The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

พริก

พริก

Keywords: พริก

7ค�ำ แนะนำ�ท่ี /2564

พริก

กระทรกวรงมเสก่งษเตสรรแมิ ลกะาสรเหกกษรตณร์

ค�ำ แนะนำ�ท่ี 7 / 2564

พรกิ
พมิ พค์ รง้ั ท่ี 1 : พ.ศ. 2564 จำ�นวน 1,000 เล่ม
ออกแบบ/พมิ พท์ ี่ : กลมุ่ โรงพมิ พ์ ส�ำ นักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลย ี
จัดพมิ พ์ : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คำ�นำ�

พริก เป็นเคร่ืองชูรสอาหารของ
คนไทยมายาวนาน และเปน็ พชื เศรษฐกจิ ทสี่ �ำคญั
ของประเทศไทย จากข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร
พบว่า ปี 2563 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริกประมาณ 149,000 ไร่
คิดเป็นร้อยละ 11 ของพ้ืนที่ปลูกพืชผักทั้งประเทศ (มีพื้นที่ปลูกเป็นอันดับที่สอง
รองจากพชื ผกั ทานใบ)
พริก เป็นพืชท่ีมีความต้องการในประเทศสูง ทั้งการบริโภคในชีวิต
ประจ�ำวัน การท�ำธุรกิจประกอบอาหาร รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปด้านอาหาร
และเวชส�ำอาง แต่เน่ืองจากปริมาณผลผลิตพริกท่ีเกษตรกรผลิตได้ มีไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงส่งผลให้ประเทศไทยต้องน�ำเข้าพริกสด และ
พรกิ แหง้ ในปรมิ าณและมลู คา่ ทสี่ งู กวา่ การสง่ ออก และจากขอ้ มลู กรมศลุ กากร (2563)
พบว่าประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพริก จ�ำพวกซอสพริกในปริมาณ
และมูลค่าที่สูงกว่าการน�ำเข้า จึงแสดงให้เห็นว่า ตลาดในประเทศยังคงมี
ความต้องการพริกเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม พริกเป็นพืชที่อ่อนไหว
มีความต้องการในการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังน้ัน เกษตรกร หรือผู้สนใจควร
ศึกษา ท�ำความเข้าใจเก่ียวกับการผลิต การจัดการ และการตลาดพริกให้ดีก่อน
เพื่อสามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ไม่ก่อ
ให้เกิดความเสียหายตอ่ การผลิต

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดท�ำเอกสารค�ำแนะน�ำ เรื่อง พริก

โดยหวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ ใหผ้ สู้ นใจไดเ้ ขา้ ใจถงึ วธิ กี ารปลกู การดแู ลรกั ษา การบรหิ ารจดั การ
ตน้ ทนุ และผลตอบแทนการผลติ พรกิ รวมถงึ สถานการณก์ ารผลติ และการตลาดพรกิ
เพอ่ื สามารถน�ำไปวางแผนในการผลติ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงคท์ ี่ไดก้ �ำหนดไว้

กรมส่งเสรมิ การเกษตร
2564

สารบญั 9

13

21 22 25

ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ 1
การปลกู และการดแู ลรกั ษา 3
โรคและแมลงศตั รูพริกท่ีส�ำคัญ 9
ตน้ ทุนและผลตอบแทนการผลติ พรกิ (พน้ื ที่ 1 ไร่) 21
สถานการณก์ ารผลติ และการตลาด 22
รายช่อื ผปู้ ระกอบการตลอดห่วงโซอ่ ปุ ทานพรกิ 25
เอกสารอ้างอิง 30

ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์

พริก

(Capsicum spp.) เปน็ พชื ทอ่ี ยใู่ นตระกลู Solanaceae เปน็ ไมพ้ มุ่
ราก เป็นระบบรากแกว้ ความยาวรากประมาณ 100 - 150 เซนติเมตร
เม่ือเติบโตเต็มที่รากฝอยจะแผ่รัศมีกว้างประมาณ 1 เมตร โดยรากฝอยจะพบมาก
บรเิ วณรอบลำ�ตน้ ใตผ้ ิวดนิ ประมาณ 60 เซนตเิ มตร ลำ�ตน้ ตรง เม่ือเจริญเตบิ โตถึงข้อท่ี
9 - 15 จะแตกออกเป็น 2 ก่ิง (ง่ามแรก) และแตกต่อไปเรื่อย ๆ จาก 2 เป็น 4
จาก 4 เปน็ 8 และแตกไปเร่อื ย ๆ เรยี กวา่ การแตกกง่ิ แบบ dichotomous
ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปไข่ขอบใบเรียบปลายใบแหลม
มีขนเล็กน้อย
ดอก เป็นดอกเดี่ยวแบบสมบูรณ์เพศ เกิดท่ีข้อมุมท่ีเกิดใบหรือก่ิง
กลบี ดอกมีสขี าว เขยี วออ่ น หรอื ม่วง
ผล มีท้ังผลห้อยและผลต้ัง โดยจะมีขนาด รูปร่าง สี ความเผ็ด
แตกต่างกันตามพันธุ์ สารสำ�คัญในผลพริกมีหลายชนิด แต่ท่ีมีบทบาทสำ�คัญ
ในการกำ�หนดคุณภาพความเผ็ดของพริก คือ สารแคปไซซิน มีหน่วยเป็น
สโควิลล์ (Scoville)

พริก 1

สภาพแวดลอ้ มทเ่ี หมาะสมตอ่ การเจรญิ เตบิ โตของพรกิ (Crop requirement)

สภาพภูมิอากาศ พริกเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น
แสงแดดไม่จัดจนเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพริกอยู่ในช่วง
20 - 30 องศาเซลเซียส (ยกเว้นพริกหวานท่ีต้องการอุณหภูมิต่ำ� ประมาณ 18 - 27
องศาเซลเซียส) อุณหภูมิที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส อาจทำ�ให้ดอกร่วง และ
ถ้าอณุ หภมู สิ งู กว่า 35 องศาเซลเซียส อาจทำ�ให้ผลอ่อนรว่ งดว้ ย
สภาพพ้ืนที่ พ้นื ท่ีปลูกควรมีความสงู จากระดบั นำ้�ทะเลไม่เกนิ 1,500 เมตร
ส�ำ หรบั พรกิ หวานพน้ื ทปี่ ลูกควรสงู จากระดับน�ำ้ ทะเล 500 เมตรขึ้นไป
สภาพดิน ดินร่วนปนทราย มกี ารระบายน�ำ้ ดี ค่า pH 6.0 - 6.5
ปริมาณความต้องการน้ำ� ประมาณ 700 - 800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่
ตอ่ ฤดูการผลติ



พรกิ เลก็ ไดแ้ ก่ พรกิ ขหี้ นผู ลเลก็ พรกิ ขหี้ นผู ลใหญ่
พรกิ ใหญ่ ไดแ้ ก่ พรกิ ชฟ้ี า้ พรกิ มนั พรกิ เหลอื ง พรกิ หยวก พรกิ หวาน
ทม่ี า : http://paccapon.blogspot.com/2015/03/blog-post_62.html

2 กรมส่งเสริมการเกษตร

การปลูกและการดแู ลรักษา

1. การคดั เลอื กพนั ธพ์ุ รกิ

การปลูกพริกเชิงการค้าเกษตรกรจะต้องคำ�นึงถึงความต้องการของตลาด
เป็นสำ�คัญพันธุ์พริกที่เลือกปลูกจะต้องให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและ
แมลงศัตรูพืช และต้องเลือกซ้ือเมล็ดพันธ์ุจากแหล่งจำ�หน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ
เมล็ดพันธุ์พริก 1 กรัม มีจำ�นวนเมล็ดประมาณ 230 - 260 เมล็ด พ้ืนท่ีปลูก 1 ไร่
ใช้เมล็ดพันธ์ุประมาณ 100 กรัม โดยท่ัวไปพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้ต้นกล้า
จำ�นวน 3,200 - 3,500 ต้น เนื่องจากจำ�นวนต้นกล้าที่ได้ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์
ความงอกของเมล็ดพันธ์ุ เมลด็ พนั ธ์พุ รกิ ท่ีใช้ปลูกในปจั จบุ ัน มี 2 ประเภท คอื
1) เมล็ดพันธ์ุลูกผสม (F1 – Hybrid) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการปรับปรุง
และคัดเลือกพันธ์ุของบริษัทเอกชนให้มีผลผลิตสูง แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้
ปลกู ตอ่ ได ้ เนอ่ื งจากจะมลี กั ษณะทแี่ ตกตา่ งไปจากเดมิ เกษตรกรนยิ มปลกู ในเชงิ การคา้
2) เมล็ดพันธ์ุผสมเปิด (Open Pollinated) เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้จาก
ท้องถ่ินทีม่ ีการเก็บพนั ธุ์ไวป้ ลกู ต่อ ๆ กนั มคี วามแปรปรวนของทรงต้นและลกั ษณะผล
ให้ผลผลิตตำ่�กว่าพันธุ์ลูกผสม แต่จะมีลักษณะเด่นในแต่ละพันธุ์ เช่น พันธ์ุยอดสนท่ีมี
ลกั ษณะเดน่ คอื ตากแห้งจะมีสที องสวย เกษตรกรนิยมปลกู เพื่อบรโิ ภคในครวั เรอื น

2. การเพาะกลา้

ควรมีการป้องกันเช้ือโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธ์ุ โดยนำ�เมล็ดแช่นำ้�อุ่นอุณหภูมิ
50 องศาเซลเซียส ประมาณ 30 นาที จากน้ันผ่ึงเมล็ดบนผ้าหรือกระดาษให้แห้ง
คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันกำ�จัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ (mancozeb) เบโนมิล
(benomyl) แล้วนำ�ไปหยอดลงในถาดเพาะกล้าหลุมละ 1 เมล็ด กลบด้วยวัสดุ
เพาะกล้าหนาประมาณ 1 เซนติเมตร (วัสดุเพาะกล้า ได้แก่ พีทมอส หรือเกษตรกร
สามารถเตรียมวัสดเุ พาะกลา้ เอง)

พรกิ 3

สูตรที่ 1 ดนิ รว่ น 1 สว่ น และปุ๋ยคอก/ป๋ยุ หมกั 1 สว่ น
สตู รท่ี 2 แกลบด�ำ 1 สว่ น ปยุ๋ คอก/ปยุ๋ หมกั 1 สว่ น และขยุ มะพรา้ ว 1 สว่ น
จากน้ันรดน้ำ�ที่ผสมเช้ือราไตโคเดอร์มาให้ความช้ืนพอดีสมำ่�เสมอ ใช้ผ้าหรือพลาสติก
คลุมถาดเพาะ หรือเรียกว่า “บ่มถาดเพาะ” จนกว่าเมล็ดงอกโผล่พ้นดินจึงเปิดผ้า
หรือพลาสติกออก ซึ่งวิธีน้ีจะดีกว่าการบ่มเมล็ดก่อนเพาะ (การแช่น้ำ� 6 - 12 ช่ัวโมง
และห่อผ้า 2 - 3 วันให้รากงอก) เน่ืองจากการบ่มเมล็ดก่อนเพาะจะทำ�ให้การหยอด
เมลด็ ชา้ และยากกวา่ การหยอดเมลด็ แหง้ และหากความชน้ื ไมส่ ม�ำ่ เสมอรากทเ่ี รม่ิ งอกแลว้
อาจแห้งตายได้ หลังจากหยอดเมล็ด ควรรดน้ำ�อย่างสมำ่�เสมอวันละ 2 คร้ัง
(เชา้ , เย็น) เมื่อต้นกลา้ เริม่ ใบจรงิ
4 - 5 ใบ อาจจะรดนำ้�เพียง
วนั ละครง้ั หรือ 2 - 3 วันต่อคร้งั
เม่ือต้นกล้ามีอายุ 15 วัน หรือ
20 วัน หลังหยอดเมล็ด ให้ปุ๋ย
สูตร 15 - 15 - 15 ละลายน้ำ�
อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ� 20 ลิตร
และควรรดน้ำ�ตามเบา ๆ เพ่ือ
ล้างปุ๋ยออกจากใบ เม่ือต้นกล้า
อายคุ รบ 30 - 45 วัน จงึ ท�ำ การ
ย้ายปลูกลงแปลงปลูก ก่อนการ
ย้ายปลูก 1 - 2 วัน ควรงดการ
ใหน้ �ำ้ ตน้ กลา้ เพอ่ื ใหส้ ะดวกในการ
ขนยา้ ยและยา้ ยปลกู

4 กรมส่งเสริมการเกษตร

3. การเตรยี มแปลงปลกู

การเลือกพื้นที่ปลูกควรเป็นพื้นท่ีท่ีไม่เคยมีการปลูกพืชตระกูลเดียวกันมาก่อน
(ยาสูบ มะเขือ มะเขือเทศและมันฝรั่ง) เพ่ือเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาด
ของโรคและแมลงศัตรูพืช ในการเตรียมแปลงปลูกควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
อัตรา 800 - 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ทำ�การไถพรวน และตากดินทิ้งไว้อย่างน้อย
7 - 14 วัน จากน้ันจึงยกแปลงปลูกสูง 25 - 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
ความยาวขึ้นกับพ้ืนที่ปลูก ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว
100 เซนตเิ มตร
ในกรณีท่ใี ชพ้ ลาสติกคลุมแปลงปลูก ระยะปลูกจะขึ้นอยู่กับขนาดของพลาสติก
คลุมแปลงปลูก แต่การปลูกในระยะท่ีชิดเกินไป จะทำ�ให้การถ่ายเทอากาศระหว่าง
ต้นไม่ดีก่อให้เกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ง่าย วัตถุประสงค์ของ
การคลุมแปลงปลูก คือ ป้องกันวัชพืช รักษาความช้ืนในดิน วัสดุคลุมแปลงปลูก
ทีน่ ิยมใช้ ไดแ้ ก่ พลาสตกิ ฟางขา้ ว เปลอื กข้าวโพด ใบหญ้าคา เป็นต้น

พรกิ 5

4. การตดั แตง่ กง่ิ แขนง

พริกผลใหญ่ ง่ามแรกจะเกิดประมาณข้อท่ี 9 ควรปลิดก่ิงแขนงที่เกิด
ใต้ง่ามแรกออกให้หมด โดยใช้มือปลิดออกขณะที่แขนงมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน
10 - 15 เซนติเมตร ถ้าเด็ดช้าเกินไปกิ่งแขนงจะมีขนาดใหญ่ปลิดออกยากและ
เปน็ แผลใหญ่ทำ�ให้เป็นช่องทางการเขา้ ทำ�ลายของเช้ือโรค
พริกผลเล็ก ง่ามแรกจะเกิดประมาณข้อที่ 12 - 15 สามารถไว้กิ่งแขนง
ที่มีขนาดใหญ่ใต้ง่ามแรกได้ 1 - 2 แขนง แขนงที่มีขนาดเล็กควรปลิดออก
การตัดแต่งก่ิงแขนงจะช่วยให้ต้นพริกไม่เสียอาหารไปเล้ียงกิ่งท่ีอยู่ใต้ทรงพุ่ม
ทำ�ให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถพ่นสารป้องกันและกำ�จัดศัตรูพืช
ได้ทว่ั ถงึ และยังชว่ ยใหส้ ะดวกตอ่ การเกบ็ เก่ยี วผลผลติ

งา่ มแรก

6 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

5. การใสป่ ยุ๋ และการใหน้ �ำ้

การใส่ปุ๋ย ช่วงที่เตรียมแปลงควรใส่ปุ๋ยรองพื้น (ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก)
อัตรา 1,000 - 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ และหลังจากปลูกพริกแล้ว ควรใส่ปุ๋ยเคมี
ตามช่วงการเจริญเตบิ โตของพรกิ ดงั นี้
ครั้งท่ี 1 อายุ 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 21 - 0 - 0 โรยข้างต้น
อตั รา 20 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่
ครั้งที่ 2 อายุ 25 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 โรยข้างต้น
อตั รา 30 กิโลกรมั ต่อไร่
คร้ังท่ี 3 อายุ 40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 โรยข้างต้น
อตั รา 30 กโิ ลกรัมต่อไร่
คร้ังท่ี 4 อายุ 55 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 โรยข้างต้น
อัตรา 30 กโิ ลกรัมต่อไร่
การให้น้ำ� พริกเป็นพืชท่ีต้องการนำ้�อย่างสมำ่�เสมอตั้งแต่การปลูก
จนถึงการเก็บเก่ียว แต่ไม่ควรให้นำ้�มากเกินไป โดยทั่วไปควรให้นำ้�ทุก 3 - 5 วัน
ทง้ั น้ีข้นึ กับสภาพอากาศและความชนื้ ในดนิ

6. การเกบ็ เกยี่ วผลผลติ

พริกใหญ่สามารถเก็บผลผลิตได้เม่ืออายุประมาณ 90 วัน พริกเล็กอายุ
ประมาณ 110 วัน ในระยะแรกพริกจะให้ผลผลิตในปริมาณที่น้อยและจะเพ่ิมข้ึน
เร่ือย ๆ จนกระท่ังพริกเริ่มแก่ ปริมาณผลผลิตจะเร่ิมลดลง พริกสามารถให้ผลผลิต
ได้นานตั้งแต่ 6 - 12 เดือน ข้ึนอยู่กับการดูแลรักษาและการเก็บเก่ียวท่ีเหมาะสม
สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุก 7 - 10 วัน ในการเก็บผลผลิตต้องใช้แรงงานคนเก็บ
ทีละผลพร้อมขั้ว โดยทั่วไปพริกจะมีระยะสุกแก่ 3 ระยะ คือ เขียว ก้ามปู และแดง
เกษตรกรส่วนใหญ่จะเลือกเก็บผลผลิตในระยะที่มีราคาสูง ณ ขณะน้ัน และเมื่อเก็บ
ผลผลิตแล้วไม่ควรให้ผลผลิตโดนแสงแดดเป็นเวลานาน ควรรีบนำ�ผลผลิตไว้ในที่ร่ม
ที่อากาศถ่ายเทดี และไม่กองสุมกัน จากนั้นจึงคัดแยกผลผลิตท่ีเน่าเสียมีตำ�หนิออก
และบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ท่ีมีการระบายอากาศได้ดี ท่ีนิยมใช้ คือ ถุงพลาสติกเจาะรู
(นำ้�หนกั 10 กโิ ลกรัม)

พรกิ 7

7. การจดั การหลงั การเกบ็ เกยี่ ว

ควรเก็บรักษาผลผลิตที่อุณหภูมิ 5 - 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์
85 - 95 เปอร์เซน็ ต์ การขนสง่ ผลผลิต หากไม่มีรถหอ้ งเยน็ ควรขนย้ายในเวลากลางคืน
หากจำ�เป็นต้องขนย้ายในเวลากลางวันควรใช้ผ้าใบคลุมและให้มีท่ีว่างด้านบน
เพ่อื ลดความร้อนจากแสงแดดและใหอ้ ากาศหมนุ เวยี น

8 กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคและแมลงศตั รูพริกท่ีสำ�คัญ

โรคพชื ทส่ี ำ�คญั
1. โรคกงุ้ แห้ง หรอื แอนแทรคโนส (Anthracnose Disease)

เชื้อสาเหตุ : Colletotrichum spp.
ลักษณะอาการ : เกิดโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงท่ี
ผลพริกใกล้สุก ผลพริกจะเป็นแผลวงกลมชำ้�สีนำ้�ตาล แผลลึกลงไปในเน้ือผล
เมื่อแผลขยายขนาดรอยแผลจะเป็นวงกลมหรือรูปไข่ซ้อนกัน ถ้ามีความช้ืนสูงแผล
จะมเี มอื กสีส้มปนด�ำ
สภาพท่ีเหมาะสมกับการเกดิ โรค :
สภาพอากาศท่ีร้อนชื้น หรือ
ฝนตก สปอร์ของเช้ือราสามารถแพร่
กระจายไปกับลม นำ้�ฝน หรือนำ้�ท่ีใช้
ในการเพาะปลกู อยขู่ า้ มฤดไู ดโ้ ดยอาศยั อยู่
กับซากพืชหรือพืชอาศัย เม่ือสภาพ
แปลงปลูกมีความช้ืนสูง หรือฝนตกทำ�ให้
เชื้อโรคแพร่กระจายอย่างรวดเรว็
การปอ้ งกนั กำ�จดั : เลอื กเมลด็ พนั ธ์ุ
ท่ีไม่เป็นโรคมาปลูก ก่อนปลูกแช่เมล็ด
ในน้ำ�อุ่น เป็นเวลา 30 นาที หรือ
คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันกำ�จัด
เชื้อรา เช่น แมนโคเซบ (mancozeb)
เบโนมิล (benomyl) ไม่ปลูกต้นพริก
แนน่ เกนิ ไป หมน่ั ตรวจแปลงปลกู สม�ำ่ เสมอ
หากพบต้นท่ีเป็นโรคให้ทำ�ลายโดยการ
ถอนไปทงิ้ ใหไ้ กลจากแปลงปลกู หลกี เลย่ี งการใหน้ �้ำ แบบสปรงิ เกอร์ พน่ สารเคมคี วบคมุ
เช่น แมนโคเซบ (mancozeb) อะซอ๊ กซี่สโตรฟิน (Azoxystrobin)

พริก 9

2. โรคเน่าเปยี ก (Wet Rot Disease)
เช้ือสาเหตุ : Choanephora cucurbitarum (Berk. & Ravenel) Thaxt.
ลกั ษณะอาการ : เกดิ ไดท้ กุ สว่ นของตน้ พรกิ แตส่ ว่ นมากจะเกดิ ทบี่ รเิ วณยอดออ่ น
ใบอ่อน ดอก และผลอ่อน มีลักษณะฉำ่�นำ้� ยอดอ่อนแห้งดำ�และลุกลามไปตามกิ่ง
ทำ�ให้ก่ิงแห้ง ลักษณะอาการที่ผลจะมีแผลเน่าดำ�มีเส้นใยราสีขาว ปลายเส้นใย
มสี ปอร์สดี �ำ
สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรค : ฝนตก อากาศเย็น ใบพืชเปียกเปน็ เวลานาน
ติดต่อกันหรือมีอากาศแห้งในเวลากลางวันและอากาศเย็นมีน้ำ�ค้างลงจัดในเวลา
กลางคืน
การป้องกันกำ�จัด : ไม่ปลูกต้นพริกแน่นเกินไป หม่ันตรวจแปลงปลูก
อย่างสม่ำ�เสมอ หากพบต้นท่เี ปน็ โรคให้ท�ำ ลายโดยการถอนไปท้งิ ใหไ้ กลจากแปลงปลูก
เม่อื มีการระบาดพ่นสารเคมีป้องกันกำ�จัดเช้อื รา เช่น ไอโพรไดเอน

10 กรมสง่ เสริมการเกษตร

3. โรคเห่ียวเขียว (Chili Bacterial Wilt Disease)
เชอ้ื สาเหตุ : Ralstonia solanacearum
ลกั ษณะอาการ : ใบออ่ นหรอื ใบยอดจะเหย่ี วเฉพาะเวลากลางวนั ทอ่ี ากาศรอ้ นจดั
และกลับมาปกติในเวลากลางคืน จากนั้นใบจะเริ่มเหี่ยวมากขึ้น จนเหี่ยวท้ังต้นและ
เหี่ยวอย่างถาวรทันทีโดยใบยังเขียวอยู่ เม่ือถอนต้นจะพบอาการเน่าท่ีราก และ
ถ้าตดั ล�ำ ตน้ ตามขวางแช่น�ำ้ จะมเี มอื กสขี าวขนุ่ ไหลออกมา
สภาพท่ีเหมาะสมกับการเกิดโรค : ดินที่มีการระบายน้ำ�ไม่ดี อุณหภูมิสูง
นำ�้ ทีใ่ ชใ้ นแปลงปลกู ไหลผ่านมาจากแปลงปลกู ท่เี ปน็ โรค
การป้องกันกำ�จัด : หลีกเล่ียงการปลูกพริกในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของ
โรคน้ีมาก่อน หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสมำ่�เสมอ หากพบต้นท่ีเป็นโรคให้ทำ�ลาย
โดยการถอนไปท้ิงให้ไกลจากแปลงปลูก มีการปลูกพืชหมุนเวียนและหลีกเลี่ยง
การปลกู พืชซำ�้ ในท่เี ดมิ ติดต่อกนั เป็นเวลานาน

พริก 11

4. โรคใบด่างแตง (Cucumber Mosaic Disease)
เช้อื สาเหตุ : Cucumber mosaic virus (CMV)
ลกั ษณะอาการ : ใบแสดงอาการดา่ งหรอื ดา่ งเหลอื ง ใบลดรปู เรยี ว ตน้ แคระแกรน็
การป้องกันกำ�จัด : ใช้พันธุ์ท่ีปลอดโรคและต้านทานโรค กำ�จัดวัชพืช
ในแปลงปลูก และรอบแปลงปลูก เพ่ือไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของแมลงพาหะ
(เพลี้ยอ่อน) พ่นสารเคมีป้องกันกำ�จัดแมลงพาหะ และหมั่นตรวจแปลงปลูก
อย่างสมำ่�เสมอ หากพบตน้ ทเ่ี ป็นโรคให้ทำ�ลายโดยการถอนไปทง้ิ ให้ไกลจากแปลงปลกู
5. โรคใบดา่ งประ (Chili Veinal Mottle Disease)
เชอื้ สาเหตุ : Chili Veinal Mottle virus (CVMV)
ลักษณะอาการ : อาการของโรค
จะเกิดเร็วและรุนแรงในต้นพริกท่ียังเล็ก
ใบแสดงอาการด่างสีเขียวอ่อนหรือเหลือง
สลับสีเขียวเข้ม เน้ือใบมีสีเขียวซีดและ
มีจุดสีเขียวบนใบ เส้นใบสีเขียว ใบอ่อน
มีขนาดเล็กบิดเบ้ียว ต้นพริกแคระแกร็น
ผลบิดเบี้ยวเสยี รูปทรง
การป้องกันกำ�จัด : ใช้พันธุ์ที่
ปลอดโรคและต้านทานโรค กำ�จัดวัชพืช
ในแปลงปลกู และรอบแปลงปลกู เพอ่ื ไมใ่ ห้
เปน็ แหลง่ อาศยั ของแมลงพาหะ (เพลย้ี ออ่ น)
พ่นสารเคมีป้องกันกำ�จัดแมลงพาหะ
และหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำ�เสมอ
หากพบโรคใหท้ �ำ ลายตน้ ทเ่ี ปน็ โรคโดยการ
ถอนไปทิง้ ให้ไกลจากแปลงปลกู

12 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

6. โรคใบจุดตากบ (Frog-Eye Spot Disease)
เชอ้ื สาเหตุ : Cercospora capsici Heald & F.A. Wolf
ลักษณะอาการ : จุดแผลกลมเล็ก กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลสีนำ้�ตาล
ตรงกลางแผลมีจุดสีขาวคล้ายตากบ เม่ือระบาดรุนแรงแผลเชื่อมต่อถึงกัน
ทำ�ใหใ้ บไหม้แหง้ กรอบ และร่วง
สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรค : สภาพอากาศร้อนชื้น สปอร์ของเชื้อรา
สามารถแพร่กระจายไปกับลม น้�ำ ฝน หรอื นำ้�ท่ใี ชเ้ พาะปลูก
การป้องกันกำ�จัด : ไม่ปลูกต้นพริกแน่นเกินไป หมั่นตรวจแปลงปลูก
อยา่ งสม่�ำ เสมอ หากพบต้นทเี่ ป็นโรคให้ทำ�ลายโดยการถอนไปทง้ิ ใหไ้ กลจากแปลงปลูก
เม่อื มกี ารระบาดพ่นสารเคมีป้องกนั กำ�จดั เช้อื รา เชน่ แมนโคเซบ (Mancozeb)

ทมี่ า : ศนู ยว์ จิ ยั และพฒั นาพชื ผกั เขตรอ้ น มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

พรกิ 13

7. โรครากเนา่ และโคนเนา่ (Root Rot and Stem Rot Disease)
เช้อื สาเหตุ : Sclerotium rolfsii Scc.
ลกั ษณะอาการ : พบมากชว่ งตน้ พรกิ ก�ำ ลงั เจรญิ เตบิ โตเตม็ ทห่ี รอื ระยะออกดอกตดิ ผล
โดยเรม่ิ แรกแสดงอาการใบเหลอื งเหย่ี วและใบรว่ ง จนยนื ตน้ ตายในทส่ี ดุ บรเิ วณโคนตน้
และรากพริกเนา่ เน้อื เยื่อเป็นสีน้ำ�ตาล และพบเสน้ ใยสขี าวทีโ่ คนตน้
สภาพท่ีเหมาะกับการเกิดโรค : สภาพความชื้นสูงโดยเฉพาะฤดูฝน ดินมีการ
ระบายนำ้�ไม่ดี มนี ้ำ�ท่วมขังในแปลงปลูก
การป้องกันกำ�จัด : เพาะกล้าในวัสดุปลูกท่ีปลอดเชื้อโรค หมั่นตรวจ
แปลงปลูกอย่างสมำ่�เสมอ หากพบต้นท่ีเป็นโรคให้ทำ�ลายโดยการถอนไปทิ้งให้ไกล
จากแปลงปลูก ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อ
ลดปริมาณเช้ือโรคในดิน โดยใช้เชื้อ
ไตรโคเดอรม์ าผสมคลกุ เคลา้ กบั ปยุ๋ อนิ ทรยี ์
อัตราส่วน 1 : 50 - 100 โรยบริเวณ
โคนต้น หรือใช้เช้ือไตรโคเดอร์มาผสมน้ำ�
ฉดี พน่ โคนตน้

14 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

แมลงศตั รพู รกิ ทส่ี ำ�คญั
1. เพลยี้ ไฟ (thrips)

ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ : Scirtothrips dorsalis Hood (เพลย้ี ไฟพรกิ , chilli thrips)
Thrips palmi Karny (เพลย้ี ไฟฝา้ ย, cotton thrips)
ลกั ษณะการทำ�ลาย : ตัวออ่ นและตัวเตม็ วยั
ดูดกินนำ้�เล้ียงจากยอด ใบอ่อน ตาดอก และดอก
ทำ�ให้ใบหรือยอดออ่ นหงิก ขอบใบหงิกหรอื ม้วนงอ
ขึ้นด้านบน ถ้าเข้าทำ�ลายระยะพริกออกดอกจะ
ทำ�ให้ดอกพริกร่วงไม่ติดผล การทำ�ลายในระยะผล
จะทำ�ให้รูปทรงของผลบิดงอ หากเกิดการระบาด
รุนแรง ต้นพริกจะชะงักการเจริญเติบโต หรือ
แห้งตายในท่ีสุด พบระบาดมากในช่วงอากาศ
แห้งแลง้ ฝนทิ้งชว่ งเปน็ เวลานาน
การป้องกันกำ�จัด : เพ่ิมความชื้นโดย
การให้นำ้� อย่าให้พืชขาดนำ้�เพราะจะทำ�ให้
พืชอ่อนแอ การใช้สารเคมีกำ�จัดแมลงในแหล่ง
ปลูกใหม่ พ่นด้วยคาร์บาริล 85% WP อัตรา
20 - 30 กรมั หรอื โพรไทโอฟอส 50% EC อัตรา
20 - 30 มิลลิลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20% EC
อัตรา 20 - 30 มิลลิลิตร ต่อนำ้� 20 ลิตร
อย่างใดอย่างหนึ่ง พ่นซ้ำ�ตามการระบาด
แหล่งปลูกเดิม พ่นด้วยฟิโปรนิล 5% SC อัตรา
20 - 30 มิลลิลิตร หรืออิมาเม็กตินเบนโซเอต
1.92% EC อัตรา 20 มลิ ลลิ ติ ร หรืออมิ ิดาโคลพรดิ
10% SL อัตรา 20 - 40 มิลลิลิตร ต่อนำ้� 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่ง
พ่นซำ้�ตามการระบาด ขณะพ่นสารควรปรับหัวฉีดให้เป็นฝอยท่ีสุด และพ่นให้ทั่ว
ตามส่วนต่าง ๆ ของพืชท่ีเพลี้ยไฟพริกอาศัยอยู่ กรณีเพล้ียไฟพริกระบาดรุนแรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เม่ือสภาพอากาศแห้งแล้งควรใช้ปุ๋ยทางใบ เพ่ือช่วยให้ต้นพริก
ฟนื้ ตัวจากอาการใบหงิกได้ดแี ละเร็วยิง่ ข้นึ

พริก 15

2. ไรขาวพริก (broad mite)
ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ : Polyphagotarsonemus latus Banks
ลักษณะการทำ�ลาย : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินนำ้�เล้ียงจากใบอ่อน ยอด
และดอก ทำ�ให้ใบและยอดหงิกงอ ขอบใบม้วนงอลงด้านล่าง ทำ�ให้ใบมีลักษณะ
เรียวแหลม ก้านใบยาว เปราะหักง่าย อาการข้ันรุนแรงส่วนยอดจะแตกเป็นฝอย
ถ้าทำ�ลายดอก กลีบดอกจะบิดแคระแกร็น ชะงักการเกิดดอก หากระบาดรุนแรง
ต้นพริกจะแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต มักระบาดในช่วงที่มีอากาศชื้น โดยเฉพาะ
ในช่วงฤดฝู น
การป้องกันกำ�จัด : ถ้าพบการระบาดให้ใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพ เช่น
อามที ราซ 20% EC อัตรา 40 มิลลิลิตร หรือไพรดิ าเบน 20% WP อัตรา 10 กรัม
หรือฟิโปรนิล 5% SC อัตรา 10 - 20 มิลลิลิตร หรืออิมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92%
EC อัตรา 10 มิลลลิ ติ ร หรอื สไปโรมีซิเฟน 24% SC อตั รา 8 มลิ ลลิ ิตร หรือก�ำ มะถนั
80% WP อตั รา 60 - 80 กรมั ตอ่ น้�ำ 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนงึ่ พน่ ซำ้�ตามการระบาด

16 กรมส่งเสริมการเกษตร

3. แมลงหว่ขี าวยาสูบ (tobacco whitefly)
ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ : Bemisia tabaci (Gennadius)
ลักษณะการทำ�ลาย : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำ�เลี้ยงบริเวณใบ
และเป็นพาหะนำ�โรคท่ีเกิดจากไวรัส ทำ�ให้ใบพริกหงิก ซีดด่าง หรือใบหงิกเหลือง
ยอดไมเ่ จรญิ และตน้ พรกิ แคระแกร็นไมส่ มบรู ณ์ ผลพรกิ ที่ไดไ้ มม่ ีคุณภาพ
การป้องกันกำ�จัด : คลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้าด้วยสารคาร์โบซัลแฟน
25% ST อัตรา 40 - 50 กรัมต่อเมล็ดพันธ์ุ 1 กิโลกรัม หากเกิดการระบาด
พ่นด้วยสารคาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา 50 - 75 มิลลิลิตรต่อน้ำ� 20 ลิตร
หยุดฉีดพ่นสารก่อนการเก็บเก่ียว 15 วัน หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% SL
อัตรา 40 มิลลิลิตร หรือสารเพนโพรพาทริน 10% EC อัตรา 40 มิลลิลิตร
ตอ่ น้ำ� 20 ลติ ร และหยุดฉดี พ่นสารเคมีก่อนการเกบ็ เกีย่ วผลผลติ ประมาณ 7 วัน

พรกิ 17

4. แมลงวันผลไม้ (solanum fruit fly)
ชื่อวทิ ยาศาสตร์ : Bactrocera latifrons (Hendel)
ลักษณะการทำ�ลาย : ตัวเต็มวัยวางไข่ในผลพริก ฟักตัวเป็นตัวหนอนกัดกิน
ชอนไชอยู่ภายในผลพรกิ ท�ำ ให้ผลพรกิ เน่า รว่ งหลน่ เม่อื หนอนโตเต็มท่จี ะเจาะออกมา
เขา้ ดักแดใ้ นดิน
การป้องกันกำ�จัด : หม่ันทำ�ความสะอาดแปลงปลูก โดยการเก็บผลพริก
ท่ีร่วงหล่นไปท้ิงทำ�ลายนอกแปลงปลูก เพ่ือลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันผลไม้
หรือกำ�จัดพืชอาศัยที่อยู่รอบ ๆ แปลงปลูก ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ
ได้แก่ มาลาไทออน 57% EC อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ� 20 ลิตร หรือ
ใช้นำ้�มันปิโตรเลียม ได้แก่ ดีซี ตรอน พลัส 83.9% EC หรือ เอสเค เอ็นสเปรย์
99 83.9% EC หรือ ซันสเปรย์ อัลตร้า ฟราย 83.9% EC อัตรา 60 มิลลิลิตร
ต่อนำ้� 20 ลิตร โดยฉีดพ่นคร้ังแรกเมื่อพริกเร่ิมติดผล เริ่มฉีดต่อเนื่องทุก 5 - 7 วัน
และหยดุ ฉีดพน่ สารเคมกี ่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 7 วนั

18 กรมส่งเสริมการเกษตร

5. เพล้ยี อ่อน (aphids)
ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ : Myzus persicae Sulzer (เพลย้ี ออ่ นลกู ทอ้ , peach aphid)
Aphis gossypii Glover (เพลี้ยอ่อนฝา้ ย, cotton aphid)
ลักษณะการทำ�ลาย : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินนำ้�เล้ียงจากใบและยอด
ทำ�ให้ใบบิดเป็นคลื่น ชะงักการเจริญเติบโต และเป็นพาหะนำ�เชื้อไวรัส ทำ�ให้เกิดโรค
ใบดา่ งในพรกิ มกั ระบาดในชว่ งอากาศแหง้ แล้ง
การป้องกันกำ�จัด : กำ�จัดวัชพืชในบริเวณแปลงปลูก หมั่นตรวจแปลงปลูก
อย่างสมำ่�เสมอ หากพบเพล้ียอ่อนมีความหนาแน่น 10 - 20% ของพื้นที่ใบท้ังต้น
จากจำ�นวน 10% ของตน้ ทั้งหมด ให้พน่ อมิ ิดาโคลพรดิ 10% SL อัตรา 10 มิลลลิ ติ ร
หรือไดโนทฟี ูแรน 10% WP อตั รา 10 กรัม หรอื ฟิโปรนิล 5% SC อตั รา 20 มลิ ลลิ ติ ร
หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ 20% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20%
EC อตั รา 40 มลิ ลลิ ิตร ต่อน�้ำ 20 ลิตร อยา่ งใดอยา่ งหน่งึ จนกวา่ การระบาดจะลดลง

พรกิ 19

6. หนอนกระทูผ้ กั (common cutworm)
ช่ือวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)
ลักษณะการทำ�ลาย : กัดกินใบ ก้าน ดอก และผล การเข้าทำ�ลายมักเกิด
เปน็ หยอ่ ม ๆ ตามจุดท่ตี ัวเตม็ วัยเพศเมียวางไข่ และพบการระบาดตลอดท้ังปี
การป้องกันกำ�จัด : ไถตากดินก่อนปลูกอย่างน้อย 7 วัน เพื่อกำ�จัดดักแด้
หมั่นทำ�ความสะอาดแปลงปลูก เก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำ�ลาย ใช้สารจุลินทรีย์
เช่น เช้ือไวรัส (นิวเคลียร์โพลีฮีโดรซิสไวรัส) หนอนกระทู้หอม เช่น DOA BIO V1
(กรมวิชาการเกษตร) หรอื ใชเ้ ชือ้ แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis subsp. aizawai
หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki ควรพ่นในระยะที่มีการระบาดน้อย
หนอนมีขนาดเล็ก และพ่นในช่วงเวลาเย็น หากระบาดมากให้ใช้สารเคมี เช่น
คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 - 40 มิลลิลิตร หรืออิมาเม็กตินเบนโซเอต
1.92% EC อัตรา 15 - 20 มิลลิลิตร หรืออินด๊อกซาคาร์บ 15% SC อัตรา
15 - 30 มิลลิลิตร หรือสปินโนแซด 12% SC อัตรา 20 - 30 มิลลิลิตร หรือ
ลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 - 30 มิลลิลิตร ต่อนำ้� 20 ลิตร อย่างใดอย่างหน่ึง
พ่นซ้ำ�ตามการระบาด ควรพ่น
เม่ือหนอนมีขนาดเล็ก หากมี
การระบาดมากให้ใช้ในอัตราสูง
แ ล ะ เ พิ่ ม ช่ ว ง ก า ร พ่ น ใ ห้ ถี่ ขึ้ น
ค ว ร พ่ น ส ลั บ ก ลุ่ ม ส า ร แ ล ะ ใ ช้
ไม่เกิน 2 - 3 ครั้งต่อฤดูปลูก
เพื่อหลีกเล่ียงแมลงสร้างความ
ต้านทาน

20 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

ต้นทุนและผลตอบแทนการผลติ พรกิ (พน้ื ที่ 1 ไร่)

รายการ หน่วย (บาท)
ต้นทนุ คงท่ี 3,000
ค่าเช่าทด่ี นิ หรือคา่ ใช้ประโยชน์ท่ีดนิ 2,500
คา่ เสอื่ มอุปกรณ์การเกษตร 500
ตน้ ทุนผันแปร 58,740
1. ค่าวสั ดุ 28,440
- ค่าเมล็ดพนั ธุ์ 900
- คา่ วสั ดเุ พาะกล้า 2,000
- คา่ ปยุ๋ คอก 8,000
- ค่าปยุ๋ เคมี 5,370
- คา่ สารเคมปี ้องกันและก�ำ จดั โรค แมลงศัตรพู ชื 5,000
- ค่าสารเคมปี อ้ งกนั และกำ�จัดวชั พชื 770
- ค่าฮอร์โมน 400
- ค่าน้�ำ มนั เชอ้ื เพลงิ และน้�ำ มันหล่อลื่น 2,500
- ค่าไฟฟ้า 500
- คา่ วัสดอุ ื่น ๆ เช่น วสั ดุคลุมแปลง ไมค้ �ำ้ ต้น (ถ้ามี) 3,000
2. ค่าแรงงาน 30,300
- เตรียมพันธ์ุ เพาะกล้า 300
- เตรียมดิน 700
- ยา้ ยปลูก 1,200
- การจดั การเรอ่ื งโรคแมลง ศัตรพู ืช และตดั แตง่ ก่งิ 3,100
- เก็บเก่ียวผลผลิต 25,000
ต้นทนุ ทงั้ หมดตอ่ ไร่ 61,740
ต้นทนุ ผันแปรตอ่ กิโลกรมั 23.50
ต้นทนุ ทงั้ หมดตอ่ กโิ ลกรัม 24.70
ผลผลิตต่อไร่ (กโิ ลกรมั ) 2,500
ราคาเฉลี่ยตอ่ กิโลกรัม (บาท) 50
รายไดส้ ุทธิตอ่ ไร่ (บาท)
ก�ำ ไรต่อไร่ (บาท) 125,000
63,260

หมายเหตุ ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก ปริมาณผลผลิต
และราคาผลผลิตในแต่ละชว่ งเวลา
พริก 21

สถานการณ์การผลิตและการตลาด

พ ริ ก เ ป ็ น พื ช ผั ก เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ท่ี มี

การปลูกในหลายประเทศท่ัวโลก แหล่งผลิต
พริกสดท่ีส�ำคัญของโลก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหรัฐเม็กซิโก สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย สาธารณรัฐตุรกี
และแหล่งผลติ พรกิ แหง้ ทีส่ �ำคญั ของโลก ได้แก่ สาธารณรฐั อนิ เดยี สหพนั ธส์ าธารณรัฐ
ประชาธิปไตยเอธิโอเปีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชน
บังกลาเทศ และประเทศไทย (FAO, 2021) ส�ำหรับประเทศไทยพริกถือว่าเป็นพืช
ท่ีมีความส�ำคัญกับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน พริกเป็นส่วนประกอบ
ส�ำคัญของอาหารไทยท่ีมีรสชาติจัดจ้าน ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริก
ท้ังหมดประมาณ 149,000 ไร่ โดยแหล่งปลูกพริกที่ส�ำคัญของประเทศ
ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ตาก
เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ หนองคาย สุโขทัย แพร่ นครพนม พัทลุง และจังหวัดสงขลา
(กรมส่งเสริมการเกษตร, 2563)
การจำ�แนกพริกของกรมส่งเสริมการเกษตร
แบ่งออกเปน็ 5 ประเภท คือ
1. พริกขี้หนูเม็ดเล็ก ได้แก่ พริกขี้หนูสวน
พริกกะเหร่ียง พริกขี้หนูหอม พริกแด้ พริกจินดา
ยอดสนเลก็
2. พริกข้ีหนูเม็ดใหญ่ ได้แก่ พริกพันธุ์
ลูกผสมต่าง ๆ และพริกพื้นเมือง เช่น พริกจินดา
พริกหัวเรอื พริกหัวเรอื ย่นหรอื พรกิ อีปาด พรกิ ยอดสน
พรกิ สม้ พรกิ เหลอื งทอง พรกิ กน้ ชนั พรกิ ชหี รอื พรกิ ขาว
3. พริกใหญ่ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกบางช้าง
พริกมันพิชัย พริกตากฟ้า พริกเมือง พริกมันบางล้ี
พริกเหลือง
4. พรกิ หยวก
5. พรกิ ยกั ษห์ รือพรกิ หวาน

22 กรมสง่ เสริมการเกษตร

ผลผลิตพริกส่วนใหญ่จะใช้บริโภค
ภายในประเทศ โดยเกษตรกรจ�ำหน่าย
ผลผลิตให้แก่ผู้รวบรวมในพ้ืนที่ เพื่อน�ำ
ส่งไปจ�ำหน่ายยังตลาดกลางในภูมิภาค
และตลาดกลางของประเทศ ซึ่งเป็นตลาด
ท่ีรวบรวมผลผลิตทางการเกษตรจากทุก
ภาคของประเทศ ได้แก่ ตลาดสี่มุมเมือง
ตลาดไท จงั หวดั ปทมุ ธาน ี ตลาดปากคลองตลาด
กรุงเทพมหานคร จากนั้นจึงมีการกระจายผลผลิตไปยังตลาดกลางของภมู ภิ าคตา่ ง ๆ
แ ล ะ ก ร ะ จ า ย ไ ป ยั ง ต ล า ด ส ด ใ น จั ง ห วั ด เ พื่ อ จ�ำ ห น ่ า ย ใ ห ้ แ ก ่ ผู ้ บ ริ โ ภ ค ต ่ อ ไ ป
ส�ำหรับตลาดกลางของภาคตะวันตก (ตลาดศรีเมือง จังหวัดราชบุรี และ
ตลาดสดปฐมมงคล จังหวัดนครปฐม) จะมีการขนส่งผลผลิตต่อไปยังตลาดกลาง
ของภาคใต้ (ตลาดหวั อิฐ จังหวดั นครศรธี รรมราช และตลาดหาดใหญ่ จงั หวัดสงขลา)
เน่ืองจากผลผลิตในพ้ืนท่ีภาคใต้ไม่เพียงพอต่อความต้องการและมีการส่งออก
ไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ พริกนอกจากจะจ�ำหน่าย
เป็นผลสดแล้ว ยังสามารถแปรรูปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและเพิ่มมูลค่าได้
หลากหลาย เชน่ พริกแห้ง พรกิ ปน่ พรกิ แกง น้ำ� พรกิ ซอสพริก ยา และเวชส�ำอาง
ปัจจุบันปริมาณผลผลิตพริกภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ของผู้บริโภคและอุตสาหกรรมภายในประเทศ ประเทศไทยจึงมีการน�ำเข้าพริกสดและ
พริกแห้งในปริมาณและมูลค่าท่ีสูงกว่าการส่งออก แต่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพริก
(ซอสพริก) ในปริมาณและมูลค่าท่ีสูงกว่าการน�ำเข้า ประเทศคู่ค้าส�ำคัญในการน�ำเข้า
พริกสด คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐ
แหง่ สหภาพเมยี นมาร ์ เนอ่ื งจากปจั จบุ นั การคมนาคมสะดวกและไดร้ บั การยกเวน้ ภาษขี าเขา้
ส�ำหรับการน�ำเข้าพริกแหง้ ของประเทศไทย พบวา่ มกี ารน�ำเขา้ จากสาธารณรัฐอนิ เดีย
สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซ่ึงถือว่าส่งผล
กระทบต่อการตลาดพริกแห้งภายในประเทศเป็นอย่างมาก เน่ืองจากพริกแห้ง
จากต่างประเทศมีราคาถูกกว่าพริกแห้ง
ทผ่ี ลติ ภายในประเทศ มปี รมิ าณและคณุ ภาพ
ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม
ส ่ ง ผ ล ใ ห ้ เ ก ษ ต ร ก ร ผ ลิ ต พ ริ ก แ ห ้ ง เ พ่ื อ
การค้าน้อยลง ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อบริโภค
ภายในครวั เรอื นเทา่ นนั้ เนอื่ งจากไมส่ ามารถ
แขง่ ขนั ดา้ นราคาพรกิ ทน่ี �ำเขา้ จากตา่ งประเทศได้

พรกิ 23

ตวั อยา่ งผลติ ภณั ฑจ์ ากพรกิ

ทม่ี า : https://www.sarmmor.com ทมี่ า : https://bangkokdrug.com

ทมี่ า : http://www.ouayun.com ทม่ี า : https://www.abhaiherb.net

24 กรมสง่ เสริมการเกษตร

รายชอื่ ผู้ประกอบการตลอดหว่ งโซ่อุปทานพรกิ

รายชอื่ ผูป้ ระกอบการ ทตี่ ้งั ชอ่ งทางการติดตอ่

ผู้ประกอบการจำ�หนา่ ยเมลด็ พันธ์ุ website : www.lionseeds.com
e-mail : [email protected]
หา้ งหนุ้ สว่ นจ�ำ กดั พชื พนั ธตุ์ ราสงิ ห์ 32/10 ม.3 ถ.พทุ ธมณฑลสาย 1 โทรศพั ท์ : 0 2887 6788 / 0 2887 6382-5
แขวงบางระมาด เขตตลงิ่ ชนั โทรสาร : 0 2887 6381
กรุงเทพฯ 10170 website : www.dynamicseeds.com
e-mail : [email protected]
บรษิ ทั ไดนามคิ พันธ์พุ ชื จำ�กดั 99/220 ถ.เทศบาลสงเคราะห์ โทรศพั ท์ : 025805085-7/029543120-6
แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร โทรสาร : 0 2954 3128 / 0 2580 2178
กรุงเทพฯ 10900 website : www.eastwestseed.com
e-mail : [email protected]
บรษิ ัท อสี ท์ เวสท์ ซีด จ�ำ กัด 50/1 ม.2 ถ.บางบวั ทอง - ไทรน้อย โทรศพั ท์ : 0 2957 1225-8 / 0 2831 7777
ต.ไทรนอ้ ย อ.บางบัวทอง โทรสาร : 0 2597 1229
จ.นนทบุรี 11110 website : www.knownyou.com
e-mail : [email protected]
บริษทั เพื่อนเกษตรกร จ�ำ กัด 43 ถ.ราชพฤกษ์ ต.ช้างเผือก โทรศัพท์ : 0 5321 8180 / 0 5321 7180
อ.เมืองเชยี งใหม่ จ.เชียงใหม่ 50300 โทรสาร : 0 5321 7181
website : www.chiataigroup.com
บริษทั เจยี ไต๋ จ�ำ กดั 299-301 ถ.ทรงสวสั ด์ิ e-mail : [email protected]
แขวงสมั พันธวงศ์ เขตสมั พันธวงศ์ โทรศัพท์ : 0 2233 8191-9 ตอ่ 690
กรงุ เทพฯ 10100 โทรสาร : 0 2237 1540
โทรศพั ท์ : 0 4274 6133
บรษิ ัท ไทยโกลเดน้ ซีด จำ�กัด 83 ม.1 ต.ขมิ้น อ.เมอื งสกลนคร โทรสาร : 0 4274 6050
บริษัท อาบาคัส ซดี ส์ จ�ำ กัด จ.สกลนคร 47220 e-mail : [email protected]
1/771 ม.17 ถ.พหลโยธนิ ต.คูคต โทรศัพท์ : 0 2531 7415-6
อ.ลำ�ลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทรสาร : 0 2531 7417
e-mail : [email protected]
บริษทั ซาคาตะ สยาม ซีด จำ�กัด 246 ม.4 ต.บา้ นเป็ด โทรศพั ท์ : 0 4324 5839 / 0 4324 5817
อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000 โทรสาร : 0 4324 4208

พริก 25

รายช่อื ผู้ประกอบการ ทต่ี ั้ง ชอ่ งทางการตดิ ตอ่

ผู้ประกอบการจ�ำ หนา่ ยเมลด็ พนั ธุ์ (ต่อ) website : www.thaiseeds.com
e-mail : [email protected]
บริษทั ที เอส เอ จำ�กดั 1/1 ถ.พหลโยธิน 40 แขวงเสนานิคม โทรศัพท์ : 0 2940 1698-9 / 0 2579 7761-2
เขตจตุจกั ร กรงุ เทพฯ 10900 โทรสาร : 0 2561 1643
e-mail : [email protected]
บริษัท เมโทรซีดการเกษตร จ�ำ กัด 12/83 ซ.ทา่ ขา้ ม 3 ถ.พระราม 2 โทรศพั ท์ : 0 2416 0891 / 0 2416 0361
แขวงแสมดำ� เขตบางขนุ เทียน โทรสาร : 0 2416 0820
กรงุ เทพฯ 10150 โทรศพั ท์ : 0 2411 1697
โทรสาร : 0 2412 0221
บริษทั เสริมสยามเมลด็ พนั ธุ์ จ�ำ กดั ก36รุง7เ/ท9พ3ฯถ.1จ0ร7ลั 0ส0นทิ วงศ์

บริษัท จงกวานเมลด็ พนั ธุ์ จำ�กดั 625/56 หมู่บ้านพิมานชล ถ.กลางเมือง e-mail : [email protected]
ต.ในเมอื ง อ.เมอื งขอนแก่น โทรศัพท์ : 0 4322 0052
จ.ขอนแกน่ 40000 โทรสาร : 0 4322 0556

ผ้ปู ระกอบการตลาดกลางผกั ผลไมใ้ นความสง่ เสรมิ ของกรมการคา้ ภายใน

ตลาดกลางผักและผลไม้ 149 ม.3 ถ.สระบรุ -ี หลม่ สกั ต.หนองไขว่ โทรศพั ท์ : 0 5691 2062
จังหวดั เพชรบรู ณ์ (ตลาดสนั ตสิ ุข) อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ 67110 โทรสาร : 0 5691 2062

บรษิ ทั วาณิชยส์ ยาม จำ�กัด 117/1 ม.12 ถ.นครสวรรค์-พษิ ณุโลก โทรศพั ท์ : 0 5635 5892-4
(ตลาดริมปิง) ต.บางม่วง อ.เมืองนครสวรรค์ โทรสาร : 0 5635 5892
จ.นครสวรรค์ 60000

บรษิ ทั ศรีนคร แอ๊กโกร เอ็กซเชนจ์ 5อ5.เ8ม/ือ9ง9น-ค1ร0ส0วมร.ร9ค์ต.นครสวรรคต์ ก โโททรรศสาัพรท:์ :005566888811220010
จ�ำ กัด (ตลาดศรีนคร) จ.นครสวรรค์ 60000

บริษัท ตลาดโชคเจรญิ พร จ�ำ กดั 9 ม.13 ถ.พหลโยธิน ต.สันทราย โทรศพั ท์ : 0 5370 0169
อ.เมอื งเชียงราย จ.เชียงราย 57000 โทรสาร : 0 5370 0169

บริษัท ตลาดไทยเจริญ จ�ำ กัด 153 ม.6 ถนนพิษณโุ ลก-อตุ รดติ ถ์ -
ต.บา้ นป่า อ.เมอื งพิษณโุ ลก
จ.พษิ ณุโลก 65000

บรษิ ัท อดุ รเจริญศรี (1968) จำ�กัด 1อ8.เ1มือมง.ข1อ7นถแ.มกิต่นรจภ.าขพอนตแ.ใกน่นเม4ือ0ง000 โโททรรสศาัพรท:์ :004422224471993777
(ตลาดศรีเมอื งทอง)

บรษิ ัท จตรุ พรพัฒนา จ�ำ กดั 551/145 ถ.มติ รภาพ โทรศพั ท์ : 0 4426 1504
(ตลาดยา่ โม) ต.ในเมอื ง อ.เมอื งนครราชสีมา โทรสาร : 0 4424 5196
จ.นครราชสีมา 30000

26 กรมสง่ เสริมการเกษตร

รายช่ือผู้ประกอบการ ท่ตี ้งั ชอ่ งทางการตดิ ต่อ

ผ้ปู ระกอบการตลาดกลางผกั ผลไมใ้ นความสง่ เสรมิ ของกรมการคา้ ภายใน (ต่อ)

บรษิ ทั สรุ นครเมอื งใหม่ จำ�กดั 438/1 ถ.มิตรภาพ-หนองคาย โทรศพั ท์ : 0 4429 3001-4
(ตลาดกลางผักและผลไม้ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสมี า โทรสาร : 0 4427 0501
จงั หวดั นครราชสมี า) จ.นครราชสีมา 30000

บริษัท อบุ ลเจรญิ ศรี 55 ม.16 ถ.วาริน-เดชอุดมวารินชำ�ราบ โทรศพั ท์ : 0 4532 3711-3
(สาขาวารินชำ�ราบ) จำ�กัด ต.เทศบาลแสนสุข อ.วารินชำ�ราบ โทรสาร : 0 4524 1225
จ.อบุ ลราชธานี 34190

บรษิ ทั อดุ รเมอื งทอง (2005) จ�ำ กดั 7777 ถ.นติ โย ต.หมากแขง้ โทรศัพท์ : 0 4224 1977
(ตลาดอุดรเมอื งทอง) อ.เมืองอดุ รธานี จ.อดุ รธานี 41000 โทรสาร : 0 7224 7937

หา้ งหนุ้ สว่ นจ�ำ กดั ตลาดปฐมมงคล ถ.หนา้ พระ ต.หว้ ยจรเข้ โทรศพั ท์ : 0 3421 3441
อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรสาร : 0 3421 1329

ตลาดกลางผักและผลไม้ 83 ม.6 ต.เสาธงหนิ อ.บางใหญ่ โทรศัพท์ : 0 2903 2535-6
จังหวดั นนทบรุ ี จ.นนทบรุ ี 11140 โทรสาร : 0 2903 3229
(ตลาดกลางบางใหญ)่

บริษัท ดอนเมืองพัฒนา จำ�กดั 355/115-6 ถ.พหลโยธิน ต.คคู ต โทรศพั ท์ : 0 2995 0610-3
(ตลาดส่ีมุมเมอื ง) อ.ล�ำ ลูกกา จ.ปทมุ ธานี 12120 โทรสาร : 0 2995 1256

บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ 31 ม.9 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง โทรศพั ท์ : 0 2908 4490-9
จำ�กัด (ตลาดไท) จ.ปทุมธานี 12120 โทรสาร : 0 2832 6955

บริษัท แอ็กโกร คอมเมอร์ส กรุ๊ป 533 ถ.ศรสี ุริยวงศ์ ต.หน้าเมอื ง โทรศัพท์ : 0 3233 8250
จ�ำ กดั (ตลาดศรีเมือง) อ.เมืองราชบรุ ี จ.ราชบุรี 70000 โทรสาร : 0 3232 6437

ตลาดเกษตรสุวพนั ธ์ุ เมอื งทอง 12/17 ถ.อา่ งทอง-สงิ หบ์ รุ ี ต.ตลาดหลวง โทรศพั ท์ : 0 3561 2173
อ.เมืองอา่ งทอง จ.อา่ งทอง 14000 โทรสาร : 0 3561 2015

ตลาดกลางการเกษตรหัวอิฐ 1/8 ม.1 ถ.กระโรม ต.โพธ์ิเสดจ็ โทรศัพท์ : 0 7534 4483
(ตลาดแม่พยอม) อ.เมืองนครศรีธรรมราช
จ.นครศรธี รรมราช 80000

บรษิ ทั ตลาดรวมพชื ผลหวั อฐิ จ�ำ กดั 11/92 ถ.กระโรม ต.โพธิ์เสดจ็ โทรศพั ท์ : 0 7534 3800
อ.เมอื งนครศรธี รรมราช โทรสาร : 0 7534 7892
จ.นครศรีธรรมราช 80000

บริษทั มรกตคอรป์ อเรช่นั จำ�กดั 438/1 ม.5 ต.วังตะกอ อ.หลังสวน โทรศพั ท์ : 0 7765 3149
(ตลาดมรกต) จ.ชมุ พร 86110 โทรสาร : 0 7765 3149

พรกิ 27

รายชอื่ ผู้ประกอบการ ทต่ี ง้ั ช่องทางการติดตอ่

ผปู้ ระกอบการแปรรปู พริกและผลติ ภณั ฑ์ website : www.aurareefood.com
e-mail : [email protected]
บรษิ ทั เออ้ื อารี ฟดู ส์ โปรดกั ท์ จ�ำ กดั สำ�นักงาน : 10 ถ.ราชพฤกษ์ โทรศัพท์ : 0 2868 4994 /
แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ 0 2868 6736-7
กรุงเทพฯ 10160
โรงงาน : 27/3 ม.7 ต.ทา่ จีน
อ.เมืองสมุทรสาคร
จ.สมุทรสาคร 74000

บริษัท เอี่ยมกสกิ ิจ จ�ำ กดั 21/3 ม.2 ถ.เชยี งใหม่-ฮอด websire : www.iemkasikit.co.th
ต.บ้านกลาง อ.สันปา่ ตอง e-mail : [email protected]
จ.เชยี งใหม่ 50120 โทรศพั ท์ : 0 5348 1062

บรษิ ทั อุดมกจิ ไพศาล จ�ำ กัด 230 ม.2 ซ.วริ ณุ ราษฎร์ ถ.เศรษฐกจิ website : www.udomkij.com
ต.อ้อมนอ้ ย อ.กระทุ่มแบน e-mail : [email protected]
จ.สมทุ รสาคร 74130 โทรศพั ท์ : 08 6316 1100 / 08 1357 1084

ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด สองพี่น้อง 1/12 ถ.หนองกะจะ ต.ปากช่อง website : www.udomkij.com
น�้ำ พริกแมป่ ราณี อ.ปากชอ่ ง จ.นครราชสมี า 30130 e-mail : [email protected]
โทรศพั ท์ : 0 4431 3611

บริษทั โออเี อ็มฟ้ดู ส์ จำ�กดั 118 ม.2 ต.ท่าซุง อ.เมอื งเทศบาล e-mail : [email protected]
เมอื งอุทัยธานี จ.อุทัยธานี 61000 โทรศพั ท์ : 08 4224 9554 / 09 6239 4147

บรษิ ัท เทพผดงุ พรมะพร้าว จ�ำ กดั ส�ำ นกั งานใหญ่ 5/895 ถ.บรมราชชนนี website : www.tcc-chaokoh.com
แขวงอรณุ อมรินทร์ เขตบางกอกนอ้ ย
กรุงเทพฯ 10700

หา้ งหุ้นสว่ นจำ�กัด น้ำ�พริกแมศ่ รี 245 ม.1 ถ.เพชรเกษม ต.ธรรมศาลา website : www.maesribrand.com
อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศพั ท์ : 0 3439 5139 / 0 3430 5881-3

บริษัท พิบูลยช์ ยั น้�ำ พรกิ เผาไทย 68/10 ม.12 ถ.บรมราชชนนี website : www.maepranom.com
แม่ประนอม จำ�กัด แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทววี ัฒนา โทรศัพท์ : 0 3439 5139 / 0 3430 5881-3
กรุงเทพฯ 10170

บรษิ ทั อาจจติ ตอ์ นิ เตอร์เนชน่ั เนล 83/4 ม.5 ถ.สขุ สวัสดิ์ ซ.สขุ สวัสดิ์ 2 e-mail : [email protected]
เพพ็ เพอร์แอนด์สไปซ์ จำ�กัด แขวงจอมทอง เขตจอมทอง โทรศัพท์ : 0 2468 5611 / 0 2468 1232

กรงุ เทพฯ 10150

บริษทั พ.ี พี.เอน็ .ฟดู้ ส์ จำ�กัด 888 ม.1 ซ.เทศบาลบางปู 111 website : www.ppnfoods.com
ถ.สขุ มุ วทิ ต.บางปู อ.เมอื งสมทุ รปราการ e-mail : [email protected]
จ.สมทุ รปราการ 10280 โทรศัพท์ : 0 2103 3261

28 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

รายช่อื ผู้ประกอบการ ทีต่ ั้ง ช่องทางการติดต่อ

ผปู้ ระกอบการแปรรูปพริกและผลิตภัณฑ์ (ตอ่ )

บรษิ ทั โกลโบ ฟดู้ ส์ จำ�กดั 4จต8..สส2มำ�โมทุ ร.รง1ปใตซร้ า.อผก.กู พามรริตะ1รป0รถ1ะ3.รแ0ถดรงางเก่า weโท-emรbศasัพiiltทe:์ w:: [email protected]/oo0.bth2o3.c8o4.t2h772-4

บจ�ำรกิษัดัท เค อาร์ เอส สไปซี่ ฟู้ดส์ จ18.ป/ท9มุ มธ.า1นตี 1.ค2ล1อ2ง03 อ.คลองหลวง ewโท-emรbศasพั iiltทe:์ n:: [email protected]

นบรรสษิ งิทั หอ์สุตนิ สคา้าหพกนื้ รเมรมอื พงจันำ�ทกา้ ดั ย 1เข9ต6พ/4ญาถไ.ทปรกะรดงุ พิ เททั พธ์ิฯแข1ว0ง4พ0ญ0 าไท wโทeรbศsพั itทe์ :: 0ww22w6.5pa6n9t9a9inorasingh.com

บรษิ ทั น้�ำ ปลาพิชัย จ�ำ กดั โเอสขรำ�.งเตนมงปากัือรนงงะาช:เนลว1กศบ2รุร9กุงี เจรถทุง..ชพเบทลาพ:บง5แฯุร5ีส215น00/ล122า่ 355ง00ถต..อแ่อสนนนสุชขุ weโ ท-emรbศasพั iiltท e:์ :i:n [email protected]/asuacuec.ec.ocmom

จบ�ำรกษิ ดั ทั ไฮควิ ผลติ ภณั ฑ์อาหาร 9จ/.ป9ทมุม.4ธาตน.ีร1ะ2แ1ห4ง0อ.ลาดหลุมแก้ว wโทeรbศsพั itทe์ :: 0ww27w0.3ni4tt4a4y4athaicurry.com

จบำ�รกิษัดัท นิตยา ไทย เคอรี่ โปรดักส์ 9จ/.ป9ทมมุ .4ธาตน.ีร1ะ2แ1ห4ง0อ.ลาดหลมุ แก้ว wโทeรbศsพั itทe์ :: 0ww29w7.6ni1tt6a0y0athaicurry.com

บ(มรหษิ าทั ชนไท) ยเทพรส จ�ำ กัด จ2อ0..สเ8มมอื มุทง.รส6ปมถรทุ า.ทรกป้าายรรบา1ก้า0าน2ร8ต0.ท้ายบ้าน wsโทaeuรbศcseพั it.ทceo์ ::m0ww27w0.3go4l4d4e4nmountain-

บจำ�รกษิ ัดทั ไฮนซ์ ไทยแลนด์ ลมิ ิเตด็ 1อ3.บ4างมเ.ส1า7ธถง.จเท.สพมาทุรักรปษร์ ตาก.บาารงเ1ส0า5ธ4ง0 wโทeรศbพั sทit์e: 0:2w70w5w69.w69cf/.c0o2.7th05 6969 ตอ่ 710

บรษิ ทั ซอสพริกไทยรุ่งเรอื ง จำ�กดั อ1/.เ2มอืมง.ส6มเทุทรพสกาาคญรจจน.สาม ตทุ .รคสอากคกรร7ะ4บ0อื 00 โwทeรbศsัพitทe์ :: 0ww34w8.5m4a7b9in5.-c9o.th

บริษัท สขุ มุ พาณิชย์ จำ�กดั จต88..นบ/นา9งทมพบ.ูด8รุ ีอซ1..1ปส1าม2กเ0อเกกรถ็ด.ตวิ านนท์ wefo-emobdas.iicltoe:ms:[email protected]

คบอริษรป์ัทอหเรยชน่ั ่นั หกวร่อปุ๊ หจยำ�นุ่กัด กแ7ข6รงุ7วเงทซทพ.ุ่งจวฯนั ดั ท1ด0นอ1์น4230เขถต.สวัดาทไผรเ่ งิน โewท-emรbศasพั iitleท:์ :O:[email protected]

จบำ�รกิษัดัท อำ�พลฟดู ส์ โพรเซสซงิ เสแซขข�ำ.ปตนวพรงกั ีชพรงาะารพนนะาบคใณหรรญมชิ กมย่ร:ห์งุ ถ3เาท.9รม2พาห/ชฯา5วร61งั า-0ช52700 โwทeรbศsพั itท e์ :: 00w22w88w0101.go28o3585d00li-f3e./co.th

เบนรชิษั่นัทแนดลิ สจม�ำิธกฟดั ้ดู อนิ เตอร์ 9จ.นมค.5รสตว.เรขราคท์ อ6ง01อ3.พ0ยุหะคีรี โewท-emรbศasัพiiltทe:์ I::[email protected]

พรกิ 29

เอกสารอา้ งอิง

กรมการค้าภายใน. 2563. ตลาดกลาง. แหล่งท่ีมา https://mwsc.dit.go.th/
9 กมุ ภาพนั ธ์ 2564
กรมส่งเสรมิ การเกษตร. 2551. คู่มอื นักวชิ าการส่งเสรมิ การเกษตร พรกิ . โรงพิมพ์
ส�ำนกั พฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลย.ี กรุงเทพฯ
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563. ข้อมูลสภาวะการผลิตพืชรายต�ำบล. แหล่งที่มา
http://production.doae.go.th, 8 กุมภาพันธ์ 2564.
กรมวชิ าการเกษตร. 2557. คมู่ อื ศตั รพู รกิ . ชมุ นมุ สหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย
จ�ำกัด สาขา 4. นนทบุรี
วีระ ภาคอุทัย, สิริกุล วะสี, กรุง สีตะธนี และเยาวรัตน์ ศรีวรานันท์. 2555.
คู่มอื การจัดการหว่ งโซ่อุปทานพริก สดปลอดภัย (ฉบับ พ.ศ. 2555).
หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวทิ ยา, ขอนแก่น.
ศนู ยว์ จิ ยั และพฒั นาพชื ผกั เขตรอ้ น. 2556. คมู่ อื ปลกู พรกิ . มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร,์
นครปฐม.
Food and Agriculture Organization of the United Nations. 2021.
FAOSTAT. แหลง่ ทมี่ า http://www.fao.org, 9 กมุ ภาพันธ์ 2564

30 กรมส่งเสริมการเกษตร

คำ�แนะน�ำ ที่ 7 / 2564

พรกิ

ทปี่ รกึ ษา
นายเข้มแข็ง ยตุ ธิ รรมดำ�รง อธบิ ดีกรมส่งเสรมิ การเกษตร
นางกลุ ฤด ี พฒั นะอมิ่ รองอธบิ ดกี รมสง่ เสริมการเกษตร
นายขจร เราประเสรฐิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
นายวุฒชิ ยั ชณิ วงศ ์ ผู้อำ�นวยการสำ�นกั พฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี
นางมาลินี ยุวนานนท ์ ผ้อู �ำ นวยการส�ำ นกั สง่ เสริมและจดั การสนิ ค้าเกษตร

เรียบเรียง ผอู้ ำ�นวยการกลุ่มส่งเสริมพชื ผกั และเห็ด
นางปดารณี ธรรมธร
นางสาวรงุ่ นภา โบวเิ ชยี ร นักวชิ าการเกษตรช�ำ นาญการ
นายตราพฤกษ์ ธญั ญเกษตร นักวชิ าการเกษตรปฏบิ ัตกิ าร
นางสาวกานต์ตมิ า ธีรางกรู นักวชิ าการเกษตร
กลุม่ สง่ เสรมิ พืชผักและเหด็
สำ�นกั สง่ เสรมิ และจัดการสนิ ค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

บรรณาธิการ

นางสาวพนิดา ธรรมสุรกั ษ์ ผู้อ�ำ นวยการกลุ่มพฒั นาสอ่ื สง่ เสริมการเกษตร
นางสาวอ�ำ ไพพงษ์ เกาะเทยี น นกั วชิ าการเผยแพรช่ ำ�นาญการ
กลุ่มพฒั นาสอื่ ส่งเสรมิ การเกษตร
ส�ำ นักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลย ี กรมสง่ เสริมการเกษตร

ออกแบบ นายชา่ งพมิ พ์ชำ�นาญงาน
นายศราวฒุ ิ นนุ้ ยอ้ ย
นางสาวปิยะดา นานะ ชา่ งพมิ พ์
กลุม่ โรงพิมพ ์
สำ�นกั พฒั นาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

จดั พิมพ์

กล่มุ โรงพิมพ์ สำ�นักพฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลย ี กรมสง่ เสริมการเกษตร

กกรรมะทสร่งวเสงรเกมิ ษกตารรเแกลษะตสรหกรณ์


Click to View FlipBook Version