือ เร่ิมตั้งแตน่ ำฝา้ ยทแ่ี กใ่ ช้ได้แล้วแตย่ งั อย่ใู นฝักมีปรมิ าณให้พอแกก่ ารที่จะทำเปน็ ผา้ จีวรผืนใดผืน
หนึ่งได้แล้วทำพิธีสมมติว่าฝ้ายจำนวนนั้น ได้มีการหว่าน แตกงอกออกต้น เติบโต ผลิดอก ออกฝัก
แกส่ กุ แล้ว เกบ็ มาเอาเมลด็ ออก ดีดเปน็ ผง ทำเป็นเสน้ ด้ายเปยี ออกเปน็ ไจ กรอออกเป็นเขด็ แล้วฆ่าด้วย
น้ำข้าว ตากให้แห้งใส่กงปั่นเส้นหลอด ใส่กระสวยเครือแล้วทอเป็นแผ่นผ้าตามขนาดที่ต้องการ นำไป
ทอดเปน็ ผา้ กฐนิ เม่อื พระสงฆร์ บั ผ้าน้ันแล้ว มอบแก่พระภกิ ษุผู้เป็นองค์ครองซงึ่ พระองค์ครองจะจัดการ
ตอ่ ไปตามพระวินัย หลังจากนัน้ ผูท้ อดต้องช่วยทำตอ่ คือ นำผ้านั้นมาขยำทุบ ซกั แล้วเอาไปตากให้แห้ง
แล้วนำมาตดั เป็นจวี รผนื ใดผนื หน่งึ แลว้ เยบ็ ยอ้ ม ตากแหง้ พบั ทับรดี เสรจ็ เรยี บรอ้ ยแล้วนำไปถวายองค์
ครองอกี ครั้งหน่ึงเพื่อให้ท่านทำพินทุอธิษฐาน เมื่อเสร็จจากการพินทุอธิษฐานแลว้ จะมีการประชุมสงฆ์
แจง้ ใหท้ ราบ พระภิกษสุ งฆ์ทงั้ หมดจะอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธีจลุ กฐิน
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ทอดกฐนิ ไม่มกี ำลังคนมากพอ จะตัดพิธีการในตอนต้น ๆ ออกเสยี
กไ็ ดโ้ ดยเรม่ิ ด้วยการเอาผ้าขาวผืนใหญ่มากะประมาณให้พอทจ่ี ะตัดเป็นจวี รผืนใดผนื หน่ึงแล้วนำไปทอด
เมอื่ พระภิกษุสงฆ์ ท่านนำไปดำเนนิ การตามพระวนิ ยั แล้ว กช็ ่วยทำต่อจากทา่ น คอื ซัก กะ ตัด เย็บย้อม
ให้เสร็จแล้วนำกลับไปถวายองค์ครองเพื่อพินทุอธิษฐานต่อไป เหมือนวิธีทำที่กล่าวมาแล้วในการทำ
จุลกฐนิ เต็มตามรปู แบบ
อนึง่ ข้อทคี่ วรกำหนดจดจำไว้คือ จุลกฐินจะเปน็ วธิ ีใดวธิ ีหนงึ่ ก็ตาม จะตอ้ งทำใหเ้ สร็จในวันเดียว
เร่มิ ต้นต้งั แตเ่ วลาเช้าถึงย่ำรุ่งของวันร่งุ ข้ึน คือต้องทำให้เสร็จก่อนรุ่งอรณุ ของวันใหม่ ไม่เช่นน้ันแล้วกฐิน
นนั้ ไม่เป็นกฐนิ สว่ นบรวิ ารของจลุ กฐิน ผา้ ห่มประธานและเทยี นปาติโมกข์ ตลอดจนธงจระเข้ ธงตะขาบ
กค็ งเปน็ เหมือนท่กี ล่าวมาแล้วในเร่ืองกฐิน หรอื มหากฐิน
๓. กฐินสามัคคี เป็นกฐินท่ีมีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน มิใช่เจ้าภาพเพียงคนเดียวอย่างเร่ืองกฐนิ
หรอื มหากฐนิ ทกุ คนเป็นเจ้าภาพทั้งหมด ใครบรจิ าคมากน้อยอย่างไร ไมเ่ ป็นประมาณ แต่เพื่อไม่ให้การ
จัดงานกฐนิ ยงุ่ ยากสบั สนมากเกนิ ไป ก็มกั จะต้งั คณะกรรมการข้ึนคณะหน่ึงเพือ่ ดำเนินการแล้วมีหนังสือ
บอกบญุ ไปยังผ้อู นื่ ดว้ ย เมอื่ ไดป้ จั จัยมาเท่าไรกจ็ ัดผา้ อันเป็นองคก์ ฐนิ รวมทงั้ ของบรวิ ารดังกล่าวแล้วนั้น
เมื่อมีปัจจัยเหลือก็ถวายวัดไว้เพื่อทางวัดจะนำไปใช้จ่ายในทางที่ควร เช่น การก่อสร้างศาสนสถาน
การบรู ณปฏิสังขรณ์ เพื่อเปน็ การสมทบทนุ ให้ส่ิงอันถึงประสงค์ของวดั ให้สำเรจ็ เสรจ็ สิ้นไปโดยเรว็
เร่ืองของกฐินสามคั คี เป็นเร่ืองท่ีนยิ มกันอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากจะถือกนั ว่าเปน็ บุญกศุ ล
แล้วยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงวัด ตลอดจนเป็นเรื่องเพิ่มความสนุกครึกครื้นแก่งาน เป็นสามัคคีร ส
อนั เนอ่ื งมาจากการทอดกฐินสามคั คี
ห น้ า | ๒4
๔. กฐินตกค้าง กฐินประเภทนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่น อีกว่า กฐินตก หรือ กฐินโจร ศาสตราจารย์
พระยาอนุมานราชธนไดก้ ลา่ วถึงเหตุผลที่เกิดกฐินชนิดน้ี ตลอดจนชื่อที่เรียกไปเปน็ ต่าง ๆ กันของกฐิน
ประเภทนี้ไว้ในเรื่องเทศกาลออกพรรษาว่า “แต่ที่ทำกันเช่นนี้ ทำกันอยู่ในท้องถ่ินที่มีวัดมาก ซึ่งอาจมี
วัดตกค้าง ไมม่ ใี ครทอดกไ็ ด้ จงึ มกั มผี ศู้ รทั ธาไปสบื เสาะหาวดั อย่างนี้เพ่อื ทอดกฐิน ตามปกตใิ นวันใกล้ ๆ
จะสิ้นหนา้ ทอดกฐินหรือในวนั สุดทา้ ย คอื วันก่อนแรมค่ำหนงึ่ ของเดือน 12 การทอดกฐนิ อยา่ งนี้เรยี กกัน
ว่า กฐินตกค้าง หรือเรียกว่า กฐินตก บางถิ่นก็เรียกว่า กฐินโจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้
เนื้อรู้ตัวจู่ ๆ ก็ไปทอดไม่บอกกล่าวล่วงหน้าไว้ให้วัดรู้ เพื่อเตรียมความพร้อม การทอดกฐินตกถือว่า
ได้บุญอานิสงค์แรงกว่าทอดกฐินธรรมดา บางทีเตรียมข้าวของไปทอดกฐินหลาย ๆ วัด แต่ได้วั ดทอด
น้อยวัด เครื่องไทยธรรมที่ตระเตรียมเอาไปทอด ยังมีเหลืออยู่ หรือทางวัดทอดไม่ได้ ก็เอาเครื่องไทย
ธรรมเหล่านนั้ จดั ทำเป็นผ้าป่า เรยี กกันว่า “ผ้าปา่ แถมกฐนิ ”
ส่วนข้อแตกต่างของกฐินประเภทน้ี คือ ไม่มีการจองวัดล่วงหน้าการทอดเฉพาะวัดทีย่ งั ไม่มีใคร
ทอดและอาจทอดหลายวัดได้ตลอดจนสามารถเอาของไทยธรรมที่เหลือทำเป็นการบุญอีกชนิดหนึ่ง
เรยี กว่า ผ้าปา่ แถมกฐิน
ห น้ า | ๒5
ขั้นตอนกฐินพระราชทาน
******************
๑. เมื่อได้รับผ้าพระกฐินพระราชทานจากกรมการศาสนาแล้ว ควรถวายหลังวันแรม ๖ ค่ำ
เดอื น ๑๑ หรอื เม่อื พระบาทสมเดจ็ พระวชริ เกล้าเจ้าอยหู่ ัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐนิ วนั แรกแล้ว
๒. ให้ติดต่อกับวัดโดยตรง เพื่อแจ้งวัน เวลา และขอให้เจ้าอาวาสสั่งไวยาวัจกรเตรียม สถานที่
และสิง่ จำเปน็ ท่มี ีบูชาพระรัตนตรัย มีเคร่ืองบูชาพร้อมอาสนสงฆส์ ำหรับพระสงฆอ์ นโุ มทนาพระกฐิน โต๊ะ
ขนาดกว้างพอสมควรสำหรับวางพานแว่นฟ้า ผ้าไตรพระกฐินและพานเทียนพระปาติโมกข์ โต๊ะวาง
เครอื่ งบริขารพระกฐิน และเครอ่ื งไทยธรรม โตะ๊ เก้าอส้ี ำหรับผเู้ ป็นประธานและผูไ้ ปรว่ มพิธตี ามสมควร
๓. เมอ่ื ถึงวนั กำหนดก่อนผ้เู ปน็ ประธานจะไปถงึ หรอื กอ่ นเร่มิ พธิ ี ใหเ้ จ้าหนา้ ทเ่ี ชญิ เครื่องพระกฐิน
จัดไว้บนโต๊ะ วางเทียนปาตโิ มกข์ไวบ้ นพาน และให้เจา้ หน้าที่แต่งเครื่องแบบหรอื แตง่ สากลนิยมคอยสง่
ใหผ้ ู้เปน็ ประธาน ทเี่ ชงิ บันไดหรอื ประตูเขา้ สถานที่ประกอบพิธี
๔. ประธานรับผ้าพระกฐินจากเจ้าหน้าที่ที่เชิงบันไดพระอุโบสถอุ้มประคองยืนตรงถวาย
ความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญ
พระบารมี แลว้ จงึ เขา้ สู่พระอุโบสถตรงไปวางไว้ที่พานแวน่ ฟ้าซึ่งต้ังอยู่หน้าอาสนสงฆ์ (ถ้ามีปี่พาทย์หรือ
เครือ่ งดนตรใี หบ้ รรเลงเพลงสรรเสรญิ พระบารมี ขณะผ้เู ปน็ ประธานรบั ผา้ ไตรจากเจา้ หนา้ ที่หรือรับท่โี ต๊ะ
หมู่ในกรณที ่ีจดั ไว้ ต่อจากนนั้ จงึ บรรเลงเพลงชา้ ) ขณะประธานเข้าสู่สถานท่ีประกอบพธิ ีจนถึงเวลาจุดธูป
เทยี นบชู าพระรตั นตรัย แลว้ จงึ สง่ เทียนชนวนคนื ให้หยดุ บรรเลงทนั ทีแมจ้ ะยังไมจ่ บเพลงก็ตาม และควร
มเี จา้ หน้าที่คอยใหส้ ญั ญาณเวลาให้เริม่ เพลงหรอื ใหห้ ยดุ บรรเลง
๕. เม่ือวางผ้าพระกฐินแลว้ จดุ ธปู เทียนเครอ่ื งสกั การะบชู าพระรัตนตรยั แลว้ กราบ ๓ หน
๖. เมื่อกราบพระรัตนตรัยแล้ว ไปที่พานแว่นฟ้าหยิบผ้าห่มพระประธานส่งให้เจ้าหน้าที่นำไป
มอบแก่ไวยาวัจกร แล้วยกผ้าพระกฐินขึ้นประคอง พนมมือหันไปทางพระประธานว่า นะโม ๓ จบ
ต่อจากนั้นหันหน้าไปทางพระสงฆ์ว่าด้วยคำถวายพระกฐิน กล่าวถวายพระกฐินทานจบแล้วประเคน
พร้อมด้วยเทียนพระปาติโมกข์เสร็จแล้ว เข้านั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้ในระหว่างที่ผู้เป็นประธานเข้าสู่สถานท่ี
ประกอบพธิ ี ผ้อู ยใู่ นพธิ ีทง้ั หมดยืนแสดงความเคารพจนกวา่ ประธานจะนั่งลง จึงน่งั ลงพรอ้ มกัน
๗. พระสงฆ์ทำพิธีกรรม
ห น้ า | ๒6
๘. เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีกรรมเสร็จออกไปครองผ้า พระสงฆ์ครองผ้าเสร็จกลับเข้านั่งอาสนสงฆ์
ประธานถวายเครื่องบริวารกฐินแก่พระองค์ครอง เริ่มตั้งแต่บาตรเป็นต้นไปจนถึงเครื่องมือก่อสร้าง
ถ้าจดั เครือ่ งไทยธรรมถวายเพ่มิ เตมิ ควรถวายภายหลงั เครือ่ งพระกฐินพระราชทาน
๙. ถา้ มีผู้บริจาคร่วมโดยเสดจ็ พระราชกุศล ควรประกาศใหท้ ่ปี ระชุมทราบ
๑๐. พอพระสงฆอ์ นโุ มทนา ผูเ้ ปน็ ประธานกรวดน้ำ แล้วพระสงฆถ์ วายอดิเรกจบ ประธานกราบ
พระรตั นตรัยเป็นอันเสรจ็ พธิ ี (ป่ีพาทย์บรรเลงเพลงกราวรำ ถ้ามี)
๑๑. กรมการศาสนาเป็นผู้จัดสรรและดำเนินการขอพระราชทาน จึงขอให้รายงาน
ถวายผ้าพระกฐินพระราชทานและยอดเงินโดยเสด็จพระราชกุศลไปยังกรมการศาสนา หลังจาก
การถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้วเพื่อจะได้รวบรวมดำเนินการกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทาน
ถวายพระราชกุศลโดยพรอ้ มเพรยี งกนั
ห น้ า | ๒7
คำถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน
***********
ผา้ พระกฐินทานกับทง้ั ผา้ อานิสงสบ์ รวิ ารทงั้ ปวงนี้ พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรรามาธิบดี
ศรีสินทรมหา วชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศร
ราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ผ้ทู รงพระคณุ อันประเสรฐิ กอปรด้วยพระราชศรัทธา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมนำมา
ถวายแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์ จงรับผ้าพระกฐินทานนี้
กระทำกฐินตั ถารกิจ ตามพระบรมพุทธานญุ าตน้ัน เทอญ
ข้อมูลและภาพถา่ ย : สำนักงานเลขานุการกรม
กรมสง่ เสริมการเกษตร
ประวตั ิวดั บางกระเบา พระมหาสมนกึ กิตฺตโิ สภโณ ป.ธ.๙, ดร. เจ้าอาวาสวัดบางกระเบา
สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจนี บรุ ี
ออกแบบและจดั พิมพ์โดย : ศนู ย์วทิ ยบริการเพ่ือสง่ เสริมการเกษตร สำนกั งานเลขานกุ ารกรม
กรมสง่ เสริมการเกษตร